ฉบับที่ 116 ซื้อบ้าน...ใครก็อยากได้ในสิ่งที่สัญญาว่าจะมี

  “ถามว่าพอใจไหม ก็ไม่ค่อยพอใจ เพราะจริงๆ เราไม่ได้อยากได้เงิน เราซื้อบ้านเราก็อยากได้ในสิ่งที่เราอยากได้ อยากได้ที่เขาสัญญาว่าจะมีคลับเฮาส์ มีลู่วิ่ง มีสวน อยากได้พวกนี้ อยากได้สระว่ายน้ำ เราไม่อยากได้เงิน…” อภิภพ พึ่งชาญชัยกุล หนึ่งในลูกบ้าน ที่ฟ้องโครงการหมู่บ้านจัดสรรชื่อดัง ให้สัมภาษณ์กับฉลาดซื้อ หลังมีคำพิพากษาว่าให้ทางโครงการบ้านจัดสรรสร้างคลับเฮ้าส์ สระว่ายน้ำและรั้วด้านหน้าโครงการ รวมถึงให้จ่ายค่าเสียหายให้เขาและลูกบ้านที่ร่วมกันฟ้องอีกเดือนละ 30,000 บาท นับตั้งแต่วันที่เขายื่นฟ้อง จนกว่าทางโครงการจะสร้างคลับเฮ้าส์เสร็จ ฉลาดซื้อขอยกย่องให้เป็นสุดยอดคนพิทักษ์สิทธิอีกหนึ่งคนค่ะ เราจะพาคุณไปคุยกับ อภิภพ  พึ่งชาญชัยกุล กันค่ะ  ไปดูว่าเขาและลูกบ้านมีวิธีการพิทักษ์สิทธิตัวเองจากการไม่สร้างคลับเฮ้าส์ของโครงการหมู่บ้านจัดสรรอย่างไร   บ้านหลังแรกในชีวิต“บ้านหลังนี้คุณแม่ซื้อให้หวังให้เป็นเรือนหอครับ ก่อนซื้อเราก็ดูหมดทุกอย่างแล้วตามข้อแนะนำการซื้อบ้าน ทั้งโครงการที่น่าเชื่อถือ ดูทำเล ไป-มาสะดวก เพราะผมทำงานอยู่สมุทรสงครามและบ้านก็อยู่ไม่ไกลเกินไป สุขุมวิท 77 (อ่อนนุช) – กับบางประกง ขนาดเอาเพื่อนที่เป็นสถาปนิกมาช่วยดูโครงสร้างบ้านดีไหม ทุกอย่างดีหมด บ้านก็สร้างเสร็จแล้วนะตอนที่เราซื้อ เหลือแค่ตกแต่งเหลือแต่คลับเฮาส์ยังสร้างไม่เสร็จ เขาก็พาไปดูนะว่าที่เขากันไว้แล้ว มีแบบแล้ว กำลังจะลงมือ ก็ดูหมดทุกอย่าง แต่ก็โดนเข้าจนได้”อภิภพ หวังที่จะซื้อบ้าน เพื่อครอบครัว เมื่อมีลูกก็อยากให้ลูกได้วิ่งเล่น แทนที่จะอยู่บนคอนโดเหมือนตอนที่เขายังไม่ซื้อบ้าน เขาจึงตัดสินใจซื้อบ้านกับโครงการบ้านจัดสรรชื่อดังแถวอ่อนนุชในปี 2549 ในราคา 15 ล้านบาท โดยทางโครงการโฆษณาไว้ว่าจะมีคลับเฮาส์ สระว่ายน้ำ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ อีก รวมทั้งมีการรักษาความปลอดภัยที่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้คุณอภิภพ และครอบครัวตัดสินใจซื้อบ้านที่นี่ ทั้งที่เขาก็ตระเวนดูมาหลายโครงการแล้ว แต่ที่โครงการนี้ตรงใจเขาที่สุด หลังจากอยู่ไปสักระยะ เขาและครอบครัวก็เฝ้ารอคลับเฮาส์ที่ทางโครงการโฆษณาไว้ แต่เฝ้ารอ รอ และรอ ก็ไม่มีวี่แววว่าจะสร้างแต่อย่างใด เขาจึงรวมตัวกับลูกบ้านเรียกร้องสิทธิของตัวเอง เพราะส่วนตัวแล้วเขาก็เป็นผู้ที่รักษาสิทธิตัวเองอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว อีกทั้งยังเรียนกฎหมายมาเป็นทุน  หลักฐานต่างๆ ผมเก็บไว้หมดเลยนะ ทั้งโบรชัวร์แนะนำโครงการ ใบเสร็จทุกอย่าง ป้ายโฆษณาโครงการ ตอนที่เขาย้ายสำนักงานออกไป ผมก็ไปยืนที่หน้าสำนักงานบอกกับคนขนของว่า ‘น้องอะไรที่ไม่เอาพี่ขอนะ’ ฟ้องอย่างไรให้ได้ผล แรกๆ เราก็ปรึกษากัน แล้วก็คุยกับทนายว่าจะฟ้อง แล้วพอทนายเขาดู ก็บอกว่าค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงนะถ้าจะยื่นฟ้อง คือในหมู่บ้านผมมีโครงการโปรเจ็คหน้า 48 หลัง แต่ว่าเขาขายได้ประมาณ 20 หลัง แล้วเขาหยุดขาย พอหยุดขายปุ๊บ อะไรก็ไม่ทำทุกอย่างเลย  ขนาดฝาท่อยังไม่ปิดเลย เขาหยุดแล้วย้ายสำนักงานขายออกไปเลย(ทั้งที่จริงๆ เป็นธุรกิจขนาดใหญ่มากด้วย) เรากับเพื่อนบ้านก็เลยเริ่มคุยกัน เราเริ่มคุยกับทางโครงการมา 2 ปี ก่อนยื่นฟ้องคดีนี้ พอเข้าไปคุยกับทางโครงการ เขาก็จะผัดวันประกันพรุ่ง  เดี๋ยวส่งคนโน้นมาคุย พอไปคุยใหม่ก็ส่งอีกคนมาคุย เปลี่ยนคนมาตลอดระยะ 2 ปี จึงไม่ความคืบหน้าอะไร ก็ทำเรื่องร้องเรียนไปที่ สคบ. (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) แต่พอถึงเวลาไกล่เกลี่ยก็ไม่สามารถจัดการทางโครงการได้ เพราะตัวแทนโครงการ เขาไม่มา สคบ.เขาก็ทำอะไรให้ไม่ได้ สคบ.จะทำเรื่องเสนอกรรมการดูว่าจะฟ้องคดีให้เราได้ไหม เราก็ถามว่าต้องรอนานแค่ไหน เขาก็ตอบไม่ได้ แล้วตอนนั้น มีกฎหมายผู้บริโภคใช้แล้ว(พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 2551 ประกาศใช้เมื่อ 23 ส.ค.2551)  ผมกับเพื่อนบ้านอีก 5 หลัง ก็เลยยื่นฟ้องไปเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2552 จริงๆ ตอนฟ้องไปเราก็คิดว่าคงใช้เวลานาน แต่มันก็ไม่รู้จะทำยังไงแล้ว เพราะเขาไม่คุย เราก็เลยฟ้อง ทีนี้เราฟ้องเราก็ฟ้องทั้งบริษัทที่เป็นเจ้าของโครงการ เขาก็มีพูดนะว่าเขาจะฟ้องกลับ ฟ้องหมิ่นประมาทเรา ฟ้องว่าเราฟ้องเท็จ เขาก็มีพูดเหมือนกัน แต่สุดท้ายเขาก็ไม่ได้ทำ แล้วเรื่องของเราก็เป็นข่าวนะ เขาไปยื่นฟ้องนักข่าวที่เขียนข่าวของเราแทนก่อนยื่นฟ้องเราก็หาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับโครงการเองด้วยนะครับ ว่าถ้าทางโครงการจะสร้างคลับเฮาส์จะต้องใช้เงินเท่าไร ก็ให้สถาปนิกช่วยตรวจประเมินราคาคลับเฮ้าส์ กับโครงการบ้านจัดสรรชื่อเดียวกันนี่ละที่เขาสร้างเสร็จแล้ว ว่าเขาใช้งบสร้างไปเท่าไร ซึ่งประเมินออกมาแล้วก็ไม่เท่าไรนะครับ ค่าก่อสร้างประมาณ 13,800,000 บาท ค่าติดดวงไฟและค่าสร้างรั้วอีก 500,000 บาท แต่เขาไม่สร้างให้เรา เราก็เลยยื่นฟ้องโครงการว่าผิดสัญญา เรายื่นฟ้องไป 25 เปอร์เซ็นต์จากราคาบ้านและที่ดิน รวมดอกเบี้ยอีก 7 เปอร์เซ็นต์ พอเรายื่นฟ้องคดีเขาบอกกับเราว่า ‘เพื่อเป็นการแสดงความจริงใจให้เราถอนฟ้อง แล้วค่อยมาคุยกัน เราก็บอกว่าทำไมไม่กลับกันล่ะ คุณทำอะไรก่อนสิแล้วเราจะถอนฟ้องให้‘ แต่เราไม่ถอนฟ้อง เพราะดูสิทธิแล้ว ถอนฟ้องแล้วเราฟ้องอีกไม่ได้ มันจะกลายเป็นฟ้องซ้ำฟ้องซ้อน มันทำไม่ได้ เราก็ต้องรักษาสิทธิเอาไว้ก่อน เดี๋ยวถ้าเราถอนฟ้องแล้วคุณไม่ทำ ไม่สร้าง จะทำยังไง ก็จบล่ะสิทีนี้ หลักฐานต่างๆ ผมเก็บไว้หมดเลยนะ ทั้งโบรชัวร์แนะนำโครงการ ใบเสร็จทุกอย่าง ป้ายโฆษณาโครงการ ตอนที่เขาย้ายสำนักงานออกไป ผมก็ไปยืนที่หน้าสำนักงานบอกกับคนขนของว่า ‘น้องอะไรที่ไม่เอาพี่ขอนะ’ ผมก็เก็บไว้ทุกอย่าง ทำไมที่ต้องเก็บนะเหรอครับ เพราะว่ามันมีผลทางกฎหมายเราสามารถใช้อ้างอิงได้ เมื่อมันมีปัญหาเกิดขึ้น เพราะว่าพวกนี้ถ้าตีความตามกฎหมายก็คือถือเป็นส่วนหนึ่งของคำเสนอขาย เพราะฉะนั้นมันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ถึงแม้ตอนที่เราทำสัญญา เขาอ้างในสัญญาซื้อ – ขาย นะว่าเขาไม่ได้ระบุเรื่องพวกสาธารณูปโภคพวกนี้ไว้เลย แต่เราก็อ้างว่าคุณมีในโบรชัวร์ไว้แบบนี้ก็ถือเป็นสัญญาเสนอขาย คนทั่วไปบางทีไม่เก็บนะ แต่ผมเก็บ อยากบอกคนอื่นๆ ว่าเก็บไว้เถอะครับ สักวันหนึ่งจะมีประโยชน์ คดีของผมกับลูกบ้านอีก 5 คนถือว่าเร็วนะครับคือพอไต่สวนมูลฟ้อง ศาลท่านก็ถามว่าพอจะตกลงกันได้ไหม ทางโน้นเขาก็รีบบอกว่าตกลงได้ มันก็ไปเข้ากระบวนการไกล่เกลี่ย ซึ่งก็เหมือนเดิม มันก็เหมือนตอนที่เราไปคุยกับบริษัทเขาเมื่อสองปีที่ผ่านมา เสียเวลาไกล่เกลี่ยไปประมาณ 6-7 เดือน เพราะนัดทีหนึ่งก็นัดห่างกันสองเดือนหรือเดือนครึ่งบ้างประมาณนี้ สุดท้ายพอกลับมาเข้ากระบวนการน่าจะใช้เวลาไม่นาน แค่นัดหรือสองนัดก็จบ ไม่นานก็มีคำพิพากษาออกมา ซึ่งพิพากษาออกมาว่าให้สร้างคลับเฮาส์ให้เรา  พร้อมจ่ายค่าเสียหายให้เราเดือนละ 30,000 ต่อบ้าน จนกว่าจะสร้างเสร็จคลับเฮาส์เสร็จ หรือจนกว่าจะครบ 25% ของราคาบ้านของแต่ละหลัง ซึ่งผมมองว่าท่านตัดสินให้ดีมากเลย   เงิน ไม่ใช่ประเด็น ถามว่าพอใจไหม ก็ไม่ค่อยพอใจ เพราะจริงๆ เราไม่ได้อยากได้เงิน เราซื้อบ้านเราก็อยากได้ในสิ่งที่เราอยากได้ อยากได้ที่เขาสัญญาว่าจะมีคลับเฮาส์ มีลู่วิ่ง มีสวน อยากได้พวกนี้ อยากได้สระว่ายน้ำ เราไม่อยากได้เงิน เพียงแต่ศาลท่านก็บอกว่าคุณฟ้อง คุณก็ต้องให้ในสิ่งที่ศาลให้ได้ ซึ่งที่เราเรียกไปคือมูลค่าบ้าน 25% ของราคาบ้าน เพื่อนบ้านอีก 9 หลังก็เตรียมจะยื่นฟ้อง ซึ่งถ้าผลการพิพากษาออกมาแบบเดียวกัน รวมแล้วก็เกือบ 60-70 ล้าน กับการที่โครงการสร้างคลับเฮาส์ให้พวกเรา มันน่าจะง่ายกว่าการต้องมาเสียเงินก้อนนี้ให้พวกเรานะ ผมว่า คือถ้าโครงการไม่โฆษณาว่ามีคลับเฮ้าส์ เราไปดูโครงการอื่นที่มันถูกกว่านี้ หรือแม้กระทั่งโครงการอื่นที่เขามี เขาก็อาจจะถูกกว่านี้ แต่ที่เราเลือกโครงการนี้มันเพราะหลายๆอย่าง เราซื้อของอย่างหนึ่งไม่ใช่เป็นเพราะคุณสมบัติข้อเดียว มันต้องดูคุณสมบัติหลายอย่างร่วมกัน ทั้งทำเล ตรงนี้ทำเลดี บ้านแพงแต่ถือว่าทำเลดี ถ้าในอนาคตเราขายมันก็คงได้ราคาดี ในตอนนี้มีคนในหมู่บ้านเขาบอกขายนะ ไม่มีคนซื้อ เพราะมาถึงมาดูสภาพแล้วจะซื้อลงได้ยังไง ราคาก็ตก ขายถูกยังไม่มีคนเอาเพราะมันไม่น่าอยู่แล้ว ตอนนี้อยู่ในช่วงที่รออยู่ครับ รอว่าหลังหนึ่งเดือนหลังจากคำพิพากษา ทางโครงการ จะอุทธรณ์หรือเปล่า ถ้าอุทธรณ์ก็จะต้องสู้กันต่อ ที่ลุกขึ้นมาสู้ก็เพราะว่าดีกว่าอยู่เปล่าๆ อย่างที่เห็นป้ายติดข้างนอกว่า ร้องทุกข์หนึ่งครั้ง ดีกว่าบ่นพันครั้ง ไม่อย่างนั้นก็บ่นกันไปแบบนี้ ตอนนี้เพื่อนบ้านรู้จักกันหมดทุกคนดีไปอย่างครับ   กฎหมายผู้บริโภคช่วยได้เยอะ ถ้าหากไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย ส่วนตัวผมยอมรับครับว่าก็ต้องคงยากนะ  แต่กฎหมายตัวนี้อ่านง่ายนะครับ คือกฎหมายเขาเขียนไว้ให้อ่านง่ายพอสมควร และดีอีกอย่างก็คือว่าเจ้าพนักงานคดีที่ศาลเขาช่วยเราเยอะ อะไรที่เราเข้าใจผิดเขาก็อธิบายให้ฟังว่าเราทำได้ อะไรไม่ได้ ในตอนนี้ในแง่ของผู้บริโภค ผมว่าอาจจะเป็นคุณูปการไม่กี่อย่างของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มีออกกฎหมายตัวนี้ออกมามองว่ามันทำให้คุณภาพชีวิตเราสูงขึ้น  ผู้ประกอบการจะทำอะไรออกมาขายก็ต้องคิดดีๆ นะ แม้กระทั่งประเด็นหลักๆ ผมมองว่าในส่วนของผู้จัดจำหน่าย จริงๆ ผู้ผลิตทุกคนอยากทำสินค้ามีคุณภาพ แต่เราก็ถูกบีบจากผู้จัดจำหน่าย ห้างอยากซื้อของถูก เพราะตอนนี้ พ.ร.บ.ความรับผิดกับสินค้าไม่ปลอดภัย เอาผิดทั้งหมด ผู้จัดจำหน่ายก็ต้องรับผิดชอบ ผู้ผลิต ผู้โฆษณา ทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบกันหมด ผมว่าถ้ามันทำให้มีของที่มีคุณภาพอยู่ในตลาดมากขึ้น คดีพวกนี้มันก็จะน้อยลง มันก็จะฟ้องในเรื่องใหญ่ๆ จริงๆ เรื่องจิ๊บๆจ้อยๆ มันก็ไม่ควรจะมาขึ้นศาล

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 115 ขอนแก่นโมเดล

“เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นทางการรักษา เราก็ต้องขอโทษและแสดงความรับผิดชอบ เยียวยาและชดเชยความเสียหายในสิ่งที่เขาควรจะได้ ไม่มีใครอยากให้เกิดความผิดพลาดขึ้นหรอกครับ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วเราก็ต้องกล้าที่จะยอมรับและขอโทษ” นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น ในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2552 โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นตกเป็นข่าวครึกโครม เมื่อคนไข้ที่ผ่าตัดต้อกระจกจากโรงพยาบาลฯ ติดเชื้อจากการรักษาถึง 10 ราย ตาบอดถาวร 7 ราย มองเห็นเลือนลาง 3 ราย แต่ที่นี่ไม่มีคนไข้รายใดฟ้องร้องคุณหมอหรือโรงพยาบาล นับเป็นกรณีตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้ที่น่าสนใจ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ยังลูกผีลูกคนรอเข้าสภาอยู่ และมีแพทย์บางกลุ่มออกมาคัดค้านเสียงดังว่า หากกฎหมายตัวนี้มีการบังคับใช้ คุณหมอและโรงพยาบาลจะถูกฟ้องมากขึ้น ความกังวลของกลุ่มแพทย์ที่คาดเดาไปต่างๆ นานาเกี่ยวกับอนาคตที่อาจต้องตกเป็นจำเลยเพราะถูกฟ้องร้องวุ่นวายจากคนไข้ ฉลาดซื้อฉบับนี้เราจะพาคุณผู้อ่านไปคุยกับ น.พ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผู้ซึ่งผ่านอนาคตอันน่าเป็นห่วงของหมอบางกลุ่มมาแล้ว "ขอนแก่นโมเดล" ห้องทดลองภาคปฏิบัติของพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ถ้ามี พ.ร.บ.ตัวนี้ออกมาตอนนั้นผมคิดว่าจะช่วยคนไข้กับโรงพยาบาลของผมได้เยอะนะในตอนที่เกิดเหตุขึ้น เพราะคนไข้ที่ตาบอด 10 รายเป็นคนไข้บัตรทอง 6 ราย และอีก 4 รายใช้สิทธิข้าราชการ พอเกิดเหตุขึ้นก็กลายเป็นว่าคนไข้บัตรทองได้สิทธิที่ดีกว่า เพราะได้รับสิทธิการชดเชยตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งจะไม่ครอบคลุมถึงสิทธิของข้าราชการ เชื้อแบคทีเรียที่คนไข้ติดเชื้อชื่อว่า ซูโดโมแนส ออรูจิโนซ่า ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม ในตัวคนก็มี ทางเราก็รักษาความสะอาดอย่างถึงที่สุดแล้ว แต่เมื่อเกิดติดเชื้อก็ถือเป็นเหตุสุดวิสัย พอเรารู้ว่ามีการติดเชื้อเราก็เรียกคนไข้ที่ผ่าตัดในช่วง 1 – 3 วัน กลับมาทั้งหมด คนที่ติดเชื้อเราก็รับตัวเข้ารักษา จะมีบางรายที่เขาไม่มั่นใจก็ขอย้ายไปรักษาที่โรงพยาบาลขอนแก่น ทางเราก็ทำเรื่องให้ บางรายต้องการไปรักษาที่โรงพยาบาลโรคตาเราก็ส่งตัวให้ไปรักษา การเยียวยาดำเนินการอย่างไร และทำอย่างไรให้คนไข้หรือญาติเข้าใจ คนไข้บางรายที่เกิดการติดเชื้อเร็วก็จะมาหาเราก่อนเพราะเขาปวดและบวม ญาติเขาก็เกิดความสับสนไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น บางคนก็โวยวาย บางคนก็เริ่มกังวลว่าตาจะบอดไหม จะรักษาได้ไหม จะต้องทำอย่างไร ตอนนั้นคำถามก็พรั่งพรูมาเต็มไปหมด ญาติคนไข้ก็เครียดหน้านิ่วคิ้วขมวด อารมณ์ก็ร้อน ทำไมตรวจช้ารักษาช้า คล้ายๆ ว่า “เขาไม่ได้คำตอบจากเรา” ทีมหมอและพยาบาลก็เครียด การเกิดเหตุแบบนี้นานๆ จะเกิดสักที ผ่าตัดไปหนึ่งหมื่นก็จะเกิดขึ้นสักรายหรือสองราย เราก็ตั้งใจรักษาพยาบาล ดูแลพวกเขาเต็มที่ สักพักทั้งคนไข้และญาติก็เริ่มสงบลง เราก็ถามญาติว่าต้องการรักษาที่ไหนที่ไม่ใช่โรงพยาบาลของเราบ้าง เราก็ทำเรื่องส่งไป ขณะเดียวกันเราก็จะทำทีมขึ้นมาเพื่อดูแลผู้ป่วย จะมีทีมสอบสวนโรค ทีมรักษาโรค คนที่ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลขอนแก่นเราก็ไปดูแลทุกวัน ตามไปดู ไปคุยกับหมอที่นั่นเพื่อร่วมกันรักษา และเฝ้าติดตามอาการของพวกเขา ใครที่ดีขึ้นแล้วและอยากกลับมารักษาตัวที่โรงพยาบาลของเราก็ไปรับกลับมา ส่วนค่าใช้จ่ายที่ไปรักษาต่างโรงพยาบาลเราก็รับผิดชอบ พออาการอักเสบทุเลาลงเราก็จะเริ่มรู้แล้วว่า บางรายต้องควักลูกตาออก บางรายต้องขูดเนื้อเยื่อออก บางรายรู้แบบนี้ก็ร้อนขึ้นมาอีก เราต้องคุยกับคนไข้และญาติตลอด จะมีหมอและพยาบาลเป็นทีมไกล่เกลี่ย ทำความเข้าใจ แต่หลักๆ เราจะสร้างสัมพันธภาพระหว่างกัน ไม่ทอดทิ้งเขา อยู่เป็นเพื่อนเขาให้เขารู้สึกว่า “เขายังพึ่งเราได้” จากนั้นเราก็เริ่มการเยียวยาและชดเชยด้านสิทธิการรักษา ใครมีสิทธิตามมาตรา 41 เราก็ทำเรื่องให้ ไปแจ้งกรรมการกองทุนชดเชยและเยียวยา และคุยกับกรรมการว่าให้เร่งพิจารณาให้หน่อย ส่วนนี้ก็ได้รับการเยียวยาเต็มที่ซึ่งตามสิทธิของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ว่าถ้าพิการต้องชดเชย 120,000 บาท ส่วนกลุ่มข้าราชการก็ใช้หลักการเดียวกัน แต่ใช้เงินจากโรงพยาบาลเยียวยาให้ บางรายก็พอใจ แต่บางรายไม่พอใจ เราก็เจรจากันใหม่ ก็จ่ายไปเท่าๆ กัน ซึ่งตามหลักการแล้วผมคิดว่ากฎหมายใหม่น่าจะเป็นประโยชน์ เพราะครอบคุลมไปถึงสิทธิการรักษาอื่นๆ ด้วย เพราะมาตรา 41 จะมีข้อจำกัดการรักษาแค่สิทธิผู้ถือบัตรทอง ระหว่างการรักษาเยียวยามีการเรียกร้อง(ฟ้องร้อง)ค่าชดเชยจากคนไข้ไหม คนไข้เขาก็ดีนะ เขาไม่ได้เรียกร้องโดยตรง เขาจะถามว่าเราจะทำอย่างไรต่อไป แต่เราต้องเร็วและต้องรู้ว่าสัญญาณแบบนี้คือสัญญาณบอกเหตุ อย่างการพาทนายมาด้วย มาดูว่านอกจากการรับรักษาต่อแล้ว เราจะทำอย่างไรต่อไปไหม อย่างผู้ป่วยบางรายพอเข้ารักษาตัว เขาก็ไม่ได้ทำงาน ไม่มีเงินให้ลูกไปโรงเรียน ตรงนี้เราก็ต้องดูแล บางรายลูกหรือสามีต้องมาเฝ้าแล้วไม่ได้ไปทำงาน ไม่มีรายได้ เราก็ต้องเข้าถึงผู้ป่วยนะ แรกๆ เขาก็ไม่บอกเราหรอกว่าเขามีปัญหา เราก็ถามไป พอเขาบอกเราก็รู้แล้วว่าเขาเดือดร้อน แล้วก็ช่วยเหลือเบื้องต้นไปก่อน ชาวบ้านที่มารักษายากจน หาเช้ากินค่ำ คนที่มีฐานะดีเขาก็อยากรู้ว่าเราจะช่วยเหลืออะไรเขาบ้าง เขาไม่ได้ถามนะว่าเราจะให้เท่าไร แต่เราต้องรู้ เราต้องเปิดเวทีเจรจาพูดคุยกัน เราก็ตั้งโต๊ะกลมเจรจาขึ้น มีหมอ พยาบาล นักจิตวิทยา ฟังคนไข้กับญาติระบายความกังวล ความคับข้องใจ และต่อว่าต่อขานเรา เราก็ต้องรับฟังและต้องขอโทษตลอด ต้องแสดงความรับผิดชอบ และต้องไม่ทอดทิ้ง เราต้องเป็นที่พึ่งเขาได้ เบื้องต้นเราเยียวยาให้ก่อน 3,000 บาท เพราะครอบครัวเขาเดือดร้อน แล้วก็เพิ่มเป็น 50,000 บาท แล้วสุดท้ายเราเยียวยาให้เขารายละ 300,000 บาท แต่เราจะให้เขาเท่าไรมันก็ไม่สมกับที่เขาต้องสูญเสียดวงตาของเขาหรอกนะ พอเราทำดีกับเขาเขาก็เห็นความจริงใจของเรา และเห็นใจเรา เพราะว่าเราเองก็ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้เรื่องแบบนี้เกิด เขาก็เห็นใจหมอ เห็นใจพยาบาล ก็ให้กำลังใจ และนี่คือสัญญาณที่ดีแล้ว เพราะคนไข้ให้กำลังใจ บางรายยกมือท่วมหัวขอให้คุณพระ คุณเจ้าคุ้มครอง อวยพรให้เราด้วยทั้งที่เขาตาบอด นอกจากเราจะเยียวยาผู้ป่วยแล้ว ทีมหมอที่รักษาเราก็ต้องดูแลพวกเขาด้วยเหมือนกันเพราะเรื่องแบบนี้ไม่มีใครอยากให้เกิด แรกๆ ที่เกิดเหตุก็จะมีการถามถึงคุณหมอว่าหมอคนไหนรักษา เราก็ต้องดูแลหมอด้วยเหมือนกัน คุณหมอมีความเห็นอย่างไร ต่อท่าทีของหมอหลายคนที่กังวลเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ว่า หากมีกฎหมายขึ้นมาจะทำให้หมอถูกฟ้องมากขึ้น บางคนกังวลว่าจะมีการฟ้องร้องมากขึ้น ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนมากขึ้น หรืออาจจะมีคนมาหากินกับกองทุนนี้หรือเปล่า แล้วทำให้หมอไม่กล้ารักษาผู้ป่วยหนักเพราะกลัวจะผิดพลาด นั่นก็เป็นธรรมดามันเป็นเรื่องความกังวล เพราะหมอเขารักษาผู้ป่วยทุกวัน ก็อาจจะมีสักวันที่เกิดพลาดขึ้นมา ผมคิดว่าก็น่าจะมีการศึกษาให้เข้าใจมากขึ้น แล้วก็ต้องมองโลกในแง่ดีว่าถ้าเกิดความผิดพลาดเกิดขึ้น คนที่เขาจะฟ้องอย่างไรก็ต้องฟ้อง แต่จากประสบการณ์ตรง คนที่ฟ้องน่ะไม่เยอะ แต่คนที่ร้องเรียนมีเยอะ อย่างพูดไม่เพราะ หรือผ่าตัดไม่ดี หรือว่ารักษาไม่ถูกต้อง แต่ส่วนใหญ่ก็จะคลี่คลายได้ด้วยการเจรจาต่อรองและช่วยเหลือให้เขาพอใจ มีน้อยรายที่จะฟ้อง เพราะถ้าฟ้องปุ๊บก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่แล้วก็จะเรียกร้องค่าเสียหายเยอะ คุยกันจะดีกว่าเพราะว่าคนไข้ก็ไม่ตั้งใจจะฟ้องหรอกถ้าไม่ถึงที่สุดจริงๆ หมอเองก็ไม่ได้มีเจตนาจะรักษาให้ผิดพลาดแต่เพราะมันสุดวิสัยจริงๆ ถ้าหากว่ามีกองทุนตาม พ.