ฉบับที่ 199 ช็อกโกแลตปนเปื้อนสารแคดเมียม ตะกั่ว ภัยแฝงที่ต้องระวัง

จากข่าวดัง องค์กร As You Sow ทดสอบพบช็อกโกแลต18 ยี่ห้อดัง มีตะกั่ว-แคดเมียมประกอบในระดับอันตรายนั้น สร้างความวิตกกังวลให้กับเหล่าช็อกโกแลตเลิฟเวอร์ทั้งหลายโดยเฉพาะสายดาร์ก เพราะยิ่งมีปริมาณโกโก้แมสมากก็ยิ่งเสี่ยงพบโลหะหนักทั้งสองชนิดมากขึ้น อ้างอิง http://www.asyousow.org/our-work/environmental-health/toxic-enforcement/lead-and-cadmium-in-food/  ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังปัญหาการปนเปื้อนของสารแคดเมียมและตะกั่วในผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตที่วางจำหน่ายในประเทศไทย ทางโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ โดยนิตยสารฉลาดซื้อ จึงได้สุ่มเก็บตัวอย่างช็อกโกแลตจำนวน 19 ตัวอย่าง โดยแบ่งเป็น ดาร์กช็อกโกแลต 10 ตัวอย่าง และช็อกโกแลตอื่นๆ อีก 9 ตัวอย่าง ในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2560 มาทดสอบหาการปนเปื้อนของโลหะหนักทั้งสองชนิด (ดูผลจากตาราง) ซึ่งเมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานในประเทศและต่างประเทศแล้ว พบว่า ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกตัวอย่าง  อย่างไรก็ตาม สารแคดเมียมนั้น ประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต และในระดับสากลก็ยังไม่มีผลบังคับใช้ ณ ปัจจุบัน ผู้บริโภคจึงควรตระหนักว่า การรับประทานผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตหรืออาหารที่มีการผสมช็อกโกแลต จะยังมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเด็กๆ จะอ่อนไหวเป็นพิเศษ ผู้ปกครองจึงควรให้ความสนใจและฝึกให้รับประทานแต่พอดี แคดเมียม คืออะไร         เป็นโลหะมีสีเงิน มีอยู่น้อยตามธรรมชาติ โดยทั่วไปแคดเมียมที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมจะพบในแหล่งทำเหมืองสังกะสีและตะกั่ว ในอุตสาหกรรม ยาสูบและบุหรี่ พลาสติกและยาง นอกจากนี้ยังนิยมใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ อุปกรณ์ไฟฟ้า โลหะผสม อะไหล่รถยนต์ โลหะผสมในอุตสาหกรรมเพชรพลอยอีกด้วย แคดเมียมที่ปนเปื้อนในน้ำ อาหาร และในยาสูบเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกดูดซึมในกระเพาะอาหาร แล้วแพร่กระจายไปที่ตับ ม้ามและลำไส้ และสะสมเพิ่มขึ้นในปริมาณสูงจะทำให้เกิดมะเร็ง ไตทำงานผิดปกติ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ปวดกระดูกสันหลัง แขนขา ซึ่งจะทำให้ไตพิการได้ โรคที่เกิดจากพิษของแคดเมียมเรียกว่า โรคอิไต-อิไต (Itai Itai disease) (ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ม.มหิดล https://goo.gl/DVeWuS ) ตะกั่ว (Pb) คืออะไร       ตะกั่ว  (Pb)  เป็นโลหะหนักมีสีเทาเงิน หรือแกมน้ำเงินเกิดขึ้นตามธรรมชาติ  ปัจจุบันอุตสาหกรรมหลายประเภทมีการใช้ตะกั่วเป็นวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก  เช่น ใช้สังเคราะห์สารเตตะเอทิลเลด(tetraethyllead, TEL Pb(C2H5)4) ในเบนซินเพื่อเพิ่มค่าออกเทน    (octane number)     เมื่อมีการออกซิไดซ์จะได้ PbO ซึ่งจะถูกรีดิวซ์ได้โลหะตะกั่ว  ออกสู่สภาวะแวดล้อม  ตะกั่วยังใช้ทำอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคและคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เกิดการปลดปล่อยตะกั่วและสารประกอบของตะกั่วในรูปของสารมลพิษออกสู่สภาวะแวดล้อม ทำให้มีการปนเปื้อนของตะกั่วทั้งในดิน น้ำ และอากาศ ตะกั่วสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ ทางอาหาร ทางการหายใจ และทางผิวหนัง เมื่อสาร ตะกั่วเข้าสู่ร่างกาย  ส่วนใหญ่จะจับยึดอยู่กับเม็ดเลือดแดงจะไปลดการสร้าง heme ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดแดงโดยไปยับยั้งเอ็นไซม์ที่เกี่ยวกับการสร้าง heme นอกจากนี้ ตะกั่วยังมีผลต่อตับ หัวใจและเส้นเลือด ภาวะเจริญพันธุ์ โครโมโซม และเป็นก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และความพิการแต่กำเนิดอีกด้วย (ขอบคุณข้อมูลจากสถาบันนวัตกรรมการเรียนรูมหิดล https://goo.gl/DVeWuS ) แคดเมียมและตะกั่วในช็อกโกแลตมาจากไหน EFSA หรือ กลุ่มงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป รายงานว่า พบปริมาณแคดเมียมในช็อกโกแลตชนิดต่างๆ มีค่าสูงมาก และยังมีความแตกต่างไปตามปริมาณของโกโก้ที่ผสมในผลิตภัณฑ์ โดยเมล็ดโกโก้(cocoa bean) นั้นเป็นแหล่งสะสมของแคดเมียม ทำให้ช็อกโกแลตที่มีปริมาณโกโก้แมสระหว่าง 35-70% พบแคดเมียมสูงกว่าช็อกโกแลตนมหรือช็อกโกแลตอื่นแคดเมียมและตะกั่วในช็อกโกแลตนั้น ส่วนใหญ่มาจากแหล่งปลูกโกโก้ ซึ่งเป็นการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม โลหะหนักทั้งสองเมื่อเข้าไปปนอยู่ในน้ำและในดินหากมีปริมาณสูง การปลูกพืชบริเวณนั้นจะมีปริมาณโลหะทั้งสองในพืชสูงตามไปด้วย แน่นอนว่าการปนเปื้อนโลหะไม่อาจทำลายได้ด้วยความร้อนอย่างจุลินทรีย์ ดังนั้นผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องคัดเลือกวัตถุดิบจากแหล่งที่ปลอดภัย เพื่อลดการปนเปื้อนของแคดเมียมและตะกั่วร้อยละ 70 ของโกโก้ในตลาดโลกมาจากแถบอัฟริกาตะวันตก ประเทศที่มีผลผลิตโกโก้เป็นอันดับหนึ่งได้แก่ ไอโวรีโคสต์ ตามด้วยกาน่าเกณฑ์มาตรฐานปริมาณตะกั่วและแคดเมียมช็อกโกแลต มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 83 (พ.ศ.2527) กำกับโดยเฉพาะ ซึ่งปริมาณสารตะกั่ว ต้องตรวจพบไม่เกิน  1 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม เว้นแต่ช็อกโกแลตชนิดไม่หวาน ตรวจพบได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม สารแคดเมียมไม่มีเกณฑ์กำหนดในช็อกโกแลตสำหรับประเทศไทย ส่วนในสหภาพยุโรป (EC) No 1881/2006 (อัปเดต 2014) กำหนดค่ามาตรฐานเฉพาะในผลิตภัณฑ์เนื้อ ผักและอาหารทะเล อย่างไรก็ตามคณะกรรมการผู้จัดทำเกณฑ์มาตรฐาน(The EU regulator) ได้เตรียมประกาศสำหรับ ค่ามาตรฐานแคดเมียมในช็อกโกแลตไว้สำหรับปี 2019 ดังนี้  ช็อกโกแลตนม ที่มีโกโก้แมสต่ำกว่า 30% มีแคดเมียมได้ไม่เกิน 0.10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ช็อกโกแลต ที่มีโกโก้แมส 30-50% มีแคดเมียมได้ไม่เกิน 0.30 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ช็อกโกแลต ที่มีโกโก้แมส 50% ขึ้นไป มีแคดเมียมได้ไม่เกิน 0.80 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ช็อกโกแลตผงสำหรับชงดื่ม มีแคดเมียมได้ไม่เกิน 0.60 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ค่าแคดเมียมที่กำหนดไว้นี้จะลดลงอีกเมื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่เด็กบริโภคอ้างอิง http://www.confectionerynews.com/Regulation-Safety/How-to-avoid-cadmium-and-lead-in-chocolate-Safety-recall-preventionแค่ไหนถึงเป็นดาร์กช็อกโกแลต เกณฑ์ส่วนใหญ่ทั้งในอเมริกาและยุโรปคือ มีส่วนผสมที่เป็นโกโก้แมสไม่ต่ำกว่า 35 % ของอเมริกา มีผลิตภัณฑ์นมผสมได้ไม่เกิน 12% ในขณะที่ของ EU ไม่ให้มีเลย เรื่องขมๆ ที่อาจยังไม่เคยรู้ทุกวันนี้ ร้อยละ 70 ของโกโก้ในตลาดโลกมาจากแถบอัฟฟริกาตะวันตก ในพื้นที่ของเซียร่าเลโอนไปจนถึงคาเมรูน ประเทศที่มีผลผลิตโกโก้เป็นอันดับหนึ่งได้แก่ไอโวรีโคสต์ ตามด้วยกาน่าเป็นที่รู้กันว่าการปลูกโกโก้กับการบุกรุกป่าสงวนนั้นมีความเกี่ยวข้องกันมานาน ไอโวรี่โคสต์ ซึ่งผลิตร้อยละ 40 ของโกโก้สูญเสียพื้นที่ป่าฝนไปอย่างน่าตกใจ จากที่เคยมีพื้นที่ป่าถึงหนึ่งในสี่ของประเทศ ปัจจุบันเหลือเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ชาวบ้านนิยมโค่นต้นไม้ใหญ่ทีละต้นสองต้น เพื่อปลูกต้นโกโก้เพราะเชื่อว่าดินที่เพิ่งผ่านการแผ้วถางนั้นจะทำให้ได้ผลผลิตเมล็ดโกโก้ที่ใหญ่ขึ้น แม้ปัจจุบันจะมีการส่งเสริมการปลูกโกโก้แบบยั่งยืนที่ไม่เอาเปรียบทั้งสิ่งแวดล้อมและเกษตรกร การผลิตแบบ “ผิดกฎหมาย” ก็ยังมีอยู่มาก เราแทบจะไม่สามารถแยกแยะได้เพราะผลผลิตจากการปลูกทั้งสองลักษณะถูกนำมาผสมรวมกันก่อนจำหน่ายจากการสำรวจของหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดี้ยน บริษัทผู้ผลิตช้อคโกแลตรายใหญ่รับรู้เรื่องการบุกรุกป่าสงวนมาโดยตลอด บางเจ้า (เช่น เนสเล่ และมอนโดเลซ) ประกาศจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าวอย่างชัดเจน บางรายอย่างเฮอร์ชีย์ ก็ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี ค.ศ. 2020 จะจัดซื้อแต่โกโก้ที่ผลิตมาจากแหล่งที่ถูกต้องเท่านั้น ส่วนแบรนด์หรูอย่างเฟอเรโร่ โรเชอร์ ยังไม่มีความเห็นรูปนี้มีสีหากท่านต้องการเห็นสีที่ชัดเจนให้กด Save ภาพโดยโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 198 สารกันบูดใน “เฉาก๊วย”

“เฉาก๊วย” 1 ในขนมหวานที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน ด้วยรสสัมผัสอันเป็นเอกลักษณ์ นุ่มเหนียวเคี้ยวอร่อย นำมารับประทานพร้อมน้ำแข็ง น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำเชื่อม ได้รสชาติหวานเย็นชื่นใจ เหมาะกับอากาศร้อนๆ ของเมืองไทยเฉาก๊วย หาทานได้ทั่วไป ที่เห็นบ่อยก็น่าจะเป็นตามร้านขายขนมหวานจำพวกหวานเย็น นอกจากนี้ยังที่ปรับปรุงสูตรให้กลายมาเป็นครื่องดื่ม ใช้เฉาก๊วยเส้นเล็กๆ ใส่ในน้ำเชื่อม เพื่อรับประทานง่ายยิ่งขึ้น เดี๋ยวนี้ เฉาก๊วย ถูกทำให้เพิ่มมูลค่า นำมาใส่ในเครื่องดื่มอย่าง ชา กาแฟ นมสด ก็อร่อยไปอีกแบบ ฉลาดซื้อฉบับนี้ ขอนำเสนอผลทดสอบ “สารกันบูดในเฉาก๊วย” ลองไปดูกันสิว่าขนมหวานในดวงใจของใครหลายๆ คน ปลอดภัยจากการใช้สารกันบูดหรือเปล่า?ผลทดสอบ- จำนวนตัวอย่าง เฉาก๊วย ที่นำมาทดสอบครั้งนี้มีทั้งหมด 30 ตัวอย่าง มีตัวอย่างที่ไม่พบการปนเปื้อนของสารกันบูด ทั้ง เบนโซอิก และ ซอร์บิก ถึง 14 ตัวอย่าง หรือเกือบ 50% ของตัวอย่างทั้งหมดที่นำมาทดสอบ ถือว่าเป็นข่าวดีของผู้บริโภค- นอกจากนี้ยังพบว่ามีอีก 5 ตัวอย่าง ที่พบการปนเปื้อนของ เบนโซอิก น้อยกว่า 1.50 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่น้อยมาก- มีตัวอย่างเฉาก๊วยที่พบปริมาณสารกันบูด เบนโซอิก และ ซอร์บิก เกินมาตรฐาน เพียงแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้น คือ เฉาก๊วยอาโก ศูนย์การค้าบางประกอก ที่พบปริมาณเบนโซอิก 1,387.37 มิลลิกรัมต่อปริมาณเฉาก๊วย 1 กิโลกรัม เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดที่สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อปริมาณเฉาก๊วย 1 กิโลกรัมข้อสังเกตเรื่องการแสดงฉลาก-ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของ เบนโซอิก และ ซอร์บิก จำนวน 16 จาก 30 ตัวอย่าง มีเพียง 4 ตัวอย่างที่แจ้งข้อมูลบนฉลากว่ามีการใช้สารกันบูด ประกอบด้วย1.ยี่ห้อ ปุ้น & เปา แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสีย INS202, 211 หรือ โปแตสเซียม ซอร์เบต และ โซเดียม เบนโซเบต ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสารกันเสีย เบนโซเอต ทั้ง 2 ชนิด โดยผลทดสอบพบ เบนโซอิก 219.56 มก./กก. และพบซอร์บิก 180.17 มก./กก.2.เฉาก๊วย (jelly glass) ของ นิตยาวุ้นมะพร้าว แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสีย โซเดียเบนโซเอท (INS211) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 292.03 มก./กก. และพบซอร์บิก 231.05 มก.กก.3.ยี่ห้อ แม่ปิงเฉาก๊วย แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสียโซเดียเบนโซเอท (INS211) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 321.05 มก./กก. และพบซอร์บิก 260.19 มก.กก.4.เฉาก๊วยอาโก ศูนย์การค้าบางปะกอก แจ้งว่า มีโซเดียมเบนโซเอท 0.02% ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 1,387.37 มก./กก. ข้อสังเกตเกี่ยวกับ ฉลากสินค้าที่แจ้งว่าไม่มีวัตถุกันเสียมีกลุ่มตัวอย่างที่แจ้งว่า “ไม่มีวัตถุกันเสีย” บนฉลากแต่จากผลทดสอบพบว่า มีการปนเปื้อน ได้แก่ 1.ยี่ห้อ นายอุ๋ย เฉาก๊วยโบราณ ผลทดสอบพบ เบนโซอิก น้อยกว่า 1.50 มก./กก.2.ยี่ห้อ เมจิกฟาร์ม ดีเซิ้ดทคัพ ขนมเยลลี่คาราจีแนน ผสมบุกผง ถั่วแดงและน้ำเฉาก๊วย 15% ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 6.53 มก./กก. และพบซอร์บิก 3.74 มก./กก.3.ยี่ห้อ เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถัง) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 68.85 มก./กก. 4.ยี่ห้อ เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถุง) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 79.41 มก./กก.มาตรฐานการใช้สารกันบูดใน เฉาก๊วย เฉาก๊วย จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับผลิตภัณฑ์ เยลลี่ เพราะมีกรรมวิธีในการผลิตในลักษณะเดียวกัน ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 213) พ.ศ. 2543 เรื่อง แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท นิยามความหมายของ เยลลี่ ไว้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำผลไม้ล้วนที่ได้จากการคั้นสดหรือสกัดจากผลไม้ หรือทำจากน้ำผลไม้ล้วนที่ผ่านกรรมวิธี หรือทำให้เข้มข้น หรือแช่แข็ง ซึ่งผ่านการกรองและผสมกับ น้ำตาลทำให้มีความข้นเหนียวพอเหมาะ (ส่วนเฉาก๊วยทำจากพืชที่เรียกว่า หญ้าเฉาก๊วยหรือGrass Jelly )สำหรับข้อกำหนดเรื่องการใช้สารกันบูด กรดเบนโซบิก และ กรดซอร์บิก ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) กำหนดไว้ อาหารกลุ่ม แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด สามารถใช้ กรดเบนโซอิก ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก สามารถใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม เช่นกัน ทั้งนี้หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ปริมาณรวมที่ใช้ต้องไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กฎหมายอนุญาตของสารตัวใดตัวหนึ่ง (อิงตัวที่ปริมาณน้อยที่สุด) ซึ่งในกรณีของ เฉาก๊วย อนุญาตให้ใช้สารกันเสีย กรดเบนโซบิก และ กรดซอร์บิก รวมกันสูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม -------------------------------------------------------------ฉลาดซื้อแนะนำ1.เฉาก๊วย ชนิดที่จำหน่ายในภาชนะบรรจุ นอกจากจะมีมาตรฐานที่ควบคุมโดยกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ยังมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่ออกโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นมาตรฐานแบบสมัครใจที่ช่วยทั้งยกระดับคุณภาพของผู้ผลิตสินค้า และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์2.มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เฉาก๊วย จะดูเรื่องการบรรจุ ภารชนะบรรจุที่สะอาด แห้ง ปิดสนิท สามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้ นอกจากนี้ยังดูเรื่องของการแสดงเครื่องหมายและฉลากบนบรรจุภัณฑ์ ต้องมีข้อมูล คือ -ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์ เช่น เฉาก๊วย วุ้นดำ เฉาก๊วยหวาน-ส่วนประกอบที่สำคัญ-น้ำหนักสุทธิ-วัน เดือน ปีที่ผลิต และวัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือข้อความว่า “ควรบริโภคก่อน (วัน เดือน ปี)”-ข้อแนะนำในการบริโภคและการเก็บรักษา เช่น ควรเก็บไว้ในตู้เย็น-ชื่อสถานที่ผลิต พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น3.คุณลักษณะที่ดีของเฉาก๊วย ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มีดังนี้ สี     ต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้กลิ่นรส     ต้องมีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้ ไม่มีกลิ่นแอลกอฮอล์ ปราศจากกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์เนื้อสัมผัส    ต้องนุ่ม หยุ่นตัว ไม่แข็งกระด้าง ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้4.ข้อนี้ แค่มองด้วยตาเปล่าอาจดูไม่เห็น แต่ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกำหนดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในเฉาก๊วยเอาไว้ด้วย -จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องไม่เกิน 1X104  โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม-เอสเชอริเชีย โคไล โดยวิธีเอ็มพีเอ็ม ต้องน้อยกว่า 3 ตัวอย่าง 1 กรัม-ยีสและรา ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัมอันตรายของ เบนโซอิก และ ซอร์บิกเป็นกลุ่มสารกันเสียที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ในอาหาร ซึ่งนิยมใช้ใน แยม เยลลี่ ผักผลไม้ดอง เครื่องดื่ม น้ำหวาน น้ำอัดลม แต่หากได้รับสารทั้ง 2 ชนิดจากการรับประทานอาหารในปริมาณสูง อาจส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย วิงเวียน และปวดศีรษะผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้นสำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2560

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 198 น้ำตาลและพลังงาน ในกาแฟซอง ทรีอินวัน

กาแฟซอง 3 in 1 เป็นกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงที่ผู้บริโภคในบ้านเราให้การตอบรับเป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะสะดวก เพียงฉีกซองใส่แก้วเติมน้ำร้อนก็ดื่มได้แล้ว ยังมีรสชาติที่อร่อยถูกปากในราคาไม่แพงมากอีกด้วย โดยเหตุผลหลักที่ทำให้กาแฟประเภทนี้รสชาติดีก็มาจากส่วนประกอบหลัก 3 อย่างคือ กาแฟ ครีมเทียมและน้ำตาล ซึ่งผสมผสานมาแล้วพร้อมกับวัตถุเจือปนอาหารต่างๆ อย่างลงตัว ทำให้ได้รสชาติที่กลมกล่อม อำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคที่ไม่อยากชงกาแฟดื่มเองได้เป็นอย่างดีอย่างไรก็ตามด้วยรสชาติที่อร่อยและขนาดซองที่ไม่ใหญ่มากนัก ทำให้ผู้บริโภคหลายคนลืมไปว่าในกาแฟทรีอินวันเหล่านี้อาจมีปริมาณน้ำตาล ไขมันและให้พลังงานสูง ซึ่งหากบริโภคมากเกินไป สามารถทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานจากการได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม/วัน หรือโรคหัวใจ จากการได้รับไขมันไม่ดีสะสม รวมทั้งโรคไขมันในเลือดสูงได้ เราจึงต้องระมัดระวังในการดื่มกาแฟประเภทนี้ ฉลาดซื้อจึงขออาสาตรวจสอบปริมาณน้ำตาลและพลังงาน ของกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง  3 in 1 จาก 15 ยี่ห้อยอดนิยมจำนวน 18 ตัวอย่าง หลังจากในเล่มที่ผ่านมาเราเคยทดสอบ คาเฟอีนและน้ำตาลในกาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่มหรือกาแฟกระป๋องกันไปแล้ว ซึ่งผลทดสอบจะเป็นอย่างไร ลองไปดูกันเลยสรุปผลการสำรวจฉลากจากกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง แบบ 3in1 ที่นำมาทดสอบทั้งหมด 15 ยี่ห้อ 18 ตัวอย่าง พบว่า1. ยี่ห้อที่มีปริมาณพลังงานมากที่สุดคือ เอ็ก ชอง ไวท์ คอฟฟี่ ทาริก ทรี อิน วัน ให้พลังงาน 185 กิโลแคลอรี/40 กรัม และเนสกาแฟ เบลนด์ แอนด์ บรู ริช อโรมา ให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี/19.4 กรัม ในขณะที่ยี่ห้อที่มีปริมาณพลังงานน้อยที่สุดคือ มัซ เอสเปรสโซคอฟฟี่ ให้พลังงาน 65 กิโลแคลอรี/18 กรัม2. ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุดคือ เอลี่คาเฟ่ คลาสิค มีน้ำตาล 13.8 กรัม/20 กรัม และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดคือ มัซ เอสเปรสโซคอฟฟี่ มีน้ำตาล 0 กรัม/18 กรัม(ใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล)3. ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันมากที่สุดคือ เอ็ก ชอง ไวท์ คอฟฟี่ ทาริก ทรี อิน วัน มีไขมัน 7 กรัม/40 กรัม และยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันน้อยที่สุดคือ บัดดี้ดีน ทรีอินวัน เอ็กซ์ตร้าโรสท์ มีไขมัน 0 กรัม/18 กรัม4. มี 7 ยี่ห้อที่ไม่สามารถตรวจสอบปริมาณพลังงาน น้ำตาลหรือไขมันได้ เนื่องจากไม่มีฉลากโภชนาการ ได้แก่ 1. อาราบัส ทรีอินวัน ออริจินัล 2. เฟรนช์ คาเฟ่ ริช โกลด์ 3. จีเซเว่น คอฟฟี่มิกซ์ 4. กาแฟเขาทะลุ สูตรเอสเพสโซ่ 5. กาแฟเขาทะลุ สูตรดั้งเดิม 6. เบอร์ดี้ โรบัสต้า และ 7. มอคโคน่า ทรีโอ เอสเปรสโซ่ตารางแสดงปริมาณพลังงาน น้ำตาลและไขมันในกาแฟ ทรีอินวันสำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 2560 สารปรุงแต่งในผลิตภัณฑ์กาแฟ ทรีอินวัน การใส่สารปรุงแต่งหรือวัตถุเจือปนอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีเนื้อสัมผัสที่ดี คงตัว สะดวกในการขนส่งและเก็บรักษา และทำให้มีสีสันที่คล้ายธรรมชาติ ได้แก่ 1.สารควบคุมความเป็นกรด2.สารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน3.อิมัลซิไฟเออร์ คือ สารที่ทำให้ส่วนผสมที่ปกติไม่สามารถผสมกันได้ สามารถรวมตัวกันได้ เช่น น้ำกับน้ำมัน และช่วยยืดอายุการเก็บรักษา4.สารช่วยทำละลาย 5.สารที่ทำให้คงตัว 6.สารเพิ่มปริมาณ(มอลโตเดกซ์ตริน) คือ คาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ (Polysaccharide) 7.สี กลิ่น เลียนแบบธรรมชาติตลาดกาแฟในปี 2557 กาแฟ 3 in 1 ครองส่วนแบ่งของตลาดกาแฟ ด้วยมูลค่าตลาด 15,000 ล้านบาท และมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้นำทางการตลาดคือ เนสกาแฟ มีส่วนแบ่งที่ร้อยละ 63 ตามมาด้วยซูเปอร์กาแฟ ส่วนแบ่งที่ร้อยละ 12 ที่เหลืออีกร้อยละ 10 เป็นของเบอร์ดี้และมอคโคน่า อย่างไรก็ตามตลาดกาแฟ 3 in1 จะมีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่น ดาว คอฟฟี่ อาราบัส ของดัชมิลล์ ทำให้กลายเป็นตลาดที่มีความแข่งขันสูงมากที่มา: http://marketeer.co.th/archives/38718

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 196 สารกันบูดในเส้นขนมจีน ภาค 2

