ฉบับที่ 102 กระแสในประเทศ

ประมลเหตุการณ์เดือนกรกฎาคม 255215 กรกฎาคม 2552จุดจบ “ลวดดัดฟันแฟชั่น” สคบ. สั่งห้ามขายแบบเด็ดขาด “ลวดดัดฟันแฟชั่น” หลังจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ คคบ. ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 36 ของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ออกคำสั่งห้ามจำหน่ายลวดดัดฟันแฟชั่นเป็นการถาวรแล้ว พ่อค้า – แม้ค้าคนไหนยังฝืนขายลวดดัดฟันแฟชั่นถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย แจ้งจับได้ทันที มาตรา 36 ของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ระบุว่าหากพบสินค้าใดต้องสงสัยว่าเป็นอันตราย คณะกรรมการผู้บริโภคสามารถสั่งให้ตรวจพิสูจน์สินค้านั้นได้ ซึ่งในกรณีของลวดดัดฟันแฟชั่นไม่มีผู้ประกอบการรายใดขอทดสอบหรือพิสูจน์สินค้า ซึ่งคณะกรรมการผู้บริโภคพิจารณาแล้วสินค้าดังกล่าวเป็นอันตราย จากคำยืนยันของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และกรมวิทยาศาสตร์บริการ หลังจากตรวจพบสารปนเปื้อนโลหะหนัก ทั้งตะกั่ว พลวง ซีลีเนียม โครเมียม และสารหนู รวมทั้งยังมีข้อมูลจาก อย.ว่าวัสดุที่ใช้ทำลวดดัดฟันไม่มีมาตรฐาน และลักษณะการนำมาคล้องที่ฟันด้วยลวดนั้นไม่แข็งแรงมีโอกาสล่วงหลุดลงคอจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 17 กรกฎาคม 2552ทลายโรงงาน “ซีอิ้วปลอม” ส่งขายตลาดนัดกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี หรือ ปศท. ได้ออกกวาดล้างโรงงานผลิตซีอิ้วปลอมและน้ำปลาปลอม ซึ่งสามารถตรวจพบแหล่งผลิตได้ถึง 3 หลาย ในเขตทวีวัฒนาและบางขุนเทียน โดยเจ้าหน้าที่สามารถยึดได้ทั้งอุปกรณ์การผลิตและบรรจุขวดซีอิ้วขาว พร้อมกับซีอิ้วขาวปลอม น้ำปลาปลอม ฝาขวด ขวดเปล่า ฉลากปลอม รวมทั้งสิ้นกว่า 190,000 ชิ้น ซึ่งรวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 9 ล้านบาทการเข้าตรวจค้นจับกุมครั้งนี้เนื่องจากมีตัวแทนบริษัทหยั่นหว่อหยุ่น จำกัด เข้าแจ้งความว่า สินค้าของบริษัทถูกปลอมแปลงออกจำหน่ายตามตลาดนัดและพื้นที่ทั่วไปในราคาถูก สำหรับสินค้าที่ตรวจยึดมานั้นพบว่ามีการวางขายตามตลาดนัดในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งสินค้าปลอมเหล่านี้ไม่ได้คุณภาพ มีการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ใช้วิธีการใส่เกลือ แต่งสี และปรุงแต่งรสขึ้นมา จากนั้นจะนำมากรอกใส่ขวดขาย หากซื้อมารับประทานอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย 23 กรกฎาคม 2552ชัวร์หรือมั่วนิ่ม? “ไข่ปลอมจากจีน” สร้างความตื่นตกใจให้กับผู้บริโภคไม่น้อย กับข่าวที่มีการพบไข่ไก่ปลอมวางจำหน่ายที่ประเทศจีน ซึ่งแม้จะมีการตรวจสอบยืนยันชัดเจนแล้วว่ายังไม่มีไข่ไก่ปลอมที่เป็นข่าววางขายในประเทศไทย แต่ อย. รับประกันมีการตรวจสอบเรื่องการลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดนอย่างเคร่งครัด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ยืนยันยังไม่มีการตรวจพบไข่ไก่ปลอมวางจำหน่ายในประเทศไทย เพียงแต่เป็นกระแสจากการเผยแพร่ภาพของไข่ปลอมส่งต่อกันทางอินเตอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.อาหารระบุไว้ชัดเจนว่าหากมีการปลอมอาหารและจำหน่ายเพื่อบริโภค ให้ถือเป็นอาหารปลอม มีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งในเนื้อข่าวจากจีนระบุว่าไข่ปลอมใช่เจลาตินเป็นส่วนผสมในการทำไข่ขาว ส่วนไข่แดง จะถูกย้อมสีด้วยเกลือหรือเอสเตอร์ของกรดทาร์ทาริค เอซิด ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมถ่ายรูปและฟอกหนัง ขณะที่เปลือกไข่ทำจาก แคลเซียม คาร์บอเนต และพาราฟินแวกซ์ผสมกับน้ำ ซึ่งนอกจากจะไม่มีคุณค่าทางโภชนาการเหมือนไข่จริงแล้ว ยังอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย 30 กรกฎาคม 2552โสมสกัด “เต็มพลัง” ห้ามดื่ม-ห้ามขาย ไม่มี อย.