ฉบับที่ 137 ปรอทในครีมหน้าขาว

นาทีนี้การมีผิวหน้าสะอาด ชุ่มชื้น เพียงอย่างเดียวมันไม่เพียงพอเสียแล้ว เรายังรู้สึกเหมือนเป็นความจำเป็นที่จะต้องมีผิวอ่อนเยาว์ ไร้ริ้วรอย และที่สำคัญต้องขาวใสไร้จุดด่างดำอีกด้วย ผลิตภัณฑ์ที่จะตอบสนองความต้องการดังกล่าวจึงมีออกมาให้เลือกกันมากมายหลายสูตร จนเลือกกันไม่ถูกเลยทีเดียว   มูลนิธิบูรณนิเวศ และนิตยสารฉลาดซื้อได้ร่วมกันเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ครีมที่อ้างสรรพคุณว่าทำให้ผิวหน้ามีสีจางลงหรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่าครีมหน้าขาว มาตรวจหาสารปรอท ซึ่งกฎหมายประกาศห้ามใช้ งานนี้เรายังได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจังหวัด พะเยา ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สมุทรปราการ สงขลา สุราษฎร์ธานี ในการสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากพื้นที่เข้ามาให้ด้วย   ครั้งนี้เราตรวจหาสารปรอทใน 47 ผลิตภัณฑ์ ที่เราเก็บตัวอย่างครีมจากซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างค้าปลีก ร้านสินค้าสุขภาพ รวมถึงแผงขายเครื่องสำอางในตลาดนัด ระหว่างเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2555 มีตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากกรุงเทพมหานคร 15 ตัวอย่าง และตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากพื้นที่ต่างจังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สุราษฎร์ธานี พะเยา สงขลา สมุทรปราการ กาฬสินธุ์ และขอนแก่น อีก 32 ตัวอย่าง   ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ครีมหน้าขาวทั้งหมดถูกส่งไปวิเคราะห์หาปริมาณสารปรอททั้งหมด ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของบริษัท อินเตอร์เทค เทสติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยวิธีตามมาตรฐานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   เราบอกคุณไม่ได้ว่าทาครีมยี่ห้อไหนแล้วจะขาวกว่ากัน แต่เรารู้แน่ว่ามีถึง 10 ผลิตภัณฑ์ (จากทั้งหมด 47 ผลิตภัณฑ์) ที่มีสารปรอทปนเปื้อน โดย “ครีมน้ำนมข้าว” ที่เก็บตัวอย่างจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีคว้าแชมป์ผลิตภัณฑ์ที่มีสารปรอทมากที่สุด มากถึง 99,070 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามด้วย “ครีมไวท์โรส” จากสงขลา ที่มีปริมาณปรอทปนเปื้อน 51,600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนที่เหลืออีก 8 ผลิตภัณฑ์นั้นดูได้จากรายละเอียดในหน้าถัดไป   ซื้อแพงไว้ก่อนดีหรือไม่? นี่เป็นอีกครั้งที่เราพบว่าราคาที่แพงกว่า ไม่ได้รับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะปราศจากสารอันตรายเสมอไป เช่น ผลิตภัณฑ์ “ไบโอคอลลาเจน” ที่มีราคาถึง 28 บาท ต่อกรัม มีสารปรอทถึง 47,960 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือครีม “มาดาม” ที่ราคากรัมละ 30 บาท ก็มีสารปรอทถึง 3,435 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ “เภสัช” ซึ่งเราตรวจพบปริมาณสารปรอทต่ำกว่า 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม นั้นมีราคาต่อหน่วยเท่ากับ 0.4 บาทเท่านั้น                ที่มา : องค์การอนามัยโลก, 2011 ---   ยุทธศาสตร์ไซคัม ยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีระหว่างประเทศ หรือยุทธศาสตร์ไซคัม (Strategic Approach to International Organization on Chemicals Management หรือ SAICM) มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ ส่งเสริมให้เกิดการจัดการสารเคมีอย่างเหมาะสมตลอดวงจรชีวิตของสารเคมีนั้น ๆ ภายในปี พ.ศ. 2563 หรือ ค.ศ. 2020 การผลิตและการใช้สารเคมีจะต้องให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญที่จะปกป้องสังคมโลกให้ปลอดภัยจากสารเคมีอันตราย   ความเคลื่อนไหวที่สำคัญภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ไซคัมที่กำลังจะเกิดขึ้น ได้แก่ การพัฒนาข้อตกลงสากลว่าด้วยเรื่องสารปรอท (Mercury Treaty) นั่นเอง   หลักการพื้นฐาน 5 ข้อของยุทธศาสตร์ไซคัม 1) ลดความเสี่ยงจากสารเคมีอันตราย 2) ทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและการส่งเสริมองค์ความรู้ต่างๆ 3) สร้างธรรมาภิบาล 4) เสริมสร้างศักยภาพและความร่วมมือทางเทคโนโลยี และ 5) ห้ามการขนส่งของเสียอันตรายข้ามแดนอย่างผิดกฎหมาย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 136 ผักขึ้นห้าง วางใจได้แค่ไหนเรื่องสารเคมี

ผักสดผลไม้เป็นอาหารที่มีประโยชน์ แต่ในกระบวนการปลูกก็มีเรื่องของสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก สุขภาพที่ดีก็อาจเปลี่ยนเป็นสุขภาพที่ร้ายได้ หลายหน่วยงานจึงจัดทำมาตรฐานเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ฉลาดซื้อเลยขอโอกาสช่วยตรวจสอบซ้ำให้กับผู้บริโภค โดยฉลาดซื้อได้คัดเลือกผักจำนวน 7 ชนิด เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ ยาฆ่าแมลง ผักทั้ง 7 ชนิดที่เราเลือกมานั้นประกอบด้วย กะหล่ำปลี คะน้า ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักชี และ พริกจินดา ล้วนเป็นผักยอดนิยมที่มักจะถูกเลือกเป็นส่วนประกอบในหลายๆ เมนู หาซื้อหารับประทานได้ทั่วไป ฉลาดซื้อเชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะรับประทานผักเหล่านี้เป็นประจำ ตัวอย่างผักทั้ง 7 ชนิดที่นำมาวิเคราะห์ในครั้งนี้ ได้เลือกสุ่มเก็บตัวอย่างผักที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดัง เพราะเห็นว่าปัจจุบันมีหลายๆ บ้าน หลายๆ ครอบครัวนิยมเลือกซื้อจากซูเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น โดยตัวอย่างผักที่เราเก็บจากซูเปอร์มาร์เก็ตเพื่อนำมาทดสอบทั้ง 7 ชนิด จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือผักที่ได้รับเครื่องหมาย Q ซึ่งเป็ นตรารับรองสินค้าเกษตรคุณภาพ โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ส่วนอีกหนึ่งกลุ่ม จะเป็นผักที่จำหน่ายโดยใช้ตราหรือยี่ห้อของทางห้างเอง (House brand)   การวิเคราะห์จะดูการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และ กลุ่มคาร์บาเมต ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกผักนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน โดยเราจะนำผลวิเคราะห์ที่ได้มาเทียบเคียงเกณฑ์ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด ที่ออกโดยมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) 1. รายงานการตรวจวิเคราะห์ ผัก กลุ่มมาตรฐาน Q ตัวอย่าง ยี่ห้อ ผู้ผลิต ราคา ผลการวิเคราะห์ (มก./กก) มาตรฐาน (ไม่เกิน มก./กก.)   สารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต สารกลุ่มคาร์บาเมต ไทย (มกอช.) ยุโรป   กะหล่ำปลี ตราโครงการหลวง โครงการหลวง เชียงใหม่ 69 บ. / 1 กก. ไม่พบ ไม่พบ - -   คะน้า ตรา Fresh Deli ไร่ฐิติวันต์ - ไม่พบ Methiocarb น้อยกว่า 0.01 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Methiocarb 0.1   ถั่วฝักยาว ตราผักด๊อกเตอร์ บ.ผักด๊อกเตอร์ จำกัด 39 บ. / แพ็ค ไม่พบ Cardofuran 0.07 Methomyl 0.08 Carbofuran 0.1 Methomyl 1 Carbofuran 0.02 Methomyl 0.02   ผักกาดขาว ตราผักด๊อกเตอร์ บ.ผักด๊อกเตอร์ จำกัด 45 บ. / แพ็ค ไม่พบ ไม่พบ -   -   ผักบุ้งจีน ตรา Fresh Deli ไร่ฐิติวันต์ - ไม่พบ ไม่พบ - -   ผักชี ตรา Fresh Deli ไร่ฐิติวันต์ - Methidathion น้อยกว่า 0.05 ไม่พบ ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Methidathion 0.02   พริกจินดา ตรา Fresh Deli ไร่ฐิติวันต์ - Chlorpyrifos 0.31 ไม่ พบ Chlorpyrifos 0.5 Chlorpyrifos 0.5   2. รายงานการตรวจวิเคราะห์ ผัก กลุ่มตราห้าง (House Brand) ตัวอย่าง ยี่ห้อ ผู้ผลิต ราคา ผลการวิเคราะห์ มาตรฐาน (ไม่เกิน มก./กก.) สารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต สารกลุ่มคาร์บาเมต ไทย (มกอช.) ยุโรป กะหล่ำปลี เทสโก้ โลตัส สาขา บางประกอก - - ไม่พบ ไม่พบ - - คะน้า โฮม เฟรช มาร์ท สาขา เดอะ มอลล์ งามวงศ์วาน - 25 บ. / 250 กรัม Methidathion น้อยกว่า 0.05 ไม่พบ ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Methidathion 0.02 ถั่วฝักยาว เทสโก้ โลตัส สาขา พระราม 2 - 7 บ. / แพ็ค Ethion น้อยกว่า 0.05 ไม่พบ ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการ ตกค้าง) Ethion 0.01 ผักกาดขาว เทสโก้ โลตัส สาขา บางประกอก - 36.75 / 1 หัว ไม่พบ ไม่พบ - - ผักบุ้งจีน เทสโก้ โลตัส สาขา พระราม 1 - 5 บ. / แพ็ค ไม่พบ ไม่พบ - - ผักชี กูเม่ร์ มาร์เก็ต สยามพารากอน - 29 บ. / 80 กรัม Chlorpyrifos 0.84 Methidathion 0.06 Aldicarb 0.01 Carbofuran 0.75 ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Chlorpyrifos 0.05 Methidathion 0.02 Aldicarb 0.02 Carbofuran 0.02 พริกจินดา เทสโก้ โลตัส สาขา พระราม 1 - - Methidathion น้อยกว่า 0.05 ไม่พบ ไม่ปรากฏในการกำหนดมาตรฐานสินค้า (ไม่ควรมีการตกค้าง) Methidathion 0.02     : เก็บตัวอย่างเมื่อเดือน มีนาคม 2555 : ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งทดสอบเท่านั้น : วิเคราะห์ผลโดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ผลการวิเคราะห์ เริ่มที่ข่าวดี ผลจากการวิเคราะห์บอกกับเราว่า ผัก 3 ใน 7 ชนิด คือ กะหล่ำปลี ผักกาดขาวและผักบุ้งจีน ทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ว่าจะในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตหรือกลุ่มคาร์บาเมต งั้นมาดูผักอีก 4 ชนิด ที่ตรวจพบการปนเปื้อน มาดูกันสิว่าจะมีผลต่อผู้บริโภคอย่างเรามากน้อยแค่ไหน ผักคะน้า เริ่มกันที่ ผักคะน้า โดยตัวอย่างในกลุ่มผักที่ได้รับมาตรฐาน Q เป็นผักคะน้ายี่ห้อ เฟรช เดลี่ (Fresh Deli) พบการปนเปื้อนสารในกลุ่มคาร์บาเมต ที่ชื่อว่า เมทธิโอคาร์ป (Methiocarb) ที่ปริมาณน้อยกว่า 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งหากจะเทียบตามเกณฑ์ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ไม่ได้มีกำหนดเกณฑ์ของ เมทธิโอคาร์ป เอาไว้ เราจึงเทียบกับมาตรฐานสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของยุโรป ซึ่งกำหนดให้คะน้า (ใช้คำค้นหาว่า Chinese broccoli) พบการปนเปื้อน เมทธิโอคาร์ป ได้ไม่เกิน 0.1 มล. ต่อ กก. ซึ่งเท่ากับว่าผลการวิเคราะห์ที่ได้ไม่เกินเกณฑ์ที่เหมาะสม ส่วนตัวอย่าง ผักคะน้า ในกลุ่มตราห้าง ที่เก็บตัวอย่างจาก โฮม เฟรช มาร์ท สาขา เดอะ มอลล์ งามวงศ์วาน พบการปนเปื้อนของสารเคมีในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ตัวที่มีชื่อว่า เมทิดาไทออน (Methidathion) ปริมาณที่พบคือ น้อยกว่า 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งก็ไม่ได้มีกำหนดไว้ในเกณฑ์ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดของ มกอช. เช่นกัน เพราะฉะนั้นเมื่อนำไปเทียบกับเกณฑ์ของยุโรปที่กำหนดให้ เมทิดาไทออน ที่กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 0.02 มล. ต่อ กก. ผลทดสอบที่ได้จึงเกินจากเกณฑ์ที่กำหนดไปนิดๆ   ถั่วฝักยาว ตัวอย่าง ถั่วฝักยาว มาตรฐาน Q ที่นำมาวิเคราะห์ คือ ตราผักด๊อกเตอร์ พบการปนเปื้อนวัตถุอันตรายทางการเกษตรเฉพาะในกลุ่มคาร์บาเมต 2 ตัว คือ คาร์โบฟูราน (Carbofuran) ที่ปริมาณ 0.07 มล. ต่อ กก. อีกตัวคือ เมโทมิล (Methomyl) ที่ปริมาณ 0.08 มล. ต่อ กก. ซึ่งสารเคมีทั้ง 2 ตัว มีการกำหนดไว้ในเกณฑ์ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดของ มกอช. โดยในถั่วฝักยาว อนุญาตในพบการปนเปื้อนของ คาร์โบฟูราน สูงสุดไม่เกิน 0.1 มล. ต่อ กก. ส่วน เมโทมิล สูงสุดได้ไม่เกิน 1 มล. ต่อ กก. เท่ากับว่าผลทดสอบ ถั่วฝักยาว มาตรฐาน ตราผักด๊อกเตอร์ พบการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของ มกอช. มาดูที่ตัวอย่าง ถั่วฝักยาว ที่ใช้ตราของห้างสรรพสินค้า ซึ่งเราเก็บตัวอย่างมาจาก ห้างเทสโก้ โลตัส สาขาพระราม 2 พบการปนเปื้อนของสารเคมีในกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส 1 ตัว คือ อีไทออน (Ethion) ที่ปริมาณน้อยกว่า 0.05 มล. ต่อ กก. ซึ่งในเกณฑ์ของ มกอช. ไม่ได้มีการกำหนดปริมาณที่สามารถพบได้ของสารนี้ในถั่วฝักยาว แต่มีการกำหนดไว้ในกลุ่มของถั่วทั้งชนิดที่เป็นฝักสดและชนิดเมล็ดแห้ง โดยตั้งเกณฑ์การปนเปื้อนไว้ที่ไม่เกิน 1 มล. ต่อ กก. หากลองใช้เกณฑ์นี้เป็นตัวตั้ง การพบ อีไทออน ที่ปริมาณน้อยกว่า 0.05 มล. ต่อ กก. ก็ถือว่าห่างจากเกณฑ์สูงสุดที่ตั้งไว้ค่อนข้างมาก   ผักชี ในมาตรฐานสารเคมีในสินค้าเกษตรของ มกอช. ไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของ ผักชี เอาไว้ ทำให้เราต้องนำไปเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยของยุโรปแทน โดยตัวอย่าง ผักชีมาตรฐาน Q ตรา เฟรช เดลี่ (Fresh Deli) พบการปนเปื้อนของ เมทิดาไทออน (Methidathion) น้อยกว่า 0.05 มล. ต่อ กก. ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์สินค้าเกษตรของยุโรป กำหนดไว้ให้ถั่วฝักยาวสามารถพบการปนเปื้อนของ เมทิดาไทออน ได้ไม่เกิน 0.02 มล. ต่อ กก. ซึ่งนั้นเท่ากับว่าตัวอย่างผักชีมาตรฐาน Q ที่เรานำมาทดสอบพบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงเกินมาตรฐาน เช่นเดียวกับ ตัวอย่าง ผักชีตราห้าง ที่พบการปนเปื้อนของสารเคมีหลายตัว ไม่ว่าจะเป็น คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos) 0.84 มล. ต่อ กก., เมทิดาไทออน (Methidathion) 0.06 มล. ต่อ กก., อัลดิคาร์บ (Aldicarb) 0.01 มล. ต่อ กก., และ คาร์โบฟูราน (Carbofuran) 0.75 มล. ต่อ กก. โดยผลวิเคราะห์ที่ได้ถือว่าน่าตกใจ เพราะในเกณฑ์สินค้าเกษตรปลอดภัยของยุโรป อนุญาตให้พบการปนเปื้อนของ คลอร์ไพริฟอส ไม่เกิน 0.05 มล. ต่อ กก. และ คาร์โบฟูราน ก็กำหนดให้ไม่เกิน 0.02 มล. ต่อ กก. แต่เมื่อดูตัวเลขที่ได้จากการวิเคราะห์จะเห็นว่าพบการปนเปื้อนสูงเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในปริมาณที่สูงมาก จนน่าเป็นห่วง   พริกจินดา พริกจินดา มาตรฐาน Q ตรา เฟรช เดลี่ (Fresh Deli) พบการปนเปื้อนของ คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos) ที่ 0.31 มล. ต่อ กก. ซึ่งเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้งของ มกอช. และยุโรป คือไม่เกิน 0.5 มล. ต่อ กก. เท่ากัน ตัวอย่างพริกจินดามาตรฐาน Q จึงถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนตัวอย่าง พริกจินดาตราห้าง พบการปนเปื้อนของ เมทิดาไทออน (Methidathion) น้อยกว่า 0.05 มล. ต่อ กก. โดยเกณฑ์ของ มกอช. ไม่ได้กำหนดไว้ เมื่อนำไปเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของยุโรปซึ่งกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 0.02 มล. ต่อ กก. ดังนั้นผลวิเคราะห์ที่ได้ที่ว่าน้อยกว่า 0.05 มล. ต่อ กก. ก็อาจจะถือว่าเกินเกณฑ์ของยุโรป แต่ก็เป็นปริมาณที่ไม่มาก   สรุป -ใครที่ยังเข้าใจว่าผักมาตรฐาน Q เป็นผักปลอดสารคงต้องทำความเข้าใจกันใหม่ เพราะผักที่ได้รับมาตรฐาน Q จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นเพียงผักที่ได้รับการการันตีว่ามีการใช้สารเคมีอยู่ในเกณฑ์ที่ทางสำนักงานกำหนดว่าปลอดภัยเท่านั้น หากมีการสุ่มตรวจต้องพบการตกค้างของสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงเกินจากเกณฑ์ที่ มกอช. กำหนด ยืนยันได้จากตัวอย่างผักที่เรานำมาทดสอบ หลายตัวยังพบการปนเปื้อนของสารเคมี (ถ้าหากอยากทานผักที่ปลอดสารเคมีจริงๆ ต้องเลือกผักที่เป็นผักเกษตรอินทรีย์) -อันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จะสะสมในระยะยาว เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็ง ส่งผลเสียต่อสมอง และระบบทางเดินหายใจ ส่วนพิษเฉียบพลันซึ่งมักเกิดกับกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีโดยตรง อาการที่จะเกิดขึ้นก็มีทั้ง เวียนหัว อาเจียน ปวดท้องรุนแรง ไปจนถึงเกิดอาการใจสั่น หายใจติดขัด (จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าในช่วงปี 2543 – 2552 มีผู้ป่วยจากพิษสารกำจัดศัตรูพืชเฉลี่ยปีละ 1,996 ราย) -จากผลการวิเคราะห์สารเคมีที่พบในตัวอย่างผักกลุ่มที่ได้รับเครื่องหมาย Q แต่ละชนิดส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ของ มกอช. ยกเว้น ถั่วฝักยาว ที่พบการปนเปื้อนเกินเกณฑ์ที่ มกอช. กำหนด -ที่น่าสังเกตคือ ผักชี ซึ่ง มกอช. ไม่ได้มีเกณฑ์กำหนดเรื่องการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลง โดยตัวอย่าง ผักชี มาตรฐาน Q เมื่อนำผลวิเคราะห์ที่ได้ไปเทียบกับเกณฑ์ของยุโรป แม้จะเกินมาตรฐานแต่ก็เป็นปริมาณที่ไม่มาก แต่เมื่อเป็นตัวอย่าง ผักชีตราห้าง กับพบการปนเปื้อนเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับที่ค่อนข้างสูง แม้หลายคนอาจจะคิดว่าผักชีเป็นผักที่เราใช้โรยหน้าในอาหารเมนูต่างๆ ซึ่งปกติเราจะทานในปริมาณที่น้อยมากๆ การปนเปื้อนของสารเคมีอาจไม่ส่งผลร้ายอะไร แต่การพบปริมาณการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงจำนวนมากแบบนี้ แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์การใช้สารเคมีในการเกษตรของบ้านเราซึ่งยังมีมากจนน่าเป็นห่วง ในระยะยาวอันตรายของสารเคมีของส่งผลกระทบกับสุขภาพของเกษตรกรมากกว่าผู้บริโภค เพราะเกษตรกรสัมผัสกับสารเคมีอันตรายเหล่านี้โดยตรงและเป็นประจำทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานาน ด้านการส่งออกก็จะเกิดปัญหาหากเราส่งผักที่มีการปนเปื้อนแบบนี้ออกไป ทางแก้ไขก็ต้องเป็นให้ความรู้กับเกษตรกรผู้ผลิต ว่าสารเคมีที่ใช้อยู่เป็นอันตรายยังไง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีมาตรการ ลดการใช้ การผลิต การนำเข้า สารเคมีทางการเกษตรที่เป็นอันตราย กระตุ้นและส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรอินทรีย์กันมากขึ้น ซึ่งผู้บริโภคอย่างเราเองก็ต้องช่วยกันส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ แม้ราคาจะแพงกว่าผักทั่วไป แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าเพราะได้สุขภาพที่ดีเป็นการตอบแทน -ไม่ว่าจะเป็นผักชนิดใด การล้างทำความสะอาดก่อนทานจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย แม้แต่ผักที่ปอกเปลือกก่อนทาน ก็ต้องล้างทำความสะอาดก่อนปอกเปลือก   ------------------------------------------------------------------------------------- รู้จักเครื่องหมาย Q เครื่องหมาย Q บนสินค้าเกษตร คือเครื่องหมายรับรองที่ออกโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารผ่านเกณฑ์ของคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร (food safety) และด้านคุณภาพที่จำเป็น (essential quality) ซึ่งประโยชน์ของการติดเครื่องหมาย Q ในสินค้าเกษตรที่ครอบคลุมทั้ง พืช ปศุสัตว์ และประมง คือการเป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุมมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตร ไล่ตั้งแต่ระดับฟาร์ม การแปรรูป การขนส่ง ช่วยให้ผู้บริโภครู้ถึงแหล่งที่มาของสินค้า สามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ได้ในกรณีที่เกิดปัญหาหรือได้รับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์นั้นๆ   “คาร์โบฟูราน” (Cardofuran) ที่พบในตัวอย่าง ผักชี ตราห้าง กับ ถั่วฝักยาว มาตรฐาน Q และ “เมโทมิล” (Methomyl) ที่พบในตัวอย่าง ถั่วฝักยาว มาตรฐาน Q ถือเป็น 2 ใน 4 สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ เครือข่ายเฝ้าระวังสารเคมีเกษตร (Thai – PAN : Thailand Pesticide Alert Network) ที่เกิดจากการรวมตัวกันของ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เครือข่ายผู้บริโภค และภาคีที่เกี่ยวข้อง กำลังผลักดันให้ภาครัฐเพิกถอนทะเบียน ยกเลิกการนำเข้าและผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้สารเคมีทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นสารที่มีความเป็นพิษเฉียบพลันสูง มีความอันตรายถึงชีวิตแม้จะได้รับสารพิษเพียงเล็กน้อย มีหลายประเทศที่ประกาศไม่ให้ใช้สารเหล่านี้ไปแล้ว โดยประเทศที่ประกาศแบน คาร์โบฟูราน ประกอบด้วย สหภาพยุโรป, สหรัฐอเมริกา, จีน และ จาไมก้า ส่วนประเทศที่ยกเลิกการใช้ เมโทมิล ได้แก่ สหราชอาณาจักร, เยอรมนี, ฟินแลนด์, สิงคโปร์ ส่วนสารเคมีอีก 2 ตัวที่เครือข่ายเฝ้าระวังสารเคมีเกษตรเสนอให้มีการยกเลิกการใช้ในประเทศไทยคือ ไดโครโตฟอส (Dicrotophos) และ อีพีเอ็น (EPN)  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 135 น้ำสลัด...วัดกันไปเลย ใครมันกว่า

คุณสาวๆ ที่อยากลดน้ำหนัก มักจะหลงรักเมนูสลัดผักมากเป็นพิเศษ เพราะเชื่อว่าการรับประทานสลัดผักจะไม่ทำให้อ้วน เพราะผักดีต่อสุขภาพช่วยเรื่องระบบขับถ่าย ให้พลังงานน้อย แถมวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ก็มีสูง แต่เดี๋ยวก่อน... รู้ไหมว่า “น้ำสลัด” ตัวช่วยสำคัญที่ช่วยเพิ่มรสชาติ หวานๆ มันๆ เปรี้ยวนิดๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของน้ำสลัดนี้แหละ คือตัวการเพิ่มน้ำหนักโดยแท้   อร่อยมากไป..ระวังไขมันล้น หลายคนเวลารับประทานสลัดผัก มักชอบเติมน้ำสลัดแบบไม่บันยะบันยัง กลัวว่าถ้าใส่น้อยเกินไปแล้วจะไม่อร่อย หารู้ไม่ ว่าการทำแบบนั้นแทนที่กินสลัดผักแล้วจะช่วยลดน้ำหนักกลับจะทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เพราะส่วนประกอบหลักๆ ในน้ำสลัดประกอบด้วย น้ำมันพืช น้ำตาล และไข่ไก่ เป็นสำคัญ ยิ่งคนนิยมรับประทานสลัดผักเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น น้ำสลัดแบบบรรจุถุง บรรจุขวดพร้อมรับประทานก็มีผลิตออกมาวางขายกันหลากหลายยี่ห้อ ส่วนประกอบหลักของบรรดาน้ำสลัดยี่ห้อต่างๆ ที่วางขายกันอยู่ในปัจจุบัน คือน้ำมันพืช กับ น้ำตาล เฉพาะ 2 อย่างนี้รวมกันปริมาณก็เกือบ 50% ของส่วนประกอบทั้งหมด ถ้าเป็นแบบนี้คนที่ชอบเติมน้ำสลัดเยอะๆ ก็อาจไม่ผอมหรือสุขภาพดีสมใจ แต่จะเสี่ยงกับการมีน้ำหนักเพิ่มและเจ็บป่วยจากการที่ร่างกายได้รับไขมันมากเกินไป ทดสอบปริมาณไขมันในน้ำสลัด ฉลาดซื้อส่งเสริมให้ทุกคนรับประทานผักและเห็นว่าเมนูสลัดผักเป็นเมนูที่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ต้องเลือกเติมน้ำสลัดแต่พอดี แล้วน้ำสลัดสำเร็จรูปยี่ห้อไหนที่น่าจะนำมาปรุงเมนูสลัดบ้าง ฉลาดซื้อจึงได้ทำการทดสอบเปรียบเทียบปริมาณไขมัน (Total Fat) ที่อยู่ในน้ำสลัดจำนวน 10 ยี่ห้อที่วางตามท้องตลาดทั่วไป เอาใจคนรักสุขภาพ คนที่ชอบสลัด   ตารางแสดงผลการทดสอบปริมาณไขมันในตัวอย่างน้ำสลัดสำเร็จรูปผลทดสอบโดย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลผลทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่ส่งทดสอบเท่านั้นเก็บตัวอย่างทดสอบเมื่อเดือน มีนาคม 2555   ผลทดสอบ - สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ได้กำหนดปริมาณไขมันที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายเป็นปริมาณต่อ 1 มื้อ อยู่ที่ไม่เกิน 15 กรัม ไม่นับรวมกับปริมาณไขมันที่อาจได้เพิ่มอีกจากการรับประทานอาหารระหว่างมื้อหรืออาหารว่างซึ่งเกณฑ์ได้กำหนดไว้ว่าไม่ควรเกิน 6 กรัม -น้ำสลัดชนิดครีมข้นทั้ง 10 ตัวอย่างที่ทดสอบ มีไข่แดงของไข่ไก่เป็นตัวทำให้น้ำสลัดมีความข้น (น้ำสลัดแบบใสจะไม่มีไข่เป็นส่วนประกอบ) - คิวพี สลัดครีม มีปริมาณไขมันมากที่สุด คือ 54 กรัม ต่อ น้ำสลัด 100 กรัม หากคิดเป็นปริมาณต่อการรับประทานสลัด 1 จาน โดยเติมน้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 15 กรัม ปริมาณของไขมันที่ได้รับอยู่ประมาณ 8.05 กรัม แต่ถ้าเพิ่มน้ำสลัดเป็น 2 ช้อนโต๊ะ ปริมาณไขมันที่ได้จากผักสลัด 1 จานก็จะเพิ่มเป็น 16.1 กรัม ก็ถือว่าเลยเกณฑ์ปริมาณของไขมันที่เหมาะสมในอาหาร 1 มื้อ ที่ 15 กรัมไปเล็กน้อย -ตัวอย่างน้ำสลัดที่ทดสอบพบปริมาณไขมันในระดับสูงรองๆ ลงมา ได้แก่ มอลลี่ สลัดครีม พบปริมาณไขมัน 49.2 กรัมต่อน้ำสลัด 100 กรัม หรือประมาณ 7.34 กรัมต่อน้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ, สุขุม สลัดครีม พบปริมาณไขมัน 45.1 กรัมต่อน้ำสลัด 100 กรัม หรือประมาณ 6.73 กรัมต่อน้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ และ เบสท์ ฟู้ดส์ สลัดครีม พบปริมาณไขมัน 43.8 กรัมต่อน้ำสลัด 100 กรัม หรือประมาณ 6.53 กรัมต่อน้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ -จากการสังเกต พบว่ามี 2 ตัวอย่างที่ระบุไว้บนฉลากชัดเจนว่าเป็นสูตรไขมันต่ำ คือ บิ๊กซี น้ำสลัดครีม สูตรไขมันต่ำ และเฟียว ฟู้ดส์ น้ำสลัดครีม สูตรไขมันต่ำ พบปริมาณไขมันในระดับที่น้อยมากตรงกับที่โฆษณาว่าเป็นสูตรไขมันต่ำจริง -ตัวอย่างน้ำสลัดหรือสลัดครีม ที่นำมาทดสอบมีความหลากหลายในเรื่องของการใช้วัตถุกันเสีย การใช้สี และการแต่งกลิ่น ตามข้อมูลที่ระบุไว้บนผลิตภัณฑ์ เพราะฉะนั้นถ้าใครอยากรับประทานน้ำสลัดที่ไม่ใช้วัตถุกันเสีย ไม่แต่งสี ไม่แต่งกลิ่น ก็ต้องอ่านข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ให้ดี   สรุป... ถ้าดูจากผลการทดสอบปริมาณไขมันในน้ำสลัด ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น่าเป็นห่วง ถ้าหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม คือไปเกิน 2 ช้อนโต๊ะ แต่ที่สำคัญและต้องพิจารณาให้ดี คือต้องรับประทานสลัดเป็นอาหารจานหลักจริงๆ ไม่ใช่เป็นจานเสริมคู่กับอาหารเมนูอื่นๆ หลายคนเลือกรับประทานสลัดเพราะว่าห่วงใยสุขภาพ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี แต่หลายคนก็ยังกลัวว่าการรับประทานแค่สลัดผักจะไม่ทำให้อิ่มท้อง ก็เลยมักจะรับประทานสลัดคู่ไปกับเมนูอื่นๆ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ ไขมันในน้ำสลัดรวมเข้ากับไขมันในอาหารอื่น โอกาสเสี่ยงที่เราจะได้รับไขมันเกินความต้องการก็มีสูง ถ้าไม่อยากให้ไขมันที่เกินพอดีมาทำร้ายสุขภาพของเราก็ต้องรู้จักควบคุมดูแลเรื่องอาหารการกิน สมมติว่าเรารับประทานอาหารที่มีไขมันสูงไปแล้วแต่เรายังอยากรับประทานสลัดผัก ก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงน้ำสลัดเลือกรับประทานเป็นผักสดๆ แทน หรือไม่ก็ควรรับประทานสลัดให้เป็นอาหารหลักจานเดียวให้ได้ ถ้ากลัวไม่อิ่มก็ควรเติมเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ กุ้ง ทูน่า ไข่ต้ม หรือเลือกพวกธัญพืชที่ให้โปรตีน พวกถั่วต่างๆ หรือจะใส่ผักที่ให้พลังงานสูงๆ อย่าง เผือกหรือมัน ก็เป็นวิธีที่น่าจะช่วยให้เราอิ่มได้ด้วยสลัดจานเดียว   ----------------------------------------------------------------------------------------------------- กินสลัดให้อร่อยและดีต่อสุขภาพ 1.