ถ้ายังจำกันได้ ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 180 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เราเคยนำเสนอ “ผลทดสอบสารกันบูดในเส้นขนมจีน” ซึ่งผลทดสอบที่ออกมาชวนให้ตกใจไม่น้อย เพราะเส้นขนมจีนจำนวน 12 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบ พบการปนเปื้อนของสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิก ทั้ง 12 ตัวอย่าง แถมมีอยู่ 2 ตัวอย่างที่พบปริมาณเกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ ฉลาดซื้อเล่มนี้ เราจะลองสุ่มทดสอบดูปริมาณสารกันบูดในเส้นขนมจีนอีกครั้ง ลองไปดูกันสิว่าสถานการณ์การใช้สารกันบูดในเส้นขนมจีนมีการปรับเปลี่ยนเคลื่อนไหวมากน้อยแค่ไหน จะลดลงหรือเพิ่มขึ้น อย่างไร และที่น่าสนใจคือ เราเก็บตัวอย่างเส้นขนมจีนที่เราเคยทดสอบเมื่อคราวที่แล้วด้วย จำนวน 8 ตัวอย่าง และเพิ่มเติมตัวอย่างในการสุ่มทดสอบอีก 9 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 17 ตัวอย่าง เพื่อดูว่าจากผลการทดสอบครั้งที่แล้วผู้ผลิตเส้นขนมจีนมีการปรับปรุงสินค้าของตัวเองอย่างไรกันบ้างผลทดสอบสารกันบูดในเส้นขนมจีนครั้งที่แล้ว สร้างความตื่นตัวให้กับทั้งผู้บริโภค หน่วยงานรัฐ และผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุขที่มีการส่งเจ้าหน้าที่ลงไปเก็บตัวอย่างขนมจีนที่พบการใช้วัตถุกันเสียเกินมาตรฐานมาตรวจวิเคราะห์ พร้อมกับสั่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ เฝ้าระวังสถานที่ผลิตและจำหน่ายเส้นขนมจีนให้เป็นไปตามมาตรฐาน พร้อมทั้งยืนยันว่า ขนมจีนเป็นอาหารในภาชนะบรรจุ ต้องแสดงฉลากตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ถ้ามีการใช้วัตถุกันเสียก็ต้องแจ้งไว้บนฉลาก หากไม่แสดงมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท ส่วนหากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารเกินปริมาณที่กำหนดจะจัดเป็นอาหารไม่ได้มาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท(ที่มา: ช่าว “สาธารณสุข ส่ง จนท.ตรวจเข้ม “สถานที่ผลิต-ขายขนมจีน”” มติชนออนไลน์ 12 มีนาคม 2559)ทางด้าน “ตลาดยิ่งเจริญ” ก็ตื่นตัวกับผลทดสอบ หลังพบว่ามีตัวอย่างเส้นขนมจีนที่ใส่สารกันบูดเกินมาตรฐานจำหน่ายอยู่ในตลาด ซึ่งทางผู้บริหารตลาดยิ่งเจริญ รีบแสดงความผิดชอบด้วยการตรวจเข้มสินค้าต่างๆ ที่จะเข้ามาจำหน่าย โดยออกเป็นมาตรการที่ชื่อว่า “สินค้าปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค” ซึ่งมีทั้งการเชิญเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เข้าตรวจประเมินมาตรฐานสินค้าในตลาด สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าในตลาดไปทดสอบ รวมทั้งเชิญพ่อค้า-แม่ค้าในตลาดมาทำความเข้าใจเรื่องการเลือกสินค้ามาจำหน่ายต้องมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และพร้อมจัดการขั้นเด็ดขาดกับสินค้าที่หน่วยงานรัฐออกมาให้ข้อมูลยืนยันว่าเป็นสินค้าไม่ปลอดภัย(ที่มา: ข่าว ““ตลาดยิ่งเจริญ” ออกมาตรการ “สินค้าปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค” เชิญ อย.ลงพื้นที่ตรวจสอบสินค้าทั้งหมด” กรุงเทพธุรกิจ 16 มิถุนายน 2560)ข้อกำหนดการใช้สารกันบูดในเส้นขนมจีนตามข้อกำหนดในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ฉบับล่าสุด (ฉบับที่ 4) ซึ่งประกาศใช้เมื่อปลายปี 2559 ที่ผ่านมา ยังคงอนุญาตให้มีการใช้ กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) ซึ่งเป็นกลุ่มสารกันเสีย ในเส้นขนมจีน ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เกณฑ์มาตรฐานยังคงเท่ากับการทดสอบเมื่อครั้งที่แล้วผลการทดสอบ-ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่นำมาทดสอบในครั้งนี้มีจำนวน 17 ตัวอย่าง จากผลการทดสอบพบว่ามีการปนเปื้อนของสารกันบูด กรดเบนโซอิก ทั้ง 17 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบ - มี 2 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของกรดเบนโซอิกสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คือไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อเส้นขนมจีน 1 กิโลกรัม ซึ่งตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ 1.ยี่ห้อ ชลนิศา เก็บตัวอย่างที่ตลาดพระประแดง พบปริมาณกรดเบนโซอิก 1,114.24 มิลลิกรัมต่อกิโกลกรัม และ 2.ยี่ห้อ สธจ โรงงานโสธรเจริญ เก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย พบปริมาณกรดเบนโซอิก 1,274.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม-ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่พบปริมาณกรดเบนโซอิกน้อยที่สุด 3 ตัวอย่างแรก ได้แก่ 1.ตัวอย่างไม่มียี่ห้อ เก็บตัวอย่างที่ตลาดพระประแดง พบปริมาณกรดเบนโซอิก 45.96 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม, 2.ตัวอย่างไม่มียี่ห้อ เก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย พบปริมาณกรดเบนโซอิก 63.21 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 3.ยี่ห้อ นิดา เก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย พบปริมาณกรดเบนโซอิก 91.30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่น่าตั้งข้อสังเกตเป็นพิเศษคือ ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่มีการใช้สารกันบูดน้อยที่สุด 2 อันดับแรก เป็นเส้นขนมจีนที่ไม่มีการแสดงฉลากใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งนั่นอาจจะหมายถึงว่า เส้นขนมจีนทั้ง 2 ตัวอย่าง ผลิตและจำหน่ายทันทีไม่ได้ผลิตเพื่อส่งไปขายต่อที่อื่น ซึ่งตามกฎหมายอนุโลมให้อาหารในลักษณะดังกล่าวไม่ต้องแสดงฉลาก เป็นไปได้ว่าผู้ผลิตตั้งใจที่จะผลิตและจำหน่ายแบบวันต่อวัน ทำให้มีการใช้สารกันบูดในปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งก็สอดคล้องกับผลการทดสอบครั้งที่แล้ว ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่พบสารกันบูดน้อยที่สุด ก็เป็นตัวอย่างเส้นขนมจีนไม่มียี่ห้อและไม่มีฉลากที่เก็บตัวอย่างจากตลาดพระประแดงข้อสังเกตจากผลทดสอบ-การทดสอบครั้งที่ 2 พบว่า ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่พบการปนเปื้อนของกรดเบนโซอิกน้อยที่สุดนั้น  พบเพียงแค่ 45.96 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งน้อยกว่าตัวอย่างเส้นขนมจีนที่ทดสอบครั้งที่แล้วที่พบน้อยสุดที่ปริมาณ 147.43 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม -โดยภาพรวมของผลการทดสอบสารกันบูดชนิดกรดเบนโซอิกในเส้นขนมจีนครั้งนี้ ช่วยตอบคำถามได้ว่า เส้นขนมจีนยังเป็นอาหารที่ตรวจพบว่า มีการปนเปื้อนของสารกันบูด โดยค่าเฉลี่ยของปริมาณสารกันบูดที่พบในการทดสอบครั้งที่ 2 นี้ อยู่ 450.53 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในการทดสอบครั้งที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 439.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม-พบว่า ตัวอย่าง ยี่ห้อ ดาว ซึ่งเก็บตัวอย่างจากตลาดยิ่งเจริญ ที่ผลการทดสอบครั้งที่แล้ว พบกรดเบนโซอิกสูงเกินค่ามาตรฐานที่ 1121.37 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมนั้น ในการทดสอบครั้งนี้พบปริมาณกรดเบนโซอิกอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด คือ 768.31 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ต้องขอชื่นชมที่มีการปรับปรุงมาตรฐานของสินค้า-ในขณะที่พบการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ในบางยี่ห้อ แต่บางยี่ห้อ คือ ยี่ห้อ สธจ โรงงานโสธรเจริญ ซึ่งเก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย การทดสอบครั้งที่แล้วพบปริมาณกรดเบนโซอิกแค่ 462.36 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ในการทดสอบครั้งนี้พบการปนเปื้อนสูงถึง 1274.