ฉบับที่ 147 ตีค่าราคามนุษย์ เยียวยาความเสียหายหรือเอาเงินฟาดหัว?

วันที่ 17 เมษายน 2556 วันสุดท้ายของโครงการ 7 วันอันตราย ตามนโยบายของรัฐบาลบนถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร  หนุ่มสาวยังคงสนุกสนานกับการเล่นน้ำ ยิ่งรถติดยิ่งสนุกโครม!! เสียงรถเมล์สาย 15 ชนกับท้ายรถยนต์คันหนึ่ง แต่ไม่รุนแรงมากนัก ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ จึงมีการถ่ายผู้โดยสารจากรถเมล์ที่เกิดอุบัติเหตุมายังรถเมล์สายเดียวกันที่แล่นตามมา เมื่อรวมผู้โดยสารทั้งหมดมาอยู่ในคันเดียวกัน ทำให้เกิดความแออัดยัดเยียดเบียดกันมาถึงบริเวณด้านหน้ารถติดคนขับ“ผู้โดยสารด้านหน้าช่วยเขยิบด้วยครับ ผมมองกระจกข้างไม่เห็น” เสียงลุงคนขับรถเมล์ตะโกนบอกแต่ด้วยเสียงเครื่องยนต์ที่ดังทำให้ผู้โดยสารคนนั้นไม่ได้ยิน ลุงคนขับจึงขยับตัวเอื้อมมือไปสะกิดผู้โดยสารคนที่ยืนบังกระจกมองข้าง โดยที่รถยังแล่นด้วยความเร็ว และเรื่องไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นโครม!!! ลุงคนขับล้มลง ทำให้มือที่จับพวงมาลัยอยู่นั้น หักเข้าชนต้นไม้ข้างทางเข้าอย่างจัง ผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บกว่า 20 รายวันที่ 23 เมษายน 2556 บริษัทประกันภัยที่รับทำประกันไว้กับรถเมล์คันที่เกิดเหตุ ได้นัดผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บมาเจรจาค่าเสียหาย วันนั้นเป็นวันธรรมดาผู้บาดเจ็บแต่ละคนต้องลางานมา  เมื่อผู้จัดการบริษัทประกันภัยมาถึง“เอ้า .. ใครก่อนดีครับ?” ผู้จัดการบริษัทประกันภัยตะโกนร้องเรียกเหมือนมาแจกของที่โรงทาน“ชั้นก่อนละกัน เดี๋ยวต้องรีบไปเปิดร้านขายของต่อ” หญิงคนหนึ่งยกมือแสดงตัว “300 พอมั้ย” ผู้จัดการคนนั้นเสนอตัวเลข โดยไม่ถามถึงความเสียหาย หรืออาการบาดเจ็บเลยแม้แต่น้อย“บ้าเหรอ  300  ชั้นหน้าบวมปูดไปตั้งหลายวันนะ ไปทำงานก็ไม่ได้ ชั้นมีใบเสร็จนะ”“ใบเสร็จนี้มันใช้ไม่ได้ มันไม่ได้ลงวันที่ .. เอางี้ ผมให้ 1,000 บาท จบเรื่องเลย ถือว่าผมช่วยละกัน” ผู้จัดการคนเดิมตอบ“ 1,000 ก็ได้ ชั้นกลัวเสียเวลา” หญิงคนนั้นตอบเมื่อตกลงตัวเลขเงินค่าเสียหายกันได้ด้วยวิธีแบบที่ว่ามา ผู้จัดการบริษัทประกันภัย จะส่งเรื่องให้ลูกน้องอีก 2-3 คน ดำเนินการเรื่องการประนีประนอมยอมความ และจัดการให้ผู้เสียหายแต่ละรายลงลายมือชื่อยอมให้รับเงินและไม่ติดใจเอาความทางคดีทั้งแพ่งและอาญาต่อไป จากนั้นผู้จัดการบริษัทประกันภัยก็ทำสิ่งที่เรียกว่า การเจรจาเพื่อเยียวยาความเสียหายแก่ผู้บาดเจ็บ” แบบเดิมซ้ำๆ จนครบทั้ง 20 คนคำถามคือ มาตรฐานการชดเชยเยียวยาของประกันภัยในอุบัติเหตุรถโดยสารอยู่ตรงที่ไหน? อยู่ที่ความเขี้ยวของตัวแทนประกัน หรือควรอยู่บนที่ตั้งแห่งความเสียหายที่เกิดขึ้น แนวทางแก้ไขปัญหาดร.สุเมธ  องกิตติกุล  แห่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ได้ทำการศึกษา “อุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ : ผลกระทบ การประกันภัย การชดเชยเยียวยา” ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ได้เปิดเผยว่า การชดเชยเยียวยาต่อผู้ประสบอุบัติเหตุจากระบบประกันภัยนั้นพบว่า วงเงินค่าเสียหายยังไม่มีความเหมาะสมเท่าที่ควรนอกจากนั้น ยังพบปัญหาการขาดการเชื่อมโยงระหว่างบริษัทประกัน ผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการที่ถือใบอนุญาตอย่างบริษัท ขนส่ง จำกัด(บขส.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)  และบทบาทของบริษัทประกันมีอยู่น้อยในการสร้างระบบตรวจสอบ และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารจากการกำหนดเบี้ยประกัน ดังนั้นจึงเสนอให้มีการกำกับดูแลผู้ประกอบการ ทั้งผู้ประกอบการที่ถือใบอนุญาตและผู้ประกอบการที่ร่วมบริการอย่างเข้มงวด รวมถึงให้เข้มงวดในการให้ใบอนุญาตที่พิจารณาถึงประวัติด้านอุบัติเหตุด้วย นอกจากนี้ยังต้องสร้างกลไกของบริษัทประกันภัยในการกำหนดเบี้ยที่สะท้อนความเสี่ยงของผู้ประกอบการแต่ละรายด้วยนอกจากนี้ ดร.สุเมธได้เสนอให้มีการปรับปรุงเงินชดเชยเยียวยาความเสียหายสำหรับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หรือประกันภัยภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันต้องทำ โดยให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากไม่เกิน 15,000 บาท เพิ่มเป็นไม่เกิน 150,000 บาท ส่วนค่าชดเชยกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร ให้กับจาก 200,000 บาทเพิ่มขึ้นเป็น 400,000 บาท และหากสูญเสียอวัยวะหรือพิการ ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตควรปรับให้ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 240,000 บาทและระบบประกันภัย ควรปรับปรุงแก้ไขอุปสรรคปัญหาในการเรียกร้องค่าเสียหายของผู้ประสบอุบัติเหตุ ได้แก่ ความล่าช้าในการพิสูจน์ถูก-ผิด และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การติดต่อประสานงานที่ไม่มีใบเสร็จ ทำให้ใช้เรียกร้องค่าเสียหายได้ยากด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 มันมาในรูปของ sms