ควรเติมน้ำสลัดแต่พอดี แค่ให้พอช่วยเพิ่มรสชาติให้เรารับประทานผักได้มากขึ้น 2.ทำน้ำสลัดไว้กินเอง น้ำสลัดทำได้ไม่ยาก มีน้ำสลัดหลายสูตรที่ไม่ต้องใช้น้ำมันเป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำสลัดผลไม้ ใช้นมข้น ใช้เนื้อเต้าหู้หรือน้ำเต้าหู้ หรือสูตรง่ายๆ อย่างการใช้โยเกิร์ตแทนน้ำสลัด หรือสูตรไทยๆ อย่างน้ำจิ้มซีฟู้ดก็เข้ากันดีกับผักสดๆ 3.ไม่ต้องเติมน้ำสลัดก็ได้ เราสามารถทำสลัดผักจานโปรดของเราให้มีรสชาติดีได้โดยไม่ต้องเติมน้ำสลัด แค่เพียงเลือกเติมผลไม้ที่เราชอบหรือเลือกชนิดที่มีรสเปรี้ยวและมีความฉ่ำ เช่น ส้ม ส้มโอ สับปะรด ฯลฯ รสหวานนิดๆ เปรี้ยวพอดีๆ ของผลไม้จะช่วยตัดรสจืดๆ เฝื่อนๆ ของผักใบเขียวได้เป็นอย่างดี 4.ถ้าต้องซื้อน้ำสลัด อ่านฉลากให้ละเอียด สังเกตที่ส่วนประกอบ เลือกที่มีสัดส่วนของน้ำมันน้อย ปริมาณไขมันก็น้อยลงตาม แต่อย่าลืมดูปริมาณของส่วนประกอบอื่นๆ ด้วย ทั้ง น้ำตาล เกลือ และเครื่องปรุงรสต่างๆ ถ้ามีฉลากโภชนาการก็ควรอ่านฉลากโภชนาการก่อนตัดสินใจซื้อ ดูว่าปริมาณต่อ 1 เสิร์ฟ ซึ่งเขาจะบอกไว้เป็นปริมาณต่อ 1 ช้อนโต๊ะหรือ 2 ช้อนโต๊ะ เราได้รับปริมาณสารอาหารต่างๆ มากน้อยแค่ไหน 5.ก่อนทำสลัดรับประทาน อย่าลืมล้างทำความสะอาดผักให้สะอาดเรียบร้อย เลือกผักที่สดสะอาดและต้องเลือกผักให้หลากหลาย หลากสี หลากชนิด เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินแร่ธาตุที่หลากหลายแตกต่างกันไป -----------------------------------------------------------------------------------------------------   ปริมาณของไขมันที่เหมาะสมสำหรับคนไทยใน 1 วัน (Thai RDI) อยู่ที่ไม่เกิน 65 กรัม ซึ่งถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานตั้งต้น แต่หากจะดูถึงความเหมาะสมจริงๆ จำเป็นต้องพิจารณาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของแต่ละคนประกอบด้วย เช่น ถ้าเป็นคนที่ต้องใช้แรงใช้กำลังค่อนข้างมากในการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ เช่น นักกีฬา ปริมาณของไขมันที่ควรได้รับในแต่ละวันก็อาจใกล้เคียงกับเกณฑ์ของ Thai RDI ที่ไม่เกิน 65 กรัม แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่ได้มีภาระงานหรือกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากนักในแต่ละวัน เช่น คนที่ทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ก็ไม่มีความจำเป็นที่ร่างกายจะต้องได้รับปริมาณไขมันในระดับสูงตามที่เกณฑ์กำหนดไว้ ไขมันถือเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะไขมันเป็นทั้งแหล่งพลังงาน ช่วยในการดูดซึมวิตามินหลายชนิด เช่น เอ ดี อี เค ทั้งยังช่วยรักษาสมดุลให้ผิวหนัง ควบคุมการเผาผลาญ ฯลฯ แต่การได้รับไขมันเกินกว่าความต้องการของร่างกาย ไขมันส่วนเกินจะไปรบกวนการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ หลอดเลือด ตับ ไต ฯลฯ การควบคุมให้ปริมาณไขมันพอดีกับร่างกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน ซึ่งไม่เพียงแต่การควบคุมการรับประทานอาหารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแบ่งเวลาให้กับการออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญไขมันส่วนเกิน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 135 สินค้าเด็กไทย ปลอดภัยหรือยัง

ความปลอดภัยและพัฒนาการของลูก เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนต้องการ หลายคนซื้อสินค้าอย่าง หัวนมหลอก ยางกัด รถหัดเดิน หรือแม้แต่เก้าอี้สูง มาให้ลูกใช้โดยหารู้ไม่ว่าอาจจะกำลังเพิ่มความเสี่ยงให้กับเด็กๆ เพราะปัจจุบันในบ้านเรายังไม่มีมาตรฐานควบคุมการผลิตสินค้าเหล่านี้ ว่าแล้วก็เริ่มสงสัยว่าทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กปลอดภัยพอแล้วหรือไม่   เพื่อตอบคำถามดังกล่าวฉลาดซื้อขอนำผลการวิจัยโดยพญ. ประภาศิริ สิงห์วิจารณ์  รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ เรื่อง “การประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เด็กที่มีใช้ในเด็กช่วงอายุ 6 ถึง 18 เดือน” มาเล่าสู่กันฟัง   งานวิจัยดังกล่าวเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน จากร้านค้าและห้างสรรพสินค้าทั่วไปในกรุงเทพมหานคร  ผลิตภัณฑ์ 12 ประเภทที่พบได้แก่   กรุ๊งกริ๊ง หัวนมหลอก รถเข็นเด็ก ยางกัด เตียงเด็ก เปลคอก เปลไกว รถหัดเดิน เก้าอี้สูง เก้าอี้นั่งโยก เก้าอี้กระโดด เป้อุ้มเด็ก   จากนั้นสัมภาษณ์เก็บข้อมูล จาก “ผู้ดูแลหลัก” ของเด็กที่เกิดที่โรงพยาบาลรามาธิบดี 203 คน ที่มีอายุระหว่าง 6 – 18 เดือน โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เพื่อวิเคราะห์ว่าผลิตภัณฑ์ที่มีใช้อยู่นั้นมีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือไม่   *หมายเหตุ: แบบสอบถามดังกล่าวออกแบบโดยอ้างอิงข้อมูลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เด็ก ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศสหรัฐอเมริกา เอกสารมาตรฐานจาก American Society for Testing and Materials และมาตรฐานของ ISO รวมถึงข้อมูลการบาดเจ็บที่เคยเกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของเด็ก -------------------------------------------------------------------------------------------------------   สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ในปี ค.ศ. 2008 มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 63,700 ราย ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในห้องฉุกเฉินเนื่องจากอาการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผลิตภัณฑ์อย่าง รถเข็นเด็ก พาหนะเด็ก เตียงเด็กและเก้าอี้เสริม ------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5 ผลิตภัณฑ์ยอดนิยม ผลิตภัณฑ์เด็กที่มีอัตราการใช้สูงสุด 5 อันดับแรก ในเด็กอายุ 12 เดือน ได้แก่ กรุ๊งกริ๊ง           (ร้อยละ 85.2) รถหัดเดิน           (ร้อยละ 82) ยางกัด            (ร้อยละ 71.3) รถเข็นเด็ก        (ร้อยละ 68) เปลไกว           (ร้อยละ 53.3) ---   10 อันดับ ผลิตภัณฑ์ความเสี่ยงสูง (เรียงลำดับจากความเสี่ยงมากไปความเสี่ยงน้อย) รถหัดเดิน เตียงเด็ก รถเข็นเด็ก กรุ๊งกริ๊ง เก้าอี้สูง เปลไกว เก้าอี้นั่งโยก เปลคอก พาหนะอุ้มเด็ก จุกนมหลอก   ------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4 ผลิตภัณฑ์อันตราย งานวิจัยครั้งนี้พบว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์ประเภทกรุ๊งกริ๊ง รถหัดเดิน รถเข็นเด็ก และเปลไกว มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดการบาดเจ็บหลักได้ -------------------------------------------------------------------------------------------------------   ความเสี่ยงจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ กรุ๊งกริ๊ง ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ      ด้านปลายของกรุ๊งกริ๊งทิ่มเข้าคอเด็ก ตัวกรุ๊งกริ๊งกระแทกกับศีรษะและใบหน้า หนีบนิ้วมือ มีแผลถลอก/บาด จากขอบแหลมคม   ควรเลือก                                   ผลิตภัณฑ์ที่มีด้านปลายที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 4.2 เซนติเมตร         ผลิตภัณฑ์ จุกนมหลอก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               สายคล้องคอรัดคอ และจุกนมอุดกั้นทางเดินหายใจ   ควรเลือก                                   ผลิตภัณฑ์ที่มีเชือกคล้องคอหรือแป้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 4.2 เซนติเมตร     ผลิตภัณฑ์    รถเข็นเด็ก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               เด็กตกจากรถเข็นเนื่องจากไม่มีเข็มขัดนิรภัยที่เหมาะสม ล้มกระแทกจากการปีนรถ หรือรถลื่นไถลเสียหลักจนพลิกคว่ำ ควรเลือก                                   รถเข็นที่สายรัดนิรภัยที่มีตำแหน่งยึด 5 จุด คือ ยึดระหว่างขา รอบเอว และไหล่ทั้งสองข้าง  และมีระบบห้ามล้อ           ผลิตภัณฑ์ ยางกัด ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               ยางกัดแตกเป็นชิ้นเล็กๆ หรืออาจอุดกั้นทางเดินหายใจ   ควรเลือก                                   ผลิตภัณฑ์มีที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 4.2 เซนติเมตร       ผลิตภัณฑ์ เตียงเด็ก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ            เด็กตกเตียงหรือลอดทะลุช่องแล้วศีรษะติดค้าง ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ   ควรเลือก                                   เตียงที่ราวกันตกและผนังเตียงด้านศีรษะและเท้ามีช่องห่างไม่เกิน 6 เซนติเมตร หรือจากขอบบนของเบาะที่นอนถึงราวกันตกด้านบนมีความสูงมากกว่า 65 เซนติเมตร         ผลิตภัณฑ์ เปลคอก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ            การอุดกั้นทางเดินหายใจ ในกรณีที่มุ้งกั้นด้านข้างมีรูรั่วหรือฉีกขาด หรือเคยมีการยุบตัวของโครงสร้าง         ผลิตภัณฑ์ เปลไกว ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               เด็กพลิกคว่ำตกจากเปล หรือลอดทะลุช่องแล้วศีรษะติดค้าง ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ   ควรเลือก                                   ตัวเปลที่มีราวกันตกและผนังเตียงด้านศีรษะและเท้าที่มีช่องห่างไม่เกิน 6 เซนติเมตร และมีฐานที่มั่นคง       ผลิตภัณฑ์ รถหัดเดิน ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               รถลื่นไถลเสียหลักจนพลิกคว่ำหรือเคลื่อนที่ไปสู่สิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย   ควรเลือก                                   รถหัดเดินชนิดที่ไม่มีล้อ   -------------------------------------------------------------------------------------------------------   รถหัดเดิน X รถช่วยพยุงตัว / เขาศึกษากันมาแล้วว่า “รถหัดเดิน” นั้นไม่ช่วยในการหัดเดินแต่อย่างใด แถมยังมีความเสี่ยงที่เด็กจะได้รับบาดเจ็บถึงร้อยละ 90  ขณะนี้อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ประกาศห้ามขายห้ามใช้แล้ว   สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ของเรา ออกกฎหมายให้ผู้ผลิตเปลี่ยนชื่อผลิตภัณฑ์ จาก “รถหัดเดิน” เป็น “รถช่วยพยุงตัว” และให้ติดฉลากคำเตือนที่ตัวรถว่า “อุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ได้ช่วยหัดเดิน” -------------------------------------------------------------------------------------------------------   ผลิตภัณฑ์ เก้าอี้สูง และเก้าอี้นั่งโยก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               การบาดเจ็บจากการตกจากที่สูงได้   ควรเลือก                                   เก้าอี้สูงที่มีเข็มขัดรัดระหว่างเอวและง่ามขา       ผลิตภัณฑ์ เป้อุ้มเด็ก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               การหลุดรอดตกลงมาจากเป้   ควรเลือก                                   เป้อุ้มเด็กที่มีสายรัดระหว่างเป้กับคนอุ้มแข็งแรง และมีช่องใส่ขาเด็กที่ขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 134 ฉลากอาหารกับความเข้าใจของผู้บริโภค