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ต้องฝากหน่วยงานควบคุมกำกับช่วยติดตามมาตรฐานของสินค้าด้วย)การแสดงฉลากยังมีปัญหาจากผลทดสอบที่ได้พบว่าเส้นขนมจีนทั้ง 17 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบมีการปนเปื้อนของสารกันบูด เบนโซอิก ทั้ง 17 ตัวอย่าง ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 167) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ มีการกำหนดเรื่องการแสดงข้อมูลการใช้วัตถุเจือปนอาหารลงในฉลาก แต่จากตัวอย่างเส้นขนมจีนทั้ง 17 ตัวอย่าง มีเพียงแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้น ที่แสดงข้อมูลการใช้สารกันบูดระบุไว้บนฉลากหรือภาชนะบรรจุ ได้แก่ เส้นขนมจีนยี่ห้อ ฉวีวรรณ เก็บตัวอย่างที่ห้างแมคโคร สาขาลาดพร้าว ที่แจ้งไว้ว่าใช้วัตถุกันเสีย โซเดียมเบนโซเอต (INS NO.211)  (INS = international numbering system for food additives หรือ หมายเลขรหัสวัตถุเจือปนอาหารสากล)ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้อาหารที่อยู่ในภาชนะบรรจุต้องมีการแสดงฉลาก ยกเว้นอาหารในลักษณะต่อไปนี้ 1.อาหารที่ผู้ผลิตสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารแก่ผู้บริโภคได้ในขณะจำหน่าย เช่น หาบเร่ แผงลอย เป็นต้น, 2.อาหารสดทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านกรรมวิธีการแกะ ชำแหละ ตัดแต่ง หรือวิธีการอื่นใดเพื่อลดขนาด ซึ่งอาจแช่เย็นหรือไม่แช่เย็นก็ได้ และบรรจุในภาชนะที่สามารถมองเห็นสภาพของอาหารนั้น เช่น ผัก ผลไม้ตัดแต่ง เนื้อสัตว์หั่นเป็นชิ้นหรือบด เป็นต้น และ 3.อาหารในภาชนะบรรจุที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อบริการเฉพาะภายในร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม โรงเรียน โรงพยาบาล สายการบิน สถานที่อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน และรวมถึงการบริการจัดส่งอาหารโดยตรงให้กับผู้ซื้อจากการสุ่มเก็บตัวอย่าง เส้นขนมจีนที่ขายอยู่ตามท้องตลาดส่วนใหญ่ ไม่เข้าข่ายตามข้อยกเว้นของกฎหมาย ต้องมีการแสดงฉลากให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เพราะเป็นอาหารที่ผลิตในรูปแบบของโรงงานและส่งออกวางจำหน่ายตามตลาดต่างๆ อาจมีบ้างบางตัวอย่างที่ผลิตและขายเองหน้าร้าน ไม่ได้รับซื้อหรือส่งต่อไปขายที่อื่น ซึ่งถ้าเป็นในลักษณะดังกล่าวก็เข้าข่ายที่ได้รับการยกเว้นดังนั้นอยากฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องกวดขันดูแลให้ผู้ผลิตเส้นขนมจีนปรับปรุงสินค้าของตนเองให้ถูกต้องตามมาตรฐาน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 195 ค่าพลังงานใน “ไก่ทอดเกาหลี”

“ไก่ทอดเกาหลี” อีกหนึ่งเมนูอร่อยที่อิมพอร์ตมาจากแดนกิมจิ ตามรอยวัฒนธรรมเกาหลีฟีเวอร์ ที่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีอาหารสัญชาติเกาหลีหลากหลายเมนูมาให้คนไทยลิ้มลอง พร้อมๆ กับการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของร้านอาหารเกาหลีเมนูไก่ทอดถือเป็นเมนูโปรดของคนไทยเราอยู่แล้ว จะทำกินเองก็ง่าย หรือจะหาซื้อก็มีขายทั่วไป ทั้งจากร้านแผงลอยรถเข็นริมทาง ไปจนถึงร้านแฟรนไชส์ชื่อดัง เรียกว่ามีให้เลือกกินเลือกชิมสารพัดสูตรสารพัดรสชาติ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่กระแสความนิยมในไก่ทอดเกาหลีถึงได้มาแรงราวกับติดจรวด เพราะคนไทยเราชอบลองอะไรใหม่ๆ อยู่แล้ว ซึ่งภายในระยะเวลาไม่นานก็มีร้านไก่ทอดเกาหลีหลายแบรนด์หลายยี่ห้อถือกำเนิดขึ้นในบ้านเราฉลาดซื้อ ไม่ยอมตกเทรนด์ เราได้ลองสุ่มเก็บตัวอย่าง ไก่ทอดเกาหลี หลากหลายยี่ห้อที่จำหน่ายอยู่ ณ ปัจจุบัน เพื่อเปรียบเทียบดูเรื่อง “ค่าพลังงาน”  ลองดูกันสิว่าไก่ทอดเกาหลีแสนอร่อย สูตรของเจ้าไหนให้พลังงานเท่าไหร่กันบ้างไก่ทอดเกาหลี แตกต่างจากไก่ทอดทั่วไปยังไง?สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้ไก่ทอดสไตล์เกาหลีแตกต่างจากไก่ทอดทั่วไปก็คือ ไก่ทอดเกาหลีจะมีการคลุกเคล้าได้ซอสสูตรเฉพาะเพื่อเพิ่มรสชาติหลังจากทอดเสร็จ ซึ่งซอสที่ว่ามีส่วนผสมหลักๆ คือ กระเทียม และ น้ำผึ้ง ทำให้ได้รสชาติที่เข้มข้นเป็นเอกลักษณ์ โดยในเกาหลีจะเรียกไก่ทอดที่เคลือบด้วยซอสรสกระเทียมและน้ำผึ้งว่า “ยังยอม” (Yangnyeom Chicken) ซอสสำหรับคลุกไก่ทอดสไตล์เกาหลี แต่ละร้านก็มีสูตรเฉพาะของตัวเองแตกต่างกันออกไป นอกจากซอสที่กระเทียมและน้ำผึ้งเป็นส่วนประกอบแล้ว ก็ยังมีสูตรที่ใช้ “โคชูจัง” หรือที่บ้านเราเรียกว่าน้ำพริกเกาหลี ช่วยทำให้ไก่ทอดมีรสเผ็ด บางสูตรก็ใช้แค่ซอสถั่วเหลืองใส่น้ำผึ้งหรือน้ำตาลเพิ่มความหวานมูลค่าการตลาดของ “ไก่ทอด” -ตลาดฟาสต์ฟูดในประเทศไทยมีมูลค่ารวมมากกว่า 3.4 หมื่นล้านบาทต่อปี โดยเติบโตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10% ทุกปี-“ไก่ทอด” ถือเป็นประเภทของอารหารฟาสต์ฟูดที่มีมูลค่าการตลาดมากที่สุดในไทย ประมาณ 1.4-1.7 หมื่นล้านบาท หรือมากกว่า 40% จากตลาดรวมของฟาสต์ฟูดทั้งหมด -ยอดขายของ ไก่ทอดเกาหลีจากร้าน “บอนชอน” ร้านขายไก่ทอดเกาหลีเจ้าแรกๆ ของประเทศ ทำรายได้เพิ่มจาก 289 ล้านบาท ในปี 2557 เป็น 543 ล้านบาท ในปี 2558 และ 11 เดือนแรกของปี 2560 ขยับขึ้นไปแล้วกว่า 900 ล้านบาท โดย 2 ปีนี้ (2558-2559) ได้ขยายสาขาเพิ่มถึง 15 แห่ง โดยคาดว่าจะมีสาขารวมถึงสิ้นปี 2560 ที่ 25 สาขาที่มา : “ไก่ทอด “1.7 หมื่นล้าน” เดือด แบรนด์ใหม่ดาหน้าถล่ม “เคเอฟซี”” ผู้จัดการออนไลน์, 13 ก.ค. 2558 และ “เปิดสูตรแจ้งเกิด‘บอนชอน’ 6 ปี ยอดขายทะลุพันล้านบาท” ฐานเศรษฐกิจ,  16 ธ.ค. 2560ผลทดสอบ-จากผลทดสอบพบว่า ค่าเฉลี่ยของพลังงานในไก่ทอดเกาหลีที่ขายอยู่ ณ ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 100 – 150 กิโลแคลอรีต่อไก่ 1 ชิ้น ขึ้นอยู่กับขนาดและน้ำหนักของไก่ โดยชิ้นส่วนที่เป็นน่องจะมีน้ำหนักมากกว่าชิ้นส่วนที่เป็นปีก-เฉพาะตัวอย่างไก่ทอดเกาหลีจากร้าน Bon Chon และ Kyo Chon ชิ้นที่นำมาวิเคราะห์คือ ส่วนน่องใหญ่ หรือน่องติดสะโพก ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าตัวอย่างจากร้านอื่น ซึ่งเป็นชิ้นส่วน น่องและปีก บริเวณปีกบน เป็นเหตุผลให้ปริมาณค่าพลังงานต่อไก่ทอด 1 ชิ้น สูงกว่าตัวอย่างอื่นๆ-ปกติเรากินไก่ทอดกันเป็นอาหารจานหลัก กินพร้อมกับข้าว ซึ่งถ้าดูจากปริมาณพลังงานที่ได้รับจากการกินไก่ 1 ชิ้น ถือว่าค่อนข้างสูง แน่นอนว่าถ้ากินเป็นอาหารจานหลักเราก็จะกินไก่ทอดมากกว่า 1 ชิ้นแน่นอน ซึ่งบรรดาร้านขายไก่ทอดที่ฉลาดซื้อทำการสำรวจ ส่วนใหญ่มีการเสิร์ฟแบบเป็นเซ็ต คือ เสิร์ฟไก่ทอดพร้อมข้าวสวย สลัด หัวไชเท้าดอง หรือ กิมจิ  โดยใน 1 เสิร์ฟก็อาจจะมีไก่ทอดอยู่ตั้งแต่ 3-5 ชิ้น คิดแล้วก็เท่ากับว่าเราจะได้ปริมาณพลังงานจากการกินเซ็ตไก่ทอดเกาหลีในร้าน 1 เสิร์ฟ เฉลี่ยอยู่ที่ 300 -500 กิโลแคลอรี ซึ่งก็ถือเป็นเกณฑ์ที่รับได้สำหรับอาหารจานหลัก 1 มื้อ โดยปริมาณพลังงานจากอาหารที่เหมาะสมใน 1 วัน คือ ไม่เกิน 2,000 กิโลแคลอรี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 สารกันบูดในไส้ถั่วกวนสำเร็จรูป