ร.บ.นี้มาก็น่าจะทำให้บรรยากาศไม่ร้อนแรง เพราะจะมีการเยียวยาก่อนโดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด ให้บรรเทาความเดือดร้อนไปก่อน ตามธรรมชาติของคนไข้ถ้าเขาไม่มีที่พึ่ง เขาก็จะหันไปหาทนาย หันไปหาสื่อหรือว่าไปแจ้งตำรวจ พอได้รับการเยียวยาเบื้องต้นไปแล้วความร้อนแรงก็จะลดลง และก็จะเป็นเวทีในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้ และเป็นการพัฒนามาตรฐานการให้บริการด้วย แต่ความกังวลต่างๆ ก็เกิดขึ้นได้หากยังขาดความเข้าใจ ผมว่าถ้าเลือกที่จะมาเป็นหมอแล้ว ก็จะไม่บ่ายเบี่ยงที่จะไม่รักษาคนไข้หรอก ขอเพียงหมอมีความรู้ความเข้าใจ และมีความสามารถที่เพียงพอ หรือถ้าไม่พร้อมก็จะมองหาลู่ทางส่งต่อการรักษาแล้วว่าจะส่งไปที่ไหน ผมว่ากระบวนการเหล่านี้ก็จะได้รับการพัฒนาไปด้วยเช่นกัน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 111 การเป็นอาจารย์นี่ก็ทวีคูณเหมือนกัน

ฉบับนี้ฉลาดซื้อพาคุณมารู้จัก “เรือจ้าง” อีกหนึ่งลำที่แจวพาผู้โดยสารไปส่งถึงฝั่งมาครั้งแล้ว ครั้งเล่าอย่าง อาจารย์รุจน์ โกมลบุตร อดีตนักข่าวผู้คร่ำหวอดในวงการข่าวและหนังสือพิมพ์ ผู้ผันตัวเองมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมุ่งหวังที่จะผลิตนักสื่อสารคุณภาพออกสู่สังคม ท่ามกลางกระแสสังคมสื่อที่เน้นความรวดเร็วและผลกำไรจนหมิ่นเหม่ต่อจริยธรรม อาจารย์รุจน์มีวิธีการสอนนักศึกษาอย่างไร ฉลาดซื้อจะพาไปคุยกับ “เรือจ้าง” ลำนี้กันค่ะ เลือกเรียนสื่อสารมวลชนเพราะใจรักอาจารย์รุจน์สนใจเกี่ยวกับข่าวสารบ้านเมืองมาตั้งแต่สมัยมัธยม เพราะที่บ้านจะรับหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ครั้นพออ่านแล้วก็สงสัยว่า เขาทำอย่างไร ไปสัมภาษณ์คนอย่างไร เขียนบทความ เขียนสารคดี ทำให้อาจารย์ได้รู้ว่างานหนังสือพิมพ์สามารถบอกข้อมูลคนได้เยอะ และถ้าหากเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์จะยิ่งมีประโยชน์ แล้วถ้าหากว่าตนเองได้ไปทำงานแบบนั้นเราคงมีเรื่องไปเล่าเยอะ ด้วยเหตุนี้เองทำให้เขาเลือกเรียนสื่อสารมวลชน “มาย้อนอดีตกันเลย ความจริงเลือกอยู่ 2 คณะคืออันดับ 1 เลือกสื่อสารมวลชน ที่ธรรมศาสตร์ อีกคณะที่อยากเรียนและเลือกเป็นอันดับสองคือคณะสังคมศาสตร์ เพราะได้รับอิทธิพลจากนวนิยาย”ปุลากง” แต่สุดท้ายก็ได้เรียนสื่อสารมวลชนที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีสี่ทางคณะให้ฝึกงานก็ฝึกงานที่ นสพ.ไทยรัฐ พอจบก็ทำงานที่นั่นอยู่ 4 ปี ถ้าเรามองหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คนเรามักจะมองที่เรื่องปริมาณมากกว่าคุณภาพ แต่ถ้าเราต้องการจะสื่อสารอะไรออกไปเป็นจำนวนมาก ไทยรัฐจะช่วยเราได้เยอะเพราะถือว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่เสียงดัง ตอนเข้าไปก็ประจำอยู่ที่ โต๊ะข่าวกลาง แต่ที่ไทยรัฐเรียก “โต๊ะข่าวจเร” เป็นนักข่าวทั่วไปทำทุกข่าว อะไรที่ไม่มีเข้าหมวดข่าวก็จะตกมาที่นี่หมด อย่างข่าวม้อบที่มาร้องเรียนที่ทำเนียบ ที่กระทรวงเกษตร “โต๊ะข่าวจเร” ก็จะไปล่ะ หรือบางข่าวที่เขาต้องการความต่อเนื่องก็จะส่ง “โต๊ะข่าวจเร” ไป โต๊ะข่าวนี้จะไม่มีแหล่งข่าวประจำ และจะไม่เชี่ยวชาญอะไรเป็นเรื่องๆ แต่ก็ส่งผลดีที่เราสามารถพลิกแพลงและหาข้อมูลได้ทุกเรื่อง เราก็จะได้เดินทางเยอะ รู้เยอะ ชีวิตเปลี่ยนหลังช่วงพฤษภาทมิฬ เบื่อการเมืองไทยก็หาทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ ในคณะสังคมวิทยาการสื่อสาร ตอนนั้นยังไม่ได้ลาออกจากไทยรัฐนะ กลับมายังไม่อยากกลับไปทำงานหนังสือพิมพ์ มันเหนื่อยๆ แต่ 4 ปีที่ไทยรัฐมันสนุกนะ มันเติมเต็มอะไรหลายๆ อย่าง เราได้บอกเรื่องราวให้คนรู้ในหลายๆ เรื่องอย่างเรื่องราวของพระประจักษ์ ที่เข้าไปรักษาป่าหยุดการทำลายป่าดงใหญ่ แต่ถูกมองว่าเป็นพระตัวแสบสำหรับราชการและนายทุนที่ต้องการทำลายป่า รางวัลที่ท่านได้รับคือ การถูกคุกคาม ตามล่าเอาชีวิต จนต้องหนีออกจากพื้นที่ ถูกบีบให้สึก ถูกทำลายชื่อเสียงต่างๆ นานา ซึ่งมันไม่ใช่ เราก็ไปนำเสนอข่าวออกมาว่าเป็นอย่างไร การทำงานที่นี่มันสนุกและเติมเต็มสิ่งที่เราฝันไว้ตอนเด็กๆ แต่ขณะเดียวกันมันก็ดึงพลังเราส่วนหนึ่ง อย่างเราทำงาน 7 โมงเช้ากว่าจะกลับบ้านก็ 5 ทุ่ม หรือไม่ก็เที่ยงคืน เป็นแบบนี้ทุกวันไม่มีวันหยุด พอกลับมาก็ไม่อยากจะตกอยู่ในวังวนเดิมๆ อีก ก็ไปเป็นที่ปรึกษาให้เอ็นจีโอ ที่เป็นเพื่อนๆ กัน ก่อนจะไปสมัครเป็นอาจารย์ที่ธรรมศาสตร์ เป็นอาจารย์สอนวิชาหนังสือพิมพ์ตั้งแต่ปี 2540 ลึกๆ แล้วผมก็เสียดายงานหนังสือพิมพ์นะ เพราะงานหนังสือพิมพ์มันเป็นงานทวีคูณ เราเขียน 1 ข่าวแต่คนรู้เป็นล้าน การเป็นอาจารย์นี่ก็ทวีคูณเหมือนกัน การจับไมค์อยู่หน้านักศึกษา 30 – 40 คนนี่ก็ถือว่าทวีคูณล่ะ เพราะพอพวกเขาจบไปเป็นนักข่าวแล้วทำได้ดีก็คือว่าเป็นการขยายต่อที่ดีละ ทวีคูณเหมือนกัน ถ่ายทอดจากประสบการณ์ตรง อาจารย์รุจน์บอกกับฉลาดซื้อว่าที่สนใจงานสอนหนังสือก็เพราะว่า ตอนที่ตนเองเรียนนั้นมีบางเรื่องที่นักศึกษาไม่เคยถูกบอก อย่างเรื่องของความเป็นจริงกับโลกในตำราต่างกันอย่างไร เพราะว่าโลกในความเป็นจริงไม่ได้สวยงามเหมือนในตำรามันมีเรื่องสีเทาๆ ที่นักศึกษาต้องถูกเตรียม ก่อนจะออกสู่โลกของความจริง ไม่งั้นถ้าหากไปเจอแล้วจะเกิดอาการเหวอ “โลกที่นักศึกษาถูกบอกก็คือโลกสีขาว สอนว่าอะไรไม่ดีอย่าไปทำ แต่พอออกไปแล้วไอ้ที่บอกว่าไม่ดีอาจจะทำอยู่ก็ได้ เราก็เลยคิดว่าเราต้องเตรียมนักศึกษาก่อนว่าโลก 2 โลกนี้มันต่างกัน มันจะมีจุดฟันหลอ จุดสีดำอยู่ในนั้น ถ้าหากรักที่จะทำอาชีพนี้จริงๆ ต้องเข้าใจว่าทางที่จะเดินนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบดังที่ฝันไว้ ผมก็เลยพยายามจะเชื่อมทั้งสองเข้าด้วยกันว่ามันมีข้ออ่อน ข้อดีอย่างไร ลึกๆ แล้วผมก็เสียดายงานหนังสือพิมพ์นะ เพราะงานหนังสือพิมพ์มันเป็นงานทวีคูณ เราเขียน 1 ข่าวแต่คนรู้เป็นล้าน การเป็นอาจารย์นี่ก็ทวีคูณเหมือนกัน การจับไมค์อยู่หน้านักศึกษา 30 – 40 คนนี่ก็ถือว่าทวีคูณล่ะ เพราะพอพวกเขาจบไปเป็นนักข่าวแล้วทำได้ดีก็คือว่าเป็นการขยายต่อที่ดีละ ทวีคูณเหมือนกัน” แต่ถึงแม้ว่าจะมีการสอนและเชื่อมโลกสองส่วนนี้เข้าด้วยกันแล้ว ก็ยังมีเรื่องที่อาจารย์รุจน์ห่วงก็คืองานหนังสือพิมพ์ ที่มองกำไรเป็นเป้าหมาย และนับวันกำไรจะเป็นเป้าหมายชัดขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่เป้าหมายที่จะช่วยกันคลี่คลายปัญหาให้สังคมกลับอ่อนแรงลงๆ สวนทางกับกำไรที่เริ่มแสดงตัวชัดชึ้นเรื่อยๆ “ไม่ใช่แค่เฉพาะธุรกิจสื่ออย่างเดียวต้องเรียกว่าทั้งโลก เรื่องกำไรอย่างรวดเร็วมันครอบทั้งโลกแล้ว สื่อมวลชนก็หนีสายพานนี้ไม่พ้น จึงต้องเตรียมพวกเขาอย่างแรง แล้วเด็กนักศึกษาสมัยนี้ก็ถูกครอบด้วยระบบเศรษฐกิจระบบตลาดเหมือนๆ กันหมด สังเกตง่ายๆ ก็คือ พอผมพานักศึกษากลับมาจากพื้นที่ ทุกคนจะกระหายร้านสะดวกซื้อมาก พอเจอเซเว่นเข้าไป ‘เย้ๆ เจอเซเว่นแล้ว’ ซึ่งต่างกันลิบลับกับเมื่อวานที่อ้อยอิ่งกับการลาชาวบ้านอยู่เลย ซึ่งผมก็คิดว่านี่ก็เป็นภาระหนึ่งของระบบการศึกษาไทยที่ต้องทำให้เห็นถึงระบบเศรษฐกิจระบบตลาด ซึ่งไม่ง่ายเลย” หาคำตอบอยู่ที่หมู่บ้านนอกจากนักศึกษาจะเรียนรู้ผ่านประสบการณ์และเรื่องราวจากชีวิตของอาจารย์รุจน์แล้วยังมีโอกาสได้ลงไปศึกษาข้อเท็จจริงถึงในพื้นที่นั่นก็คือหมู่บ้านปีละ 1 ครั้ง“สิ่งที่ผมสอนพวกเขาอย่างเรื่องการนำโลกความเป็นจริงข้างนอกมาเล่าให้พวกเขาฟัง แล้วก็หรือยกสถานการณ์ขึ้นมา ถ้าเกิดเหตุแบบนี้จะแก้ปัญหาอย่างไร ผมไม่ได้ให้ “ความรู้” พวกเขานะ เพียงแต่ผมอยากให้เขา “ได้รู้สึก” เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ เขาควรทำอย่างไร เพราะถ้าหากว่าเราให้ความรู้เขา ไม่นานเขาก็จะลืม แต่ถ้าเราสอนให้เขาได้รู้สึก เขาก็จะทำได้และน่าจะพอนึกออกเมื่อต้องเจอกันสถานการณ์จริงๆ อีกอย่างก็การทำให้พวกเขาได้เข้าถึงความจริง ข้อเท็จจริง ของเจ้าของประเทศนั่นก็คือประชาชนจึงได้ทำโครงการศึกษาชนบท ปีละ 10 วัน โดยให้นักศึกษาไปอยู่ไปกินกับชาวบ้าน ให้ไปอยู่กับชาวบ้านหลังละคนเลยทีเดียว จะเป็นนักศึกษาปีที่ 3 กับ 4 ซึ่งจะเป็นวิชาเรียน คล้ายๆ ลักษณะไปค่าย แต่เราจะไม่ไปสร้างนั่น สร้างนี่ จะกลับกันก็คือเราจะให้ชาวบ้านเป็นผู้บรรยาย บางคนอยู่ในทุ่งนา บางคนทอผ้า ก็จะมาสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้แทน การลงไปค้นความจริงกับชาวบ้านช่วยเปิดโลกทรรศน์ให้กับพวกเขา ทำให้เห็นชีวิตของเจ้าของประเทศว่า เขาอยู่กินกันอย่างไร มีปัญหาอะไรที่กำลังเผชิญอยู่ และที่สำคัญคือไปดูว่าพวกเขาเหล่านั้นมีอะไรดี เพราะถ้าเราทำให้นักศึกษาเห็นว่าชาวบ้านมีอะไร ชาวบ้านก็จะอยู่ในสายตา ว่า…เอ้ยพวกชาวบ้านก็เก่งนะ อีกอย่างก็คือทำให้นักศึกษาเราเห็นปัญหาของชาวบ้าน อย่างที่ผ่านมาก็ลงพื้นที่ จังหวัดสตูล ไปสัมผัสชีวิตชาวบ้าน ไปดูเขากรีดยาง ทำให้เรารู้ว่า ชาวสวนยางอายุสั้นลง เพราะพักผ่อนน้อย ไปสัมผัสวิถีชีวิตของชาวมุสลิม ไปลงพื้นที่ดูเขื่อนปากมูล พาพวกเขาไปดู ไปสัมผัส เพื่อให้เกิดความเข้าใจเจ้าของประเทศ” นั่นเป็นวิธีการ การให้ความรู้ของ อ.รุจน์ ที่เน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้นอกห้องสี่เหลี่ยม นอกตำรา แต่ได้สัมผัสทุกรสชาติของชีวิต “พอจะเริ่มเดินทางทุกคนก็จะตื่นเต้น บางคนเป็นคุณหนูไม่เคยทำอะไรเองเลย พอได้ลงพื้นที่ได้ล้างจาน ได้พูดคุยกับชาวบ้าน ได้เห็นจนเกิดจิตสาธารณะขึ้นมา ได้เรียนรู้ทุกนาทีที่อยู่ร่วมกัน ต้องยอมรับเลยนะเมื่อคนเราได้ผ่านประสบการณ์ ณ จุดหนึ่งแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิดอย่างเห็นได้ชัดเลย อย่างบางคนก่อนไปไม่เคยรู้เลยว่า จิตสาธารณะคืออะไร แต่พอเขาได้ลงไปเรียนรู้และใช้ชีวิตจริงๆ เขาก็เข้าใจได้ทันที บางคนถูกทำให้คิดถึงผลกำไร และขาดทุน แต่พอลงไปเห็นชาวบ้านที่ลุกขึ้นมาทำเพื่อชุมชนซึ่งก็ไม่ได้หวังอะไรตอบแทนเลย ความคิดของเขาก็เปลี่ยน” อยู่ทำเนียบทำงานในห้องแอร์ พอถึงเวลาก็สัมภาษณ์ ไปหาชาวบ้าน ไปคุยกับชาวบ้าน ไปดูปัญหาเขาเนี่ยเหนื่อยไหม อยู่กลางแดด เดินไปในทุ่ง นั่งรถไปไกล ตากแดด ข้าวปลาก็ไม่มีให้กิน พยายามทำให้เขาเห็นภาพว่าทำไมประชาชนไม่ค่อยได้เป็นข่าว เพราะฉะนั้นถ้าได้มีโอกาสเป็นนักข่าวก็อย่าลืมแล้วกัน คุยกับประชาชนบ้าง ข้อมูลต้องหลากหลายและคิดถึงคนอื่นเสมอนอกจากจะให้นักศึกษาได้ลงไปค้นความจริงของเจ้าของประเทศแล้ว การให้มองสื่ออย่างรอบด้าน คืออีกหนึ่งแนวทางของอาจารย์รุจน์ “เวลาเราทำงานด้านสื่อ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นด้านไหนไม่ว่าจะเรื่องสุขภาพ เศรษฐกิจ เทคโนโลยี เรื่องคุ้มครองผู้บริโภค หรือเรื่องอะไรก็แล้วแต่ หน้าที่ของสื่อมวลชนก็คือต้องให้ข้อมูลที่รอบด้านและต้องเป็นอิสระ เวลาสอนนักศึกษาผมจะเน้นเรื่องนี้มาก อีกอย่างที่ผมคิดว่าสำคัญเปิดเทอมวันแรก ผมจะถามนักศึกษาว่า จ่ายค่าเล่าเรียนเท่าไร ใครเป็นคนจ่าย หลายคนก็จะตอบว่า ‘พ่อผมจ่าย แม่หนูจ่าย’ ‘ผมก็ย้ำว่าแน่ใจนะว่าที่คุณเรียนแปดหมื่นต่อปีแน่ใจว่าคุณจ่ายคนเดียว’‘ก็พ่อแม่ผมจ่ายก็ถูกแล้วนี่นาอาจารย์’ ‘ค่าเงินเดือนผม ค่าน้ำ ค่าไฟ คิดว่าแปดหมื่นพอไหม อ่ะที่นี้เริ่มงง เงินจำนวนมากกว่านั้นประชาชนจ่าย ภาษีประชาชนทั้งนั้น เพราะฉะนั้นคุณเรียนไปทำอะไร ประชาชนจ้างคุณมาเรียน แล้วคุณจะทำอะไรให้พวกเขาบ้าง’ ก็เล่นกันตั้งแต่เปิดเทอมเลย ให้เขารู้สึกว่าไม่ว่าจะทำงานหรือทำอะไรให้คิดถึงคนอื่นๆเยอะๆ อย่ามัวแต่คิดถึงตัวเองหรือสะตุ้งสตางค์อะไรหนักหนา คิดถึงคนอื่นให้มากๆ หน่อย อย่างผมสอนวิชาเขียนข่าวก็จะพยายามทำให้เขาเห็นว่า “แหล่งข่าว” มีหลายแหล่งข่าว นักข่าวทั่วไปจะใช้แหล่งข่าวที่เป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง เป็นนายกฯ เป็นรัฐมนตรี เป็นปลัดอำเภอ ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่ผิดอะไรใช่ไหม เพียงแต่ว่า ”พวกเขาใช่เจ้าของประเทศหรือเปล่า” เจ้าของประเทศตัวจริงน่ะใคร เขาเคยได้ออกหนังสือพิมพ์บ้างไหม มีนักข่าวโทรทัศน์ไปสัมภาษณ์เขาบ้างไหม คุณคิดว่าการไปตามนายกฯ กับไปตามชาวบ้านสักคนมาพูด อะไรมันง่ายกว่ากัน อยู่ทำเนียบทำงานในห้องแอร์ พอถึงเวลาก็สัมภาษณ์ ไปหาชาวบ้าน ไปคุยกับชาวบ้าน ไปดูปัญหาเขาเนี่ยเหนื่อยไหม อยู่กลางแดด เดินไปในทุ่ง นั่งรถไปไกล ตากแดด ข้าวปลาก็ไม่มีให้กิน คือจะพยายามทำให้เขาเห็นภาพว่าทำไมประชาชนไม่ค่อยได้เป็นข่าว เพราะฉะนั้นถ้าได้มีโอกาสเป็นนักข่าวก็อย่าลืมแล้วกัน คุยกับประชาชนบ้าง ผมชอบยกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นภาพชัดในวิชาทำข่าวก็คือเรื่องราวของเกษตรกรคนหนึ่งชื่อลุงชุ่มแกมาผูกคอตายอยู่หน้าทำเนียบรัฐบาล แล้วก็เขียนจดหมายใส่กระเป๋าไว้ว่าทำไมถึงมาผูกคอตาย ประเด็นก็คือแกถูกโกงเรื่องที่ดิน แล้วร้องเรียนมาตลอดชั่วชีวิตทั้งนายอำเภอ ผู้ว่าราชการ สส. สุดท้ายก็เขียนจดหมายถึงนายกฯ ชวน แล้วนายกฯ ก็แทงจดหมายกลับให้ผู้ว่าฯ ดูแลเรื่องนี้ต่อ คิดว่าผู้ว่าฯ จะช่วยเหรอเพราะเคยร้องมาแล้ว สุดท้ายก็คิดแผนผูกคอตายเผื่อให้เป็นข่าวสำเร็จ พอผูกคอตายเรียบร้อย ท่านนายกฯ ชวน หลีกภัย เชิญภรรยาลุงชุ่มเข้าพบที่ทำเนียบรัฐบาลถ่ายภาพออกข่าวใหญ่โต แล้วที่ดินที่ถูกยึดไปก็ได้คืนมา นี่ไงบิ๊กเนมอะไรก็เป็นข่าว แต่โนเนมอย่างลุงชุ่มต้องแลกด้วยชีวิต กว่าความจริงจะปรากฏว่าเขาต้องการอะไร ถ้านักข่าวฟังบ้างเรื่องแบบนี้ก็คงไม่ต้องแลกด้วยชีวิต” งานสื่อกับการคุ้มครองผู้บริโภค“นักข่าวปัจจุบันต้องตามข่าวเป็นเรื่องๆ และบางครั้งทำข่าวกันทางโทรศัพท์ไม่ได้ลงไปดูพื้นที่ด้วยซ้ำ อย่างการขุดทรายปากแม่น้ำไปขาย นักข่าวไม่ได้ดมด้วยซ้ำ ไม่ได้ดูแววตาชาวบ้านด้วยว่าเขารู้สึกอย่างไร อาจจะเพราะสื่อมีการแข่งขันกันเยอะ แต่ บก.ไม่น่าที่จะพอใจนะเพราะเนื้อข่าวมันไม่ได้ แต่ก็เข้าใจด้วยระบบเศรษฐกิจแบบนี้สำนักพิมพ์ก็ต้องลดต้นทุน เพิ่มกำไร แล้วเดี๋ยวนี้สำนักพิมพ์กลัวตกข่าว นักข่าวก็ต้องแบ่งกันไปเฝ้าแหล่งข่าว แล้วมาเฉลี่ยข่าวกันส่งโรงพิมพ์ เพราะเดี๋ยวนี้เน้นความเร็วเป็นหลัก ฉะนั้นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ก็จะคล้ายๆ กัน เพราะฉะนั้นอ่านฉบับเดียวก็เดาได้แล้ว” ฉลาดซื้อถามถึงพื้นที่ผู้บริโภคในสื่อปัจจุบัน อาจารย์คิดเห็นอย่างไร อาจารย์รุจน์ให้ความเห็นว่า “เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างหรือในระบบ เพราะเอาเนื้อหาไปผูกกับโฆษณา เพราะฉะนั้นระหว่างหน้าโฆษณากับเนื้อหา ถ้ามีความจำเป็นต้องตัดทิ้งเพื่อต้นทุนการผลิต คงพอจะเดาออกนะว่าเขาจะตัดหน้าอะไร หน้าผู้บริโภคก็ต้องถูกตัดไปเสมอเพราะจะนำเสนอข้อมูลที่ไปขัดกับการตลาด อีกอย่างก็คือในแง่หน้ากอง บก.จะจัดการยาก เพราะมองหาแหล่งข่าวผู้บริโภคยาก มองหาคนเดือดร้อนไม่เจอ เพราะคนเดือดร้อนเข้าไม่ถึง และมองหาแหล่งข่าวไม่เจอ อย่างมองเรื่องการเมืองเราก็นึกภาพออกใช่ไหม แต่พอมองด้านผู้บริโภค มองไม่ออก ยาก” เสพ…สื่ออย่างไรดีเบื้องต้นก็วิเคราะห์สื่อที่เรารับเข้ามาหน่อย ต้องแยกให้ออกระหว่างข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็น และต้องตั้งคำถามกับข้อเท็จจริงนั้นได้ คือตามหลักนิตยสาร ข้อเท็จจริงมันไม่ได้เป็นความจริงนะเพียงแต่มันถูกประกอบขึ้นมาให้เป็นจริง หรือถูกบัญญัติขึ้นมาว่าเป็นจริง เพราะฉะนั้นต้องอ่านและต้องวิเคราะห์ให้ออกได้ ตัวอย่างที่เห็นชัดอย่างเรื่องความขาวในปัจจุบัน เหมือนความขาวกลายเป็นวาระของโลกนี้ไปแล้ว ความขาวถูกนิยามว่าสวย อะไรแบบนี้ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาว่านั่นคือความจริง ซึ่งผู้บริโภคต้องแยกให้ออกและเท่าทัน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 112-113 "17 ปี คนฉลาดซื้อ"

17 คน 17 ปี นิตยสารฉลาดซื้อ 1.พัชรศรี เบญจมาศ นักข่าว / พิธีกร รายการผู้หญิงถึงผู้หญิง 1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไร แมร์ว่าคนเราบริโภคกันดุเดือดมากขึ้นนะ เพราะมันมีทั้งแรงโฆษณา กระแส ค่านิยม ซึ่งมันทำให้คนบริโภคกันอย่างดุเดือด อะไรที่ใครบอกว่าดี ก็อยากจะลอง ทั้งใช้ทั้งกิน จนบางครั้งก็ลืมถามตัวเองไปเลยว่า ‘มันจำเป็นกับตัวเราหรือเปล่า’ ‘แค่นี้พอหรือเหมาะสมกับตัวเราแล้วหรือยัง’ อีกอย่างที่แมร์คิดว่าสำคัญก็คือคนเราขาดข้อมูลในการเลือกซื้อ เลือกใช้ หรือขาดข้อมูลที่จะสนับสนุนว่าอะไรดี อะไรที่เหมาะกับชีวิตของเรา ที่เป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้   2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มาก น้อยแค่ไหน แน่นอนค่ะ มันตามชื่อเลย “ฉลาดซื้อ” ทำให้คนฉลาดมากขึ้น การซื้อของไม่ใช่แค่มีเงินอย่างเดียวนะ เอ้อ..มันก็ต้องมีอะไรที่มันประกอบกันเข้าไปด้วยใช่ม้ะ…มันก็ต้องคิดบ้างล่ะว่าของสิ่งนี้มันเหมาะกับเราไหม รายได้เราเท่านี้ แบบไหนถึงจะเหมาะกับเรา มันก็น่าจะมีหน่วยงานอะไรที่มาบอกกับเรา คอยเป็นหูเป็นตาแทนเรา เป็นปากเป็นเสียงแทนเรา ว่าอะไรที่ไม่ยุติธรรมกับเรา หรือบอกเราว่า “อะไรที่คุ้มค่ากับเรา” ก็น่าจะมีหน่วยงานตรงนั้น 3.ถ้าคุณเป็น บก.ฉลาดซื้อ คุณคิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ อืมม..ได้รับเกียรติอย่างยิ่งค่ะ อ้อ..แน่ล่ะรูปลักษณ์มันต้องดูดี แพคเก็จต้องดูดี คนถึงจะหยิบจับไปใช้ ไปหาความรู้ การจัดวางหน้า ปกต้องดูดี รูปแบบตัวหนังสือ ภาพประกอบต้องดูดี หรือแม้แต่เนื้อหาในหนังสือก็ต้องปรับให้ทันยุคทันสมัย เข้าใจง่าย ใช้ภาษาที่เป็นเพื่อนกับคนอ่าน เข้าถึงง่าย พอเขาอ่านได้ง่าย และเกี่ยวกับเขา การที่จะถูกเลือกให้เป็นหนังสือประจำบ้านก็จะง่ายมากขึ้น อย่างคอลัมน์สัมภาษณ์ทำให้ดีไปเลยนำเสนอวิถีและแนวคิดของคนที่ไปสัมภาษณ์ให้คนอ่านได้เห็น อาจจะเป็นกลุ่มคนที่น่าสนใจ เพราะใครๆ ก็จะสนใจว่าคนเหล่านั้นเขาคิด กิน เลือกใช้อะไรกันอย่างไรนะ.   2.สรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรข่าวโทรทัศน์ 1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไร คำว่าบริโภคนิยมมันก็ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะอยู่ในรูปแบบของสื่ออย่างเต็มรูปแบบ สมัยนี้ถ้าอะไรที่มันติดหรือเกิดกระแสก็จะเกิดในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ผมว่าปัจจุบันคนเรามีความรู้ดีขึ้นนะ คนเราต้องมีการกรองในตัวของมันพอสมควร เพราะเดี๋ยวนี้สินค้าไม่ใช่แค่ขายคุณภาพของสินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียว แต่ขายด้วยความหลากหลาย บางทีก็ขายรสนิยม ขายเทรนด์หรือบางตัวก็แบ่งผู้บริโภคออกเป็นกลุ่มๆ ซึ่งตรงนี้เราก็ไม่ว่ากัน มันขึ้นอยู่ที่ความคุ้มค่า นี่ผมพยายามมองอย่างเป็นกลางนะ อย่างสินค้าบางตัวซื้อด้วยอารมณ์ ซื้อเพราะอยากได้มากกว่าซื้อเพราะประโยชน์ เราก็ขอแต่เพียงว่าอย่าให้มันเป็นโทษก็พอ 2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มากน้อยแค่ไหน นี่เป็นตัวสำคัญเพราะสามารถหาคำตอบได้เลยทั้งในแง่วิทยาศาสตร์ แต่เป็นปัญหาตรงที่จะทำอย่างไรให้เกิดการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนโดยทั่วไป ฉลาดซื้อมีการเปรียบเทียบสินค้าที่ไม่ใช่การแนะนำให้ซื้อในด้านอารมณ์ความรู้สึก น่าเสียดายตรงที่อยู่ในวงแคบไปหน่อย ที่จะได้ให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มค่าในการเลือกซื้อสินค้า อย่างผงซักฟอก เราจะเห็นการโฆษณาผงซักฟอกที่มีการทดลองซักผ้าขาว ยี่ห้อนี้ซักคราบกาแฟ ซักคราบซอสออก แข่งกันโฆษณา แบบนี้เราน่าจะแยกออกมาให้ผู้บริโภคเห็นกันชัดๆ ไปเลยว่ายี่ห้อไหนดี ยี่ห้อไหนเด่นเรื่องอะไร หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟตอนนี้ไปใครๆ ก็บอกแต่ให้ซื้อแต่เบอร์ 5 ซึ่ง ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็อยากจะรู้ว่ามันมี 5.1 5.2 อีกหรือเปล่า หรือเตารีดใช้งานแบบเดียวกันยี่ห้อนี้ดีอย่างไร ดีกว่าแบบอื่นตรงไหน ให้เปรียบเทียบสินค้ากันให้เห็นไปเลย น่าเสียดายที่ไม่ค่อยเป็นที่น่ารู้จัก เข้าใจนะว่าการทดสอบแต่ละครั้งต้องใช้เงินเยอะ 3.ถ้าคุณเป็น บก.ฉลาดซื้อ คุณคิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ ผมว่าก็ดีอยู่แล้วนะ ถ้าเป็นผม ผมก็จะทำแบบนี้ล่ะ เพียงแต่ว่าผมจะมองเพิ่มในเรื่องของสื่อ อาจจะทำให้ประเด็นหวือหวาขึ้น เช่นเอาตัวคนที่มีชื่อเสียงเข้ามาใส่ เช่นการทดลองอะไรบางอย่างก็นำเอาคนที่มีชื่อเสียงเข้ามา หรือประเด็นวิชาการ ลองเขียนให้อ่านง่ายขึ้นหน่อยน่าจะดี คือพอเรานำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจ ไม่ว่าข้อมูลจะยากหรือซับซ้อนแค่ไหน มันก็จะง่ายขึ้น คนอ่านก็จะติดตามเราเอง 3. รองศาสตราจารย์ ดร. ปาริชาต สถาปิตานนท์   ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไร นับวันสังคมไทยเป็นสังคมที่บริโภคกันสูงขึ้นเรื่อยๆ ถือว่าเป็นสังคมบริโภคนิยมมากๆ คนจะอยากได้ อยากมี อยากเป็น และอยากเปลี่ยน และไม่ได้คิดถึงคุณค่าของอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกันกับตัวผู้ประกอบการที่ผลิตเพื่ออายุสั้น ไม่ได้ผลิตเพื่อให้ของนั้นสามารถใช้ได้อายุยาวชั่วลูกชั่วหลาน ซึ่งเป็นภาพที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและสังคมโลก 2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มาก น้อยแค่ไหน การเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ที่รวดเร็วและหลากหลาย ทำให้เกิดการซื้อเยอะขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือการสร้างกระแสให้เกิดลัทธิการบริโภค ลัทธิการเอาอย่าง ซึ่งตรงนี้เป็นตัวอันตราย และฉลาดซื้อเป็นสื่อหนึ่งที่ช่วยได้ เป็นตัวที่ช่วยเทียบให้เห็นถึงความหลากหลายให้คนได้ชะลอตัวเองมากขึ้น ให้ได้คิดมากขึ้น คิดเรื่องคุณสมบัติต่างๆ ของสินค้าที่จะซื้อ ไม่ใช่ซื้อเพราะชอบยี่ห้อนี้ไม่ได้ดูเหตุผลประกอบ อีกอย่างก็คือฉลาดซื้อมีคอลัมน์ที่หลากหลายทำให้เรามีมุมมองที่หลากหลาย มาแบ่งปันประสบการณ์ทำให้เรารู้เท่าทันว่ามันเกิดอะไรขึ้นในสังคมบริโภคบ้าง 3.ถ้าคุณเป็น บก.ฉลาดซื้อ คุณคิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ อยากเห็นซีรี่ส์ที่หลากหลายในฉลาดซื้อ ซึ่งตอนนี้ฉลาดซื้อสื่อออกมาในแนววิชาการที่น่าอ่านและน่าเก็บ แต่อยากเห็นฉลาดซื้อในเวอร์ชั่นสำหรับเยาวชน อยากเห็นจริงๆ ค่ะ อยากเห็นการเชิญชวนให้เยาวชนรุ่นใหม่กล้าคิด กล้าวิเคราะห์ คิดนานๆ เพราะเราไม่สามารถปฏิเสธสังคมบริโภคนิยม ปฏิเสธลัทธิการเอาอย่างได้ เพียงแต่เราจะทำอย่างไรให้เราและเยาวชนเท่าทันได้อย่างไร และนั่นล่ะคือสิ่งที่อยากเห็น อีกอย่างที่อยากเห็นคือการใช้พื้นที่ในส่วนของสังคมออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ เพราะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่น่าสนใจและจะเป็นการส่งต่อที่รวดเร็วด้วย 4.ภัทรีดา ประสานทอง นักวาดภาพประกอบหนังสือ 1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไร ถามหน่อยว่าใครที่กลับบ้านโดยไม่ซื้ออะไรบ้าง เหมือนความสุขที่หาได้ตอนนี้คือการได้ซื้อแล้วค่ะ บางครั้งซื้อไปแล้วก็ไม่ได้ใช้ แต่มีความสุขที่ได้ซื้อ หรือตอนนี้อาจจะกลายเป็นการติดการซื้อไปแล้ว 2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มาก น้อยแค่ไหน ตอนได้เห็นหนังสือฉลาดซื้อที่แผง เปิดอ่านดู ต้องบอกก่อนนะคะว่า คำว่า“ฉลาดซื้อ” เหมือนทุกคนต้องป้องกันตัวเองในการซื้อน่ะ เรามีความสุขแค่การซื้อ จ่ายตังค์แล้วก็แค่ได้ของมาบางทีก็ลืมไปเลยว่าเราซื้อของนั้นมา เพราะฉะนั้นมันต้องมีเส้นแบ่งว่า ซื้อจ่ายตังค์แล้วมีความสุข ตอนนี้ความสุขไม่ได้จบลงแค่ของแล้วค่ะ แต่กลายเป็นมีความสุขที่ได้ซื้อ แล้วก็ซื้อไปเรื่อยๆ แต่ใน “ฉลาดซื้อ” ไม่มีโฆษณาเพื่อจูงใจให้ซื้อ อ่านแล้วต้องขอบคุณคนทำเลยค่ะ มีทั้งการเปรียบเทียบของแต่ละอย่าง คือทำให้เราอ่านเลยค่ะ มันต้องอ่านน่ะ 3.ถ้าคุณเป็น บก.ฉลาดซื้อ คุณคิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ อยากให้หนังสือมีภาพประกอบที่โมเดิร์น เช่นนำภาพคนที่วาดการ์ตูนในหนังสือ 100 สิ่งที่ไม่ต้องทำฯ มาประกอบ หรือทำสีข้างในให้ดูสดใส ปรับฟ้อนท์อีกนิดหน่อย เนื้อหาข้างในดีอยู่แล้วค่ะ อยากให้ทุกบ้านมีฉลาดซื้อติดบ้านไว้ค่ะ เป็นนิตยสารที่ทุกคนต้องอ่านค่ะ 5.นที เอกวิจิตร์ - หนึ่งในสมาชิก วงบุดดาเบลส1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไร ตามหลักพุทธศาสนาเลย ต้องใช้สติอย่างมาก เพราะปัจจุบันเราเห็นอะไรปุ๊บก็ซื้อเลย ยิ่งมีบัตรเงินสดสารพัดบัตร กด รูดกันปุ๊บปั๊บ เห็นโฆษณาเดี๋ยวนี้ก็สมเพชนะครับ ทำให้คนอยากได้ของ มีทั้งเอารถไปดาวน์ เปลี่ยนเป็นเงินสด คือของฟุ่มเฟือยน่ะ มันไม่มีมันก็ไม่ตายหรอกนะ ตรงข้ามกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง มันสวนกระแส ผมว่ามันเป็นทาง ฉิบหายเลยล่ะ เป็นทางสนับสนุนกิเลสโดยไม่เกิดผลเลยชัดๆ ไม่ได้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มากเลย ถึงแม้จะทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจมันดีขึ้น คือตัวเลขมันวัดได้ก็จริง แล้วไม่ใช่ตัวเลขหรอกเหรอที่ทำให้เกิดฟองสบู่แตกมาไม่รู้กี่ครั้ง ในต่างประเทศก็เป็น อเมริกาก็เป็น IMF เป็นคนบอกให้เราด้วยซ้ำว่าต้องทำอย่างไร แต่ตัวมันเองยังจะเอาตัวไม่รอดผมว่าอย่างที่ในหลวงท่านพูด มันถูกทุกอย่าง เอาดัชนีความสุขมาวัดดีกว่า อย่ามาใช้ตัวเลขวัดกันเลย ตัวเลขมันก็เป็นแค่ตัวเลขน่ะ รวยแล้วเป็นอย่างไรมีความสุขไหม เศรษฐกิจดีแล้วไง มีความสุขอย่างไร ความสุขก็คือความทุกข์ที่มันยังมาไม่ถึง ฟังแล้วมันอาจดูเวอร์นะ แต่ผมว่าปล่อยให้มันค่อยไปจะดีกว่าไม่เห็นจะต้องตัวเลข GDP สูงกระฉูดเลย แค่ให้อยู่กลางๆ ให้ทุกคนไม่มีใครสุขหนักและทุกข์หนัก แบบนั้นผมว่ามันยังดีนะ เพราะว่าผมว่าบริโภคนิยมเดี๋ยวนี้ทำให้คนที่มีความสุขก็สุขสุดๆ ไปเลย อะไรอยากได้ก็ซื้อ ไม่มีปัญญาซื้อก็ดาวน์ก่อนผ่อนทีหลัง พอใช้หนี้ไม่ไหวก็ทุกข์หนักมีปัญหาตามมาค่อยว่ากัน คือมันสุขหนักกับทุกข์หนักไปเลย 2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มาก น้อยแค่ไหน ผมว่าฉลาดซื้อนำเสนอเรื่องที่เราไม่เคยรู้ให้ได้รู้ คือถ้ามีคนมาทดลองให้เราดู ให้เรารู้ว่าสารนี้มีผลอะไรต่อร่างกาย ต้องกินเท่าไร กินอย่างไรไม่เป็นอันตราย ช่วยเราได้เยอะนะ อีกอย่างผมว่าฉลาดซื้อจะช่วยให้เราประหยัดได้นะ อย่างเรื่องเครื่องดื่มที่ทำให้สวย พอรู้แล้วว่าเอ้ย…ยย มันไม่มีอะไร แค่เรากินอาหารให้ครบ 5 หมู่ก็สวยและสุขภาพดีได้แล้ว ไม่ต้องไปเสียเงินซื้ออะไรแบบนี้แล้ว 3.ถ้าคุณเป็น บก.ฉลาดซื้อ คุณคิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ ผมอยากให้ทำสรุปผลการทดสอบออกมาเลย ว่าอะไรที่อันตราย หรือบอกว่าควรจะกินอย่างไร เดือนหนึ่งควรจะกินกี่ห่อ อะไรกินแล้วดี เพราะดูในตารางแล้วมันงง ไหงจะต้องมาสรุปเอง มันจะงง สรุปให้มันง่ายคนก็จะเข้าใจง่ายขึ้น อีกอย่างเรื่องความเชี่ยวชาญอย่างเรื่องกล้อง ผมก็ไม่แน่ใจนะว่าจะเชี่ยวชาญมากกว่าที่อื่นหรือเปล่า น่าจะลงส่วนที่ทดสอบหรือห้องปฏิบัติการลงไปด้วย จะสร้างความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นครับ 6.ประกิต หลิมสกุล คอลัมนิสต์กิเลนประลองเชิง นสพ.ไทยรัฐ1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไร สินค้าหรือของมีการออกมามากมายพัฒนาไปเยอะ ในขณะที่คนไทยภาพรวมในความคิดผมนะยังมีความรับรู้และเข้าใจต่อสิ่งที่จะเข้ามาไม่พอ ยังเลือกที่จะบริโภคของเพื่อตัวเองได้ไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลย อย่างเรื่องราวของธุรกิจขายตรง ผมอยู่ในวงการหนังสือพิมพ์มานานก็จะเห็นเรื่องราวซ้ำซากอย่างแชร์ลูกโซ่ มันมีการเปลี่ยนรูปแบบไปเท่านั้นอย่างแจกรถยนต์ มันก็คล้ายๆแชร์แม่ชะม้อยนั่นล่ะ ปัจจุบันก็ยังมีอยู่ หรือแม้แต่เรื่องราวของการตกทอง เป็นการต้มตุ๋นอย่างเห็นได้ชัด ก็ยังมีอยู่ หรือแม้แต่การใบ้หวยปัจจุบันก็ยังมีอยู่ เรื่องที่นอนแม่เหล็กที่เน้นไปที่ความกตัญญูให้ลูกซื้อรักษาโรคให้พ่อแม่ ทั้งที่มันเป็นเรื่องราวการต้มกันชัดๆ ก็ยังมีอยู่ จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้การบริโภคเราแย่มาก ยังไปไม่ทัน 2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มาก น้อยแค่ไหน จากจำนวนสมาชิกฉลาดซื้อปัจจุบัน พอเทียบกับจำนวนคนในประเทศถือว่าน้อยมากนะ คิดเป็นจุดต่ำกว่าศูนย์กี่ตัว คนไทยควรจะอ่านนิตยสารฉลาดซื้อสักครึ่งหนึ่งของประเทศ แล้วสิ่งที่ฉลาดซื้อหวังไว้ถึงจะได้ ฉลาดซื้อก็ดีนะ ผมเห็นแล้วก็จะเปิดดู ผมว่าเก่งนะที่กล้าเปิดเผยรายชื่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างไทยรัฐก็เปิดคอลัมน์ “มันมากับอาหาร” หรือมีข่าวมีเรื่องร้องเรียนเข้ามา เราก็เลี่ยงที่จะไม่เปิดเผยชื่อผลิตภัณฑ์ อย่างจิ้งจกในนม หรือสื่อของหน่วยงานภาครัฐเองก็ได้แต่ออกมาเตือน ให้ระวังนะ แต่ก็ไม่ได้กล้าจะเปิดเผยชื่อ เพราะติดเรื่องกฎหมายอาจจะถูกฟ้องกลับได้ แต่ฉลาดซื้อทำได้ ฉลาดซื้อกล้าที่จะทำ กล้าที่จะบอกว่าอะไรดี อะไรไม่ดี ในขณะที่สื่อหลักอาจจะติดปัญหาเรื่องกฎหมาย หนังสือชื่อดีนะถ้าทำอะไรในทางการค้า จะขายได้และร่ำรวยเลย แต่ว่าทำโดยไม่แสวงประโยชน์ จึงไม่ร่ำรวย ถ้าฉลาดซื้อตกอยู่ในมือมารนะรวยแย่เลย 3.ถ้าคุณเป็น บก.ฉลาดซื้อ คุณคิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ ฉลาดซื้อทำดีกว่าสื่ออื่นนะ ทำอย่างมีหลักมีเกณฑ์ มีทนายคอยช่วยเหลือ มีหน่วยงานทดสอบ เรื่องราวการนำเสนอเป็นเรื่องราวมีประโยชน์ เป็นเรื่องราวของปัญญาชน แต่ไม่ค่อยมีคนชอบอ่าน เพราะเป็นเรื่องของคนที่ต้องใช้ปัญญา เขาถึงจะอ่านกัน ต้องใช้เวลา และถ้านำข้อมูลแบบฉลาดซื้อมาลงในไทยรัฐ เราก็จะขายได้แค่ 10,000 เล่มเท่านั้นละ มีคนมาดูงานที่ นสพ.ไทยรัฐนะแล้วก็ถามว่าทำไมทำหนังสือแบบนี้ ทำเรื่องนุ่งน้อยห่มน้อย ทำข่าวฆ่ากันตาย เพราะบ้านเรายังมีคนหลายกลุ่ม คนที่เป็นปัญญาชนบ้านเรายังน้อย คนที่หาแต่สาระยังมีน้อย ถ้ากล้าที่จะทำเรื่องที่ท้าทาย ฉลาดซื้อก็จะขายได้เยอะ แต่ทุกอย่างต้องใช้เวลา 7. ดร.ไพบูรณ์ ช่วงทอง1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไรตามความคิดและประสบการณ์ส่วนตัวของผมนะครับ ผมว่าขายกันทั้งวันทั้งคืน ทั้งของข้างนอกและในทีวี เราจะเห็นว่ามีโฆษณาที่กระตุ้นให้อยากซื้ออยากได้อยู่ตลอดเวลา เรียกว่าขายกัน 24 ชั่วโมง ถ้าหากเราไปเปรียบเทียบกับต่างประเทศอย่างเยอรมันเขาจะมีวันว่างหนึ่งวันไว้ทำอะไร เล่นกีฬาออกกำลังกาย หรือมีเวลาให้กับครอบครัว แต่ของเรานี่ขายกันอย่างเดียวเลย มีตลาดนัดเกือบทุกที่ กระตุ้นกันอยู่ตลอดเวลา 2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มาก น้อยแค่ไหน ผมมองว่าเป็นหนังสือที่เปิดมุมมองใหม่ให้กับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมด้วย และที่สำคัญคือไม่มีโฆษณาทำให้ไม่ตกอยู่ในอิทธิพลของสินค้าหรือภาคเศรษฐกิจ ผมว่าสังคมเราน่าจะเห็นความสำคัญของฉลาดซื้อ จะสนับสนุนแบบไหนก็อีกค่อยว่ากันอีกที ภาครัฐเองก็น่าจะสนับสนุนบางส่วน อย่างเยอรมันก็จะมีนิตยสารตัวหนึ่งที่ทำคล้ายๆ กับฉลาดซื้อทุกอย่างแต่ว่าของเขาจะได้รับเงินอุดหนุนจากภาครัฐ ซึ่งเป็นการสนับสนุนที่ถูกเขียนไว้ในกฎหมายที่รัฐจะต้องสนับสนุน เหมือนตั้งเป็นมูลนิธิที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสินค้าแล้วก็เผยแพร่ความรู้สู่ผู้บริโภค อย่างที่เยอรมันเขาจะทำการทดสอบสองเล่มคือ ทดสอบสินค้า กับทดสอบผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับทางด้านการเงิน คนที่นั่นจึงมีแหล่งข้อมูลและอาวุธในการเลือกซื้อเลือกใช้สินค้า ซื้อรถยนต์ หรือแม้แต่เรื่องทัวร์ต่างประเทศเขาก็ใช้ข้อมูลนี้ 3.