ฉบับที่ 206 ไขมันทรานส์และพลังงาน ในโดนัทรสช็อกโกแลต

ไขมันทรานส์และพลังงาน ในโดนัทรสช็อกโกแลตแม้หลายคนจะยกให้โดนัทจะเป็นของว่างแสนอร่อย จนบางครั้งก็กินเพลินจนลืมไปว่าในความอร่อยที่แสนหวานนั้น ให้พลังงานสูงไม่แพ้การรับประทานอาหารจานหลักเลยทีเดียว และที่มากไปกว่านั้นยังทำให้เราเสี่ยงต่อการได้รับไขมันทรานส์อีกด้วย โดยสำหรับเจ้าไขมันทรานส์(Trans fat) หรือกรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty acid) นั้น เป็นกรดไขมันชนิดหนึ่งที่เกิดจากกระบวนการแปรรูป พบมากในการผลิตอาหารทอด ครีมเทียม หรือพวกขนมอบ เบเกอรี่ที่มีมาการีน/เนยขาว เพราะสามารถทำให้อาหารเก็บได้นาน ทนความร้อน ไม่มีกลิ่นหืนและต้นทุนการผลิตต่ำ อย่างไรก็ตามไขมันทรานส์กลับเป็นถูกจัดให้เป็นไขมันตัวร้าย เนื่องจากสามารถเพิ่มระดับระดับโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL: low-density lipoprotein) ที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจและความดัน รวมทั้งสามารถทำให้มีการอักเสบของผนังหลอดเลือด ซึ่งทำให้หลอดเลือดตีบง่ายขึ้น ส่งผลให้องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคไขมันทรานส์ หรือไม่ควรบริโภคเกินกว่า 2.2 กรัม/วัน และควรพบความเข้มข้นในอาหารได้สูงสุดไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภคฉลาดซื้อฉบับนี้จึงกลับมาเอาใจคนชอบกินโดนัทกันอีกครั้ง ด้วยการทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ และพลังงานในโดนัทรสช็อกโกแลต จากยี่ห้อยอดนิยมตามท้องตลาดจำนวน 13 ตัวอย่าง ซึ่งผลการทดสอบจะเป็นอย่างไร เราลองไปดูกันเลยประเทศไทยอยู่ในระหว่างการยกร่างกฎหมาย ที่กำหนดห้ามนำส่วนประกอบอาหารที่มีไขมันทรานส์มาผลิตอาหาร หรือ ห้ามเติมสารไฮโดรเจนลงไปในกระบวนการผลิตน้ำมัน โดยคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ภายในเดือนเมษายน 2561 อ้างอิงบทความข่าวจาก https://www.matichon.co.th/news/781033สรุปผลการทดสอบจากโดนัทที่นำมาทดสอบทั้งหมดจำนวน 13 ตัวอย่าง พบว่า1. พลังงาน- ยี่ห้อที่ให้พลังงาน/ 100 กรัม มากที่สุด คือ แซง-เอ-ตัวล (Saint ETOILE) ให้พลังงาน 471 kcal./ 100 กรัมในขณะที่ยี่ห้อ ดังกิ้น โดนัท ให้พลังงานน้อยที่สุด คือ 381 kcal./ 100 กรัม- ยี่ห้อที่ให้พลังงาน/ ชิ้น มากที่สุด คือ แซง-เอ-ตัวล (Saint ETOILE) ให้พลังงาน 320 kcal./ ชิ้น (68 กรัม)ส่วนยี่ห้อ เอ็น.เค.โดนัท (NK Donut) ให้พลังงานน้อยที่สุด คือ 85 kcal./ชิ้น (19 กรัม)2. ไขมันทรานส์ผลการทดสอบพบว่า ทุกยี่ห้อมีส่วนประกอบของไขมันทรานส์ โดยแบ่งเป็น - ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์/ 100 กรัม มากที่สุด คือ ซับไลม์โดนัท (Sublime Doughnuts) มีปริมาณไขมันทรานส์ 6.65 กรัม./ 100 กรัมในขณะที่ยี่ห้อ เฟลเวอร์ ฟิลด์ (Flavor Field) มีปริมาณไขมันทรานส์น้อยที่สุด คือ 0.12 กรัม./ 100 กรัม- ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์/ ชิ้นมากที่สุด คือ ซับไลม์โดนัท (Sublime Doughnuts) มีปริมาณไขมันทรานส์ 4.5913 กรัม./ ชิ้น (69 กรัม)ส่วนยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์/ ชิ้นน้อยที่สุด คือ แด๊ดดี้ โด (Daddy Dough) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.0729 กรัม./ ชิ้น (51 กรัม)ข้อสังเกต- ไขมันทรานส์ จากโดนัทที่นำมาทดสอบทั้งหมด พบว่า มีปริมาณไขมันทรานส์ เฉลี่ย 1.25 ต่อหน่วยบริโภค ซึ่งสูงเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือไม่ควรเกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค โดยหากเราบริโภคหลายชิ้น อาจได้รับปริมาณไขมันทรานส์มากกว่าเกินกว่า 2.2 กรัม/วันได้ ทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ - โดนัทส่วนใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 60 กรัม/ ชิ้น และให้พลังงานเฉลี่ยที่ประมาณ 256 กิโลแคลอรี่ ซึ่งหากเราอร่อยเพลิน อาจทำให้ได้รับพลังงานสูงเกินกว่าที่ต้องการต้องการได้ เพราะอย่าลืมว่าโดนัท เป็นเพียงของหวานรับประทานเล่นเท่านั้น ยังมีอีก 3 มื้อหลัก/ วันรออยู่ (ปริมาณพลังงานที่เหมาะสมที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วันคือ 2,000 กิโลแคลอรี่)**** อัพเดท***เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ระบุว่า โดยปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (8) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ข้อ 1 ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2561ปิยะสกล สกลสัตยาทรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า1000 Point

ฉลาดซื้อฉบับที่ 205 ผลิตภัณฑ์ของฝาก-ของดี จาก 4 ภาค "น้ำพริกหนุ่ม น้ำปลาร้า แกงไตปลาแห้ง และโรตีสายไหม"

สารกันบูด ในน้ำพริกหนุ่ม และ แกงไตปลาแห้งฉลาดซื้อฉบับนี้ เราจะพาไปขึ้นเหนือล่องใต้ ออกอีสานและแวะเที่ยวภาคกลาง ด้วยเรื่องราวของ ของฝากสี่ภาค โดยฉลาดซื้อ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และเครือข่ายผู้บริโภคทั้งสี่ภาค  เก็บตัวอย่างสินค้า 4 ชนิด ซึ่งจัดเป็นของฝากยอดนิยม มาทดสอบเพื่อเป็นการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค ขอประเดิมด้วย ผลทดสอบของฝากยอดนิยมจากภาคเหนือ อย่าง “น้ำพริกหนุ่ม” ซึ่งนิยมรับประทานคู่กับแคบหมู เพราะมีรสชาติที่ไม่เผ็ดมากนัก(ลำแต้ๆ เจ้า) และ “แกงไตปลาแห้ง” จากภาคใต้ที่ออกรสชาติเค็มและเผ็ดร้อน เหมาะรับประทานเคียงกับผัก(หรอยจังฮู้) โดยปัจจุบันน้ำพริกทั้งสองชนิดนี้ มักถูกวางจำหน่ายไปยังศูนย์โอทอปหรือศูนย์ของฝากทั่วประเทศ ทำให้ผู้ผลิตหลายรายนิยมใช้วัตถุกันเสีย หรือสารกันบูดมาช่วยถนอมอาหาร เพื่อทำให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น ซึ่งแม้กฎหมายไม่ได้ห้ามการใส่สารดังกล่าว แต่ก็กำหนดให้ใส่อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม คือ ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามเกณฑ์มาตรฐานของโคเด็กซ์ (CODEX) ที่กำหนดไว้ในหมวดอาหารประเภทน้ำพริกแบบแห้งและน้ำพริกแบบเปียก เพราะการใช้วัตถุกันเสียที่มากเกินไป สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคที่รับประทานเป็นประจำได้ เช่น ทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือเกิดการสะสมในร่างกายและก่อให้เกิดเป็นพิษเรื้อรังในอนาคต เครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำพริกหนุ่มพร้อมบริโภค จากจังหวัดต่างๆ แถบภาคเหนือ และเครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ สุ่มเก็บตัวอย่างแกงไตปลาแห้งพร้อมบริโภค จากจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ เป็นจำนวนภาคละ 10 ยี่ห้อ (เก็บตัวอย่างระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 61) ซึ่งมีการวางจำหน่ายตามท้องตลาดหรือร้านของฝากทั่วไป เพื่อทดสอบหาปริมาณสารกันบูด (กรดเบนโซอิกและซอร์บิก) โดยผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้น ไปดูกันเลยสรุปผลการทดสอบ - น้ำพริกหนุ่ม จากตัวอย่างน้ำพริกหนุ่มที่นำมาทดสอบทั้งหมด จำนวน 10 ยี่ห้อ พบว่า ทุกตัวอย่างมีสารกันบูดหรือกรดเบนโซอิกตกค้าง โดยมีน้ำพริกหนุ่ม 4 ยี่ห้อ ที่มีปริมาณกรดเบนโซอิกสูงเกินกว่าที่มาตรฐานโคเด็กซ์กำหนด คือ ไม่เกิน 1,000 มก./อาหาร 1 กก. ได้แก่1. แม่ถนอม มีปริมาณกรดเบนโซอิกมากที่สุด คือ 3476.46 มก./กก. 2. ป้านวย มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1195.06 มก./กก.3. ศุภลักษณ์(รสเผ็ดมาก) มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1122.06 มก./กก. และ4. น้ำพริก มารศรี(สูตรดั้งเดิม) มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1043.80 มก./กก. อีก 6 ตัวอย่าง ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน  ปลอดภัยในการบริโภค  โดยน้ำพริกหนุ่มยี่ห้อ เรือนไทยขนมไทย พบปริมาณกรดเบนโซอิกน้อยที่สุด คือ 217.73 มก./กก.สารกันบูด แกงไตปลาแห้งจากตัวอย่างแกงไตปลาแห้งที่นำมาทดสอบทั้งหมดจำนวน 10 ยี่ห้อ พบว่า- มี 3 ยี่ห้อ ที่ไม่พบสารกันบูดหรือกรดเบนโซอิกตกค้างเลย ได้แก่ 1. คุณแม่จู้ 2. วังรายา และ 3. วิน (Win) - มี 2 ยี่ห้อ พบกรดเบนโซอิก แต่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ แม่รุ่ง และ เจ๊น้อง - มี 5 ยี่ห้อ ที่พบสารกันบูด (กรดเบนโซอิก/ ซอร์บิก) ตกค้างเกินกว่าที่มาตรฐานโคเด็กซ์กำหนด คือพบได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มก./ อาหาร 1 กก. ได้แก่1. ป้าสุ มีปริมาณกรดเบนโซอิกและซอร์บิก คือ 1318.32 มก./กก. และ 978.88 มก./กก. ตามลำดับ 2. ชนิดา(CHANIDA) มีปริมาณกรดเบนโซอิก 2540.22 มก./กก.3. RICHMe by lalita มีปริมาณกรดเบนโซอิก 2429.64 มก./กก. 4. จันทร์เสวย มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1572.86 มก./กก.5. แม่จิตร มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1508.32 มก./กก.ยี่ห้อ ป้าสุ ซึ่งตรวจพบ ปริมาณกรดเบนโซอิก 1318.32 มก./กก. และกรดซอร์บิก 978.88 มก./กก. นั้น พบว่า มีผลรวมของสารกันบูด หรือกรดเบนโซอิกและซอร์บิกรวมกัน เท่ากับ 2.297.2 มก./กก. ซึ่งสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้  หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) “ข้อ 6 การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชื่อวัตถุเจือปนอาหาร หมวดอาหาร หรือชนิดอาหาร หน้าที่ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต และปริมาณสูงสุดที่อนุญาตที่กำหนดไว้ตามบัญชีหมายเลข 1 โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมตามบัญชีหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ การใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตเป็นตัวเลขในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง”ข้อสังเกตเรื่อง ฉลากอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 237) พ.