ฉบับที่ 218 สารเร่งเนื้อแดง

สารเร่งเนื้อแดง        ผมมีเพื่อนทำฟาร์มเลี้ยงหมูอยู่นครปฐม เขาเล่าให้ฟังว่าปัจจุบันผู้เลี้ยงหมูจำนวนมากกลับมาใช้สารเร่งเนื้อแดงผสมในอาหารสัตว์เหมือนเมื่อก่อน เพราะคนจับหมูชอบและให้ราคาดีรวมถึงเป็นความต้องการของเขียงขายเนื้อหมูด้วย ผมจึงสงสัยว่ากฎหมายที่ห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้นำมาปฏิบัติกันอย่างจริงจังเพียงใดหรือเป็นเพียงช่องทางให้เจ้าหน้าที่เรียกรับผลประโยชน์จากเจ้าของฟาร์มเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงสารตกค้างที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคเนื้อหมูเลย ผมจึงอยากร้องเรียนมายังท่านในฐานะองค์กรผู้บริโภค ช่วยตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องว่าปล่อยปละละเลยหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคทุกคน ผมหวังว่าท่านคงเห็นถึงอันตรายของสารดังกล่าว                                                ครอบครัวผู้บริโภคเนื้อหมู ตอบ        ขอบคุณ​ สำหรับข้อมูล ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นดีๆ​ ที่เป็นประโยชน์ กับงานคุ้มครองผู้บริโภคนะคะ​ เรื่องสารเร่งเนื้อแดง​เป็นเรื่องหนึ่งในหลายเรื่องที่เป็นปัญหา​ของบ้านเรา​ นิตยสารฉลาดซื้อ​เองก็จับตามองปัญหานี้อยู่เช่นกัน ทั้งการแก้ไขปัญหาและการเตือนภัยผู้บริโภค เราจะทำงานไปด้วยพร้อมกันค่ะ ท่านผู้อ่านท่านอื่นสามารถบอกเล่าข้อมูล หรือเสนอความคิดเห็น​ รวมทั้งเสนอเรื่องที่ท่านสนใจ​ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์​ด้านสุขภาพ​ อาหาร​ และนโยบาย​ ทางเราหาข้อมูล สำรวจ หรือทดสอบ ทางเรายินดีจะนำเรื่องเหล่านี้มาขยายความเป็นข้อมูลดีๆ​ คืนกลับให้แก่ท่านผู้อ่านต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 217 โลกดิจิทัลที่ดีกว่า #Better Digital World

        ซื้อบัตรโดยสารรถไฟฟ้าแรบบิทของบีทีเอส จองตั๋วเครื่องบิน เปิดบัญชีธนาคาร ทำประกันชีวิต โหลดโปรแกรมแอปพลิเคชันฟรี ดูข้อมูลแนะนำเส้นทางในการเดินทาง ไปเจรจาไกล่เกลี่ยที่ศาลในการฟ้องคดี ต่างต้องการข้อมูลหมายเลข 13 หลักทั้งหมด การเพิ่มขึ้นของข้อมูลดิจิทัลในทุกด้านของชีวิตประจำวันของผู้บริโภค         การคุ้มครองผู้บริโภคควรขยายไปสู่บริการดิจิทัลทั้งหมดโดยไม่คำนึงว่า ผู้บริโภคจ่ายเงินในการใช้บริการหรือให้ข้อมูลเพื่อเข้าถึงบริการเหล่านั้นหรือไม่ การพัฒนาเทคโนโลยีและการตลาดในปัจจุบัน ทำให้การคุ้มครองผู้บริโภคล้าสมัยไปแล้ว กติกาเฉพาะด้านที่มีขึ้นมาใหม่ทับซ้อนกับกติกาในอดีต และกติกาใหม่ๆ ไม่ฉลาดพอ ไม่ครอบคลุม และไม่คำนึงถึงการพัฒนาเทคโนโลยีและการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น การซื้อสินค้าผ่านการตลาดทางสังคมออนไลน์ แกร็บแทกซี่ ที่พักบีเอ็นบี(Airbnb) หรือแม้แต่กรณีล่าสุดในการถ่ายทอดสดการกราดยิงผู้คนที่กำลังสวดมนต์ในสุเหร่าของนิวซีแลนด์ที่ใช้เวลานานกว่า FB จะสามารถจัดการได้         ความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ทางดิจิทัลของผู้บริโภคควรขยายการคุ้มครองผู้บริโภคไปยังบริการดิจิทัลทั้งหมดไม่ว่าผู้บริโภคจะชำระค่าบริการหรือไม่ ควรพิจารณาวิธีการทางเลือกอื่นๆ เช่น การกำกับกันเอง