แฟนๆ ฉลาดซื้อคงยังจำกันได้ว่าเมื่อไม่นานนี้ เราเพิ่งนำเสนอผลทดสอบ “สารกันบูดในขนมเปี๊ยะ” ที่พบว่ามีตัวอย่างขนมเปี๊ยะเพียง 1 จาก 13 ตัวอย่างที่ไม่พบการปนเปื้อนของสารกันบูดชนิด กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก โดยพบปริมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 20.47 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ซึ่งก็ถือว่าเป็นปริมาณที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้คือสูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่การพบสารกันบูดในขนมเปี๊ยะ ทั้งที่บางยี่ห้อระบุว่า “ไม่ใช้วัตถุกันเสีย” นั้น ทำให้ฉลาดซื้อมีข้อสงสัยว่า สารกันบูดที่พบมาจากส่วนประกอบใดในขนมเปี๊ยะกันแน่ ฉบับนี้เราเลยเลือกทดสอบไส้ขนมสำเร็จรูป ชนิด “ถั่วกวน” ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบหลักในผลิตภัณฑ์ขนมหลายชนิด ไม่ใช่แค่ขนมเปี๊ยะ แต่ยังมีทั้ง ขนมโมจิ ซาลาเปา ขนมเทียน ขนมถั่วกวน ขนมลูกชุบ ขนมเม็ดขนุน ฯลฯ ซึ่งไส้ถั่วกวนสำเร็จรูปพร้อมนำไปทำขนมได้ทันทีนี้ มีวางจำหน่ายอยู่ในร้านขายอุปกรณ์และวัตถุดิบสำหรับทำขนมและเบเกอรี่เจ้าใหญ่หลายแห่ง เราลองไปดูกันสิว่าในไส้ถั่วกวนสําเร็จรูปมีการปนเปื้อนของสารกันบูด กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก มากน้อยแค่ไหนถั่วกวนสำเร็จรูป ใส่สารกันบูดได้หรือไม่? ใส่ได้มากน้อยแค่ไหน?ถ้าเทียบตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ไส้ถั่วกวนสำเร็จรูป น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มอาหารประเภท พืชผัก สาหร่าย ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดพืชต่างๆ ที่ผ่านกรรมวิธี เช่น อบแห้ง แคนนิ่ง แช่แข็ง ฯลฯ ตามการแบ่งกลุ่มย่อยของประเภทอาหารที่อนุญาตให้ใช้ กรดเบนโซอิก ซึ่งตามประกาศไม่มีกำหนดปริมาณที่ใช้เป็นตัวเลขชัดเจน ระบุเพียงว่า ให้ใช้ใน “ปริมาณที่เหมาะสม” ซึ่งเมื่อลองนำไปเทียบกับกลุ่มอาหารชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่กฎหมายจะอนุญาตให้ใช้กรดเบนโซอิกได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก ไม่มีการกำหนดปริมาณการใช้ในไส้ถั่วกวนสำเร็จรูปดังนั้นเกณฑ์สำหรับเทียบเคียงในการทดสอบ กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก ในไส้ถั่วกวนสำเร็จรูปครั้งนี้ ขอยึดที่เกณฑ์พบได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 193 เนื้อหมูกับการตกค้างของยาปฏิชีวนะ

เมื่อปีที่แล้ว เรารายงานไว้ในนิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 188 ตุลาคม 2559 ว่าพบ การตกค้างของยาปฏิชีวนะ 1 ตัวอย่าง คือ เมนูแซนวิชไก่อบ จากร้าน ซับเวย์ สาขาพารากอน โดยพบ Doxycycline ในกลุ่มยา Tetracycline ปริมาณ 13.73 ไมโครกรัม / กิโลกรัม(ug/kg)  จากการสุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 18 ตัวอย่าง ภายหลังการแถลงข่าวของคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและฉลาดซื้อ ทางตัวแทนของซับเวย์ได้ติดต่อขอรายละเอียดและเมื่อได้พิจารณาผลการทดสอบของทางฉลาดซื้อแล้ว ได้ชี้แจงกลับมาว่า จะปรับปรุงเรื่องซับพลายเออ ซึ่งทางซับเวย์ในประเทศไทยใช้ซับพลายเออในประเทศ อีกทั้งยังให้คำมั่นว่า ประเทศไทยจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ทางซับเวย์จะวางนโยบายเลิกใช้เนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ  ต่อมาในเดือนมกราคม 2560 มีการทำข่าวเชิงลึกโดย หนังสือพิมพ์คมชัดลึก เรื่อง อันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มหมู โดยเฉพาะยา โคลิสติน ซึ่งเป็นยาต้านแบคทีเรียในลำดับสุดท้ายที่โลกมีอยู่ในฟาร์มหมูอย่างไม่เหมาะสมและในปริมาณที่มากจนน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีรายงานจากประเทศจีนว่า การเลี้ยงหมูด้วยยาโคลิตินเป็นสาเหตุให้เกิดยีนดื้อยาที่เรียกว่า mcr-1   ซึ่งจะทำให้ยาโคลิสตินหมดประสิทธิภาพในการต้านหรือฆ่าเชื้อ หมายถึงเราจะไม่มียาสำหรับการฆ่าเชื้อแบคทีเรียอีกต่อไป ดังนั้นฉลาดซื้อจึงไม่ได้นิ่งนอนใจ เราขออาสาไปตรวจสอบเนื้อหมูสดในตลาดอีกรอบ โดยเก็บตัวอย่างเนื้อหมูสันในจากตลาดสด 6 แห่งใน กรุงเทพฯ ห้างค้าปลีก 8 แห่ง และสั่งซื้อออนไลน์ 1 แห่ง รวม 15 ตัวอย่าง เพื่อตรวจหายาปฏิชีวนะตกค้าง 5 ชนิด โดยห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ผลการทดสอบพบ 2 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 13.3 มีการตกค้างของยา คลอร์เททระไซคลีน (Chlortetracycline) ซึ่งเป็นยาที่ใช้เพื่อยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย โดยปริมาณที่พบ คือ 20.28 ไมโครกรัม/กิโลกรัม(ug/kg)   ในตัวอย่างเนื้อหมูจากตลาดใหม่บางแค และ 42.57 ไมโครกรัม/กิโลกรัม(ug/kg)   และในตัวอย่างเนื้อหมูจากตลาดยิ่งเจริญ  ถึงแม้จะไม่เกินมาตรฐานที่ทางกระทรวงสาธารณสุขกำหนด แต่ในทางวิชาการแล้ว ปริมาณไม่ใช่สิ่งสำคัญเพียงพบว่ามีการตกค้าง ก็อาจหมายถึงสาเหตุหนึ่งของการเกิดเชื้อดื้อยาได้เช่นกัน ประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 303) พ.ศ. 2550 เรื่อง อาหารที่มียาสัตว์ตกค้าง เพื่อใช้ควบคุมปริมาณการตกค้างของสารใดๆ ที่ถูกใช้กับสัตว์ที่ถูกเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ ข้อมูลตามบัญชีแนบท้ายของประกาศฉบับนี้ กำหนดให้พบการตกค้างของยาในกลุ่ม Tetracycline (เททระไซคลีน) ในเนื้อหมู(กล้ามเนื้อ) สูงสุดได้ไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่อ 1 กิโลกรัม---------------------------------------------------------รู้หรือไม่ว่า ในอาหารที่เรากิน เราอาจเจอได้ทั้ง ยาปฏิชีวนะ เชื้อโรคที่ดื้อยา และยีนของเชื้อที่ดื้อยา ตัวหลังนี้สำคัญเพราะมันข้ามสายพันธุ์กันได้ในหมู่เชื้อ ทำให้เชื้อโรคต่างก็พากันดื้อยา สถานการณ์ปัจจุบันพบว่า มียีนที่เรียกว่า mcr-1   เกิดขึ้นแล้วพบในจีน อเมริกา อินเดีย หรือในประเทศไทยอย่างน้อยก็มีรายงานว่าพบแล้วสามคน ที่มียีนดื้อยาอยู่ในร่างกาย ยีนตัวนี้สำคัญอย่างไร ยีนดื้อยาตัวนี้ มันไม่กลัวยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะตัวที่แรงสุดในปัจจุบันคือ ยาโคลิสติน เรียกว่า ถ้ายานี้เอาเชื้อโรคไม่อยู่แล้วก็หมดยาที่จะใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 193 สารอาหารในนมถั่วเหลืองพร้อมดื่ม

