ฉบับที่ 138 กรณีทีวี “จอดำ”(ตอนที่ 1 สัญญาณทีวีของฉัน..หาย...ไปไหน)

หลายท่านคงได้ทราบข้อมูลของขบวนการต่อสู้  เรื่อง “จอดำ”กันมาบ้างพอสมควร  หลังจากที่เครือข่ายผู้บริโภคอออกมาเรียกร้องสิทธิเรื่องนี้กันกระหึ่มเมือง   การที่เครือข่ายฯ ต้องออกมาสื่อสารเรื่องนี้กับสังคม   เพราะเห็นว่าปัญหา “จอดำ” เป็นการดำเนินการที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภคอย่างชัดเจน    เริ่มจาก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนว่า  ทีวีที่รับสัญญาณฟรีทีวีด้วยจานดาวเทียม ดูฟุตบอล “ยูโร”ไม่ได้เพราะจอมีเพียงสีฟ้า และตัวหนังสือขออภัยไว้ยืดยาว  สรุปคือ ดูไม่ได้หรือไม่ได้ดู นั่นเองเรื่องขยายไปสู่ข้อร้องเรียนของปัญหาที่ผู้เขียนและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ต้องมาหารือกันว่าจะทำอะไรได้บ้างในเรื่องนี้   และสิ่งที่พวกเราเห็นว่า “แปลก”คือเราเคยดูฟรีทีวีได้อย่างปกติไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ไหน.. รับจากจานฯ รับจากก้างปลา รับจากหนวดกุ้ง และอื่นๆวันดีคืนดี สัญญาณที่เคยรับฟรีทีวีได้ก็หาย...ไป ผู้บริโภคที่รับสัญญาณจากดาวเทียมเป็นกลุ่มที่ถูกกำหนดโทษโดยภาคธุรกิจ  ว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีสิทธิดูฟรีทีวี ที่มีการถ่ายทอดสดฟุตบอล ยูโร ในครั้งนี้  “ถูกต้องไหม” ซึ่งในความเห็นของพวกเราที่ทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค  เห็นพ้องต้องกันว่า เรื่องนี้เป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภคอย่างชัดเจน  ครั้งยิ่งใหญ่ เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้มากกว่า 11 ล้านครอบครัว  หากคูณ ครอบครัวละ 3 คน คนที่ถูกละเมิดก็ปาเข้าไป  33 ล้านคน   เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่คนทำงานคุ้มครองผู้บริโภคไม่อาจนิ่งเฉยได้    และการกระทำครั้งนี้น่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ  พ.ศ. 2550 มาตรา 47  วรรค 1  ที่กำหนดไว้ว่า  “คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ” ซึ่งเป็นข้อความที่ชัดเจนว่าประชาชนทุกคน เป็นเจ้าของและมีสิทธิเข้าถึงคลื่นความถี่ดังกล่าวได้อย่างเท่าเทียม      ก็ยิ่งชัดเจนว่า หากปล่อยไปไม่ทำอะไรเลย..ประเด็นเช่นนี้ก็จะเกิดขึ้นอีกมากมาย     และอาจนำไปสู่การแข่งขันของภาคธุรกิจที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ ผลักดันให้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินเพื่อให้เข้าถึงสิทธิมากขึ้นโดยไม่มีขีดจำกัด เมื่อหันไปดูที่หน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในเรื่องนี้   ก็หนีไม่พ้น  คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ซึ่งยังนิ่งเฉยไม่หือไม่อือ  ทั้งๆ ที่มีหน้าที่โดยตรงอย่างชัดเจน (ยังทำหน้ามึนๆ เหมือนไม่เกิดอะไรขึ้น) เมื่อมีข้อมูลค่อนข้างชัดเจนปฏิบัติการทวงสิทธิก็อุบัติขึ้น   เริ่มจากเครือข่ายผู้บริโภค ร่วมกันออกแถลงการณ์  เพื่อเรียกร้องสิทธิทันที   จนส่งผลให้ กสทช. สั่งปรับ ทรู วันละ 20,000 บาท  ฐานที่โฆษณาเกิน  “บอกว่าจะดูฟรีทีวีได้  แต่กรณี ยูโร  ลูกค้าที่จ่ายค่าสมาชิกรายเดือนของทรู ที่ดูไม่ได้      ส่วนผู้บริโภคที่ใช้จานแบบอื่น กสทช. ออกมาบอกว่า  ช่วยอะไรไม่ได้ เพราะยังไม่ได้เขียนระเบียบเรื่องนี้      กสทช.จัดการได้เพียงบริษัททรู   เพราะเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาต  ส่วนแกรมมี  เป็นธุรกิจที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาต   กสทช.ยังไม่สามารถจัดการได้  เอาละ......เรื่องราวกำลังเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ  โปรดติดตามตอนต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 138 เอาโน้ตบุ๊คไปซ่อมที่อมรเซียร์แล้วถูกน้ำท่วม...

เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 จบไปหลายเดือนแล้ว แต่ผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องหรือปัญหาลูกตามน้ำยังมีให้เห็นกันเรื่อยๆเมื่อเดือนตุลาคม 2554 ธัญชนกได้นำโน้ตบุ๊คที่มีปัญหาจอภาพ ไปซ่อมที่อมรเซียร์รังสิต หลังจากซ่อมเสร็จจ่ายค่าซ่อมไป 2,700 บาท รับเครื่องกลับมาใช้ได้เพียง 1 วัน อีกวันถัดมาก็กลับมาเป็นแบบเดิมอีก จึงรีบเอาเครื่องกลับไปเคลมอีกครั้ง โดยไม่ได้เซฟข้อมูลอะไรไว้ เพราะไม่คิดว่าหลังจากวันนั้นน้ำจะเข้าท่วมปทุมธานีถ้าใครเคยไปเซียร์คงจะนึกภาพออกว่าร้านอมรที่เปิดรับซ่อมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ นั้น ตั้งอยู่ในส่วนชั้นใต้ดินของเซียร์รังสิต ธัญชนกเล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้นว่า เธอโทรไปถามว่าจะได้เครื่องเมื่อไร ก็ได้รับคำตอบว่า ช่างไม่มาทำงานเพราะน้ำท่วมบ้าน แต่กว่าน้ำจะเข้าในเซียร์ก็กินเวลา 2-3 วัน และทางห้างก็ป้องกันโดยเอากระสอบทรายมากั้น มารู้อีกทีเดือนธันวาคมโดยโทรถามกับช่างเองเพราะเบอร์อมรติดต่อไม่ได้เลย คำตอบที่ได้รับคือเครื่องจมน้ำทั้งหมด ให้มาติดต่อเคลมเครื่องเดือนมีนาคม 2555 โดยจะตีราคา ณ ปัจจุบัน“เราไม่ได้เอาเครื่องมาขายนะที่จะตีราคาขายให้ ให้แค่ 4,500-5,000 บาท โดยอ้างเหตุผลว่าห้างประสบอุทกภัย แล้วเราล่ะ เราก็โดนเหมือนกันต้องออกจากพื้นที่ไปเช่าห้องอยู่ และถามว่าแล้วข้อมูลของเราล่ะ ใครรับผิดชอบ ตีราคาให้เท่านี้แล้วเราก็ต้องมานั่งซื้อเครื่องใหม่เพิ่มเงินตั้งเยอะ เราไม่ได้ต้องการให้คุณซื้อเครื่องใหม่ให้หรอก เพราะรู้ว่าคุณไม่ทำแบบนั้นแน่ แค่ช่วยตีราคาให้มันยุติธรรมหน่อย”“อยากรู้ว่ามัวทำอะไรกันอยู่ทำไมไม่ขนย้ายเครื่องขึ้นชั้นบนก่อนที่น้ำจะเข้าชั้นใต้ดิน ซึ่งมีเวลาหลายวัน และโน้ตบุ๊คเล็กๆ ไม่หนักอะไร” เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาธัญชนกโทรไปถามเรื่องการชดใช้ ได้รับคำตอบว่า ให้รอประกันแจ้งมาว่าเครื่องเราจะเคลมได้เท่าไร เธอรู้สึกว่า ต้องรออย่างเดียว ต้องรอประกันอีกทั้งที่รอมารวมๆ ก็ 6 เดือนแล้ว บอกให้รอไปอีกว่าภายในปีนี้ ไม่รู้ว่าต้องรออีกนานเท่าไร และผลจะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้“ปัจจุบันก็ยังไม่มีการติดต่อมาเลย ซึ่งปกติก็ไม่เคยมีติดต่อมา เว้นแต่เราจะโทรตามเรื่องเอง และมีเพื่อนชาวออนไลน์ก็ได้เจอปัญหานี้เหมือนกัน แบบนี้เราจะดำเนินการกับทางอมรได้อย่างไร ช่วยทีค่ะ” แนวทางแก้ไขปัญหาการที่มีลูกค้านำโน้ตบุ๊คมาให้ซ่อม ดังนั้นโน้ตบุ๊คจึงอยู่ในความครอบครองของร้านซ่อม ร้านซ่อมจะต้องเก็บรักษาโน้ตบุ๊คของลูกค้าไว้ในที่ปลอดภัย และต้องมีความระมัดระวังตามสมควรที่จะไม่ให้ข้าวของของลูกค้าสูญหายหรือเสียหาย การที่ร้านซ่อมทราบล่วงหน้าถึงสองวันว่าน้ำกำลังจะเข้าท่วมห้าง และการที่ร้านซ่อมตั้งอยู่ในชั้นใต้ดินของห้างย่อมมีความเป็นไปได้สูงที่ร้านจะถูกน้ำท่วมได้ แต่กลับไม่มีการโยกย้ายข้าวของของลูกค้าที่นำมาซ่อมไปไว้ในที่ที่ปลอดภัยตามประกาศคำเตือนของรัฐบาลที่ออกมาเป็นระยะๆ ถือได้ว่าเป็นการประมาทเลินเล่อของร้านซ่อมที่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้ทรัพย์สินของลูกค้าเสียหาย ดังนั้นร้านซ่อมจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกค้าหลังจากที่ได้ติดตามเรื่องมาได้ระยะหนึ่ง คุณธัญชนกได้แจ้งว่าทางร้านซ่อมยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้เป็นเงิน 11,900 บาท ซึ่งเป็นยอดที่ตนพึงพอใจจึงรับไว้ ส่วนข้อมูลที่สูญหายไปพร้อมกับเครื่อง ก็ต้องทำใจเพราะเป็นความบกพร่องของตนเองเช่นกันที่ไม่ได้ทำการบันทึกข้อมูลเก็บไว้ก่อนส่งซ่อมสำหรับลูกค้ารายอื่นที่พบปัญหาเดียวกันให้ใช้เหตุผลตามที่ว่ามาประกอบการเจรจาเรียกค่าเสียหาย เชื่อว่าจะเกิดผลสมบูรณ์โดยไม่ต้องใช้ทนายความหรือขึ้นโรงศาลขึ้นศาลให้เมื่อย  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 138 ค่าจอดรถแสนแพงที่ตลาด อ.ต.ก.?

การจอดรถนานไปหน่อย...ถ้าจอดแถวที่บ้านคงไม่เป็นไร แต่ถ้ามาจอดในสถานที่ที่มีการเรียกเก็บค่าจอด ควรตรวจสอบราคาค่าจอดให้แน่ใจเสียก่อน เผลอจอดนานไปมีสิทธิเจอค่าจอดประเภทที่ใช้จัดการคนชอบจอดรถนาน เจ็บกระเป๋าแน่คุณสุเทพ ร้องเรียนมาว่า เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2555 ตนเข้าไปจอดรถที่ตลาด อ.ต.ก.ตรงข้ามสวนจตุจักรตอนเข้าไปพนักงานให้บัตรจอดรถ  ตอกเวลา 11.23 น. คุณสุเทพบอกว่าไปรับประทานอาหาร ทำธุระจนถึงเวลา 17.58 น. จึงได้ขับรถออกแล้วยื่นบัตรจอดรถให้เจ้าหน้าที่เก็บบัตร“พนักงานเก็บบัตรบอกผมว่า ค่าจอดรถ 500 บาท ผมตกใจมาก อะไรจะแพงขนาดนั้น ขนาดสนามบินสุวรรณภูมิ จอดทั้งวันยังไม่ถึง 300 บาทเลย”“เขาบอกเป็นระเบียบที่นี่ ผมเหลือบไปเห็นที่ป้ายข้างป้อมของเจ้าหน้าที่เก็บบัตรก็ตกใจอีก จอด 15 นาที ฟรี , 15 นาที -  ชม. 100 บ. ,1-2 ชม. 200 บ. 2-3 ชม. 300 บ. 3-4 ชม.400 บ. 4-5 ชม. 500 บ. นี้ประเทศไทยหรือเปล่า และที่แห่งนี้ก็เป็นตลาดเพื่อเกษตรกร มาขูดรีดกับประชาชนในการเก็บค่าจอดรถ แต่ยังไงผมก็จ่าย 500 บ.ให้พนักงานเพื่อตัดปัญหา”“ผมลองโทรไปถาม ทาง ผอ.ตลาด อ.ต.ก. ว่าเก็บค่าจอดแพงเกินไป ผมจะร้องเรียน ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค เขาบอกเชิญเลย ดังนั้นผมขอร้องเรียนมา ณ ที่นี้เพื่อให้ นำข้อมูลที่ผมแจ้งเผยแพร่ต่อสาธารณชน และเป็นวิทยาทานให้กับผู้ที่ประสบความเดือดร้อนเช่นผม” แนวทางแก้ไขปัญหา จากรายละเอียดที่ได้แจ้งมาพบว่า คุณสุเทพใช้เวลาจอดรถนานถึง 6 ชั่วโมง 35 นาทีการจอดรถยนต์บริเวณตลาดกลาง อ.ต.ก. ย่านพหลโยธิน เราได้ตรวจสอบข้อมูลในเว็บไซต์พบว่าองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.) ได้ออกประกาศเรื่องอัตราค่าบริการจอดรถยนต์บริเวณตลาดกลาง อ.ต.ก. ในวันธรรมดา-วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งใช้เรียกเก็บกับบุคคลทั่วไปตามนี้(1)   30 นาทีแรก ไม่คิดค่าจอด(2)   เกิน 30 นาที แต่ไม่เกิน 1 ชั่วโมง          คิดค่าจอดคันละ 10 บาท(3)   เกิน 1 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง         คิดค่าจอดคันละ 20 บาท(4)   เกิน 2 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 3 ชั่วโมง         คิดค่าจอดคันละ 40 บาท(5)   เกิน 3 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 4 ชั่วโมง         คิดค่าจอดคันละ 100 บาท(6)   เกิน 4 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 5 ชั่วโมง         คิดค่าจอดคันละ 200 บาท(7)   เกิน 5 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 6 ชั่วโมง         คิดค่าจอดคันละ 400 บาท(8)   เกินกว่า 6 ชั่วโมง                              คิดค่าจอดคันละ 500 บาทกรณีบัตรหาย คิดค่าปรับใบละ 300 บาท (ไม่รวมค่าจอดรถยนต์)ประกาศดังกล่าว เป็นประกาศที่มีการแก้ไขจากประกาศฉบับเดิม ซึ่งป้ายราคาค่าจอดรถยังคงปรากฏอยู่  ณ ที่ช่องทางเก็บค่าจอดรถของตลาด อ.