ฉบับที่ 229 ผลทดสอบสารกันบูดในน้ำพริกหนุ่ม

        หากยังจำกันได้ ฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของฝากจากภาคต่างๆ ของประเทศไทย เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์วัตถุเจือปนอาหาร เช่น สารกันบูด สีผสมอาหาร หรือการปนเปื้อนของโลหะหนักจำพวกตะกั่ว-แคดเมียม เพื่อผู้บริโภคจะได้นำข้อมูลผลทดสอบไปใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อของฝากได้อย่างมั่นใจมากขึ้น โดยของฝากจากภาคต่างๆ ที่ฉลาดซื้อเคยสุ่มทดสอบ ได้แก่ โรตีสายไหม จากภาคกลาง, น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จากภาคอีสาน, แกงไตปลาแห้ง จากภาคใต้และน้ำพริกหนุ่ม จากภาคเหนือ ซึ่งในฉบับนี้จะเป็นการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มซ้ำอีกครั้ง        น้ำพริกหนุ่มจัดเป็นอาหารที่บูดเสียง่าย เก็บได้ไม่นาน โดยเฉพาะหากเก็บไว้ในที่ๆ อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ หากลองชิมแล้วพบว่าน้ำพริกหนุ่มมีรสเปรี้ยว แปลว่าบูดแล้ว ไม่ควรนำมารับประทาน ดังนั้นการถนอมน้ำพริกหนุ่มให้อยู่ได้นาน ผู้ผลิตอาจใช้สารกันบูดเป็นตัวช่วยในการยืดอายุการเก็บรักษา ซึ่งหากใช้สารกันบูดในปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสมก็จะมีความปลอดภัย แต่หากใช้เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้         ฉลาดซื้อและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ ได้ดำเนินการเฝ้าระวังสินค้าตาม โครงการสนับสนุนระบบการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม จำนวน 23 ตัวอย่าง จากร้านขายของฝากและตลาดต่างๆ ในจังหวัดภาคเหนือ ซึ่งผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มที่นำมาส่งตรวจวิเคราะห์นั้นมีทั้งแบบตักชั่งน้ำหนักใส่ถุงขาย และแบบบรรจุในบรรจุภัณฑ์ปิดสนิท         เราแบ่งกลุ่มสินค้าตัวอย่างเป็นยี่ห้อเดิมที่เคยตรวจ เมื่อเดือนมิถุนายน 2562  (ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 221 ผลทดสอบสารกันบูดในน้ำพริกหนุ่ม ภาค 2) จำนวน 11 ตัวอย่าง และกลุ่มตัวอย่างใหม่จำนวน 12 ตัวอย่าง โดยนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มส่งตรวจวิเคราะห์หาปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) และ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ซึ่งเป็นวัตถุกันเสียที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง         โดยผลการทดสอบปรากฏดังตารางที่ 1 ซึ่งแสดงผลวิเคราะห์ปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก ในผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มทั้ง 23 ตัวอย่าง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ตรวจไม่พบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิกหรือกรดซอร์บิกเลย  กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ตรวจพบสารกันบูด แต่ไม่เกินมาตรฐาน และ กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ตรวจพบว่ามีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐาน สรุปผลการทดสอบ         ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) ได้อนุญาตให้ตรวจพบปริมาณสูงสุดของวัตถุกันเสียประเภท กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) ไว้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม และวัตถุกันเสียประเภท กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ไว้ไม่เกิน 1000 มก./กก. ในหมวดอาหารประเภทเครื่องปรุงรส เช่น น้ำพริกพร้อมบริโภค น้ำพริกสำหรับคลุกข้าว น้ำพริกกะปิ          จากตารางผลตรวจวิเคราะห์ พบว่า         กลุ่มที่ 1 ตรวจไม่พบวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดเลย จำนวน 7 ตัวอย่าง ได้แก่           1) น้ำพริกหนุ่มอุ้ยคำ (ตราขันโตก) จากตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่          2) น้ำพริกหนุ่ม วนัสนันท์ สูตรดั้งเดิม จากตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่          3) น้ำพริกหนุ่ม จ่าเหลาหมูทอด จากตลาดโต้รุ่งข้างลานเจ้าแม่ลำพูน          4) น้ำพริกหนุ่มแม่ลัด จาก จ.ลำพูน          5) น้ำพริกหนุ่ม ครัวไส้อั่วแม่บุญนาค จาก จ.ลำพูน          6) น้ำพริกหนุ่มเปมิกา จากร้านเปมิกา ตลาดแม่ทองคำ จ.พะเยาและ    7) น้ำพริกหนุ่ม ตรา วรรณภา สูตรโบราณ จาก บจก.นันท์ธินี จ.เชียงราย          กลุ่มที่ 2 ตรวจพบสารกันบูดแต่ไม่เกินมาตรฐาน จำนวน 8 ตัวอย่าง ได้แก่          8) มารศรี น้ำพริกหนุ่ม สูตรดั้งเดิม จากร้านแม่ทองปอน ตลาดแม่ทองคำ จ.พะเยา               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 115.25 มก./กก.          9) นิชา (เจ๊หงษ์ น้ำพริกหนุ่ม) จากร้านเจ๊หงษ์ ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 133.16 มก./กก.          10) แม่อุ่นเรือน จากตลาดสดอัศวิน จ.ลำปาง               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 187.17 มก./กก.          11) นันทวัน น้ำพริกหนุ่มเจียงฮาย สูตรดั้งเดิม จาก บจก.นันท์ธินี จ.เชียงราย               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 282.66 มก./กก.          12) น้ำพริกหนุ่มอำพัน จากร้านข้าวแต๋นของฝาก จ.ลำปาง               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 302.10 มก./กก.          13) น้ำพริกหนุ่ม ร้านดำรงค์ จากร้านดำรงค์ ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 382.19 มก./กก.          14) น้ำพริกหนุ่มอุ้ยแก้ว จากกาดขัวมุง จ.ลำพูน               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 430.18 มก./กก.และ    15) น้ำพริกหนุ่ม ตรา ศุภลักษณ์ (รสเผ็ดมาก) จากร้านแม่ทองปอน ตลาดสดแม่ทองคำ จ.พะเยา               พบปริมาณ กรดซอร์บิก เท่ากับ 524.59 มก./กก. และมีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มในกลุ่มที่ 3 ซึ่ง ตรวจพบปริมาณวัตถุกันเสียเกินมาตรฐาน พบจำนวน 8 ตัวอย่าง ได้แก่          16) เจ๊หงษ์ จากร้านเจ๊หงษ์ ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 515.13 มก./กก.           17) ร้านแคบหมู รัตติกรณ์ จากตลาดพะเยาอาเขต จ.พะเยา                พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 577.71 มก./กก.          18) น้ำพริกหนุ่มอุมา จากตลาดสดแม่ทองคำ จ.พะเยา               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1152.12 มก./กก.          19) น้ำพริกหนุ่มดวงกมล สูตรดั้งเดิม จากร้านขายของฝาก (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1262.21 มก./กก.          20) ประชันฟาร์ม จากร้านแม่สมใจ (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่               พบปริมาณ กรดซอร์บิก เท่ากับ 1346.65 มก./กก.          21) บัวลักษณ์ จากร้านขายของฝาก (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 3007.29 มก./กก.          22) คุณถนอม จากตลาดสดอัศวิน จ.ลำปาง               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 3370.82 มก./กก.และ    23) น้ำพริกหนุ่ม แม่ประกาย จากร้านยาใจ (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 4647.98 มก./กก.          ผลการเปรียบเทียบการตรวจวิเคราะห์น้ำพริกหนุ่มจากการตรวจครั้งที่ 2 และ 3         เมื่อเปรียบเทียบปริมาณสารกันบูดของผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 11 ตัวอย่าง ที่เคยสุ่มตรวจครั้งที่ 2 (เมื่อเดือน มิถุนายน 2562) กับในครั้งนี้ จะปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้           สรุป          - มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ตัวอย่าง ที่ตรวจไม่พบสารกันบูดเลยทั้งสองครั้ง คือ น้ำพริกหนุ่มอุ้ยคำ (ตราขันโตก) และ น้ำพริกหนุ่ม ตรา วรรณภา        - มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ตัวอย่าง ที่เคยตรวจพบปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐานในครั้งที่แล้ว แต่ครั้งนี้ไม่เกินมาตรฐาน คือ นิชา (เจ๊หงษ์ น้ำพริกหนุ่ม) และ น้ำพริกหนุ่ม ร้านดำรงค์         - มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ตัวอย่าง ที่ตรวจพบปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐานทั้งสองครั้ง  (แต่ครั้งล่าสุด ตรวจพบปริมาณสารกันบูดน้อยลง แต่ก็ยังคงเกินมาตรฐาน) คือ เจ๊หงษ์ และ น้ำพริกหนุ่มอุมา                ทั้งนี้ หากลองเปรียบเทียบสัดส่วนผลตรวจปริมาณสารกันบูดที่เกินมาตรฐานทั้งสองครั้ง จะพบว่า ในครั้งที่แล้ว (มิ.ย.62) ผลตรวจน้ำพริกหนุ่มทั้งหมด 17 ตัวอย่าง พบมีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐาน 7 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 41.17 และในครั้งนี้ จากทั้งหมด 23 ตัวอย่าง พบมีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐาน 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 34.78 ซึ่งน้อยลงกว่าครั้งก่อน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 228 ปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป

        โจ๊ก หรือ Congee เป็นข้าวต้มชนิดหนึ่ง ทำจากปลายข้าวที่นำมาต้มจนเละ เป็นที่นิยมในประเทศแถบเอเชีย คนนิยมกินโจ๊กเป็นอาหารเช้า หรือ อาหารค่ำ เพราะเป็นอาหารรสชาติอ่อนๆ ที่รับประทานง่าย เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย การรับประทานโจ๊ก อาจเติมเนื้อสัตว์ เช่น หมูสับ เนื้อไก่ต้ม ไข่ไก่ ต้นหอม ขิงซอย แล้วปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวและพริกไทย เพื่อเพิ่มความอร่อย ซึ่งโจ๊กนั้นไม่เพียงหารับประทานได้จากร้านขายโจ๊ก ปัจจุบันโจ๊กบรรจุซองสำเร็จรูปหรือแบบถ้วย ก็มีวางจำหน่ายหลากหลายให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกมากขึ้น         ฉลาดซื้อได้เคยนำเสนอข้อมูลปริมาณโซเดียมของผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วยไว้เป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคได้เปรียบเทียบกันแล้ว ฉบับนี้ขอนำเสนอข้อมูลปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปกันต่อ เนื่องจากโจ๊กสำเร็จรูป มักมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง ดังนั้นการสังเกตฉลากโภชนาการเพื่อดูปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์จึงสำคัญ         ฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปทั้งแบบถ้วยและแบบซอง จำนวน 31 ตัวอย่าง และนำมาเปรียบเทียบปริมาณโซเดียมเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริโภค ติดตามได้ในตารางรายละเอียด สรุปผลการสำรวจฉลาก        จากการสำรวจปริมาณโซเดียมบนฉลากโภชนาการในผลิตภัณฑ์โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป จำนวน 31 ตัวอย่าง ทั้งแบบซองและแบบถ้วยพบว่า         ผลิตภัณฑ์โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุด คือ โจ๊กข้าวกล้อง หอมมะลิ กึ่งสำเร็จรูป ตราเอ็นทูเอ็น รสผักเจ มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 0 มิลลิกรัม และ ที่มีปริมาณโซเดียมมากที่สุด คือ โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป รสปลา ตราเกษตร มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 1350 มิลลิกรัมต่อหน่วยบริโภค         เมื่อคิดเป็นค่าเฉลี่ยปริมาณโซเดียม และราคาของโจ๊กกึ่งสำเร็จรูปทั้งหมด 31 ตัวอย่าง จะได้ค่าเฉลี่ยปริมาณโซเดียมเท่ากับ 605.23 มิลลิกรัม และราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 17.04 บาทต่อถ้วยหรือซอง         อย่างไรก็ตามในการสำรวจฉลากพบว่า มีผลิตภัณฑ์โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป 1 ตัวอย่าง ที่ไม่มีฉลากโภชนาการ ได้แก่ โจ๊กข้าวต้มหอมมะลิ กึ่งสำเร็จรูป ตราเอ็นทูเอ็น รสดั้งเดิม จึงไม่สามารถเปรียบเทียบปริมาณโซเดียมได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 227 สำรวจปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วย (ภาค 2)

        บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือ Instant Noodles เป็นอาหารทางเลือกสำหรับคนที่รีบเร่ง เพราะง่ายต่อการบริโภคแบบด่วนซ้ำราคาถูก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปส่วนใหญ่มีส่วนประกอบจาก แป้งสาลี, น้ำมันปาล์ม, เกลือ, น้ำตาล เครื่องเทศชนิดต่างๆ และผงปรุงรส  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีหลายรสชาติและราคาถูก ทำให้ผู้คนนิยมบริโภค จนบางครั้งก็กลายเป็นตัวเลือกสำหรับบางมื้อที่ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างชาวมนุษย์เงินเดือนที่บางเดือนนั้นมีภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมาก        นอกจากนี้ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังถูกใช้ในการทำบุญตักบาตร เพราะเป็นอาหารแห้งที่สามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน หรือกิจกรรมที่ต้องพักค้างแรมในสถานที่ห่างไกลจากแหล่งอาหาร เช่น การเข้าค่ายหรือเดินป่า หรือแม้กระทั่งเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ภัยจากน้ำท่วม บ่อยครั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็ถูกใช้เป็นอาหารเพื่อการยังชีพ         โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในรูปแบบถ้วยที่ง่ายต่อการปรุง เพราะแค่เติมน้ำร้อนและรอให้เส้นบะหมี่พองตัว ก็สามารถบริโภคได้ทันที ไม่ต้องฉีกซองเทใส่ชามให้ยุ่งยาก บางยี่ห้อยังออกแบบถ้วยบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย หรือ สามารถฉีกแยกชิ้นส่วนเพื่อแยกขยะตอนทิ้งได้อีกด้วย         บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีปริมาณโซเดียมสูง ปริมาณแตกต่างกันไปตามรสชาติ ดังนั้นการเลือกบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผู้บริโภคควรพิจารณาดูปริมาณโซเดียมบนฉลากประกอบด้วย         ฉลาดซื้อ ในโครงการสนับสนุนการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในรูปแบบถ้วย (รวมถึงวุ้นเส้น ราเมง และอูด้ง) ที่วางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ จำนวน 23 ตัวอย่าง ในเดือนมกราคม 2563 เพื่อนำมาสำรวจปริมาณโซเดียม ซึ่งผลการสำรวจปริมาณโซเดียมจากข้อมูลบนฉลาก แสดงได้ดังตารางต่อไปนี้ตารางแสดงผลการสำรวจปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วย 23 ตัวอย่างเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เดือน มกราคม 2563สรุปผลการสำรวจฉลาก         จากการสำรวจปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จำนวน 23 ตัวอย่าง พบว่า         ผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วยที่มีปริมาณโซเดียมต่อถ้วยน้อยที่สุด ได้แก่ ราเมงกึ่งสำเร็จรูปแบบแห้ง รสชีสสูตร เผ็ด ตราซัมยัง มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 700 มิลลิกรัม          และผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วยที่มีปริมาณโซเดียมต่อถ้วยมากที่สุด ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำ ตรานิสชิน คัพนูดเดิล (อิ่มเต็มคัพ) มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 2360 มิลลิกรัม ซึ่งเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ ร่างกายไม่ควรได้รับปริมาณโซเดียมเกิน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน          โดยหากคำนวณจากการบริโภคมื้ออาหารหลัก วันละ 3 มื้อ เราควรได้รับปริมาณโซเดียมต่อมื้อโดยประมาณไม่เกิน มื้อละ 666 มิลลิกรัม (2000 ÷ 3) ซึ่งหากดูปริมาณโซเดียมในตัวอย่างผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วยทั้งหมด 23 ตัวอย่าง จะเห็นว่าทุกตัวอย่างมีปริมาณโซเดียมเกิน 666 มิลลิกรัม         เมื่อปี พ.ศ. 2560 ฉลาดซื้อ เคยสุ่มเก็บตัวอย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วยมาแล้ว จำนวน 15 ตัวอย่าง  (ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 191 โซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วย) แต่พบว่ามีเพียง 7 ตัวอย่างเท่านั้น ที่แสดงฉลากโภชนาการ ซึ่งเมื่อเฉลี่ยปริมาณโซเดียมจากฉลากโภชนาการ จะได้ปริมาณโซเดียมเฉลี่ยโดยประมาณเท่ากับ 1,514 มิลลิกรัม และ เมื่อเฉลี่ยปริมาณโซเดียมจากที่เก็บตัวอย่างในครั้งนี้ จำนวน 23 ตัวอย่าง จะได้ปริมาณโซเดียมเฉลี่ยโดยประมาณเท่ากับ 1,497 มิลลิกรัม ซึ่งเมื่อลองเทียบเคียงกันแล้ว พบว่ามีค่าเฉลี่ยไม่ต่างกันมากนัก คำแนะนำในการบริโภค         การบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นอกจากการเติมเนื้อสัตว์ ไข่ หรือผักลงไปเพื่อเพิ่มคุณค่าสารอาหารตามคำแนะนำข้างถ้วยแล้ว ไม่ควรเติมเครื่องปรุงรสเค็ม เช่น น้ำปลา หรือ ซีอิ๊ว เพิ่มเติมลงไปอีก หรือ อาจเติมเครื่องปรุงรสที่ให้มาในซองเพียงครึ่งส่วน หรือ หลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำซุปจนหมดถ้วย เพื่อลดการบริโภคโซเดียมที่อยู่ในน้ำซุปให้น้อยลง         นอกจากนี้ ยังไม่ควรบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทุกวัน หรือบ่อยจนเกินไป เพราะการได้รับปริมาณโซเดียมมากๆ อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิต โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด ไปจนถึงโรคกระดูกพรุนได้ เพราะเรายังอาจได้รับโซเดียมจากอาหารในมื้ออื่นๆ อีก ซึ่งร่างกายอาจได้รับโซเดียมเกินปริมาณที่เหมาะสมต่อวันข้อมูลอ้างอิง- “โซเดียม ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม” เว็บไซต์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) - “แนวทางและการบริโภคโซเดียม (ที่เหมาะสม)” (www.fostat.org/less-salt)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 227 กุนเชียงกับสารตรึงสีและสารกันบูด

