ฉบับที่ 184 สาวแม่บ้านเรียกร้องสิทธิ

จากสาวแม่บ้าน สุนี อนุพงศ์วรางกูร ที่เลี้ยงลูกเป็นหลัก ต้องลุกขึ้นมาหาหลักฐาน ตลอดจนข้อมูลในการพิทักษ์สิทธิ์ เรียกร้องค่าเสียหาย จากคนที่อยู่แบบไม่เบียดเบียนใครๆ ต้องมาเป็นนักสู้มือเปล่า ประโยคสวยงามภาษากวี ที่ในความเป็นจริงกว่าจะผ่านความเจ็บปวดมาได้แต่ละด่านบอกได้เลยว่ายาก “สุนี อนุพงศ์วรางกูร” จะมาเล่าอีกมุมของความยากลำบากในการเรียกร้องสิทธิ“เหตุเกิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 เวลาประมาณ 5.30 น. รถโดยสารของอินทราทัวร์ที่คนขับหลับในรถจึงพลิกคว่ำ ทั้งคันรถล้มระเนระนาด คนในรถได้รับบาดเจ็บ แล้วแฟนก็เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ พร้อมชาวต่างชาติเป็นผู้หญิงชาวอินเดียอีก 1 คน เป็น 2 คนที่เสียชีวิต จากเหตุการณ์วันนั้นถึงวันนี้ทางบริษัทอินทราทัวร์ก็ยังไม่ได้เยียวยาอะไรเลย จนทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเข้ามาช่วยเหลือและแนะนำว่าเราควรไปที่หน่วยงานไหนบ้างที่จะช่วยเราได้ เราก็ไปทั้ง คปภ. ที่รัชดาและ คปภ. ที่เชียงใหม่แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับ เพิ่งได้รับการยืนยันจาก คปภ. เชียงใหม่ว่าตอนนี้เขาได้ส่งหนังสือไปถึง บ.อินทราทัวร์แล้วเพื่อให้ทางบริษัทรับผิดชอบว่าตกลงจะจ่ายหรือไม่จ่าย ส่วนเรื่องคดีตอนนี้ก็ยื่นฟ้องแล้ว ยื่นฟ้องคนขับรถเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น ตอนนั้นทำอย่างไรบ้างคือทางมูลนิธิฯ เข้ามาหาผู้บาดเจ็บก่อนหลายๆ คนและได้แนะนำเราจึงติดต่อไปว่าเราต้องการให้ช่วยเหลือเรื่องอะไรบ้าง จึงปรึกษามาโดยตลอด ก็มีโอกาสได้เข้าร่วมงานเสวนากับมูลนิธิฯ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ในงานผ่าทางตันรถโดยสาร กรณีอินทราทัวร์ เรื่องรถลาดเอียงด้วยขั้นตอนตอนที่ทำเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายมีการเก็บเอกสาร หลักฐานอย่างไรบ้าง เพื่อท่านอื่นๆ ที่อ่านจะได้มีข้อมูลตอนนี้เอกสารที่ได้มาคือเอกสารที่ได้จากการบันทึกให้ปากคำของ สภ. อ่างทอง เราจะเก็บไว้ทุกครั้ง ใบมรณะบัตร บัตรประชาชนทุกอย่างของสามีและของครอบครัวเราเพราะเรามีลูก 3 คนและเราไม่ได้จดทะเบียนสมรสเลยทำให้ยังใช้สิทธิอะไรไม่ได้และยังมีพ่อแม่ของสามี ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ก็ต้องขอให้พ่อแม่เขาเซ็นมอบอำนาจให้เราเป็นคนดำเนินการเพราะแกก็แก่แล้ว ลูกก็ยังไม่บรรลุนิติภาวะจึงยังทำอะไรไม่ได้เราก็ต้องให้ลูกเขียนมอบอำนาจให้เราทำเรื่องแทน เลยต้องเตรียมเอกสารพวกนี้เก็บไว้ และยังมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการดำเนินคดี พวกเอกสารการประกอบอาชีพของสามี สามีมีอาชีพเลี้ยงปลาต้องทำเอกสารไปขอที่หน่วยงานต่างๆ ที่เราเกี่ยวข้อง เอกสารเกี่ยวกับลูกค้าก็ต้องมีมายืนยันว่าเรามีอาชีพนี้และ มีรายได้จากอาชีพนี้จริง คนที่มีปัญหาคล้ายๆ กันต้องรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับรายได้ทั้งหมดก็มีทำรายรับ-รายจ่ายของปีที่แล้วไว้ และค่าใช้จ่ายตั้งแต่สามีเสียชีวิตจนถึงปัจจุบันเพราะเราไม่มีรายได้ต้องใช้เงินที่เก็บไว้เลยทำเอกสารเตรียมไว้ รายจ่ายที่เกี่ยวกับลูกด้วยเพื่อจะเอามาเป็นข้อมูลในการเรียกร้องค่าเสียหายการเรียกร้องสิทธิมีอุปสรรคอย่างไรบ้างโดยส่วนตัวที่ไปดำเนินการยังไม่มี เพียงแต่บางครั้งเราไปยื่นเอกสารแล้วมันไม่ตรงประเด็นที่เขาต้องการแล้วเขาก็ไม่ได้ให้คำแนะนำเรา อย่างที่มีปัญหาครั้งแรกเลยคือ คปภ. ที่รัชดา เราไปยื่นเรื่องตั้งแต่เดือนธันวาคม แต่เพิ่งทราบว่าเขาไม่ได้ตามเรื่องให้เราเพราะเราไม่ได้ยื่นกองทุนทดแทน รถก็ไม่มี พ.ร.บ. เขาก็ไม่รับผิดชอบอยู่แล้วเลยไม่ได้ช่วยเหลือตรงส่วนนั้น จึงไปเรียนถามท่าน ผอ.คปภ. ก็ให้คำแนะนำว่าต้องยื่นกองทุนทดแทน คือเราต้องยื่นไปอีกฉบับหนึ่งแต่คนที่รับเรื่องคนแรกนั้น เขาป่วยแล้วหยุดไปหลายเดือนก็เลยทิ้งเรื่องของเราเลย ทางมูลนิธิฯ ก็ให้โทรไปถามว่าเอกสารติดอะไรจึงได้คุยกับทาง ผอ. แล้วก็แนะนำว่าอยู่เชียงใหม่ให้ไปยื่นกองทุนทดแทนที่เชียงใหม่เลย คือปัญหามันเหมือนกับเจ้าหน้าที่เขาก็มีแยกเป็นแขนงๆ ของเขา คนนี้ดูและเรื่องอุบัติเหตุ คนนี้ช่วยเหลือเรื่องผู้พิการ หน้าที่แยกกันเลยพอเราไปไม่ตรงจุดก็ไม่ได้อะไร ถ้าไม่ตามก็ไม่รู้อีกว่าปัญหามันติดอยู่ตรงไหน มันเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของการร้องเรียนกับภาครัฐ ถ้าเราไม่รู้ช่องทางว่าจะต้องไปหน่วยงานไหน ตรงฝ่ายไหนก็ทำให้เสียเวลาเพราะจริงๆ ตอนนั้นไปเยอะมากเลยหน่วยงานที่กรุงเทพฯ เสียค่าใช้จ่ายก็เยอะ เวลาเดินทางก็ต้องนั่งรถแท็กซี่เสียเงินครั้งละ 500 – 600 บาทเพราะบางที่ก็ไกลมาก ตอนแรกจะไปมูลนิธิปวีณาแต่มีคนบอกว่าการเดินเรื่องก็นานเหมือนกันเราก็เลยกลับ พอไป คปภ. ก็ยังไม่ได้เรื่องเพราะจนตอนนี้ก็ยังไม่ได้เงินช่วยเหลือเลยสักบาทเดียวมีท้อบ้างไหมไม่หรอกเพราะบางคนแย่กว่าเรา น้องคนหนึ่งเป็นเคสในอุบัติเหตุครั้งนี้เขาอยู่บนดอยอมก๋อย เขาไม่มีเงินรักษาตัวเองต้องไปรักษากับหมอผีแล้วจะไปเบิกอะไรกับใครได้ เขาก็โทรมาเล่าให้ฟังซึ่งเขาลำบากกว่าเราเพราะเขาก็เป็นเยอะเหมือนกัน ส่วนกรณีของเรา คือสามีเสียชีวิตไปอย่างน้อยก็ไม่ต้องมาทรมานแบบน้องคนนี้ ของเราก็มีเพื่อนคอยช่วยกระตุ้นให้ตามเรื่องเพื่อให้เป็นกรณีแบบอย่างเผื่อมีใครต้องพบปัญหาแบบเรา ไม่อยากให้ลอยนวลไปเฉยๆ คือเราต้องสู้ ตอนนี้คนอื่นๆ ที่ได้รับอุบัติเหตุในครั้งนั้นเป็นอย่างไรกันบ้างก็มีคุยกันในไลน์บ้างซึ่งทุกคนก็ยังรอความหวังว่าทางขนส่งจะช่วยเหลืออะไรไหม แต่ละคนเขาก็มีภาระหน้าที่การงาน บางคนต้องถูกไล่ออกจากงานเพราะจากอุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้เขาทำงานไม่ได้ เราเองก็ต้องเดินเรื่องต้องฝากลูกให้ญาติๆ ช่วยดูแล ซึ่งค่าใช้จ่ายนั้นมีเพิ่มทุกวันๆ ก็อยากให้มันผ่านพ้นไปด้วยดี ให้เรื่องจบโดยเร็วแล้วทาง บขส. ช่วยเหลืออะไรบ้างไหมก็ให้เราทำเอกสารใหม่ค่ะ ไอ้ที่ยื่นๆ ไปเขาบอกว่าใช้ไม่ได้ต้องไปยื่นใหม่อีกทีอย่างนี้คิดว่าการคุ้มครองผู้บริโภคของไทยควรจะให้ข้อมูลในการจัดเตรียมเอกสารให้ผู้บริโภคเข้าใจก่อนไปยื่นมากกว่านี้ไหมจริงๆ ในแต่ละหน่วยงานมีความยุ่งยากนะ น่าจะมีแบบฟอร์มให้เรากรอก ให้เราเตรียม ถ้าเรารู้ก็จะได้เตรียมถูก แต่นี่เราไม่รู้ก็เอาเท่าที่เรามี บัตรประชาชน ทะเบียนบ้านพวกนี้มันต้องใช้อยู่แล้วแต่ที่นอกเหนือจากนี้เราไม่รู้เขาต้องแนะนำว่าเราต้องใช้อะไรบ้าง เพราะคงมีหลายคนที่ท้อแท้ไปตอนขั้นตอนยื่นเอกสาร จริงๆ เราเองก็ถอดใจไปแล้วด้วยเพราะมันยุ่งยากมากๆ แล้วคนก็ตายไปแล้วอยากให้จบๆ ไปตั้งนานแล้วแต่ว่าถ้าคิดแบบนี้ก็จะลอยนวลกันอยู่อย่างนี้ ต้องทำให้เป็นกรณีตัวอย่างไปเลยไหนๆ ก็ทำมาจนถึงขั้นนี้แล้ว เสียเวลามาเยอะแล้วโดนดึงเวลามาทุกหน่วยงานเลย  นอกจากนี้เอกสารที่ต้องเตรียมก็เยอะมาก ทั้งที่ต้องถ่ายเอกสารและภาพถ่ายที่ทางเราต้องถ่ายเป็นภาพสี ซึ่งในการจัดเตรียมเอกสารครั้งนี้ก็คิดออกมาเป็นค่าใช้จ่ายสูงมาก ไหนจะมีค่าโทรศัพท์ที่จะต้องประสานงานให้คำแนะนำผู้ประสบอุบัติเหตุรายอื่นๆ ซึ่งบางคนก็ถามว่า “เรียกร้องได้ด้วยเหรอพี่” เราโทรหาเกือบทุกคนที่อยู่บนรถในวันนั้น เราก็ช่วยเขาเท่าที่เราช่วยได้นอกจากเรื่องนี้ เคยใช้สิทธิกับเรื่องอื่นไหมเคยเจอปัญหาเรื่องการซื้อของ เมื่อพบปัญหาต้องบอกคนขายเลย บางคนคิดว่าคนอื่นซื้อไปก็ได้แบบนี้เหมือนกันก็ปล่อยไป แต่ของมันเสีย ไม่ได้คุณภาพ ต้องบอก ต้องตักเตือนคนผลิต ก็แจ้งทางมูลนิธิฯ เข้าไปช่วยตักเตือนว่าของคุณไม่ได้มาตรฐานปกติเป็นคนที่จะยอมไหมเวลาเจอเหตุการณ์แบบนี้เพราะบางคนจะไม่กล้าพูดถ้าเป็นญาติพี่น้องจะบอกเลย แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะพยายามบอกต่อๆ ไปว่ามันไม่ดีแค่นั้น เพราะก่อนหน้านี้ไม่ค่อยทราบว่ามีการร้องเรียนกันได้ด้วย เพิ่งจะมาทราบตอนหลัง ตอนนี้ทราบแล้วก็จะบอกเลย เราต้องใช้สิทธิของเราให้เป็นประโยชน์ ที่ผ่านมาก็ปล่อย อย่างเวลาซื้อผลไม้เราก็ไว้ใจคนขายคิดว่าเขาจะหยิบของดีๆ ให้แต่พอเขาหยิบของไม่ดีมาให้ เราก็จะไม่ซื้อร้านนั้นอีกแล้วก็จะบอกต่อว่าร้านนี้อย่าไปซื้อนะของเขาไม่ดี เพราะคนขายของเขาต้องมีความซื่อสัตย์กับลูกค้านะ ของที่ไม่ดีต้องเอาออก ไม่ใช่คิดจะเอาแต่กำไรอย่างนี้ไม่ซื่อสัตย์ เราก็จะหมดความไว้ใจคิดว่าบริษัทรถหรือบริษัทขนส่งต่อไปควรจะปรับปรุงเรื่องการให้บริการอย่างไรบ้างคือไม่มีใครอยากสูญเสียหรือบาดเจ็บแต่ในเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้วเขาต้องทำให้มันดี พ.ร.บ. ของคุณ ประกันของคุณต้องพร้อมถ้าไม่พร้อมไม่ต้องออกมาวิ่ง อย่างรถ 2 ชั้นที่กำลังรณรงค์กันอยู่เขาต้องแก้ไขได้แล้ว รถที่ไม่ได้ตรวจสภาพต้องไม่มีมาวิ่งแล้ว ไม่รู้ขนส่งทำอะไรอยู่ ไม่เข้ามาดูแลปล่อยให้รถพวกนี้มาวิ่งได้อย่างไร อยากให้ช่วยดูแลในส่วนนี้หน่อยให้ลูกค้าได้ปลอดภัยตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางอย่างสวัสดิภาพ เพราะทุกชีวิตมีค่า ไหนจะคนที่ต้องอยู่ข้างหลังพวกเขาอีกใครจะดูแล มันต้องแก้ที่ต้นเหตุ ตรวจสภาพรถของตัวเองให้ดี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 อารี แซ่เลี้ยว 9 ปี ที่ป้ารอคอย

หากวันที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของ อารี แซ่เลี้ยว ในวันนั้น ใช้เวลามากถึง 9 ปี ในการรอคอยสิ่งที่ยากยิ่งของการต่อสู้ระหว่างประชาชนกับรัฐ กลับกลายเป็นอีก 1 คดีผู้บริโภคตัวอย่างในวันนี้ ถามว่ามันคุ้มค่าแล้วหรือไม่นับจากบ่ายวันที่ 23 เมษายน 2550 ที่ป้าอารีขึ้นรถเมล์ ขสมก. สาย 4 เพื่อเดินทางจากคลองเตย กลับบ้านพักที่เขตบางกอกใหญ่ เมื่อรถเมล์ขับมาถึงบริเวณแยกสามย่าน คนขับได้เบรกรถกะทันหัน ทำให้อารี หน้ากระแทกราวเหล็กด้านหน้า จนเลือดกบปาก ฟันหักทันที 4 ซี่ หลังเกิดเหตุ คนขับรถเมล์พาป้าอารีส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แพทย์ตรวจแล้วต้องถอนฟันที่หักอีก 3 ซี่ ออกด้วย รวมเป็น 7 ซี่ ที่ป้าอารีต้องเสียฟันไปหลังจากวันนั้นเธอก็ไม่เคยได้รับการดูแลหรือเยียวยาใดๆ จาก ขสมก. เลย ป้าอารี ต้องทนกับความทุกข์ทรมานจากการบาดเจ็บแต่เพียงลำพัง จนกระทั่งผ่านไป 2 ปีกว่า  ป้าอารีจึงได้มาขอให้มูลนิธิฯ ช่วยเหลือเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายกับ ขสมก.  แต่เนื่องจากคดีของป้าอารี อายุความคดีละเมิดเกิน 1 ปีแล้ว ทีมทนายความอาสามูลนิธิฯ จึงต้องใช้เวลาหาทางแก้ไขปัญหาคดีขาดอายุความ โดยในระหว่างนั้นก็เชิญ ขสมก. มาเจรจาไกล่เกลี่ยค่าเสียหายให้กับป้าอารี แต่ถึงกระนั้น  ขสมก. ก็ยังไม่ยอมจ่าย อ้างติดระเบียบที่จ่ายไม่ได้และขอให้ไปฟ้องคดีที่ศาลกันก่อน  ขสมก.ถึงจะจ่ายให้ได้ป้าอารี ไม่มีทางเลือก จึงต้องฟ้องคนขับและ ขสมก. เป็นคดีผู้บริโภคต่อศาลแพ่ง แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นอย่างที่ตกลงกันไว้ นอกจาก ขสมก. จะไม่ยอมจ่ายแล้ว ยังสู้คดีกับ ป้าอารีที่เป็นผู้ใช้บริการรถเมล์ ขสมก. ถึง  3  ศาล จนสุดท้ายในวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไม่รับฎีกา ขสมก. เหตุค่าเสียหายและอายุความไม่เป็นประโยชน์สาธารณะ ส่งผลให้คดีนี้สิ้นสุด รวมเป็นเวลากว่า 5 ปี ที่ป้าอารี ฟ้องคดีต่อศาลให้ ขสมก. ชดใช้ค่าเสียหาย หรือรวมเป็นเวลากว่า 9 ปี นับแต่เกิดเหตุจนถึงวันที่คดีสิ้นสุด     ป้าอารี วัย 62 ปี ย้อนเล่าถึงวันเกิดเหตุว่า “วันนั้นป้านัดกันไปเดินดูงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์  จากนั้นเดินทางกลับบ้านด้วยการโดยสารรถเมล์ร้อนสีครีมแดง สาย 4 จากตลาดคลองเตย โดยป้านั่งที่นั่งแบบเดี่ยวถัดไปด้านหลังจากคนขับ 2-3 ที่ เราก็นั่งมาเรื่อยๆ จนถึงสามย่าน เรานั่งเบลอ ง่วง เพราะเพลียจากการเดินในงาน ตอนนั้นประมาณบ่าย 2 ถึงบ่าย 3 ตอนเรานั่งๆ แบบเอียงๆ เอาเข่าหันเฉียงออกมาด้านทางเดิน ตอนนั้นรถก็ขับแบบสบายๆ ไปเรื่อยๆ เราก็เลยคิดว่าไม่มีอะไร แล้วรถก็เบรคอย่างแรง ขนาดที่ว่าเรากระเด็นจากที่นั่งไปกระแทกบริเวณเหล็กกั้นแถวๆ ที่นั่งคนขับ ฟันหลุดทันทีเลย 4 ซี่” แล้วคนอื่นๆ ในรถล่ะคะคนอื่นๆ อีก 4 คนก็ล้มเหมือนกัน แต่ไม่แรงเท่ากับเรา มี 4 คน รวมเราก็เป็น 5 คน เราบาดเจ็บหนักที่สุด ตอนนั้นก็ถามคนขับว่าเกิดอะไรขึ้น คนขับบอกว่ามีมอเตอร์ไซต์ตัดหน้าเลยต้องเบรคกระทันหัน ตัวป้าเองตอนนั้นเลือดกบปาก คนขับไล่คนในรถให้ลงจากรถ ยกเว้นคนที่บาดเจ็บ แล้วพาไปรักษาที่ รพ.จุฬาฯ เขาพาไปก็ไม่ได้สนใจอะไร นั่งอยู่เฉยๆ ส่วนเราฟันหลุดไป 4 ซี่ แล้วก็โยกอยู่อีก 3 ซี่ รวมเป็น 7 ซี่ ฟันที่ร่วงไปตกอยู่ตรงไหนก็ไม่รู้เราก็หาไม่เจอ ถ้าหาเจอก็เอามาแช่น้ำนมตัดต่อได้  แต่ตอนนั้นเราก็คิดไม่ถึง ป้ารออยู่นาน หมอๆ ก็ยังไม่มา มีแต่นางพยาบาลมาซับเลือดให้  จนมารู้ทีหลังว่าที่คนขับกับเรารอ คือรอบริษัทประกันภัยมาทำเรื่อง  สรุปคือเรารอ 3 ชั่วโมง รอจนเกือบ 1 ทุ่ม พอประกันภัยมาถึงก็บอกให้เราไปรักษาเองนะ ออกเงินไปก่อนรักษาให้หายแล้วค่อยมาเบิกเงินทีเดียว พอเค้าเขียนใบเสร็จส่งให้เรา เราไม่รู้เรื่องก็เอาใบเสร็จเก็บกลับบ้าน พอวันรุ่งขึ้นลูกสาวบอกว่าแม่ต้องกลับไปรักษาที่ รพ.แล้วต้องเอาใบรับรองแพทย์มาด้วย ก็เลยไปด้วยกัน ไปเอาใบรับรองแพทย์กับไปแจ้งความที่โรงพัก พอไปถึงที่ รพ.เจอหมอคนเมื่อวาน  เลยถามหมอว่าฟันที่โยกอยู่อีก 3 ซี่ให้ถอนออกเลยได้ไหม มันเจ็บจนทนไม่ไหวแล้ว แต่หมอไม่ยอมถอนให้เนื่องจากต้องรักษาตามคิว ตอนนั้นคิวก็ยาวมาก คือตอนนั้นไม่ว่าจะพูดอย่างไรหมอก็ไม่ยอมถอนให้ พอออกจาก รพ. ลูกสาวเลยพาไปแจ้งความที่โรงพัก พอแจ้งความเสร็จเราทนเจ็บไม่ไหวแล้ว ลูกสาวจึงพาไปที่ รพ.เอกชน หมอที่ รพ.นี้ถอนฟันให้เรา วันนั้นหมดค่ารักษาไปประมาณ 2,000-3,000 บาท ตอนนี้ฟันล่างของป้าจึงหลอหมดเลย แต่จะทำอะไรต่อไม่ได้นะ ใส่ฟันก็ไม่ได้ เพราะหมอบอกว่าเหงือกเรายังบวมอยู่ ตอนนั้นเจ็บมากดื่มได้แต่นม ทานอาหารไม่ได้เลย เราต้องรอเพื่อจะใส่ฟันปลอมอยู่ประมาณ 7-8 เดือน เพราะต้องให้เหงือกยุบก่อน ซึ่งการไปตรวจแต่ละครั้ง เราต้องเสียเงินเองทุกครั้ง ไม่มีใครมาดูแลเราเลย ก่อนใส่ฟันปลอมเราฟันหลออยู่หลายเดือน เราก็อายเค้า ไม่กล้าไปทำงาน ซึ่งเราทำงานเป็นช่างทำผมอยู่ เรากลุ้มใจมาก เราไม่มั่นใจ ไม่กล้าไปทำงาน แต่โชคดีมีพี่สาวที่คอยช่วยเหลือ ให้เงินเราไปรักษา ส่วนเราก็ไม่ค่อยมีเงินเพราะปกติเรามีรายได้จากการทำงานร้านทำผม แต่พอไม่ได้ทำงานเงินก็หายไปทั้งก้อน เราเป็นลูกน้องเขา  หลังเกิดเหตุ 7-8 เดือนแรก เราไม่ได้ทำงานเลย แต่พอผ่านไปสัก 1 – 2 ปีร้านต้องย้ายไปที่อื่นเนื่องจากหมดสัญญาเช่า เขาก็ต้องให้เราออกจากงาน เพราะเราทำงานให้เขาไม่ได้ ส่วนเรื่องการรักษาที่ รพ.เอกชน ตอนเรายังไม่ได้ใส่ฟันปลอม เราหมดไปสองหมื่นกว่าบาท พี่สาวก็มาบอกว่า บ.สัมพันธ์ประกันภัยที่เป็นคู่กรณีเราจะเจ๊งแล้วนะ ให้เรารีบเอาอันนี้ไปยื่นก่อนเลย ได้กี่หมื่นก็หยวนๆ แล้วค่อยมารักษาต่อทีหลัง พอเรายื่น เรายื่นเอกสารเสร็จเจ้าหน้าที่ก็ให้รอไปเรื่อยๆ โดยเราก็ไม่รู้ว่าอีก 2 อาทิตย์บริษัทจะปิด สรุปก็คือเราไม่ได้เงิน จากนั้นเลยไปติดต่อที่ ขสมก.สาย 4 ซึ่งเป็นอู่จอดรถเมล์สาย 4  เราไปทุกอาทิตย์ไปตามเขาว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะได้เงินค่ารักษาที่เราออกไปก่อน  ทาง ขสมก.ก็ไม่ได้แนะนำเราเลยว่าต้องไปติดต่อที่ไหน อย่างไร เราก็เพิ่งมารู้ทีหลังว่าปกติ ขสมก.มีการเยียวยาค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นแต่ต้องทำเรื่องภายใน 6 เดือน ตอนที่เรามาตามเรื่องที่ ขสมก.คือเข้าเดือนที่ 8  ตอนนั้นในใจป้าคิดว่าคงไม่ได้อะไรแล้วละได้ติดตามเรื่องที่สถานีตำรวจบ้างไหมไปแจ้งความ แต่ทางตำรวจเขาก็ต้องรอประกัน แต่ บ.ประกันมันก็เจ๊งไปแล้วไง เรื่องราวก็เลยยืดเยื้อไปถึงหนึ่งปี เราได้ไปเจอพี่สุคนธา ที่วัดปากน้ำ วันนั้นเราไปไหว้พระ เราเห็นแขนแกเหมือนได้รับบาดเจ็บมาก็เลยถามแก แกบอกว่าเกิดอุบัติเหตุมา จากนั้นก็เล่าเรื่องราวของตัวเองให้ป้าสุคนธาฟัง พร้อมแนะนำให้ป้ามาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เราก็เลยมาร้องเรียนที่มูลนิธิฯ จนทุกวันนี้ป้าก็ยกย่องมูลนิธิฯ ที่มาช่วยเรา ฟ้องให้ ทำอะไรให้ เราไม่ต้องเสียสตางค์สักบาทเดียว เราภูมิใจ ถึงจะได้หรือไม่ได้สตางค์ก็ภูมิใจ  เพราะเขาช่วยเราเต็มที่ เรามาที่นี่ก็เตรียมเอกสารมา ทั้งใบแจ้งความ ใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลที่เราสำรองจ่ายไปก่อน มูลนิธิฯ ช่วยเหลือเราโดยการฟ้อง พาไปขึ้นศาลประมาณ 3 ครั้ง จนตอนนี้คดีสิ้นสุดแล้ว ตอนขึ้นศาลป้าก็เจอทาง ขสมก.พวกเขาก็ไม่คิดว่าเราจะเป็นหนักขนาดนี้ ใน 5 คนที่ได้รับบาดเจ็บครั้งนั้นมีป้าคนเดียวที่อาการหนักแล้วก็เป็นคดีความฟ้องร้อง ส่วนคนอื่น ๆ อาการไม่หนักก็หยวนๆ แล้วก็ไม่อยากฟ้องร้องยืดเยื้อเสียเวลาระยะเวลาการรอคอยถึง 9 ปี ป้าเจออะไรบ้าง ต่อสู้มา 9 ปี  เกิดเหตุตั้งแต่ปี 50 เรามาที่มูลนิธิฯ เมื่อปี 52 หรือ 53 เราก็จำไม่ค่อยได้ เพราะว่ามันนานมากแล้ว ขสมก.