ฉบับที่ 125 กระแสต่างแดน

  ทองนี้ได้แต่ใดมา ร้านทองไฮโซในอังกฤษให้ข้อมูลที่ไม่ค่อยจะตรงกับความเป็นจริงนัก เวลาที่ถูกถามเรื่องแหล่งที่มาหรือกระบวนการในการสรรหาวัตถุดิบเพื่อนำมาทำเป็นเครื่องประดับ  คนที่ออกมาเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้แก่รายการทีวีแนวสืบสวนสอบสวน Dispatches ที่ใช้วิธีซ่อนกล้องเข้าไปเก็บข้อมูลในประเด็นที่สังคมกำลังสนใจ   คราวนี้เขาส่งทีมงานเข้าไปทำทีเป็นจะซื้อเครื่องประดับทองในร้านหรูอย่าง ร้าน Argos ร้าน Goldsmiths ร้านH. Samuel ร้าน Ernest Jones และ Leslie Davis แต่ก่อนจะซื้อก็ลองยิงคำถามกับพนักงานในร้านว่าทองที่นำมาผลิตเป็นเครื่องประดับแบรนด์ของร้านนั้นมีที่มาอย่างไร   แล้วก็พบว่าพนักงานที่พูดคุยด้วยส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องกระบวนการผลิตสินค้าที่ตนเองขายอยู่สักเท่าไร บางคนไม่รู้ว่าร้านของตัวเองสั่งซื้อทองมาจากที่ไหน แต่ก็ยังตอบแบบมึนๆ ว่ามันก็เป็นทองที่ได้มาอย่างถูกจริยธรรมนั่นแหละ (โดยไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมใดๆ ให้) แต่ทั้งนี้ก็ไม่สามารถบอกได้ว่ามาจากไหนอยู่ดี บางรายถึงกับบอกลูกค้าว่าไม่มีทางที่ลูกค้าจะรู้ได้ ถึงแม้จะมีการอ้างว่าได้รับการรับรองจากสถาบันอะไรก็ตาม   สรุปว่าแม้ลูกค้าเมืองผู้ดีจะทุ่มเทซื้อทองจากร้านใหญ่ๆ ก็ยังไม่สามารถจะมั่นใจได้อยู่ดีว่าทางเลือกของตนเองนั้นไปสนับสนุนการใช้แรงงานเด็ก การทำให้ชุมชนใกล้เหมืองทองเต็มไปด้วยสารพิษ หรือการทำลายสภาวะแวดล้อมโดยรวมหรือไม่   เอารูปจาก Clip นี้ได้ป่าวhttp://www.channel4.com/programmes/dispatches/articles/the-real-price-of-gold-video-clip -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------  กาแฟกับภัยแล้ง คุณรู้หรือไม่ ว่าการปลูกต้นกาแฟเพื่อนำมาชงเป็นกาแฟใน 1 แก้วขนาด 125 มิลลิลิตร นั้นจะต้องใช้น้ำถึง 140 ลิตร หรืออีกนัยหนึ่ง องค์กร Water Footprint Network เขากำลังจะบอกเราว่า อัตราส่วนระหว่างกาแฟกับน้ำที่ใช้นั้น เท่ากับ 1:1100  ขณะนี้ได้เกิดภาวะแห้งแล้งอันสืบเนื่องมาจากการปลูกกาแฟขึ้นแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบราซิลและโคลัมเบียซึ่งเป็นสองประเทศในกลุ่มผู้ผลิตกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้นแล้วคอกาแฟทั้งหลายโปรดรับทราบว่าต่อไปนี้ราคาเมล็ดกาแฟจะต้องแพงขึ้นอย่างแน่นอน  นอกจากนี้ เกษตรกรที่หมู่บ้านฮามา ทางตอนใต้ของกรุงแอดดิส อบาบา เมืองหลวงของเอธิโอเปีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเมล็ดกาแฟคุณภาพเลิศนั้นกำลังประสบปัญหาหนี้ เพราะผลผลิตกาแฟที่ได้นั้นลดลงกว่าเดิม  ทางออกสุดท้ายที่ต้องหาให้ได้ร่วมกัน คือการกำหนดให้บริษัทที่รับซื้อเมล็ดกาแฟ เลือกซื้อจากแหล่งที่มีการจัดการน้ำในการเพาะปลูกที่ดีเท่านั้น  ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากบรรดาผู้ผลิตกาแฟสำเร็จรูปและร้านกาแฟพอสมควรทีเดียว คราฟท์ฟูดส์ ผู้ผลิตกาแฟสำเร็จรูปยี่ห้อแม็กซเวลล์ เฮ้าส์ ได้ให้คำมั่นว่าจะรับซื้อกาแฟจากแหล่งที่ได้รับการรับรองโดย Rainforest Alliance (องค์กรที่ทำหน้าที่คล้ายๆ Fair Trade ที่เรารู้จักกัน แต่เน้นหนักที่ประเด็นสิ่งแวดล้อม) เท่านั้น  หรือเนสท์เล่ ที่อังกฤษ ก็ประกาศให้เงินสนับสนุนการปลูกกาแฟด้วยวิธีที่ยั่งยืน ในประเทศเอธิโอเปีย  สตาร์บัคส์ก็ประกาศลดการใช้น้ำในร้านลงให้ได้ร้อยละ 25 ภายในอีก 4 ปีข้างหน้า ขณะนี้แต่ละสาขาสามารถลดการใช้น้ำลงได้วันละ 100 แกลลอน เท่ากับว่าโดยรวมแล้วสามารถลดการใช้น้ำลงไปได้ร้อยละ 22 แล้ว   กาแฟเป็นหนึ่งในสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงที่สุด ด้วยยอดขายทั่วโลกกว่า 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป แม้แต่ประชากรในประเทศที่ดื่มชาเป็นหลักอย่างญี่ปุ่นหรือเกาหลีก็ยังหันมาบริโภคกาแฟกันตามยุคสมัย-------------------------------------------------------------------------------------------------- แบคทีเรียอาละวาด วิกฤตใหม่ในยุโรป นอกจากปัญหาเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจที่เราได้รับรู้กันอยู่ทุกวันแล้ว ยุโรปยังมีอีกหนึ่งปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเช่นกัน  ถึงวันนี้ผู้คนกว่า 25,000 คน ในยุโรปได้เสียชีวิตลงด้วยเชื้อจอมดื้อยาอย่างแบคทีเรีย MRSA ซึ่งเชื้อตัวเดียวกันนี้ทำให้สหรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาไปกว่า 21,000 ล้านเหรียญเช่นกัน คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมบริษัทยาถึงไม่คิดจะผลิตยาปฏิชีวนะ(หรือที่เราถนัดเรียกว่ายาแก้อักเสบหรือยาฆ่าเชื้อ) ตัวใหม่ๆ ออกมาขายกันบ้าง ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่ามีการดื้อยาเกิดขึ้นมากมาย   นี่เป็นเรื่องที่สหภาพยุโรปกำลังขบคิดหาทางออก   สาเหตุที่บริษัทยาขาดแรงจูงใจในการลงทุนคิดค้นยาตัวใหม่ๆ ออกมาก็เพราะรายได้ที่เกิดจากยาประเภทนี้มีไม่มากนัก เรารับประทานประมาณ 2 – 3 วันก็หาย แถมยังเป็นยาที่เสี่ยงต่อการ “ดื้อ” มากกว่ายาชนิดอื่นๆ นอกจากนั้น ยาฆ่าเชื้อนั้นถือเป็นยาสำคัญที่ต้องทำให้ทุกคนไม่ว่าจะจนหรือรวยสามารถเข้าถึงได้ ยาเหล่านี้จึงถูกกดดันให้มีราคาถูกด้วย  