ต.ก.นั้นยังเป็นอัตราราคาเดิม ซึ่งมีช่วงเวลาจอดรถที่ผู้จอดรถได้เปรียบเสียเปรียบแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ที่แน่ ๆ หากจอดรถนานเกินกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไปจะถูกเก็บค่าจอดคันละ 500 บาทเรามีหนังสือไปที่ อ.ต.ก. เพื่อสอบถามถึงโครงสร้างราคาค่าจอดรถ ได้รับคำชี้แจงจาก อ.ต.ก.ว่าประการที่หนึ่ง ตามประกาศดังกล่าว จะเห็นว่าค่าจอดรถยนต์ของตลาด อ.ต.ก.คิดราคาไม่สูงเกินกว่า 10-40 บาท หากจอดไม่เกิน 3 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาที่เพียงพอสำหรับการใช้บริการตลาด อ.ต.ก. และผู้ใช้บริการมากกว่าร้อยละ 95 จอดภายในเวลานี้ประการที่สอง อ.ต.ก.จำเป็นจะต้องกำหนดราคาจอดรถยนต์ให้สูงมากหลังจากช่วงเวลานี้ เนื่องจาก อ.ต.ก.มีที่จอดรถยนต์จำกัดเพียง 580 คัน แต่มีผู้มาใช้บริการวันละ 1,500 – 2,500 คัน เพื่อป้องกันมิให้ผู้มาใช้ลานจอดรถยนต์เพื่อเรื่องอื่นๆ ที่มิใช่การใช้บริการตลาด อ.ต.ก. และทำให้ที่จอดรถยนต์ไม่มีเพียงพอ สำหรับผู้มาใช้บริการตลาดคนอื่นๆประการที่สาม กรณีนี้ผู้ใช้บริการจอดรถยนต์นานกว่า 6 ชั่วโมง โดยอาจจะไม่ทราบว่าจะต้องเสียค่าจอดสูงหากจอดเกินกว่าหกชั่วโมง ซึ่งหากมาใช้บริการตลาด อ.ต.ก.เป็นเวลานานมากเช่นนี้ อาจติดต่อขอให้ อ.ต.ก.พิจารณาลดหย่อนเป็นกรณีๆ ต่อไปใครที่จะจอดรถนานๆ นานแบบปาเข้าไปครึ่งค่อนวันกับตลาด อ.ต.ก. ทราบแล้วเปลี่ยน...เปลี่ยนที่จอดด่วน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 138 ถูกอมเงินค่าอบรมทำขนมปัง

ขนมปังเพื่อสุขภาพรุ่น 10“เรียนทำขนมปังเพื่อสุขภาพด้วยแป้งสาลีโฮสวีต ฝึกเทคนิคการนวดแป้งขนมปังด้วยมือและนวดด้วยเครื่อง เช่น ขนมปังโฮลสวีท ขนมปังแครอท ขนมปังดินเนอร์โรล ขนมปังปูอัดน้ำพริกเผา รวมทั้งวิธีดัดแปลงเป็นขนมปังได้อีกสารพัดชนิด”เอกวิทย์ ผู้มีความสนใจที่จะเปิดร้านขนมปังสังขยาและนมสด ได้เห็นโฆษณาคอร์สอบรมทำขนมปังข้างต้น จากหนังสือ Learning For Better Living ที่จัดส่งมาให้ที่บ้าน และยิ่งมีความสนใจมากขึ้นเมื่อเห็นชื่อของ Amarin Training ร่วมกับ สถาบันบ้านและสวน ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยอมรับของคนทั่วไปเป็นผู้จัดโปรแกรมการอบรมคอร์สอบรม ขนมปังเพื่อสุขภาพรุ่น 10 จะเริ่มเรียนในวันที่ 16 มิถุนายน 2555 เอกวิทย์จึงรีบสมัครเข้ารับการอบรมทางเว็บไซต์ในวันที่ 10 มิถุนายน 2555 ซึ่งมีสองราคา ราคาปกติ 2,900 บาท และสมาชิก 2,600 บาท พี่สาวของเอกวิทย์เป็นสมาชิกอยู่เอกวิทย์จึงได้สมัครในราคาสมาชิก 2,600 บาท และได้โอนเงินค่าอบรมเข้าบัญชีของผู้จัดในวันที่ 13 มิถุนายน 2555 หลังจากที่มีโทรศัพท์จากสถาบันเร่งให้เอกวิทย์โอนเงินค่าอบรมปรากฏว่าพอถึงวันรุ่งขึ้นสักประมาณบ่ายโมงครึ่ง เอกวิทย์ได้รับโทรศัพท์จากสถาบันโทรมาแจ้งว่า ขอยกเลิกการจัดอบรมเพราะมีคนมาสมัครน้อย สถาบันไม่สามารถเปิดสอนได้และบอกว่าจะขอโอนเงินค่าอบรม 2,600 บาทคืนให้ภายในอาทิตย์ถัดไปเอกวิทย์รอจนถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2555 เงินก็ยังไม่ถูกโอนเข้าบัญชี จึงโทรเข้าไปที่สถาบันขอทราบถึงเรื่องการคืนเงินว่าจะกำหนดคืนให้ได้เมื่อไหร่ ได้รับคำตอบว่าอาจจะถึง 2 อาทิตย์ถึงจะได้รับเงินคืน เพราะต้องทำตามขั้นตอน ต่อมาก็ได้มีการโทรติดตามอยู่หลายครั้งแต่ก็ไม่มีความคืบหน้าอะไร เอกวิทย์เกรงว่าจะไม่ได้รับเงินคืนจึงร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เอกวิทย์ให้ความเห็นว่า สถาบันเหล่านี้อาจจะมีรายได้จากค่าสมัครในการอบรมเป็นจำนวนไม่น้อย อาจจะมีการนำเงินของผู้สมัครอบรมไปหมุนเวียนในทางใดทางหนึ่ง โดยที่ไม่ต้องมีการกู้ยืมหรือลงทุนแม้แต่บาทเดียว พอเสร็จแล้วก็ทำการยกเลิกการอบรม กว่าจะคืนเงินก็ใช้เวลาหลายอาทิตย์ ถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างยิ่ง แนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ไม่มีความสลับซับซ้อนอะไรมาก เมื่อสัญญาว่าจะจัดการอบรมและมีการเรียกเก็บค่าอบรมแล้วไม่จัดการอบรมให้ก็ต้องคืนเงินให้กับลูกค้าสถานเดียว ทางเจ้าหน้าที่ได้โทรศัพท์ไปที่สถาบันการฝึกอบรมดังกล่าว ได้คำตอบว่าจะคืนเงินให้ผู้บริโภคในอาทิตย์ถัดไป สอบถามคุณเอกวิทย์ว่าจะยอมให้เขาผัดผ่อนอีกครั้งหรือไม่ คุณเอกวิทย์บอกว่าให้โอกาสเขาอีกครั้งถ้ายังประวิงเวลาอยู่ก็จะดำเนินการตามกฎหมายทันที อาทิตย์ถัดมาเราทราบว่าเอกวิทย์ได้รับเงินคืนเป็นที่เรียบร้อย และต้องเริ่มต้นหาที่เรียนทำขนมปังใหม่อีกครั้ง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 ทำไม?? ค่าโอนหน่วยกิตถึงแพงกว่าค่าลงทะเบียนเรียนปกติ