มีเรื่องร้องเรียนเรื่องถูกส่ง sms มารบกวน และต้องจ่ายค่าบริการเยอะมาก  และที่มากไปกว่านั้นยังมีการโฆษณาสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคสมัครเข้ามารับบริการ เช่น หากสนใจกดหมายเลข .... แต่ไม่มีการให้ข้อมูลว่าหากต้องการยกเลิกจะกดอะไร ? ได้บ้าง  สิ่งที่เห็นคือเมื่อสมัครไปแล้วต้องการยกเลิกแทบไม่มีช่องให้ทำได้  หรือทำได้ก็มีการกำหนดขั้นตอนให้ยุ่งยากซับซ้อน ยากลำบากในการใช้สิทธิขอเลิกใช้บริการ ซึ่งอาจคาดเดาว่านี่คงเป็นยุทธศาสตร์เพื่อให้ผู้บริโภคเบื่อหน่าย และยอมจ่ายเงินไปเรื่อยๆองค์กรที่กำกับดูแล ก็เหมือนไม่ใยดีกับปัญหาที่ผู้บริโภคกำลังเผชิญกับการเอารัดเอาเปรียบของผู้ประกอบการ แถมองค์กรกำกับของเรายังมีพฤติกรรมคล้ายๆ กรรมการห้ามมวยปล้ำที่มักเอนเอียงไปทางด้านผู้ประกอบการซะอีก  ทั้งที่ผู้ประกอบการหลายมีพฤติกรรมแบบว่า ออกแนว ขี้โกงสารพัด  มากกว่าจะยึดกติกาที่เป็นธรรม(ที่กสทช.กำหนดขึ้นมาเองแต่ไม่บังคับใช้)   หากประเทศไทยก้าวเข้าสู่การบริการ 3G เต็มรูปแบบ และองค์กรกำกับยังเป็นอย่างนี้   เราคงต้องร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไรกันต่อไปที่กล่าวมาข้างต้นคงสื่อให้เห็นปัญหากันบ้างแล้ว    สาเหตุของปัญหาจริงๆ มันอยู่ตรงไหน   หากนำปัญหาเรื่องร้องเรียนต่างๆ มาสังเคราะห์ อาจจะทำให้เห็นภาพของต้นเหตุได้ชัดเจนพอสมควร   เช่น กรณีมีผู้บริโภคร้องเรียนมาว่า  ต้องการยกเลิกข้อมูลที่ส่งมาแล้วถูกเก็บเงินโดยไม่เคยเปิดใช้บริการ  คำตอบที่ได้มาชวนให้คิดต่อได้มาก  คือ บริการเสริมเหล่านั้น ไม่เกี่ยวกับบริษัทผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตแต่เป็นบริการเสริมจากผู้ประกอบการรายอื่น(contantprovider) คำตอบนั้น เป็นเรื่องจริงหรือโกหกคำโตกันแน่?     เพราะข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนคือ   ผู้ให้บริการเสริมไม่ได้มาเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภคโดยตรง  แต่เป็นการจ่ายผ่านระบบบริการ ทั้งระบบเติมเงินและรายเดือนของทั้ง  เอไอเอส,ดีแทค,และทรู “ทั้ง 3 ผู้ประกอบการได้นำเลขหมายที่ขายให้ผู้บริโภคแล้ว ไปขายให้กับผู้ให้บริการเสริมเพื่อให้ได้กำไรหลายต่อหรือไม่?”เพราะหากเป็นเรื่องจริง ปัญหานี้ต้องได้รับการแก้ไข  กสทช.ต้องไม่ปล่อยให้บริษัทผู้ประกอบการนำเลขหมายที่เป็นสิทธิส่วนบุคคลของผู้บริโภค  ไปค้าขายทำกำไร 2 ต่อ คำถามตามมาคือ หากองค์กรกำกับฯ (กสทช.)  ละเลยไม่กำกับดูแลตามหน้าที่  ผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ จะลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิกันอย่างไร? 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 ทรู อ้างอุปกรณ์ชำรุดริบเงินมัดจำ

วิโรจน์ สมัครเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตกับทรู ไลฟ์ พลัส ตั้งแต่ปี 2550วิโรจน์ถูกเรียกเก็บค่ามัดจำอุปกรณ์รับสัญญาณเป็นเงินสองพันบาท จะได้คืนต่อเมื่อมีการบอกเลิกสัญญากันวิโรจน์ ใช้บริการอินเทอร์เน็ตกับทรู มาจนถึงกลางปี 2555 เป็นเวลา 5 ปี อยากจะบอกเลิกใช้บริการ จึงโทรไปแจ้งให้ทรูทราบว่า ต้องการบอกเลิกสัญญาและให้ทรูมาเก็บอุปกรณ์ของตัวเองไปหลังจากนั้นไม่นาน ทรูส่งเจ้าหน้าที่มาเก็บอุปกรณ์ คือกล่องดำรับสัญญาณ มารับอุปกรณ์ เซ็นเอกสารอะไรกันเสร็จ จากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ช่างที่มาเก็บอุปกรณ์โทรมาบอกว่า กล่องดำรับสัญญาณที่เก็บไปการ์ดชำรุด ใช้งานไม่ได้“ผมก็แย้งไปว่า กล่องดำที่เสียน่ะเป็นของผมหรือเปล่า หรือคุณทำของผมเสียหายแล้วโทรแจ้ง ทำไมตอนเก็บไม่ตรวจสอบต่อหน้าลูกค้าว่าอุปกรณ์เกิดชำรุด เสียหายอะไรบ้าง แล้วมาบอกว่าจะถูกหักเงินจากเงินมัดจำ”วิโรจน์ทักท้วงไป แต่ก็ไม่ได้ผลอะไร เพราะปลายเดือนเขาได้รับเงินโอนเข้าบัญชีจากทรูเป็นเงิน 1,000 บาท แทนที่จะเป็น 2,000 บาท วิโรจน์ต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาโทรไปถามทรูว่า ทำไมเงินมัดจำได้รับคืนไม่ครบ ได้รับคำตอบว่า เป็นการหักเงินค่ามัดจำอุปกรณ์ที่เกิดการชำรุดวิโรจน์รวบรวมหลักฐานที่มีอยู่ส่งเรื่องมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค “ผมคิดว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกค้า เป็นการหักโดยประมาณค่าใช้จ่าย และช่างของ ทรูได้เซ็นรับอุปกรณ์ไปแล้ว มาแจ้งภายหลังว่าการ์ดเสีย ไม่รู้ว่าเสียจริงหรือหรือเปล่า” แนวทางแก้ไขปัญหาเมื่อได้ฟังข้อเท็จจริงจากผู้ร้องเรียนแล้ว เราจึงรีบแนะนำให้คุณวิโรจน์ทำจดหมายเรียนถึงกรรมการผู้จัดการบริษัท ทรู ไลฟ์ พลัส ทันที เพราะการเจรจาทางโทรศัพท์ฝั่งผู้บริโภคจะไม่มีอะไรเป็นหลักฐานยืนยันว่าได้เคยมีการทักท้วงในปัญหาที่เกิดขึ้น และให้ยืนยันอย่างชัดเจนว่ามีความประสงค์ในการร้องเรียนเพื่ออะไรคุณวิโรจน์ได้ทำหนังสือขึ้น เพื่อขอค่ามัดจำที่เหลืออยู่คืน เนื่องจากทรูได้รับอุปกรณ์คืนไปเรียบร้อยแล้ว แต่กลับมาอ้างว่าอุปกรณ์เสียในภายหลัง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น อุปกรณ์ดังกล่าวยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ เขียนเสร็จก็ส่งไปที่ อีเมล์ voc@truecorp.co.th พร้อมส่งสำเนามาให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเมื่อได้รับจดหมายร้องเรียนเป็นทางการแล้ว เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ จึงสามารถประสานไปที่ฝ่ายรับเรื่องร้องเรียนของทรูได้ จากนั้นไม่นานได้รับแจ้งจากผู้ร้องเรียนว่า ได้รับเงินคืนจำนวน 1,000 บาทจากทรูเป็นที่เรียบร้อยแล้วใครที่มีปัญหาทำนองนี้ ใช้วิธีการร้องเรียนแบบนี้ได้ทันที ไม่ควรใช้ช่องทางโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 คนใกล้ชิดรับเหมาซ่อมบ้าน รับเงินแล้วงานอืด