ถ้าคุณเป็น บก.ฉลาดซื้อ คุณคิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ ก็คงจะเพิ่มเติมในส่วนวิชาการมากกว่าครับที่ทำอยู่ดีอยู่แล้วครับ ทางภาควิชาการก็จะเป็นหน่วยงานที่สนับสนุน เพราะจริงๆ แล้วฉลาดซื้อเป็นองค์กรผู้บริโภคและต้องเล่นบทนำ นักวิชาการเล่นบทสนับสนุน งานคุ้มครองผู้บริโภคความจริงมีหลายด้านนะครับ จึงต้องมีหลายส่วนสนับสนุนและต้องมีภาคสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความเป็นธรรม อีกส่วนที่ฉลาดซื้อน่าจะเพิ่มเข้าไปก็คือ News Letter ไม่ต้องรอบอกในหนังสือก็ได้ เพราะบางข่าวส่งถึงสมาชิกได้เลย อาจจะทางอีเมลล์ก็ได้ครับสะดวกดี หรือส่งทาง SMS ก็ได้ ด้านรูปเล่มผมว่าดูน่าอ่านมากขึ้นนะ แต่น่าจะนึกถึงผู้สูงอายุด้วยนะ เพราะบางทีตัวเล็กมากก็ลำบากเหมือนกันครับ 8.จุฑา สังขชาติ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไร มองในฐานะของคนที่ทำงานองค์กรผู้บริโภคนะ เรียกสังคมว่าตอนนี้เป็นสังคมบริโภคนิยมแบบเต็มตัวไปแล้ว ปัญหาต่างๆ ที่เราเจอก็จะเกิดจากการบริโภคที่เกินตัว และเกินความจำเป็น ทั้งการโฆษณาชวนเชื่อ อย่างเรื่องการแจกซิมการ์ด คือทั้งที่มันก็ไม่จำเป็นอะไรเลย แล้วปัญหาก็ตามมา แล้วไม่ใช่แค่ใช้บริการหรือใช้สินค้าแล้วมันปัญหา แต่มันเกิดปัญหาสังคมโดยภาพรวมตามมาเพราะมันมีความอยากได้ที่มากเกินกำลังของตัวเอง ตอนนี้กับเด็กจะเกิดปัญหามาก อยากมีให้เหมือนเพื่อน ต้องดีกว่าเพื่อน เพราะเขาถูกกระตุ้นความอยากได้ แล้วเขาก็ต้องหาให้ได้มา หรือก็ไปซื้อมาใช้โดยขาดข้อมูลหรือวุฒิภาวะการซื้อไม่เพียงพอ หรือไม่ก็ไปขอเงินพ่อแม่มา แล้วก็ซื้อหามาได้ง่ายๆ อาจจะไปสำแดงฤทธิ์กับพ่อแม่ ที่นี้พ่อกับแม่ก็ไปกู้สถาบันการเงิน นำเงินในอนาคตออกมาใช้ คนแก่ก็มีปัญหานะเพราะขาดข้อมูลในการเลือกซื้อ ก็จะถูกหลอก เช่นมีคนเอาเก้าอี้รักษาโรคไปขาย ให้นั่ง 24 ครั้งแล้วหายจากอัมพาต ราคาเหยียบแสน ผู้ร้องยินดีที่จะขายที่ดินเพื่อจะซื้อเลยนะ เขาก็ยังจะซื้อเพราะเขาทุกข์ทรมานกับโรคมานาน หรือปัญหาโทรศัพท์มือถือจะมี SMS ไปรบกวน ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เขาไม่ต้องการเลย เราจะเห็นความพยายามเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการในวิถีทางต่างๆ นานา 2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มาก น้อยแค่ไหน ฉลาดซื้อช่วยได้เยอะนะคะ ฉลาดซื้อเหมือน “คัมภีร์ผู้บริโภค” บางคนอ่านแล้วก็บอกว่านี่ล่ะที่เขาหามานาน เป็นคู่มือผู้บริโภคใช้เป็นข้อมูลประกอบการเลือกซื้อ เลือกใช้สินค้าต่างๆ หรือบางเรื่องก็จะเป็นข้อมูลเตือนให้เขาระวัง ทำให้พวกเขาได้เท่าทันการบริโภคปัจจุบัน ในขณะที่เราทำงานผู้บริโภคฉลาดซื้อก็เหมือน “ยาสามัญประจำบ้าน” ที่ต้องมีเพราะเราสามารถหยิบเอาไปพูดในรายการวิทยุชุมชน พูดในเวที หรือเป็นเครื่องมือในการจัดนิทรรศการกับหน่วยงาน กับชาวบ้าน ก็จะหยิบฉลาดซื้อไปจัดนิทรรศการด้วยเป็น “นิทรรศการฉลาดซื้อ” ให้คนที่มาดูได้เห็นว่า ยังมีนิตยสารผู้บริโภคที่ทำเรื่องผู้บริโภคทุกอย่างที่เป็นปัญหา ซึ่งเราจะเห็นว่าเรื่องเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ฉลาดซื้อก็นำมาเสนออีกเราจะเห็นว่าปัญหามันแรงขึ้นกว่าเดิม เหมือนประเด็นของฉลาดซื้อทันสมัยตลอดเวลา ไม่เคยล้าสมัย 3.ถ้าคุณเป็น บก.ฉลาดซื้อ คุณคิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ รูปเล่มหน้าตาดูดีขึ้น มีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอด ก่อนที่จะปรับรูปเล่มเคยได้ยินคนบอกว่า “ฉลาดซื้อ อ่านได้ทั้งเดือน” คือมันไม่ล้าสมัย อ่านมันได้ตลอด แต่พอเป็นเล่มเล็กก็จะง่ายขึ้น เร็วขึ้น น่าสนใจมากขึ้น อยากให้เพิ่มข่าวหรือสถานการณ์จากเครือข่ายลงไปด้วย เพราะจะได้เห็นความเคลื่อนไหวของเครือข่ายและเรื่องผู้บริโภคในส่วนภาคอื่นๆ ด้วย 9.พระไพศาล วิสาโล1.มองสังคมปัจจุบันที่เป็นสังคมบริโภคอย่างไรสังคมไทยในปัจจุบันเป็นสังคมบริโภคที่เข้มข้นมาก คือไม่ได้เป็นแค่สังคมของผู้บริโภคหรือสังคมที่เต็มไปด้วยคนที่บริโภคในสิ่งที่ตนไม่ได้ผลิตเท่านั้น แต่ยังเป็นสังคมที่ถูกกระแสบริโภคนิยมครอบงำสูงมาก กล่าวคือผู้คนมีความเชื่ออย่างแพร่หลายว่าความสุขอยู่ที่การบริโภคหรือการมีวัตถุเยอะ ๆ ที่น่าสนใจคือเดี๋ยวนี้คนไม่ได้บริโภคเพราะหวังความสะดวกสบายหรือความเอร็ดอร่อยทางตา หู จมูก ลิ้น และกายเท่านั้น แต่ยังต้องการมีตัวตนใหม่จากการบริโภคด้วย เช่น บริโภคเพื่อเป็นคนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นผู้หญิงเก่ง เพื่อเป็นคนทันโลก ฯลฯ ด้วยเหตุนี้สินค้าแบรนด์เนมจึงสำคัญมาก เพราะมันช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้ดูดีและทำให้รู้สึกว่ามีตัวตนใหม่ที่โก้เก๋นี้ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วกับสังคมบริโภคอย่างอเมริกาหรือญี่ปุ่น แต่สังคมไทยแตกต่างจาก 2 ประเทศตรงที่ว่า ขณะที่คนอเมริกันและญี่ปุ่นแม้จะใฝ่เสพใฝ่บริโภค แต่เขาก็ใฝ่ผลิต คือมีความขยันขันแข็งด้วย ส่วนคนไทยนั้นไม่ค่อยมีความใฝ่ผลิต อยากได้อะไร ก็คิดแต่ว่าทำอย่างไรถึงจะได้มาโดยไม่เหนื่อย ไม่ต้องออกแรง ก็เลยนิยมทางลัด เช่น เล่นพนัน เล่นหวย พึ่งพาไสยศาสตร์ หนักกว่านั้นคือขโมย โกง หรือคอร์รัปชั่น สรุปคือเป็นสังคมบริโภคที่ล้าหลังมาก 2. คิดว่านิตยสารฉลาดซื้อมีความหมายกับสังคมบริโภคนิยมมากน้อยแค่ไหน นิตยสารฉลาดซื้อมีประโยชน์ตรงที่ช่วยให้คนบริโภคอย่างฉลาด คือซื้อของอย่างรู้ค่าและเหมาะสมกับราคา ทำให้มีสติยั้งคิด ไม่หลงไปตามกระแสโฆษณา และหันมาช่วยเหลือกันเอง ประเด็นหลังนี้สำคัญมาก เพราะบริโภคนิยมมีแนวโน้มให้ผู้คนอยู่อย่างตัวใครตัวมัน ไม่ช่วยเหลือกัน ไม่รวมกลุ่มกันเพื่อปกป้องสิทธิของตัวเอง แต่นิตยสารฉลาดซื้อช่วยให้ผู้บริโภคมีเวทีและพื้นที่ที่จะแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ และปรึกษาหารือกัน 3.หากท่านเป็นบก.ฉลาดซื้อ คิดว่าจะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรให้กับฉลาดซื้อ หากเป็นบก.ฉลาดซื้อ อาตมาจะเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับ “สุขได้แม้ไม่ซื้อ” คือนอกจากซื้ออย่างฉลาดแล้ว เราควรฉลาดที่จะไม่ซื้อด้วย อาตมาจะเพิ่มคอลัมน์เรื่อง “หนึ่งสัปดาห์ในชีวิตที่ไม่ซื้อ” เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ของคนที่ไม่ซื้ออะไรเลยตลอดหนึ่งอาทิตย์ แล้วเขาอยู่อย่างไรโดยที่มีความสุขด้วย อาจจะเชิญชวนคนดังหรืออาสาสมัครมาทดลองอยู่แบบนี้ ต่อไปก็อาจเพิ่มเป็น “หนึ่งเดือนในชีวิตที่ไม่ซื้อ” นอกจากนั้นก็จะมีคอลัมน์เกี่ยวกับการผลิตสิ่งของด้วยตัวเอง ที่เหมาะกับคนในเมือง จากนั้นก็จะขยายไปสู่แนวคิดเรื่อง “สุขได้เพราะไม่ซื้อ” คือลงเรื่องราวเกี่ยวกับคนที่มีความสุขเพราะไม่หลงติดในบริโภคนิยม สุขเพราะปลอดจากความอยากซื้อ 10. หมอวิชัย โชควิวัฒน์ ประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม1.มองสังคมปัจจุบัน ที่เป็นสังคมบริโภคนิยม อย่างไรเป็นสังคมบริโภคนิยมเกือบจะสุดขั้วเลย ในประเทศอย่างสหรัฐอเมริกานี่นะ เขาเป็นบริโภคนิยม แต่เขาก็ส่งเสริมคนให้ผลิตด้วย แต่ของไทยเราเนี่ยนะส่งเสริมคนให้บริโภค แต่ไม่ส่งเสริมการผลิต แล้วการส่งเสริมการบริโภคนั้นก็เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ ท่ามกลางระบบการคุ้มครองประชาชนด้านบริโภคที่อ่อนแอมาก 2.คิดว่า นิตยสารฉลาดซื้อ มีความหมายกับสังคมบริโภคนิยม มาก น้อยแค่ไหน มีความหมายน้อย สังคมไทยเป็นสังคมที่เน้นการพูดคุยไม่เน้นอ่าน เพราะอากาศมันร้อนคนก็ไม่อยากอุดอู้อยู่ในบ้านอ่านหนังสือ ไม่เหมือนประเทศหนาวที่หลบหนาวอยู่ในบ้าน เพราะฉะนั้นเขาก็จะส่งเสริมการอ่านมากกว่าบ้านเรา ถ้ามองย้อนไปในอดีตบ้านเราแต่โบราณ วัฒนธรรมการถ่ายทอดความรู้เป็นแบบมุขปาฐะ คนที่รู้เยอะเขาจะเรียกว่าพหูสูตร เป็นพวกที่ฟังมาก ไม่ใช่อ่านมาก เพราะฉะนั้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 114 คิดอย่างคนรุ่นใหม่ ในแบบของ "เปอร์ - สุวิกรม อัมระนันทน์”

  คิดอย่างคนรุ่นใหม่ ในแบบของ "เปอร์ - สุวิกรม อัมระนันทน์” หลายคน คงพอคุ้นหน้าคุ้นตาหนุ่มคนนี้ จากผลงานภาพยนตร์เรียลิตี้เรื่อง “Final Score ไฟนอล สกอร์ 365 วัน-ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์" "เปอร์ - สุวิกรม อัมระนันทน์” คือหนึ่งในคนบันเทิงรุ่นใหม่ที่น่าจับตา จากผลงานหลากหลายในวงการบันเทิง ทั้ง นักแสดง ดีเจที่ 104.5 แฟต เรดิโอ และพิธีกรรายการ “ดิ ไอดอล คนบันดาลใจ” ทางโมเดิร์น ไนน์ ทีวี  แฟน “ฉลาดซื้อ” ที่ชื่นชอบ หรืออาจยังไม่รู้จัก และอยากรู้จักหนุ่มคนนี้ ลองมาฟังความคิด การใช้ชีวิต การทำงาน มุมมองเรื่องสื่อ และแนวคิดเรื่องการบริโภคของพิธีกรรุ่นใหม่คนนี้กัน   เริ่มต้นเข้ามาทำงานในวงการบันเทิงได้อย่างไร? หลังจากได้เล่นภาพยนตร์เรื่อง Final Score ก็ทำให้คนเริ่มรู้จักผมมากขึ้น ซึ่งก็ทำให้มีวิทยุคลื่นหนึ่งติดต่อมาว่าอยากให้ผมไปเป็นดีเจ แต่เผอิญว่าในใจผมอยากจะ ไปทำกับคลื่นวิทยุอีกคลื่นหนึ่ง ซึ่งก็คือ 104.5 แฟต เรดิโอ ผมก็เลยขอร้องให้พี่พีอาร์ของบริษัท GTH ที่รู้จักกันตอนทำ Final Score ให้ช่วยติดต่อมาทาง แฟต เรดิโอ ว่าผมอยากมาเป็นดีเจที่นี้ ทาง แฟต เรดิโอ ก็เลยให้ทำเทปเดโมจัดรายการไปให้ลองฟัง ทาง Managing Director ของทาง แฟต เรดิโอ ซึ่งก็คือ พี่เต็ด ยุทธนา บุญอ้อม ด้วยความที่เป็นรุ่นพี่รุ่นน้องกันที่สวนกุหลาบ และตัวพี่เต็ดเองก็เป็นคนที่ชอบให้โอกาสน้องๆ สุดท้ายก็เลยจับพลัดจับผลูได้มาเป็นดีเจที่ แฟต เรดิโอ หลังจากนั้นก็เริ่มได้โอกาสไปทำรายการอีกหลายๆ รายการ ซึ่งก็เป็นการต่อยอดการทำงานไปเรื่อยๆ   ช่วยเล่าวิธีการทำงานในฐานะพิธีกรให้ฟังหน่อย? ผมจะเปรียบตัวเองเป็นผู้ชมคนหนึ่ง คือจะดึงความรู้สึกตอนที่เราเป็นคนดู เวลาที่ดูรายการสัมภาษณ์ต่างๆ บางครั้งเรามักจะมีคำถามในใจ ที่บางครั้งพิธีกรไม่ได้ถามแขกรับเชิญที่มาออกรายการ เราก็จะจดจำคำถามพวกนั้นไว้ ซึ่งผมเชื่อว่าหลายๆ คนเวลาดูรายการทีวีก็จะจินตนาการตามแล้วก็มักจะมีเสียงตอบโต้กับทีวี เชื่อบ้าง ไม่เชื่อบ้าง หรืออาจจะมีคำ ถามว่า อาจจะมีด่าบ้าง ชมบ้าง พอเรามาได้มาเป็นพิธีกรเอง เราก็จะเอาความรู้สึกที่เราเคยได้รับเวลาดูทีวีทั้งจากตัวเองและคนรอบๆ ข้าง  มาแปลเป็นคำถามที่เราคิดว่าหลายๆ คนอยากรู้แต่ยังไม่เคยถูกถาม มาถามแขกรับเชิญ   มีเสียงตอบรับเรื่องการทำงานของเรายังไงบ้าง? เรื่องเสียงตอบรับที่มีต่อการทำงาน ปกติผมจะไม่ค่อยได้เช็คจากคนรอบข้างมากนัก แต่สำหรับตัวผมเองก็รู้สึกว่ายังไม่ค่อยพอใจสักเท่าไหร่ เพราะทุกครั้งที่กลับมานั่งดูรายการก็ยังรู้สึกไม่ค่อยชอบ รู้สึกว่ายังไม่ค่อยสมบูรณ์ ซึ่งเป็นแบบนี้ทุกครั้ง คือยังไม่มีเทปไหนที่ดูแล้วไม่อยากกลับไปแก้ไขอะไรเลย ซึ่งจุดที่อยากกลับไปแก้ไขก็อาจแตกต่างกันไปคนละจุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตัวคำถาม ที่บางครั้งก็มารู้สึกทีหลังว่าทำไมวันนั้นเราไม่ถามแบบนี้ หรือแม้แต่วิธีการถามกับคำถามแบบนี้เราน่าจะถามอีกแบบแทนที่จะถามแบบนี้ คือตัวผมจะให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียด แม้แต่เรื่องการนั่งสัมภาษณ์ เทปนี้เผลอนั่งกระดิกขา นั่งสั่นหัว นั่งคุยกับกับกล้อง ผมจะให้รายละเอียดกับทุกๆ รายละเอียด ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ผู้ชมอาจจะดูไม่ออกหรืออาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าผมทำให้มันเกิดขึ้นเพราะไม่ทันสังเกต   ดูเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับรายละเอียดในการทำงานค่อนข้างมาก? เพราะมันเป็น “งาน”  เป็นสิ่งที่เราต้องรับผิดชอบ ต้องทำให้ดี รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่คนดูไม่ทันสังเกต แต่มันส่งผลลึกๆ ไปถึงเขาเวลาที่กำลังดูเราสัมภาษณ์แขกรับเชิญ อย่างถ้าผมนั่งกระดิกขาระหว่างผมสัมภาษณ์ คนดูรายการอยู่สมาธิก็อาจจะหลุดจากเรื่องที่ผมสัมภาษณ์มาสนใจที่เท้าผม ว่าเฮ้ย! ไอ้นี่มันนั่งกระดิกขา ดนดูเขาก็ตกหล่นประเด็นเรื่องที่ผมอยากนำเสนอ มันเป็นการสังเกตเล็กๆ น้อยๆ ที่บางครั้งคนดูไม่รู้แต่มันมีผล ซึ่งหน้าที่ของผมก็คือการนำเสนอในสิ่งที่ผมตั้งใจสื่อไปถึงผู้ชมให้สมบูรณ์แบบเต็ม 100% ที่สุด   มุมมองที่มีต่อสื่อในยุคปัจจุบัน? ผมคิดว่า สื่อ ก็เหมือนกับทุกอย่างบนโลกนี้ คือมันก็มีทั้งดีและไม่ดี ไม่ว่าเราจะหยิบเรื่องอะไรขึ้นมาพูด รูปธรรม นามธรรม สิ่งของ คน หรืออะไรก็ตาม ทุกอย่างมีทั้งแง่ดีและไม่ดีเหมือนกันหมด ถามว่าในวันนี้มีสื่อที่ไม่ดีมั้ย มันก็อาจจะมี มีสื่อที่สร้างสรรค์สังคมมั้ย มี มองเปรียบเทียบอย่างเรื่องอาหาร ก็มีทั้งอาหารที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ หรือถ้ามองให้ลึกลงไปอีกของบางอย่างที่มองว่าดีก็อาจจะมีแง่ที่ไม่ดีปนอยู่ หรือของบางอย่างที่ดูว่าไม่ดีก็อาจมีสิ่งที่ดีอยู่บ้างเหมือนกัน ผมเองไม่เคยคิดขนาดว่าอยากจะให้สื่อพัฒนาไปทางไหน หรือคิดไปไกลว่าอยากจะให้สื่อเป็นไปในทิศทางไหน เพราะว่าก็ไม่ได้เป็นนายกสมาคมสื่อหรืออะไรแบบนั้น แต่สำหรับผม ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสื่อหรือสิ่งต่างๆ ที่ผมจะทำ ยกตัวอย่างถ้าเป็นรายการทีวี อย่างแรกเลยคือจะต้องเป็นประโยชน์ต่อตัวผม คือผมก็ต้องได้ความรู้ ความบันเทิง ความสนุก อย่างที่สองคือ สิ่งต่างๆ ที่ผมรู้สึก มันต้องส่งกลับไปหาคุณผู้ชมทางบ้านด้วย ทั้งความรู้ ความสนุก คนดูต้องได้เท่าๆ กับเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมยึดถือมาตลอดเวลาที่ผมทำงานในฐานะสื่อ เพราะถือว่าเป็นการไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน ถ้าถามว่ารายการทีวีอยู่ได้อย่างไร แน่นอนว่ามาจากการขายสปอนเซอร์ ขายโฆษณา แต่สปอนเซอร์จะขายได้อย่างไรถ้าไม่มีคนดู สุดท้ายแล้วรายการจะอยู่ได้จริงๆ ก็คือต้องมีคนดู ไม่ใช่ว่ารายการอยู่ได้ด้วยสปอนเซอร์อย่างเดียว ถ้ารายการไม่มีคนดูสปอนเซอร์ก็ไม่ซื้อ เพราะฉะนั้นการที่จะต้องพึ่งอยู่กับผู้บริโภคที่เป็นคนดู จะหวังให้เขามาดูโดยที่เราไม่ได้มอบอะไรให้กับเขาก็เป็นเหมือนการเอาเปรียบกันมากกว่า บางคนอาจจะใช้ความบันเทิงมอบให้กับคนดู เพราะคนดูชอบความบันเทิง ขณะที่ก็มีคนดูอีกกลุ่มที่ชอบสาระ บางรายการก็จะเน้นมอบสาระให้กับคนดู ซึ่งก็แล้วแต่ช่องทางที่ผู้ผลิตรายการจะเลือกมอบให้กับคนดู แต่ผมเชื่อทั้งสองอย่างต้องปนอยู่ด้วยกันทั้งสาระและบันเทิงจึงจะทำให้รายการหนึ่งนั้นๆ ประสบความเร็จมีคนดูติดตาม  ในฐานะที่เป็นคนรุ่นใหม่ อยากรู้ว่ามีมุมมองเรื่องผู้บริโภคยังไงบ้าง? ผมเชื่อว่าทุกคนให้ความสำคัญกับการที่จะควักสตางค์เพื่อแลกกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แน่นอนเวลาที่เราจะเสียสตางค์สักบาท สักร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่ง เราก็ต้องคำนวณก่อนแล้วว่าไอ้ของที่เราจะซื้อนั้นมีความจำเป็นต่อเรามากน้อยเพียงใด เราถึงต้องยอมเสียเงินจำนวนนั้นไปเพื่อแลกกับมันมา ซึ่งคนแต่ละคนก็ให้ความสำคัญไม่เท่ากัน นั่นก็เป็นเพราะเรื่องของปัจจัยสภาพทางการเงินด้วยส่วนหนึ่ง คือถ้าของมันไม่คุ้มที่จะเสียเงินไปผมเชื่อว่าถึงจะรวยแค่ไหนเขาก็ไม่ซื้ออยู่ดี ทีวียี่ห้อ เอ ถูกมากแต่โคตรห่วย ก็อาจจะมีคนที่เขาพอมีปัจจัยที่ซื้อจะได้ด้วยราคาถูกก็อาจจะเลือกซื้อเพราะเขามีตัวเลือกเดียว แต่คนที่เขามีตัวเลือกมากกว่านั้น แพงกว่านิดนึงแต่ดีกว่ากันเยอะ เขาอาจจะยอมเสียตังค์มากกว่าเพื่อซื้อสินค้าตัวนั้นก็ได้ อย่างถ้าจะซื้อโทรศัพท์สักเครื่องหนึ่ง เราก็ต้องศึกษาก่อนแล้วว่าโทรศัพท์แต่ละยี่ห้อมีอะไรดีไม่ดีบ้าง ถ้ามีงบเท่านี้จะซื้อรุ่นไหนดี มันต้องมีการเปรียบเทียบ ผมเชื่อว่าทุกคนสนใจ   คิดว่าสื่อมีอิทธิพลกับผู้บริโภคมากน้อยแค่ไหน? สื่อถือว่ามีบทบาทต่อชีวิตของคนทั่วไปอย่างมาก วันๆ หนึ่งถ้าเราไม่ได้ออกไปไหน ไม่ได้ออกไปนอกบ้าน หรือไปสำรวจโลก สิ่งหนึ่งที่จะทำให้เรารับรู้เรื่องราวต่างๆ ได้ก็น่าจะเป็นสื่อทางโทรทัศน์ ซึ่งจริงเท็จเราไม่รู้ เวลาคนเราจะเรียนรู้เรื่องราวอะไรต่างๆ เรามักจะเรียนรู้ผ่านทางคนบอกเล่า ผ่านจากประสบการณ์ที่ตัวเองได้สัมผัสเอง คือไปลองทำจริงๆ ว่ามันส่งผลยังไงต่อตัวเรา เราจะได้เรียนรู้ ซึ่งสื่อเองก็มีบทบาทในอีกทางหนึ่งในการบอกเล่าประสบการณ์หรือเล่าเรื่องต่างๆ แต่เรื่องราวที่นำเสนอมักจะเป็นเพียงบางแง่มุมหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้นเวลาที่เสพสื่อต่างๆ เราควรเชื่อแค่ครึ่งเดียว แล้วลองวิเคราะห์หรือถ้าเป็นไปได้ลองไปศึกษาหาความจริงด้วยตัวเอง คือคนมักจะมีความเชื่อตามสื่อ เช่น ถามว่าทำไมเราถึงกลัวผี กลัวเอเลี่ยน กลัวนู้นนี่นั้น เพราะเราดูจากสื่อ เราก็เลยจินตนาการตามสื่อว่าผีเป็นอย่างนี้นะ เอเลี่ยนรูปร่างหน้าตาอย่างนี้นะ ซึ่งหน้าตาเป็นแบบไหนเราก็ไม่เคยเห็น หรือมีอยู่จริงหรือเปล่าเราก็ไม่รู้  แต่เพราะเราได้เห็นในสื่อเราก็เลยคิดเอาว่ามันมีอยู่มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้   แล้วเคยเจอปัญหาเรื่องการใช้สินค้าหรือบริการอะไรหรือเปล่า? ผมไม่เคยรู้สึกว่าถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ เพราะว่าถ้าเรารู้ตัวเราว่าเราต้องการอะไรแล้วเลือกใช้ให้เป็น ได้คิดได้ไตร่ตรองก่อนจะจ่ายสตางค์ ผมว่าก็น่าจะช่วยให้เราไม่ต้องเสี่ยงกับการถูกเอารัดเอาเปรียบเราต้องรู้ถึงจุดประสงค์ในการที่เราจะเสพสิ่งของ เสพสื่อ เพื่อที่จะไม่ให้สิ่งเหล่านั้นมาครอบงำเรา ยกตัวอย่าง โทรศัพท์มือถือ ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อให้เป็นเครื่องมือเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร สำหรับคนห่างไกลกันแต่ต้องการจะติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งก็ช่วยให้เราสะดวกสบายมากขึ้น นั้นคือหน้าที่ของโทรศัพท์มือถือ แต่บางครั้งโทรศัพท์ก็สามารถใช้ส่งข้อความหากัน หรือคุยกันผ่านข้อความหรือการแชท ส่งเสียง ส่งรูปภาพ ออนไลน์หากันได้ตลอด ซึ่งหลายคนอยู่กับโทรศัพท์มือถือมากเกินไป จนดูเกินความจำเป็น ชีวิตของคนเราไม่จำเป็นต้องสื่อสารกันตลอดเวลามากขนาดนั้น บางครั้งการที่เราสื่อสารกันตลอดเวลาผ่านทางแชทหรือมือถือ ผมรู้สึกว่าจะทำให้มนุษย์เราใกล้กันเกินไป เป็นการลดพื้นที่ส่วนตัวลง คือผมไม่ได้จะบอกว่ามันไม่ดี แต่เราต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากมันให้เป็น ถ้าใช้ไม่เป็นก็จะกลายเป็นโทษ   วางอนาคตของตัวเองไว้ยังไง? อนาคต ก็ไม่ได้วางอะไรไว้ ปล่อยให้มันเป็นเรื่องของอนาคตไป สำหรับผมเพียงแค่ทำหน้าที่ของทุกวันนี้ให้ดี แก้ไขทุกสิ่งทุกอย่างที่ยังคิดว่ามันไม่ดีให้มันดีขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกวันมีเรื่องให้แก้มีปัญหาใหม่ๆ มาทุกวัน ก็ต้องเรียนรู้ในการแก้ปัญหามันไปเรื่อยๆ แล้วมันก็จะเป็นการพัฒนาศักยภาพของตัวเราเอง   --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 110 เกือบตายเพราะถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน

จะเป็นอย่างไรหากคุณตัดสินใจซื้อรถยนต์คันหนึ่งด้วยเล็งเห็นถึงความปลอดภัย แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นถึงได้รู้ว่ารถยนต์ที่คิดว่าปลอดภัย มีถุงลมนิรภัย จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ ก็หาเป็นดังที่หวัง อย่างกรณีของ จิรพงษ์ ชูชาติวงศ์ และพรศรี ชูชาติวงศ์ 2 สามีภรรยา ที่เกิดอุบัติเหตุรถที่ขับมาพุ่งชนเข้ากับรถยนต์คันที่สวนมาระหว่างทาง แต่ปรากฏว่าถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน ทางบริษัทให้เหตุผลว่า ชนไม่ถูกจุด ถุงลมจึงไม่ทำงาน เรื่องนี้จะเป็นอย่างไร ฉลาดซื้อจะพาคุณผู้อ่านไปคุยกับคู่ชีวิตที่รอดจากมัจจุราชได้อย่างหวุดหวิด ชนไม่ถูกจุด ถุงลมไม่ทำงาน“ช่างเทคนิค เขาบอกเจ๊ว่าชนครั้งแรกเข็มขัดมันรัดไว้แล้ว ชนซ้ำอีกถุงลมนิรภัยจะออก เจ๊ก็บอกว่าน้องอย่าพูดอย่างนี้ ถ้าชนซ้ำเจ๊ไม่ตายซะก่อนเหรอ” พรศรี บอกเล่าถึงคำพูดของช่างเทคนิคของบริษัทที่อธิบายกับเธอและสามีถึงเหตุที่ถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน เมื่อเธอมาทวงถามว่าเหตุใดหนอถุงลมนิรภัยในรถคันที่เธอซื้อมาไม่โผล่ออกมาช่วยลดแรงปะทะไม่ให้ได้รับบาดเจ็บมากกว่าที่เป็นอยู่นี้เมื่อครั้งเธอและสามีเกิดอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2552 เช้าตรู่ของวันนั้นเธอและสามีเดินทางไปทำธุระต่างจังหวัด โดยใช้เส้นทางถนนดอยสะเก็ด-เชียงราย ผ่านทางโค้งหลายโค้ง แล้วรถยนต์ของเธอและสามี(คนขับ) ขณะกำลังวิ่งขึ้นเขาด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก็พุ่งชนกับรถยนต์อีกคันที่วิ่งสวนลงมาเข้าอย่างจัง ส่งผลให้รถยนต์โตโยต้า คัมรี่ สีขาวไข่มุก ที่ซื้อมาราคา 1,528,000 บาท เมื่อปี 2545 ของเธอและสามีถึงกับกันชนส่วนหน้า คานหน้า หน้ากระจัง หม้อน้ำ บังโคลนซ้าย-ขวา และฝากระโปรงรถยนต์ เสียหายอย่างหนัก เธอและสามีเป็นอย่างไรบ้างนะหรือ เดชะบุญที่เธอและสามีคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่นั่งรถ แต่แรงปะทะก็ทำให้เธอบาดเจ็บสาหัสบริเวณหน้าอก กลางหลังและต้นคอ กระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 11 หักและแตกละเอียด สามีเธอก็บาดเจ็บไม่แพ้กันเขาได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณหน้าอกและกลางหลัง กระดูกสันหลังยุบ 1 ข้อ อีกทั้งซี่โครงร้าว ทั้งสองต้องรักษาตัวอยู่นานถึง 6 เดือน จนปัจจุบันถึงแม้จะผ่านไปปีกว่าแล้วแต่อาการเสียวๆ ที่กระดูกของเธอ และความหวาดระแวงที่ขึ้นรถก็ยังมีอยู่ การงานที่เคยทำได้ก็แทบไม่ได้ทำทั้งสวนลำไย งานรับจ้างทำรองเท้าผ้าฝ้ายส่งประเทศญี่ปุ่น ขายผ้าฝ้ายและผ้าชาวเขาที่ทำให้เธอมีรายได้เดือนละ 150,000 บาท ก็มีอันต้องเลิกรา “น้องคนนั้นก็บอกว่าจะให้ความช่วยเหลืออะไรบ้าง เจ๊ก็บอกว่าเสนอให้ซ่อมรถให้เจ๊ถูกหน่อยหรือซ่อมรถให้เจ๊ฟรีก็ได้ เจ๊จะไม่เอาเรื่องที่ถุงลมไม่ทำงาน แค่นี้ก็พอใจแล้ว เขาก็ไม่ยอม เขาให้รอไปก่อน แล้วเขาจะติดต่อที่กรุงเทพฯให้ทางบริษัทติดต่อเราโดยตรงเลย จากนั้นประมาณ 1 เดือนเจ๊ก็โทรไปตามตลอด เกือบ 2 เดือน ช่างเทคนิคที่ กทม.ก็มาบอกให้เจ๊ไปฟัง” ก่อนจะได้พูดคุยกับตัวแทนจากบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด “เจ๊ได้ยินช่างเทคนิคเขาบอกกับพนักงานข้างๆ ว่าถุงลมนิรภัยไม่ออกดีแล้ว ถ้าออกค่าซ่อมเป็นแสนนะ คล้ายๆ ให้เจ๊ดีใจว่าถุงลมนิรภัยเจ๊ไม่ออกนี่ประหยัดค่าซ่อม เจ๊ก็เลยเอ๊ะขนาดค่าซ่อมยังเป็นแสน แล้วซื้อใหม่นี่บวกเข้าไปกี่แสนก็ไม่รู้ แต่ถึงเวลาฉุกเฉิน เกือบจะเอาชีวิตแลก ถุงลมนิรภัยมันไม่ออกมาป้องกันเราแล้วเอามาทำไม มันไม่เป็นไปตามที่โฆษณาเลย เจ๊ก็เลยยิ่งรู้สึกว่าช้ำใจ แล้วยิ่งได้คำตอบว่ารถไม่บกพร่องสักอย่าง เพราะมันชนแรงไม่พอ และชนไม่ถูกที่ เจ๊ก็เลยว่าอย่างนี้ไม่ได้ ขนาดแรงสั่นสะเทือน กระดูกข้อที่สิบเอ็ดที่เจ๊เอกซเรย์ออกมานี่มันจะแตกสลาย หมอบอกว่าเจ๊กล้ามเนื้อแข็งแรง กระดูกเลยไม่ยุบลงไป ถ้ายุบลงไป ต้องมาผ่าตัด มาจัดกระดูกใหม่ ถ้าโดนเส้นเอ็นต้องนั่งรถเข็นตลอดชีวิต ถ้าผ่าตัดสำเร็จก็โชคดีไป แต่ยังดีกล้ามเนื้อเจ๊แข็งแรงมันก็เลยประคองไว้ไม่ยุบลงไป เจ๊ก็เลยไม่ยอมที่ช่างเทคนิคพูดอย่างนี้ เขาก็เลยมีเอกสารมาจากกรุงเทพฯ ฝ่ายเทคนิคบอกว่าถ้าไม่พอใจให้โทร.ไปทางโน้น เขาว่าชนแรงไม่พอ ชนไม่ตรงจุด ก็เหมือนเดิมนั่นล่ะ เจ๊ก็เลยโทร.ไปคุยกับกับบริษัทฯ ที่กรุงเทพ ทางบริษัทบอกว่าไม่สามารถช่วยเหลือตรงนี้ได้ ไม่เกี่ยวกับบริษัท เจ๊บอกว่าทำไมไม่เกี่ยว เจ๊ก็ว่าถ้าเธอไม่รับผิดชอบนะเจ๊จะฟ้อง เขาก็บอกว่าเชิญตามสบาย” นั่นคือคำตอบที่เธอและสามีได้จากบริษัท ซื้อรถใหม่ เพราะอยากได้ถุงลมนิรภัย“ตอนเจ๊ตัดสินใจซื้อรถคันนี้ เพราะรถคันเก่าเจ๊มันไม่มีถุงลมนิรภัยไง เขาก็แนะนำว่ารถนี้รุ่นพิเศษมีถุงลมนิรภัย 4 ใบ ปกป้องชีวิตได้ แต่ถ้าซื้อแล้วนะ ข้างในห้ามไปติดสติกเกอร์ ห้ามไปตกแต่ง ถ้าตกแต่งแล้วมันไม่ออกจะเข้าบริษัทไม่ได้ ถ้าเราไม่ทำอะไร เวลาเกิดเรื่องแล้วมันจะออกมาอัตโนมัติ ป้องกันชีวิตเราเนอะ ถ่ายรูปไว้ด้วยนะวันที่เราไปรับรถคันนี้มา ไม่ใช่ว่าร่ำรวยอะไรมากมายและซื้อรถใหม่ๆ มาโชว์ แต่ว่าเพื่อปกป้องชีวิต เพราะเราเดินทางบ่อย ซื้อด้วยเงินสดเลยนะ แล้วเวลาเกิดเรื่องขึ้นมา ชนปุ๊บมันไม่ออกเลย ชนแรงจนหัวยุบไปหมดเลยที่เห็น ค่าซ่อมที่เขาประเมินตั้งเจ็ดแสนกว่าบาท” เธอว่าพลางนำภาพเมื่อครั้งได้รถมาใหม่ๆ ให้ทีมงานฉลาดซื้อดู ไล่เรียงมาตั้งแต่ใหม่เอี่ยม จนถึงสภาพรถบุบบู้บี้ไม่เหลือสภาพรถรุ่นพิเศษให้เห็นแม้แต่น้อย “หลังจากเรายื่นคำขาดกับบริษัทไปว่าเราจะฟ้องเขาก็ทำให้กินไม่ได้นอนไม่หลับนะ ไปหาทนาย ไปหาทุกที่เลย ทนายเชียงใหม่ก็ไม่มีใครกล้าต่อสู้กับบริษัทเลย แต่เขาก็แนะนำให้ไปขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิฯ ที่กรุงเทพ เจ๊ก็เลยให้ลูกชายช่วยติดต่อให้ ระหว่างนั้นก็มีคนบอกว่าอย่าไปสู้เลย ดีไม่ดีถูกฟ้องกลับเพราะทำชื่อเสียงบริษัทเขาเสียหาย ตอนแรกเจ๊ก็รู้สึกกังวลอยู่ครึ่งนึง แต่พอเจ๊ติดต่อกับคุณอิฐบูรณ์ว่าช่วยดูรูปถ่ายและเอกสารต่างๆ ว่าพอจะฟ้องเขาได้ไหม ถ้ามั่นใจก็ฟ้อง แต่ถ้าไม่มั่นใจเจ๊ก็ยอมทิ้งแล้ว เพราะส่วนตัวเจ๊ก็ล้าแล้วเหมือนกัน เพราะสู้กับเขามาเกือบครึ่งปีกว่าแล้ว” มูลนิธิที่พรศรี พูดถึงคือศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หลังจากอิฐบูรณ์ อ้นวงศา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภค ดูเอกสารต่างๆ แล้ว จึงส่งเรื่องต่อให้ ศูนย์ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภค ยื่นฟ้องแพ่งบริษัทโตโยต้าเชียงใหม่ จำกัด ในข้อหา ละเมิด เรียกค่าเสียหาย เป็นเงิน 5,620,208 บาท ซึ่งขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล แต่บริษัทบ้านเรานี่ไม่ต้องบอกเรื่องเปลี่ยนรถคันใหม่อะไรหรอก แค่ยกกระเช้ามาเยี่ยม มาถามทุกข์สุขว่าเจ็บยังไงบ้าง ยังไม่มีเลย เจ๊ดูข่าวมากก็เลยรู้สึกว่า ที่อื่นเขาได้ดูแล ทำไมเราเป็นอย่างนี้ ก็ไม่ยอม ยิ่งมีรู้ว่ามีการคุ้มครองผู้บริโภค เราต้องใช้สิทธิ ถ้าไม่ฟ้อง จะให้ทำอย่างไร“ทุกวันนี้รู้สึกว่าถ้าทางบริษัทถ้าเขาเห็นใจเราสักนิด ทางเราก็ไม่ฟ้อง ขอแค่เขามาถามทุกข์สุขนิดนึง ก็พอใจ เจ๊ไม่ใช่งกเงินตรงนี้ ถ้าเขามีน้ำใจนิดนึง ให้ผู้มีอำนาจมาเยี่ยมหน่อย มาพูดดีๆหน่อย อย่าใจดำเกินไป รถคันนี้ราคาประเมินค่าซ่อมเจ็ดแสนกว่าบาท แล้วยังจะขอค่าจอดรถเจ๊ด้วย ตอนเอารถไปจอด พอเจ๊ไม่ซ่อมรถกับเขา เจ๊จะเอาออกรถไปขายไงเพราะซ่อมไปก็ไม่คุ้ม เจ๊เลยไม่จ่ายค่าจอดเขาก็ทำอะไรไม่ได้ สุดท้ายเขาเรียกเก็บค่าประเมินรถเจ็ดพันบาท เฮีย(สามี) ก็เลยจ่ายไปหกพันกว่า คือของเราเสีย ไม่ช่วยเหลือเราไม่ว่า เราไม่ซ่อมยังขอค่าจอดอีก ใบเสร็จตรงนี้ก็ยังเก็บไว้ เจ๊รู้สึกว่ามันไม่เป็นธรรม มันเยอะเกินไป แล้วเจ๊ก็ขายรถคันนี้เป็นเศษเหล็กไปแล้ว คิดแล้วเจ็บใจตอนที่เจ๊ไปซื้อนะขับรถมาเสนอขายถึงที่บ้านเลย เอาใจสารพัดเลย พอซื้อมาบริการก็เปลี่ยนแปลงแล้ว” คนทั้งประเทศไม่มีใครรู้ อยากให้คนอื่นรู้ “มีคนบอกว่าเจ๊มีทางก็ต่อสู้ ก็สู้เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้คนทั้งประเทศ ไม่มีใครรู้เลยว่าถุงลมนิรภัยต้องออกตามโฆษณา ในความหมายของเขามันแค่ไหน ชนแบบนี้ออก แต่หากชนตรงนี้ไม่ออก ในคู่มือบอกว่าวิ่ง 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไปชนอย่างไรถุงลมนิรภัยก็จะออกมา อะไรมันก็จะมีลูกศรชี้ไว้ว่า หน้าไฟสองอัน กลางๆ ชนตรงไหนก็ออก แต่พอเกิดเรื่องขึ้นมา ชนจนหัวยุบหมดแล้วมาบอกอย่างนี้อย่างโน้นแล้ว ใครไม่เจอกับตัวจะไม่รู้เลยว่า ความยุติธรรมมันเป็นยังไง แถวภาคเหนือเราอาจจะคิดว่าใครใหญ่ใครอยู่ บริษัทมันใหญ่ เราเป็นคนตัวเล็กๆ ต่อสู้เขาไม่ได้หรอก ก็เลยไม่กล้าไปต่อสู้กัน ช่างรถยนต์ก็พูดว่าอย่าไปสู้เลย สู้กับเขาไม่ไหวหรอก แต่เจ๊ก็จะสู้แรกๆ ก็กลัวเขาฟ้องกลับติดคุกนะ แต่พอเรารู้ว่าฟ้องแพ่งไม่ติดคุกเราก็ไม่กลัวละ เราต้องลุกขึ้นมาสู้ เจ๊ดูรายการทีวีต่างประเทศชอบดูเรื่องกฎหมายของเมืองนอก อย่างไต้หวัน พอดีเจ๊เห็นของเมืองนอก มีถุงลมนิรภัยไม่ออกแหละ ฝรั่งเขาเรียกสิบล้านเลย สุดท้ายบริษัทเขาชดใช้ไปเจ็ดหรือแปดล้าน แล้วก็ยังมีเพื่อนคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า BMW คันหนึ่ง เมียเขาขับไปแล้วถุงลมนิรภัยไม่ออกแล้วคอหักเลย พอไปบอกบริษัทแต่ยังไม่ได้ฟ้องนะ แค่ไปบอก บริษัทก็เสียค่ารักษาพยาบาลให้แล้วก็เปลี่ยนรถคันใหม่ให้ทันทีเลย แต่บริษัทบ้านเรานี่ไม่ต้องบอกเรื่องเปลี่ยนรถคันใหม่อะไรหรอก แค่ยกกระเช้ามาเยี่ยม มาถามทุกข์สุขว่าเจ็บยังไงบ้าง ยังไม่มีเลย เจ๊ดูข่าวมากก็เลยรู้สึกว่า ที่อื่นเขาได้ดูแล ทำไมเราเป็นอย่างนี้ ก็ไม่ยอม ยิ่งมีรู้ว่ามีการคุ้มครองผู้บริโภค เราต้องใช้สิทธิ จริงๆ แล้วคนไทยเราเป็นคนที่ใจอ่อน นิสัยดีกว่าต่างประเทศมากเลย ขอให้เขายอมมีน้ำใจ การชดใช้ตรงนี้มันไม่ใช่ปัญหา เราคุยกันได้ ถ้าจะให้เหมือนบริษัทเมืองนอกนี่ กฎหมายเมืองไทยก็ยังไปไม่ถึงขนาดนั้น เมืองนอกเขาจะเอาเท่าไหร่เขาจะเรียกเยอะๆ เลย รถคันนี้ราคาเท่าไหร่ ไม่เกี่ยวเขาจะดูว่าชีวิตเขามีค่าแค่ไหนมาเปรียบเทียบเอา แต่เมืองไทยเราจะดูว่ารถคันนี้ราคาแค่นี้เอง แล้วจะเรียกร้องได้แค่นั้น เขาจะคิดอย่างนั้น ถ้าต่างประเทศเขาจะไม่คิดแบบนี้ เขาจะคิดว่าชีวิตคนมีค่ามหาศาลเท่าไหร่ก็ประเมินค่าไม่ได้ เรื่องกฎหมายบ้านเรากับต่างประเทศอาจจะเทียบกันไม่ได้ แต่อย่างน้อยๆ ในบ้านเรา เราก็ยังมีสิทธิในการเรียกร้อง เราต้องใช้สิทธิเมื่อเกิดความเสียหาย ให้บริษัทยอมรับผิดชอบบ้าง ปกติเขาจะไม่รับผิดชอบทิ้งไปอย่างนี้ตลอด ที่เจ๊ต่อสู้มาทุกวันนี้นะ ไปศาล ทำอะไรทุกครั้ง เจ๊รู้สึกว่าเจ๊ก็เสียรายได้เยอะเหมือนกันจะไปไหนก็ไปไม่ได้ ต้องรอขึ้นศาล เสียเวลา เจ๊ไม่ได้ว่าไม่มีทางหากินแล้วจะมาตื้อเอาเงินกับบริษัทนะ เจ๊ก็ทำมาหากิน แต่ที่เจ๊ทำเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมเท่านั้นเอง” ทุกวันนี้ พรศรี ชูชาติวงศ์ และสามี เหลือเพียงกิจการเล็กๆ ขายเสื้อผ้าและกระเป๋าอยู่ที่ ตลาดสันป่าข่อย จังหวัดเชียงใหม่ กิจการอื่นๆ ที่เคยทำต้องงดไปโดยปริยายด้วยข้อจำกัดทางร่างกายที่ไม่แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 109 หมอนิล หมอติดดินของชาวเกาะยาว

