ฉบับที่ 90 สำรวจ : นวดไทย โดนใจอย่างแรง

“แพทย์แผนไทย” ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาไทย ยาสมุนไพร อบ ประคบหรือนวด จัดเป็นบริการทางการแพทย์สาขาหนึ่งที่แทรกอยู่ในสถานพยาบาลของรัฐ ทั้งโรงพยาบาลระดับศูนย์ โรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย  แม้จะไม่ทุกแห่งแต่ก็ครอบคลุมทั่วประเทศ คุณที่มีบัตรทองหรือสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นสามารถขอใช้บริการได้ หรือไม่มีสิทธิหลักประกันก็ร่วมจ่ายค่ารักษาได้ในราคาไม่แพง เรียกว่า ถูกและดี ทั้งเป็นการส่งเสริม “คุณค่าแบบไทย” อีกด้วย ก่อนปี พ.ศ.2551 รู้ไหมว่า “นวดไทย” ครองใจชาวบ้านมากที่สุด จาก “รายงานสถานการณ์การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก ประจำปี พ.ศ.2548-2550” โดยคณะกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ การพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในรายงานฉบับนี้ระบุว่า เมื่อสำรวจข้อมูลจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพการแพทย์แผนไทย 57 แห่ง จากทั้งหมด 70 แห่ง พบว่า ปี 2546 มีผู้ใช้บริการแพทย์แผนไทย ทั้งเพื่อการบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค รวม 407,651 ครั้ง โดย นวดไทย ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 48 ประคบ ตามมาห่างๆ ที่ร้อยละ 19.3 การใช้ยาไทยและยาสมุนไพร ร้อยละ 17.8 อบไอน้ำสมุนไพร ร้อยละ 10.2 ที่เหลือก็เป็นนั่งสมาธิ การขอความรู้ หรือแม้แต่การทำฤาษีดัดตน ปวดหลัง ปวดไหล่นวดไทยช่วยคุณได้ ทำไมนวดไทยมาแรง เรามาดูสาเหตุของการเจ็บป่วยกันก่อน ในรายงานสถานการณ์การแพทย์แผนไทยฯ อาการเจ็บป่วยที่พึ่งแพทย์แผนไทย สูงสุดอันดับหนึ่งร้อยละ 59.3 คือ เจ็บป่วยเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก ทายสิว่า ปวดอะไรมากที่สุด เฉลย…ปวดหลังมากที่สุด รองลงมาก็ปวดเมื่อย/เคล็ดขัดยอก ปวดขา/ข้อเท้าแพลง ปวดไหล่/สะบัก/บ่า   และปวดเข่า/เข่าอักเสบ อันนี้สอดรับกับข้อมูลของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2546 ซึ่งพบว่า คนไทยที่เจ็บป่วยและเลือกใช้การรักษาในแนวทางแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้าน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรม ทั้งเกษตรและประมง โดยกลุ่มโรคที่พบมากสุดคือ  โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกและข้อ ซึ่งโรคกลุ่มนี้จัดเป็นอาการแบบเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ เพราะรู้กันอยู่ว่า คนในภาคเกษตรกรรมนั้น ทำงานหนักใช้แรงกายมาก อาการปวดเมื่อยหลังไหล่เลยพบได้บ่อย นวดนี่แหละช่วยได้มาก ไม่ต้องกินยาให้เสี่ยงกับอาการไม่พึงประสงค์จากยา  แต่บริการนวดเขาก็ไม่ได้ปิดกั้นคนทำงานออฟฟิสนะ เดี๋ยวนี้โรคปวดหลัง ปวดไหล่ ไม่เข้าใครออกใคร ไม่เฉพาะคนสูงอายุ วัยทำงานแหละตัวดี ดังนั้นหากปวดหลังไหล่ เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว แล้วกินแต่ยากันจนเคย ลองเปลี่ยนมาใช้บริการนวดไทยในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเอกชนที่เปิดให้บริการนวด ก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลวเลย  นวดไทยเป็นสิทธิประโยชน์ในบัตรทองตอนปี 2549 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกาศนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทย โดยการเพิ่มการรักษาพยาบาลด้วยระบบนี้ไว้ในชุดสิทธิประโยชน์ของผู้ถือ “บัตรทอง” และเพิ่มเงินสนับสนุนอย่างจริงจังในปี 2551 ให้กับการจัดบริการแพทย์แผนไทย เน้นการนวดเพื่อการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพ   ปรากฏว่า ผ่านมา 6 เดือน (มกราคม – มิถุนายน 2551) ผู้ถือบัตรทองนิยมบริการนวดแผนไทยเพื่อรักษาโรคและฟื้นฟูสุขภาพ ถึง 60,000 ครั้ง โดยเขตเชียงใหม่ใช้บริการมากสุด 17,000 ครั้ง จากหน่วยบริการ 122 แห่ง ส่วนเขตพื้นที่ที่มีการใช้บริการน้อยที่สุดคือ เขตพื้นที่สุราษฎร์ธานี ใช้บริการ 600 ครั้ง จากหน่วยบริการ 13 แห่ง โดยขณะนี้มีสถานพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัย และศูนย์สุขภาพชุมชน ที่ให้บริการแพทย์แผนไทย ที่เกี่ยวกับการนวด ประคบ อบสมุนไพร เพื่อการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพทั้งสิ้น 708 แห่ง นวดไทย เสน่ห์ไทย นวดไทยนับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับแล้วว่าสามารถผ่อนคลายบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้หลายกลุ่มอาการโรค ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาการเรียนการสอนด้านการนวดไทยอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐานถูกต้องตามหลักวิชาการ ประโยชน์ของการนวด มีมากมาย ทั้งลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มระบบการไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง กระตุ้นระบบประสาท เพิ่มประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจ ฟื้นฟูสภาพของระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบประสาท และทำให้รู้สึกสบายคลายเครียด แล้วคุณล่ะ จะลองไปนวดกันสักครั้งดีไหม 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 90 นมแคลเซียมสูง คุ้มค่าแค่ไหน