โศรส เป็นหนึ่งในผู้ประสบภัยคราวน้ำท่วมใหญ่ฤทธิ์ของน้ำที่เข้ามาท่วม เอ่อและขัง ทำให้บ้านได้รับความเสียหายทั้งในบ้านและนอกบ้านอย่างที่ทราบกันดี ช่วงหลังน้ำท่วม ผู้รับเหมาซ่อมบ้านงานเข้าเป็นกอบเป็นกำและมีข่าวทิ้งงานก็เยอะ  ซ้ำหาตัวยากแสนยากโศรสพยายามมองหาผู้รับเหมาที่ไว้ใจได้ จนมีรุ่นน้องที่ทำงานแนะนำให้รู้จักกับน้องชายและทีมงานที่ทำงานรับเหมาทำบ้านซ่อมบ้านสร้างบ้านอยู่โศรสและสามีตกลงทำสัญญาว่าจ้างให้ซ่อมบ้านทั้งในบ้านและนอกบ้าน แม้จะต้องจ่ายเงินค่ามัดจำค่อนข้างเยอะ แต่ด้วยความไว้วางใจเห็นเป็นน้องของคนรู้จักที่ทำงานจึงไม่ได้ต่อรองอะไรเธอเล่าว่าตอนแรกๆ ทีมรับเหมาก็มาทำงานทุกวันจนครบตามสัญญาที่ต้องจ่ายเงินมัดจำ 2 งวด  เป็นจำนวนทั้งหมด 96,000 บาท หรือราว 80% ของยอดทั้งหมด แต่งานที่ทำยังไม่ถึง 50% ของที่ตกลงไว้ในสัญญา โดยแต่ละครั้งที่มาทำจะมากันแค่ 2 คน คือน้องชายของน้องที่ทำงานที่เป็นคนแนะนำกับคนงานอีก 1 คนเมื่อตรวจเช็คงานที่ทำ มีหลายครั้งที่ไม่ตรงตามที่ตกลง เช่น ของเงินเพิ่ม 10,000 บาท เพื่อจะจ้างรถใหญ่มางัดพื้นขุดหลุม แต่ก็ไม่ได้มา อ้างว่ายามหมู่บ้านไม่ให้เข้า พอไปเช็คสอบถามยาม ยามบอกว่าไม่เคยเห็นมีรถใหญ่ขอเข้ามาเลยนอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการเลือกวัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น เสาเข็มความยาวไม่ถึง 6 เมตร ช่างรับเหมาอ้างว่า หาซื้อแถวนี้ไม่ได้ร้านไม่มาส่ง  โศรสเธอก็เที่ยวไปตามถามร้านอุปกรณ์ก่อสร้างแถวบ้านพบว่ามีหลายร้านที่ขายและมาส่งด้วย จากนั้นก็เริ่มไม่มาทำงาน โดยมีเหตุผลต่างๆ นานา เช่น ไม่สบายต้องเข้าโรงพยาบาล หรือรถเสียต้องเอาไปซ่อม หลายครั้งที่มีการโทรตามก็ติดต่อไม่ได้ ไม่ยอมรับโทรศัพท์ หรือบางครั้งโทรติดต่อได้ก็รับปากว่าจะมาแต่ก็ไม่ได้มาตามนัด“แฟนที่อุตส่าห์ลางานเพื่อมาเฝ้าดู ต้องเสียวันลาและเวลาไปฟรีๆ ดิฉันและแฟนโกรธมาก”ท้ายสุดต้องไปคุยกับรุ่นน้องที่บริษัทถึงปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้น กลัวจะมีการเบี้ยวงาน โกงเงินดิฉันไป รุ่นน้องที่บริษัทจึงช่วยประสานงานให้น้องเขากลับมาทำงานหลังจากหายไม่มาทำงานไปเดือนเศษ แต่พอมาทำได้แค่อาทิตย์เดียว น้องที่รับเหมาเริ่มตุกติก บอกว่าจจะทำให้แต่ส่วนนอกบ้านคือรั้วกับปูกระเบื้องนอกบ้าน แต่งานในบ้านเป็นส่วนของแถมไม่รวมให้“ดิฉันได้ฟังแล้วคิดว่า สงสัยจะถูกโกงแล้ว จึงไม่ยอม และบอกให้ช่างรับเหมาทำตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้แต่แรก แต่ทางผู้รับเหมาบอกว่า ไม่ได้กันเงินมาจ่ายค่าจ้างคนงาน ที่มีแค่หนึ่งคน ถ้าจะให้ทำข้างในบ้านต้องขอเวลารอเงินค่างวดที่จะได้จากอีกงานหนึ่งก่อน”“ดิฉันควรจะทำอย่างไรดีที่จะให้ผู้รับเหมา รับผิดชอบทำงานให้ครบตามที่สัญญาไว้” แนวทางแก้ไขปัญหางานที่ยังเหลือ คือการปูพื้นกระเบื้องในบ้าน ใส่บัว ลอกวอลเปเปอร์และทาสีชั้นล่างทั้งในบ้านและนอกบ้านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนะนำให้ผู้ร้องเรียนรีบทำหนังสือเรียกร้องให้ผู้รับเหมารีบมาดำเนินการงานส่วนที่คั่งค้างโดยเร็ว หากไม่ดำเนินการตามคำเรียกร้อง ผู้ร้องเรียนสามารถบอกเลิกสัญญาและจัดหาผู้รับเหมารายใหม่มาทำงานต่อได้ และหากมีภาระค่าใช้จ่ายหรือความเสียหายเกิดขึ้นเพิ่มเติม ให้ย้อนกลับไปเรียกร้องเอากับผู้รับเหมารายแรกทันทีที่ผ่านมา โศรสได้แต่ใช้การทวงถามทางโทรศัพท์ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาได้หากต้องมีการฟ้องร้องกันเพราะไม่มีหลักฐานการติดตามเรื่องที่เป็นลายลักษณ์อักษรเลย แม้จะเป็นคนรู้จักมักจี่แค่ไหนก็ควรทำ เธอจึงทำจดหมายขึ้นมาเพื่อเรียกให้ผู้รับเหมามาดำเนินการซ่อมบ้านให้ครบตามสัญญา ซึ่งเหลือไม่มากแล้วไม่นาน หลังได้รับจดหมาย ผู้รับเหมาได้ทยอยเข้าซ่อมแซมงานที่คั่งค้างอยู่จนลุล่วง แม้จะล่าช้าไปบ้าง แต่เมื่อได้กลับเข้าอยู่อาศัยในบ้านแล้ว ผู้ร้องเรียนก็คลายใจ ไม่ติดใจเอาเรื่องเอาความอีกแต่อย่างใด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 2 ปี กับการจัดการโฆษณาหลอกลวงน้ำผลไม้อินทรา

 เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2554 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้รับเรื่องร้องเรียนจากคุณเกษสุดา ชาวแม่เมาะ จ.ลำปาง ว่า ได้รับแผ่นพับโฆษณาขายน้ำผลไม้ ยี่ห้ออินทรา ซึ่งนำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท ไลฟ์สไตล์ แปซิฟิค ริม(ประเทศไทย) จำกัดแผ่นพับที่คุณเกษสุดาได้มา มีข้อความระบุว่า เป็นของศูนย์ข้อมูลน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพของป๋ามร มีเบอร์โทรศัพท์ติดต่อย่างชัดเจน มีการโฆษณาว่า น้ำผลไม้อินทรา มีสรรพคุณในการรักษาผู้ป่วยโรคต่างๆ ให้ดีขึ้นเหมือนกับการรักษาทางยา เช่น ไมเกรน โรคผิวหนัง โคเลสเตอรอล อัมพฤต อัมพาต เบาหวาน กระดูกสันหลังทับเส้น โรคมะเร็ง โรคตับอักเสบ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ เรียกว่ากวาดกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวางคุณเกษสุดา มีอาการอัมพาตช่วงหัวเข่า คิดว่าอาการของตัวเองไร้ทางออก หลงเชื่อว่าน้ำผลไม้ยี่ห้อนี้จะช่วยรักษาให้หายได้ เลยซื้อมากินหนึ่งขวด ราคาขวดละ 1,445 บาท ถูกมั้ยล่ะ กินไปได้ 2 เดือน อาการอัมพาตที่เป็นอยู่ก็ยังเหมือนเดิมนั่นแหละแต่ถึงขนาดนี้คุณเกษสุดาก็ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองถูกหลอกหรือเปล่า เลยส่งเรื่องมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบโฆษณาน้ำดื่มผลไม้ยี่ห้อนี้ แนวทางแก้ไขปัญหามูลนิธิฯ ได้มีหนังสือไปถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เมื่อปลายเดือนกันยายน 2554 และได้รับหนังสือตอบกลับมาในกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2556เรามาดูกันว่าเส้นทางการจัดการปัญหาโฆษณาหลอกลวงของน้ำผลไม้ยี่ห้อดังกล่าวหลังจากนี้เป็นอย่างไรบ้าง อย. ได้รับเรื่องร้องเรียนในวันที่ 7 ตุลาคม 2554 และได้ส่งเรื่องให้สำนักงานสาธารณสุขเชียงใหม่(สสจ.