        ไส้กรอก แฮม แหนม กุนเชียง หมูยอ เป็นเนื้อสัตว์แปรรูปที่คนไทยนิยมทาน นอกจากอร่อยแล้วยังสะดวกในการปรุงด้วย เพราะเพียงแค่อุ่นร้อนไม่กี่นาทีก็รับประทานได้ และยังหาซื้อง่ายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป รวมถึงการซื้อเป็นของฝากติดไม้ติดมือเมื่อเดินทางท่องเที่ยว นิตยสารฉลาดซื้อ และโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้เคยเก็บตัวอย่างและทดสอบสินค้าในกลุ่มนี้หลายชนิด ทั้งไส้กรอก หมูยอ แหนม  ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าที่ดี ปลอดภัย อีกทั้งในรายที่ตกมาตรฐาน ก็ได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น         ดังนั้นเพื่อเฝ้าระวังสินค้ากลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง ทางโครงการฯ และนิตยสารฉลาดซื้อ จึงเก็บตัวอย่างสินค้า กุนเชียง ซึ่งเป็นไส้กรอกประเภทหนึ่ง ซึ่งนิยมรับประทานกันมากและจัดเป็นของฝากของภาคอีสานมาทดสอบ ครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนทีมอาสาสมัครจากเครือข่ายผู้บริโภคภาคอีสาน ในการเก็บตัวอย่าง กุนเชียงจำนวน 19 ตัวอย่าง เดือนธันวาคม 2562 โดยเน้นพื้นที่โซนภาคอีสาน ได้แก่ กุนเชียงหมู 9  ตัวอย่าง  กุนเชียงไก่  5  ตัวอย่าง และกุนเชียงปลา 5 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบหาสารไนเตรท ไนไตรท์ ซึ่งเป็นสารตรึงสี(ช่วยให้มีสีแดงสวยและป้องกันการเน่าเสีย) และวัตถุกันเสีย สองชนิด ได้แก่ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก มาดูกันว่า ผลทดสอบเป็นเช่นไร        กุนเชียง ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่มีต้นกำเนิดมาจากจีน จัดเป็นไส้กรอกประเภทหนึ่ง ภาษาอังกฤษเรียกว่า  Chinese sausage หรือ ไส้กรอกจีน ดั้งเดิมมีส่วนประกอบหลักเป็นเนื้อหมูและมันหมู โดยเนื้อสำหรับทำกุนเชียงจะเป็นเนื้อหมูที่บดหยาบกว่าเนื้อหมูที่ทำไส้กรอก แต่ปัจจุบันอาจผลิตจากเนื้อสัตว์อื่น เช่น ไก่ ปลา ซึ่งในการผลิตกุนเชียงผู้ผลิตบางรายอาจเติมเกลือไนไตรท์และเกลือไนเตรทเข้าไปด้วย เพื่อเป็นสารกันเสียและตรึงสีทำให้กุนเชียงมีสีแดงน่าทาน และอาจเติมวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิกและซอร์บิก เพื่อให้สินค้าคงสภาพได้นานขึ้นเก็บตัวอย่างเดือนธันวาคม 2562สรุปผลทดสอบ                   สรุปผลทดสอบ        จากการทดสอบกุนเชียง จำนวน 19 ตัวอย่าง สรุปได้ดังนี้        -          กุนเชียงทุกตัวอย่างปลอดภัย ไม่มีวัตถุเจือปนอาหาร ไนไตรท์ ไนเตรท กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก เกินค่ามาตรฐาน        -          ไม่พบไนไตรท์ใน 18 ตัวอย่าง พบน้อยกว่า 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 1 ตัวอย่าง          -          พบไนเตรทเล็กน้อย ที่ค่าเฉลี่ย 11.31 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และไม่พบเลย 7 ตัวอย่าง        -          พบกรดเบนโซอิกในปริมาณไม่เกินมาตรฐาน ซึ่งเป็นไปตามที่ผู้ผลิตได้แจ้งไว้บนผลิตภัณฑ์ (การพบปริมาณกรดเบนโซอิกเพียงเล็กน้อย เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากวัตถุดิบที่นำมาเป็นส่วนประกอบ มิได้เกิดจากการตั้งใจใช้เพื่อป้องกันการเน่าเสีย)  วิธีเลือกซื้อกุนเชียง        1.เลือกที่เนื้อแน่น คงรูป ไม่มีโพรงอากาศ เนื้อมีความนุ่มพอเหมาะ เนื้อและมันสัตว์ผสมกันอย่างทั่วถึง ไม่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน        2.เลือกสีที่ควรเป็นไปตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้ และสม่ำเสมอตลอดชิ้น ไม่มีสีผิดปกติ เช่น ซีด เขียวคล้ำ ดำ หรือรอยไหม้        3.ไม่มีกลิ่น ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นอับ กลิ่นหืน         4.ไม่มีสิ่งแปลกปลอม เช่น เส้นผม ดิน กรวด ทราย ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์        5.ภาชนะบรรจุสะอาด แห้ง ผนึกได้เรียบร้อย และสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้        6.เลือกซื้อจากร้านค้าที่น่าเชื่อถือ วัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์กุนเชียงกุนเชียงจัดอยู่ในกลุ่ม เนื้อสัตว์บดที่ผ่านกระบวนการหมักหรือไม่ก็ได้แล้วและทำแห้งโดยไม่ใช้ความร้อน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ.2561 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) อนุญาตให้ใช้ไนไตรท์ ซึ่งเป็นสารคงสภาพของสีและสารกันเสีย ในผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและอนุญาตให้ใช้วัตถุกันเสีย กรดเบนโซอิก ในผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ได้ไม่เกิน 1000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ไนไตรท์ คือ อะไร“ไนไตรท์” เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additives) ในกลุ่มสารกันเสีย (preservative) และสารตรึงสี ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แหนม หมูยอ กุนเชียง ที่มีการอนุญาตให้ใช้ “ไนไตรท์” ได้ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่กำหนด โดย “ไนไตรท์” มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเน่าเสีย และยังมีหน้าที่ในการตรึงสีของเนื้อสัตว์แปรรูปให้เป็นสีชมพู ไม่ซีดไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำอันตรายหรือไม่        อันตราย หากใช้ในปริมาณที่มากเกินกว่าที่กำหนด โดยไนไตรท์จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง อาจเป็นลม หมดสติได้ แต่จะอันตรายมากกว่า หากไม่ใส่ในอาหารกลุ่มไส้กรอก กุนเชียง ฯลฯ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะสิ่งที่อันตรายที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่มเนื้อสัตว์แปรรูป คือ การเกิดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า “คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม” ที่สามารถสร้างสารพิษร้ายแรงที่มีชื่อว่า “โบทูลินั่มท็อกซิน” (Botox) ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต และถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปก็อาจเสียชีวิตได้        การใช้ “ไนไตรท์” ภายใต้ปริมาณที่กำหนด สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียนี้ จึงช่วยให้มีความปลอดภัยในการบริโภคมากขึ้น ซึ่ง European Food Safety Authority (EFSA) ได้บ่งชี้ว่าการใช้เกลือไนไตรท์ในปริมาณที่พอเหมาะ (50-100 มก./กก.) จะควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียกลุ่มคลอสตริเดียมโบทูลินัม ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนี้สามารถสร้างสารพิษ ชื่อ โบทูลินั่มท็อกซิน        ในแต่ละวันร่างกายเราได้รับสารไนไตรท์ที่มาจากเนื้อสัตว์แปรรูปโดยเฉลี่ยประมาณ 10% อีก 90% เราได้รับมาจากพืชและแหล่งอาหารอื่นๆ ที่เราบริโภค ซึ่งหากรับประทานในปริมาณที่กำหนดก็จะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด แต่หากได้รับมากเกินไป จะทำให้ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ไม่สามารถนำพาออกซิเจนไปใช้ได้ อาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 การตกค้างของ ‘ไกลโฟเสต’ ใน ซีเรียลบาร์

        ซีเรียลบาร์ (Cereal Bar), กราโนลาบาร์ (Granola Bar) หรือ ธัญพืชอัดแท่ง บางครั้งถูกเรียกว่า เอนเนอร์จีบาร์ (Energy Bar) เป็นอาหารเช้าหรือขนมทานเล่น ซึ่งทำจากกราโนลาที่ถูกอัดแท่งแล้วนำไปอบ เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง เหมาะสำหรับช่วงเวลาเร่งรีบเพราะสามารถรับประทานได้ง่าย อีกทั้งยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์หลายชนิดทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน น้ำตาล ใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ          ความน่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับสารไกลโฟเสตคือ ในการเพาะปลูกธัญพืช เกษตรกรส่วนหนึ่งมีการใช้สารกำจัดแมลงและศัตรูพืชในปริมาณมาก หรืออาจมีการตกค้างของสารเคมีดังกล่าวอยู่ในดินเพาะปลูก ซึ่งอาจทำให้เมล็ดธัญพืชที่เป็นผลผลิตมีสารพิษตกค้างอยู่ด้วย เมื่อนำธัญพืชมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ซีเรียล ก็มีความเสี่ยงที่ผลิตภัณฑ์จะมีสารเคมีตกค้าง         โดยเมื่อช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา องค์กร “กลุ่มคนทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม” หรือ Environmental Working Group ในสหรัฐอเมริกา ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ซีเรียลที่วางขายในท้องตลาด จำนวน 45 ตัวอย่าง มาตรวจวิเคราะห์ และพบว่ามีซีเรียลถึง 43 ตัวอย่าง ที่มีสารไกลโฟเสต (Glyphosate) ซึ่งเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชปนเปื้อน โดย 2 ใน 3 ของตัวอย่างซีเรียลที่พบการปนเปื้อนนั้น มีปริมาณของไกลโฟเสตในอัตราสูง ซึ่งสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์ได้         นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ภายใต้โครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ซีเรียลบาร์ จำนวน 8 ตัวอย่าง จากซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้าพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในเดือนพฤศจิกายน 2562  ส่งตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารกำจัดวัชพืช “ไกลโฟเสต (Glyphosate)” เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ซีเรียลที่วางจำหน่ายในประเทศไทยให้กับผู้บริโภค โดยผลวิเคราะห์แสดงไว้ดังตารางหน้าถัดไปสรุปผลการตรวจวิเคราะห์        จากการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของสารไกลโฟเสตในผลิตภัณฑ์ซีเรียลบาร์ จำนวนทั้งหมด 8 ตัวอย่าง พบว่า ไม่พบการปนเปื้อนทุกตัวอย่าง  ข้อมูลโภชนาการ         จากการสังเกตฉลากผลิตภัณฑ์ซีเรียลบาร์ ทั้ง 8 ตัวอย่าง โดยเรียงลำดับตามปริมาณน้ำตาล (กรัม) ต่อ น้ำหนักซีเรียลบาร์ 100 กรัม จากน้อยไปมาก พบว่า         ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ซีเรียลบาร์ ที่มีปริมาณน้ำตาลต่อน้ำหนัก 100 กรัม น้อยที่สุด คือ Carman's (คาร์แมนส์) ธัญพืชชนิดแท่งผสมอัลมอนด์และเฮเซลนัต กลิ่นวานิลลา มีปริมาณน้ำตาลเท่ากับ 11.42 กรัม/น้ำหนักซีเรียลบาร์ 100 กรัม         และ ผลิตภัณฑ์ซีเรียลบาร์ ที่มีปริมาณน้ำตาลต่อน้ำหนัก 100 กรัม มากที่สุด คือ Kellogg's (เคลล็อกส์) ธัญพืชอบกรอบชนิดแท่งเคลือบโยเกิร์ต ผสมแครนเบอร์รี่อบแห้งและสตรอเบอร์รี่เข้มข้น มีปริมาณน้ำตาลเท่ากับ 36 กรัม/น้ำหนักซีเรียลบาร์ 100 กรัมข้อมูลอ้างอิง- ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร สถาบันอาหาร  (http://fic.nfi.or.th/)- กราโนล่าคืออะไร ลดความอ้วนได้จริงหรือไม่ สูตรลดความอ้วนด้วยกราโนล่า และวิธีทำกราโนล่าด้วยตัวเอง    (www.honestdocs.co/what-is-a-granola-to-lose-weight-or-not)   (www.honestdocs.co/what-is-a-granola-to-lose-weight-or-not)- สหรัฐฯ เตือนพบอาหารเช้า "ซีเรียล" ผสมยาฆ่าหญ้า  (www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/87584)- www.ewg.org/childrenshealth/glyphosateincereal- https://th.wikipedia.org/wiki/- www.ewg.org/childrenshealth/glyphosateincereal- https://th.wikipedia.org/wiki/ไกลโฟเสต