นมโคเป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดี ในนมสดหนึ่งแก้ว (200 มิลลิลิตร) มีปริมาณแคลเซียม 240 มิลลิกรัม ซึ่งนับว่าสูงมากแล้ว แต่ทำไมยังต้องมีนมแคลเซียมสูงออกมาวางขายอีก เรื่องนี้วารสารฉลาดซื้อเคยสำรวจมาครั้งหนึ่งเมื่อปี 2542 ตอนนั้นมีผลิตภัณฑ์นมที่ระบุว่า แคลเซียมสูงอยู่ 9 ยี่ห้อ  ฮือฮาสุดก็เห็นจะเป็นแอนลีน นมผงแคลเซียมสูงที่เน้นกลุ่มผู้สูงวัยเป็นหลัก แต่ตอนนี้ทำบรรจุภัณฑ์พร้อมดื่มเพื่อขายทุกกลุ่มวัยแล้ว แสดงว่าการสื่อสารประชาสัมพันธ์ได้ผลดี กิจการจึงต่อมาอีกยาว พลอยทำให้นมยี่ห้ออื่นแห่กันมาเติมแคลเซียมสูงตามไปด้วย แม้แต่นมถั่วเหลือง ที่โดนโจมตีว่าแคลเซียมต่ำ ก็เติมแคลเซียมลดจุดอ่อนตัวเองเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดนมแคลเซียมสูงได้ด้วย เลยกลายเป็นว่า อะไรๆ ก็ต้องแคลเซียมสูง แต่จะมีสักกี่คนที่จะเข้าใจว่า แคลเซียมสูงนั้น ไม่สำคัญเท่ากับว่า “ร่างกายดูดซึมเอาไปใช้ประโยชน์” ได้ทั้งหมดหรือเปล่า เรื่องนี้ต่างหากที่ต้องมาสร้างความเข้าใจกันให้มากขึ้น ฉลาดซื้อทดสอบหลังจากเดินซูเปอร์มาร์เก็ตหลายรอบ ฉลาดซื้อก็หยิบนมพร้อมดื่มและนมถั่วเหลืองพร้อมดื่ม รวมทั้งสิ้น 19 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็นนมโค 3 ยี่ห้อ (แต่ทำออกมาหลายสูตร) ได้แก่ แอนลีน นูต้าแม็กซ์ ฟาร์มโชคชัยและโฟรโมสต์ แคลซีแม็กซ์   นมถั่วเหลือง 4 ยี่ห้อ ได้แก่ แลคตาซอย ดีน่า ไวตามิ้ลค์และวีซอย ซึ่งต่างอ้างว่า “แคลเซียมสูง” ส่งเข้าไปทดสอบหาปริมาณแคลเซียมในนมแต่ละผลิตภัณฑ์ จากการทดสอบ • นมโคยี่ห้อแอนลีนและโฟร์โมสต์ แคลซีแม็กซ์ มีปริมาณแคลเซียมสูงกว่านมธรรมดา ยกเว้นยี่ห้อนูต้าแม็กซ์ที่มีปริมาณแคลเซียมน้อยกว่า  นมโคธรรมดามีปริมาณแคลเซียม 120 มก./100 มล.นมแคลเซียมสูงที่นำมาทดสอบ มีปริมาณแคลเซียมระหว่าง 97-428 มก./100 มล. •    ส่วนนมถั่วเหลืองมีปริมาณแคลเซียมทั้งต่ำกว่า สูงกว่าและใกล้เคียงกับนมโคธรรมดา โดยยี่ห้อวีซอย สูตรน้ำตาลน้อย พบมากสุดคือ 173 มก./100 มล. และแลคตาซอยน้อยที่สุด 66 มก./100 มล.นมโคธรรมดามีปริมาณแคลเซียม 120 มก./100 มล.นมถั่วเหลืองแคลเซียมสูงที่นำมาทดสอบมีปริมาณแคลเซียมระหว่าง 66 – 173 มก./100 มล. •    ปริมาณแคลเซียม ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับฉลากโภชนาการที่ระบุไว้ข้างกล่อง (บวก ลบ  5) เว้นยี่ห้อนูต้าแม็กซ์ ทั้งสองสูตร ที่มีปริมาณแคลเซียมน้อยกว่าที่ระบุในฉลากค่อนข้างมาก ส่วนนมถั่วเหลืองที่ปริมาณแคลเซียมมีน้อยกว่าที่ระบุในฉลากได้แก่ ดีน่า สูตรผสมน้ำแครอท และวีซอย สูตรไม่มีน้ำตาล แคลเซียมสูงไม่สำคัญเท่าการดูดซึมก่อนเขียนบทความได้เรียนถาม ผศ.ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคในเรื่องของนมแคลเซียมสูง อาจารย์ได้กรุณาอธิบายอย่างละเอียด ซึ่งสรุปเป็นใจความสำคัญได้ว่า ดื่มนมแคลเซียมสูงหรือนมถั่วเหลืองแคลเซียมสูง ไม่ได้พิเศษไปกว่าดื่มนมธรรมดา เพราะถึงแม้จะมีปริมาณแคลเซียมสูงจริง แต่แคลเซียมที่เข้าสู่ร่างกายในการดื่มนมแต่ละครั้ง ร่างกายจะไม่ดูดซึมเอาแคลเซียมไปใช้ได้ทั้งหมด ร่างกายมีกลไกเฉพาะในการดูดซึมธาตุแคลเซียม กล่าวคือหากเข้าไปมากในครั้งเดียวร่างกายจะดูดซึมน้อย แต่หากทยอยเข้าไปทีละน้อย ร่างกายจะดูดซึมมาก ดังนั้นสมมติว่าคุณดื่มนมแอนลีน สูตรเข้มข้น 1 กล่องปริมาณ 110 มล. มีแคลเซียมเข้าไปทันที 428 มก. แต่ร่างกายจะดูดซึมไว้แค่ประมาณร้อยละ 30 – 40 ส่วนที่เหลือก็ถูกร่างกายขับออกไป นอกจากนี้ในกระบวนการดูดซึมแคลเซียมยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น ดื่มตอนท้องว่างหรือเปล่า เพราะตอนท้องว่างร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมได้น้อยกว่าตอนที่มีอาหารอื่นอยู่ด้วย  แต่อาจารย์ก็บอกมาว่า ถ้ามีเงินพอและสบายใจว่าได้ดื่มนมแคลเซียมสูง ก็ไม่ว่ากัน แต่ท่านที่ต้องการประหยัด ให้ดื่มนมธรรมดาที่ราคาถูกกว่าหลายบาท เพียงแต่ว่าดื่มให้บ่อยหน่อยโดยทิ้งช่วงห่างพอสมควรก็จะได้ปริมาณแคลเซียมมากกว่าการดื่มนมแคลเซียมสูงที่อัดไว้ในกล่องเดียว ครั้งเดียว นอกจากนี้แคลเซียมไม่ได้มีอยู่แต่ในนม ในอาหารอย่างเต้าหู้แข็ง ถั่ว งา ปลาเล็กปลาน้อย ปลากรอบ ปลาป่น กะปิ กุ้งแห้ง หรือผักอย่างคะน้า กวางตุ้ง ก็มีแคลเซียมสูง เช่นกัน ความจริงเกี่ยวกับแคลเซียมและเรื่องคลุมเครือในโฆษณา •    แคลเซียม –10 มีขนาดเล็กกว่าแคลเซียมธรรมดาถึง  10 เท่า อันนี้ประมาณว่าลวงให้คิดว่าเล็กแล้วดูดซึมได้ดี ซึ่งจริงๆ การดูดซึมมีกฎของร่างกายดังที่กล่าวไว้ข้างต้นควบคุมอยู่แล้ว และขนาดของธาตุแคลเซียมมีขนาดเดียว ถ้าจะโฆษณาว่าดีกว่ายี่ห้ออื่นต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าดูดซึมดีกว่าจริง อันนี้ อย.