ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชานี ตรวจพบน้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เนื่องจากมีสีสังเคราะห์ผสมอยู่เกินมาตรฐานกำหนด อากาศร้อนอบอ้าวอย่างที่เราเจอกันอยู่นี้ ถ้าได้เครื่องดื่มเย็น ๆ สักแก้วสองแก้วก็ช่วยคลายร้อนได้เยอะ แต่ในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองเงินทองทุกบาทก็ย่อมมีค่า น้ำอัดลมก็กลายเป็นของแพงไปเสียแล้ว จะไปซื้อหาผลไม้มาคั้นมาปั่นราคาก็ไม่ใช่ถูก ๆ แถมได้ปริมาณไม่มาก น้ำหวานเข้มข้นจึงเป็นที่พึ่งยามยากของหลาย ๆ ครอบครัว น้ำหวานเข้มข้นขวดหนึ่งก็สามารถผสมกับน้ำสะอาดทำเป็นน้ำหวานได้มากถึง 4 เท่า แถมยังมีให้เลือกหลายรสชาติตามแต่จะต้องการ แม้จะมีข้อดีในเรื่องของการประหยัดสตางค์ในกระเป๋า แต่น้ำหวานเข้มข้นก็ยังมีเรื่องที่ต้องระวังเช่นกัน เนื่องจากน้ำหวานเข้มข้นส่วนใหญ่หรือเกือบจะทั้งหมดล้วนใช้สีสังเคราะห์เป็นส่วนผสมด้วยกันทั้งนั้น และสีสังเคราะห์นี้หากผู้ผลิตเขาใส่มากเกินไปก็อาจจะเกิดอันตรายจากการสะสมของสารพิษที่อยู่ในสีสังเคราะห์นั้นได้ ฉลาดซื้อและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย , ขอนแก่น , บุรีรัมย์ , สุราษฎร์ธานี และสงขลา จึงได้ร่วมกันสำรวจตลาดและเก็บตัวอย่างน้ำหวานเข้มข้นในพื้นที่ของตน และได้ส่งไปให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 7 อุบลราชธานี ทำการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณของสีสังเคราะห์ที่ผสมอยู่ในน้ำหวานเข้มข้นยี่ห้อต่าง ๆ ยี่ห้อน้ำหวานเข้มข้นที่สำรวจพบมีทั้งหมด 12 ยี่ห้อ คือ 1.Heavy boy 2.โกลเด้นแพน 3.แคนดี-เคน 4.แคนดี้บอย 5.ซันนี่บอย 6.ท็อปส์ 7.เมาเทนเบส 8.วินนี่ บราวน์ 9.วินบอย 10.ออคิด 11.ฮอร์น บอย 12.เฮลซ์บลูบอย ส่วนกลิ่นและสีของน้ำหวานเข้มข้นที่สำรวจพบมีอยู่ 8 ชนิดด้วยกัน คือ 1.สับปะรด 2.ส้ม 3.สละ 4.องุ่น 5.ครีมโซดา 6.สตรอเบอรี่ 7.ซาสี่ 8.กุหลาบ กลิ่นและสีเหล่านี้เกิดจากการใช้สีสังเคราะห์มาเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตน้ำหวานเข้มข้น กลิ่นและสีบางอย่างก็เกิดจากการผสมสีสังเคราะห์ 2 ชนิดในสัดส่วนที่เหมาะสม อย่างกลิ่นครีมโซดาเกิดจากการผสมกันระหว่างสีสีตาร์ตราซีนและสีบริลเลียนท์บลู FCF เป็นต้น ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 7 ได้ทำการตรวจวิเคราะห์น้ำหวานเข้มข้นรวมทั้งสิ้น 52 ตัวอย่างจาก 12 ยี่ห้อดังกล่าว พบน้ำหวานเข้มข้นที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 1 ตัวอย่างคือ น้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ ในฉลากไม่ระบุชื่อผู้ผลิต ระบุเพียงสถานที่ผลิตคือ เลขที่ 456 ถ.ริมทางรถไฟสายปากน้ำ ต.คลองเตย อ.พระโขนง กรุงเทพฯ เลขทะเบียน อย./ฉผด. 98/36 เนื่องจากมีสีสังเคราะห์ผสมอยู่เกินมาตรฐานกำหนด(สีเอโซรูบีน 92.34 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) นอกจากนี้จากการสำรวจยังพบน้ำหวานเข้มข้นที่ทำผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องการแสดงฉลาก คือ ไม่มีการแสดงวันที่ผลิตหรือวันหมดอายุ ได้แก่ 1.Heavy boy แหล่งผลิตเลขที่ 456 ถ.ริมทางรถไฟสายปากน้ำ ต.คลองเตย อ.พระโขนง กรุงเทพฯ 2.Horn boy แหล่งผลิตโรงงาน ส.วัฒนา 43/20 หมู่ 7 ซ.วัดกำแพง เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 3.Win boy แหล่งผลิตโรงงานน้ำหวานสมชัย 68 หมู่ 1 ถ.สุขาภิบาล 2 ต.คลองขวาง อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี นอกจากน้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ ที่มีสีสังเคราะห์เกินมาตรฐานแล้ว นอกนั้นถือว่ามีการใช้สีสังเคราะห์ผสมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ตารางที่นำมาแสดงนี้จะเรียงตามปริมาณสีสังเคราะห์ตัวหลักจากน้อยไปมากและจะจัดเป็นกลุ่มตามกลิ่นของน้ำหวาน ชอบใจน้ำหวานรสหรือกลิ่นไหนก็เลือกกันได้เลย แต่อย่าลืมว่า น้ำหวานนั้นมีส่วนประกอบของน้ำตาลอยู่ค่อนข้างมาก ดื่มน้ำหวานมากระวังโรคอ้วนจะถามหา เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน วิธีการเลือกซื้อ เลือกดื่มน้ำหวานเข้มข้น1. ไม่จำเป็นต้องเลือกซื้อน้ำหวานเข้มข้นที่มีราคาแพง 2. แม้น้ำหวานเข้มข้นส่วนใหญ่จะมีปริมาณสีสังเคราะห์เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการรับสีสังเคราะห์เข้าสู่ร่างกาย ควรเลือกซื้อน้ำหวานที่มีปริมาณสีสังเคราะห์ที่มีปริมาณน้อยไปจนถึงปานกลาง(ของแต่ละตาราง) 3. ในการทำน้ำหวานให้เจือจางควรปฏิบัติตามฉลากที่แสดงคือ ผสมน้ำหวาน 1 ส่วน กับน้ำสะอาด 4 ส่วน เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับความหวาน และปริมาณสีสังเคราะห์มากเกินไป(แม้ว่าจะมีปริมาณสีสังเคราะห์อยู่ในเกณฑ์ก็ตาม) 4. ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรบริโภคน้ำหวาน เพราะร่างกายของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีน้ำตาลในเลือดมากเกินกว่าที่ตนเองจะใช้ได้หมดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลในรูปของอาหารประเภทใดก็ตาม งดได้ควรงด 5. เตือนตัวเองตลอดเวลาว่า น้ำที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายคือน้ำดื่มสะอาด(น้ำเปล่า) ไม่ควรดื่มน้ำหวานบ่อย ๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาโรคอ้วนได้(และจะมีโรคอื่น ๆ ตามมาอีกหลายโรค) เกณฑ์การควบคุมปริมาณสีที่ใช้เติมลงไปในน้ำหวานเข้มข้นกลุ่มสีแดง -สีปองโซ 4 อาร์ เติมได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม-สีเอโซรูบีน เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีเหลือง-สีตาร์ตราซีน , สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีเขียว-สีฟาสต์กรีน FCF เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีน้ำเงิน-สีอินดิโกร์คาร์มีน เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม-สีบริลเลียนท์บลู FCF เติมได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กรณีที่น้ำหวานมีสีผสมกันอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป -ต้องมีปริมาณรวมของสีทุกชนิดไม่เกินปริมาณของสีที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุด เช่น น้ำหวานที่มีสีตาร์ตราซีนและสีบริลเลียนท์บลู FCF ผสมกันอยู่ ต้องมีปริมาณรวมของสี 2 ชนิด ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม อันเป็นเกณฑ์ของสีบริลเลียนท์บลู FCF ที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุดนั่นเอง อันตรายของสีสังเคราะห์1.พิษของสีในระยะยาว สีส้ม (ซันเซ็ต เย็ลโล FCF) ถ้ารับประทานเกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะทำให้ท้องเดินและน้ำหนักตัวลด 2.พิษที่เกิดจากโลหะที่ปนมากับสีผสมอาหาร ตะกั่ว ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ และโลหิตจาง อาการต่อมาคือเป็นอัมพาตตามแขนขา สมองไม่ปกติ ชักกระตุก เพ้อคลั่ง และหมดสติ สารหนู ทำอันตรายต่อระบบส่วนกลาง ระบบทางเดินอาหาร ทำให้ตับอักเสบ และมีอันตรายต่อวงจรโลหิตที่ไปเลี้ยงหัวใจ อาจทำให้หัวใจวายได้ • โครเมียม ทำให้เวียนศีรษะ กระหายน้ำอย่างรุนแรง ปวดท้อง อาเจียนจนหมดสติ และเสียชีวิตเนื่องจากปัสสาวะเป็นพิษ ผลการวิเคราะห์น้ำหวานเข้มข้น โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต 7 อุบลราชธานี(เรียงตามปริมาณสีสังเคราะห์จากน้อยไปหามาก) ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์* (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 เมาเทนเบส กุหลาบ กรุงเทพฯ - - 12.32 - 2 เฮลซ์บลูบอย กุหลาบ กรุงเทพฯ - - 39.31 - 3 เฮลซ์บลูบอย กุหลาบ เชียงราย - - 39.63 - ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 วินนี่ บราวน์ ครีมโซดา เชียงราย 7.35 1.96 - - 2 โกลเด้นแพน ครีมโซดา สุราษฎร์ธานี 8.37 0.72 - - 3 โกลเด้นแพน ครีมโซดา กรุงเทพฯ 9.76 1.43 - - 4 ท็อปส์ ครีมโซดา สงขลา 10.14 1.46 - - 5 ท็อปส์ ครีมโซดา กรุงเทพฯ 10.15 0.85 - - 6 ออคิด ครีมโซดา กรุงเทพฯ 16.73 1.30 - - 7 ออคิด ครีมโซดา บุรีรัมย์ 18.14 1.25 - - 8 เมาเทนเบส ครีมโซดา กรุงเทพฯ 18.65 1.16 - - 9 แคนดี-เคน ครีมโซดา เชียงราย 19.51 1.35 - - 10 เฮลซ์บลูบอย ครีมโซดา บุรีรัมย์ 20.03 2.24 - - 11 แคนดี้บอย ครีมโซดา สุราษฎร์ธานี 21.12 1.50 - - 12 ซันนี่บอย ครีมโซดา สงขลา 23.63 3.74 - - 13 แคนดี้บอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 24.88 2.37 - - 14 ซันนี่บอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 26.25 3.62 - - 15 เฮลซ์บลูบอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 28.10 2.07 - - 16 Heavy boy ครีมโซดา ขอนแก่น 36.50 2.25 - - ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 เฮลซ์บลูบอย ซาสี่ กรุงเทพฯ ตรวจไม่พบสีสังเคราะห์ 2 เมาเทนเบส ทับทิม กรุงเทพฯ 14.07 - 25.04 - 3 วินบอย เพียเรด บุรีรัมย์ 22.96 2.03 - - 4 เฮลซ์บลูบอย สตรอเบอรี่ กรุงเทพฯ - - 42.39 - ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1
อ่านเพิ่มเติม >อีสานบ้านเฮา• หมูกระทะ อิ่มเยอะอาจเรื่องแยะ ร้าน หมูกระทะกลายเป็นกระแสนิยมของคนชอบกินมาหลายปี คงเป็นเพราะคนไทยเราชอบอะไรที่เป็นบุฟเฟ่ต์ ประมาณว่าจ่ายไม่ถึงร้อยแต่อร่อยได้ไม่อั้น ซึ่งใครที่ชอบทานอาหารปิ้งๆ ย่างๆ อย่างหมูกระทะก็คงเคยได้ยินคำร่ำลือเรื่องความไม่สะอาดของเนื้อหมูในร้านหมู กระทะกันมาบ้างไม่มากก็น้อย งานนี้ “ฉลาดซื้อ” ได้เครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในจังหวัดขอนแก่น บุกร้านหมูกระทะภายในจังหวัดจำนวน 8 ร้าน โดยเก็บตัวอย่างในเดือนกันยายน และ เดือน พฤศจิกายน 2552 เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ 3 ประเภทคือ แบคทีเรียซัลโมเนลร่า (Salmonella spp.), แบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus), และ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วงหรืออาหารเป็นพิษผลการตรวจสอบ- มีการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ซัลโมเนลล่า จำนวน 4 ตัวอย่างในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 (เดือนกันยายน) คือจากร้าน เพ้งเนื้อย่าง, MT เนื้อกระทะชุมแพ, 2K เนื้อกะทะ, และในสวนเนื้อย่างเกาหลี อย่างไรก็ตาม ไม่พบการปนเปื้อนเลยจากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 ซึ่งทำการเก็บตัวอย่างอีก 4 ตัวอย่าง (เดือนพฤศจิกายน) - พบการปนเปื้อนของแบคทีเรีย สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เกินมาตรฐานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ไม่สูงกว่า 200 โคโลนี ต่อกรัม) จำนวน 2 ตัวอย่างจากการเก็บ ตัวอย่างครั้งที่ 1 ที่ ร้านเพ้งเนื้อย่าง (6,300 โคโลนีต่อกรัม) และในสวนเนื้อย่างเกาหลี (5,300 โคโลนีต่อกรัม) สำหรับการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐานทั้ง 4 ตัวอย่างที่ร้าน บ้านสวนเนื้อเกาหลี (1,000 โคโลนี ต่อกรัม) เก็ตเนื้อกระทะ (175,000 โคโลนี ต่อกรัม) โอเนื้อเกาหลี (250,000 โคโลนีต่อกรัม) และเปาหมูกระทะ (10,000 โคโลนีต่อกรัม) - พบการปนเปื้อนของ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens) จากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 จำนวน 2 ตัวอย่าง ที่ร้านบ้านสวนเนื้อเกาหลี และ โอ เนื้อเกาหลี ข้อสังเกต มีตัวอย่างเนื้อหมูจากร้านค้าจำนวน 4 ร้านที่พบจุลินทรีย์ปนเปื้อน ถึง 2 ประเภทในตัวอย่างเดียว ได้แก่ ร้านเพ้งเนื้อย่าง (ซัลโมเนลล่ากลุ่ม OMC และเอส ออเรียส) ร้านในสวนเนื้อย่างเกาหลี (ซัลโมเนลล่ากลุ่ม E และเอส ออเรียส) ร้านบ้านสวนเนื้อเกาหลี (เอส ออเรียสและ ซี เพอร์พริงเจนส์) และ ร้านโอเนื้อเกาหลี (เอส ออเรียสและ ซี เพอร์พริงเจนส์) เนื้อหมูดิบ (ร้านหมูย่างเกาหลี) Salmonella spp. S. aureus C. perfringens วันที่เก็บตัวอย่าง (in 25 g) (cfu/g) (0.001g) เกณฑ์กรมวิทย์ฯ Not detected < 200 Not detected เพ้งเนื้อย่าง Detected group OMC 6.3 X 103 ไม่พบ 15-09-52 MT เนื้อกระทะชุมแพ Detected group C < 10 ไม่พบ 15-09-52 2K เนื้อกระทะ Detected group C < 10 ไม่พบ 15-09-52 ในสวนเนื้อย่างเกาหลี Detected group E 5.3 X 103 ไม่พบ 15-09-52 บ้านสวนเนื้อเกาหลี ไม่พบ 1 X 103 Detected 17-11-52 เก็ตเนื้อกะทะ ไม่พบ 1.7 X 105 ไม่พบ 17-11-52 โอเนื้อเกาหลี ไม่พบ 2.5 X 105 Detected 17-11-52 เปาหมูกะทะ ไม่พบ 1 X 104 ไม่พบ 17-11-52 สรุป อย่าได้กินแบบสุกๆ ดิบๆ นะจ๊ะ ปิ้งย่างให้สุกมากๆ จะได้ปลอดภัย • ไส้กรอกอีสาน ความอร่อยที่ต้องระวัง ไส้กรอกอีสานเป็นอาหารที่หาซื้อได้ง่าย รสชาติก็อร่อย แถมราคาก็ย่อมเยา ไส้กรอกอีสานส่วนใหญ่ทำมาจากเนื้อหมูผสมกับข้าวสุก หนังหมูหรือวุ้นเส้น กระเทียม แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงเพื่อให้เกิดรสเปรี้ยว ก่อนนำไปกรอกใส่ลงในไส้หมูที่ล้างทำความสะอาดมาแล้วเรียบร้อย เสร็จแล้วนำไปแขวนตากลมไว้ให้ไส้หมูแห้ง เป็นอันเรียบร้อยกระบวนการนำมาย่างหรือทอดกินได้ สำหรับไส้กรอกอีสานที่ขายอยู่ทั่วไป มีทั้งแบบที่ผู้ขายผลิตเองและที่ผลิตจากโรงงานซึ่งพ่อค้าซื้อมาปิ้งขายอีกที ซึ่งงานนี้ได้จังหวัดมหาสารคามทำหน้าที่เก็บตัวอย่างไส้กรอกอีสานในพื้นที่จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่ ส.