และแล้วเราก็ผ่านพ้นช่วงเวลาเปิดภาคเรียนที่แสนจะสับสน    วุ่นวายที่สุดคือเรื่องการหาที่เรียน ของลูกหลาน   และเรื่องที่วุ่นวายไม่แพ้กันคือเรื่องการหาเงินมาจ่ายค่าเทอม และอุปกรณ์การเรียนของลูกหลาน   แต่ไม่ว่าปัญหาจะใหญ่แค่ไหนสุดท้ายเราก็สามารถก้าวผ่านมันไปได้    เหมือนที่เคยผ่านมาทุกปี ถึงแม้ผู้บริหารการศึกษาหลายแห่งอาจจะยังถูกตรวจสอบอยู่ก็ตาม(หวังว่าปัญหาการเรียกเก็บค่าค่าแปะเจี๊ยะที่กำลังโด่งดังคงไม่จบแบบมวยล้มต้มคนดูนะ)พูดถึงการศึกษาผู้เขียนก็มีข้อสงสัยอยู่พอประมาณ   เรื่องมีอยู่ว่าผู้เขียนเนี่ย...เป็นคนทำงานเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค   จึงมีทั้งผู้มาร้องเรียนหรือมาหารือเกี่ยวกับกฎหมายอยู่บ่อยๆ(บ่อยมาก)    พอพูดถึงกฎหมายก็ต้องยอมรับว่าผู้เขียนมีความรู้เรื่องนี้อยู่ไม่มากเท่าที่ควร   พอมีคนมาหารือเราก็ต้องยกหูหานักกฎหมายอยู่เป็นเนืองนิจ.....ปรึกษาบ่อยๆ ก็เริ่มเกรงอกเกรงใจ  ก็เลยตัดสินใจไปลงเรียนกฎหมายเองเสียเลย..  อายุปาเข้าไปปูนนี้(และกำลังเงินมีจำกัด) ที่เรียนคงที่มหาวิทยาลัยเปิด ที่ราคาพอเรียนไหว  ก็คงหนีไม่พ้นมหาวิทยาลัยรามคำแหง(คณะนิติศาสตร์) เพื่อจะได้มีพื้นฐานความรู้เรื่องกฎหมาย    เพื่อจะได้ให้คำปรึกษาเบื้องต้นให้กับคนที่มาพึ่งพาได้บ้าง     การลงทะเบียนเรียนที่ม.รามฯ ก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก  ค่าหน่วยกิตก็ถือว่าถูกมากแค่หน่วยกิตละ 15  บาท รวมค่าเทอมและอื่นก็ไม่น่าจะเกิน 2 ,000 บาท (พอเรียนไหว) ผู้เขียนมีพื้นฐานการเรียนที่จบทั้งปริญญาตรีและปริญญาโทแล้ว   นั่นก็หมายความว่าวิชาพื้นฐาน  ได้เรียนมาหมดแล้ว   ซึ่งสามารถเทียบโอนวิชาเหล่านี้ได้   ทางมหาวิยาลัยคิดค่าโอนหน่วยกิตละ 100 บาท(แพงกว่าค่าลงทะเบียนเรียนเกิน 5 เท่า) โดนค่าโอนไปประมาณ 3,000 กว่าบาท     ผู้เขียนติดใจเรื่องนี้มาก(ถึงแม้จะเป็นเงินไม่มาก)   ที่ติดใจเป็นเพราะ การเทียบโอนทางมหาวิทยาลัยไม่ได้เสียอะไรเลย  ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ  ค่าห้องเรียน และอาจารย์ผู้สอน  แต่กลับเรียกเก็บค่าเทียบโอนสูงกว่าค่าลงทะเบียนเรียนปกติ   เขาเก็บแพงกว่าเพราะอะไร?    เมื่อสงสัยก็ต้องถาม จริงไหม?.....ผู้เขียนจึงได้ถามอาจารย์หลายคนที่อยู่ในบริเวณนั้น  ซึ่งแต่ละท่านน่าจะระดับ ด็อกเตอร์แล้ว น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจน  หากท่านคิดอย่างนั้นเหมือนผู้เขียน....ขอบอกว่า....ท่านน.... “คิดผิด”  เพราะคำตอบที่ได้คือ “ไม่รู้”  ทางมหาวิทยาลัยเขาเขียนระเบียบมาอย่างนี้  ก็ต้องเก็บตามนั้น  อยากรู้ต้องไปถามอธิการบดีเอาเอง  คนอื่นเขาก็จ่ายกัน ไม่เห็นใครเขาจะถามเลย..อื้อหือ....คำตอบมีประโยชน์ต่อผู้ถามจังเล้ยยย...นอกจากไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนแล้วยังแถมด้วย สีหน้ารำคาญนิดหน่อย  ประมาณว่าจะเรียนไหม?..อะไรทำนองนี้       และที่ติดใจมากที่สุดคือคำที่บอกว่า  “มหาวิทยาลัยอื่นเขาก็เก็บอย่างนี้ทั้งนั้น”  อาจเป็นด้วยผู้เขียนเป็นคนทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค และกำลังจะเรียนกฎหมายด้วย   เมื่อเห็นอะไรแปลกๆ อดสงสัยไม่ได้เป็นธรรมดา   เรื่องนี้คงต้องติดตามตอนต่อไปว่ามหาวิทยาลัย  ออกระเบียบเช่นนี้ผิดกฎหมายหรือไม่(ยังไม่ทันจะเรียนวิญญาณนักกฎหมายเข้าสิงเสียแล้ว)      แล้วท่านผู้อ่านล่ะ..สงสัยเรื่องนี้บ้างหรือไม่หากสงสัย  ...มาช่วยกันหาคำตอบนะจะได้เรียนรู้ร่วมกัน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 นิสสัน อัลเมลา (บางคัน) กว้างแถมเปียก

เชื่อว่าเวลาเราซื้อรถยนต์ สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือ ขอให้ได้รถดีเหมือนที่โฆษณา และเราก็เชื่อว่ารถดีมีเป็นร้อยที่ถอยออกจากโรงงานในแต่ละวัน แต่รถคุณภาพต่ำต้อยก็มีสิทธิหลุดออกมาได้เหมือนกัน ถ้าคุณภาพบริการหลังการขายไม่ดี ความชอกช้ำชีวีมีถึงผู้บริโภคแน่นอนนี้คือคำโฆษณา...“นิสสัน อัลเมลา อีโคคาร์ 4 ประตูคันแรกของเมืองไทย”“ความสุขที่กว้างขึ้น ความภาคภูมิที่สัมผัสได้ตั้งแต่แรกเห็น”“ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกที่ออกแบบอย่างภูมิฐานเหนือระดับพร้อมสปอย์เลอร์หลังเพิ่มประสิทธิภาพทางการขับขี่ตัวถังเน้นความโอ่อ่า เพื่อให้ห้องโดยสารภายในกว้างขวางผ่อนคลายพร้อมขยายพื้นที่ช่วงขาให้ยาวขึ้นนอกเหนือความงามคือความใส่ใจเพื่อผู้โดยสารนั่งสบายทุกอิริยาบถ” และนี้คือความจริง.......“ซื้อนิสสัน อัลเมลา ป้ายแดง ใช้งานมาได้ 4 เดือนค่ะ ตอนนี้พบปัญหา น้ำเข้าขณะล้างรถและตอนจอดตากฝน” คุณรฐาผู้บริโภคของเราบอก“น้ำเข้ารถ 2 จุด คือที่ประตูหลังด้านขวาและเข้าทางกระโปรงหลัง ได้เข้าปรึกษากับทางศูนย์ที่ออกรถมาว่าจะรับผิดชอบให้เราอย่างไร เราไม่ได้คำตอบ โทรไปเซลล์ไม่รับสาย”คุณรฐาพยายามช่วยเหลือตัวเองด้วยการไปสอบถามกับศูนย์บริการอีกแห่ง ได้รับการยืนยันว่าเกิดจากกระบวนการผลิตต้องส่งเคลมโรงงาน แต่ก็ไม่มีการดำเนินการต่อไปหลังจากนั้น“ไม่มีคำตอบว่าจะมีความรับผิดชอบเมื่อไรและอย่างไร เราได้รับบริการที่แย่มากมาตั้งแต่ต้น เราควรปฏิบัติอย่างไรในกรณีนี้คะ” คุณรฐาถาม แนวทางแก้ไขปัญหาจะเห็นว่าคำโฆษณานั้นดูดีเสมอ โดยเฉพาะกับการขายรถยนต์ราคาเป็นแสนๆ แต่การเกิดปัญหาเล็กๆ น้อยๆ อย่างที่เด็กบางคนเรียกว่า “เรื่องกะโหลกกะลาแค่เนี้ย” เมื่อไม่ได้รับการแก้ไขปัญหากะโหลกกะลามันก็จะบานปลายจนส่งผลต่อชื่อเสียงของสินค้าได้ไม่ยาก และหวังว่าคุณรฐาจะไม่ใช้รถคันนี้ตอนช่วงน้ำท่วม นึกเห็นภาพแล้ว...