ฉบับที่ 201 นโยบายหาเสียงพรรคการเมืองเยอรมัน (ตอนที่ 2)

ขอรายงานต่อเนื่องเกี่ยวกับนโยบายหาเสียงเลือกตั้งของเยอรมัน ที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคหลายประเด็น สิทธิของประชาชนในฐานะผู้บริโภค ทั้งนโยบายด้านการคมนาคม การสนับสนุนสถาบันครอบครัว ด้านที่อยู่อาศัย การทำงาน ระบบประกันสุขภาพ ฯลฯ ต่อจากคราวที่แล้วนะครับนโยบายด้านคมนาคม โดยเฉพาะเรื่องการขนส่งทางบก: รถยนต์ส่วนบุคคลภายในปี 2030 เยอรมนีมีแผนที่จะอนุญาตให้ใช้เฉพาะรถที่ไม่ปล่อยควันจากท่อไอเสียรถยนต์เท่านั้น (emission free auto) ซึ่งเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคเขียว (The Greens party) และพรรคฝ่ายซ้าย (The Left Party) ในขณะที่พรรค CDU เน้นในเรื่องการก่อสร้างสถานีชาร์จไฟฟ้า เพิ่มขึ้น เป็น 50,000 สถานีทั่วประเทศ การจำกัดความเร็วโดยกำหนดความเร็วบนถนน Autobahn ไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดความเร็ว) เป็นนโยบายของพรรค The Greens และพรรค The Left Party เรียกร้องให้กำหนดความเร็วในเขตชุมชน ไม่เกิน 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในขณะที่ พรรค CDU/CSU FDP และ พรรค AfD ต่อต้านนโยบายจำกัดความเร็วบนท้องถนนนโยบายสนับสนุนสถาบันครอบครัว•ที่อยู่อาศัยพรรค CDU มีนโยบายให้เงินสนับสนุนครอบครัวที่จะซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย ในวงเงิน 1200 ยูโรต่อลูก 1 คนต่อปี เป็นเวลานาน 10 ปีพรรค SPD ไม่ได้ระบุวงเงินให้ความช่วยเหลือ แต่หาเสียงว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวที่มีรายได้น้อย และรายได้ปานกลางพรรค AfD มีนโยบาย ปลอดดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมเงินในการซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย และมีเงินช่วยเหลือสำหรับค่าภาษี ค่าธรรมเนียมในการซื้อบ้าน•เวลาทำงาน และเงินสนับสนุนสถาบันครอบครัวพรรค SPD มีนโยบายลดเวลาการทำงานของครอบครัวที่มีลูกเล็กที่อายุยังไม่ถึง 8 ขวบ ให้ทำงานไม่เกิน 26-36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เวลาทำงานของคนเยอรมัน ปัจจุบันคือ 43.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) และมีเงินช่วยเหลือ เดือนละ 300 ยูโรต่อเดือน เป็นระยะเวลานาน 2 ปี พรรค CDU เสนอนโยบาย ลดหย่อนภาษี สำหรับครอบครัวที่มีลูก 7,356 ยูโรต่อปีพรรค FDP เสนอนโยบาย ให้ลดหย่อนภาษีขั้นสูงสุด (ไม่ได้ระบุจำนวน)พรรค The Greens The Left และ พรรค AfD เสนอการยกเลิก การแยกยื่นภาษีรายได้ส่วนบุคคลของสามีภรรยา เหมือนกับพรรค SPDในขณะที่พรรค FDP ยังคงยืนนโยบายการแยกการยื่นภาษีรายได้ของสามี ภรรยาไว้ พรรค The Left party เสนอนโยบายการจ่ายภาษีที่เป็นธรรมสำหรับครอบครัว แต่ไม่มีรายละเอียด พรรค AfD เสนอนโยบาย การแยกการยื่นภาษีของสามีภรรยา และเสนอรูปแบบการคำนวณการหักภาษีตามฐานรายได้ของครอบครัว โดยคำนึงถึงรายได้ของสมาชิกในครอบครัวทุกคน และพรรคเขียว เสนอนโยบายเงินช่วยเหลือครอบครัวพื้นฐาน (Family Budget) ในกรณีที่มีเด็กที่ต้องเลี้ยงดู•เงินสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัว (Kindergeld)เป็นเงินที่รัฐบาลให้กับครอบครัวที่มีลูก 2 คนแรกได้รับคนละ 192 ยูโรต่อเดือน ลูกคนที่สามได้รับเดือนละ 198 ยูโร และลูกคนที่สี่เป็นต้นไป ได้รับคนละ 223 ยูโรต่อเดือนพรรค CDU/ CSU ต้องการเพิ่มให้อีก คนละ 25 ยูโรต่อคนทุกอัตราพรรค The Left เสนอนโยบายให้เงินสนับสนุนเด็ก 328 ยูโรต่อคนต่อเดือนพรรค SPD เสนอนโยบาย ให้เงินสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็ก ตามฐานรายได้พรรค The Greens เสนอนโยบายให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติม แก่ครอบครัวที่มีรายได้น้อย (Kindergeld-Bonus)พรรค FDP เสนอนโยบายเงินช่วยเหลือเด็ก 2.0 (Kindergeld 2.0) โดยที่แนวความคิดดังกล่าวจะรวมเงินที่ให้ความช่วยเหลือเด็กทุกด้าน มารวมเป็นก้อนเดียวกัน และจ่ายโดยองค์กรส่วนกลาง•ค่าเล่าเรียนใน Kindergartenพรรค SPD The Greens และพรรค The Left ต้องการยกเลิกค่าเล่าเรียนใน Kindergartenนโยบายการประกันสุขภาพพรรค SPD เสนอนโยบายระบบประกันสุขภาพสำหรับทุกสาขาอาชีพ ซึ่งรวมข้าราชการ และผู้ประกอบอาชีพอิสระเข้าไว้ด้วย โดยมีการร่วมจ่ายของนายจ้าง และลูกจ้าง โดยที่ในส่วนของลูกจ้างไม่ต้องจ่ายเงินประกันส่วนเพิ่ม (Zusatzbeitrag der Arbeitsnehmer entfällt) ค่ารักษาพยาบาล ใช้อัตราเดียวกันไม่ว่าจะเป็นการประกันตนแบบภาคบังคับ (Gesetzliche Versicherung) หรือแบบภาคสมัครใจ (Private Versicherung) สำหรับผู้ประกันตนในอนาคตจะไม่มีการแบ่งระหว่าง ประกันภาคบังคับ หรือภาคสมัครใจ (แนวคิดระบบประกันสุขภาพมาตรฐานเดียว)พรรค The Left และ พรรค The Greens ต้องการยกเลิกการประกันภาคสมัครใจพรรค CDU และ FDP ยังคงต้องการดำรงไว้ระบบประกันทั้งสองระบบยังมีต่ออีกนิด ขอเป็นตอนสุดท้ายฉบับหน้าครับ(ที่มา เว็บไซต์ มูลนิธิการทดสอบสินค้าเพื่อผู้บริโภค https://www.test.de/Bundestagswahl-Familie-Rente-Steuern-was-die-Parteien-vorhaben-5217841-0/)หมายเหตุ พรรค CDU (Christian Democratic Union Party),พรรค CSU (Christian Social Union Party in Bavaria),พรรค SPD (Social Democratic Party),พรรค FDP (Free Democratic Party),พรรค The Greens (Alliance 90/The Greens Party),พรรค The Left (Party of Democratic Socialism Party),พรรค AfD (Alternative for Germany)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 200 นโยบายหาเสียงพรรคการเมืองเยอรมัน