ศ.2544 เรื่องการแสดงฉลากของอาหารพร้อมปรุง และอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคบริโภคทันที กำหนดให้อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคบริโภคทันที หมายถึง อาหารที่ผลิตเรียบร้อยพร้อมบริโภค ที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายได้ทันที ซึ่งต้องมีการแสดงฉลากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ.2543 เรื่องฉลาก ที่กำหนดให้ ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทย และมีข้อความแสดงรายละเอียดต่อไปนี้ (ยกเว้นอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที ซึ่งผู้ปรุงเป็นผู้จำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรง)1. ชื่ออาหาร 2. เลขสารบบอาหาร 3. ชื่อและที่ตั้งของสถานที่ผลิต หรือแบ่งบรรจุ หรือจัดจำหน่าย แล้วแต่กรณี 4. น้ำหนักสุทธิ 5. ส่วนประกอบที่สำคัญ 6. ข้อความว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” ถ้ามีการใช้ 7. ข้อความว่า “เจือสีธรรมชาติ” หรือ “เจือสีสังเคราะห์” ถ้ามีการใช้แล้วแต่กรณี 8. ข้อความว่า “ใช้...เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร” 9. ข้อความว่า “ใช้...เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล” 10. ข้อความว่า “แต่งกลิ่นธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นสังเคราะห์” “แต่งรสธรรมชาติ” หรือ “แต่งรสเลียนธรรมชาติ” ถ้ามีการใช้แล้วแต่กรณี 11.วันเดือนและปีที่หมดอายุ/ ผลิต 12. คำแนะนำในการเก็บรักษา (ถ้ามี)และจากตัวอย่างน้ำพริกหนุ่ม และแกงไตปลาแห้งที่นำมาทดสอบทั้งหมด พบว่า มีหลายตัวอย่างที่แสดงรายละเอียดบนฉลากไม่ครบถ้วน ซึ่งอาจขัดต่อกฎหมายดังกล่าวน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จโลหะหนัก ตะกั่ว แคดเมียม ในน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จปลาร้า เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่แทบขาดไม่ได้ในครัวคนอีสานหรือร้านอาหารอีสาน โดยเฉพาะส้มตำปลาร้า เมนูสุดแซ่บขวัญใจคนทุกภาค แต่ปลาร้านั้นหากไม่ทำให้สุกก่อนบริโภค ก็อาจก่อปัญหาด้านสุขภาพได้มาก โดยเฉพาะเรื่องพยาธิใบไม้ที่แฝงในตัวปลาหรือจุลินทรีย์ก่อโรคที่อาจส่งผลให้เสาะท้องได้ จึงมีการรณรงค์ในวงกว้างให้ใช้ปลาร้าสุกหรือทำปลาร้าให้สุกก่อนบริโภค ซึ่งก็ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา นั่นคือ น้ำปลาร้าปรุงสุกสำเร็จรูป ออกวางขายทั่วไป เรียกว่า ช่วยสร้างความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคได้อร่อยนัวกันอย่างวางใจ ซึ่งแหล่งผลิตใหญ่ก็ไม่พ้นภาคอีสาน และถือเป็นหนึ่งในของฝากที่มีชื่อเสียง ฉลาดซื้อ โดยโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงร่วมมือกับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จำนวน 12 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2561 เพื่อทดสอบหาปริมาณตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งเป็นโลหะหนักที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไปและมีโอกาสเข้าสู่ตัวปลาที่ใช้ในการทำน้ำปลาร้า ถือเป็นการเฝ้าระวังด้านอาหารเพื่อสร้างความมั่นใจในการบริโภค และเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จเป็นของฝากยามเยือนถิ่นอีสานน้ำปลาร้า หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักปลากับเกลือ เติมข้าวคั่วที่บดละเอียด รำข้าว หรือรำข้าวคั่วในอัตราส่วนที่เหมาะสม ก่อนหรือหลังการหมักปลากับเกลือ เพื่อให้ได้กลิ่นรสตามธรรมชาติของปลาร้านำมากรอง ให้ความร้อนก่อนบรรจุ หรือได้จากการนำปลาร้าดิบมาต้มกับนํ้า อาจเติมเกลือ สมุนไพร แล้วกรอง อาจเติมเครื่องปรุงรส เช่น น้ำตาล น้ำมะขาม น้ำกระเทียมดอง และให้ความร้อนก่อนบรรจุที่มา มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช.1346/2557ผลทดสอบผลทดสอบตะกั่ว น้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัมส่วนผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ฉบับที่ 98 จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้า ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คือ แคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช.มาตรฐานตะกั่วและแคดเมียมในอาหารประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ.2529 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน  กำหนดให้ตรวจพบตะกั่วไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนแคดเมียมไม่มีการกำหนดมาตรฐานไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 แต่อาจพิจารณาเทียบเคียงจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้า (มผช. 1346/2557) ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดไว้ว่า สารปนเปื้อนแคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  ขณะที่ Codex (Codex Standard 193-1995) กำหนดไว้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัมในสัตว์น้ำ (Marine bivalve molluscs) และสหภาพยุโรป (EC) No 1881/2006 กำหนดค่ามาตรฐานแคดเมียมในเนื้อปลาไว้ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(0.05 ppm.)  แต่ทั้งนี้ก็มีการแยกย่อยไปตามชนิดของปลาด้วย ตะกั่ว แคดเมียม อยู่ในน้ำปลาร้าได้อย่างไร โลหะหนักถูกใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมหลายชนิด แต่ที่หลุดรอดออกสู่แหล่งดิน น้ำธรรมชาติ และถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานอาหารส่วนใหญ่ คือ ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม เนื่องจากมีพิษรุนแรง การปนเปื้อนเข้าสู่แหล่งน้ำ ก็มีความเสี่ยงที่โลหะหนักจะสะสมในตัวสัตว์น้ำอย่างปลา ที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำปลาร้า และโลหะหนักไม่อาจทำลายได้ด้วยความร้อน จึงสามารถพบได้ในอาหารที่ผลิตออกจำหน่าย  โรตีสายไหม โรตีสายไหม ของฝากออเจ้า จากกรุงเก่าอยุธยาหากได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากการแวะไปไหว้พระทำบุญในวัดสำคัญ และเยี่ยมชมโบราณสถานที่งดงามในจังหวัดแล้ว คงไม่พลาดต้องซื้อของฝากชื่อดังอยุธยาอย่าง “โรตีสายไหม” หนึ่งในของดีภาคกลางติดไม้ติดมือกลับบ้านไปฝากคนรู้จักรู้ใจอย่างแน่นอน เพราะรสสัมผัสของแผ่นแป้งโรตีที่ละมุนนุ่มลิ้น กับกลิ่นหอมหวานของสายไหมสีสดใส เมื่อได้ชิมชิ้นแรก ก็คงห้ามใจ ไม่ให้หยิบชิ้นต่อไปคงไม่ได้“ขนมโรตีสายไหม” มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนของแป้ง และส่วนของเส้นสายไหม แป้งโรตีประกอบไปด้วย แป้งสาลี น้ำ และเกลือ ส่วนของสายไหม มีส่วนผสมของน้ำตาล น้ำมันมะพร้าว และแป้งสาลี ซึ่งขนมที่มีส่วนประกอบของแป้ง อาจต้องใช้สารกันบูด กันรา เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ไม่ให้บูดเสียเร็วหรือขึ้นราได้ง่าย และอาจมีการใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์ในแผ่นแป้ง และสายไหม เพื่อสร้างสีสันให้กับแผ่นแป้ง และเส้นสายไหม ให้สดใสดึงดูดใจคนกิน ฉลาดซื้อ ร่วมกับตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง จึงอยากเชิญชวนผู้บริโภค มาลองดูกันว่า เมื่อสุ่มเก็บตัวอย่าง โรตีสายไหม ในแบบฉบับที่ผู้บริโภคซื้อกันแล้ว เราพบอะไรบ้างที่น่าสนใจว่ากันว่าโรตีสายไหม ที่โด่งดังของอยุธยานั้น เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม มีต้นกำเนิดมาจากการรังสรรค์ของนายบังเปีย แสงอรุณ และครอบครัว ที่ได้คิดค้นขึ้น เมื่อครั้งไปทำงานอยู่ที่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ก่อนจะเดินทางกลับมาประกอบอาชีพที่บ้านเกิดอยุธยาหากเอ่ยถึงตลาดขายโรตีเจ้าดัง คงต้องตรงดิ่งไปที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ไม่ได้พาไปหาหมอหายา แต่ว่าร้านโรตีเจ้าอร่อย เขามารวมตัวกันอยู่ที่นี่ แถวเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา แต่ถ้าใครไม่ได้ผ่านไปแถวนั้น ก็ไม่ต้องเสียใจ ยังมีเส้นทางโรตีสายไหม ที่จอดรถซื้อข้างทางได้ เช่น ถนนบางไทร - บางปะหัน, ถนนอยุธยา - บางปะอิน, ถนนเลี่ยงเมืองสุพรรณ รวมไปถึงถนนสายเอเชียผลทดสอบโรตีสายไหม โรตีสายไหมที่นำมาทดสอบ จำนวน 10 ตัวอย่าง ได้จากการสุ่มซื้อโดยเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง จากร้านโรตีสายไหม 10 แห่ง ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ในส่วนของแผ่นแป้งโรตี ฉลาดซื้อเลือกทดสอบวัตถุกันเสีย จำนวน 3 ชนิด ที่อาจถูกใช้เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ได้แก่ กรดซอร์บิก กรดเบนโซอิก และกรดโพรพิโอนิก รวมทั้งทดสอบหาสีสังเคราะห์ในแผ่นแป้งด้วย สำหรับสายไหม เลือกทดสอบเฉพาะสีสังเคราะห์ ผลการทดสอบพบว่า• แผ่นแป้งโรตี  ตรวจพบกรดเบนโซอิก(Benzoic Acid) เกินมาตรฐาน (1,000 มก./กก.)   จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่  1) โรตีสายไหม ร้านศิลัคข บังอารีย์ แสงอารุณ เจ้าเก่า ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1910.45  มก./กก.2) ร้านแม่ชูศรี ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1894.05  มก./กก. 3) ร้านเรือนไทย ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1502.32  มก./กก.4) ร้านเอกชัย (B.AEK) ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1147.95  มก./กก.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 381 พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) สำหรับอาหารประเภทธัญชาติและผลิตภัณฑ์ธัญชาติ กำหนดปริมาณกรดเบนโซอิก ไม่เกิน 1,000 มก./อาหาร 1 กก. อีก 6 ตัวอย่างตรวจพบ กรดเบนโซอิก แต่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยไม่เกินมาตรฐาน(เรียงลำดับจากน้อยที่สุดไปมากที่สุด ได้แก่1) ร้านอาบีดีน+ประนอม แสงอรุณ  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  23.96 มก./กก. 2) ร้านวริศรา โรตีสายไหม  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  671.45 มก./กก. 3) ร้านโรตีสายไหมบังแป๊ะ  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  686.56 มก./กก. 4) ร้านโรตีสายไหม ไคโร น้องชายบังอิมรอน  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  708.64 มก./กก. 5) ร้านจ๊ะโอ๋  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  887.62 มก./กก. 6) ร้านประวีร์วัณณ์  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  985.84 มก./กก.ด้านสีสังเคราะห์ พบในแผ่นแป้งโรตีทุกตัวอย่างแต่ไม่เกินมาตรฐาน  อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ร้านเอกชัย (B.AEK) ซึ่งตรวจพบสีสังเคราะห์ กลุ่มสีเหลือง คือ ตาร์ตราซีน ปริมาณ  49.82 มก./กก. และกลุ่มสีน้ำเงิน คือ บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ ปริมาณ  5.94 มก./กก. เมื่อคำนวณแล้วพบว่า ผลรวมสัดส่วนของสีสังเคราะห์ทั้งสองชนิดที่ตรวจพบ เท่ากับ 1.036 ถือว่าเกินเกณฑ์มาตรฐานไปเล็กน้อย เพราะตามกฎหมายระบุว่า เมื่อนำมาคำนวณร่วมกันแล้ว ต้องไม่เกิน 1 (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381 ข้อ 6 ) สำหรับกรดซอร์บิกและกรดโพรพิโอนิกตรวจไม่พบในทุกตัวอย่าง  •สายไหม  ตรวจพบสีสังเคราะห์ทุกตัวอย่าง แต่ไม่เกินมาตรฐาน โดยสีสังเคราะห์ที่ตรวจพบในแผ่นแป้งและสายไหม อยู่ในกลุ่มสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ได้แก่ คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน INS122, ตาร์ตราซีน INS102 และบริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ INS133มาตรฐานการใช้ปริมาณวัตถุกันเสียและสีสังเคราะห์ สารกันบูด สารกันรา และสีสังเคราะห์ จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข  (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4)  ที่มีข้อกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ ตามหมวดอาหารแต่ละประเภทเอาไว้ ซึ่งแผ่นแป้งโรตีเทียบได้กับอาหารประเภทธัญชาติและผลิตภัณฑ์ธัญชาติ ส่วนสายไหมนั้นเทียบได้กับอาหารในหมวดลูกกวาด ลูกอม ช็อกโกแลตปริมาณกรดเบนโซอิกที่อนุญาตให้พบได้ในส่วนของ แผ่นแป้งโรตี แผ่นแป้งโรตี เทียบได้ในหมวดอาหารกลุ่มขนมหวานที่มีธัญชาติและสตาร์ชเป็นส่วนประกอบหลัก ตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) อนุญาตให้ใช้ปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุดได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนสีสังเคราะห์ในกลุ่มสีแดง ได้แก่ คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine) INS 122 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 50 มก./กก., ในกลุ่มสีเหลือง ได้แก่ ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 50 มก./กก. และในกลุ่มสีน้ำเงิน ได้แก่ บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF) INS 133 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 150 มก./กก.ปริมาณสีสังเคราะห์อาหารที่อนุญาตให้พบได้ในส่วนของ สายไหม สายไหม อาจเทียบได้ในหมวดอาหารกลุ่มลูกกวาด นูกัตและมาร์ซิแพน ตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) อนุญาตให้ใช้สีสังเคราะห์ ในกลุ่มสีเหลือง ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 และในกลุ่มสีน้ำเงิน บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF) INS 133 ได้ในปริมาณไม่เกิน 300 มก./กก. ทั้งนี้ หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) “ข้อ 6 การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชื่อวัตถุเจือปนอาหาร หมวดอาหาร หรือชนิดอาหาร หน้าที่ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต และปริมาณสูงสุดที่อนุญาตที่กำหนดไว้ตามบัญชีหมายเลข 1 โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมตามบัญชีหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ การใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตเป็นตัวเลขในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง”รู้จักสารกันบูด และ สารกันรา สารกันบูด และสารกันราที่ฉลาดซื้อเลือกสุ่มตรวจ ได้แก่ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) INS 200, กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) INS 210 และ กรดโพรพิโอนิก (Propionic Acid) INS 280 ซึ่งสารกันเสียแต่ละตัวเป็นวัตถุเจือปนอาหารที่มีลักษณะและวัตถุประสงค์การใช้ในอาหาร ดังนี้ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) INS 200* เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ที่อยู่ในกลุ่มซอร์เบต (sorbate) ที่ใช้เป็นสารกันเสีย (preservative) มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ใช้ป้องกันการเจริญเติบโตของยีสต์ รา และเเบคทีเรีย โดยไม่มีผลต่อกลิ่นและรสชาติของอาหาร กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) INS 210* เป็นกรดอ่อนในอาหาร เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อใช้เป็นสารกันเสีย มีลักษณะเป็นผงผลึกหรือเกล็ดสีขาว มีคุณสมบัติสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ กรดโพรพิโอนิก (Propionic Acid) INS 280* เป็นกรดอินทรีย์ที่พบในอาหารที่เกิดจากการหมัก เป็นวัตถุเจือปนอาหาร มีหน้าที่เป็นสารกันเสีย และใช้เป็นสารกันราในอาหาร(ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.foodnetworksolution.com)หมายเหตุ: *INS (International Numbering System) คือ ระบบเลขหมายสากลสำหรับวัตถุเจือปนอาหารสีสังเคราะห์ที่ใช้ในอาหารสีผสมอาหารสังเคราะห์ หมายถึง สีที่เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากการสังเคราะห์ ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร จัดอยู่ในกลุ่มสีผสมอาหาร สีสังเคราะห์มีราคาถูกกว่าสีธรรมชาติ อีกทั้งยังสะดวกต่อการเลือกใช้ ผู้ประกอบการจึงมักนิยมใช้สีสังเคราะห์ในอาหารมากกว่าสีธรรมชาติ ทั้งที่สีธรรมชาติมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากกว่า ซึ่งสีสังเคราะห์ สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่างๆ ได้แก่ กลุ่มสีแดง, กลุ่มสีเหลือง, กลุ่มสีเขียว และกลุ่มสีน้ำเงินกลุ่มสีแดง มี 3 สี ได้แก่ ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau 4 R), คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine) และ เออริโทรซีน (Erythrosine)กลุ่มสีเหลือง มี 3 สี ได้แก่ ตาร์ตราซีน (Tartrazine), ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอฟซีเอฟ (Sunset Yellow FCF) และ ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)กลุ่มสีเขียว มีสีเดียว ได้แก่ ฟาสต์ กรีน เอฟซีเอฟ (Fast Green FCF)และกลุ่มสีน้ำเงิน มี 2 สี ได้แก่ อินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกติน (Indigocamine or Indigotine) และบริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 ไขมันทรานส์ ในเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง

ตามที่สัญญากันไว้ว่าเราจะกลับมาพบกันอีกครั้ง กับผลการทดสอบไขมันทรานส์ในเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง หลังจากเล่มที่ผ่านมาเราได้เสนอผลการตรวจสอบ ปริมาณพลังงานและน้ำตาลในเครื่องดื่มดังกล่าวไปแล้ว ไขมันทรานส์(Trans fat) หรือกรดไขมันทรานส์(Trans Fatty acid) เป็นกรดไขมันชนิดหนึ่งที่เกิดจากกระบวนการแปรรูป พบมากในการผลิตอาหารจำพวกขนมอบ เบเกอรี่ที่มีมาการีน/เนยขาว อาหารทอดหรือครีมเทียม เพราะสามารถทำให้อาหารเก็บได้นาน ทนความร้อน ไม่มีกลิ่นหืนและต้นทุนการผลิตต่ำอย่างไรก็ตามไขมันทรานส์กลับเป็นสิ่งที่ทั่วโลกต่างเฝ้าระวัง เพราะสามารถส่งผลร้ายเช่นเดียวกับกรดไขมันอิ่มตัว โดยทำให้ระดับโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี(LDL: low-density lipoprotein) เพิ่มสูงขึ้น และลดระดับโคเลสเตอรอลชนิดดี(HDL: high-density lipoprotein) ในเลือดลง ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งยังเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ จอประสาทตาเสื่อม โรคนิ่วในถุงน้ำดีและการอักเสบ อันเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคติดต่อไม่เรื้อรังทั้งหลายดังนั้นหลายประเทศจึงออกกฎหมายกำกับปริมาณไขมันทรานส์ในอาหาร เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(USFDA) กำหนดให้อาหารทุกประเภทที่วางจำหน่ายและมีส่วนประกอบของกรดไขมันดังกล่าว ต้องระบุการใช้กรดไขมันทรานส์ไว้บนฉลากโภชนาการ รวมทั้งต้องมีปริมาณไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ทั้งนี้ภายหลังก็ได้ออกกฎหมายใหม่ให้เข้มงวดขึ้น โดยควบคุมการผลิตอาหารให้มีไขมันทรานส์เป็น 0% หรือห้ามไม่ให้มีไขมันทรานส์ในอาหารอีกเลย(หลังวันที่ 16 มิถุนายน 2561) เนื่องจากตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงข้างต้น ซึ่งถือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับแรกๆ ของประชากรโลก องค์การอาหารและยา(อย.) บ้านเราตระหนักในผลร้ายของไขมันทรานส์เช่นกัน โดยล่าสุดทาง อย. ได้ออกประกาศว่ากำลังอยู่ในระหว่างการยกร่างกฎหมาย ที่ห้ามนำส่วนประกอบอาหารที่มีไขมันทรานส์มาผลิตอาหาร หรือห้ามเติมสารไฮโดรเจนลงไปในกระบวนการผลิตน้ำมัน โดยคาดว่าจะสามารถใช้กฎหมายดังกล่าวได้ภายในเดือนเมษายน 2561 (ที่มา https://www.prachachat.net/economy/news-90978)ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงอาสาช่วยตรวจสอบปริมาณไขมันทรานส์ในเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง 15 ยี่ห้อ 22 ตัวอย่าง โดยอ้างอิงตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่แนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคกรดไขมันทรานส์ คือ ไม่ควรบริโภคเกินกว่า 2.2 กรัม/วัน หรือควรพบความเข้มข้นสูงสุดไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ซึ่งผลการทดสอบจะเป็นอย่างไร เราลองไปดูกันผลการทดสอบไขมันทรานส์ในทั้ง 15 ยี่ห้อ 22 ตัวอย่างที่สุ่มตรวจพบว่า มีปริมาณกรดไขมันทรานส์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่างไรก็ตามมีเพียง 1 ยี่ห้อที่มีปริมาณกรดไขมันดังกล่าวสูง คือ เครื่องดื่มข้าวกล้องงอก ผสมธัญพืช 7 ชนิด สูตรไม่ผสมน้ำตาล ยี่ห้อ โกเด้นท์ มีปริมาณไขมันทรานส์มากที่สุดคือ 2.43 กรัม/ 100 กรัม(0.7 ต่อหน่วยบริโภค)  ส่วนตัวอย่างที่เหลือพบว่ามีไขมันทรานส์อยู่ในปริมาณน้อย ซึ่งอาจพบได้ในธรรมชาติและไม่เกินคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก  ตารางแสดงผลการทดสอบอย.เตรียมประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์น.ส.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า อย.ได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. …. เรื่องกำหนดวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร (ฉบับที่ 3) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 (1) และมาตรา 6 (5) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 โดยให้เพิ่มความลงในข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) เรื่องกำหนดวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ในข้อ 2.13 “ห้ามใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (ไขมันทรานส์) “ยกเว้น” การใช้ในการผลิตอาหารเพื่อการส่งออก”การออกประกาศฉบับดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า “ไขมันทรานส์ (trans fatty acids)” จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (partially hydrogenated oil) จะเพิ่ม “ความเสี่ยง” ของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น อย.จึงได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าวขึ้น โดยขณะนี้ตัวร่างอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ โรงงานผลิตวัตถุดิบอาหาร, โรงงานผลิตน้ำมันพืช, โรงงานผลิตนม-เนย-เบเกอรี่ และโดนัท ฯลฯ ที่ใช้กระบวนการผลิตที่มีไขมันทรานส์เกิดขึ้น“เราเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของสำนักอาหาร อย. รวมถึงการส่งหนังสือไปยังองค์การการค้าโลก (WTO) ด้วย และให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่งความคิดเห็นกลับมายัง อย. ภายในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ หลังจากนั้น อย.จะรวบรวมความคิดเห็นทั้งหมดสรุปเสนอคณะกรรมการอาหาร ที่มีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน หากความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน อย.จะเร่งประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา” น.ส.ทิพย์วรรณกล่าวที่มา https://www.prachachat.net/economy/news-90978**อัพเดท**เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ระบุว่า โดยปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (8) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ข้อ 1 ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2561ปิยะสกล สกลสัตยาทรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 203 พลังงานและน้ำตาลในเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง

เชื่อว่าหลายคนนิยมรับประทานเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง ซึ่งมีหลากหลายประเภทให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็นนมถั่วเหลือง โกโก้ ช็อกโกแล็ต ชานม หรือไมโล โอวันติน เนื่องจากเครื่องดื่มเหล่านี้มักมาในรูปแบบทรีอินวัน ทำให้มีรสชาติที่กลมกล่อม และเพียงแค่เราฉีกซองเติมน้ำร้อนก็สามารถรับประทานได้ทันที นอกจากนี้ยังสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานอีกด้วย อย่างไรก็ตามด้วยรสชาติที่อร่อย พร้อมขนาดซองที่ไม่ใหญ่มากนักของเครื่องดื่มประเภทนี้ อาจทำให้ผู้บริโภคหลายคนอร่อยเพลิน จนลืมตรวจสอบปริมาณพลังงานและน้ำตาลที่เราจะได้รับ ซึ่งแน่นอนว่าหากเราได้รับพลังงานและน้ำตาลสูงเกินกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน สามารถส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานจากการได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม/วัน หรือโรคหัวใจจากการได้รับไขมันไม่ดีสะสม รวมทั้งโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้นฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสาตรวจสอบน้ำตาลและพลังงานในเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง จาก 15 ยี่ห้อยอดนิยมจำนวน 22 ตัวอย่าง รวมทั้งทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ ซึ่งจะแสดงผลในเล่มถัดไป สรุปผลการสำรวจฉลากจากตัวอย่างเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผงที่นำมาทดสอบทั้งหมด 15 ยี่ห้อ จำนวน 22 ตัวอย่าง พบว่า 1. มี 1 ตัวอย่าง ไม่มีฉลากโภชนาการคือ มัช ชานมปรุงสำเร็จชนิดผง 2. ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุด คือ ซองเดอร์ เครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูปผสมงาดำ รสจืด มีปริมาณน้ำตาล 0 กรัม/หน่วยบริโภค ในขณะที่ยี่ห้อที่ให้ปริมาณน้ำตาลมากที่สุดคือ เอ็ก ซอง ชาปรุงสำเร็จ รสนม ชนิดซอง ปริมาณน้ำตาล 22 กรัม/หน่วยบริโภค3. ยี่ห้อที่ให้พลังงานน้อยที่สุดคือ ซุปเปอร์ ชานมปรุงสำเร็จ ให้พลังงาน 70 กิโลแคลอรี่/หน่วยบริโภค ในขณะที่ยี่ห้อที่ให้พลังงานมากที่สุดคือ เอ็ก ซอง ชาปรุงสำเร็จ รสนม ชนิดซอง ให้พลังงาน 190 กิโลแคลอรี่/หน่วยบริโภค4. นอกจากนี้ยังพบว่ามี 1 ยี่ห้อที่ไม่มีเลขสารบบอาหารคือ Royal Myanmar Teamix ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ซื้อจากห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน (กูร์เมต์ มาร์เก็ต)ข้อสังเกต- การแสดงฉลากอาหารจากตัวอย่างที่นำมาทดสอบทั้งหมดพบว่า 1 ตัวอย่างที่ไม่มีเลขสารบบอาหาร อาจเข้าข่ายผิดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ.2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ ที่กำหนดไว้ว่า การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุที่ผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือที่จำหน่าย ต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทย และอย่างน้อยจะต้องมีข้อความแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (เว้นแต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะยกเว้นให้ไม่ต้องระบุข้อความหนึ่งข้อความใด) 1.ชื่ออาหาร 2.เลขสารบบอาหาร 3.ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต หรือผู้แบ่งบรรจุหรือผู้นำเข้าหรือสำนักงานใหญ่ (แล้วแต่กรณี) 4.ปริมาณของอาหาร 5.ส่วนประกอบที่สำคัญ 6.คำเตือน/ ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร 7.ชื่อวัตถุเจือปนอาหาร (ถ้ามี) 8.ข้อความ “แต่งกลิ่นธรรมชาติ/ สังเคราะห์” (ถ้ามี) และ 9.แสดงวันเดือนปี ผลิต/หมดอายุนอกจากนี้ตัวอย่างที่ไม่มีฉลากโภชนาการหรือไม่ระบุฉลากโภชนาการภาษาไทย อาจสร้างความสับสนให้ผู้บริโภคบางส่วนได้ เนื่องจากฉลากโภชนาการมีความสำคัญในแง่ของของการให้ข้อมูลและความรู้ ด้านคุณค่าทางโภชนาการอาหารกับผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อเป็นทางเลือกในการบริโภคอาหารในแต่ละวันให้เหมาะสมกับที่ร่างกายต้องการตารางแสดงผลการสำรวจฉลากภาษีน้ำตาล ปัจจุบันตลาดเครื่องดื่มในไทยมีมูลค่าปีละไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งปัจจัยหลักของการเติบโตนี้มาจากการขายเครื่องดื่มที่มีรสหวาน แม้ว่าภาครัฐจะมีการเพิ่มอัตราภาษีน้ำตาลจากร้อยละ 6.9 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 8.9 ในปี 2557 แต่ก็ยังสวนทางกับจำนวนคนเป็นโรคอ้วนที่มีมากขึ้นจากร้อยละ 34.7 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 37.5 ในปี 2557 ดังนั้นรัฐจึงได้มีการเพิ่มภาษีน้ำตาลในอาหารชนิดต่างๆ ในปี 2560 ที่ผ่านมา โดยหวังให้เป็นมาตรการหนึ่ง ในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของผู้บริโภคให้หันมาลดการทานหวาน มัน เค็ม  โครงสร้างการจัดเก็บค่าความหวานนั้น จะแบ่งออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ค่าความหวาน 0-6 กรัมต่อ 100 มล. ไม่ต้องเสียภาษี ค่าความหวาน 6-8 กรัมต่อ 100 มล. เสียภาษี 10 สตางค์ต่อลิตร ค่าความหวาน  8-10 กรัมต่อ 100 มล. เสียภาษี 30 สตางค์ต่อลิตร ค่าความหวาน 10-14  กรัมต่อ 100 มล. เสียภาษี 50 สตางค์ต่อลิตร ค่าความหวาน 14-18 กรัมต่อ 100 มล. เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร และค่าความหวาน 18 กรัมต่อ 100 มล.ขึ้นไป เสียภาษี 1 บาทต่อลิตร โดยให้เวลาภาคเอกชนในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มปรับตัวเป็นระยะเวลา 2 ปี ก่อนจะเริ่มเก็บจริงในวันที่ 1 ต.ค. 2562

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับ 203 อะฟลาทอกซินเอ็มวัน ในนมรสธรรมชาติและนมโรงเรียน

โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพอะฟลาทอกซินเอ็มวันในนมรสธรรมชาติและนมโรงเรียน นมโคเป็นอาหารที่มีสารอาหารเกือบครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะโปรตีนและแคลเซียมในนมนั้นมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่ร่างกายเสื่อมไป จึงเหมาะเป็นอาหารสำหรับคนทุกวัย การบริโภคนมของไทยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 18 ลิตร/คน/ปี โดยในปี 2559 มีมูลค่าการตลาดประมาณ 60,000 ล้านบาท เนื่องจากนมเป็นแหล่งอาหารที่ดีจึงมีการส่งเสริมให้เด็กไทยได้ดื่มนมฟรีหรือที่เรียกว่า นมโรงเรียนด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังในเรื่องความปลอดภัยในอาหารที่มีคนเป็นจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้อง ฉลาดซื้อและโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จึงอาสาสอดส่องเรื่องของนม โดยลำดับแรกเป็นเรื่องของการทดสอบหาปริมาณสารพิษจากเชื้อรา อะฟลาทอกซิน เอ็ม 1 (อะฟลาทอกซิน ชนิด บี 1 ถ้าอยู่ในน้ำนมจะเรียกว่า อะฟลาทอกซิน เอ็ม 1) ซึ่งเป็นสารพิษธรรมชาติชนิดร้ายแรงต่อมนุษย์ ซึ่งแม้ได้รับในปริมาณน้อยก็ทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้ การเก็บตัวอย่างครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจาก 6 ภูมิภาครวมทั้งอาสาสมัครผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ ช่วยเก็บตัวอย่างนมโรงเรียนจำนวนรวมทั้งสิ้น 14 ตัวอย่าง และทีมฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่างนมรสธรรมชาติทุกประเภทจากห้างค้าปลีกและร้านสะดวกซื้ออีกจำนวน 13 ตัวอย่าง รวมเป็นจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 27 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบหาปริมาณอะฟลาทอกซินเอ็ม 1 การทดสอบใช้ห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน โดยค่าต่ำสุดที่สามารถระบุได้คือ 0.03 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ผลทดสอบทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลทดสอบพบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้งของไทย และโคเด็กซ์(CODEX) โดยเกณฑ์มาตรฐานของไทยนั้นยังไม่มีการระบุเฉพาะเจาะจงของค่าปริมาณอะฟลาทอกซินเอ็ม 1 ในน้ำนม จึงใช้อิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ.2529 ที่กำหนดให้มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินได้ไม่เกิน 20 พีพีบี (20  ส่วนในพันล้านส่วน) หรือ 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนมาตรฐานของ USFDA และ CODEX กำหนดไว้อย่างชัดเจนเรื่อง ปริมาณอะฟลาทอกซิน เอ็ม 1 ในน้ำนม ต้องไม่เกิน 0.5 ไมโครกรัม/กิโลกรัม จากตัวอย่างจำนวน 27 ตัวอย่างนั้น ตรวจพบอะฟลาทอกซินเอ็ม 1 ในช่วง น้อยกว่า 0.03-0.08 ไมโครกรัม/กิโลกรัม การตรวจพบในปริมาณที่น้อยนี้นับว่าเป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 สารกันบูดในขนมปังไส้สังขยาและไส้เผือก

ผลทดสอบ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพสารกันบูดในขนมปังไส้สังขยาและไส้เผือก“ขนมปัง” นั้น ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความที่เป็นเมนูที่หารับประทานได้ง่าย ซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป อีกทั้งราคาไม่แพงและแถมสะดวกในการพกพาไว้รับประทานระหว่างเดินทางอีกด้วย จึงเป็นทางเลือกที่ทดแทนอาหารหนึ่งมื้อได้เลยทีเดียว  ซึ่งชนิดของขนมปังที่พบได้มากที่สุดตามร้านค้าร้านสะดวกซื้อต่างๆ ก็คือ ขนมปังพร้อมทาน(Snack Bread)  หรือขนมปังที่มีปริมาณบรรจุต่อ 1 ซอง เหมาะสมพอดีต่อการรับประทาน 1 ครั้ง ขนมปังพร้อมทานมีหลายรูปแบบหลายรสชาติ แต่ที่น่าจะได้รับความนิยมมากที่สุดคงหนีไม่พ้น ขนมปังสอดไส้หวาน เช่น ไส้ครีม ครีมสังขยา ช็อกโกแลต  ตลอดจนแยมผลไม้ต่างๆ ฉลาดซื้อฉบับนี้ จึงขอนำเสนอผลวิเคราะห์ปริมาณ “สารกันบูด” ในขนมปังไส้หวาน โดยเราเลือกวิเคราะห์ขนมปังไส้หวาน 2 รสชาติแบบไทยๆ อย่าง ไส้สังขยาและไส้เผือก ซึ่งหลายๆ คนน่าจะชื่นชอบ จำนวน 19 ตัวอย่าง เราลองไปดูกันสิว่า ขนมปังไส้สังขยาและไส้เผือกที่เราเคยรับประทาน หรือบางคนอาจจะรับประทานเป็นมื้อเช้าแทบจะทุกวันมีปริมาณของสารกันบูดมาก-น้อยแค่ไหนกันบ้าง นอกจากนี้เรายังสุ่มทดสอบไส้สังขยาและไส้เผือกสำเร็จรูปที่เป็นวัตถุดิบในการทำขนมปังและเบเกอรี่ต่างๆ อีก 8 ตัวอย่างจากร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการทำขนมอบ เบเกอรี่ เพื่อให้รู้ชัดกันไปเลยว่าขนมปังหรือไส้ อันไหนที่มีสารกันบูดมากกว่ากันหมายเหตุ สารกันเสียที่ระบุบนฉลากอาหารINS 202 (โพแทสเซียมซอร์เบต) กลุ่มซอร์เบตINS 210 (กรดเบนโซอิก) กลุ่มเบนโซเอตINS 211 (โซเดียมเบนโซเอต) กลุ่มเบนโซเอตINS  282 (แคลเซียมโพรพิโอเนต) กลุ่มโพรพิโอเนตผลทดสอบการวิเคราะห์หาปริมาณสารกันบูดในขนมปังใส่ไส้ครั้งนี้ เราเลือกทดสอบสาร 2 ตัว คือ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ซึ่งเป็นสารกันบูดที่นิยมใช้ในอาหาร และมีการกำหนดค่ามาตรฐานไว้ (ส่วนสารแคลเซียมโพรพิโอเนต INS 282 ที่พบในหลายผลิตภัณฑ์ ไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐาน ระบุเพียงว่า ปริมาณที่เหมาะสม จึงไม่ได้ทดสอบ) ส่วนตัวอย่างขนมปังสอดไส้ที่ฉลาดซื้อสุ่มนำมาทดสอบครั้งนี้ มีทั้งตัวอย่างที่วางจำหน่ายอยู่ในร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรพพสินค้าทั่วไป รวมทั้งตัวอย่างจากร้านขนมปังสอดไส้เจ้าดัง ที่คนชอบทานขนมปังสอดไส้ต่างๆ น่าจะรู้จักกันดี รวมแล้วทั้งหมด 14 ยี่ห้อ 19 ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ที่ได้พบว่า •ขนมปังไส้สังขยา 11 ตัวอย่าง และขนมปังไส้เผือก 8 ตัวอย่าง รวมทั้งหมด 19 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนของสารกันเสีย กรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิก ทุกตัวอย่าง •ข่าวดี ทุกตัวอย่างพบในปริมาณที่อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดย 3 ตัวอย่างที่พบปริมาณ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก รวมกันน้อยที่สุด คือ1. ยี่ห้อ UFM ขนมปังไส้เผือก พบกรดเบนโซอิก 15.23 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม (มก./กก.) หรือถ้าคิดเฉลี่ยต่อ 1 ชิ้น ที่น้ำหนัก 100 กรัม จะเท่ากับ 1.53 มิลลิกรัม ส่วนกรดซอร์บิก ไม่พบ2. ยี่ห้อ กาโตว์ เฮาส์ ขนมปังไส้เผือก พบกรดเบนโซอิก 15.87 มก./กก. หรือคิดเฉลี่ยต่อ 1 ชิ้น ที่น้ำหนัก 90 ก. จะเท่ากับ 1.42 มก.3.ขนมปังเจ้าดังจากเยาวราช ไส้สังขยา พบกรดเบนโซอิก 15.38 มก./กก. และกรดซอร์บิก 5.54 มก./กก. หรือคิดเฉลี่ยต่อ 1 ชิ้น ที่น้ำหนัก 87 ก. จะเท่ากับกรดเบนโซอิก 1.33 มก. และกรดซอร์บิก 0.48 มก./กก. •ตัวอย่างที่พบปริมาณสารกันเสีย เบนโซอิกและซอร์บิก ร่วมกันสูงที่สุดคือ ยี่ห้อ Victory ขนมปังไส้สังขยา พบกรดเบนโซอิก 389.01  มก./กก.และกรดซอร์บิก น้อยกว่า 1.50 มก./กก.ข้อสังเกตจากการวิเคราะห์ตัวอย่าง•ตัวอย่างขนมปังไส้สังขยา พบปริมาณสารกันเสีย เบนโซอิกและซอร์บิก มากกว่าตัวอย่างขนมปังไส้เผือก•ตัวอย่างขนมปังไส้สังขยาจากร้านวังหลังเบเกอรี่ พบว่ามีทั้งกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก แต่ถุงใส่ขนมปังของร้าน ซึ่งเป็นแบบทำสดขายวันต่อวัน มีข้อความว่าไม่ใส่วัตถุกันเสีย ปริมาณสารกันบูดที่อนุญาตให้พบได้ในขนมปังประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) อนุญาตให้มีการใช้สารกันเสีย กรดเบนโซอิก ในผลิตภัณฑ์กลุ่มขนมอบที่มีการปรุงแต่งรสชาติ และส่วนผสมสำเร็จรูป ได้สูงสุดไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก สามารถพบในอาหารในกลุ่มเดียวกันได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัมหากมีการใช้ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) “ข้อ 6 การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชื่อวัตถุเจือปนอาหาร หมวดอาหาร หรือชนิดอาหาร หน้าที่ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต และปริมาณสูงสุดที่อนุญาตที่กำหนดไว้ตามบัญชีหมายเลข 1 โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมตามบัญชีหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ การใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตเป็นตัวเลขในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง”ตามเกณฑ์ดังกล่าวนี้ ฉลาดซื้อคำนวณแล้ว พบว่า ไม่มีตัวอย่างใดเกินค่ามาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด ตารางผลการวิเคราะห์กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกใน ไส้สังขยาและไส้เผือกสำเร็จรูปข้อสังเกตจากการวิเคราะห์ตัวอย่าง•ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) ไม่ได้มีการกำหนดเรื่องการใช้กรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิก ในไส้สังขยาและไส้เผือกสำเร็จรูป ที่ดูแล้วพอจะสามารถอ้างอิงได้ใกล้เคียงที่สุด น่าจะเป็นกลุ่มไส้ขนมที่ทำจากผลไม้ ซึ่งในประกาศฯกำหนดปริมาณของกรดเบนโซอิก ไว้ที่ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม เช่นเดียวกับกรดซอร์บิกที่ก็กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัมเท่ากัน•ถ้ายึดตามเกณฑ์นี้ ก็เท่ากับว่า ไส้สังขยาสำเร็จรูป 4 ตัวอย่าง และไส้เผือกสำเร็จรูป 4 ตัวอย่างที่ฉลาดซื้อสุ่มทดสอบครั้งนี้ พบปริมาณสารกันเสีย กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ทุกตัวอย่าง แต่ทุกตัวอย่างก็พบปริมาณที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยมี 1 ตัวอย่างคือ ยี่ห้อยูยี ไส้เผือกสำเร็จรูป ที่พบการปริมาณ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก น้อยมาก คือพบกรดเบนโซอิกแค่ 1.68 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม และไม่พบกรดซอร์บิกเลย 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า1000 Point

ฉบับที่ 202 สินค้าออนไลน์ สดใหม่แค่ไหน

การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์นั้น ไม่เพียงจะช่วยอำนวยความสะดวก ยังได้กลายเป็นเทรนด์สำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ด้วย แต่ผู้บริโภคบางคนอาจเคยพบว่า ในการสั่งซื้อสินค้าประเภทอาหารออนไลน์ กับการเดินทางออกไปเลือกซื้อสินค้าด้วยตัวเองนั้น มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ทั้งในเรื่องของความสด/ใหม่ของสินค้า หรืออาจพบว่าสินค้าออนไลน์มีวันหมดอายุที่เร็วกว่า ของที่เราไปเลือกเองที่หน้าร้าน เพื่อลองพิสูจน์ประเด็นดังกล่าว พร้อมดูเรื่องเงื่อนไขต่างๆ ของการสั่งซื้อสินค้า ประเภทอาหารทางออนไลน์ กับ หน้าร้านหรือในห้างสรรพสินค้าเดียวกัน ฉลาดซื้อฉบับนี้ได้อาสาทดสอบการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ประเภทอาหารแห้ง/อาหารสด จากห้างสรรพสินค้าต่างๆ จำนวน 5 เว็บไซต์ พร้อมกับไปเดินเลือกซื้อสินค้าที่มียี่ห้อและประเภทเดียวกัน รวมทั้งซื้อภายในวันเดียวกันจากห้างสรรพสินค้าที่สั่งออนไลน์มาอีกด้วยห้างและเว็บไซต์ที่ทดสอบ1. เทสโก้ โลตัสออนไลน์ (Tesco Lotus) ผ่านทางเว็บไซต์ https://shoponline.tescolotus.com และสินค้าจากห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส2. ท็อปส์ออนไลน์ (Tops) ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.tops.co.th และสินค้าจากห้างสรรพสินค้าท็อปส์3. บิ๊กซีออนไลน์ (Big C) ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.bigc.co.th และสินค้าจากห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี4. กูร์เมต์ มาร์เก็ตออนไลน์ (Gourmet market) ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.happyfresh.co.th และสินค้าจากห้างสรรพสินค้ากูร์เมต์ มาร์เก็ต5. แม็คโครออนไลน์ (Makro) ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.siammakro.co.th และสินค้าจากห้างสรรพสินค้าแม็คโคร วิธีการทดสอบ1.