การกำกับร่วมกันระหว่างธุรกิจและผู้บริโภคในการพัฒนาวิธีแก้ปัญหาในอนาคต เช่น ในสหภาพยุโรป ที่มีกฎ กติกาเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภคที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคจริง หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคต้องสามารถกำหนดกติกาในอนาคตได้ และสำรวจข้อดีและข้อเสียของกฎการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล         ย้อนกลับมามองกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพิ่งผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติปลายเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ในมาตรา 4 ก็จะพบว่า การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ครอบคลุมไปถึงข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต และสมาชิกตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบธุรกิจ ข้อมูลเครดิต ซึ่งทำให้สถาบันการเงินทั้งหมดอันได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บรษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต นิติบุคคลที่ให้บริการบัตรเครดิต นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการทางการเงิน นิติบุคคลอื่นที่ประกอบกิจการให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ ตามที่คณะกรรมการประกอบธุรกิตข้อมูลเครดิตกำหนด        นอกจากนี้ยังไม่คุ้มครองในกรณี การดำเนินการของหน่วยงานรัฐ บุคคลหรือนิติบุคคลที่ทำการรวบรวมไว้เฉพาะเพื่อกิจการสื่อมวลชน สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา รวมถึงคณะกรรมาธิการที่แต่งตั้งโดยสภาดังกล่าว การพิจารณาพิพากษาคดีของศาล ที่ไม่ต้องถูกใช้บังคับและไม่ต้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล น่าเป็นห่วงว่า การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะใช้บังคับกับใครเพราะดูจะยกเว้นไปทั้งหมด        หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคจะสามารถกำหนดมาตรการลงโทษเมื่อจำเป็นได้อย่างไร หรือการคุ้มครองผู้บริโภคโดยการออกแบบไว้ล่วงหน้า สำหรับคอมพิวเตอร์จะทำได้อย่างไร แต่ท่ามกลางความไม่เท่าเทียมของกติกาในประเทศต่างๆ แต่ขณะที่การซื้อขายข้ามโลกเช่นนี้ อาจจะทำให้หลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแบบสากลบังคับใช้ก็ได้ เพราะในยุโรปหากเกิดความเสียหายอาจจะไม่คุ้มกับค่าปรับที่สูงมากถึง 20 ล้านยูโร(800 ล้านบาท) หรือไม่เกิน 4% ของรายได้รวมทั่วโลก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 216 จดหมายถึงบอกอ

เคยอ่านเจอในเพจของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและที่อื่นๆ ว่า ทิชชูเปียกไม่สามารถย่อยสลายได้จริงหรือไม่คะ จะรอบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้นะคะ ตุ๊กตา  ตอบ            ขอบคุณท่านสมาชิกที่ติดตามอ่านฉลาดซื้อนะคะ เรื่องทิชชูเปียกเป็นปัญหาที่น่าหนักใจ เราควรเลือกใช้เท่าที่จำเป็น หากจำเป็นต้องใช้จริงๆ ควรเก็บใส่ถุงพลาสติกเล็กๆ  แล้วนำกลับมาฝังกลบที่บ้านหากสามารถทำได้นะคะ  เพราะทิชชูเปียกไม่ใช่วัสดุที่จะย่อยสลายอย่างรวดเร็ว เพราะมันมีส่วนประกอบของเส้นใยพลาสติกที่ย่อยสลายไม่ได้ เมื่อมันถูกทิ้งลงก้นทะเล มันจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่สัตว์ทะเลเลือกกินและเป็นอันตรายไม่ต่างจากถุงพลาสติก        จากการศึกษาของวอเตอร์ ยูเค (Water UK) องค์การที่ทำงานเกี่ยวกับน้ำและน้ำเสียในอังกฤษ พบว่า ทิชชูเปียก เป็นสาเหตุหลักถึงร้อยละ 93 ที่ทำให้ท่อน้ำในอังกฤษอุดตัน ซึ่งปัญหาท่ออุดตันนี้ทำให้อังกฤษต้องใช้จ่ายงบประมาณราวปีละ 100 ล้านปอนด์ หรือ 4,355 ล้านบาท โดยเมื่อเดือนเมษายนปี 2561 ที่ผ่านมา ทางการอังกฤษพบทิชชูเปียก 5,453 แผ่นในพื้นที่ 116 ตารางเมตรของแม่น้ำเทมส์ คาดการณ์ว่า ในปี 2564 ทิชชูเปียกทุกประเภททั่วโลก จะมียอดขายสูงถึง 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 641,000 ล้านบาท ปัญหาเรื่องขยะพลาสติกยังมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจ ฉลาดซื้อจะนำมาฝากต่อไปค่ะ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 215 จดหมายถึงบอกอ

จดหมายจากบอกอ             เรื่องไขมันทรานส์ ที่ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้แล้ว ทำไมยังเห็นขนมและขนมปังหลายยี่ห้อ ยังผสมมาการีน เนยขาว เนยเทียม เนยผสม ให้ผู้บริโภคกินอยู่เลยครับ Phothibut Osaithai          ตอบ            ทีมงานฉลาดซื้อขอบพระคุณสำหรับข้อเสนอนะคะ เราจัดเรื่องนี้เป็นเรื่องทดสอบมาให้อ่านรวดเร็วทันใจกันในฉบับถัดไปเลยค่ะ มาการีน เนยขาว เนยเทียม เนยผสม ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ต้องเติมไฮโดรเจนบางส่วนได้ค่ะ จาก “ประกาศแบนไขมันทรานส์” มีข้อเท็จจริงที่หลายคนยังไม่ทราบคือ ประกาศนี้ไม่ได้แบนไขมันทรานส์ทั้งหมด แต่เป็นประกาศ “ห้ามใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์” ส่วนไขมันทรานส์จากธรรมชาตินั้นไม่ได้ห้าม เห็นได้จากเนื้อหาในประกาศที่ว่า“ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย”             ซึ่ง “ห้ามใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์” นั้น ก็เพราะว่า ไขมันทรานส์ตามธรรมชาตินั้นไม่เป็นอันตรายเหมือนไขมันทรานส์สังเคราะห์ค่ะ แล้วจะใช้อะไรทดแทนไขมันทรานส์สังเคราะห์ ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต อธิบายไว้ว่า ยังสามารถใช้ไขมันสังเคราะห์ เนยเทียม ครีมเทียมต่าง ๆ ได้เหมือนเดิม เพียงแต่ผู้ผลิตวัตถุดิบเหล่านี้ต้องปรับกระบวนการผลิตให้เป็นสูตรที่ไม่เกิดไขมันทรานส์            ดังนั้นสิ่งที่จะใช้แทนไขมันที่เติมไฮโดรเจนบางส่วน ก็คือการใช้ไขมันที่เติมไฮโดรเจนเต็มส่วน ที่เรียกว่า fully hydrogenated แล้วนำไปผสมกับน้ำมันเพื่อให้ลดความแข็งลง เรียกวิธีการนี้ว่า “เทคนิคการผสมน้ำมัน” หรือ “oil-blending” ซึ่งอุตสาหกรรมในเมืองไทยทำได้ดีมาก เพราะบ้านเรามีไขมันพืชที่เป็นไขมันอิ่มตัวอยู่แล้ว เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ต่างจากประเทศเมืองหนาวที่ไม่มีไขมันพืชแบบอิ่มตัว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 214 จดหมายถึงบอกอ