เดือนกันยายนของปีนี้มีการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศเยอรมนี มีพรรคการเมืองสองพรรคใหญ่ คือ พรรคคริสเตียนเดโมแครท(CDU) ที่มีนางแองเจลา แมร์เคิล ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และผู้ท้าชิงจากพรรคฝ่ายซ้าย พรรคโซเชียลเดโมแครท(SPD) คือนายมาร์ติน ชูลซ์ท ซึ่งขับเคี่ยวกันอย่างหนักในด้านนโยบาย สุดท้ายก็ผ่านพ้นไปด้วยชัยชนะของนางแมร์เคิลสิ่งที่น่าสนใจและควรกล่าวถึงคือ เรื่องการดีเบตนโยบายหาเสียงของผู้สมัครจากพรรคใหญ่ทั้งสองท่านนั้น ซึ่งมีประเด็นคำถามต่อนโยบายหาเสียงตามมาอย่างต่อเนื่องว่า ในรายละเอียดการทำนโยบายให้เกิดเป็นรูปธรรมจะเป็นอย่างไร นโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองในเยอรมันนั้น ต้องแสดงออกมาในรูปของเอกสาร ไม่ว่าจะเป็นพรรคใดก็ตามเพื่อเป็นหลักฐาน และแสดงถึงความโปร่งใส สามารถตรวจสอบจากประชาชนภายหลังได้ โดยมีความหนาถึง 820 หน้าสำหรับบทความครั้งนี้จะขอรายงานเกี่ยวกับนโยบายหาเสียงเลือกตั้งของเยอรมัน ที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนโยบายการเงินการคลัง สิทธิของประชาชนในฐานะผู้บริโภค ระบบสุขภาพ และเรื่องที่อยู่อาศัยนโยบายทางด้าน แรงงาน และการศึกษาในส่วนของสัญญาจ้างการทำงาน หลายๆ พรรคของเยอรมัน โดยเฉพาะพรรคฝ่ายซ้าย (The Left party)พรรคโซเชียลเดโมแครต (SPD: Social Democratic Party) พรรคเขียว (The Green) เสนอว่าให้มีการ ห้ามมีการระบุ การกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างจ้างงาน ถ้าไม่มีเหตุอันจำเป็น ในขณะที่พรรคเสรีนิยม(FDP: the free democratic party) ไม่เห็นด้วยกับการห้ามสัญญาจ้างงานแบบนี้ ปัจจุบันสัญญาจ้างงานที่ระบุเวลาในสัญญาจ้างจะกำหนดที่ระยะเวลา 2 ปีนโยบายเรื่องเวลาการทำงานพรรค CDU ของนางแมร์เคิล เสนอนโยบาย ให้มีสัญญาจ้างแบบ part time working contract  กับบริษัทห้างร้านที่มีขนาดใหญ่ ที่เป็นสัญญาจ้างแบบจำกัดระยะเวลาจ้างงาน เพื่อปูทางนำไปสู่การจ้างงานแบบเต็มเวลา(full time working contract) เป็นการทั่วไป ปัจจุบันการต่อสัญญาว่าจ้างการทำงาน ที่เดิมเป็น part time working contract ขยายมาเป็น full time working contract ใช้ได้กับการต่อสัญญาให้กับพนักงานที่ลางานไปเลี้ยงลูกเท่านั้น(พนักงานเยอรมันมีสิทธิลางานเพื่อไปเลี้ยงลูกได้สามปี)กรณีเรื่องเวลาการทำงานพรรค FDP ต้องการยกเลิก จำนวนชั่วโมงการทำงานรายวันสูงสุดที่กำหนดไว้ว่าไม่เกินวันละ 10 ชั่วโมง เป็นการกำหนดเวลาทำงานเป็นรายสัปดาห์ ซึ่งกำหนดว่าจำนวนชั่วโมงการทำงานรายสัปดาห์ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ในขณะที่พรรคฝ่ายซ้าย(The Left) กำหนดการทำงานรายสัปดาห์อยู่ที่ 30-35 ชั่วโมง และสูงสุดไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สำหรับพรรคเขียวต้องการกำหนดเวลาการทำงานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และจำนวนชั่วโมงการทำงานอยู่ระหว่าง 30-40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์นโยบายการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษาพรรค SPD มีนโยบาย เพิ่มเงินช่วยเหลือแก่นักเรียนนักศึกษา และขยายเวลาอายุของผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังขยายโอกาสให้กับนักเรียนนักศึกษาที่เรียน part time study ตลอดจนขยายสิทธิให้กับ กลุ่มที่เรียนการศึกษาต่อเนื่องทางด้านอาชีวะ พรรค The Left Party เสนอนโยบายเพิ่มเงินช่วยเหลือ ระหว่าง 735 ยูโรถึง 1050 ยูโร และเป็นการช่วยเหลือแบบให้เปล่าสำหรับเรื่องทุนเพื่อการกู้ยืมสำหรับการศึกษา (Bafög: Bundesausbildungsförderungsgesetz) ซึ่งเป็นต้นแบบของหลายๆ ประเทศใน การช่วยเหลือทางการเงินสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาเล่าเรียนนั้น พรรคเขียว ต้องการให้มีการแยกเงินสนับสนุนสำหรับนักเรียนนักศึกษาเพื่อการทั่วไป สำหรับนักเรียนนักศึกษาทุกคน และให้มีเงินพิเศษสำหรับคนที่มีสถานะทางบ้านยากจน และไม่ต้องใช้ทุนคืนในขณะที่พรรค FDP เสนอนโยบายที่ให้ความช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษา โดยไม่ต้องคำนึงถึงสถานะของพ่อแม่ โดยสนับสนุนเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า 500 ยุโรต่อเดือนและหากใครต้องการกู้เงินเพิ่มเติมมากกว่านี้ก็สามารถแสดงความประสงค์ได้ แต่เป็นส่วนที่ต้องใช้ทุนคืนขออนุญาต เล่าต่อในวารสารฉบับหน้าครับ ซึ่งจะมาส่องดูนโยบายเกี่ยวกับด้าน คมนาคม ครอบครัว ประกันสุขภาพ ประกันบำนาญ การจัดเก็บภาษี ที่อยู่อาศัย กันครับ(ที่มา เวบไซต์ มูลนิธิการทดสอบสินค้าเพื่อผู้บริโภค https://www.test.de/Bundestagswahl-Familie-Rente-Steuern-was-die-Parteien-vorhaben-5217841-0/)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 199 มาตรการเพื่อลดความเสี่ยงจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากอุปกรณ์การสื่อสาร

การใช้มือถือ สมาร์ตโฟน และแทบเบล็ต ซึ่งเป็นอุปกรณ์การสื่อสารของผู้คนในยุคนี้ แม้จะทำให้มีความสะดวกสบาย และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมก็ตาม แต่ประเด็นเรื่องความเสี่ยงต่อสุขภาพก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และยังหาข้อสรุปทางวิชาการไม่ได้ ในฐานะผู้บริโภคที่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์การสื่อสาร จึงควรมีมาตรการในการลดอัตราการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Specific Adsorption Rate: SAR) เพื่อป้องกันตัวตัวเองจากความเสี่ยงดังกล่าวตรวจสอบค่า SAR จากอุปกรณ์การสื่อสารของเราตามข้อแนะนำจากอียู ควรเลือกซื้อเลือกใช้อุปกรณ์สื่อสารที่มีค่า SAR ไม่เกิน 2 วัตต์ต่อกิโลกรัม (น้ำหนักตัวมนุษย์) กรณีของหน่วยงานภาครัฐเยอรมนีที่กำกับดูแลเรื่องนี้ คือ Bundesamt fÜr Strahlenschutz (The federal office for radiation protection) ได้เผยแพร่ฐานข้อมูลให้กับประชาชนทั่วไป ได้ทราบถึงค่า SAR ของ อุปกรณ์สื่อสารกว่า 2800 รุ่น ซึ่งเราสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ตามเว็บไซต์ นี้ http://www.bfs.de/SiteGlobals/Forms/Suche/BfS/EN/SARsuche_Formular.htmlนอกจากนี้ มีเพียงมือถือเพียงรุ่นเดียวเท่านั้น ที่ได้รับผลิตภัณฑ์ฉลากฟ้า (Blauer Engel) ที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะมีค่า SAR ต่ำมาก (ยี่ห้อ Fairphone 2)ใช้และพกพาอุปกรณ์สื่อสารเท่าที่จำเป็นหลักการนี้คือ ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์สื่อสารและร่างกายมนุษย์ยิ่งห่างยิ่งมีความเสี่ยงน้อย ถ้าเพิ่มระยะห่างเป็น 2 เท่า อัตราการดูดซับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะลดลงถึง 4 เท่า ดังนั้น ไม่ควรพกพาอุปกรณ์การสื่อสารไว้ในห้องนอน