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 224 Let’s say Cheese! มาอ่านฉลากผลิตภัณฑ์จากชีสกันเถอะ

        พูดเรื่อง ชีส(Cheese) หรือเนยแข็งในอาหารที่คนไทยคุ้นเคย คงจะเป็น มอสซาเรลลา ที่ใส่ในพิซซ่าซึ่งเราจะมีภาพจำในความยืดเยิ้มของมัน หรือ เชดดา ที่วางบนแฮมเบอร์เกอร์ แซนวิช และหลายคนก็คงคุ้นลิ้นกับ พาร์เมซาน เนยแข็งป่นๆ ที่โรยหน้าสลัดหรือผสมในสปาเก็ตตี้  อาจกล่าวได้ว่า ชีสสามชนิดนี้ คือชีสที่คนไทยคุ้นเคยที่สุด จากชีสทั่วโลกที่มีมากกว่า 3000 ชนิด  แม้จะคุ้นลิ้นคุ้นตาในรสชาติ แต่เชื่อว่าหลายคน อาจจะเกิดอาการสับสน งุนงง หากต้องไปเลือกซื้อชีสเพื่อมาทำอาหารสไตล์ตะวันตกกินเอง เพราะเลือกไม่ถูกว่าจะซื้อชีสอะไรดี แล้วที่เขียนบนฉลากว่า อีแดม เชดดา เนมชีส โพรเซสชีส เฟรชชีส คืออะไร ใช้กินกับอะไรได้บ้าง ทำอาหารอะไรได้บ้าง หรือจะซื้อยังไงคุ้มค่า นิตยสารฉลาดซื้ออาสาพาไปส่องฉลาก และช่วยให้เลือกซื้อกันได้สะดวกขึ้น                 ทีมกองบรรณาธิการและอาสาสมัครฉลาดซื้อเดินห้างสรรพสินค้าทั้งแบบห้างค้าปลีก ค้าส่ง และร้านสะดวกซื้อเพื่อเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนยแข็งหรือชีส แบบที่มีฉลากบนผลิตภัณฑ์สมบูรณ์และผู้บริโภคสามารถหยิบได้เองจากตู้แช่เย็น ในต้นเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา จำนวนทั้งสิ้น 51 ตัวอย่าง เพื่อแสดงรายละเอียดและแยกกลุ่มผลิตภัณฑ์ระหว่าง เนยแข็งหรือชีสแท้ กับ โพรเซสชีส นิยามและประเภทของชีส         เนยแข็ง(Cheese)  ทั่วโลกมีมากกว่า 3,000 ชนิด แม้เนยแข็งบางประเภทจะมีลักษณะเหมือนกัน แต่ก็มีชื่อเรียกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น วิธีการจำแนกประเภทของเนยแข็งจึงทำได้โดยอาศัยหลักเกณฑ์บางอย่าง เช่น ชนิดของน้ำนมที่ใช้ ระยะเวลาในการบ่ม เชื้อราที่ใส่ลงไปเพื่อแยกไขมันออกจากน้ำนม อุณหภูมิที่ใช้ในการหมักบ่ม พื้นผิวและความราบเรียบของเนยแข็ง อย่างไรก็ตามเราอาจแบ่งเนยแข็งหรือชีส (Cheese)  ได้เป็น 3 กลุ่ม ซึ่งเป็นการแบ่งที่นิยมกัน คือ        1.เนยแข็งแบบนุ่มหรือชีสนุ่ม (Soft Cheese)         2.เนยแข็งแบบกึ่งแข็งกึ่งนุ่ม (Semi Cheese)        3.เนยแข็งแบบแข็งหรือฮาร์ดชีส (Hard Cheese)         การแบ่งแบบนี้เป็นการแบ่งตามความชื้นในเนื้อผลิตภัณฑ์ เนยแข็งที่มีความแข็งมาก(ฮาร์ดชีส) ก็เพราะมีความชื้นต่ำ เช่น พาร์เมซาน เชดดา สวิสชีส ส่วนชนิดกึ่งแข็งกึ่งนุ่มจะมีความชื้นกลางๆ เช่น มอสซาเรลลา อีแดม บลูชีส และหากมีความชื้นสูงเนื้อสัมผัสก็จะนุ่ม เช่น บรี ครีมชีส ซึ่งทำให้เก็บไว้ไม่นานเหมือนพวกฮาร์ดชีส ที่สามารถเก็บได้เป็นเวลาหลายเดือน         นิยามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 209 พ.ศ.2543 เรื่องเนยแข็ง ให้ความหมายของ เนยแข็งว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำนม ครีมบัตเตอร์มิลค์ (Butter milk) หรือเวย์ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างมาผสมเอนไซม์หรือกรดหรือจุลินทรีย์จนเกิดการรวมตัวเป็นก้อนแล้วแยกส่วนที่เป็นน้ำออก แล้วนำมาใช้ในลักษณะสดหรือบ่มให้ได้ที่ก่อนใช้ จึงอาจกล่าวได้ว่า นี่คือเนยแข็งแท้หรือชีสแท้         ส่วนที่แสดงบนฉลากว่า โพรเซสชีส(Processed Cheese) ตามนิยามในประกาศ หมายความว่า เนยแข็ง ซึ่งได้ผ่านกรรมวิธีทำให้เล็กลง เติมสารอีมัลซิฟายและนำมาพาสเจอร์ไรซ์และจะแต่งสี กลิ่น รส หรือไม่ก็ได้  ตามนิยามนี้เราอาจตีความได้ว่า โพรเซสชีสเป็นเนยแข็งที่มีกรรมวิธีการผลิต โดยเอาชีสแท้ น้ำมัน และส่วนผสมทางเคมีอื่นๆ มาผสมกัน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นอาหารที่ปลอดภัย แต่ว่ามันมีสารเคมีต่างๆ มีแต่งสี แต่งรส และเนื่องจากมีส่วนผสมของนมอยู่น้อย ก็เลยไม่ได้ให้ประโยชน์มากเหมือนชีสแท้ ที่ทำจากนมเกือบทั้งหมด         และที่อาจจะทำให้ผู้บริโภคงงเมื่ออ่านฉลากคือ คำว่า เนมชีส(Named Cheese) ซึ่งในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 209 ให้ความหมายว่า เนยแข็งที่มีชื่อตามชนิดของเนยแข็งหรือสถานที่ผลิต ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปและมีกรรมวิธีการผลิตเฉพาะตามชนิดของเนยแข็งนั้น  เชดดา อีแดม พาร์เมซาน(หรืออีกสามพันชนิด) พวกนี้คือ เนมชีสนั่นเองตารางแสดงรายละเอียดการแสดงฉลาก ผลิตภัณฑ์เนยแข็ง(ชีสแท้) เก็บตัวอย่างเดือนตุลาคม 2562เนยแข็ง หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำนม ครีมบัตเตอร์มิลค์ (Butter milk) หรือเวย์ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างมาผสมเอนไซม์หรือกรดหรือจุลินทรีย์จนเกิดการรวมตัวเป็นก้อนแล้วแยกส่วนที่เป็นน้ำออก แล้วนำมาใช้ในลักษณะสดหรือบ่มให้ได้ที่ก่อนใช้ตารางแสดงรายละเอียดการแสดงฉลาก ผลิตภัณฑ์โพรเซสชีสเก็บตัวอย่างเดือนตุลาคม 2562โพรเซสชีส หมายความว่า เนยแข็ง ซึ่งได้ผ่านกรรมวิธีทำให้เล็กลง เติมสารอีมัลซิฟายและนำมาพาสเจอร์ไรซ์และจะแต่งสี กลิ่น รส หรือไม่ก็ได้  ข้อค้นพบจากการดูฉลากผลิตภัณฑ์        ผลจากการสังเกตฉลากผลิตภัณฑ์เนยแข็ง ทั้งหมด 51 ตัวอย่าง พบว่า ผลิตภัณฑ์เนยแข็งที่สุ่มเก็บตัวอย่าง ที่เข้านิยามเนยแข็งหรือชีสแท้ มีจำนวน 24 ตัวอย่าง และเป็นผลิตภัณฑ์โพรเซสชีส 26 ตัวอย่าง โดยมีโพรเซสชีส 1 ตัวอย่างที่เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อชาวมังสวิรัตที่ไม่บริโภคผลิตภัณฑ์จากนม ได้แก่ วีแกนเชดด้าสไตล์สไลซ์ (ผลิตภัณฑ์เลียนแบบเชดด้าชีส) ตราอิมพีเรียล ซึ่งมีส่วนประกอบของ น้ำมันปาล์ม และ โปรตีนถั่วเหลือง ซึ่งนอกจากผลิตภัณฑ์เนยแข็งที่เป็นวีแกนที่มีส่วนผสมของไขมันจากพืช         ผลิตภัณฑ์เนยแข็งทำจากนมในปริมาณเกือบ 100 % และใช้เวลาในการหมักบ่มนาน ดังนั้นราคาจึงค่อนข้างแพง ส่วนผลิตภัณฑ์โพรเซสชีส ใช้เนยแข็ง น้ำนม และไขมันพืชช่วยในการแต่งเติมผลิตภัณฑ์ ดังนั้นจึงมีราคาไม่แพง แต่ก็จะให้คุณค่าทางสารอาหารน้อยกว่าชีสแท้ ผู้บริโภคสามารถพิจารณาเลือกจากฉลากที่เรานำมาแสดงในตารางได้ โดยมีการเปรียบเทียบราคาต่อน้ำหนักไว้เพื่อช่วยในการตัดสินใจด้วย          ผลิตภัณฑ์เนยแข็งที่มีราคาต่อกรัมถูกที่สุด คือ  ครีมฟีลด์ เท็น ซิงเกิ้ล (ผลิตภัณฑ์จากชีส) CREAMFIELDS 10 SINGLES ราคา  0.282  บาทต่อกรัม และผลิตภัณฑ์เนยแข็งที่มีราคาต่อกรัมแพงที่สุด คือ  เอ็กซ์ตร้า เมชัวร์ เชดด้า (เนยแข็งชนิดเนมชีส) ตรา คุมบี คาสเซิล COOMBE CASTLE TM EXTRA MATURE CHEDDAR ราคา  1.945  บาทต่อกรัม  โดยผลิตภัณฑ์ชีสส่วนใหญ่ที่สุ่มเก็บมา เป็นผลิตภัณฑ์ชีสที่นำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งสิ้น         การแสดงฉลากเรื่องการผลิต พบว่ามีผลิตภัณฑ์เนยแข็งที่ไม่ได้ระบุวันผลิต จำนวน 19 ตัวอย่าง แต่ทุกตัวอย่างมีการระบุวันหมดอายุ หรือ วันที่ควรบริโภคก่อน  โดยส่วนใหญ่มีอายุการเก็บประมาณ 1 ปี และแนะนำให้เก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 0 – 8 องศาเซลเซียส           ข้อมูลอ้างอิงhttps://th.wikipedia.org/wiki/เนยแข็ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 224 ผลวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีน้ำส้มคั้น

          ในบรรดาเครื่องดื่มที่ทำจากผลไม้ น้ำส้ม เป็นน้ำผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดครองใจคนไทยมาโดยตลอด ด้วยรสชาติหวานเข้มอมเปรี้ยวลงตัวและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ทำให้เป็นที่นิยมดื่มกันทุกเพศวัย และไม่เพียงแต่รสชาติถูกใจยังได้รับการยอมรับด้วยว่า มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมด้วยแร่ธาตุและวิตามินซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่จะเป็นความจริงหรือไม่ เรามาลองดูผลวิเคราะห์ตัวอย่าง “น้ำส้มคั้น” ที่นิตยสารฉลาดซื้อ โดยโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ  นำมาทดสอบ ทั้งคุณภาพทางเคมี ได้แก่ วัตถุกันเสีย(กรดซอร์บิกและกรดเบนโซอิก) ปริมาณน้ำตาล การตรวจวิเคราะห์หาการตกค้างของสารเคมีการเกษตร และการวิเคราะห์หาการตกค้างของยาปฏิชีวนะ 4 ชนิด ซึ่งเก็บตัวอย่างกันแบบสดใหม่ในช่วงเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา จำนวนทั้งสิ้น 30 ตัวอย่าง โดยเกณฑ์การคัดเลือกตัวอย่าง คือ        1.เก็บจากสถานที่จำหน่ายน้ำส้มคั้นสด จำนวน 25 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่(1 ตัวอย่าง)  และ        2.น้ำส้มบรรจุกล่องผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ ที่ระบุบนฉลากว่าเป็นน้ำส้ม 100 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 5 ตัวอย่าง ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้นเก็บตัวอย่างสินค้าเดือนสิงหาคม 2562หมายเหตุ 1.การทดสอบหายาปฏิชีวนะ 4 ชนิด ได้แก่ Amoxycillin Ampicillin Benzyl penicillin และ Tetracycline ไม่พบยาทั้ง 4 ชนิดในทุกตัวอย่าง            2.กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกที่พบในปริมาณต่ำ(น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) อาจเป็นไปได้ในทางทฤษฎีว่าเป็นสารที่ได้จากผลไม้ตามธรรมชาติ   สรุปผลการทดสอบ          1.