ไม่เคยช่วยเหลืออะไรเราเลย แม้ว่าคดีจะสิ้นสุด ศาลฎีกาพิพากษาแล้ว ถึงตอนนี้ ขสมก. ก็ยังไม่ยอมจ่ายเงิน  ทั้งที่ตอนเราไปหา ไปตามเรื่อง หน้าเรายังบวมอยู่ เขาก็เห็น ฟันก็ยังไม่ได้ใส่ หลอๆ อยู่แบบนี้ ป้าก็รู้สึกท้อมากเลย และผิดหวังกับ ขสมก.ที่ทำกับเราจนเจ็บช้ำแบบนี้ แล้วทุกวันนี้เกิดอุบัติเหตุในสังคมมากมาย บางคนได้รับเงินค่าเสียหาย ก็ได้นิดเดียว ไม่คุ้มกับที่เราต้องเจ็บตัว บางคนก็เสียชีวิต การได้เงินแค่นี้จะมีประโยชน์อะไร อย่างกรณีที่มาร้องเรียนกับทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็มีมากมายใช่ไหม แบบนี้มันท้อไหมล่ะ ของเรายังมีพี่สาวกับลูกสาวช่วย อย่างตอนนี้เราก็มีลูกสาวช่วย ตอนนี้เขาทำงานแล้วเราก็สบาย นี่ถ้ายังไม่ทำงานเราก็เสร็จ ช่วงสิบปีที่ผ่านมาหลังจากเกิดเรื่องเราจะส่งเขาเรียนหนังสือยังไม่มีเงินเลย ตอนนั้นได้พี่สาวช่วยส่งออกเงินให้ลูกสาวเราเรียน ตอนนี้ลูกสาวเราทำงานส่งเงินให้เรากินข้าวทุกวันก็โอเคแล้ว คำแนะนำสำหรับผู้บริโภคท่านอื่นๆ ที่อาจจะประสบเหตุแบบป้าจะแนะนำให้มาปรึกษาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพราะว่าเข้ามาที่นี่จะมีความรู้มากขึ้น เราเข้าไปนี่ไม่รู้สักอย่าง ไม่มีอยู่ในหัวสมองเลย เวลาคนที่เจอเหตุการณ์แบบเราถ้าไม่เจ็บหนักมาก ให้รีบไปแจ้งความที่โรงพักแล้วก็รวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน  เรื่องการแจ้งความสำคัญมาก ต้องแจ้งให้เร็วที่สุด มีอยู่รายหนึ่งที่ป้าเห็นคือ เขาไม่แจ้งความการเรียกร้องค่าเสียหายก็เลยฟาวล์ไปเพราะว่าไม่มีหลักฐาน ถ้าไม่มีใบแจ้งความจะไปที่อื่นหรือทำเรื่องต่อไม่ได้นะ “เราเคยเกิดอุบัติเหตุครั้งที่ 2 เราถูกรถเก๋งชนที่ขา ตอนครั้งก่อนเราไม่ค่อยรู้เรื่อง พอครั้งนี้เราเริ่มรู้แล้ว คนนี้ชนแล้วไม่หนี เขาพาเราไป รพ. ยอมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ทุกอย่าง ลูกสาวคนโตเราบอกว่าคนนี้เขาดี รับผิดชอบเราทุกอย่างเราไม่ต้องแจ้งความเขา แต่ทางที่ดีเราต้องแจ้งความเพื่อให้เรามีหลักฐานว่าเกิดอะไรขึ้นกับเรา การแจ้งความจะทำให้เรามีหลักฐานให้ บ.ประกันภัยจ่ายเงินเรา คนคนนี้เขาใช้ประกันรถของเขามารักษาเรา” เหตุการณ์ครั้งนี้เราต้องรักษาตัวนานถึง 6 เดือน แล้วพักฟื้นที่บ้านอีกเกือบ 2 ปีถึงจะเดินได้ ตรงนี้แหละ ที่เราสามารถเรียกร้องค่าสินไหมได้ เราคิดถึงตรงนี้ก็เลยไปแจ้งความ ถ้าไม่ได้แจ้งความก็จะไม่ได้ตรงนี้ คือจะบอกว่าแม้คนที่ทำเราจะดีแค่ไหน แต่เราก็ต้องไปแจ้งความ ถึงเล่าให้ฟังว่าครั้งแรกเราไม่รู้เรื่อง พอเกิดเหตุครั้งที่สองเราก็รู้ว่าเราต้องทำอย่างไร เลยได้ค่าสินไหมฯ มาหลายหมื่นเรื่องที่เกิดขึ้นกับเราก็ทำให้เรารู้ว่าเราต้องทำอย่างไร เราจะช่วยเหลือตัวเองอย่างไร ป้าว่าคนทั่วไปไม่ค่อยรู้หรอกว่าเมื่อเกิดเหตุขึ้นกับตัวเองจะทำอย่างไร คนจะรู้ก็เมื่อเกิดเหตุกับตัวเอง เลยอยากให้ทุกคนหาความรู้ว่าถ้าหากเกิดอุบัติเหตุแล้วเราจะต้องช่วยตัวเองอย่างไร  เรามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้กันน้อยไป อย่างเราคุยกับเพื่อนๆ เราหลายๆ คนก็บอกว่าไม่รู้เรื่องพวกนี้เลย ตอนเราประสบอุบัติเหตุเพื่อนเราก็แนะนำอะไรไม่ได้เลย  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 183 การติชมโดยสุจริตเพื่อป้องกันส่วนได้เสียของผู้บริโภค ไม่ถือเป็นความผิด

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาในคดีที่บริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลส์ จำกัด ผู้จำหน่ายรถตู้ยี่ห้อโฟตอน จากประเทศจีน เป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้บริโภคจำนวน 20 ราย ซึ่งเป็นผู้ซื้อรถตู้โฟตอน จำนวน 19 ราย  และเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคอีก 1 ราย เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาและแจ้งความเท็จ  หลังผู้บริโภคซื้อรถตู้ดังกล่าวมาใช้แล้วเกิดปัญหา ได้รับความเสียหาย และบริษัทฯ ไม่รับผิดชอบต่อความชำรุดบกพร่องของรถ จึงนำข้อเท็จจริงมาเปิดเผยกับสาธารณชน  และแจ้งร้องเรียนขอความช่วยเหลือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) นั้น ที่สุดศาลได้ตัดสินยกฟ้องผู้บริโภคทุกราย เนื่องจากเห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว เป็นการติชมโดยสุจริต เพื่อป้องกันส่วนได้เสียของตน จึงไม่มีความผิด พิพากษายกฟ้อง        กรณีนี้ถือเป็นคดีตัวอย่างอีกหนึ่งคดี ที่จะทำให้ผู้บริโภคท่านอื่นที่กำลังเผชิญปัญหาจาการถูกละเมิดสิทธิ   มีกำลังใจที่จะเดินหน้าในการพิทักษ์สิทธิของตนเองได้ เพราะถ้าเราสามารถยืนยันและให้ข้อมูลตามข้อเท็จจริงได้อย่างละเอียดชัดเจน ปัญหาก็จะได้รับการแก้ไขได้ในที่สุด  ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงจะพาไปพบกับตัวแทนของผู้บริโภคกลุ่มคดีรถตู้โฟตอน ว่าพวกเขาต้องฝ่าฟันกับเรื่องใดมาบ้างนายบังเอิญ  เม่นน้อย  “สมัยก่อนผู้บริโภคไม่กล้าส่งเสียงเพราะกลัวว่าจะถูกฟ้อง  แต่ตอนนี้อยากให้ผู้บริโภคมั่นใจว่า การออกมาใช้สิทธิคือสิ่งที่สมควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคมีกระบวนการดูแลไม่เคยทอดทิ้งให้เราต่อสู้เพียงลำพัง”ปลายปี 2551 ผมเห็นโฆษณาประชาสัมพันธ์ของ บริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลล์ จำกัด ว่ามีบริษัท เงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย  เป็นผู้ให้เช่าซื้อ มีบริษัท กมลประกันภัย จำกัด เป็นผู้รับประกันภัยทั้งภาคบังคับ(พ.ร.บ.)และประกันภัยภาคสมัครใจ (ชั้น 1) ที่สำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ตู้ยี่ห้ออื่นก็ราคาไม่สูง จึงตัดสินใจเข้าทำสัญญาเช่าซื้อโดยคาดหวังว่าจะยึดอาชีพพนักงานขับรถตู้โดยสารสาธารณะ เพื่อเป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัวช่วงแรกได้ให้พ่อตาเป็นคนขับ แต่ก็พบปัญหาหลังจากซื้อมาได้ไม่ถึง 15 วัน คือ ไม่สามารถเหยียบครัช หรือเข้าเกียร์ได้ตามปกติ มีปัญหาของเครื่องยนต์ ต้องเปลี่ยนยกเครื่องใหม่ในเวลาไม่ถึง 3 เดือน พ่อตาไม่สามารถขับต่อไปได้ ผมจึงได้ตัดสินใจลาออกจากงานประจำในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งมาขับเอง แต่ก็เป็นการขับไปซ่อมไป “แทนที่จะมีรายได้เลี้ยงครอบครัวตามที่ตั้งใจไว้ก็กลายเป็นว่า ครอบครัวของเราต้องเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินมาซ่อมรถ ผมและภรรยาจึงตกลงกันว่าเราจะนิ่งเฉยไม่ได้ ต้องพิทักษ์สิทธิของตัวเองโดยการร้องทุกข์ไปที่หน่วยงานที่ไว้ใจ เชื่อใจได้ เลยตกลงมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และพยายามรวบรวมกลุ่มเพื่อนผู้เสียหายได้ประมาณ 30 คน จนในที่สุดก็เป็นกลุ่มก้อนที่เข้มแข็งมาร่วมกับเรียกร้องความถูกต้องให้ตัวเอง ”นางประทิน  ซื่อเลื่อม“ป้าซื้อรถตู้คันนี้ด้วยเงินสด ที่เก็บหอมรอบริบมาเกือบทั้งชีวิต เพราะหวังว่าจะยึดเป็นอาชีพในบั้นปลาย แต่ที่ไหนได้ซื้อมายังไม่ทันได้สามเดือนรถพัง แถมไม่มีอะไหล่เปลี่ยนให้อีก กัดฟันซ่อมแทบจะวันเว้นวัน สุดท้ายไม่ไหวต้องตัดสินใจขายต่อให้คนอื่น ได้เงินคืนไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ”ป้าซื้อรถยนต์ประเภทรถตู้ ยี่ห้อ โฟตอน รุ่น VIP 14 ที่นั่ง ราคาประมาณ 1,365,000 บาท  เริ่มใช้งานรถตู้ประมาณ 1 เดือน จึงเริ่มเกิดปัญหาของคุณภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน และความชำรุดบกพร่องของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมเพรสเซอร์แอร์เสีย  ท่อแอร์รั่ว ไดชาร์ทเสีย คันเร่งค้าง เข้าเกียร์ไม่ได้  ประตูรถเสีย  เลี้ยวแล้วพวงมาลัยมีเสียงดัง    รวมทั้งระบบโครงสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรงสังเกตจากช่วงหน้าฝน มักมีน้ำหยดผ่านหลังคาเข้ามาในรถสร้างความเดือดร้อน รำคาญให้กับผู้โดยสารเป็นประจำ มีความพยายามแก้ไขตามขั้นตอน ทั้งติดต่อไปที่บริษัทเพื่อส่งเข้าศูนย์ซ่อมแต่ก็ไม่มีบริการ มีเพียงแห่งเดียว ช่างชำนาญงานก็ไม่มี อะไหล่ก็ไม่มี ต้องแบกรับภาระค่าซ่อมรายวัน จนในที่สุดต้องตัดสินใจขายในราคาที่ถูกมาก และเข้ามาร้องเรียนกับทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพราะต้องการเรียกค่าเสียหายกับทางบริษัท ที่เหมือนว่าจงใจนำรถที่ไม่ได้คุณภาพมาขาย แต่ท้ายที่สุดก็ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 19“ที่ต้องสู้ต่อเพราะป้าคิดว่าตัวเองไม่ได้ทำอะไรผิด พูดความจริงทุกอย่าง ไม่เคยแจ้งความเท็จกับหน่วยงานไหน ที่สำคัญถ้าป้าไม่ลุกขึ้นมาสู้เพื่อตัวเอง ใครเขาจะมาช่วยป้าได้ ”นางสาวนภัสนันท์  ปิ่นหอมระหว่างการต่อสู้ทางคดีจำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกัน เพื่อทำสัญญากับ กรมคุ้มครองสิทธิกระทรวงยุติธรรม เธอจึงตัดสินใจยอมเป็นผู้ค้ำประกันให้กับจำเลยทั้ง 20 ราย ทั้งที่สามีของเธอคือ คุณบังเอิญ ก็เป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้“ รู้สึกเศร้าใจไม่คิดว่าผู้ประกอบการจะเอาเปรียบผู้บริโภคขนาดนี้  พวกเขาเดือดร้อนกันจริงๆ  ไม่เคยคิดกลั่นแกล้งใคร เงินที่ลงทุนซื้อรถไปก็อยากมีอาชีพ เลี้ยงดูตัวเองได้ สาเหตุที่ตัดสินใจเป็นนายประกันให้จำเลยทั้งยี่สิบคนก็เพราะไม่มีอะไรจะเสียแล้ว และเชื่อมั่นว่าต่อสู้ร่วมกันมาขนาดนี้ อะไรที่ช่วยกันได้ก็อยากจะช่วย เพื่อนย่อมไม่ทอดทิ้งกันแน่นอน ” ---------------------------------------------------------------------------------------------ตลอดระยะเวลาการต่อสู้ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2555 ถึง ปี 2559 นั้น ยอมรับว่าอาจจะมีความเครียดบ้างในส่วนของการดูแลความรู้สึกของผู้บริโภคที่ถูกฟ้องคดี เพราะเราต้องทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ร้องว่า ไม่ใช่เรื่องการตัดสินใจผิดพลาดที่มาใช้สิทธิร้องเรียนแล้วต้องถูกฟ้องร้องทางคดี แต่นี่คือความกล้าหาญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการแสดงพลังของคนเล็กคนน้อยให้ผู้ประกอบการเห็นว่าเราไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา และพร้อมที่จะเผชิญหน้าในการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตัวเองนางสาวสวนีย์  ฉ่ำเฉลียวหลังจากรับเรื่องร้องเรียน ในฐานะเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคก็ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงจนได้ความว่า ผู้ร้องเดือดร้อนจริงจากการเช่าซื้อรถยนต์ตู้จากบริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลล์ จำกัด มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้พากลุ่มผู้ร้องฯ ไปยื่นหนังสือร้องเรียนกับ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ขอให้พิจารณาช่วยเหลือผู้บริโภค กรณีได้รับความเสียหายจากการซื้อรถตู้ยี่ห้อ โฟตอน แล้วพบปัญหาชำรุดบกพร่อง และพาไปร่วมออกรายการโทรทัศน์ ช่องเนชั่นทีวีผ่านทาง “รายการระวังภัย 24 ชั่วโมง” ในหัวข้อ ซื้อรถไม่ได้ใช้ แต่ต้องใช้หนี้   นำรถไม่มีคุณภาพเข้ามาจำหน่ายและไม่รับผิดชอบต่อความชำรุดบกพร่องของรถ สวนีย์  ฉ่ำเฉลียว(จำเลยที่ 20) รับหน้าที่เป็นพิธีกรร่วมในรายการ และได้ทำหน้าที่ให้ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาที่ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ร้อง รวมทั้งซักถามในประเด็นปัญหาต่าง ๆ กับทางผู้ร้องร่วมกับพิธีกรในรายการอีกท่าน การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวถือว่า อยู่ในความรับผิดชอบในฐานะเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ พิธีกรร่วมในรายการ ไม่ได้มีเจตนาสร้างความเสียหายให้กับโจทก์ หรือมีความโกรธแค้นโจทก์เป็นการส่วนตัวแต่อย่างใด เป็นข้อมูลความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น“ตลอดระยะเวลาการต่อสู้ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2555 ถึง ปี 2559 นั้น ยอมรับว่าอาจจะมีความเครียดบ้างในส่วนของการดูแลความรู้สึกของผู้บริโภคที่ถูกฟ้องคดี เพราะเราต้องทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ร้องว่า ไม่ใช่เรื่องการตัดสินใจผิดพลาดที่มาใช้สิทธิร้องเรียนแล้วต้องถูกฟ้องร้องทางคดี แต่นี่คือความกล้าหาญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการแสดงพลังของคนเล็กคนน้อยให้ผู้ประกอบการเห็นว่าเราไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา และพร้อมที่จะเผชิญหน้าในการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตัวเอง เพราะเราเชื่อว่า หน่วยงานของเรา คือ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นที่พึ่งสุดท้ายของพวกเขาแล้ว และภารกิจของมูลนิธิก็คือ รับเรื่องร้องเรียน แก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค อยู่แล้ว การที่ดิฉันในฐานะเจ้าหน้าที่ถูกฟ้องจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจ หรือแปลกประหลาด แต่ถือว่าเป็นการย้ำจุดยืนของหน่วยงานว่า เป็นอิสระจริง และทำงานจริงไม่ใช่แค่เสือกระดาษ” ---------------------------------------------------------------------------------------------ในช่วงปลายปี 2551 บริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลล์ จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนนำเข้ารถตู้ ยี่ห้อ “ โฟตอน ” จากประเทศจีน เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย  โดยโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสมาคมรถตู้โดยสารต่างจังหวัดแห่งประเทศไทย  เพื่อเชิญชวนให้สมาชิกเข้ามาทำสัญญาเช่าซื้อ  โดยมีเอกสารแผ่นพับ  แสดงรูปแบบรายละเอียด พร้อมราคาตัวรถตู้ คันละ 1,365,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนหกหมื่นห้าพันบาทถ้วน)  ซึ่งมีบริษัท เงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นผู้ให้เช่าซื้อ และบริษัท กมลประกันภัย จำกัด เป็นผู้รับประกันภัยเมื่อผู้เช่าซื้อไม่สามารถชำระค่าเช่าซื้อรถตู้คันดังกล่าวได้ เช่น รถหาย รถชำรุดบกพร่อง เป็นต้น  สมาชิกที่เข้าทำสัญญาในคราวเดียวกันนี้มีทั้งสิ้นกว่า 70  ราย หลังจากสมาชิกเข้าทำสัญญาเช่าซื้อรถตู้โดยสารยี่ห้อดังกล่าวแล้วกลับพบว่า เกิดความชำรุดบกพร่องนับแต่ใช้งาน คือขณะขับรับส่งผู้โดยสารเครื่องยนต์ดับกะทันหัน เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง ระบบความร้อน ระบบแอร์ รวมถึงระบบเครื่องยนต์ มีปัญหาไม่ทำงานบ่อยครั้ง รวมทั้งระบบโครงสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรงสังเกตจากช่วงหน้าฝน มักมีน้ำหยดผ่านหลังคาเข้ามาในรถสร้างความเดือดร้อน รำคาญให้กับผู้โดยสารเป็นประจำ  รวมทั้งปัญหาด้านการบริการซึ่งก่อนเช่าซื้อทางบริษัทฯได้โฆษณาว่า  จะมีศูนย์บริการหรืออู่ให้การบริการซ่อมอยู่ทั่วประเทศ  แต่ในความเป็นจริงกลับมี 1 แห่ง และไม่มีอะไหล่ของบริษัทโฟตอนโดยตรงเป็นอู่ซ่อมรถทั่วไป  ดังนั้นผู้เสียหายแต่ละรายจึงต้องแบกรับภาระค่าซ่อมรถ ค่างวดเช่าซื้อรถ โดยมิได้ใช้ประโยชน์จากตัวรถเต็มที่ บางรายต้องจอดทิ้งไว้ที่อู่เพราะไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อม ภายหลังจากพบปัญหาผู้ร้องได้ติดต่อ สอบถามไปยังผู้ให้เช่าซื้อคือ บริษัทเงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด(มหาชน) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อขอคืนรถยนต์ตู้โดยสารคันดังกล่าวแต่ได้รับการปฏิเสธโดยต่อมาทางผู้ให้เช่าซื้อได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายข้อหาผิดสัญญาเช่าซื้อกับผู้ร้องกว่า 10 ราย มีเพียงบางส่วนได้ทำการคืนรถให้กับทางผู้ให้เช่าซื้อก่อนที่จะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีผู้ร้องจำนวน 20 ราย จึงติดต่อมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เพื่อขอคำปรึกษา ร้องเรียน ให้ช่วยแก้ไขปัญหาให้ โดยความเสียหาย แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ค่าเช่าซื้อรถและค่าซ่อมแซม มูลค่ากว่าสามสิบล้านบาท แต่ภายหลังปรากฏว่าทาง บริษัท แพล็ททินัมฯ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญา ฐานความผิด ร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา, แจ้งความเท็จ จำนวนทุนทรัพย์ 5,000,000.-บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) กับจำเลยจำนวน 20 ราย เป็นผู้ร้องเรียน 19 ราย และเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 1 ราย  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 182 ชนาธิป ไพรพงษ์ ผู้บริโภคต้องมี ”ภูมิคุ้มกัน”

