ฉบับที่ 235 ผลทดสอบการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตร ในปลาสลิดตากแห้ง

ปลาสลิด หรือ ปลาใบไม้ เป็นปลาน้ำจืดที่เป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งของไทย ปลาชนิดนี้นิยมนำมาแปรรูปเป็นปลาสลิดตากแห้ง (ปลาสลิดแดดเดียว) โดยแหล่งผลิตและแปรรูปปลาสลิดที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีคือ ปลาสลิดบางบ่อ (อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ) ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องความหอมมันของเนื้อปลา          ปลาสลิดแดดเดียวนับเป็นอาหารแปรรูปแบบแห้งที่ผู้บริโภคนิยมรับประทานไม่แพ้อาหารทะเลตากแห้งจำพวกปลาหมึกแห้ง กุ้งแห้ง เพราะปลาสลิดมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เนื้อปลามีความมัน สามารถนำไปทอด แกงส้ม ผัดกะเพรา ทำข้าวผัดปลาสลิด ยำปลาสลิด ผัดพริกขิงปลาสลิดกรอบ ผัดคะน้าปลาสลิด แล้วแต่จะรังสรรค์เมนูต่างๆ นานา ก็ล้วนอร่อยแทบทั้งนั้น แต่ผู้บริโภคเคยสังเกตหรือไม่ว่า ร้านอาหารทะเลหรือเนื้อสัตว์ตากแห้งในตลาดสด ปกติแล้วจะเป็นที่ชื่นชอบของเหล่าแมลงวัน ซึ่งแน่นอนว่าหากร้านไหนมีแมลงวันมาตอมอาหาร ก็จะดูไม่สะอาดและไม่ถูกหลักอนามัย หากเป็นช่วงก่อนนี้ แม่ค้าก็จะใช้ถุงน้ำแขวนไว้ หรือ ใช้ไม้พันปลายด้วยพู่เชือกฟางปัดๆ เอา บางร้านอาจใช้มอร์เตอร์ติดก้านไม้ปัดแมลงที่หมุนได้อัตโนมัติเพื่อไล่แมลงเหล่านี้ไม่ให้มายุ่งกับอาหารหากไปเจอร้านที่ไม่มีอุปกรณ์ไล่แมลงเลย แต่กลับไม่มีแมลงตอมสักตัว อันนี้ผู้บริโภคก็อย่าได้วางใจ อาจตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าแม่ค้าใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่นหรือไม่ ดังที่เป็นข่าวเมื่อต้นปี 2560 ที่มีการตรวจพบจากหน่วยงานว่า แม่ค้าบางร้านใช้ยาฆ่าแมลง “ดีดีที” (DDT) หรือ ไดคลอโรไดฟีนิลไตรคลอโรอีเทน (Dichloro-diphenyl-trichloroethane) ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายทางการเกษตร ฉีดพ่นปลาสลิดแห้งที่วางจำหน่าย เพื่อไม่ให้มีแมลงวันมาตอม          ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังการตกค้างของสารเคมีในอาหารอย่างสม่ำเสมอ นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างปลาสลิดตากแห้ง (ปลาสลิดแดดเดียว) จำนวน 19 ตัวอย่าง ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จากร้านค้าในตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้าทั่วไป และร้านค้าออนไลน์ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด โดยส่งตรวจวิเคราะห์การตกค้างของยาฆ่าแมลงในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต (Pesticides Organophosphorus) และในกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pesticides Pyrethroid) โดยผลการตรวจวิเคราะห์แสดงดังตารางต่อไปนี้ สรุปผลการทดสอบ          จากผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ปลาสลิดตากแห้ง (แดดเดียว) ทั้งหมด 19 ตัวอย่าง พบว่า ผลิตภัณฑ์ปลาสลิดตากแห้ง (แดดเดียว) ทุกตัวอย่าง ตรวจไม่พบการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต และ ในกลุ่มไพรีทรอยด์ ข้อสังเกตอื่นๆ          จากตารางข้างต้น หากเปรียบเทียบราคาต่อกิโลกรัมของผลิตภัณฑ์ปลาสลิดตากแห้ง ทั้ง 19 ตัวอย่างนั้น พบว่า          - ตัวอย่างปลาสลิดตากแห้ง (แดดเดียว) ที่มีราคาต่อกิโลกรัม ต่ำที่สุด คือ 180 บาท/กก.              ได้แก่ ร้านตี๋ใหญ่ ตลาดยิ่งเจริญ สะพานใหม่ และ ล้านมัจฉาอาบแดด ร้านป้าแจ๋ว วัดป่าเลไลย์ /จ.สุพรรณบุรี    และ   ตัวอย่างปลาสลิดตากแห้ง (แดดเดียว) ที่มีราคาต่อกิโลกรัม สูงที่สุด คือ 442.86 บาท/กก.            ได้แก่ โลตัส Express สาขาเซ็นเตอร์วัน            ทั้งนี้ หากลองเฉลี่ยราคาต่อกิโลกรัมของตัวอย่างผลิตภัณฑ์ปลาสลิดตากแห้ง (แดดเดียว) ทั้งหมด 19 ตัวอย่าง จะได้ราคาเฉลี่ยเท่ากับ 277.76 บาท/กก. ข้อแนะนำผู้บริโภค          การเลือกซื้อปลาสลิดแดดเดียว ควรเลือกซื้อปลาที่มีกลิ่นหอม (แต่ไม่ใช่กลิ่นสาบดินโคลน) เนื้อปลาไม่แห้งจนเกินไป สังเกตที่บริเวณท้องควรมีความมันเลื่อมอยู่บ้าง ใช้นิ้วกดดูที่เนื้อบริเวณด้านหลังจะดีดตัวกลับ และสังเกตว่าปลาสลิดตากแห้งนั้นมีแมลงมาตอมบ้างหรือไม่ หากไม่มีเลยอาจดูผิดแปลกธรรมชาติ ก็อย่าได้วางใจเมื่อซื้อมาแล้วก่อนนำมาปรุงอาหารรับประทาน ควรล้างให้สะอาด ซับน้ำให้แห้ง ใช้มีดบั้งปลาก่อนนำลงทอดให้กรอบ หรือหากต้องการเก็บปลาสลิดเอาไว้ในตู้เย็น ควรล้างปลาสลิดให้สะอาดแล้วซับน้ำให้แห้งเสียก่อน จึงมัดใส่ถุงพลาสติกให้สนิท หรือ อาจเก็บไว้ในถุงสุญญากาศ นำเข้าแช่เย็น หรือช่องแช่แข็ง ก็จะเก็บได้นานขึ้น ข้อมูลอ้างอิง        - การเลี้ยงปลาสลิด, กรมประมง (https://www.fisheries.go.th/sf-naratiwas/salid.html)         - https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาสลิด         - Pesticides / วัตถุอันตรายทางการเกษตร               (http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1230/pesticides-วัตถุอันตรายทางการเกษตร)         - วัตถุอันตรายทางการเกษตร : ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต          (http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2187/)         - สารกำจัดแมลงและศัตรูพืชกลุ่มไพรีทรัม และสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์          (http://www.nfi.or.th/foodsafety/upload/damage/pdf/pyrethrum_and_pyrethroides_2.pdf)

อ่านเพิ่มเติม >