สั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ ในสินค้าอาหาร 6 ประเภท (การซื้อเป็นไปตามเงื่อนไขของทางเว็บไซต์) 2.ในรอบ 24 ชั่วโมง อาสาสมัคร ไปซื้อสินค้าประเภทเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน ณ ห้างสรรพสินค้าเดียวกับทางเว็บไซต์ โดยเลือกสินค้าที่มีล็อตการผลิตใหม่ที่สุดบนชั้น3.ทำการเปรียบเทียบ ผลการทดสอบ1. เรื่องวันหมดอายุ ไม่มีของหมดอายุนำมาส่ง แต่การเลือกซื้อสินค้าในห้างหรือหน้าร้าน สามารถเลือกของที่ล็อตการผลิตใหม่สุดหรือวันหมดอายุนานกว่าได้ ดังนี้- สินค้าจากเทสโก้ โลตัสออนไลน์และห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส มี 2 ตัวอย่างที่วันหมดอายุต่างกัน คือ 1. นมสดพาสเจอร์ไรซ์ ยี่ห้อเมจิ สูตรน้ำนมโค 100% สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 20/11/17 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 28/11/17 และ 2. ขนมปัง ยี่ห้อเทสโก้ สูตรโฮลวีต สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 20/11/60 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 21/11/60- สินค้าจากท็อปส์ออนไลน์และห้างสรรพสินค้าท็อปส์ 1 ตัวอย่างที่วันหมดอายุต่างกัน คือ โบโลน่า ยี่ห้อมายช้อยส์ (My Choice) สูตรหมูพริก สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 13/12/17 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 09/12/17 - สินค้าจากจากบิ๊กซีออนไลน์และห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี เกือบทุกตัวอย่างวันหมดอายุต่างกัน คือ 1. นมยูเอชที ยี่ห้อโฟร์โมสต์ รสจืด สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 070618 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 26/03/18 2. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยี่ห้อออเรียนทัลคิตเชน (Oriental Kitchen) รสออตแอนด์สไปซี่ สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 02/10/17 และ 02/06/18 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 16/10/17 และ 16/06/18 3. หมูแผ่น ยี่ห้ออองเทร่ (ENTRE'E) สูตรบาร์บีคิว รสคลาสสิค สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 30/10/17 และ 29/06/18 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 30/09/17 และ 29/05/18 และ 4. น้ำสลัด ยี่ห้อสุขุม สูตรสลัดครีม สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 21/09/17 และ 21/05/18 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 12/10/17 และ 12/06/18- มีสินค้าจากจากกูร์เมต์ มาร์เก็ตออนไลน์และสินค้าจากห้างสรรพสินค้า 2 ตัวอย่างที่วันหมดอายุต่างกัน คือ 1. นมเปรี้ยว ยี่ห้อยาคูลท์ (Yakult) สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 26/11/17 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 28/11/17 2. ไข่ไก่ ยี่ห้อโฮม เฟรช มาร์ท (Home Fresh Mart) เบอร์ 0 Jumbo Brown eggs สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 21/11/60 - 06/12/60 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 15/11/60 - 30/11/60- สินค้าจากจากแม็คโครออนไลน์และสินค้าจากห้างสรรพสินค้า ทุกตัวอย่างวันหมดอายุต่างกัน คือ 1. นมยูเอชที ยี่ห้อแมกโนเลีย สูตรผสมกิงโกะรสจืด สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 23/06/2018 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 23/05/20182. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยี่ห้อ มาม่า บิ๊กแพ็ค รสหมูสับ สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 14/11/17 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 07/11/17 3. หมูแผ่น ยี่ห้ออองเทร่ รสคลาสสิค ร็อค สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 27/09/17 และ 26/05/18 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 26/06/17 และ 25/02/18 4. เยลลี่ ยี่ห้อปีโป้ รวมรสผลไม้ สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 14/08/2018 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 18/07/2018 5. ขนมปังสอดไส้ ยี่ห้อเอลเซ่ เลเยอร์เค้ก กลิ่นวานิลลา สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 25/09/2017 และ 25/09/2018 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 31/10/2017 และ 31/10/2018  6. ข้าวหอมมะลิ ยี่ห้อฉัตร สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 27/09/62 ในขณะที่สั่งจากห้างหมดอายุวันที่ 24/09/60 - 24/09/62 (หยิบสินค้าจากแถวบนสุด) 2. เรื่องราคาสินค้า  ราคาสินค้าส่วนใหญ่เท่ากัน  การซื้อทางออนไลน์ไม่ได้ประหยัดกว่า แต่มีข้อดีเรื่อง ไม่ต้องเดินทางไปซื้อเอง มีสินค้ามาส่งถึงบ้าน และบางเว็บไซต์เมื่อซื้อสินค้าครบจำนวนเงินตามที่บริษัทกำหนด จะมีบริการจัดส่งฟรี  อย่างไรก็ตาม บางรายการพบว่า ซื้อออนไลน์ได้ถูกกว่าเล็กน้อย หรือบางทีก็มีราคาแพงกว่า เช่น โบโลน่า ยี่ห้อมายช้อยส์ ราคาจากออนไลน์ 35 บาท/100 กรัม ในขณะที่สั่งจากห้าง 39 บาท/100 กรัม (ท็อปออนไลน์) หรือ ข้าวหอมมะลิ ยี่ห้อฉัตร ออนไลน์ ราคา 245 บาท/ 5 กิโลกรัม ล็อตผลิต/หมดอายุวันที่ 27/09/62 ส่วนหน้าร้าน 189 บาท/ 5 กิโลกรัม ล็อตผลิต/หมดอายุ 24/09/62 (แมคโครออนไลน์) ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าเรื่องราคาสินค้าไม่เท่ากัน ระหว่างทางออนไลน์กับทางหน้าร้าน น่าจะเกิดจากล็อตการผลิตที่ต่างกัน เช่น ในล็อตการผลิตที่ใหม่กว่าในห้างสรรพสินค้าอาจมีราคาที่แพงกว่า ส่วนในล็อตการผลิตเดียวกันหรือใกล้กัน ราคาสินค้าส่วนใหญ่เท่ากันทั้งทางออนไลน์และในห้าง    สรุปการซื้อสินค้าประเภทอาหารทางออนไลน์ เปรียบเทียบเรื่องวันหมดอายุ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 202 คนกรุงเทพฯ ซื้อ (อาหาร) อะไรเป็น “ของฝาก” เมื่อไปเที่ยวต่างจังหวัด

วันหยุดยาวช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หลายๆ คนก็มักจะเดินทางออกไปท่องเที่ยวตามต่างจังหวัด โดยเฉพาะคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเวลาไปเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวตามจังหวัดต่างๆ สิ่งหนึ่งที่แทบทุกคนจะต้องทำก็คือการหาซื้อของฝาก แน่นอนว่าของฝากยอดนิยมอันดับหนึ่งคงหนีไม่พ้นของกิน ไม่ว่าจะเป็นพวกขนมนมเนย ของหวาน ของคาว มีให้เลือกสารพัด ซึ่งแต่ละภาคแต่ละจังหวัดในประเทศไทย ของฝากที่เป็นที่นิยมหรือของขึ้นชื่อก็มีความแตกต่างกันไปเป็นเอกลักษณ์ตามแต่พื้นที่นิตยสารฉลาดซื้อ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อของฝากจากการท่องเที่ยวของคนกรุงเทพมหานคร ดูว่าของกินประเภทไหนที่เป็นของฝากยอดนิยมของแต่ละภาคในประเทศที่คนกรุงเทพฯ ซื้อกลับมาฝากญาติสนิม มิตรสหาย นอกจากนี้ยังสำรวจดูพฤติกรรมการอ่านฉลากก่อนซื้อของผู้บริโภค ว่าให้ความสำคัญในการศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อมากน้อยแค่ไหนการสำรวจครั้งนี้ เก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,271 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 28 - 30 พฤศจิกายน 2560 แบ่งเป็น 1.เพศ ชาย ร้อยละ 57.6 หญิง ร้อยละ 42.42.อายุ ต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 10.2 21-25 ปี ร้อยละ 31.9 26-30 ปี ร้อยละ 17.0 31-35 ปี ร้อยละ 15.7 36-40 ปี ร้อยละ 12.5 41-45 ปี ร้อยละ 6.6 46-50 ปี ร้อยละ 4.4 มากกว่า 50 ปี ร้อยละ 1.73.อาชีพ นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา ร้อยละ 38.4 ข้าราชการ / พนักงานของรัฐ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 20.3 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 18.9 นักธุรกิจ / เจ้าของกิจการส่วนตัว ร้อยละ 13.0 พ่อบ้าน / แม่บ้าน ร้อยละ 9.4ผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อของฝากจากการท่องเที่ยวของคนกรุงเทพมหานคร1.ประเภทของของฝากที่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 5 อันดับแรกขนม ของทานเล่น ร้อยละ 26.6อาหารแห้ง ร้อยละ 26.0 ของชำร่วย พวงกุญแจ ฯลฯ ร้อยละ 24.4เครื่องแต่งกาย ร้อยละ 23.0ผักสด ผลไม้สด ร้อยละ 20.9 2.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคเหนือ 5 อันดับแรก น้ำพริกหนุ่ม ร้อยละ 36.1 แคบหมู ร้อยละ 29.7 หมูยอ ร้อยละ 25.0 ไส้อั่ว ร้อยละ 24.6 ใบชา ร้อยละ 18.3 3.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 อันดับแรก แหนมเนือง ร้อยละ 34.7 หมูยอ ร้อยละ 29.4 กุนเชียง ร้อยละ 26.9 แหนม ร้อยละ 19.7 น้ำพริก ร้อยละ 18.34.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคตะวันออก 5 อันดับแรก ขนมเปี๊ยะ ร้อยละ 29.1 ข้าวหลาม ร้อยละ 27.5 อาหารทะเลแห้ง ร้อยละ 26.3 ผลไม้อบแห้ง ร้อยละ 21.6 น้ำปลา ร้อยละ 17.55.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคกลาง 5 อันดับแรก ขนมเค้ก ร้อยละ 27.3 สายไหม ร้อยละ 27.1 โมจิ ร้อยละ 26.8 กะหรี่พัฟ ร้อยละ 22.0 ขนมเปี๊ยะ ร้อยละ 21.96.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคตะวันตก 5 อันดับแรก ทองหยิบทองหยอด ร้อยละ 27.7 ขนมหม้อแกง ร้อยละ 27.6 ขนมชั้น ร้อยละ 25.3 ขนมปังสับปะรด ร้อยละ 23.4 มะขามสามรส ร้อยละ 19.7 7.