และการใช้งานอุปกรณ์การสื่อสาร ก็ใช้เท่าที่จำเป็น และควรใช้อุปกรณ์สื่อสารบริเวณที่มีสัญญาณดี เพราะจะส่งคลื่นออกมาน้อยกว่าบริเวณที่สัญญาณไม่ดีมาตรการการเฝ้าระวังเป็นเรื่องจำเป็นรูปแสดงผลการวัดค่า SAR ของโทรศัพท์มือถือรุ่นต่างๆ ในปี 2008 ของ องค์กรภาคประชาสังคม เยอรมนี Stiftungwarentestนอกเหนือจากการทำงานด้านเฝ้าระวังของภาครัฐแล้ว ในประเด็นการเฝ้าระวังผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากอุปการณ์สื่อสารของภาคประชาสังคมก็เป็นเรื่องที่จำเป็น กรณีของเยอรมนีที่บทบาทของภาคประชาสังคมที่มีความเข้มแข็งทั้งทางด้านการเมือง ทางวิชาการ และการได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ ได้ตรวจติดตาม การปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของอุปกรณ์การสื่อสารเป็นระยะๆ ตัวอย่างคือ การแสดงผลของค่า SAR ที่ได้จากการทดสอบทั้งการทดสอบที่ออกแบบขึ้นเอง ในปี 2008 ภายใต้การดูแลของนักวิชาการ ได้ทำให้ข้อกังวลของประชาชนในเรื่องนี้ ลดลงไป แต่อย่างไรก็ตามนักวิชาการทางด้านสุขภาพ และภาคประชาสังคม ก็ติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิดและสื่อสารกับสังคมอย่างสม่ำเสมอ(แหล่งข้อมูล: วารสาร Test ฉบับที่ 8/2017)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 198 กฎหมายคุ้มครองแม่และเด็กแรกเกิดจากอิทธิพลของบริษัทนมผง

การตลาดที่ได้ผลดีที่สุดของบริษัทนมผง คือการเปลี่ยนให้บุคลากรทางด้านสาธารณสุขกลายมาเป็นตัวแทนขายของบริษัทนม มีรายงานในประเทศไทยระบุว่า แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม ร้อยละ 81.8 จะเลือกยี่ห้อนมตามที่ได้รับแจก(ตัวอย่าง)และคำแนะนำจากบุคลากรสาธารณสุข ภาพจำในหลายๆ ปีที่ผ่านมา รูปแบบกิจกรรมการตลาดของบริษัทนมผงมีการบันทึกไว้หลากหลาย กล่าวคือ เป็นการตลาดแบบจู่โจมเข้าถึงเนื้อตัวคุณแม่ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อกับหญิงที่ตั้งครรภ์โดยตรงของตัวแทนขายสินค้า(ส่วนหนึ่งก็เป็นบุคลากรทางสาธารณสุข) หรือการแจกนมผงฟรีที่โรงพยาบาลให้แม่นำกลับไปเลี้ยงลูกที่บ้าน หรือการให้ข้อมูลที่เกินความเป็นจริงต่างๆ เพื่อโน้มน้าวให้คุณแม่เชื่อว่า นมผงเทียบเท่านมแม่ หรือดีกว่าเพราะเพิ่มเติมสารอาหารที่จะทำให้พัฒนาการของเด็กดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังเกี่ยวโยงไปถึงการที่บริษัทนมบริจาคสิ่งต่างๆ ให้กับสถานพยาบาล ทั้งในรูปแบบ การจัดกิจกรรมให้ความรู้กับแม่ การให้ค่าตอบแทนพิเศษแก่บุคลากรที่ช่วยแนะนำสินค้า การนำผลิตภัณฑ์แจกให้กับแม่ถึงเตียงนอนพักฟื้น ฯลฯ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ได้ถูกถกเถียงกันมาอย่างยาวนานในประเทศไทย เหตุเพราะการกระทำดังกล่าวนั้น ผิดจริยธรรม อีกทั้งเข้าข่ายละเมิดสิทธิของแม่และเด็กทารกในการเข้าถึงสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดสำหรับเด็กแรกเกิด ซึ่งก็คือ การได้รับน้ำนมแม่อันทรงคุณค่า เช่นเดียวกันกับภาคธุรกิจ ผู้ที่เห็นคุณค่าของการส่งเสริมให้คุณแม่ทั้งหลายใช้น้ำนมของตัวเองเลี้ยงดูทารกก็ได้พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะผลักดันให้เกิดกติกา ที่จะสามารถลดทอนอิทธิพลทางการตลาดของบริษัทนมผงลง โดยเฉพาะการทำตลาดแบบถึงเนื้อตัวและการห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบผ่านสื่อทุกชนิด ซึ่งลำพังกติกาเดิมที่เรียกว่า โค้ดนมแม่ หรือ  หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ ปี 2551นั้น ไม่อาจต้านทานพลังจากภาคธุรกิจได้ จึงมีแนวคิดที่จะนำกลไกที่เป็นกฎหมายหรือพระราชบัญญัติมาใช้จัดการปัญหา และในวันที่ 9 กันยายน 2560 นี้ จะเป็นวันแรกที่ พระราชบัญญัติการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560  จะมีผลบังคับใช้ ขอเล่าถึงความยากของการผลักดัน พ.ร.บ.นี้สักเล็กน้อย เนื่องเพราะมีผลประโยชน์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องมหาศาล ทำให้การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ถูกคัดค้านจากหลายฝ่าย แน่นอนว่าส่วนหนึ่งย่อมมาจากภาคธุรกิจผู้ผลิตนมผง แต่ที่น่าตั้งคำถามที่สุดว่ามาคัดค้านเพื่ออะไร กลับเป็นบรรดาองค์กรวิชาชีพบางแห่ง ที่ให้ข้อมูลและคัดค้านจน ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ รวนไปหลายรอบ อย่างไรก็ตามแม้จะใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ในที่สุด พ.ร.บ.นี้ก็ผ่านออกมาจนได้ ทำให้ต่อไปนี้การทำตลาดที่ละเมิดสิทธิอย่างรุนแรงดังที่ผ่านมา จะต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมายและมีบทลงโทษเป็นการเฉพาะ  กฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้ห้ามการขายนมผง ผู้บริโภคจะยังสามารถหาซื้อนมผงได้จากร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา ฯลฯ แต่สิ่งที่กฎหมายห้ามคือ ห้ามบริษัททำการส่งเสริมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์นมสำหรับเด็กอายุ 0-3 ปี ซึ่งหมายความว่า • ห้ามโฆษณาตามสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ป้ายโฆษณา นิตยสาร อินเตอร์เน็ต• ห้ามแจกตัวอย่างนมผง เช่น การแจกตัวอย่างนมผงให้แม่หลังคลอด หรือเมื่อไปแจ้งเกิด • ห้ามการส่งเสริมการขาย เช่น แจกของขวัญ หรือสิ่งจูงใจต่างๆ ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ แม่และครอบครัวของทารกและเด็กเล็ก การลดราคา การขายพ่วง• ห้ามติดต่อกับแม่ เพื่อสนับสนุนให้ใช้ผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น การให้ Call center โทรศัพท์ไปหาแม่หลังคลอด การจัดอีเวนท์ต่างๆนอกจากนี้ กฎหมายจะมีผลในการห้ามให้ของขวัญหรือสิ่งจูงใจอื่นๆ แก่บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขด้วย  ในส่วนของตัวผลิตภัณฑ์ กฎหมายจะให้ความสำคัญกับการโฆษณาเพื่อคุมการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ถึง 3 ปี ไม่ใช่เพียงเพราะเหตุผลว่า นมแม่มีประโยชน์ต่างๆ ต่อเด็กมากว่าแค่ในช่วง 6 เดือนแรกหรือปีแรก และเด็กควรได้รับนมแม่อย่างต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยจนอายุ 2 ปีหรือนานกว่านั้นเท่านั้น แต่ยังมีเหตุผลสำคัญด้านตลาดด้วย