“ป่ะ เดี๋ยวไปกินข้าวกลางวันด้วยกัน” หมอนิลเอ่ยชวนทีมฉลาดซื้อ หมอนิลว่าพลางสตาร์ทรถมอร์เตอร์ไซค์ ขับพาทีมฉลาดซื้อเข้าหมู่บ้าน ไปหยุดที่บ้านหลังหนึ่งในสวนยาง  ซึ่งเป็นบ้านที่เชิญหมอให้มากินข้าวกลางวันที่บ้าน ครั้นพอมาถึงหมอก็เข้าครัว  ยกสำรับอาหาร พลางเรียกม๊ะกับป๊ะให้มาทานข้าวด้วยกัน รวมกับเป็นลูกหลานของคนบ้านนี้ “หมอนิลเหรอ โอ้ยเหมือนลูกเหมือนหลานของคนที่นี่ละ” บังโกบบอกกับทีมฉลาดซื้อ ฉลาดซื้อจะพาคุณมารู้จัก นพ.มารุต เหล็กเพชร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกาะยาวชัยพัฒน์ สาขาสถานีอนามัยพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา หมอติดดินของชาวบ้านเกาะยาวกันค่ะ เป็นหมออย่างหมอนิล“อยากทำงานที่นี่ตั้งแต่ได้เดินทางมาเที่ยวในช่วงเป็นนักศึกษาแพทย์ ได้สัมผัสชีวิตชาวบ้านที่ไม่มีหมอดูแล เมื่อเรียนจบก็เลยอยากจะมาดูแลชาวบ้านที่เกาะนี้” นั่นเป็นความตั้งใจของหมอนิล เมื่อตอนเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร หมอนิลเป็นคนปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ด้วยความที่เป็นคนใต้ ภาษาจึงไม่เป็นอุปสรรคในการสื่อสาร แต่จะมีบ้างเพราะชาวบ้านที่นี่เกือบทั้งหมดเป็นมุสลิม ก็จะมีบ้างบางคราวที่ไม่เข้าใจกันในช่วงแรกๆ  แต่ถึงที่สุดชาวบ้านก็เห็นความจริงใจของหมอนิล จนเอ็นดูเหมือนลูกหลานในที่สุด ก่อนที่จะมาเรียนหมอนั้นหมอนิลอ่านหนังสือของหมอ ประเวศ วะสี ซึ่งพูดถึงปัญหาในระบบสาธารณสุขว่าเป็นสาธารณสุขหรือสาธารณทุกข์ และนั่นเองเป็นตัวจุดประกายให้หมอนิลเห็นว่าในวงการแพทย์มีเรื่องต้องแก้อีกเยอะและท้าทายทำให้เขาตัดสินใจเรียนหมอในที่สุด หมอนิลบอกว่าทำงานอยู่ที่นี่ไม่กลัวถูกฟ้อง เมื่อเราลองถามว่า เป็นหมอกลัวถูกฟ้องไหมหมอบอกว่า เขามีความสัมพันธ์กับคนไข้ดี แล้วคนไข้ก็ไม่มากราวๆ 60-70 คน ต่อวัน มีเวลาจะคุยหรืออธิบายเรื่องต่างๆ ได้พอสมควร หมอมองว่า ปัญหาการฟ้องร้องมันเกิดจากที่ว่าไม่ใช่เพราะหมอรักษาพลาดอย่างเดียว แต่มันเกิดจากการสื่อสารที่ไม่ดี ไม่อธิบาย “บางโรงพยาบาลที่ใหญ่ๆ คนเยอะๆ ก็เจอหมอแค่แป๊บเดียว มีข้อสงสัยอะไรก็ไม่ได้ถามให้หายสงสัย พอผิดพลาดขึ้นมามันก็มีเรื่องแบบนี้ แต่ถ้าเรามีการคุยกันบ่อยๆ หรือแม้กระทั่งมันผิดพลาดไปแล้ว ถ้ามีการคุยกัน อธิบายว่าเป็นยังไง บางทีเขาก็ไม่เอาเรื่อง ถ้าเขาเข้าใจในระบบ แต่มันเกิดจากการที่ไม่คุยกัน ไม่สื่อสารกัน หรือว่ามีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกันมาก่อน ซึ่งผมว่ามันน้อยมากที่ปัญหาการฟ้องร้องจะเกิดจากข้อผิดพลาดทางการแพทย์จริงๆ  ไม่มีหมอคนไหนอยากให้เกิดความผิดพลาด คือถ้าเขารู้ว่ามันจะเกิดเขาก็ไม่ทำแน่นอน คือมันมีโรคบางโรค บางอย่างที่เปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดมันมี”  หมอนิลกล่าว หมอนิลมองกลุ่มคนที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิ ว่ามันเป็นสิทธิของมนุษย์ขั้นพื้นฐาน แล้วการเรียกร้องค่าเสียหายก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เขาจะได้รับ “มันก็ทำให้เกิด มาตรา 41 ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ให้มีการจ่ายค่าชดเชย ซึ่งมาตรานี้ก็โอเค มันก็เป็นสิทธิที่เขาควรทำได้ มันก็เป็นพื้นฐานของสิทธิทั่วไปเลย เช่นถ้าหากราชการทำอะไรไม่ถูกต้อง ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน เราก็มีสิทธิที่จะถามได้ว่ามันคืออะไร ยังไง แล้วถ้าเราไม่ได้รับความชอบธรรมเราก็ควรจะได้รับความชอบธรรมนั้นกลับคืนมา ซึ่งมันเป็นพื้นฐานทั่วไปที่ทำกับหน่วยงานราชการ ไม่ใช่เฉพาะหมอ อาจจะเป็นตำรวจ ทหาร หรือทางฝ่ายปกครองก็ได้” โรงพยาบาลต้องเป็นของชุมชน “ผมอยากให้เขารู้สึกว่าโรงพยาบาลเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ไม่อยากให้คิดว่าโรงพยาบาลเป็นที่ของคนเจ็บป่วย แต่โรงพยาบาลเป็นของชุมชนที่เขาจะมาใช้ประโยชน์ได้ตามที่เขาต้องการ และอยากให้โรงพยาบาลเป็นที่ส่งเสริมสุขภาพ อย่างเขาอยากจะจัดตลาดนัดสุขภาพ เขาก็มาใช้โรงพยาบาลได้ หรือว่าอยากจะมาออกกำลังกาย มาอบสมุนไพร อบซาวน่า มานวด มาปลูกผักปลอดสารพิษ มาทำกับข้าวให้คนไข้กิน ให้หมอพยาบาลกิน คือถ้ามันเป็นของชุมชนจริงๆ ชุมชนก็ต้องมีบทบาทในการคิดว่าใครอยากทำอะไร มาทำที่โรงพยาบาลทำได้ไหม แล้วมาช่วยกันทำ อยากเห็นการพัฒนาโรงพยาบาลอื่นๆ ไปแบบนั้น ไม่ใช่เป็นที่สำหรับหมอพยาบาล คนไข้ คนเยี่ยมไข้ เท่านั้น อยากให้มันขยายความออกไป คือเราต้องเปิดพื้นที่ให้คนอื่นมาร่วมกันคิดว่าเราจะใช้โรงพยาบาลในฐานะที่เป็นโรงพยาบาลของชาวบ้านเอง เขาจะทำอะไร เพราะฉะนั้นมันก็จะเกิดกิจกรรมอีกมากมายที่จะเกิดขึ้นได้ในโรงพยาบาล อย่างที่ผมยกตัวอย่าง แล้วพอโรงพยาบาลมันเป็นของชุมชน มีอะไรชาวบ้านก็จะช่วยเรา ช่วยเฝ้าระวังโรคต่างๆ ช่วยเป็นอาสาสมัคร  พวกนี้ก็จะมาช่วย คือเราไม่สามารถจะทำได้อยู่แล้ว อย่างไข้เลือดออก มาลาเรีย ก็ต้องใช้ชาวบ้านช่วยกัน คือถ้าเขารู้สึกว่าโรงพยาบาลเป็นของเขา แล้วก็มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตัวเอง คือแทนที่เราจะมีพยาบาล 5-6 คนอยู่ที่โรงพยาบาล แต่กลายเป็นว่าเหมือน เรามีพยาบาล 5,000-6,000 คน ที่เป็นคนอยู่ที่นี่ ดูแลเพื่อนบ้าน ดูแลตัวเอง ดูแลญาติเขาอยู่ในชุมชน ที่สำคัญต้องไม่เอาตัวหมอเป็นศูนย์รวม เราต้องคุยกับคนไข้ และญาติคนไข้ให้เยอะๆ การรักษานอกจากรักษาอาการทางกายแล้ว การดูแลเยียวยาเรื่องจิตใจก็เป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้เช่นเดียวกัน” พูดถึงอาสาสมัครหมู่บ้านหมอนิลบอกว่าจะแบ่งเป็นหมู่บ้าน อาสาสมัคร 1 คนจะช่วยดูแลประมาณ 10 ครัวเรือน มีอะไรเขาจะรู้หมดว่าใครเกิด ใครตาย ใครป่วยอะไร ใครจะต้องมาตรวจบ้าง ใครมารับยาหรือไม่มารับ เขาจะรู้ แล้วอาสาสมัครก็จะช่วยมาบอกโรงพยาบาล ครั้นเมื่อเกิดระบาดอาสาสมัครก็จะช่วยติดตามข่าวบอกทั้งชาวบ้านและหมอ การสร้างเครือข่ายสุขภาพจึงทำให้ชุมชนช่วยตัวเอง พึ่งตัวเองได้ทางด้านสุขภาพ ถือเป็นแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพที่ดีเลยทีเดียว ที่นี่มี แพทย์ประจำ 1 คนนั่นคือก็คือหมอนิล พยาบาล 6 คน และเจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขอีก 2 คน รวม 9 คน มีขนาด 5 เตียง มีการทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพโดยให้การดูแลทั้งผู้ป่วยทั่วไปและฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งการออกไปเยี่ยมคนไข้ตามบ้าน สัปดาห์ละ 3 วัน คือวันพุธ วันพฤหัสบดี และวันศุกร์ จากแนวคิดโรงพยาบาลต้องเป็นของชุมชนนี้เอง หมอนิลกับชาวบ้านจึงคิดที่จะสร้างโรงพยาบาลขึ้นมาโดยจะขยายเรือนพักผู้ป่วย ชื่อว่า “โครงการสร้างเรือนพักผู้ป่วยหลังใหม่ โดยมีชุมชนเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมทุกประการ”  ขณะนี้เขียนแผนและแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว  อยู่ระหว่างการระดมทุนสร้าง หมอนนิลบอกว่าค่อยๆ สร้าง มีเท่าไรก็ค่อยๆ ทำไป “ตอนนี้ออกแบบเสร็จแล้ว แต่ว่าต้องหาเงินมาทำ รมต.เขาก็บอกว่าน่าจะได้ แต่ก็ดูความแน่นอนอีกที เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองต้องขึ้นอยู่กับการเมืองหรือเปล่าไม่รู้ ไม่แน่นอน อย่างผมก็ไม่กล้าบอกชาวบ้านหรอก ว่าได้หรือไม่ได้ แต่มีแนวโน้มว่าเขาอนุมัติในหลักการแล้วว่าให้เราทำแบบนี้ แต่พอถึงเวลาจริงๆ ถ้าเปลี่ยนรัฐบาลหรือเปลี่ยน รมต.มันก็ยกเลิกไปได้” คลินิคหนัง(สือ) สำหรับวิชาชีพแพทย์ หลายคนมองว่าการอุทิศตนทำงานในชนบทเป็นการเสียโอกาส แต่สำหรับหมอนิลแล้วเขากลับคิดว่านี่เป็นความสุข และยังถือโอกาสใช้บรรยากาศบนเกาะบ่มเพาะความฝันของตนเองด้วย "ข้อด้อยของการมาทำงานในที่แบบนี้คือเราอาจจะไม่ได้เรียนรู้โลกภายนอก หากออกไปพบกับคนในวงการเขาก็อาจจะคิดว่าเราเป็นหมอบ้านนอก ซึ่งตอนแรกก็มีความรู้สึกแบบนั้นบ้าง แต่พอตอนหลังรู้ว่าความสุขที่แท้จริงในชีวิตของเราคืออะไร ก็เลยไม่รู้สึกแบบนั้นอีก ส่วนข้อดีของการทำงานในที่แบบนี้ก็คือการทำงานไม่ได้เป็นแค่เพื่องาน แต่เป็นส่วนหนึ่งของการได้เรียนรู้ชีวิต เหมือนเราได้มารู้อะไรใหม่ๆ ได้มีเวลาคิดว่าความสุข ความทุกข์ของคนคืออะไร และต่อไปเราอยากจะทำอะไร ซึ่งเป็นเหมือนบันไดในการเรียนรู้ถึงสิ่งที่เราจะต้องทำต่อไปในอนาคต ไม่เคยคิดว่าการมาทำงานที่นี่เป็นการเสียโอกาส เพราะมีเวลามากขึ้น มีความสุขมากขึ้น และได้ทำอะไรหลายๆ อย่างที่อยากจะทำ ทั้งการเขียนหนังสือ การทำหนังสั้นและการเปิดร้านหนังสือ" ในวงการวรรณกรรมหลายคนรู้จักเขาในนาม “นฆ ปักษนาวิน” ที่มีผลงานทั้งงานเขียนเรื่องสั้นตีพิมพ์ ร่วมกับเพื่อนๆ ในหนังสือชื่อ 'ธรรมชาติของการตาย' จากประสบการณ์และมุมมองในเหตุการณ์สึนามิ  นอกจากนั้นยังเปิดร้านหนังสือชื่อ 'ร้านหนัง(สือ)๒๕๒๑' ซึ่งอยู่ถนนถลาง ในย่านเมืองเก่าของจังหวัดภูเก็ต โดยจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งของร้านเอาไว้ให้นักเขียนมานั่งเสวนาแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นกัน รวมถึงมีห้องฉายหนังเล็กๆ ด้วย ส่วนผลงานหนังสั้นขณะนี้ได้ทำออกมาแล้ว 5 เรื่อง เรื่องแรกคือ Burmese Man Dancing ซึ่งเป็นสารคดีสั้น 6 นาที เกี่ยวกับแรงงานพม่า ซึ่งผลงานชิ้นนี้ได้โอกาสไปฉายในเทศกาลหนังสั้นที่ประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 2008 ด้วย ส่วนหนังสั้นเรื่องล่าสุดคือ แมวสามสี เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคน โดยได้มีโอกาสนำไปฉายที่เมืองรอสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ด้วยเช่นกัน “คลินิก(แพทย์) ก็อยากเปิดนะครับ แต่ผมไม่มีเวลา วันเสาร์-อาทิตย์ก็อยากพักผ่อน อยากทำอย่างอื่น  อย่างผมเปิดร้านหนังสือก็จะจัดกิจกรรมมีวงคุย เสวนา จัดอีเว้นต์ แล้วก็ต้องคุยกับคนเยอะแยะ สนุกกันคนละแบบกับที่โรงพยาบาล” หมอนิลอธิบายง่ายๆ ว่าทำไมหมอไม่เปิดคลินิกเหมือนกับหมอทั่วๆ ไป เปิดกัน ไม่ว่าบทบาทไหน ล้วนเป็นอย่างเดียวกันเมื่อฉลาดซื้อถามถึงบทบาทระหว่างเป็นหมอกับเป็นคนในวงการวรรณกรรม ว่าชอบอย่างไหนมากกว่ากัน หมอนิลให้คำตอบที่น่าทึ่งมากๆ ว่า “ผมว่าผมทำคละๆ กันนะ อยู่ที่โรงพยาบาลผมก็เหมือนนักกิจกรรมนะ อยู่ที่ร้านผมก็เหมือนเป็นนักกิจกรรมเหมือนเดิม แต่ว่าทำอีกด้านหนึ่ง ที่โรงพยาบาลอาจจะเป็นนักกิจกรรมด้านสุขภาพ แต่ที่ร้านหนังสืออาจจะเป็นเรื่องวรรณกรรม ศิลปะ ทำชุมชนอีกแบบหนึ่ง แต่ผมว่ามันคืออันเดียวกัน คือเราไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าอันนี้คือการส่งเสริมสุขภาพ อันนี้คือหนังสือ มันไม่ได้แล้ว เพราะว่าคนเราไม่ควรโดนแบ่งแยกแบบนั้น เพราะเราสร้างสุขภาวะได้หลายแบบ ไม่ใช่แค่ทางกายเท่านั้น โดยการทำกิจกรรมอย่างนี้มันก็เป็นการสร้างสุขภาวะอีกแบบหนึ่ง การทำให้คนรู้จักศิลปะ วรรณกรรม มันก็เป็นการสร้างสุขภาวะอีกแบบหนึ่งครับ” หมอนิลยกตัวอย่างหนังสือ “ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว” ที่ไม่มองอะไรแบบแยกส่วน หมอบอกว่า อ่านแล้วเปลี่ยนโลกทัศน์ในมุมมองต่อวิทยาศาสตร์ ที่เคยชินกับการมองแบบแยกส่วน เป็นมามองแบบองค์รวม มองความสัมพันธ์ มองทุกอย่างเป็นองค์รวม “สมมติคนนี้มีปัญหาเรื่องการแยกส่วน เพราะว่าสังคมมันเปลี่ยนไป การปฏิวัติอุตสาหกรรมมันเกิดจากกระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ยุคหนึ่ง มันมาประสบความสำเร็จในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม คนต้องแบ่งงานกันทำ ว่าคนนี้มีบทบาทหน้าที่นี้ แต่ว่าในชีวิตจริงมันไม่ได้เป็นแบบนั้น อย่างคนสมัยก่อนก็มีความรู้หลากหลายด้าน เช่น ลีโอนาโด ดาวินชี่ เป็นหมอ วิศวะ จิตรกร เขาไม่มีการมาแยกว่าคนนี้เป็นอะไร คนที่รักในความรู้ แล้วแสวงหาความรู้ทั้งทางโลกทางธรรม เป็นแบบใช้ด้วยกันหมด แต่พอมายุคโลกสมัยใหม่ตอนนี้มันก็ใช้ความรู้อย่างเดียวไปแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว เหมือนกันอย่างผมเคยเขียนว่าผมจะรักษาคนไม่ได้ ถ้าคนไม่หายจน เพราะฉะนั้นถ้าจะถามว่าทำยังไงให้คนไม่จน มันไม่ใช่ความรู้ด้านการแพทย์ ผมยังรักษาให้คนมีสุขภาพดีไม่ได้ ถ้าเขายังจนอยู่ ถ้าเราไปถามวิธีแก้ปัญหาความจนกับนักเศรษฐศาสตร์ เขาก็อาจจะบอกว่าเขาทำให้คนหายจนไม่ได้หรอกถ้าไม่มีรัฐศาสตร์ที่ดี ไม่มีการเมืองที่เหมาะสม  ครั้นไปถามนักรัฐศาสตร์ก็จะบอกว่าเขาทำให้คนหายจนไม่ได้หรอกถ้านั่นนี่อีกจิปาถะ คือทุกอย่างมันแก้ปัญหาอะไรไม่ได้ ถ้าหากไม่มีการร่วมมือกันระหว่างสาขา คือความรู้มันต้องประสานกัน แล้วมาถกเถียงพูดคุยกัน มาต่อรองกัน ถ้าเรามองแต่แบ่งแยกว่าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานี้คุณก็คิดไป มันแก้อะไรไม่ได้ ในสังคมที่มันซับซ้อน เพราะโลกทัศน์แบบแบ่งแยกมันทำให้โลกเรายิ่งมีปัญหามากกว่าช่วยแก้ปัญหา” หมอนิลกล่าวทิ้งท้ายกับฉลาดซื้ออย่างหนักแน่น ทำให้ฉลาดซื้อคิดต่อไปว่า ถ้าระบบสาธารณะสุขของไทย ไม่แยกการรักษาตามบัตรนั่น บัตรนี่ ระบบสาธารณะสุขคงพัฒนาไปอีกเยอะเพราะไม่ต้องมองอะไรแบบแยกส่วนนั้นแล… สำหรับใครที่อยากร่วมสร้างเรือนพักผู้ป่วย โรงพยาบาลเกาะยาวชัยพัฒน์ สาขาสถานีอนามัยพรุใน ต.พรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ติดต่อกับ นพ.มารุต เหล็กเพชร หมายเลขโทรศัพท์ 089-6524223 ค่ะ หรือติดตามกระบวนการออกแบบของโครงการได้ที่ kohyaoproject.com และ ร่วมบริจาคสร้างเรือนพักผู้ป่วยฯดังกล่าว ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเกาะยาว บัญชีเลขที่ 060-2-37342-3 ชื่อบัญชี กองทุนก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน รพ.เกาะยาว สาขา สอต.พรุใน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 108 เมื่อพนักงานต้อนรับด้วยน้ำร้อน

“เราแค่เพียงต้องการให้เกิดบรรทัดฐานในการดูแลผู้โดยสารเท่านั้นค่ะ หลายคนอาจจะมองเราว่าเราเรียกร้องเพื่อจะเรียกเงิน เพราะเราไปร้องเรียนทั้งที่ สคบ. แล้วเขาก็ให้เราประเมินว่าเรามีอะไรเสียหายบ้าง คิดเป็นเงินเท่าไร ซึ่งความจริงเราไม่ได้ต้องการเรียกร้องเงิน เราเพียงแค่ต้องการความรับผิดชอบ ให้มาดูแลเราหน่อยเท่านั้น” ปาริจฉัตต์ เกิดผลเสริฐ ผู้เดือดร้อนจากกรณีพนักงานบนเครื่องบินของสายการบิน “แอร์เอเชีย” ทำน้ำร้อนหกใส่จนบาดเจ็บ คือแขกรับเชิญของฉลาดซื้อในครั้งนี้ เมื่อใครๆ ก็บินได้ (อุบัติเหตุ)อะไรๆ ก็เกิดได้ แต่เกิดแล้วจะจัดการอย่างไร นั่นล่ะคือสิ่งที่คุณปาริจฉัตต์จะเล่าให้เราฟัง เหตุอุบัติ : อุบัติเหตุที่แก้ไขได้…ถ้าไม่ประมาทเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2552 เธอและเพื่อนอีก 5 คนซึ่งทั้งหมดเป็นพนักงานฝ่ายขายของบริษัทขายยาและเวชภัณฑ์แห่งหนึ่ง ได้เดินทางไปฮ่องกงโดยได้ใช้บริการไป-กลับ กับสายการบินแอร์เอเซีย ขาไปเหตุการณ์ปกติ แต่ว่าในขากลับ วันที่ 6 พ.ย. 2552 ออกจากฮ่องกงเวลา 20.50 น. และมีกำหนดถึงกรุงเทพฯ เวลา 22.50 น. นั้น กลับเกิดเหตุไม่คาดฝัน ปาริจฉัตต์ เล่าถึงเหตุการณ์ในขณะที่มีการเสิร์ฟอาหาร เมื่อถึงที่นั่งแถวเธอ พนักงานต้อนรับบนเครื่องแจ้งว่า อาหารไม่มีให้เลือกแล้ว เหลือแต่สปาเก็ตตี้กับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เธอจึงขอบะหมี่ถ้วยปกติและพี่ที่นั่งติดกันสั่งเป็นบะหมี่เกาหลีถ้วยใหญ่ “หลังจากได้รับอาหารแล้วเราก็รับประทานตามปกติ โดยวางกระเป๋าบนขาแล้วเอาถาดที่ใช้วางอาหารลงมา แต่ว่าถ้วยบะหมี่ของเพื่อนรุ่นพี่ที่นั่งข้างๆ น้ำที่ใส่ให้ในถ้วยเป็นแค่อุ่นน้อยๆ เอามือสัมผัสที่ถ้วยแล้วแทบจะไม่มีความร้อนเลยทำให้บะหมี่ไม่สุก เส้นแข็ง ไม่สามารถรับประทานได้ ก็เลยเรียกพนักงานให้นำอาหารไปอุ่นให้” ไม่นานพนักงานก็เดินถือบะหมี่ถ้วยใหญ่ควันฉุยมาเสิร์ฟ เมื่อเดินมาถึงทางด้านข้างเยื้องไปทางด้านหลัง พนักงานแจ้งว่า “ได้แล้วค่ะ” แต่ทันใดนั้นบะหมี่ที่มีน้ำร้อนอยู่เต็มถ้วยได้หกรดใส่ตัวเธอตั้งแต่ไหล่ขวาไล่ลงมาถึงต้นขาขวา “ตอนนั้นตกใจมากทั้งแสบทั้งร้อนค่ะ สะดุ้งสุดตัวจนลุกขึ้นยืนแต่ยืนไม่ได้เพราะติดเบลท์(belt) ที่คาดไว้ พอปลดเบลล์ได้ ก็ปัดทุกอย่างวิ่งเข้าห้องน้ำด้านหลังเครื่อง พนักงานคนก่อเหตุก็วิ่งตามมาด้วย เราก็เลยขอน้ำเย็น น้ำแข็ง มาปฐมพยาบาลเบื้องต้นในห้องน้ำ แล้วก็ต้องอยู่ในนั้นจนเครื่องบินลง เพราะว่าต้องถอดเสื้อผ้าออกเกือบทั้งหมดเพื่อทำการปฐมพยาบาล ก็กังวลนะคะกลัวจะติดเชื้อเพราะแดงไปหมด ทั้งแสบทั้งร้อน ขออย่าให้ได้เกิดกับใครอีกเลยค่ะ แล้วการใช้น้ำแข็งมาประคบโดยตรงมันไม่ใช่ เพราะน้ำแข็งมันก็สกปรกอยู่แล้ว แต่ก็ต้องยอมละค่ะในนาทีนั้น” เธอเล่าต่อไปว่าพนักงานคนก่อเหตุก็พูดขอโทษอยู่ตลอดเวลา “คิดว่าเขาน่าจะมีอุปกรณ์ที่ให้ความช่วยเหลือได้มากกว่าที่เป็น แล้วพนักงานก็ควรจะมีความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลด้วย รู้ไหมค่ะว่าข้างๆ ที่นั่งมีเด็กเล็กนั่งอยู่ด้วย ดีนะคะที่ไม่ไปโดนน้องเขา ตอนที่เราลงจากเครื่องมาแล้วก็ไม่ได้รับการดูแลอะไรเลย คนที่ก่อเหตุ พอมาเจอเราที่สนามบินก็รีบก้มหน้าเดินหนี แทนที่จะนำเรื่องที่เกิดขึ้นรายงานกับส่วนงานถึงข้อผิดพลาดที่เกิดกับผู้โดยสาร แต่เหมือนเขาจะปกปิดเรื่องไว้ เราอยากให้เขาพาเราส่งโรงพยาบาล แต่ก็เปล่าเราต้องเป็นฝ่ายไปโรงพยาบาลเอง เราไม่ได้ต้องการอะไรมากเลย แค่อยากให้เขารับผิดชอบแค่ตรงนี้เอง” ต้องสู้…ถ้าอยากให้แก้ไขจากที่ไม่ได้รับการเหลียวแลในเหตุที่เกิดขึ้น ทำให้เธอต้องลุกขึ้นมาเพื่อพิทักษ์สิทธิ เพราะอย่างน้อยก็เพื่อจะเป็นหลักปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุกับคนอื่น อยากให้สายการบินแห่งนี้มีความรับผิดชอบกับผู้โดยสารมากกว่านี้ ”เราถึงโรงพยาบาลประมาณเที่ยงคืน หมอบอกว่าเป็นอาการ Burn ระดับ 1 มีอาการบวมแดง จึงให้พยาบาลทำความสะอาดและพันแผลไว้ ห้ามอาบน้ำ และให้มาหาหมอใหม่ในวันรุ่งขึ้น ตอนนั้นเราอยากอาบน้ำมาก เพราะทั้งตัวเรามีแต่น้ำต้มบะหมี่แต่ก็ต้องทน เช้าวันรุ่งขึ้นเราก็ไปหาตามหมอนัด ยังแสบแผลอยู่ แต่หมอบอกว่าแผลดีขึ้นไม่พองมีแต่รอยแดงๆ หมอจึงขอดูแผลพรุ่งนี้อีกที เราก็ใจชื้นขึ้นเพราะแผลไม่พอง วันถัดมาซึ่งเป็นวันที่ 8 เราก็ไปให้หมอดูอีก ซึ่งแผลเราไม่เป็นอะไร แต่ยังมีอาการแสบแผลอยู่ หมอจะพันแผลให้อีกวันแต่เราขอไม่พันค่ะ เพราะอยากอาบน้ำมาก ก็เลยกลับมาพักที่บ้าน” เธอเล่าต่อว่าในวันเดียวกันนั้นเองจึงโทรไปที่สายการบินแอร์เอเชีย เพื่อร้องเรียน ซึ่งได้รับการปฏิเสธเพราะเป็นวันเสาร์ – อาทิตย์ พนักงานไม่รับเรื่อง ถ้าจะร้องเรียนให้มาร้องเรียนในวันธรรมดาและอยู่ในเวลาทำการ ไม่มีอะไรที่ได้มาง่าย ๆ ทั้งที่เธอเป็นฝ่ายเสียหาย แต่กลับไม่มีมาตรการอะไรจากทางสายการบินเลย “พอได้ฟังเราก็โห…คือเราก็อยากรู้ไงว่าทำไมถึงทำกับเราอย่างนี้ พนักงานคนที่รับโทรศัพท์เลยให้ส่งเป็นอีเมล์เข้าไป ลองคิดดูนะคะว่าถ้าเป็นคุณป้าที่ไม่รู้จักอีเมล์จะทำอย่างไร จะทำอะไรได้... ก็อ่ะไม่เป็นไร เราก็ส่งเป็นอีเมล์รายละเอียดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าไปและให้เขาติดต่อกลับมาหาเรา ซึ่งเขาไม่ตอบกลับมา เราเลยส่งอีเมล์ฉบับที่สองเข้าไปว่าเราจะฟ้องร้องนะถ้าไม่ติดต่อกลับมา สายการบินจึงติดต่อกลับมา แต่กว่าจะติดต่อกลับมาก็กินเวลาไปประมาณ 2 อาทิตย์แล้ว ซึ่งตอนนี้เราได้มาร้องทุกข์ที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคแล้ว” วันจันทร์ที่ 9 พ.