“ฉลากอาหาร” เปรียบเสมือนหน้าต่างของผลิตภัณฑ์ที่ทำให้สามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ภายในภาชนะบรรจุได้ โดยเป็นเครื่องมือของผู้ประกอบการในการสื่อสารข้อมูลแก่ผู้บริโภคและเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์ เป็นเครื่องมือของหน่วยงานรัฐในการติดตามตรวจสอบคุณภาพอาหารและให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากการดำเนินงานของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคพบว่า มีการละเมิดสิทธิผู้บริโภคจากกรณีการแสดงฉลากอาหารไม่ถูกต้องอยู่พอสมควร เช่น การไม่แสดงวันผลิต-วันหมดอายุ หรือแสดงแล้วแต่หาไม่เจอ ไม่แสดงชื่อผู้ผลิต-ผู้จำหน่าย การใช้ข้อความกล่าวอ้างคุณค่าให้เข้าใจผิดในสรรพคุณไปจากความเป็นอาหาร และการใช้คำแสดงส่วนประกอบที่ทำให้เข้าใจผิดถึงส่วนประกอบของอาหาร เป็นต้น ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เห็นถึงความจำเป็นที่น่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบฉลากอาหารโดยทำให้เป็นมิตรต่อผู้บริโภคโดยทำให้เห็นชัด น่าอ่าน อ่านง่าย และเข้าใจง่ายมากขึ้น แต่ก่อนที่จะมีการปรับปรุงรูปแบบฉลากอาหารได้จะต้องมีการสำรวจข้อมูลการแสดงฉลากอาหารในปัจจุบันกันเสียก่อน ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงได้นำข้อมูลผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อฉลากอาหารมาฝากคุณผู้อ่านกัน   ข้อมูลการสำรวจ ฉลาดซื้อได้ร่วมกับโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกการคุ้มครองความปลอดภัยด้านอาหารโดยผู้บริโภคดำเนินการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจของผู้บริโภคที่มีต่อฉลากอาหารในสามประเด็น 1. รูปแบบฉลากโภชนาการ 2. วันผลิต/วันหมดอายุของอาหาร และ 3. ประเด็นการโฆษณาบนฉลากอาหาร การสำรวจนี้ได้รับความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจากผู้บริโภคจำนวน 474 คนในทุกช่วงอายุ คละกลุ่มอาชีพและคละฐานการศึกษาจากแปดจังหวัดในสี่ภูมิภาคคือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น เชียงใหม่ พะเยา สุราษฎร์ธานี สงขลา และสตูล ระหว่างช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม 2554   ผลการสำรวจ 1 การรับรู้ฉลากโภชนาการ ร้อยละ 83.5 ต้องการให้อาหารทุกประเภทต้องแสดงฉลากโภชนาการ ฉลากโภชนาการ คือ การแสดงข้อมูลคุณค่าทางอาหารของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ บนฉลากในรูปของชนิด และปริมาณของสารอาหารรวมไปถึงการใช้ข้อความ กล่าวอ้างทางโภชนาการ เช่น โปรตีนสูง เสริมวิตามินซี เป็นต้น การใช้ฉลากโภชนาการในปัจจุบันอยู่ในลักษณะการแสดงโดยสมัครใจสำหรับอาหารทุกชนิดทั่วไป แต่จะบังคับให้ อาหารที่มีการกล่าวอ้าง ต้องแสดงฉลากโภชนาการ ซึ่งหมายความว่า ไม่ใช่อาหารทุกชนิดต้องมีฉลากโภชนาการ เราถามผู้บริโภคเกี่ยวกับความเข้าใจฉลากโภชนาการ (ข้อมูลแสดงคุณค่าของอาหาร) ในสามรูปแบบคือ แบบการแสดงตัวเลขเป็นร้อยละโดยมีสีเดียวที่ อย. เพิ่งนำมาใช้ (Guideline Daily Amount: GDA)     แบบสีสัญญาณไฟจราจร เขียว เหลือง แดง (Traffic Light Labeling) และ แบบตารางแสดงคุณค่าโภชนาการตามปกติ   ผลการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคร้อยละ 49.6 มีความพอใจในฉลากโภชนาการแบบ GDA ขณะที่ความพอใจที่มีต่อฉลากสีสัญญาณไฟจราจรนั้นอยู่ที่ร้อยละ 84.8 และเมื่อถามเปรียบเทียบระหว่างการใช้ฉลากทั้งสองรูปแบบพบว่าร้อยละ 24.3 ชื่นชอบ GDA ร้อยละ 64.8 ชื่นชอบแบบสีสัญญาณไฟจราจร และร้อยละ 5.7 ไม่ชอบทั้งสองแบบ โดยให้ข้อเสนอแนะว่าน่าจะนำทั้งสองรูปแบบมารวมกัน(มีผู้ไม่ตอบในข้อนี้อีกจำนวนร้อยละ 5.3) เมื่อถามว่าถ้ามีการใช้รูปแบบฉลากโภชนาการแบบใหม่ไม่ว่าจะเป็น GDA หรือ สีสัญญาณไฟจราจรแล้วจะต้องใช้รูปแบบฉลากโภชนาการแบบเดิมหรือไม่ ได้รับคำตอบว่าจำเป็น แต่ต้องปรับรูปแบบให้เข้าใจง่ายขึ้นจำนวนร้อยละ 62.2 และมีผู้ที่ตอบว่าไม่จำเป็นจำนวนร้อยละ 33.5 โดยให้เหตุผลสองข้อคือ 1) เพราะไม่เคยอ่านฉลากโภชนาการรูปแบบเดิม จำนวนร้อยละ 67.5 และ 2) เพราะอ่านฉลากโภชนาการแบบเดิมไม่รู้เรื่องจำนวนร้อยละ 32.5 คำถามสุดท้ายในประเด็นนี้ ได้ถามถึงความจำเป็นในการแสดงฉลากโภชนาการในอาหาร พบว่า ร้อยละ 83.5 ต้องการให้อาหารทุกประเภทต้องแสดงฉลากโภชนาการ ร้อยละ 10.3 ให้แสดงเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างคุณค่าทางโภชนาการ และ ร้อยละ 1 ต้องการให้แสดงในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก โดยที่มีผู้ไม่ตอบในข้อนี้อีกจำนวนร้อยละ 5.7   2 ความเข้าใจเรื่องการโฆษณาบนฉลากอาหาร ร้อยละ 76.8 ตอบว่า โฆษณาบนฉลากมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ โดยทั่วไป พรบ. อาหาร พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์อาหารของตนจะต้องขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทุกครั้งแต่สำหรับการโฆษณาบนฉลากอาหารนั้นกลับไม่มีการบังคับทางกฎหมายว่าต้องส่งให้ อย. ตรวจสอบแต่อย่างใด ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนใช้ช่องว่างนี้ในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ของตนซึ่งบางครั้งก็เป็นข้อความที่เกินจริง โอ้อวดสรรพคุณ ทำให้เข้าใจผิดไปจากความเป็นอาหาร อีกทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่บนฉลากทำให้ตัวหนังสือในส่วนอื่น ๆ ของฉลากที่มีความสำคัญมากกว่า เช่น วันผลิต-วันหมดอายุ ตารางโภชนาการ มีขนาดเล็กทำให้ไม่น่าอ่าน ดังนั้นหากมีการควบคุมดูแลด้านฉลากอาหารที่ดี โดยตัดเนื้อหาการโฆษณาที่ไม่จำเป็นเหล่านี้ออกไปก็จะทำให้มีเนื้อที่บนฉลากมากขึ้นเพียงพอที่จะทำให้ฉลากอาหารน่าอ่านและอ่านง่าย   เมื่อส่งผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ตอบแบบสอบถามและให้หาโฆษณาบนฉลากอาหาร ร้อยละ 24.5 ตอบว่าไม่มีโฆษณา ขณะที่ร้อยละ 71.3 ตอบว่ามี อย่างไรก็ตาม จากการให้ผู้ตอบแบบสอบถามเขียนคำโฆษณาที่ตนเห็นลงในแบบสอบถามด้วย พบว่า กว่าครึ่งเข้าใจได้ถูกต้องถึงสิ่งที่ตนเขียนมา ขณะที่อีกกลุ่มใหญ่ไม่เข้าใจว่าการโฆษณาบนฉลากอาหารคืออะไร โดยที่กว่าครึ่งของผู้ที่ตอบว่ามีโฆษณาบนฉลากเข้าใจว่าการใช้คำกล่าวอ้างทางโภชนาการตามที่ อย. อนุญาต คือการโฆษณา บ้างคิดว่าชื่ออาหารเป็นโฆษณา และบางส่วนสับสนระหว่างการแสดงส่วนประกอบของอาหารกับการโฆษณา เมื่อถามว่าโฆษณาที่เห็นมีผลต่อการตัดสินใจซื้อหรือไม่ ร้อยละ 76.8 ตอบว่ามี ร้อยละ 18.6 ตอบว่าไม่มีผล และร้อยละ 4.6 ไม่แสดงความคิดเห็น ซึ่งหมายความว่าคำบรรยายต่าง ๆ ที่เห็นบนฉลากไม่ว่าจะเป็นการกล่าวอ้างทางโภชนาการทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง และทั้งการโฆษณาโดยตรงบนฉลาก มีผลต่อการตัดใจของผู้บริโภคค่อนข้างสูง คำถามสุดท้ายของประเด็นว่าเห็นด้วยกับการมีโฆษณาบนฉลากอาหารหรือไม่ ร้อยละ 69 ตอบว่า เห็นด้วย และ ร้อยละ 26.8 ตอบว่า ไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตามจากเหตุผลของผู้ที่เห็นด้วยที่บอกว่าการโฆษณาทำให้รู้สรรพคุณและส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นั้นทำให้สามารถเข้าใจได้ว่าผู้ที่ตอบว่าเห็นด้วยบางส่วนนั้นยังคงมีความสับสนและไม่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรคือคำกล่าวอ้างทางโภชนาการที่ อย. อนุญาต และอะไรคือการโฆษณาซึ่งเป็นสิ่งที่มิได้ระบุไว้ให้แสดงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องฉลาก 3 การรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุ ร้อยละ 49.2 อยากเห็นฉลากอาหารแสดงทั้งวันผลิตและวันหมดอายุ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- “ในทางกฎหมายคำว่า “วันหมดอายุ” ถือเป็นสัญญาที่ผู้ประกอบการให้กับผู้บริโภค ส่วนคำว่า “ควรบริโภคก่อน” ถือเป็นคำแนะนำของผู้ประกอบการที่มีต่อผู้บริโภค” นายอิฐบูรณ์  อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   เมื่อถามผู้ตอบแบบสอบถามว่าเห็นวันผลิต-วันหมดอายุของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในมือหรือไม่ ร้อยละ 57.6 ตอบว่าเห็น ร้อยละ 7.4 ตอบว่า ไม่เห็น ร้อยละ 30.6 ตอบว่า เห็นแต่ใช้เวลาในการหานาน และส่วนที่เหลือไม่แสดงความคิดเห็น ซึ่งสัดส่วนที่ไม่ต่างกันมากของทั้งสามคำตอบและเมื่อรวมผู้ที่ตอบว่าไม่เห็นกับผู้ที่ตอบว่าเห็นแต่ใช้เวลาในการหานานแล้วนั้นสัดส่วนขยับมาเป็นร้อยละ 57.6 ต่อ ร้อยละ 38 สำหรับคำถามที่ว่าพอใจกับการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุที่เห็นอยู่แค่ไหน ได้รับคำตอบว่า พอใจ ร้อยละ 52.7 ไม่พอใจ ร้อยละ 42.8 และไม่แสดงความคิดเห็นอีกร้อยละ 4.4 จากการตอบแบบสอบถาม แสดงว่าการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุบนบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบันค่อนข้างมีปัญหา และควรที่จะมีการปรับปรุงรูปแบบ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อถามความเข้าใจเรื่องวันหมดอายุว่า คำว่า “วันหมดอายุ” เหมือนหรือต่างอย่างไรกับคำว่า “ควรบริโภคก่อน” พบว่า ร้อยละ 47.3 ตอบว่า เหมือนกัน ร้อยละ 48.1 ตอบว่า ต่างกัน และร้อยละ 4.6 ไม่ตอบ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าความเข้าใจเรื่องวันผลิต-วันหมดอายุของผู้บริโภคยังคงเป็นปัญหาและตามมาซึ่งคำถามว่าปัญหานี้เกิดจากอะไร ระหว่าง การใช้คำที่สร้างความสับสนให้เหมือนว่าใช้แทนกันได้ทั้งที่ควรจะมีการบังคับทางกฎหมายต่างกัน หรือความเข้าใจพื้นฐานของผู้บริโภคน้อย หรือ ระบบไม่ต้องการให้คนเข้าใจได้ กันแน่ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงรูปแบบการแสดงวันผลิต-วันหมดอายุที่อยากเห็น เราได้รับคำตอบว่า ร้อยละ 49.2 อยากเห็นการแสดงทั้งวันผลิตและวันหมดอายุโดยให้มีแต่คำว่า “วันหมดอายุ” เพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องมีคำว่า “ควรบริโภคก่อน” มาเป็นตัวเลือกของผู้ประกอบการ ขณะที่ร้อยละ 29.5 ต้องการแบบเดียวกับข้อแรกแต่ให้เปลี่ยนจากคำว่า “วันหมดอายุ” มาเป็น “ควรบริโภคก่อน” แต่อย่างเดียว ซึ่งจากสัดส่วนที่ออกมาเห็นได้ชัดเจนว่าผู้บริโภคไม่อยากเห็นการแสดงคำที่สร้างความสับสนอย่างคำว่าว่า “วันหมดอายุ” และ “ควรบริโภคก่อน” ไว้ด้วยกันโดยให้เป็นตัวเลือกของผู้ประกอบการ หากแต่ต้องการความชัดเจนอย่างใดอย่างหนึ่งไปเลย --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ความหมายและความสำคัญของฉลากอาหาร “ฉลากอาหาร” คืออะไร? บางคนตอบว่ากระดาษ/พลาสติกที่มีตัวหนังสือพิมพ์ติดอยู่ข้างขวด บ้างก็ตอบว่าลวดลายและตัวอักษรที่ติดอยู่บนซองขนม และอีกหลายคนตอบว่าข้อความบรรยายสรรพคุณของอาหาร ซึ่งคำตอบของคำถามนี้ คือ ถูกทุกข้อ โดยตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ให้คำนิยามไว้ว่าคือ “รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่อาหาร ภาชนะบรรจุอาหารหรือหีบห่อของภาชนะบรรจุอาหาร” และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 194 พ.ศ. 2543 เรื่องฉลากอาหารได้กำหนดให้อาหารทุกชนิดที่ผู้ผลิตไม่ได้เป็นผู้ขายอาหารนั้นให้กับผู้บริโภคโดยตรงต้องแสดงฉลากบนภาชนะบรรจุ โดยกำหนดให้แสดงข้อมูลที่สามารถแบ่งกลุ่มตามวัตถุประสงค์การแสดงได้เป็น 4 กลุ่มได้แก่ ข้อมูลความปลอดภัย ประกอบด้วย วันที่ผลิต/หมดอายุ วิธีการเก็บรักษา วิธีปรุง และคำเตือนต่างๆ ข้อมูลความคุ้มค่า ประกอบด้วย ชื่อ/ประเภทของอาหาร ส่วนประกอบซึ่งเรียงลำดับตามปริมาณที่ใช้จากมากไปน้อย และปริมาณอาหาร (น้ำหนักหรือปริมาตร) ในภาชนะบรรจุ ข้อมูลเพื่อการโฆษณา ได้แก่ รูปภาพและข้อความกล่าวอ้างต่าง ๆ  และ ข้อมูลเพื่อแสดงความเชื่อมั่น ได้แก่ ยี่ห้ออาหาร ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต ผู้จำหน่ายหรือผู้นำเข้า เครื่องหมาย อย.  และตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 133 กาแฟลดน้ำหนัก ได้จริงหรือ

  “ดื่มกาแฟเพื่อลดน้ำหนัก” กำลังเป็นกระแสนิยมของสาวๆ ที่อยากหุ่นดี ฉลาดซื้ออดไม่ได้ ต้องทำเป็นเรื่องทดสอบมาฝาก เพราะเป็นที่ประจักษ์กันในทางการว่า กาแฟที่ลดน้ำหนักได้นั้น มันคือกาแฟที่มีส่วนผสมของ ยาลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาดในอาหารทุกประเภท แล้วถ้าเป็นกาแฟธรรมดาๆ ล่ะ   แค่ดื่มกาแฟจะลดน้ำหนักได้จริงหรือ? คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ระบุชัดเจนว่า กาแฟ เป็น "อาหาร" ไม่ใช่ "ยา" จึงไม่มีสรรพคุณลดน้ำหนัก และด้วยเงื่อนไขนี้เองที่ทำให้บรรดาผู้ผลิตกาแฟ ที่ผลิตออกมาเพื่อจูงใจสาวๆ ที่อยากผอม จะไม่มีการบอกสรรพคุณหรือโฆษณาออกมาตรงๆ ว่าดื่มแล้วผอม ดื่มแล้วช่วยลดน้ำหนัก เพราะถ้าทำแบบนั้นจะมีความผิดเข้าข่ายอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงทันที ผลิตภัณฑ์กาแฟเหล่านี้จึงเลี่ยงไปใช้ภาพสาวๆ หุ่นผอมเพรียว ไม่ก็นางแบบหุ่นดี ลงในโฆษณาหรือในแพ็คเก็จของสินค้า รวมทั้งวิธีง่ายๆ แต่ได้ผลอย่างการเติมคำว่า “สลิม” (Slim) “เชฟ” (Shape) “เฟิร์ม” (frim) ต่อท้ายชื่อสินค้า เป็นอันรู้กัน(หรือปล่อยให้ผู้บริโภคคิดเอาเอง) ว่าผลิตภัณฑ์กาแฟที่ใช้เทคนิคเหล่านี้ในการโฆษณาคือกาแฟเพื่อการลดน้ำหนัก ก็ในเมื่อผู้ผลิตเขายังไม่กล้าการันตีเลยว่า ผลิตภัณฑ์ของเขาสามารถช่วยลดน้ำหนักหรือทำให้ผอมได้จริงๆ แบบนี้ผู้บริโภคอย่างเรายังจะหลงซื้อมารับประทานกันอีกหรือ?   