ขอนแก่น ตลาดบรบือ ตลาดวาปีปทุม และตลาดนาเชือก โดยตรวจวัตถุเจือปนอาหาร 2 ประเภทคือ ไนเตรท และไนไตรท์ นอกจากนี้ยังตรวจหาจุลินทรีย์ปนเปื้อนอีก 2 ชนิดคือ แบคทีเรียซัลโมเนลร่า (Salmonella spp.), และ แบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ซึ่งเป็นการเก็บตัวอย่างอาหารครั้งที่ 1 ในช่วงเดือนกันยายน 2552 ผลการทดสอบ-ไม่พบการผสมไนเตรทและไนไตรท์ในไส้กรอกอีสานทุกตัวอย่าง -ตรวจพบการปนเปื้อนของซัลโมเนลล่า (Salmonella spp.) จำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 4 ตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือที่ ตลาดวาปีปทุม และตลาดนาเชือก -ตรวจพบการปนเปื้อนของแบคทีเรีย สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เกินมาตรฐานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 4 ตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือที่ ตลาดบรบือ (400,000 โคโลนีต่อกรัม) และตลาดนาเชือก (140,000 โคโลนีต่อกรัม) ข้อสังเกต มีตัวอย่างไส้กรอกอีสานจาก 1 พื้นที่ที่พบการปนเปื้อนทางจุลินทรีย์ถึงสองประเภท ในหนึ่งตัวอย่าง คือ ตัวอย่างที่เก็บจาก ตลาดนาเชือกพบการปนเปื้อนทั้งซัลโมเนลล่าและเอสออเรียส ไส้กรอกอีสาน (มหาสารคาม) ส.ขอนแก่น ตลาดบรบือ ตลาดวาปีปทุม ตลาดนาเชือก Standard Nitrate (mg/kg) Not detected Not detected Not detected Not detected Nitrite (mg/kg) Not detected Not detected Not detected Not detected Salmonella spp. (in 25 g) Not detected Not detected Detected group E Detected group E Not detected Staphylococcus aureus (cfu/g) < 10 4 X 105 < 10 1.4 X 105 < 200 สรุป มีเชื้อโรคปนเปื้อนพอสมควร อย่างไรก็ตามอันนี้ส่วนใหญ่เรารับประทานแบบสุก ดังนั้นก็ปลอดภัยพอรับได้ • น้ำปลาร้าบรรจุขวดสำหรับใส่ส้มตำ แซ่บมีเสี่ยง สำรวจอาหารถึงถิ่นอีสานทั้งที จะไม่สำรวจอาหารขึ้นชื่อของที่นี้อย่าง “ปลาร้า” เดี๋ยวจะหาว่าเข้าไม่ถึงอาหารท้องถิ่น “ฉลาดซื้อ” เราจึงเลือกสำรวจน้ำปลาร้า ที่นิยมใส่ในส้มตำปลาร้าเมนูโปรดรสแซ่บของใครหลายๆ คน งานนี้เป็นหน้าที่ของเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดมหาสารคาม จะพาไปทดสอบความสะอาดของน้ำปลาร้าสำหรับใส่ส้มตำเพื่อดูการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ก่อโรค 2 ชนิด คือ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) กับ บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) และค่าจุลินทรีย์รวม (Total Plate Count) การเก็บตัวอย่าง เก็บเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2552 ทั้งสิ้นจำนวน 4 ตัวอย่าง จากร้านค้าส้มตำในตลาดสดจังหวัด มหาสารคาม ผลการทดสอบ- ไม่มีตัวอย่างใดมีค่าจุลินทรีย์รวมเกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ - ไม่มีตัวอย่างใดที่พบเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ - ทุกตัวอย่างที่เก็บพบเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) ที่เป็นสาเหตุของการเกิดอาหารเป็นพิษ (อาเจียน ท้องเสีย) เกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (
สำหรับสมาชิก >สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านนิตยสารฉลาดซื้อทุกท่าน พบกันอีกครั้งกับหนังชีวิตเรื่องยาวของการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารโดยผู้บริโภค ฉบับก่อนผมนำเสนอข้อมูลผลการทดสอบนมโรงเรียนไป ก็ปรากฎว่ายังมีปัญหาอยู่ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะนมโรงเรียนประเภทพาสเจอร์ไรส์ และจนถึงขณะนี้เราได้เก็บตัวอย่างเพิ่มอีกสองครั้งแล้ว ไว้คอยติดตามผลกันนะครับ ส่วนในฉบับนี้ผมขอนำเสนอทุกท่านด้วยเรื่อง สาหร่ายอบกรอบ ของกินเล่นอาหารว่างเทรนด์ใหม่มาแรง สาหร่ายทะเลอบกรอบ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา ด้วยว่ามีคุณสมบัติและคุณประโยชน์ที่มากมาย จัดเป็นแหล่งอาหารที่มีไอโอดีนและแร่ธาตุอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่สูง แต่ว่าไม่มีอะไรดีไปทั้งหมด สาหร่ายทะเลพบแร่ธาตุอาหารที่ดีมากก็จริง แต่ก็พบสารเคมีที่อันตรายต่อสุขภาพด้วยครับ จากการเฝ้าระวังเรื่องการปนเปื้อนของสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในสาหร่ายทะเลในอดีตพบว่า ปัญหาสำคัญที่พบในสาหร่ายทะเลกินเล่นก็คือ การปนเปื้อนของสารแคดเมียม ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายในปริมาณที่น่ากังวลครับ ดังนั้นการเก็บตัวอย่างสาหร่ายทะเลอบกรอบครั้งนี้ จึงเน้นที่การปนเปื้อนของสารแคดเมียม ตะกั่ว อะฟลาท็อกซินและปริมาณของโซเดียมครับ การเก็บตัวอย่าง เราสุ่มเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 21 ตัวอย่าง 18 ยี่ห้อ จากพื้นที่ 8 จังหวัดดำเนินงาน โดยมีรายชื่อยี่ห้อสินค้าดังนี้ ซาลิมิ รสเข้มข้น (2 ตัวอย่าง), ซีเฟรนด์, แมกซ์, เทสโก้, ซันวา, ชนิชา, คุณฟิล์ม (2 ตัวอย่าง คือรสดั้งเดิมและรสต้มยำ), ตะวันแดง, โชกุเนะ (รสต้มยำ), ซีลีโกะ (รสต้นตำรับ), แม่โจ้, เถ้าแก่น้อย ( 2 ตัวอย่าง, Japanese panda, ชุมชนวัดแจ้ง, คาบูกิ, BI-NO ZAMBAI, A.JINTSUKE NORI, และ ยังบัน ผลการทดสอบ1. พบเชื้อ อะฟลาท็อกซินเล็กน้อย ในผลิตภัณฑ์ที่เก็บจากจังหวัดสงขลา 2 ยี่ห้อ คือ ยี่ห้อ A.JINTSUKE NORI ที่ปริมาณ 0.08 ไมโครกรัม/กิโลกรัม และยี่ห้อ ยังบัน ที่ปริมาณ 0.11 ไมโครกรัม/กิโลกรัม แต่ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ที่ 20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529) 2. สาหร่ายเกือบทุกตัวอย่างที่ตรวจหาสารตะกั่ว (19 ตัวอย่าง) พบว่ามีตะกั่วสะสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.162 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อย่างไรก็ตามไม่มีสาหร่ายยี่ห้อใดมีค่าเฉลี่ยสูงเกินค่าตะกั่วสูงสุดที่รับได้ตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุไว้ (1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม :ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529) 3. พบแคดเมียมปนเปื้อนในทุกตัวอย่างที่ตรวจ (19 ตัวอย่าง) และทุกตัวอย่างมีค่าแคดเมียมสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานสากล (CODEX) 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมีค่าเฉลี่ยของแคดเมียมที่พบอยู่ที่ 2.323 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และมีตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 8 ตัวอย่าง (7 ยี่ห้อ) มีค่าแคดเมียมสูงกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่ ซีลีโกะ (ต้นตำรับ) 6.91 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, เถ้าแก่น้อย 5.368 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, A.JINTSUKE NORI 4.551 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, เทสโก้ 3.99 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, แมกซ์ 3.04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ซันวา 2.95 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, และ ซาลิมิรสเข้มข้น จำนวน 2 ตัวอย่าง พบค่าแคดเมียมที่ 2.91 และ 2.399 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ ข้อสังเกตจากการทดสอบเราได้ตรวจพบสารเคมีการเกษตรตกค้างในผลิตภัณฑ์สาหร่ายที่เก็บจากจังหวัดพะเยา และ จังหวัดเชียงใหม่ โดยพบสารเคมีกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต ชนิด Ethion ในผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเถ้าแก่น้อยที่เก็บจากจังหวัดพะเยา และผลิตภัณฑ์สาหร่ายทอดแม่โจ้ ที่เก็บจากจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังพบสารเคมีและกลุ่ม Organophosphorus ชนิด Triazophos กับ Triphenyl phosphate ในผลิตภัณฑ์สาหร่ายทอดแม่โจ้ที่เก็บจากจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย อย่างไรก็ตามปริมาณสารเคมีที่พบในตัวอย่างทั้งสองที่เก็บจากจังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงใหม่ นั้นถือว่าอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก คือไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม กินแต่น้อย อร่อยพอดีๆ สาหร่ายทะเลอบกรอบ อย่างไรก็ยังจัดว่าเป็นของกินเล่นที่ดี เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ให้ระวังอย่ารับประทานมากเกินไป กินแต่น้อย อร่อยพอดีๆ นะครับ เพราะหนึ่ง รสชาติเค็ม จะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมสูง สองจากการทดสอบจะเห็นว่า มีการปนเปื้อนของแคดเมียมในปริมาณค่อนข้างสูง แม้เมื่อเทียบในปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอาจจะถือว่าเล็กน้อย แต่เราก็ไม่ควรสะสมสารโลหะหนักในร่างกายให้มากไป จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพในภายหลังครับ ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------เรื่องน่ารู้เกี่ยวแคดเมียมแคดเมียม คือโลหะที่เป็นเงาวับใช้ทำสิ่งของต่างๆ เช่น เส้นลวด กันชนรถยนต์ และกิจการอื่นๆ อีกมากมาย ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มีประมาณร้อยละ 50 ใช้ในการเคลือบเงาด้วยไฟฟ้าที่เรียกว่า Electroplated coating จะได้ผิวโลหะที่เคลือบด้วยแคดเมียมเป็นเงางามและทนต่อการกัดกร่อนไม่เป็นสนิม โลหะที่เคลือบด้วยแคดเมียมจะใช้ในอุปกรณ์รถยนต์ต่างๆ ทั้งที่เป็นส่วนของเครื่องยนต์และส่วนประกอบอื่นๆ รวมไปถึงน๊อตและสกรูด้วย นอกจากนั้นโลหะเคลือบแคดเมียมยังใช้เป็นชิ้นส่วนของเครื่องบิน วิทยุ โทรทัศน์ ตู้เย็น และอื่นๆ อีกมากมาย จากการใช้อย่างกว้างขวางทำให้พบโลหะแคดเมียมปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม บรรยากาศ และในอาหารที่คนเรากินโดยทั่วไป ดังนั้นมนุษย์เราจึงได้รับแคดเมียมเข้าไปในร่างกายได้หลายทางโดยไม่รู้ตัว เช่น คนงานที่ทำงานใช้โลหะแคดเมียมจะได้รับทางการหายใจเป็นส่วนใหญ่ คนทั่วๆ ไปจะได้รับจากอาหารที่กินเข้าไปเป็นหลัก และได้รับจากอากาศเล็กน้อย ขึ้นกับความสะอาดของอากาศ แต่คนที่สูบบุหรี่จะได้รับโลหะแคดเมียมจากบุหรี่มากพอสมควร