ย. ก็ไปร้องที่ สคบ. ด้วย พอไปถึงเขา(สคบ.) ก็ถามถึงความเสียหายว่าเรามีอะไรเสียหายไป เป็นเงินเท่าไร เราฟังเราก็อ่ะ คือเราไม่ได้จะมาร้องเพื่อให้ได้เงิน เราเพียงแค่อยากให้สายการบินมีมาตรฐานขึ้น มีความรับผิดชอบ แต่เขาบอกว่าเขาทำตรงนั้นให้ไม่ได้ เราก็เลยเก็บคำร้องเรียนไว้ แล้วก็เปลี่ยนที่ เพราะเราไม่ได้ต้องการเรียกเป็นตัวเงินเข้าใจไหมคะ” แล้วปาริจฉัตต์ก็เดินทางเข้าสู่เส้นทางการใช้สิทธิโดยโทรไปที่รายการทนายคลายทุกข์ ทางรายการให้ไปร้องที่ศาลแขวงในพื้นที่เกิดเหตุ เธอจึงไปร้องที่ศาลแขวงสมุทรปราการ “วันนั้นเราก็เดินทางกันทั้งวัน บ้านอยู่เกษตรนวมินทร์ ก็ไปร้อง สคบ.ที่ถนนแจ้งวัฒนะ แล้วก็วิ่งยาวไปสมุทรปราการ พอไปถึงเขาก็ถามคล้ายๆ สคบ.มาดูแผลเราแล้วก็บอกว่าไม่เป็นอะไรมาก ก็ยังเดินได้ไม่ได้เป็นแผล แล้วก็ถามถึงกระบวนการชดเชยค่าเสียหาย เราก็เอ…เราไม่ได้ต้องการเป็นตัวเงิน เราเพียงแค่ต้องการให้ทางสายการบินออกมารับผิดชอบอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่เป็นเงิน เราก็เลยกลับ” กว่าจะได้รับการเยียวยา...แสนลำบาก หลังจากนั้นเธอก็มาร้องเรียนกับศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงได้รับคำแนะนำให้ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐานเมื่อวันที่ 22 พ.ย. และในวันที่ 27 พ.ย.2552 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงได้นัดเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างผู้เสียหายคือคุณปาริจฉัตต์และตัวแทนของบริษัทไทยแอร์เอเซียคือคุณระวีวรรณ สุทธิลักษณ์ ผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ขึ้น โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันว่าตัวเธอจะไม่ติดใจเอาความทั้งทางแพ่งและทางอาญากับทางสายการบิน โดยไทยแอร์เอเซียได้เสนอเยียวยาความเสียหายค่ะ 1) ชดเชยค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง จำนวน 2,160.80 บาท 2) ชดเชยความเสียหายของทรัพย์สินคือ กระเป๋าและเสื้อผ้าที่ถูกบะหมี่หกราด จำนวน 5,000 บาท 3)ค่าตั๋วเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-ฮ่องกง ของสายการบินแอร์เอเซีย จำนวน 6 ที่นั่ง (ไม่ระบุวันเดินทางไป-กลับ) 4) ให้บริษัทไทยแอร์เอเซียฯ ออกจดหมายขอโทษผู้บริโภคอย่างเป็นทางการ จดหมายขอโทษอย่างเป็นทางการถึงคุณปาริจฉัตร์ มีสาระที่น่าสนใจดังนี้ ทางสายการบินฯ และพนักงานทุกคนขอแสดงความเสียใจอย่างที่สุดที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นกับท่าน และขอเรียนให้ทราบว่าหลังจากได้ทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้เข้าร่วมประชุมและหารือถึงสาเหตุและมาตรการต่างๆ ซึ่งทางหลักปฏิบัติโดยทั่วไปนั้น หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น พนักงานต้อนรับจะต้องรีบทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยใช้ชุดอุปกรณ์ตามมาตรฐานความปลอดภัยในอากาศยาน และจะต้องทำการแจ้งกับผู้ควบคุมการบินประจำเที่ยวบินนั้นโดยทันที ผู้ควบคุมการบินจะทำการติดต่อหอบังคับการ และเจ้าหน้าที่ภาคพื้นเพื่อดำเนินการเตรียมอุปกรณ์เพื่อพร้อมรับผู้โดยสารไปยังโรงพยาบาลทันที ณ เครื่องบินลงจอด ซึ่งสายการบินฯ ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นอันดับหนึ่ง พนักงานทุกภาคส่วนได้รับการฝึกอบรมตามมาตรฐานความปลอดภัยในอากาศยานมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวมิได้มีการแจ้งไปยังหน่วยงาน ผู้เกี่ยวข้องตามระเบียบปฏิบัติแต่อย่างใด ยังผลให้ท่านผู้โดยสารไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง อันเป็นเหตุมาจากการประเมินสถานการณ์ที่ผิดพลาด และการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่กำหนดของพนักงานต้อนรับท่านดังกล่าว ทั้งนี้สายการบินฯ ได้มีการเรียกประชุมแผนกพนักงานต้อนรับเพื่อให้มีการรับทราบ และเพื่อให้พนักงานทุกคนได้ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับอย่างเคร่งครัดเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวอีกต่อไป.... เรื่องที่ยังคาใจ“ในจดหมายเราก็ยังคาใจอยู่นะคะว่าเขาได้มีการฝึกอบรมกันจริงหรือเปล่า แต่ก็อยากจะฝากให้ทางสายการบินเพิ่มความระมัดระวังมากกว่านี้ อบรมพนักงานมากกว่านี้ อย่างการส่งของให้ลูกค้าอย่างของร้อนๆ ก็ควรจะใช้ถาดในการส่งให้ ไม่ใช่ถือมาจนเกิดเรื่องขึ้นกับเราอย่างนี้ ถ้าเกิดเรื่องขึ้นกับเด็กๆ หรือเกิดเรื่องที่ร้ายแรงกว่านี้กับชีวิตก็จะไม่คุ้มกัน แล้วก็อยากจะให้สายการบินมีการอบรมพนักงานให้มากกว่าการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อยากให้มีขั้นตอนในการเยียวยากรณีเกิดเหตุ และน่าจะมีอุปกรณ์อื่นๆ ไว้รองรับผู้โดยสารด้วยกรณีที่บาดเจ็บ เราก็ไม่ได้ขออะไรมากมายเลย เพียงแค่เราต้องการความรับผิดชอบและอยากจะให้มีการยกระดับมาตรฐานการบริการ เพราะเราคิดว่าถูกก็ดีได้ ไม่ใช่ปล่อยการบริการให้เป็นไปตามราคาตั๋ว การที่เราขอตั๋วเครื่องบินไปกลับอีกครั้ง เราก็อยากจะสร้างความรู้สึกดี – ดีให้กับเพื่อนที่ไปด้วยกันค่ะ เพราะว่าพอเกิดเรื่องขึ้นกับเราเพื่อนๆ ก็จดจำเราเรื่องของเราเกี่ยวกับการไปฮ่องกง เราเลยอยากชดเชยเพื่อนๆ ตรงนี้มากกว่า เราก็อยากจะให้สายการบินเยียวยาให้เร็วกว่านี้ เรื่องของเราก็มีในอินเตอร์เน็ตนะคะ ก็มีคนมาบอกว่าเราทำเพื่อเงินหรือเปล่า แต่เรารู้ว่าเราทำเพื่ออะไร อย่างน้อยๆ เรื่องของเราก็จะเป็นตัวอย่างให้มีความระวังมากขึ้น” แม้เรื่องของเธอเมื่อเทียบกับใครอื่นๆ แล้วอาจจะไม่ยิ่งใหญ่ แต่เรื่องราวของเธอน่าจะเป็นตัวอย่างที่ทำให้สายการบินต่างๆ เพิ่มมาตรการในการดูแลผู้โดยสารให้มากขึ้น อุบัติเหตุเกิดได้ แต่ทำอย่างไรจะดูแลผู้โดยสารได้ดีที่สุด

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 107 "บิ๊กซี" จ่ายแล้ว5.7แสนชดเชยเหยื่อหญิงเดินตกท่อห้าง ศาลชั้นต้นชี้ประมาทเลินเล่อ

"บิ๊กซี" จ่ายแล้ว5.7แสนชดเชยเหยื่อหญิงเดินตกท่อห้าง ศาลชั้นต้นชี้ประมาทเลินเล่อ นั่นเป็นพาดหัวข่าว วันที่ 16 ธันวาคม 2552 บนหน้าหนังสือพิมพ์มติชน ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จในการใช้สิทธิของผู้บริโภคอีกหนึ่งรายที่ตัดสินใจ เรียกร้องสิทธิจากห้างดังอย่างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ คุณจุฬา สุดบรรทัด คนธรรมดาที่กล้าต่อกรกับยักษ์ใหญ่บริษัทค้าปลีกข้ามชาติ ซึ่งมีสาขามากกว่า 60 สาขาทั่วประเทศ เรามาทบทวนเหตุการณ์วันกระตุกหนวดเสือกันสักนิด… เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2552 เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และคุณจุฬา สุดบรรทัด เดินทางไปยัง ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์สำนักงานใหญ่ ซึ่งบริหารงานโดยบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เลขที่ 97/11 ชั้น 6 ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินการยึดทรัพย์บังคับคดีลูกหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง เป็นจำนวนเงิน 405,808.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี …ในที่สุดบิ๊กซีก็ยอมจ่ายเงินค่าชดเชยให้เหยื่อหญิงเดินตกท่อลานจอดรถสาขาลำปาง 5.7 แสนบาท จากระยะเวลาการต่อสู้กว่า 2 ปี หลังกรมบังคับคดีบุกยึดทรัพย์ถึงสำนักงานใหญ่ “ความจริงเราก็ไม่อยากให้เรื่องถึงศาลหรอกนะ แต่เราขอเจรจากับทางบิ๊กซีแล้วว่าจะแก้ไขกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร บิ๊กซีจะร่วมรับผิดชอบอย่างไรกับค่ารักษาพยาบาลที่เราต้องผ่าตัดขาทั้ง 2 ข้างของเรา อีกทั้งจะรับผิดชอบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนของเราชั่วระยะเวลาหนึ่งอย่างไร เราต้องนั่งรถเข็น ดูแลตัวเองก็ไม่ได้ แต่ทางบิ๊กซีก็ไม่ขอเจรจา เรื่องจะฟ้องนี่ทางครอบครัวก็คัดค้านไม่เห็นด้วย เพราะก็รู้ๆ กันอยู่ว่ามันกินเวลานาน” มันไม่ใช่แค่อุบัติเหตุย้อนเหตุการณ์ไปในเวลาเย็นย่ำของวันที่ 12 มกราคม 2550 ระหว่างที่คุณจุฬา กำลังเดินทางจากกรุงเทพฯ เพื่อไปยังจังหวัดลำปาง เธอได้ขับรถยนต์แวะเข้าไปใช้บริการที่ห้างบิ๊กซีฯ สาขาลำปาง เพื่อซื้อเครื่องใช้ส่วนตัว ครั้นซื้อสินค้าเสร็จสิ้นและกำลังเดินทางกลับมาขึ้นรถที่บริเวณลานจอดรถ ตรงทางสามแยกปรากฏว่ามีรถยนต์คันหนึ่งวิ่งตรงมาตามทางเดินรถที่ไม่มีลูกระนาดด้วยความเร็วในระยะประชิด คุณจุฬาตกใจเกรงว่าตนจะถูกรถชน จึงก้าวขึ้นไปบนเกาะกลางถนนที่ไม่มีไฟฟ้าส่องสว่างเพื่อหลบรถยนต์ที่วิ่งเข้าใส่ หลังจากที่หลบรถยนต์ได้แล้ว คุณจุฬาจึงตัดสินใจหลบไปอีกด้านหนึ่งของเกาะกลางถนนและก้าวลงจากเกาะกลางถนนด้านที่มืดสลัว โดยไม่ทันได้สังเกตว่าจุดที่ก้าวเท้าเหยียบลงไปนั้นเป็นร่องรางน้ำรูปตัววีที่ไม่มีฝาปิด ทำให้เท้าทั้งสองข้างลื่นไถลตกลงร่องรางน้ำรูปตัววีต่างระดับนั้นและเสียหลักลื่นล้มลงอย่างแรง กระดูกข้อเท้าขวาหลุดและแตกหัก อาการหนักพอดู.... หลังเกิดเหตุคุณจุฬาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเขลางค์นคร – ราม ลำปาง โดยเท้าซ้ายกระดูกนิ้วก้อยร้าว และเท้าขวากระดูกเท้าหักจนผิดรูป แพทย์ลงความเห็นต้องผ่าตัดทันที จึงอยู่รักษาตัวระหว่างวันที่ 12-15 ธันวาคม 2550 “ตัวแทนห้างฯ เขาก็นำกระเช้ามาเยี่ยมแล้วก็ยอมรับถึงสภาพที่เกิดเหตุ แล้วก็บอกว่าจะเร่งแก้ไขนะ พร้อมทั้งบอกกับเราว่าจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของเราทั้งหมด แต่ว่าขอให้เราพักรักษาตัวที่ลำปาง เราก็ฟังเขานะ” ในวันนั้นทางห้างฯ เองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจที่จะรับผิดชอบ แต่หลังจากปรึกษากับญาติและทีมแพทย์ของโรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ที่กรุงเทพ ซึ่งแนะนำให้มาฟื้นฟูร่างกายที่กรุงเทพฯ จะดีกว่า เนื่องจากเธอเป็นคนสูงอายุและไม่ใช่คนในพื้นที่ การที่ญาติจะมาดูแลย่อมเป็นเรื่องที่ลำบาก เธอจึงตัดสินใจแจ้งกับตัวแทนของห้างฯ เพื่อขอย้ายตัวมารักษาฟื้นฟูร่างกายที่กรุงเทพฯ แทน “ทางห้างฯ เขาอยากให้เรารักษาตัวที่ลำปาง เพราะทางห้างฯ สาขาลำปางไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนอกพื้นที่จังหวัดลำปางได้ แต่เขาก็จะเอาข้อเสนอของเราไปแจ้งผู้บริหารแล้วจะกลับมาบอกเรา เราก็รออยู่ 2 วัน แต่ก็ไม่มีคำตอบอะไรก็เลยย้ายมารักษาตัวที่โรงพยาบาลพระมงกุฎในวันที่ 15 ธันวาคม” คุณจุฬาย้อนเล่าเหตุการณ์ จากการพักรักษาตัวที่ลำปางมีค่าใช้จ่ายเบื้องต้นประมาณ 83,497บาท รวมค่าเดินทางและที่พัก โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากทางห้างดังกล่าวเลย วันที่ 13 มกราคม 2550 คุณจุฬาได้ให้เพื่อนที่ไปด้วยกันไปแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง (สภ.อ.) จังหวัดลำปาง ไว้เป็นหลักฐาน ก่อนจะพร้อมย้ายการรักษามายังโรงพยาบาลพระมงกุฏ กรุงเทพฯ ซึ่งต้องอยู่รักษาที่โรงพยาบาลเบื้องต้นตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม – 24 กุมภาพันธ์ 2550 มีค่าใช้จ่าย 149,311.50บาท รวมถึงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการผ่าตัดครั้งที่ 2 เป็นจำนวน 100,000 บาท “หลังจากย้ายโรงพยาบาล และเข้ารับการรักษาไดัระยะเวลาหนึ่งก็ทำหนังสือเพื่อร้องเรียนไปยังบิ๊กซีฯ สำนักงานใหญ่ ในวันที่11 กุมภาพันธ์ 2550 พร้อมทั้งทำสำเนาส่งถึงนายกเทศมนตรีลำปางเกี่ยวกับกรณีความไม่ปลอดภัยของพื้นที่ห้าง หลังจากนั้นวันที่ 8 มีนาคม 2550 ก็ได้รับหนังสือชี้แจงตอบกลับจากบิ๊กซีว่าไม่มีส่วนต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย โดยเขาชี้แจงว่าได้มีการดูแลไปตามสมควรแล้ว” หลังจากนั้นนายกเทศมนตรีลำปางส่งจดหมายถึงคุณจุฬาในวันที่ 4 เมษายน 2550 ว่าได้เข้าไปตรวจสอบบริเวณเกิดเหตุแล้ว พบว่าไม่ปลอดภัยจริง จึงทำหนังสือถึงห้างให้แก้ไข “เราก็ไม่รู้นะว่าทางวิศวกรเขาออกแบบมาได้อย่างไร เพราะโดยทั่วไปท่อหรือรางระบายน้ำ ก็จะต้องมีฝาครอบมาปิด ไม่ควรที่จะเปิดทิ้งไว้อย่างนี้” คุณจุฬาเสริม คุยไม่เวิร์ก ก็ต้องฟ้องเมื่อได้รับจดหมายตอบกลับมาเช่นนั้นเธอก็ได้ขอนัดเพื่อเจรจากับทางบิ๊กซี แต่ไม่มีผู้ใดเข้าเจรจาด้วย เธอจึงตัดสินใจดำเนินเรื่องยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ในวันที่ 9 มกราคม 2551 โดยได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เรียกร้องค่าเสียหายพร้อมค่าชดเชยรวม 1,149,000 บาท ซึ่งในขณะนั้น พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ยังไม่มีผลบังคับใช้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ชนะคดีในวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 ทางบิ๊กซีฯ ต้องชดใช้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 405,808.50บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันเกิดเหตุ เนื่องจากพิจารณาจากที่เกิดเหตุแล้วเห็นว่า จำเลยซึ่งประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้า ประมาทเลินเล่อ ไม่คำนึงถึงประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ “โดยส่วนตัวแล้วก็เป็นคนที่ไม่ชอบปล่อยอะไรที่ไม่ถูกต้องให้ผ่านเลยไป ถ้าหากเราปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ผ่านไปอีกมันก็จะเกิดวัฒนธรรมของการละเมิดสืบต่อกันไปเรื่อยๆ แล้วเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้อีก ก็ทำให้เราคิดที่จะลุกขึ้นมาสู้ แต่ก็คิดอยู่นานนะทั้งหาข้อมูลแล้วก็ปรึกษากับคุณรสนา และคุณสารี ทางครอบครัวก็คัดค้านไม่ให้ฟ้อง เพราะเรื่องศาลเป็นเรื่องที่ยืดเยื้อ แต่สุดท้ายเราก็คิดว่าถ้าเราฟ้อง เราก็จะสร้างบรรทัดฐานว่าผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบผู้บริโภค เราก็เลยตัดสินใจฟ้อง” ถึงแม้ศาลชั้นตนจะมีคำตัดสินออกมาแล้วทั้ง 2 ฝ่ายต่างใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาล โดยคุณจุฬาใช้สิทธิเพื่อแสดงสิทธิเรื่องความเท่าเทียมกันและเพื่อสร้างบรรทัดฐานในสังคม ขณะที่ทางด้านบิ๊กซีเห็นว่าเป็นจำนวนเงินที่มากเกินไปจึงยื่นขอสิทธิทุเลาบังคับคดี และศาลมีคำสั่งให้บิ๊กซีนำหลักทรัพย์มาวางประกัน ในวันที่ 24 เมษายน 2552 ทางบิ๊กซีได้นำพันธบัตรของบริษัท แอ็กซ่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่รับผิดชอบตรงบริเวณเกิดเหตุ มาวางเป็นหลักประกัน แต่ทางศาลเห็นว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่สามารถรับประกันได้ว่า ทางบิ๊กซีจะต้องเข้ามารับผิดชอบในเรื่องนี้ ศาลจึงคัดค้านหลักประกันดังกล่าว เพราะถือว่าไม่ปฏิบัติตามที่กำหนดที่ให้เอาเช็คเงินสดมาวางเป็นหลักทรัพย์ จึงมีผลให้คำร้องขอทุเลาบังคับคดียกเลิกไป แต่วันที่ 30เมษายน 2552 ทางบิ๊กซียื่นขอทุเลาการบังคับคดีอีกครั้ง และคำร้องยกเลิกไป เพราะยังเอาหลักทรัพย์ค้ำประกันเดิมมาวาง พร้อมกับที่ศาลสั่งให้นำหลักทรัพย์ใหม่มาวางประกันภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 ทั้งในวันที่ 29 พฤษภาคม 2552 และ 17 มิถุนายน 2552 และ 1 กรกฎาคม2552 และ 16กรกฎาคม2552 ทางบิ๊กซีได้ยื่นขอทุเลาบังคับคดีและศาลยกคำร้อง จนกระทั่งวันที่ 7 กันยายน 2552 ทางบิ๊กซีชี้แจงว่า ยังไม่สามารถดำเนินการตามคำสั่งศาลได้เนื่องจากยังไม่มีเงินสดตามจำนวน พร้อมยืนยันหลักทรัพย์เดิมของทางบริษัทแอ็กซ่า ประกันภัย ศาลจึงเลื่อนมาพิจารณาเมื่อวันที่ 14 กันยายน2552 โดยพิจารณาแล้วจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอทุเลาบังคับคดี ส่งผลให้วันที่ 15 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา คุณจุฬา พร้อมเจ้าหน้าที่จากกรมบังคับคดี เดินทางไปยังห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์สำนักงานใหญ่เพื่อยึดทรัพย์ที่เป็นของบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ตามมูลค่า 405,808.50 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 นับตั้งแต่วันเกิดเหตุ รวมทั้งสิ้นเป็นมูลค่า 576,660.33บาท ซึ่งท้ายที่สุดทางบิ๊กซียินยอมจ่ายเป็นเช็คเงินสดเต็มจำนวน อะไรคือสำนึกดีสังคมดีการลุกขึ้นมาสู้เพื่อสิทธิของคุณจุฬาครั้งนี้กินว่าเวลาการต่อสู้กว่า 2 ปี สิ่งที่เธอหวังว่าอยากจะเห็นก็คือ Corporate Social Responsibility (CSR) หรือ ความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจ จะเกิดขึ้นจริง “อยากให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่อยากให้เอาเปรียบสังคมจนเกินไป ไม่อยากเห็น CSR ให้เป็นเพียงเครื่องมือทำบุญล้างบาปเท่านั้น ควรจะตระหนักให้มากทั้งความรับผิดชอบต่อสังคม ต่อสิ่งแวดล้อม เพราะทุกอย่างเกี่ยวข้องกันไปหมด ผู้บริโภคอย่างเราๆ เองก็เช่นกันนอกจากจะใช้แล้วก็ต้องคอยติดตามเรื่องราวที่ตัวเราใช้สิทธิไปเช่นกัน แล้วเมื่อพบอะไรที่เอาเปรียบกับสังคมก็ต้องช่วยกันแก้ไข ไม่ควรเพิกเฉยหรือปล่อยให้สิ่งไม่ถูกต้องผ่านพ้นไป” และนั่นคืออีกบุคคลที่ฉลาดซื้อขอยกย่องค่ะ สวัสดีปีใหม่ทุกคนนะคะ คงเพราะคำว่าตามสมควร มีคำนิยามที่แตกต่างกัน การนำกระเช้าของขวัญมาเยี่ยมที่โรงพยาบาล การเสนอรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลโดยยื่นข้อแม้ว่าต้องรักษาที่ลำปางเท่านั้นจึงจะสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้ นั่นคืออีกนิยามของคำว่าตามสมควรแล้วของห้างบิ๊กซีฯ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 106 พลังงานสะอาดที่ครัวชมวาฬ