ความเสียหายคงบาน...วิธีแก้ปัญหานี้ คือ การเจรจาให้ผู้ขายรถยนต์ต้องรับรถไปตรวจและส่งซ่อมโดยเร็ว และผู้ขายสินค้าก็ไม่ควรอิดเอื้อนบ่ายเบี่ยงทำตัวเหมือนคนท้องผูก ปิดประตูห้องน้ำนั่งขยี้กระดาษชำระเล่น หรือไม่ยอมรับสาย ไม่ยอมพบปะพูดจากับลูกค้า เพราะคิดว่าเป็นเรื่องหมูในอวย ขายรถได้แล้วเป็นอันจบศูนย์รถแห่งไหนเลี้ยงพนักงานขายแบบนี้ ยิ่งมีมากก็ยิ่งเจ๊งไว สาธุ...ทำไมถึงแช่งกันอย่างนั้น เพราะยิ่งพนักงานขายแชเชือนแช่บ๊วยปล่อยปัญหาให้ช้าเนิ่นนานไป ก็ยิ่งจะทำให้ผู้บริโภคเกิดอารมณ์ขุ่นมัวสะสมพอกพูนแปรสภาพเป็นการเรียกค่าเสียหายผ่านการฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคได้สำหรับผู้บริโภคก็อย่าเพิ่งลัดขั้นตอนใจร้อนเอาเรื่องไปฟ้องร้องต่อศาลเพื่อขอเปลี่ยนรถใหม่หรือให้ซื้อรถคืนเลย เพราะฟ้องไปหากศาลท่านเห็นว่าน่าจะซ่อมได้ท่านก็คงสั่งให้ไปซ่อมก่อน ซ่อมได้ก็จบกันไป หากซ่อมไม่ได้หรือซ่อมไปแล้วเอากลับมาใช้อีก มองแล้วอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายของผู้บริโภคท่านถึงจะพิจารณาให้เรียกคืนรถและชดใช้เงินค่าซื้อรถกันได้ สรุปว่าทุกอย่างมีขั้นตอนดังนั้น สิ่งที่ผู้บริโภคควรทำเมื่อเกิดปัญหาแนวๆ นี้ คือ นำสินค้าที่เสียหายหรือชำรุดบกพร่องโดยที่ไม่ได้เกิดจากการความบกพร่องจากการใช้งานของผู้บริโภคส่งให้ผู้ขายสินค้าตรวจเช็คและร้องขอเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของตนเองเพื่อขอให้ผู้ขายสินค้าซ่อมสินค้าที่ชำรุดบกพร่องโดยทันที และเริ่มนับเวลาค่าเสียหายที่ขาดโอกาสในการใช้รถนับแต่วันที่ส่งซ่อมทันที ไม่ได้หวังว่าจะเอามาคิดเป็นเงินจริงจังก็ได้ แต่คิดเป็นตัวเลขเพื่อใช้กดดันเป็นปฏิกิริยาเร่งให้มีการซ่อมสินค้าโดยเร็ว ซ่อมได้ภายในระยะเวลาที่เหมาะสมไม่เยิ่นเย้อยาวนานเกินไปก็สมควรจบปัญหากัน แต่หากซ่อมไม่ได้หรือซ่อมไม่หายจึงค่อยเรียกร้องให้เปลี่ยนสินค้าใหม่หรือคืนเงินกัน หากผู้ขายสินค้าไม่ยินยอมจึงค่อยไปฟ้องร้องต่อศาลในคดีผู้บริโภคได้ ว่ากันเป็นกระบวนยุทธ์อย่างนี้ ปัญหายุติเร็วแน่นอน ที่สำคัญยุติ แบบยุติธรรมด้วย แต่อย่าลืมเรื่องอายุความของคดีที่มีระยะเวลาแค่ 1 ปี นับแต่วันที่รับรู้ถึงความเสียหาย ต้องฟ้องร้องภายในกรอบระยะเวลานี้ หากพ้นระยะเวลานี้ไปก็หมดสิทธิที่จะเรียกร้องความรับผิดกันได้หลังจากได้รับคำแนะนำไปคุณรฐาเธอจึงเริ่มดำเนินการเจรจาตามกระบวนยุทธพิทักษ์ผู้บริโภค ไม่นานศูนย์นิสสันลาดพร้าวก็ได้ทำการตรวจสอบสภาพความชำรุดบกพร่องของรถ จนทราบสาเหตุที่น้ำรั่วไหลเข้ารถว่าเป็นเพราะขอบยางจากกระโปรงท้ายรถติดตั้งไม่เรียบร้อย และไม่มีการปิดฝาท่อระหว่างท้ายรถกับห้องโดยสารทำให้น้ำรั่วไหลเข้าไปได้ทั้งในเวลาล้างรถหรือตอนฝนตก จึงได้ทำการซ่อมแซมแก้ไขให้“เมื่อรับรถออกมาเราได้ทดสอบเบื้องต้นโดยการเอาน้ำฉีด น้ำไม่เข้าแล้ว...ขอขอบคุณทางมูลนิธิฯมากๆ ค่ะ ที่ให้คำปรึกษาดีมากๆ ขอบคุณค่ะ...”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 ส่งโนเกียซ่อม 6 เดือนยังไม่ได้ ร้องมาที่มูลนิธิฯ สัปดาห์เดียวได้คืน

“วันที่ 12 ธันวาคม 2554 ผมได้ส่งโทรศัพท์โนเกีย รุ่นเอ็น 8 ไปซ่อมที่ศูนย์โนเกียแคร์ สาขาเอสพานาด ด้วยอาการที่มือถือเมื่อใช้ USB แล้วมองไม่เห็นคอมพิวเตอร์” คุณไกรภพเริ่มเรื่องศูนย์ได้รับเครื่องมือถือของคุณไกรภพเพื่อตรวจซ่อม และแจ้งกลับมาว่าเครื่องมีปัญหาที่เมนบอร์ด ต้องทำการเปลี่ยนด้วยราคา 12,000 บาท“ผมตัดสินใจไม่ซ่อมและขอรับเครื่องกลับ”นอกจากนั้นคุณไกรภพ ยังให้ข้อมูลเพิ่มอีกว่า ปรากฏว่าวันที่ไปรับเครื่อง เมื่อตรวจเช็คพบว่า เครื่องไม่สามารถเปิดได้ ซึ่งในใบรับซ่อมแจ้งว่าเครื่องเปิด-ปิดได้ โทรเข้า-โทรออกได้ปกติ จึงเป็นหลักฐานยืนยันว่าสาเหตุที่เครื่องเสียเปิดใช้งานไม่ได้ มีสาเหตุมาจากการซ่อมของทางศูนย์“ผมจึงได้โวยวายให้ศูนย์รับผิดชอบ ทางศูนย์จึงได้ส่งเครื่องกลับไปซ่อมใหม่”ต่อมาศูนย์แจ้งว่า จะทำการเปลี่ยนเมนบอร์ดให้และให้รอการแจ้งกลับช่วงแรกๆ ผมก็รอ แต่ปรากฏว่ามีความจำเป็นต้องติดต่องานตลลอดเวลา ทำให้ต้องซื้อเครื่องใหม่ ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นต้องเสียเงินเลย แต่เป็นเพราะทางศูนย์ทำเครื่องพังหนักกว่าเดิม ไม่ทราบว่าผมจะสามารถทำอย่างไรได้บ้างครับ ตอนนี้ตามทั้งทางโทรศัพท์ ตามทั้งทางศูนย์เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา แต่ก็ไม่ได้ความคืบหน้าอะไรเกี่ยวกับการซ่อมเลยครับ “ผ่านจากวันนั้นจนถึงวันนี้ ระยะเวลาในการซ่อม 6 เดือน หรือครึ่งปีแล้วผมควรทำอย่างไรดีครับ” แนวทางแก้ไขปัญหาคุณไกรภพครวญมาด้วยความทุกขเวทนาน่าสงสารจับจิต...