เชียงใหม่) ทำการตรวจสอบ ขณะเดียวกันสำนักอาหารของ อย. ได้ทำการตรวจสอบควบคู่ไปในเวลาเดียวกันวันที่ 7 พฤศจิกายน 2554 สำนักอาหารได้สรุปผลการตรวจสอบเอกสารการโฆษณาส่งกลับมาที่เลขา อย.  ได้ความว่า เอกสารของโฆษณาสื่อให้เข้าใจว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตราอินทรา มีสรรพคุณในการบำบัด บรรเทารักษาโรคได้หลายชนิด แม้จะมีการแสดงเลขอนุญาตโฆษณาอาหาร แต่การโฆษณาซึ่งทำให้เข้าใจสรรพคุณลักษณะดังกล่าวถือว่าไม่ได้รับอนุญาตให้โฆษณา จัดเป็นการโฆษณาคุณประโยชน์ สรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีการหลอกลวงให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร จัดเป็นการกระทำฝ่าฝืนมาตรา 41 และมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522สำนักอาหารยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า กรณีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเคยได้ตรวจสอบกับบริษัท ไลฟ์สไตล์ฯ หลายครั้งแล้ว และไม่พบว่ามีเอกสารการโฆษณาตามที่มีการร้องเรียน อย่างไรก็ตามอาจเป็นไปได้ว่า เป็นการดำเนินการของสมาชิกอิสระของบริษัทฯ เนื่องจากบริษัทฯ ประกอบธุรกิจจำหน่ายอาหารแบบขายตรง และข้อมูลการร้องเรียนแจ้งว่าผู้ร้องเรียนได้รับเอกสารจากบุคคลชื่อ ป๋ามร ระบุหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบจากอินเตอร์เน็ตว่า หมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าว        เป็นของ นายมร  กันยาบำเรอ ทั้งนี้ จากการขอข้อมูลชื่อ-สกุล และที่อยู่ของบุคคลดังกล่าวกับนายอำเภอเมืองนนทบุรี ได้ข้อมูลว่าบุคคลดังกล่าวอยู่บ้านเลขที่......ตำบลป่ากุมเกาะ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย จึงเห็นควรแจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัยตรวจสอบดำเนินการตามกฎหมาย และสั่งระงับโฆษณากับผู้โฆษณาในเขตพื้นที่ และให้รวบรวมบันทึกการตรวจสอบและพยานหลักฐานส่งให้ สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดำเนินการกรณีพบว่า เป็นการดำเนินการเผยแพร่โฆษณาโดยบริษัทฯ และนอกจากนี้เนื่องจากเห็นว่า เป็นการโฆษณาจำหน่ายอาหารในลักษณะขายตรง ซึ่งอาจมีการโฆษณาลักษณะดังกล่าวทั่วประเทศ จึงเห็นควรประสาน กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคช่วยเผยแพร่ข้อมูลความรู้ให้กับผู้บริโภคทราบ และให้ใช้วิจารณญาณอย่าหลงเชื่อคำโฆษณา และประสาน กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อแจ้งให้ทุกจังหวัดเป็นข้อมูลเฝ้าระวังวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ มีหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนถึง เลขา อย. แจ้งว่า พบว่าศูนย์ข้อมูลน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพป๋ามร มีสถานที่อยู่ที่ ต.ท่าชัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เป็นสถานที่ตั้งของสถานีวิทยุ FM 95.25 MHzสอดคล้องกับการตรวจสอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัยซึ่งมีหนังสือตอบกลับมาที่ อย.ในวันที่ 7 ธันวาคม 2554 ว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย ได้ตรวจสอบสถานที่ หจก.กันยามีเดีย ตั้งอยู่ที่ ต.ท่าชัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้อินทรา ขณะตรวจพบ นางดวงศมนฑร์  ไกรทอง ผู้ดูแลกิจการ ยอมรับว่า เอกสารแสดงสรรพคุณเป็นของทางร้านที่แนบไปกับผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบให้กับลูกค้า สสจ.สุโขทัย จึงได้ชี้แจงว่าเอกสารดังกล่าวเป็นการโอ้อวดสรรพคุณเป็นยาไม่ใช่น้ำผลไม้ และให้ยุติการแจกจ่ายเอกสารให้กับลูกค้า ส่วนเอกสารของบริษัทผู้นำเข้าได้รับอนุญาตโฆษณาถูกต้อง สามารถเผยแพร่ได้ นอกจากนี้ ทางร้านยังมีการโฆษณาทางวิทยุคลื่น 95.25 MHz ขอให้นำข้อความหรือเสียงมาขออนุญาตจากจังหวัดให้ถูกต้องเสียก่อนจึงจะโฆษณาได้ ขณะนี้(ช่วงเวลาในขณะนั้น)ให้ระงับโฆษณาไปก่อน ต่อมา นายมร กันยาบำเรอ ได้เดินทางมาที่สำนักงานสาธารณสุขจ.สุโขทัย รับว่าจะดำเนินการให้ถูกต้อง โดยยุติการแจกจ่ายเอกสารแสดงสรรพคุณ 31 รายการ และดำเนินการขออนุญาตเกี่ยวกับโฆษณาให้ถูกต้อง31 มกราคม 2555 สสจ.สุโขทัย ได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสัชนาลัย เพื่อขอความร่วมมือในการบันทึกเสียงการโฆษณาจากสถานีวิทยุชุมชน FM 95.25 MHz8 กุมภาพันธ์ 2555 สสจ.สุโขทัย มีหนังสือกลับมาที่เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาว่า ได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่บันทึกเสียงการโฆษณา ณ ปัจจุบัน (หลังจากแจ้งให้สถานีวิทยุระงับการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย)ซึ่งเบื้องต้นยังไม่พบข้อความที่จะเข้าข่ายหรือหลอกลวงให้หลงเชื่ออีก 1 ปีต่อมา19 กุมภาพันธ์ 2556 อย. ได้มีหนังสือตอบกลับมาที่มูลนิธิฯว่า จากการตรวจสอบเอกสารโฆษณาดังกล่าว พบว่า มีการโฆษณาคุณประโยชน์สรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต และหลอกลวงให้หลงเชื่อโดยไม่สมควร ผู้โฆษณาชื่อ นายมร กันยาบำเรอ เป็นสมาชิกขายตรงอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย จึงได้ขอความร่วมมือ สสจ.