คือการป้องกันการส่งเสริมการขายแบบข้ามชนิด(Cross promotion) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่บริษัทใช้ในการหลบเลี่ยงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่เดิม ที่ผ่านมา แม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) จะได้ห้ามการโฆษณานมผงสำหรับทารก แต่ยังไม่มีการห้ามโฆษณานมสำหรับเด็ก 1 ปีขึ้นไป หรือที่เราเห็นในท้องตลาดว่าคือ “นมสูตร 3” ซึ่งกลายเป็นช่องโหว่สำคัญ ให้บริษัทต่างๆ ทุ่มเงินจำนวนมากเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์นี้ โดยทำให้รูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ของทุกๆ สูตรให้คล้ายกัน และใช้ชื่อยี่ห้อที่คล้ายกันมาก มีการใช้สโลแกน สัญลักษณ์ และแมสคอตเดียวกัน และใช้เลข 1-2-3 บนกล่องเพื่อแสดงให้ว่ามีความเกี่ยวข้องกัน เพราะตั้งใจเพื่อให้การส่งเสริมการตลาดของนมสูตร 3 ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจว่าโฆษณานมสูตร 1 และ 2 ไปด้วย  แต่เมื่อกฎหมายฉบับใหม่นี้มีผลบังคับใช้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับเด็กต่ำกว่า 3 ขวบ จะถูกห้ามโฆษณาผ่านสื่อทุกชนิด  ผลิตภัณฑ์ที่จะถูกควบคุมการส่งเสริมการตลาดตามกฎหมายนี้ ประกอบด้วย 1.อาหารสำหรับทารก (อาหารสำหรับเด็กอายุ 0-12 เดือน) 2.อาหารสำหรับเด็กเล็ก(อาหารที่ใช้สำหรับเด็กอายุ 1-3 แต่จะต้องมีประกาศรองรับก่อน ส่วนนี้กรมอนามัยจะเป็นผู้จัดทำประกาศดังกล่าว) และ 3. อาหารเสริมสำหรับทารก ดังนั้นจึงขอฝากถึงบรรดาคุณแม่หรือผู้ที่ใกล้ชิด ให้ตระหนักและช่วยกันเฝ้าระวัง สอดส่องกิจกรรมการทำตลาดนมผง ที่อาจเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อดูแลลูกหลานของเราให้ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ ซึ่งเป็นอาหารอันแสนวิเศษสุดบนโลกใบนี้สำหรับเด็กแรกเกิดทุกคน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 197 สบู่ผสมสารต้านแบคทีเรีย จำเป็นหรือไม่ ?

ในปัจจุบันคนทั่วไปให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้น ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างว่าเพื่อสุขภาพต่างๆ ได้มีการผลิต โฆษณา จำหน่าย และบริโภคกันอย่างกว้างขวาง เห็นได้จากการนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลายชนิดมาผสมกับสารเคมีหรือสารสกัดสมุนไพรต่างๆ แล้วสร้างความเชื่อว่ามีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น มีสรรพคุณกว้างขวางขึ้น  ซึ่งมักจะเป็นกลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์นั้น เช่น สบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียคุณประโยชน์และหลักการทำงานของสบู่สบู่ เป็นผลิตภัณฑ์ใช้ทำความสะอาดร่างกายในชีวิตประจำวัน มีรูปแบบเป็นสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว  ซึ่งสบู่จะช่วยเรื่องชำระล้างได้ดีกว่าการใช้น้ำเพียงอย่างเดียว ส่วนประกอบสำคัญของสบู่ คือ เกลือของกรดไขมัน ได้แก่ เกลือโซเดียม หรือเกลือโปแตสเซียม หรือเกลือแอมโมเนียม หรือเกลือเอมีน ที่ได้จากการใช้ไขมันสัตว์ และ/หรือน้ำมันพืชต่างๆ มาผสมกับด่างชนิดต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เช่น หากต้องการผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนก็เลือกใช้ด่างโซเดียม หรือเลือกใช้ด่างโปแตสเซียม  หากต้องการผลิตภัณฑ์สบู่เหลว อาจผสมสารลดแรงตึงผิว สารให้ความชุ่มชื้นเข้าไป  ซึ่งก็แล้วแต่ชนิดของสบู่ที่ผลิต การชำระล้างสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากผิวหนังของสบู่นั้น เนื่องจากกลไกของเกลือของกรดไขมัน ซึ่งมีโครงสร้างโมเลกุลประกอบด้วยส่วนที่ชอบน้ำและส่วนที่ไม่ชอบน้ำ ดังนั้นเมื่อถูกละลายด้วยน้ำ ส่วนที่ไม่ชอบน้ำจะถูกผลักเข้าไปหลบอยู่ด้านใน  และหันส่วนที่ชอบน้ำให้อยู่ด้านนอกเพื่อไปสัมผัสกับสิ่งสกปรกต่างๆ ที่ล้างออกด้วยน้ำไม่ได้(ส่วนมากจะเกาะติดกับไขมันหรือน้ำมัน) ซึ่งสิ่งสกปรกจะเข้าไปเกาะติดกับส่วนที่ไม่ชอบน้ำ กลายเป็นหยดน้ำมัน และจากนั้นจะถูกน้ำชำระล้างออกด้วยน้ำ ทำให้สิ่งสกปรกหลุดออกมาด้วยสบู่ผสมสารต้านแบคทีเรีย ผู้ผลิตหลายรายได้มีการผสมสารต้านแบคทีเรียในสบู่ขึ้น  โดยอ้างว่าจะสามารถทำความสะอาดผิวได้ดีขึ้น โดยเชื่อว่าสารต้านแบคทีเรียจะช่วยทำลายเชื้อโรคที่อยู่บนผิวหนัง สารต้านแบคทีเรียที่นิยมนำมาผสมในสบู่ที่นิยมมากชนิดหนึ่ง ได้แก่ ไตรโคลซาน)Triclosan)   ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งราและแบคทีเรีย จึงนิยมใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อความสะอาดหลายชนิด   เช่น   สบู่    ครีมอาบน้ำ  ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย     ยาสีฟัน   น้ำยาบ้วนปาก   ตลอดจนน้ำยาล้าง  อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีรายงานการวิจัยบ่งชี้ว่า ไตรโคลซาน ทำให้แบคทีเรียเกิดการดื้อยาข้ามกลุ่ม คือการที่แบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ โดยผลจากการได้รับสารเคมีที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อกลุ่มไบโอไซด์ (biocides) เช่น กรณีไตรโคลซาน ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์ต่อต้านแบคทีเรีย  นิยมนำมาผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยมีรายงานวิจัยว่า เมื่อใช้เป็นเวลานาน สารไตรโคลซานสามารถสะสมในร่างกาย เช่น มีการตรวจพบในปัสสาวะของคนอเมริกันถึง 75%  นอกจากนั้น สารไตรโคลซานที่ผสมในสบู่และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ เมื่อถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ได้ส่งผลต่อจุลินทรีย์ในระบบนิเวศน์วิทยา ทำให้แบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ เพราะไตรโคลซาน มีคุณสมบัติก่อให้แบคทีเรียดื้อยาข้ามกลุ่มได้ โดยสารไตรโคลซานมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการขับยาออกนอกเซลล์  ทำให้มีปริมาณยาปฏิชีวนะในเซลล์น้อยไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ทั้งหมด จึงทำให้เชื้อปรับตัวดื้อยาในที่สุด นอกจากนั้น ยังพบว่า ในสัตว์ทดลอง ไตรโคลซาน ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงหลายอย่าง