แคดเมียมในอาหาร จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแหล่งผลิตอาหารและการปนเปื้อนของแคดเมียมในสิ่งแวดล้อมซึ่งเข้าไปปนอยู่ในน้ำและในดิน บริเวณใดที่มีโลหะแคดเมียมในดินสูงและมีการปลูกพืชบริเวณนั้น จะมีปริมาณแคดเมียมในพืชนั้นสูงตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น กรณีของบางเมืองในประเทศญี่ปุ่นที่อยู่บริเวณตอนใต้ของการทำเหมืองแร่ จะมีโลหะแคดเมียมถูกชะลงมาตามน้ำและสะสมในดิน เมื่อปลูกข้าวในบริเวณนั้นจะพบว่ามีปริมาณของแคดเมียมในข้าวสูงมาก จนทำให้คนญี่ปุ่นที่รับประทานข้าวจากบริเวณนั้นป่วยเป็นโรคพิษจากแคดเมียม กันมากมาย เพราะฉะนั้นน้ำจึงเป็นตัวพาแคดเมียมไปสะสมในที่ต่างๆ ถ้ายิ่งน้ำฝนที่เป็นกรดด้วยก็จะเพิ่มปริมาณการสะสมแคดเมียมในดิน พืชจึงดูดไปสะสมได้มากขึ้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานปลอดภัยในการได้รับแคดเมียมไว้ว่า คนปกติไม่ควรได้รับแคดเมียมเกิน สัปดาห์ละ 0.40 - 0.50 มิลลิกรัม --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- พิษของ แคดเมียมและโรคที่เกิดขึ้นการได้รับแคดเมียมจำนวนมากอาจทำให้ เกิดพิษเฉียบพลันได้ แต่ส่วนใหญ่โรคที่เกิดจากแคดเมียมมักเป็นชนิดเรื้อรัง โดยการได้รับแคดเมียมติดต่อกันเป็นเวลานาน โรคที่เกิดอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้ 1. โรคปอดเรื้อรัง การได้รับแคดเมียมนานๆ และในปริมาณมากโดยเฉพาะจากการหายใจ จะทำให้เกิดการอุดตันภายในปอด ผู้ที่มีความเสี่ยงมากคือคนทำงานกับผงแคดเมียมโดยตรง เช่น โรงงานแบตเตอรี่ขนาดเล็ก 2. โรคไตอักเสบ จะแสดงออกโดยมีการอักเสบของไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ท่อในไตซึ่งจะพบแคดเมียมในปัสสาวะสูง มีโปรตีน กลูโคสสูงในปัสสาวะ การทำงานทางท่อในไตเสียการทำงาน พบว่ามีการสะสมของแคดเมียมที่หมวกไตก่อให้เกิดการอักเสบและเป็นอันตรายต่อไป และอาจเป็นไตวายได้ในที่สุดการเกิดโรคไตอักเสบนี้จะเป็นแบบถาวร แม้ว่าจะไม่ได้รับแคดเมียมต่อไปแล้ว แต่ไตก็ยังไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาดังเดิมได้ 3. โรคกระดูก แคดเมียมทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมออกมาในปัสสาวะสูง และอาจมีแคดเมียมเข้าไปสะสมในกระดูกทำให้กระดูกพรุน และมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการปวดกระดูกสะโพก เช่นที่เกิดกับชาวญี่ปุ่นที่เมืองฟูซู ในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเรียกโรคนี้ว่า อิไตอิไต (itai itai) หรือ เอาซ์ เอาซ์ (ouch ouch) 4. โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ พบว่าแคดเมียมทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นมากและมีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูงขึ้นด้วย ซึ่งอาจจะเป็นการร่วมกันกับโรคไตดังที่กล่าวมาแล้ว 5. โรคมะเร็ง มีข้อมูลการศึกษาติดตามคนงานที่ทำงานสัมผัสกับแคดเมียม เช่น โรงงานทำแบตเตอรี่แห้งขนาดเล็ก พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด สูงกว่าคนทั่วไปและอาจมีผลต่อการเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งของต่อมลูกหมากด้วย ตารางผลทดสอบสาหร่ายอบกรอบกินเล่น มาตรฐาน Aflatoxin (µg/kg) < 20 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) Lead (mg/kg) < 1 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) Cadmium (mg/kg) ประเทศไทยยังไม่กำหนด ส่วนมาตรฐานของโคเด็กซ์ กำหนดไว้ ไม่เกิน 0.2 mg/kg สาหร่ายอบกรอบปรุงรส วันผลิต/ วันหมดอายุ % Salt Aflatoxin Lead Cadmium Yeast Mold (µg/kg) (mg/kg) (mg/kg) (cfu/g) (cfu/g) ซาลิมิ รสเข้มข้น 03-08-2009/03-08-2010 5.27 Not detected 0.363 2.91 < 10 3 X 10 กรุงเทพ ซีเฟรนด์ 25-03-2010 2.88 Not detected 0.074 0.342 < 10 < 10 แมกซ์ 30-09-2010 4.35 Not detected 0.245 3.04 < 10 < 10 เทสโก้ 09-09-09/09-10-10 4.74 Not detected 0.287 3.99 < 10 < 10 ซันวา ไม่ทราบ 5.28 Not detected 0.221 2.95 < 10 < 10 สมุทร ชนิชา ไม่ทราบ 1.51 Not detected 0.097 1.26 < 10 < 10 สงคราม คุณฟิลม์ ไม่ทราบ 1.01 Not detected 0.032 1.32 < 10 < 10 ตะวันแดง ไม่ทราบ 4.72 Not detected 0.078 1.17 < 10 < 10 คุณฟิล์ม (รสต้มยำ) 16/07/09 16/01/10 1.41 Not detected 0.2 0.65 < 10 13 ขอนแก่น โชกุเนะ (รสต้มยำ) 8/5/2009 08/03/10 1.46 Not detected 0.07 0.54 13 10 ซีลีโกะ (ต้นตำรับ) 11/4/2009 11/04/10 2.94 Not detected 0.16 6.91 < 10 10 เชียงใหม่ แม้โจ้ ไม่แสดงวันหมดอายุ ไม่ได้วิเคราะห์ Not detected ไม่ได้วิเคราะห์ ไม่ได้วิเคราะห์ < 10 15 พะเยา เถ้าแก่น้อย ไม่ทราบ ไม่ได้วิเคราะห์ Not detected ไม่ได้วิเคราะห์ ไม่ได้วิเคราะห์ < 10 < 10 Japanese panda ไม่ทราบ 0.7 Not detected Not detected 1.33 < 10 สตูล เถ้าแก่น้อย ไม่ทราบ 3.34 Not detected 0.297 5.368 < 10 ชุมชนวัดแจ้ง ไม่ทราบ 2.32 Not detected 0.053 1.238 < 10 คาบูกิ ไม่ทราบ 2.85 Not detected 0.2 1.872 < 10 BI-NO ZAMBAI ไม่ทราบ 3.01 Not detected 0.113 1.565 < 10 A.JINTSUKE NORI ไม่ทราบ 2.74 0.08 0.203 4.551 < 10 สงขลา ยังบัน
อ่านเพิ่มเติม >สวัสดีครับท่านผู้อ่านนิตยสารฉลาดซื้อทุกท่าน พชรกลับมารายงานตัวอีกครั้ง คราวก่อนผมนำเสนอข้อมูลเรื่องไส้กรอก ปรากฏว่าฮือฮากันไปพอสมควร ในครั้งนี้ผมขอนำเสนอเรื่องฮอตอีกเรื่องของปีที่ผ่านมา คือเรื่องนมโรงเรียนครับ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องหลักในโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังฯ ที่ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดดำเนินการขึ้นเพื่อเฝ้าระวังเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารในช่วงระยะเวลามิถุนายน 2552 – พฤษภาคม 2553 อีกเรื่องหนึ่งครับ โครงการนมโรงเรียนนี้เป็นอภิมหาโครงการที่ได้ชื่อว่า ไม่ค่อยโปร่งใสนัก อย่างเมื่อต้นปีที่แล้วก็มีข่าวนมบูดออกมาให้เดือดเนื้อร้อนใจกันไปทุกฝ่ายที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ รวมทั้งบรรดาผู้ปกครองด้วยล่ะครับที่กังวลว่า ลูกเราจะรอดปลอดภัยไหม ดังนั้นทางโครงการฯ จึงได้ลองสุ่มตัวอย่างนมโรงเรียน โดยเก็บตัวอย่างจากโรงเรียนในพื้นที่เป้าหมาย 8 จังหวัด ซึ่งแบ่งการเก็บตัวอย่างนมออกเป็นสองประเภทนะครับ คือนมพาสเจอไรซ์กับนมยูเอชที ผลการทดสอบเป็นอย่างไรบ้าง มาลองดูกันครับ นมโรงเรียนชนิดพาสเจอร์ไรซ์เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 16 ตัวอย่าง จาก 8 จังหวัดดำเนินงาน เฉลี่ยจังหวัดละ 2 ตัวอย่าง โดยมีรายชื่อผู้ผลิตดังนี้ สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี, สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น, หนองโพ, บ.แมรี่ แอนเดรี่โปรดักส์, สหกรณ์โคนมขอนแก่น, บ. ขอนแก่นแดรี่ส์, องค์การส่งเสริมกิจการโคนม, หจก. สารคามนมสด, ม.ขอนแก่น สถานีทดลองและฝึกอบรมเกษตรกรรม, สหกรณ์โคนมเชียงใหม่, บริษัท โกล์มิลค์ จำกัด, บริษัท เชียงใหม่ เฟรชมิลค์, สหกรณ์โคนมพัทลุง, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สงขลา, และไม่ทราบผู้ผลิต อีก 1 ตัวอย่าง ผลการทดสอบ1. พบผลิตภัณฑ์ที่มีค่าจุลินทรีย์รวม (Total Plate Count) เกินมาตรฐาน (≤ 5x104) cfu/ml จำนวน 7 ตัวอย่าง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จาก สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น 3.8 X 105 cfu/ml, สหกรณ์โคนมขอนแก่น 105 cfu/ml, บ. ขอนแก่นแดรี่ส์ 9 X 104 cfu/ml, องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 6.1 X 107 cfu/ml, หจก. สารคามนมสด 2.7 X 106 cfu/ml, ม.ขอนแก่น สถานีทดลองและฝึกอบรมเกษตรกรรม จังหวัดร้อยเอ็ด 1.7 X 106 cfu/ml, สหกรณ์โคนมเชียงใหม่ 9.2x106 cfu/ml, 2. พบผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตที่มีแบคทีเรีย โคลิฟอร์ม เกินมาตรฐาน (≤100) cfu/ml จำนวน 4 ตัวอย่าง คือ สหกรณ์โคนมขอนแก่น 4.6 X 104 cfu/ml, องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 1.1 X 104 cfu/ml, หจก. สารคามนมสด 4.6 X 104 cfu/ml, ม.ขอนแก่น สถานีทดลองและฝึกอบรมเกษตรกรรม จังหวัดร้อยเอ็ด 2.4 X 107 cfu/ml, และ สหกรณ์โคนมเชียงใหม่ 1.1 X 103 cfu/ml 3. พบผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตที่มีแบคทีเรีย อี โคไล เกินมาตรฐาน (ตรวจไม่พบในน้ำนมดิบที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อ 0.1 มิลลิลิตร = Not detected in/0.1ml) จำนวน 5 ตัวอย่าง ได้แก่ หจก. สารคามนมสด, ม.ขอนแก่น สถานีทดลองและฝึกอบรมเกษตรกรรม จังหวัดร้อยเอ็ด, สหกรณ์โคนมพัทลุง, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สงขลา, และผลิตภัณฑ์ที่เก็บจากโรงเรียนบ้านลาหงา จังหวัดสตูล 4. พบผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตที่มี แบคทีเรีย S. aureus เกินมาตรฐาน (ตรวจไม่พบในน้ำนมดิบที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อ 0.1 มิลลิลิตร = Not detected in/0.1ml) จำนวน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ สหกรณ์โคนมพัทลุง, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สงขลา, และผลิตภัณฑ์ที่เก็บจากโรงเรียนบ้านลาหงา จังหวัดสตูล 5. พบผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตที่มีค่าโปรตีนต่ำกว่ามาตรฐาน(≥ 2.8 % ของน้ำหนัก (g/100 ml)) จำนวน 3 ตัวอย่างได้แก่ สหกรณ์โคนมเชียงใหม่ 2.39%, บริษัท โกล์มิลค์ จำกัด 2.43%, และ บริษัท เชียงใหม่ เฟรชมิลค์ 2.52% ข้อสังเกตสำคัญผลิตภัณฑ์ที่เก็บจากจังหวัดขอนแก่นของผู้ผลิตจำนวน 3 ราย ได้แก่ สหกรณ์โคนมขอนแก่น, บ. ขอนแก่นแดรี่ส์, และ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มีค่าโปรตีนเฉลี่ยค่อนข้างสูง (4.56% 4.74% และ 4.62% ตามลำดับ) ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐาน ทำให้เกิดความกังวลว่า อาจมีการปนเปื้อนสารเมลามีนหรือไม่ อย่างไร เพื่อให้สบายใจ จึงได้ทำการเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อตรวจหาสารเมลามีนต่อไป นมโรงเรียนชนิด ยูเอชทีเก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 14 ตัวอย่างจาก 8 จังหวัดดำเนินงาน โดยมีรายชื่อผู้ผลิตดังนี้ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย มวกเหล็ก สระบุรี, บ. ฟรีสแลนด์ ฟู้ดส์ โฟร์โมสต์, หนองโพ, วัวแดง, สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น, องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), บ. แดรี่ พลัส, บริษัท เชียงใหม่ เฟรชมิลค์ จำกัด, โรงงานผลิตภัณฑ์นมภาคเหนือ, และบริษัท โกล์มิลค์ จำกัด ผลการทดสอบ1. พบค่าจุลินทรีย์รวม (Total Plate Count) เกินค่ามาตรฐาน (ND in 0.1 ml/ml) จำนวน 1 ตัวอย่างคือ ตัวอย่างที่เก็บจากโรงเรียนอนุบาลละงู พบค่า total plate count เท่ากับ 5x103 cfu/ ml 2. พบค่าโปรตีนฉลี่ยต่ำมาตรฐาน (≥ 2.8 % ของน้ำหนัก (g/100 ml))ในผู้ผลิตจำนวน 3 รายจากตัวอย่างที่เก็บจากจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดพะเยา ได้แก่ บริษัท เชียงใหม่ เฟรชมิลค์ จำกัด จำนวน 2 ตัวอย่าง 2.65% ที่เชียงใหม่ กับ 2.38% ที่พะเยา โรงงานผลิตภัณฑ์นมภาคเหนือ 2.57% และบริษัท โกล์มิลค์ จำกัด 2.4% ค่ามาตรฐาน นมโรงเรียนชนิดพาสเจอร์ไรซ์ Total plate count ≤ 5 x 104 (cfu/ml) Coliform ≤ 100 (cfu/ml) E. coli Not detected S. aureus Not detected B. cereus ≤ 100 (cfu/ml) Protein ³ 2.8 % ของน้ำหนัก (g/100 ml) ตารางผลทดสอบนมโรงเรียน ชนิดพาสเจอร์ไรซ์ นมพาสเจอร์ไรซ์ ขนาด 200 มิลลิลิตร Total plate count Coliform E. coli S. aureus B. cereus Protein (cfu/ml) (cfu/ml) (/0.1ml) (/0.1ml) (cfu/ml) (g/100 ml) จังหวัด สถานที่เก็บตัวอย่าง บริษัทผู้ผลิต วันหมดอายุ กรุงเทพ รร.