ตอนที่น่าสงสารสุดๆ น่าจะตอนที่ศูนย์ซ่อมบอกว่าค่าเมนบอร์ดใหม่คิดราคา 12,000 บาท พอไปเปิดเว็บไซต์ขายมือถือรุ่นนี้ พบราคาเปิดตัวเมื่อกรกฎาคม 2553 อยู่ที่ 16,500 บาท ราคาล่าสุดอยู่แถวๆ 10,890 เท่านั้น นี่ศูนย์จะเล่นผู้บริโภคถึง 12,000 บาทเชียวหรือ ก็น่าจะบอกให้เขาไปซื้อใหม่ให้รู้แล้วรู้รอดไปเลยคุณไกรภพซื้อมือถือมาไม่ได้ใช้แถมศูนย์ซ่อมยังทำให้เจ๊งอีก ต้องซื้อมือถือใหม่มาใช้งาน อย่างนี้ต้องเรียกว่า เป็นความเสียหายซ้ำซ้อน คล้ายกับผู้พิการซ้ำซ้อน หูหนวกไม่พอต้องตาบอดอีก อะไรทำนองนี้ หลังได้รับเรื่องร้องเรียน เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ จึงโทรไปหาคุณไกรภพและแนะนำให้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังบริษัทโนเกีย ประเทศไทย เรื่องการบริการหลังการขายที่มีปัญหาของศูนย์บริการโนเกีย โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ เป็นผู้ช่วยร่างและเรียงลำดับปัญหาให้กับคุณไกรภพคุณไกรภพได้ส่งคำร้องเรียนไปที่เฟสบุ๊กของโนเกียหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ศูนย์โนเกียได้ติดต่อกลับมาที่คุณไกรภพแจ้งให้เข้าไปรับเครื่องที่ซ่อมเสร็จแล้วคืน ซึ่งศูนย์โนเกียได้เปลี่ยนเมนบอร์ดให้ใหม่และแก้ไขระบบเปิด-ปิดเครื่องให้จนสามารถใช้งานได้ตามปกติ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ“แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว” คุณไกรภพบอก“ผมพยายามติดตามเครื่องมาเกือบ 7 เดือน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือจากมูลนิธิฯ ถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ขอบพระคุณมากครับ”  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 บ้านถูกน้ำท่วม ไม่ใช้เน็ตแต่ถูกเรียกเก็บค่าบริการ

เป็นที่ทราบกันดีว่าที่อยู่อาศัยแถบอำเภอบางบัวทองต้องถูกน้ำท่วมอย่างหนัก แทบไม่มีใครอยู่อาศัยได้ ระบบสาธารณูปโภคต่างๆล่ม จึงมีการยกเว้นการเรียกเก็บค่าบริการไม่ให้ซ้ำเติมความทุกข์ของชาวบ้าน แต่ความดีแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับอินเทอร์เน็ตของทรูไลฟ์พลัส เพราะมีการร้องเรียนว่ายังเรียกเก็บค่าบริการต่อเนื่องเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นคุณชูชัยเป็นผู้บริโภครายหนึ่งที่ร้องเรียนมาว่า ตนและครอบครัวอยู่อาศัยในหมู่บ้านชื่อดังแห่งหนึ่งย่านถนนบางกรวยไทรน้อย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เมื่อน้ำท่วมใหญ่เข้าอำเภอบางบัวทองเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2554  ทำให้ไม่สามารถอยู่อาศัยในบ้านได้ จึงได้โทรแจ้งไปยังบริษัท ทรู ไลฟ์ พลัส จำกัดว่า บ้านถูกน้ำท่วมอยู่อาศัยไม่ได้จึงไม่สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตของบริษัทได้ ขอให้บริษัทระงับการเรียกเก็บค่าบริการไว้ก่อนเสียงร้องขอของผู้บริโภคคงไร้ความหมาย เจตนารมณ์ของทรูไลฟ์พลัส คงไม่เปลี่ยนแปลงและมุ่งมั่นรักษาสโลแกนของตนไว้เหมือนเดิม “ชีวิตมีแต่บวก” ก็เลยมีการส่งใบแจ้งหนี้บวกเพิ่มให้คุณชูชัยเข้ามาทุกเดือน กลายเป็นหนี้สะสมทบติดต่อกันมาถึง  5 เดือนนับจากวันที่น้ำท่วมเข้าบางบัวทอง จนถึงวันที่ร้องเรียน คุณชูชัยก็ยังไม่สามารถเข้าอาศัยในบ้าน ของตัวเองได้เนื่องจากอยู่ระหว่างการซ่อมแซมต้องไปหาพักอาศัยในคอนโดแห่งหนึ่งแทน จึงร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางแก้ไขปัญหา เรื่องนี้ได้มีการร้องเรียนไปที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.)ของ กสทช.อีกทางหนึ่งด้วย เราจึงได้สอบถามความคืบหน้าไปที่ สบท. ทราบว่าหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนแห่งนี้ได้มีหนังสือถึงบริษัท ทรู ไลฟ์ พลัสฯ เพื่อขอให้พิจารณายกเว้นการเรียกเก็บค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผู้บริโภคไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากเหตุน้ำท่วมใหญ่ทรู ได้ปรับลดค่าบริการตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2554 ถึงรอบเรียกเก็บในเดือนมีนาคม 2555 เป็นเงิน 3,700 กว่าบาทให้ และได้มีการเริ่มต้นคิดค่าใช้จ่ายกับผู้บริโภคอีกครั้ง สอบถามคุณชูชัยได้ความว่าตอนนี้ยังอาศัยอยู่ที่คอนโดยังไม่ได้กลับเข้าบ้านเพราะบ้านยังซ่อมไม่เสร็จ จึงอยากจะทำเรื่องยกเลิกการใช้บริการอินเทอร์เน็ตและขอเงินประกันกล่อง Router คืนไปเลย แต่กล่อง Router หายไปตอนน้ำท่วมหลังทราบความต้องการของผู้บริโภค ทรูจึงทำการยกเลิกบริการอินเทอร์เน็ต และแจ้งว่าค่าประกันกล่อง Router อยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เรื่องนี้มีความสับสนอยู่สักพัก เพราะจริงๆแล้ว กล่อง Router นั้นไม่มีการทำประกัน แต่เป็นลักษณะของการซื้อขายอุปกรณ์เมื่อใช้อินเทอร์เน็ตครบ 1 ปี กล่อง Router จะตกเป็นของผู้บริโภค ส่วนเงินที่ติดตามทวงถามคืนนั้นเป็นค่าประกันหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งห้ามมิให้มีการเรียกเก็บเงินในลักษณะนี้ จึงได้มีการติดตามทวงถามคืนจากทีโอทีรวมจำนวน 2 เลขหมาย และท้ายที่สุดได้คืนเป็นจำนวนเงินเลขหมายละ 3,000 บาท รวมเป็น 6,000 บาทเรื่องจึงเป็นอันยุติ สวัสดี  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 136 ค่าบริการมือถือด้วยเสียงต้องไม่เกินนาทีละ 99 ส.ต.