เช่น ผลต่อพัฒนาการ และภาวะการเจริญพันธุ์ ผลต่อต่อมไร้ท่อ ไทรอยด์ฮอร์โมน ฮอร์โมนเอสโตรเจและมีความเป็นพิษเรื้อรัง และเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย  องค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศได้ยกเลิกการใช้ไตรโคลซานในผลิตภัณฑ์สบู่แล้ว รวมถึงสารเคมีกลุ่มนี้อีก 18 ชนิด เพราะไม่มีหลักฐานใดๆ บ่งชี้ว่าสามารถชำระล้างได้ดีกว่าการใช้สบู่ธรรมดา ทั้งนี้เพราะกลไกการชำระล้างร่างกายโดยสบู่นั้น ผิวกายสัมผัสกับสบู่ในเวลาสั้นๆ แล้วเราก็ล้างน้ำออกไป ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ไม่นานพอที่สารไตรโคลซานจะออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย เพราะกลไกการทำลายเชื้อแบคทีเรียนั้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลานานกว่ามาก จะต้องอาศัยทั้งสภาวะแวดล้อมและระยะเวลาที่เหมาะสม จะต้องมีเวลาให้สารเข้าสู่เซลล์แบคทีเรียก่อน แล้วสารจึงจะสามารถออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรียได้ ในกรณีของไตรโคลซานจะออกฤทธิ์ขัดขวางการสร้างกรดไขมันของแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียถูกทำลายไป ซึ่งต้องอาศัยสภาวะที่เหมาะสม ความเข้มข้นของสารต้านแบคทีเรียที่เหมาะสม และระยะเวลาที่เหมาะสมด้วย    แบคทีเรียที่ผิวหนัง ต้องทำลายให้หมดหรือ ? ผิวหนังมีหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแวดล้อม โดยมีบทบาทในการป้องกันการสูญเสียน้ำ และการซึมผ่าน สกัดกั้นไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกาย โดยการหลั่งกรดอ่อนจากต่อมเหงื่อ ทำให้ผิวหนังมีสภาพความเป็นกรด ซึ่งไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ทำให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกายยากขึ้น  ต่อมไขมันจะผลิตสารที่เป็นกรดไขมันและกรดแลคติค มาต่อต้านแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิดได้เองตามธรรมชาติ ผิวหนังปกติมีเชื้อจุลินทรีย์อาศัยอยู่โดยไม่ก่อให้เกิดโรค ในแต่ละส่วนของร่างกายมีเชื้อจุลินทรีย์จำนวนแตกต่างกัน  เชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่นซึ่งเป็น เชื้อที่อยู่เป็นประจำนี้ทำหน้าที่ป้องกัน 2 อย่างคือ ต่อต้านจุลินทรีย์ แปลกปลอมและทำหน้าที่แย่งอาหารจุลินทรีย์แปลกปลอมบนผิวหนัง ดังนั้นคนปกติทั่วไปจึงมิต้องวิตกกังวลว่า ร่างกายมีเชื้อมากไป จนจะต้องกำจัดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังให้หมดไปอย่างราบคาบ ดังนั้นการใช้สบู่ธรรมดาในการชำระล้างก็เพียงพอในชีวิตประจำวัน ส่วนการใช้สบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียไม่เกิดประโยชน์ และยังเป็นโทษต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม ก่อปัญหาเชื้อดื้อยาต้านแบคทีเรียอีกด้วย 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 196 การกำหนดวิธีพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมในเยอรมนี : กรณีศึกษาการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากบริษัทโฟล์คสวาเก้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย

จากเหตุการณ์ที่กรมควบคุมมลพิษของอเมริกา( EPA) ได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อ บ. โฟล์คสวาเกน  (VW) ว่า จงใจที่จะหลอกลวงเกี่ยวกับการแสดงข้อมูลการวัดค่าไอเสียจากรถยนต์ดีเซลรุ่น Jetta, Beatle, Passat และ Audi A 3 เนื่องจากซอฟท์แวร์แสดงผลการวัดต่ำกว่าค่าความเป็นจริงถึง 10- 40 เท่า ในสภาวะการขับแบบปรกติ ซึ่งเกินกว่าค่าที่ทางกรมควบคุมมลพิษของอเมริกากำหนด ต่อกรณีดังกล่าวนี้ ตามกฎหมายเยอรมัน ให้สิทธิผู้บริโภคในการจัดการกับเรื่องดังกล่าว หากรถยนต์ที่ซื้อมามีปัญหาชำรุด บกพร่อง นอกจากนี้ ยังให้สิทธิผู้ถือหุ้นรายย่อยของโฟล์คสวาเก้น เป็นผู้บริโภคที่สามารถฟ้องร้องคดีเพื่อขอเงินคืนต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมูลค่าหุ้นที่ตกลงอย่างฮวบฮาบในช่วงเวลาข้ามคืนได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนในมุมมองของการคุ้มครองผู้บริโภคที่อีกบทบาทหนึ่งคือ เป็นนักลงทุนรายย่อยกรณีของผู้ที่ถือหุ้นตามกฎหมายหลักทรัพย์ของเยอรมัน มีสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีที่มูลค่าหุ้นลดต่ำลง โดยที่ทางบริษัทไม่ได้แจ้งถึงผู้ถือหุ้นให้ทันการณ์จากการการฟ้องคดีที่กรมควบคุมมลพิษของอเมริกา( EPA) ที่ได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อ บ. โวล์กสวาเกน (VW) และทางโฟล์คสวาเก้นก็ได้ยอมรับต่อข้อกล่าวหาดังกล่าว จากเหตุการณ์นี้ มีความเป็นไปได้สูงที่ทางผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้เสียหายที่จะได้รับเงินชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมูลค่าหุ้นที่ร่วงลงมา (Schadenersatz fÜr Kursverlust) และ ความเสียหายที่เกิดจาก ผลต่างมูลค่าหุ้น (Kursdifferenzschaden) อย่างไรก็ตามผู้ถือหุ้นต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อพิสูจน์ว่า ทางบริษัทได้ละเมิดต่อผู้ถือหุ้นโดยแจ้งสถานการณ์ล่าช้าต่อสาธารณะในประเทศเยอรมนีการคำนวณความเสียหายสำหรับผู้ถือหุ้นผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายสองประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะมีมูลค่าต่างกัน สำหรับการคิดค่าเสียหายแบบแรก  คือ ความเสียหายจากผลต่างมูลค่าหุ้น(Kursdifferenzschaden) ซึ่งจะคิดคำนวณสำหรับผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 20 กันยายน 2015 ซึ่งมูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่าง 56- 60 ยูโรต่อหุ้น แล้วแต่ว่าศาลจะกำหนดให้เป็นมูลค่าเท่าใดสำหรับการคำนวณความเสียหายอีกประเภทหนึ่ง คือ แบบ(Kursverlustschaden) ฐานคิดค่าเสียหายแบบนี้ จะคิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายสูงกว่าแบบแรก แต่จะคำนวณได้ยากกว่า เพราะต้องใช้การพิสูจน์ และขึ้นอยู่กับคำพิพากษาคดีเป็นรายๆ ไป เนื่องจากในระบบกฎหมายเยอรมันไม่มีการฟ้องคดีแบบกลุ่ม( Class