ถ้าใครเคยฟังรายการภูมิคุ้มกัน รายการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ทางสถานีวิทยุไทยพีบีเอส คงจะคุ้นกับเสียงหวานๆ ของคุณน้ำ ชนาธิป ไพรพงษ์ กันดี วันนี้ฉลาดซื้อจะทำให้รู้จักเธอมากขึ้นจากงานที่เธอทำ เล่าถึงงานที่ทำและประสบการณ์เรื่องการถูกละเมิดสิทธิ   เรียนจบมนุษยศาสตร์  สื่อสารมวลชน จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่ว่าตอนเรียนก็ทำงานไปด้วย คือทำที่สถานีวิทยุและจัดรายการวิทยุ เริ่มจัดตั้งแต่รายการเพลง รายการเกี่ยวกับบ้าน รายการเศรษฐกิจ พอเข้ามาทำงานที่ไทยพีบีเอส  ต้องมารับผิดชอบเป็นโปรดิวเซอร์ให้หลายรายการ รวมทั้งในส่วนของรายการที่ออกอากาศทางวิทยุไทยพีบีเอส อย่าง รายการภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นรายการเกี่ยวกับผู้บริโภค เริ่มตั้งแต่ปี 2553 ในการผลิตรายการ เราก็ต้องติดตามข่าว  ทำข่าวเองด้วย  หาข้อมูล ติดต่อแขกสัมภาษณ์ ตัดต่อรายการ จัดรายการเอง ทำให้เราได้รู้ข้อมูลอะไรที่มากขึ้น คือทั้งที่แต่ก่อน เราก็เป็นผู้บริโภคคนหนึ่งนะ แต่ว่าก็ไม่ได้ใส่ใจว่าถ้าเราซื้อของมาแล้วมันหมดอายุจะทำอย่างไร  ของไม่มีคุณภาพ เราก็แค่ไปซื้อมาใหม่ มารู้ทีหลังว่า  เราสามารถเรียกร้องให้ผู้ผลิตรับผิดชอบได้ คือเราไม่ได้รู้สิทธิของผู้บริโภคอะไรขนาดนั้น แล้วยิ่งพอมาจัดรายการภูมิคุ้มกัน ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ทั้งผู้เสียหายกรณีต่างๆ และผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาทำให้เรารู้ว่า จริงๆ แล้วเราทุกคนควรใส่ใจการบริโภค รู้สิทธิของเรา ไม่ควรปล่อยผ่าน แต่ไม่ใช่ว่าไปเครียดอะไรกับการเลือกบริโภคนะคะ มีอยู่ครั้งหนึ่งเคยเกิดปัญหากับตัวเอง คือเราไปต่างประเทศ แล้วเปิดใช้บริการโรมมิ่ง แล้วซื้อแพจเกจอินเตอร์เน็ทใน 7 วัน ราคา 1,400 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ กำหนดเวลา 00.00 น.วันที่ 18 ม.ค  ถึงเวลา 23.59 น. วันที่ 24 ม.ค แล้วระบบจะตัดอัตโนมัติ ตอนเปิดใช้บริการคือโทรจากสนามบินก่อนขึ้นเครื่อง แต่เราก็ได้รับการยืนยันโดยทางค่ายมือถือส่ง sms มาว่าเราใช้บริการโรมมิ่งแพจเกจนี้ๆ นะ คือตอนนั้น การไปซื้อซิมมือถือใช้ระหว่างเดินทางไปต่างประเทศยังไม่ค่อยมี หรือเราไม่รู้ตรงนี้ก็ไม่รู้  แต่ได้ยินโฆษณาเกี่ยวกับการให้บริการเปิดโรมมิ่งดาต้าของค่ายมือถือต่างๆ ในไทยมา ก็เลยเลือกใช้แต่มันเกิดปัญหาคือ พอไปใช้ที่ต่างประเทศคือ ตอนนั้นเราไปญี่ปุ่น แล้วเครือข่ายที่ญี่ปุ่นสัญญาณไม่ครอบคลุม คือบางพื้นที่ที่เราไปเที่ยวก็ไม่มีสัญญาณ อันนี้ยังไม่ค่อยเท่าไรปัญหาที่ทำให้เรารู้ว่าผู้บริโภคควรเรียกร้องสิทธิคือเมื่อกลับมาเมืองไทย  แล้วบิลเรียกเก็บค่าโทรศัพท์มาถึงเราปรากฏว่า มีค่าโรมมิ่งที่เกินจากเวลาที่ตกลงกันในแพจเกจคือกำหนดถึงแค่ 23.59 น. ของวันที่ 24 ม.ค ใช่ไหมคะ แต่ในบิลบอกว่ามีค่าโรมมิ่ง ของ 00.00.26 น.ของวันที่ 25 ม.ค เกินมาเป็นเงินถ้าจำไม่ผิดประมาณ 680 บาท เราก็เลยงงว่า ก็ในเงื่อนไขทางค่ายมือถือบอกจะตัดสัญญาณอัตโนมัติตามเวลาท้องถิ่นของญี่ปุ่น แล้วคุณปล่อยสัญญาณโรมมิ่งหลุดมา แล้วมาเก็บค่าบริการจากเรามันไม่ยุติธรรม เพราะเราไม่ได้เป็นคนรู้ว่าจะตัดสัญญาณตอนไหน “คือถ้าคุณตัดตามเวลามันก็ไม่เกิดปัญหา เราก็คิดว่าเราจะไม่ยอมจ่าย เพราะความผิดไม่ได้อยู่ที่เราก็เลยโทรไปคอลเซ็นเตอร์ค่ายมือถือชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ฟังว่าเงื่อนไขเป็นยังไง ค่ายมือถือก็บอกขอตรวจสอบรายละเอียดก่อนแล้วจะแจ้งเรากลับ เราก็โอเค น้ำก็เลยขอให้เขาส่งรายการและเวลาการใช้โรมมิ่งทั้งหมดมาให้ พอเห็นเวลาว่าโรมมิ่งที่เกิน คือไม่อยู่ในเงื่อนไขเวลาที่ตกลงกันก็เลยท้วงเขาไป พอค่ายบอกว่ากำลังตรวจสอบ เราก็บอกว่า งั้นเรายังจะไม่จ่ายเงินตามใบแจ้งหนี้นะรอผ่านไปเกือบ 2 สัปดาห์ก็ไม่เห็นติดต่อเรากลับสักที เราเลยติดต่อไปที่คอลเซ็นเตอร์ใหม่เจ้าหน้าที่ก็บอกกำลังตรวจสอบอยู่ ผ่านไปอีกเกือบ 2 สัปดาห์ เราก็รอว่าเขาจะติดต่อมาไหม  คือไม่ จนเราต้องติดต่อคอลเซ็นเตอร์ไปเอง สุดท้ายคือ เขาแจ้งว่าจะทำการยกเลิกรายการเก็บเงินค่าโรมมิ่งที่เกินเวลามา ก็คือเราไม่ต้องจ่าย 680 บาท คือเรื่องนี้ทำให้เรารู้ว่า ถ้าเรายอมจ่ายเราก็เสียเงิน 680 บาท  ก็ไม่น้อยนะ กินข้าวได้หลายจานอยู่ แต่ต้องยอมเสียเวลาจัดการไปประมาณเดือนหนึ่ง”     ยังมีอีกเรื่อง คือเรื่องคอนโดที่อาศัยอยู่ปัจจุบัน มีลูกบ้านหลายคนตั้งข้อสังเกตว่าคอนโด มีอะไรหลายอย่างที่ไม่เหมือนเดิม คือจากที่ลิฟท์เคยมีเครื่องสแกนบัตรเข้าออก ขึ้นลิฟท์แบบล็อคชั้น เพี่อความปลอดภัยไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในตึกนั้นขึ้นไปได้เพื่อความเป็นส่วนตัว แล้วก็ยังมีประตูเข้าออกตึกที่บัตรเข้าออกจะใช้ได้เฉพาะตึกนั้นๆ แต่ระยะหลังนี่ไม่ใช่ คือบัตรสามารถใช้ได้ทุกตึก แล้วนิติบุคคลยังไม่แสดงงบคอนโดประจำปีอีกด้วย หรือแสดงงบก็เป็นกระดาษแผ่นเดียว ไม่ชี้แจงรายละเอียด ทั้งที่ลูกบ้านจ่ายค่าส่วนกลางปีละหมื่นกว่าบาท จนนำไปสู่การที่ลูกบ้านรวมกลุ่ม เพื่อขอเปิดประชุมเอง มีวาระคือถอดถอนกรรมการชุดเดิม แต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ เลือกบริษัทนิติบุคคลใหม่ แต่ว่าไม่สำเร็จ เพราะกรรมการชุดเดิมไปแย้งที่สำนักงานที่ดินเขตว่าการประชุมไม่ชอบ เพราะลูกบ้านไม่ส่งหนังสือเชิญประชุมล่วงหน้า 15 วัน ตามข้อบังคับคอนโด “มันก็เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งของผู้พักคอนโดนะคะ ว่าต้องรู้กฏหมายด้วย แล้วต้องมีที่ปรึกษาเป็นทนาย  ถ้าจะติดต่อทำธุรกรรมเรื่องที่ดิน  ให้ติดต่อโดยตรงที่สำนักงานที่ดินเขตเลย เรื่องนี้ทำให้ต้องตระหนักมากๆ ถึงสิทธิผู้บริโภคว่า  อย่าปล่อยให้การบริหารงานของนิติบุคคลมาเอาเปรียบเรา  เสียเงินค่าส่วนกลางไปแล้ว  ควรได้รับบริการในที่พักอาศัยที่ดี จนถึงตอนนี้เรื่องคอนโดก็ยังไม่จบ เพราะกรรมการชุดเดิมหมดวาระไปแล้ว แต่ยังรักษาการอยู่  แล้วก็กำหนดประชุมสามัญประจำปีเพื่อเลือกกรรมการใหม่ แต่ก็เลื่อนการประชุมอีก ตอนแรกบอก 24 เม.ย เลื่อนเป็น 30 เม.ย ทำป้ายประกาศก็ลงวันที่ผิด และยังไม่ส่งหนังสือเชิญประชุมลูกบ้าน เหมือนจะยื้อเพื่อรักษาการต่อ  แล้วค่อยหาคนของตัวเองมาลงสมัครเป็นกรรมการเพื่อจะได้มีอำนาจในการคัดสรรบริษัทนิติบุคคลเอง เหมือนมีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งถ้าเราไม่ติดตาม ก็เหมือนเราซื้อคอนโดห้องหนึ่ง  อยู่อาศัยไปโดยไม่รู้ว่า ค่าส่วนกลางที่เราเสียทุกปี เขาเอาไปใช้อะไรบ้าง เอาไปดูแลสระว่ายน้ำ เหมือนที่โฆษณาไว้ไหม รักษาตึก ประตู ตรวจลิฟท์ประจำปีหรือเปล่าทุกอย่างก็เพื่อความปลอดภัยของลูกบ้านก็คือเรานั่นเอง” มีความคิดอย่างไรกับเรื่องสิทธิผู้บริโภคจากประสบการณ์ตรงที่เกิดกับตัวเองเราต้องตระหนักสิทธิผู้บริโภคให้มากขึ้น ไม่ใช่ว่าอะไรๆ ก็จ้องจับผิดผู้ประกอบการนะคะ เพียงแต่ว่า ไม่ว่าเราจะเลือกซื้อเลือกใช้อะไร เราก็ต้องใส่ใจหารายละเอียดก่อน แม้แต่เรื่องฉลากสินค้า เช่น ล่าสุดไปหาซื้อกะปิ ก็ดูสีว่าสีจัดไหม ถ้าสีจัดไปเราก็ไม่ซื้อเพราะเกรงว่าจะใส่สี แต่ว่าพอดูฉลาก ฉลากก็ตัวหนังสือเล็กมาก ตาก็ไม่ค่อยดี บางทีเราก็รู้ว่า เลือกเท่าที่เลือกได้แล้วกัน คิดว่าการคุ้มครองผู้บริโภคบ้านเรายังขาดอะไรบ้างขาดหลายอย่างเลยค่ะ ผู้บริโภคยังไม่ค่อยตื่นตัว ภาครัฐยังให้ความสำคัญกับผู้บริโภคน้อยมาก เห็นได้จากการแก้ปัญหาที่ล่าช้าและเรื่องกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่ไทยยังไม่มีประสิทธิภาพ มีช่องโหว่อยู่มาก คือเหมือนคนไทยยอมมากเกินไป เมื่อเกิดปัญหาก็คิดว่าช่างมันเถอะ ทั้งที่คนได้รับผลกระทบคือตัวเรา อย่างการรักษาพยาบาลตามสิทธิต่างๆ เช่นสิทธิประกันสังคม บางคนยังไม่รู้ว่าประกันสังคมครอบคลุมการรักษาโรคใดบ้าง ทำฟันได้ปีละกี่ร้อยบาท เพราะไม่เคยไปใช้สิทธิรักษาพยาบาลเลยซึ่งก็ดีนะ มันหมายถึงคุณมีสุขภาพดีแต่พอไปรักษาทีก็ งง ไปเหมือนกันว่าประกันสังคมเขาให้สิทธิอย่างไร หรือแม้แต่เมื่อลาออกจากงาน ประกันสังคมจะให้อะไรบ้าง ดิฉันเคยเป็นผู้ประกันตนเหมือนกันตอนทำงานกับบริษัทเอกชน ทีนี้ พอลาออก  ไม่ได้ไปใช้สิทธิตัวเองที่ว่าให้ไปแจ้งที่ประกันสังคมภายใน 6 เดือนว่าคุณลาออกจากงาน อยู่ระหว่างการหางานใหม่  ซึ่งประกันสังคมจะให้เงินเป็นรายเดือนระหว่างที่ยังหางานทำไม่ได้ คืออันนี้ดิฉันก็ลืมไม่ไปแจ้งสิทธิ  ก็เลยเสียสิทธิไปเลย ทั้งที่ตัวเองจ่ายเงินประกันสังคมตั้ง 8 ปี หลายๆ คนน่าจะไม่รู้สิทธิตรงนี้ “เรื่องการบริโภคเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เราต้องบริโภคอาหาร ใช้บริการต่างๆ คือไม่ว่าเรื่องเล็กๆ น้อย ไปจนถึงเรื่องใหญ่ มันเกี่ยวพันกับเราทั้งสิ้น บางทีการหาข้อมูลความรู้ หรือการติดตามข่าวสารไว้  ก็จะเป็นสิ่งที่เมื่อเราเกิดปัญหาจะสามารถแก้ได้ค่ะ เช่น ตอนนี้ในเวปไซต์หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ ก็มักจะมีข้อมูลเหล่านี้อยู่  ให้เราเพิ่มความสนใจอีกนิด ส่วนผู้ประกอบการก็ขอให้นึกถึงใจเขาใจเรา  เพราะว่าถึงคุณจะผลิตสินค้าหรือให้บริการอย่างหนึ่ง  แต่คุณก็ต้องไปซื้อสินค้าหรือรับบริการอย่างอื่นอยู่ดี ถ้าคุณผลิตสินค้าดี  ให้บริการดี ก็จะช่วยลดปัญหาได้ จะเห็นว่าผู้ประกอบการถ้ามีคุณภาพจะประกอบการได้นาน ทำกำไรได้โดยไม่ต้องเอาเปรียบผู้บริโภคค่ะ” **รายการภูมิคุ้มกัน ฟังและดาวน์โหลดรายการได้ที่  www.thaipbsonline.net  และ แอพพลิเคชั่น Thaipbsแฟนเพจ www.facebook.com/ThaipbsRadioFan/  และสถานีวิทยุชุมชนที่เชื่อมโยงสัญญาณ  ได้แก่  สถานีวิทยุชุมชน คนหนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี FM 107.5 Mhz, สถานีวิทยุชุมชนปฐมสาคร FM 106.25 Mhz, สถานีวิทยุชุมชนคนเมืองลี้ จ.ลำพูน  103.75 MHz, สถานีวิทยุชุมชนวัดโพธิ์บัลลังก์ จ.ราชบุรี  FM 103.75 MHz.  สถานีวิทยุเทศบาลทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน  FM 106.25  MHz,  สถานีวิทยุชุมชนคนเขาวง  จ.กาฬสินธุ์  FM 89.5  MHz

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี “เอายาปฏิชีวนะออกจากอาหารของเรา ; Antibiotics off the menu”

เพื่อให้รับกับสถานการณ์ปัญหาเรื่อง เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ  ฉลาดซื้อจึงไปสัมภาษณ์ ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานฯ ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา(กพย.) อีกครั้ง โดยในวันผู้บริโภคสากล ปีนี้ซึ่งตรงกับวันที่ 15 มีนาคม สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล (Consumers International) ที่มีองค์กรสมาชิกถึง 240 องค์กรใน 120 ประเทศ ได้กำหนดประเด็นในการรณรงค์ร่วมกันในเรื่อง “การเอายาปฏิชีวนะออกจากอาหารของเรา; Antibiotics off the menu” “คืออยากให้ได้ในมิติที่ผู้บริโภคจริงๆ ว่าประสบปัญหาอะไร แล้วไม่รู้อะไร ตอนนี้เราแยกเป็นสิทธิผู้บริโภคสากล ซึ่งมีทั้งหมด 8 ข้อ เรื่อง Information เป็นเรื่องสำคัญมากในการตัดสินใจ เรื่องที่ 2 ที่เชื่อมร้อยกันก็คือเรื่อง Consumer education การให้การศึกษา และอันที่ 3 ที่เกี่ยวข้องแล้วมาหลุดไปนั้น คืออยากจะโยงถึง เรื่องสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย หน่วยงานรัฐก็จะต้องรับรองให้มีผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยเพียงพอ แต่พอเราได้เข้ามาดูตรงนี้แล้ว พบว่าปัญหายิ่งใหญ่อันหนึ่งของผู้บริโภคไทยก็คือ ข้อมูลพวกนี้มันไม่ถึงมือประชาชนและระบบไปเฝ้าระวังเรื่องนี้ไม่เพียงพอ พอเราบ่นไปก็จะได้รับคำตอบกลับมาว่า “มีกำลังไม่เพียงพอ เงินไม่มีเลยทำได้แค่นี้”  ผู้บริโภคเราจึงไม่มีข้อมูลที่จะทำให้สามารถตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อได้ ประกอบกับความรู้ผู้บริโภคก็น้อยด้วย ดังนั้นทำให้ดูเหมือนผู้บริโภคไทยเองอ่อนแอและได้รับแต่สิ่งที่มีปัญหา ขอกล่าวถึงคำศัพท์หลายคำศัพท์อยู่ที่เราอาจจะคุ้นเคยกัน 1. ยาปฏิชีวนะ ที่เราคุ้นกันอยู่ แต่มีผู้รู้หลายคนที่บอกว่ายาปฏิชีวนะ 100 % ถ้าเราจำได้ ยาต้านไวรัสก็คือไปทำอะไรกับไวรัส ยาต้านเชื้อราก็คือไปทำอะไรกับเชื้อรา ดังนั้นก็ควรจะเป็น ยาต้านแบคทีเรียว่าไปทำอะไรกับแบคทีเรีย อาจจะตรงกว่าคำว่ายาปฏิชีวนะ ที่เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง ค้นพบเมื่อไม่นานนี้ ไม่ถึง 100 ปี (เฟลมมิงค้นพบจากเชื้อราเพนนิซิลเลียม (Penicilliam) เขาเลยตั้งชื่อว่า  Antibiotics) แล้วต่อมายาหลายตัวที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียมันไม่ได้สร้างจากเชื้อมีชีวิตแล้ว มันสร้างจากเคมีก็ได้ บางทีเราก็ใช้ศัพท์ ยาต้านแบคทีเรียหรือเท่ากับ  Antibiotic เพื่อให้คนคุ้นเคย 2 คำนี้เอาไว้     ทำไมเราจึงสนใจเรื่อง  Antibiotics เพราะว่าอันที่ 1. โดยรวมเราเรียกมันว่ายาฆ่าเชื้อหรือยาต้านจุลชีพ ยาต้านจุลชีพทั้งหมดนั้นเป็น  Antibiotics(ต้านแบคทีเรีย) อยู่ประมาณ 50 % ดังนั้นจึงมีผลกระทบเยอะและเรามีแบคทีเรียเยอะ ซึ่งอาจจะเกิดปัญหา คือเกิดการดื้อยา คือเชื้อไวรัสก็ดื้อ การดื้อนั้นเชื้อทั้งหลายมันดื้ออยู่แล้วแต่การกินที่ไม่ถูกต้องจะทำให้ดื้อเร็วขึ้น มากขึ้น คนที่จะใช้ยาต้านไวรัสได้ต้องตรวจให้ชัวร์ว่าเป็นไวรัสก็จะได้ยาต้านไวรัส คนที่เป็นเชื้อราก็ต้องตรวจให้ชัวร์ว่าเป็นเชื้อราจึงได้ยาต้านเชื้อรา แต่ปัญหาคือว่า พอไม่ใช่การติดเชื้อแบคทีเรียแล้วไปจ่ายยาต้านแบคทีเรียให้กิน เรื่องแบบนี้มันเยอะไง เชื้อมันเลยดื้อยา การดื้อยามีขนาดใหญ่และเป็นปัญหา เนื่องจากการกินผิดเยอะ ก็ทำให้เมื่อติดเชื้อจำนวนมากก็ดื้อยามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้อัตราการอยู่เตียงนานขึ้น ตายมากขึ้น กลุ่มคนที่เฝ้าระวังเรื่องนี้จึงกลัวว่าต่อไปจะไม่มียาใช้เพราะว่าทุกวันนี้มันเริ่มวิจัยยาใหม่ๆ น้อยลง ดังนั้นต่อไปเวลาป่วยเราก็จะกลับไปเป็นโรคระบาดที่เป็นโรคติดเชื้อเหมือนสมัยก่อน ไม่มียาที่สามารถปราบเชื้อได้ นี่คือสิ่งที่กลัวกัน ซึ่งถ้าได้ดูข่าวจะเห็นว่าคนดังๆ ติดเชื้อในกระแสเลือดจนถึงขั้นเสียชีวิตเพราะเมื่อเชื้อเข้าไปอยู่ในกระแสเลือดแล้วเชื้อมันดื้อ ให้ยาไปแล้วไม่หาย เกิดการเรื้อรัง ปัญหาคือถ้าคนไข้อาการทรุดอยู่แล้วก็จะเสียชีวิตเร็วขึ้น เราจึงกลัวว่าต่อไปจะไม่มียาใช้ซึ่งเรื่องนี้เป็นผลกระทบต่อสุขภาพในวงกว้าง     สาเหตุที่ดื้อยาหลักๆ เกิดจากการกินเกินจำเป็น การที่เราได้รับ Antibiotics เข้าร่างกายมันก็มีอยู่ 3 รูปแบบ 1. หมอสั่งให้กิน หมอสั่งก็อาจจะวินิจฉัยผิดหรือหมอมั่วก็เยอะสั่งโดยไม่มีความจำเป็น ส่วนใหญ่ก็ 3 โรคที่เรารณรงค์ไม่ให้ใช้ (3 โรคที่สามารถหายได้เองด้วยภูมิต้านทานของร่างกายโดยไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะคือ 1.หวัดเจ็บคอ 2.ท้องเสีย 3.แผลเลือดออก และยาปฏิชีวนะที่เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียนั้น ประกอบด้วย เพนนิซิลินอะม็อกซิลลิน เตตร้าซัยคลิน ซึ่งไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบแต่อย่างใด) หรืออีกอย่างคือหมอสั่งถูกแล้ว แต่คนไข้กินผิด หมอให้กินต่อเนื่อง 5 วันแต่กิน 2 วันก็เลิกกิน อย่างนี้เป็นต้น   2. ไปซื้อกินเอง ซึ่งบางครั้งไม่ได้เป็นอะไรมาก ปวดฟันก็ไปซื้อมา 2 เม็ดเพราะไปเรียกกันว่ายาแก้อักเสบก็เลยซื้อมากิน อันนี้เป็นเรื่องเข้าใจผิดมากๆ และปัญหาข้อ 1 กับข้อ 2 นั้นบางทีเกิดเพราะหมอก็ไม่เขียนชื่อยามาให้อีก ทำให้ขาดความรู้ตรงนี้ไป และ 3. กินโดยไม่รู้ตัว ข้อสุดท้ายนี่แย่มากเพราะมันอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไปโดยไม่รู้ตัว หรืออยู่ในยาชุดที่ยังมีคนนิยมซื้อกิน     ถ้าถามว่า เราจะมีข้อเรียกร้องอะไรบ้างเรื่องสิทธิผู้บริโภคในประเด็นนี้ ข้อที่ 1. คือเราจะกินยาอะไรต้องได้รู้จักชื่อยาที่เราใช้ เพราะ Antibiotics มันแพ้กันเยอะ แพ้ตั้งแต่กลุ่มเพนนิซิลิน เกิดการช็อก หมดสติ เสียชีวิต หายใจหอบ และพวกกลุ่มซัลฟา(Sulfonamides) ที่จะมีอาการไหม้ทั้งตัว ถ้าเราไม่รู้ชื่อยา บางคนบอกว่าตัวเองแพ้ซัลฟากล่องสีเขียวๆ แต่พอไปซื้ออีกครั้งก็กล่องสีเขียวเหมือนกันแต่ไม่ใช่ซัลฟา จึงทำให้ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วที่แพ้นั้นแพ้อะไรกันแน่เพราะมันไม่ชัดเจน เพราฉะนั้นนอกจากเราจะเรียกร้องเรื่องสิทธิคือต้องรู้จักชื่อยาแล้วเราต้องได้รับการคุ้มครองด้วยว่ารัฐต้องจัดหายา ขึ้นทะเบียนยาที่เหมาะสม เพราะยากล่องสีเขียวในท้องตลาดมีกล่องสีเขียวตั้ง 4 กล่องตัวยาก็คนละตัวกันเลย การแพ้ก็คนละแบบ รัฐต้องให้ความคุ้มครองเรื่องการที่ต้องมียาให้ถูกต้อง กลุ่ม Antibiotics รัฐต้องคุ้มครองในเรื่องของโฆษณา เราได้ยินโฆษณาของเสียงตามสายทีซี-มัยซินมาตลอด ซึ่งยากินนั้นเขาไม่ให้โฆษณา Antibiotics ที่เข้าร่างกายไม่อนุญาตให้โฆษณายกเว้นยาสามัญประจำบ้านหรือยาบรรจุเสร็จ ทีซี-มัยซิน ออยนท์เมนท์ (T.C. Mycin Ointment) อยู่ในกลุ่มยาบรรจุเสร็จ สามารถโฆษณาได้แต่เวลาโฆษณาในทีวีบนกล่องจะมีรูปแคปซูลด้วย คนก็สับสน และโฆษณาก็เป็นอีกเรื่องที่เราเรียกร้องให้งดโฆษณา Antibiotics ทั้งหมด ข้อที่ 2. รัฐจะต้องทำการถอนทะเบียนที่ไม่เหมาะสมออกให้หมด ข้อที่ 3. รัฐจะต้องควบคุมการกระจายยาที่มี Antibiotics ให้ถูกต้อง และข้อที่ 4. รัฐจะต้องให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชนด้วย   อีกจุดหนึ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองแต่มันไม่ได้อยู่ในสิทธิผู้บริโภคไทย คือ สิทธิในการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ปัญหาที่อาจารย์เดือดร้อนมากและกำลังค้นคว้า คือการที่สิ่งแวดล้อมมีเชื้อโรคที่ดื้อยาและสายพันธุกรรมที่ดื้อยาอยู่ในสิ่งแวดล้อม Antibiotics ตกค้างในสิ่งแวดล้อมนี่เป็นเรื่องใหญ่มากที่ต้องลุกขึ้นมาจัดการเป็นเรื่องเป็นราว ในร่างกายเรามีจุลชีพที่ดีอยู่เยอะ จุลชีพใช้ย่อยอาหาร ช่วยในการสร้างวิตามินเค ช่วยหลายๆ อย่างในร่างกายเพราะฉะนั้นจุลชีพที่ดีเราต้องสงวนเอาไว้ การกิน Antibiotics บ่อยๆ ทำให้จุลชีพเสียไปได้และทำงานผิดปกติทำให้เกิดเป็นโรคได้เยอะแยะ แล้วเมื่อจุลชีพข้างนอก Bio diversity ถ้ามันเจอ Antibiotics หรือสารพิษมันก็เสีย เพราะฉะนั้นรัฐต้องมีการควบคุมไม่ให้ Antibiotics ไปตกค้างในสิ่งแวดล้อมนี่เป็นเรื่องสำคัญมาก ตอนนี้ก็เริ่มมีการวิจัยทั่วโลกแล้วเรื่องนี้และการมีสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อดื้อยาหรือสายพันธุกรรมเยอะๆ นั้นมันก็จะส่งผลกระทบต่อจุลชีพในท้องที่ด้วย เช่น เราควรจะมีจุลชีพที่ดีในทุ่งนามันก็จะเสียไปหรือเกิดการเพี้ยนมากขึ้น เราพบว่ามีการใช้ Antibiotics ในการเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งใช้ในพืชด้วย ในในการเลี้ยงสัตว์ไม่ว่าจะสัตว์บกหรือสัตว์น้ำมีหมด มีน้องที่รู้จักอยู่อยุธยาบอกว่า มีการโรยลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาเลยในการเลี้ยงปลากระชัง หลายคนถามว่ามันละลายไปหมดจะได้ผลหรือ ลองคิดดูเมื่อหย่อนไปตรงที่เลี้ยงอย่างน้อยตรงนั้นมันก็ได้แล้วที่เหลือก็ลอยไป หรือการเลี้ยงไก่เลี้ยงหมูมันก็ตกไปอยู่ที่ดินแล้วดินตรงนั้น เราก็เอาขี้หมูขี้ไก่ไปทำปุ๋ยใส่ผักต่อ ผักออแกนิกเกิดมามีเชื้อดื้อยาเต็มเลย อธิบายเพิ่มเติมนิดหนึ่งคือ สิ่งที่เราพบเห็นของการตกค้างนั้น 1. ตกค้าง Antibiotics ในอาหารเช่นเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ กุ้ง ปลา 2. เมื่อมันตกค้างแล้วอาจจะมีเชื้อดื้อยาตกค้างด้วยและมีสายพันธุกรรมของเชื้อดื้อยาตกค้างอันนี้คือน่ากลัวที่สุด เพราะว่าสายพันธุกรรมก็คือ DNA ซึ่งบางชนิดมันทนต่อความร้อน เราเชื่อกันว่าเชื้อโรคโดนต้มก็ตายแต่ Antibiotics ต้มไม่ตาย บางทีตายหรือไม่ตาย ไม่รู้ เมื่อเรากินเข้าไปก็ทำให้ดื้อได้ การที่มีขนาด Antibiotics น้อยๆ ในร่างกายนั้นมีผลอยู่ 2 – 3 อย่างคือเด็กที่กิน Antibiotics ตั้งแต่เล็กๆ จะเกิดภูมิแพ้และโรคอ้วน เด็กอ้วนพอไม่สบายหมอก็ให้ Antibiotics เรื่อยๆ แล้วการที่อ้วนทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า โกรทโปรโมเตอร์ (Growth Promoter) ให้น้อยๆ สัตว์จะอ้วน โตเร็ว มันจะทำให้การดื้อยาเป็นไปได้เร็วขึ้นและถ้าสายพันธุกรรมดื้อยาไปปะปนกับอาหาร คนกินก็จะรับสายพันธุกรรมและสายพันธุกรรมบ้าเนี่ยนะ มันเข้าไปอยู่ในจุลินทรีย์ได้ทุกอย่างทั้งคนและสัตว์ อาจารย์เคยตั้งคำถามในการประชุมวิชาการครั้งหนึ่งว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารที่เรากินนั้นไม่มีสายพันธุกรรม มีข้อกำหนดหรือยังว่าต้องให้ตรวจ คำตอบก็คือไม่มี ข้อกำหนดที่มีอยู่อย่างเดียวตอนนี้คือ 1. ปริมาณ Antibiotics ไม่เกินลิมิต  2. เชื้อไม่เกินลิมิต แต่มันไม่ได้พูดว่าดื้อยาหรือเปล่า และการที่พูดว่าไม่มี Antibiotics ในผลิตภัณฑ์ ในอาหารเกินลิมิตหมายความว่ามันมีการใช้ แต่อยู่ในระยะพัก แต่เมื่อมีการใช้นั่นหมายความว่ามันมีโอกาสเกิดการดื้อยาเกิดขึ้นได้ เพราะอาจจะมีสายพันธุกรรมดื้อหรือที่มันตกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เลี้ยงมันก็ต้องดื้อและคนที่เลี้ยงก็มีสายพันธุกรรมดื้อยา คือค่อนข้างพบเยอะแล้วว่าคนที่เลี้ยงโดยใช้ Antibiotics นั้นตัวคนเลี้ยงจะมีเชื้อดื้อยาเยอะ จะติดเชื้อไม่สบายอยู่เรื่อยๆ พอไปตรวจก็พบว่ามันมีจริงและถ้ามันอยู่ในอาหารที่เรากินแล้วต้มไม่ตายทุกคนก็มีความเสี่ยงต่อการรับทั้งนั้น การต้มนั้นแบคทีเรียตายแต่สายพันธุกรรมนั้นมีงานวิจัยว่าไม่ตาย ความร้อนไม่ช่วยเลยนั่นคือสิ่งที่เป็นห่วง ดังนั้นนี่คือข้อเรียกร้องว่า เราต้องได้รับข้อมูลสถานการณ์จริงและเราต้องได้รับการปกป้องให้ได้รับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย และเมื่อผู้บริโภคไปเรียกร้องสิทธิ ผู้บริโภคเองก็ต้องมีหน้าที่เมื่อคุณได้รับสั่งกินยาคุณต้องมีสิทธิถาม มีตัวอย่างหนึ่งเขาเป็นสื่อมวลชนอยู่ที่เชียงใหม่ พวกเราเป็นคนให้ความรู้เขาแล้วให้เขาทำละครชุมชน พอเขาทำแล้วเขาอินกับเรื่องนี้ ตอนที่ลูกเขาไม่สบายมีน้ำมูกใสๆ จึงพาไปหาหมอ หมอจะจ่ายยา Antibiotics เขาก็ถามเลยว่า ตกลงลูกเขาติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียครับ หมอก็อึ้งแล้วบอกว่า ต้องตรวจดู เขาจึงบอกว่ารอได้ให้ตรวจเลย พอผลตรวจออกมาหมอพูดอ้อมแอ้มบอกว่า ไม่ใช่แบคทีเรียมันเป็นไวรัสเพราฉะนั้นไม่ต้องสั่งยาต้านหรือ Antibiotics ดังนั้นต้องกล้าที่จะถามว่าเป็นแบคทีเรียหรือไวรัส ถามว่ายานี้เป็นอันตรายไหม กินแล้วจะเกิดอาการอะไรขึ้นไหม นี่คือสิทธิที่เราต้องรู้ และขณะเดียวกันเรามีหน้าที่ที่ต้อง 1.อย่าไปเรียกร้องหมอขอยาแก้อักเสบนี่ไม่ควรทำ 2.ถ้าต้องกินก็กินให้ครบ 3. ต้องดูแลภายในบ้าน เพราะบางคนหมาไม่สบายก็เอายาตัวเองให้หมากินอย่างนี้เป็นต้น คือมันถ่ายทอดทั้งเขาและเราอยู่ตลอดเวลารวมทั้งการดื้อยาด้วย และถ้าต้องเลี้ยงสัตว์เป็นเกษตรกรด้วยคุณต้องมีความห่วงใยโลก ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ห่วงใยผู้ที่จะกินอาหารจากเรา มีเกษตรกรที่เลิกใช้  Antibiotics มาพูดคุยกับเราในงานวันสิทธิผู้บริโภคสากล 15 มีนาคม 2559 นี้ด้วยหลายกลุ่มเลย ---------ข้อสรุปของการประชุมเนื่องในวันสิทธิผู้บริโภคสากล “World Consumer Rights Day 2016” วันที่ 15 มีนาคม 2559 มีดังนี้     ปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาฯ มีสาเหตุสำคัญมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่เกินจำเป็น จากข้อมูลของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล พบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของยาปฏิชีวนะที่ผลิตขึ้นในโลกนี้ นำไปใช้ในการเกษตร โดยนำไปเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ (Growth Promoter) ใช้ป้องกันการติดเชื้อมากกว่าจะใช้เป็นยารักษาโรค คาดการณ์กันว่า ภายในปี ค.ศ.2030 จะมีการเพิ่มขึ้นของการใช้ยาปฏิชีวนะ จาก 63,200 ตัน ในปี ค.ศ.2010 เป็น 105,600 ตันในปี ค.ศ.2030       การรณรงค์เรียกร้องที่ดำเนินการทั่วโลกในปีนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ บริษัทอาหารฟาสต์ฟู้ดทั่วโลกให้สัญญาต่อผู้บริโภคว่าจะหยุดการขายเนื้อสัตว์ที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม  โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บริโภคทุกคนที่จะมีส่วนช่วยในการเรียกร้องให้เกิดความปลอดภัยในอาหารที่เราบริโภค ดังนั้นในการจัดประชุมเนื่องในวันสิทธิผู้บริโภคสากล เครือข่ายภาคประชาชนภายใต้สภาผู้บริโภคแห่งชาติ มีความตระหนักและให้ความสำคัญในปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการลดการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น จึงมีข้อเรียกร้องต่อทุกภาคส่วน ดังนี้ 1.เรียกร้องให้ทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ และเอกชน ร่วมกันขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ในประเด็น “วิกฤติการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการจัดการปัญหาแบบบูรณาการ” โดยมีกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพหลัก ในการดำเนินการจัดการปัญหาวิกฤติแบคทีเรียดื้อยาอย่างบูรณาการ ผ่านโครงสร้างและกลไกต่างๆ ที่ต้องจัดตั้งขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบจัดการปัญหาในระดับประเทศ ระดับพื้นที่ ตลอดจนระดับสถานพยาบาลและในชุมชน โดยครอบคลุมทั้งการนำยาปฏิชีวนะไปใช้ในมนุษย์ และในการเกษตร 2.เรียกร้องให้รัฐ กำหนดมาตรการให้ผู้ประกอบการที่มีการนำยาปฏิชีวนะไปใช้ในการเกษตร ต้องเปิดเผยข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะทั้งหมด และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ต้องมีมาตรการในการควบคุมไม่ให้มีการตกค้างในอาหารและสิ่งแวดล้อม 3.เรียกร้องให้ผู้ประกอบการด้านเกษตรและปศุสัตว์ ดำเนินการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น ทั้งในเกษตรกรรายย่อย และการเกษตรพันธะสัญญา รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลในการตัดสินใจบริโภคได้อย่างปลอดภัย  และลดผลกระทบไม่ให้เกิดปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาตามมา 4.เรียกร้องให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการนำเนื้อสัตว์มาจำหน่ายแก่ผู้บริโภค4.1ขอให้ตรวจสอบแหล่งที่มาของเนื้อสัตว์ที่นำมาประกอบอาหารเพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภค       4.2 ขอให้บริษัทมีแผนปฏิบัติการลดและยุติการใช้เนื้อสัตว์ที่มีกระบวนการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ4.3 ขอให้มีตัวแทนจากนักวิชาการภายนอกตรวจสอบแผนปฏิบัติการลดและยุติการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์และรายงานต่อสาธารณะทุก 3 เดือน 5.เรียกร้องให้บุคลากรสุขภาพทุกคน มีส่วนในการรณรงค์เพื่อให้เกิดการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ทั้งในสถานพยาบาลรัฐและเอกชน 6.เรียกร้องให้ผู้บริโภคทุกคน พึงตั้งคำถามทั้งต่อตนเองและต่อบุคลากรสุขภาพว่า มีความจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะจริงหรือไม่ ก่อนการตัดสินใจบริโภค 7.เรียกร้องให้สื่อดำเนินการให้ข้อมูลต่อผู้บริโภคให้ตระหนักในปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยา และ ความจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงการบริโภคยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 180 จะเป็นอย่างไรเมื่อ(ร่าง) รัฐธรรมนูญใหม่ ไม่มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

หลายท่านที่ติดตามข่าวคงได้เห็นแล้วว่าภาคประชาชนมีแอคชั่นทวงสิทธิผู้บริโภคที่หายไปในรัฐธรรมนูญ กับกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคกว่า 150 คน ได้ไปยื่นหนังสือคัดค้านการประชุมของสคบ.และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่มีมติไม่สนับสนุนกฎหมายอ้างเหตุซ้ำซ้อน และขอให้สนับสนุนกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค กับ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ โดยมี นายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีสำนักนายกฯ เป็นผู้รับหนังสือแทน ทุกคนมีสิทธิฉบับนี้ จึงขอพาไปติดตามสองความคิดเห็นของ ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน และนางสาว สารี อ๋องสมหวัง ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ว่าจะเป็นอย่างไรเมื่อ(ร่าง) รัฐธรรมนูญใหม่ ไม่มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคดร.ไพบูลย์ ช่วงทองส่วนตัวผมมองว่า การทำงานของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ชุดปัจจุบันยึดโยงและสอบถามความเห็นประชาชนน้อย ทำให้หลายภาคส่วน ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า เป็นการร่างรัฐธรรมนูญแบบย้อนยุคไปเมื่อสมัย 40 ปี ที่แล้ว ที่ให้รัฐทำทุกอย่าง ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ล้าสมัย และเป็นสาเหตุสำคัญในการนำพาประเทศมาถึงทางตันทางการเมือง ไม่มีทางออก จนต้องนำมาสู่การรัฐประหารปี 2558 โดย คณะ คสช. ส่วนตัวผมมองว่า การเข้ามาของ คสช. ผมมองว่าไม่ถูกต้อง แต่ในขณะนั้น สังคมเราไม่มีทางเลือกที่ดีกว่า การใช้อำนาจในการเข้ามาควบคุมสถานการณ์ทางการเมือง ที่ ประชาชน 2 ฝ่าย มีแนวโน้มที่จะปะทะกันและนำไปสู่ ความรุนแรง และอาจเป็นบาดแผลที่ยากเกินกว่าจะเยียวยา ในประวัติศาสตร์ของประเทศได้ แต่เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองสงบขึ้น ส่วนตัวผมมองว่า ประชาชนได้ฝากความหวังว่าการทำงาน ของ คสช. จะกลับมาแก้ปัญหา การกระจายอำนาจ  รักษาหลักการ เคารพสิทธิมนุษยชน เพิ่มสิทธิพลเมือง ขยายสิทธิผู้บริโภค โดยยอมนิ่งสงบทั้งๆ ที่ การฉีกรัฐธรรมนูญ เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนคนไทยทุกคน ซึ่งต้องเข้าใจนะครับว่า รัฐธรรมนูญที่ถูกฉีกไปนั้น จะดีจะเลวอย่างไร ก็ผ่านเสียงประชามติของประชาชนทั้งประเทศมาแล้ว และส่วนตัวผม รัฐธรรมนูญ ปี 40 ที่ถูกฉีกไปเมื่อปี 49 ก็รับรองสิทธิของผู้บริโภคไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 57  “มาตรา 57 สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องบัญญัติให้มีองค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภคทำหน้าที่ให้ความเห็นในการตรากฎหมาย กฎและข้อบังคับและให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค” นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญปี 50 ที่ถูกฉีกอีกครั้ง ก็ยังคงรับรองสิทธิ โดยบัญญัติไว้ว่า “มาตรา 61 สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภครวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย” ในขั้นตอนการร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ... นั้น องค์กรผู้บริโภคได้ร่วมผลักดันให้เกิดกฎหมายนี้ มาตั้งแต่ขั้นตอนการ ล่ารายชื่อประชาชน จำนวนกว่า 12,000 รายชื่อ เพื่อเสนอกฎหมายโดยภาคประชาชน ได้ดำเนินมาจนถึงขั้น ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา และ กำลังรอความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไปนั้น ก็เกิดอุบัติเหตุทางการเมืองขึ้น โดย คสช. ประกาศยึดอำนาจ ขึ้นทำให้ พรบ. ที่มีประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวที่ยาวนานของภาคประชาสังคม ต้องมีอันต้องตกไป ล่าสุดจากรายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค โดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบและรับหลักการร่าง พรบ. องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมเสนอร่างพรบ. ดังกล่าวต่อ คณะรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อสร้างดุลภาพแห่งอำนาจการจัดการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค โดยคำนึงถึง 3 ด้าน คือ ภาครัฐ ภาคผู้ประกอบการ และภาคประชาชน น่าเสียดาย ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ หมดวาระไปก่อน และเมื่อ มีการจัดตั้ง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศขึ้น ความสำคัญของงานด้านการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ก็ถูกลดทอนความสำคัญลง ตามเหตุปัจจัยตามสถานการณ์ทางการเมืองต้องขออนุญาต เล่าประวัติศาสตร์และความเป็นมาของ การคุ้มครองผู้บริโภคในอดีตให้เห็นภาพก่อน เพราะ การเคลื่อนไหว ตลอด 17 ปี ที่ผ่านมา งานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคมีความเชื่อมโยงกับสถานการณ์ทางการเมืองอยู่มาก จนถึงขณะนี้ ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับอ.มีชัยและคณะ ไม่ปรากฏ บทบัญญัติ ให้สมกับ แนวความคิดปฏิรูปงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ ต้องสร้างดุลภาพทางอำนาจ ทั้งสามฝ่ายให้เกิดขึ้น จากสิทธิประชาชนในฐานะผู้บริโภค แปลงร่างเป็น การคุ้มครองผู้บริโภค ที่ยกให้เป็นหน้าที่ของภาครัฐ ผมมองว่า เป็นการลดทอนบทบาท ของการมีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครอง งานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เหมือนกับ ด้านคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และคุ้มครองสิทธิชุมชน ที่หลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์อยู่ สิทธิอันชอบธรรมอย่างหนึ่งของคนทำงานทางด้านการเคลื่อนไหวงานทางด้านการคุ้มครองผู้บริโภค คือ การเสนอข้อมูล และให้ความรู้ กับประชาชน ตลอดจนทำข้อเสนอและความเห็นผ่านไปยัง อ.มีชัยและคณะ ต่อ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อเสนอให้มีการปรับแก้ เพราะ ความเห็นของประชาชนย่อมมีน้ำหนักกว่า ความเห็นของ ผู้บริหารหน่วยงานรัฐ ที่ เมื่อถึงวัยเกษียณแล้ว ก็จะหมดบทบาทหน้าที่ต่องานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคทันที ในขณะที่ รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็น กฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่มีฐานความคิดว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย จะยังคงมีผลต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน หากบทบัญญัติใด ไม่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว ประชาชนก็มีสิทธิและหน้าที่อันชอบธรรมในการที่จะปฏิเสธ ไม่รับ ร่างธรรมนูญฉบับนั้น สารี อ๋องสมหวังส่วนตัวดิฉันคิดว่า รัฐธรรมนูญที่มีการยกร่างใหม่ไม่ว่าในยุคสมัยใด ยังไม่เคยปรากฎว่าสิทธิและเสรีภาพของประชาชนลดลง แต่ก็ต้องบอกว่าฉบับนี้ สิทธิพื้นฐานของมนุษย์ที่สำคัญ สิทธิของประชาชน สิทธิชุมชน สิทธิผู้บริโภค และสิทธิของกลุ่ม ถูกลดทอนและหายไปจำนวนมาก  มีปัญหาทั้งเรื่องโครงสร้างของร่างรัฐธรรมนูญ ที่ย้ายหมวดสิทธิของประชาชนจำนวนมากไปอยู่ในหมวดหน้าที่ของรัฐ ทำให้กฎหมายสูงสุดของประเทศกลายเป็นเครื่องมือของรัฐในการใช้อำนาจลิดรอนสิทธิของประชาชน เนื้อหาสาระที่เป็นปัญหา และรวมทั้งไม่เป็นปัจจุบันและไม่แก้ปัญหาในอดีตหากมองเฉพาะส่วนสิทธิของผู้บริโภคที่อยู่ในหมวดหน้าที่ของรัฐ ก็เขียนไว้แบบแคบๆ ในมาตรา 57 ว่า รัฐต้องจัดให้มีมาตรการหรือกลไกการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริโภครวมกลุ่มกันเพื่อปกป้องสิทธิของตน ซึ่งการเขียนไว้เพียงเท่านี้ จะทำให้หน่วยงานรัฐ สามารถตีความได้ว่า ตนเองมีมาตรการ หรือกลไกคุ้มครองสิทธิที่ครบถ้วนแล้ว การส่งเสริม และการสนับสนุนให้รวมกลุ่มปัจจุบันก็มีการดำเนินการแล้วเป็นระยะ ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงมาตรการหรือกลไกอะไรในการคุ้มครองผู้บริโภค “การเขียนแบบนี้ เป็นการยึดสิทธิของผู้บริโภคไปอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐ  แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ที่ระบุให้มีองค์กรของผู้บริโภคระดับประเทศ หรือองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็น หรือเสนอหน่วยงานของรัฐในการออกกฎหมาย กฎ หรือมาตรการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค นั่นคือการออกกฎหมาย กติกาที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคไม่ถูกผูกขาดในมือของหน่วยงานรัฐเท่านั้น ช่วยสนับสนุนหน่วยงานรัฐในการบังคับใช้กฎหมาย ตรวจสอบหน่วยงานรัฐในการทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรู้และทักษะที่จำเป็นด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และฟ้องคดีเพื่อสาธารณะประโยชน์ โดยให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย” การเขียนไว้สั้นๆ ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถือว่าถอยหลังไปก่อนปี 2522  ทำให้ผู้บริโภคขาดองค์กรของผู้บริโภคระดับประเทศ ในการทำหน้าที่แทนผู้บริโภค หรือในต่างประเทศจะเรียกว่า สิทธิที่จะมีตัวแทนผู้บริโภคในการกำหนดกติกา( Right to representation) ในการต่อรองกับภาคธุรกิจเพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้น และยิ่งสำคัญมากกับประเทศไทยที่หน่วยงานรัฐในบ้านนี้เมืองนี้ ข้าราชการชั้นผู้น้อยไม่กล้าเถียงชั้นผู้ใหญ่ หรือไม่กล้าเถียงนักการเมืองเพื่อให้มีการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้น หรือหากมองไปในรัฐธรรมนูญ 2540 ในอดีตที่กำหนดให้มีองค์การอิสระ แต่เมื่อไม่ได้เขียนว่า เป็นอิสระอย่างไร ก็เป็นที่ถกเถียงมาก ว่าองค์การอิสระนี้สามารถเขียนไว้ภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้หรือไม่ หรือจะต้องทำเป็นกฎหมายเฉพาะ จนทำให้ไม่สามารถออกกฎหมายได้ และเป็นเหตุให้รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ สิ่งนี้สะท้อนว่าทุกตัวอักษรในรัฐธรรมนูญไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ มีที่ไปที่มา และประวัติศาสตร์มากมายส่วนประเด็นความซ้ำซ้อนที่เลขาธิการสคบ. มองว่า “องค์กรผู้บริโภคนี้ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะกระบวนการในการจัดทำและบังคับใช้กฎหมาย มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ของทางราชการกำหนดให้หน่วยงานต่างๆ ของรัฐจะต้องมีกระบวนการในการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอยู่แล้ว และการคุ้มครองผู้บริโภคถือเป็นหน้าที่หลักของภาครัฐ เป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย นอกจากนี้การบังคับใช้กฎหมาย การดำเนินคดี การเปรียบเทียบความผิดที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นการใช้อำนาจทางปกครองซึ่งเป็นอำนาจโดยตรงตามกฎหมายของหน่วยงานรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร จึงไม่ควรเป็นหน้าที่ของภาคประชาชนเป็นผู้ดำเนินการ แต่ภาคประชาชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุนภารกิจของภาครัฐ และเติมเต็มในมิติอื่นๆ ที่ภาครัฐยังไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนั้นการที่ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคกำหนดให้คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองมีอำนาจและหน้าที่หลายประการ ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของหน่วยงานของรัฐและมีกฎหมายกำกับอยู่แล้ว จึงเป็นการซ้อซ้อนกับกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ที่ประชุมของหน่วยงานรัฐและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 66 คน โดยไม่มีผู้บริโภค จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้มีกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนี้ต้องบอกว่า เป็นความน่าเบื่อของสคบ. ที่ทุกครั้งของการตัดสินใจต้องมีภาคธุรกิจ และทำหน้าที่แทนผู้บริโภคไม่ได้ และสะท้อนว่า รัฐไม่เคารพหลักการหรือมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย หรือฟังความเห็นจากทุกฝ่ายจริงตามที่อ้าง ไม่งั้นจำนวน 66 คนนี้ ต้องมีตัวแทนขององค์กรผู้บริโภคที่สนับสนุนกฎหมายฉบับนี้มาโดยตลอดขอให้อ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ให้ดี จะเห็นว่า ได้ว่า องค์กรนี้ไม่ได้ใช้อำนาจรัฐ ไม่สามารถให้คุณให้โทษกับภาคธุรกิจได้ ทำหน้าที่ให้ความเห็นและเสนอแนะกับหน่วยงานรัฐ แต่มีหน้าที่โดยตรงในการให้ข้อมูลผู้บริโภคให้มีความรู้ เท่าทันสามารถต่อรองกับผู้ประกอบการได้ หรือแม้แต่อำนาจในการฟ้องก็เป็นเพียงสิทธิพื้นฐานเทียบเท่าประชาชนในการยื่นฟ้อง เพราะศาลยุติธรรมเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐในการพิจารณาคดี สุดท้ายอยากฝากไปภาคธุรกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่คัดค้านกฎหมายฉบับนี้ ต้องบอกว่าหมดยุคธุรกิจใต้โต๊ะ หรือไม่นับถือผู้บริโภค ยุคปัจุบันและอนาคตต้องยึดความพึงพอใจของผู้บริโภคเป็นสำคัญ หากสังคมทำให้เกิดอำนาจต่อรองของผู้บริโภคมากเท่าไหร่ ย่อมสะท้อนคุณภาพของสินค้าและบริการของประเทศนั้น ๆ ดังที่เราเห็นในประเทศพัฒนาแล้ว หรือแม้แต่เพื่อนบ้านเราอย่างประเทศสิงคโปร์สิทธิของผู้บริโภคในรัฐธรรมนูญในอดีต จนถึงร่างฉบับปัจจุบัน                  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 179 Documentary Club เรานำหนังสารคดีทั่วโลกมาฉายเพื่อทุกคนที่รักหนังสารคดี

ถ้าถามคอหนังทางเลือก หนึ่งคนที่คอหนังนึกถึง ต้องเป็น “ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Bioscope และหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Documentary Club” หลังจาก ภาพยนตร์สารคดี เรื่อง  "Finding Vivian Maier : คลี่ปริศนาภาพถ่ายวิเวียน ไมเออร์" ออกฉายเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อเกือบปลายปี 2557  Documentary Club ได้รับการตอบรับจากคนดูจำนวนมาก ซึ่งคุณธิดาเล่าให้ฉลาดซื้อฟังว่า หลังจากที่เริ่มโปรเจ็คท์เดือนสิงหาคม 2557 และฉายหนังตอนเดือนพฤศจิกายน  มาถึงตอนนี้ก็ปีกว่า ในแง่ของผลตอบรับมันก็ไปไกลกว่าคิดไว้ เพราะตอนแรกคิดว่าคนดูแค่ 10 คน 500 คน คือพยายามบริหารให้ก้อนคนดูมันอยู่แค่นั้นแต่ว่าตอนนี้คนดูเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ถ้ามองในเชิงความมั่นคงนี่เล็กมากๆ แต่ถ้าเป็นสเกลของหนังที่เข้าโรงเดียวรวมทั้งหมดแค่สิบกว่ารอบถือว่าตอบโจทย์ ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นนั้นมันค่อนข้างจะต่างกัน เห็นได้ชัดคือพอเราเอาหนังใหม่มาเมื่อประชาสัมพันธ์ออกไป ก็จะมีฐานคนดูจำนวนมากประมาณหนึ่งที่พร้อมจะเข้ามาดู โดยที่เราไม่ต้องบิ้วท์คนดูใหม่จากศูนย์แล้วก็เหมือนเป็นฐานที่ช่วยให้หนังมันมีตลาดประมาณหนึ่ง แต่หน้าที่ของเราก็คือทำอย่างไรให้เรื่องมันขยายตลาดกว้างออกไปมากกว่านั้นและค่อยๆ สร้างกลุ่มขึ้นเรื่อยๆ  ฉะนั้นหลังจากทำมาปีกว่าสิ่งที่พูดได้เลยว่า เป็นความสำเร็จ คือมันมีกลุ่มคนดูที่ยอมรับการเข้าฉายของหนังสารคดี อย่างน้อยที่สุดคือคนเหล่านี้ไม่ได้ตั้งคำถามว่า ทำไมเขาจะต้องมาเสียเงินเท่ากับที่เขาดูสตาร์วอร์ส ทำไมเขาต้องมาดูสารคดี เขาสามารถรู้สึกได้ว่าถ้ามันเป็นเรื่องที่เขาชอบเขาก็พร้อมจะดู ไม่ได้รู้สึกว่าสารคดีต้องดูฟรี เราคิดว่าเราพาคนดูไปด้วยกัน พาข้ามความรู้สึกเหล่านี้ไปได้ การเริ่มต้นของการตั้ง Documentary Club เนื่องจากก่อนที่จะมาทำ Documentary Club นั้นเคยทำงานอยู่ที่หนังสือ Bioscope ซึ่งเป็นหนังสือที่พูดถึงหนังทางเลือก แล้วเราก็ติดตามความเคลื่อนไหวของหนังต่างประเทศแล้วก็รู้สึกว่าทำไมแม้แต่ในตลาดอเมริกา ซึ่งมีโมเดลคล้ายๆ กับตลาดเมืองไทยมาก แล้วคนไทยก็รับเอาวิธีคิดการผลิตภาพยนตร์แบบอเมริกา คือการทำร่วมกับสตูดิโอ แล้วก็นึกถึงเมนสตรีม แต่อเมริกาเองก็ยังมีทางเลือกในเชิงความหลากหลายของหนัง เครือข่ายโรงหนังก็ยังมีหลายแบบเพื่อที่จะตอบสนองพฤติกรรมคนดูหลายๆ แบบและโดยธุรกิจของฮอลลีวูดเองก็พยายามหล่อเลี้ยงหนังทั้งขนาดกลางและขนาดเล็กเพราะทุกอย่างขับเคลื่อนเป็นฟันเฟือง ไม่ว่าจะตัวเล็กตัวน้อยก็ต้องมีที่ยืนเพราะว่าต้องหมุนไปด้วยกันในเชิงธุรกิจ แต่บ้านเราไม่มีแบบนี้ นับวันความหลากหลายของหนังมันยิ่งน้อยลง หนังเล็กเข้ามาก็ขาดทุนเป็นส่วนใหญ่ คนทำหนังอิสระไทยนั้นโอกาสคืนทุนน้อยมากเพราะมันไม่มีเอาท์เล็ทที่หล่อเลี้ยงให้เขาอยู่กับคนดูเพื่อสร้างวัฒนธรรมการดู เพราะฉะนั้นไม่มีใครช่วยเรื่องพวกนี้ และอีกแง่หนึ่งโดยส่วนตัวชอบดูหนังสารคดีก็รู้สึกว่า หนังประเภทนี้ไม่เคยมีพื้นที่ในบ้านเราเลยจะถูกจัดเป็นอินดี้ของอินดี้อีกที ดังนั้นจึงรู้สึกว่ามันน่าลอง อยากจะลองสร้างตลาดอันนี้ขึ้นมาก็นึกถึงทางเลือกอีกทางหนึ่งของคนกรุงขึ้นมา  ขั้นตอนการหาหนัง การซื้อเข้ามาเป็นอย่างไรบ้างDocumentary Club นั้นเกิดจากการระดมทุนขึ้นมาเพราะหนึ่งคือเราไม่มีทุนและสองเรามีความรู้สึกลึกๆ ว่าเรื่องแบบนี้เราคนเดียวผลักดันมันคงไม่สำเร็จ ถ้าจะผลักดันมันต้องอาศัยแรงสนับสนุนของคนที่คิดคล้ายๆ กันแต่เราก็เหมือนเราชูธงว่าเราออกหน้า ดังนั้นพอเราโยนไอเดียลงไปนั้นก็พบว่ามันก็มีคนจำนวนหนึ่งเห็นด้วยกับการทดลองทำอะไรแบบนี้ เขาก็ช่วยเหลือในการระดมทุนทำให้มีทุนในการทำแต่ว่าสิ่งที่ต้องทำต่อมาคือการหาพื้นที่ให้กับมัน จริงๆ แล้วเราไม่ได้มีความเชื่อในการเอาหนังเข้าโรงเพียงอย่างเดียว แต่ว่าถ้ามันมีช่องทางอื่นที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่ได้และคนดูได้ดูโดยไม่ต้องเข้าหาโรงนั้นเป็นทางเลือกที่ดี  แต่ว่าในระบบตลาดมันก็ยังต้องใช้โรงเพื่อผลทางรายได้หรือว่าผลทางประชาสัมพันธ์อะไรก็ตาม และสองคือรู้สึกว่าหนังสารคดีมันไม่มีพื้นที่ในทางธุรกิจเลยเราจึงจำเป็นต้องพิสูจน์ว่า มันมีตลาดด้วยการเข้าสู่ตลาดเพื่อให้มีที่ยืนในเชิงการตลาดที่เขาทำกันอยู่จริงๆ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำเมื่อเริ่มต้นโปรเจ็คท์ก็คือการคุยกับโรงว่าให้เปิดพื้นที่ซึ่งตอนที่ไปฉายครั้งแรกก็คุยทั้ง 2 เครือแต่ว่าเครือหนึ่งไม่เอาเพราะว่าไม่มีความเชื่อในหนังอะไรแบบนี้เลย ในขณะที่เครือ SF นั้นเขายังอยากที่จะทดลองสร้างตลาดเฉพาะเพราะเขาคงมองว่ามันก็เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้แบรนด์ของเขาแตกต่างจากคู่แข่ง ก็โชคดีที่พอไปคุยแล้วเขาให้ลองดูแต่แน่นอนสิ่งที่เราต้องทำคือการพิสูจน์ให้เห็นว่าทำแล้วมันอยู่ได้จริงๆ มันมีคนดู มีรายได้กลับมา เขาพอใจ เราพอใจ คนดูแฮปปี้ นั่นคือสิ่งที่ต้องพิสูจน์มาเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลาปีกว่าที่ผ่านมาการเลือกหนังเลือกอย่างไร ต้องทำรีเสิร์ทก่อนไหมคงไม่ขนาดนั้นแต่ว่าเบื้องต้นคือเลือกจากความชอบเพราะว่าจริงๆ เราก็ไม่ได้เป็นแบบข้างใดข้างหนึ่งมาก เราไม่ได้ตลาดสุดขั้วและเราก็ไม่ได้ฮาร์ดคอร์มากเลยรู้สึกว่าถ้าเรื่องนี้มันมาทำงานกับเราก็เชื่อว่ามันมีคนดูที่รู้สึกแบบเดียวกับเป้าหมายช่วงต้นนั้นก็เน้นเลือกหนังที่มันมีความสนุกอยู่ ไม่ถึงขนาดดูแล้วต้องเครียดมากหรือว่าหลับเพราะมันน่าเบื่อสุดๆ ก็เลือกหนังที่คนดูแล้วน่าจะมีความบันเทิงอยู่ในความเป็นหนังสารคดีของมันอะไรแบบนี้ ส่วนที่สองคือเลือกประเด็นที่มันค่อนข้างหลากหลาย เบื้องต้นก็เลือกประเด็นทีคิดว่าคนต้องสนใจเรื่องแบบนี้อยู่ จริงๆ สิ่งนี้ตอนเริ่มต้นเราก็ไม่รู้ เริ่มต้นเรื่องแรกที่ฉายคือเรื่อง Finding Vivian Maier ซึ่งเป็นหนังเกี่ยวการถ่ายภาพสตรีท ตอนนั้นก็นึกแค่ว่าหนังมันดัง ใจเราดูแล้วรู้สึกสนุกก็คิดแค่นั้น แต่พอตอนเริ่มเอาเข้ามาโปรโมท เริ่มฉายก็พบว่ามันมีประเด็นอื่นที่มากกว่านั้น เช่นคนที่มีความคลั่งไคล้เรื่องการถ่ายภาพ คนที่มีความคลั่งไคล้ของวิถีชีวิตของตัวละครแบบนี้ เรารู้สึกเลยว่าที่จริงหนังสารคดีแต่ละเรื่องนั้นมีประเด็นที่มันสัมผัสกับคนในหลายๆ แบบหรือสัมผัสกับไลฟ์สไตล์หลายๆ แบบเพราะฉะนั้นสิ่งที่สังเกตได้จากตอนที่เอา Finding Vivian Maier มาฉายก็เลยสังเกตเรื่องแบบนี้มากขึ้น หนังเรื่องนี้มีไลฟ์สไตล์ตรงกับคนกลุ่มไหน หาหนังที่มันตอบสนองคนหลายๆ กลุ่มประมาณนี้โรงฉายสนับสนุนอย่างไรบ้าง เขาจัดโรงฉายให้เราอย่างไรมีทั้ง 2 แบบคือจากที่คุยแล้วมันเป็นหนังแบบ Exclusive SF ในแง่ของสาขานั้นเขาจะล็อกไว้เลยว่า Positioning ของหนัง Exclusive นั้นเขาต้องการให้ปักหลักอยู่ที่เซ็นทรัลเวิลด์ เพราะเขาอาจต้องการสร้างแบรนด์ให้สาขานั้นเป็นแบบนั้นและเขาก็อาจจะมองว่าโดยตำแหน่งอยู่ใจกลางเมือง บางทีก็มาจากเราด้วยที่คิดว่าบางทีหนังเรื่องหนึ่งอาจจะไม่กว้างมาก กลุ่มอาจจะแคบหน่อยก็อาจจะไม่ต้องเปิดโรงกว้างให้เรานะเพราะว่าทั้งเราและเขาความต้องการอย่างหนึ่งของโรงหนัง คือถึงแม้ว่าหนังเราจะเป็นหนังเล็ก ยอดรายได้ต่ำเมื่อเทียบกับหนังปกติแต่ว่าสิ่งที่เป็นความสุขของโรง คือการเห็นว่าทุกรอบมันไม่ได้เสียเปล่า ดังนั้นเมื่อเราเห็นว่าหนังเรื่องนี้กว้างได้ เรื่องนี้ไม่ต้องกว้าง บางครั้งก็คือมาจากเราที่อยากเอาโรงขนาดเล็กๆ พอเพราะภาพที่อยากเห็นคือมีคนเยอะทุกรอบ โรงก็จะให้ความสำคัญกับสิ่งนี้เพราะการฉายทีหนึ่งมีคนดู 5 คน 10 คนมันสิ้นเปลืองผลของการฉายที่ผ่านมานี่คือเป็นที่น่าพอใจไหมค่อนข้างดี ในเชิงธุรกิจก็บริหารจัดการให้เป้าง่ายๆ คือทุกเรื่องอย่าขาดทุน ตั้งเป้าไว้ตั้งแต่ตอนฉายโรงเลยเพื่อที่แง่หนึ่งคือเราก็ไม่ใช่นักธุรกิจที่ทำอันนี้เต็มตัว แต่เราก็ทำหล่อเลี้ยงจิตใจด้วยดังนั้นถ้าทำให้มันไม่แบกรับความเครียดต้องเป็นหนี้สะสมอะไรแบบนั้น ดังนั้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาทั้งหมดโดยเฉพาะครึ่งปีหลังนั้นค่อนข้างจะเข้าที่ อย่างที่บอกว่าคนดูก็สนับสนุนเพราะฉะนั้นแต่ละเรื่องก็ค่อนข้างจะโอเค ก็มีเรื่องที่ได้มากบ้างน้อยบ้างแต่ในเรื่องที่น้อยก็ยังรอดตัว เรามองในเชิงที่ว่าในเรื่องที่มันน้อยนั้นเพราะคอนเทนต์มันยากขึ้น มันเฉพาะกลุ่มแต่เราก็มองในเชิงที่ว่ามันก็คือการสร้างกลุ่มคนที่หลากหลายขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเราหวังแค่นั้น ที่ปกติคนที่ไม่ดูหนังสารคดีเลยหรือบางคนเลิกดูหนังโรงไปแล้วเราก็หวังว่าจะสร้างคนกลุ่มนี้มาเป็นคนดูเรื่อยๆ ตอนนี้มีเทรนด์ที่น่าสนใจ คือเริ่มมีกลุ่มคนดูที่รวมตัวกันเอง ตอนนี้มีขึ้นมา 3 เพจคือเพจคนขอนแก่น เพจชาวเชียงใหม่และเพจชาวหาดใหญ่ ซึ่งก็มาจากพวกเรายุกันให้เปิดตัวขึ้นมา ซึ่งคนพวกนี้สำคัญซึ่งเขาก็จะรวมตัวกันเรียกร้องโรงหนัง และบางเพจก็จัดฉายเองตามหอประชุมมหาวิทยาลัยบ้าง ถือว่าเทรนด์แบบนี้ต้องกระพือขึ้นมาไม่อย่างนั้นในวงการก็จะถูกรายใหญ่แช่แข็งอยู่แบบนี้(อุปสรรคคือรอบน้อย วันน้อย โรงน้อย)ใช่ น้อยทุกอย่างเลย (หัวเราะ) ตอนนี้จะเพิ่มไปที่เซ็นทรัลพระราม 9 หรือไม่ก็เซ็นทรัลลาดพร้าว อนาคตของ Documentary Club ต่อไปจะเป็นอย่างไรตอนนี้สิ่งที่อยากทำคือพยายามหาช่องทางให้มันได้ออกไปกว้างขึ้น ไม่ว่าจะในแง่ภายใต้ระบบเดิมหรือการพยายามให้มันได้ไปฉายในโรงต่างจังหวัดด้วยวิธีใดก็ตามแต่ กับการพยายามทำงานกับกลุ่มคนดู เราก็พยายามกระตุ้นคนดู รวมทั้งมองหาช่องทางอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะ TV VOD (Video on demand) จึงคิดว่าเราต้องมองหาช่องทางที่จะทำให้หนังเราไปถึงคนดูแบบนี้ได้แล้วเพราะว่าจริงๆ ตอนนี้ฉายอยู่ในโรงเดียวคือทำไมมันถึงแคบขนาดนี้  ในส่วนของการเลือกหนังมาฉายตอนนี้กำลังพยายามหาเพิ่มเข้ามา ในปีนี้ช่วงเดือนกุมภาพันธ์จะเริ่มมีสารคดีจากอินโดนีเซียและกลางปีจะมีญี่ปุ่น เพิ่งคุยกับหอศิลป์ว่าอยากจัดสารคดีอาเซียนด้วยกัน ต้องเริ่มขยายมาทางนี้บ้าง ปัจจุบันมีช่องทางให้ผู้บริโภคดูฟรีเยอะ พฤติกรรมของคนไทยแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อวงการหนังหรือการเอาหนังเข้ามาฉายอย่างไรบ้าง หรือผู้บริโภคจะมีทางเลือกอย่างไรคือพี่ไม่มีปัญหาในการดูบิทอะไรเลยหรือแม้แต่ดู Netflix(บริการดูหนังออนไลน์) เองคือในแง่คนทำหนังเราเองก็กระทบนะอย่างเรื่อง Iris (Iris เปรี้ยวที่ใจ วัยไม่เกี่ยว) นั้นยังฉายในโรงอยู่แต่เปิด Netflix มาก็มี ซึ่งเราก็ได้ผลกระทบแต่ถ้ามองในภาพรวมจริงเราค่อนข้างรู้สึกยินดีกับสิ่งเหล่านี้เพราะธรรมชาติของคนเสพทุกอย่างต้องการทางเลือก ต้องการความสะดวก ต้องการสิ่งที่มันคำนึงถึงพฤติกรรมของเราและตอนนี้เราอยู่บ้านดูได้เราไม่ต้องการถูกโรงบังคับว่าต้องดูแต่หนังที่เขาเอามาฉาย