อนุบาลวัดไผ่เขียว สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี 26/09/52 1.4 X 102 < 1 Not detected Not detected 1 cfu 3.2 โรงเรียนราษฎร์นิยมธรรม สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น 24/09/52 3.8 X 105 1.9 X 10 Not detected Not detected < 10 cfu 3.3 สมุทร สงคราม รร. ถาวรวิทยา หนองโพ ไม่ระบุ 1.4 X 102 < 1 Not detected Not detected 1 cfu 3.1 รร. เมืองสมุทรสงคราม บ.แมรี่ แอนเดรี่โปรดักส์ ไม่ระบุ 8.3 X 10 10 Not detected Not detected < 10 cfu 3 ขอนแก่น รร. การกุศลวัดหนองแวง สหกรณ์โคนมขอนแก่น 21/09/52 10 5 4.6 X 104 Not detected Not detected < 1 cfu 4.56 รร. บ้านบ่อใหญ่ บ. ขอนแก่นแดรี่ส์ 18/09/52 9 X 104 < 3 Not detected Not detected 1 cfu 4.74 รร.เทศบาลบ้านโนนชัย องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 19/09/52 6.1 X 107 1.1 X 104 Not detected Not detected < 1 cfu 4.62 มหาสาร คาม รร. บ้านหัวหนองคู หจก. สารคามนมสด ไม่ระบุ 2.7 X 106 4.6 X 104 Detected Not detected < 1 2.99 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบูรพา ม.ขอนแก่น สถานีทดลองและฝึกอบรมเกษตรกรรม จังหวัดร้อยเอ็ด ไม่ระบุ 1.7 X 106 2.4 X 107 Detected Not detected < 1 3.17 เชียงใหม่ โรงเรียนบ้านศรีบุญเรือง สหกรณ์โคนมเชียงใหม่ 18/9/52 9.2x106 1.1 X 103 Not detected Not detected Not detected 2.39 โรงเรียนวัดศรีดอนชัย บริษัท โกล์มิลค์ จำกัด 17/9/52 4.1x103 Not detected Not detected Not detected Not detected ตัวอย่างเสีย พะเยา เทศบาล ต.บ้านต๋อม บริษัท เชียงใหม่ เฟรชมิลค์ 17/9/52 6.4 x 10 < 3 Not detected Not detected Not detected 2.52 อบต.แม่สุก บริษัท โกล์มิลค์ จำกัด 14/9/52 3.7 x 10 < 3 Not detected Not detected Not detected 2.43 สตูล โรงเรียนบ้านลาหงา ไม่ระบุ 10/9/2552 1.6 x103 < 3
สำหรับสมาชิก >สวัสดีครับท่านผู้อ่านนิตยสารฉลาดซื้อทุกท่าน ผมในฐานะผู้ประสานงานโครงการ พัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ซึ่งเป็นโครงการที่ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดดำเนินการขึ้นเพื่อเฝ้าระวังเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (มิถุนายน 2552 – พฤษภาคม 2553) เพื่อจะได้รายงานผลแก่ผู้บริโภคและเตรียมนำเสนอในเชิงนโยบายต่อไป ตามรายละเอียดในโครงการฯ เราจะดำเนินการเก็บตัวอย่างอาหารกัน 4 ครั้งครับ ได้แก่ ช่วงเดือน กันยายนและพฤศจิกายน ปี 52 เดือนมกราคมและมีนาคม ปี 53 ซึ่งอาหารที่เราเลือกเก็บตัวอย่างนั้นมีด้วยกันหลากหลายประเภท โดยเครือข่ายภาคประชาชนจะเป็นผู้เก็บตัวอย่างอาหารชนิดต่างๆ แล้วส่งให้ห้องทดสอบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำเป็นผู้ทำการวิเคราะห์ครับ ถ้าจำกันได้บทความ "ซูชิ” เสน่ห์ข้าวปั้นญี่ปุ่นใน นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 105 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2552 ก็เป็นผลงานหนึ่งในโครงการนี้ครับ คราวนี้ผมมีผลสำหรับการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 ตั้งใจจะมานำเสนอเป็นชุดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ไส้กรอกหมู (มีไส้กรอกไก่แถมมาด้วยเล็กน้อย) แอปเปิ้ล ส้ม ผักคะน้า บรอคโคลี่ เห็ดหอม เห็ดหูหนูขาว สาหร่ายแกงจืด สาหร่ายที่เป็นขนมอบกรอบ แล้วยังมีอาหารท้องถิ่นอย่าง ไส้กรอกอีสาน แหนม เนื้อหมูดิบในร้านหมูกะทะ กุ้งแห้ง กะปิ น้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญ และที่มาแรงสำหรับปีนี้คือ นมโรงเรียน มานำเสนอพร้อมกันทีเดียว แต่ว่า… ท่านบก.ที่เคารพก็เตือนมาว่าถ้ามีเรื่องอยากบอกท่านผู้อ่านเยอะขนาดนี้ไปออกหนังสือของตนเองขายจะดีกว่า อย่ากระนั้นเลยครับ ผมขอตัดมารายงานผลกันสักสองเรื่องก่อนนะครับ แล้วก็ขอจองเป็นหนังชีวิตเรื่องยาวในฉลาดซื้อกันต่อไป ผลทดสอบไส้กรอกหมูยังพบว่ามีการใช้วัตถุกันเสียที่เกินมาตรฐานและใส่สีในหลายผลิตภัณฑ์ และในทุกผลิตภัณฑ์ที่ตรวจพบวัตถุกันเสีย ไม่มีการแสดงฉลากระบุว่า มีการใช้วัตถุกันเสีย ซึ่งเป็นการแสดงฉลากที่ไม่ถูกต้อง เราเก็บตัวอย่างไส้กรอกหมูกันในพื้นที่เครือข่าย 7 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา และสงขลา ได้จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 26 ตัวอย่าง จาก 23 ยี่ห้อ ส่วนใหญ่เลือกเก็บในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และตลาดสดขนาดใหญ่ของจังหวัด ที่ผู้คนนิยมมาจับจ่ายสินค้า ผลทดสอบวัตถุกันเสีย กลุ่มเบนโซอิคและซอร์บิค1. พบกรดเบนโซอิคเกิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 3 ตัวอย่างจาก 23 ยี่ห้อ ได้แก่ หมู 5 ดาว ปริมาณสูงถึง 3,428.79 มิลลิกรัม/กิโลกรัม MA ปริมาณ 1,150 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ JPM ปริมาณ 1,109.57 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อีกจำนวน 10 ยี่ห้อ พบกรดเบนโซอิคในปริมาณต่ำกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่ ซุปเปอร์เซฟ SSP JPM BKP CPF PPF สหฟาร์ม คุ้มค่า ดีนิ และ ARO ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร นั้น ห้ามมิให้มีการใส่กรดเบนโซอิค เว้นแต่ขอ อนุญาตจาก อย. 2. พบกรดซอร์บิค 4 จาก 23 ยี่ห้อที่ส่งตรวจ (มีผลิตภัณฑ์ 10 ยี่ห้อ ที่ไม่ได้ทำการวิเคราะห์หากรดซอร์บิค) ผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ยี่ห้อได้แก่ หมูสองตัว 236.8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หมูตัวเดียว 234.58 มิลลิกรัม/กิโลกรัม S&P 204.12 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ TGM 203.31 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งตามกฎหมายห้ามมิให้ใช้ซอร์บิคในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ทุกชนิด เว้นแต่ขออนุญาตจาก อย. วัตถุกันเสีย กลุ่มไนเตรทและไนไตรท์3. พบสารไนเตรท ในผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 15 จาก 23 ยี่ห้อ อย่างไรก็ตามปริมาณสารไนเตรทที่พบมีปริมาณน้อยมากคือไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ยกเว้นยี่ห้อ หมู 5 ดาวที่พบ ไนเตรท สูงถึง 100.62 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แต่ก็ยังไม่เกินปริมาณไนเตรทที่กฎหมายกำหนดคือไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม4. ไม่พบสารไนไตรท์เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ มีได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในทุกผลิตภัณฑ์5. มีผลิตภัณฑ์อยู่ 1 ยี่ห้อ ที่มีการใช้ทั้งไนเตรทและไนไตรท์ ผสมกันเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดคือ 125 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่ยี่ห้อ หมู 5 ดาว ที่เก็บตัวอย่างมาจากตลาดเทศบาลเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ข้อสังเกต ผลิตภัณฑ์ตัวเดียวกันนี้ยังพบการใช้กรดเบนโซอิคในปริมาณที่สูงถึง 3,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมดังได้แจ้งไว้ในข้อ 1 อีกด้วย การใช้สีผสมในอาหาร6. พบการใช้สีสังเคราะห์ในอาหารซึ่งตามกฎหมายห้ามมิให้ใส่จำนวน 4 ยี่ห้อ ได้แก่ ARO ของบริษัท ซีพีเอฟ พบสี poceau 4R บีวัน ของ บริษัทอาหารเบทเทอร์ จำกัด พบสี Erythrosine BKP ของบริษัทกรุงเทพโปรดิวส์ จำกัด พบสี Erythrosine และ Poncoau4R และ CPF ของบริษัทซีพีเอฟ ผลิตภัณฑ์อาหาร พบสี Erythrosine&Tartrazine ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขห้ามใส่สีในอาหารประเภทนี้ 7. พบ อี โคไล ในปริมาณที่สูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แนะนำคือ น้อยกว่า 3 เอ็มพีเอ็นต่อกรัม จำนวน 1 ยี่ห้อ คือ ยี่ห้อคุ้มค่า เทสโก้โลตัสที่เก็บตัวอย่างจากโลตัสสาขารัชดา ซึ่งพบอี โคไล ที่ 3.6 เอ็มพีเอ็นต่อกรัม ไส้กรอก เป็นเทคนิคการถนอมอาหารที่เก่าแก่อย่างหนึ่ง นับถอยหลังไปได้ถึง สมัยบาบิโลเนีย หรือเมื่อประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว กุนเชียง ไส้อั่ว หมูยอ หม่ำ และไส้กรอกอีสาน ก็นับเป็นไส้กรอกชนิดหนึ่งเช่นกันไส้กรอกอย่างฝรั่ง เรียกว่า sausage มีรากศัพท์จากภาษาละติน “salsus" หมายถึง เนื้อสัตว์ที่มีการเก็บรักษาโดยใช้เกลือ ในการผลิตไส้กรอก มักจะมีการเติมสารไนเตรทเพื่อใช้เป็นวัตถุกันเสีย หรือแต่งให้สีแดงสวย ซึ่งนอกจากมีในไส้กรอกแล้ว ยังมีการเติมในสารไนเตรท แฮม เบคอน แหนม กุนเชียง หรือแม้กระทั่งไส้กรอกอีสานด้วยเช่นกัน การเติมสารไนเตรทเกินมาตรฐานที่กำหนด จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เนื่องจากไนเตรทเป็นสารตั้งต้นของสารก่อมะเร็ง ที่รู้จักในชื่อไนโตรซามีน (Nitrosamine) ดังนั้นการเลือกบริโภคอาหารประเภทนี้ ควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่เรามั่นใจ มีรายละเอียดบนฉลากที่ชัดเจน ครบถ้วน และที่สำคัญคือให้สังเกตสีของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ต้องไม่แดงจัดผิดปกติ เพราะสีก็ห้ามใส่ในอาหารประเภทนี้ด้วยเช่นกัน เรื่องน่ารู้ : วัตถุกันเสีย กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้วัตถุเจือปนอาหารในอาหารหลายชนิด แต่ไม่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมด ดังนั้นอาหารที่จำเป็นต้องใช้วัตถุกันเสียเพื่อเก็บรักษาและถนอมอาหารควรใช้เท่าที่จำเป็น การใช้เกินความจำเป็นอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ วัตถุกันเสียที่นิยมใช้ในอาหาร- กรดเบนโซอิคพบได้ตามธรรมชาติในผลไม้มีคุณสมบัติในการทำลายยีสต์และแบคทีเรีย- กรดซอร์บิคเป็นวัตถุกันเสียใช้ยับยั้งการเจริญของยีสต์และรา นิยมใช้ในอาหาร เช่น เหล้า ไวน์ อาหารหมักดองและน้ำผลไม้ - องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่า ADI ของกรดเบนโซอิค และซอร์บิค เท่ากับ 5 และ 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน- เมื่อคิดค่าเฉลี่ยน้ำหนักผู้บริโภคคนไทย คือ 50 กิโลกรัม ปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภค (เบนโซอิคและซอร์บิค) คือไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน และ 1250 มิลลิกรัมต่อวัน ดาวโหลดตารางผลการทดสอบ ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ทดสอบเท่านั้น ร่วมวิเคราะห์ผลโดย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำหรับสมาชิก >“ซูชิ” เสน่ห์ข้าวปั้นญี่ปุ่นถ้าพูดถึงแดนอาทิตย์อุทัย เชื่อว่าหลายๆ คนก็คงอดนึกถึงอาหารญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า “ซูชิ” (Sushi) ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นซูชิหน้าปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาบะ หรืออีกสารพัดหน้า นึกภาพแล้วน้ำลายก็เริ่มสอ ด้วยรสชาติอันโอชะและคุณค่าต่างๆ ที่ได้รับ โดยเฉพาะโปรตีนจากเนื้อปลาดิบ ซูชิจึงดูเหมือนจะกลายเป็นอาหารจานโปรดของบรรดานักบริโภคทั้งหลาย เพราะทั้งสะดวกและอร่อย ปัจจุบันร้านขายซูชิผุดขึ้นมาเหมือนดอกเห็ดทั่วบ้านทั่วเมือง ตั้งแต่ร้านค้าชั้นนำลงมากระทั่งร้านแผงลอยริมฟุตบาท แม้หลายคนนิยมชมชอบการกินซูชิ แต่ก็คงนึกหวาดๆ กับคำเตือนให้ระวังเชื้อโรคจากการกิน “ซูชิ” โดยเฉพาะหน้าปลาดิบต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ ทางโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ร่วมกับฉลาดซื้อ จึงลองสุ่มสำรวจซูชิหน้าปลาแซลมอน ซึ่งเป็นหน้าปลาดิบที่คนไทยนิยมรับประทาน จากร้านค้า 5 แห่ง ได้แก่ โออิชิ ฟูจิ เซน มิกะซูชิ และพรานทะเล ส่งสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ทดสอบหาจุลินทรีย์ก่อโรค ได้แก่ Fecal coliform, Salmonella, S.aureus และ V.parahaemolyticus ผลการทดสอบ ไม่พบเชื้อ Salmonella ในทุกตัวอย่าง ส่วนเชื้อ Fecal coliform S.aureus และV.parahaemolyticus พบในปริมาณน้อยมาก ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด (เว้นแต่จะปล่อยทิ้งไว้นานๆ จนเชื้อโรคขยายตัว) ผลการทดสอบ ซูชิหน้าปลาแซลมอน ผู้ผลิต วันที่เก็บตัวอย่าง ราคา (บาท)/ชิ้น สถานที่เก็บตัวอย่าง ผลทดสอบจุลินทรีย์ Fecal coliform Salmo nella S. aureus V.parahaemolyticus โออิชิ 7/09/52 23 สถานีรถไฟฟ้าสยาม < 3 ไม่พบ < 10 cfu < 10 cfu ฟูจิ 7/09/52 35 สยามเซ็นเตอร์ < 3 ไม่พบ < 10 cfu < 10 cfu เซน 7/09/52 45 สยามเซ็นเตอร์ < 3 ไม่พบ < 10 cfu < 10 cfu มิกะ ซูชิ 7/09/52 15 โลตัสอ่อนนุช < 3 ไม่พบ < 10 cfu < 10 cfu พรานทะเล 7/09/52 10 บิ๊กซีพระรามสอง < 3 ไม่พบ < 10 cfu < 10 cfu วิเคราะห์ผลโดย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลทดสอบเพื่อตรวจหาเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในซูชินั้น จะพบเชื้อโรคในปริมาณน้อยมาก แต่การทดสอบนี้ก็ทำเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่ทางโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารฯ และฉลาดซื้อได้เลือกสำรวจและนำมาศึกษาเท่านั้น ผู้บริโภคก็ยังคงต้องระมัดระวัง โดยเลือกซื้ออาหารจากร้านค้า “ซูชิ” ที่มีการจัดการเรื่องความสะอาดที่ดี ภาชนะที่เก็บวัตถุดิบมีการป้องกันการปนเปื้อนของฝุ่นละออง และอาหารสดก็ต้องมีการรักษาอุณหภูมิเพื่อมิให้เชื้อโรคเจริญเติบโตจนอาจก่อปัญหาต่อสุขภาพ จะได้รับประทานซูชิกันอย่างเอร็ดอร่อยและปลอดภัย ฉลาดซื้อแนะนำ1.เลือกร้านค้าที่มีการจัดการเรื่องความสะอาดที่ดี2.ควรเลือกซูชิจากร้านที่ขายดี มีการทำแบบสดใหม่จะดีกว่า อีกอย่างมันมีการหมุนเวียนของซูชิออกไปอย่างต่อเนื่อง 3. ควรหลีกเลี่ยงการซื้อซูชิที่จัดวางไว้เรียบร้อย ซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้ว่าผ่านการปรุงแต่งมานานแค่ไหน4.หากเป็นไปได้ก็ควรจะเลือกกินหน้าที่ปรุงสุกดีกว่าหน้าที่เป็นของดิบ แต่ถ้ายังติดอกติดใจกับรสชาติอาหารดิบๆ ก็ไม่ควรรับประทานบ่อยเกินไป 5.ความเย็นสามารถชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ ดังนั้นซูชิที่เย็นย่อมดีกว่าซูชิที่อยู่ในอุณหภูมิปกติ และนั่นแสดงให้เห็นว่าร้านนั้นๆ มีการเก็บรักษาอาหารอย่างเหมาะสม มารู้จักซูชิกันสักนิด...เริ่มแรกก่อนที่ ซูชิ” หรือ “ข้าวปั้นมีหน้า” จะเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกนั้น ชาวญี่ปุ่นได้นำข้าวมาอัดเป็นก้อนและนำปลามาวางบนด้านหน้า ซึ่งถือเป็นกรรมวิธีในการถนอมอาหารของพวกเขา ต่อมาเริ่มมีซูชิหน้าต่างๆ เกิดขึ้น เช่น ปลาหมึก กุ้ง ผัก ไข่ เห็ด ฯลฯ จนมีหน้าตาของซูชิให้เลือกมากมายและแพร่หลายไปทั่วอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน โดยเฉพาะนิงิริซูชิ ซึ่งมีลักษณะเป็นข้าวรูปก้อนวงรี มีปลาดิบ ปลาหมึก กุ้ง ฯลฯ วางไว้ด้านบน ตกแต่งด้วยวาซาบิ สาหร่ายทะเลทำให้อร่อย ดูน่ารับประทาน มักได้รับความนิยมมากที่สุดและหาทานได้ง่ายตามภัตตาคารหรือร้านอาหารทั่วไป นอกจากนี้ยังมีซูชิประเภทต่างๆ อีก ได้แก่ มากิซูชิ ซึ่งมีทั้งแบบห่อข้าวอยู่ด้านในสาหร่าย ห่อสาหร่ายอยู่ด้านใน และห่อเป็นรูปกรวย ส่วน ชิราชิซูชิ จะนำกุ้ง ผัก ไข่ ปลาดิบ ปลาหมึก ฯลฯ โดยหั่นเป็นชิ้นๆ มาเรียงบนข้าวที่ใส่อยู่ในกล่อง รวมถึง โอชิซูชิ เป็นการนำข้าวมาอัดลงในแม่พิมพ์รูปสี่เหลี่ยมตามยาว หั่นพอดีคำและนำปลามาวางไว้บนข้าว และสุดท้ายก็คือ อินะริซูชิ ซึ่งเป็นซูชิที่นำเนื้อมาใส่ในเต้าหู้ที่มีลักษณะเป็นถุง ชนิดของเชื้อก่อโรค- Fecal coliform คือ เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์เลือดอุ่น และเป็นเชื้อโรคชนิดเดียวกันที่อยู่ในอุจจาระคน เมื่อพ่อครัว แม่ครัวที่ประกอบอาหารซูชิทั้งหลายล้างมือไม่สะอาดหลังเข้าห้องน้ำ เชื้อโรคนี้ก็อาจปนเปื้อนอยู่ในอาหาร ส่งผลให้เกิดโรคท้องร่วงได้- Salmonella เป็นแบคทีเรียอีกชนิดหนึ่ง มักพบในเนื้อดิบ นม ไข่ ไก่ ปลา กุ้ง ซอสน้ำสลัด ครีมที่ใช้ทำเค้กและของหวาน เป็นต้น เมื่อเชื้อโรค Salmonella ผ่านเข้าไปในลำไส้เล็ก จะทำให้เกิดบาดแผลเป็นพิษที่ลำไส้ และมักจะแสดงอาการท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ รวมถึงปวดศรีษะ- S. aureus (Staphylococcus aureus) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ เมื่อทานอาหารที่มีเชื้อนี้ปนอยู่ จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องและท้องร่วงและ ที่สำคัญเชื้อโรคตัวนี้จะสามารถอำพรางตัวในอาหารได้เป็นอย่างดีเชียวแหละ เพราะอาหารจะไม่มีกลิ่น สี หรือรสชาติที่เปลี่ยนไป- V. parahaemolyticus พบมากในอาหารทะเลพวกกุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งเชื้อโรคตัวนี้ก็เป็นแบคทีเรียอีกชนิดที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษหรือทางเดินอาหารอักเสบ รวมทั้งอาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางบาดแผลได้
สำหรับสมาชิก >>>>อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่านonline 200 บาท/ ต่อปี >>> โอนเงินแล้ว +แนบรูปการโอน พิมพ์ชื่อ - ที่อยู่ + ส่งมาที chaladsue@gmail.com >>> เปิดอ่าน full Version ทันทีจ้าาาาาา(เลข บช. ด้านล่างบทความ) ผลการทดสอบกระทะก้นแบนชนิดเคลือบผิว ปัจจุบันสินค้าประเภทกระทะก้นแบนหรือหม้อที่วางขายอยู่ในท้องตลาด มีให้เลือกใช้หลากหลายยี่ห้อ โดยเฉพาะกระทะก้นแบนชนิดมีการเคลือบผิว มีหลายชนิดและมีความแตกต่างทางด้านราคามากทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่แน่ใจ ส่วนหนึ่งตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าชนิดนี้ โดยพิจารณาจากราคา การออกแบบ รูปลักษณ์ความสวยงามเป็นหลัก ฉลาดซื้อและเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภคจึงได้ทำการทดสอบกระทะก้นแบนชนิดมีการเคลือบผิว(เทฟลอน) โดยใช้หลักการและข้อมูลทางด้านเทคนิค เพื่อนำผลการทดสอบมาใช้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อกระทะที่สามารถตอบสนองความต้องการการใช้งานในครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น การทดสอบครั้งนี้ ได้สุ่มซื้อกระทะเคลือบ ชนิดก้นแบน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของกระทะ 26 เซนติเมตร จำนวน 13 ยี่ห้อ จากห้างสรรพสินค้าและไฮเปอร์มาร์เก็ตในกรุงเทพมหานคร ราคาตั้งแต่ 500 บาท ถึง 2,000 กว่าบาท โดยทดสอบเปรียบเทียบในเรื่องความเร็วในการถ่ายเทความร้อน การใช้พลังงาน การกระจายตัวของอุณหภูมิที่บริเวณก้นกระทะ และความสะดวกในการทำความสะอาด ตลอดจนความหนาของวัสดุที่เคลือบ โดยแสดงผลตามตารางที่ 1 การทดสอบความเร็วในการถ่ายเทความร้อน ทดสอบโดยต้มน้ำปริมาตร 1 ลิตร โดยอุณหภูมิเริ่มต้นของน้ำ คือ 26 องศาเซลเซียส เปิดฝา จับเวลา และวัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ตั้งแต่เริ่มต้มจนกระทั่งน้ำเดือด โดยต้มบนเตาไฟฟ้า ผลจากการทดสอบสามารถแบ่งกระทะ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ให้ความร้อนได้เร็วมาก ได้แก่ กระทะยี่ห้อ Tefal และยี่ห้อ Tesco Lotus โดยกระทะ Tefal ใช้เวลา 7 นาที 15 วินาที และ ยี่ห้อ Tesco Lotus ใช้เวลาเพียง 7 นาที 9 วินาที ในการต้มจนน้ำเดือด กลุ่มที่ให้ความร้อนเร็ว ได้แก่ กระทะยี่ห้อ Dream Chef ใช้เวลา 7 นาที 46 วินาที ยี่ห้อ Calphalon โดย ใช้เวลา 7 นาที 54 วินาที ยี่ห้อ Meyer ใช้เวลา 7 นาที 50 วินาที ยี่ห้อ Sehaming ใช้เวลา 7 นาที 45 วินาที ในการต้มจนน้ำเดือด กลุ่มที่ให้ความร้อนเร็วปานกลาง ได้แก่ กระทะยี่ห้อ Kosy ใช้เวลา 8 นาที 52 วินาที ยี่ห้อ Egg Dance ใช้เวลา 8 นาที 49 วินาที และยี่ห้อ คาร์ฟู ใช้เวลา 8 นาที 50 วินาที กลุ่มที่ให้ความร้อนช้า ได้แก่ กระทะยี่ห้อ Seagull ใช้เวลา 9 นาที 44 วินาที ยี่ห้อ Circulon และยี่ห้อ Zebra ใช้เวลาเท่ากันคือ 9 นาที 59 วินาที และยี่ห้อ Supor ใช้เวลา 10 นาที 20 วินาที การทดสอบการกระจายตัวของอุณหภูมิ วิธีการนี้ใช้กล้องรังสีอินฟราเรด ตรวจวัดอุณหภูมิของก้นกระทะที่ตั้งวางไว้บนเตาไฟฟ้า โดยที่มีอุณหภูมิของเตาไฟฟ้าที่วัดได้สูง ประมาณ 370 องศาเซลเซียส แล้วทำการบันทึกอุณหภูมิ ณ เวลาต่างๆ กัน โดยจะทำการบันทึกอุณหภูมิตั้งแต่เริ่มตั้งกระทะไว้บนเตาจนกระทั่งก้นกระทะมีอุณหภูมิสูงสุด การทดสอบนี้จะทำให้ทราบถึงสมบัติหรือความสามารถในการกระจายความร้อนที่ก้นกระทะ ซึ่งหากกระทะยี่ห้อใดมีบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงสุด เป็นบริเวณกว้าง ก็จะทำให้ความร้อนส่งผ่านไปยังอาหารที่ปรุงได้เร็วขึ้นจากการวัดอุณหภูมิได้ผลการกระจายตัวของอุณหภูมิดังนี้ (ดูตารางที่ 2) กระทะที่มีการกระจายตัวของอุณหภูมิที่ดี ได้แก่ ยี่ห้อ Circulon, ยี่ห้อ Zebra, ยี่ห้อ Calphalon, ยี่ห้อ Tefal, ยี่ห้อ Meyer, และยี่ห้อ Egg dance กระทะที่มีการกระจายตัวของอุณหภูมิ ระดับดีปานกลาง ได้แก่ ยี่ห้อ Dream Chef, ยี่ห้อ Seagull, ยี่ห้อ Supor, และยี่ห้อ Tesco กระทะที่มีการกระจายตัวของอุณหภูมิ ระดับพอใช้ ได้แก่ ยี่ห้อ Sahaming, ยี่ห้อ Kosy และยี่ห้อ Carrefour การวัดความหนาของผิวเคลือบบนก้นกระทะ ความหนาของชั้นเคลือบบนก้นกระทะ เป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพของกระทะอีกเช่นกัน ดังนั้นเราจึงทำการผ่ากระทะ แล้วจึงนำมาส่องกล้องจุลทรรศน์ (Light Microscope) เพื่อ วัดความหนาของชั้นเคลือบ (ดูรูปที่ 1) จากผลการวัดพบว่า กระทะที่มีการเคลือบผิวโดยที่ความหนาของผิวเคลือบ มากกว่า 60 ไมครอน ได้แก่ ยี่ห้อ Zebra (หนา 75 ไมครอน)ยี่ห้อ Tefal (หนา 90 ไมครอน) ยี่ห้อ Egg dance (หนา 60 ไมครอน) กระทะที่มีการเคลือบผิวโดยที่ความหนาของผิวเคลือบ ระหว่าง 50- 60 ไมครอนได้แก่ ยี่ห้อ Dream Chef (หนา 55 ไมครอน), ยี่ห้อ Circulon (หนา 55 ไมครอน)ยี่ห้อ Kosy (หนา 50 ไมครอน) กระทะที่ผิวเคลือบหนาน้อยกว่า 50 ไมครอน ได้แก่ ยี่ห้อ Seagull (หนา 30 ไมครอน)ยี่ห้อ Supor (หนา 30 ไมครอน) ยี่ห้อ Calphalon (หนา 40 ไมครอน)ยี่ห้อ Meyer (หนา 35 ไมครอน) ยี่ห้อ Sahaming (หนา 45 ไมครอน) ยี่ห้อ Tesco (หนา 30 ไมครอน) ยี่ห้อ Carrefour (หนา 30 ไมครอน) รูปที่ 1 แสดงภาพตัดขวางของกระทะเพื่อวัดชั้นความหนาของชั้นเคลือบการทดสอบทำความสะอาดการทดสอบการทำความสะอาด ใช้วิธีการต้มนมสดจนกระทั่งนมสดแห้ง ติดก้นกระทะ แล้วจึงนำกระทะไปทำความสะอาด เพื่อดูว่ากระทะยี่ห้อใด สามารถล้างคราบไหม้ของนมที่ติดอยู่บนก้นกระทะออกได้ง่าย ผลการทดสอบในประเด็นนี้พบว่า กระทะที่สามารถล้างคราบไหม้ของนมก้นกระทะออกได้ง่าย ได้แก่ กระทะยี่ห้อ Dream Chef ยี่ห้อ Seagullยี่ห้อ Suporยี่ห้อ Calphalonยี่ห้อ Tefalยี่ห้อ Meyer.