action)ถึงไม่มีการพิจารณาคดีแบบกลุ่มศาลก็อำนวยความสะดวกในการฟ้องคดีเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ทางศาลสูงแห่งเมืองบราวชไวก์ ( Braunschweig)  ได้กำหนดแนวทางการฟ้องคดีโดยใช้กระบวนการ  ดำเนินคดีหุ้น ที่เป็นแบบอย่าง(Kapital Musterverfahren) โดยที่มีบริษัทลูกของธนาคารออมสิน คือ บริษัท Deka Investment ที่เป็นแม่แบบในการฟ้องคดี มีลูกค้าผู้ถือหุ้นที่ประสงค์จะฟ้องคดี 1502 ราย และมีมูลค่าความเสียหายรวมกันกว่า 2000 ล้านยูโร และผู้เสียรายอื่นก็สามารถมาร้องสมทบได้เช่นกัน กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาเป็นคุณ กับผู้ร้อง การชดใช้ค่าเสียหายกับผู้เสียหายราบอื่นก็มีผลผูกพันด้วยเช่นกันผู้เสียหายรายอื่นสามารถยื่นความจำนงในการร้องสอดคดีได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นเรื่องขอฟ้องร้องสอดคดีนี้ คือ 8 กันยายน 2017 การที่ศาลอำนวยความสะดวกด้วยการกำหนด การฟ้องร้องพิจารณาคดีแบบนี้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการพิจารณาคดีรายบุคคลมากบทสรุปที่ได้จากกรณีการฟ้องร้องคดีแบบนี้ คือ การอำนวยความสะดวกที่ให้อำนาจศาลในการกำหนดพิธีพิจารณาคดี สำหรับมีผู้เสียหายจากการละเมิดเป็นจำนวนมาก แม้ว่า ในระบบกฎหมายของเยอรมันจะไม่มีการพิจารณาคดีแบบกลุ่ม แต่ก็เปิดช่องให้ศาลสามารถใช้กระบวนการพิจารณาคดีความลักษณะนี้ในการอำนวยความสะดวกในกระบวนการยุติธรรมให้กับประชาชน(ที่มา นิตยสาร Finanztest 6/2017)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 195 การเลือกซื้อและใช้กระทะ

กระแสการใช้โฆษณาโน้มน้าวชักจูง โดยการใช้วิธี Fake Original Price ของกระทะยี่ห้อหนึ่งที่กำลังตกเป็นข่าวอยู่ขณะนี้ ยังเป็นที่ถกเถียงกันต่อประเด็นทางการกฎหมายว่า การตั้งราคาให้สูงเกินจริงมากๆ เพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดคิดว่า ได้ซื้อของถูกนั้นผิดกฎหมายหรือไม่ ในหลายประเทศมีกฎหมายมาควบคุมชัดเจนเรื่องนี้ชัดเจน ซึ่งในอนาคตการทำธุรกิจที่เอาเปรียบผู้บริโภคแบบนี้  คงมีมาตรการทางกฎหมายมาคุ้มครองผู้บริโภคอย่างชัดเจนขึ้น ในส่วนของคุณภาพของตัวสินค้า ตัวกระทะนั้น ทางวารสารฉลาดซื้อ ได้เคยร่วมมือทดสอบร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค และเปิดเผยผลทดสอบให้ทราบกันแล้วตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งในครั้งนั้น กระทะดังกล่าวยังไม่ได้มีการขายในประเทศไทย โดยที่ในครั้งนั้น ได้สุ่มกระทะจำนวน 13 ยี่ห้อ จากห้างสรรพสินค้า และไฮเปอร์มาร์เก็ตในกรุงเทพมหานคร ราคาตั้งแต่ 500 บาท ถึง 2,000 กว่าบาท โดยทดสอบเปรียบเทียบในเรื่องความเร็วในการถ่ายเทความร้อน การใช้พลังงาน การกระจายตัวของอุณหภูมิที่บริเวณก้นกระทะ และความสะดวกในการทำความสะอาด ตลอดจนความหนาของวัสดุที่เคลือบ ซึ่งเราได้ผลทดสอบสรุปว่า คุณภาพและประสิทธิภาพของกระทะนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคา บทความฉบับนี้ ต้องการให้ข้อมูลพื้นฐานแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อกระทะ ว่าควรพิจารณาจากอะไรบ้าง เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ(หรือไม่ซื้อ) ครั้งต่อไปวัสดุที่ใช้ในการผลิตกระทะปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของกระทะนอกจาก การออกแบบที่ต้องคำนึงถึงความสวยงามน่าใช้ และการถ่ายเทความร้อนจากก้นกระทะไปสู่อาหารที่กำลังผัดหรือทอด แล้วก็คือวัสดุที่ใช้ในการผลิตกระทะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้วัสดุดังต่อไปนี้ในการผลิตอลูมิเนียม จัดเป็นโลหะเบา ที่มีความหนาแน่น 2.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เบากว่าเหล็กมาก (เหล็กมีความหนาแน่น 7.8 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) ซึ่งกระทะที่ทำจากอลูมิเนียมไม่ควรนำไปใช้งานที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ เพราะจะทำให้สีผิวและรูปทรงของกระทะเปลี่ยนไป อาหารที่เหมาะกับการปรุงโดยใช้กระทะอลูมิเนียมคือ อาหารประเภทไข่ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นไข่เจียว ไข่ดาว หรือไข่คน หรือใช้ในการปรุงอาหารที่ทำจากปลาก็ได้ เพราะใช้ความร้อนไม่สูงมากนักเหล็กสเตนเลส (Stainless steel) กระทะที่ทำจากวัสดุประเภทนี้ มีข้อดีคือ ดูแลรักษาง่าย ทนทาน แข็งแรง รักษารูปทรงไว้ได้ดีเมื่อใช้งานไปนานๆ แต่ข้อเสียคือ มีน้ำหนักมาก นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งกระทะได้อีก คือ ชนิดเคลือบเทฟลอน กับชนิดไม่เคลือบเทฟลอน ชนิดที่ไม่เคลือบเทฟลอน เหมาะสำหรับการทอดกรอบ ซึ่งถ่ายเทความร้อนได้ดี ให้ความร้อนสูง ข้อควรระวังสำหรับคนที่มีอาการแพ้โลหะนิกเกิล เพราะนิกเกิลเป็นธาตุผสมที่มีอยู่ในเหล็กสเตนเลส ควรจะหันไปใช้กระทะที่ทำจากวัสดุอื่นแทนเหล็กหล่อ (Cast Iron) ให้ความร้อนสูง ทนทาน แข็งแรง แต่มีน้ำหนักมาก การถ่ายเทความร้อนดี เหมาะสำหรับการทอดชิ้นเนื้อหนา เช่น สเต็กเหล็กหล่อเคลือบอีนาเมล ผิวเคลือบปราศจากรูพรุน (Micro Pore) ทำความสะอาดง่าย ทนความร้อนได้ดี แต่ต้องระวังการกระแทกที่ผิวเคลือบ เพราะจะทำให้ผิวเคลือบแตกล่อนออกมาได้ทองแดง(Copper) เป็นกระทะระดับพรีเมียม ราคาแพง ถ่ายเทความร้อนได้ดี ความร้อนกระจายตัวสม่ำเสมอ และเย็นตัวได้เร็ว สามารถนำวัสดุอื่นมาเคลือบที่ผิวได้ เช่น เหล็กสเตนเลส สังกะสี และ เทฟลอน เพื่อป้องกันไม่ให้ ทองแดงปนเปื้อนลงไปในอาหาร การดูแลรักษาค่อนข้างยุ่งยาก และต้องทำการขัดผิวละเอียด (Polishing) บ่อยๆ จึงจะดูสวยงามน่าใช้อยู่เสมอ การใช้กระทะเคลือบเทฟลอนกระทะเคลือบเทฟลอน ซึ่งเป็นชื่อเรียกทางการค้าของวัสดุเคลือบ อยู่ในกลุ่มพอลิเมอร์ (Polytetrafluoroethylene: PTFE)         ไม่ควรให้ความร้อนสูงมากเกินไป เพราะจะทำให้วัสดุเคลือบที่ทำมาจากเทฟลอน เสื่อมสลาย ได้ง่าย และอายุการใช้งานสั้นลง ไม่ควรใช้ตะหลิวที่ทำจากโลหะเพราะจะทำให้ผิวเทฟลอนเป็นรอยขีดข่วนได้ง่าย นอกจากนี้ไม่ควรใช้แผ่นโลหะ หรือ สารเคมีที่มีส่วนผสมของผงโลหะทำความสะอาด เพราะจะทำให้กระทะเป็นรอยเช่นกันการทำความสะอาด ใช้น้ำอุ่น หรือ น้ำยาล้างจานล้างกระทะ โดยใช้ฟองน้ำขัดถู คราบสกปรกที่ติดบนผิวกระทะ กระทะบางรุ่นสามารถนำไปล้างในเครื่องล้างจานได้ แต่ถ้าเป็นกระทะที่ทำจากอลูมิเนียม ไม่ควรจะใช้เครื่องล้างจานเพราะจะทำให้ผิวของกระทะหมองลงได้ และถ้าหากบ้านใครมีเครื่องล้างจาน และอยากจะใช้ล้างกระทะ ก็ให้ใช้น้ำมันพืช ทาที่ผิวเคลือบบ้างเพราะจะทำให้เทฟลอนรักษาความมันลื่นได้นานขึ้น กระทะเคลือบเทฟลอน จะมีอายุการใช้งานของมัน หากเราสังเกตเห็นว่าผิวเคลือบมีรอยขีดข่วน หรือหลุดล่อนออกมาควรเปลี่ยนกระทะใหม่หวังว่าสมาชิกวารสารฉลาดซื้อจะสามารถ ใช้ชีวิตในยุคบริโภคนิยมได้อย่างชาญฉลาด และไม่ตกเป็นเหยื่อการโฆษณาที่เข้าข่ายหลอกลวง ที่ทำให้ผู้บริโภคในยุค 4.0 สูญเสียความเชื่อมั่นและความรู้สึกครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 การใช้ smart phone สำหรับ ช่วยเป็นเครื่องมือบอกทิศทางด้วย Navigator Application

