ฉบับที่ 176 ผลประโยชน์ทับซ้อน

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ถูกดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ กล่าวหาว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อนที่รับเงินรับเงินสสส. หรือสปสช.แล้วออกมาปกป้องการใช้เงินผิดประเภทของสสส. หรือสปสช. ขอเล่าให้สมาชิกฉลาดซื้อได้รับทราบ บอกผ่านไปถึงคุณอานนท์ว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็เหมือนกับองค์กรอื่นๆอีกมากกว่า 40,000 องค์กร ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสสส. โดยผ่านกระบวนการพิจารณาตามขั้นตอนต่างๆ ที่สสส. กำหนด เราไม่ได้มีสิทธิพิเศษในการได้รับเงิน และสสส. ก็คงไม่ค่อยยินดีนักที่พวกเราเป็นผู้ตรวจสอบรัฐบาลทุกรัฐบาล แต่โครงการที่ทำเกิดประโยชน์ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในหลายด้านที่สำคัญ ผลงานที่ผ่านมาน่าจะพอช่วยยืนยันเช่น มูลนิธิฯ ทำให้กสทช.ประหยัดเงินได้มากถึง 7,000 ล้านบาทในการแจกคูปองดิจิตอล ชนะคดีศาลปกครองกลางในการขึ้นค่าผ่านทางของบริษัทดอนเมืองโทลเวย์ ทำให้รัฐน่าจะได้เงินคืนจากบริษัทไม่น้อยกว่า 4,000 ล้านบาท ที่สำคัญมูลนิธิได้สร้างความตื่นตัวให้ผู้บริโภคคนเล็กคนน้อยให้ลุกขึ้นมาคุ้มครองตนเองโดยแต่ละปีสามารถช่วยเหลือผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิให้ได้รับการเยียวยาไม่น้อยกว่า 10,000 คนหากคิดเป็นเงินไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท รณรงค์ยกระดับความปลอดภัยของผู้บริโภค เรื่องอาหาร รถโดยสารสาธารณะที่ปลอดภัย มาตรฐานการคุ้มครองในด้านต่างๆ ฯลฯ หรือชนะคดีการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและการแปรรูปปตท.ที่ปตท.ต้องคืนทรัพย์สิน ไม่น้อยกว่า 16,000 ล้านบาทในอดีต หลักการของระบบการเงินการคลังเพื่อสังคม และหลักการการดูแลสุขภาพในมิติที่กว้าง การมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้บริโภคที่จะทำให้เกิดสุขภาวะอย่างยั่งยืน เป็นหลักคิดสากล เป็นการทำงานสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่ต้องใช้เวลาและความต่อเนื่อง หากต้องปรับเปลี่ยนกลไกการทำงานเพื่อความโปรงใส มีประสิทธิภาพ ก็เป็นเรื่องน่ายินดี แต่ต้องเป็นกลไกที่มีอิสระและความคล่องตัว เพราะทุกคนเห็นการทำงานภาครัฐมาแล้วรู้จุดแข็งจุดอ่อน มามาก ระบบทางเลือกแบบ สสส. และ TPBS จึงเกิดขึ้นมา มูลนิธิฯ สนับสนุนการตรวจสอบ แถมเราทำหน้าที่ตรวจสอบหน่วยงานต่างๆ อย่างเข้มข้นมาโดยตลอด การตรวจสอบเป็นมาตรการจำเป็นที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ใช้ข้อมูลสตง.อย่างเป็นระบบและเที่ยงธรรม ให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกตรวจสอบอย่างเสมอหน้า เพราะสังคมต้องการการปฏิรูประบบราชการ และปฏิรูปองค์กรอิสระต่างๆ กันอย่างถ้วนหน้า แต่ปัญหาสำคัญของการตรวจสอบบ้านเรา หากไม่ใช่พวกเรามีความเสี่ยงที่ผิดแน่นอน แต่ถ้าเป็นพวกกันเองทุจริตก็ไม่มีปัญหา งานคอรัปชั่นประเทศนี้เลยไม่ไปไหนเพราะทุกคนต่างต้องหาพวกหรือเส้นสายไว้ก่อนก็จะปลอดภัยดังนั้น หากเรื่องนี้ถูกตั้งธงและจ้างตัวละครเอาไว้เล่นตามบท ก็เป็นอีกครั้งที่เราต้องลุกขึ้นมา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 175 โปรดทำหน้าที่ด่วน

ข้อเรียกร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ต่อคณะรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคม กรมทางหลวง ให้บริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือ โทลเวย์  เก็บค่าผ่านทาง ที่ 55 บาทไม่ได้เกินเลยจากคำพิพากษา  เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีที่อนุญาตให้แก้ไขสัญญาสัมปทานในการขึ้นราคาไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น  เอื้อประโยชน์ต่อเอกชน ทั้งสร้างภาระให้กับผู้ใช้ทางเกินสมควรและไม่เหมาะสม ดังนั้นการขึ้นค่าผ่านทางย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย พร้อมให้บริษัทคืนเงินขั้นต่ำ จำนวน4,121,056,540.00 บาทคดีนี้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และพวกรวม 21 ราย ยื่นฟ้อง คณะรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อธิบดีกรมทางหลวง  บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด มหาชน   กรมทางหลวง ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 เมษายน 2549 และวันที่ 10 เมษายน 2550 ให้เพิกถอนการแก้ไขสัญญาสัมปทานฉบับที่ 3 รวมทั้งมีคำสั่งให้กรมทางหลวงคิดค่าผ่านทางที่เป็นธรรมคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ชัดเจนใน 3 ประเด็น ว่า สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับการคุ้มครอง ตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จากกรณีการเก็บค่าผ่านทางที่ไม่เป็นธรรม สองมติคณะรัฐมนตรีทั้งรัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร และพล.