รู้ให้ทันก่อนดื่มส่วนประกอบหลักของกาแฟ(ที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก) ประกอบด้วยครีมเทียมประมาณ 60% – 70% และกาแฟอีก 10 กว่า% ส่วนพวกสารอาหารต่างๆ ที่เติมเข้ามาหวังเป็นจุดขายเรื่องสุขภาพ เช่น แอล-คาร์เนทีน คอลลาเจน หรือสารสกัดจากธรรมชาติต่างๆ ก็มีอยู่อีกแค่ไม่กี่% ซึ่งเมื่อดูจากส่วนประกอบแล้วเป็นไปไม่ได้เลยว่าดื่มแล้วจะมีผลในการลดน้ำหนัก เมื่อลองมาดูเปรียบเทียบส่วนประกอบของกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก ดื่มแล้วไม่อ้วน กับกาแฟผงพร้อมชงทั่วไปเราจะพบความจริงว่า ปริมาณสารอาหารแทบไม่มีความแตกต่างกัน จุดเด่นของกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักคือ เรื่องของพลังงาน ซึ่งในกาแฟทั่วไป อย่างกาแฟผงพร้อมชงสูตร 3 in 1 หนึ่งซองจะให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี ขณะที่กาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักจะให้พลังงานเฉลี่ยต่อหนึ่งซองอยู่ที่ 60 – 70 กิโลแคลอรี ที่แม้จะน้อยกว่าแต่ก็แตกต่างกันไม่มาก   สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพราะความที่เป็นกาแฟที่(แอบ)โฆษณาว่าดื่มแล้วดีต่อสุขภาพ ดื่มแล้วไม่อ้วน  กาแฟเหล่านี้จึงหลีกเลี่ยงการใช้น้ำตาล แต่จะใช้สารให้ความหวานชนิดอื่นๆ แทน ซึ่งการตัวอย่างกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักที่เราสำรวจ พบว่าสารให้ความหวานที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือ ซูคลาโครส (Sucralose) และ แอสปาร์เทม (Aspartame) ที่ใช้ร่วมกับ อะซีซัลเฟม-เค (Acesulfame-K) ข้อดีของสารทดแทนความหวานคือ ให้ความหวานได้เท่ากับหรือมากกว่าน้ำตาล แต่ให้พลังงานน้อยกว่า อย่างไรก็ดีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป โดยเฉพาะ แอสปาร์เทม ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรค ฟีนิลคีโตนูเรีย (phenylketonuria) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีผิดปกติทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถย่อยฟีนิลอะลานีนได้ เป็นสาเหตุของอาการโลหิตเป็นพิษ ทาง อย. จึงออกข้อบังคับให้ทุกผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการใช้แอสปาร์เทม ต้องมีคำเตือนห้ามไม่ให้ผู้ที่มีสภาวะฟีนิลคีโตนูเรียรับประทาน   สารอาหารที่ใส่มาในกาแฟช่วยให้ผอมได้จริงหรือ? หลายคนคงจะสงสัยว่า สารอาหารต่างๆ ที่ถูกเติมเข้าไปในกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักนั้น ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็น สารสกัดจากถั่วขาว, แอล – คาร์นิทีน, โอลิโกฟรุตโตส ฯลฯ ซึ่งถูกอ้างว่า สารเหล่านี้มีส่วนช่วยให้เกิดการเผาผลาญในร่างกาย หรือไม่ก็ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งฟังแล้วก็น่าจะดีต่อการลดน้ำหนักได้ ยิ่งเวลาที่ดื่มกาแฟหลายคนก็มักจะรู้สึกว่า ร่างกายกระฉับกระเฉงขึ้น รู้สึกร้อนๆ ตามตัว เลยคิดว่าน่าจะเกิดกระบวนเผาผลาญขึ้นในร่างกาย ซึ่งทั้งหมดเป็นความเข้าใจที่ผิดเพราะการที่เรารู้สึกว่าร่างกายกำลังตื่นตัวหลังจากดื่มกาแฟ นั้นก็เป็นเพราะคุณสมบัติทั่วไปที่เกิดจากดื่มกาแฟอยู่แล้ว ฤทธิ์ของกาเฟอีนช่วยทำให้เกิดการเผาผลาญในร่างกายจริง แต่ไม่ได้ถึงขนาดที่ทำให้น้ำหนักลดลง เช่นเดียวกับสารต่างๆ ที่ใส่เพิ่มเข้ามาแม้จะช่วยเร่งการเผาผลาญก็ไม่ได้ถึงขนาดทำให้น้ำหนักลดลง ผอม รูปร่างดี แถมสารอย่าง แอล – คาร์นิทีน แม้อาจมีคุณสมบัติเป็นตัวเร่งเผาผลาญไขมันส่วนเกิน แต่จะได้ผลก็ต่อเมื่อมีการออกกำลังกายควบคู่กันไป ไม่ได้มีผลต่อการลดน้ำหนักโดยตรง แถมสารต่างๆ ที่ใส่ในกาแฟลดน้ำหนักก็ไม่มีงานวิจัยหรือข้อมูลทางการแพทย์ใดๆ ที่รับรองผลว่าจะช่วยลดน้ำหนักลงได้   ดื่มกาแฟมากไปไม่ดีต่อสุขภาพอย่างที่เรารู้กันดีว่าในกาแฟที่เราดื่มทุกๆ เช้านั้น มีสารประกอบสำคัญคือ กาเฟอีน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ทั้งสมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ เราจึงรู้สึกสดชื่น ตื่นตัว เมื่อได้ดื่มกาแฟ แต่สารกาเฟอีนก็มีผลเสียต่อร่างกายถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไป ซึ่งโดยปกติแล้วใน 1 วันเราควรได้รับกาเฟอีนไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัม หรือเทียบได้เท่ากับการดื่มกาแฟไม่เกิน 2 แก้ว สำหรับอันตรายที่จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของเราได้รับสารกาเฟอีนมากเกินไป คือมีผลทำให้สมองและหัวใจถูกกระตุ้นเกินกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการ ปวดศีรษะ ใจเต้นเร็ว ใจสั่น และทำให้ความดันโลหิตสูง   ดื่มกาแฟลดน้ำหนัก...ระวังกระอักเพราะ “สารไซบูทรามีน”ก่อนหน้านี้ สารไซบูทรามีน เป็นยาควบคุมพิเศษที่ใช้กับผู้ป่วยโรคอ้วน  (คือหมายถึงคนที่ป่วยจริงๆ ไม่ใช้คนที่คิดว่าตัวเองอ้วน หุ่นไม่ดี แล้วอยากจะลดน้ำหนัก) แต่เพราะความรุนแรงของสารตัวนี้มีผลถึงขั้นทำให้หัวใจหยุดทำงาน และการที่มีผู้ไม่หวังดีนำสารไซบูทรามีนไปใส่ในอาหารเสริมแล้วอ้างสรรพคุณว่าดื่มแล้วช่วยให้น้ำหนักลด ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ทำให้ อย. ต้องตัดสินใจประกาศยกเลิกตำรับยาชนิดนี้ แต่ก็ยังไม่วายยังมีคนนำสารไซบูทรามีนมาใส่ในผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าช่วยลดความอ้วน ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงกาแฟด้วย อย่างที่ อย. เคยตรวจพบในกาแฟสำเร็จรูปนำเข้าจากจีนยี่ห้อ Slimming Coffee Splrultn เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว เพราะฉะนั้นก็ควรหลีกเลี่ยงทั้งการดื่มกาแฟและผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าดื่มแล้วช่วยทำให้น้ำหนักลดทุกชนิด โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่มีเลขมาตรฐานอาหารของ อย. เพราะเราอาจกำลังเสี่ยงอันตรายจากสารไซบูทรามีนโดยไม่รู้ตัว   ฉลาดซื้อแนะนำความจริงเรื่องกาแฟที่ทำให้เข้าใจว่ามีผลต่อการควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วน เป็นเรื่องที่ทาง อย. เองก็ออกข่าวเตือนถึงอันตรายและการโฆษณาหลอกลวงเกินจริงอยู่เรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ฉลาดซื้อ ก็อยากเป็นอีกหนึ่งเสียงที่อยากฝากเตือนว่า กาแฟประเภทนี้ ไม่ช่วยให้น้ำหนักลดลงได้จริงอย่างที่อวดอ้างกัน แถมดื่มมากๆ ก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ยิ่งเป็นผลิตภัณฑ์นำเข้า ประเภทที่ไม่ฉลากภาษาไทย ไม่มีข้อมูลทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้า ยิ่งอันตราย ถ้าเกิดใครดื่มกาแฟประเภทนี้เข้าไปแล้ว เกิดน้ำหนักลดลงไปจริงๆ แบบเห็นผลทันตา อย่าดีใจไป เพราะแบบนั้นยิ่งอันตราย เป็นไปได้ว่า มีการใส่ยาลดความอ้วนลงไป ซึ่งอันตรายมาก ดีไม่ดีอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต   ตารางแสดงผลทดสอบข้อมูลบนฉลากและการปนเปื้อนของสารไซบูทรามีนในกาแฟลดน้ำหนักจำนวน 19 ตัวอย่าง ชื่อยี่ห้อ ราคา / น้ำหนัก ที่อยู่ ข้อมูลโภชนาการ แสดงส่วนประกอบ วันที่ผลิต – หมดอายุ สารให้ความหวานที่ใช้แทนน้ำตาล ผลทดสอบสารไซบูทรามีน คิว-ไบร์ท 99- บ.ธันยพรสมุนไพร จก.   ไม่มี มี มี ซูคราโลส                                           ไม่พบ พลอยใส   บ.นูทิน่า  อินเตอร์ฟู้ด จำกัด   มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค คอฟฟี่ เลิฟ   หจก.สยามโปรดักส์ แอนด์ แพคกิ้ง   ไม่มี มี มี ซูคราโลส ฟ้าใส คอฟฟี่ 145 หจก.คิงส์ส์ริช ไม่มี มี มี ซูคราโลส แพลตตินั่ม คอฟฟี่พลัส 80 บ.คิงส์ คอฟฟี่ จก. ไม่มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค UCC 39 บ.UCC UESHIMA COFFEE (THAILAND) CO.,LTD มี มี มี กลูโคส Srimcup 125 บ.บิ๊กเบนซ์ เฮลธ์ โปรดักส์ จำกัด มี มี มี ซูคราโลส Body Shape coffee 160 บ.เขาช่องอุตสาหกรรม 1979 โดยการควบคุมของ บ.บอดี้เชฟฯ มี มี มี ซูคราโลส บัดดี้ดีน สลิม เทร็ท  Collagen-G   บ.เคทีวาย  ฟู๊ด อินเตอร์เนชั่นแนล จก มี มี มี ซูคราโลส คอลลาเจน คอฟฟี่ 120 หจก.ดี เค เฮ็ลธ โปรดักท์ มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค เขาช่อง คอฟฟี่ ไฟว์   บ.เขาช่องอุตสาหกรรม1979 จก.   มี มี มี ซูคราโลส เอลี่คาเฟ่ 99 บ.พาวเวอร์ รูท แมนูแฟคเตอริ่ง จก. เมืองฮะโฮร์ มาเลเซีย นำเข้าโดย บ.โปรคอม (เอส.เค)จก. มี (เป็นภาษาอังกฤษ) มี มี น้ำตาล 10 กรัม ต่อ กาแฟ 20 กรัม เนเจอร์กิฟ คอฟฟี่ พลัส 49 หจก.ดี เค เฮ็ลธ โปรดักท์   มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค Equal (อิควล) 132 บ.นูทริน่า อินเตอร์ฟู้ดส์ จก.   มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค เนสกาแฟ โพรเทค โพรสลิม 180 บ.เบญจพันธ์พงศ์ จก. มี มี มี ซูคราโลส แคล์รคอฟฟี่(Clare’s Coffee) 129 บ.แฟนซีเวิลด์ จก.   ไม่มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค ทรูสเลน คอฟฟี่ พลัส 142 บ.นูทริน่า อินเตอร์ฟู้ดส์ จก.   มี มี มี ซูคราโลส ฟิตเน่ คอฟฟี่ สูตร 1 95 บ.นิวคอนเซพท์ โปรดัคท์ จก. มี มี มี ซูคราโลส คอฟฟี่ 21 49 หจก.ดี เค เฮ็ลธ โปรดักท์ มี มี มี แอสปาร์แตมและอะซิซัลเฟม เค ทดสอบตัวอย่างโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 อุบลราชธานี หมายเหตุ: ฉลาดซื้อ ได้สุ่มทดสอบสารไซบูทรามีนจากตัวอย่างกาแฟลดน้ำหนัก 19 ยี่ห้อที่วางขายทั่วไป ถือว่าเป็นโชคดีที่เราไม่พบสารไซบูทรามีนเลยในทุกตัวอย่าง แต่เนื่องจากฉลาดซื้อมีข้อจำกัดในเรื่องการเก็บตัวอย่างสินค้าที่อาจไม่สามารถกระจายพื้นที่ในการเก็บตัวอย่างได้กว้างเท่าที่ควร รวมทั้งสินค้าที่ขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 132 รู้ทันสัญญาฟิตเนส

  อยากเสียเหงื่อให้กีฬา...แต่กลับต้องเสียน้ำตาให้บริการฟิตเนส คนที่ไม่เคยใช้บริการ ฟิตเนส คลับ คงจะสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงมีข่าวการร้องเรียนของคนที่ใช้บริการออกมาอยู่ตลอดเวลา หรือถ้าใครลองเสิร์ชข้อมูลเรื่องฟิตเนสในอินเตอร์เน็ตก็จะพบว่า มีคนมาบอกเล่าปัญหาต่างๆ ที่ได้เจอจากการใช้บริการฟิตเนสเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดกับบรรดาฟิตเนส คลับชื่อดังที่เป็นแฟรนไชส์มาจากต่างประเทศทั้งสิ้น เรียกว่าสวนทางกับภาพลักษณ์ที่แสนจะหรูเลิศอลังการของความเป็นสถานบริการเพื่อสุขภาพราวฟ้ากับเหว ฉลาดซื้อเลยส่งทีมงานหน้าใส ไปนั่งฟังพนักงานขายหรือเซลล์ของฟิตเนส คลับ ชื่อดังแห่งหนึ่ง ทำให้ได้ข้อสรุปที่น่าสนใจ พร้อมๆ กับนึกชมตัวเองที่สามารถรอดพ้นจากพนักงานขายฝีมือขั้นเทพเหล่านั้นมาได้เรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับสถานบริการฟิตเนสปี 2554  จำนวน 32 เรื่อง แบ่งตามสถานบริการแต่ละแห่งได้ดังนี้ทรู ฟิตเนส  14  เรื่องแคลิฟอร์เนีย ว้าว  9 เรื่องฟิตเนส เฟิร์ส  7  เรื่องอื่นๆ   2 เรื่อง ปัญหาที่ร้องเข้ามาส่วนใหญ่เป็นเรื่องสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและปัญหาเรื่องการขอยกเลิกสัญญา ซึ่งมีการร้องเรียนเข้ามาถึง 29 เรื่องจากทั้งหมด 32 เรื่อง ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่มีการร้องเรียนเข้ามาคือ ถูกนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทางอื่นโดยไม่ขออนุญาต ปิดบริการไม่แจ้งล่วงหน้า และปัญหาด้านมาตรฐานการบริการ ที่มา ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  สำนักงานคณะกรรมคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลปัญหาของผู้บริโภคโดยตรง ก็เคยเก็บรวบรวมสถิติเรื่องร้องเรียนปัญหาจากการใช้บริการฟิตเนสเอาไว้เมื่อปี 2548 - 2551 มีเรื่องร้องเรียนเข้ามามากถึง 893 เรื่อง โดย แคลิฟอร์เนีย ว้าว นำมาเป็นอันดับ 1 ที่ 576 เรื่อง ลองลงมาคือ ทรู ฟิตเนส 180 เรื่อง และ ฟิตเนส เฟิร์ส 74 เรื่อง   ฟิตสมองก่อน ใช้ฟิตเนส ฟิตเนสเป็นบริการที่คนให้ความสนใจมาก เพราะฟิตเนส คลับ ต่างๆ จะมีบริการที่พร้อมสำหรับคนเมือง และมักตั้งอยู่ในย่านที่สะดวกในการเดินทาง โดยเฉพาะบรรดาฟิตเนส คลับที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นสาขามาจากต่างประเทศ จะมีบริการครบวงจร ตั้งแต่อุปกรณ์ออกกำลังกายแบบพื้นฐาน อย่าง ลู่วิ่งไฟฟ้า ที่ปั่นจักรยาน ไปจนถึงกิจกรรมพิเศษอื่นๆ อย่าง โยคะ เต้นรำ และอื่นๆ อีกเยอะแยะมากมาย ฉลาดซื้อสนับสนุนให้ทุกคนออกกำลังกาย เพราะอย่างที่ทุกคนรู้ดีว่าการออกกำลังกายมีประโยชน์และจำเป็นกับชีวิต ซึ่งการเลือกที่จะใช้บริการ ฟิตเนส คลับ ต่างๆ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก แต่ภาพข่าวที่ปรากฏออกมาตามสื่อต่างๆ อาจทำให้ผู้บริโภคหวั่นๆ ว่าตัวเองจะกลายเป็นอีกคนหนึ่งหรือไม่ ที่ต้องปวดหัวจากบริการฟิตเนส ฉลาดซื้อได้ลองประมวลปัญหาที่เกิดจากการเข้าใช้บริการฟิตเนสแล้วพอจะสรุปได้ดังนี้ 1. ความไม่จริงใจของฟิตเนส คลับ ที่เน้นเพียงการเพิ่มยอดสมาชิกหนึ่งในเรื่องปวดสมองของผู้ได้รับความเสียหายที่ร้องเรียนเกี่ยวกับบริการฟิตเนส คือ เซลล์บอกอย่างแต่จริงๆ เป็นอีกอย่าง บรรดาคุณเซลล์ทั้งหลายจะเน้นอธิบายแต่ตัวเลขราคาค่าใช้จ่าย บริการที่จะได้ แต่ไม่ได้อธิบายถึงสิทธิการร้องขอเมื่อเกิดปัญหา รวมทั้งการสร้างสัญญาที่ผูกมัดมากเกินไป ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาในการใช้บริการ ตัวสัญญาที่ไม่เป็นธรรมนั่นเองที่เป็นตัวกดดันให้ผู้ใช้บริการที่เกิดปัญหาต้องออกไปร้องเรียนหน่อยงานต่างๆ และบางคนที่เจอปัญหาแล้วแต่ไม่ได้ไปร้องเรียน ก็ต้องกลายเป็นคนมีหนี้ มีภาระ ต้องยอมจ่ายเงินเป็นจำนวนมากเพื่อยุติปัญหา ทั้งที่ปัญหานั้นไม่ได้มาจากตัวผู้ที่ใช้บริการ 2. ผู้บริโภคใจไม่แข็งพอ เชื่อคนง่าย ในฐานะผู้ใช้บริการ ก่อนจะทำสัญญาก็ต้องมีหน้าที่ด้วยเช่นกัน เพราะอย่าลืมว่าในการทำสัญญาตกลงใช้บริการ ตัวเราเองก็ยินยอมที่จะเซ็นสัญญา การใช้บริการไม่ได้เกิดจากการบังคับขืนใจ (แต่อาจจะเกิดจากการถูกหว่านล้อมกดดัน) ทำให้เวลาที่ปัญหาเกิดขึ้น ฟิตเนส คลับ คู่กรณีจึงมักไม่ยินยอมจัดการในสิ่งที่เราร้องของไป เพราะเขาก็จะใช้ข้อได้เปรียบตรงที่เราได้ยินยอมทำสัญญากันไว้แล้ว ถือว่ารับรู้และยินยอมในเงื่อนไขต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้หากใครที่อยากจะไปสมัครใช้บริการที่ ฟิตเนส คลับ ไม่ว่าชื่อดังหรือไม่ดัง มีบริการที่ปั่นจักรยานเป็นร้อยตัวหรือไม่ถึงสิบตัวก็ตาม ต้องขอดูสัญญาก่อน ไม่งั้นไม่เซ็นชื่อ 3.