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคใต้ 5 อันดับแรก ปลาหมึกแห้ง ร้อยละ 32.5 กะปิ ร้อยละ 29.3 กุ้งแห้ง ร้อยละ 24.2 น้ำพริก ร้อยละ 22.3 เครื่องแกง ร้อยละ 21.3 ก่อนซื้อของฝาก เราดูวันหมดอายุบนฉลากกันมากน้อยแค่ไหน? ข้อมูลบนฉลากถือเป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากในการเป็นตัวช่วยก่อนตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะ อาหาร แม้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นของฝากชื่อดังหลายชนิดที่ทำสดใหม่ทุกวันและวางขายเฉพาะหน้าร้านของตัวเอง ไม่ได้ส่งต่อไปจำหน่ายที่อื่น กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องแสดงฉลาก แต่อย่างน้อยข้อมูลสำคัญอย่าง วันเดือนปีที่หมดอายุ และ ชื่อ-ที่อยู่ผู้ผลิต ก็ควรมีการแจ้งไว้ให้กับผู้บริโภคได้รับทราบ เพราะเป็นข้อมูลสำคัญต่อการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย โดยผลสำรวจเรื่องการดูข้อมูลวันหมดอายุบนฉลากผลิตภัณฑ์ของฝาก พบว่า ร้อยละ 44.8 มีการตรวจดูเรื่องวันหมดอายุบนฉลากก่อนตัดสินใจซื้อ  ร้อยละ 35.4 ไม่ได้ตรวจดูเรื่องวันหมดอายุบนฉลาก ร้อยละ 19.8 ไม่แน่ใจว่าได้ตรวจดูหรือเปล่า ส่วนการดูข้อมูลเรื่องสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์ของฝาก พบว่า ร้อยละ 44.8 มีการตรวจดูข้อมูลสถานที่ผลิตบนฉลากก่อนตัดสินใจซื้อ ร้อยละ 34.2 ไม่ได้ตรวจดูข้อมูลสถานที่ผลิต ร้อยละ 21.0 ไม่แน่ใจว่าได้ตรวจดูหรือเปล่าเคยได้ของฝากที่หมดอายุบ้างหรือเปล่า? นอกจากนี้ยังมีผลสำรวจที่น่าสนใจในมุมของคนที่ได้รับของฝาก ว่ามีประสบการณ์เคยได้รับของฝากจำพวกอาหารที่หมดอายุแล้วบ้างหรือเปล่า ผลสำรวจพบว่า  ร้อยละ 16.4 ของกลุ่มตัวอย่าง เคยได้รับของฝากจำพวกอาหารที่หมดอายุ ร้อยละ 54.8 ไม่เคยได้รับของฝากที่หมดอายุ ร้อยละ 28.8 ไม่แน่ใจว่าเคยได้รับของฝากที่หมดอายุหรือเปล่าอันตรายที่อาจปนเปื้อนมาพร้อมอาหารของฝากน้ำพริก – ระวังจุลินทรีย์และสารกันบูด เคยมีข่าวเมื่อปี 2559 ว่ากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มตรวจน้ำพริกพร้อมบริโภค เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกกะปิ น้ำพริกขี้กา น้ำพริกเผา น้ำพริกปลาร้าสับ น้ำพริกตาแดง น้ำพริกนรก แจ่วบอง เป็นต้น ที่จำหน่ายตามตลาดสด ตลาดนัด ศูนย์โอทอป ศูนย์ของฝากทั่วประเทศ พบว่าจากทั้งหมด 1,071 ตัวอย่าง พบว่า ไม่ผ่านมาตรฐาน 164 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 15  สาเหตุที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการใช้วัตถุกันเสียเกินปริมาณที่อนุญาต ชนิดของวัตถุกันเสียที่พบมากสุด ได้แก่ กรดเบนโซอิค รวมทั้งปัญหาเรื่องการปนเปื้อนจุลินทรีย์และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ เช่น เชื้อบาซีลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) และเชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟิงเจน (Clostridium perfringens)ที่มา : ข่าว “สุ่มตรวจ“น้ำพริกสำเร็จ”เปียก-แห้งไม่ผ่านมาตรฐาน15 %”, คอลัมน์คุณภาพชีวิต, เว็บไซต์ คมชัดลึก, 20 กันยายน 2559แหนมเนือง - ผักสดไม่สะอาดระวังเชื้อโรค แหนงเนือง อีกหนึ่งของฝากยอดนิยมของภาคอีสานที่หลายคนชื่นชอบ เพราะนอกจากจะรสชาติอร่อยแล้ว ยังถูกมองว่าเป็นอาหารสุขภาพเพราะมีผักหลากหลายชนิดเป็นส่วนประกอบ  แต่เมนูแหนมเนืองก็อาจมีอันตรายแฝงอยู่ด้วยเช่นกัน นั่นการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค เช่น เชื้อจุลินทรีย์ อี.โคไล, ซาลโมเนลลา, สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เชื้อเหล่านี้มาจากสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ ดิน และอากาศ ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในผักสด รวมทั้งเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ที่บริโภคโดยไม่ผ่านการปรุงให้สุกเพียงพอ เช่น แหนม และ หมูยอปลาหมึกแห้ง – เสี่ยงโลหะหนัก อาหารทะเลและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอาหารทะเลส่วนใหญ่ มีความเสี่ยงในเรื่องของการตกค้างของโลหะหนัก เช่น ปรอท แคดเมียม ตะกั่วและสารหนู ซึ่งเป็นการปนเปื้อนตามธรรมชาติ เนื่องจากปัจจุบันนี้แหล่งน้ำตามธรรมชาติมีการเจือปนของของเสียที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น  เมื่อปี 2553 ฉลาดซื้อเคยสุ่มวิเคราะห์ตัวอย่างปลาหมึกแห้งและกุ้งแห้ง เพื่อดูการปนเปื้อนของโลหะหนัก ทั้ง แคดเมียม ตะกั่ว และ ปรอท พบว่า ปลาหมึกแห้งทั้ง 8 ตัวอย่างที่สุ่มสำรวจซึ่งเก็บตัวอย่างจากทั่วประเทศ ทั้งใน กทม. เชียงใหม่ ขอนแก่น สมุทรสาคร และ สงขลา พบว่ามีการปนเปื้อนของโลหะหนักทุกตัวอย่าง  โดยพบการปนเปื้อนของแคดเมียม เกินมาตรฐานที่กฎหมายอนุญาต คือ ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/น้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัมจำนวน 4 ตัวอย่าง  ส่วนโลหะหนักอีก 2 ชนิด คือ ตะกั่ว และ ปรอท พบการปนเปื้อนแต่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด (ตะกั่ว ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ปรอท ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) นอกจากนี้จากการสุ่มวิเคราะห์ ยังพบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในกลุ่มยาฆ่าแมลง (ไพรีทรอยด์) ถึง 5 จาก 8 ตัวอย่าง ซึ่งตามปกติไม่ควรพบการปนเปื้อนสารเคมีดังกล่าวคำแนะนำในการเลือกซื้อของกินเป็นของฝาก 1.สถานที่ขายหรือสถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสิ่งไม่พึงประสงค์ เช่น แมลง สารเคมี และอาหารควรถูกเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับแต่ละประเภทของอาหาร 2.สภาพภาชนะบรรจุต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ฉีกขาด ไม่มีร่องรอยที่อาจทำให้เกิดการรั่วซึมของสิ่งปนเปื้อน 3.ลักษณะของอาหารต้องอยู่ในสภาพปกติ ไม่มีสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อน ไม่มีร่อยรอยของการเกิดเชื้อราหรือเชื้อจุลินทรีย์ หรืออยู่ในสภาพอื่นๆ ที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยในการบริโภค 4.ต้องอ่านฉลากทุกครั้ง เพื่อรู้ถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่าง วันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ ส่วนประกอบหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต หากไม่มีฉลากแจ้งควรสอบถามจากผู้ขายก่อนตัดสินใจซื้อ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 201 น้ำเชื่อมฟรุกโตสในอาหาร ก่อปัญหาต่อสุขภาพจริงหรือ

ความหวาน แทบจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ เพราะนอกจากจะช่วยทำให้รสชาติกลมกล่อมถูกปากแล้ว ยังส่งผลให้ผู้ที่บริโภครู้สึกสดชื่น หายอ่อนเพลียเพราะได้รับพลังงานในเวลาอันรวดเร็ว อย่างไรก็ตามความหวานในอาหารกลับแฝงอันตรายที่สามารถส่งผลร้ายต่อสุขภาพ ทั้งในแง่ก่อให้เกิดอาการเสพติดความหวาน และเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วนหรือความดันโลหิตสูงน้ำตาลทรายแม้จะยังคงเป็นแหล่งความหวานของอาหาร แต่รู้หรือไม่ว่า ที่มาของรสหวานในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มส่วนใหญ่ กลับไม่ได้เกิดจากน้ำตาลทรายเพียงอย่างเดียว แต่มาจากส่วนผสมที่เรียกว่า “น้ำเชื่อมฟรุกโตสหรือน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูง” (High Fructose Corn Syrup หรือ HFCS)  ซึ่งให้รสหวานได้มากกว่าน้ำตาลทรายธรรมดา แต่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราได้มากกว่าน้ำตาลทรายเสียอีก ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักวิชาการอิสระสายอาหารและโภชนาการของฉลาดซื้อ เคยให้ความเห็นในประเด็นดังกล่าวไว้ในนิตยสารฉลาดซื้อประจำฉบับที่ 173 คอลัมน์ของฝากจากอินเทอร์เน็ต เรื่อง ดื่มน้ำหวานในฤดูร้อนพึงระวัง ว่าน้ำเชื่อมฟรุกโตสหรือน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูง(HFCS) เป็นน้ำเชื่อมที่ได้จากการย่อยแป้งข้าวโพดจนเหลือเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตสนั้น มันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เพราะให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 1.3 เท่า รวมทั้งเป็นน้ำเชื่อมใสไม่มีสี จึงไม่บดบังสีของอาหารทำให้ดูน่าดื่มกิน ดังนั้นเมื่อเทียบกับน้ำตาลทรายที่มีราคาสูงและมักเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อใช้ในอาหารแล้ว จึงถือว่าคุ้มค่ากว่าในด้านราคาต้นทุนและความสะดวกในการผลิต อย่างไรก็ตามกลับมีงานวิจัยบางฉบับได้รายงานว่า ผู้ที่บริโภคน้ำเชื่อมข้าวโพดชนิดที่มีฟรุกโตสสูงนี้เป็นประจำ จะทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ เพราะน้ำเชื่อมดังกล่าวส่งผลต่อความอยากอาหาร ทำให้กินอาหารอื่นได้ในปริมาณมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ไขมันในเลือดสูงขึ้น โดยเฉพาะไขมันชนิดแอลดีแอลโคเลสเตอรอล (LDL-C) ซึ่งเป็นไขมันเลวที่ควรหลีกเลี่ยง รวมทั้งอาจทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน หรือกรดไขมันอิสระที่อาจส่งผลต่อภาวะไขมันเกาะตับ(Fatty Liver) ได้อีกด้วย เพราะน้ำเชื่อมดังกล่าวร่างกายนำไปเผาผลาญได้ที่เซลล์ตับเท่านั้น ดังนั้นพลังงานที่เกิดที่ตับ จึงมีความเหลือเฟือจนน่าจะส่งผลให้เกิดการสร้างไขมันสะสมขึ้นมาได้ ซึ่งต่างจากน้ำตาลโมเลกุลเดียวประเภทอื่น เช่น กลูโคส ที่สามารถเผาผลาญได้จากเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ประเด็นนี้ผู้บริโภคในต่างประเทศให้ความสนใจอย่างมาก ดังนั้นบรรดาผู้ผลิตอาหารจึงต้องทำให้ฉลากอาหารหรือเครื่องดื่มของตน มีการระบุที่ชัดเจนในฉลากว่า มีการผสมน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูง (HFCS) หรือไม่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตัดสินใจในการเลือกซื้อ กลับมาที่ฉลากอาหารในบ้านเรา...