อ สุรยุทธ์ จุลานนท์ วันที่ 11 เมษายน 2549 และวันที่ 10 เมษายน 2550 ตามลำดับไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะใช้ข้อมูลการขาดทุนของบริษัทที่ไม่ถูกต้อง ยกเลิกผลประโยชน์ตอบแทนรัฐให้แก่เอกชน ขยายระยะเวลาสัมปทานจากเดิม  25 ปี เป็น 45 ปี ยอมให้เอกชนมีอำนาจเหนือรัฐ กำหนดราคาล่วงหน้า ขึ้นราคาได้โดยไม่ต้องขออนุญาต  ทำให้รัฐและประชาชนได้รับความเสียหาย มติครม.ทั้งสองครั้งจึงม่ชอบด้วยกฎหมาย เอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน ทำให้บันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานทางหลวง ฉบับที่ 3/2550 วันที่ 12 กันยายน 2550 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งสัญญาสัมปทานที่เป็นการให้บริการสาธารณะเป็นสัญญาทางปกครอง  การแก้ไขสัญญาที่จำกัดอำนาจรัฐที่มีตามกฎหมาย ในการกำหนดอัตราค่าผ่านทางจะทำมิได้  จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ซึ่งประเด็นนี้มีความสำคัญมากต่อทั้งกรมทางหลวง และกระทรวงคมนาคม ที่ต้องแสดงท่าทีต่อเรื่องนี้อย่างชัดเจน ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นเรื่องที่หน่วยงานรัฐปล่อยละเลย ไม่ทำหน้าที่อีก    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 174 อย่าให้ซ้ำรอยเดิม

เห็นแผนการประมูลคลื่นความถี่ 4G ของกสทช. แล้ว ปวดหัว เพราะทำท่าจะเข้าตำราเดิมในการประมูล 3G ที่ผ่านมา เพราะราคาตั้งต้นประมูลเพิ่มเพียง 0.32% ของคลื่น 3G ราคาตั้งต้นที่กำหนด 13,920 ล้านบาทต่อคลื่นความถี่ 1 ชุด (2 x 15 MHz) ของคลื่นระบบ 1800 MHz อนุญาตให้ใช้คลื่นนาน 15 ปี หรือเพียง 928 ล้านบาทต่อปี จากประมูล 3G เดิมที่ราคา 925 ล้านบาทต่อปีมากขึ้นเพียง 3 ล้านบาทต่อปีเท่านั้นเองปัญหาสำคัญในการประมูลคราวที่แล้ว คือ บริษัทประมูลคลื่นไปใช้งานในราคาต่ำ แต่ผู้บริโภคใช้บริการราคาแพงเท่าเดิม ความเร็ว 3G ต่ำไม่เร็วจริง คุณภาพบริการโดยรวมไม่ดีขึ้น ร้องเรียนยาก รอสายนาน เสาโทรคมนาคมเต็มบ้านเต็มเมือง ทั้งๆ ที่กสทช.มีกติกาให้ลดราคา 15% รับประกันความเร็วไว้ 345 กิโลบิทส์ต่อวินาที(kbps) สายร้องเรียนโทรฟรี หรือให้มีกติกาการใช้เสาโทรคมนาคมร่วมกันปัญหาราคาประมูลที่ได้จำนวน  41,625 ล้านบาท จากราคาตั้งต้น 40,500 ล้านบาท เพิ่มเพียง 2.7% เพราะมี 3 บริษัทเข้าร่วมประมูลเท่ากับจำนวนคลื่นจำนวน 3 ชุด ยังคงพอจำภาพประมูลคลื่น 3G ที่เคาะเพียง 7 ครั้งกันได้ดี ว่า บริษัทดีแทคและบริษัท ทรู ไม่ได้เคาะราคาประมูลเพิ่มเลยทำให้ได้คลื่นไปใช้ในราคาตั้งต้นที่ 13,500 ล้านบาทต่อ 15 ปี หรือราคา 900 ล้านบาทต่อปี ยกเว้นบริษัทเอไอเอส ที่เคาะเพิ่มอีก 1,225 ล้านบาท ทำให้ได้คลื่นไปในราคา 14,625 ล้านบาท หรือราคา 975 ล้านบาทต่อปีถึงแม้เที่ยวนี้ในการประมูล 4G จะมีการกำหนดกติกาสองชั้นในแต่ละคลื่น กรณีมีคนประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับชุดคลื่น (ใบอนุญาต) จะมีการตั้งต้นที่ราคา 100% ของราคาประเมิน แต่ถ้ามีจำนวนผู้เข้าร่วมประมูลมากกว่าชุดคลื่นราคาตั้งต้นจะเริ่มที่ 70% ในคลื่น1800 MHz หรือราคาเริ่มต้นเพียง 13,920 ล้านบาทต่อ 15 ปี ซึ่งเป็นราคาที่เพิ่มเพียง 0.32 % ความคาดหวังที่ต้องการเห็นหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับใบอนุญาตประมูลคลื่น 4 G ในครั้งนี้ ต้องกำหนดให้ครบถ้วน สมบูรณ์ บังคับได้จริง ไม่ว่าจะเป็นราคาตั้งต้นที่ประเทศได้ประโยชน์ ความเร็วที่คนหูหนวกสามารถใช้งานได้จริงปกติความเร็วในระบบ 4G จะมากกว่า 3G จำนวน 10 เท่า ความเร็วที่รับประกันควรจะเพิ่มเป็น 3.5 Mbps ไม่ใช่กำหนดไว้ 345 kbps จึงถือได้ว่าเป็นมาตรฐานที่ต่ำมาก ซึ่งเมื่อเทียบกับความเร็วมาตรฐานของบริการ 4G ที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 100 Mbps รวมทั้งปัญหาเรื่องเสาโทรคมนาคมที่มีความขัดแย้งทั่วประเทศ ก็ควรกำหนดไม่ให้ตั้งในพื้นที่อ่อนไหว เช่น โรงเรียนโรงพยาบาลและชุมชนหรือหากจำเป็นก็ควรห่างไม่น้อยกว่า 400 -1,000 เมตร ส่วนราคาที่เป็นธรรมกับผู้บริโภคก็ควรลดไปตามสัดส่วนของ3G อย่างเป็นระบบและควรเริ่มระบบการคิดค่าโทรศัพท์ตามการใช้งานจริงหรือไม่ปัดเศษวินาทีหากการประมูลครั้งนี้ ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ให้ดีในใบอนุญาต ก็น่าจะเจอปัญหาซ้ำรอยเดิม คงต้องถามไว้ก่อนว่าใครจะรับผิดชอบ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 173 อยู่ในสายเลือด