ไม่ได้ศึกษาข้อมูลในสัญญาให้ดีการใช้บริการฟิตเนสเป็นอะไรที่มากกว่าเซลล์บอก ดังนั้นต้องขอเอกสารมาศึกษาก่อน โดยไล่ตั้งแต่ ค่าบริการ วิธีการชำระเงิน บริการที่จะได้รับ เงื่อนไขการยกเลิกสัญญา ระยะเวลาการเป็นสมาชิก ฯลฯ ต้องทำความเข้าใจให้ดี ให้ได้มากที่สุด ก่อนเซ็นสัญญา และที่สำคัญคือ ต้องพิจารณาจากสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อตกลงที่มาจากคำพูดของพนักงานขาย เพราะหนึ่งในต้นเหตุของปัญหาก็มาจาก การที่ตัวพนักงานขายมักจะเสนอโปรโมชั่นและเงื่อนไขสุดพิเศษ เรียกว่าดีจนไม่มีที่ติ ยิ่งพอมาเทียบกับราคา ก็ยากที่จะหักห้ามใจ แต่ถ้ามาดูในใบสัญญาก็จะไม่เจอข้อความที่บอกถึงสิทธิพิเศษอย่างที่พนักงานโม้ให้เราฟังก่อนเซ็นสัญญา เช่น เรื่องการขอยกเลิกสัญญา ที่ว่าถ้ามีปัญหาสามารถมาขอยกเลิกสัญญาได้ตลอดเวลา แต่เอาเข้าจริงกลับทำไม่ได้เพราะในสัญญาจริงๆ ระบุว่าต้องเป็นสมาชิกไปอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งถ้าเลือกตัดสินใจจากการฟังแต่สิ่งที่ได้ยินจากพนักงานขายที่มาทำสัญญาเพียงอย่างเดียว ผู้ใช้บริการอย่างเราก็จะเข้าใจผิด พออยากจะขอยกเลิกสัญญาเข้าจริงๆ ก็ทำไม่ได้ ข้อควรสังเกตในสัญญาฟิตเนส -เงื่อนไขในการยกเลิกสัญญา เพราะเรื่องนี้ถือเป็นปัญหาอันดับต้นๆ ของคนที่ใช้บริการฟิตเนส ไม่รู้ว่าเป็นเพราะฟิตเนสห่วงใยสุขภาพของเราเป็นอย่างมากหรือเปล่าไม่แน่ใจ ตอนสมัครก็คะยั้นคะยอเราสุดฤทธิ์ ว่าให้มาออกกำลังกายเถอะ มาดูแลสุขภาพกันเถอะ พอตอนจะขอยกเลิกสัญญาก็ไม่ยอม บอกว่าทำไม่ได้ต้องใช้บริการให้ครบตามระยะเวลาขั้นต่ำที่ทำสัญญากันเอาไว้ เพราะฉะนั้นก่อนจะเซ็นสัญญาอย่าลืมพิจารณาให้ดีๆ ว่าการขอยกเลิกสัญญาสามารถทำได้หรือไม่ ระยะขั้นต่ำของสัญญาคือเท่าไหร่ ถ้าหากเกิดเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถมาใช้บริการได้ต้องทำอย่างไรจึงจะยกเลิกสัญญาได้ แล้วเมื่อขอยกเลิกสัญญาแล้วมีเงื่อนไขในการขอรับเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ คืนได้หรือไม่อย่างไร -เงื่อนไขในการตัดเงินอัตโนมัติจากบัตรเครดิตเป็นค่าบริการรายเดือน การหักเงินผ่านบัตรเครดิต เป็นวิธีที่ฟิตเนสชื่อดังทุกแห่งเลือกใช้ในการเก็บค่าบริการกับผู้ใช้บริการ ผู้บริโภคอาจมองว่าเป็นความสะดวก แต่ความจริงแล้วเป็นการการันตีให้กับผู้ให้บริการฟิตเนสว่า จะได้รับค่าบริการรายเดือนจากสมาชิกแน่นอน แม้สมาชิกคนนั้นอาจไม่ได้มาใช้บริการเลยสักครั้งในเดือนนั้นๆ สิ่งที่ผู้ใช้บริการควรรู้ก่อนเซ็นสัญญาคือ จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน และระยะเวลาที่ต้องจ่าย วันที่ทำการตัดยอดในแต่ละเดือน รวมทั้งค่าปรับที่เกิดจากการผิดนัดชำระ -ความรับผิดต่ออาการบาดเจ็บที่เกิดจากใช้บริการ อาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แล้วถ้าหากเกิดขึ้นขณะที่ใช้บริการฟิตเนสล่ะ ดังนั้นให้ดูในสัญญาว่าเรามีสิทธิได้รับการดูแลหรือเรียกร้องอะไรได้หรือไม่ ถึงแม้ฟิตเนสที่เราไปใช้บริการจะดูปลอดภัยหรือน่าเชื่อถือแค่ไหนก็ตาม ส่วนใหญ่พนักงานขายมักอ้างว่า ทางฟิตเนสมีทั้งบุคลากรและเครื่องมืออย่างดีและมีคุณภาพสำหรับดูแลเรื่องนี้ แต่ถ้าดูในสัญญาส่วนใหญ่จะระบุไว้ว่า สมาชิกจะไม่เรียกร้องความรับผิดชอบใดๆ ต่อทางฟิตเนส กรณีเกิดความบาดเจ็บไม่ว่าจะทางกายหรือทางใจ ไม่ว่ากรณีใดๆ ขณะใช้บริการในฟิตเนส หรือแม้แต่อาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า นอกจากนี้สมาชิกต้องรับประกันและรับรองตัวเองได้ว่า มีสุขภาพร่างกายที่พร้อมกับการออกกำลังกาย หรือได้ความเห็นชอบจากแพทย์มาแล้วก่อนที่จะมาใช้บริการของฟิตเนส -ความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ ปกติฟิตเนสส่วนใหญ่จะมีบริการตู้ล็อคเกอร์ไว้สำหรับเก็บสิ่งของต่างๆ ให้กับสมาชิก แต่เรื่องของหายในฟิตเนสก็เคยเกิดขึ้นจนเป็นข่าวโด่งดังมาแล้ว ต้องดูให้ดีว่าฟิตเนสที่เราไปใช้บริการนั้นมีมาตรการในการดูแลทรัพย์สินของผู้ที่ไปใช้บริการอย่างไรบ้าง จะชดเชยเยียวยาแค่ไหน อย่างไร  ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่รับผิดชอบถ้าของหายไม่ว่าจะกรณีใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อ “ฉลาดซื้อ” ถูกชวนให้ไปทดลองใช้บริการฟิตเนส-ไม่รู้โชคดีหรือโชคร้าย เมื่อฉลาดซื้อได้รับโทรศัพท์จากฟิตเนสชื่อดังแห่งหนึ่งให้ไปทดลองใช้บริการฟรี เพราะทางฟิตเนสกำลังจะเปิดสาขาใหม่ จึงมีโปรโมชั่นดีๆ มานำเสนอเพียบ -พอไปถึงเราจึงได้รู้ว่า ที่บอกว่าให้มาทดลองใช้บริการฟรีนั้น ความจริงกลับไม่ได้ทดลองใช้บริการอะไรสักอย่าง เพราะพนักงานจะพาเราไปคุยเพื่อเปิดการขาย โดยจะถามเรื่องพฤติกรรมการออกกำลังกายของเรา มีการตรวจปริมาณไขมันและกล้ามเนื้อของเราด้วย -หลังจากนั้นก็จะเอาโปรโมชั่นมาเสนอ ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยราคาที่สูงจนน่าตกใจ ก่อนจะค่อยๆ ลดลงมาโดยอ้างว่าเป็นสิทธิพิเศษนู่นนี่ ซึ่งราคาที่เสนอมาถ้าเรายังไม่พอใจ พนักงานก็จะลดให้เราได้อีก เพราะว่าเราเป็นคนพิเศษเลยได้รับสิทธิพิเศษอีก แต่เป็นเงื่อนไขที่ต้องตกลงทำสัญญากันในวันนี้เท่านี้ ถ้ามาสมัครวันอื่นจะไม่ได้ราคานี้ -ตลอดระยะเวลาที่พนักงานนำเสนอเรื่องราคา เราไม่มีโอกาสได้เห็นสัญญาใดๆ ทั้งสิ้น -แรกๆ พนักงานก็แสดงความห่วงใยสุขภาพของเราดี ที่อยากให้สมัครเพราะอยากให้มาออกกำลังกาย แต่พอเราเริ่มแสดงท่าทีว่าไม่สนใจสมัคร โดยให้เหตุผลไปว่ากลัวไม่มีเวลามาใช้บริการ สมัครไปแล้วอาจจะไม่คุ้มกับเงินที่ต้องเสีย พนักงานก็จะบอกในเชิงว่าให้สมัครทิ้งไว้ มีเวลาก็ค่อยมาเล่น ซึ่งถ้าคิดในแง่ของการออกกำลังกายให้ได้ประโยชน์จริงๆ ก็ควรออกให้ได้สม่ำเสมอ การมาออกกำลังกายตามสะดวกอย่างที่พนักงานบอกคงไม่ได้ประโยชน์เท่าไหร่ -เมื่อการเจรจาเพื่อให้สมัครสมาชิกดูแววแล้วจะไม่สำเร็จ พนักงานขายก็จะไปตามพนักงานมาอีกคน ซึ่งเป็นระดับตัวแม่ เพื่อเพิ่มระดับการเจรจา(กดดัน)ให้เข้มข้นขึ้นอีก -มาถึงตรงนี้การเจรจาเพื่อชักชวนของพนักงานขายเพื่อให้เราสมัครสมาชิกเริ่มมีความตึงเครียดมากขึ้น พนักงานขายจะใช้คำพูดทั้งอ้อนวอน หว่านล้อม บางครั้งก็เริ่มใช้คำพูดที่ไม่ค่อยเหมาะสม อย่างการพูดเหน็บแนม ประชดประชัน ดูหมิ่น เมื่อเริ่มเห็นว่าเรามีท่าทีว่า ยังไงก็ไม่สมัครแน่ๆ -แม้จะแสดงท่าทีชัดเจนว่าไม่สมัครสมาชิกแน่ๆ แต่การจะปลีกตัวออกมาก็แสนยากเย็น เพราะพนักงานขายต้องการให้เราตกลงทำสัญญาให้ได้(ทำยอด) โปรโมชั่นต่างๆ จะเพิ่มมาเรื่อยๆ ปรับราคาลงมาเรื่อยๆ พูดคุยกับเราไปเรื่อยหวังว่าเราจะใจอ่อน ซึ่งก็คงมีหลายคนที่ต้องจำยอมตกลงสมัครสมาชิกไป ไม่ใช่เพราะอยากใช้บริการ แต่เพราะอยากตัดความรำคาญมากกว่า หรือไม่ก็ใจอ่อนกับตัวเลขค่าบริการ จากระดับหมื่นเหลือแค่ไม่กี่พัน ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้เลยว่าสมัครไปแล้วจะหาเวลามาใช้บริการได้หรือเปล่า วันนั้นฉลาดซื้อก็รอดตัวมาได้อย่างหวุดหวิด คำแนะนำง่ายๆ ที่อยากฝากไว้ก็คือ ถ้าไม่ได้มีความสนใจที่จะไปใช้บริการฟิตเนสตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ก็ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบริการเหล่านี้จะดีที่สุด ไม่ว่าจะคำชวนแบบไหน ให้ไปทดลองใช้บริการฟรี ได้บัตรส่วนลด หรืออะไรก็แล้วแต่ เพราะถ้าเผลอไปทดลองตามคำชวนล่ะก็ ไม่ปวดหัวก็ต้องปวดใจ และเผลอๆ อาจต้องเสียทรัพย์ทั้งๆ ที่ไม่อยากเสียด้วย -------------------------------------------------------------------- “ฟิตเนสเป็นบริการควบคุมสัญญา” ฟิตเนสที่ดีต้องมีอะไรบ้าง1.สัญญาต้องเป็นข้อความภาษาไทย ขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร มีจำนวนไม่เกินสิบเอ็ดตัวอักษรในหนึ่งนิ้ว 2.เงื่อนไขในสัญญาต้องมีรายละเอียดของขนาดสถานที่ให้บริการ จำนวนและประเภทของอุปกรณ์การออกกำลังกาย สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และการให้บริการอื่นๆ ตามที่ผู้ใช้บริการจะได้รับ 3.รายละเอียดแสดงอัตราค่าบริการ ค่าสมาชิก ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการใช้บริการ พร้อมทั้งวิธีการชำระและเงื่อนไขต่างๆ 4.วันเริ่มต้นและการสิ้นสุดการเป็นสมาชิก 5.เงื่อนไขที่นำไปสู่การบอกยกเลิกสัญญา ต้องมีการแสดงข้อความเฉพาะที่ทำให้เห็นได้ชัดเจน โดยต้องใช้ตัวอักษรสีแดง สีดำ หรือตัวเอียง เพื่อสามารถเห็นได้ชัดกว่าข้อความทั่วไป 6.ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ตามเงื่อนไขต่อไปนี้-ไม่มีอุปกรณ์หรือบริการตามที่บอกไว้ตามข้อตกลงในสัญญา หรืออุปกรณ์ชำรุดเสียหาย มีไม่เพียงพอต่อความต้องการต่อผู้ใช้บริการ โดยไม่มีการหามาทดแทนหรือทดแทนด้วยอุปกรณ์ที่มีคุณภาพต่ำกว่า-มีใบรับรองจากแพทย์ว่าไม่สามารถออกกำลังกายได้ เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียกับสุขภาพร่างกายหรือจิตใจ-ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการใช้บริการ อุปกรณ์ไม่ได้คุณภาพชำรุด ผู้ดูแลฝึกสอนไม่มีความชำนาญ 7.การคืนเงินให้กับผู้บริโภคหลังยกเลิกสัญญา ผู้ให้บริการต้องคืนตามจำนวนเงินที่เหลือจากค่าสมาชิกหรือตามระยะเวลาที่ยังไม่ได้ใช้บริการ ภายใน 30 วัน หลังจากยกเลิกสัญญา 8.ผู้บริโภคมีสิทธิในการโอนสิทธิความเป็นสมาชิกตามสัญญาให้กับบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเป็นสมาชิกได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากผู้ให้บริการ แต่ต้องมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ผู้ให้บริการ 9.หากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการในการต่อสัญญาใหม่หลังจากผู้บริโภคใช้บริการมาจนครบกำหนดสัญญา ผู้ให้บริการต้องทำหนังสือแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ของการต่ออายุสมาชิกครั้งใหม่ 10.ห้ามกำหนดให้การต่ออายุสมาชิกเป็นไปแบบอัตโนมัติ 11.ห้ามกำหนดอายุสัญญาสมาชิกเกิน 1 ปี 12.ในสัญญาต้องห้ามมีข้อความที่แสดงถึงความไม่รับผิดชอบต่อผิดพลาดหรือเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการ ทั้งเรื่องการผิดสัญญาของผู้ให้บริการ อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย และทรัพย์สินสูญหายภายในสถานที่ที่ให้บริการ--

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 132 แชมป์ซักสะอาด

ฤดูกาลซักฟอกกลับมาอีกครั้ง เมษายนปีที่แล้ว ฉลาดซื้อ ได้เฟ้นหาแชมป์ผงซักฟอกสำหรับการซักด้วยมือ และเราได้สัญญากับสมาชิกไว้ว่าจะนำผลทดสอบผงซักฟอกสำหรับซักด้วยเครื่องมาฝากกัน คราวนี้ทีมงานจากเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพและคุณสมบัติในด้านต่างๆ ของผงซักฟอกสำหรับซักด้วยเครื่องซักผ้าชนิดเปิดฝาด้านบน จำนวน 20 ยี่ห้อ ใคร? จะผ่านบททดสอบของเราไปด้วยคะแนนฉลุยกว่ากัน ติดตามได้ในหน้าถัดไป     อุปสรรคที่ผู้ท้าชิงทั้ง 20 ยี่ห้อต้องกำจัดออกจากเนื้อผ้าแยม หมึก กาแฟ ซีอิ้วดำ ช็อกโกเลตเหลว ซอสมะเขือเทศ เลือด ลิปสติก คราบผสม ------ เราทดสอบอะไรบ้าง • ประสิทธิภาพการซัก โดยดูจากประสิทธิภาพในการขจัดคราบโดยการซักเครื่องแบบอัตโนมัติ ชนิดฝาบน ซึ่งในการทดสอบพลังขจัดคราบนี้ ใช้การผสมผงซักฟอกในน้ำตามอัตราส่วนที่ระบุข้างบรรจุภัณฑ์ ทดสอบกับผ้าที่ป้ายคราบทั้ง 9• การรักษาความสดใสของสีผ้า โดยการเปรียบเทียบสีของผ้าหลังการซักกับผ้าที่ยังไม่ได้ซักและผ้าที่ซักด้วยน้ำเปล่า สังเกตความหมองของเนื้อผ้า• ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการนำสารละลายผงซักฟอกที่ผสมตามอัตราส่วน มาวัดค่า pH และฟอสเฟต น้ำหนักในการให้คะแนน  60% ประสิทธิภาพในการซัก เนื่องจากจุดประสงค์ของการซักผ้าคือประสิทธิภาพในการซัก ดังนั้นเราจึงเน้นหนักด้านนี้   20% ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในผงซักฟอกมีส่วนผสมของสารประกอบหลายชนิด บางชนิดก็เป็นสาเหตุสำคัญในการทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น ฟอสเฟต   10% การรักษาสภาพเนื้อสีผ้า นอกจากจะทำความสะอาดคราบสกปรกแล้ว ผงซักฟอกยังมีส่วนทำลายสีผ้าอีกด้วย  จึงควรให้ความสำคัญกับการป้องกันคราบสกปรกที่หลุดออกมาย้อนกลับมาทำความหมองให้แก่สีของผ้าได้ดี   10% บรรจุภัณฑ์ ความละเอียด และเข้าใจง่ายในฉลากบรรจุภัณฑ์ก็มีส่วนอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคเช่นกัน   ใครแน่กว่ากัน หลังจากการนำผงซักฟอกทั้ง 20 ยี่ห้อ มาทดสอบจำลองการใช้งานจริง ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน เราได้ข้อสรุปดังนี้ ด้านประสิทธิภาพของผงซักฟอกโดยรวมนั้น ผงซักฟอกยี่ห้อ “บรีสเอกเซล คัลเลอร์ชนิดน้ำ” มีประสิทธิภาพสูงสุดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก รองลงมาคือ "บรีส เอกเซล" อยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนที่ได้น้อยที่สุดคือ "เทสโก้ คอนเซนเทรต-พลัส พาวเวอร์" ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์พอใช้ หากดูจากผลการทดสอบในด้านอื่นๆ เช่น ในด้านประสิทธิภาพการซัก "เปา ซิลเวอร์นาโน สูตรลดกลิ่นอับ" ได้คะแนนสูงสุด ส่วนในด้านผลกระทบต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม “บรีสเอกเซล คัลเลอร์ชนิดน้ำ” ได้คะแนนสูงสุดไป ส่วนด้านความคุ้มค่าและประสิทธิภาพในการซักที่ได้คำนวณจากการซักต่อครั้ง "บรีส เอกเซล" ให้ความคุ้มค่าต่อประสิทธิภาพโดยรวมมากที่สุด บรีสเอกเซล คัลเลอร์ชนิดน้ำ  70 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 4.55 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  5ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 5ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   3.5     บรีสเอกเซล     65 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.32 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  2ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 5ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   บรีส เอกเซล คอมฟอร์ท  64 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.56 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  2ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 5ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4     เปา ซิลเวอร์นาโน  63 คะแนนสูตร ลดกลิ่นอับ ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 4.03 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 4ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4.5     บรีสเอกเซล คัลเลอร์เพอร์เฟค   61 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.56 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  2ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 5ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   เปา วินวอช ซอฟท์   60 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 3.66 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 4ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   เปา เอ็ม.