ยี่ห้อ Sahamingยี่ห้อ Kosy ยี่ห้อ Eggdance กระทะที่ล้างคราบไหม้ของนมก้นกระทะออกได้ยาก เนื่องจากคราบไหม้ติดแน่นที่ก้นกระทะ ได้แก่ ยี่ห้อ Circulonยี่ห้อ Tesco ยี่ห้อ Carrefour ตารางที่ 2 การกระจายตัวของความร้อน เปรียบเทียบอุณหภูมิเริ่มต้น และอุณหภูมิสูงสุดและเวลาที่ใช้ หมายเหตุ: เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภคขอขอบคุณภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีที่ให้ความอนุเคราะห์การถ่ายภาพกล้องตรวจวัดอุณหภูมิ ด้วยรังสีอินฟราเรดในการทดสอบครั้งนี้คำแนะนำการใช้กระทะเคลือบเทฟลอน การเลือกซื้อกระทะเบื้องต้นเลือกซื้อกระทะที่ก้นกระทะเรียบ ได้ระนาบ ไม่โค้งงอสู่ด้านล่าง เพราะจะทำให้การถ่ายเทความร้อนไม่ดี และอาจทำให้กระทะพลิกคว่ำได้ การใช้งานทั่วไป กระทะเคลือบเทฟลอนไม่ควรให้ความร้อนสูงมากเกินไป เพราะจะทำให้วัสดุเคลือบที่ทำมาจากเทฟลอน เสื่อมสลาย ได้ง่าย และอายุการใช้งานสั้นลง ไม่ควรใช้ตะหลิวที่ทำจากโลหะเพราะจะทำให้ผิวเทฟลอนเป็นรอยขีดข่วนได้ง่าย นอกจากนี้ไม่ควรใช้แผ่นโลหะ หรือ สารเคมีที่มีส่วนผสมของผงโลหะทำความสะอาด เพราะจะทำให้กระทะเป็นรอยเช่นกัน การทำความสะอาด ใช้น้ำอุ่น หรือ น้ำยาล้างจานล้างกระทะ โดยใช้ฟองน้ำขัดถู คราบสกปรกที่ติดบนผิวกระทะ กระทะบางรุ่นสามารถนำไปล้างในเครื่องล้างจานได้ แต่ถ้าเป็นกระทะที่ทำจากอลูมิเนียม ไม่ควรจะใช้เครื่องล้างจานเพราะจะทำให้ผิวของกระทะหมองลงได้ และถ้าหากบ้านใครมีเครื่องล้างจาน และอยากจะใช้ล้างกระทะ ก็ให้ใช้น้ำมันพืช ทาที่ผิวเคลือบบ้างเพราะจะทำให้เทฟลอนรักษาความมันลื่นได้นานขึ้น กระทะเคลือบเทฟลอน จะมีอายุการใช้งานของมัน หากเราสังเกตเห็นว่าผิวเคลือบมีรอยขีดข่วน หรือหลุดล่อนออกมาควรเปลี่ยนกระทะใหม่ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในการผลิตกระทะปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของกระทะนอกจาก การออกแบบที่ต้องคำนึงถึงความสวยงามน่าใช้ และการถ่ายเทความร้อนจากก้นกระทะไปสู่อาหารที่กำลังผัดหรือทอด แล้วก็คือวัสดุที่ใช้ในการผลิตกระทะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้วัสดุดังต่อไปนี้ในการผลิต อลูมิเนียม จัดเป็นโลหะเบา ที่มีความหนาแน่น 2.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เบากว่าเหล็กมาก (เหล็กมีความหนาแน่น 7.8 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) ซึ่งกระทะที่ทำจากอลูมิเนียมไม่ควรนำไปใช้งานที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ เพราะจะทำให้สีผิวและรูปทรงของกระทะเปลี่ยนไป อาหารที่เหมาะกับการปรุงโดยใช้กระทะอลูมิเนียมคือ อาหารประเภทไข่ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นไข่เจียว ไข่ดาว หรือไข่คน หรือใช้ในการปรุงอาหารที่ทำจากปลาก็ได้ เพราะใช้ความร้อนไม่สูงมากนัก เหล็กสเตนเลส (Stainless steel) กระทะที่ทำจากวัสดุประเภทนี้ มีข้อดีคือ ดูแลรักษาง่าย ทนทาน แข็งแรง รักษารูปทรงไว้ได้ดีเมื่อใช้งานไปนานๆ แต่ข้อเสียคือ มีน้ำหนักมาก นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งกระทะได้อีก คือ ชนิดเคลือบเทฟลอน กับชนิดไม่เคลือบเทฟลอน ชนิดที่ไม่เคลือบเทฟลอน เหมาะสำหรับการทอดกรอบ ซึ่งถ่ายเทความร้อนได้ดี ให้ความร้อนสูง ข้อควรระวังสำหรับคนที่มีอาการแพ้โลหะนิกเกิล เพราะนิกเกิลเป็นธาตุผสมที่มีอยู่ในเหล็กสเตนเลส ควรจะหันไปใช้กระทะที่ทำจากวัสดุอื่นแทน เหล็กหล่อ (Cast Iron) ให้ความร้อนสูง ทนทาน แข็งแรง แต่มีน้ำหนักมาก การถ่ายเทความร้อนดี เหมาะสำหรับการทอดชิ้นเนื้อหนา เช่น สเต็ก เหล็กหล่อเคลือบอีนาเมล ก้นกระทะเรียบและปราศจากรูพรุน (Micro Pore) ทำความสะอาดง่าย ทนความร้อนได้ดี แต่ต้องระวังการกระแทกที่ผิวเคลือบ เพราะจะทำให้ผิวเคลือบแตกล่อนออกมาได้ ทองแดง (Copper) เป็นกระทะระดับพรีเมียม ราคาแพง ถ่ายเทความร้อนได้ดี ความร้อนกระจายตัวสม่ำเสมอ และเย็นตัวได้เร็ว สามารถนำวัสดุอื่นมาเคลือบที่ผิวได้ เช่น เหล็กสเตนเลส สังกะสีและเทฟลอน เพื่อป้องกันไม่ให้ทองแดงปนเปื้อนลงไปในอาหาร การดูแลรักษาค่อนข้างยุ่งยาก และต้องทำการขัดผิวละเอียด (Polishing) บ่อยๆ จึงจะดูสวยงามน่าใช้อยู่เสมอ กระทะหมายเลข 1 ยี่ห้อ Dream Chefเป็นกระทะอลูมิเนียมเคลือบด้วยเทฟลอนผสมหินอ่อน การถ่ายเทความร้อนจากก้นกระทะไปสู่น้ำเป็นไปอย่างรวดเร็ว การกระจายตัวของความร้อนดีปานกลาง ความหนาของก้นกระทะปานกลาง และความหนาของชั้นเคลือบปานกลาง ก้นกระทะทำความสะอาดง่าย กระทะหมายเลข 2 ยี่ห้อ Seagull รุ่น Gladiatorเป็นกระทะอลูมิเนียมเคลือบ เทฟลอน มีก้นลึก เหมาะกับการทอดและผัด นอกจากนี้ ยังมีการเคลือบสาร Microban ป้องกันและยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (ข้อมูลตามที่ผู้ผลิต ได้โฆษณา) การถ่ายเทความร้อนจากก้นกระทะไปสู่น้ำที่ทดสอบ ใช้เวลานาน ซึ่งเป็นจุดด้อยของกระทะรุ่นนี้ และหากพิจารณาดูความหนาของก้อนกระทะและความหนาของชั้นผิวเคลือบกระทะรุ่นนี้ค่อนข้างบาง ก้นกระทะทำความสะอาดง่าย จุดเด่นของกระทะรุ่นนี้ คือ ผู้ผลิตรับประกัน 1 ปี อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขของประกันนั้น ไม่คลอบคุมถึงการใช้งานในเชิงพาณิชย์ และการใช้งานผิดประเภท กระทะหมายเลข 3 ยี่ห้อ Circulon เป็นกระทะที่ทำจากอลูมิเนียม โดยก้นกระทะทำจากเหล็กหล่อ เคลือบเทฟลอน ด้ามจับทำจากเหล็กสเตนเลส ออกแบบสวยงาม แต่มีน้ำหนักมาก ที่ก้นกระทะทำเป็นรูปก้นหอย ป้องกันการการติดแน่น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อทดสอบต้มนมสด คราบไหม้ที่เกิดขึ้น เกาะติดแน่นกับก้นกระทะ ทำความสะอาดลำบาก การถ่ายเทความร้อนจากก้นกระทะไปสู่น้ำใช้เวลานาน แต่การกระจายตัวของความร้อนสม่ำเสมอดีมาก ความหนาของก้นกระทะสูง แต่ความหนาของชั้นเคลือบปานกลาง ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือสามารถใช้กับเตาไฟฟ้าอินดัคชันได้ กระทะหมายเลข 4 ยี่ห้อ Zebra รุ่น Gladiatorเป็นกระทะที่ทำจากอลูมิเนียมหล่อเคลือบเทฟลอน เสริมก้นกระทะด้านล่างด้วยเหล็กเสตนเลส ก้นกระทะลึก เหมาะสำหรับการทอดและผัด เมื่อทดสอบการให้ความร้อนด้วยเตาไฟฟ้า จะให้ความร้อนช้ามาก แต่เนื่องจากที่ก้นกระทะเสริมเหล็กสเตนเลส สามารถนำไปใช้งานกับเตาไฟฟ้าอินดัคชันได้ ซึ่งจะทำให้การถ่ายเทความร้อนรวดเร็วขึ้น ข้อดีของกระทะรุ่นนี้คือ การกระจายความร้อนที่ก้นกระทะสม่ำเสมอ ก้นกระทะทำความสะอาดง่ายก้นกระทะด้านบนทำจากวัสดุอลูมิเนียมเคลือบเทฟลอน ด้านล่างเสริมเหล็กสเตนเลสกระทะหมายเลข 5 ยี่ห้อ Suporเป็นกระทะที่ทำจากอลูมิเนียมหล่อเคลือบเทฟลอน เสริมก้นกระทะด้านล่างด้วยเหล็กสเตนเลส ก้นกระทะลึก เหมาะสำหรับการทอดและผัด เมื่อทดสอบการให้ความร้อนด้วยเตาไฟฟ้า จะให้ความร้อนช้ามาก แต่เนื่องจากที่ก้นกระทะเสริมเหล็กสเตนเลส สามารถนำไปใช้งานกับเตาไฟฟ้าอินดัคชันได้ ซึ่งจะทำให้การถ่ายเทความร้อนรวดเร็วขึ้น ก้นกระทะทำความสะอาดง่าย ก้นกระทะด้านบนเคลือบเทฟลอน และมีผิวนูนออกมาเป็นรูป รังผึ้ง ป้องกันการติดที่ก้นหม้อ ด้านล่างเสริมเหล็กสเตนเลส กระทะหมายเลข 6 ยี่ห้อ Caphalonเป็นกระทะที่ทำจากอลูมิเนียมหล่อเคลือบเทฟลอน ทดสอบการให้ความร้อนด้วยเตาไฟฟ้า จะให้ความร้อนเร็ว แต่เนื่องจากกระทะทำจากวัสดุอลูมิเนียมหล่อ จึงไม่สามารถนำไปใช้งานกับเตาไฟฟ้าอินดัคชันได้ ก้นกระทะตื้น ทำความสะอาดง่าย ก้นกระทะด้านบนเคลือบเทฟลอน ก้นกระทะด้านล่างเคลือบอีนาเมล กระทะหมายเลข 7 ยี่ห้อ Tefalเป็นกระทะที่ทำจากอลูมิเนียมหล่อเคลือบเทฟลอน จึงไม่สามารถนำไปใช้งานกับเตาไฟฟ้าอินดัคชันได้ ผิวก้นกระทะด้านบนพิมพ์ลายนูน ป้องกันอาหารติดแน่น มี Thermo spot เพื่อให้ทราบ อุณหภูมิที่พอเหมาะในการทอดหรือผัด โดยจะเปลี่ยนสีจากสีส้มอ่อน เป็นสีแดงเข้ม การถ่ายเทความร้อนจากก้นกระทะดีมาก การกระจายตัวของอุณหภูมิดีมาก ก้นกระทะไม่ลึก ทำความสะอาดง่าย ก้นกระทะด้านบนเคลือบเทฟลอน ก้นกระทะด้านล่างเคลือบอีนาเมล กระทะหมายเลข 8 ยี่ห้อ Meyerเป็นกระทะที่ทำจากอลูมิเนียมหล่อเคลือบเทฟลอน จึงไม่สามารถนำไปใช้งานกับเตาไฟฟ้าอินดัคชัน การถ่ายเทความร้อนจากก้นกระทะดี การกระจายตัวของอุณหภูมิดี ก้นกระทะลึก ทำความสะอาดง่าย ก้นกระทะด้านบนเคลือบเทฟลอน ก้นกระทะด้านล่างเคลือบอีนาเมล กระทะหมายเลข 9 ยี่ห้อ Sahamingเป็นกระทะที่ทำจากอลูมิเนียมหล่อเคลือบเทฟลอน การถ่ายเทความร้อนจากก้นกระทะดี การกระจายตัวของอุณหภูมิปานกลาง ก้นกระทะลึกปานกลาง ทำความสะอาดง่าย ก้นกระทะด้านบนทำจากวัสดุอลูมิเนียมหล่อ เคลือบเทฟลอน กระทะหมายเลข 10 ยี่ห้อ Tescoเป็นกระทะที่ทำจากอลูมิเนียมหล่อเคลือบเทฟลอน การถ่ายเทความร้อนจากก้นกระทะดีมาก การกระจายตัวของอุณหภูมิปานกลาง ก้นกระทะไม่ลึก ทำความสะอาดยาก (คราบนมติดแน่น หลังจากทดสอบต้มนมสดจนแห้ง) ก้นกระทะด้านบนเคลือบเทฟลอน ก้นกระทะด้านล่างเคลือบอีนาเมล กระทะหมายเลข 11 ยี่ห้อ Kosyเป็นกระทะที่ทำจากอลูมิเนียมหล่อเคลือบเทฟลอน การถ่ายเทความร้อนจากก้นกระทะปานกลาง การกระจายตัวของอุณหภูมิพอใช้ ก้นกระทะไม่ลึก ทำความสะอาดง่าย ก้นกระทะด้านบนเคลือบเทฟลอน ก้นกระทะด้านบนเคลือบเทฟลอน กระทะหมายเลข 12 ยี่ห้อ Egg Dance (ขออภัย..ไฟล์ภาพเสียหาย) เป็นกระทะที่ทำจากอลูมิเนียมหล่อเคลือบเทฟลอน ด้านล่างเสริมเหล็กสเตนเลส สามารถใช้กับเตาไฟฟ้าอินดัคชันได้ การถ่ายเทความร้อนจากก้นกระทะปานกลาง การกระจายตัวของอุณหภูมิดี ก้นกระทะลึก ทำความสะอาดง่าย กระทะหมายเลข 13 ยี่ห้อ Carrefour (ขออภัย..ไฟล์ภาพเสียหาย)เป็นกระทะที่ทำจากอลูมิเนียม ที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยวิธีการขึ้นรูป มีความหนาน้อยมาก เคลือบเทฟลอน ซึ่งความหนาของชั้นเคลือบบาง ถ่ายเทความร้อนจากก้นกระทะได้ดี การกระจายตัวของอุณหภูมิ พอใช้ ก้นกระทะไม่ลึก ทำความสะอาดยาก---------------------------------ชื่อ บช. "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"กสิกรไทย : 058-2-86735-6ไทยพาณิชย์ : 319-2-62123-1กรุงไทย : 141-1-28408-9ทหารไทย : 026-2-40760-4กรุงเทพ : 088-0-38742-8กรุงศรีอยุธยา : 463-1-10884-6--------------------------------->>> อ่านย้อนหลังได้กว่า 90 ฉบับ ผลทดสอบเพียบ! >>> นิตยสารนี้ไม่มีโฆษณา...เพื่อข้อมูลที่เป็นกลางและตัดสินใจได้ สำหรับผู้บริโภค>>> รายได้ทั้งหมดมาจากทุกท่านบริจาคสนับสนุน...ขอบคุณมากครับ --------------------------------
อ่านเพิ่มเติม >เรื่องทดสอบ 2ฝนเริ่มซาฟ้าเริ่มใส ได้เวลาออกไปหาวิ่งออกกำลังกินลมชมวิวกันแล้วพี่น้อง คราวนี้นอกจากจะปัดฝุ่นและสำรวจว่ารองเท้าวิ่งที่คุณมีอยู่นั้นยังใช้ได้ดีอยู่หรือควรซื้อคู่ใหม่แล้ว ฉลาดซื้ออยากชวนทุกท่านมามองให้ลึกลงไปว่ากว่าจะมาเป็นรองเท้าวิ่งที่ให้เราได้โลดลิ่วไปข้างหน้าสู่ฝันอันยิ่งใหญ่ เช่นผอมลง หรือเฟิร์มขึ้นนั้น เราได้ทิ้งปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อมไว้เบื้องหลังหรือเปล่า ฉบับนี้มีผลการสำรวจ โดยองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ICRT หรือ International Consumer Research and Testing) ซึ่งทำในช่วงปลายปี พ.ศ. 2551 เพื่อให้ข้อมูลกับผู้บริโภคเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบรรดาแบรนด์รองเท้าสำหรับวิ่งออกกำลังกาย (ไม่รวมรองเท้ากีฬาประเภทอื่นหรือรองเท้าแฟชั่น/ลำลอง) ย้ำว่าเป็นการสำรวจเฉพาะกิจการของบริษัทในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิต จัดหาวัตถุดิบ การตลาด การจัดจำหน่าย และลูกค้าสัมพันธ์ สำหรับผลิตภัณฑ์รองเท้าสำหรับวิ่งออกกำลังกาย ในระหว่างปีพ.