พลาสติกย่อยสลายได้ จริงหรืออ่านฉลาดซื้อมานาน แต่ไม่เคยเขียนถึงครับ เมื่อวานรื้อของทำ 5ส.ที่บ้าน พบถุงพลาสติกย่อยสลายที่กลายเป็นเศษพลาสติกป่นๆ เลยสงสัยว่าถุงที่เขียนว่าย่อยสลายได้มันสลายได้จริงหรือไม่ ฝากทีมงานช่วยหาข้อมูลมาให้หน่อยครับ                                                                                                                                                                                       ต้นขอบคุณที่ติดตามเราตลอดมานะคะ ในส่วนของพลาสติกที่บอกว่าย่อยสลายได้นั้น ทางเรามีความสนใจตรงกันพอดี ตอนนี้กำลังอยู่ในคิวของเรื่องที่จะนำมาเสนอค่ะ ติดตามฉลาดซื้ออย่าให้พลาดนะคะ             อยากบริจาคหนังสือเก่า          ที่บ้านมีหนังสือเยอะมากค่ะ อยากบริจาคมีที่ไหนรับบ้างคะ ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ขอให้ฉลาดซื้อยืนหยัดเป็นคู่มือเพื่อประชาชนต่อไปเรื่อยๆ นะคะ                                                                                                                                                                                                   แม่บ้านชาวใต้           ขอบพระคุณสมาชิกที่เขียนจดหมายมาหาทีมงานนะคะ สมัยนี้คนเขียนจดหมายน้อยลงทุกที ที่คุณแม่บ้านชาวใต้ถามมานั้น มีหลายแห่งที่รับบริจาคหนังสือค่ะ ลองสอบถามที่ มูลนิธิกระจกเงา  ซึ่งสนับสนุนและส่งเสริมการอ่าน หนังสือที่ได้รับบริจาค เมื่อผ่านการคัดแยกแล้วจะนำส่งต่อให้กับ โรงเรียน ชุมชน ที่ขาดแคลน ทั้งเมืองและต่างจังหวัด รวมถึง “ตู้หนังสือเย็นๆ” ตู้บรรจุหนังสือ พร้อมให้บริการนักอ่าน ที่กระจายอยู่ตาม วินมอเตอร์รับจ้างใน กทม. กว่า 50 แห่ง ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.read4thai.mirror.or.th “การแบ่งปันของคุณเปลี่ยนแปลงสังคมได้” หรือหน่วยงานของการศึกษานอกโรงเรียน ก็รับบริจาคหนังสือนะคะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 213 จดหมายถึงบอกอ

ทดสอบสาหร่ายแผ่นปรุงรส ดิฉันมีเรื่องทดสอบมาแนะนำค่ะ คือสาหร่ายแผ่นปรุงรสที่เด็กๆ ทานเล่น บางครอบครัวซื้อให้ลูกรับประทานเล่นเพราะคิดว่ามีประโยชน์มากกว่าขนมซอง อยากให้ฉลาดซื้อนำมาทดสอบให้หน่อยค่ะว่ามีอะไรต้องระวังไหมคะ พิมพา ขอบพระคุณที่ติดตามอ่านฉลาดซื้อนะคะ ส่วนเรื่องสาหร่ายแผ่นปรุงรสเป็นเรื่องที่ทางกอง บก.กำลังสนใจเลยค่ะ เพราะเราเคยสำรวจและทดสอบเรื่องนี้ตั้งแต่ฉบับที่ 108 เดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งเป็นเวลานานมากแล้ว คุณพิมพาติดตามผลการทดสอบใหม่ล่าสุดได้เร็วๆ นี้แน่นอนค่ะ  สนใจเรื่องการส่งพัสดุ    ติดตามผลการทดสอบจากนิตยสารฉลาดซื้อเวลามีการจัดแถลงข่าวเสมอครับ ผมสนใจเรื่องบริษัทจัดส่งพัสดุซึ่งมีให้เลือกมากมายในปัจจุบัน อยากให้ฉลาดซื้อลองนำข้อมูลและรายละเอียดมาให้อ่านด้วยครับ                                                                                                                                    เด็กรังสิต     ทางกองบรรณาธิการมีความสนใจเรื่องบริษัทจัดส่งพัสดุเช่นกันค่ะ ติดตามข้อมูลได้ในฉบับถัดๆ ไปนะคะ แต่ถ้าสนใจผูกปิ่นโตเป็นสมาชิกนิตยสารได้รับข้อมูลในทุกๆ เดือน สมัครเป็นสมาชิกนิตยสารแบบออนไลน์ราคาประหยัดได้ที่เว็ปไซต์ของเราได้เลยนะคะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 212 จดหมายถึงบอกอ