เชื่อว่าหนึ่งในเหตุผลที่หลายคนชื่นชอบการบริโภคนมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ มาจากคุณค่าหรือสารอาหารที่มีประโยชน์ในเครื่องดื่มดังกล่าว เพราะถั่วเหลืองมีไขมันอิ่มตัวน้อยและมีโปรตีนสูงใกล้เคียงกับนมวัว ทำให้ผู้ที่ควบคุมน้ำหนักหรือรับประทานมังสวิรัติสามารถดื่มนมถั่วเหลืองแทนนมวัวได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมและมดลูกได้อีกด้วย โดยปัจจุบันเราสามารถเลือกซื้อนมถั่วเหลืองมาบริโภคกันได้ง่ายขึ้น ผ่านร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป เพราะมีการจำหน่ายนมถั่วเหลืองในรูปแบบสำเร็จรูปพร้อมดื่มได้ทันทีนั่นเองอย่างไรก็ตามนมถั่วเหลืองพร้อมดื่มเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการปรับรสชาติให้ถูกปากผู้บริโภคส่วนใหญ่ จึงอาจทำให้มีปริมาณน้ำตาลสูงเกินกว่าที่เราควรได้รับต่อวัน หรือไม่ควรเกินวันละ 24 กรัม/วัน (6 ช้อนชา) ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงสุ่มทดสอบปริมาณสารอาหารในนมถั่วเหลืองพร้อมดื่มจำนวน 34 ตัวอย่าง จาก 9 ยี่ห้อ ซึ่งตรวจสอบด้วยการดูฉลากว่ายี่ห้อไหนจะใส่น้ำตาลมากหรือน้อยกว่ากัน รวมทั้งตรวจสอบปริมาณโปรตีนและแคลเซียมในแต่ละยี่ห้ออีกด้วย โดยผลทดสอบจะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับนมถั่วเหลือง- นมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ คือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่นำมาแปรรูป- ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองมีสารไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งเป็นสารจากพืชที่ออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน) แต่มีฤทธิ์ในปริมาณค่อนข้างต่ำ จึงไม่ใช่ตัวการหลักที่กระตุ้นให้เด็กผู้หญิงมีรอบเดือนเร็วกว่าปกติ-  ผู้หญิงที่มักปวดท้องเมื่อมีรอบเดือน อาจมีสาเหตุจากร่างกายสร้างเอสโตรเจนออกมาในปริมาณมาก ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการบริโภคผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเป็นประจำ เพราะในถั่วเหลืองมีสารเจ็นนิสตีน (genistine) ที่ช่วยทำให้เอสโตรเจนออกฤทธิ์น้อยลง ด้วยการแย่งพื้นที่จับบริเวณผนังเซลล์ของต่อมน้ำนมและมดลูก แต่หากบริโภคสารดังกล่าวในรูปแบบอาหารเสริมเป็นประจำ อาจส่งผลให้มีบุตรยากได้สรุปผลทดสอบจากนมถั่วเหลืองพร้อมดื่ม 34 ตัวอย่าง 9 ยี่ห้อ พบว่า1. น้ำตาล- ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลสูงที่สุดคือ แลคตาซอย น้ำนมถั่วเหลืองยูเอชที รสหวาน สูตร Original Classic มีปริมาณน้ำตาล 28 กรัม/หน่วยบริโภค และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดคือ ดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมงาดำ 2 เท่า น้ำตาลน้อย (เจ) มีปริมาณน้ำตาล 4 กรัม/หน่วยบริโภค- ส่วนนมถั่วเหลืองชนิดแห้งที่มีปริมาณน้ำตาลสูงที่สุดคือ โอวันติน เนเจอร์ซีเล็คท์ ซอยย์ นมถั่วเหลืองปรุงสำเร็จชนิดผง สูตรผสมงาดำ (เจ) มีปริมาณน้ำตาล 18 กรัม/หน่วยบริโภค และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดคือ ดอยคำ นมถั่วเหลือง100% ไม่มีปริมาณน้ำตาลผสมอยู่เลย2. โปรตีน- ยี่ห้อที่มีปริมาณโปรตีนสูงที่สุดมี 5 ยี่ห้อ ได้แก่ 1.ดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมถั่วเหลืองสีดำ (แบล็ค ซิงค์) 2.ไวตามิ้ลค์ น้ำนมถั่วเหลือง สูตรข้าวบาร์เลย์และมอลต์ ทูโก (ขวดแก้ว) 3.ไวตามิ้ลค์ น้ำนมถั่วเหลือง สูตรทูโก ออริจินัล (ขวดแก้ว) 4.ไวตามิ้ลค์ น้ำนมถั่วเหลือง สูตรดับเบิ้ลช็อกโก ทูโก (ขวดแก้ว) 5.แลคตาซอย น้ำนมถั่วเหลืองยูเอชที รสหวาน สูตร Original Classic มีปริมาณโปรตีน 9 กรัม/หน่วยบริโภคเท่ากัน- ส่วนยี่ห้อที่มีปริมาณโปรตีนน้อยที่สุดคือ โทฟุซัง นมถั่วเหลืองออร์แกนิค รสออริจินัล (เจ) และดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมงาดำ 2 เท่า (เจ) มีปริมาณโปรตีน 4 กรัม/หน่วยบริโภคเท่ากัน3. แคลเซียม- ยี่ห้อที่มีปริมาณแคลเซียมสูงที่สุดคือ แลคตาซอย น้ำนมถั่วเหลืองยูเอชที ไฮแคลเซียม สูตรเจ มีปริมาณแคลเซียม 60%/หน่วยบริโภค ในขณะที่ยี่ห้อที่มีปริมาณแคลเซียมน้อยที่สุดคือ ดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมจมูกข้าวญี่ปุ่น น้ำตาลน้อย (เจ) และดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมน้ำนมข้าวโพด (เจ) มีปริมาณแคลเซียมน้อยกว่า 2%/หน่วยบริโภค4. พลังงาน- ยี่ห้อที่ให้พลังงานสูงที่สุดคือ แลคตาซอย น้ำนมถั่วเหลืองยูเอชที รสหวาน สูตร Original Classic ให้พลังงานทั้งหมด 260 กิโลแคลอรี/หน่วยบริโภค - ยี่ห้อที่ให้พลังงานน้อยที่สุดมี 3 ยี่ห้อ ได้แก่ 1.ดอยคำ นมถั่วเหลือง100% ให้พลังงานทั้งหมด 70 กิโลแคลอรี/หน่วยบริโภค และ 2.ดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมงาดำ 2 เท่า (เจ) 3. โทฟุซัง นมถั่วเหลืองออร์แกนิค รสออริจินัล (เจ) ให้พลังงานทั้งหมด 90 กิโลแคลอรี/หน่วยบริโภคเท่ากัน 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 192 เช็คปริมาณพลังงานใน “ชีสทาร์ต”

หลายคนคงจะยังจำปรากฏการณ์ “ต่อคิวซื้อ” ของขนม 2 รสชาติที่เคยเขย่าวงการคนชอบทานขนมในเมืองไทยเมื่อหลายปีก่อน ทั้ง “โรตีบอย” ที่เคยฮิตถล่มทลายทั่วบ้านทั่วเมืองเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว แต่ว่าตอนนี้ปิดตัวไปเป็นที่เรียบร้อย หรืออย่าง“โดนัท คริสปี้ ครีม” ที่สร้างกระแสคนรอซื้อต่อแถวยาวเป็นกิโลสมัยที่เพิ่งมาเปิดสาขาในเมืองไทยเมื่อ 6 ปีก่อนมายุคนี้ก็เป็นคิวของ “ชีสทาร์ต” ที่มาสร้างกระแสเป็นขนมหวานยอดฮิตชนิดใหม่ล่าสุด ที่กำลังเป็นที่นิยมของคนชอบรับประทานขนมหวานและคนที่รักชีส ซึ่ง ณ เวลานี้ก็มีชีสทาร์ตหลากหลายแบรนด์ให้ได้ลองเลือกซื้อเลือกชิม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านที่อินพอร์ตมาจากต่างประเทศ เพราะว่ากันว่าชีสทาร์ตมีต้นกำเนิดมาจากญี่ปุ่น แถมบรรดาร้านเบเกอรี่ชื่อดังหลายๆ เจ้า ก็ผลิตเมนูชีสทาร์ตออกมาต้อนรับกระแส ขอแข่งกับแบรนด์ชีสทาร์ตเจ้าดัง ซึ่งถือเป็นเรื่องดีของคนกินเพราะมีตัวเลือกหลากหลายฉลาดซื้อ ไม่ยอมตกเทรนด์อยู่แล้ว ก่อนหน้านี้เราก็เคยทดสอบดูเรื่องของพลังงานในขนมดังๆ อยู่เสมอ ในเมื่อตอนนี้ ชีสทาร์ต กำลังได้รับความนิยม มีหรือที่ ฉลาดซื้อ จะพลาด โดยครั้งนี้เราจะนำชีสทาร์ตมาวิเคราะห์ดูปริมาณพลังงาน ไขมัน และโซเดียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ไปดูกันสิว่าชีสทาร์ตของแต่ละร้านมีปริมาณมากน้อยแค่ไหนกันบ้างชีสทาร์ต ทำมาจากอะไร?ส่วนประกอบหลักๆ ของชีสทาร์ต แบ่งได้เป็น 2 ส่วน 1.ส่วนของแป้งทาร์ต ส่วนประกอบหลักๆ ก็จะมีแป้งอเนกประสงค์ เนยจืด ไข่แดง น้ำตาลไอซ์ซิ่ง ส่วนที่ 2 ก็คือไส้ที่เป็นครีมชีส จะประกอบด้วย ครีมชีส มาสคาโปเน่ชีส น้ำตาลทราย นมสด วิปปิ้งครีม ไข่ตารางแสดงผลการทดสอบเปรียบเทียบสารอาหารต่างๆ ในชีสทาร์ต***ผลทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่ส่งทดสอบเท่านั้น***เก็บตัวอย่างเมื่อเดือน มกราคม 2560ผลทดสอบ-ผลทดสอบปริมาณพลังงานใน ชีสทาร์ต ทั้ง 7 ตัวอย่าง พบค่าเฉลี่ยปริมาณพลังงานต่อชีสทาร์ต 1 ชิ้น อยู่ที่ 239.05 กิโลแคลอรี-โดยตัวอย่างที่พบปริมาณพลังงานเฉลี่ยต่อ 1 ชิ้นสูงที่สุดคือ ตัวอย่างชีสทาร์ตจากร้าน mx cakes & bakery ที่พบปริมาณพลังงานอยู่ที่ 325.55 กิโลแคลอรี หรือประมาณ 16.27% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน คือ 2,000 กิโลแคลอรี ซึ่งเหตุพลที่ทำให้พบปริมาณพลังงานในตัวอย่างชีสทาร์ตจากร้าน mx cakes & bakery สูงกว่าตัวอย่างจากร้านอื่นๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะน้ำหนักของชีสทาร์ตต่อชิ้นมากกว่าตัวอย่างจากร้านอื่น-ซึ่งถ้าเทียบในปริมาณของชีสทาร์ตที่ 100 กรัมเท่ากัน ตัวอย่างที่พบปริมาณพลังงานมากที่สุดคือ ตัวอย่างจากร้าน Flavour Field ที่พบปริมาณพลังงานอยู่ที่ 455 กิโลแคลอรีต่อทาร์ตชีส 