อย. ลงพื้นที่ภาคอีสาน จับกุมแหล่งผลิตเครื่องดื่มชื่อ “เต็มพลัง” ที่มีลักษณะเหมือนน้ำสมุนไพรแต่กลับมีรสชาติคล้ายผสมแอลกอฮอลล์ โดยบรรจุอยู่ในขวดขนาดเท่าขวดน้ำปลา ปิดปากขวดด้วยฝาเบียร์ที่ผ่านการใช้งานแล้ว ฉลากที่ขวดเขียนว่าเป็นสินค้าโอท็อปแต่ไม่ได้ระบุวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ   เมื่อนำมาตรวจสอบพบสารไซโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine) ซึ่งเป็นยาแก้แพ้ที่มีฤทธิ์ข้างเคียงกระตุ้นให้เจริญอาหาร โดยเครื่องดื่มดังกล่าวไม่มีใบอนุญาตผลิตยา และไม่มีการขอขึ้นทะเบียนตำรับยา แต่อวดอ้างในคำบรรยายสรรพคุณว่าให้พลังงานสูง แสดงให้เห็นว่าผู้ผลิตมีเจตนาผลิตเป็นยา ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ยา ผู้ใดผลิตมีโทษทางกฎหมาย เตือนร้านค้าห้างวางจำหน่าย เพราะมีความผิดด้วยเช่นกัน โทรคมนาคมไทยยังมีปัญหา ต้องร่วมกันร้องเรียนเพื่อการพัฒนาปัจจุบันปัญหาด้านโทรคมนาคม ถือเป็นปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนไม่พอใจให้กับผู้บริโภคจำนวนไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง โทรศัพท์มือถือ บัตรเติมเงิน sms สัญญาณโทรศัพท์ รวมทั้งเรื่องของสัญญาณอินเตอร์เน็ต ซึ่งหน่วยงานที่คอยดูแลแก้ปัญหาในเรื่องนี้ให้กับเราก็คือ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) องค์กรอิสระภายใต้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) โดย นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สบท. ได้เปิดเผยตัวเลขเรื่องร้องเรียนที่มีเข้ามาในหน่วยบริการประชาชนในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2552 มีจำนวนเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 662 เรื่อง มากกว่าปี 2551 ทั้งปีที่มีการร้องเรียน 334 เรื่อง แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคตระหนักในสิทธิของตัวเองมากขึ้น ซึ่งเรื่องที่ถูกร้องเรียนเข้ามามากที่สุด คือเรื่องคุณภาพของการให้บริการ เช่น ความเร็วอินเตอร์เน็ตต่ำกว่าที่โฆษณา ใช้แล้วสัญญาณหลุดบ่อย และเรื่องปัญหาโทรศัพท์โทรข้ามเครือข่ายติดยาก รวมทั้งเรื่องการแก้ไขปัญหาล่าช้า จำนวน 146 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 22.1 ปัญหาอื่นๆ ที่ถูกร้องเรียนรองลงมามีดังนี้ การคิดค่าบริการผิดพลาด จำนวน 137 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 20.7 การเรียกเก็บเงิน 107 บาท ค่าต่อคู่สายโทรศัพท์หลังถูกตัดสัญญาณ จำนวน 78 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 11.8 และการกำหนดระยะเวลาใช้บริการโทรศัพท์แบบเติมเงินล่วงหน้า จำนวน 75 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 11.3 ซึ่งในจำนวนเรื่องร้องเรียน 662 เรื่อง ทาง สบท. ได้ดำเนินการแก้ไขลุล่วงไปแล้ว 272 เรื่อง สำหรับเรื่องที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องในระดับนโยบาย เช่น การคิดค่าบริการผิดพลาด การกำหนดระยะเวลาใช้โทรศัพท์แบบเติมเงินล่วงหน้า หรือแม้แต่เรื่องความปลอดภัยจากเสารับ-ส่งสัญญาณ ซึ่งต้องมีการหารือเพื่อวางแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนต่อไป หวังว่าการใส่ใจ เข้าใจ และตระหนักในสิทธิของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น คงมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น  ภาคประชาชน ค้านพ.