วอช ซอฟท์    60 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 7.96 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   4ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 3ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   แอทแทค ซอฟท์ พลัส    59 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.07 บาทประสิทธิภาพในการซัก   2.5ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   4ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 5ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   3.5   เทสโก้ คอนเซนเทรต-พลัส  58 คะแนนเพิ่ม แอคทีฟ ออกซิเจน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.77 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 3ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   เทสโก้ พลัส สูตรซักเครื่อง 58 คะแนนผสมสารนาโนซิลเวอร์ ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.79 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 3ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   แอทแทค ลิควิด  58 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.96 บาทประสิทธิภาพในการซัก   2.5ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  5ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 4ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   3.5   White house   57 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 4.14 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  2ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 3ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   โอโม พลัส สูตร ลอกความหมอง  56 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 3.38 บาทประสิทธิภาพในการซัก   2.5ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   4ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 4ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   3.5     HOME Fresh MART  55 คะแนน สูตร Active Oxygen ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 5.37 บาทประสิทธิภาพในการซัก   2.5ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  2ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 5ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   3.5   เปา เอ็ม.วอช    55 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 7.79 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 1ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   โอโม พลัส สูตร แอนตี้แบค   55 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 3.72 บาทประสิทธิภาพในการซัก   2.5ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 4ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   3.5   บัว บลู เพาเวอร์บีด   54 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.70 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   2ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 2ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   3.5   แอทแทค ไบโอ แอคทีฟ    54 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 1.65 บาทประสิทธิภาพในการซัก   2.5ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  2ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 4ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   3.5   แฟ้บ อัลตร้า   52 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.19 บาทประสิทธิภาพในการซัก   2.5ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  2ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 1ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   เทสโก้ คอนเซนเทรต-พลัส พาวเวอร์  50 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.34 บาทประสิทธิภาพในการซัก   2.5ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 3ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   ข้อสังเกตจากการทดสอบ• ผงซักฟอกแต่ละยี่ห้อ มีหลายสูตร ซึ่งเป็นเรื่องปกติของผู้ผลิตในปัจจุบันที่ต้องการแย่งส่วนแบ่งของตลาดให้ได้มากที่สุด จึงต้องคิดค้นสิ่งแปลกใหม่เพื่อเพิ่มความสดใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ อยู่ตลอดเวลา บางสูตรก็ไม่ได้มีผลกับคุณสมบัติที่จำเป็นของผงซักฟอกที่ดี • ผู้บริโภคควรคำนึงถึงหลักพื้นฐานความจำเป็นในการใช้งานและความคุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่ายไปในการซักแต่ละครั้ง ทีมงานได้สรุปค่าใช้จ่ายต่อครั้ง ที่ได้มาจากการคำนวณตามวิธีการใช้ของแต่ละยี่ห้อ ฉะนั้นผู้บริโภคควรวัดผลจากการใช้งานจริงจะดีกว่าเชื่อในคำโฆษณาเพียงอย่างเดียว • เกือบทุกบริษัทใช้วิธีการพิมพ์หมึกสีดำหรือแสตมป์ วัน เดือน ปี ที่ผลิต ในตำแหน่งที่แตกต่างกัน และสังเกตเห็นยาก  น่าสนใจว่าทำไมผู้ผลิตไม่ให้ความสำคัญกับวัน เดือน ปีที่ผลิตที่ชัดเจน เนื่องจากมีความสำคัญต่อผู้บริโภคที่จะทราบว่าผงซักฟอกนั้นหมดอายุแล้วหรือไม่ (โดยทั่วไปแล้วจะมีอายุ 5 ปี นับจากวันที่ผลิต)---- Tips ฉลาดซื้อ • ชนิดของผ้าที่นำมาซักเนื้อผ้าบางชนิดไม่แนะนำให้ซักกับผงซักฟอกทั่วไป อาจจะต้องใช้น้ำยาซักเฉพาะอย่าง อย่างเช่นเสื้อผ้าเด็ก (หากใช้ผงซักฟอกทั่วไปก็ควรใช้ในปริมาณที่น้อยลงเพื่อลดความเสี่ยงต่อการระคายเคือง เพราะจากทดสอบเราพบว่าเครื่องซักผ้ารุ่นใหม่ๆ สามารถขจัดคราบบางชนิดได้ดีพอสมควร แม้จะไม่ได้ใส่ผงซักฟอก) ส่วนเนื้อผ้าที่มีความละเอียดอ่อนสูงที่เหมาะกับการซักมือเท่านั้นก็ไม่ควรจะใช้กับผงซักฟอกที่ใช้ได้ทั้งซักมือและซักเครื่องได้ เพราะอาจทำให้เนื้อผ้าเสียหาย จึงควรดูสัญลักษณ์วิธีการซัก และรักษาเนื้อผ้าอย่างเคร่งครัด   • ชนิดของเครื่องซักผ้าควรใช้ผงซักฟอกในปริมาณที่พอเหมาะและเลือกสูตรของผงซักฟอกที่สอดคล้องกับเครื่องซักผ้าด้วย  เครื่องซักผ้ามีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ที่ช่วยประหยัดน้ำ ทำให้ผ้าสะอาดยิ่งขึ้น   • พฤติกรรมการซักผ้าควรเลือกผงซักฟอกในแบบที่มีช้อนตวงตามปริมาณการใช้ที่เหมาะสมจากผู้ผลิต  เพื่อเปลี่ยนนิสัยการตักผงซักฟอกทุกครั้งจากความเคยชิน โดยไม่ได้คำนึงถึงปริมาณผ้าที่ซักและโปรแกรมการซักที่ตั้งไว้ ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยเกินความจำเป็นในแต่ละครั้ง ถ้าเป็นไปได้เราควรซักผ้าในตอนเช้า แต่ถ้าว่างเฉพาะช่วงเย็นก็ควรเลือกผงซักฟอกชนิดที่ลดกลิ่นอับชื้นได้ด้วย ---- มลภาวะในแม่น้ำดานูบ ทะเลบอลติก และทะเลดำ ทำให้สหภาพยุโรปเตรียมประกาศลดการใช้ฟอสเฟตในน้ำยาล้างจานและผงซักฟอกตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 เป็นต้นไป  เพราะฟอสเฟตเป็นตัวเร่งการเจริญเติบโตของสาหร่าย ซึ่งจะไปแย่งออกซิเจนจากบรรดาปลาน้อยปลาใหญ่ในแหล่งน้ำนั่นเอง  สมาชิกสหภาพยุโรปบางประเทศ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลีได้ประกาศแบนหรือจำกัดการใช้ฟอสเฟตไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว----  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 130 ตรวจสุขภาพประจำปี จ่ายเท่าไหร่ ได้ตรวจอะไรบ้าง!!!

  เรื่องสุขภาพถือเป็นเรื่องใหญ่ จะปล่อยไว้เฉยๆ ไม่ดูแลไม่ได้ ยิ่งเดี๋ยวนี้วิถีชีวิตของคนเราเปลี่ยนไป เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการทำงาน แค่หาเวลาพักผ่อนยังไม่ค่อยพอ จะออกกำลังกายหรือดูแลรักษาสุขภาพก็แทบจะไม่ต้องพูดถึง หลายคนเลยถูกโรคภัยรุมเร้าแบบไม่ทันตั้งตัว พอรู้ตัวอีกทีก็อาจจะช้าเกินไป จะรักษาให้หายก็สายไปเสียแล้ว บางคนเห็นแข็งแรงๆ พอป่วยเข้าทีนึงถึงกับทรุดหนักไปเลยก็มี แบบนี้ถ้าหากเรารู้ได้ว่าสุขภาพของเรายังสบายดีอยู่มั้ย มีตรงไหนที่ผิดปกติไปหรือเปล่า ถ้าร่างกายของเราสามารถบอกสิ่งเหล่านี้กับเราได้ก็คงจะดี แต่ในความเป็นจริงเราทำแบบนั้นไม่ได้ แม้จะพอรู้ได้บ้างเวลาที่ร่างกายของเรามีอะไรที่ผิดแปลกไป หรือเกิดอาการป่วยไข้เล็กๆ น้อยๆ แต่ถ้าเป็นโรคร้ายแรง อย่าง หัวใจ เบาหวาน หรือมะเร็ง ถ้าไม่ไปหาหมอเราก็แทบไม่มีทางรู้ เราจึงต้องพึ่งพาบริการตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลต่างๆ ที่เดี๋ยวนี้มีให้เลือกหลากหลายโปรแกรม ราคาก็หลากหลาย การตรวจก็หลากหลาย ถือเป็นทางเลือกให้กับคนที่อยากรู้สถานการณ์สุขภาพของตัวเอง ฉลาดซื้อ ได้ลองเลือกโปรแกรมการตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนชื่อดังจำนวน 10 แห่ง และโรงพยาบาลของรัฐอีกหนึ่งแห่งคือ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อนำมาเปรียบเทียบดูเรื่องของราคาและรายละเอียดในการตรวจ โดยฉลาดซื้อเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพพื้นฐานของคนที่อายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับคนที่อยากตรวจสุขภาพของตัวเอง แต่ยังสองจิตสองใจยังไม่รู้ว่าจะไปตรวจกับโรงพยาบาลไหน ก็ลองนำข้อมูลของเราเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ   ตารางแสดงผลการเปรียบเทียบราคาและรายการตรวจของตัวอย่างโปรแกรมตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ที่มีอายุ  35 ปีขึ้นไป ของโรงพยาบาลต่างๆ โรงพยาบาล ชื่อโปรแกรมตรวจสุขภาพ ราคา (บาท) ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด ตรวจน้ำตาลในเลือด ตรวจไขมันในเลือด ตรวจกรดยูริค (โรคเก๊าท์) ตรวจไต ตรวจตับ ไวรัสตับอักเสบ ตรวจมะเร็งตับ/ลำไส้ ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากสำหรับผู้ชาย หรือมะเร็งปากมดลูกสำหรับผู้หญิง ตรวจปัสสาวะ เพื่อดูการอักเสบของระบบทางเดินปัสสาวะ และนิ่ว ตรวจอุจจาระเพื่อหาพยาธิและความผิดปกติของทางเดินอาหาร X-Ray ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจตา ตรวจฟัน ตรวจการคัดกรองการได้ยิน ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบนและส่วนล่าง ร.พ.บำรุงราษฎร์ regular 2,600 o o o o o o o x x x o o o x x x x x ร.พ.เปาโลเมโมเรียล gold 4,900 o o o o o o o x o o o o o o o o o o ร.พ.สมิติเวช Get your health back advance packet 3,500 o o o o o o o x o x o o o o x x x x ร.พ.เจ้าพระยา โปรแกรม สำหรับผู้ที่อายุไม่เกิน 45 ปี 2,700 o o o o o o o x x x o x o o o o x x เครือ ร.พ.พญาไท โปรแกรม ตรวจสุขภาพมาตรฐาน 3,500 o o o o x o o o x x o x o o x x x x ร.พ.พระรามเก้า โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับ ชาย/หญิง ที่มีอายุ 30 – 40 ปี 3,460 o o o o o o o x x x o o o o x x x x ร.พ.วิภาวดี Standard plus 4,800 o o o o o o o x x x o o o o x o x o ร.พ.กรุงเทพ Premium 7,800 o o o o o o o x x x o x o o x x o o (เฉพาะช่วงท้องส่วนบน) ร.พ.ลาดพร้าว สำหรับผู้ที่อายุ 30 – 45 ปี สำหรับผู้อยู่ในวัยทำงานปานกลาง ออกกำลังกายบ้าง ไม่มีปัญหาสุขภาพ 4,367 o o o o o o o x x x o x o o x x x o (เลือกส่วนใดส่วนหนึ่ง) ร.พ.เวชธานี Bronze program สำหรับผู้ที่อายุ 20 – 40 ปี 4,300 o o o o o o o o x x x x o o x x x x ร.พ.ศิริราช โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป 1,120 o o o o o o o x x x o o o x x x x x O = มีการตรวจ  X = ไม่มีการตรวจ *หมายเหตุ : ร.พ.วิภาวดี, ร.พ.กรุงเทพ, ร.พ.ลาดพร้าว และ ร.พ.