ปัจจุบันผู้ขับขี่รถยนต์นิยมใช้ Appication ของสมาร์ตโฟนทำหน้าที่ เป็น navigator สำหรับบอกเส้นทางและสภาพการจราจร Application เหล่านี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้คนขับรถได้มาก ลดเวลาการเดินทางที่เกิดจากการจราจรที่ติดขัด และช่วยให้คนขับไม่ต้องประสบปัญหาการหลงทิศทาง อย่างไรก็ตามการจะใช้ สมาร์ตโฟน เป็นเครื่องมือบอกทิศทางนั้น ต้องพึงระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัย และต้องเป็นไปตามกฎจราจรด้วย การใช้งานต้องติดตั้งสมาร์ตโฟนในที่จัดเก็บ และระหว่างขับรถต้องไม่ใช้มือจับหรือสัมผัสจอภาพ และต้องมีสติกับการขับรถตลอดเวลา ข้อดีของการใช้ Application ของฟรีที่ติดมากับเครื่อง คือ ไม่ต้องเสียเงินซื้อ แต่อย่างไรก็ตามสำหรับคนขับรถที่ต้องใช้งาน Navigator เป็นประจำทุกวัน และใช้งานต่อเนื่อง ขอแนะนำให้ใช้ เครื่องนำทางตัวจริงจะดีกว่า เนื่องจาก กรณีของ Application ที่เป็น Navigator ติดมากับสมาร์ตโฟน จะแสดงแผนที่ บนหน้าจอเพียงแค่ระยะ 500 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่สั้นมาก ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการขับขี่โดยเฉพาะการขับขี่บนทางหลวง หรือทางด่วนที่ต้องขับด้วยความเร็วสูง และไม่ได้ระบุถึงช่องจราจรที่รถควรขับอาจทำให้เกิดปัญหาในการที่จะต้องเปลี่ยนช่องจราจรได้ทันเวลา และข้อเสียอีกอย่างหนึ่งของ Application ที่ติดมากับเครื่องสมาร์ตโฟน คือ การบอกเส้นทางไม่ได้มาจากข้อมูลที่บันทึกอยู่ในหน่วยความจำของสมาร์ตโฟน แต่มาจากการเชื่อมต่อข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ดังนั้นจึงมีการใช้ Bandwidth อย่างสิ้นเปลืองเกิดขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องขับรถในระยะไกลๆ ยกตัวอย่างเช่น หากขับรถเดินทางระยะ 120 กิโลเมตร ก็ใช้ Bandwidth ประมาณ 9-10 Mbyte และหากเดินทางไกล ติดต่อกันหลายวัน ในกรณีที่เดินทางท่องเที่ยว ปริมาณของ Bandwidth ก็อาจเกินกว่า ปริมาณ Bandwidth ที่ Flatrate ระบุไว้ได้ และในกรณีที่ใช้ สมาร์ตโฟนในต่างประเทศ การเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต ก็ต้องมีค่า Roaming ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานด้วย การใช้ smart phone สำหรับ ช่วยเป็นเครื่องมือบอกทิศทางด้วย Navigator Application นั้น เหมาะสำหรับการใช้งานในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ใช้งานต่อเนื่อง และใช้งานบนเส้นทางที่เรามีความคุ้นเคยบ้างแล้ว  ดังนั้นหากใครที่ขับรถเป็นระยะทางไกลๆ และไม่คุ้นเคยกับเส้นทางโดยเฉพาะการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศแบบขับรถเอง เครื่องช่วยนำทาง (Navigator) จึงเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ นอกจากจะช่วยในเรื่องบอกทางแล้ว ยังช่วยในเรื่องบอกเรื่องอัตราความเร็วของรถ ที่ช่วยป้องกันไม่ให้เราขับเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ป้องกันการถูกจับและ ไม่ต้องประสบปัญหาการได้รับใบสั่งโดยไม่จำเป็นและต้องเสียค่าปรับที่อัตราปรับค่อนข้างสูงทีเดียว บางครั้งการเช่ารถขับเองหากจะใช้เครื่อง  Navigator ที่ติดตั้งมากับรถ ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และอาจแพงกว่า กรณีที่ซื้อมาใช้เอง ปัจจุบัน เครื่อง  Navigator ที่ใช้งานได้ดีราคาไม่ได้สูงมาก และสามารถซื้อผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ด้วย ตัวอย่างเครื่อง  Navigator ที่ราคาไม่แพงและใช้งานได้ดีจากการทดสอบการใช้งานของ มูลนิธิทดสอบสินค้า เยอรมนี คือ ยี่ห้อ TomTom รุ่น Start M ราคาระหว่าง 130- 150 ยูโร (ที่มา วารสาร  Test ฉบับ 2/2014)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 193 การเลือกซื้ออาหารสุนัข

สุนัขเป็นเพื่อนแท้ของมนุษย์ สำหรับคนที่เลี้ยงสุนัขต่างก็ยืนยันถึงความซื่อสัตย์และความน่ารักไร้เดียงสา ที่สร้างความประทับใจให้กับคนเลี้ยงสุนัขแทบทุกคน วัตถุประสงค์ของการเลี้ยงสุนัขปัจจุบันก็แตกต่างจากสมัยก่อน ปัจจุบันการเลี้ยงสุนัข ไม่ได้เน้นให้สุนัขเฝ้าบ้าน แต่เลี้ยงเหมือนกับสุนัขเป็นสมาชิกในครอบครัวของเราเอง การให้อาหารของสุนัขในปัจจุบัน มีช่องทางให้เลือกมากมาย จนทำให้ผู้เลี้ยงสุนัขประสบปัญหาในการตัดสินใจเลือกอาหารให้กับสุนัข สำหรับการเลี้ยงสุนัขในเมืองใหญ่ที่ผู้เลี้ยงต้องการความสะดวกสบาย อาหารสุนัขแบบสำเร็จจึงเป็นทางเลือกของคนรักสุนัขที่ตอบโจทย์ดังกล่าว ปัจจุบันมีอาหารสุนัขแบบสำเร็จมากมายหลายยี่ห้อ บทความนี้ได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นในการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารสุนัขแบบสำเร็จรูปที่เหมาะสมกับสุนัขของเรา สิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกอาหารสุนัข(สำเร็จรูป)ได้แก่ 1 อาหารแบบเปียกหรือแบบแห้งที่ทำให้สุนัขแข็งแรงอาหารทั้งสองแบบเหมาะกับสุนัข จากข้อมูลทางวิชาการพบว่า สุนัขมักจะไม่ค่อยมีปัญหากับอาหารแบบแห้ง2 ปริมาณของเนื้อสัตว์ที่ผสมในอาหาร สำหรับประเด็นนี้ ความสำคัญไม่ได้ขึ้นกับปริมาณหรือชนิดของเนื้อสัตว์ที่ผสมในอาหารสำเร็จรูป แต่ควรพิจารณาถึง คุณค่าทางโภชนาการโดยรวม สำหรับวิตามิน A นั้น จะพบในตับที่ผสมในอาหารสุนัข แคลเซียมจะมีอยู่ในกระดูกบด และ โปรตีนมีอยู่ในเครื่องใน ปัญหาปัจจุบันฉลากของอาหารสุนัขสำเร็จรูปก็ไม่ได้ระบุถึงส่วนผสมที่ชัดเจน