และการสุ่มตัวอย่างเพื่อค้นหา HFCSเพื่อเป็นการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำเชื่อมฟรุกโตสหรือน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูง(HFCS) ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสาไปส่องฉลากผลิตภัณฑ์ที่ให้รสหวานอย่าง น้ำอัดลม ชาเขียว ขนมขบเคี้ยว แยมหรือเยลลี่ต่างๆ จำนวน 25 ตัวอย่าง ว่าจะมีสินค้าอะไรหรือยี่ห้อใดบ้างที่ใช้น้ำเชื่อมดังกล่าวเป็นส่วนประกอบ ซึ่งผลทดสอบจะเป็นอย่างไร เราลองไปดูกันเลยผลโดยสรุปจากตัวอย่างสินค้าที่นำมาพิจารณาฉลากทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเครื่องดื่ม กลุ่มแยมและกลุ่มขนม/ลูกอม ทั้ง 25 ตัวอย่าง พบว่า- มีเพียง 1 ยี่ห้อที่ระบุว่า ไม่มีส่วนผสมของไฮฟรุกโตสคอร์นไซรัป (No high fructose corn syrup) คือ วิลเดอร์เนส (WILDERNESS) Premium ไส้ผลไม้กวนสตรอเบอร์รี่- มี 2 ยี่ห้อที่ระบุว่ามีส่วนผสมของ ไฮฟรุกโตสคอร์นไซรัป คือ 1. ไดอาน่า (Diana) มาราสชิโน เชอร์รี่ ชนิดมีก้าน และ 2. วิลเดอร์เนส (WILDERNESS) Original ไส้ผลไม้กวนบลูเบอร์รี่ - มี 1 ยี่ห้อที่ฉลากภาษาไทยระบุส่วนผสมว่ามี “น้ำเชื่อมข้าวโพด” แต่ฉลากภาษาอังกฤษระบุส่วนผสมว่า “High Fructose Corn Syrup” คือ สมัคเกอร์ส (SMUCKER’S) ซันเดย์ ไซรัป น้ำเชื่อมรสช็อกโกแลต - อีก 21 ตัวอย่างระบุว่ามีส่วนผสมของ ฟรุกโตสไซรัป/น้ำเชื่อมฟรุกโตส และคอร์นไซรัป/น้ำเชื่อมข้าวโพด- มี 1 ยี่ห้อไม่ระบุวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ คือ เอสแอนด์ดับบลิว (S&W) เชอร์รี่ดำแกะเมล็ดในน้ำเชื่อม ซึ่งถือว่าไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องฉลาก ที่กำหนดให้อาหารในภาชนะบรรจุต้องแสดงวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุรายละเอียดการสุ่มตัวอย่างตารางที่ 1 :  กลุ่มเครื่องดื่มตารางที่ 2 : กลุ่มแยมตารางที่ 3: กลุ่มขนม, ลูกอมข้อสังเกตเรื่องฉลากอาหาร 1. ฉลากส่วนผสมไม่สมบูรณ์พบว่า สินค้าส่วนใหญ่มักใช้คำว่ามี ฟรุกโตสไซรัป/น้ำเชื่อมฟรุกโตส และคอร์นไซรัป/น้ำเชื่อมข้าวโพด แทนคำว่า น้ำเชื่อมฟรุกโตสหรือน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูง (High Fructose Corn Syrup หรือ HFCS) ซึ่งอาจสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภคว่า ส่วนประกอบดังกล่าวเป็นน้ำเชื่อมชนิดเดียวกันหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ทั้งฟรุกโตสไซรัป/น้ำเชื่อมฟรุกโตส และคอร์นไซรัป/น้ำเชื่อมข้าวโพด สามารถสร้างผลกระทบต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกับ “น้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูง” (HFCS) จึงอาจเป็นเรื่องสมควรที่ฉลากต้องมีคำเตือนในการบริโภค หรือระบุรายละเอียดส่วนผสมให้ชัดเจนกว่านี้2. ฉลากโภชนาการไม่ครอบคลุมแม้กฎหมายไม่ได้กำหนดให้อาหารทุกชนิดต้องแสดงฉลากโภชนาการ แต่ฉลากโภชนาการนั้นนับเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค เพราะช่วยให้ทราบถึงปริมาณที่แท้จริงของไขมัน พลังงานหรือน้ำตาลในผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อหรือบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัย และได้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมกับสุขภาพของตนเอง รวมทั้งสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ หรือมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีกว่าได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามจากผลการสุ่มตัวอย่างครั้งนี้พบว่า มีเพียงร้อยละ 50 ที่มีฉลากโภชนาการ และมี 9 ตัวอย่างเท่านั้นที่มีฉลากโภชนาการเป็นภาษาไทย3. ฉลากวันเดือนปีที่ผลิต/หมดอายุ อยู่ในตำแหน่งที่อ่านยากตัวอย่างที่นำมาพิจารณาฉลากทั้งหมดครั้งนี้ มีหลายกลุ่มสินค้ามีทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งพบว่าตำแหน่งของวันเดือนปีที่ผลิต/หมดอายุ มีความแตกต่างกันไปในทุกผลิตภัณฑ์ อาจส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องใช้เวลานานมากกว่าจะสามารถตรวจสอบวันที่ได้ นอกจากนี้บางตัวอย่าง เช่น คุคุริน (KUKURIN) น้ำชาเขียวคั่ว สูตรรสกลมกล่อม มีการระบุวันเดือนปีที่ผลิต/หมดอายุ อยู่ในตำแหน่งปากขวด ซึ่งใช้สีของตัวอักษรคล้ายกับสีของสินค้า ทำให้ตรวจสอบได้ยากมากขึ้นไปอีก

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 200 ผลทดสอบ “คาเฟอีน” ในกาแฟซอง 3 in 1

ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 198 ประจำเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เราเพิ่งนำเสนอผลการสำรวจปริมาณน้ำตาลและพลังงานในกาแฟซอง 3 อิน 1 โดยการดูข้อมูลบนฉลาก ซึ่งผลสำรวจที่ได้พบว่า ปริมาณน้ำตาลในกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง หรือ 3 อิน 1 เฉลี่ยอยู่ที่ 10 – 13 กรัมต่อ 1 ซอง ซึ่งก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สูงเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมต่อร่างกายใน 1 วัน คือไม่เกิน 24 กรัม ส่วนปริมาณพลังงาน เฉลี่ยอยู่ที่ 65  - 90 กิโลแคลอรีต่อ 1 ซองฉบับนี้ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ โดยนิตยสารฉลาดซื้อ ขอเอาใจคอกาแฟอีกครั้ง โดยเฉพาะคนที่ชอบดื่มกาแฟซองพร้อมชงแบบ 3 อิน 1 โดยครั้งนี้เราจะพาไปดูผลทดสอบ “ปริมาณคาเฟอีน” ซึ่งถือเป็นจุดขายหลักของการดื่มกาแฟ ไม่ว่าจะเป็นกาแฟแบบไหน ลองไปดูกันสิว่า กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงที่ถูกเติมทั้งน้ำตาลและครีมมาแล้วเรียบร้อย จะยังเหลือปริมาณคาเฟอีนมากน้อยแค่ไหน และแถมด้วยการทดสอบสารพิษจากเชื้อราที่เรียกว่า โอคราทอกซิน เอ ซึ่งมักพบในผลิตภัณฑ์กาแฟ ว่ามีปนเปื้อนอยู่ในผลิตภัณฑ์กาแฟ 3 in 1 หรือไม่ กาแฟซอง 3 in 1 มี “คาเฟอีน” ได้มากแค่ไหน?เพราะ คาเฟอีน เป็นสารที่ให้ทั้งคุณและโทษต่อร่างกายของเรา ถ้าได้รับในปริมาณที่พอเหมาะก็ช่วยกระตุ้นร่างกายให้กระปรี้กระเปร่า แต่ถ้าได้รับมากเกินไปจะส่งต่อการทำงานของระบบประสาท ทำให้ปวดหัว นอนไม่หลับ เป็นที่มาให้ต้องมีการกำหนดมาตรฐานปริมาณคาเฟอีนในผลิตภัณฑ์กาแฟประเภทต่างๆ สำหรับ กาแฟซองพร้อมชง 3 อิน 1 หรือ กาแฟปรุงสำเร็จชนิดแห้ง ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 197) พ.ศ. 2543 เรื่อง กาแฟ ได้กำหนดมาตรฐานปริมาณคาเฟอีนเอาไว้ที่ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม ต่อกาแฟปรุงสำเร็จชนิดแห้งที่ชงเป็นของเหลวแล้ว 100 มิลลิลิตรหรือคิดง่ายๆ ก็คือ กาแฟซองพร้อมชง 3 อิน 1 จำนวน 1 ซอง หรือ 1 เสิร์ฟ ซึ่งคำแนะนำข้างซองระบุไว้ว่าให้ชงกับน้ำร้อน 100 – 150 มิลลิลิตรอยู่แล้ว ควรมีปริมาณคาเฟอีนไม่เกิน 100 มิลลิกรัมปริมาณคาเฟอีนในกาแฟแต่ละชนิดที่กฎหมายกำหนดชนิดของกาแฟ ปริมาณคาเฟอีนที่กำหนดตามกฎหมายกาแฟแท้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของน้ำหนักกาแฟที่สกัดกาเฟอีน ไม่เกินร้อยละ 0.1 ของน้ำหนักกาแฟสำเร็จรูป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.5 ของน้ำหนักกาแฟสำเร็จรูปผสม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.5 ของน้ำหนักกาแฟสำเร็จรูปที่สกัดกาเฟอีนออก ไม่เกินร้อยละ 0.3 ของน้ำหนักกาแฟที่ผ่านกรรมวิธีให้เป็นของเหลว ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 มิลลิลิตรประโยชน์และโทษ ของคาเฟอีนเมื่อร่างกายได้รับสารคาเฟอีนมันจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และยังคงฤทธิ์อยู่ระหว่าง 2-10 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน คาเฟอีนทำให้ร่างกายมีความกระปรี้กระเปร่า และทำให้มีสมาธิ ลดโอกาสการเกิดอัลไซเมอร์ มะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยเพิ่มเซลล์สมอง ทำให้เพิ่มความจำและความสามารถในการเรียนรู้ สารคาเฟอีนเมื่อดูดซึมเข้าร่างกายจะถูกจำกัดออกด้วยการปัสสาวะ ไม่มีสะสมในร่างกายส่วนผลเสียและผลข้างเคียงหากบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป อาจก่อให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ปวดหัว โรคกระเพาะอาหาร(คาเฟอีนจะกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารเพื่อออกมาช่วยย่อย) นอกจากนั้นผลข้างเคียงของคาเฟอีนจะทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมลดลง สตรีมีครรภ์จึงไม่ควรดื่มกาแฟ สำหรับผู้สูงอายุ หากดื่มกาแฟมากเกิน 3 ถ้วยต่อวัน ก็มีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนด้วย ในผู้ป่วยโรคไตควรลดหรืองดดื่มกาแฟ เนื่องจากคาเฟอีนจะทำให้ไตทำงานหนักขึ้นโอคราทอกซิน(ocratoxin) เป็นสารพิษที่สร้างโดยเชื้อราในกลุ่ม Aspergillus และ Pennicilliumochratoxin มี 2 ชนิดคือ A และ B แต่ที่พบตามธรรมชาติคือ ochratoxin A ส่วนมากจะพบในเมล็ดธัญพืช เช่น ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต และในเมล็ดกาแฟ เมล็ดโกโก้ และถั่วเมล็ดแห้งชนิดต่างๆ และพบในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น เนื้อไก่ และเนื้อหมู หรือตรวจพบปนเปื้อนในเบียร์และเครื่องเทศหลายชนิด การเกิดพิษ ochratoxins มีพิษต่อไตและตับทั้งในคนและสัตว์ นอกจากนี้ยังเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะด้วยตารางแสดงผลทดสอบปริมาณคาเฟอีนในผลิตภัณฑ์กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง หรือ กาแฟซอง 3 อิน 1ผลทดสอบคาเฟอีน-จากตัวอย่าง กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง หรือ กาแฟซองพร้อมชง 3 อิน 1 จำนวน 26 ตัวอย่าง พบว่าทุกตัวอย่างมีปริมาณคาเฟอีนต่อ 1 ซอง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กฏหมายกำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 197) พ.ศ. 2543 เรื่อง กาแฟ ได้กำหนดมาตรฐานปริมาณคาเฟอีนเอาไว้ที่ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม ต่อกาแฟปรุงสำเร็จชนิดแห้งที่ชงเป็นของเหลวแล้ว 100 มิลลิลิตรตัวอย่างที่พบปริมาณคาเฟอีนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.คาราบาว 3 in1 เอสเปรสโซ ปริมาณกาแฟต่อ 1 ซอง 18 กรัม ทดสอบพบคาเฟอีน 96 มิลลิกรัม 2. อาวว์ ทรีอินวัน สตอง อินสแตนท์ คอฟฟี่ ปริมาณกาแฟต่อ 1 ซอง 16 กรัม  ทดสอบพบคาเฟอีน 87 มิลลิกรัม3. เฟรนช์ คาเฟ่ 3 อิน1 ริช โกลด์ ปริมาณกาแฟต่อ 1 ซอง 18.8 กรัม ทดสอบพบคาเฟอีน 85 มิลลิกรัมตัวอย่างกาแฟซองพร้อมชง 3 อิน 1 ที่นำมาทดสอบ พบค่าเฉลี่ยของปริมาณกาแฟอยู่ที่ 13.9% ต่อซอง โดยตัวอย่างที่พบปริมาณกาแฟมากที่สุดคือตัวอย่างยี่ห้อ มัซ เอสเปรสโซคอฟฟี่ 3 อิน 1 มีปริมาณกาแฟอยู่ที่ 39.07% หรือประมาณ 7 กรัมต่อซอง-พบว่ามีตัวอย่างกาแฟซองพร้อมชง 3 อิน 1 จำนวน 5 ตัวอย่าง ที่ไม่มีฉลากภาษาไทย เพราะเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซีย ลาว เมียนมาร์ โดยเป็นตัวอย่างที่เก็บจากจังหวัดสงขลาและจังหวัดเชียงราย ซึ่งขัดกับข้อบังคับตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 383) พ.ศ. 2560 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ 2) ผลทดสอบโอคราทอกซิน เอ  ไม่พบในทุกตัวอย่าง 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point