จึงทำให้บริษัทเหล่านี้ทำการตลาดโดยเน้นที่การทำยอดขายปริมาณมาก และนั่นทำให้เกิดการสั่งและการใช้ยาดังกล่าวเกินความจำเป็น ที่นำไปสู่การดื้อยาในที่สุด  สหพันธ์สมาคมยาและอุตสาหกรรมยาแห่งยุโรปหรือ EFPIA มีข้อเสนอให้สร้าง “แรงจูงใจ” ใหม่ๆ ให้กับบริษัทผู้ผลิตยา เช่น การได้รับลดหย่อนภาษีถ้ามีการทำวิจัยยาดังกล่าว การได้รับรางวัล “ยาดีมีประสิทธิภาพ” หรือการขยายเวลาครอบครองสิทธิบัตร เป็นต้น   โอเวอร์โดส โรคระบาดอเมริกันชน ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ติดตามข่าวคนดังในฮอลลิวูด คุณคงจะคุ้นเคยกับสาเหตุการตายยอดฮิตของบรรดาผู้มีอันจะกินเหล่านั้นว่าหนีไม่พ้นการใช้ยาเกินขนาด หรือที่เรียกเป็นภาษาฝรั่งว่า โอดี (หรือ Overdosed) นั่นเอง   มีงานวิจัยที่ชี้ชัดว่าอาการโอดีนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นกับหมู่เซเลบริตี้อเมริกันเท่านั้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา “การใช้ยาในทางที่ผิด” ได้กลายเป็น “โรคระบาด” ในสังคมอเมริกันไปแล้ว ปัจจุบันนี้มีจำนวนคนอเมริกันที่เสียชีวิตเพราะการใช้ยาในทางที่ผิดมากกว่าจำนวนคนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ด้วยซ้ำ สาเหตุการตายโดยเฉียบพลันอันดับหนึ่งในกว่าร้อยละ 50 ของรัฐในอเมริกา คือการใช้ยาในทางที่ผิดนั่นเอง ปีที่แล้ว มีคนอเมริกันเกือบ 30,000 คน เสียชีวิตเพราะการใช้ยาเกินขนาด และในฟลอริด้าเพียงรัฐเดียวก็มีผู้เสียชีวิตด้วยสาเหตุดังกล่าวกว่า 3,000 คน  คนอเมริกันนั้นนิยมพึ่งพายาแก้ปวดกันไม่น้อย และคนกลุ่มนี้นี่เองที่บริโภคร้อยละ 80 ของยาแก้ปวดที่มีฝิ่นเป็นส่วนประกอบที่ผลิตได้ทั้งหมดในโลก  คนอเมริกันแต่ละคนใช้ยาประมาณ 74 – 369 มิลลิกรัม เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า จากช่วงปี ค.ศ. 1997 ถึง ค.ศ. 2007    ทิ้งของสูง   ปีนี้โครงการ Save Everest สามารถเก็บขยะลงมาจากเอเวอเรสต์ได้กว่า 8 ตัน(มากกว่าปีที่แล้ว 3 ตัน) นี่ขนาดเก็บตามเส้นทางระหว่างสนามบินลุคลากับเมืองนัมเชเท่านั้นนะ   ข่าวบอกว่าเส้นทางดังกล่าวเต็มไปด้วยกระป๋องออกซิเจน กระป๋องอาหาร ขวดน้ำดื่ม ซองยา ถุงพลาสติก รวมไปถึงของเสียจากมนุษย์ หรือแม้แต่ซากศพของคนที่เสียชีวิตในระหว่างการเดินทาง   3,210 กิโลกรัมของขยะทั้งหมดที่เก็บมาได้ จะถูกกำจัดที่เมืองนัมเช ซึ่งขณะนี้มีแผนที่จะสร้างโรงกำจัดขยะเพิ่มเป็น 15 แห่ง ขยะที่เหลือนั้นจะถูกนำไปยังเมืองกาฐมาณฑุ เพื่อเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพและนำกลับมาใช้ใหม่ต่อไป   ผู้รับผิดชอบโครงการเก็บขยะที่ว่านี้ได้แก่ สมาคมผู้ปีนเขาเอเวอเรสต์และการท่องเที่ยวแห่งเนปาล ด้วยทุนในการทำงาน 780,000 เหรียญสหรัฐ หวังว่าจะพอใช้สำหรับเก็บและจัดการขยะที่ยังหลงเหลืออยู่บนภูเขาอีกประมาณ 20 ตัน   แต่ถ้านักท่องเที่ยวกว่า 35,000 คน รวมกับลูกหาบและไกด์อีกประมาณ 80,000 คนที่มาผจญภัยที่เอเวอเรสต์ในแต่ละปีจะช่วยกันแบกขยะของตัวเองกลับลงมาด้วยก็คงจะดีไม่น้อย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 104 กระแสต่างแดน

บล็อกเกอร์ต้องสำแดง ออสเตรเลียเกิดปิ๊งไอเดียจัดระเบียบการทำการตลาดทางอินเตอร์เน็ตด้วยการออกข้อบังคับให้เจ้าของบล็อกประเภท “วิจารณ์ผลิตภัณฑ์” หรือ “ใช้ดีแล้วบอกต่อ” แสดงที่มาที่ไปของสินค้าที่ตัวเองพูดถึงด้วย   เงินค่าจดทะเบียนน่ะมีไหม เดนมาร์กนั้นนอกจากจะเป็นประเทศที่รถมีราคาแพงจนน่าตกใจแล้ว ยังเป็นประเทศที่การจดทะเบียนรถก็แพงไม่แพ้กันอีกด้วย เดนมาร์กมีค่าจดทะเบียนรถยนต์สูงที่สุดในยุโรป ที่ประมาณ 1,180 โครเนอร์ (ประมาณ 7,800 บาท) ซึ่งองค์กรผู้บริโภคลงความเห็นว่าราคานี้ไม่สมเหตุสมผลอย่างยิ่ง และเป็นการเก็บเงินเกินไปถึง 1,000 โครเนอร์ (ประมาณ 6,500 บาท) เลยทีเดียว เขาอ้างอิงจากข้อมูลของสรรพากรที่บอกว่าค่าภาษีอยู่ที่ 160 โครเนอร์ (1,055 บาท) ส่วนตัวป้ายทะเบียนก็ราคาประมาณ 22 โครเนอร์ (145 บาท) แล้วที่เหลือนี่น่าจะเป็นค่าอะไร??? สมาคมผู้เป็นเจ้าของรถยนต์แห่งเดนมาร์กและสหพันธ์ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ก็เห็นด้วยว่าหลักการคิดค่าธรรมเนียมดังกล่าวดูไม่ค่อยจะโปร่งใสสักเท่าไร รัฐบาลเดนมาร์กมีรายได้จากการค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนและการโอนรถถึงปีละ 780 ล้านโครเนอร์ (ประมาณ 5 พันกว่าล้านบาท) อังกฤษ เปิดเสรีโฆษณาแฝง การโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์เคยเป็นเรื่องผิดกฎหมายในอังกฤษ แต่หลังจากเดือนกันยายนที่ผ่านมาสถานีโทรทัศน์ที่เอกชนเป็นเจ้าของสามารถอนุญาตให้มีโฆษณาแฝงได้ สภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ทำให้รัฐบาลอังกฤษเปลี่ยนใจ เพราะการอนุญาตให้มีโฆษณาแฝงได้จะทำให้สถานีโทรทัศน์ของเอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้นถึงปีละ 100 ล้านปอนด์ (5,000 กว่าล้านบาท) แค่สถานีไอทีวีสถานีเดียวก็สามารถหาเงินเพิ่มได้ถึง 72 ล้านปอนด์ (ประมาณ 3,800 ล้านบาท) แล้ว ฝ่ายที่สนับสนุนเรื่องนี้อ้างว่าจะเป็นผลดีต่อผู้ชม เพราะการที่สถานีมีทุนมากขึ้น ก็จะสามารถจัดหารายการดีๆ มาให้ดูกันมากขึ้น สตีเฟ่น บาร์เน็ท อาจารย์ด้านนิเทศศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวสมินสเตอร์ บอกว่าคนดูอาจเกิดอาการสับสนระหว่างเนื้อหาของละครกับเนื้อหาส่วนที่เป็นโฆษณาได้ และเป็นไปได้อย่างยิ่งที่ผู้จัดละครจะสร้างเนื้อหามารองรับการโฆษณาแฝง เพื่อหารายได้เสริมเข้ารายการมากกว่าการเขียนบทเพื่อสร้างอรรถรสตามที่ควรจะเป็น ปีเตอร์ บาซาลเกต ผู้สร้างรายการบิ๊กบราเธอร์ที่เรารู้จักกันดีก็ออกมาบอกว่า เรื่องนี้ควรปล่อยให้ผู้บริโภคเป็นคนตัดสิน ถ้าคนดูรู้สึกเลี่ยนกับโฆษณาแฝงเหล่านี้พวกเขาก็จะปิดทีวีหนีไปเอง แถมยังบอกว่าทุกวันนี้อังกฤษก็ซื้อรายการจากอเมริกาที่มีโฆษณาแผงพ่วงมาด้วยมากมายอยู่แล้ว แล้วไหนจะบรรดาเสื้อยืดพร้อมโลโก้ที่เป็นสปอนเซอร์ให้กับนักกีฬาอีก มีเพิ่มมาอีกนิดหน่อยก็ไม่น่าจะมีใครเดือดร้อนก็คงจับตาต้องดูกันต่อไปว่าคนอังกฤษจะได้ดูรายการที่ดีขึ้นจริงๆ หรือจะมีแต่รายการที่เต็มไปด้วยโฆษณาแฝงที่อยู่ดีๆ ผู้ชมก็ได้เห็นสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลเหมือนซิทคอมในบางประเทศหรือไม่หมายเหตุ การห้ามโฆษณาแฝงในอังกฤษยังคงมีอยู่สำหรับสถานีบีบีซี และรายการสำหรับเด็กในโทรทัศน์ทุกช่อง   ของมันมีจริงๆ นะเคยไหมที่เราตั้งใจไปซื้อของลดราคา ตามที่เห็นในโฆษณา แต่ต้องผิดหวังเพราะทางร้านบอกว่าของหมดแล้ว ที่เดนมาร์กเขามีการทำสำรวจไว้ เขาบอกว่ามีผู้บริโภคที่ผิดหวังกลับบ้านมือเปล่าไปถึง 1 ใน 10 อันนี้เป็นการสำรวจกับผู้บริโภคจำนวน 500 คน เมื่อคำนวณดูแล้วพบว่าในแต่ละปีจะมีประชากรชาวเดนมาร์กที่พลาดหวังถึง 250,000 คนเชียว ข่าวบอกว่าต่อไปนี้รัฐบาลจะเอาจริงแล้ว กับของที่โฆษณาว่าลดสุดๆ ลดล้างสต็อก หรือลดพลีชีพนั้น ต้องมีอยู่ที่ร้านจริงๆ และอีกหน่อยอาจจะมีกฎหมายระบุไปเลยว่าต้องมีของในสต็อกอย่างน้อยกี่ชิ้นด้วย มองในมุมกลับหรือมองในแง่ดีก็หมายความว่า มีถึง 9 ใน 10 เชียวนะที่มาซื้อแล้วได้ของกลับไปจริงๆ   โรคระบาดหลังหวัดสายพันธุ์ใหม่ข่าวนี้เก็บตกจากเกาหลีใต้ ในขณะที่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ยังคงแพร่ระบาด และเรายังคงต้องปฏิบัติตามหลักการ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” กันอยู่ ที่เกาหลีใต้นั้นหลายคนร่ำรวยอู้ฟู่ขึ้นตั้งแต่มีข่าวการแพร่ระบาด เพราะทั้งหน้ากากอนามัย น้ำยาทำความสะอาดมือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทั้งหลายล้วนแล้วแต่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า อย.