จากสถานการณ์ของผู้บริโภคที่ถูกรุมเร้าในหลายเรื่อง ทั้งการขึ้นราคาค่าโดยสาร รถ-เรือ ค่า Ft น้ำมัน ก๊าซ ฯลฯ ซึ่งหลายเรื่องเป็นข่าวร้ายของผู้บริโภคทั้งสิ้น แต่ในวิกฤติก็จะมีโอกาส ภายใต้ข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดี(อยู่บ้าง) ข่าวดีนั้นเกิดขึ้นในกิจการโทรคมนาคม เมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ได้ออกประกาศเรื่องการกำหนดอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ขั้นสูง ซึ่งมีผลเมื่อ 31 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคค่อนข้างมากดังนี้1.กสทช. กำหนดให้ผู้มีอำนาจเหนือตลาด(smp) 2 รายคือ AIS และ Dtac คิดอัตราค่าบริการโทรศัพท์มือถือด้วยเสียงได้ไม่เกินนาทีละ 99 ส.ต. และทุกนาทีที่ใช้งานต้องไม่เกิน 99 ส.ต.2.โปรโมชั่นที่ผู้บริโภคใช้อยู่หากหมดลง ภายในปี 55 โปรโมชั่นใหม่ต้องคิดค่าบริการเสียงไม่เกิน 99 ส.ต.3.โปรโมชั่นที่ผู้บริโภคใช้อยู่หากมีระยะเวลาเกิน 31 ธ.ค. 55 แต่เมื่อสิ้นปีแล้วโปรโมชั่นทั้งหมดต้องไม่เกินนาที 99 ส.ต.อ่านแล้วก็เห็นได้ค่อนข้างชัดว่าประกาศเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เพราะอัตราค่าบริการขั้นสูง “หมายความว่าห้ามคิดค่าบริการเกิน 99 สต” แต่ต่ำกว่าไม่เป็นไร ปัญหาคือประกาศเหล่านี้ จะไปถึงผู้บริโภคอย่างทั่วถึงได้อย่างไร(ไม่รู้ก็ไม่ได้ใช้) ควรจะผ่านสื่อไหนถึงจะเข้าถึงผู้บริโภคได้(หากสื่อยังอยู่ในลักษณะ ข่าวร้ายลงฟรีข่าวดีเสียเงิน) ต้องยอมรับกันว่า การที่จะให้บริษัทที่ให้บริการโทรคมนาคม ทำตามประกาศ กสทช. คงเป็นไปค่อนข้างยาก อย่างที่เราเห็นๆ กันอยู่ การจะบังคับให้บริษัทเหล่านี้ทำตามประกาศ พึ่ง กสทช.ฝ่ายเดียวไม่ได้ ดังนั้นภาระหนักยังคงตกอยู่ที่คนทำงานด้านผู้บริโภค ที่ต้องให้ความรู้กับผู้บริโภค ให้ร่วมกันกดดันให้ กสทช.บังคับใช้ประกาศของตนเอง เพราะที่ผ่านมาเป็นประเภทประกาศอย่างเดียว แต่ไม่ค่อยบังคับใช้ดังนั้นผู้เขียนจึงได้เขียนเรื่องนี้มาเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบและประชาสัมพันธ์กันต่อๆ ไป และขอให้ช่วยกันรักษาสิทธิ เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค มิให้ฝ่ายผู้ให้บริการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างเช่นปัจจุบันดังนั้นการจะให้ประกาศนั้นเป็นไปได้จริง ผู้บริโภคต้องมีส่วนร่วมในการรักษาสิทธิคือ 1) ให้ตรวจสอบโปรโมชั่นที่ใช้อยู่ว่า เกิน 99 ส.ต. หรือไม่ หากเกิน ขอให้ช่วยกันใช้สิทธิร้องขอโปรโมชั่นใหม่ที่ราคาเป็นไปตามประกาศ 2) ถ้า โปรโมชั่นเดิมใช้แล้ว ราคายังถูกกว่าประกาศฯ ก็ยังสามารถใช้ต่อไปได้จนถึงสิ้นปี 55นอกจากการใช้บริการของบริษัทผู้ให้บริการรายเดิม ถ้ามีรายอื่นที่ราคาถูกกว่าผู้บริโภคก็มีสิทธิย้ายเลขหมายของเราไปใช้บริการรายอื่นได้เช่นกัน หากผู้ให้บริการรายใดปฏิเสธหรือขัดขวางการใช้สิทธิตามประกาศ กสทช. หรือเห็นว่า กสทช. ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศ ผู้บริโภคก็มีสิทธิร้องเรียน ได้ในหลายทาง เช่น ร้องเรียนโดยตรงกับผู้ให้บริการ ร้องผ่าน กสทช. สายด่วน 1200 หรือร้องเรียนผ่านศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ ภาคประชาชนสุดท้ายหากยังไม่ได้รับการแก้ไข ผู้บริโภคสามารถไปที่ศาลจังหวัด เพื่อขอฟ้องคดีผู้บริโภคโดยไม่ต้องจ้างทนายและไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หากผู้บริโภคอยากเห็นความเป็นธรรม และองค์กรกำกับฯได้ทำงานอย่างจริงจังอย่างที่ควรจะเป็น คงต้องช่วยกันส่งเสียงผ่านการใช้สิทธิที่เป็นจุดแข็งของผู้บริโภคร่วมกัน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่่ 136 ขนประหลาดในเค้ก

ด้วยชีวิตรีบเร่ง ทำให้เดี๋ยวนี้คนไทยกินข้าวที่บ้านกันน้อยลง หันไปพึ่งอาหารสำเร็จรูปเยอะขึ้น เข้าร้านสะดวกซื้อหยิบปุ๊บ จ่ายเงินปั๊บ แกะห่อเป๊ะ หยิบใส่ปากป๊าบ เอ๋...นี่มันเส้นอะไร อึ๋ยยยย! นี่มันขน.@#@?? “คน” นี่นาเช้าวันที่ 15 มีนาคม 2555 น่าจะเป็นเช้าวันทำงานที่สดใสอีกวันหนึ่งสำหรับคุณบูรณ์มี หากว่าไม่เจอขนเส้นนั้น ก่อนออกไปทำงาน เธอเปิดตู้เย็นเพื่อหาของรองท้อง หมายตาไปที่ขนมเค้กโรลบลูเบอรี่ฟาร์มเฮ้าส์ ที่ซื้อจากร้านเซเว่น อีเฟเว่นใกล้บ้านตั้งแต่เมื่อคืนวันวานเธอแกะมารับประทานได้คำสองคำ ก็เจอเส้นขนประหลาดแทรกอยู่ในเนื้อขนมเค้ก ทีแรกเธอคิดว่าเป็นเศษด้ายสีดำ แต่เมื่อเอานิ้วไปเขี่ยๆ แตะๆ ก็รู้ว่าไม่ใช่ หยิบขึ้นมาดูชัดๆ มันดูเหมือนขนเพชรของคนมากเลย“ทิ้งเลยค่ะไม่กินต่อเลย”พอเจอขนประหลาดในเนื้อขนม สิ่งแรกที่เธอทำคือ การกดเบอร์โทรลูกค้าสัมพันธ์ฟาร์มเฮ้าส์ที่แสดงอยู่บนซองขนมเพื่อจะร้องเรียน ปรากฏว่าไม่มีใครรับสายเพราะตอนนั้นเป็นเวลา 7 โมงเช้ากว่าๆพอถึงที่ทำงานเวลา 9 โมงกว่าโทรเข้าไปใหม่สายก็ไม่ว่าง ประมาณเกือบ 11 โมงจึงโทรติด“พอมีเจ้าหน้าที่มารับสายก็เลยบอกว่าเราได้เจอขนเพชรในขนม เจ้าหน้าที่ถามกลับมาว่าวันผลิต วันหมดอายุเมื่อไหร่ เลยบอกไปว่าผลิต 13 มี.