ศ. 2548 -2550 เท่านั้น ทีมสำรวจได้ส่งแบบสอบถามและขออนุญาตเยี่ยมชมโรงงานของบริษัททั้งหมด 9 บริษัท แต่มีเพียง 5 บริษัทเท่านั้นที่ให้ความร่วมมือ ได้แก่ รีบอค อาดิดาส พูม่า นิวบาลานส์ และมิซูโน* ส่วนที่เหลืออีก 4 บริษัท ได้แก่ไนกี้ แอสซิค บรู๊คส์ และซอโคนี่ ขอไม่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้ มาดูกันเลยดีกว่าว่าบริษัทผู้ผลิตรองเท้ายี่ห้อดังๆที่ทำตลาดไปทั่วโลกนั้นได้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด แบรนด์ที่คุณรักนั้นน่ารักจริงหรือไม่ การผลิตรองเท้าสำหรับวิ่งนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้แรงงานอย่างเข้มข้น โดยเฉลี่ยแล้วรองเท้าหนึ่งคู่อาจมีชิ้นส่วนถึง 50 ชิ้นที่ต้องใช้การประกอบด้วยมือ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ในราคารองเท้าหนึ่งคู่นั้น มีส่วนแบ่งที่เป็นค่าแรงของพนักงานไม่ถึงร้อยละ 1 สำรวจอะไรบ้าง? นโยบายของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ? นโยบายด้านสังคม การดูแลพนักงาน สภาพการทำงาน ในกระบวนการผลิตรองเท้าวิ่ง? นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรักษาสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต ? ความโปร่งใสในการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ประเด็นน่าสนใจ บริษัทรองเท้าวิ่ง ยี่ห้อดังๆ ต่างก็ตื่นตัวในเรื่องความรับผิดชอบต่อกระบวนการต่างๆในการจัดหาวัตถุดิบมาใช้ในการผลิต อาดิดาส รีบอค และพูม่า มีการปรับปรุงเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม ในขณะที่นิวบาลานส์และมิซูโน ยังคงตามหลังเพื่อนอยู่บ้างในบางเรื่อง แม้หลายๆแบรนด์จะพยายามเพิ่มสินค้าประเภทเสื้อผ้า หรือเครื่องกีฬาอื่นๆ แต่ผลิตภัณฑ์ที่ทำกำไรให้มากที่สุดยังคงเป็น รองเท้ากีฬานั่นเอง ตัวอย่างแนวคิดและกิจกรรมดีๆจาก รีบอค พูม่า อาดิดาส และนิวบาลานส์ - การเข้าร่วมโครงการต่างๆของสมาคมยุติธรรมแรงงาน (Fair Labour Association) - การจัดให้มีระบบรับเรื่องร้องเรียนของพนักงาน - การฝึกอบรมให้กับพนักงานทั้งฝ่ายปฏิบัติการและฝ่ายบริหาร - การจัดตั้งทีมงานในโรงงานเพื่อการตรวจสอบภายใน ลักษณะโดยทั่วไปของพนักงานในโรงงานรองเท้าที่นักวิจัยได้ทำการสำรวจ คือ เป็นหญิง อายุระหว่าง 20 -30 ปี ทำงานมาแล้วคนละประมาณ 2 – 3 ปี และร้อยละ 99 เป็นคนต่างด้าว พนักงานได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามอัตราที่กฎหมายกำหนด แต่พวกเขายังไม่มีรายได้เพียงพอที่จะใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข แม้จะพบว่าไม่มีโรงงานไหนจ่ายค่าจ้างน้อยกว่าอัตราขั้นต่ำ แต่พนักงานกลับถูกหักเงินเดือนเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร และค่าทำความสะอาดพื้น (รวมๆแล้วประมาณ ร้อยละ 75 ของอัตราค่าแรงขั้นต่ำ) พนักงานส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเรื่องของสหภาพแรงงาน และมีจำนวนมากที่ไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน ทั้งๆที่มีหลักฐานในใบรับเงินเดือนว่าพวกเขาถูกหักเงินเพื่อเป็นค่าบำรุงสหภาพทุกเดือน แม้ว่าจากการสำรวจครั้งนี้จะไม่พบสภาพที่เรียกว่า “โรงงานนรก” แต่ก็ยังต้องมีการปรับปรุงอีกหลายๆด้าน เช่น พนักงานยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องสิทธิของตนเอง นอกจากนี้ยังไม่มีการปรับสภาพการทำงาน มีอยู่โรงงานหนึ่งที่นักวิจัยพบว่า พนักงานมีความบกพร่องทางการได้ยิน และมีภาวะโลหิตจางในระดับสูง นอกจากนี้ยังพบว่าพนักงานจำนวนไม่น้อยยังมีความเสี่ยงต่อเครื่องจักรและสารแคมีที่เป็นอันตรายอยู่ การประกอบรองเท้านั้นเป็นเพียงขั้นตอนสุดท้าย แต่มันเป็นการนำเอาชิ้นส่วนที่ทำเสร็จแล้วจากกระบวนการก่อนหน้านั้นที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ของเสียที่เกิดจากการผลิต เศษผ้า เศษชิ้นส่วน ก็อาจเป็นผลต่อสิ่งแวดล้อมได้ถ้าไม่มีระบบการจัดการที่ดีพอ ข้อมูลจากกรีนพีซระบุว่าอุตสาหกรรมรองเท้านั้นต้องใช้หนังสัตว์ จำนวนมากจึงทำให้เกิดการทำลายพื้นที่ป่าอเมซอนอย่างกว้างขวางเพื่อเคลียร์พื้นที่ให้กับไร่ปศุสัตว์ เพื่อสนองความต้องการรองเท้าของคนทั้งโลก คุณจ่ายค่าอะไรบ้าง เมื่อซื้อรองเท้าวิ่งหนึ่งคู่สมมุติว่ารองเท้าคู่นี้ราคา 100 บาท 32.60 บาท >> ร้านค้าปลีก 17.4 บาท >> ภาษีมูลค่าเพิ่ม 13.50 บาท >> เจ้าของแบรนด์ 11 บาท >> การวิจัยและพัฒนา 8.50 บาท >> โฆษณา ประชาสัมพันธ์ 8 บาท >> วัตถุดิบ 5 บาท >> ค่าขนส่งและภาษี 2 บาท >> โรงงานที่ผลิต 1.60 บาท >> ค่าการผลิตอื่นๆ 0.40 บาท >> ค่าแรงของพนักงาน (ข้อมูลจากบทความเรื่อง The Real Deal: Exposing Unethical Behaviour เผยแพร่โดย สหพันธ์ผู้บริโภคสากล Consumers International) ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนคือศูนย์กลางอุตสาหกรรมรองเท้าวิ่งของโลก แม้จะมีหลายๆบริษัทย้ายกิจการไปตั้งที่ประเทศอื่นๆ อย่าง เวียดนาม อินโดนีเซีย และยุโรปตะวันออก เพราะค่าแรงที่ถูกกว่า และกฎระเบียบไม่ค่อยเข้มงวด แต่โรงงานในจีนก็ยังได้เปรียบในเรื่องของการขนส่ง ทั้งถนนที่กว้างกว่า และท่าเรือที่สะดวกกว่าอยู่ดี แค่บริษัท Yue Yuen Industrial (บริษัทลูกของ Pou Chen Group ในไต้หวัน) บริษัทเดียวก็ผลิตรองเท้าออกมาถึงร้อยละ 17 ของรองเท้าจำนวน 190 ล้านคู่ทั่วโลกแล้ว Yue Yuen Industrial คือผู้ผลิตรองเท้ากีฬารายใหญ่ที่สุดในจีน ผลิตให้กับ 40 แบรนด์ ที่เรารู้จักกันดีได้แก่ ไนกี้ อาดิดาส รีบอค พูม่า แอสสิก นิวบาลานส์ คอนเวิร์ส บริษัทดังกล่าวในประเทศจีนมีพนักงานจำนวน 300,000 คน มีงานวิจัยในปีพ.ศ. 2551 ที่พบว่าพนักงานที่นี่มักถูกละเมิดสิทธิ์ ถูกบังคับให้ทำงานล่วงเวลา ถูกผู้บังคับบัญชาดุด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย ถูกล่วงละเมิดทางเพศ มีมาตรฐานความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยต่ำ และพนักงานที่นั่น มีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือนเพียง 450 หยวน (2,200 บาท) กำไรจากการผลิตรองเท้ากีฬาของ Yue Yuen Industrial ในปีพ.ศ. 2551 เท่ากับ 390 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 13,000 ล้านบาท Yue Yuen Industrial บอกว่า ร้อยละ 60 ของราคารองเท้า เป็นต้นทุนค่าหนังสัตว์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ กาว และสารประกอบอินทรีย์ระเหยต่างๆ (Volatile Organic Compound หรือ VOCs) อาจทำให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ ปวดหัว หน้ามือ และส่งผลต่อการมองเห็น รวมทั้งอาจทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ดิน และทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอีกด้วย ฝ่ายบริหารของโรงงานในประเทศจีนไม่ให้การรับรองหรือยอมที่จะต่อรองกับสหภาพแรงงาน และผู้ที่พยายามจัดตั้งสหภาพแรงงานมักพบกับปัญหาการคุกคามด้วย กฎหมายของประเทศจีนในเรื่องนี้ยังอ่อน แม้จะมีการใช้กฎหมายใหม่ในปีที่แล้ว แต่สหภาพแรงงานก็ยังถูกควบคุมโดยรัฐบาลค่อนข้างมาก และคนงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเหล่านี้มักจะถูกจำคุก วิ่งอย่างรู้เท่าทันหลายคนสงสัยว่าทำไมรองเท้าเดี๋ยวนี้ราคาแพง จะซื้อถูกๆก็กลัวมันจะไม่ดีต่อเท้าเรา เมื่อปีที่แล้วสื่อในบ้านเราเคยเผยแพร่งานวิจัยของสถาบันวิจัยวิเคราะห์การเคลื่อนไหว แห่งโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลไนน์เวลส์ เมืองดันดี ประเทศอังกฤษ งานวิจัยนี้เป็นการเปรียบเทียบรองเท้ายี่ห้อเดียวกันที่สามระดับราคา ตั้งแต่สนนราคาถูก (ประมาณ 2,400 บาท) ปานกลาง (ประมาณ 3,500 บาท) และแพง (ประมาณ 4,000 บาท) ผลการวิจัยปรากฏว่ารองเท้าเหล่านั้นไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในเรื่องของประสิทธิภาพในการรับแรงกระแทกแต่อย่างใด * ส่วนรองเท้าที่บอกว่ามีเทคโนโลยีขั้นสูงนั้น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลที่ออสเตรเลียได้ทำการประมวลงานวิจัยในเรื่องรองเท้ากีฬาและได้ข้อสรุปว่ายังไม่มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่รองรับความเชื่อที่ว่ารองเท้าไฮโซแอนด์ไฮเทคเหล่านั้นจะสามารถช่วยเสริมสมรรถนะนักกีฬา หรือลดอัตราการบาดเจ็บได้แต่อย่างใด ** ก่อนหน้านั้นก็มีงานวิจัยที่พบว่าการที่คนเราหลงเชื่อโฆษณาที่บอกว่ารองเท้าบางรุ่นมีคุณสมบัติในการปกป้องดูแลเท้าเราเป็นพิเศษนั้น ทำให้คนเราอยากจะโชว์พาวมากขึ้น จึงทำให้อัตราการเกิดการบาดเจ็บจากรองเท้าแพงๆเหล่านี้สูงกว่าการบาดเจ็บจากการสวมรองเท้าราคาถูกถึงร้อยละ 123 เลยทีเดียว *** *จากบทความเรื่อง Do you get value for money when you buy an expensive pair of running shoes? ตีพิมพ์ในวารสาร British Journal of Sports Medicine เมื่อปี พ.ศ. 2550 ** อ้างอิงจากข่าวใน หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552 *** จากบทความเรื่อง Hazard of deceptive advertising of athletic footwear ในวารสาร British Journal of Sports Medicine เมื่อปี พ.ศ. 2540 วิ่งอย่างมีหลักการ เวลาที่เราเดิน จะเกิดแรงกระแทกลงบนเท้า เป็น 2 เท่าของน้ำหนักตัวเรา และเมื่อเราวิ่ง แรงกระแทกที่ว่านั้นจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของน้ำหนักตัว ถ้าเราลงน้ำหนักที่ส้นเท้าก่อนแล้วจึงถ่ายน้ำหนักไปยังฝ่าเท้า เราจะสามารถลดแรงกระแทกลงไปได้ครึ่งหนึ่ง เวลาที่เลือกซื้อรองเท้าสำหรับวิ่ง อย่าลืมใส่ใจกับส่วนที่รองรับส้นเท้าเป็นพิเศษ รองเท้าที่ไม่มีพื้นเพื่อรองรับแรงกระแทกจะทำให้ข้อเข่าและข้อเท้าของเราต้องรับน้ำหนักมากขึ้นวัสดุที่ใช้ทำส้นรองเท้าวิ่งนั้นมีปลายประเภท ที่เราพบเห็นส่วนใหญ่เป็นฟองน้ำหรือโฟม ซึ่งจะแตกต่างกันไปในเรื่องความแน่นและความหนา เราอาจเคยเห็นที่เป็นสปริงบ้าง นอกจากนี้ยังมีแบบที่ใช้การอัดลมเข้าไป (ซึ่งนานไปก็รั่วได้) และแบบที่ควบคุมปริมาณลมได้เองด้วยการเติมลมหรือปล่อยลมออกให้เหมาะกับความแข็งของพื้นผิวที่เราวิ่ง (เช่น ถ้าวิ่งบนพื้นแข็งอย่างคอนกรีต ก็อัดลมเข้าไปเพียงเล็กน้อย ถ้าวิ่งบนพื้นยางมะตอยก็อัดลมเข้าไปปานกลาง ถ้าวิ่งบนสนามหญ้าก็อัดลมเข้าไปมากๆ เป็นต้น) แต่ไม่ว่าส้นรองเท้าจะทำด้วยอะไร หลักสำคัญคือเมื่อสวมใส่แล้วลองวิ่งดูแล้วจะต้องไม่แข็งหรือนุ่มเกินไป ถ้าแข็งไปอาจทำให้เราเจ็บเข่าหรือเจ็บเท้าได้ ในขณะที่ถ้ามันนุ่มเกินไป ก็จะทำให้เราทรงตัวได้ไม่ดี นอกจากส้นรองเท้าแล้ว เราควรใส่ใจเรื่องการระบายอากาศของตัวรองเท้าด้วย เลือกรองเท้าที่มีรูระบายอากาศเยอะๆ เพื่อการระบายความร้อนที่ดี เพื่อความปลอดภัย ในกรณีที่คุณชอบวิ่งไนยามโพล้เพล้แดดร่มลมตก รองเท้าของคุณควรมีแถบสะท้อนแสงเพื่อความปลอดภัยจากการถูกรถเฉี่ยวชนด้วย ที่สำคัญควรใส่รองเท้าที่ขนาดกระชับกับเท้าและอย่าลืมใส่ถุงเท้าทุกครั้งด้วย ข้อสำคัญ ถ้าคุณต้องการวิ่งออกกำลังก็ให้ใช้รองเท้าสำหรับวิ่ง ไม่ใช่รองเท้าเล่นบาสเก็ตบอล วอลเลย์บอล หรือ ชกมวย เป็นต้น เพราะเขาออกแบบมาตามชนิดของการเคลื่อนไหวและพื้นผิวที่พื้นรองเท้าต้องสัมผัส รองเท้าวิ่งก็เป็นอนิจจังเหมือนสิ่งอื่นๆในสากลโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกาวที่ประกอบพื้นรองเท้านั้นมีอายุประมาณ 1 ปีเท่านั้น ดังนั้นถ้าซื้อมาแล้วอย่าลืมวิ่งเสียให้คุ้มก่อนที่มันจะหมดอายุขัย ถ้าเราน้ำหนักตัวมาก รองเท้าเราก็มีแนวโน้มจะจากเราไปเร็วขึ้น แต่ไม่ว่าคุณจะน้ำหนักตัวมากหรือน้อยถ้าสังเกตเห็นว่ารองเท้าที่ใส่วิ่งเริ่มตีตัวออกห่างจากเท้าของเราแล้วละก็ เตรียมมองหาคู่ใหม่ไว้ได้เลย และทุกครั้งที่เข้าไปมุงกระบะรองเท้าวิ่งลดราคา อย่าลืมดูวันผลิตด้วยว่ามันยังเหลือเวลาที่จะอยู่กับคุณอีกนานแค่ไหน ขอขอบคุณ ผศ. ดร.เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ อดีตคณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับคำแนะนำอันเป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกฉลาดซื้อ