การวิเคราะห์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแบบ Multi-Pesticide Residues พบว่า มีตัวอย่างน้ำส้มจำนวน 18 ตัวอย่าง มีสารเคมีตกค้าง โดยสรุปในแต่ละตัวอย่างพบสารพิษตกค้างตั้งแต่ 1-7 ชนิด และการทดสอบครั้งนี้พบสารพิษตกค้างทั้งสิ้นจำนวน 14 ชนิด ได้แก่ Acequinocyl, Acetamiprid, Azoxystrobin, Carbendazim, Carbofuran, Carbofuran-3-hydroxy, Chlorpyrifos, Ethion, Fenobucarb, Imazalil, Imidacloprid, Methomyl, Profenofos และ Prothiofos โดยตัวอย่างที่พบสารพิษตกค้างเป็นตัวอย่างที่มาจากการคั้นสดแล้วบรรจุขวดขายโดยตรงแก่ผู้บริโภค รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย อย. และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น Orange Juice Pulp, Tipco Squeeze SHOGUN และ Tipco ส้มสายน้ำผึ้ง เป็นต้น          เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานเพื่อวิเคราะห์ผล ปรากฎว่าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2556 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 3635) พ.ศ. 2549 กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำผลไม้ : น้ำส้ม มาตรฐานเลขที่ มอก. 99 – 2549 ไม่พบการกำหนดค่าสารพิษตกค้างจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในน้ำส้มในประกาศทั้ง 2 ฉบับ         อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาตามประกาศกระทรวงสารณสุข ฉบับที่ 387 พ.ศ.2560 เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง และประกาศฯ ฉบับที่ 393 พ.ศ. 2561 เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 2) มาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกษ.) กรมวิชาการเกษตร และมาตรฐาน CODEXพบว่าไม่มีตัวอย่างใดเกินค่ากำหนดปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่มีได้ในสินค้าเกษตร           2.การทดสอบหายาปฏิชีวนะ 4 ชนิด ได้แก่ Amoxycillin Ampicillin Benzyl penicillin และ Tetracycline ผลทดสอบไม่พบยาทั้ง 4 ชนิดในทุกตัวอย่าง          3.การทดสอบวัตถุกันเสีย กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกผลทดสอบ พบกรดเบนโซอิกใน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ ส้มฝากนาย(190 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) อุดมพันธุ์(50.8  มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และ Healthy Plus(66.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) พบกรดซอร์บิกใน 2 ตัวอย่าง ได้แก่  Healthy Plus(52.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และ Malee จากส้มสายน้ำผึ้ง(43.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม)  ซึ่งปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 คือ ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม        อย่างไรก็ตาม น้ำส้มอุดมพันธุ์ Malee และ Healthy Plus ทั้งสามผลิตภัณฑ์ระบุว่า ไม่ใช้วัตถุกันเสีย ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากปริมาณกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกที่พบในปริมาณต่ำ (น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) อาจเป็นไปได้ในทางทฤษฎีว่า เป็นสารที่ได้จากผลไม้ตามธรรมชาติไม่ได้มีการใส่สารเคมีเจือปนลงไปจากข้อมูลบทความเรื่อง สารกันบูด เรื่องจริงบางอย่างที่คุณอาจยังไม่รู้ ตีพิมพ์ในฉลาดซื้อ ฉบับที่ 203 โดย ดร.วิสิฐ จะวะสิต  กล่าวว่า “สารกันบูดมีหลากหลายชนิด ทั้งที่อยู่ในรูปสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์  ซึ่งสารกันบูดที่อยู่ในรูปสารอินทรีย์ ได้แก่ กรดอินทรีย์ ชนิดต่างๆ เช่น กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก กรดโพรพิโอนิก สารกันบูดที่เป็นกรดอินทรีย์ยังพบในพืชหลายชนิดตามธรรมชาติและยังสามารถสร้างได้โดยจุลินทรีย์บางชนิด เช่น กรดเบนโซอิกมีพบในผลไม้พวกเบอรี่หลายชนิด เครื่องเทศจำพวกอบเชย และนมเปรี้ยว ผลแครนเบอรี่เป็นตัวอย่างของผลไม้ที่มีกรดเบนโซอิกในปริมาณที่สูงมาก กรดซอร์บิกก็มีพบในผลไม้หลายชนิดเช่นกัน...”         ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อได้ส่งตรวจยืนยันอีกครั้ง พบว่า มีวัตถุกันเสีย ใน 2 ตัวอย่างเท่านั้น คือ ส้มฝากนาย พบกรดเบนโซอิก 176.11 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ Healthy Plus พบ เบนโซอิก 53.46 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และกรดซอร์บิก 2 41.51 มิลลิกรัม/กิโลกรัม        4.ปริมาณน้ำตาล ผลทดสอบพบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9.84 กรัม/100 มิลลิลิตร (ใกล้เคียงกับปริมาณน้ำตาลในน้ำส้มคั้นที่เคยมีผู้วิจัยไว้ คือ 8.4 กรัม/หน่วยบริโภค 100 กรัม ที่มา www.CalForLife.com) โดยยี่ห้อที่มีน้ำตาลมากกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่ฉลาดซื้อนำมาทดสอบ ได้แก่                      Orange Juice Healthy Valley                   13.8 กรัม/100 มิลลิลิตร                    C-orange                                                 13.4 กรัม/100 มิลลิลิตร                    Gourmet Juice by Hai Fresh Juice         13.3 กรัม/100 มิลลิลิตร                    เจ้ทิพย์ จี้ดจ้าด                                          12.8 กรัม/100 มิลลิลิตร                    Fram Fresh                                             12.5 กรัม/100 มิลลิลิตร                    Kiss Cjuice                                              12.5  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Teddy Zero                                              12     กรัม/100 มิลลิลิตร                    The Orange                                            11.8  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Orangee                                                  11.4  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Beautea                                                   11.3  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Tipco Squeeze Shogun                           10.3  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Malee จากส้มสายน้ำผึ้ง                             10.1  กรัม/100 มิลลิลิตร------------------กินน้ำส้มดีหรือร้ายต่อสุขภาพ          หลายคนมีความเชื่อว่า น้ำส้ม เป็นน้ำผลไม้ที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะพวกวิตามิน ซี แต่ในขณะเดียวกันความเห็นของนักวิชาการทางด้านสุขภาพ ยังคงแสดงความเป็นห่วงว่า น้ำจากผลไม้ ไม่เฉพาะน้ำส้มเท่านั้น อาจทำให้ร่างกายได้รับอันตรายจากปริมาณน้ำตาลที่สูงเกินไป ทำให้ติดหวานและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้          ที่มาของความห่วงใยนี้เกิดจากความกังวลที่นักวิชาการด้านสุขภาพพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าใจว่า การดื่มน้ำผลไม้มีประโยชน์มากกว่าดื่มน้ำอัดลม หรือน้ำชา กาแฟที่มีการผสมน้ำตาล แต่ความจริงคือ ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในผลไม้ตามธรรมชาติ หรือน้ำตาลที่มีการผสมเข้าไปในเครื่องดื่มอย่าง น้ำอัดลม ชาเขียว ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพไม่ต่างกัน “เมื่อคุณดื่มน้ำผลไม้ลงไปแล้ว ท้องของคุณไม่รู้หรอกว่านั่นคือน้ำส้มคั้นหรือโคล่า”          การกินผลไม้ตามลักษณะธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่งเราจะได้น้ำตาลในระดับที่ก่ออันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่าน้ำผลไม้(หากกินไม่มาก) เพราะปริมาณของน้ำหรือกากใยที่อยู่ในเนื้อผลไม้จะช่วยให้เราอิ่มไว แต่การดื่มน้ำที่คั้นจากเนื้อผลไม้ เช่น น้ำส้ม มันดื่มได้ง่ายและไว ดังนั้นโอกาสที่เราจะได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินไปจึงมีสูง อีกทั้งยังสูญเสียคุณประโยชน์ในส่วนกากใยอาหารไปด้วย หรือบางทีอาจมีการเติมน้ำตาลเพิ่มเข้าไปอีกเพื่อปรับปรุงรสชาติของน้ำผลไม้ยิ่งทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลมากขึ้น(ขอบคุณข้อมูลจาก https://health.kapook.com/view80221.html)  น้ำส้มคั้น เขาทำขายกันอย่างไร          ส้มเขียวหวาน ส้มแมนดาริน ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มเช้ง...เมืองไทยเรานี้ก็มีส้มหลากหลายสายพันธุ์จนหลายคนอาจจะงงๆ เหมือนกันว่า อะไรแบบไหนจะดีกว่ากัน หรือน้ำส้มคั้นที่เห็นขายกันทั่วไปนั้น เขาใช้ส้มอะไรมาคั้น แท้ไม่แท้ ผสมน้ำตาลหรือเปล่า ใส่สารกันบูดไหม หรือจริงๆ แล้วเป็นแค่หัวเชื้อ(น้ำส้มเข้มข้น)ผสมกับน้ำ น้ำเชื่อมกันแน่          สำหรับผู้บริโภคถ้าให้มั่นใจว่าคั้นจากผลส้มจริงๆ เราก็คงต้องเห็นกับตาว่าเขาคั้นสดๆ ต่อหน้าจริง แบบนี้ก็จะหวานด้วยน้ำตาลที่มีอยู่ในผลส้มตามธรรมชาติ (ซึ่งถ้ายังหวานไม่พอก็อาจมีการเติมน้ำเชื่อม และเกลือเพื่อปรุงรส) โดยทั่วไปการทำน้ำส้มคั้นบรรจุขวดขายในปัจจุบันนั้นผู้ค้าจะมีสูตรเฉพาะของตนเอง หลักๆคือการผสมน้ำส้มคั้นจากผลส้มหลายสายพันธุ์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดรสชาติที่อร่อยลงตัว เช่น น้ำส้มจากส้มเขียวหวานผสมกับส้มสายน้ำผึ้ง เป็นต้น เพราะส้มแต่ละสายพันธุ์จะมีคุณสมบัติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บางพันธุ์หวานเข้ม บางพันธุ์เปรี้ยวมากกว่าหวานแต่กลิ่นหอม  บางพันธุ์เนื้อส้มเป็นเกล็ดสวย ฯลฯ ซึ่งสูตรพวกนี้จะไม่ค่อยเปิดเผยต่อสาธารณะ มักจะซื้อขายกันเรียกว่าเป็นความลับทางการค้า          อย่างไรก็ตามพอจะรวบรวมมาฝากโดยสรุป ดังนี้          1.น้ำส้มคั้นจากส้มสายพันธุ์เดียว          2.น้ำส้มคั้นจากส้มหลายสายพันธุ์ผสมกัน          3.น้ำส้มคั้นจากการผสมหัวเชื้อน้ำส้ม น้ำ น้ำเชื่อมกับน้ำส้มคั้นธรรมชาติเพื่อปรุงแต่งให้มีกลิ่นและรสสัมผัสคล้ายส้มตามธรรมชาติ           ทั้งนี้บางผู้ผลิตอาจมีการเติมน้ำตาลและเกลือเพื่อปรับรสชาติให้กลมกล่อมขึ้น  และอาจเติมวัตถุกันเสียลงไปด้วย          สำหรับวัตถุกันเสียที่นิยมใช้ ได้แก่ กรดซอร์บิก กรดเบนโซอิก ซึ่งตามกฎหมายอาหาร อนุญาตให้ผสมได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร(ฉบับที่ 5) 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 222 ส่องฉลากซีอิ๊วขาว ตำนานน้ำปรุงรสจากถั่วเหลือง

        “ซีอิ๊ว” นั้นออกเสียงตามสำเนียงแต้จิ๋ว หมายความว่า “ซอสถั่วเหลือง” (จีนกวางตุ้งเรียก ‘สี่เหย่า’) นับเป็นเวลาอันยาวนานกว่าพันปีที่ “ซีอิ๊ว” ถูกคิดค้นขึ้นโดยบรรพบุรุษชาวจีน เพื่อใช้เป็นเครื่องปรุงแต่งรสอาหาร ว่ากันว่าซีอิ๊วนั้นถือกำเนิดขึ้นในช่วงราชวงศ์โจว (1,100 – 221 ปี ก่อนคริสตกาล) เรียกกันว่า ‘เชียง (Chiang)’ หรือ ‘เจียง (Jiang)’ จากนั้นในช่วงสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960 – 1229) ซีอิ๊วเริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนกลายเป็นสิ่งจำเป็นในวิถีชีวิตชาวจีน โดยภายหลังถูกเรียกว่า ‘เจียงอิ้ว’        วัฒนธรรมการใช้ซีอิ๊วปรุงอาหารและการทำเต้าเจี้ยว ได้ถูกส่งต่อมายังประเทศญี่ปุ่นในยุคสมัยของซามูไร โดยพระชาวญี่ปุ่นที่ไปศึกษาพุทธศาสนาในประเทศจีนในศตวรรษที่ 12 โดยชาวญี่ปุ่นเรียกซีอิ๊วว่า ‘โชยุ (shoyu)’ ซึ่งซีอิ๊วนับเป็นของแพงและหายากที่มีใช้กันเฉพาะในชนชั้นสูง ในแต่ละตระกูลจะมีสูตรและวิธีการผลิตที่แตกต่างกันออกไป โชยุของญี่ปุ่นจึงมีความหลากหลาย จากนั้นโลกตะวันตกก็ได้รู้จักซีอิ๊วครั้งแรกจากญี่ปุ่น โดยการนำเข้าของพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์        สำหรับคนไทย ซีอิ๊วนับเป็นเครื่องปรุงรสสำคัญในครัวมาช้านาน ใช้ประกอบอาหารทั้ง ต้ม ผัด หรือน้ำจิ้ม โดยเฉพาะเมนูอาหารเจที่ต้องใช้ซีอิ๊วแทนน้ำปลา ซึ่งให้รสเค็มกลมกล่อมกว่ามาก         การผลิตซีอิ๊ว         ซีอิ๊ว เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสในรูปของเหลวที่ได้จากการย่อยสลายโปรตีนถั่วเหลือง โดยผ่านกระบวนการหมักด้วยจุลินทรีย์ ซึ่งกรรมวิธีการผลิต ซีอิ๊วหมักแบบธรรมชาติ คือ การนำเอาถั่วเหลืองต้มสุกพักให้หมาด คลุกกับแป้งสาลี (ทำให้ซีอิ๊วมีส่วนผสมของกลูเตน) แล้วบ่มทิ้งไว้ประมาณ 3-7 วัน กระบวนการนี้จะทำให้เกิดเชื้อรา ในกลุ่ม แอสเพอร์จิลลัส ออไรชี (Aspergillus oryzae) ซึ่งจะทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในถั่วเหลืองให้กลายเป็นกรดอะมิโนที่มีรสชาติกลมกล่อมตามธรรมชาติ จากนั้นจึงนำถั่วเหลืองที่เกิดเชื้อราทั่วแล้ว หมักในน้ำเกลือตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป จากนั้นจึงนำมากรองแยกน้ำซีอิ๊วออกจากกากถั่วเหลือง          ซีอิ๊วสูตรต่างๆ        ซีอิ๊วที่คนไทยนิยมใช้กันนั้น มีอยู่ 4 - 5 ชนิด ได้แก่         1. ซีอิ๊วขาว คือ ซีอิ๊วที่ไม่ผ่านการปรุงรสหรือแต่งสีเพิ่มเติม         2. ซีอิ๊วดำ คือ ซีอิ๊วขาวที่นำมาเก็บหรือต่อระยะเวลาการบ่ม ทำให้ซีอิ๊วเข้มข้นและกลมกล่อมขึ้น อาจมีการแต่งสีเพื่อให้สีเข้มข้นสม่ำเสมอ ซึ่งโดยมากจะใช้น้ำตาลเคี่ยว        3. ซีอิ๊วดำหวาน คือ ซีอิ๊วที่ผสมกับสารให้ความหวาน โดยมากจะเป็นกากน้ำตาล หรือ โมลาส (Molasses) สีดำเข้ม ค่อนข้างหนืด         4. จิ๊กโฉ่ว หรือ ซอสเปรี้ยว คือ ซีอิ๊วขาวผสมกับน้ำส้มหมัก อาจมีการเติมเครื่องเทศลงไปด้วยระหว่างการหมักบ่ม         เมื่อผู้บริโภคเลือกซื้อซีอิ๊ว คงจะเคยสังเกตเห็นตัวเลข สูตร 1, 2, 3, 4, 5 ซีอิ๊วสูตร 1 คือ ซีอิ๊วที่ได้จากการหมักครั้งแรก เมื่อกรองน้ำซีอิ๊วออกแล้ว จะเหลือกากถั่วเหลือง เมื่อนำกากถั่วเหลืองนี้ไปหมักต่อกับน้ำเกลือ ก็จะกลายเป็นน้ำซีอิ๊ว สูตร 2 ซึ่งถ้าหมักกากซ้ำต่อไปอีกก็จะนับเป็น สูตร 3, 4, 5         ทราบความเป็นมาของซีอิ๊ว และวิธีการทำซีอิ๊วแบบคร่าวๆ กันแล้ว ฉลาดซื้อ ในโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงอยากชวนผู้บริโภคมาดูฉลากของซีอิ๊วที่วางจำหน่ายในท้องตลาดในประเทศไทยกันบ้าง โดยฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่างซีอิ๊วจากห้างสรรพสินค้า จำนวน 37 ตัวอย่าง เพื่อดูข้อมูลบนฉลาก เช่น ส่วนประกอบสำคัญ ปริมาณโซเดียมจากฉลากโภชนาการ เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อซีอิ๊วกัน ตารางแสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์ซีอิ๊ว จำนวน 37 ตัวอย่าง (ลำดับตามปริมาณโซเดียมต่อหน่วยบริโภค 1 ช้อนโต๊ะ หรือ ประมาณ 15 มิลลิลิตร)จากการสังเกตฉลากบนขวดซีอิ๊ว 37 ตัวอย่าง พบข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้         ข้อมูลปริมาณโซเดียม         เนื่องจากซีอิ๊วเป็นเครื่องปรุงที่ให้รสเค็ม ฉลาดซื้อจึงเลือกเปรียบเทียบปริมาณโซเดียม โดยสังเกตข้อมูลจากฉลากโภชนาการ ซึ่งจากผลิตภัณฑ์ซีอิ๊วทั้งหมด 37 ตัวอย่าง มีซีอิ๊วที่มีการแสดงฉลากโภชนาการ จำนวน 27 ตัวอย่าง และไม่มีฉลากโภชนาการ จำนวน 10 ตัวอย่าง (กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ซีอิ๊วต้องมีการแสดงฉลากโภชนาการ) แต่การที่เครื่องปรุงรสมีการแสดงฉลากโภชนาการ นับเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการเลือกซื้อ โดยเฉพาะข้อมูลปริมาณโซเดียมต่อหน่วยบริโภค         โดยหากเปรียบเทียบปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำของซีอิ๊ว คือ 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 3 ช้อนชา (หรือประมาณ 15 มิลลิลิตร) ลำดับจากน้อยไปมาก พบว่า         ยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค น้อยที่สุด คือ ซีอิ๊วขาวเห็ดหอม สูตรลดโซเดียม 40% ตราเด็กสมบูรณ์ ซึ่งมีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคเท่ากับ 480 มิลลิกรัม/ช้อนโต๊ะ (มีการใช้โพแทสเซียมคลอไรด์ (INS508) เป็นส่วนประกอบ)                  ยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค มากที่สุด คือ ซีอิ๊วขาวฉลากน้ำเงิน ตราเด็กสมบูรณ์ มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค เท่ากับ 1600 มิลลิลิตร/ช้อนโต๊ะ         หากสังเกตตัวอย่างซีอิ๊วลำดับที่ 1-4 ในตารางจะพบว่า ซีอิ๊วที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุด 4 อันดับแรกเป็นซีอิ๊วสูตรลดเกลือโซเดียม 40% ทั้งหมด ซึ่งสูตรดังกล่าวมีการใช้เกลือโพแทสเซียม หรือ โพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) แทนการใช้เกลือปกติเพื่อลดปริมาณโซเดียมลง เพราะหากร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด         แต่การใช้เกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ ก็มีข้อควรระวัง คือ ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต และโรคหัวใจที่มีความผิดปกติของระดับโพแทสเซียมในเลือด ผู้บริโภคที่มีปัญหาดังกล่าวจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อซีอิ๊วที่มีการใช้เกลือโพแทสเซียมเป็นส่วนประกอบ         ข้อมูลการใช้วัตถุกันเสีย         ผลิตภัณฑ์ซีอิ๊ว จำนวน 26 ตัวอย่าง มีการใช้วัตถุกันเสียประเภทโซเดียมเบนโซเอต (Sodium Benzoate / INS211) หรือ โพแทสเซียมซอร์เบต (Potassium Sorbate / INS202) และ มีซีอิ๊ว 10 ตัวอย่าง ที่ระบุบนฉลากบรรจุภัณฑ์ว่าไม่ใช้วัตถุกันเสีย หรือ No preservative added และ มี 1 ตัวอย่าง ที่ไม่ระบุข้อมูลการใช้วัตถุกันเสีย โดยหากประมาณสัดส่วนของปริมาณสารกันบูดต่อการบริโภคเครื่องปรุงรสแต่ละครั้งแล้ว เป็นปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งร่างกายสามารถขับถ่ายสารกันบูดทั้งสองชนิดได้เองตามธรรมชาติ         ข้อสังเกตอื่นๆ         - ซีอิ๊วส่วนใหญ่แสดงข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร เช่น มีถั่วเหลือง, ข้าวสาลี หรือแป้งข้าวสาลีเป็นส่วนประกอบ หลายยี่ห้ออาจมีกลูเตน (Gluten) จากข้าวสาลี  แต่ทั้งนี้ มีซีอิ๊ว 3 ตัวอย่าง ที่ปราศจากกลูเตน ได้แก่ 1) ซีอิ๊วขาว ตราเมกาเชฟ  2) ซีอิ๊วขาวเห็ดหอม ตราซันลี (Sunlee) Gluten Free  และ  3) ซีอิ๊วขาวธัญพืช ง่วนเชียง ตราเรือ Golden Boat Brand         คำแนะนำในการบริโภค        ซีอิ๊วเป็นเครื่องปรุงรสที่ให้รสเค็ม ดังนั้นจึงควรบริโภคในปริมาณน้อยเพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป จะทำให้ไตทำงานหนักเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า ในแต่ละวันเราไม่ควรบริโภคเกลือโซเดียมเกิน 1 ช้อนชา (หรือ ปริมาณโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัม) โดยหากลองเฉลี่ยปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค (1 ช้อนโต๊ะ หรือ 3 ช้อนชา) จากซีอิ๊วทั้ง 22 ยี่ห้อ ที่มีฉลากโภชนาการแสดงปริมาณโซเดียม (ยกเว้น 5 ตัวอย่าง ที่ฉลากโภชนาการแสดงข้อมูลเป็นเกลือ (Salt) แทนปริมาณโซเดียม (Sodium) ซึ่งไม่สามารถนำมาคำนวณเปรียบเทียบได้ชัดเจน) พบว่ามีปริมาณโซเดียมเฉลี่ยอยู่ที่ 1,096.81 มิลลิกรัม/ช้อนโต๊ะ         นอกจากนี้ เมื่อเปิดซีอิ๊วใช้แล้ว ควรปิดฝาให้สนิทและเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อยืดอายุให้นานขึ้น และป้องกันไม่ให้ซีอิ๊วขึ้นราหรือเกิดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะซีอิ๊วยี่ห้อที่ไม่ใช้วัตถุกันเสีย และหากไม่ได้ใช้ซีอิ๊วปรุงอาหารบ่อยๆ ก็ควรเลือกซื้อขวดเล็กแทน         ข้อควรรู้เกี่ยวกับซีอิ๊ว         - ยิ่งหมักและเก็บซีอิ๊วไว้นาน กลิ่นรสและเนื้อสัมผัสของซีอิ๊ว ก็จะยิ่งกลมกล่อม หอมละมุน ซับซ้อนมากขึ้นเท่านั้น         - ซีอิ๊วยิ่งมีส่วนผสมน้อยเท่าไหร่ ยิ่งดี         - ซีอิ๊วเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่เสีย ถ้าไม่เปิดขวด ส่วนใหญ่มักจะกำหนดวันหมดอายุ 1 – 2 ปี อ้างอิง 1. ข้อแนะนำในการเลือกซีอิ๊วอย่างปลอดภัยสไตล์กินเปลี่ยนโลก (โดย แก้วตา ธัมอิน)2. เลือกซื้อซีอิ๊วอย่างมืออาชีพ ต้องรู้อะไรบ้าง ? (โดย DragonfirE thinking girl)     (https://storylog.co/story/5a7c6993ee105b9517b3fd7e)    (https://storylog.co/story/5a7c6993ee105b9517b3fd7e) 3. ‘ซีอิ๊ว’ ปรุงตำนานอาหารเอเชีย     (https://www.thaihotelbusiness.com/in-the-kitchen/ซีอิ๊ว-อาหารเอเชีย/) 4. ซีอิ๊ว (https://guru.sanook.com/5988/)5. ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร     (http://www.foodnetworksolution.com)6. ทำไมต้องห้ามกินเค็ม ?     (https://www.thaihealth.or.th/Content/48381-    (https://www.thaihealth.or.th/Content/48381-ทำไมต้องห้ามกินเค็ม.html) ขอบคุณภาพประกอบจาก : มูลนิธิชีววิถี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 221 ผลทดสอบสารกันบูดในน้ำพริกหนุ่ม (ภาค 2)

หากใครได้เดินทางไปท่องเที่ยวในจังหวัดภาคเหนือบ่อยๆ อย่างเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ คงได้มีโอกาสลิ้มลองอาหารเอกลักษณ์ตำรับเหนืออย่าง ข้าวซอย แกงฮังเล แกงขนุน น้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม ไส้อั่ว เป็นต้น โดยเฉพาะน้ำพริกหนุ่มที่ยังไงๆ ก็ต้องกินคู่กับแคบหมู ถึงจะอู้กำเมืองได้เต็มปากว่า “ลำแต๊ๆ ลำขนาด เจ้า...”        น้ำพริกหนุ่ม อาหารพื้นบ้านล้านนา ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นน้ำพริกที่ทำมาจากพริกหนุ่ม (พริกชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายพริกชี้ฟ้า แต่มีสีเขียวอ่อนๆ คล้ายพริกหยวก) โดยนำพริกหนุ่มไปย่างไฟพร้อมกับหอมแดง และกระเทียม จากนั้นจึงลอกเปลือกออก นำไปโขลกให้ผสมกลมเกลียวกันในครก ปรุงรสด้วยเกลือเล็กน้อย เสิร์ฟคู่กับผักสดหรือผักลวก พร้อมแคบหมู(บางสูตรอาจใส่ปลาร้าหรือปลาแห้งลงไปด้วย) แต่ผู้บริโภคอย่างเรา คงไม่อยากติดเตาย่างพริกหนุ่มกันให้ยุ่งยาก ในเมื่อการเดินเข้ากาด(ตลาด) หาซื้อน้ำพริกหนุ่มและแคบหมู หิ้วกลับไปเป็นของฝากนั้นดูจะง่ายกว่ากันเยอะ         น้ำพริกหนุ่มที่วางจำหน่ายตามร้านต่างๆ นั้น มีทั้งสูตรเผ็ดมาก เผ็ดน้อย ในรูปแบบมัดใส่ถุง แบบกระปุกหรือตักขายตามน้ำหนัก ซึ่งน้ำพริกหนุ่มเป็นอาหารที่บูดเสียง่าย เก็บได้ไม่นาน โดยเฉพาะหากเก็บไว้ในที่อุณหภูมิเปลี่ยนบ่อยๆ หากชิมแล้วพบว่ามีรสเปรี้ยว แปลว่าบูดเสียแล้ว ไม่ควรกิน ดังนั้นการถนอมน้ำพริกหนุ่มให้อยู่ได้นาน ผู้ผลิตอาจใช้วัตถุกันเสียในการยืดอายุการเก็บรักษา ซึ่งหากใช้สารกันบูดในปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสมก็จะปลอดภัย แต่ถ้าหากใช้เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้         ฉลาดซื้อ ในโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ เห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารให้กับผู้บริโภค จึงเลือกสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำพริกหนุ่มที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ จำนวนทั้งสิ้น 17 ตัวอย่าง ในเดือนมิถุนายน 2562 โดยเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ ส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) และกรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ซ้ำเป็นครั้งที่ 2 จากที่เคยสุ่มตรวจครั้งแรก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2561 (ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 205 มี.ค.2561) ซึ่งปรากฏผลทดสอบ ดังตารางต่อไปนี้ตารางที่ 1 แสดงผลทดสอบปริมาณกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ในตัวอย่างน้ำพริกหนุ่ม 17 ยี่ห้อ                                                                  ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น                                                                 เก็บตัวอย่างน้ำพริกหนุ่ม เดือน มิถุนายน 2562สรุปผลการทดสอบตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) ได้อนุญาตให้ตรวจพบปริมาณสูงสุดของวัตถุกันเสียประเภท กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) ไว้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม และวัตถุกันเสียประเภท กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ไว้ไม่เกิน 1000 มก./กก. ในหมวดอาหารประเภทเครื่องปรุงรส เช่น น้ำพริกพร้อมบริโภค น้ำพริกสำหรับคลุกข้าว น้ำพริกกะปิ จากตารางแสดงผลทดสอบปริมาณสารกันบูดข้างต้น สามารถแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มที่ไม่พบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก 2. กลุ่มที่พบสารกันบูดแต่ไม่เกินมาตรฐาน และ 3. กลุ่มที่พบสารกันบูดเกินมาตรฐาน         โดยน้ำพริกหนุ่ม กลุ่มที่ตรวจไม่พบสารกันบูด ประเภทกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก มีจำนวน 2 ตัวอย่าง ได้แก่ 1) น้ำพริกหนุ่ม อุ้ยคำ (ตราขันโตก) จากตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ และ 2) น้ำพริกหนุ่ม วรรณภา จากร้านวรรณภา จ.เชียงราย ส่วนกลุ่มที่ตรวจพบปริมาณสารกันบูด แต่ไม่เกินมาตรฐาน มีจำนวน 8 ตัวอย่าง ได้แก่            1) น้ำพริกหนุ่ม แม่ศรีนวล จาก ร้านขายของฝากสามแยกเด่นชัย จ.แพร่                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 30.67 มก./กก.            2) น้ำพริกหนุ่ม มารศรี สูตรดั้งเดิม จาก ตลาดสดแม่ต๋ำ จ.พะเยา                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 36.92 มก./กก.            3) น้ำพริกหนุ่ม แม่มารศรี (น้ำพริกหนุ่ม - ปลาร้า) จาก ร้านปะเลอะเยอะแยะของฝาก จ.เชียงราย                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 41.73 มก./กก.            4) น้ำพริกหนุ่ม ป้าแอ็ด ของฝากจากเดอะโคโค่ นครลำปาง จาก ร้านป้าแอ็ดของฝากเมืองลำปาง                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 387.38 มก./กก.            5) น้ำพริกหนุ่ม ศุภลักษณ์ รสเผ็ดมาก จาก ตลาดสดแม่ต๋ำ จ.พะเยา                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 51.92 มก./กก. และ กรดซอร์บิก เท่ากับ 338.17 มก./กก.             6) น้ำพริกหนุ่ม อำพัน จาก ร้านข้าวแต๋นของฝากลำปาง                       พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 435.29 มก./กก.                          7) น้ำพริกหนุ่ม อุ้ยแก้ว จาก ตลาดสดแม่ต๋ำ จ.พะเยา                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 437.27 มก./กก.และ      8) น้ำพริกหนุ่ม นันทวัน เจียงฮาย สูตรดั้งเดิม จาก ร้านนันทวัน จ.เชียงราย                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 455.80 มก./กก.                 สำหรับกลุ่มที่ตรวจพบสารกันบูดเกินมาตรฐาน มีจำนวน 7 ตัวอย่าง ได้แก่          1) น้ำพริกหนุ่ม ร้านดำรงค์ จาก ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 890.32 มก./กก.          2) น้ำพริกหนุ่ม ล้านนา จาก ตลาดของฝากเด่นชัย จ.แพร่                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1026.91 มก./กก.          3) น้ำพริกหนุ่ม นิชา (เจ๊หงษ์ น้ำพริกหนุ่ม) จาก ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1634.20 มก./กก.          4) น้ำพริกหนุ่ม เจ๊หงษ์ จาก ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1968.85 มก./กก.          5) น้ำพริกหนุ่ม แม่ชไมพร จาก ตลาดสดอัศวิน ร้านสิริกรของฝาก จ.ลำปาง                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 2231.82 มก./กก.          6) น้ำพริกหนุ่ม ยาใจ (รสเผ็ด) จาก ร้านขายของฝากสามแยกเด่นชัย จ.แพร่                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 3549.75 มก./กก.และ    7) น้ำพริกหนุ่ม อุมา จาก ตลาดสดแม่ต๋ำ จ.พะเยา                   พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 5649.43 มก./กก.         ทั้งนี้ หากเทียบปริมาณสารกันบูดจากน้ำพริกหนุ่ม จำนวน 7 ยี่ห้อ ที่ได้สุ่มตรวจในครั้งแรกเมื่อเดือน มี.ค.2561 จะปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้ตารางที่ 2 แสดงผลการเปรียบเทียบปริมาณสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิก ทั้ง 2ครั้งจากตารางข้างต้นสรุปได้ว่า มีน้ำพริกหนุ่ม 2 ยี่ห้อ ที่พบปริมาณสารกันบูดน้อยลงกว่าเดิม จากเดิมที่เคยตรวจพบสารกันบูดเกินมาตรฐาน ได้แก่ ยี่ห้อ ศุภลักษณ์ และ ยี่ห้อ มารศรี สูตรดั้งเดิม และมี 2 ยี่ห้อ ที่พบว่ามีสารกันบูดเกินมาตรฐาน ได้แก่ ยี่ห้อ เจ๊หงษ์ และ ร้านดำรงค์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 220 ผลทดสอบปริมาณพลังงาน น้ำตาล และข้อมูลโภชนาการอื่นๆ ในเครื่องดื่ม “ ชานมไข่มุก ”