ค. หมดอายุ 18 มี.ค.55 ซื้อจากที่ไหน ก็บอกว่าร้านสะดวกซื้อ(เซเว่น) อยู่แถวฝั่งตรงข้ามสำนักงาน ปปส. ดินแดง” จากนั้นก็ได้มีเจ้าหน้าที่ของฟาร์มเฮ้าส์โทรติดต่อกลับมาอีกครั้ง“ถามว่าจะมาพบได้ที่ไหน ตอนนี้ขนมอยู่ที่มือหรือเปล่า บอกว่าอยู่ เขาบอกว่าจะมีเจ้าหน้าที่มาพบตอนบ่าย แต่ตอนหลังโทรกลับมาบอกว่ารถไม่ว่างจะมาวันพรุ่งนี้ คือวันที่ 16 มี.ค. บอกว่าจะมาประมาณ 11 โมงเช้าวันที่ 16 มี.ค. 55 เวลาประมาณ 11.00 น. ณ ที่ทำงานของคุณบูรณ์มี  มีเจ้าหน้าที่ของบริษัทฟาร์มเฮ้าส์มาขอพบเธอ 2 คน“ก็นำขนมชิ้นนั้นไปให้ดู เขาก็ขอโทษและชี้แจงว่า ช่วงนี้มีพนักงานเข้าออกกันบ่อย บอกขอบคุณที่ช่วยแจ้งข้อมูล และให้ขนมปลอบใจ 1 กระปุกแล้วแยกย้ายกันไป”“ก็มึนๆ ล่ะค่ะ ที่เขาเอาขนมอีกกระปุกมาให้เป็นการขอโทษ จบแค่นี้เองเหรอคะ”คุณบูรณ์มีทิ้งท้าย ก่อนส่งข้อมูลและภาพถ่ายของขนมและเส้นขนในขนม พร้อมสำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ใจในการร้องเรียนมาให้มูลนิธิฯ เพื่อขอให้ช่วยดำเนินการตรวจสอบปัญหานี้ต่อไป แนวทางแก้ไขปัญหาการที่มีเส้นขนหรือสิ่งแปลกปลอมใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภคปะปนมาในอาหาร โดยที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำของผู้บริโภค ให้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดจากการผลิต บรรจุ หรือ เก็บรักษาอาหารโดยไม่ถูกสุขลักษณะเป็นเหตุให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า “อาหารไม่บริสุทธิ์” ซึ่งพ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25 ได้มีข้อห้ามไม่ให้ผู้ใดผลิตหรือจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ ผู้ที่ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับถ้าจะเปรียบเทียบความรุนแรงของโทษ การจำคุกไม่เกิน 2 ปีก็มีความรุนแรงเท่ากับโทษการทำร้ายร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่น เช่น  ตบหน้าจนบวมช้ำ ต้องรักษาบาดแผล ส่วนโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทก็เป็นการปรับระดับโทษเดียวกับการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 เช่น รักษาผู้ป่วย  ไม่รอบคอบ ประมาทเลินเล่อทำให้เขาตาย ขับรถประมาทชนคนตาย   มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท แต่โทษจำนั้นหนักกว่าคือมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ดังนั้น การแสดงความรับผิดชอบของผู้ประกอบธุรกิจเพียงแค่กล่าวคำขอโทษแล้วให้ขนมมาปลอบใจดูจะอ่อนไปหน่อย มูลนิธิฯ จึงได้มีหนังสือร้องเรียนไปถึงบริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด(มหาชน) ในฐานะผู้ผลิตขนมฟาร์มเฮ้าส์ และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน) ผู้ประกอบการร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ในฐานะผู้จำหน่ายขนม ให้ร่วมกันตรวจสอบปัญหาและพิจารณาเยียวยาความเสียหายแก่ผู้บริโภคตามสมควรไม่นานบริษัทเพรซิเดนท์ เบเกอรี่ฯ ได้มีหนังสือชี้แจงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกลับมาที่มูลนิธิฯ โดยใจความสำคัญพอสรุปได้ว่า โอกาสที่สิ่งแปลกปลอมจะปนเปื้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต อาจเกิดจากวัตถุดิบบางประเภท อาทิเช่น ไข่ไก่ตอก เนื่องจากไข่ไก่ที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นั้น เป็นไข่ไก่สด ซึ่งถูกบรรจุในถุงแช่เย็นจากทางผู้ผลิตไข่ไก่โดยตรงใส่ในถาดตะแกรง เมื่อเข้าสู่โรงงานจะผ่านขั้นตอนการตรวจรับที่อยู่ภายนอกอาคาร เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพจะทำการสุ่มตรวจสิ่งแปลกปลอม กรณีสุ่มไม่พบ ไข่ไก่จะถูกส่งเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป“จากกรณีดังกล่าวทางบริษัทฯ จึงเล็งเห็นแนวทางพัฒนาการป้องกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมคุณภาพ โดยเพิ่มขั้นตอนการตรวจสอบสิ่งแปลกปลอม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าวัตถุดิบที่ใช้ตลอดจนกระบวนการผลิตยังอยู่ในมาตรฐาน”“เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2555 ทางบริษัทฯ จึงได้ทำการติดต่อลูกค้าอีกครั้ง เพื่อทำความเข้าใจและยืนยันในคุณภาพกระบวนการผลิตภายใต้มาตรฐานหลักปฏิบัติการผลิตที่ดี และดำเนินการส่งมอบผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการขอบพระคุณลูกค้าที่กรุณาให้ข้อมูลกรณีพบสิ่งแปลกปลอมในผลิตภัณฑ์แก่ทางบริษัทฯ ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อันนำไปสู่การพัฒนากระบวนการตรวจสอบคุณภาพของฝ่ายผลิตของทางบริษัทฯ ภายหลังการดำเนินการทางลูกค้าได้รับความพึงพอใจเป็นอย่างมาก” เป็นคำตอบจาก บริษัทเพรซิเดนท์ เบเกอรี่ฯในท้ายที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >