ฉบับที่ 212 มาความรู้จัก เครื่องมือ หาเสียง สื่อสังคมออนไลน์ “Socialbot”

มาความรู้จัก เครื่องมือ หาเสียง สื่อสังคมออนไลน์  “Socialbot”ประเทศของเรากำลังเข้าสู่ โหมดการเลือกตั้ง(รัฐบาลประกาศ 24 ก.พ. 62) และใกล้เวลาสำหรับการหาเสียงเลือกตั้งเต็มรูปแบบเข้ามาทุกขณะ ในประเทศสหรัฐอเมริกา Artificial Intelligence (AI) ได้ถูกนำมาใช้ ในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ผ่านมา จนทำให้เกิดบทเรียนมากมายจากเหตุการณ์ดังกล่าว  การใช้ Socialbot ซึ่งเป็นตัวอย่างของการใช้ AI ให้เป็นอาวุธทางการเมือง จนอาจนำไปสู่การละเมิดกฎหมายและหลักการการหาเสียงเลือกตั้งได้ ดังนั้นบทความนี้ขอกล่าวถึง เรื่อง Socialbot เนื่องจาก อาจเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องการเลือกตั้งในบ้านเมืองของเราได้เช่นกัน      Bot มาจากภาษาอังกฤษ ซึ่งคำเต็มๆ คือ Robot นั่นก็คือหุ่นยนต์ที่เรารู้จักกันดี แต่ในบริบทของโลกยุคไซเบอร์ ความหมายคือ Artificial Intelligence รูปแบบหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ เสมือนคนใน สื่อสังคมออนไลน์ เช่นใน Facebook หรือ twitter โดยจะส่งข่าวสารหรือความเห็นผ่านไปยังสื่อโซเชียลเหล่านี้ โดยพยายามในการสร้างกระแสขึ้นมา สำหรับคนทั่วๆ ไป เป็นการยากที่จะจำแนกว่า ข้อความหรือความเห็นดังกล่าวมาจาก Socialbot หรือ มาจากคนจริงๆ ในสื่อโซเชียล สำหรับเหตุผลในการใช้ Socialbot ก็คือเพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมือง รูปแบบการทำงานของ Socialbot คือ ค้นหา Keywords ในสื่อโซเชียล เมื่อค้นพบคำดังกล่าว ก็เริ่มปฏิบัติการให้ข้อมูลหรือ ให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนั้นๆ และพยายามในการสร้างบทสนทนากับคน(จริงๆ) โดยที่คนทั่วๆ ไปไม่ทราบเลยว่ากำลังพูดคุยกับ Socialbot อยู่ ความสามารถของ Socialbot คือ สามารถเลียนแบบพฤติกรรมหรือ รูปแบบการสนทนาของมนุษย์ได้ สามารถขอเป็นเพื่อนกับเราได้ใน Facebook สามารถติดตามการ twit ของมนุษย์ ใน twitter หรือส่งข้อความที่สร้างโดย Socialbot ได้เองอีกด้วย การทำงานของ Socialbot มีหลายอย่างแต่สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ใหญ่ ได้ 3 กลุ่มคือ  1 Overloadingเป็นกลไกการส่งข้อมูลเพื่อทำให้เกิดการท่วมท้น page ใด page หนึ่ง ในกรณีที่ Socialbot พบคำสำคัญ(Keywords) ที่ถูกกำหนดไว้ในโปรแกรม และทำการตอบโต้ ด้วยการกระทำดังกล่าวเพื่อทำลายกระบวนการ dialogue หรือ discuss ในประเด็นทางการเมืองนั้น 2 Trendsettingเป็นกลไกที่ Socialbot กำหนด เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้กลายเป็นประเด็นสาธารณะทั้งๆ ที่ ประเด็นนั้น เป็นเพียงประเด็นเล็กๆ น้อยๆ แต่ Socialbot ทำหน้าที่ในการปั่นกระแส จนคนที่ใช้ Social Media จริงๆ ก็อาจหลงไปร่วมถกแถลง อภิปรายในประเด็นนั้นๆ ด้วย เพราะเข้าใจว่า เป็นกระแสที่อยู่ในความสนใจสาธารณะ และบางครั้งอาจติดกับไปกับกระแสดังกล่าว ที่เป็นเพียงข่าวปลอม (Fake News) 3 Automatic trollsเป็นรูปแบบ ของ Socialbot ที่ใช้การเบี่ยงเบนความสนใจ ในประเด็นหลักของการสนทนาของคน 2 คน และหากคู่สนทนาติดกับดักก็อาจต้องเสียเวลาหลายๆ ชั่วโมงกับบทสนทนาที่ไร้ความหมายเหล่านี้ โดยที่ไม่ทราบว่ากำลังสื่อสารกับ Socialbot อิทธิพลของ Socialbotบ่อยครั้งที่ การทำงานของ Socialbot ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ Hate Speech และความรุนแรง โดยที่มียอดกด ไลค์ กดแชร์สูงมากจนคนทั่วไปเข้าใจว่า เป็นความเห็น ความชอบ ความนิยมของคนจริงๆ ส่วนใหญ่ในสังคม ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา มีจำนวนผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นจำนวนมาก ย่อมมีอิทธิพลต่อคนเป็นจำนวนมากเช่นกัน ในขณะที่ ผลการศึกษาในประเทศเยอรมนี ในช่วงการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมา ยังมีข้อโต้แย้งถึงอิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ ต่อผลการเลือกตั้ง เนื่องจากจำนวนประชากรที่ใช้ สื่อสังคมออนไลน์ในเยอรมนียังมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามในประเทศเยอรมนีพรรคการเมืองทุกพรรคทำสัตยาบันร่วมกันว่า จะไม่ใช้ Socialbot ในการหาเสียง จึงไม่ทำให้เกิดปัญหาความชอบธรรมในผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาเหมือนกับการเลือกตั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาสำหรับแนวทางการจัดการการเลือกตั้งในประเทศไทย เพื่อให้เกิดการเลือกตั้งที่โปร่งใส และเป็นธรรม การเฝ้าระวังและให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับความรู้เท่าทันสื่อออนไลน์จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วน แหล่งข้อมูลที่ผมนำมาเล่าให้ฟังนี้ ก็เป็นเวบไซต์ที่ให้ความรู้ในเชิง รู้เท่าทันสื่อโซเชียล ที่เกิดจากการทำงานของ สื่อสาธารณะและองค์กรผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการทำงานทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ที่จะต้องมีองค์กรที่เป็นกลางทางการเมืองมาทำหน้าที่จัดการเรื่องความรู้ของสังคม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 210 การประเมินนโยบายงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี (ตอนจบ)

การประเมินนโยบายงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี (ตอนจบ)    การจัดตั้งรัฐบาลผสมขนาดใหญ่ของเยอรมนี ย่อมส่งผลต่อนโยบายของรัฐบาลที่ต้องมีการผสมผสานจากนโยบายของพรรคต่างๆ ที่ได้หาเสียงไว้  สำหรับนโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี จัดทำเอกสาร เพื่อประเมินนโยบายของรัฐบาลผสมไว้ทั้งหมด 12 ประเด็น ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ ฉบับนี้เป็นตอนจบแล้ว การบริโภคที่ยั่งยืน และการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ (sustainability consume and resource protection)นโยบาย Agenda 2030 เป็นนโยบายที่นำสู่การปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรมในการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเสาหลักทางนโยบายของรัฐบาล โดยจะใช้แผนยุทธศาสตร์ชาติในประเด็นความยั่งยืน ต่อไปและมีการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ควบคู่ไปด้วย โดยจะโยงไปสู่ข้อตกลงระหว่างชาติไม่ว่าจะเป็นเวที G 7, G 20 Agenda 2030 ของสหประชาชาติ ในประเด็น SDG (Sustainability Development Goal) และข้อตกลงว่าด้วยเรื่องสภาพภูมิอากาศปารีส (the Paris Agreement on climate protection) ต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคเห็นด้วยกับนโยบายนี้ ที่มีการพูดถึงในการทำสัญญาจัดตั้งรัฐบาลผสม ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดี แต่ต้องติดตามว่าจะบรรลุความสำเร็จในทางปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใดนโยบาย National Program for sustainable consumption (แผนยุทธศาสตร์ชาติสำหรับการส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน นโยบายนี้รัฐบาลจะส่งเสริมต่อไปและจะพัฒนา เสริมสร้างความเข้มแข็งของศูนย์เรียนรู้ในการส่งเสริมสมรรถภาพการบริโภคที่ยั่งยืน และรัฐบาลจะสนับสนุนตลอดจนผ่อนคลายข้อกำหนดที่อาจเป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่มีพนักงานไม่เกิน 500 คนในสถานประกอบการ ต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคเห็นด้วยกับนโยบายนี้ แต่รัฐบาลก็ควรให้การสนับสนุนประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่นอกโปรแกรมนี้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ การส่งเสริมความเข้มแข็งของศูนย์เรียนรู้การบริโภคที่ยั่งยืน จำเป็นที่จะต้องมีมุมมองของฝั่งผู้บริโภครวมอยู่ด้วย และเสนอว่าให้ องค์กรผู้บริโภคในฐานะที่เป็นกลุ่มและตัวแทนผู้บริโภคเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงาน CSR- Report responsibility ภายใต้หน่วยงานรัฐ National Action Plan for Economy and Human Right (NAP) จะต้องติดตามระบบการทำงานของห่วงโซ่ทางเศรษฐกิจ จะใช้มาตรการภาคสมัครใจในการรายงานประจำปีต่อสถานการณ์ความรับผิดชอบทางสังคม และความใส่ใจในประเด็นสิทธิมนุษยชน ตามข้อตกลง NAP 2020 หากมาตรการภาคสมัครใจไม่สามารถยกระดับความรับผิดชอบทางสังคม และสิทธิมนุษยชนได้ รัฐบาลอาจออกกฎหมายมาบังคับใช้ โดยอิงตามกรอบของอียู ต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะการแบ่งขนาดของผู้ประกอบการในการ ผ่อนคลายข้อกำหนดของอียู แต่ไม่ควรยกเว้นมาตรการภาคสมัครใจในการจัดทำ CSR- Report การออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้ รัฐบาลควรติดตามแนวโน้มของสถานการณ์ที่จะถึงในปี 2020 หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น นั่นคือ มีผู้ประกอบการไม่ถึง 50 % ที่จัดทำรายงาน CSR-Report รัฐบาลก็สามารถใช้มาตรการบังคับใช้กฎหมายได้ Resource Protection/ Repair ability นโยบาย Reduce Reuse and Recycle เป็นมาตรการสำคัญในการ พัฒนานโยบายทางสิ่งแวดล้อมในระดับ อียู ผู้ประกอบการ ควรให้ความสำคัญกับ เรื่อง อายุการใช้งานของสินค้าที่ยาวนานขึ้น มีนโยบายในการรับซ่อมแซมสินค้า และการนำผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์กับมาใช้ใหม่ ต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล องค์กรผู้บริโภคให้ความสำคัญกับนโยบายที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการ มีนโยบายการเพิ่มอายุการใช้งานของสินค้า การรับซ่อมสินค้าที่ชำรุดบกพร่องโดยไม่สร้างภาระให้กับผู้บริโภคมากจนเกินไป อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังไม่มีรายละเอียดในการทำให้นโยบายเป็นจริง  การค้าข้ามชาติ (International commerce) การรู้เท่าทัน (consumer education) และ การเฝ้าระวังกลไกตลาด (market surveillance) นโยบายการค้าข้ามชาติ : รัฐบาล จะลงนามข้อตกลงตามกรอบของ CETA ระหว่างอียูกับแคนาดา ในประเด็นเรื่อง การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองสุขภาพประชาชน สิทธิแรงงาน และการคุ้มครองนักลงทุน ต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า เป็นนโยบายที่ยังไม่มีรายละเอียดในทางปฏิบัติ แต่สนับสนุนในประเด็น การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม สิทธิแรงงาน และสุขภาพประชาชน รัฐบาลต้องไม่ละเลยคุ้มครอง สิทธิผู้บริโภค โดยเฉพาะในประเด็นทางสุขภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจ และเชื่อมั่นต่อประเด็นการทำการค้าข้ามชาติ ในยุค Gloabalization รัฐบาลต้องใส่ใจกับประเด็น การค้าที่เป็นธรรม (Fairtrade) ซึ่งรัฐบาลต้องกลับมาสนใจในประเด็น e commerce การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และให้ความสำคัญในหลักการ precautionary principle ซึ่งรัฐบาลจำเป็นที่จะต้องกลับไปทบทวนการปฏิรูปในประเด็นการคุ้มครองนักลงทุนใหม่ การรู้เท่าทัน (consumer education): รัฐบาลสนับสนุนสื่อการเรียนการสอน (Material compass) ซึ่งเป็นสื่อของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ต่อประเด็นงานคุ้มครองผู้บริโภค และจะสนับสนุนงานทางด้านการรู้เท่าทันในประเด็น การคุ้มครองผู้บริโภค Consumer Education Digital Competency (การรู้เท่าทันสังคมดิจิตัล) และการบริโภคที่ยั่งยืน สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนนโยบายนี้เป็นอย่างยิ่ง และเสนอว่าการให้ความรู้ทางด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค เป็นงานของหน่วยงาน(ไม่ใช่งานที่เป็น โปรเจคต์ เหมือนอย่างในปัจจุบัน) การเฝ้าระวังกลไกตลาด (market surveillance) : รัฐบาล สนับสนุนกลไกการเฝ้าระวังการกำกับดูแลตลาด โดยจะเพิ่มงบประมาณ และมาตรการทางกฎหมาย สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนแนวความคิดนี้ ที่รัฐจะควบคุมและกำกับตลาดได้แก่ finance market, digital world และ Energy sector ---- ประเด็นนโยบายผู้บริโภค 12 เรื่อง ได้แก่ การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค (Right and Right receiving), การคุ้มครองผู้บริโภคในโลกยุคดิจิตัล (Digital  world), ตลาดเงิน ตลาดทุน (Financial market), การประกันสุขภาพและการดูแลผู้ป่วย (health and care insurance market), อาหาร (food market), พลังงาน (Energy market), อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย (Real estate and accommodation), การเดินทาง การท่องเที่ยว (Mobility and tourism), การบริโภคที่ยั่งยืน และการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ (sustainability consume and resource protection), การค้าข้ามชาติ (International commerce), การรู้เท่าทัน (consumer education), การเฝ้าระวังกลไกตลาด (market surveillance) สามารถติดตามย้อนหลังได้จากฉบับก่อนหน้า

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 209 การประเมินนโยบายงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี (ตอน 5)

หลังจากที่พรรค CDU ของนางแองเจล่าร์ แมร์เคลประสบความสำเร็จได้รับคะแนนเสียงสูงสุดจากการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อปีที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถได้รับคะแนนเสียงข้างมากได้ และคะแนนนิยมตกต่ำลงซึ่งเป็นผลพวงมาจาก นโยบายการรับผู้อพยพลี้ภัย โดยไม่คำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยภายใน ส่งผลให้การเจรจากับพรรคอื่น ไม่ว่าจะเป็น พรรค FDP หรือ พรรค The Green Party ประสบความล้มเหลว และในที่สุด ก็สามารถจัดตั้งพรรครัฐบาลผสมโดยพรรคขนาดใหญ่ 3 พรรค คือ พรรค CDU CSU ซึ่งเป็นพรรคการเมืองสายอนุรักษ์นิยม และพรรค SPD เป็นพรรคสายสังคมนิยม การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสม ได้สั่นคลอนความเป็นปึกแผ่นของพรรค SPD มีการเปลี่ยนผู้นำพรรคและผู้บริหารพรรค อย่างหืดขึ้นคอทีเดียว สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี ก็ได้จัดทำความเห็นขององค์กรผู้บริโภคต่อนโยบายของรัฐบาล ประเด็นเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อประเมินนโยบายของรัฐบาลผสมขนาดใหญ่ของทั้งสามพรรค โดยมีทั้งหมด 12 ประเด็น และได้เล่าไปในทั้ง 4 ตอนที่ผ่านมา ครั้งนี้ขอกล่าวถึงต่อในประเด็นของอสังหาริมทรัพย์นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคต่อประเด็น อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย (Real estate and accommodation)โครงการสร้างที่อยู่อาศัย และบ้านพักสวัสดิการเพิ่มเติม จำนวน 1.5 ล้านยูนิต โดยใช้งบประมาณจากรัฐบาลสนับสนุนถึง 2,000 ล้านยูโร เจ้าของผู้ให้เช่า จะต้องแจ้งราคาค่าเช่าให้ผู้เช่ารับทราบ ถึงราคาค่าเช่าก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นผลทางกฎหมายที่กำกับธุรกิจการให้เช่าที่พักอาศัยและอสังหาริมทรัพย์  สำหรับผู้เช่าจะได้รับราคาค่าเช่าที่ลดลง ซึ่งเป็นต้นทุนที่เกิดจากการ ปรับปรุงที่พักอาศัย จากเดิมที่คิดเป็น 11 เปอร์เซ็นต์ต่อ ตารางเมตร ให้ลดลงเหลือเพียง 8 เปอร์เซ็นต์ต่อตารางเมตร เพื่อป้องกันการ คิดราคาค่าเช่าเพิ่มอย่างไม่เป็นธรรมและไม่มีเหตุผล นอกจากนี้ เจ้าของผู้ให้เช่า จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพิ่มเติมสำหรับการปรับปรุงที่พักอาศัยที่ ทำให้เกิดการประหยัดและลดการใช้พลังงาน ตลอดจนรัฐบาลจะไม่เพิ่มภาระจากการออกมาตรฐาน energy efficiency standards บังคับใช้สำหรับบ้านหรือที่พักอาศัยที่จะสร้างขึ้นใหม่ต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคเห็นด้วยกับนโยบายนี้ แต่เรื่องการให้งบประมาณสนับสนุนยังขาดมิติในเรื่องของเวลาที่จะควรกำหนดกรอบเวลาในการสนับสนุนให้ชัดเจนขึ้น และมาตรการการสนับสนุนมาตรการทางภาษี ยังให้การสนับสนุนในวงเงินที่ค่อนข้างต่ำ และการสนับสนุนการก่อสร้างที่พักอาศัยขึ้นใหม่ โดยใช้มาตรการทางการเงินที่เรียกว่า KfW 55 Standard ต้องนำมาใช้ประกอบกันด้วยเพื่อให้ ที่อยู่อาศัยที่จะสร้างขึ้นใหม่นั้น สามารถลดการใช้พลังงานได้จริง(หมายเหตุ KfW 55 standard เป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่กำหนด โดย ธนาคาร KFW ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ในบ้านเรา แต่มีมิติของการอนุรักษ์การใช้พลังงาน เป็นเงื่อนไขในการปล่อยกู้ และสนับสนุนมาตรการทางการเงิน และมาตาการทางภาษีให้กับ เจ้าของที่พักอาศัยในธุรกิจบ้านเช่า)นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคต่อประเด็น การเดินทาง การท่องเที่ยว(Mobility and tourism)ประเด็นการห้ามรถยนต์ดีเซล (Diesel Driving Prohibition)รัฐบาลมีนโยบายในการป้องกันรักษาคุณภาพของอากาศ ลดปริมาณการปล่อยก้าซพิษ บนท้องถนน โดยคำนึงถึง ข้อจำกัดทางเทคนิค และข้อจำกัดทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงคุณภาพของรถยนต์ โดยเฉพาะภายในปี 2018 นโยบายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซ ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) โดยจะพิจารณาถึงมาตรการ การติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพื่อลดการปล่อยก๊าซดังกล่าวต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ที่จะห้ามรถยนต์ดีเซลวิ่งบนท้องถนน สำหรับผู้ประกอบการ ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ดีเซล จะต้องรับผิดชอบ ต่อลูกค้าของตน ในการติดตั้งอุปกรณ์เสริม สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลมาตรฐาน Euro 5 ตลอดจนไม่ผลักภาระไปให้กับลูกค้ารถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (Electro mobility)โครงการการก่อสร้างสถานีชาร์จไฟฟ้า ที่จะสร้างขึ้นจำนวน 100,000 สถานี ภายในปี 2020 และมีมาตรการสนับสนุนการก่อสร้างสถานีชาร์จสำหรับเจ้าของที่พักอาศัยและผู้เช่า ตลอดจนพัฒนากฎหมายที่ส่งเสริมระบบการจ่ายเงินค่าชาร์จไฟที่เป็นมิตรกับผู้ใช้สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนนโยบายการก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการใช้ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ตลอดจนการสนับสนุนเจ้าของที่พักอาศัย และผู้เช่าให้มีส่วนร่วมกับโครงสร้างพื้นฐานที่จะนำไปสู่การยอมรับการเป็นสังคมการใช้รถไฟฟ้า สำหรับประเด็นระบบการจ่ายเงิน และการคิดค่าชาร์จไฟที่เป็นมิตรกับผู้บริโภค จะต้องคำนึงถึงประเด็นทางด้านความโปร่งใสของราคา แต่ละสถานีชาร์จไฟ และจำกัดเพดานของ ค่าธรรมเนียมจากการ roaming ข้อมูลนโยบาย รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ(autonomous driving) ประเด็นนี้ จะต้องคำนึงถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และผลักดันให้เกิดกฎหมายเฉพาะออกมาบังคับใช้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในระบบการจราจรสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนแนวความคิดนี้ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของสังคม นอกจากนี้ กฎหมายเฉพาะที่จะออกมาบังคับใช้นั้น ควรให้ทางผู้ประกอบการมีส่วนรับผิดด้วย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีกระบวนการ อภิปรายถกเถียง และปรึกษาหารือของสังคม เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่แบบนี้ ย่อมนำไปสู่ประเด็น เรื่องจริยธรรมใหม่ของสังคมตามมาด้วยเช่นกันระบบการขนส่งมวลชน และการขนส่งผู้โดยสารยุคใหม่ (Mobility platforms and personal transportation law) ปัจจุบันเป็นยุค ดิจิตัล การจัดการ และการเชื่อมต่อข้อมูล การโดยสารและขนส่ง เพื่อตอบโจทย์ทางด้านการขนส่งที่เป็นมิตรกับผู้โดยสารเป็นเรื่องสำคัญ ในระบบการขนส่งมวลชนสาธารณะ กฎหมายที่เกี่ยวข้องการขนส่งผู้โดยสารจำเป็นต้องมีการพัฒนาและปรับปรุง  เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในยุค 4.0สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนแนวความคิดนี้ และให้ความสำคัญกับการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การเดินทางและการขนส่งมวลชนยุคใหม่ ภายใต้การรักษาคุณภาพชีวิต และมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ผู้บริโภคสามารถวางแผนการเดินทาง จองตั๋วโดยสาร และจ่ายเงินได้อย่างสะดวกภายใต้ระบบการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคใช้บริการขนส่งมวลชนสาธารณะ จำเป็นที่จะต้องมีองค์กรหรือหน่วยงานที่จะเป็นปากเสียงและสะท้อนความต้องการของผู้บริโภคเกิดขึ้นครั้งหน้าจะนำเสนอ ความเห็นต่อนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านการบริโภคที่ยั่งยืน และการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ (sustainability consume and resource protection) และนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคจากการค้าข้ามชาติ (International commerce)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 208 การประเมินนโยบายงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี ตอนที่ 4

สำหรับความเห็นขององค์กรผู้บริโภคต่อนโยบายของรัฐบาลต่อประเด็นเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี ได้จัดทำเอกสาร เพื่อประเมินนโยบายของรับบาลผสมขนาดใหญ่ของทั้งสามพรรค โดยมีทั้งหมด 12 ประเด็น ซึ่งในตอนที่ 1-3 ได้นำเสนอไป ในส่วนของการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภคในโลกยุคดิจิทัล ตลาดเงิน ตลาดทุน การประกันสุขภาพและการดูแลผู้ป่วย ไปแล้ว คราวนี้ขอนำเสนอในส่วนที่สำคัญคือประเด็นเรื่องอาหารนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคต่อประเด็นอาหาร(Food market)ประเด็นสวัสดิภาพของปศุสัตว์ ทางคณะรัฐมนตรีมีนโยบายในการออกกฎหมายและตั้งหน่วยงานรัฐในการตรวจสอบ พัฒนานโยบาย โดยเฉพาะแหล่งเพาะเลี้ยง ตลอดจนการลดช่องว่างของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปศุสัตว์ต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคเห็นด้วยกับนโยบายนี้ แต่อยากให้รัฐบาลดำเนินการอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ควรวางกรอบระยะเวลา การดำเนินการ และงบประมาณให้ชัดเจน ตลอดจนคำนึงถึงกฎระเบียบของอียูในมิติที่เกี่ยวข้องกับ การติดฉลาก ที่จะต้องเพิ่มเข้าไปในวาระการดำเนินการตามกรอบเวลานโยบายการควบคุมความปลอดภัยของอาหาร รัฐบาลมีนโยบายในการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนอาหารที่ไม่ปลอดภัย และกำหนดค่าปรับจากการละเมิด พระราชบัญญัติอาหาร และอาหารสัตว์ (LFGB §40 Abs. 1a) อย่างชัดเจน ผู้ประกอบการสามารถเผยแพร่ผลการตรวจสอบได้โดยความสมัครใจ และให้อำนาจบางประการแก่มลรัฐโดยระบุไว้ ใน พ.ร.บ. อาหารและอาหารสัตว์ต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่าน่าผิดหวังสำหรับมาตรการของรัฐ แบบนี้ คณะรัฐมนตรี ควรรีบดำเนินการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.อาหารและอาหารสัตว์ อย่างเร่งด่วน  สำหรับการเปิดเผยข้อมูลของผู้ประกอบการภาคสมัครใจ และการให้อำนาจของรัฐบาลท้องถิ่นนั้น ทางสหพันธ์มองว่า ไม่เพียงพอในการคุ้มครองผู้บริโภค ในประเด็นเรื่องความโปร่งใสของข้อมูล เนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลแบบสมัครใจ นำไปสู่การหมกเม็ดของปัญหา และเปิดช่องให้ผู้ประกอบการที่เป็นแกะดำของวงการธุรกิจเนื้อสัตว์หลบเลี่ยงการถูกตรวจสอบได้ นโยบายการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหาร คณะรัฐมนตรีมีนโยบายให้หน่วยงานที่คุ้มครองสุขภาพผู้บริโภค ประเมินช่องว่าง และกำจัดจุดอ่อนของกลไกปัจจุบัน สนับสนุนระบบเชื่อมต่อการแจ้งเตือนระหว่างรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น ผ่านเวบไซต์ www.lebensmittelwarnung.de ซึ่งเป็นเวบไซต์ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน(user friendly plattform)ต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องกำหนดรายละเอียดในมาตรการดังกล่าว และสนับสนุนเวบไซต์การแจ้งเตือนอาหารอันตราย ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งานภาวะโภชนาการ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับงานทางด้านภาวะโภชนาการของชาติ และการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ พลานามัยจะจัดทำแผนการดำเนินงานในปี 2018 โดยจะเน้นไปที่การพัฒนาระบบการให้ข้อมูล และฉลากโภชนาการ ภายใต้โครงการ IN FORM ต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคเห็นด้วยกับนโยบายนี้ และทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ก็เสนอตัวในการเข้าร่วมดำเนินการในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อนโยบายนี้ โดยเฉพาะประเด็นการจัดทำฉลาก และข้อมูลทางโภชนาการที่จะต้องเน้นในด้านความชัดเจน เข้าใจง่าย และเปรียบเทียบกันได้ แต่ยังกังวลในรายละเอียด โดยเฉพาะประเด็นฉลากโภชนาการที่ใช้สีไฟจราจรอธิบาย และการใช้ทรัพยากรจากโครงการ IN FORM ควรมีการพัฒนานโยบายร่วมใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างองค์กรต่างๆโดยสรุปสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า ในขณะที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการกำกับดูแล และเฝ้าระวังเรื่องสวัสดิภาพของปศุสัตว์ แต่กลับเปิดช่องให้เกิดการปกปิดข้อมูล สำหรับการเผยแพร่ต่อสาธารณะ และกังวลว่ามาตรการการคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภคที่รัฐบาลให้ความสำคัญ จำเป็นต้องมีรายละเอียดในการดำเนินการออกมาอย่างรวดเร็วนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคต่อประเด็น พลังงาน (Energy market)ประเด็นการรักษาสภาพภูมิอากาศ(Climate Protection)รัฐบาลมีนโยบายในการป้องกันรักษาสภาพอากาศ ให้บรรลุเป้าหมายปี 2030 โดยจะออกมาตรการที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในปี 2019 โดยมีผลในการกำกับ กลุ่มตลาดไฟฟ้า อาคารและการคมนาคมขนส่งต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากสอดคล้องกับแผนปฏิรูปพลังงานในเฟสการดำเนินการที่จะถึงนี้ แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังไม่มีรายละเอียดในการดำเนินการของแผน ซึ่งสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการป้องกันรักษาสภาพอากาศของผู้บริโภคที่เป็นปัจเจก และผู้บริโภคที่อยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และเป็นกลุ่มที่เช่าที่อยู่อาศัยการปฏิรูปพลังงาน การปฏิรูปพลังงาน เป็นการเพิ่มภาระด้านค่าใช้จ่ายให้กับผู้บริโภครายเล็กอย่างไม่เป็นธรรม และแผนการขยายโครงข่ายไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ก็จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำต่อภาระค่าใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น รัฐบาลรับประกันว่าจะมีการเฝ้าระวังภาระค่าใช้จ่ายเป็นระยะๆ โดยมีกฎหมายรองรับเพื่อให้ผู้บริโภครายเล็กรายน้อยสามารถจ่ายได้สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า การเฝ้าระวังค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ไม่เพียงพอ แต่รัฐบาลควรมีมาตรการเสริมตาม เช่น การลดภาระค่าไฟให้กับผู้บริโภครายเล็ก โดยไปลดเงินสนับสนุนที่ให้กับภาคอุตสาหกรรมภายใต้กฎหมายปฏิรูปและสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน(EEG: German Renewable Energy Source Act) โดยให้ลดภาษีของไฟฟ้า และลดเงินสนับสนุนจากภาษีที่ให้กับภาคอุตสาหกรรมลง และจำกัดงบประมาณการขยายโครงข่ายไฟฟ้าลง โดยให้ขยายเท่าที่จำเป็น และหามาตรการอื่นในการลดการขยายโครงข่าย เพื่อไม่ให้ผู้บริโภครายย่อยแบกรับภาระเกินความจำเป็นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลกลางมีแนวคิดพัฒนานโยบายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้นโยบาย “Efficiency First” ประสิทธิภาพต้องมาก่อนสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคยังตั้งข้อสงสัยต่อความสำเร็จของนโยบายนี้ หากร่างกฎหมายอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพยังถูกแช่แข็งอยู่ ซึ่งนโยบายใหม่นี้จะไม่ประสบความสำเร็จหากร่างกฎหมายดังกล่าวไม่ประกาศการบังคับใช้ออกมา จะส่งผลให้แผนในการลดการใช้พลังงานลง 50% ภายในปี 2050 ยังห่างไกลความสำเร็จอีกมากโดยสรุปสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า แม้จะมีการทำสัญญาจัดตั้งรัฐบาลร่วม และในข้อสัญญามีการพูดถึงแนวทางในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันสภาพการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ แต่ ท่าทีของรัฐบาลผสมยังไม่ชัดเจนมากนัก โดยเฉพาะระบบสนับสนุนงบประมาณแบบใหม่ ที่จะช่วยลดภาระของผู้บริโภครายย่อย และการเพิ่มสิทธิให้กับผู้บริโภคในกิจการพลังงานครั้งหน้าจะนำเสนอ ความเห็นต่อนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย(Real estate and accommodation) การเดินทาง การท่องเที่ยว(Mobility and tourism) 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 207 การประเมินนโยบายงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐบาลเยอรมนี โดย สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี (ตอนที่ 3)

ตามที่กล่าวไว้ สำหรับตอนที่สามนี้ จะเป็นความเห็นของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนีต่อนโยบายของรัฐบาลต่อประเด็นเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค โดยคราวนี้จะกล่าวถึง ระบบการให้บริการสุขภาพ (Health service and Health care market) ซึ่งสหพันธ์ฯ เป็นผู้จัดทำขึ้น นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคต่อประเด็น ระบบการให้บริการสุขภาพ (Health service and Health care market)ทางคณะรัฐมนตรีเสนอให้กลับไปใช้ระบบประกันสุขภาพแบบเดิมที่ให้ อัตราการจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสุขภาพภาคบังคับ (Gesetzlich Krankenversicherung) ของนายจ้างและลูกจ้างในอัตราส่วนที่เท่ากัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2019 แต่ก็เปิดโอกาสให้กับคนที่สนใจ สามารถจ่ายเงินเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความคุ้มครองได้ด้วยเช่นกัน (individual Zusatzversicherung)ต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า นโยบายนี้จะช่วยลดภาระของลูกจ้างหรือคนทำงาน ในการที่จะแบกรับอัตราการจ่ายเงินที่จะสูงมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้มาตรการอื่นๆ ที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประเด็นความโปร่งใส (Transparency and Governance) การตรวจสอบการบริหารงานของบริษัทที่รับประกันสุขภาพ ซึ่งมีหลายบริษัทในตลาด ก็มีความจำเป็นเพื่อให้นโยบายนี้เป็นจริงในทางปฏิบัติในส่วนของนโยบาย Health care service market .ในสัญญาการจัดตั้งพรรคร่วมรัฐบาล นโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ คือ บทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพ Health care serviceต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า การให้ความสำคัญกับนโยบาย Health care service เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากและเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับมาตรการอื่นๆ ที่จะตามมา เพื่อยกระดับการให้บริการ ทางด้าน Health care service ให้ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคกังวลว่า หากไม่มีการบริหารจัดการทางการเงินที่ดี ก็มีความเสี่ยงที่ประชาชน ผู้จ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสุขภาพ อาจเผชิญภาระทางการเงินที่เพิ่มขึ้น โดยสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคเสนอว่า ให้แก้กฎหมายประกันสังคม (Sozialen Pflegeversicherung) ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระบบ Health care service นโยบาย การจัดทำแฟ้มบันทึกข้อมูลผู้ป่วยดิจิทัล (Electronic Patient Record) โดยจะเริ่มในปีงบประมาณนี้ เพื่อตอบโจทย์ การรักษาแบบทางไกล (Telemedicine) และแฟ้มบันทึกข้อมูลนี้จะช่วยในเรื่องการวางแผนในการเตรียมความพร้อมสำหรับการให้บริการ Health Care service โดยเฉพาะ ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ Health Care Service สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาอย่างรวดเร็วต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ในยุคดิจิทัล จะเป็นประโยชน์ต่อระบบการให้บริการทางด้านสุขภาพเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบริการทางด้าน Health care service“การซื้อขายยาออนไลน์ รัฐบาลต้องการสนับสนุนให้ร้านขายยาในชุมชนมีความเข้มแข็ง ดังนั้นรัฐบาลมีนโยบายจะห้ามการซื้อขายยาที่ต้องการใบสั่งยาจากแพทย์” ต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า การห้ามซื้อขายยาออนไลน์ แบบเหมารวม ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาในระยะยาว และไม่ได้เพิ่มความเข้มแข็งให้กับร้านขายยา ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และไม่ได้เพิ่มบทบาทให้กับเภสัชกรในร้านขายยา ที่มีหน้าที่ในการให้คำแนะนำในการใช้ยาสิทธิของผู้ป่วย เพื่อเพิ่มความสำคัญให้กับสิทธิของผู้ป่วย การตั้งกองทุนเยียวยาความเสียหายให้กับผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางด้าน Health care service เพื่อที่จะลดปัญหาการดำเนินคดีความ ที่อยู่ภายใต้กฎหมาย การรับผิดจากการละเมิด (Patientenrechtegesetz) ที่ไม่คุ้มครองสิทธิผู้ป่วยในเรื่องภาระการพิสูจน์บทสรุปของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคต่อนโยบายการให้บริการสุขภาพ คือ รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการอื่นๆ มาสนับสนุน และรัฐบาลควรที่จะให้ความสำคัญกับมุมมอง และความต้องการของผู้บริโภคโดยเฉพาะกระบวนการออกแบบนโยบายทางด้านสุขภาพในอนาคต โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องระบบการเงินการคลัง ใน Health care service ทั้งหมดจะต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัล และมองว่าการห้ามการซื้อขายยาออนไลน์ เป็นนโยบายที่ไม่ถูกต้องฉบับนี้ขอจบตรงนี้ก่อน  ครั้งหน้าจะนำเสนอ ความเห็นต่อนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านอาหาร (Food market policy) ครับ--------------------------------------เอกสารเพื่อประเมินนโยบายของรับบาลผสมขนาดใหญ่ของทั้งสามพรรค โดยมีทั้งหมด 12 ประเด็น ได้แก่• การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค (Right and Right receiving) ดู ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 205• การคุ้มครองผู้บริโภคในโลกยุคดิจิตัล (Digital  world) ดู ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 205• ตลาดเงิน ตลาดทุน (Financial market) ดู ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 206• การประกันสุขภาพและการดูแลผู้ป่วย (health and care insurance market)• อาหาร (food market)• พลังงาน (Energy market)• อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย (Real estate and accommodation)• การเดินทาง การท่องเที่ยว (Mobility and tourism)• การบริโภคที่ยั่งยืน และการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ (sustainability consume and resource protection)• การค้าข้ามชาติ (International commerce)• การรู้เท่าทัน (consumer education)• การเฝ้าระวังกลไกตลาด (market surveillance)(ที่มา เว็บไซต์สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี https://www.vzbv.de/.../ausfuehrliche_bewertung_koav_vzbv.pdf) 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 การประเมินนโยบายงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี (ตอนจบ)

หลังจากที่พรรค CDU ของนางแองเจล่าร์ แมร์เคลประสบความสำเร็จได้รับคะแนนเสียงสูงสุดจากการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อปีที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถได้รับคะแนนเสียงข้างมากได้ และคะแนนนิยมตกต่ำลงซึ่งเป็นผลพวงมาจาก นโยบายการรับผู้อพยพลี้ภัย โดยไม่คำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยภายใน ส่งผลให้การเจรจากับพรรคอื่น ไม่ว่าจะเป็น พรรค FDP หรือ พรรค The Green Party ประสบความล้มเหลว และในที่สุด ก็สามารถจัดตั้งพรรครัฐบาลผสมโดยพรรคขนาดใหญ่ 3 พรรค คือ พรรค CDU CSU ซึ่งเป็นพรรคการเมืองสายอนุรักษ์นิยม และพรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคสายสังคมนิยม การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสม ได้สั่นคลอนความเป็นปึกแผ่นของพรรค SPD มีการเปลี่ยนผู้นำพรรค และ ผู้บริหารพรรค นอกจากนี้ หลังการเจราจาจัดตั้งรัฐบาลผสมแล้ว ก็ยังมีการทำสัตยาบรรณ(Koalitionsvertrag) ในการเข้าเป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดยสิ่งที่น่าสนใจสำหรับ พรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคสายสังคมนิยม คือ การลงคะแนนเสียงของสมาชิกพรรคเพื่อยอมรับสัตยาบรรณ ดังกล่าว ซึ่งเสียงของสมาชิกส่วนใหญ่ (66.02%) จากสมาชิกพรรคทั้งหมด 463,723 คน เรียกได้ว่า การจัดตั้งรัฐบาลผสมขนาดใหญ่ผ่านอุปสรรคด่านแรกไปอย่างหืดขึ้นคอทีเดียวสำหรับความเห็นขององค์กรผู้บริโภคต่อนโยบายของรัฐบาลต่อประเด็นเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี จัดทำเอกสาร เพื่อประเมินนโยบายของรับบาลผสมขนาดใหญ่ของทั้งสามพรรค โดยมีทั้งหมด 12 ประเด็นได้แก่• การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค (Right and Right receiving)• การคุ้มครองผู้บริโภคในโลกยุคดิจิตัล (Digital  world)• ตลาดเงิน ตลาดทุน (Financial market)• การประกันสุขภาพและการดูแลผู้ป่วย (health and care insurance market)• อาหาร (food market)• พลังงาน (Energy market)• อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย (Real estate and accommodation)• การเดินทาง การท่องเที่ยว (Mobility and tourism)• การบริโภคที่ยั่งยืน และการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ (sustainability consume and resource protection)• การค้าข้ามชาติ (International commerce)• การรู้เท่าทัน (consumer education)• การเฝ้าระวังกลไกตลาด (market surveillance)นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคต่อประเด็น ตลาดเงิน ตลาดทุน (Financial market) ทางคณะรัฐมนตรีเสนอให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการจัดการการประกันเงินบำนาญ ชราภาพแห่งชาติ โดยทำหน้าที่ ศึกษาและจัดทำข้อเสนอ ในการพัฒนารูปแบบการจัดการระบบประกันเงินบำนาญ ชราภาพ ภาคบังคับ (Gesetzliche Renterversicherung) เนื่องจาก ระบบสวัสดิการของประเทศเยอรมันนั้น เมื่อคนทำงานมีรายได้ จะถูกหักเงินรายได้ส่วนหนึ่งเข้ากองทุนเงินบำนาญชราภาพ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับการหักเงินประกันสังคมในบ้านเรานั่นเอง วัตถุประสงค์การจัดตั้งคณะกรรมการชุดนี้คือ เพื่อทำให้กองทุนบำนาญชราภาพ ที่จัดเก็บจากรายได้ประชาชนและเงินสมทบของผู้ประกอบการ ให้เกิดความยั่งยืน ภายในปี 2025 องค์ประกอบของคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจาก ภาคประชาสังคม ภาคการเมือง และภาคธุรกิจต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า การตั้งคณะกรรมการชุดนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญในการที่จะต้องมีตัวแทนฝ่ายองค์กรผู้บริโภคเข้าไปร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย เพราะระบบการประกันบำนาญ ชราภาพ ไม่ได้มีเฉพาะการประกันภาคบังคับเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการประกันเงินบำนาญชราภาพ ภาคสมัครใจ ที่ มีผู้บริโภคอีกเป็นจำนวนมากที่ใช้บริการ การประกันภาคสมัครใจอยู่ และมีผลต่อนโยบายการประกันเงินบำนาญชราภาพในภาพรวมของประเทศ การจัดระบบการประกันเงินบำนาญชราภาพภาคสมัครใจ (Private Altersvorsorge) รัฐบาลมีนโยบายในการจัดการระบบ ประกันเงินบำนาญชราภาพใหม่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้เอาประกัน โดยมีกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น(Dialog) ระหว่าง ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียของทุกภาคส่วน และ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงระบบการประกันบำนาญชราภาพ ภาคสมัครใจที่เป็นมาตรฐาน( Riester Rente) ตอนนี้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน(หมายเหตุ Riester Rente เป็นมาตรการ การปฏิรูประบบการประกันเงินบำนาญชราภาพ ที่ จัดเป็นการประกันภาคสมัครใจของผู้ทำงานมีรายได้ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2000- 2001 ภายใต้การเป็นรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานของนาย Walter Riester สังกัดพรพรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคสังคมนิยม โดยหักจากเงินรายได้ของผู้เอาประกันและ เงินสมทบที่รัฐบาลช่วยเหลือ) ต่อประเด็นนี้ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนแนวความคิดในการปฏิรูประบบการประกันเงินบำนาญชราภาพใหม่ เพื่อให้คุณภาพของระบบประกันเงินบำนาญชราภาพดียิ่งขึ้น โดยที่เงินที่จ่ายเข้ากองทุนนี้ต้องลดลง แต่ให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น โดยใช้มาตรการ การลดค่าการตลาด ซึ่งในกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น(Dialog) นั้น การมีส่วนร่วมนอกจากภาคตัวแทนภาคธุรกิจแล้ว องค์กรภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการจัดทำ dialog โดยเฉพาะองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน รัฐบาลจะจัดให้มีการประเมินกลไก การคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินต่อประเด็นนี้ สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมีความเห็นสนับสนุน การประเมินมาตรการที่ใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ควรให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลในการทำรายงานผลการประเมินมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินต่อสาธารณะ และควรระบุด้วยว่ามาตรการในการกำกับใดของรัฐ ที่เกินความจำเป็น (Over regulation) ก็ควรจะต้องปรับปรุง หรือ กลไกใดของรัฐที่ การกำกับดูแลแล้ว ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ก็ต้องมีการปรับปรุงเช่นกัน  การปรับปรุงค่าธรรมเนียม Prepayment charge ในการ กู้ยืมเงินซื้ออสังหาริมทรัพย์นโยบายของรัฐบาลต่อประเด็นนี้ คือ ต้องการให้สัญญา การกู้ยืมเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย ในกรณีที่ผู้บริโภคต้องการ Refinance ที่อยู่อาศัย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ย ลดลง แต่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมที่เรียกว่า prepayment charge มีความเป็นธรรม และฐานในการคำนวณค่าธรรมเนียมเข้าใจ และเห็นภาพได้ง่ายความเห็นของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค สนับสนุนนโยบายนี้ของรัฐบาล และได้เรียกร้องประเด็นนี้มาเป็นระยะเวลานานแล้ว การกำกับ ควบคุม และเฝ้าระวัง ระบบการเงินการลงทุน รัฐบาลมีนโยบายในการโอนหน้าที่การกำกับดูแล ผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนทางการเงิน ให้กับ หน่วยงานรัฐคือ Federal Financial Authority (BaFin: Bundesanstalt fÜr Finanzdienstleistungsaufsicht) อย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีแผนที่จะให้หน่วยงานกำกับองค์กรนี้ มีอำนาจในการกำกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินการลงทุน ใน digital platform และทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานรัฐที่ดูแลทางด้าน IT-securityเพิ่มขึ้นด้วยความเห็นของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค เห็นด้วยในหลักการแต่ควรจะมีรายละเอียดในการทำงานขององค์กรกำกับดูแลนี้ให้ชัดเจนขึ้นครั้งหน้าจะนำเสนอ ความเห็นต่อนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านสุขภาพ และบริการสุขภาพครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 การประเมินนโยบายงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี

การประเมินนโยบายงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนีหลังจากที่พรรค CDU ของนางแองเจล่าร์ แมร์เคลประสบความสำเร็จได้รับคะแนนเสียงสูงสุดจากการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อปีที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถได้รับคะแนนเสียงข้างมากได้ และคะแนนนิยมตกต่ำลงซึ่งเป็นผลพวงมาจาก นโยบายการรับผู้อพยพลี้ภัย โดยไม่คำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยภายใน ส่งผลให้การเจรจากับพรรคอื่น ไม่ว่าจะเป็น พรรค FDP หรือ พรรค The Greeen Party ประสบความล้มเหลว และในที่สุด ก็สามารถจัดตั้งพรรครัฐบาลผสมโดยพรรคขนาดใหญ่ 3 พรรค คือ พรรค CDU CSU ซึ่งเป็นพรรคการเมืองสายอนุรักษ์นิยม และพรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคสายสังคมนิยม การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสม ได้สั่นคลอนความเป็นปึกแผ่นของพรรค SPD มีการเปลี่ยนผู้นำพรรค และผู้บริหารพรรค นอกจากนี้ หลังการเจราจาจัดตั้งรัฐบาลผสมแล้ว ก็ยังมีการทำสัตยาบรรณ (Koalitionsvertrag) ในการเข้าเป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดยสิ่งที่น่าสนใจสำหรับ พรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคสายสังคมนิยม คือ การลงคะแนนเสียงของสมาชิกพรรค เพื่อยอมรับ สัตยาบรรณ ดังกล่าว ซึ่งเสียงของสมาชิกส่วนใหญ่ (66.02%) จากสมาชิกพรรคทั้งหมด 463,723 คน เรียกได้ว่า การจัดตั้งรัฐบาลผสมขนาดใหญ่ผ่านอุปสรรคด่านแรกไปอย่างหืดขึ้นคอทีเดียวสำหรับความเห็นขององค์กรผู้บริโภคต่อนโยบายของรัฐบาลต่อประเด็นเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี จัดทำเอกสาร เพื่อประเมินนโยบายของรับบาลผสมขนาดใหญ่ของทั้งสามพรรค โดยมีทั้งหมด 12 ประเด็นได้แก่• การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค (Right and Right receiving)• การคุ้มครองผู้บริโภคในโลกยุคดิจิทัล (Digital  world)• ตลาดเงิน ตลาดทุน (Financial market)• การประกันสุขภาพและการดูแลผู้ป่วย (health and care insurance market)• อาหาร (food market)• พลังงาน (Energy market)• อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย (Real estate and accommodation)• การเดินทาง การท่องเที่ยว (Mobility and tourism)• การบริโภคที่ยั่งยืน และการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ (sustainability consume and resource protection)• การค้าข้ามชาติ ( International commerce)• การรู้เท่าทัน (consumer education)• การเฝ้าระวังกลไกตลาด (market surveillance) นโยบายการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค (Right and Right receiving)นโยบายของรัฐบาลผสมขนาดใหญ่ คือ การออกกฎหมายสำหรับการฟ้องคดีแบบกลุ่ม (Class action) เพื่อเพิ่มอำนาจและ การบังคับใช้กฎหมายที่คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ซึ่งเป็นประเด็นที่สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี เรียกร้องมาโดยตลอด ในประเด็นนี้ รัฐบาลมีนโยบายให้สิทธิในการฟ้องคดีกับหน่วยงานที่เป็นองค์กรภาคประชาชนที่ ได้มาตรฐาน (qualified organization or institution) เช่น องค์กรผู้บริโภค สมาคมสงเสริมการแข่งขันทางการค้า เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดการ “ค้าความ” ขึ้นในกระบวนการยุติธรรม ความเห็นของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคกับนโยบายดังกล่าว คือ เห็นด้วย แต่ในประเด็นของข้อกฎหมายที่เป็นข้อกังวล คือ การตีความว่า องค์กรหรือ สถาบันใดที่จะได้รับสิทธินั้น ซึ่งไม่ควรจะกำหนดกฎเกณฑ์ จนทำให้มีเพียงไม่กี่องค์กรที่สามารถฟ้องคดีแบบกลุ่มได้นอกจากนี้ ในกรณีของการเยียวยาผู้บริโภค ต่อกรณีการละเมิดสัญญาในการทำธุรกรรมในโลกดิจิทัล เช่นการซื้อตั๋วรถไฟ กรณีการละเมิดสัญญา ควรที่จะมีการเยียวยาโดยอัตโนมัติต่อกรณีของการรับผิดต่อสินค้า โดยเฉพาะการทำธุรกรรมในยุคดิจิทัล จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายเรื่องการรับผิดต่อสินค้าให้ทันสมัยกับยุคดิจิทัล โดยรัฐบาลต้องติดตามสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด และ ปรับปรุง มาตรฐาน กฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคในโลกยุคดิจิทัล (Digital  world)- การควบคุม Algorithm control ของ Artificial Intelligemce (AI) โดยจะจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมในด้านการใช้ข้อมูล (Data- Ethic Commission) เพื่อติดตามและเฝ้าระวังการใช้ AI ที่อาจละเมิดสิทธิผู้บริโภคต่อประเด็นดังกล่าว สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคเห็นด้วย และสนับสนุนในการมีตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ในคณะกรรมชุดนี้ และการทำงานของคณะกรรมการชุดดังกล่าวต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที และไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน (โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของ เวลา ที่มักเป็นจุดอ่อนของ Regulator)- ประเด็น Network neutrality ซึ่งสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคเห็นด้วยกับนโยบายรัฐบาลที่จะรักษาหลักการนี้ โดยจะต้องมีการกำกับดูแล ผ่าน กฎหมาย ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักกฎหมายของอียู- นโยบายการขยายโครงข่าย broadband ทั่วประเทศ ภายในปี 2025 สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า เป็นเรื่องที่สมควรทำ โดยในปีแรกของรัฐบาลควรที่จะขยายโครงข่ายให้ได้มากกว่า 50 % ของพื้นที่เป้าหมาย และต้องคำนึงถึงประเด็นในเชิงคุณภาพ ของเครือข่าย broadband ด้วย - ข้อมูลส่วนบุคคล (E-privacy- Regulation) รัฐบาลเสนอให้เกิดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเข้มงวด และการออกกฎหมายของรัฐบาลต้องสอดคล้องกับหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของอียู และความสนใจของทั้งผู้บริโภค และผู้ประกอบการ ซึ่งจะต้องรักษาสมดุลระหว่างกันและกันในขณะที่ประเด็นนี้ สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า เป็นนโยบายที่ย้อนแย้งกัน แต่ก็เห็นด้วยกับรัฐบาลที่จะดำเนินนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเข้มงวดฉบับนี้ขออนุญาต นำเสนอ 2 นโยบายที่สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ได้มีความเห็นและเผยแพร่ต่อสาธารณะหลังจากที่การจัดตั้งรัฐบาลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ความน่าสนใจของรัฐบาลชุดนี้ คือ จะสามารถทำงานได้ครบวาระหรือไม่ ภายใต้การขัดแย้งทางการเมืองที่ถาโถมเข้ามาเป็นระยะๆ (ที่มา เว็บไซต์สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี https://www.vzbv.de/.../ausfuehrliche_bewertung_koav_vzbv.pdf) ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 204 สิ่งที่สร้างแรงจูงใจในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ (ในเยอรมนี)

โดย : ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการการลงทุนติดตั้ง โซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ กลับมาเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับการลงทุน ของครอบครัวในเยอรมนี อีกครั้งเนื่องจาก  มีการติดตั้ง โซลาร์เซลล์ (solar roof top) เพิ่มขึ้นมากถึง 43,000 ครัวเรือน (เฉลี่ยแล้ว กำลังในการติดตั้งต่อครัวเรือนอยู่ที่ 10 กิโลวัตต์) เพิ่มมากขึ้นกว่า 35% เมื่อเปรียบเทียบกับกำลังการติดตั้งปี 2015 สาเหตุที่มีการติดตั้ง โซลาร์เซลล์ ในระดับครอบครัวเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากราคาแผงโซลาร์เซลล์ลดลงอย่างมาก ในขณะที่เงินสนับสนุนจากภาครัฐคงที่ ยิ่งทำให้การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เพิ่มความน่าสนใจเพิ่มขึ้นไปอีก จากการคำนวณต้นทุน รายได้ รายจ่าย จากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในระดับครัวเรือน ในเวลา 20 ปี ครัวเรือนที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ จะได้รับผลตอบแทนคืน 5 % ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินไว้ในธนาคารที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมาก(และอาจยังต้องจ่ายดอกเบี้ยสำหรับการฝากเงินอีกด้วย) และหากบริหารจัดการ การผลิตไฟฟ้า การใช้พลังงานในครอบครัวมีประสิทธิภาพ ผลตอบแทนอาจมากกว่า 10 %ต้นทุนแผงโซลาร์เซลล์ รวมค่าติดตั้งอยู่ที่ 1,200- 1,500 ยูโร ต่อ กิโลวัตต์(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ดังนั้นเงินลงทุนจากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ อยู่ระหว่าง 6,000- 7,500 ยูโร (240,000 – 300,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ถูกกว่าการซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลเสียอีก) จากการประมาณการการใช้พลังงานของครอบครัวชาวเยอรมัน 1 ครอบครัว จำเป็นต้องใช้พลังงานโดยการติดแผงโซลาร์เซลล์ 5  กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถให้กำลังการผลิตไฟฟ้าระหว่าง 4,300- 5,000 ยูนิต (กิโลวัตต์ชั่วโมง) ต่อปี ซึ่งเป็นกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เพียงพอสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 4 คน พลังงานส่วนที่ไม่ได้ใช้ สามารถขายเข้าสู่สายส่งได้ ในราคา 4-5 บาท ต่อยูนิต ในขณะที่ค่าไฟ จะแพงกว่าประมาณเท่าหนึ่ง คือ 8- 10 บาท ต่อยูนิต ดังนั้นการสร้างแรงจูงใจจากโซลาร์เซลล์จากครัวเรือน คือ การใช้ไฟฟ้าจากที่ครัวเรือนสามารถผลิตได้เอง แต่อย่าลืมว่า พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มีข้อจำกัด คือ ตอนกลางคืนไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ดังนั้นการมีแบตเตอรี สำหรับเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในยามขาดแคลน จึงเป็นเรื่องจำเป็น หากไม่มีแบตเตอรี จะสามารถใช้พลังงานที่ผลิตได้เองเพียง 15- 30% แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมองถึงความคุ้มค่าในการลงทุนระยะยาว ก็ยังถือว่าคุ้มค่าอยู่ดี**ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแห่งเยอรมนี (The Federation of German Consumer Organisations: VZBV)จากกราฟที่แสดง เปรียบเทียบผลตอบแทน ต่อปี กราฟด้านบน ที่ติดแผงโซลาร์เซลล์ แบบไม่มีแบตเตอรี เส้นกราฟจะสูงขึ้น ผลตอบแทนมากขึ้น ตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้เอง ถ้าสามารถใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้เอง 40 % และหากอัตราค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 4 % ผลตอบแทนจากการลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จะขยับสูงขึ้นสูงถึง 10 % (เส้นสีเขียว) ในกรณีที่ค่าไฟฟ้าไม่เพิ่มขึ้น ผลตอบแทนจากการใช้ไฟที่ผลิตได้เองจะได้ผลตอบแทนเพียง 7 % (เส้นสีฟ้า)สำหรับกราฟด้านล่างคือ การแสดงผลค่าตอบแทน การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่มีแบตเตอรี ซึ่งจะมีต้นทุนที่สูงกว่าแบบไม่มีแบตเตอรี เส้นกราฟจะสูงขึ้น ผลตอบแทนมากขึ้น ตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้เอง ถ้าสามารถใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้เอง 80 % และอัตราค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 4 % ผลตอบแทนจากการลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จะเหลือเพียงแค่ 6 % (เส้นสีเขียว) ในกรณีที่ค่าไฟฟ้าไม่เพิ่มขึ้น ผลตอบแทนจากการใช้ไฟที่ผลิตได้เองจะได้ผลตอบแทนเพียง 1 % (เส้นสีฟ้า)ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่นโยบายด้านพลังงานทางเลือก ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเยอรมนี จึงเกิดขึ้นได้ ดำเนินการได้โดยประชาชนเป็นผู้ร่วมเล่น และให้การสนับสนุน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ เทคโนแครต และผู้นำทางการเมืองเขาไม่ได้มีมิจฉาทิฐิเหมือนกับเทคโนแครตที่ผูกขาดความรู้ ผูกขาดอำนาจ และผูกขาดทุน เหมือนอย่างในบ้านเราครับที่มา วารสาร Test ฉบับที่ 12/2017

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 การเลือกซื้อรถยนต์ให้สัมพันธ์กับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก

เมื่อทราบข่าวจากคุณแม่ว่าจะมีสมาชิกใหม่ในบ้าน หลายครอบครัวก็ต้องมาวางแผนในการที่จะต้องซื้อของเพื่อใช้ในการเลี้ยงเด็กทารก รถยนต์เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ บางครั้งก็ถูกมองว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเดินทางร่วมกันของครอบครัว ดังนั้นการเลือกซื้อรถยนต์ เพื่อตอบโจทย์ในเรื่อง ความเป็นมิตรกับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก (Family friendly car) จำเป็นต้องมีข้อมูลและแนวทางเบื้องต้นในการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกซื้อรถเข็นเด็กทั่วไป คือ ยิ่งเป็นรถขนาดใหญ่ยิ่งดีใช่หรือไม่?คำตอบคือ ถูกเพียงครึ่งเดียว สิ่งที่ควรพิจารณา คือ ความง่ายในการติดตั้งที่นั่งสำหรับเด็ก(car seat) และเข็มขัดนิรภัยของรถ สามารถติดตั้งได้ง่ายหรือไม่ ซึ่งในรถรุ่นเก่าก่อนปี 2004 จะไม่มีตะขอโลหะที่ซ่อนอยู่ใต้เบาะสำหรับติดตั้งที่นั่งสำหรับเด็ก แบบ Isofix ซึ่งเป็นชิ้นส่วนมาตรฐานสำหรับรถยนต์ในปัจจุบัน(โดยเฉพาะรถยนต์ ของประเทศยุโรป)  ที่มีไว้สำหรับการติดตั้ง car seat สำหรับเด็ก นอกจากนี้ ควรพิจารณาถึงความยาวของเข็มขัดนิรภัยในรถด้วย เพราะถ้าความยาวของเข็มขัดสั้นเกินไปอาจทำให้เกิดการรัดเข็มขัดที่ยากขึ้น หรือไม่สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยได้สำหรับกรณีการติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับทารกแบบ carry seat ซึ่งการติดตั้งในกรณีที่ติดตั้งอยู่ข้างหน้าข้างคนขับจะต้องล็อคไม่ให้กลไกถุงลมนิรภัยทำงาน เนื่องจากจะเป็นอันตรายแก่เด็กในกรณีเกิดอุบัติเหตุ  และหากเป็นไปได้ ก็ควรเลือกรถที่มี ประตู ปิด เปิด แบบสไลด์ นอกจากจะต้องคำนึงถึงรถยนต์คันใหม่ที่จะซื้อแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังต้องคำนึงถึง ที่นั่งนิรภัยที่จะซื้อตามมาอีกด้วย เพราะ ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ไม่ได้ทำมาเพื่อติดตั้งได้กับรถทุกคันในตารางที่แสดงผลการทดสอบ ความเหมาะสมของที่นั่งตำแหน่งต่างๆ ของรถยนต์หลากหลายยี่ห้อ หลากหลายแบบ ตั้งแต่ รถยนต์ กลุ่ม Middle class SUV VAN และ Compact wagon จำนวน 18 รุ่น จะเห็นได้ว่า การติดตั้งที่นั่งนิรภัยด้านข้างคนขับนั้นทุกยี่ห้อ ได้ผลการประเมินเพียงแค่ พอใช้ หรือผ่านเท่านั้น เนื่องจากเด็กไม่ควรนั่งข้างหน้าข้างคนขับ ยกเว้นในกรณีจำเป็น เพราะในกรณีเกิดอุบัติเหตุ เด็กจะได้รับการบาดเจ็บที่รุนแรงกว่า การที่นั่งข้างหลังสำหรับการให้คะแนนในการประเมินทางองค์กรที่ทดสอบการติดตั้งที่นั่งนิรภัยจะพิจารณาจากความยาวของเบาะที่นั่ง ที่ว่างด้านหน้าเบาะ ตำแหน่งของตะขอสำหรับการติดตั้งที่นั่งนิรภัยแบบ Isofix และความยาวของเข็มขัดนิรภัยที่มา วารสาร Test ฉบับที่ 7/2015

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 202 นโยบายหาเสียงพรรคการเมืองเยอรมัน (ตอนจบ)

อีกนิดนะครับ ตอนนี้จะเริ่มด้วยนโยบายที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ การจัดเก็บภาษี พร้อมบทสรุปนโยบาย home care insurance (สำหรับการดูแลคนป่วย คนไร้สมรรถภาพ)พรรค SPD เสนอนโยบาย ให้เงินช่วยเหลือเป็นเงินชดเชยเงินเดือน 3 เดือนแก่ญาติและครอบครัว ที่ต้องดูแลคนป่วย หรือคนไร้สมรรถภาพ ในระยะเวลา  6 เดือน พรรค The Left ต้องการระบบประกัน Home care insurance ที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด พรรค CDU เสนอนโยบาย ระบบประกัน ที่ คุ้มครองรายได้ของ พ่อ แม่ ในระหว่างที่ต้องดูแล เด็กพิเศษ (Pflegebedurftige Kinder)นโยบายเงินเกษียณ บำนาญชราภาพ• ประกันเงินบำนาญขั้นต่ำพรรค The Left เสนอนโยบาย เงินบำนาญขั้นต่ำ 1050 ยูโรต่อเดือน พรรค SPD เสนอนโยบายเงินเพิ่มจากเงินบำนาญอีก 10% จากเงินบำนาญพื้นฐานสำหรับคนที่ทำงานที่ทำงานมาเป็นเวลานาน (Solidarrente) พรรค The Greens เสนอแนวความคิด ที่คล้ายกับ การประกันเงินเกษียณ (Garantierrente) พรรค AfD เสนอนโยบาย การเลิกผูกประกันเงินเกษียณกับอายุบางส่วน เพื่อเพิ่มวงเงินเกษียณให้สูงขึ้น.• อายุสำหรับการเกษียณสำหรับคนที่เกิดหลังปี 1964 ตามกฎหมายปัจจุบัน จะเกษียณอายุการทำงานที่ 67 ปี พรรค CDU SPD และ The Greens ยังคงเสนอให้คงรูปแบบการเกษียณอายุการทำงานแบบนี้ไว้พรรค The Greens เสนอนโยบายที่ให้คนทำงานหลังอายุ 60 ปี สามารถเลือก รูปแบบการทำงาน แบบยืดหยุ่นเวลาการทำงานได้ พรรค FDP เสนอนโยบายที่ให้คนอายุ 60 ปีสามารถเลือกเวลาที่ตนเองต้องการเกษียณอายุการทำงานได้เอง ภายใต้เงินบำนาญที่จะได้น้อยลงตามสัดส่วน พรรค The Left เสนอนโยบายที่กลับไป เกษียณอายุการทำงานที่ 65 ปี แต่ถ้าใครเริ่มทำงานเป็นเวลานาน 40 ปี ก็สามารถเกษียณอายุการทำงานที่อายุ 60 ปีได้• เงินบำนาญรายเดือนเงินบำนาญรายเดือนสำหรับ คนทำงานมาแล้ว 45 ปี ที่มีรายได้ สูงเท่ากับค่าเฉลี่ยของคนเยอรมัน ได้เงินบำนาญอยู่ที่ 1200 ยูโรต่อเดือน คิดเป็น 48% ของรายได้เฉลี่ยที่เคยได้รับก่อนเกษียณ จากการวางแผนของระบบการประกันบำนาญชราภาพ ต้องการให้ เงินบำนาญต่อเดือนไม่น้อยกว่า 45 % เทียบกับรายได้เฉลี่ยก่อนเกษียณ ซึ่งคนเยอรมันจะต้องจ่าย เงินประกันบำนาญชราภาพเข้ากองทุนเพิ่มจาก เดิม 18.7% ของรายได้ เป็น 21.8 % ของรายได้ ซึ่งเป็นนโยบายที่พรรค CDU ต้องการให้คงไว้พรรค FDP ต้องการเสนอแนวความคิดรูปแบบใหม่ใน การคิดสูตรการจ่ายเงินบำนาญ เนื่องจาก คนรุ่นใหม่มีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น พรรค SPD ต้องการคงระดับเงินบำนาญไว้ที่ 48 % และกำหนดเพดานการจ่ายเงินเข้ากองทุนบำนาญชราภาพไม่ให้เกิน 22 % และสร้างระบบการสร้างแรงจูงใจในการจ่ายเงินเข้ากองทุน ด้วยระบบการคืนภาษี พรรค The Left ต้องการเพิ่มเงินบำนาญหลังเกษียณเป็น 53 % แต่ก็เพิ่มอัตราการจ่ายเงินประกันบำนาญชราภาพให้สูงขึ้นเช่นกันนโยบายการจัดเก็บภาษีมีหลากหลายประเด็นในนโยบายการจัดเก็บภาษี จึงขออนุญาต นำมาเล่าในบางประเด็นที่น่าสนใจ• นโยบายการจัดเก็บภาษี ที่เกิดจาก การถ่ายโอน เงินทุน (Finance Transaction Tax)พรรค FDP ค้านการจัดเก็บภาษีลักษณะนี้ ที่จะเกิดขึ้นในการ ซื้อขายหุ้นในตลาดทุน และตลาดหุ้น พรรค The Left ต้องการให้มีการจัดเก็บภาษีลักษณะนี้ ประมาณ 0.1% ของมูลค่าการถ่ายโอน พรรค CDU และ SPD เห็นด้วยกับการจัดเก็บภาษีลักษณะนี้ แต่ยังไม่มีรายละเอียดและตัวเลขที่ชัดเจนในการหาเสียง• วงเงินในการลดหย่อนภาษีรายได้ส่วนบุคคลพรรค The Left ต้องการเพิ่มวงเงินในการขอลดหย่อนวงเงินการเสียภาษีรายได้ส่วนบุคคลให้เพิ่มขึ้น จากเดิม รายได้ส่วนบุคคลที่สามารถหักภาษีได้ไม่เกิน 8,820 ยูโรต่อปี เพิ่มเป็น 12,600 ยูโรต่อปี เพื่อลดภาระของประชาชนที่มีรายได้ เช่นเดียวพรรค The Greens และ พรรค AfD ที่ต้องการเพิ่มวงเงินการขอลดหย่อนภาษีรายได้ส่วนบุคคลให้เพิ่มขึ้น • ภาษีคนรวย (wealth tax)พรรค The Greens เสนอนโยบายการจัดเก็บภาษีคนรวยที่มีทรัพย์สินมากมายเกินความจำเป็น ให้มีประสิทธิภาพ แนวความคิดนี้ พรรค The Left ก็ใช้เป็นนโยบายหาเสียง ในขณะที่พรรค CDU/CSU AfD และพรรค FDP ไม่เห็นด้วย• ภาษีช่วยเหลือเยอรมันฝั่งตะวันออก (Solidarity tax)เป็นภาษีที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1991 หลังการรวมประเทศเยอรมนีตะวันตก และเยอรมนีตะวันออก และแรกเริ่มจะเก็บภาษีนี้เพียงปีเดียว เพื่อที่จะนำเงินภาษีที่ได้ไปบูรณะและพัฒนารัฐเยอรมนีฝั่งตะวันออกพรรค CDU/CSU ต้องการยกเลิกภาษีนี้แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยจะยกเลิกในปี 2020 พรรค SPD ต้องการคงภาษีนี้ไว้เพื่อนำไปช่วยเหลือคนที่มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง พรรค FDP ต้องการยกเลิกภายในปี 2019นโยบายด้านที่อยู่อาศัยพรรค FDP เสนอนโยบาย ลดหย่อนภาษี ให้กับ บริษัทรับสร้างบ้านและที่อยู่อาศัยขนาดกลาง โดยมูลค่าบ้าน หรือที่อยู่อาศัยไม่เกิน 500,000 ยูโร บริษัทไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าเป็นบริษัทที่เป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ มีนโยบายต้องเสียภาษีไม่จำกัดวงเงินของมูลค่าบ้าน ที่อยู่อาศัยพรรค SPD เสนอนโยบายไม่ต้องจ่ายภาษีสำหรับครอบครัวที่ซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 200,000 ยูโร สำหรับพรรค CDU/CSU มีนโยบายช่วยเหลือด้วยมาตรการทางภาษีให้กับครอบครัวเช่นกัน แต่ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน พรรค AfD มีนโยบายช่วยเหลือเรื่องบ้านและที่อยู่อาศัย โดยยกเลิกการจัดเก็บภาษีการซื้อขายบ้านและที่อยู่อาศัยนโยบายสกัดกั้นค่าเช่าที่อยู่อาศัยที่เพิ่มสูงขึ้น(Mietpreisbremse)เป็นนโยบายที่ใช้ในการต่อสู้หาเสียงอย่างหนักหน่วงใน การหาเสียงครั้งนี้ หลักการของแนวทางสกัดกั้นค่าเช่าที่อยู่อาศัยเพื่อไม่ให้สูงเกินไป คือ การให้อำนาจแก่รัฐบาลท้องถิ่นในการประกาศ ภาวะฉุกเฉินในท้องที่ที่มีปัญหาเรื่องค่าเช่าที่อยู่อาศัยราคาแพง เมื่อรัฐบาลท้องถิ่นประกาศภาวะฉุกเฉินเรื่องราคาค่าเช่าสูงเกินไป แล้ว ผู้ให้เช่าสามารถเพิ่มค่าเช่าจากผู้ขอเช่ารายใหม่ไม่เกิน 110 % ของราคาประเมินแนวคิดนี้ พรรค SPD และ พรรค The Greens ให้การสนับสนุน โดยพรรค SPD ต้องการให้ผู้ให้เช่าเปิดเผย ค่าเช่าก่อนหน้านี้ พรรค The Left ต้องการขยาย ผล ไปยังทุกพื้นที่ ไม่จำกัดเวลา และไม่มีข้อยกเว้นในการดำเนินนโยบายนี้ พรรค CDU AfD และ FDP ไม่ต้องการนโยบายนี้จากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา (24 กันยายน 2017) ปรากฏว่า ไม่มีพรรคใดได้รับเสียงข้างมากเพียงพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคเดียวได้ จึงต้องมีการเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสมที่ประกอบไปด้วย 3 พรรค คือ พรรค CDU นำโดยนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน แองเจลา แมร์เคิล ที่ได้รับคะแนนเสียง 32.9% (ได้ที่นั่งในสภาบุนเดสท้าก 246 ที่นั่ง) พรรค FDP ได้คะแนนเสียง 10.7 % (80 ที่นั่ง) พรรค The Green ได้รับคะแนนเสียง 8.9% (67 ที่นั่ง) ซึ่งยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมได้ ในขณะนี้ (17 ตุลาคม 2017) (ที่มา เว็บไซต์มูลนิธิการทดสอบสินค้าเพื่อผู้บริโภคhttps://www.test.de/Bundestagswahl-Familie-Rente-Steuern-was-die-Parteien-vorhaben-5217841-0/)

อ่านเพิ่มเติม >