สมิติเวช มีการให้คูปองทานอาหาร (สำหรับใช้ในโรงพยาบาล) รวมอยู่ในราคาที่จ่ายในการตรวจสุขภาพด้วย**เป็นการสำรวจในช่วงเดือนพฤศจิกานยน 2554 ราคาและรายละเอียดการตรวจอาจมีการเปลี่ยนแปลง ผู้อ่านที่อยากไปตรวจสุขภาพควรสอบถามไปยังโรงพยาบาลนั้นๆ ก่อนไปใช้บริการ   ตรวจสุขภาพประจำปี จำเป็นมากน้อยแค่ไหน? หลายคนอาจมีคำถามว่า การตรวจสุขภาพประจำปี มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า การตรวจสุขภาพนั้นก็คือการตรวจสอบว่าร่างกายของเรา สุขภาพของเรา เป็นอย่างไรบ้าง จากการทำงาน การใช้ชีวิตในแต่ละวัน สุขภาพของเรามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้างมั้ย มีโรคร้ายอะไรแอบแฝงอยู่บ้างหรือเปล่า ซึ่งอย่างที่เรารู้กันดีอยู่แล้วว่าร่างกายของคนเราก็ต้องมีความเปลี่ยนแปลงเสื่อมถอยไปตามเวลา ตามอายุ และรูปแบบการใช้ชีวิต ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ก็น่าจะพอให้เราเข้าใจได้ว่า การตรวจสุขภาพของเรานั้นมีความสำคัญและจำเป็นในระดับหนึ่ง แต่การตรวจสุขภาพที่ดี จะต้องเป็นการตรวจที่ช่วยให้ผู้รับการตรวจได้รู้ถึงสภาวะร่างกายและสุขภาพของตัวเอง ไม่ใช่การค้นหาโรคเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีการให้คำแนะนำในการดูแลรักษาสุขภาพ ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องรู้ภูมิหลัง ประวัติ และลักษณะวิธีการใช้ชีวิตประจำวันของผู้เข้ารับการตรวจ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการวิเคราะห์หาสาเหตุและความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ ไม่ใช่แค่ใช้แต่ผลวิเคราะห์ทางเคมีหรือในห้องปฏิบัติการเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากเรามั่นใจว่าเราดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองเป็นประประจำ และไม่ใช้ชีวิตอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ การไปตรวจสุขภาพกับสถานพยาบาลก็อาจไม่มีความจำเป็นมากสักเท่าไหร่ คงไม่ต้องถึงปีละครั้ง แต่อาจจะเป็น 2 – 3 ปีครั้ง ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับอายุของเราด้วยว่าอยู่ในวัยไหน หากอายุมากหน่อยก็อาจต้องใส่ใจสุขภาพมากเป็นพิเศษ หรือหากพอมีทุนทรัพย์การตรวจสุขภาพเป็นประจำกับสถานพยาบาลต่างๆ ก็ถือเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่สุดท้ายสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเอง   ขั้นตอนการตรวจสุขภาพ1.ซักประวัติเพื่อประเมินหาปัจจัยเสี่ยง 2.การตรวจร่างกาย ทั้งการตรวจร่างกายทั่วไป และตรวจตามปัจจัยเสี่ยง3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เลือกตรวจตามปัจจัยเสี่ยง4.สรุปประเมินผล แนวทางการรักษา และให้คำแนะนำในการรักษาและดูแลตัวเอง   รู้ไว้...ก่อนไปตรวจสุขภาพ 1.ผู้ที่สมควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพมากที่สุด คือ ผู้ที่มีความเสี่ยงที่อาจป่วยเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคปอด โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับตับและไต ฯลฯ ซึ่งคนที่มีโอกาสเสี่ยงก็อย่างเช่นคนที่มีญาติพี่น้องหรือคนในครอบครัว ป่วยเป็นโรคร้ายแรงต่างๆ ตามที่กล่าวมา นอกจากนี้ยังรวมถึงคนที่มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง คนที่มีน้ำหนักตัวมาก รวมถึงคนที่ต้องทำงานในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัยเสี่ยงต่อการเกิดผลเสียกับสุขภาพเป็นประจำ เช่น คนงานโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารเคมี มีฝุ่นมาก คนที่ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ซึ่งก็นับรวมถึงคนที่ทำงานออฟฟิศ นั่งอยู่ในห้องแอร์ ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ด้วยเช่นกัน หากขาดการดูแลสุขภาพที่ดี แน่นอนว่าการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ย่อมถือเป็นเรื่องที่ดีและจำเป็น โดยเฉพาะกับคนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ถ้าใครที่พอจะมีทุนทรัพย์ก็ควรลองหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูสุขภาพของตัวเอง เพราะโรคบางโรคอาจไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา พอรู้ตัวว่าป่วยก็อาจจะช้าเกินกว่าที่จะรักษา ยิ่งรู้เร็วโอกาสที่จะรักษาให้หายก็ยิ่งมีมากขึ้น 2.อย่าเพิ่งดีใจ แม้ว่าผลการตรวจสุขภาพจะออกมาว่า แข็งแรงดีไม่มีอะไรผิดปกติ เพราะไม่แน่ว่าต่อไปข้างหน้าเราก็อาจมีสิทธิป่วยด้วยโรคร้ายแรงที่เรากลัว หากว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรายังมีความเสี่ยงต่อโรคนั้นๆ อยู่ เช่น ชอบรับประทานของหวานๆ มันๆ ก็เสี่ยงกับโรคเบาหวาน ความดัน ชอบสูบบุหรี่ กินเหล้า ก็มีสิทธิเป็นมะเร็ง โรคหัวใจ ฯลฯ หรือไม่ยอมดูแลตัว ไม่ควบคุมน้ำหนัก ไม่ออกกำลังกาย วันหนึ่งปัญหาสุขภาพก็ต้องถามหาเพราะว่าร่างกายของเราไม่แข็งแรง เพราะฉะนั้นหากอยากจะดูแลรักษาสุขภาพจริงๆ ต้องรู้จักควบคุมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวเอง ไม่ให้อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคต่างๆ ต้องรู้วิธีดูแลรักษาสุขภาพของตัวเอง อะไรควรทำ อะไรควรหลีกเลี่ยง 3.แต่ถึงแม้ผลจากการตรวจสุขภาพจะออกมาในทางที่ไม่ค่อยดี คืออาจจะพบว่ากำลังป่วย หรือเข้าข่ายว่าอาจจะป่วยโรคร้ายแรง ก็อย่าเพิ่งทุกข์ใจหรือจิตตกคิดมากจนเกินไป เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ดีด้วยซ้ำ การที่เราได้รู้ว่าตัวเองอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการป่วยเราจะได้มีโอกาสหาทางรักษาและดูแลตัวเอง ยิ่งรู้เร็วเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น 4.ก่อนไปตรวจสุขภาพกับโรงพยาบาลต่างๆ ต้องสอบถามขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ให้ครบถ้วน โดยเฉพาะการเตรียมตัวก่อนรับการตรวจ เช่น ต้องงดน้ำงดอาหารหรือไม่ ต้องนอนหลับพักผ่อนมาอย่างน้อยกี่ชั่วโมง หรือมีข้อห้ามข้อปฏิบัติอะไรบ้าง 5.ต้องตรวจสอบรายละเอียดของการตรวจต่างๆ ให้ดี ดูว่าในโปรแกรมตรวจสุขภาพที่เราเลือกนั้น มีการตรวจอะไรบ้าง ใช้วิธีการอะไร ใช้เวลานานแค่ไหน ซึ่งการตรวจบางรายการแม้แจ้งไว้ว่าเป็นการตรวจเรื่องเดียวกัน แต่ในรายละเอียดอาจมีความแตกต่างกัน เช่น การตรวจหัวใจ ตรวจตับ หรือการตรวจไขมันในเลือด ที่สามารถแบ่งการตรวจได้หลายวิธีตามลักษณะของความผิดปกติที่แตกต่างกัน เช่น การตรวจไขมันในเลือด มีทั้งตรวจระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ (Low Density Lipoprotein: LDL) ตรวจโคเลสเตอรอล (Cholesterol) ตรวจไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) ซึ่งทั้งหมดเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคหัวใจหากมีมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 6.การดูแลรักษาสุขภาพย่อมสำคัญกว่าการตรวจสุขภาพ อย่าลืมดูแลตัวเอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ฯลฯ อย่าคิดว่าไว้ค่อยดูแลตัวเองเมื่ออายุมากๆ หรือไว้ทำเวลาที่ไม่สบาย ถ้าเป็นแบบนั้นรับรองว่าไปตรวจสุขภาพกี่ทีก็เจอโรคต่างๆ ถามหาแน่นอน สุดท้ายท่องจำไว้ สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องดูแลตัวเอง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 130 เปรียบเทียบความหวานสารพัดของทา (น) กับขนมปัง

  ขนมปังอาจจะไม่ใช่อาหารหลักของคนไทย แต่ขนมปังก็เป็นของโปรดของใครหลายๆ คน จะรับประทานเป็นขนมเป็นของว่าง หรือจะรับประทานเอาอิ่มเป็นมื้อหลัก แบบที่หลายๆ คนนิยมเป็นอาหารเช้า ไม่ว่าจะแบบไหนก็อร่อยได้เหมือนกัน แค่ขนมปังธรรมดาๆ ก็ว่าอร่อยแล้ว ยิ่งถ้าทาแยมหรือเนยด้วยก็ยิ่งช่วยเพิ่มรสชาติขึ้นไปอีก แต่ก็อย่าอร่อยจนลืมตัว หรือหลงคิดว่าขนมปังทาแยม ขนมปังทาเนยจะแค่เป็นอาหารเบาๆ แทนข้าวแล้วจะไม่อ้วน เพราะในความอร่อยของ แยม เนยถั่ว หรือผลิตภัณฑ์ทาขนมปังชนิดอื่นๆ ล้วนมีตัวแปรสำคัญของความอร่อยอยู่ที่ความหวานของน้ำตาล เรามารู้ทันความหวานจากน้ำตาลกับผลสำรวจปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ทาขนมปังกันดีกว่า การทดสอบครั้งนี้ฉลาดซื้อสำรวจเปรียบเทียบปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ที่นิยมนำมารับประทานคู่กับขนมปัง ไม่ว่าจะเป็น แยม เนยถั่ว มาร์การีน รวมทั้งที่เป็นสไตล์ไทยๆ อย่าง สังขยา และ น้ำพริกเผา   ฉลาดซื้อใช้วิธีง่ายๆ ด้วยการวิเคราะห์จากข้อมูลที่อยู่บนฉลากของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยดูตัวเลขปริมาณน้ำตาลที่แจ้งไว้ในข้อมูลส่วนประกอบ ซึ่งทุกตัวอย่างที่นำมาทดสอบครั้งนี้จะแจ้งปริมาณน้ำตาลเอาไว้เป็น % เราจึงต้องปรับตัวเลขให้มีหน่วยเป็นกรัม แล้วเปรียบเทียบที่ปริมาณต่อ 1 ช้อนโต๊ะ (16 กรัม) เพราะการนำมาคิดเป็นน้ำหนักต่อช้อนโต๊ะน่าจะทำให้ข้อมูลที่ได้ เป็นข้อมูลที่ใกล้เคียงกับปริมาณที่เรารับประทานจริงในแต่ละครั้งมากที่สุด สำหรับการสำรวจในครั้งนี้ -ปริมาณ 16 กรัม ต่อ 1 ช้อนโต๊ะเป็นข้อมูลที่นำมาจากข้อมูลในฉลากโภชนาการ หรือ “Thai RDI” ของผลิตภัณฑ์ สุรีย์ น้ำพริกเผาเสวย ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ตัวอย่าง ที่มีการแจ้งข้อมูลโภชนาการ อีก 1 ตัวอย่างคือ สตรีมไลน์ รีดิวซ์ ชูการ์ มาร์มาเลดส้มสูตรลดปริมาณน้ำตาล   ตารางแสดงผลสำรวจปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ทาขนมปังชนิดต่างๆ   ผลทดสอบ 1. แยม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทาหรือทานคู่กับขนมปังที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด ตัวอย่างที่มีน้ำตาลมากที่สุดตามข้อมูลที่แจ้งไว้ในส่วนประกอบก็คือ เบสท์ ฟู้ดส์ มาร์มาเลดส้ม ที่มีน้ำตาลอยู่ประมาณ 8.9 กรัม ต่อปริมาณแยม 1 ช้อนโต๊ะ มากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำตาลที่คนไทยควรบริโภคใน 1 วัน คือไม่เกิน 24 กรัม ถ้าเทียบจากเกณฑ์ที่ฉลาดซื้อใช้ แต่จริงๆ แล้ว วิธีการรับประทานของแต่ละคนก็คงจะแตกต่างกันไป บางคนอาจจะชอบทาแยมมากๆ เวลาทาบนขนมปังก็อาจทามากกว่า 1 ช้อนโต๊ะ หรือรับประทานต่อครั้งก็อาจกินขนมปังมากกว่า 1 แผ่น ปริมาณน้ำตาลก็จะมากน้อยแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมการบริโภค เพราะฉะนั้นก็ต้องคำนวณกันให้ดีว่าจะเลือกกินแบบไหนเพื่อให้ได้น้ำตาลในปริมาณที่พอดีกับความต้องการของร่างกาย ไม่มากเกินไป ส่วนตัวอย่างแยมยี่ห้ออื่นๆ ก็มีปริมาณน้ำตาลใกล้เคียงกัน เฉลี่ยอยู่ที่ 5 – 8 กรัม ต่อแยม 1 ช้อนโต๊ะ แยมที่เราสำรวจทั้งหมดเป็นแยมผิวส้ม หรือที่เรียกว่า มาร์มาเลด (marmalade) 2. เนยถั่ว เหมือนจะดูไม่น่าจะหวานมาก แต่ก็พบน้ำตาลในปริมาณที่สูงเช่นกัน ตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ นัทเกา โกโก้และเฮเซลนัทครีม พบปริมาณน้ำตาลประมาณ 8.16 กรัม ต่อปริมาณตัวอย่าง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำตาลที่คนไทยควรรับประทานใน 1 วัน ข้อสังเกตที่น่าสนใจ เนยถั่วบางผลิตภัณฑ์น้ำตาลไม่มาก หรือไม่มีเลยบนฉลาก แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะเนยถั่วนิยมใช้สารให้ความหวานชนิดอื่นแทนน้ำตาล ซึ่งที่เราพบจากการสำรวจก็คือ  คอร์นไซรัป เป็นสารให้ความหวานที่ทำมาจากแป้งข้าวโพด ว่ากันว่าให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย แถมร่างกายดูดซึมเอาไปใช้ได้ง่ายกว่าน้ำตาลทราย แต่ในบ้านเราไม่นิยมใช้เพราะราคาแพงกว่าน้ำตาลทรายที่ทำจากอ้อยค่อนข้างมากความนิยมต่อเนยถั่วในบ้านเรายังมีค่อนข้างน้อย จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่เราสำรวจล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์นำเข้า ซึ่งส่งผลให้แต่ละตัวอย่างมีราคาที่ค่อนข้างสูง 3. สังขยา เราสำรวจพบ 1 ยี่ห้อ  2 รสชาติ คือ เอ็มไพร์ สังขยา กลิ่นใบเตย กับ กลิ่นวานิลลา ซึ่งปริมาณน้ำตาลของทั้ง 2 รสมีเท่ากัน คือ 6.89 กรัม ต่อปริมาณตัวอย่าง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ใน 4 ของปริมาณน้ำตาลที่ควรรับประทานใน 1 วัน   ไม่ว่าคุณจะทาขนมปังด้วยหน้าอะไร ก็อย่าลืมความจริงข้อหนึ่งว่า ขนมปัง ก็มีความหวานเช่นกัน  ยกตัวอย่าง จากข้อมูลโภชนาการของผลิตภัณฑ์ขนมปังยี่ห้อฟาร์มเฮ้าส์ ทั้งแบบธรรมดาและแบบโฮลวีต บอกไว้ว่ามีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ 3 กรัม ต่อขนมปัง 2 แผ่น (50กรัม) ลองนำไปเป็นข้อมูลไว้ใช้คำนวณกันดูเวลาจะทานขนมปังทาหน้าต่างๆ จะได้หวานกันแต่พอดี   สารกันบูด ยังพบในหลายผลิตภัณฑ์สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างหนึ่งในการรับประทานขนมปังทาหน้าต่างๆ ก็คือ สารกันบูด  เพราะถ้าลองดูจากผลสำรวจจะเห็นว่ามีหลายตัวอย่างที่มีการใช้สารกันบูด แถมก่อนหน้านี้ก็เพิ่งมีข่าวว่าศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์และสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มเก็บตัวอย่างขนมปังหลากหลายชนิดจำนวน 800 กว่าตัวอย่าง ผลที่ออกมาพบว่ามีมากกว่า 600 ตัวอย่างที่พบสารกันบูด เนย กับ มาร์การีน แตกต่างกันอย่างไร เพราะรูปร่างหน้าตาก็เหมือนกัน วิธีนำไปรับประทานก็ไม่ได้แตกต่างกัน ถ้าจะให้อธิบายให้ง่ายที่สุดก็คือ เนยคือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแตกตัวของไขมันในนม ขณะที่มาร์การีนก็คือ เนยเทียม ที่ใช้ไขมันจากพืชแทน เนื่องจากเนยจะมีไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดโคเลสเตอรอลสูง มาร์การีนหรือเนยเทียม จึงถูกผลิตขึ้นมาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก แต่ขณะเดียวกันตัวมาร์การีนเองก็มีความเสี่ยงของไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเนยแท้หรือเนยเทียมก็ต้องเลือกอย่างระมัดระวัง นึกถึงสุขภาพของตัวเองมาเป็นอันดับแรก

อ่านเพิ่มเติม >