ควรจัดการ•    แคลเซียมสูงอย่างเดียวไม่พอ ต้องวิตามิน เค สูง ด้วย อันนี้เอางานวิจัยบางชิ้นมาขยายให้ใหญ่โต ประมาณว่า วิตามิน เค อาจมีส่วนช่วยในการป้องกันการสลายตัวของแคลเซียม แต่ วิตามิน เค ร่างกายสร้างได้เอง ไม่ต้องรับจากอาหารข้างนอก และยังต้องหางานวิจัยมาพิสูจน์อีกมากว่า อะไรบ้างที่ป้องกันการสลายตัวของแคลเซียม •    1 กล่องมีปริมาณแคลเซียมมากกว่าสูตรปกติ 4 เท่า คือปริมาณแคลเซียมเยอะจริง อันนี้ไม่เถียง แต่มันไม่สำคัญเท่ากับเรื่องการดูดซึม ตามที่เขียนบอกไปข้างต้น สูตรเข้มข้นจึงเป็นเรื่องของการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ•    ผสมโอลิโก ฟรุกโตส มาแบบเดียวกับวิตามิน เค เพราะว่ามีการนำผลวิจัยมาขยายว่า โอลิโก ฟรุกโตส อาจช่วยเรื่องการดูดซึมแคลเซียม แต่มันยังไม่ชัดเจน ยังต้องการงานวิจัยรองรับอีกมากๆ โดยสรุปคือ การขายจำเป็นต้องมีการสร้าง "นวัตกรรม" ที่เข้ามาเปลี่ยนโฉมใหม่ให้สินค้า ทั้งบรรจุภัณฑ์ใหม่ รีแบรนด์ใหม่ เพิ่มรสชาติใหม่ หรือแม้แต่การเติมส่วนผสมใหม่เพื่อสุขภาพเข้าไป ก็เป็นหนทางในการเติมความคุ้มค่าให้สินค้า เพื่อแลกกับราคาใหม่ที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเพิ่มขึ้น  ดังนั้นจะกินอะไรก็ต้องรู้หลักการเบื้องต้นไว้บ้าง อย่าให้เขา “ชวนเชื่อ” ได้ง่ายๆ นะพวกเราตลาดนมไฮแคลเซียม ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดรวม 1,600 ล้านบาท แต่มีอัตราการเติบโตปีละกว่า 10%

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 89 เมื่อน้ำส้มจะทำร้ายนางเอก

น้ำผลไม้ในความคิดของผู้บริโภคส่วนใหญ่ คือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เพราะต่างก็รู้ว่า ผลไม้นั้นมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะน้ำส้มคั้นเป็นน้ำผลไม้ที่นิยมกันมาก ขนาดนางเอกหนังไทยต้องสั่งมาดื่มทุกครั้งที่มีฉากในร้านอาหาร จึงถูกเรียกอย่างน่ารักๆ ว่า “น้ำนางเอก” น้ำส้มหากคั้นสดแล้วดื่มเลยทันที ย่อมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่เพียงเวลาผ่านไปไม่นาน วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ในน้ำส้มจะเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อให้น้ำส้มคงคุณภาพได้นานขึ้นและสะดวกในการขนส่ง จึงได้มีการผลิตน้ำส้มพร้อมดื่ม (น้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท) ออกมาจำหน่ายเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค ทุกวันนี้ตามชั้นวางเครื่องดื่มในร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า เราจะพบน้ำส้มพร้อมดื่มหลากหลายยี่ห้อ มีทั้งที่เป็นน้ำส้มแท้ (100%) น้ำส้มผสม ที่มีปริมาณน้ำส้มตั้งแต่ 25% ขึ้นไป และอีกหลายยี่ห้อมีน้ำส้มผสมเป็นหัวเชื้ออยู่ประมาณ 10 – 15% แล้วแต่งสี กลิ่น รส สังเคราะห์ให้คล้ายน้ำส้ม ซึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทหลังนี้ อย.ไม่ให้เรียกว่า “น้ำส้ม” แต่ต้องเรียกว่า “น้ำรสส้ม” (จริงๆ ฉลาดซื้ออยากเรียกว่า “น้ำสีส้ม” มากกว่า เพราะสีส้มได้ใจมาก) แม้ว่าในระยะสองสามปีที่ผ่านมานี้ น้ำส้มพร้อมดื่มอาจจะถูกตีตลาดด้วย “ชาเขียว” ทำให้ซบเซากันไประยะหนึ่ง แต่เมื่อมาถึงวันนี้ที่ชาเขียว out ไปแล้ว น้ำส้มกำลังกลับมาผงาดอีกครั้ง ลองสังเกตปรากฏการณ์น้ำส้มฟีเวอร์ได้จากโฆษณาและชั้นวางสินค้าเครื่องดื่ม ลองดูสิ คุณจะเห็นขวดและกล่องสีส้มละลานตาไปหมด กับสินค้าสุดฮิต ฉลาดซื้อย่อมไม่พลาดที่จะหยิบมาทดสอบ เราเก็บตัวอย่างน้ำส้มและน้ำรสส้มพร้อมดื่ม จำนวน 22 ยี่ห้อ จากชั้นวางเครื่องดื่มในห้างสรรพสินค้า มาทดสอบหาปริมาณ “น้ำตาล” และ “วิตามิน ซี” ที่คนส่วนใหญ่มักเชื่อกันไปเองว่า ส้มเป็นผลไม้ที่มีวิตามิน ซี สูง เมื่อทำให้เป็นน้ำส้มแล้ววิตามิน ซี ย่อมสูงตามไปด้วย  ซึ่งเป็นความเชื่อที่เกือบถูก แต่ไม่ถูกต้อง เพราะคนส่วนใหญ่จะยังขาดความเข้าใจอีกมากเกี่ยวกับวิตามินตัวนี้ ผลทดสอบน้ำส้มและน้ำรสส้มพร้อมดื่ม จำนวน 22 ยี่ห้อ •    น้ำส้ม น้ำรสส้ม สามอันดับแรกที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ได้แก่ น้ำรสส้ม ฟรุ้ตฟิตฟอร์ฟัน มีปริมาณน้ำตาลถึง 15 ช้อนชาต่อขวด ขนาด 330 มล.(19.3 กรัม/100 มล.) อันดับสอง มาลี จู๊ซมิกซ์ 13 ช้อนชาครึ่งต่อขวด ขนาด 350 มล.(16.4 กรัม/100 มล.) และน้ำส้ม 30% ทิบโก้ คูลฟิต 11 ช้อนชาครึ่งต่อขวด ขนาด 300 มล.(16.3 กรัม/100 มล.)•    น้ำส้ม 100% ที่ไม่เติมน้ำตาลจะมีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 5.5 ช้อนชา ต่อ 200 มล.(1 แก้ว) ส่วนน้ำส้มผสมจะมีปริมาณน้ำตาลโดยเฉลี่ยที่ 12.8  กรัมต่อ 100 มล.หรือประมาณ 6 ช้อนชา ต่อ 1 แก้ว (200 มล.)   •    เมื่อนำน้ำส้ม น้ำรสส้มมาทดสอบหาวิตามิน ซี พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีวิตามิน ซี เหลืออีกแล้ว หรือไม่ก็เหลือในปริมาณที่น้อยมาก บางผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า มีการเติมวิตามิน ซี ก็ไม่พบ ได้แก่ น้ำส้ม 25% ฟิวเจอร์ น้ำรสส้ม 20 % โออิชิ เซกิ •    จากการทดสอบ มีผลิตภัณฑ์อยู่สามยี่ห้อที่พบว่ามีวิตามิน ซี อยู่มากกว่า 20 มก./100 มล. ได้แก่ น้ำรสส้ม แบร์รี่ ซันเบลสท์ มีปริมาณวิตามิน ซี 24 มก. น้ำส้ม 40% ยูเอฟซี มีวิตามิน ซี 23 มก. น้ำรสส้ม อะมิโนโอเค มีวิตามิน ซี 20 มก. ปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มน้ำอัดลมมีน้ำตาลเป็นส่วนผสม 7 ช้อนชา ต่อ 1 กระป๋อง น้ำหวาน 