คือรู้สึกว่าพวกนี้มันคือการสร้างวัฒนธรรมการดูเพราะว่าในที่สุดเราต้องการให้ทุกคนดูสิ่งที่หลากหลาย และอยากให้ทุกคนเลือกเสพและมีโอกาสที่จะเข้าถึง แต่ถามว่าพฤติกรรมการดูของคนจะเปลี่ยนไหม หมายถึงว่าคนจะเลิกดูหนังโรงเหรอ จะดูแต่หนังอยู่บ้านเหรอ จะโหลดบิทอย่างเดียวเหรอ พี่คิดว่าไม่ใช่ คนเราไม่มีพฤติกรรมที่มันสุดขั้วเพราะว่าในที่สุดแล้วเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการดูหนังโรงมันก็เป็นความสนุกอยู่ดีหรือการที่มีสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่ได้เจอเพื่อน กินข้าว ดูหนัง มันมีสิ่งอื่นที่ห่อหุ้มพฤติกรรมเหล่านั้นมันจะยังอยู่ต่อไป แล้วค่ายหนังก็มีหน้าที่ปรับตัวเองต้องทำหนังให้มันน่าสนใจขึ้น ให้คนรู้สึกว่าเขาต้องออกจากบ้านเพื่อมาดูก็เป็นหน้าที่ ที่คุณต้องปรับตัว  แต่คิดว่าสิ่งที่ปรับตัวช้าที่สุดในบรรดาเหล่านี้ก็คือโรงหนัง คิดว่าโรงหนังไม่ได้ไหวตัวกับความต้องการที่เปลี่ยนไปของคน เพราะทุกวันนี้คนมาดูหนังโรงนั้นไม่ได้ต้องการแค่มาดูในโรง มี 3 มิติ มีควันแค่นี้จบ แต่ที่คนมาดูเพราะว่าเขาโหยหาการอยู่ในสังคม ไม่อย่างนั้นคนก็นั่งดูหนังอยู่บ้านหมดสิ ที่ยังออกมาดูหนังโรงเพราะมันมีสิ่งอื่นตอบสนองอยู่ ซึ่งโรงปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนไป โรงยังคิดว่าคำตอบคือการที่คุณขายป็อบคอร์น ขายโค้ก แต่เรารู้สึกว่าจิตวิญญาณของคนดูหนังมันแห้งลงเรื่อยๆ คิดว่าสิ่งที่จะกระทบมากที่สุดในระยะยาวคือโรงหนัง เพราะคนจะหมดอารมณ์ที่จะไปดูแล้วคุณก็จะบีบให้คนต้องไปดูอย่างอื่นซึ่งจริงๆ เขาก็ไม่ได้อยากดูสถานการณ์ของการดูหนังปัจจุบันที่ส่งผลกระทบกับผู้บริโภคสำหรับคนดูทั่วๆ ไปที่คิดว่าเป็นปัญหาและได้ยินบ่อยก็คือเรื่องราคาเพราะค่าตั๋วโดยเฉลี่ยนั้นถ้าเป็นโรงใจกลางเมืองมันคือ 160 – 180 บาทขึ้นไป ซึ่งโรงก็พยายามเพิ่มฟังก์ชั่นตามค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเป็นโรงหนัง 4 มิติ เป็นแพ็กเกจโซฟาคู่ ซึ่งอาจจะมีคนพูดว่า ไม่อยากเลือกแบบนี้ก็ดูโรงธรรมดาแต่ฟังก์ชั่นของแบบธรรมดาราคามันก็ขึ้นเรื่อยๆ ตามโลเคชั่น และยังไม่รวมพวกสิ่งต่อพ่วงทั้งหลาย ค่าเครื่องดื่ม ป็อบคอร์น มีคนบอกว่าเวลาไปดูหนังทีหมดเงินเป็นพัน เนื่องจากโรงหนังมันอยู่ในห้าง จึงไม่มีทางเลือกที่จะบริโภคอย่างอื่น ซึ่งราคามันก็แพง โดยทั่วไปโรงหนังมักจะมีข้ออ้างว่าลงทุนสูง เป็นความบันเทิงราคาถูกที่สุดแล้วเมื่อเทียบกับคอนเสิร์ตหรืออะไรก็ตาม แต่ในความจริงแม้จะเป็นความบันเทิงราคาถูกก็ตามมันก็ยังแพงสำหรับผู้บริโภคอยู่ดี โดยเฉพาะในปัจจุบันมีทางเลือกมากขึ้น เช่นล่าสุดการเข้ามาของ Netflix ซึ่งสามารถจ่ายเงินเดือนละ 100 – 200 กว่าบาทเดือนหนึ่งดูหนังได้ไม่เลือก แม้การดูหนังที่ในโรงภาพยนตร์ เราก็ยังรู้สึกว่ามันเป็นความบันเทิงที่สำคัญในชีวิตอยู่ แต่เราก็มีความรู้สึกว่าเราเลือกมากขึ้น อันนี้คือในแง่ของค่าใช้จ่าย ขณะเดียวกันในแง่ของคนดูในเชิงวัฒนธรรมจะเป็นปัญหาที่เจอเยอะที่สุดเลยคือ โรงหนังนั้นเป็นทางเลือกที่ไม่ดีพอสำหรับคนดูหนังในเชิงวัฒนธรรม หมายความว่าตอนนี้เวลาที่มีหนังใหญ่เปิดตัวทีหนึ่งนั้นหนังใหญ่กินพื้นที่โรง 80 - 90 %  ของจำนวนโรง พื้นที่ส่วนใหญ่หมดไปกับการให้หนังกระแสหลัก หนังทางเลือกในเชิงวัฒนธรรมนั้นก็ไม่มีพื้นที่รองรับ ปัญหาที่เจอกันตอนนี้คือว่า หนังเล็กนั้นโรงไม่เหลียวแล โรงให้รอบแบบพอเป็นพิธี แล้วพอมันไม่มีคนดูตอบสนองด้วยตัวเลขที่มากพอในความคิดของเขาก็โดนตัดรอบ มันจึงเป็นวงจรทางธุรกิจที่แก้ไขไม่ได้ โรงก็ผูกขาดขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ก็เหลือ 2 ค่ายใหญ่ที่แข่งกันแล้วเบียดบี้จนรายเล็กรายน้อยตายหมด คือไม่ว่าจะในเชิงเศรษฐกิจหรือเชิงวัฒนธรรมนั้นการดูหนังเป็นทางเลือกที่หดแคบลงทุกทีสำหรับคนดู

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 178 กฎหมายเครื่องสำอางกับก้าวที่ยังไม่ทันกลยุทธ์การขาย

ตอนแรกผมมองปัญหาเครื่องสำอางเป็นปัญหาเล็กๆ แต่พอได้ศึกษาดูแล้วมันกลายเป็นปัญหาที่ผมมองว่าเป็นระดับชาติและมูลค่าเศรษฐกิจตรงนี้ปีหนึ่งเป็นพันล้าน เพราะคิดต่อคนต่อเดือนประมาณ 2,000 บาทเป็นอย่างน้อย พ.ร.บ.เครื่องสำอางฉบับใหม่ได้รับการปรับปรุงและประกาศในราชกิจจานุเบกษา 8 กันยายน2558ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ด้วยเหตุผลหนึ่งคือการที่ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กรณีการประกอบธุรกิจเครื่องสำอางในสื่อโซเชียลและการคุ้มครองผู้บริโภคยังมีเรื่องสำคัญที่น่าพิจารณา และเพื่อให้มองรอบด้าน เราจึงไปขอความรู้จาก อัครเดช มณีภาค* ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความสนใจและลงมือศึกษาอย่างจริงจังในเรื่องของกฎหมายเครื่องสำอางเป็นพิเศษ ทำไมถึงมาสนใจเรื่องเครื่องสำอางกฎหมายเครื่องสำอางของบ้านเรานับว่า ทันสมัย ย้อนหลังกลับไปเมื่อ 4 – 5 ปีที่แล้วมีแนวความคิดว่าเรากำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และมีข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดทำกฎหมายเครื่องสำอางให้เป็นไปตามบทบัญญัติอาเซียน ซึ่งล่าสุดเรามี พ.ร.บ. เครื่องสำอางฉบับใหม่ประกาศใช้แล้ว นับว่าทันสมัยยิ่งขึ้น แต่กว่าจะผ่านก็ใช้เวลานานพอสมควร ส่วนเหตุผลที่ทำให้ผมสนใจเรื่องนี้เพราะในสังคมปัจจุบันการซื้อขายเครื่องสำอางมันมีวิวัฒนาการก้าวกระโดด จากที่แต่เดิมการเลือกใช้เครื่องสำอางเราจะเลือกซื้อของที่ตลาด ตามห้างสรรพสินค้าปลีกย่อยต่างๆ นี่คือวิถีในการเลือกซื้อทั่วไป แต่ 5 – 6 ปีที่ผ่านมานั้น มีสื่อในโลกโซเชียลเพิ่มมากขึ้น การซื้อขายกรณีเครื่องสำอางนั้นจึงมีหลากหลาย ใครก็สามารถเข้าถึงได้รวดเร็วไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊คหรือไลน์ นี่คือสังคมปัจจุบันที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็วและนำไปสู่อาชีพใหม่เกิดขึ้นมานั่นคือ อาชีพของนักศึกษาในการเข้าสู่วงการธุรกิจเครื่องสำอาง *อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์และผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและกิจการพิเศษ รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม   ในฐานะอาจารย์ผมเห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ นั่นคือ นักศึกษาไม่เพียงแค่เป็นคนซื้อ แต่พวกเขาได้เข้าสู่โลกของการเป็นคนขาย จากเดิมเป็นคนซื้อและทดลองใช้ พอใช้ได้ผลดี(กับตัวเอง) ก็ผันตัวเองมาเป็นคนขายและจัดจำหน่ายในรั้วมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนห้องหนึ่งสมมุติมีนักศึกษาจำนวน 100 คน มีคนขายประมาณ 20 คนและอีก 50 คนเป็นคนซื้อ เรื่องนี้มีข้อที่พึงระวัง เพราะลักษณะนี้มันเป็นการขายตรงรูปแบบหนึ่งต้องถูกกำกับดูแลของ พ.ร.บขายตรงและตลาดแบบตรง ข้อที่ควรระวังมากกว่านั้นจากการสัมภาษณ์และสอบถามนักศึกษาคือ เขาไม่ได้สนใจว่าจะมี อย. หรือไม่คือไม่ได้สนใจความปลอดภัยเลย สนใจแต่ความขาว เด้ง ฟรุ้งฟริ้ง คนที่ขายก็ต้องลองกับตัวเอง(ได้ผล)เพื่อให้คนซื้อเชื่อ   ประเด็นนักศึกษาซื้อขายกันเองกฎหมายที่กล่าวมานั้นจะดูแลตรงส่วนนี้ได้อย่างไรบ้างถ้าเกิดความเสียหายก็ต้องไปเรียกร้องกับผู้จำหน่ายและบริษัท ทีนี้ผู้จำหน่ายก็คือเพื่อนเราใช่ไหมที่ขายสินค้ามา คือต้องย้อนกลับไปทฤษฎีเดิม ซึ่งเกิดจากการเลือกใช้ต้องไปเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้จำหน่าย ปัญหาที่ตามมาคือว่า โรงงานที่ผลิตไม่ใช่โรงงานใหญ่ เป็นโรงงานขนาดเล็กและตัวสินค้าไม่มี อย. เท่ากับว่าผู้ซื้อนั้นเสี่ยงภัย ประเด็นนี้มีเยอะเลย ซึ่งไม่ได้เกิดกับของที่สั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ตเท่านั้น เป็นการซื้อขายตรง พอมีเรื่องเกิดขึ้นเกิดผลกระทบคนขายเขาก็บอกหน้าเขาใช้ไม่เคยมีปัญหาอะไร คือว่าเครื่องสำอางถูกกับใบหน้าของคนหนึ่งแต่ไม่ถูกกับอีกคนหนึ่งอันนี้ก็เป็นอีกประเด็น คนขายก็เลยกลายเป็นว่าไปโทษปัจจัยอื่น หาว่าคนที่ซื้อไปนอนดึกเลยใช้ไม่เห็นผล ประเด็นนี้เคยมีกรณีคนที่ถูกฟ้องต่อสู้กันจนถึงศาลฎีกา เป็นประเด็นว่าคนที่ซื้อไปใช้ไปตากแดดไม่ได้เกี่ยวกับเครื่องสำอางโดยตรง   กรณีเครื่องสำอางที่นักศึกษาไม้ค่อยมาร้องเรียนคิดว่าเป็นเพราะอะไรปัญหาคือคนใช้(ยอม)เสี่ยงภัย แล้วบ้านเราเป็นประเภทไม่กล้าที่จะขายความโง่ของตัวเอง ไม่บอกใครเก็บเรื่องไว้คนเดียว นี่คือพูดกันตรงๆ ทุกวันนี้ตัวผมเองไม่ว่าจะไปซื้อสินค้าอะไรมาใช้รวมถึงพวกโทรศัพท์ พลาดไปก็ไม่กล้าบอกใคร   เครื่องสำอางที่เด็กๆ ขายกันนั้นฉลากน่าจะไม่สมบูรณ์ด้วยหรือเปล่า เช่น คำเตือนว่าใช้แล้วห้ามทำแบบนั้น ห้ามทำแบบนี้ มี แต่ฉลากก็ทำขึ้นมาเองและบางกรณีก็ไม่มีฉลากส่วนใหญ่ไม่มี ซึ่งโรงงานผลิตทุกวันนี้เกิดขึ้นมากและบางทีตั้งในกลางกรุงด้วยซ้ำล่าสุด(อย)สคบและตำรวจกองปราบ จับโรงงานใหญ่ที่วังหิน เป็นโรงงานเถื่อน และเดี๋ยวนี้มีรอบๆๆมหาวิทยาลัยน่าจะมีเกือบทุกมหาลัยเลยแต่น่ายังไม่มีใครศึกษาเราเคยได้ยินแต่ร้านเหล้ารอบๆๆมหาลัย ประเด็นนี้น่าคิด ตอนแรกผมมองปัญหาเครื่องสำอางเป็นปัญหาเล็กๆ แต่พอได้ศึกษาดูแล้วมันกลายเป็นปัญหาที่ผมมองว่าเป็นระดับชาติและมูลค่าเศรษฐกิจตรงนี้ปีหนึ่งเป็นพันล้าน เพราะคิดต่อคนต่อเดือนประมาณ 2,000 บาทเป็นอย่างน้อย ผมเคยสัมภาษณ์มาแล้ว แล้วโรงงานเล็กๆ ลงทุน 10 ล้านแต่เขาขายได้กำไร 50 ล้านบาทต่อเดือน โคตรคุ้มเลย แล้วไม่ต้องไปขายเองด้วยผลิตอย่างเดียวแล้วจะมีนายหน้าเข้ามารับแล้วก็ใช้นักศึกษาเป็นคนปล่อยสินค้า   แล้วคนขายไม่ต้องขออนุญาตหรือเป็นเรื่องคนขอผลิต เพราะขอผลิตไปแล้วนั้นผลิตแล้วผลิตเลย หมายความว่าสมมุติผมเป็นเจ้าของยี่ห้อเครื่องสำอางยี่ห้อหนึ่งก็ไปจ้างผลิต ผมก็เป็นเจ้าของแบรนด์แล้วก็ไปจดแจ้ง โรงงานก็ต้องไปจดแจ้งด้วย ซึ่งมันง่ายมากในการที่ใครสักคนอยากจะมีแบรนด์เครื่องสำอางของตัวเอง ทุกคนก็ยังสามารถที่จะเป็นเจ้าของแบรนด์ได้ มีเงินสัก 50,000 บาทก็ทำได้ ค่าธรรมเนียมจดแจ้งก็ไม่แพงแล้วก็รอ อย. ประกาศ ซึ่งบ้านเราเป็นลักษณะแบบนี้ คือควบคุมบวกส่งเสริม มันไม่ได้เป็นเหมือนสินค้าควบคุมแบบเครื่องมือแพทย์หรือยา   ในมุมมองของอาจารย์คือเรื่องเครื่องสำอางก่อนที่จะได้เกิดการซื้อขายมันต้องเข้มขึ้นกว่าเดิมใช่ มุมมองผมคือให้ไปควบคุมกระบวนการผลิตส่วนผสม สารเคมี ไม่ใช่ควบคุมที่การโฆษณา คือควบคุมโฆษณานั้นมันจะควบคุมเฉพาะบริษัทยักษ์ใหญ่เพราะเขาจ้างโฆษณาแต่โฆษณารายย่อยอย่างสื่อโซเชียลเช่น เฟสบุ๊ค/Lineทุกวันนี้เปิดขึ้นมาขายของทั้งนั้นเลย แล้วบริษัทยักษ์ใหญ่ก็ไม่ค่อยทำผิดกฎหมายในเรื่องกระบวนการผลิตอยู่แล้ว แต่บริษัทเล็กๆ นั้นจะมีปัญหาด้านการผลิต ส่วนผสมที่เป็นเคมี สารต้องห้าม คือผลิตลงทุน 5 – 10 ล้านบาทแค่นั้นเอง ได้กำไรเกือบ50ล้าน ควบคุมการโฆษณาเหมือน กสทช.และอย/สคบ. นั้น ผมมองว่ามันเป็นปลายเหตุ เพราะมันช้ากว่าจะประกาศยกเลิก กว่าจะดำเนินการอะไรต่างๆ นั้นคนขายรวยไปแล้ว และตอนนี้เขาไม่ได้ไปโฆษณาที่ไหนแล้วเขาขายตรงถึงมือเลย เอาไปทดลองใช้ชึ้งเกิดในหมู่วัยรุ่นวัยมัธยมแล้ว และเรื่องนี้ก็ยังไม่มีใครศึกษาอย่างจริงจัง ผมเคยขึ้นไปสอบ คณะกรรมการถามว่าจะเอาไปเป็นอาชญากรรมหรือ? ก็น่าคิดนะ เพรารัฐบาลสนับสนุนด้านเศรษฐกิจ แต่เราก็มองถึงความปลอดภัย   อย่างนี้คนจะไม่ว่าว่าเป็นการตัดช่องทางทำมาหากินของบริษัทเล็กๆ เหรอไม่ใช่ คือมองว่าความปลอดภัยของผู้บริโภคต้องมาก่อนอันดับหนึ่ง ตอนนี้กลายเป็นว่ามันเป็นธุรกิจช่องทางหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มองถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค นานๆ ทีจะได้เห็นทลายแหล่งผลิตเครื่องสำอางปลอมซึ่งเป็นเรื่องที่ดี   แล้วมีอีกช่องทางหนึ่งคือไม่ได้ผลิตแต่บอกว่านำเข้าจากเกาหลีมันคืออันนี้เลย มันไม่ได้เกาหลีมันคือที่นี่ ผลิตที่เมืองไทย เป็นฉลากปลอมและทุกวันนี้สินค้าที่บางคนบอกว่าเป็นสินค้าปลอดภาษีแต่นั่นคือของปลอม คือบ้านเรามีแบบผลิตเอง ทำเอง แบรนด์ตัวเอง แบบที่สองคือแบรนด์ต่างประเทศผลิตในเมืองไทยนี้แหล่ะแต่ปลอมมา แล้วทำเนียนด้วย เหมือนเลย รู้สึกว่าสินค้าที่ได้รับการปลอมมากที่สุดคือยี่ห้อชิเซโด้ มีการปลอมเยอะมาก ลูกศิษย์ผมก็เอามาขายผมยังซื้อไว้เลยซื้อให้แฟน แฟนบอกของปลอม คนที่เคยใช้เขาเปิดดูแล้วรู้เลย คือมันไม่ใช่สินค้าปลอดภาษีแต่นี่คือของปลอม แต่กลยุทธ์ทางการขายคือบอกว่ามันถูกเพราะ Duty Free แล้วคนที่ไม่เคยใช้ก็คิดว่ามันเป็นของแท้ ในมุมมองของนักกฎหมายคิดว่าผู้บริโภคไทยได้ใช้สิทธิ ได้ทำหน้าที่ของตนเองได้ดีพอหรือยัง การใช้สิทธิของตนเอง ในทุกเรื่องเลยนะผมว่าน้อย ยกตัวอย่างคดีข่มขืนกระทำชำเรานั้นมีการไปแจ้งความร้องทุกข์น้อยมาก ใน 1 ปีมีคดีแบบนี้เป็นพันแต่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมนั้นไม่ถึงหลักร้อย อย่าคดีคุ้มครองผู้บริโภคผู้ได้รับผลการกระทบสิทธิใช้สิทธิของตัวเองน้อยมาก การทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เจาะไปที่เรื่องเครื่องสำอางก็ได้ ณ ปัจจุบันนี้คือ สิทธิของเราถูกปกป้องน้อยมากและตัวคนที่เลือกซื้อเครื่องสำอางเองก็ตามมีความอับอาย ผู้ซื้อยอมเสี่ยงภัยเข้าไปซื้อเอง คือรู้ว่ามีความเสี่ยงแต่ก็ยอมเพื่อความสวย ความงาม มันก็เลยเกิดความอับอาย   ยกตัวอย่างให้ฟังได้ไหมคดีอันเกิดจากเครื่องสำอางเอาเคสที่เป็นคดีเลยละกันนะ ผมขอเรียกว่าเคสคุณปัญญาได้รับผลกระทบจากการใช้เครื่องสำอางลักษณะใบหน้าผุผัง ลอก ดำ ซึ้งผมได้ไปสัมภาษณ์และได้พูดคุยและให้ความช่วยเหลือในระดับหนึ่งและก็ได้รับความช่วยเหลือเบื้องต้นจาก(อย)ในค่าใช้จ่ายเดินทางไปหาหมอ เกือบ 10 ปีศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหาย ยังไม่ได้เงินเยียวยา ทุกวันนี้คดียังอยู่ในศาลฎีกาเกือบ10 ปียังไม่ได้รับเงินเยียวยา   อาจารย์คิดว่าอยากให้มีอะไรเพิ่มเติมในกฎหมาย พอประกาศใช้กฎหมายเครื่องสำอางฉบับใหม่เราไปอิงในบทบัญญัติอาเซียนซึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้นเขาก็ยังไม่มีทีท่าที่จะทำให้มันเป็นไปตามบทบัญญัติอาเซียน ยกเว้นไทยและสิงคโปร์ และ ในอนาคตมีเรื่องพิจารณา 2 เรื่องคือการเยียวยาข้ามแดนและการเลือกซื้อเครื่องสำอางข้ามแดน เช่น เราซื้อเครื่องสำอางจากพม่ามาใช้แล้วเกิดความเสียหายก็เอาผิดกับใครไม่ได้ แต่ถ้าคนพม่ามาซื้อเรา เรามีความคิดว่าจะเยียวยาข้ามแดนให้เขาซึ่งตอนนี้ยังไม่มีการเยียวยาผู้บริโภคข้ามแดนกรณีนี้ก็มีการจัดสัมมนาและพูดคุยกันอยู่ในประเด็นนี้   อาจารย์มีอะไรที่จะฝากในช่วงท้าย ปัญหาเรื่องเครื่องสำอางจะถูกพูดถึงน้อยกว่าเรื่องอื่นๆอาจเป็นเพราะผลกระทบต่อผู้บริโภคนั้นไม่ได้เกิดในทันทีทันใดแต่พอใช้เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐานไปนานๆๆนั้นจะกระทบต่อร่างกายเหมือนตายผ่อนส่ง ซึ่งคิดว่าควรเอาเรื่องนี้มาเป็นประเด็นมากขึ้นเอาไปเป็นนโยบายเลย การคุ้มครองผู้บริโภคด้านเครื่องสำอางควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการผลิต ส่วนผสม และกระบวนการกำกับดูแลติดตามตรวจสอบหลังจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพ ควรมีกองทุนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้เครื่องสำอาง และเน้นให้ความรู้ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายผู้ประกอบการเครื่องสำอางรายเล็กๆๆให้มีประสิทธิภาพ การควบคุมและกำกับดูแลเครื่องสำอางในปัจจุบันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นได้บูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กสทช. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ถือว่าเป็นหลักประกันสิทธิผู้บริโภค อันนี้ส่วนราชการยังมีองค์กรหรือหน่วยงานที่มาช่วยขับเคลื่อนสิทธิของผู้บริโภค เช่น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค องค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภค มาบูรณาการการทำงานร่วมงาน เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคและส่งเสริมเครื่องสำอางไทยให้มีคุณภาพและปลอดภัย  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 177 เม้งไกเวอร์ ยอดคนพลังงานแสงอาทิตย์