ความต่างของผงปรุงรสกับผงชูรส ดิฉันเคยเขียนไปรษณียบัตรถาม มีความสงสัยเรื่องผงปรุงรสที่ว่าไม่ใช่ผงชูรส แต่อ่านส่วนผสมก็มีโมโนโซเดียมกลูตาเมต ช่วยขยายความด้วย ประเด็นนี้เคยถามไปนาน ไม่มั่นใจว่ากี่ปี ลืมแล้ว แต่ติดตามทางนิตยสารก็ยังไม่มี หรือตอบไปแล้ว ดิฉันลืมอ่าน แล้วผงปรุงรสมีผลเสียอย่างไรบ้างไหมคะ หมายถึงปริมาณที่แนะนำให้บริโภคคงไม่มีโทษ แต่ความจริง แม่ค้าขายอาหารน่าจะใส่ผงปรุงจำนวนมากกว่าปริมาณแนะนำเพื่อให้มีรสอร่อยมาก ถ้าผลิตมาจากเนื้อสัตว์ ใส่มากๆ ก็แค่เพิ่มต้นทุน และได้ความอร่อยเพิ่ม ไม่ได้รับส่วนปรุงรสที่เป็นอันตราย อย่างนี้ไหมคะวงษ์จันทร์ต้องขออภัยด้วยที่ไม่ได้ตอบคำถาม อย่าเพิ่งโกรธกันเสียก่อนนะคะ พอดีฉลาดซื้อเปลี่ยนแอดมินเพจเฟซบุ๊กและเว็ปไซต์เลยอาจจะมีอะไรผิดพลาดไปบ้าง  ผงชูรส หรือ โมโนโซเดียมกลูตาเมต (MSG) คือ วัตถุปรุงแต่งอาหารที่ผลิตจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น มันสำปะหลัง หรือ อ้อย นำมาผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อตกผลึกกลายเป็นผงชูรส มีคุณสมบัติทำให้อาหารมีรสชาติดีขึ้น หากใส่ในปริมาณที่พอดีจะให้รสอูมามิในอาหาร ส่วน ผงปรุงรส คือ การนำเอาเครื่องปรุงรสอาหารต่างๆ มาหมักรวมกับเนื้อสัตว์ นำไปต้มและอบแห้งทำให้เป็นผง ซึ่งผงปรุงรสเองอาจจะมีส่วนประกอบของผงชูรสหรือไม่มีเลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของผงปรุงรส ต้องอ่านฉลากให้ดีค่ะ ผงปรุงรสมีผลเสีย ตรงที่มีปริมาณโซเดียมสูง ผู้ที่มีปัญหาภาวะความดันโลหิตสูง โรคไต ควรหลีกเลี่ยง หรือรับประทานให้น้อยลงค่ะ   ผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นคอ พวกยาฉีดพ่นคอ ระงับอาการระคายเคือง ที่ทำให้ไอ กระแอม ตัวนี้พ่นบ่อยๆ จะมีอันตรายไหมคะ Kanokporn Vongpradit Mouth Spray ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเคลมว่าเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ไม่น่าจะมีอันตราย อย่างไรก็ตาม หากพ่นบ่อยๆ โดยไม่ได้มีอาการระคายเคือง อาจเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์เกินความจำเป็น และเสียเงินโดยใช้เหตุค่ะ เปลี่ยนมาเป็นจิบน้ำบ่อยๆ หรือใช้พวกยาอมหรือเม็ดอมสมุนไพร ก็ช่วยให้ชุ่มคอได้เช่นกัน 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 211 จดหมายถึงบอกอ

      กองบก.ขออภัยในความผิดพลาดและแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องในบทความบนเว็บไซต์แล้วค่ะ ทั้งนี้ได้ตรวจสอบข้อมูลและขอชี้แจงพร้อมขออภัยมายังบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด(มหาชน) ดังนี้ 1.อัตราผลตอบแทน IRR (1.77%) แบบประกันกรุงเทพ 200 ของบริษัทกรุงเทพประกันชีวิต จำกัด(มหาชน) เป็นไปตามที่บริษัทแจ้งข้อมูลมา ซึ่งจัดอยู่ในลำดับที่ 2 จากจำนวน 11 บริษัทที่นิตยสารฉลาดซื้อได้ทำการศึกษา 2.นิตยสารได้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องในทุกช่องทาง และได้จัดทำข่าวแก้ไขให้สื่อมวลชนในวันที่ 19 กันยายน 2561 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 3.บรรณาธิการบริหาร นิตยสารฉลาดซื้อ ได้แถลงแก้ไขข้อผิดพลาดผ่านรายการวิทยุ FM 96.5 MHz ช่วงเวลา 20.35 – 21.00 น. วันที่ 19 กันยายน 2561

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 210 การคุ้มครองผู้บริโภคในฮ่องกง