สุโขทัยตรวจสอบสถานที่จำหน่ายห้างหุ้นส่วนจำกัด กันยามีเดีย โดยผู้ดูแลกิจการยอมรับว่า เอกสารโฆษณาเป็นของทางร้าน จึงได้ให้ยุติการแจกจ่ายให้กับลูกค้า นอกจากนี้ทางร้านยังมีการโฆษณาทางวิทยุคลื่น 95.25 MHz จึงขอให้นำข้อความหรือเสียงมาขออนุญาตให้ถูกต้อง ซึ่งได้ให้ระงับโฆษณาไปก่อน ต่อมานายมรฯ ได้เดินทางมาที่สำนักงานสาธารณสุข(จ.สุโขทัย) รับว่าจะดำเนินการให้ถูกต้อง ทั้งนี้ได้มีการประชาสัมพันธ์เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อในคำโฆษณา และแจ้งให้ทุกจังหวัดเป็นข้อมูลเฝ้าระวังด้วยแล้วอย.ตอบกลับมาที่มูลนิธิฯ เหมือนกับที่ สสจ.สุโขทัย ตอบกลับมาที่ อย. แทบไม่มีผิดเพี้ยนผู้บริโภคหลงเชื่อโฆษณาเสียเงินไป 1,445 บาท เสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม นี่แค่รายเดียวที่มีการร้องเรียน แต่จะมีอีกกี่รายที่โดนแบบนี้ แต่ในเบื้องต้น สสจ. และ อย. ได้ใช้มาตรการตักเตือนไปก่อน ซึ่งต้องติดตามต่อไปว่า การดำเนินการคดีทางกฎหมายจะเป็นเช่นใดทั้งนี้ ตามกฎหมาย พ.ร.บ.อาหารพ.ศ. 2522 ความผิดในมาตรา 40 ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 41 ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพหรือสรรพคุณของอาหารทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพ ภาพยนตร์ หรือทางหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่น หรือด้วยวิธีอื่นใดเพื่อประโยชน์ในทางการค้า ต้องนำเสียง ภาพ ภาพยนตร์ หรือข้อความที่จะโฆษณาดังกล่าวนั้นให้ผู้อนุญาตตรวจพิจารณาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะโฆษณาได้ ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 145 เปลี่ยนโปรฯ มือถือใหม่ เจอจ่าย 2 ต่อ

ผู้เขียนมีโอกาสไปเยี่ยมศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดเพชรบูรณ์  เพื่อให้กำลังใจในการทำงาน  และแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำงานร่วมกัน   มีประเด็นน่าสนใจมากคือ  กรณีผู้บริโภคขอเปลี่ยนโปรโมชั่นการจ่ายเงินแต่กลับถูกเรียกเก็บเงินทั้ง 2 โปรฯ เหตุเกิดที่ บ้านคีรีรัตน์ หมู่ที่ 11 ตำบลเขกน้อย อำเภอ เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์เรื่องมีอยู่ว่าน้องนักเรียนคนหนึ่งร้องเรียนว่าเงินที่เพิ่งไปเติมมา 500 บาท เมื่อวานนี้ หมดไปแล้วทั้งที่เพิ่งโทรออกไปแค่ 3 ครั้ง เท่านั้นเอง สอบถามได้รายละเอียดว่า โทรศัพท์ที่ใช้เป็นระบบเติมเงินของบริษัท  เอไอเอส  เดิมใช้โปรโมชั่นเหมาจ่ายเดือนละ   199 บาท โทรฟรีตั้งแต่ ตี 5 ถึง 5 โมงเย็น  ซึ่งใช้มานานพอสมควร จนเวลาของโปรฯ ที่ใช้อยู่จะหมด  ก็มีข้อความ SMS แจ้งเข้ามาในเครื่องว่าโปรฯ ที่คุณกำลังจะหมด  พร้อมโฆษณาโปรโมชั่นใหม่ โทรได้นาทีละ 99 สตางค์  ซึ่งผู้ร้องเรียนบอกว่าสนใจมากเพราะคิดว่าที่ใช้อยู่เดือนละ 199 บาท ตัวเองใช้ไม่ถึง จากนั้นก็เลยไปติดต่อที่ศูนย์ เอไอเอส  เพื่อขอเปลี่ยนโปรฯ  ก็ได้คำตอบจากเจ้าหน้าที่ว่า  หากจะเปลี่ยนโปรฯ ต้องเติมเงินก่อน   ผู้ร้องเลยตัดสินใจเติมเงินไป 500 บาท พร้อมขอเปลี่ยนไปใช้โปรฯ ใหม่ไปพร้อมๆ กัน   เสร็จเรียบร้อยก็กลับบ้านอย่างมีความสุขเพราะได้สิ่งที่ต้องการแล้วรุ่งขึ้นอีกวันความสุขที่ว่ากลับเปลี่ยนเป็นความทุกข์ทันที  เมื่อเงินที่เติมมา 500 บาท หมดไปเพราะการโทรแค่ 2 ครั้ง   ศูนย์ฯ จึงได้ประสานไปที่ศูนย์บริการลูกค้าของเอไอเอส  ได้คำตอบว่า เพราะผู้ร้องเรียนไปเติมเงินพร้อมเปลี่ยนโปรฯ ใหม่ในวันเดียวกัน  จึงถูกเรียกเก็บเงินทั้ง เหมาจ่ายรายเดือน 199 บาท และโปรฯ นาทีละ 99 สตางค์   จึงทำให้เงินหมดไว ศูนย์ฯ ก็ถามต่อไปอีกว่า มันเอาเปรียบผู้บริโภคชัดๆ  ก็ได้คำตอบว่า  นี่เป็นระบบที่บริษัทตั้งไว้ (เฮ้ย....ตั้งไว้อย่างนี้ผู้บริโภคก็แย่นะซิ!)ใครมีปัญหาร้องเรียนมาบริษัทก็พร้อมจะคืนให้ (อ้าว..อย่างนั้นคนที่ไม่ร้องและไม่รู้ก็โดนเอาเปรียบใช่ไหม? ) แล้วทำไมไม่บอกก่อนว่า การเปลี่ยนโปรฯ กับเติมเงินทำพร้อมกันแล้วจะถูกเรียกเก็บ 2 ต่อ”การที่ผู้ประกอบการตั้งระบบ บริการที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างนี้” นั่นคือ “โกงชัดๆ” องค์กรกำกับ(กสทช.) อย่าเอาแต่นิ่งเฉย ท่านต้องมีนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหา และมีบทกำหนดโทษให้ชัดเจน!  เพื่อป้องปรามมิให้เกิดเรื่องเช่นนี้อีก  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 145 มหากาพย์ซิมฟรี ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