ดร.สมพร ช่วยอารีย์ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ และอาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยากรคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี   อาจารย์เม้งท่านสอนทางด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์ แต่ก็มีความสนใจจนกลายเป็นความเชี่ยวชาญเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ลำดับต้นๆ ของประเทศ นอกจากความรู้จากปากท่านแล้ว ทุกๆ วันอาจารย์เม้งยังพกพาแผงโซล่าร์เซลล์ขนาดกะทัดรัดไปด้วยเกือบทุกหนแห่ง ไฟฟ้าจากแผงเล็กนี้สามารถชาร์ตแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ ซึ่งนอกจากมันจะใช้ประโยขน์กับเขาเองแล้วแล้วยังเป็นสื่อการสอนสำหรับผู้สนใจด้วยสนใจประเด็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ตั้งแต่เมื่อไรจริงๆ สนใจมานานแล้วในส่วนของพลังงานแต่ได้มาเริ่มทดลองก็ประมาณ 2 ปีที่แล้ว ลองค้นหาในอินเตอร์เน็ตว่าแผงโซล่าเซลล์จะหาซื้อได้ที่ไหนบ้างในสุราษฎร์ธานี ตอนแรกก็ต้องหาในกรุงเทพฯ แต่ไปๆ มาๆ ก็มีคนที่ทำธุรกิจด้านนี้ที่สุราษฎร์ฯ ผมจึงเข้าไปพูดคุยกับเขาถึงแนวคิดหลักการ ราคา และพวกการติดตั้ง สุดท้ายก็ซื้ออุปกรณ์มาและลองติดตั้งเองเลย ตอนนั้นซื้อมา 1 แผง 140 วัตต์ ราคาตอนนั้นประมาณ 6,500 บาท ซื้อแบตเตอรี่ 150 แอมป์ 12 โวลต์มา 1 ก้อน ราคาประมาณ 6,300 บาท ซื้ออุปกรณ์ควบคุมการประจุไฟจากแผงลงแบตฯ อีกประมาณ 2,100 บาท ส่วนพวกอุปกรณ์สายไฟก็หาซื้อเองได้ ปั๊มน้ำ12 โวลต์ที่จะสูบขึ้นไปจากถังเข้าท่อประปาภายในบ้านนั้นก็ราคาประมาณ 2,500 บาท อันนี้ก็ประมาณเบื้องต้น หลอดไฟหลอดละ 200 บาท ซื้อมาประมาณ 6 หลอด ก็ทดลองใช้ไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกมีความสุขมากขึ้น ทำแผงให้พ่อกับแม่สามารถที่จะหมุนแผงไปตามแสงอาทิตย์ได้เป็นแบบอัตโนมือ ในขณะเดียวกันผมก็รู้สึกถูกใจอยากทำเองด้วยเพราะผมอยู่ที่ปัตตานีไม่ใช่นครศรีธรรมราช ก็ทดลองที่ปัตตานีด้วยและทำที่นครฯ เพิ่มขึ้น จากที่ได้ทดลองใช้ไปประมาณ 1 – 2 เดือนก็รู้สึกว่ามันเริ่มจะเข้าท่า จึงซื้อแผง 120 วัตต์มาแต่ราคาถูกกว่าเดิมนะ ซื้อมา 4,800 บาท ถูกกว่าที่สุราษฎร์ฯ เกือบ 2,000 บาท แต่แผงเป็นคนละชนิดกันอันแรกเป็นโมโนคริสตัลไลน์ (Mono Crystalline) อันที่ 2 เป็นโพลีคริสตัลไลน์ (Poly Crystaline) ซึ่งจริงๆ แล้วราคาในปัจจุบันก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก และในด้านคุณภาพโมโนฯ จะรับแสงได้ดีกว่า แต่ในประเทศไทยใช้โพลีฯ ก็เพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องไปซื้อแพงมาก พอผมใช้มาได้ 1 ปีเนื่องจากทางภาคใต้มีการรุกของโรงไฟฟ้าถ่านหินด้วย เราก็พยายามหาทางออกว่ามันมีทางอื่นไหมนอกจากถ่านหินซึ่งมันสอดรับกันพอดี จึงโยนโจทย์ไปที่แสงแดดเพราะมันมีทุกวัน ลองดูว่าแต่ละวันสามารถลดอะไรได้บ้างไหม ก็ทดลองทำปี 2557 ก็มีเวที ค.1 (กระบวนการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) นั้น ได้ออกแบบให้มีการรับฟังความคิดเห็นไว้ 3 ขั้นตอน คือ การรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 หรือ ค.1 เพื่อเป็นเวทีใหญ่ในการรับฟังข้อห่วงใยจากชุมชน ค.2 เพื่อเป็นเวทีย่อยในการรับฟังความเห็นเฉพาะกลุ่ม แล้วนำไปประมวลเพื่อศึกษาผลกระทบและการป้องกันจนการทำรายงาน EHIA เสร็จสิ้น จึงจัดเวที ค.3 เพื่อแจ้งแนวทางทั้งหมดแก่ชุมชนและรับฟังเสียงสะท้อนจากชุมชนเป็นครั้งสุดท้าย) พอดี ผมจึงจัดการนำเสนอและสับคัทเอ้าท์ในวันนั้นเพื่อจะใช้ไฟของตัวเอง ผ่านมา 1 ปีก็พร้อมที่จะจัดการได้ ค่าไฟจากที่เคยอยู่ที่ 500 – 600 บาทก็ลงมาเรื่อยๆ เป็น 400 , 250 ,100 ลงมาเรื่อยถึง 80 จนทุกวันนี้คงที่อยู่ที่ 40.90 บาท บางเดือนก็ 44.38 บาท คือใช้ 0 หน่วย แต่มิเตอร์ของการไฟฟ้านั้นเป็นมิเตอร์ 10 แอมป์ บ้านเรือนที่ใช้ 5 แอมป์ขึ้นไปต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ที่ชาวบ้านใช้ปกติก็ 5 แอมป์ถ้าใช้ไม่เกิน 50 หน่วยก็ฟรี เพียงแต่ของผมนั้นเป็น 10 แอมป์จึงต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ส่วนบ้านของพ่อกับแม่นั้นจะเป็นแบบ 5 แอมป์เขาก็ใช้ศูนย์บาทคือภายใน 50 หน่วย ผมให้เขาบริหารจัดการกันเอง สุดท้ายก็นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในครัวเรือนว่าแสงแดดก็สามารถแปลงเป็นพลังงานหลักได้ ที่เรียกว่าเป็นพลังงานหนุน พลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทนอะไรพวกนี้ คือทดแทนมันก็สามารถทดแทนได้บางส่วนเพราะฉะนั้นก็อยู่ที่เราออกแบบว่าจะให้มันทดแทนได้อย่างไร เพราะแสงแดดขนาดบ้านเรานี้สบายมาก ยิ่งตอนเช้าๆ แผงมันยังเย็นอยู่ อุณหภูมิอยู่ที่ 25 – 30 องศาฯ ไฟนี่มาเต็มเลยถ้าแผงได้ตั้งฉากกับตัวที่รังสีที่กระทบมาจะทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และเมื่อถึงเวลาประมาณเที่ยงวันก็อาจจะหมุนแผงไปตามแดดก็ได้ การหมุนตามแดดจะดีมากเลยก็คือจะได้ความเข้มแสงที่ชัดเจน   แต่ว่าจะมีข้อด้อยอยู่อย่างหนึ่งก็คือแสงพวกนี้เมื่อได้รับอุณหภูมิที่สูงขึ้นนั้นมันจะลดศักยภาพของมันเอง ยกตัวอย่างเช่นผมใช้ให้ใครไปทำงานขุดดินกลางแดดร้อนๆ มันก็เหนื่อย ถ้าผมเอาน้ำไปพรมให้เขา เขาก็รู้สึกว่ามันมีพลังขึ้นมา แผงโซล่าเซลล์ก็เหมือนกัน เราอาจจะใช้วิธีการพ่นหมอกฝอยๆ ทำบรรยากาศอุณหภูมิบริเวณนั้นให้มันต่ำอย่าให้เกิน 35 องศาฯ มันจะได้ประสิทธิภาพของไฟออกมาเต็มที่ อาจจะไม่ต้องพ่นตลอดเวลาก็ได้ แค่ทุกๆ 15 นาทีเพื่อให้บรรยากาศตรงนั้นไม่ร้อนมากนี่เป็นกระบวนการในการจัดการ ลมใต้แผงมันร้อนเราสามารถที่ผลักดันไปได้ นี่เป็นตัวอย่างๆ หนึ่ง หลังจากสับคัทเอ้าท์มาแล้วทุกวันนี้ก็จ่ายค่าไฟประมาณ 40 กว่าบาท ระหว่างนี้ก็เลยหาแนวทางที่จะขยายองค์ความรู้เหล่านี้ออกไปหาคน ทำให้คนได้เรียนรู้มากขึ้น มีการจัดอบรมที่บ้านเพราะนอกจากทำหลังคาแล้วผมมาทำที่รถยนต์ด้วย หลังคารถยนต์ก็เป็นแผงโซล่าเซลล์เหมือนกัน ด้านหน้าใส่ไดนาโมเข้าไป 3 – 4 ตัวแล้วก็ติดกังหันลม เวลาเราขับรถไปรถมันก็แปลงไฟเหล่านี้เข้ามาใช้ได้บางส่วน เช่น พัดลมแอร์ เวลาเราเปิดแอร์แต่ละเบอร์มันก็กินกระแสไฟแตกต่างกัน เบอร์ 4 นั้นกินอยู่ที่ 30 แอมป์ ก็เยอะมากถ้าเราเปิดตอนนี้แรงไดนาโมจะทำงานหนักทำให้เปลืองน้ำมันถ้าลดลงมาโดยตัดตรงนี้ออกมันก็ช่วยลดได้ส่วนหนึ่ง ช่วยลดกำลังของเครื่องยนต์ นี่เป็นตัวอย่าง แต่ว่าไม่ได้ใช้ทั้งคันเพราะเรายังต้องใช้น้ำมันเป็นหลักอยู่ แค่อันไหนที่เราลดได้ก็ลด ยกตัวอย่างเช่นแทนที่จะหุงข้าวไป สตาร์ทรถไปก็ปิดเครื่องยนต์เอารถมาตากแดดแล้วมันมีแบตฯ สำรองตั้งไว้หลังรถเพื่อจะเอามาหุงข้าวได้ระหว่างทางถ้าเราอยากจะปิกนิก ก็เป็นแนวทางการที่จะขับเคลื่อนคนให้ลองคิดลองทำ หลังจากนั้นก็ขยับขยายไปยังครัวเรือน ตอนนี้ก็มีไม่ต่ำกว่า 20 ครัวเรือนที่เขาเริ่มทำกันในละแวกที่ผมลงไปสัมผัสเองและยังมีอีกหลายคนในเครือข่ายบนเฟสบุคที่เขาเอาไปทำ ซึ่งผมคิดว่าแนวทางแบบนี้มันไปต่อได้ เป็นการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น ถ้าเราพึ่งตนเองได้เวลาไฟดับแต่บ้านเราไม่ดับ อย่างเวลามีระเบิดที่ปัตตานีทีหนึ่งใน ม.อ. จะมีไม่เกิน 3 หลังที่ยังสว่างอยู่ซึ่งตรงนี้นำไปสู่การวางแผนได้ คนที่เริ่มต้นใหม่ๆ เขาต้องลงทุนอะไรบ้างจะเห็นว่าเมื่อก่อนถ้าลงทุน 1 กิโลวัตต์น่าจะอยู่ราวๆ 80,000 – 1 แสนบาทแต่ว่าตอนนี้ลดลงมาเหลือไม่ถึง 50,000 บาทแล้วแต่ผมสามารถทำได้ประมาณ 37,000 บาทขึ้นอยู่กับระบบอะไร ซึ่งมันมีอยู่ 2 ระบบ อย่างแรกระบบ Stand alone คือใช้แบตเตอรี่ จะเอาไว้ตรงไหนก็ได้แค่มีแผง มีตัวควบคุมการชาร์จ มีแบตฯ และมีตัวแปลงเป็นไฟบ้านหรือว่าจะใช้ไฟตรงเลยก็ได้ มันเสร็จสรรพในตัวแต่ราคาอาจจะแพงหน่อยเพราะต้องซื้ออินเวอร์เตอร์และแบตฯ แต่ถ้าเอาค่าของ 2 อย่างนี้ไปซื้อ กริดไทอินเวอร์เตอร์ (Grid Tie Inverter) ก็จะมีตัวแผงมาเข้าสู่ Grid Tie แปลงเป็นไฟบ้านแล้วใช้ได้เลย ส่งไฟเข้าไปหนุนในบ้าน นั่นหมายความว่าถ้าใช้มากแต่ผลิตได้น้อยมันก็จะเอาไฟของการไฟฟ้ามาใช้ แต่ถ้าเราผลิตได้มากกว่าที่ใช้ไฟของเราก็จะไหลออกไปที่การไฟฟ้า อันนี้เป็นการเพิ่มความมั่นคงทางพลังงาน คือเมื่อไฟเราไหลออกไปที่การไฟฟ้านั้นมันจะทำให้ไฟที่มันตกอยู่เต็มได้ด้วยพลังที่เราเข้าไปเสริมแต่ต้องออกแบบว่าหม้อแปลงที่ชาวบ้านใช้กันอยู่ทั้งหมดรองรับได้ไหมถ้ามันเกินจะรับได้ก็จำเป็นต้องขยายขนาดหม้อแปลงให้มันรับได้ ซึ่งผมคิดว่ากระบวนการแบบนี้มันผ่าน ชาวบ้านอาจจะคิดว่ากิโลวัตต์ละประมาณ 50,000 บาทมันดูเยอะแต่ต้องดูว่าถ้ามันช่วยลดค่าไฟได้เดือนละ 500 – 700 บาทต่อ 1 กิโลวัตต์ ถ้าเราทำตรงนี้ได้ก็จะรู้สึกมีความสุขที่เราสามารถขยับขยายให้มันไปถึงอีกขั้นหนึ่งได้ ผมเองก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะทำแบบสับคัทเอ้าท์เหมือนทุกวันนี้แค่อยากทำให้สุดโต่ง ให้เห็นว่ามันสามารถทำได้ พึ่งตนเองได้ อีกอย่างถ้าเราอยากให้ข้อมูลทางด้านโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เราเป็นห่วงในด้านของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบนั้นเราจะได้พูดได้เต็มปากเพราะบางทีจะถูกย้อนแย้งว่าคุณก็ยังใช้ไฟอยู่แล้วทำไมถึงจะมาค้าน ซึ่งจริงๆ ผมก็ยังใช้ไฟของการไฟฟ้าอยู่เวลามาสัมมนาต้องนอนที่โรงแรมก็ต้องใช้เพราะมันเลี่ยงไม่ได้ แต่ว่าเวลาที่อยู่บ้านเราเองเราจัดการได้เท่ากับว่าพลังงานในบ้านเรามันพอใช้อยู่แล้วเพียงแต่เขาไม่ยอมที่จะใช้พลังงานอื่นเพิ่มใช่ไหมสิ่งสำคัญคือ มูลค่าเวลาที่ไฟดับ แต่เราไม่ดับนั้นจะตีเป็นราคาอย่างไร เวลาไฟดับโรงพยาบาลทั้งหลายต้องมีเจเนอเรเตอร์ (Generater) ของตัวเองแต่ถ้าสามารถเสริมบางอย่างได้ด้วยตัวเองอย่างโซล่าเซลล์นั้นผมว่ามันเวิร์คมาก ประเทศไทยมันจะมีพีคอยู่ 3 ช่วงช่วงแรกคือเช้า ช่วง 2 คือบ่าย ช่วงบ่ายนั้นอาจจะหนักกว่าเช้าหน่อย และช่วงค่ำประมาณ 2 – 4 ทุ่ม ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่แสงแดดไม่มีใช้เพราะฉะนั้นช่วงเช้าและบ่ายแสงแดดเข้าไปร่วมได้ ถ้าบริหารจัดการเป็น ไม่มีทางที่ประเทศไทยจะมีเมฆปกคลุมทั้งประเทศถ้าปกคลุมภาคใต้ ภาคเหนือกับอีสานก็ผ่าน ช่วงที่ภาคเหนือปกคลุมทางภาคใต้ก็ผ่านประมาณนี้ ซึ่งมันคือการกระจายความเสี่ยง ผลิตที่ไหนใช้ที่นั่น สายส่งก็ไม่ต้องกังวล นี่คือในทางอุดมคติและปฏิบัติการได้ในครัวเรือน     กลับมาที่เรื่องราคาเมื่อก่อนจำได้ไหมมือถือที่เป็นแท่งๆ ราคาเครื่องละเป็นแสนเลย เหมือนกับโซล่าเซลล์เมื่อ 38 ปีที่แล้วเป็นยุคเริ่มต้นของโซล่าเซลล์ตอนนั้น 120 วัตต์ราคาประมาณ 3 แสนบาท ในปัจจุบันแผง 120 วัตต์ราคา 3,000 กว่าบาทลดลงมาเกือบ 100 เท่า ซึ่งผมคิดว่าเวลาประชาชนเขาเห็นราคาเขาก็รู้สึกว่ามันแพง ตอนนี้ 1 วัตต์ตกอยู่ราวๆ 20 – 25 บาทซึ่งคิดว่าในอนาคตราคายังลงได้อีกถึงวัตต์ละ 10 บาท ถ้าลงได้ผมเชื่อว่าจะพลิกโฉมพลังงานในประเทศไทย เพราะฉะนั้นการรุกล้ำของโรงไฟฟ้าถ่านหินจึงต้องเร่งในช่วงนี้ ไม่อย่างนั้นคนจะหันมาใช้แบบนี้มากขึ้นเพราะมีหลายส่วนที่อยากจะทำแต่องค์ความรู้ไม่ถึง เขามีเงินทุนแต่สิ่งสำคัญคือจะให้ใครทำให้ เราจึงต้องจัดการให้เขา สิ่งที่ผมทำก็คือทำไปด้วยกัน ตั้งแต่ซื้ออุปกรณ์ด้วยกัน ร่วมมือกันติดตั้ง ต่อสายไฟหลังจากเสร็จแล้วจึงเริ่มสอนว่าระบบนี้เอาไปใช้อย่างไร แล้วจึงจำลองสถานการณ์ เช่นไฟของการไฟฟ้าก็มี ไฟของเราเองก็มี ถ้าอยากจะใช้ไฟของเราจะต้องทำอย่างไร หรือไฟเราไม่พอสำหรับใช้ 24 ชม. ถ้าจะเอาไฟของการไฟฟ้ามาและสับคัทเอ้าท์ของเราสลับกันแบบนี้จะต้องทำอย่างไร นี่เป็นตัวอย่างที่ไม่ยาก ชาวบ้านสามารถทำได้เพราะผมทดสอบกับพ่อแม่ของผมเอง ท่านจบ ป.4 ยังทำได้โดยให้ดูตัวเลขที่เป็นตัวบอกว่าแรงดันเท่าไร ให้เขาเข้าใจว่าถ้าจะหุงข้าวแรงดันต้องประมาณ 23.5 – 24 จึงจะหุงข้าวได้ ถ้า 27 ขึ้นไปสามารถซักผ้าได้ 4 – 5 ครั้ง แต่ว่าซักทุกวันก็ไม่รู้จะเอาผ้าที่ไหนมาซักเหมือนกัน (หัวเราะ) นี่เป็นแนวคิดและเงื่อนไขเหล่านี้ผมจะไม่สอน จะให้ค้นหาของเขาเองโดยการจดข้อมูลไว้ว่าในแต่ละวันผลิตได้กี่หน่วยรวมกันแล้วใน 1 เดือนได้เท่าไร ให้จดข้อมูลไว้แล้วเอามาดูว่าทำไมบางวันได้เยอะ บางวันได้น้อย เมื่อเขาเข้าใจก็สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นต่อได้ เวลาไฟดับก็จะมีคนเข้ามาถามผมว่า ทำไมไฟบ้านเราไม่ดับก็ผมไม่ได้ใช้ไฟการไฟฟ้าไง มูลค่าแบบนี้มันมหาศาลที่จะจัดการได้เพราะนี่คือความมั่นคง แสงแดด ลม น้ำ คลื่นลมทะเล น้ำขึ้นน้ำลงทั้งหลายเหล่านี้สามารถที่จะดึงมาใช้ได้และถ้าชาวบ้านรู้สึกว่าต้องลงทุน 1 – 2 หมื่นมันเยอะก็มีวิธีคือใช้วิธีการแบบแชร์ คือแชร์พลังงานหมายถึงให้รวมกัน ถ้าค่าใช้จ่าย 20,000 บาทต่อหลังก็รวมกันให้ได้สัก 10 คนจ่ายคนละ 2,000 บาทต่อเดือนเอามารวมกันก็จะได้ 20,000 บาททุกๆ เดือน ใครจะติดตั้งก่อนก็จับฉลากเอาหรือแล้วแต่การจัดการ ซึ่งตอนนี้ที่พัทลุงและสงขลาก็เริ่มทำตามแนวคิดนี้กันแล้วแต่ในทางปฏิบัติก็ต้องมีคนที่จะนำไปสู่การพิจารณาการทำให้เกิดการสร้างกลไกที่เข้มแข็ง คือวิธีการที่จะสร้างองค์ความรู้ในชุมชนที่เขาจะสามารถจัดการเองได้ และเราได้นำเอาผลลัพธ์ที่แต่ละบ้านใช้มาคุยกันซึ่งพอแลกเปลี่ยนกันแล้วชาวบ้านรู้สึกมีความสุขขึ้น เขาอยากจะจัดการต่อ อยากสับคัทเอ้าท์เหมือนผมจะต้องทำอย่างไรหรือว่ามีระบบอัตโนมัติที่เราไม่ต้องไปนั่งสับเองด้วยมือ ซึ่งเทคโนโลยีก็เริ่มมาเรื่อยๆ เมื่อก่อนหลอดไฟหลอดละ 200 บาทคุณภาพก็ไม่ค่อยดีเท่าไรตอนนี้ราคา 50 – 100 กว่าบาทแต่คุณภาพดีมากและมีอายุการใช้งานที่ดีกว่าแต่เร่องราคานั้นจำเป็นต้องรู้เท่าทันในการซื้อ เรื่องการติดตั้งก็เหมือนกันบางกลุ่มบริษัทที่ให้บริการติดตั้งยังคิดราคาแพงอยู่มากราคากิโลวัตต์ละ 80,000 – 1 แสนบาทตรงนี้ถือว่าเอาเปรียบผู้บริโภคมากเกินไป ผมว่าถ้าเรากระจายความรู้เรื่องนี้ให้เท่าทันคนก็จะรู้และทำเองได้ ตอนนี้ที่บ้านผมก็มีตู้เย็นและอินเตอร์เน็ตที่ใช้ไฟอยู่ตลอดเวลา จริงๆ แล้วตู้เย็นไม่จำเป็นต้องเปิดตลอด 24 ชม. ก็ได้หลังเที่ยงคืนสามารถสั่งหลับได้ถ้าไม่ได้แช่อะไรไว้ อย่างพวกโรงแรมนั้นในตู้เย็นมีแต่น้ำแช่ไว้ถ้าสั่งหลับหลังเที่ยงคืนจะประหยัดไฟไปได้อีกจำนวนหนึ่งเลยทีเดียว นี่เป็นตัวอย่างที่สามารถบริหารจัดการได้ ประเทศไทยเราไม่ได้เป็นแบตเตอรี่เอเชียอย่างลาวแต่เราสามารถจะเปลี่ยนเป็น Clean Country Clean Energy Thailand มันจะเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การคิดใหม่ เพราะถ้าถามถึงพลังงานถ่านหินที่ใช้กันอยู่ก็ใช้ไปแต่ไม่ต้องสร้างเพิ่ม ต้องจัดการเพื่อไม่ให้มันมีความเสี่ยงเพราะถ่านหินเราต้องซื้อจากอินโดนีเซียหรือออสเตรเลียแล้วมันจะมั่นคงไหมถ้าอนาคตเขาอยากเลิกขายให้เราจะทำอย่างไร ในขณะที่แสงแดดนั้นมีทั่วทุกหลังคาเรือน ไม่ต้องเสียเวลาขนและไม่มีค่าขนส่งด้วย แล้วโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งกระบี่และเทพาที่จะใช้เงิน 2 แสนล้านสร้างประมาณ 3,000 เมกะวัตต์ ผมเอามาเฉลี่ยไปที่ครัวเรือนทั้งหลายให้ติดแผงโซล่าเซลล์แล้ววิ่งปลา (วิ่งปลาคือเอาปลาไปตากบนหลังคา) ก็สามารถผลิตได้ 4,000 เมกะวัตต์ มากกว่าใช้ถ่านหินและยังไม่ต้องซื้อวัตถุดิบนำเข้าด้วย อายุโรงงานก็ 25 ปีเช่นเดียวกับแผงที่รับประกัน 25 ปีกระแสไฟไม่ตก คุณภาพยังคงที่หลังจากนั้นมันก็ไม่ได้เสียทันทีแต่ประสิทธิภาพมันค่อยๆ ลดลง แต่ระดับชาวบ้านก็ไม่จำเป็นต้องไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ขนาดนั้นแค่เราเอามาเสริมในบ้านเราได้ก็พอ คือผมคิดไว้เยอะอย่างเช่นการลดค่าไฟวันละ 1.5 หน่วยจำนวน 10 ล้านหม้อมิเตอร์สามารถหยุดสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้เลยแต่เราต้องช่วยกันลดทุกวัน แต่ชาวบ้านที่เขาใช้ไฟเดือนละ 2 หน่วยจะให้เขาลด 1.5 หน่วยมันก็กระไรอยู่แต่ว่าห้างที่ใช้ไฟวันละหลายหมื่นหน่วยนั้น ลดสัก 1,000 หน่วยเพื่อไปช่วยคนที่เขาใช้แค่ 2 หน่วยต่อเดือนนี่คือการบริหารจัดการ ซึ่งผมว่าสำคัญมาก ตอนนี้ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์มากในประเทศไทยเพราะฉะนั้นโซล่าเซลล์เองเป็นทางเลือกหนึ่งเท่านั้น ยังมีลมที่ไม่แน่ว่าจะพัดกลางวันหรือกลางคืน มีทั้งลมบก ลมทะเล คือเขาสามารถพึ่งพาตนเองได้ระดับหนึ่งเพราะกังหันลมนั้นชาวบ้านทำเองได้ การเลือกอุปกรณ์ในส่วนของการเลือกซื้ออุปกรณ์นั้นแผงโซล่าเซลล์ถ้าเป็นไปได้ให้เข้าสู่เครือข่ายก่อน เครือข่ายที่จะเรียนรู้เรื่องพวกนี้ ไม่ต้องรีบที่จะติดตั้งแต่ให้รู้เท่าทันว่าแผงพวกนี้มันทำงานอย่างไร ความต้องการของครัวเรือนของเราว่าใช้ไฟเดือนละเท่าไร เช่นใช้ไฟเดือนละ 1,000 บาทก็อาจจะติดตั้งประมาณ 1.5 กิโลวัตต์ราคาจะตกอยู่ประมาณ 70,000 – 80,000 บาท อุปกรณ์ก็จะให้เลือกว่าจะซื้อแบบไหนถ้าเป็นแผงก็ต้องเป็นแผงที่รับประกัน รับประกันนี่คือมีตัวซีเรียลนัมเบอร์เลย ซึ่งตอนนี้ก็หายากอยู่ในประเทศไทย ถ้าเราซื้อแผ่นเดียวราคาก็จะสูงกว่าซื้อ 10 แผ่นหรือ 100 แผ่นแต่ถ้าร่วมมือกันระบบกลุ่มแล้วค่อยซื้อมาแบ่งกันมันก็จะถูกลง โดยซื้อจากบริษัทที่อาจจะนำเข้าจากจีนหรือในประเทศไทยที่ผ่านการรับรองของ IEC (International Electrotechnical Commission) หรือ มอก. ซึ่งก็ได้การรับรองจากมาตรฐานสากลเชื่อถือได้ ตอนนี้เรากำลังคิดถึงเรื่องโซเชียล เอ็นเตอร์ไพรส์นำไปสู่การทำเพื่อประโยชน์สังคม คิดว่าตรงนี้เป็นแนวทางที่พอเป็นได้และเรื่องอินเวอร์เตอร์ต้องออกแบบว่าเราจะใช้ระบบที่มีแบตฯ หรือไม่มี ถ้าระบบที่มีแบตฯ ก็จำเป็นต้องซื้อแบบตระกูลดีฟไซเคิล (Deep cycle) คืออายุการใช้งานจะยาวนานกว่าอย่างน้อย 2 เท่าก็ประมาณ 4 – 5 ปี ผมก็ทดลองมา 2 ปีแล้วต้องรอดูว่ามันจะถึง 5 ปีจริงไหม ต่อมาคือพวกอินเวอร์เตอร์ คอนโทรลชาร์จที่เมื่อก่อนซื้อตัวละประมาณ 2,200 บาท ตอนนี้ลดเหลือประมาณ 1,500 ,800 หรือ 300 บาทก็มี ถ้าเราเข้าไปอยู่ในกลุ่มของคนที่ใช้แบบนี้แล้วสอบถามข้อมูลจะดีมากอย่าเพิ่งรีบเวลาไปซื้อของ ศึกษาข้อมูลก่อนเอาความสงสัยสอบถามข้อมูลกัน สุดท้ายเราจะอยู่ไกลกันแค่ไหนก็สอบถามข้อมูลกันได้ เดี๋ยวนี้มีไลน์ มีเฟสบุคสามารถส่งรูปภาพได้ง่ายมาก มันเปิดโลกทัศน์ใหม่ในการที่จะผลิตพลังงานใช้เอง