1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) มีน้ำตาลเฉลี่ย 6 ช้อนชา นมถั่วเหลือง1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) มีน้ำตาลเฉลี่ย 5 ช้อนชาชาเขียว 1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) มีน้ำตาลเฉลี่ย 5 ช้อนชา ฉลาดซื้อแนะ•    ภาชนะบรรจุน้ำส้ม น้ำรสส้มพร้อมดื่มที่นำมาทดสอบมีขนาดตั้งแต่ 180 – 500 มล. โดยขนาดบรรจุที่ปริมาณ 180 – 350 มล. จะเป็นขนาดที่ดื่มได้หมดภายในครั้งเดียว ทำให้ปริมาณน้ำตาลที่ดื่มเข้าไปในแต่ละครั้งมีปริมาณที่ค่อนข้างสูง แต่ปริมาณน้ำตาลที่นักโภชนาการแนะนำต่อวัน คือระหว่าง 6 - 8 ช้อนชา ดังนั้นน้ำส้มพร้อมดื่ม จึงไม่น่าจะใช่เครื่องดื่มที่เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพสำหรับนางเอกหรือผู้ที่รักสุขภาพ  •    บางครั้งคนเราก็ต้องการดื่มอะไรที่หวานเย็นชื่นใจบ้าง ดังนั้นหากคิดจะดื่มน้ำส้มหรือน้ำรสส้มจึงไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพียงแต่ควรจะเลือกขวดหรือกล่องขนาดเล็กหรือแบ่งดื่มเพื่อไม่ให้ร่างกายรับความหวานมากเกินไป เพราะคุณต้องไม่ลืมว่าวันหนึ่งคุณยังต้องกินอาหารที่มีน้ำตาลผสมอยู่อีกหลายชนิด รวมๆ กันแล้วต่อวันก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ •    น้ำรสส้มที่ผลิตโดยค่ายน้ำอัดลมยักษ์ สแปลช (ลิขสิทธิ์โคค่า โคล่า) และทรอปิคานา ทวิสเตอร์ (ลิขสิทธิ์เป๊ปซี่) ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหวานไม่ต่างจากน้ำอัดลม โดยที่ สแปลช มีปริมาณน้ำตาล 6 ช้อนชาต่อขนาดกล่อง 180 มล.(14 กรัม/100 มล.) และ ทรอปิคานา มีปริมาณน้ำตาล ประมาณ 12 ช้อนชาต่อขนาดขวด 350 มล.(14.3 กรัม/100 มล.) พอๆ กับน้ำอัดลมหรือมากกว่า โดยน้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 7 ช้อนชาต่อ 1 กระป๋อง •    ข้อแตกต่างระหว่างผลไม้สดกับน้ำผลไม้ คือเส้นใยอาหาร เมื่อผลไม้ถูกสกัดมาเป็นน้ำผลไม้ กากใยอาหารถูกแยกออกไป ทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้เร็ว แต่ไม่ช่วยเรื่องการขับถ่าย  ส่วนการกินผลไม้สดซึ่งมีใยอาหารสูง การดูดซึมน้ำตาลในกระแสเลือดจะช้ากว่าและเนื้อของผลไม้จะช่วยให้เราไม่รับประทานน้ำตาลมากจนเกินไป อีกทั้งยังช่วยในเรื่องการขับถ่ายอีกด้วย•    อย่าเข้าใจผิดว่า น้ำส้มหรือน้ำรสส้มพร้อมดื่มจะมีวิตามิน ซี สูง เสมอไป อย่างที่ฉลาดซื้อได้ทดสอบให้เห็นแล้วว่า ขนาดผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า เติมวิตามิน ซี ลงไปด้วยหรือผลิตด้วยเทคโนโลยีสุดทันสมัยก็ยังหาแทบไม่เจอ ทั้งนี้คุณต้องมีความเข้าใจในเรื่องจริงที่ว่า วิตามิน ซี นั้นถูกทำลายได้ง่ายมาก และกว่าที่เครื่องดื่มจะมาถึงผู้บริโภคก็ต้องผ่านการขนส่ง ผ่านการจัดเก็บในสถานที่ต่างๆ อาจโดนทั้งแสง ความร้อน ทำให้ปริมาณวิตามิน ซี (ที่เหลือมาบ้างจากกระบวนการผลิต) ลดลงไปเรื่อยๆ จนไม่เหลือค่าอะไรให้วัดได้อีก•    น้ำส้มที่ผสมวิตามิน ซี ไม่ควรมาพร้อมกับวัตถุกันเสีย(เบนโซอิก) เพราะมีข้อมูลที่ชวนให้สงสัยว่า เมื่อทั้งสองมาอยู่รวมกันอาจเกิดเป็นสารพิษที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ (หาอ่านได้จากเรื่อง วันนี้คุณดื่มน้ำอัดลมแล้วหรือยัง ในฉลาดซื้อฉบับที่ 80)  •    น้ำส้มเสื่อมคุณภาพได้ง่าย ดังนั้นควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน ได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา •    ไม่แนะนำสำหรับเด็กและสาวๆ ที่ต้องการมีหุ่นแบบนางเอก เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง เสี่ยงต่อโรคอ้วนและเบาหวาน ตลาดน้ำผลไม้มีมูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท เป็นน้ำผลไม้ 100% มูลค่า 2,500 ล้านบาท ส่วนน้ำผลไม้ต่ำกว่า 25% มีมูลค่าอยู่ที่ 3,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นน้ำผลไม้ 40% รสชาติที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ "น้ำส้ม" ที่มีสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดน้ำผลไม้ปริมาณวิตามินซีในผัก ผลไม้และน้ำผลไม้คั้นสด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 88 อร่อยกับซอสมะเขือเทศอย่างปลอดภัย

ปัจจุบันซอสมะเขือเทศนั้น ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ  ตามลักษณะของอาหารการกินที่ได้รับค่านิยมมาจากฝรั่ง แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า สเต็ก สปาเก็ตตี้ ฯลฯ  และครอบครัวรุ่นใหม่ก็จะต้องมีไว้ติดครัวกันเกือบทุกบ้าน การตลาดของซอสมะเขือเทศแม้มีกลุ่มเป้าหมายค่อนข้างกว้างตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ แต่ส่วนใหญ่แล้วเชื่อหรือไม่ว่า การตัดสินใจซื้อกลับตกไปที่เด็กๆ ในบ้าน เนื่องจากเด็กๆ ต่างล้วนติดใจในความอร่อยของรสชาติหวานๆ เปรี้ยวๆ ของซอสมะเขือเทศ ซึ่งนิยมเป็นเครื่องจิ้มอาหารโดยเฉพาะของทอดต่างๆ อย่างไข่เจียว ไส้กรอกหรือลูกชิ้น ปกติเครื่องปรุงรสอาหารหรือเครื่องจิ้มในอาหารไทยไม่ว่าจะเป็นน้ำปลา ซอสปรุงรส ซีอิ้ว เราจะรับประทานกันในปริมาณไม่มากเพราะความเค็ม แต่ซอสมะเขือเทศเป็นอะไรที่แตกต่างเพราะเวลาจิ้มกินกับอาหารเราจะกินกันในปริมาณมากพอสมควร เพราะมีรสหวานนำ ทำให้โอกาสที่จะรับส่วนผสมที่อาจมองข้ามอย่างน้ำตาลหรือเกลือ(โซเดียม) เข้าไปในร่างกายต่ออาหารมื้อหนึ่งๆ ก็สูงตามไปด้วย ซอสมะเขือเทศเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปหลายขั้นตอน จึงเป็นอาหารที่ต้องมีการกำกับดูแลตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 201) พ.