มางานคุ้มครองผู้บริโภคที่จังหวัดอุบลราชธานี และจำเป็นต้องใช้บริการรถเช่า เพื่อนสนิทกันตั้งแต่สมัยเป็นเพื่อนนักเรียนปริญญาตรี ได้ให้คำแนะนำว่า ไปเช่ารถใช้งานแถวบ้าน เพราะบริษัทรถยนต์เช่าอยู่อาคารของบ้านเพื่อน ได้รับคำตอบว่ามีรถเช่าราคาประมาณ 1,069 บาท รวมประกันภัยชั้น 1  ใช้ได้ภายใน 24  ชั่วโมง หากเกิน 24  ชั่วโมง คิดชั่วโมงละ 100 บาท เกินสามชั่วโมง คิดอัตราเพิ่มอีก 1 วัน ไม่ถึง 15 นาที รถเช่าก็มาจอดรอหน้าบ้านเพื่อน รอทำสัญญา ซึ่งเราสามารถคืนรถเช่าได้ที่สนามบิน นับเป็นบริการที่สะดวก สบาย ยังไม่นับรวมบริการที่ลดราคา หากใช้บริการกับสายการบินที่มีบริการเช่ารถยนต์กับบางบริษัทอยู่ด้วย แต่ไม่ว่าจะเช่ารถขับด้วยวิธีไหน เราต้องไม่ลืมตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ด้วยก็แล้วกัน สิ่งแรก ที่ผู้บริโภครถเช่าในเมืองไทยต้องมี คือความรู้ด้านภาษาอังกฤษ เพราะสัญญาเช่ารถนั้น มันมีแต่ภาษาอังกฤษเท่านั้น ไม่มีสัญญาฉบับภาษาไทยเลย เมื่อถามหาสัญญาเช่าภาษาไทยไม่มีให้บริการ ถามว่า คนเช่าส่วนใหญ่เป็นคนไทยหรือต่างชาติก็ได้คำตอบว่าคนไทยมากกว่า(อ้าว ยังไง) ดังนั้นคงไม่ใช่ปัญหาคนไทยไม่เช่ารถแน่นอน ประการที่สอง รถที่นำมาให้เช่า ถูกให้ข้อมูลว่า เป็นรถที่มีบริการประกันภัยชั้น 1 เกิดปัญหาอะไรขึ้นมาคนเช่าไม่ต้องรับผิดชอบ แต่เมื่อสอบถามว่าหากเกิดอุบัติเหตุจะคุ้มครองยังไง ก็บอกว่าคุ้มครองรถ รถถูกขีดข่วน ชน ผู้เช่าขับไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ส่วนคนขับและผู้โดยสาร รับผิดชอบยังไง พยายามถามซ้ำหลายรอบก็ตอบคำถามไม่ได้ แต่ถ้าไม่ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ก็ได้ โดยราคาค่าเช่ารถยนต์จะถูกไปอีกประมาณ 200 กว่าบาท เพียงผู้เช่าต้องค้ำประกัน 20,000 บาท และต้องจ่ายขั้นต้นประมาณ 4,000 บาทหากเกิดอุบัติเหตุ หากมีประกันภัยชั้นหนึ่งค้ำประกันเพียง 10,000 บาท เมื่อขอดูสัญญาประกันภัยชั้น 1 ของรถยนต์ กลายเป็น(แค่)สัญญาพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือประกันภัยภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันต้องทำ (บุคคลที่สาม) เจ้าหน้าที่ก็ยืนยันว่า เราทำประกันภัยชั้น 1 ทุกคัน ไม่เคยมีปัญหา ไม่เคยมีใครถามเขาแบบนี้มาเลยในการทำงานหลายปี มีรอยขีดข่วนผู้เช่าก็ไม่รับผิดชอบอะไร เกิดอุบัติเหตุก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร เลยทำให้ตัดสินใจ ไม่เช่ารถ แต่ไม่มีเวลามากนัก จึงยังไม่ได้ตรวจสอบของทุกบริษัทในจังหวัดอุบลราชธานี ผู้อ่านฉลาดซื้อที่อยู่จังหวัดอื่นๆ ลองช่วยกันให้ข้อมูลมาหน่อยนะว่าจังหวัดต่างๆ ที่มีสนามบิน หรือมีบริการรถเช่าขับเอง มีสัญญาภาษาไทยมีสัญญาเรื่องการทำประกันภัยชั้น 1 ให้ผู้บริโภคตรวจสอบ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหรือไม่คำรับประกันของพนักงานให้เช่ารถคงไม่สามารถรับประกันได้ ถึงแม้คำโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา หากเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา เรื่องนี้เป็นเพราะสายเลือดผู้บริโภคแท้ๆ เลยต้องเช่ารถตู้ใช้บริการแทนที่จะได้เช่ารถยนต์ใช้งาน แต่ก็ถือว่าได้คนขับรถแถมมา สบายกว่าเดิมอีกนะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 172 บทบรรณาธิการ

สัปดาห์ที่ผ่านมาคุณสุภาพ คลี่ขจาย นักสื่อสารมวลชน ที่มีบทบาททางการเมืองด้วย ได้สัมภาษณ์สอบถามเรื่องความก้าวหน้าของกฎหมายปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ตอบคุณสุภาพไปว่า มีความคืบหน้าน้อยมาก กฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ก็ยังไปไม่ถึงไหน เพราะส่งให้คณะรัฐมนตรีไปตั้งแต่ 9 มีนาคม ที่ผ่านมา แต่จนบัดนี้กฎหมายยังนอนอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คุณสุภาพได้ตังคำถามว่า ทำไมไม่ออกมาโวยวายบอกให้คนอื่นได้รับรู้ ได้ตอบคุณสุภาพไปว่า กฎหมายฉบับนี้ถูกกล่าวหาว่าเป็นกฎหมาย NGOs เป็นกฎหมายองค์กรผู้บริโภค หากโวยวายมาก เขาก็จะบอกว่า เราทำเพราะอยากมีตำแหน่งในกฎหมายฉบับนี้ NGOs กำลังสร้างอำนาจของตนเองกฎหมายฉบับนี้เป็นจุดเปลี่ยน(คานงัด)ที่สำคัญของผู้บริโภค แต่เดิมที่ผู้บริโภคต้องรอให้คนอื่นมาช่วยเหลือ กฎหมายฉบับนี้จะทำให้ผู้บริโภคมีเพื่อน เป็นการเพิ่มพลังและอำนาจต่อรองให้กับผู้บริโภค มีแล้วจะมีประโยชน์อะไรกับผู้บริโภค ประโยชน์มากสุดคงทำให้ผู้บริโภค มีความสามารถเท่าทันการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน โฆษณาในทีวีที่หลอกเราได้ทุกวัน มีที่พึ่งเมื่อเกิดปัญหาการละเมิดสิทธิกับผู้บริโภค ปัจจุบันเมื่อเกิดปัญหากับผู้บริโภค ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยอยากใช้สิทธิ เพราะเราส่งเสริมให้ใช้สิทธิ แต่พบว่า เมื่อใช้สิทธิแล้วยาก หลายคนไปทุกหน่วยงาน ใช้เวลาตั้งแต่เป็นเดือนยันหลายปี องค์การนี้จะช่วยทำให้กลไกต่าง ๆ ทำงานและทำหน้าที่ของตนเองได้มากขึ้น บางคนร้องเรียนหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคใช้เวลานานถึง 92 วันแล้วยังไม่แล้วเสร็จในขั้นตอนการไกล่ไกลี่ย? บางคนร้องเรียนว่า ช่วยฟ้องคดีอยู่ 4 ปี แต่แพ้คดีเพราะไม่ใช่คดีผู้บริโภค คงเป็นตัวอย่างส่วนน้อยของความทุกข์ของผู้บริโภคที่ใช้สิทธิในปัจจุบัน การเพิ่มแต้มต่อให้ผู้บริโภคสำคัญในยุคที่รัฐเข้มแข็ง และสนับสนุนภาคธุรกิจเป็นหลักในทิศทางการพัฒนา การปฏิรูปในปัจจุบัน ต้องเพิ่มแต้มต่อหรืออำนาจต่อรองให้ผู้บริโภคเหมือนที่จอห์นเอฟเคเนดี้บอกว่า หากสหรัฐอเมริกาจะเป็นมหาอำนาจต้องเพิ่มอำนาจต่อรองให้ผู้บริโภคและทำให้สิทธิของคนผิวดำทัดเทียมกับคนผิวขาว กฎหมายฉบับนี้ที่ไม่เกิดเพราะมีคนบอกว่า ภาครัฐและธุรกิจไม่อยากให้เกิด ย่อมสะท้อนว่ากฎหมายฉบับนี้ดี และจะเป็นพลังและแต้มต่อให้ผู้บริโภคในอนาคตแน่นอน 17 ปีที่ผ่านมา หากกฎหมายฉบับนี้ถูกผลักดันในต่างประเทศ ป่านนี้คงได้ตั้งชื่อว่าเป็นกฎหมายของสารีไปแล้ว(อิๆ)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 171 ถึงเวลา ? ยุติการขยายตัวร้านสะดวกซื้อในชุมชน

พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 มีเจตนารมณ์ ป้องกันไม่ให้มีการผูกขาดการค้าโดยพ่อค้าคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง กฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ไว้อย่างมีระบบ และคำนึงถึงความเป็นธรรมในการควบคุมให้ผู้ประกอบการค้าด้วยกัน ไม่เอาเปรียบกันเอง หากไม่ควบคุมผู้ประกอบการค้าให้ดี ในที่สุดผู้บริโภคจะได้รับความเดือดร้อนมาก ถ้าเป็นการผูกขาดสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิต กฎหมายจึงต้องป้องกันไว้ก่อน มีโอกาสไปรับฟังปัญหาผู้บริโภคในภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ทำให้ได้รับทราบปัญหาของผู้ประกอบการไปด้วย ซึ่งดูแล้วก็ไม่น่าจะเกี่ยวกับผู้บริโภค โดยเฉพาะปัญหาการปิดกิจการของร้านอาหารตามสั่ง จากผลกระทบของร้านสะดวกซื้อที่เปิดฝั่งตรงข้าม หากเราไม่ได้เป็นลูกสาว หรือคนในครอบครัวร้านสะดวกซื้อ เราก็ไม่มีโอกาสได้รับรู้ปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้น และมีความทุกข์อย่างไร  แต่หากผู้บริโภควิเคราะห์ให้ดี จะเห็นได้ว่า การปิดกิจการของร้านอาหารตามสั่งย่อมมีผลต่อร้านขายผัก ขายปลา ขายหมู ขายของในตลาดอีกมากมาย และย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกระทบกับเกษตรกรที่ปลูกผัก หรือคนที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย เหมือนบทเรียนผลกระทบจากส้มจีนที่ทำให้ส้มเขียวหวาน ส้มบางมด ส้มรังสิต ส้มโชกุน ส้มฝาง ล้มหายตายจาก ส้มในประเทศราคาแพงแถมไม่มีคุณภาพ ไม่อร่อยในปัจจุบัน ระบบการผลิตอาหารที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบริษัทขนาดใหญ่ ถึงแม้บางครั้งจะทำให้อาหารมีราคาถูก เพราะต้นทุนที่แตกต่างกัน เช่น ต้นทุนในการทำข้าวผัด บะหมี่เกี๊ยวที่แตกต่างกัน ถึงแม้ร้านเล็กๆ ต่างจะปรับตัวใช้การเพิ่มประสิทธิภาพ ดำเนินการในระบบเฟรนไชส์ แต่ก็ไม่สามารถสู้ต้นทุนที่แตกต่างกัน หรือการแข่งขันกับทุนขนาดใหญ่ที่มีต้นทุนไข่ หมู ไก่ ข้าวในราคาที่ต่ำกว่า เหมือนการชกมวยที่ใช้นักมวยคนละรุ่นมาชกแข่งขันกันย่อมไม่มีสู้กันได้ หากมีแต่การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมเช่นนี้ ย่อมจำกัดทางเลือกของผู้บริโภคไปโดยปริยาย เพราะถึงแม้เราจะสนใจ ให้ความสำคัญหรือต้องการอาหารที่หลากหลาย ก็ยากที่จะมีให้บริโภค เพราะอาหารที่มีมักจะกลายเป็นอาหารที่ต้องได้กำไร สามารถทำได้ในระบบขนาดใหญ่ ทางเลือกของอาหารหรือความมั่นคงของอาหารของผู้บริโภคก็อยู่ในกำมือของผู้ผลิตขนาดใหญ่ เช่น การผูกขาดสินค้าเกษตรที่มีให้เห็นในหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็น ไก่  ไข่ ปลาบางชนิด ซึ่งส่งผลต่อการบริโภคที่หลากหลายหรือแม้แต่ท้ายที่สุดส่งผลต่อวิถีการบริโภคของผู้บริโภคอย่างเรา ดังที่วิจัยของกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ที่สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยบริโภคแอปเปิ้ล เป็นลำดับต้นมากกว่าผลฝรั่งมาหลายปี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 170 มีเพียงสคบ. ไม่เห็นด้วย ทำไมพลเมืองอย่างเราต้องยอม

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกโฆษณาว่า พลเมืองเป็นใหญ่ ซึ่งภาครัฐที่หวงอำนาจก็จะบอกว่าไม่ชอบเลยมากไป ส่วนคนในภาคประชาชนบางส่วนก็บอกว่าจะจริงหรือ ไม่ใช่แค่คำโฆษณาสินค้าหรือฉลากสินค้าที่เข้าข่ายโอ้อวดเกินจริง ก็ต้องบอกว่า ในหมวดสิทธิเสรีภาพมีความก้าวหน้ามากขึ้นจริง เช่นกลไกการเข้าชื่อ 10,000 รายชื่อในการเสนอกฎหมายของประชาชน ยกตัวอย่างการเสนอกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีไปตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา โดยหลักการกฎหมายของสปช. รัฐบาลจะพิจารณาทันที รวดเร็ว ไม่เกิน 20 วัน แต่จนบัดนี้ยังไม่เห็นร่างกฎหมายหลุดรอดจากมือคณะรัฐมนตรีไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เหตุผลที่ยังไม่ผ่านคณะรัฐมนตรีเพราะ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีความเห็นต่อกฎหมายฉบับนี้ว่า มีความซ้ำซ้อนกับอำนาจของสคบ. ทำให้สคบ. มีเจ้านายเพิ่ม ไม่มีความจำเป็น ฯลฯ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีความซ้ำซ้อนเลย เพราะองค์การนี้ทำหน้าที่เหมือนสปช. เช่น การเสนอให้คิดค่าโทรศัพท์ไม่ปัดเศษวินาทีเป็นนาที สามารถตรวจสอบกสทช. ต่อเนื่องได้ว่า ทำไมไม่บังคับใช้การคิดค่าโทรศัพท์ตามที่ใช้จริงซะที แต่ไม่ได้มีหน้าที่ปรับบริษัทโทรศัพท์มือถือ ซึ่งนั่นเป็นอำนาจของหน่วยงานรัฐ หรือการที่สปช. ช่วยเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยเงินกู้ด้วยไม่ใช่ลดดอกเบี้ยเงินฝากอย่างเดียว เพราะสคบ. หรือหน่วยงานรัฐอื่นๆ คงไม่กล้าเถียงรัฐมนตรีคลังแน่นอน แต่กฎหมายฉบับนี้ถูกเตะสกัด โดนวางกรวยยางสามสี่ชั้น ขัดแข้งขัดขาอยู่อย่างเต็มที่ ท่ามกลางการทำหน้าที่กันไปวันๆ ไม่เต็มที่ ไม่ได้ทำอะไรให้ประชาชนอย่างเราได้รู้สึกอุ่นใจ มั่นใจว่าได้รับการคุ้มครอง   หากเทียบเคียงด้วยการเสนอกฎหมายนี้แล้ว เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผลใช้บังคับ และเกิดมีประชาชนเข้าชื่อ 10,000 ชื่อ เสนอกฎหมาย กฎหมายจะถูกพิจารณาในขั้นแรกของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะถูกนำส่งนายกรัฐมนตรีเพราะเกี่ยวข้องกับการเงิน(ให้มีการสนับสนุนที่เป็นอิสระ 3 บาทต่อประชากร) และนายกรัฐมนตรีจต้องพิจารณาภายใน 30 วัน หากไม่แล้วเสร็จถือว่านายกรัฐมนตรีเห็นชอบ ก็จะสามารถผ่านขั้นตอนรัฐสภาทั้งสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และหากไม่เห็นชอบก็ต้องมีการตั้งกรรมาธิการ่วม โดยทุกขั้นตอน ต้องมีสัดส่วนของผู้เสนอกฎหมายไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของ แต่หลังจากออกมายังกรรมาธิการร่วม สิ่งที่กรรมการยกร่างหลงลืมไปคือ ต้องมีระยะเวลาที่ชัดเจนในการพิจารณากฎหมายของทั้งสองสภา เพราะจากบทเรียนของกฎหมายองค์การอิสระฯ ในอดีต คือหลังจากผ่านกรรมาธิการร่วมแล้ว วุฒิสภา นำไปพิจารณาเห็นชอบทันที ส่วนสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีการตั้งวาระ ไม่มีการพิจารณา จนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ยุบสภาและเกิดการรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ข้อดีอีกประการหนึ่งในร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญใหม่ คือ คงเป็นสิทธิของผู้เสนอกฎหมาย เพราะหากสุดท้ายกฎหมายที่เข้าชื่อกันมาไม่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ผู้เข้าชื่อมีสิทธิร้องขอให้ทำประชามติกฎหมายฉบับนั้นได้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกโฆษณาว่า พลเมืองเป็นใหญ่ ซึ่งภาครัฐที่หวงอำนาจก็จะบอกว่าไม่ชอบเลยมากไป ส่วนคนในภาคประชาชนบางส่วนก็บอกว่าจะจริงหรือ ไม่ใช่แค่คำโฆษณาสินค้าหรือฉลากสินค้าที่เข้าข่ายโอ้อวดเกินจริง ก็ต้องบอกว่า ในหมวดสิทธิเสรีภาพมีความก้าวหน้ามากขึ้นจริง เช่นกลไกการเข้าชื่อ 10,000 รายชื่อในการเสนอกฎหมายของประชาชน ยกตัวอย่างการเสนอกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีไปตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา โดยหลักการกฎหมายของสปช. รัฐบาลจะพิจารณาทันที รวดเร็ว ไม่เกิน 20 วัน แต่จนบัดนี้ยังไม่เห็นร่างกฎหมายหลุดรอดจากมือคณะรัฐมนตรีไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เหตุผลที่ยังไม่ผ่านคณะรัฐมนตรีเพราะ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีความเห็นต่อกฎหมายฉบับนี้ว่า มีความซ้ำซ้อนกับอำนาจของสคบ. ทำให้สคบ. มีเจ้านายเพิ่ม ไม่มีความจำเป็น ฯลฯ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีความซ้ำซ้อนเลย เพราะองค์การนี้ทำหน้าที่เหมือนสปช. เช่น การเสนอให้คิดค่าโทรศัพท์ไม่ปัดเศษวินาทีเป็นนาที สามารถตรวจสอบกสทช. ต่อเนื่องได้ว่า ทำไมไม่บังคับใช้การคิดค่าโทรศัพท์ตามที่ใช้จริงซะที แต่ไม่ได้มีหน้าที่ปรับบริษัทโทรศัพท์มือถือ ซึ่งนั่นเป็นอำนาจของหน่วยงานรัฐ หรือการที่สปช. ช่วยเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยเงินกู้ด้วยไม่ใช่ลดดอกเบี้ยเงินฝากอย่างเดียว เพราะสคบ. หรือหน่วยงานรัฐอื่นๆ คงไม่กล้าเถียงรัฐมนตรีคลังแน่นอน แต่กฎหมายฉบับนี้ถูกเตะสกัด โดนวางกรวยยางสามสี่ชั้น ขัดแข้งขัดขาอยู่อย่างเต็มที่ ท่ามกลางการทำหน้าที่กันไปวันๆ ไม่เต็มที่ ไม่ได้ทำอะไรให้ประชาชนอย่างเราได้รู้สึกอุ่นใจ มั่นใจว่าได้รับการคุ้มครอง หากเทียบเคียงด้วยการเสนอกฎหมายนี้แล้ว เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผลใช้บังคับ และเกิดมีประชาชนเข้าชื่อ 10,000 ชื่อ เสนอกฎหมาย กฎหมายจะถูกพิจารณาในขั้นแรกของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะถูกนำส่งนายกรัฐมนตรีเพราะเกี่ยวข้องกับการเงิน(ให้มีการสนับสนุนที่เป็นอิสระ 3 บาทต่อประชากร) และนายกรัฐมนตรีจต้องพิจารณาภายใน 30 วัน หากไม่แล้วเสร็จถือว่านายกรัฐมนตรีเห็นชอบ ก็จะสามารถผ่านขั้นตอนรัฐสภาทั้งสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และหากไม่เห็นชอบก็ต้องมีการตั้งกรรมาธิการ่วม โดยทุกขั้นตอน ต้องมีสัดส่วนของผู้เสนอกฎหมายไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของ แต่หลังจากออกมายังกรรมาธิการร่วม สิ่งที่กรรมการยกร่างหลงลืมไปคือ ต้องมีระยะเวลาที่ชัดเจนในการพิจารณากฎหมายของทั้งสองสภา เพราะจากบทเรียนของกฎหมายองค์การอิสระฯ ในอดีต คือหลังจากผ่านกรรมาธิการร่วมแล้ว วุฒิสภา นำไปพิจารณาเห็นชอบทันที ส่วนสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีการตั้งวาระ ไม่มีการพิจารณา จนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ยุบสภาและเกิดการรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ข้อดีอีกประการหนึ่งในร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญใหม่ คือ คงเป็นสิทธิของผู้เสนอกฎหมาย เพราะหากสุดท้ายกฎหมายที่เข้าชื่อกันมาไม่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ผู้เข้าชื่อมีสิทธิร้องขอให้ทำประชามติกฎหมายฉบับนั้นได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 169 ถึงเวลาจัดการชาเขียว

การทำการตลาดแบบชิงโชคแถมพก ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมการขายสินค้ากลุ่มอาหารเป็นอย่างดี เห็นได้จากปรากฎการณ์การแจกรถเบนซ์ รางวัลเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ของชาเขียวอิชิตัน จนผู้บริโภคไม่มั่นใจว่าจะดื่มชาหรือเสี่ยงโชค ทางออกที่ชะงัด ในการแก้ปัญหาชาเขียวโฆษณาแบบชิงโชคแถมพก มีสี่ประการที่สำคัญ หนึ่ง ต้องทำให้ผู้บริโภคมีข้อมูลให้มากที่สุด ว่ายี่ห้อไหนบ้างที่มีน้ำตาลมากสุด โดยต้องสังเกตปริมาณน้ำตาลข้างขวด จากการสำรวจ 32 ยี่ห้อ พบว่า มีจำนวน 24 ยี่ห้อ ที่มีน้ำตาลตั้งแต่ระดับ 6 ช้อนชาสูงถึง 18.12 ช้อนชา มีเพียง 8 ยี่ห้อเท่านั้นที่มีน้ำตาลต่ำกว่า 6 ช้อนชา เพราะจะทำให้สติของผู้บริโภคกลับคืนมาว่านอกจากไม่ได้รถเบนซ์แล้ว ยังจะได้เบาหวานแถมมาด้วย เรียกว่าหากดื่มชาที่มีน้ำตาล 18 ช้อน ต้องหยุดกินน้ำตาลไม่น้อยกว่า 3 วัน โดยปกติคนเราไม่ควรกินน้ำตาลมากกว่า 6 ช้อนชาต่อวัน สอง ต้องทำให้มาตรการในการควบคุมสินค้ากลุ่มนี้ใกล้เคียงกับสินค้ากลุ่มอื่นๆ หากเปรียบเทียบคงเป็นเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน  ซึ่งมีกติกาหลายอย่างในการกำกับการโฆษณา เช่น ห้ามโฆษณาชิงโชค แถมพก มีคำเตือนทุกครั้งในการโฆษณา “ห้ามดื่มเกินวันละ2 ขวด” ฉลากข้างขวดต้องมีการระบุคำเตือน “เด็กสตรีมีครรภ์ ไม่ควรบริโภค” แต่ขณะที่สินค้ากลุ่มชาเขียวโฆษณาได้อย่างอิสระเสรีรวมทั้งชิงโชคและแถมพก เพียงแต่ต้องขออนุญาตเท่านั้น ซึ่งหากมีการแจกรางวัลจริงก็สามารถโฆษณาได้ สาม น่าจะถึงเวลาที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาต้องมีมาตรการฉลากไฟจราจร(เขียวเหลืองแดง) สำหรับอาหาร ซึ่งพบว่า ทุกๆ ปีจะมีคนเสียชีวิตสูงถึง 11 ล้านคนทั่วโลก และยังมีปัญหาอ้วนหรือน้ำหนักเกินมากถึง 4,000 ล้านคน การมีฉลากนี้จะช่วยทำให้ผู้บริโภคเลือกสินค้าได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของตนเอง และส่งเสริมให้ธุรกิจปรับตัวทำสินค้าที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น   มาตรการสุดท้าย เป็นมาตรการทางภาษีที่ควรจะต้องริเริ่มเก็บภาษีน้ำตาล ซึ่งในวาระการปฏิรูปครั้งนี้ หากสามารถทำได้จริง การบริโภคน้ำตาลของประชาชนก็จะลดลงและมีส่วนช่วยในการลดภาวะโรคอ้วน ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการวิจัยที่พบว่า กว่า 30 ปีที่ผ่านมา คนไทยบริโภคน้ำตาลเพิ่มเป็น 3 เท่า และจากการเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ ประเทศไทยเป็นผู้บริโภคน้ำตาลสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง นอกจากโรคอ้วนแล้ว น้ำตาลยังเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดโรคหัวใจ เช่น หัวใจวายมากขึ้นด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 167 เมื่อ layman ชนะผู้เชี่ยวชาญรอบที่ 21

มติของสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) เรื่องการให้ชะลอการสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ถูกใจสาธารณชนไม่น้อยไปกว่ามติของสปช.ที่ให้กสทช. สั่งให้บริษัทคิดค่าโทรศัพท์ ตามจริงเป็นวินาทีโดยไม่ปัดเศษเป็นนาที ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคประหยัดเงินไปได้มากกว่า 43,000 ล้านบาทต่อปี เหตุผลในการให้สัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 นั้นคือ ปริมาณสำรองพลังงานปิโตรเลียมโดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติของประเทศไทยมีน้อย และกำลังจะหมดไป ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ต้องนำเข้าพลังงานทุกประเภท ทั้งที่ข้อเท็จจริง เป็นเรื่องหมดอายุสัญญาสัมปทานปิโตรเลียมในปี พ.ศ. 2565 หรืออีก 7 ปีจากนี้ ซึ่งจำนวนปีที่เหลือนี้ได้ถูกนำมาใช้ในลักษณะให้ดูเหมือนว่า ประเทศไทยใกล้จะไม่มีพลังงานใช้แล้วหากไม่เร่งเปิดสัมปทานต่อไป เพราะปริมาณก๊าซที่มีอยู่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอายุของสัญญาสัมปทาน เป็นเพียงประเด็นสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 1 ที่รัฐบาลให้กับบริษัทยูโนแคลหรือเชฟรอนในปัจจุบันในแหล่งเอราวัณ และที่ให้กับบริษัท ปตท.สผ.ในแหล่งบงกช ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในอ่าวไทย ตั้งแต่ปี 2514 กำลังจะหมดสัญญาสัมปทาน หากไม่รีบดำเนินการจะทำให้ราคาพลังงานสูงเพราะต้องซื้อจากต่างประเทศ แต่โดยข้อเท็จจริง ราคาพลังงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับการสัมปทานพลังงานที่ได้ เพราะรัฐบาลมีนโยบายใช้ราคาพลังงานตามกลไกตลาดโลกแถมมีต้นทุนเทียมในกรณีราคาน้ำมัน เช่น ค่าขนส่งน้ำมันทั้งที่ไม่มีการขนส่งจริง หรือในกรณีก๊าซธรรมชาติ เราใช้ก๊าซธรรมชาติ 16.10 บาทต่อกิโลกรัมขณะที่ราคาในตลาดโลกเพียง 14 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น เช่น เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2555 คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบให้ ปตท. ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) กับบริษัท Qatar Liquefied Gas Company Limited ประเทศกาตาร์ ในปริมาณ 2 ล้านตันต่อปี อายุสัญญา 20 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 โดยเป็นสัญญาซื้อขาย LNG ระยะยาวฉบับแรกของประเทศไทย ดังนั้นถึงแม้การสัมปทานครั้งนี้ เราจะได้ก๊าซธรรมชาติมากน้อยแค่ไหนก็ตาม ย่อมส่งผลต่อราคาก๊าซธรรมชาติในประเทศน้อย เนื่องจากโครงสร้างราคาต้องรวมค่าใช้จ่ายซื้อก๊าซ 2 ล้านตันต่อปีที่ทำสัญญาล่วงหน้าไปแล้ว 20 ปีของปตท. เหมือนกับรูปแบบใช้หรือไม่ใช้ก็ต้องจ่าย (Take or Pay)   โจทย์สำคัญในการปฏิรูปกิจการพลังงาน จึงต้องทำให้เกิดกลไกใหม่หรือองค์กรบริหารกิจการพลังงานรูปแบบใหม่ที่ลดผลประโยชน์ขัดแย้งในกลุ่มข้าราชการระดับสูงและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทผูกขาดพลังงาน โดยเป็นกลไกที่มีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514  ให้มีเรื่องเหล่านี้ และรวมถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ในกิจการพลังงาน นอกจากนี้ การยกร่างรัฐธรรมนูญ มีแนวทางที่อาจจะกำหนดให้ทรัพยากรพลังงานเป็นสมบัติของชาติและประชาชน หากเร่งเดินหน้าสัมปทานครั้งนี้ซึ่งเป็นเวลานานถึง 29-39 ปี ก็จะไม่มีความหมายใดๆ เพราะทรัพยากรธรรมชาติได้ถูกบริหารจัดการไปหมดแล้ว การทำให้เรื่องพลังงานเป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องผู้เชี่ยวชาญ เป็นมายาคติที่ทำให้คนเชื่อถือนักวิชาการพลังงาน ทั้งที่เรื่องนี้เต็มไปด้วยผลประโยชน์ และความมั่งคั่งของทุนบางกลุ่มเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 166 แด่เธอและครอบครัว

ข่าวศาลฎีกา มีคำสั่งไม่รับฎีกา ของคุณปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนาด้วยเหตุ ไม่แนบคำร้องขออนุญาตฎีกาไปด้วย สร้างความผิดหวังกับความไม่เป็นธรรมจากปัญหาทางเทคนิคกฎหมาย เแปลกใจกับบทบาทเจ้าหน้าที่ศาล ทนาย และคนที่แวดล้อมเรื่องนี้ทั้งหลาย ว่าเมื่อฎีกาไปถึงศาล ไม่มีใครทักท้วงทนายเลยหรือว่าต้องแนบคำร้องด้วย ที่สำคัญเมื่อรู้ว่าไม่ได้ยื่นคำร้อง ก็ทิ้งเวลาเนิ่นนานจนแก้ไขไม่ทันการ จนแพ้เพราะปัญหาเทคนิคไม่ใช่แพ้เพราะข้อเท็จจริงหรือเนื้อหาของเรื่องราว คุณปรียนันท์ เป็นนักสู้เพื่อผู้ป่วยคนสำคัญ ปัจจุบันเป็นประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ที่เริ่มต่อสู้จากเรื่องของลูกตัวเอง จนเป็นที่พึ่งของผู้ป่วยและครอบครัวผู้เสียหายปีละหลายร้อยคน ทุกๆ วันต้องเปิดโทรศัพท์ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง เพราะไม่รู้ว่าจะมีผู้เสียหายหรือผู้เดือดร้อนโทรศัพท์มาตอนไหน ทั้งคำปรึกษาและกำลังใจกับทุกคน ความหวังสูงสุดของเธอ นอกเหนือจากความเป็นธรรมต่อลูกชายจากศาลยุติธรรม ซึ่งขณะนี้เป็นหมันจากเทคนิคของกระบวนการยุติธรรม คงจะเป็นการมีกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขในประเทศไทย กฎหมายฉบับนี้ได้รอการพิจารณารับหลักในสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า 5 ปี ด้วยมีกลุ่มแพทย์จำนวนไม่กี่คนที่ยังคัดค้านอย่างต่อเนื่องอย่างไม่มีเหตุผล กฎหมายมีหลักการอย่างน้อยสามส่วนที่สำคัญ คือการให้ความคุ้มครองด้วยการเยียวยาผู้เสียหายที่เทียบเท่าการฟ้องคดีทั้งผู้ให้และผู้รับบริการสาธารณสุข ประการที่สองลดการฟ้องร้องผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ เพราะเชื่อว่าไม่มีผู้ประกอบวิชาชีพคนใดที่ต้องการหรือมีเจตนาให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือพิการจากการรักษา แต่ยังมีปัญหาจากระบบบริการอีกมาก เช่น อุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอ ไม่สะอาด ความเชี่ยวชาญของแพทย์ หรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ  และสุดท้ายมีระบบในการนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการของโรงพยาบาลและหน่วยบริการต่าง ๆ   หวังว่า กระบวนการยุติธรรมที่ตีบตันและจำกัดด้วยเทคนิค จะเป็นแรงส่งให้กฎหมายฉบับนี้ประสบความสำเร็จ และมอบเป็นของขวัญกับผู้ป่วยและครอบครัวคุณปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ที่ต่อสู้ด้วยชีวิตของลูกและครอบครัวมามากกว่า 20 ปี สำหรับสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ถือเป็นความสำเร็จที่ทำได้เร็ว (Quick win) และช่วยเพิ่มความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในระบบบริการสาธารณสุข หวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากทั้งสังคมไทย

อ่านเพิ่มเติม >