ผลิตเองได้โดยไม่ต้องเดินสายไฟใหม่ใช้ปลั๊กของตนเอง ถ้าเป็นระบบออนกริด (Grid tie system) เราต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ที่เป็น Grid Tie Inverter ที่ได้คุณภาพผ่านการรับรองของ IPA ผ่านการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ผ่านการไฟฟ้านครหลวง และผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพราะบางทีก็ล้ำๆ กันอยู่ บางครั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตรับรองแต่การไฟฟ้านครหลวงไม่รับรองคือมันก็ยังเป็นเรื่องที่ยังมึนๆ กันอยู่เพราะฉะนั้นจะมีกลไกบางอย่างที่บอกว่าตัวไหนใช้ได้ทุกอันและมันปรับตัวของมันเองได้ และต่อมาเมื่อติดตั้งแล้วคือเก็บข้อมูลวิจัยไปด้วยในตัว นี่คือรูปแบบในการนำพาไปสู่การวางแผนได้ ผมเชื่อว่าถ้าเราทำกันแบบนี้พลังงานของเราจะไม่เกิน 30,000 เมกะวัตต์ / ชั่วโมง ตามที่มันจะเกิดขึ้นในอนาคต ตอนนี้อยู่ที่ 27,000 เมกะวัตต์ อนาคตจะทะลุ 30,000 ได้เพราะ AEC เข้ามา หน้าร้อนมหาวิทยาลัยก็เปิดกันทุกแห่งค่าไฟก็ทะลุช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ถ้าเราปรับตรงนี้ได้ประเทศก็จะรอด บางคนอาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องเล็กๆ แค่ 1 หลังคาเรือนแต่ลองคูณจำนวน 20 ล้านครัวเรือนดูจะรู้ว่าไม่ธรรมดาและยังไม่นับพวกโรงงานอีกซึ่งมันมหาศาลมากเพราะฉะนั้นโรงไหนที่ไม่จำเป็นก็ระงับไว้ไม่ต้องไปสร้าง พีคโหลด 15 % ของ 30,000 เมกะวัตต์ก็ตกประมาณ 4,500 เมกะวัตต์ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าโรงละ 800 เมกะวัตต์จะอยู่ที่ประมาณ 6 โรง ทั้ง 6 โรงนั้นเอาถ่านหินมาเผาทิ้งเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าที่เป็นความมั่นคงแค่นี้ผมว่าเรากำลังเผาโลกมากกว่า มลภาวะที่ปล่อยออกไปมันมากมายคือต้องคิดร่วมกันแล้ว ผมไม่อยากที่จะไปต่อสู้แล้วเพราะเหนื่อยที่จะทะเลาะกับหน่วยงานของรัฐที่ต้องมาโต้กันอยู่อย่างนี้ คิดว่า กฟผ. เองก็ไม่อยากให้ประชาชนไม่ชอบหน่วยงานของเขา เพราะฉะนั้นแนวทางหนึ่งที่ทำได้คือหันมาหาทางเลือกร่วมกัน เลิกเถียงกันได้แล้วว่าถ่านหินมันสะอาดหรือไม่สะอาด ประเทศไทยมีแนวโน้มความเสี่ยงเรื่องพลังงาน ต้องวางแผนว่าจะช่วยกันอย่างไร นี่คือสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การจัดการที่ยั่งยืนได้ ยั่งยืนนั้นก็ค่อนข้างไกลแต่จากประสบการณ์ที่ได้ลองทำมาหลายๆ แบบจะรู้เลยว่านิสัยของประเทศไทยจะเป็นแบบไหน ปากน้ำที่ไหลทั้งขึ้นทั้งลงออกทะเลนั้นเยอะแยะ คลื่นทะเล 3,000 กิโลเมตรนั้นไม่ใช่น้อยมันคลื่นทั้งนั้น ประเทศอังกฤษเขาทดลองทำอนาคอนด้า คือคลื่นโยกไปโยกมาก็ได้ไฟออกมาส่งขึ้นฝั่ง การโยกไปมาตามคุณสมบัติของคลื่นที่ส่งผ่านพลังงานของน้ำก็เป็นพลังงานไฟฟ้าได้อยู่ที่เราจะทำหรือไม่ทำ เราไปล็อคความคิดใหม่ๆ เหล่านี้ด้วยผลประโยชน์ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นโอกาสดีของรัฐบาลทหารในช่วงนี้มากที่จะผลักดันเรื่องนี้ อย่าไปทะเลาะกับชาวบ้านเรื่องสร้างโรงไฟฟ้าอีก 9 โรง ทะเลาะเรื่องเหมืองทอง 300 แห่ง หรือเรื่องโค่นต้นยางพาราในอุทยาน มันต้องคิดใหม่ว่าทำไมเราต้องไปโค่นมัน ต้นยางมันก็ผลิตอ็อกซิเจนออกมาให้ทุกวันจะไปโค่นมันทำไม แต่คุณต้องบริหารจัดการอย่างชาญฉลาดอย่าให้เกิดความขัดแย้งเพราะสุดท้ายก็ต้องมีคนเสียใจ รัฐบาลต้องเริ่มได้แล้วถ้าจะคืนความสุขไม่ใช่ให้ความทุกข์เพิ่ม     ในส่วนของหลังคาเรือนนั้นไม่จำเป็นต้องสร้างโซล่าฟาร์มเลย ไม่ต้องหาที่ 10 – 20 ไร่เพื่อจะสร้างโซล่าฟาร์มเพราะว่าอาจจะไม่จำเป็นใช้หลังคาชาวบ้าน หลังคาโรงงานในกรุงเทพฯ ก็พอ ลองทำกันดูแล้วเราจะพบว่าทำไมเราปล่อยให้แดดมันเสียไปก่อนหน้านี้ น่าเสียดายแดดจริงๆ      

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 176 ความปลอดภัยต้องอาศัยองค์ความรู้

“รถยนต์จะปลอดภัยหรือไม่ คนไม่ค่อยสนใจ คนไทยคิดอย่างเดียวว่าถ้าอยากปลอดภัยก็ต้องซื้อรถแพง ปลอดภัยต้องเสียเงิน และเชื่อด้วยว่ารถที่ผลิตมาแล้วก็ปลอดภัยหมด”“บ้านเราผลิตรถ แต่ทุกคนไม่รู้หรอกว่ารถสามารถสั่งตัดได้ และบ้านเราก็ไม่มีองค์ความรู้ด้านนี้ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนมากมาย แต่เรากลับไม่รู้เลยว่ารถแต่ละคันปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน แล้วเราจะไปถึงเป้าหมายเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนได้อย่างไร” รศ.ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม นักวิชาการด้านวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ บัณฑิตวิทยาลัย วิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (Thai–German Graduate School of Engineering) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่มาของหลักสูตรวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยรถยนต์    ผมทำงานสายยานยนต์มาตั้งแต่เรียนจบมาเมื่อ 15 ปีก่อน ตอนนั้นอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ในประเทศไทยกำลังบูม สาขาวิชาหลักๆ สำหรับอุตสาหกรรมนี้ก็มีวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมการผลิต และวิศวกรรมไฟฟ้า ผมเองจบทางช่างยนต์แต่ไม่ได้มีส่วนในการออกแบบรถยนต์อย่างที่เรียนมา เพราะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ให้ทำตามแบบของเขา บริษัทชิ้นส่วนยานยนต์ก็มีหน้าที่ทำให้ได้ตามข้อกำหนดของบริษัทแม่ ในประเทศไทยเรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ทำกันมา คือการผลิตชิ้นส่วนอย่างไรให้ลดต้นทุน จนผมมีโอกาสได้ไปดูงานของรัฐบาลเยอรมันที่เขาจะทำหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ ก็ได้เห็นว่าแตกต่างกันมากกับวิศวกรรมยานยนต์ที่เมืองไทย ที่นั่นเขาทำวิจัยร่วมกับอุตสาหกรรมบริษัทรถในการผลิต เพราะว่าเขามียี่ห้อรถของเขา แล้วเขาก็ทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยด้วย พอเราได้ไปดูงานของเขามาแล้ว ทางมหาวิทยาลัยก็จัดสร้างหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ขึ้น โดยเอาเนื้อหาหลักสูตรทั้งหมดจากเยอรมันมาใช้ ซึ่งเนื้อหาของเขาลงลึกมาก รวมงานวิจัยเข้าไปด้วย เน้นเรื่องการออกแบบ การผลิต ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ แต่หลังจากเปิดหลักสูตรไปสักพักหนึ่งมันไม่ไหว มีคนตั้งคำถามว่าเด็กจบไปแล้วจะไปทำอะไร เพราะเราไม่ได้ออกแบบรถเอง แต่ความจริงแล้วเราได้องค์ความรู้ไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมกับบริษัทรถ จะได้พูดภาษาเดียวกันได้ ร้อยละ 80 ของนักศึกษากลุ่มแรกๆ เป็นอาจารย์ เช่น อาจารย์จาก ม.ราชมงคลฯ และอีกหลายแห่งที่อยากจะพัฒนาบุคลากรในสายยานยนต์ สักพักหนึ่งมหาวิทยาลัยอื่นๆ ก็เปิดหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ ทีนี้คำว่าวิศวกรรมยานยนต์ของแต่ละมหาวิทยาลัยก็ไม่เหมือนกัน มันไม่ชัดว่าเนื้อหาหลักสูตรของแต่ละที่เป็นอย่างไร คนที่มาสมัครเรียนเขาก็ไม่รู้ว่าเรียนจบไปแล้วจะทำอะไร มีคนที่ประเมินหลักสูตรเขาถามว่าจบวิศวกรรมยานยนต์ที่ TGGS (Thai – German Graduate School of Engineering) แล้วจะไปทำอะไร ผมเลยเปลี่ยนหลักสูตรเป็น “หลักสูตรวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัย”ทำไมต้องหลักสูตรนี้?    ที่เราทำด้านนี้เพราะว่าผมทำโครงการรถบัสของขนส่ง(กรมการขนส่งทางบก) เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2555 – 2556 พอทำแล้วมันได้ใช้องค์ความรู้เรา ทำแล้วมันมีผลกระทบต่อสังคม ซึ่งในสายวิศวกรรมนั้นจะไม่ค่อยมีผลต่อสังคมเท่าไร พอได้ทำตรงนี้แล้วคนสนใจและอยากรู้ ก็เลยเปลี่ยนหลักสูตรให้สอดคล้องกัน โดยเอาเนื้อหาเดิมมาขัดเกลาใหม่ให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะกับประเทศไทย นั่นคือประเทศไทยไม่มีบริษัทรถเอง มีแต่ผู้ใช้รถ หลักสูตรจึงเน้นทดสอบรถด้านคุณภาพ มาตรฐาน สภาพรถ การประหยัดน้ำมัน ฯลฯ การจะประเมินเรื่องนี้เราต้องใช้ซอฟแวร์หรือกระบวนการอะไร ในหลักสูตรจะมีเรื่องพวกนี้อยู่ มีการทดสอบชิ้นส่วนต่างๆ เช่น เกียร์ต้องทดสอบอย่างไร เครื่องยนต์ทดสอบอย่างไร ประเมินอย่างไร นี่คือหลักสูตรเรื่องนี้ เพราะเราไม่ได้เป็นผู้ผลิต  หลักสูตรของเราเน้นด้านหลักๆ 4 ด้าน คือ การผลิตรถยนต์ การทดสอบประเมินรถ มาตรฐานกฎเกณฑ์ต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล รวมถึงการจำลองการบาดเจ็บ/ความปลอดภัยยานยนต์ การประเมินหรือการทดสอบที่อาจารย์ภาคภูมิใจ    การทดสอบรถบัสทั้งแบบ 1 ชั้นและ 2 ชั้น ด้วยเครื่องมือทางวิศวกรรม เช่น การจำลองเหตุการณ์ ซึ่งก่อนที่เราจะทดสอบเราก็ประเมินก่อนแล้วว่าไม่มีคันไหนผ่าน เราเลือกรถจากกลุ่มที่มีกระบวนการผลิตที่ดีที่สุดในรูปแบบบริษัท และเมื่อประเมินโดยใช้การคำนวณทางตัวเลขวิเคราะห์ก็ไม่ผ่าน แต่การจำลองทางคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการทางวิศวกรรมมันก็ไม่ชัดเจนเท่ากับเห็นภาพ เพราะมันเป็นแค่ตัวเลข พอเรารู้แล้วว่าไม่ผ่านก็สร้างเครื่องทดสอบให้เห็นเลยว่าทำไมไม่ผ่าน คือในระยะแรกเราทำการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ให้เห็นคุณภาพรถว่าเป็นอย่างไร และสร้างเครื่องทดสอบ วิเคราะห์ออกแบบใหม่ เราออกแบบโดยใช้หลักคณิตศาสตร์ แล้วสร้างเครื่อง สร้างรถ สร้างรูปแบบของโครงสร้างที่เราออกแบบ โครงการทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 2 เดือนตั้งแต่สร้างเครื่องทดสอบ ประเมินรถ แล้วออกแบบโครงสร้างที่คิดว่าน่าจะปลอดภัยแล้วนำมาทดสอบ เราไม่ได้ทำแค่สร้างเครื่องทดสอบ แต่รวมไปถึงการปรับปรุงพัฒนาภายใต้เงื่อนไขของข้อกำหนด ซึ่งในการออกแบบทางกระบวนการวิศวกรรมนั้นค่อนข้างยาก ผมสามารถออกแบบให้โครงสร้างรถบัสมีน้ำหนักเบา แข็งแรง ราคาถูกได้ แต่ถ้าจะออกแบบให้ถูกด้วยมันยากตรงที่บ้านเราไม่ใช่ประเทศที่รวย เราอยู่แค่ในระดับปานกลาง ถ้าจะให้ออกแบบให้แข็งแรงปลอดภัย ราคาถูกด้วย เบาด้วย มันทำไม่ได้ แล้วยังมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นรถบัสที่สามารถผลิตได้ในอู่ทั่วไปด้วย เพราะอย่างที่เรารู้กันอุตสาหกรรมต่อรถบ้านเราเป็นอุตสาหกรรมครอบครัว ความสำคัญของความปลอดภัยยานยนต์ในบ้านเรา    ประเทศไทยไม่มีผู้ผลิตรถ องค์ความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ที่ปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัยต่อคนนั้นมีน้อย คนที่รู้เรื่องนี้ก็มีน้อย คือรถยนต์จะปลอดภัยหรือไม่ คนไม่ค่อยสนใจ คนไทยคิดอย่างเดียวว่าถ้าอยากปลอดภัยก็ต้องซื้อรถแพง ปลอดภัยต้องเสียเงิน และเชื่อด้วยว่ารถที่ผลิตมาแล้วก็ปลอดภัยหมด ซึ่งรถบางคันอาจไม่ปลอดภัยเท่าที่ควร เพราะตอนเขาผลิตเขาคำนึงถึงต้นทุนเป็นหลักแพะรับบาป 2 ตัวเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ     ร้อยละ 70 ของการเกิดอุบัติเหตุเกิดจากคน อีกร้อยละ 20 – 30 คือรถ ซึ่งเราสามารถคุมปัจจัยได้ง่ายกว่า ในบ้านเราแพะรับบาปอย่างแรกคือ “เมาแล้วขับ” อย่างที่สองคือ “ขับรถเร็วเกินกำหนด” ไม่เคยบอกว่าเป็นเพราะยางแตกหรือการเสื่อมสภาพของรถ ผมมีงานวิจัยที่ทำให้ผมรู้ว่า “การขับเร็วเกินกำหนด” เป็นเรื่องของการนั่งเทียน บ้านเราผลิตรถ แต่ทุกคนไม่รู้หรอกว่ารถสามารถสั่งตัดได้ และบ้านเราก็ไม่มีองค์ความรู้ด้านนี้ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนมากมาย แต่เรากลับไม่รู้เลยว่ารถแต่ละคันปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน แล้วเราจะไปถึงเป้าหมายเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนได้อย่างไร ผมมีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง คือมีอุบัติเหตุรถชนเกิดขึ้น แล้วตำรวจ สน.ไทรน้อยขอให้ผมมาช่วย รถคันที่เกิดเหตุชนท้ายรถพ่วง มีพ่อแม่ลูกนั่งมาในรถ พ่อและแม่เสียชีวิตคาที่ ส่วนเด็กไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล รอยเบรกประมาณ 27 เมตร ... คุณคิดว่ารถต้องมาด้วยความเร็วเท่าไร?  ญาติเรียกร้องให้ประกันชดเชย แต่ทางประกันแย้งว่าผู้เสียชีวิตขับรถเร็วเกินกำหนดโดยดูจากรอยเบรก 27 เมตร จากทฤษฎีสามารถคำนวณความเร็วได้ แต่พอดูยางรถยนต์ที่เขาใช้ คือล้อหน้าด้านซ้ายเป็นยางมิชลินปี 2004 ล้อหน้าข้างขวา คือยางมิชลินปี 2007 ปีนี้ปี 2015 เท่ากับใช้มา 8 ปีแล้ว ส่วนยางหลังด้านขวาคือยางกู้ดเยียร์ปี 2011และล้อหลังซ้ายยางกู้ดเยียร์ปี 2010 ผมก็เอายางไปทดสอบในสถานที่จริงเลย เริ่มที่ความเร็ว 30 กม./ชม. ระยะเบรกอยู่ที่ 5 เมตร ถามผู้ใช้รถว่าการใช้ยางแบบนี้ไหวไหม? ถ้าขับในเมืองรถมันติดก็โอเค แล้วลองที่ความเร็ว 60 กม./ชม.ระยะเบรคอยู่ที่ 19 เมตร ถ้าความเร็ว 90 กม./ชม.ระยะเบรกยาวถึง 40 เมตร ก็คือเบรกไม่อยู่โดยใช้ความเร็วที่ 90 กม./ชม.เอง คือความเร็วก็มีส่วน แต่มันไม่ควรเป็นแพะรับบาป กรณีนี้ผู้บริโภคเลือกใช้ยางผิด นั่นคือผู้บริโภคไม่รู้ เราถึงต้องสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย เพื่อปลูกฝังและสร้างความตระหนักเรื่องความปลอดภัย  “วัฒนธรรมความปลอดภัย” อยู่ในยุทธศาสตร์ของประเทศหรือยัง?    เรื่องความเร็วในแผนแม่บทเขาก็กำหนดไว้ แต่ทำไม “ออโตบาห์น” ในประเทศเยอรมันไม่มีการจำกัดความเร็ว? นั่นเพราะถนนเขาดี คนขับดี และรถก็ดี คือผมจะบอกว่าเขาเขียนแผนยุทธศาสตร์ผิดจากข้อมูลสถิติที่ผิด เลยทำให้ยุทธศาสตร์ประเทศวางแผนผิดไปหมด จึงทำให้ประเทศไทยมารณรงค์เรื่องเมาแล้วขับ เราเก็บข้อมูลผิดวิธีและไม่นับจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุภายใน 30 วัน คนเขียนข้อมูลเขารู้เลยว่าตำรวจไม่ค่อยให้ข้อมูลเพราะพยายามจะปิดคดี  และการปิดคดีที่ดีที่สุดก็คือระบุว่าเมาแล้วขับ หรือขับเร็วเกินกำหนด มันเลยกลายเป็นแผนไม่เคลื่อนสิ่งที่เราควรรณรงค์จริง คืออะไร    จริงๆ คือต้องรณรงค์ทั้งแผน ไม่ใช่รณรงค์แค่คน ต้องทั้งแผนถึงจะขับเคลื่อน แต่เรื่องรถไม่เคยรณรงค์เลย บ้านเราเน้นเรื่องคนมากกว่า เรื่องถนนก็มีรณรงค์บ้างอย่างถนนที่โค้งอันตราย ตำรวจก็รณรงค์ตรงจุดเสี่ยง ขาดแค่การรณรงค์เรื่องรถ บางทีรถดีแต่มีการใช้งานผิดประเภทอีกเพราะไม่มี “วัฒนธรรมความปลอดภัย” จึงเกิดการใช้รถผิดประเภท?    ใช่ แต่ “วัฒนธรรมความปลอดภัย” ต้องเป็นองค์ความรู้เรื่องรถยนต์ ยกตัวอย่างบางปลาม้าโมเดล เขาจัดทำนำร่องเรื่องรถโรงเรียนโดยเรียกคนที่มีส่วนร่วมมา เชิญตำรวจมา จัดให้อยู่ในระบบ เชิญหน่วยงานขนส่งฯ มาแนะนำว่าโครงสร้างต้องเป็นแบบไหน แล้วก็สรุปว่านี่คือรูปแบบของรถโรงเรียน แต่ในทางวิศวกรรมถ้ารถลักษณะ(สองแถว) นี้เกิดอะไรขึ้นมา มันเจ็บหนักมาก คุณรู้ไหมว่าทำไมรถรุ่นใหม่ปุ่มสตาร์ทถึงเป็นปุ่มกด? เพราะว่าเวลาชน เข่าของเราจะไปโดนพวงกุญแจ เพราะเขารู้ว่ามันเสี่ยงโดยดูจากข้อมูลอุบัติเหตุ แต่คนที่รู้จริงๆ มีน้อย คนที่ไม่ได้ทำวิจัยจะรู้ได้อย่างไรว่านี่คือวัฒนธรรมความปลอดภัย คือต้องมีองค์ความรู้ ในโครงการบางปลาม้าโมเดลก็เขียนกำหนดลักษณะมาตรฐานรถให้เหมาะสมไว้นะ แต่เขาเชิญขนส่งฯ ซึ่งขนส่งเองก็มีความรู้ระดับหนึ่ง โครงการก็เลยออกมาเป็นแบบนี้ คือให้นักเรียนนั่งในคอกรถแล้วจะปลอดภัย ทางขนส่งเขาก็มีระเบียบของเขาว่าหลังคาต้องมั่นคงแข็งแรง แต่ความรู้เรื่องความปลอดภัยของรถยังไม่มี ทุกวันนี้คนก็ชื่นชมบางปลาม้าโมเดลและก็จะทำตามแบบนี้ และตอนนี้ก็จะขยายต่อไปด้วย ผมเคยโทรไปหาผู้อำนวยการโรงเรียนบางปลาม้าบอกว่าจะเอารถโรงเรียนของเขามาทดสอบดู เขาก็ไม่กล้าให้เอามาเพราะเขาเองก็ยังไม่มั่นใจ ถ้าที่เมืองนอกเวลาเอารถมา ต้องทดสอบไดนามิค ดูการเหวี่ยง ดูความเสี่ยง การชนด้านหน้า ทดสอบเบรก คุณภาพรถเป็นอย่างไรอย่างน้อยเมืองไทยก็มีมาตรฐานชิ้นส่วนรถยนต์?    ในวงจรการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย บริษัทรถจะทำออกมาตามเสียงตอบรับจากผู้ใช้ พอได้ชิ้นส่วนก็เข้ามาอยู่ในเทียวัน (บริษัทจัดหาซัพพลายเออร์สำหรับชิ้นส่วนรถยนต์) ก็มีบริษัทหลายบริษัทจนมีสมาคมชื่อว่า สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) ซึ่งมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเข้ามาควบคุมดูแล ส่วนกรมการขนส่งทางบกก็มีบทบาทตอนทำการผลิตแล้วตรวจสอบขั้นสุดท้าย ก็มีแค่นี้วงจรของมัน แต่เพื่อการเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศไทย รัฐบาลอยากส่งเสริม ทางบริษัทรถก็ให้ความร่วมมือ แต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างไร ขั้นตอนโลจิสติกส์มีอะไรบ้าง ทำอย่างไรให้ผลิตได้เยอะขึ้น ก็ทำการวิจัยให้กระบวนการผลิต แต่ไม่ได้มองเรื่ององค์ความรู้เลย เน้นการผลิตอย่างเดียว คุณเชื่อไหมว่าบริษัทที่ขายชิ้นส่วนให้เทียวัน แม้จะขาดทุนก็ยังยอมขาย เพราะเวลาเปลี่ยนอะไหล่ผู้บริโภคก็ต้องกลับมาใช้ของเขา เขาขอให้ได้เข้าไปเป็นชิ้นส่วนในรถให้ได้เป็นพอ ยกตัวอย่างรถที่ใช้แบตเตอรี่ 3K ถ้าคนที่รู้เขาก็อาจจะเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่น แต่คนที่ไม่รู้ เวลาเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ก็ยังใช้ 3K อยู่ดี

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point