ของเกาหลีเลยต้องออกมาให้สติกับผู้บริโภค เพราะการแข่งขันที่สูงมากนั้นหมายถึงเจ้าของสินค้าจะต้องโฆษณาสินค้าของตัวเองว่าเลิศเกินใครและโดยมากจะเกินจริง เพื่อดึงดูดใจผู้บริโภค เช่น ตามกฎหมายของเกาหลีนั้น หน้ากากที่ไม่ผ่านเกณฑ์ KF94 ขององค์การอนามัยโลกไม่สามารถจะโฆษณาว่า “ป้องกันการติดเชื้อ” ได้ แต่ก็มีหน้ากากดังกล่าววางขายอยู่เกลื่อน นอกจากนี้ยังมีการจงใจสร้างความสับสนระหว่าง น้ำยาล้างมือ (ธรรมดา) กับน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ในขณะที่น้ำยาล้างมือนั้น จัดเป็นเครื่องสำอางซึ่งตามกฎหมายก็หมายความว่าไม่อาจนำมาโฆษณาว่าสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ แม้แต่โรงพยาบาลก็ยังกลัวตกรถไฟต้องหาประโยชน์จากความตื่นกลัวของผู้บริโภคเสียหน่อย ด้วยการแนะนำให้คนไข้รับการตรวจที่เรียกว่า Rapid Antigen Test เพื่อการยืนยันว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิด A ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000 – 40,000 วอน (600 -1,200 บาท) โดยบอกว่าจะรู้ผลเร็วกว่าการตรวจ RT-PCR ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 วัน ทางอย.ที่นั่นออกมาประณามโรงพยาบาลเหล่านี้ว่าไม่มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค เพราะการตรวจดังกล่าวนั้นแม้จะรวดเร็วกว่าแต่ให้ความแม่นยำน้อยมาก และทำให้สูญเสียโอกาสในการได้รับการรักษาอย่างทันเวลาด้วย   นาทีนี้คนที่มีคอมพิวเตอร์และสามารถเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ได้มักจะหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตอยู่เสมอก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการใดๆ ก็ตาม และผู้บริโภคก็มักจะพบกับบล็อกประเภทที่ดูเหมือนเขียนขึ้นจากใจจริงโดยผู้บริโภคด้วยกันที่อยากแบ่งปันเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่ผู้บริโภคอาจยังไม่รู้แน่ชัดคือ บล็อกเกอร์เหล่านั้นได้รับค่าตอบแทนให้มาพูดถึงผลิตภัณฑ์ดังกล่าวหรือไม่ เพราะปัจจุบันการกระทำดังกล่าวเป็นหนึ่งในยุทธวิธีการตลาดของบริษัทต่างๆ โดยการอาศัยช่องว่างที่ขณะนี้ยังไม่มีการควบคุมการทำการตลาดบนอินเตอร์เน็ตอย่างชัดเจน คณะกรรมการการค้าแห่งออสเตรเลียบอกว่า การใช้วิธีขายแบบนี้มีผลทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดอย่างยิ่ง จึงออกกฎว่าตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2552 ปีนี้เป็นต้นไป ขอให้บล็อกเกอร์ที่วิจารณ์หรือให้คะแนนผลิตภัณฑ์ในเน็ตนั้น ระบุให้ชัดเจนว่าสินค้าที่พวกเขาพูดถึงนั้น เป็นสินค้าที่บริษัทให้มาฟรีหรือไม่ และได้รับค่าตอบแทนเท่าไรจากบริษัทในการพูดถึงผลิตภัณฑ์ดังกล่าว คณะกรรมการฯ บอกว่ากฎนี้มีเจตนาจะจัดระเบียบการทำการตลาดของบริษัทต่างๆ โดยไม่ได้มีเจตนาที่จะจำกัดเสรีภาพบล็อกเกอร์แต่อย่างใด

อ่านเพิ่มเติม >