ศ.2543 เรื่อง ซอสบางชนิด การรับประทานซอสมะเขือเทศแม้เราจะได้ประโยชน์จากส่วนผสมที่เป็นมะเขือเทศ ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่เมื่อผ่านความร้อนระดับอุณหภูมิเกิน 72 องศาเซลเซียส ย่อมทำให้สารอาหารหลายชนิดได้สูญเสียไปในกระบวนการผลิตแล้ว ดังนั้นควรรับประทานแต่พอเหมาะไม่มากเกินไป โดยเฉพาะกับเด็กๆ และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับความดันโลหิต เบาหวาน โรคหัวใจ ทั้งเพื่อเลี่ยงน้ำตาล โซเดียม ตลอดจนสารกันบูดที่เป็นส่วนผสมสำคัญในซอสมะเขือเทศ จากการทดสอบของฉลาดซื้อพบว่า ซอสมะเขือเทศ 10 ยี่ห้อ มีปริมาณน้ำตาลโดยเฉลี่ยคือ 25.95 กรัม/น้ำหนัก 100 กรัม โดย ไฮนซ์ มีปริมาณน้ำตาลสูงสุด 28.4 กรัม ตามด้วยโรซ่าและภูเขาทอง คือ 27.4 กรัมและ 27.2 กรัม สำหรับโซเดียม พบว่ามีปริมาณค่าเฉลี่ยคือ 741 มิลลิกรัม/น้ำหนัก 100 กรัม โดยยี่ห้อไฮนซ์ยังครองอันดับหนึ่งด้วยโซเดียมที่สูงถึง 1,035 มิลลิกรัม (เกือบครึ่งหนึ่งของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวันคือ ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม) ตามมาด้วย เทสโก้และโรซ่า คือ 940 มิลลิกรัมและ 894 มิลลิกรัม ผลทดสอบน้ำตาลและโซเดียมในซอสมะเขือเทศ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 87 เด็กไทยกินอะไรกันหน้าโรงเรียน

เพื่อเป็นการต้อนรับเปิดเทอม ฉลาดซื้อฉบับนี้ชวนผู้อ่านไปป้วนเปี้ยนแถวหน้าโรงเรียนกันอีกแล้ว เราได้ยินข่าวกันบ่อยครั้งเรื่องภาวะโภชนาการเกินของเด็กไทยสมัยนี้  จึงทำการสำรวจว่าเด็กๆของเราเลือกรับประทานอาหารว่าง (หรือบางครั้งก็อาจเป็นอาหารหลัก) อะไรกันบ้างจากร้านหรือรถเข็นบริเวณรอบๆโรงเรียนและเช่นเคยเราได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสระบุรี ลพบุรี กาญจนบุรี  สมทรสงคราม ตราด อำนาจเจริญ เพชรบูรณ์ ขอนแก่น ลำปาง มหาสารคาม สตูล และยะลา กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 465 คน เป็นเด็กหญิงร้อยละ 65 เด็กชายร้อยละ 35ร้อยละ 63 มีอายุระหว่าง 13 –16 ปี และประมาณร้อยละ 63 เช่นกัน ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 4เด็กๆได้เงินมาโรงเรียนวันละกี่บาทค่าขนม    ร้อยละไม่เกิน 10 บาท    4.511 - 20 บาท    15.121 -30 บาท    12.931 - 40 บาท    16.641 - 50 บาทt    22.251 - 60 บาท    18.7มากกว่า 60 บาท    10.1เกือบร้อยละ 40 ใช้จ่ายไม่เกิน 10 บาท ต่อครั้ง มีประมาณร้อยละ 22 ที่ใช้จ่ายมากกว่า 20 บาทต่อครั้ง เด็กๆ กินอะไรกันเราพบว่าเมนูยอดฮิตหน้าโรงเรียน 5 อันดับต้น ได้แก่ (ตามลำดับ)1.    น้ำอัดลม/น้ำหวาน2.    ไอศกรีม3.    ลูกชิ้นทอด/ปิ้ง4.    ผลไม้5.    ขนมขบเคี้ยว    ซื้อทุกวันเลยหรือเปล่าร้อยละ 43.4 บอกว่าซื้อทุกวันอีกร้อยละ 35.5 ซื้อสัปดาห์ละหลายครั้งมีเพียงร้อยละ 14 เท่านั้นที่ตอบว่า นานๆจะซื้อสักครั้งสาเหตุที่ซื้อทาน1.    หาซื้อได้ง่าย2.    หิว3.    อร่อยเรื่องนี้สอดคล้องกับผลการสำรวจโดยองค์กรต่างๆก่อนหน้านี้ เรื่องสภาวะโภชนาการเกินในเด็กไทย อย่างน้อยๆ เมื่อโรงเรียนเลิกปุ๊ป เด็กออกมาหน้าโรงเรียนก็หาอาหารรับประทานปั๊ป และที่รับประทานกันเป็นส่วนใหญ่ก็ดูจะเป็นอาหารพวกที่มีแป้ง น้ำตาล และน้ำมัน ในปริมาณสูง (น่าจะดีเหมือนกันถ้าผลไม้ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง) แต่คงจะต้องมีการปรับปรุงเรื่องของความสะอาด และการปนเปื้อนในอาหาร เพราะในกลุ่มนักเรียนที่ซื้อทุกวันหรือซื้ออาทิตย์ละหลายครั้งนั้น มีมากกว่าร้อยละ 40 ที่เคยมีอาการเจ็บป่วยจากการรับประทานอาหารดังกล่าวเด็กๆอยากให้ ร้าน/ รถเข็น/ แผงลอย บริเวณรอบโรงเรียน ปรับปรุงอะไรบ้างเรื่องความสะอาดเป็นเรื่องที่เด็กๆ อยากให้มีการปรับปรุงมากที่สุดรองลงมาได้แก่ปริมาณ  ราคา และรสชาติตามลำดับคิดยังไงกับจำนวน ร้าน/ รถเข็น/ แผงลอย รอบๆโรงเรียนร้อยละ 57 คิดว่าเท่าทีมีอยู่ก็เหมาะสมแล้วร้อยละ 31 บอกว่า ยังมีน้อยไป น่าจะมีร้านมาเปิดเพิ่มอีกมีร้อยละ 12 ที่บอกว่ามีร้านมาตั้งหน้าโรงเรียนมากเกินไปพ่อแม่/ ผู้ปกครองหรือครูเคยเตือนหรือเปล่ามากกว่าร้อยละ 50 ของเด็กที่ตอบคำถามบอกว่า พ่อแม่/ ผู้ปกครอง / ครู เคยห้ามหรือเตือนเรื่องอาหารจากร้าน/ รถเข็น/ แผงลอย บริเวณรอบโรงเรียนแต่การห้ามหรือตักเตือนยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กๆได้ เพราะ ในกลุ่มที่ตอบว่าได้รับการห้ามหรือเตือนเรื่องอาหารหน้าโรงเรียนนี้ มีมากกว่าร้อยละ 40 ที่ยังซื้ออาหารดังกล่าวรับประทานทุกวัน อีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ซื้อทานสัปดาห์ละหลายครั้ง มีเพียงไม่เกินร้อยละ17 เท่านั้นที่ลดการบริโภคลงเป็นนานๆครั้ง ปัญหาที่เด็กๆ เคยพบจากการรับประทานอาหาร จากร้าน/ รถเข็น/ แผงลอย บริเวณรอบโรงเรียน ตามลำดับ1.    ภาชนะไม่สะอาด2.    อาหารไม่สดใหม่    3.    ผู้ขายมารยาทไม่ดี    4.    ผู้ขายมีการเลือกปฏิบัติ (เช่น ถ้าเป็นคนรู้จักกันไม่ต้องต่อคิว) 5.    เคยเจอสิ่งแปลกปลอม ในอาหาร เช่น หนอน แมลงสาบเคยมีอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการรับประทานอาหารดังกล่าวหรือไม่ร้อยละ 43.4 ตอบว่าเคยเกิดขึ้น นานๆครั้ง ร้อยละ 3.4 ตอบว่าเคยเกิดขึ้นบ่อยๆร้อยละ 53.1 ตอบว่าไม่เคยเกิดขึ้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 87 กินน้ำพริกปลอดสารกันบูด

น้ำพริกเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง ความนิยมน้ำพริกก็ดูได้จากที่มีผู้ผลิตจำนวนหลายรายหันมาทำน้ำพริกขายให้เรากินกันได้ง่ายขึ้นไม่ต้องเสียเวลาทำ ซึ่งน้ำพริกยอดนิยมได้แก่ น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาร้า ซึ่งเป็นของสดต้องกินวันต่อวัน ส่วนน้ำพริกประเภทผัดที่สามารถเก็บไว้กินได้หลายวันก็มีคนทำออกมาให้เลือกซื้อกันมากมายทั้งแบบโรงงานและผู้ผลิตรายย่อย รวมไปถึงที่เห็นขายในซูเปอร์มาเก็ตของห้างสรรพสินค้าหรือตามงานแสดงสินค้าราคาประหยัดทั้งหลาย (แบบที่ใส่เป็นกะละมังใหญ่ๆ) น้ำพริกประเภทผัดอย่างน้ำพริกนรก น้ำพริกปลาย่าง น้ำพริกตาแดง เป็นน้ำพริกที่ต้องการให้เก็บไว้กินได้นานๆ ผู้ผลิตส่วนใหญ่นิยมใช้วัตถุกันเสียหรือสารกันบูดมาช่วยถนอมอาหาร ซึ่งก็ไม่ได้เป็นสิ่งเสียหายเพราะทางกระทรวงสาธารณสุขก็อนุญาตให้ใช้ได้ แต่ให้เหมาะสม ฉลาดซื้อจึงทำทดสอบหาปริมาณวัตถุกันเสียที่นิยมใช้ ได้แก่ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก เพื่อเป็นการเฝ้าระวังให้กับผู้บริโภค ฉลาดซื้อพบว่ามีน้ำพริกหลายตัวอย่างที่มีวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดในปริมาณสูงจนน่าเป็นห่วง   ผลิตภัณฑ์น้ำพริก      

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 86 พริกแกงเผ็ด แน่ใจ? ว่าไม่มีของแถม

พริกแกงเผ็ด เป็นเครื่องปรุงสำคัญในอาหารไทยหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นแกงเผ็ดต่างๆ ทอดมัน ห่อหมก ผัดพริกแกง ฯลฯ ซึ่งอาหารเหล่านี้ล้วนเป็น กับข้าวยอดนิยม ที่ทุกคนต้องเคยรับประทาน แต่พริกแกงเผ็ดที่มาจากฝีมือโขลกเองกับมือ หาได้ยากเต็มที่ ส่วนใหญ่เรานิยมซื้อหาเอาจากตลาดใกล้บ้านหรือซูเปอร์มาร์เก็ต เพราะราคาไม่แพงและไม่เสียแรงมากด้วย แต่…คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่า พริกแกงฝีมือคนอื่นนั้นจะไม่มีของแถม “ไม่พึงประสงค์” ปะปนเข้ามาด้วย ฉลาดซื้อเลยส่งอาสาสมัครไปตลาดสด 5 แห่ง ได้แก่ ตลาดยิ่งเจริญ ตลาดมหานาค ตลาดบางกะปิ ตลาดเทเวศน์และตลาดคลองเตย ซื้อพริกแกงเผ็ดมาทดสอบหาของ “ไม่พึงประสงค์” 3 อย่าง ได้แก่  สารกันรา (ซาลิไซลิค แอซิด) ผงชูรส (โมโนโซเดียม กลูตาเมต) และอะฟลาท็อกซิน สารพิษตัวร้ายที่มาจากเชื้อรา โชคดีที่พบว่า พริกแกงที่เราสุ่มตัวอย่างมา ไม่พบทั้งสารกันราและผงชูรส แต่มีอยู่ 2 เจ้า ที่พบ อะฟลาท็อกซิน แม้จะมีปริมาณไม่มากเกินกว่ามาตรฐานกำหนดไว้ แต่ก็ต้องขอเตือนให้ระวัง เพราะการสะสม อะฟลาท็อกซินไว้ในร่างกาย ก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคร้าย อย่างมะเร็งตับได้เช่นกัน  พริกแกงเผ็ดพริกแกงอยู่กับสังคมไทยมานานหลายร้อยปี สืบสาวไปก็คงประมาณสมัยอยุธยา โดยมีพ่อค้าชาวตะวันตกหอบหิ้ว พริกเทศ เข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ ก่อนหน้านั้นเรามีพริกไทย เป็นเครื่องปรุงรสเผ็ดร้อน ส่วนพริกที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้นั้น มีถิ่นกำเนิดแท้จริงอยู่ที่ทวีปอเมริกาใต้ แต่เราก็รับพริกเทศเข้ามาปรับแปลงเป็นอาหารไทย จนถึงชนิดที่ขาดไม่ได้กันไปเสียแล้ว สุดท้ายจึงเหลือเพียงคำว่า “พริก” เท่านั้นอาหารไทยขาดพริกไม่ได้ ทุกวันนี้ปริมาณการผลิตพริกในประเทศก็ไม่เพียงพอต้องนำเข้าจากอินโดนีเซีย พม่าและจีน ปีละมากๆ สถิติการส่งออกและการนำเข้าของกรมศุลกากรปี 2549 พบว่า การส่งออกพริกมีทั้งรูปผลสด ซอสพริก พริกแห้ง เครื่องแกงสำเร็จรูป และพริกป่น เป็นปริมาณรวม 34,653 ตัน มูลค่า 2,139 ล้านบาท สถิติส่งออกเป็นมูลค่ามาก 3 ลำดับแรก คือ พริกแกง (1,082 ล้านบาท) ซอสพริก (866 ล้านบาท) และพริกสดหรือแช่เย็น (86 ล้านบาท) แต่ขณะเดียวกันประเทศไทยก็ต้องนำเข้าพริกเป็นมูลค่าสูงถึง 693 ล้านบาทด้วยเช่นกันแกงไทยทุกชนิดใส่พริก ในน้ำพริกและเครื่องจิ้มต่างๆ ก็ใส่พริก ซึ่งไม่เพียงพริกสดเท่านั้น เรายังนิยมพริกแห้งด้วยเช่นกัน กินก๋วยเตี๋ยวไม่ใส่พริกป่นนี่ หมดอร่อยกันทีเดียว แกงเผ็ด ก็เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยม แน่นอนว่า ส่วนประกอบสำคัญคือ พริกแกงเผ็ด ซึ่งมีสูตรที่ไม่ยาก ตำกินเองได้ง่าย (ส่วนประกอบพริกแกงเผ็ด ได้แก่ พริกแห้ง กระเทียม ตะไคร้ ข่า กะปิ เกลือและผิวมะกรูด) แต่ด้วยสภาพการใช้ชีวิตปัจจุบันที่เร่งรีบไปทุกอย่าง ทำให้มีคนหัวใสทำพริกแกงสำเร็จรูปมาวางขายในตลาดจนกลายเป็นธุรกิจที่ทำรายได้งาม ทุกตลาด ทุกรถเร่ขายกับข้าว ต้องมีพริกแกงสำเร็จขาย  ผู้บริโภคอย่างเราก็แค่ซื้อมาทำกับข้าวเท่านั้น ช่างสะดวกสบายจริงๆ     แต่ความสะดวก อาจทำให้เสี่ยงอันตราย เพราะไม่ใช่ผู้ผลิตทุกคนจะรับผิดชอบกับผู้บริโภค “ผมเห็นกับตาว่าเขาเทพริกจากกระสอบใส่ลงในเครื่องบด ไม่มีล้างหรือคัดเอาที่เสียๆ ออกเลย” นั่นเป็นหนึ่งในหลายเสียงที่ผู้บริโภคบอกมากับฉลาดซื้อ ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ฉลาดซื้อจึงเลือกสุ่มตัวอย่างพริกแกงเผ็ดจากตลาดสดที่มีประชาชนไปจับจ่ายซื้อของจำนวนมาก 5 แห่ง ได้แก่ ตลาดยิ่งเจริญ ตลาดมหานาค ตลาดบางกะปิ ตลาดเทเวศน์และตลาดคลองเตย เพื่อทดสอบดูว่าพริกแกงเผ็ดนั้นมีอะไรที่ไม่พึงประสงค์ซ่อนอยู่หรือเปล่า 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 85 โยเกิร์ต

สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการโดย สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล โยเกิร์ต (Yogurt) เป็นผลิตภัณฑ์นม ประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะในวัยรุ่นและสาวๆ วัยทำงาน เพราะเชื่อว่า ดีต่อสุขภาพ ทำให้อายุยืน ผอมหรือเอาไปใช้พอกหน้าเพื่อบำรุงผิวพรรณ โยเกิร์ต ได้มาจากการนำน้ำนมสัตว์ เช่น นมโค นมแพะ มาผ่านการทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค แล้วหมักด้วยจุลินทรีย์ที่ไม่ทำให้เกิดโรคหรืออันตราย ทำให้ค่าความเป็นกรดเพิ่มขึ้น (รสเปรี้ยว) และอาจปรุงแต่งเพิ่มเติมเพื่อให้รับประทานได้อร่อยขึ้น สำหรับบางคนที่อาจไม่ชอบรสชาติและกลิ่นที่เกิดจากการหมักนมเปรี้ยว เชื้อจุลินทรีย์ที่นำมาหมักให้เป็นนมเปรี้ยว เป็นเชื้อจุลินทรีย์ชนิดไม่ก่อให้เกิดโรค ส่วนใหญ่ได้แก่ แบคทีเรีย สเตรปโทค็อกคัส เทอร์โมฟิลัส และแล็กโทบาซิลลัส เดลบรึคคิไอ ซับสปีชีส์ บัลแกริคัส เราเรียกมันว่า แลกติก แอซิด แบคทีเรีย ก็ได้ เชื่อกันว่า แลกติก แอซิด แบคทีเรีย ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย ซึ่งน่าจะจริงอยู่เพราะคนที่ท้องผูก บางครั้งได้โยเกิร์ตสักถ้วย ก็ช่วยให้ระบายท้องได้ แต่อย่าเพิ่งไปเชื่อถึงขนาดว่า มันจะป้องกันมะเร็งในระบบทางเดินอาหารได้ ผลทดสอบโยเกิร์ต รสธรรมชาติ (Plain Yogurt) 7 ยี่ห้อ (เก็บตัวอย่าง 11 กุมภาพันธ์ 2551)•    ปริมาณแคลเซียมในผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตทุกยี่ห้อ ไม่ได้มีค่าต่างกันมากนัก แม้หลายยี่ห้อจะกล่าวอ้างว่า แคลเซียมสูง ก็ตาม (ดูตารางเปรียบเทียบเรื่องปริมาณแคลเซียมกับผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ) •    ยี่ห้อ ริชเชส พบปริมาณโปรตีน 2.6 กรัม / 100 กรัม ซึ่งน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด 0.1  (ตามกฎหมายต้องมีโปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.7 ของน้ำหนัก) เป็นไปได้ว่า เกิดจากปริมาณน้ำนมโคที่ต่ำกว่ายี่ห้ออื่น ริชเชส นมโคร้อยละ  91.5 ดัชชี่ ร้อยละ 98 เมจิ ร้อยละ 100 (ตามที่ระบุบนฉลาก) •    ยี่ห้อ ดัชชี่ แฟตฟรี ระบุบนฉลากว่า น้ำตาลน้อยกว่า ไม่รู้จะหมายความว่า น้อยกว่ายี่ห้ออื่นหรือไม่ อย่างไร เพราะทดสอบพบว่า มีน้ำตาล 11.1 กรัม / 100 กรัม แต่บนฉลากบอกว่า มีน้ำตาล 9 กรัม / น้ำหนัก 150 กรัม (หนึ่งหน่วยบริโภค) •    ยี่ห้อ เมจิ ระบุอยู่บนฉลากว่า มีน้ำตาล 4 กรัม (จากหน่วยบริโภค 150 กรัม) แต่ฉลาดซื้อทดสอบได้ 7 กรัม (ต่อ 100 กรัม) ถ้าปริมาณโยเกิร์ตต่อหน่วย 150 กรัม น่าจะมีน้ำตาลอยู่ที่ 10.5 กรัม•    จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ยิ่งมีจำนวนมากยิ่งมีประโยชน์ จากการทดสอบพบว่า ยี่ห้อดัชชี่ ไบโอ ดัชชี่ แฟต ฟรี และโฟร์โมสต์ พรี โพร บาลานซ์ มีปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตจำนวนมากใน 3 ลำดับแรก  แต่…เนื่องจากฉลาดซื้อมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเก็บผลิตภัณฑ์ทุกยี่ห้อให้มีวันผลิตใกล้เคียงกันหรือวันเดียวกันได้  ค่าของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตจึงไม่อาจเปรียบเทียบได้อย่างชัดเจน เพราะการมีอยู่ของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตในโยเกิร์ต จะขึ้นอยู่กับอายุของผลิตภัณฑ์ ยิ่งผลิตใหม่สดเท่าไร จุลินทรีย์ที่มีชีวิตก็จะมีปริมาณสูง และจะลดลงไปเรื่อยๆ จนถึงวันหมดอายุ ดังนั้นยี่ห้อ บีทาเก้น ที่มีปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตน้อยกว่ายี่ห้ออื่น ก็อาจเนื่องมาจากผลิตก่อนยี่ห้ออื่นนั่นเอง (โยเกิร์ตมีอายุการบริโภคไม่เกิน 30 วัน เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส)•    ทุกยี่ห้อไม่พบแบคทีเรียชนิดก่อโรค (โคลิฟอร์ม) เกินกฎหมายกำหนด (น้อยกว่า 3 ต่อนมเปรี้ยว 1 กรัม โดยวิธี เอ็ม พี เอ็น)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 85 อาหารแผงลอย อีกหนึ่งที่พึ่งของคนกรุงเทพฯ

แม้กรุงเทพฯ จะไม่ใช่เมืองน่าอยู่ติดอันดับโลกอย่าง เมลเบิร์น เวียนนา หรือ แวนคูเวอร์ แต่ข้อดีอย่างหนึ่ง ที่คนกรุงเทพฯ หรือผู้ที่มาเยี่ยมเยียนปฏิเสธไม่ได้เลยคือ  ความมั่นใจว่าดึกดื่นแค่ไหน ซอยจะลึกเพียงใด ก็จะมีอาหารให้เราสามารถซื้อรับประทานได้ เพราะเรามีแผงลอย/รถเข็นขายอาหารที่คอยบริการผู้บริโภคอยู่ทุกตรอกซอกซอย ในระยะทางที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ด้วยสนนราคาที่เป็นมิตรต่อกระเป๋าเงินของคนส่วนใหญ่ด้วย สำหรับหลายๆคน อาหารแผงลอย/ รถเข็น เป็นเหมือนที่พึ่ง ให้เราได้ฝากท้องกัน ลองมาดูกันว่าคนกรุงเทพฯ มีความคิดอย่างไรกันบ้างในเรื่องการบริโภคอาหารจากแผงลอย วารสารฉลาดซื้อร่วมกับ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ต่อการใช้บริการอาหารจากร้านแผงลอย / รถเข็น ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้ผลที่สรุปได้ดังต่อไปนี้•    แชมป์อาหารรถเข็น ยอดฮิตได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว และส้มตำ โดยมีอาหารประเภท ของปิ้ง/ทอด ตามมาติดๆ •    แผงลอย/รถเข็นอาหาร ยังคงเป็นที่ฝากท้องของคนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล  ร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างซื้อทุกวัน และอีกเกือบร้อยละ 40 แม้จะไม่ซื้อทุกวันแต่ก็ซื้อสัปดาห์ละหลายครั้ง•    เหตุผลที่ซื้ออาหารจากแผงลอย/รถเข็น อันดับหนึ่งคือ เพราะหาซื้อได้ง่าย  รองลงมาได้แก่เรื่องของราคา และเวลาที่มีจำกัดของคนเมืองนั่นเอง  •    ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารจากแผงลอย / รถเข็น ครั้งละ 50 - 100 บาท อีกประมาณร้อยละ 40 ใช้น้อยกว่า 50 บาท •    ประมาณร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่าง ค่อนข้างพอใจในความสะอาดของแผงลอย/รถเข็นอาหาร ในขณะที่ ร้อยละ 25 คิดว่ายังต้องมีการปรับปรุง•    ปัญหาที่เคยประสบจากการรับประทานอาหารแผงลอย / รถเข็น มากที่สุดได้แก่ สถานที่ขายสกปรก หรือมีฝุ่นละอองมาก  รองลงมาเป็นปัญหาอาหารไม่สด / มีกลิ่น  และการพบสิ่งแปลกปลอมในอาหาร•    มีถึงร้อยละ 60 ของกลุ่มตัวอย่าง ที่เคยมีอาการเจ็บป่วยจากการรับประทานอาหารจากแผงลอย / รถเข็น ในขณะที่ร้อยละ 36 ไม่เคยมีอาการเจ็บป่วยเลยความเปลี่ยนแปลงที่ผู้บริโภคต้องการเห็นจากร้านแผงลอย/รถเข็นสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คาดหวังมากที่สุดสามอันดับต้นในเรื่องของบริเวณขายอาหารของแผงลอย / รถเข็น ได้แก่ เรื่องความสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี  การตั้งจุดขายในบริเวณที่ไกลจากถังขยะหรือท่อระบายน้ำ และการอยู่ในบริเวณที่ไม่มีฝุ่นละอองเรื่องของสุขอนามัยของผู้ขายนั้น  ประมาณร้อยละ 60 ค่อนข้างพอใจ อีกร้อยละ 30 ยังไม่พอใจเท่าไรนัก ส่วนในเรื่องบุคคลิกลักษณะของผู้ปรุงอาหารและผู้ช่วยนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความคาดหวังเรื่อง เล็บตัดสั้นและสะอาดมากที่สุด รองลงมาคือเรื่องเสื้อผ้าที่สะอาดเรียบร้อย และการไม่ใส่เครื่องประดับ ความคาดหวังในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก ณ ร้านแผงลอย สามอันดับต้นได้แก่ การมีสถานที่ล้างมือ รองลงมาคือการมีน้ำล้างจานพอเพียง และโต๊ะ เก้าอี้ ที่สะอาดสะอาด   นอกจากนี้ลูกค้าเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงเรื่องความสะอาด และสิ่งที่ต้องการเห็นมากที่สุดสามอันดับต้นได้แก่ การปิดคลุมอาหาร  รองลงมาคือภาชนะที่สะอาด และไม่มีกลิ่นความจริงแล้วหาบเร่แผงลอยอาหารเหล่านี้ สะท้อนให้เราเห็นอะไรที่นอกเหนือไปจากวัฒนธรรมการกินของคนเมือง งานวิจัยชิ้นหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ทำไว้เมื่อปี 2547 ก็พบว่ากิจการอาหารแผงลอยนั้นมีส่วนช่วยให้เกิดการสร้างรายได้กับคนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เข้ามาหางานทำในกรุงเทพ ฯ เพราะร้อยละ 90 ของผู้ประกอบการเหล่านี้ไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 76 ซีเรียล อาหารเช้ามื้อนี้น้ำตาลมากไปไหม

ผลิตภัณฑ์ซีเรียล (Cereal) เป็นอาหารสำเร็จรูปชนิดหนึ่งที่คนรุ่นใหม่กำลังให้ความสนใจกันมากขึ้น เนื่องจากความสะดวกในการรับประทานและการทำตลาดที่สื่อความหมายว่า เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ซีเรียลธัญพืชชนิดแผ่นกรอบ (Flakes) ที่มีเด็กเป็นกลุ่มเป้าหมาย แต่จะเป็นเช่นนั้นจริง ๆ หรือ...ในเมื่ออาหารเช้ามื้อนี้มีน้ำตาลสูงมากองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศอังกฤษ สำรวจและทดสอบผลิตภัณฑ์ซีเรียลจำนวน 275 ตัวอย่างจากร้านค้าปลีกและโรงงานทั่วประเทศพบว่า ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีน้ำตาลผสมในปริมาณค่อนข้างสูงคือร้อยละ 76 ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดมีน้ำตาลในระดับสูงมาก และยังพบอีกว่าร้อยละ 19 ของผลิตภัณฑ์ตัวอย่างยังมีเกลือค่อนข้างสูงอีกด้วย ซึ่งผลการศึกษานี้ พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในวารสาร Which เมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมานี้เองในประเทศอังกฤษอาหารเช้าซีเรียลค่อนข้างเป็นที่นิยมกันมากเห็นได้จากจำนวนผลิตภัณฑ์ตัวอย่างถึง 275 รายการ ที่ทาง Which นำมาทดสอบ การพบว่ามีส่วนผสมของเกลือค่อนข้างสูงในผลิตภัณฑ์ซีเรียลทำให้ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรแห่งนี้แถลงว่า ขณะที่ทุกส่วนของสังคมกำลังพยายามลดเกลือในอาหารเช้าลงมา แต่เรายังพบว่ามีผลิตภัณฑ์ถึงร้อยละ 19 ที่มีเกลือสูง ซึ่งไม่น่าจะเรียกว่าเป็น อาหารที่ดีต่อสุขภาพตามที่ผู้ผลิตได้โฆษณามาตลอด

อ่านเพิ่มเติม >