การตรวจสอบส่วนผสมของอาหารสุนัขก็เป็นเรื่องที่ยากในทางวิชาการเพราะ อาหารสุนัขผ่านกระบวนการบดและแปรรูปมาแล้ว3 ธัญพืชหรือแป้งที่เป็นส่วนผสมในอาหารสุนัขไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการย่อยในสุนัข เพียงแต่ไม่สามารถรับประกันได้ถึงสารเคมีอันตรายที่ปนเปื้อนในธัญพืช เช่น โลหะหนัก แคดเมียม ปรอท หรือ อัลฟาทอกซิน4 ควรเลี้ยงสุนัขด้วยอาหารดิบ (BARF: Bone and Raw Foods) หรือไม่โดยทั่วไป สุนัขสามารถย่อยอาหารดิบไม่ว่าจะเป็น เนื้อสัตว์หรือพืชสด ได้ดี แต่การเลี้ยงด้วยอาหารดิบอย่างเดียวอาจทำให้เกิดปัญหาโภชนาการ สุนัขอาจได้รับสารอาหารบางตัวขาดหรือเกินได้ ดังนั้นผู้เลี่ยงควรปรึกษาและสอบถามสัตวแพทย์ในเรื่องอาหารที่เลี้ยงสุนัข นอกจากนี้ในอาหารดิบอาจพบเชื้อโรคที่ทำให้สุนัขเจ็บป่วยได้5 อาหารกระป๋อง หลังจากที่เปิดกระป๋องให้อาหารสุนัขแล้ว ส่วนที่เหลือควรเก็บไว้ในตู้เย็น กรณีที่นำอาหารที่เหลือจากการเก็บในตู้เย็น มาให้สุนัข ควรนำมาปล่อยให้อาหารมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้องก่อนนำไปเลี้ยงสุนัข6 สำหรับการซื้ออาหารสุนัขขนาดถุงใหญ่ (15 กิโลกรัม) ควรแบ่งถ่ายอาหารในภาชนะปิดสนิทที่สามารถเก็บอาหารให้สุนัขได้ 3 วัน เพราะการเปิดปิดถุงอาหารสุนัขบ่อยๆ ทำให้อากาศเข้าไปในถุงและทำให้อาหารสุนัขเสื่อมสภาพได้ง่าย นอกจากนี้ ไม่ควรใช้อาหารเลี่ยงสุนัขที่เกินกว่า 6 สัปดาห์หลังเปิดถุงครั้งแรก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 192 การเลือกซื้อที่นั่งนิรภัย (car seats) สำหรับเด็ก

ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 12 ปี เพื่อใช้สำหรับการเดินทางร่วมไปกับพ่อแม่ในรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งในหลายๆ ประเทศ การติดตั้ง car seat ได้ออกเป็นกฎหมายบังคับ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเด็กและทารก ดังนั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลและแนวทางเบื้องต้นในการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ สำหรับประเทศไทยแม้จะไม่มีกฎหมายบังคับในเรื่องนี้ แต่ก็พบว่าคุณพ่อคุณแม่ต่างก็ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย และซื้อมาติดตั้งเป็นจำนวนหลายรายทีเดียว บทความนี้ต้องการให้ข้อมูลซึ่งเป็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ car seat เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปประกอบในการเลือกซื้อ และใช้งาน car seat ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมมาตรฐานของที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กมาตรฐานของที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กมี 2 แบบ แบบแรก เรียกว่า เป็นมาตรฐานที่กำหนดตามขนาดของร่างกายเด็ก i-Size (เป็นไปตามมาตรฐาน ECE R 129) แบ่งขนาดของทารกเป็น 2 ช่วงอายุ คือ ตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ (ขนาดตัวเด็กไม่เกิน 75 เซนติเมตร) และ ตั้งแต่ 1 ขวบ- 4 ขวบ (ขนาดตัวไม่เกิน 105 เซนติเมตร) แบบที่สอง แบ่งตามน้ำหนักของทารก (ตามมาตรฐาน ECE R44)การติดตั้งที่นั่งนิรภัย การติดตั้งที่นั่งนิรภัยควรติดตั้งไว้ทางด้านหลัง เพราะให้ความปลอดภัยสูงกว่าการติดตั้งด้านหน้า ในกรณีที่ ติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กไว้ด้านหน้าข้างคนขับ จำเป็นต้องล็อคถุงลมนิรภัยไม่ให้ทำงาน กรณีเกิดการชน เพราะแรงดันของถุงลมนิรภัยทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่ตัวเด็กทารกอย่างรุนแรงที่นั่งนิรภัยแบบไหนที่ป้องกันเด็กและทารกได้เป็นอย่างดี สำหรับทารกแรกเกิดที่นั่งนิรภัย แบบ carry seat ที่สามารถถอดประกอบกับที่นั่งนิรภัยได้ เหมาะสมที่สุด และการติดตั้งที่นั่งนิรภัย ควรติดตั้งในทิศหันหลังให้กับด้านหน้ารถ เนื่องจากลำคอของเด็กทารกยังไม่แข็งแรง ดังนั้นการติดตั้งแบบนี้จะช่วยประคองลำคอของทารกได้ดี การติดตั้งแบบหันหลังนี้ ควรใช้ไปจนถึงทารกหรือเด็กสามารถเดินได้ จึงค่อยเปลี่ยนมาเป็นหันหน้าออกสู่ด้านหน้ารถ เมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นจนกระทั่งศีรษะพ้นจากที่นั่งนิรภัย เป็นสิ่งที่บอกคุณพ่อคุณแม่ว่าได้เวลาเปลี่ยนที่นั่งนิรภัยอันใหม่ที่มีขนาดพอเหมาะกับร่างกายของเด็กแล้วที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กที่มีน้ำหนัก 9- 18 กิโลกรัม (หรืออายุไม่เกิน 4 ขวบ)ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กขนาดนี้มีระบบนิรภัย 2 แบบ แบบแรกเรียกว่า Impact shield และ แบบ Full belt safety harness ข้อดีของที่นั่งนิรภัยแบบ Impact shield นี้ คือ ในกรณีที่เกิดการชนกัน ที่นั่งนิรภัยแบบนี้จะรับแรงกระแทกได้ดีกว่าแบบ Full belt safety harness แต่แบบนี้เด็กจะนั่งได้สบายกว่า แต่การติดตั้งก็จะยุ่งยากกว่า และที่สำคัญ ต้องปรับเข็มขัดให้ติดแน่นกับตัวเด็ก เพราะเมื่อเกิดการชนกัน เข็มขัดจะเป็นส่วนที่ช่วยพยุงและป้องกันไม่ให้เกิดการกระแทกของตัวเด็กที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กที่มีน้ำหนัก 15- 25 กิโลกรัม (หรืออายุ3 ขวบครึ่ง ถึง 7 ขวบ)ที่นั่งสำหรับเด็กกลุ่มนี้สามารถปรับระดับความสูงของพนักพิงหลังได้ ซึ่งลำตัวของเด็กจะล็อคติดไว้กับ three point safety belt ซึ่งระบบนิรภัยแบบนี้จะเหมาะกับเด็กที่มีอายุมากกว่า 4 ขวบสำหรับการติดตั้งที่นั่งนิรภัยและวิธีการใช้ ควรศึกษาจากคู่มือการใช้งานและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้สมาคมยานยนต์แห่งเยอรมนี ยังได้ทดสอบความปลอดภัยของที่นั่งนิรภัยอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเราสามารถดูผลทดสอบเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อที่นั่งนิรภัยได้อีกเช่นกัน บางครั้งก็จะมีการแจ้งเตือนที่นั่งนิรภัยบางยี่ห้อ บางรุ่นที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย (www.adac.de) ซึ่งผู้ประกอบการก็จะตอบรับการแจ้งเตือนโดยการเรียกคืนสินค้า หรือนำสินค้ามาปรับปรุงเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้รับความมั่นใจในการใช้งานสูงสุด(แหล่งข้อมูล: วารสาร Test ฉบับที่ 11/2016)

อ่านเพิ่มเติม >