สภาผู้บริโภคฮ่องกง (Hong Kong Consumers Council) ก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2517 จากสถานการณ์ปัญหาวิกฤติเงินเฟ้อ สินค้าราคาแพง ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลปีละประมาณ 350 ล้านบาท ในการทำงาน โดยงบประมาณ มากกว่าร้อยละ 90 ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล มีเพียงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มาจากการจำหน่ายนิตยสารขององค์กร นิตยสารมีนโยบายไม่รับโฆษณาและการสนับสนุนจากธุรกิจเอกชนด้วยเช่นกัน มีนโยบายและการทำงานที่เป็นอิสระจากรัฐบาลสภาองค์กรผู้บริโภคฮ่องกง เป็นตัวแทนของผู้บริโภคตามกฎหมาย เพื่อสะท้อนเสียงของผู้บริโภคและนำเสนอประเด็นให้เกิดการอภิปรายทั่วไปเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภคจนนำไปสู่การปฏิบัติ สร้างความร่วมมือระหว่างผู้บริโภค องค์กรภาคเอกชน เครือข่าย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สื่อและรัฐบาล รวมทั้งส่งเสริมสวัสดิการผู้บริโภคและเพิ่มความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภคในการปกป้องตนเอง เรื่องสำคัญล่าสุดที่ได้รับการผลักดันจากสภาองค์กรผู้บริโภคฮ่องกง การคุ้มครองผู้บริโภคในการทำสัญญาซื้อขายและการบอกเลิกสัญญา โดยการอนุญาตให้ผู้บริโภค มีสิทธิในการบอกเลิกสัญญา และคืนสินค้า และขอรับเงินคืนภายในระยะเวลาที่เหมาะสมหลังจากได้ทำสัญญา สิทธิในการยกเลิกสัญญานี้จะช่วยเพิ่มการคุ้มครองผู้บริโภคเนื่องจากปัญหากลยุทธ์การทำการขายสินค้าแบบไร้ยางอายและการตลาดที่กดดันผู้บริโภคให้ตัดสินใจซื้อในระยะเวลาอันสั้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาสภาผู้บริโภคฮ่องกง ได้ใช้มาตรการแบบสมัครใจให้คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในการยกเลิกสัญญาในธุรกิจ เสริมความงาม ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย การซื้อบริการท่องเที่ยว (timeshare) และล่าสุดได้ออกกฎหมายบังคับในปีที่ผ่านมา โดยกฎหมายให้มีการกำหนดระยะเวลาตัดสินใจในการทำสัญญา (Cooling-off Period) สำหรับธุรกรรมกับผู้บริโภค 2 ประเภท ได้แก่ สัญญาที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและ / หรือบริการที่มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน และธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขายตรง เช่น สิทธิในการบอกเลิกสัญญาที่ทำไปแล้วภายใน 7 วัน คืนสินค้าภายใน 14 วันหลังจากได้รับสินค้าที่ส่งถึงบ้าน ได้รับเงินคืนภายใน 14 วันหลังจากบอกเลิกสัญญา หรือคืนสินค้าประเทศไทยมีมาตรการคืนสินค้าที่ชัดเจนกำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2560 ใกล้เคียงกับที่ดำเนินการในฮ่องกง เช่น ผู้บริโภค มีสิทธิเลิกสัญญาโดยการส่งเอกสารแสดงเจตนาที่จะบอกเลิกสัญญาภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับสินค้าหรือบริการ โดยสามารถเก็บสินค้านั้นไว้ ภายในระยะเวลา 21 วัน สามารถให้ผู้ขายหรือตัวแทนมารับสินค้าคืนที่ภูมิลำเนาของผู้บริโภค หรือส่งคืนสินค้าทางไปรษณีย์โดยเรียกเก็บเงินปลายทาง รวมทั้งผู้บริโภคมีสิทธิได้รับเงินคืนเต็มจำนวนและเบี้ยปรับ ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่แสดงเจตนาเลิกสัญญา หากไม่คืนเงินภายใน 15 วัน ก็ต้องเสียเบี้ยปรับตามที่กฎหมายกำหนด การซื้อสินค้าและบริการทั้งออนไลน์และออฟไลน์หลายครั้งมีมูลค่าไม่มากต่อตัวเรา แต่หากคิดเป็นภาพรวมมีมูลค่ามากมาย  มีกฎหมายดีแบบนี้ ต้องช่วยกันทำให้เป็นจริงให้ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 พาราควอต แร่ใยหินภาค 2