ครัวชมวาฬ วันนี้มีผู้คนแวะเวียนเข้ามาไม่ขาดสาย ยิ่งเป็นช่วงเสาร์ – อาทิตย์ คนจะเยอะยิ่งกว่าวันอื่นๆ กลิ่นไอการต่อสู้เพื่อบ้านเกิดของคนบ่อนอกก็ไม่จางหายไป กรณ์อุมา พงษ์น้อย ประธานกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก ภรรยาของเจริญ วัดอักษร นักต่อสู้ผู้ล่วงลับ นับเป็นนักเคลื่อนไหวภาคประชาชน ที่มีวิธีคิดโดดเด่นอย่างยิ่ง จากหญิงสาวที่เรียนหลักสูตรการโรงแรมและท่องเที่ยวนานาชาติ ที่มหาวิทยาลัยในกรุงเทพ แต่ชีวิตเธอต้องพลิกผันกลายไปเป็นนักเคลื่อนไหวภาคประชาชนได้อย่างไร ฉลาดซื้อขอพาคุณไปรู้จักกับเธอ เรื่องเล่าวันวาน โรงไฟฟ้าที่ชาวบ้านไม่ต้องการจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจะให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เพื่อลดภาระในการลงทุนและการกู้ยืมเงินของรัฐบาล เมื่อปี 2537 โดยโครงการที่ได้รับการอนุมัติคือ โครงการโรงไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของบริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์เจเนอเรชั่น ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้สร้างที่ ต.บ่อนอก และบริษัทยูเนี่ยน เพาเวอร์ ดิเวลลอปเมนท์ ซึ่งจะสร้างที่หินกรูด แต่ประชาชนบางส่วนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไม่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ทั้ง 2 แห่งที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงได้รวมตัวกันคัดค้านและนำไปสู่การชุมนุมประท้วงและปิดกั้นการจราจรบนถนนเพชรเกษมในระหว่างวันที่ 8-10 ธันวาคม 2541 จนคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ให้จัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินโครงการก่อสร้างที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทั้ง 2 แห่ง ซึ่งท้ายสุดจะต้องลงเอยด้วยการอนุมัติโครงการอยู่นั่นเอง สุดท้ายชาวบ้านก็ต้องสู้ให้ถึงที่สุด ทั้งเดินเท้าเข้ากรุงเทพฯ เพื่อยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี และต้องหาข้อมูลทางวิชาการที่โรงไฟฟ้าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีกลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคตเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการให้กับชาวบ้านในเรื่อง “รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม” หรือ อีไอเอ แกนนำในขณะนั้นคือ เจริญ วัดอักษร ซึ่งก็คือสามีของ กรณ์อุมา พงษ์น้อย เป็นประธานกลุ่มและเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเป็นแกนนำจนกระทั่งได้ถูกลอบยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2547 หลังการต่อสู้ที่ยาวนาน ในปี 2546 ได้มีการแถลงข่าวว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะมีการย้ายโรงไฟฟ้าบ่อนอกไปสร้างที่จังหวัดสระบุรี และเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากถ่านหินเป็นก๊าซธรรมชาติ และปี 2547 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ย้ายโรงไฟฟ้าที่บ่อนอกไปสร้างที่แก่งคอย จังหวัดสระบุรี แต่กลิ่นไอของการต่อสู้ที่แลกด้วยชีวิตยังเคยไม่จางหาย พลังงานทางเลือก ที่ไม่ถูกเลือกจากการต่อสู้เพื่อท้องถิ่นของกรณ์อุมา บอกว่าจากจุดนี้เองที่เธอก็งงว่ารัฐพยายามบอกว่า จะใช้พลังงานที่ยั่งยืนในการผลิตไฟฟ้า แล้วทำไมไม่ส่งเสริมให้มาใช้พลังงานแสงแดด พลังงานลม“ความคิดเรื่องการใช้พลังงานสะอาด เกิดขึ้นตอนที่พวกเราคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้า แล้วเราก็ชูประเด็นในระดับนโยบายกับรัฐว่าการใช้เชื้อเพลิงที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมน่าจะปรับเปลี่ยนได้แล้ว และควรจะเป็นพลังงานสะอาดหรือพลังงานทางเลือก ไม่ว่าจะเป็น ลม แสงแดด เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยใช้แผงโซ่ล่าเซลล์หรือกังหันลม ซึ่งรัฐเองก็บอกแต่ว่าต้นทุนสูง ซึ่งเราก็งงว่าจะต้องใช้ต้นทุนอะไร ในเมื่อสายลมแสงแดดเราไม่ต้องซื้อ ในขณะที่ถ่านหินต้องซื้ออีกอย่างตอนที่เจริญเขายังมีชีวิตอยู่ ก็เคยคุยๆ กันอยู่ ตอนที่ต่อสู้กันอย่างเข้มข้นว่าเป็นไปได้ไหมที่เราจะทำกังหันลม ซึ่งมองที่ดินสาธารณะที่ติดชายทะเลไว้ และเป็นที่ดินที่อยู่หน้าโรงไฟฟ้า ซึ่งถ้าหากพวกเราทำได้ก็น่าจะดี เรามองประเด็นเรื่องการท่องเที่ยวด้วย แต่ตอนนั้นมองภาพเป็นกังหันขนาดใหญ่ ก็พยายามมองหาเทคโนโลยีต่างๆ แต่เจริญก็เสียชีวิตไปก่อนครั้นเรามาสานต่อเรียนรู้ร่วมกับชุมชนถึงการทำกังหันโดยใช้วัสดุง่ายๆ ที่หาได้ที่บ้านเรา นั่นคือตัวกังหันต้องมีดุมล้อ ใบพัดกังหันก็ทำจากไม้ ก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ถึงมันจะไม่ได้มากนักแต่ก็เป็นพลังงานทางเลือกที่ทดแทนกันได้ในระดับหนึ่ง เราได้เขียนโครงการของบประมาณ สนับสนุนจาก สสส.ได้เงินให้ชุมชนทำพลังงานสะอาด เราขอทำกังหันไป 3 ตัว ตัวแรกก็คือตัวที่ตั้งที่ร้าน ซึ่งเราทดสอบกับลมทะเล อีกตัวก็ไปตั้งไว้ที่วัดซึ่งเรานำไปทดลองใช้กับวิทยุชุมชน ซึ่งเท่าที่ทดลองมาก็นำไฟฟ้ามาใช้งานได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่นับรวมว่าจะนำไปใช้กับแอร์ได้นะ ก็เสียบคอมพิวเตอร์ วิทยุได้แต่กระบวนการที่ผ่านมาก็ทำให้เราได้รู้ว่ากังหันลมที่เราทำขึ้นมา ก่อให้เกิดพลังงานได้จริง แต่ส่วนหนึ่งที่ทำให้เราได้เรียนรู้ก็คือกระบวนการลองผิดลองถูก” ลองผิดลองถูกทำให้เรา รู้จริงกระบวนการที่กรณ์อุมาว่าก็คือตั้งแต่เริ่มซื้อแบตเตอรี่เพื่อเก็บไฟฟ้า กว่าจะรู้ว่าแบตเตอรี่มีความต่าง“ช่วงแรกๆ ก็ถือว่าเราหมดไปเยอะ อย่างซื้อแบตฯ เราก็คิดถึงการใช้งานระยะยาว ก็ไปซื้อแบตเตอรี่แห้ง เจ้าของร้านก็แนะนำเราอย่างดี พอซื้อมาใช้จริงๆ ถึงรู้ว่าเราเสียรู้ เอ่อ..อันนี้ไม่ฉลาดซื้อนะ” เธอพูดพลางหัวเราะก่อนจะอธิบายเพิ่มเติม“เสียรู้ก็คือเรามารู้ภายหลังว่าไฟฟ้าที่มาจากกังหันนั้น กระแสไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอทำให้เราเก็บไฟไม่ได้เลย และที่เหมาะสมที่สุดคือแบตเตอรี่น้ำ เราก็เลยเสียแบตเตอรี่ไป 4 ลูก ตอนนั้นซื้อมาลูกละ 7,000 บาทได้นะ เลยทำให้เราเรียนรู้ว่า เราต้องมองหาแหล่งซื้อของให้มากขึ้น อย่างแม่เหล็กที่แผงวงจรไฟ เราก็ไปหาซื้อที่คลองถมจะซื้อได้ถูกกว่าแค่ 180 บาทจาก 250 บาท” นั่นคือบทเรียนที่เธอและชุมชนได้เรียนรู้ นอกจากจะศึกษาเองแล้ว เธอยังไปศึกษาเรียนรู้ดูงานกับเครือข่าย ที่ทำงานด้านพลังงานทางเลือก เพื่อพัฒนาร่วมกัน “ตอนนี้ก็เริ่มมีแนวคิดว่า จะพัฒนากังหันลมที่ทำอยู่ให้ได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใบพัดที่คงทน ระบบการผลิตและจัดเก็บไฟฟ้า แล้วถ้ามันสมบูรณ์แบบเมื่อไร ก็คิดว่าจะทำให้กังหันมีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมทั้งขยายแนวคิดออกสู่ชุมชน ปัจจุบันคิดค่าต้นทุนทั้งกังหันลม แบ็ตเตอรี่เก็บไฟ ตัวเร็กกูเลเตอร์ เบ็ดเสร็จก็น่าจะ 50,000 บาท ต่อ 1 ชุด” เธอแจกแจงแนวคิดที่จะขยายโครงการ หากเธอนับหนึ่ง นับสอง ได้สำเร็จ ครั้นฉลาดซื้อถามถึงผลตอบรับจากบ้านว่าเป็นอย่างไร เธอตอบอย่างหน้าชื่นว่าคนผ่านไปมาก็ถาม ลูกค้ามาถาม บางคนก็เข้ามายินดีกับเธอที่เธอสามารถนับหนึ่งการใช้พลังงานสะอาดได้แล้ว “ความตั้งใจจริงๆ ที่ทางกลุ่มลงมือกันทำก็คือ อยากจะขยายไปสู่วัด โรงเรียน ก่อนที่เป็นรายบ้าน เพราะเมื่อทำงานกับโรงเรียนก็จะได้ทำงานกับเยาวชนด้วย ได้เพิ่มการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ ด้วย” นั่นคือเป้าหมายที่เธอและทางกลุ่มคาดหวังไว้โรงไฟฟ้าแค่จิ๊กซอตัวเล็กๆ ในแผนพัฒนาอุตสาหกรรมภาคใต้“ตั้งแต่โรงไฟฟ้าไปชาวบ้านก็ทำงานของเขาตามปกติ คือปกติเขาก็ทำงานของเขาอยู่นะ แต่พอมีปัญหาการรวมตัวของชาวบ้านก็จะมาทันที ถ้าถามว่าโรงไฟฟ้ามันจบไหม คือ…เอาเข้าจริงๆ ประจวบฯไม่ได้เจอแค่โรงไฟฟ้านะ โรงไฟฟ้าเป็นเพียงจิ๊กซอตัวเล็กๆ ในแผนพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือเซาเทิร์นซีบอร์ด ที่ตอนนี้เริ่มขยับตัวแล้วโรงไฟฟ้าก็มีบ่อนอก หินกรูด แล้วก็ทับสะแก ตอนนั้นเราสู้ร่วมกัน ซึ่ง 3 โรงไฟฟ้านั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะรองรับอุตสาหกรรมที่จะตามมา ซึ่งนี้ก็ชัดเจนแล้วว่าทางสภาพัฒฯ และเอดีบี ได้สำรวจและมีงานวิจัยออกมาแล้วว่าที่ อ.กุยบุรี เหมาะกับการสร้างเหล็กต้นน้ำ พูดง่ายๆก็คือโรงผลิตเหล็ก ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมของบ้านเรา แต่มันเก่ามาจากต่างประเทศ อย่างสหรัฐ ฯ อังกฤษ ญี่ปุ่น แล้วตอนนี้เขาก็ย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศอย่างเราๆ เหมือนเป็นการล่าอาณานิคมสมัยใหม่ที่ใช้ระบบเศรษฐกิจในการล่า บ้านเราก็มีบทเรียนมาแล้วจากระยอง นั่นก็คือมาบตาพุด ไม่ว่าจะเป็นชื่อร้าน ชื่อโรงงานมีแต่ของต่างประเทศทั้งนั้น ที่มายึดไทยเป็นฐานการผลิตแล้วเอากำไรกลับประเทศเขาไปในประจวบฯ เองก็ไม่ใช่มีแค่เหล็กต้นน้ำ มันก็จะมีอุตสาหกรรมอื่นๆ ตามมา คือมันก็จะเป็นแบบเดียวกับที่ระยอง ซึ่งเอาเข้าจริงๆ ต้องใช้คำว่าภาคใต้ถึงจะถูก ประจวบฯ เป็นแค่จังหวัดแรกของภาคใต้เท่านั้น โรงไฟฟ้าบ่อนอก ที่บอกว่าเหมือนจะจบแล้ว แต่มันยังไม่จบ เพราะรัฐได้ทำสัญญาไปแล้วก็ต้องย้ายไปสร้างที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี จากกำลังการผลิต 700 เมกะวัตต์เป็น 1,400 เมกะวัตต์ คือแต่ละที่ก็ต้องสู้ต่อ ถ้าถามว่าในทางนโยบายการผลิตไฟฟ้าที่ประจวบฯ ยังมีอยู่หรือเปล่า ที่ 4,000 เมกะวัตต์ ยังมีนะก็คือ บ่อนอก 700 เมกะวัตต์ บ้านกรูด 1,400 เมกะวัตต์ และที่ทับสะแกอีก 2,100 เมกะวัตต์ แต่ตอนนี้กำลังการผลิตที่ทับสะแกเปลี่ยนไปแล้วนะถ้าเขาสร้างได้เต็มที่จะอยู่ที่ 14,000 เมกะวัตต์ คือจะใหญ่กว่าแม่เมาะเลยทีเดียว และนั่นคือโรงไฟฟ้าถ่านหิน คิดดูว่าอะไรจะเกิดขึ้นที่นี่ ไม่อยากจะให้รัฐมาขับไล่พวกเราอีก คือไม่ใช่ว่าเราต้านไปหมดทุกอย่างนะ เพียงแต่อยากให้รัฐทำให้ถูกที่ ทำไมจะต้องมาสร้างในชุมชน” กรณ์อุมา แสดงทัศนะและย้อนไปถึงโรงไฟฟ้าที่เป็นด่านแรกของแผนพัฒนาฯ เท่านั้น ยังมีอีกหลายโครงการที่กำลังจะตามมา“ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2551-2564(PDP 2007) เขาจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ด้วย ทั้งที่ปัจจุบันโรงไฟฟ้าเท่าที่มีอยู่สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 29,891 เมกะวัตต์ ในขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเมื่อปี 2551 อยู่ที่ 22,568 เมกะวัตต์ ทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่เกินความต้องการถึง 7,323 เมกะวัตต์ ทั้งที่ก่อนหน้านั้นที่บอกว่าถ้าไม่สร้างโรงไฟฟ้าที่ประจวบฯ จะทำให้ไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้ในประเทศ ก็ไม่เข้าใจรัฐนะ แล้วการที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็บอกว่าเป็นพลังงานทางเลือกอีกตัวหนึ่ง เราก็งงมากในสมัยที่เราสู้เราก็บอกว่าพลังงานทางเลือกก็คือ สายลม แสงแดด พลังงานชีวมวล แต่ว่าพลังงานทางเลือกของรัฐตอนนี้คือก๊าซ ถ่านหิน นิวเคลียร์ แถมยังบอกเราว่าลดความเสี่ยง ทั้งที่สิ่งเหล่านี้มันเสี่ยงมากกับชีวิต กับสุขภาพ กับวิถีชีวิตของคน แต่รัฐอ้างเพียงว่าเชื้อเพลิงจะหมดไป แต่เรากลับมองต่างว่าสายลม กับแสงแดด มันไม่มีวันหมดอยู่แล้ว” รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาดหลังเหตุการณ์ ต่อสู้เรื่องโรงไฟฟ้า ซึ่งนั่นถือเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตกรณ์อุมา จากคนที่รักสงบ แต่ปัจจุบันเธอต้องรับหน้าที่เป็นประธานกลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก แล้วยังเป็นแกนนำคนสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อให้ชาวบ้านในจังหวัดประจวบฯ ได้เข้าใจถึงผลกระทบที่จะตามมาของโครงการพัฒนาฯ จนเกิดเป็นกลุ่ม “เครือข่ายพันธมิตร สิ่งแวดล้อมประจวบฯ” รวมถึงมีส่วนในการก่อตั้ง “เครือข่ายประชาชนภาคใต้” เพื่อต่อสู้กับแผนพัฒนา ที่กำหนดให้ภาคใต้เป็นเมืองอุตสาหกรรม ต้องเดินทางเกือบจะตลอดเวลา ชีวิตรักสงบของเธอจึงเปลี่ยนไป “โอ้โห มันเปลี่ยนไปแบบไม่เหลือเลย จากคนที่ไม่ชอบความวุ่นวาย วันๆ ก็อยู่กับการทำมาหากิน มีเวลาก็จะอ่านหนังสืออยู่กับบ้าน ไม่ชอบไปไหน พอถึงวันนี้การต่อสู้ที่ผ่านมาโดยเริ่มจากปัญหาของตัวเอง พอเรามาจับปัญหาแล้วมันทำให้เรารู้ว่าบ้านเมืองเรายังมีปัญหาอีกเยอะมาก โดยเฉพาะแผนพัฒนาฯ ถ้าเราไม่ช่วยกันก็จะเป็นปัญหาในระยะยาว ก็คิดนะว่าถ้าเราทำอะไรเพื่อใครได้ก็อยากจะไปเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับส่วนอื่นๆ มันก็เหนื่อยนะ แต่พอพักมันก็หาย” ครัวชมวาฬ ครัวเพื่อการเรียนรู้ของชุมชน“พอเราต้องออกเดินทางบ่อยๆ เราก็ยกร้านอาหารให้พี่สาวมาช่วยดูแล เพราะมันต้องมีคนมาดูแลทั้งร้าน ทั้งที่พัก มีคนยุให้เปิดที่พักอีก แต่แค่นี้ก็พอแล้ว เราทำไม่ได้กะจะหวังร่ำรวยอะไร แค่พอมีเงินมาจุนเจือครอบครัว ให้คนในชุมชนได้มีงานทำ แล้วก็เปิดให้คนข้างนอกเข้ามาพัก เข้ามาดูว่าบ่อนอกเป็นอย่างไรแค่นี้ก็พอแล้ว คนที่มาพักก็มีสงสัยนะว่าทำไมไม่เห็นปลาวาฬบรูด้าเลย คือเราก็ไปบังคับให้มันมาว่ายไม่ได้ คือบ้านเราเห็นมันมาจนเป็นปกติ บ้านเราเรียกว่าปลาเจ้า ช่วงที่ต่อสู้เรื่องโรงไฟฟ้า ซึ่งเขาบอกว่าอีกไม่นานหรอกที่นี่อาชีพประมงจะล่มสลายเพราะทะเลไม่อุดมสมบูรณ์ เรื่องปลาวาฬ จึงถูกหยิบยกเพื่อมาสู้กันในเรื่อง อีไอเอ ความอุดมสมบูรณ์ของทะเล ปลาวาฬกินอาหารทีเป็นตันๆ แบบนี้คุณจะมาบอกว่าบ้านเราไม่สมบูรณ์ไม่ได้ เพราะฉะนั้นคนที่จะมาที่นี่เขาก็จะมาศึกษาธรรมชาติ มาพัก เราก็จะสกรีนลูกค้าเราได้ส่วนหนึ่งแล้ว บางวันมีม็อบเราก็จะบอกว่าไม่ขายนะคะ ไปม็อบ เพราะคนที่ทำงานที่นี่ก็เป็นคนในชุมชน เวลาที่จะออกไปต่อสู้หรือเรียกร้องอะไร ก็จะพากันไปหมด เพราะทุกคนอยากสู้เพื่อชุมชน สู้เพื่อบ้านเกิดของตัวเอง” ใครที่อยากชิมอาหารครัวชมวาฬ แวะกันไปด้วยทุกวันค่ะ (ยกเว้นไว้ไปม็อบ) เข้าไปดูรายละเอียด ได้ที่ www.kruachomwhale.com

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point