ร.บ.ผู้ประสบภัยรถยนต์ แนะรัฐฯ ตั้งกองทุน-ยกเลิกประกันเอกชนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สมาคมคนพิการ และมูลนิธิเมาไม่ขับ เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกกฎหมายผู้ประสบภัยจากรถ พร้อมแนะให้ตั้งกองทุนสินไหมผู้ประสบภัยจากรถแทน เพื่อแก้ปัญหาการบริหารงานซับซ้อน และลดภาระให้กับประชาชน   ตามที่คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ได้เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเพิ่มความคุ้มครองหลักในส่วนค่าสินไหม กรณีได้รับบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร จากเดิม 15,000 บาท เป็น 35,000 บาท และกรณีเสียชีวิตก็เพิ่มค่าสินไหมจาก 1 แสนบาท เป็น 2 แสนบาท รวมถึงเพิ่มค่าชดเชยรายวันให้วันละ 200 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 20 วันนั้น แม้มาตรการดังกล่าวดูเหมือนจะเอาใจใส่ผู้ประสบภัยรถยนต์ แต่ในความเป็นจริงเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะแก้ปัญหาพื้นฐานของระบบ ซึ่งขาดการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิได้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย   จากการสำรวจผู้ประสบภัยรถยนต์ ใน 48 จังหวัดพบว่า ผู้ประสบภัยรถยนต์มากกว่าร้อยละ 55 ไม่ได้ใช้สิทธิตามกฎหมายฉบับนี้ มีเพียงร้อยละ 42 ที่ใช้สิทธิ โดยผู้ประสบภัยเกือบทั้งหมดประสบปัญหาเมื่อใช้สิทธิ อาทิ การเบิกจ่ายยุ่งยากใช้เวลานาน บริษัทประกันบ่ายเบี่ยงไม่จ่ายค่าทดแทน ทำให้ผู้ประสบภัยต้องใช้สิทธิบัตรทองและประกันสังคมควบคู่ไปด้วยแทน ทั้งนี้ ในปี 2551 บริษัทประกันภัยเอกชน ใช้เงินเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการมากถึง 4,785 ล้านบาท หรือร้อยละ 47 ซึ่งมากกว่าการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่มีเพียง 4,534 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุสำคัญน่าจะมาจากการจ่ายค่าตอบแทนผู้ขายประกัน หรือส่งเสริมการขายที่สูงถึงร้อยละ 45-50 ของค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ทั้งที่เป็นการประกันแบบบังคับ และจากการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพของ คปภ. ดังที่กล่าวมา ทำให้กลุ่มประชาชนรวมตัวกันออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกกฎหมายผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แก้ไขปี พ.ศ. 2551 โดยให้ประชาชนที่ประสบอุบัติเหตุ รับการรักษาพยาบาลโดยใช้สิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพของตนเอง เพราะประชาชนทุกคนได้รับการคุ้มครองด้วยระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่แล้ว และให้ออกกฎหมายฉบับใหม่ เพื่อจัดตั้งกองทุนสินไหมผู้ประสบภัยจากรถ ที่คุ้มครองกรณีทุพพลภาพและเสียชีวิต โดยใช้งบประมาณในการบริหารกองทุนไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งจะทำให้ประชาชนจ่ายเบี้ยประกันตามกฎหมายจัดตั้งกองทุนฉบับใหม่ประมาณ 200 บาทสำหรับรถยนต์ และ 100 บาทสำหรับรถจักรยานยนต์ เป็นการช่วยลดภาระของประชาชน และทำให้ระบบโดยรวมมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากลดความซ้ำซ้อนของกองทุนประกันสุขภาพต่างๆ และกองทุนคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

อ่านเพิ่มเติม >