สำหรับสมาชิก >เรื่องทดสอบ 1 ความเดิมจากตอนที่แล้ว ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 103 เอาใจคอกาแฟด้วยการทดสอบ ‘คาเฟอีน’ ในกาแฟเอสเปรสโซ ของร้านกาแฟชื่อดังจำนวน 18 ร้าน พร้อมทั้งเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของเมล็ดกาแฟ ก่อนจะกลายมาเป็นกาแฟหอมๆ นอนอุ่นอยู่ในถ้วยให้เราได้ดื่ม นอกจากร้านกาแฟชื่อดังเหล่านี้จะมอบความหอมและรสชาติที่เข้มข้นของกาแฟ มาให้เราได้ดื่มกันแล้ว ฉลาดซื้อยังอยากรู้ลึกเข้าไปอีกว่า ร้านกาแฟเหล่านี้ยังมอบความห่วงใยใส่ใจให้กับสังคมด้วยหรือเปล่า เราจึงส่งแบบสำรวจเรื่องนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR (Corporate Social Responsibility) ซึ่งก็มีร้านกาแฟใจดีตอบแบบสำรวจกลับมาหาเรา 5 ร้าน ตารางแสดงนโยบายและแนวปฏิบัติต่อสังคมของร้านกาแฟ *** เชสเตอร์กริล, Au Bon Pian, Caf? Kaldi, ดอยตุง, คอฟฟี่เวิลด์, Segrfredo Sanetti, กาแฟ Suzuki, Mc Caf?, ร้านนายอินทร์, แบล็ค แคนยอน, Caf? Amazon, ดังกิ้น และ Caf? Mezzo ไม่สะดวกในการตอบแบบสำรวจ*** สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัดสตาร์บัคส์ มีนโยบายปฏิบัติเพื่อสังคม ภายใต้สโลแกนที่ว่า “Shared Planet” ซึ่งเป็นแนวทางในการร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้กับโลก โดยแบ่งเป็น 3 เรื่องได้แก่ การสรรหาอย่างมีจริยธรรม การลดใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการมีส่วนร่วมในชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม สตาร์บัคส์ได้สนับสนุนให้ลูกค้าหันมาใช้แก้วส่วนตัวเมื่อซื้อกาแฟหรือเครื่องดื่มที่ร้าน โดยในปี 2551 สตาร์บัคส์ประเทศไทย สามารถลดปริมาณแก้วกระดาษและแก้วพลาสติก ได้ถึง 300,000 ใบ การออกแบบตกแต่งร้านให้มีความสอดคล้องและพึ่งพาธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งสตาร์บัคส์พยายามสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย สตาร์บัคส์ใช้เมล็ดกาแฟทั้งจากที่ผลิตในไทยและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยกาแฟในไทยได้มาจากหมู่บ้านห้วยส้มป่อย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ภายใต้ชื่อ ‘ม่วนใจ๋ เบลนด์’ สตาร์บัคส์ทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาชาวเขาแบบผสมผสาน (ITDP) ในการเลือกเมล็ดกาแฟ สตาร์บัคส์ ยังให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ไม่ว่าจะเป็นการรับซื้อโดยตรงจากเกษตรกรผู้ผลิต รับซื้อกาแฟในราคาสูง พร้อมทั้งยังให้ความรู้แก่เกษตรกร ดูแลเรื่องสาธารณสุข และเงินทุนสนับสนุน บ้านไร่กาแฟ (บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด) บ้านไร่กาแฟรับซื้อวัตถุดิบจากกลุ่มเกษตรที่ได้รับการฝึกอบรม และสามารถส่งวัตถุดิบให้กับโครงการหลวง โดยจะใช้เมล็ดกาแฟที่ผลิตในประเทศไทย จากทางภาคเหนือ เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรรายย่อย โดยคุณภาพของเมล็ดกาแฟจะกำหนดให้อยู่ในระดับตามที่โครงการหลวงเป็นผู้ดูแล สำหรับการให้การสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น บ้านไร่กาแฟได้รับเลือกจากสำนักงานการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย จ.สระบุรี ให้เป็นแหล่งให้ความช่วยเหลือด้านการจัดการศึกษา และสร้างความรู้ให้ชุมชน ส่วนเรื่องการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม บ้านไร่กาแฟมีนโยบายการกำจัดขยะ ด้วยการนำเศษพืชผักในร้านอาหารในพื้นที่ อ.หนองแซง จ.สระบุรี จะถูกนำมาหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในนาข้าว กาแฟวาวี (บริษัท กาแฟวาวี จำกัด) กาแฟวาวีใช้เมล็ดกาแฟที่ผลิตในประเทศไทย จาก ดอยอินทนนท์ ดอยช้าง และดอยหลวง โดยการจัดซื้อจากเกษตรกรรายย่อย พร้อมทั้งยังสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยชีวภาพมากขึ้น เพื่อเป็นการลดการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช โดยร่วมมือกับทางศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟบนที่ราบสูงเชียงใหม่ในการให้ความ รู้กับเกษตรกร การใส่ใจสิ่งแวดล้อม กาแฟวาวีจะมีการคัดแยกขยะที่สามารถนำไป Recycle เช่น แก้วกาแฟเย็นซึ่งผลิตจากพลาสติก และแก้วกาแฟร้อนที่ผลิตจากกระดาษ เพื่อลดปริมาณขยะ ทรู คอฟฟี่ (ทรู คอร์ปอเรชั่นส์)ให้กับสนับสนุนและช่วยเหลือสังคม ด้วยการจัดโครงการอมยิ้ม เพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ที่มีอาการปากแหว่งเพดานโหว่ ให้มีโอกาสกลับมายิ้มได้เช่นเดียวกับคนปกติ โดยร่วมมือกับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ผ่าตัดทำศัลยกรรมให้กับเด็กน้อยผู้ด้อยโอกาส และขาดทุนทรัพย์ ทรู จะเริ่มดำเนินโครงการอมยิ้ม ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2552 เป็นต้นไป โดยในอนาคต จะมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างพนักงาน และลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ทรู คอฟฟี่ ใส่ใจในเรื่องการให้บริการลูกค้า โดยใช้โครงการอมยิ้มมาเป็นตัวกระตุ้นให้พนักงานใส่ใจในบริการ เพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ รู้สึกดีจนเกิดรอยยิ้มเมื่อเข้ามาใช้บริการที่ร้าน ก่อนจะเชิญชวนลูกค้าให้มีส่วนร่วมกับโครงการอมยิ้ม กาแฟตุงฮู(ห.จ.ก. ตุงฮูสโตร์)กาแฟตุงฮู เป็นเพียงธุรกิจแบบครอบครัว นโยบายและแนวปฏิบัติต่างๆ จึงยังไม่มีความชัดเจน มีเพียงข้อมูลเรื่องของการเลือกใช้เมล็ดกาแฟ ที่เป็นเมล็ดกาแฟที่ผลิตในประเทศไทย แต่ทางร้านไม่ได้ซื้อจากเกษตรกรโดยตรง “กาแฟบนดอย” ถูกกว่าแถมยังช่วยเกษตรกร ใครที่อยากดื่มกาแฟแท้ๆ สดจากไร่ แถมยังได้ช่วยเหลือเกษตรกร ฉลาดซื้ออยากให้ลองทำความรู้จักกับ “กาแฟบนดอย” กาแฟที่ปลูกโดยชาวบ้านที่รวมกลุ่มกันปลูกและผลิตกาแฟเองโดยไม่ผ่านบริษัท ยักษ์ใหญ่ที่ซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรในราคาถูก เพื่อนำไปผลิตเป็นกาแฟผงพร้อมชงแบบที่เราดื่มอยู่เป็นประจำ การซื้อกาแฟจากคนปลูกทำให้เงินถึงมือเกษตรกรโดยตรง ไม่ต้องผ่านบริษัทนายทุน แถมผู้บริโภคก็จะสามารถซื้อกาแฟได้ในราคาไม่สูงเกินจริง ได้ดื่มกาแฟที่สดใหม่ ปลอดสารเคมี ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนเกษตรชุมชน สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสั่งซื้อกาแฟได้ที่มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภาคเหนือ77/1 หมู่ 5 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200โทร. 053-810623-4 อีเมล : sdf_cn@yahoo.com ปี 2551 ประเทศไทยมีการส่งออกเมล็ดกาแฟดิบจำนวน 1,662 ตัน มูลค่า 150.9 ล้านบาท ขณะที่มีการนำเข้ากาแฟสำเร็จรูปถึง 2,893 ตัน คิดเป็นเงิน 641.6 ล้านบาท***ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยความร่วมมือของ กรมศุลกากร http://www.oae.go.th/oae_report/export_import/export_result.php ข่าวดีของคอกาแฟนอกจากผลทดสอบปริมาณคาเฟอีนที่เราลงข้อมูลไปเมื่อฉบับที่แล้ว ฉลาดซื้อยังได้รับรายงานผลทดสอบเพิ่มเติมอีกหนึ่งเรื่องว่า กาแฟจากทั้ง 18 ร้านชื่อดังนั้น ไม่พบสารอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนมาแต่อย่างใด ทางร้านค้าคงจะมีวิธีการเก็บรักษาที่ดี ทำให้เมล็ดกาแฟไม่เกิดเชื้อราและมีสารพิษอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนออกมา เมล็ดกาแฟก็เช่นเดียวกับพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นถั่วลิสง ข้าว ข้าวโพด พริก ฯลฯ ที่มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อราที่ผลิตสารพิษอะฟลาท็อกซินได้ง่าย หากมีการเก็บเมล็ดกาแฟไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง
สำหรับสมาชิก >เรื่องทดสอบ 3 คงไม่มีใครที่อยากเสี่ยงกับการปนเปื้อนของสารพิษในอาหาร โดยเฉพาะกรณีจงใจใส่ลงไปทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นอันตรายกับผู้บริโภค แต่ผู้ค้าหลายรายก็ยังคง เล่นไม่ซื่อ กับลูกค้าตาดำๆ ดังนั้นจึงต้องมีการเฝ้าระวังอันตรายจากการปนเปื้อนของสารพิษในอาหารอยู่เสมอ ฉลาดซื้อฉบับนี้ ไปเดินสำรวจตลาดแล้วแวะซื้อถั่วงอกกับขิงซอย มาตรวจหาสารฟอกขาว หรือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยสุ่มตัวอย่างจากตลาดสด 4 แห่ง และซูเปอร์มาร์เก็ต 3 แห่ง ได้แก่ ตลาดบางแค ตลาดคลองเตย ตลาดยิ่งเจริญและตลาดเทวราช ส่วนซูเปอร์มาร์เก็ต 3 แห่ง คือ คาร์ฟู บางแค โลตัส อ่อนนุช และเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ถั่วงอกสด คนนิยมบริโภคกันมาก เพราะเป็นผักที่นิยมกินกันดิบๆ โดยจะกินเป็นเครื่องเคียงของอาหารคาวชนิดต่างๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก ขนมจีนน้ำพริก-น้ำยา ผัดไท ก๋วยเตี๋ยวหลอด หรือนิยมนำมาผัดกับเต้าหู้ ที่เป็นเมนูโปรดของหลายคน ส่วนขิงซอย แม้จะบริโภคในปริมาณไม่มากเท่าถั่วงอกเพราะมีรสเผ็ดร้อน แต่ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เดิมอาจไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเราซื้อกันเป็นแง่งมาปอกเปลือกและหั่นฝอยเอง แต่เดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่แม่ค้าที่ต้องใช้ขิงซอยประกอบอาหาร สามารถซื้อแบบซอยสำเร็จรูปแล้ว มาปรุงอาหารได้เลย แน่นอนว่า ขิงนั้นปล่อยไว้สักระยะก็จะมีสีคล้ำดำ จนไม่น่ารับประทาน จึงนิยมนำสารฟอกขาวมาผสมเพื่อให้ขาวเรียกความสนใจได้นานๆ ผลทดสอบจากการทดสอบ สินค้าที่เป็นแบรนด์ของห้าง ไม่พบการปนเปื้อนของสารฟอกขาว ทั้งในถั่วงอกและขิงซอย แต่แบรนด์ที่ไม่ใช่ของห้างแต่นำมาวางขายในห้าง คือ ถั่วงอกยี่ห้อ วีพีเอฟ ซึ่งเก็บจากเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน พบการปนเปื้อนของสารฟอกขาวหรือ ซัลเฟอร์ไฮดรอกไซด์ 11.47 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในขณะที่ยี่ห้อ วีพีเอฟที่เก็บตัวอย่างจาก คาร์ฟู บางแค ไม่พบการปนเปื้อน ในส่วนของขิงซอย ที่พบมากน่าเป็นห่วงคือ ขิงซอยจากตลาดยิ่งเจริญ พบสารฟอกขาว 204.58 มิลลิกรัม/กิโลกรัม รองลงมาได้แก่ ขิงจากตลาดเทวราช พบ 48.45 มิลลิกรัม/กิโลกรัม กินถั่วงอก ขิงหั่นฝอยให้หายห่วง 1.ซื้อถั่วงอก ขิงซอย ที่ไม่ดูขาวจนเกินไป ผิดธรรมชาติ โดยเฉพาะขิงซอย เมื่อไม่มีเปลือกมันจะมีสีคล้ำตามธรรมชาติเนื่องจากการสัมผัสกับอากาศ ถ้าขาวก็ถือว่าผิดปกติ ส่วนถั่วงอก ตามธรรมชาติ เมื่อเด็ดหางออกบริเวณที่มีรอยฉีกขาดจะมีสีคล้ำขึ้น 2.ถั่วงอก ถ้าให้ล้างพิษจากสารฟอกขาวได้เด็ดขาด ต้องลวกในน้ำเดือด เพื่อที่จะทำลายสารตกค้าง 3.หาโอกาสเพิ่มทางเลือก ด้วยการปลูกหรือเพาะถั่วงอกเอง เพื่อรับประทานภายในครัวเรือน ผลทดสอบ ถั่วงอก สถานที่เก็บตัวอย่าง สารฟอกขาว (ซัลเฟอร์ไดออกไซด์)มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตลาดบางแค ไม่พบ ตลาดคลองเตย ไม่พบ โฮม เฟรช มาร์ท (เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน) ไม่พบ ถั่วงอก วีพีเอฟ (ห้างคาร์ฟู บางแค) ไม่พบ ตลาดเทวราช 3.79 ตลาดยิ่งเจริญ 5.79 ถั่วงอก วีพีเอฟ (จากเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน) 11.47 ผลทดสอบ ขิงหั่นฝอย สถานที่เก็บตัวอย่าง สารฟอกขาว (ซัลเฟอร์ไดออกไซด์) มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตลาดบางแค ไม่พบ ตลาดคลองเตย ไม่พบ ซีโอเอฟ (เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน) ไม่พบ ซีโอเอฟ (คาร์ฟู บางแค) ไม่พบ เทสโก ไฮจีนิก (โลตัส อ่อนนุช) ไม่พบ เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ไม่พบ ตลาดเทวราช 48.45 ตลาดยิ่งเจริญ 204.58 สารฟอกขาว เป็นสารเคมีที่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตอาหารหลายประเภท ทั้งในอาหารที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใส่สารฟอกขาว โดยพบการตกค้างในปริมาณสูงในอาหารหลายชนิด จึงถูกจัดเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ต้องมีการเฝ้าระวังในการใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารอย่างใกล้ชิด สารฟอกขาวที่นิยมใช้ในอาหารบ้านเราส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของสารประกอบซัลไฟต์ ซึ่งเป็นชื่อรวมของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และเกลืออนินทรีย์ของกรดซัลฟูรัสซึ่งแตกตัวให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าความปลอดภัยต่อการบริโภคในชีวิตประจำวันของสารกลุ่มนี้ไม่ควรบริโภคเกิน 0.7 มิลลิกรัมซัลเฟอรไดออกไซด์ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน และประเทศไทยได้อนุญาตให้สารซัลไฟต์เป็นสารฟอกขาวใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท เช่น การผลิตน้ำตาล วุ้นเส้น เส้นหมี่ ก๋วยเตี๋ยว ลูกเกด และอาหารทะเลเยือกแข็ง เป็นต้น
สำหรับสมาชิก >