 เรียนผู้จัดการบริษัท True move หรือผู้เกี่ยวข้องดิฉันมีข้อข้องใจในการหาลูกค้าและบริการของซิมที่ทางบริษัท True ให้เจ้าหน้าที่มาเดินยัดเยียด แจกฟรี ตามชุมชนต่างๆเนื่องจากบุตรชายของดิฉันน่าจะตกเป็นเหยื่อของกลโกงทางการค้าของท่าน เนื่องจากดิฉันได้รับจดหมายให้ชำระค่าบริการ True จากบริษัท เรียลมูฟ จำกัด ส่งมาเรียกเก็บค่าบริการ ดิฉันจึงได้โทรติดต่อไปยังบุตรชายที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยในจังหวัดชลบุรี เนื่องจากการเรียกเก็บเป็นในนามบุตรชายบุตรชายแจ้งว่า ไม่ได้ใช้เลย แต่จำได้ว่าประมาณ 1-2 เดือนที่ผ่านมา ขณะไปขึ้นรถไปชลบุรีที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กทม. มี เจ้าหน้าที่ของ True แจ้งว่า แจกซิมฟรี ยัดเยียดให้ผู้คนที่ผ่านไปมา และบุตรชายก็มารับมาตามประสาความซื่อ จนท. True ขอสำเนาบัตรประชาชนโดยแจ้งว่า จะเอาไปเก็บเป็นสถิติ โดยไม่มีการให้ลงเอกสารใดๆ ในการขอใช้ซิม True ทั้งสิ้นบุตรชายรับมาโดยไม่ใช้ใดๆ แต่มีเอกสารตามมาเก็บเงิน เมื่อดิฉันแจ้งให้บุตรไปยกเลิก บุตรช ายได้ไปชำระเงินและแจ้งยกเลิก แต่ทาง จนท. รับชำระเงินอ้างว่ายกเลิกแล้วก็ยังต้องเสียค่าบริการไปอีก 2 เดือน เป็นค่าต่อสัญญาณหรืออะไรสักอย่าง บุตรชายจึงโทรมาแจ้งให้ดิฉันทราบดิฉันจึงแจ้งให้ลูกไปแจ้งความลงบันทึกไว้เป็นหลักฐาน (ไม่แน่ใจว่าลูกจะไปหรือไม่ เพราะเสียเวลามาก) ต่อมาสามีของดิฉันจึงได้โทรติดต่อ 1331 (คอลเซนเตอร์ทรู) ต่อว่าผู้รับสาย (ซึ่งน่าจะเป็นพนักงานที่ไม่มีอำนาจการตัดสินใจ) ไม่สามารถชี้แจงได้ว่า เหตุใดจึงทำการหลอกลวงเช่นนั้นตอนแรก ดิฉันไม่คิดจะเขียนจดหมายฉบับนี้ เพราะเบื่อกับการฟ้องร้องหรือร้องเรียน ซึ่งกฎหมายของไทยและระบบยุติธรรมที่ล่าช้าและยุ่งยาก แต่พอมาคุยกับผู้ร่วมงาน หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เคยถูกหลอกลวงยัดเยียดซิมแบบนี้มาก่อน โดยพนักงาน True อ้างว่า ฟรี และไม่แจ้งว่าจะมีการเรียกเก็บเงินแต่อย่างใด ดิฉันจึงเปิด Website ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและหาทางออก รวมทั้งอยากให้ท่านได้ชี้แจง หรือเลิกใช้วิธีการโกงเช่นนี้ การที่ทางบริษัทฯ หาลูกค้าด้วยวิธีโกงเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ลูกค้า ซึ่งจะมีในอนาคตอย่างครอบครัวเรา จะจำ Brand True เป็น False จริงอยู่บริษัทของท่านอาจเป็นผู้ผูกขาดในอนาคตยิ่งใหญ่ในวงการโทรคมนาคมก็เป็นได้ ประชาชนตัวเล็กๆ อย่างเรา คงไม่สามารถต่อกรกับท่านได้ แต่ความเชื่อถือหายไป และท่านกำลังทำให้เยาวชนที่ถูกท่านหลอกลวง จะเกิดรอยประทับในจิตใจของเขาเหล่านั้น ให้เกิดความไม่ไว้วางใจในสังคมธุรกิจหรือสังคมไทยอีกท่านได้ทำลายความดีงามในใจของเยาวชนที่เสมือนผ้าขาวให้ไม่ไว้วางใจใคร ไม่เชื่อใคร และไม่คิดจะช่วยใครอีก ซึ่งเป็นความเสียหายที่ประเมินค่ามิได้ ดิฉันรู้สึกเสียใจกับการกระทำของ True เป็นอย่างยิ่ง เงินแค่พันกว่าบาทดิฉันและลูกจ่ายได้อยู่แล้ว แต่ความรู้สึกดีๆ ที่หายไปนี่เป็นสิ่งสำคัญ มันไม่มีเหลืออยู่อีกเลยถ้าการหาลูกค้าด้วยวิธีนี้ไม่ใช่นโยบายของ True แต่เป็นการกระทำของพนักงานที่ท่านจ้างไปเดินแจกซิม ก็ขอให้ท่านชี้แจงและอบรมพนักงานของท่านให้ดี อย่าให้ทำเสียชื่ออีก แต่ถ้าเป็นนโยบายของท่าน ดิฉันเชื่อว่า ลูกค้าของท่านคงไม่มั่นใจในบริการของท่าน ในอนาคตโลกเปลี่ยนไปแล้ว การค้าที่ไม่สนใจคำร้องเรียน หรือโกง คงจะสื่อกันให้รู้ได้เร็วกว่าก่อน โลกนี้คงไม่ได้อยู่ในมือท่านตลอดไปถ้าท่านอ่านมาถึงนี้แล้ว ดิฉันขอขอบคุณที่อ่าน และมีอีกสิ่งที่ดิฉันบอกลูกว่า แม่เสียใจที่เลี้ยงลูกให้เป็นคนดีเกินไป มองโลกในแง่ดี จนกลายเป็นคนโง่ เลยตกเป็นเหยื่อของคนโกง แนวทางการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการหลอกแจกซิมฟรี แล้วมาเรียกเก็บเงินภายหลังเพราะเป็นระบบจ่ายแบบรายเดือน โดยที่ผู้บริโภคไม่ได้ต้องการที่จะใช้บริการ หรือเผลอไปใช้บริการแล้ว แต่ไม่รู้ว่าเป็นแบบจ่ายรายเดือนเลยต้องการบอกเลิกสัญญา แต่พอไปบอกเลิกก็เลิกได้ยาก อ้างโน่นอ้างนี่ สุดท้ายถูกหลอกกินตังค์ไปเรื่อยๆ กรณีแบบนี้ ผู้บริโภคจะได้รับความคุ้มครองตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ข้อ 8 ที่กำหนดไว้ว่า สัญญาย่อมเกิดขึ้นเมื่อคู่สัญญาได้แสดงเจตนาเสนอและสนองถูกต้องตรงกัน โดยชัดแจ้งว่า ผู้ให้บริการตกลงให้บริการโทรคมนาคม และผู้ใช้บริการตกลงใช้บริการโทรคมนาคมของผู้ให้บริการ ในกรณีที่ผู้ใช้บริการมิได้ปฏิเสธข้อเสนอเกี่ยวกับบริการใดของผู้ให้บริการจะถือว่าผู้ใช้บริการได้แสดงเจตนาตกลงใช้บริการนั้นของผู้ให้บริการมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ใช้บริการได้ใช้บริการนั้นอยู่แล้ว และประสงค์จะใช้บริการนั้นต่อไปดังนั้น ย้ำชัดๆ ว่า ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เต็มร้อย  หรือหากจ่ายค่าบริการไปแล้วก็สามารถที่จะเรียกเงินคืนได้ ไม่ต้องไปฟังเสียงผีคอลเซนเตอร์ใดๆมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ส่งเรื่องไปที่ True ผ่านทางอีเมล์ voc@truecrop.co.th รวมทั้งติดต่อไปที่หมายเลขโทรศัพท์รับเรื่องร้องเรียนของ True ที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย คือ 02-9008088 เพื่อขอให้ทรูยกเลิกการเรียกเก็บเงินและคืนเงินที่ได้เรียกเก็บไปแล้ว พร้อมยกเลิกสัญญาการให้บริการในเลขหมายที่มีการร้องเรียนมา ซึ่ง ทรู ยินยอมคืนเงินโดยโอนเข้าบัญชีที่ผู้ร้องเรียนแจ้งและยกเลิกสัญญาตามความประสงค์ของผู้ร้องเรียนอย่างไม่มีเงื่อนไขจะเห็นว่าการบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืน(หากเผลอจ่ายไปก่อน) ไม่จำเป็นต้องไปติดต่อที่สำนักงานสาขาของผู้ให้บริการมือถือเลย ส่งเรื่องทางอีเมล์ก็ได้ แนบสำเนาบัตรประชาชนพร้อมเขียนข้อความคาดทับกำกับให้ชัดเจนว่าใช้เพื่อการร้องเรียนเท่านั้น พร้อมแจ้งหมายเลขบัญชีที่ต้องการให้ผู้ให้บริการมือถือส่งเงินคืน เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วซิมฟรี แถวอนุสาวรีย์ชัยฯ มีอันตรายเช่นนี้แล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 145 กรวดก้อนเดียว มูลค่าเป็นแสน

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อล่ะกรวดก้อนเดียวมีมูลค่าเป็นแสนจริงๆณัฎฐา เป็นสาวไทยได้สามีเป็นหนุ่มออสเตรเลีย ทุกๆ ปี จะพาสามีและบุตรสาวกลับมาที่ประเทศไทยเพื่อมาเยี่ยมคุณพ่อคุณแม่ที่บ้านระหว่างที่อยู่ในประเทศไทย เธอได้พาสามีและลูกสาวไปรับประทานอาหารในร้านอาหารฟูจิ สาขามาบุญครอง วันนั้นมีการสั่งอาหารไปหลายรายการ รวมทั้ง TAKO SASHIMI จังหวะที่กำลังเพลิดเพลินกับรสชาติอาหารเมนูนี้อยู่ ฟันของเธอได้ไปกระทบกับของแข็งที่ปะปนอยู่ใน TAKO SASHIMI อย่างแรง พอคายออกมาถึงเห็นว่ามันเป็นก้อนกรวดขนาดสัก 3 มิลลิเมตร มันใหญ่พอที่จะทำให้ฟันกรามล่างด้านซ้ายซี่หนึ่งแตกหักไปครึ่งซี่ แถมยังมีเลือดปนออกมาด้วยณัฎฐา เรียกผู้จัดการร้านมาทันที ผู้จัดการร้านมาถึงก็กล่าวคำขอโทษพร้อมนำ TAKO SASHIMI มาเปลี่ยนให้ใหม่ แล้วรีบเก็บ TAKO SASHIMI ชามเดิมรวมทั้งก้อนกรวดออกไป พร้อมกับยื่นนามบัตรให้ 1 ใบ กำชับให้ผู้ร้องไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาและมาเก็บค่ารักษาพยาบาลกับทางร้านในภายหลังช่วงเวลาที่เกิดเหตุ เป็นเวลาที่ดึกมากแล้ว คุณณัฎฐาจึงยังไม่ได้ไปพบแพทย์ในคืนนั้น พอรุ่งเช้าจึงไปพบแพทย์ที่คลินิกแห่งหนึ่ง แพทย์ตรวจดูอย่างละเอียดแล้วแจ้งว่า ฟันหักมากควรจะถอนทิ้ง แต่ทีนี้เมื่อถอนฟันกรามด้านล่างแล้วจะต้องถอนฟันกรามด้านบนด้วย เพราะถ้าถอนด้านล่างอย่างเดียวเวลาเคี้ยวอาหารจะเกิดความไม่สมดุลกัน“ถ้าไม่ถอนออกล่ะคะคุณหมอ” เธอถามหาทางเลือก“ถ้าไม่ถอนออก ก็ต้องรักษาไปตามอาการ คือ จะต้องมีการอุดฟันในส่วนที่หักไว้ก่อน แล้วจึงค่อย ทำการรักษารากฟันทีหลัง พร้อมทั้งทำครอบฟันด้วย” คุณหมออธิบายโดยละเอียด เมื่อเห็นทางเลือกในการรักษา ณัฎฐาบอกให้แพทย์รักษาไปตามอาการก่อน เพื่อที่จะกลับไปตัดสินใจอีกครั้งหนึ่งว่าจะถอนฟันทิ้งไปดีหรือไม่วันรุ่งขึ้น เธอเดินทางไปที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ทำการแจ้งความเอาไว้เป็นหลักฐาน และอีกวันหนึ่งต่อมา ณัฎฐาและครอบครัวต้องเดินทางกลับออสเตรเลีย จึงได้ทำการมอบอำนาจให้คุณพ่อของเธอมาดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายแทนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้วันครอบครัวของณัฎฐาอยู่ในบรรยากาศ ซึมกันไปหมดเมื่อกลับไปถึงออสเตรเลียแล้ว เธอแจ้งกลับมาหาคุณพ่อว่า กินอะไรก็ไม่อร่อยเลย เพราะไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้เหมือนปกติ ท้ายที่สุดต้องตัดสินใจถอนฟันซี่ที่แตกหักและซี่ที่เกี่ยวข้อง แต่ค่ารักษาพยาบาลที่ออสเตรเลียนั้นแพงเอาการอยู่ จึงต้องการให้ร้านอาหารญี่ปุ่นชื่อดังแห่งนี้เยียวยาความเสียหายโดยเร็ว แนวทางแก้ไขปัญหาคุณพ่อของณัฎฐานำเรื่องมาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอให้ช่วยเรียกค่าเสียหายให้ด้วย หลังรับเรื่องร้องเรียน มูลนิธิฯ ได้มีหนังสือเชิญตัวแทนร้านอาหารฟูจิเพื่อมาเจรจาไกล่เกลี่ยกัน โดยฝ่ายผู้เสียหายขอเรียกค่าเสียหายเป็นเงินรวม 202,246 บาท แบ่งเป็นค่าอาหารมื้อที่สร้างทุกข์ 1,096 บาท ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นที่จ่ายให้กับคลินิกในประเทศไทย 1,150 บาท ค่าใช้จ่ายในการรักษาฟันที่ออสเตรเลียประเมินแล้วน่าจะอยู่ราว 100,000 บาท และค่าทุกข์ทรมานในการสูญเสียฟัน 100,000 บาทร้านอาหารฟูจิ ได้ทำประกันภัยไว้กับทิพยประกันภัย ทิพยประกันภัยจึงส่งตัวแทนประกันภัยเข้าร่วมเจรจา ท้ายที่สุดได้ข้อตกลงว่าบริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 110,000 บาท ทางฝ่ายผู้เสียหายเห็นว่าการเยียวยาเป็นไปตามสมควรเพียงพอต่อการรักษาพยาบาลทางร่างกายและจิตใจแล้วจึงยอมยุติเรื่อง ไม่ต้องเสียเวลาเดินเรื่องฟ้องร้องต่อศาลต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 145 ตามหาเงินเยียวยา

ดิฉันชื่อ ฉันทนาค่ะเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2555 ได้นั่งรถโดยสารปรับอากาศเดินทางจากกรุงเทพฯ จะไปลงที่โพนพิสัย จ.หนองคาย เพื่อไปหาพ่อแม่ จองตั๋วรถกับบริษัท แอร์อุดร จำกัด เส้นทางกรุงเทพฯ-บึงกาฬ ระหว่างทางรถโดยสารขับมาด้วยความเร็วสูงมาก ถึงช่วงถนนมิตรภาพ  อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เกิดอุบัติเหตุรถโดยสารที่ดิฉันนั่งมาคนขับพยายามจะขับแซงรถพ่วงแต่ไม่พ้น และไปชนท้ายรถบรรทุกพ่วงอย่างแรงก่อนเสียหลักลงไหล่ทาง ทำให้ดิฉันได้รับบาดเจ็บศีรษะแตก และกระดูกนิ้วก้อยเท้าขวาแตกหน่วยกู้ภัยพาดิฉันส่งโรงพยาบาลปากช่องนานา แพทย์ได้ทำการรักษากระดูกแตกที่นิ้วเท้าและเย็บแผลแตกที่ศีรษะรวม 10 เข็ม จะกลับบ้านได้ต้องโทรศัพท์ให้ญาติมารับหลังประสบอุบัติเหตุ ไม่ได้รับการติดต่อใดๆ จากบริษัท แอร์อุดรเลย ประมาณวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 ได้รับการติดต่อจากแม่ว่า ตำรวจให้ไปพบที่สถานีตำรวจโพนพิสัย จึงได้ไปตามนัดในวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 บริษัท แอร์อุดร ได้ส่งพนักงานไม่แจ้งชื่อมาเจรจาโดยมีข้อเสนอชดใช้เยียวยาให้ที่จำนวน 50,000 บาท ดิฉันได้ตกลงยอมรับข้อเสนอ พนักงานคนนั้นจึงบอกกับดิฉันว่าจะติดต่อกลับมาภายใน 7 วันนับจากวันที่แจ้ง แต่จนถึงปัจจุบัน(28 สิงหาคม 2555) ยังไม่ได้รับการติดต่อใดๆ จากบริษัทดังกล่าวเลยดิฉันขอให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายในจำนวนเงิน 50,000 บาท ให้กับดิฉันด้วยค่ะ แนวทางแก้ไขปัญหาคุณฉันทนาเป็นหนึ่งในผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บจำนวนทั้งสิ้น 29 ราย ในอุบัติเหตุครั้งนั้น มูลนิธิฯได้ติดตามตรวจสอบข้อมูลแล้วทราบว่า รถโดยสารคันดังกล่าว ทำประกันภัยไว้กับบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด จึงได้มีหนังสือเชิญตัวแทนจากบริษัท ทิพยประกันภัย มาร่วมเจรจากันในวันที่ 25 ธันวาคม 2555 แต่เนื่องจากผู้เสียหายอยู่ต่างจังหวัดไม่สามารถเดินทางมาร่วมเจรจาได้ จึงมีการเจรจากับผู้เสียหายทางโทรศัพท์กันในวันนั้น ได้ผลว่า บริษัท ทิพยประกันภัย ตกลงจ่ายค่าสินไหมตามที่ได้มีการร้องขอและเจรจากันไว้แต่แรก จำนวน 50,000 บาท และนัดหมายเพื่อมารับเช็คค่าสินไหมอีกครั้งในอาทิตย์ถัดไป อาทิตย์ต่อมาตัวแทนของทิพยประกันภัยเตรียมเช็คค่าสินไหมมาตามวันเวลานัดหมาย แต่ปรากฏว่าผู้เสียหายไม่สามารถติดตามตัวได้ในวันนั้น จึงต้องกำหนดนัดใหม่เป็นสัปดาห์ถัดไป อีกสัปดาห์หนึ่งต่อมาผู้เสียหายจึงสามารถเดินทางมารับเช็คค่าสินไหมได้ด้วยตนเองนอกจากคุณฉันทนาแล้ว ยังมีผู้โดยสารอีกท่านหนึ่งคือคุณโพสิทธิ เครือเนตร ที่ได้รับบาดเจ็บและทิพยประกันภัยตกลงที่จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท แต่ขณะนี้ไม่สามารถติดต่อได้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและทิพยประกันภัยจึงได้ทำหนังสือตกลงกันไว้ว่า หากผู้เสียหายท่านนี้ได้ติดต่อกลับมา ทางทิพยประกันภัยยินดีดำเนินการเยียวยาความเสียหายให้ต่อไปคุณโพสิทธิ หรือญาติ ทราบข่าวแล้วโปรดติดต่อกลับมาด่วน ทิพยประกันภัยรอคุณอยู่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 144 ไฟฟ้าตก แต่ต้องจ่ายค่าไฟแพง

พอดีผู้เขียนได้ทำหน้าเป็นประธานคณะกรรมการผู้ใช้พลังงาน(คพข) เขต 10 ราชบุรี  (ตาม พรบ.ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550)  มีจังหวัดในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ ระนอง,ชุมพร,ประจวบ,เพชรบุรี,สมุทรสงครามและราชบุรี  ภารกิจที่สำคัญคือการรับและแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียน   มีเรื่องร้องเรียนมามากมายหลายเรื่อง ทั้งเรื่องถูกเก็บค่าต่อเชื่อมมิเตอร์ 107 บาท ทั้งที่ไม่ได้ถูกตัดไฟ(ไฟไม่ดับปรับ 107 ไม่ได้) การถูกเรียกเก็บค่าไฟฟ้าราคาไม่เป็นธรรม ถูกเรียกเก็บค่าไฟฟ้าแต่ไม่มีใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ แต่ที่น่าสนใจคือเรื่องร้องเรียนกรณีไฟฟ้าตก(ตกติดต่อกันเกิน 6 เดือนแล้ว)  เปิดไฟฟ้าไม่ค่อยติดแต่บิลค่าไฟฟ้าแพงกว่าปกติ เกือบ 2 เท่า(หลักฐานจากประวัติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง 6 เดือน)ผู้ร้องแจ้งว่าไฟฟ้าที่บ้านตกมาก  ตกขนาดไฟฟ้าทุกดวงที่บ้านดับหมด ดูทีวีได้อย่างเดียว  เข้าห้องน้ำก็ต้องใช้เทียน จนอ่างน้ำจะเป็นกระถางน้ำมนต์อยู่แล้วเพราะมีน้ำตาเทียนลอยอยู่เต็ม   หรือไม่ก็ต้องกระเสือกกระสนไปซื้อไฟฟ้าฉุกเฉินมาใช้ในเวลากลางคืน  เครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งตู้เย็น  พัดลม หม้อหุงข้าว  เสียหมดต้องซื้อใหม่ยกชุด  แต่พอบิลค่าไฟฟ้ามาเก็บถึงกับเข่าอ่อน จากเดิมที่เคยเสียอยู่  1,300 บาท  กลับมีตัวเลขถึง 2,700  บาทเมื่อมีเรื่องร้องเรียนเข้ามา  คพข. ได้ประสานไปยังการไฟฟ้าจังหวัด  ไฟฟ้าได้ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจตัวเลขที่จดว่าตรงกันไหม  ผลัดกันไปหลายชุด  ปรากฏว่าตัวเลขในบิลเรียกเก็บกับมิเตอร์ตรงกัน  ผู้ใช้ไฟฟ้าก็ไม่ยอมและได้นำคลิปวิดีโอมาให้ดูว่า  เขาเปิดไฟฟ้าทั้งบ้าน  ทุกดวงมีการสตาร์ทไฟแดงๆ แต่ไม่ติด พร้อมคำถาม ไฟฟ้าไม่ได้ใช้ทำไมต้องจ่ายค่าไฟแพงด้วย และยืนยันว่าจะยอมจ่ายค่าไฟฟ้า ตามตัวเลขที่เคยใช้เท่านั้น  ส่วนที่เกินไปไม่ใช่ความผิดของผู้ใช้ไฟ ดังนั้นไม่ควรโยนภาระมาให้ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องรับผิดชอบ เรื่องนี้ไฟฟ้าได้นำไปหารือในคณะกรรมการเพราะไม่เคยมีใครมาร้องเรียนในประเด็นอย่างนี้  สรุปมาคร่าวๆ คือกำลังไฟฟ้า โวลต์กับแอมแปร์มาไม่เท่ากันทำให้ไฟฟ้าสตาร์ทตลอดเวลา  แต่ไฟฟ้าไม่ติด  และการที่ไฟฟ้าสตาร์ทตลอด มิเตอร์จะเดินเร็วทำให้ตัวเลขการใช้ไฟฟ้าสูงกว่าปกติ   แต่การไฟฟ้าบอกว่าต้องพิจารณาก่อนเพราะไฟฟ้าจังหวัดไม่มีอำนาจตัดสินใจลดค่าไฟฟ้าให้ใคร   ต้องเก็บตามตัวเลขที่ขึ้นตามมิเตอร์  ซึ่งเรื่องนี้ผู้ใช้ไฟยืนยันว่าไม่ยอมจ่าย  ที่สำคัญในขณะที่มีเรื่องร้องเรียนกันอยู่  ก็จะมีเจ้าหน้าที่มาเตือนให้ไปจ่ายค่าไฟฟ้า  ไม่อย่างนั้นอาจถูกตัดไฟฟ้า  หรือเจ้าหน้าที่ไฟฟ้าก็โทรมาให้ไปจ่ายค่าไฟก่อนได้ไหมไม่อย่างนั้นฝ่ายบัญชีไม่ผ่านตัวชี้วัดบ้าง  หรือไม่ก็บอกว่าหากผู้ร้องไม่ยอมจ่ายส่วนต่างที่เกินขึ้นมา เจ้าหน้าที่ไฟฟ้าต้องช่วยกันออกเงินแทน(ฟังดูเหมือนผู้ร้องเรียนเป็นมารร้ายยังไงก็ไม่รู้)ขณะเขียนเรื่องนี้ เหตุการณ์ยังไม่จบ แต่ก็นำมาเป็นกรณีศึกษา หากท่านผู้อ่านท่านใดเจอเรื่องแบบนี้สามารถร้องเรียนไปได้ที่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)ชั้น 15 ตึกจามจุรีสแควร์ หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานประจำเขต(สกพ.) ซึ่งมีอยู่ 13 เขตทั่วประเทศ ร้องทุกข์ 1 ครั้ง ดีกว่าบ่น 1,000 ครั้ง

อ่านเพิ่มเติม >