        ต้นกำเนิดของ  “ชานมไข่มุก” บับเบิลมิลค์ที หรือ ปัวป้ามิลค์ที (Bubble Tea / Boba Tea) มีที่มาจากร้านชา “ชุนฉุ่ยถัง” ในเมืองไทจง ประเทศไต้หวัน เมื่อปี 1980 ด้วยการนำไข่มุก (Bubble) หรือ เฟิ่นเหยิน (Fen Yuan) ซึ่งเป็นขนมดั้งเดิมของไต้หวัน ดัดแปลงใส่ลงไปในชานม จึงเกิดผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ขึ้นมา จนปัจจุบันกลายมาเป็นเครื่องดื่มประจำชาติของคนไต้หวัน และโด่งดังไปทั่วเอเชีย เช่น จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี ไทย และ แผ่ขยายไปยังภูมิภาคอื่นๆ เช่น อเมริกาเหนือ และยุโรป อีกด้วย         เม็ดไข่มุก (Tapioca Pearls) ทำจากแป้งมันสำปะหลัง (Tapioca Flour) ซึ่งอาจมีหลากสี เช่น สีดำ สีทอง สีเขียว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่ใส่ลงไป โดยส่วนใหญ่ที่พบทั่วไปจะเป็นไข่มุกสีดำที่มาจากสีผสมอาหารสังเคราะห์ หรือ น้ำตาลทรายแดงและผงโกโก้        ปัจจุบันเราจะเห็นร้านชานมไข่มุกอยู่เกือบทุกที่ เนื่องจากรสชาติหวานหอมของชานม ที่ผสานกับเนื้อสัมผัสที่เหนียว นุ่ม หนึบ ของไข่มุกอย่างลงตัว ทำเอาคนไทยติดใจ จนร้านชานมไข่มุกหน้าใหม่ แข่งขันกันเปิดให้บริการเป็นจำนวนมาก ทั้งแบบแบรนด์ต่างชาติ แฟรนไชส์ และร้านท้องถิ่น ซึ่งราคาก็มีตั้งแต่ ระดับแมส แก้วละ 20 - 30 บาท ระดับพรีเมียมแมส แก้วละ 35 - 50 บาท ไปจนถึงระดับพรีเมียมแก้วละ 80 – 100 กว่าบาทเลยทีเดียว         จากรายงานการวิจัยตลาดของบริษัท Allied Analytics ในปี 2017 มูลค่าตลาดชานมไข่มุกทั่วโลกอยู่ที่ 1,954 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราวๆ 65,000 ล้านบาท) คาดว่าภายในปี 2023 จะมีมูลค่าแตะ 3,214 ล้านเหรียญ (ราว 100,000 ล้านบาท) ส่วนตลาดชานมไข่มุกในไทย จากการสำรวจของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจกสิกรไทย พบว่ามีมูลค่าราว 2,000 ล้านบาท โดยบริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดคือ โอชายะ Ochaya ที่มีสาขามากกว่า 360 สาขา มีรายได้ปี 2560 ที่ 148,202,491 บาท เมื่อเทียบจากปี 2558 แล้วถือว่าเติบโตมากกว่า 1 เท่าตัว (ที่มาข้อมูล: https://voicetv.co.th/read/B1eivkqFm)         ด้วยความนิยมดื่มชานมไข่มุกของคนไทย ฉลาดซื้อจึงหยิบเอาข้อมูลปริมาณพลังงานและน้ำตาลที่ได้จากการบริโภคชานมไข่มุกมาให้ผู้บริโภคได้ทราบกัน ซึ่งชานมไข่มุกหนึ่งแก้ว ประกอบด้วย ชานม (ซึ่งอาจมีส่วนประกอบของนมผง ครีมเทียม หรือนมสด) แป้งมันสำปะหลัง น้ำตาล และวัตถุเจือปนอาหารชนิดต่างๆ         ฉลาดซื้อในโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างชานมไข่มุกแบบสูตรปกติ จำนวน 25 ยี่ห้อ ตั้งแต่ระดับแมส พรีเมียมแมส และพรีเมียม ที่มีจำหน่ายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่งตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ เช่น ปริมาณพลังงาน และน้ำตาลต่อแก้ว และ ตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารกันบูดและโลหะหนักในเม็ดไข่มุก โดยผลการตรวจวิเคราะห์แสดงดังตารางต่อไปนี้ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลผลทดสอบข้อมูลโภชนาการ ชานมไข่มุก (สูตรปกติ) 25 ยี่ห้อหมายเหตุ: * ปริมาณน้ำหนักต่อแก้ว (กรัม) ของชานมไข่มุก เป็นขนาดแก้วปกติของแต่ละยี่ห้อ (ไม่รวมน้ำแข็ง) ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้นเก็บตัวอย่างเดือน พฤษภาคม 2562หมายเหตุ: * ปริมาณน้ำหนักต่อแก้ว (กรัม) ของชานมไข่มุก เป็นขนาดแก้วปกติของแต่ละยี่ห้อ (ไม่รวมน้ำแข็ง) ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้นเก็บตัวอย่างเดือน พฤษภาคม 2562 ตารางที่ 2 เปรียบเทียบปริมาณพลังงานกับปริมาณข้าวสวย(ทัพพี) และ ปริมาณน้ำตาลเป็นช้อนชาหมายเหตุ: * ปริมาณน้ำหนักต่อแก้ว (กรัม) ของชานมไข่มุก เป็นขนาดแก้วปกติของแต่ละยี่ห้อ (ไม่รวมน้ำแข็ง) ** ** ข้าวสวย (ข้าวขาว) 1 ทัพพี ให้พลังงานเท่ากับ 80 กิโลแคลอรี (kcal) *** น้ำตาล 4 กรัม เท่ากับ 1 ช้อนชา *** น้ำตาล 4 กรัม เท่ากับ 1 ช้อนชาสรุปผลการทดสอบคุณค่าทางโภชนาการ (ปริมาณพลังงาน และ น้ำตาล) ของชานมไข่มุก     จากผลการทดสอบปริมาณพลังงานทั้งหมด พบว่า        ตัวอย่างชานมไข่มุกที่ให้พลังงานทั้งหมดต่อแก้ว น้อยที่สุด ได้แก่             - ชานมไข่มุก ยี่ห้อ KOI The’ (น้ำหนัก 173 กรัม / ไม่รวมน้ำแข็ง)             ให้ปริมาณพลังงานทั้งหมด 157 กิโลแคลอรี (kcal)             เทียบได้กับข้าวสวย ปริมาณ 1.96 ทัพพีและ     ตัวอย่างชานมไข่มุกที่ให้พลังงานทั้งหมดต่อแก้ว มากที่สุด ได้แก่            - ชานมไข่มุก ยี่ห้อ CoCo Fresh Tea & Juice (น้ำหนัก 699 กรัม / ไม่รวมน้ำแข็ง)              ให้ปริมาณพลังงานทั้งหมด 769 กิโลแคลอรี (kcal)             เทียบได้กับข้าวสวย ปริมาณ 9.61 ทัพพี จากผลการทดสอบปริมาณน้ำตาล พบว่า         ตัวอย่างชานมไข่มุกที่มีปริมาณน้ำตาล น้อยที่สุด ได้แก่             - ชานมไข่มุก ยี่ห้อ KOI The’ มีปริมาณน้ำตาล 16 กรัม            เทียบได้กับน้ำตาล จำนวน 4 ช้อนชาและ     ตัวอย่างชานมไข่มุกที่มีปริมาณน้ำตาล มากที่สุด ได้แก่            - ชานมไข่มุก ยี่ห้อ CoCo Fresh Tea & Juice มีปริมาณน้ำตาล 74 กรัม            เทียบได้กับน้ำตาล จำนวน 18.5 ช้อนชาโดยข้อสังเกตอื่นๆ มีดังนี้        - ปริมาณชานมไข่มุกเฉลี่ยต่อแก้ว จากทุกยี่ห้อ เท่ากับ 371 กรัม        - ชานมไข่มุก ที่มีราคาถูกที่สุด ได้แก่ ยี่ห้อ Cha…Ma  ราคาแก้วละ 23 บาท        และ ราคาแพงที่สุด ได้แก่ ยี่ห้อ Fire Tiger by Seoulcial Club ราคาแก้วละ 140 บาท                  ในแต่ละวัน เราควรได้รับพลังงานจากการบริโภคอาหาร ตั้งแต่ 1,600 – 2,400 กิโลแคลอรี (kcal) ในกลุ่มคนไทยที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป สำหรับในกลุ่มข้าวและแป้ง (เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมจีน ขนมปัง) ควรได้รับวันละ 8 – 12 ทัพพี หญิงวัยทำงาน วัยทอง หรือผู้สูงอายุ กินวันละ 8 ทัพพี ชายวัยทำงาน 10 ทัพพี หรือหากต้องใช้พลังงานมากก็ 12 ทัพพี ซึ่งหากคิดพลังงานที่ควรได้รับ เท่ากับ 2,000 กิโลแคลอรี/วัน แบ่งเป็น 3 มื้ออาหาร เท่ากับมื้อละ 666 กิโลแคลอรี การดื่มชานมไข่มุก 1 แก้ว ก็อาจเท่ากับพลังงานที่ได้รับจากอาหาร 1 มื้อ ผลทดสอบปริมาณสารกันบูดและโลหะหนักในเม็ดไข่มุก         นอกจากการทดสอบคุณค่าทางโภชนาการในชานมไข่มุกแล้ว ฉลาดซื้อยังทดสอบวัตถุกันเสียและโลหะหนักในเม็ดไข่มุก ทั้ง 25 ตัวอย่างอีกด้วย โดยประเภทของวัตถุกันเสียที่ตรวจวิเคราะห์ ได้แก่ กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) และ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ส่วนโลหะหนักที่ตรวจวิเคราะห์ คือ ตะกั่ว (Lead)         ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ พบว่า ไม่พบโลหะหนักประเภทตะกั่ว (Lead) ในเม็ดไข่มุกทุกตัวอย่างส่วนผลการทดสอบสารกันบูดแสดงดังตารางต่อไปนี้ตารางที่ 3 ผลทดสอบสารกันบูดและโลหะหนักในเม็ดไข่มุก 25 ยี่ห้อ (เรียงลำดับตามปริมาณรวมของสารกันบูดจากน้อยไปมาก) สรุปผลการทดสอบสารกันบูดในเม็ดไข่มุก        จากผลการตรวจวิเคราะห์ พบว่า เม็ดไข่มุกทุกตัวอย่างตรวจพบสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ในปริมาณที่แตกต่างกัน ส่วนกรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) พบว่า ตรวจพบเกือบทุกตัวอย่าง ยกเว้น 3 ตัวอย่าง ได้แก่ 1) ยี่ห้อ The ALLEY  2) ยี่ห้อ CoCo Fresh Tea & Juice และ 3) KOI Thé  ที่ตรวจไม่พบกรดเบนโซอิก        ซึ่งหากรวมปริมาณสารกันบูดทั้งสองชนิดดังกล่าวแล้ว พบว่า         - ตัวอย่างเม็ดไข่มุกที่มีปริมาณสารกันบูดทั้งสองชนิด น้อยที่สุด ได้แก่                 ยี่ห้อ The ALLEY  มีปริมาณสารกันบูดรวม 58.39 มิลลิกรัม/กิโลกรัม        และ ตัวอย่างเม็ดไข่มุกที่มีปริมาณสารกันบูดทั้งสองชนิด มากที่สุด ได้แก่                 ยี่ห้อ BRIX Desert Bar  มีปริมาณสารกันบูดรวม 551.09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม                  ทั้งนี้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) อนุญาตให้พบปริมาณสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก ในกลุ่มขนมหวานที่มีธัญชาติและสตาร์ชเป็นส่วนประกอบหลัก สูงสุดได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม (โดยมีสัดส่วนของผลรวมไม่เกินหนึ่ง)         ซึ่งจากผลตรวจวิเคราะห์ พบว่า ไม่มีเม็ดไข่มุกยี่ห้อใดพบสารกันบูดในปริมาณที่เกินมาตรฐาน คำแนะนำในการบริโภค         รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ  อาจารย์และประธานหลักสูตรปริญญาโท สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้คำแนะนำในการบริโภคว่า ไม่ควรบริโภคชานมไข่มุก หรือ เครื่องดื่มประเภทเดียวกัน เช่น กาแฟเย็นมากกว่า 1 แก้วต่อวัน หากบริโภคชานมไข่มุกแล้ว เครื่องดื่มในมื้ออื่นๆ ควรเลือกเป็นน้ำเปล่า ที่สำคัญควรเลือกบริโภคชานมไข่มุกแก้วที่มีขนาดเล็กหน่อย เพราะจะให้ผลเสียต่อสุขภาพน้อยกว่า         การบริโภคชานมไข่มุกอาจทำให้เกิดพลังงานส่วนเกินมากกว่าที่ร่างกายเราใช้ไป หากสะสมจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น กรณีชานมไข่มุก เราจะได้น้ำตาล และแป้งจากเม็ดไข่มุก รวมถึงไขมันจากส่วนผสมที่เป็นนมหรือครีมเทียม ถ้าดูจากสัดส่วนจะเห็นว่าหนักในเรื่องน้ำตาล แป้ง และไขมัน ซึ่งถ้ากินชานมไข่มุกแทนมื้ออาหาร ก็จะทำให้ได้สารอาหารไม่ครบ แม้ว่าน้ำตาลจะให้พลังงาน แต่ไม่ได้ให้สารอาหารอื่นๆ ในขณะที่ถ้าเรากินข้าว ก็จะได้แร่ธาตุและวิตามิน หากเราบริโภคชานมไข่มุก อาจต้องไปลดปริมาณข้าวหรือแป้งในอาหารปกติลง เช่น เคยกินข้าว 3-4 ทัพพี ก็อาจลดเหลือแค่ 2 ทัพพี เพื่อไม่ได้เกิดพลังงานส่วนเกิน” แหล่งข้อมูลอ้างอิง:- สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล - wikipedia.org - คลิปวิดีโอ ThaiPBS “พิสูจน์ชานมไข่มุกร้านต้นตำรับที่ไต้หวัน : ดูให้รู้” - คลิปวิดีโอ ThaiPBS “ความยิ่งใหญ่อุตสาหกรรมชานมไข่มุก : ลงทุนทำกิน (3 มิ.ย. 62)” - ชาไข่มุก : ทำไมถึงกลับมาฮิต เกี่ยวโยงเศรษฐกิจ-การเมืองไต้หวันอย่างไร?     (https://voicetv.co.th/read/B1eivkqFm)  (https://voicetv.co.th/read/B1eivkqFm)

อ่านเพิ่มเติม >