เป็นที่รู้หรือยอมรับกันทั่วโลก ว่าแร่ใยหินมีปัญหาเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ยกเลิกการใช้มากกว่า 50 ประเทศ จนมีมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ตั้งแต่ปี 2554 แต่จนปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในการยกเลิกการนำเข้า การห้ามใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระเบื้องและสินค้าที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากกระทรวงอุตสาหกรรมไม่ยอมรับผลการศึกษาที่ผ่านมาที่สรุปว่าแร่ใยหินอันตราย ทั้งจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่กระทรวงอุตสหากรรมว่าจ้างศึกษา และผลการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุข ขณะที่ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์(ของบริษัท) ได้ให้ข้อมูลแย้งเพื่อสนับสนุนการใช้แร่ใยหินมาเรื่อยๆ ดังนั้นเมื่อมีความเห็นแย้งอยู่จึงเห็นว่ายังไม่ควรดำเนินการตามมติครม. ขณะที่นักวิชการและภาคประชาชน เสนอให้ยกเลิกการนำเข้า และมีระยะเวลาจำกัดการใช้ เพราะเหตุผลเดียวที่จะยอมให้ใช้แร่ใยหินคือไม่มีสารทดแทน แต่เมื่อมีสารทดแทนแล้วก็ควรเลิกใช้ ซึ่งประเทศไทยก็มีผู้เสียชีวิตจากแร่ใยหินแล้ว แต่จะรอให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากก่อนค่อยยกเลิกหรืออย่างไรส่วนพาราควอต องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุชัดเจนว่ามีพิษรุนแรง เฉียบพลัน ไม่มียาต้านพิษ ก่อให้เกิดพาร์คินสัน  ตามที่ ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายรอบ เพื่อรับฟังข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ยังคงยืนยันตามมติเดิมที่ให้ยกเลิกการใช้พาราควอตทางการเกษตร เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัย เกษตรกรและผู้ประกอบการได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ขณะที่คณะอนุกรรมการชุดพิเศษของกระทรวงอุตสาหกรรม เสนอสองทางเลือกให้จำกัดการใช้ หรือให้เพิกถอนทะเบียนเพราะเป็นสารเคมีอันตราย ให้กับคณะกรรมการวัตถุอันตรายของกระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาและดำเนินการโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป แต่คาดการณ์คำตอบได้ไม่ยาก จากปรากฎการณ์เชียร์ออกนอกหน้าของนักวิชาการบางกลุ่ม ให้ใช้พาราควอตได้ต่อ สารเคมีตัวนี้ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ เกษตรกรไร่อ้อยยังจำเป็นต้องใช้ กระทรวงเกษตรสามารถกำกับดูแลแบบเข้มงวดได้ สุดท้ายกระทรวงอุตสาหกรรมบอกตัดสินใจไม่ได้ เพราะขัดแย้งกัน ใครจะได้ประโยชน์??ดูพฤติการณ์ จะเข้าอีหรอบเดียวกับแร่ใยหินเป็นแน่แท้ หรือใครจะว่าไม่จริง เพราะคำพูดนี้ยังใช้ได้ผลและศักดิ์สิทธิเสมอในสังคมไทย “สุขภาพต้องมาก่อนการค้า แต่การค้าสำคัญเป็นอันดับแรก” (Health before Trade but Trade comes first) เหมือน Lady first but Gentlemen before 

อ่านเพิ่มเติม >