100 กรัม -ไขมัน ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มาพร้อมกับขนมปังหรือขนมอบ โดยปริมาณไขมันที่เหมาะสบกับร่างกายใน 1 วัน คือไม่เกิน 65 กรัม ซึ่งจากผลวิเคราะห์พบว่าชีสทาร์ตทั้ง 7 ตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยปริมาณไขมันต่อ 100 กรัม อยู่ที่ 25.21 กรัม หรือประมาณ 38% ของปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายใน 1 วัน ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง-สำหรับปริมาณโซเดียมในชีสทาร์ต พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 211 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม หรือคิดเป็น 8.7% ของปริมาณที่เหมาะใน 1 วัน คือไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมฉลาดซื้อแนะนำ-ปริมาณพลังงานเฉลี่ยของชีสทาร์ต 1 ชิ้นที่ 239.05 กิโลแคลอรี ถือว่าใกล้เคียงกับปริมาณของอาหารจานเดียว 1 จานที่ปริมาณ 300 – 600 กิโลแคลอรี เพราะฉะนั้นถึงคุณจะชอบขนมหวาน ชอบชีส หรือชอบชีสทาร์ตมากสักแค่ไหน ก็ต้องหักห้ามใจ รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะถ้ารวมกับอาหารจานหลักที่เราต้องรับประทานอีก 3 มื้อ เราก็มีโอกาสได้รับพลังงานสูงเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ-เช่นเดียวกับปริมาณไขมันในที่พบในชีสทาร์ต มีพบว่ามี ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 25.21 กรัม ต่อทาร์ตชีส 100 กรัม หรือประมาณ 38% ของปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายใน 1 วัน ถ้ามองในมุมว่าชีสทาร์ตเป็นเพียงแค่ขนมหวานทานเล่น เพราะต้องไม่ลืมว่าใน 1 วันเราต้องรับประทานอาหารมื้อหลักอีก 3 มื้อ ซึ้งก็มีความเป็นไปได้ว่าเราจะได้ไขมันมากกว่าปริมาณที่เหมาะสมใน 1 วันปริมาณสารอาหารที่เหมาะกับร่างกายใน 1 วัน-พลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี-โปรตีน ตามน้ำหนักตัว กรัม (เช่น น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีนต่อวันคือ 50 กรัม)-ไขมันทั้งหมด น้อยกว่า 65 กรัม-กรดไขมันอิ่มตัว น้อยกว่า 20 กรัม-โคเลสเตอรอล น้อยกว่า 300 มิลลิกรัม-คาร์โบไฮเดรต ทั้งหมด 300 กรัม-ใยอาหาร 25 กรัม-โซเดียม น้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม-น้ำตาล น้อยกว่า 24 กรัม (ประมาณ 6 ช้อนชา)ที่มา : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน สำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI (Thai Recommended Daily Intakes))

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 192 คาเฟอีนและน้ำตาล ในกาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่ม

กาแฟปรุงสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ทางเลือกสำหรับคอกาแฟที่รักความสะดวกรวดเร็ว เพียงเปิดกระป๋องปุ๊บก็ดื่มได้ทันที ซึ่งปัจจุบันมีหลายยี่ห้อและรสชาติให้ลิ้มลองในราคาสบายกระเป๋า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้บริโภคหลายคนอร่อยเพลิน จนลืมไปว่ากาแฟกระป๋องเหล่านั้นอาจมีคาเฟอีนและน้ำตาลผสมอยู่ในปริมาณสูง โดยหากเราบริโภคมากเกินไป สามารถทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานจากการได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม/วัน หรืออาการติดคาเฟอีน (Caffeinism) จากการได้รับคาเฟอีนมากไปหรือเกินวันละ 200 มิลลิกรัม ซึ่งจะทำให้รู้สึกกระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย ทำงานไม่ได้ จนกว่าจะเพิ่มปริมาณคาเฟอีนในกระแสเลือดก่อน นอกจากนี้ผลที่ตามมาคือสมองและหัวใจจะถูกกระตุ้นเกินกว่าปกติ ทำให้ปวดศีรษะ ใจเต้นเร็ว ใจสั่นและความดันโลหิตสูงได้ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอเสนอผลเปรียบเทียบปริมาณคาเฟอีนและน้ำตาลในกาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่มจำนวน 26 ตัวอย่างจาก 19 ยี่ห้อยอดนิยม ซึ่งเจ้าไหนจะมีน้ำตาลและคาเฟอีนสูงกว่ากัน ลองไปดูได้เลยสัดส่วนการตลาดกาแฟพร้อมดื่มปี 2557กาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม มีส่วนแบ่งเป็นอันดับ 2 ในตลาดกาแฟรวม ด้วยมูลค่า 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นกาแฟกระป๋อง 95% และแบบขวด PET 5% นอกจากนี้ยังมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละประมาณ 6% โดยผู้นำตลาดคือ ยี่ห้อเบอร์ดี้ ครองส่วนแบ่งตลาดถึง 70%ที่มา: http://marketeer.co.th/archives/31046สรุปผลการทดสอบจากตัวอย่างกาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่มทั้งหมด 26 ตัวอย่างจาก 19 ยี่ห้อที่นำมาทดสอบ พบว่า1.ยี่ห้อที่มีปริมาณคาเฟอีนมากสุด คือ ดาว สูตรไอซ์ คลาสสิค เบลนด์ มีปริมาณคาเฟอีน 91.1 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร เอาชนะยี่ห้อ คาราบาว สูตรเอสเปรสโซ ที่มีปริมาณคาเฟอีน 91 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร ไปเพียง 0.1 มิลลิกรัมเท่านั้น และสำหรับยี่ห้อที่มีปริมาณคาเฟอีนน้อยที่สุด คือ สตาร์บัคส์ สูตรคอฟฟี่ แฟรบปูชิโน่ มีปริมาณคาเฟอีน 29 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร2. ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด คือ โคฟี่ กาแฟสำเร็จ มีปริมาณน้ำตาลถึง 49 กรัม/ หน่วยบริโภค ส่วนยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดมี 2 ยี่ห้อ คือ วีสลิม สูตรเอสเปรสโซและเนสกาแฟ สูตรเอ็กซตร้า ริช มีปริมาณน้ำตาล 14 กรัม/หน่วยบริโภคเท่ากัน ทั้งนี้สำหรับยี่ห้อ เพรียว คอฟฟี่ มีปริมาณน้ำตาล 0 กรัม/ หน่วยบริโภค เนื่องจากเป็นสูตรไม่มีน้ำตาล(รสหวานจากน้ำตาลเทียม)3. มี 10 ยี่ห้อที่ไม่สามารถตรวจสอบปริมาณน้ำตาลได้ เนื่องจากไม่มีฉลากโภชนาการ ได้แก่ 1.มง ปาซิญง (MON PASSION) สูตรคาเฟ่ มอคค่า 2.อาฮ่า (A-Ha) สูตรคาปูชิโนผสมช็อกโกแลต 3.อาราบัส สูตรลาเต้ 4.ไอวี่ กาแฟสูตรโบราณ 5.ยูเอฟซี สูตรกาแฟเย็น เข้มข้นรสกาแฟแท้ 6.เบอร์ดี้ สูตรคลาสสิกและสูตรบาริสต้า เอสเปรสโซ ช็อต 7.เทอร์บัสต้า แมกซ์ สูตรออริจินอล 8.ดาวแมกซ์ คอฟฟี่ และดาว สูตรไอซ์ คลาสสิค เบลนด์ 9.ซูซูกิ โกเมท์ สูตรไอซ์ คอฟฟี่ และ 10.คาราบาว สูตรบัสต้าและสูตรเอสเปรสโซ4. มี 4 ยี่ห้อที่ไม่มีฉลากภาษาไทยกำกับ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบทั้งปริมาณคาเฟอีนและน้ำตาลได้ คือ 1.ยูซีซี สูตรเอสเพรสโซ่พรีเมี่ยม 2. WONDA WONDERFUL COFFEE 3.FIRE 4.TULLY’S COFFEE BARISTA’Sข้อสังเกต- การแสดงฉลากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ.2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ กำหนดไว้ว่า การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุที่ผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือที่จำหน่าย ต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทย และอย่างน้อยจะต้องมีข้อความแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (เว้นแต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะยกเว้นให้ไม่ต้องระบุข้อความหนึ่งข้อความใด) 1.ชื่ออาหาร 2.เลขสารบบอาหาร 3.ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุหรือผู้นำเข้า หรือสำนักงานใหญ่

อ่านเพิ่มเติม >