ฉบับที่ 198 คิดก่อนกิน โปรไบโอติกเม็ด

ผลิตภัณฑ์นี้เป็นอาหารเสริมจากอเมริกาที่ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่ดีต่อสุขภาพของมนุษย์หรือ ”โปรไบโอติก” จำนวน 10 สายพันธุ์ โดย 1 เม็ดจะประกอบด้วยจุลินทรีย์จำนวน 1 หมื่นล้านตัวที่ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพและเสริมภูมิต้านทานโรค อีกทั้งยังประกอบด้วย “อินนูลิน” ซึ่งเป็นอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งเรียกว่า “พรีไบโอติก” ... คำกล่าวอ้างนี้เป็นโฆษณาของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมตัวหนึ่ง ท่านผู้อ่านคิดว่า ข้อความนี้ถูกหรือผิดอย่างไรสำหรับผู้เขียน โฆษณาในแนวนี้ดูเหมือนว่า ไม่น่าจะมีอะไรผิด เพียงแต่ผู้บริโภคควรถามตนเองว่า ฉันควรซื้อสินค้าชนิดนี้มากินด้วยเหตุผลใด ซึ่งคำตอบนั้นอาจเป็น เพราะไม่มีโอกาสได้กินอาหารที่มีองค์ประกอบ ซึ่งให้โปรไบโอติก(เชื้อแบคทีเรียที่ดีต่อลำไส้) หรือไม่ได้กินอาหารที่ให้พรีไบโอติก(ซึ่งเป็นอาหารสำหรับโปรไบโอติก) หรือไม่มีเวลาที่จะกินอาหารให้ครบห้าหมู่ ดังนั้นการขับถ่ายนั้นจึงไม่ดี บลาๆๆก่อนตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อ ผู้อ่านจึงจำเป็นต้องทราบข้อมูลเหล่านี้เสียก่อน  โปรไบโอติก คือ จุลชีพที่ยังมีชีวิตบางชนิดที่ร่างกายได้รับเสริมเข้าไปจากภายนอก ซึ่งถ้าได้ในปริมาณที่เหมาะสมย่อมก่อให้เกิดผลดีต่อร่างกาย โดยปกติร่างกายเรามีจุลินทรีย์หรือจุลชีพ ที่มีประโยชน์เหล่านี้อยู่แล้ว แต่ด้วยพฤติกรรมการกินหรือการปฏิบัติตนประจำวันทำให้มีปริมาณจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ไม่สมดุล หรือมีปริมาณจุลินทรีย์ที่ดีน้อยลง ปัจจัยต่างๆ ที่ว่านั้น เช่น การกินยาปฏิชีวนะเป็นประจำ การกินยาแก้ปวดบ่อยๆ การดื่มแอลกอฮอล์ และ/หรือสูบบุหรี่เป็นนิจ ฯลฯ การกระทำแบบนี้มีส่วนทำให้จำนวนของจุลินทรีย์ที่ดีลดน้อยลงประเด็นหนึ่งซึ่งอาจไม่สำคัญนัก แต่รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม คือ ในทางเดินอาหารของเรานั้น มีแบคทีเรียอยู่ในช่วงระหว่าง 300 ถึง 1000 สายพันธุ์ โดยร้อยละ 99 เป็นแบคทีเรียเพียง 30-40 สายพันธุ์ ดังนั้นการลดเพิ่มจำนวนในแต่ละสายพันธุ์จึงส่งผลดีหรือร้ายต่อร่างกายของเรา นอกจากนี้ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่หลายท่านอาจสงสัยว่า แล้วมีวิธีการใดที่ทำให้โปรไบโอติกเข้าไปอยู่ในร่างกายเราได้ตั้งแต่เกิดโปรไบโอติกเข้าไปอยู่ในร่างกายเราได้อย่างไรมีหนังสือหลายเล่มกล่าวว่า ในระบบทางเดินอาหารของเด็กในท้องแม่นั้นอยู่ในสภาพปลอดเชื้อ นักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่า เมื่อเด็กออกมาจากท้องแม่นั้นแบคทีเรียจากแม่(คิดว่าอาศัยอยู่ในช่องคลอดของแม่) และสิ่งแวดล้อมจะเริ่มเข้าสู่ตัวเด็ก ดังนั้นองค์ประกอบของแบคทีเรียในแต่ละคนจึงมี ความแตกต่างที่มีความคล้ายกันไป นับจากจุดเริ่มต้นของชีวิต และรูปแบบชนิดของโปรไบโอติกจะชัดเจนเมื่อเวลาผ่านไป 2 ปี สิ่งที่น่าสนใจคือ เด็กที่คลอดตามธรรมชาติมักมีความแตกต่างอย่างชัดเจนในเรื่องของแบคทีเรียในลำไส้เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่กำเนิดจากการถูกผ่าคลอดมีข้อความโฆษณาจากอินเทอร์เน็ตอีกที่หนึ่งกล่าวประมาณว่า หากแม่รับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติก ช่องคลอดจะมีโปรไบโอติก ซึ่งเป็นการลดการติดเชื้อราในช่องคลอด เวลาลูกคลอดออกมาก็รับโปรไบโอติกจากแม่ทางปากมดลูก และหากลูกดูดนมแม่ลูกก็ได้รับโปรไบโอติกจากหัวนมแม่ด้วย ซึ่งจะช่วยย่อยน้ำตาลแลคโทสในน้ำนมลดการติดเชื้อในลำไส้เด็ก(Atopic Dermatitis) ซึ่งสำหรับผู้เขียนแล้วข้อความดังกล่าวดูแปลกดีเพราะมองไม่ออกว่า โปรไบโอติกที่แม่กินเข้าไปนั้นไปสู่ช่องคลอดและหัวนมของแม่ได้อย่างไรโดยทั่วไปแล้วแบคทีเรียในขั้นเริ่มต้นของชีวิตเด็กนั้น มักเป็นชนิดที่อยู่ได้ทั้งในสภาพที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน ดังนั้นเมื่อออกซิเจนในทางเดินอาหารตอนล่างหมด แบคทีเรียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนจึงคงอยู่เป็นหลักในลำไส้ใหญ่ สิ่งที่น่าสนใจคือ เด็กที่ได้รับนมแม่มักมีแบคทีเรียกลุ่ม bifidobacteria ซึ่งเป็นกลุ่มหลัก ที่เข้าใจกันว่าเพราะในน้ำนมแม่มีปัจจัย(bifidobacterial growth factor) ที่ช่วยให้แบคทีเรียกลุ่มนี้เจริญดี พร้อมทั้งอุดมไปด้วยพรีไบโอติกของแบคทีเรียกลุ่มนี้ ดังนั้นเด็ก ซึ่งดื่มนมผงดัดแปลงสำหรับทารกจึงมีแบคทีเรียในลำไส้ต่างไปบ้างจากเด็กที่ดื่มนมแม่จนครบเวลาที่ควรเป็นความสำคัญของโปรไบโอติกกล่าวกันในหลายบทความว่า หน้าที่หลักของโปรไบโอติกคือ ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย โดยมีกลไกกระตุ้นการหลั่งสารหลายชนิดออกมาต่อต้านและช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อสู้กับเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายเหล่านั้น และเมื่อโปรไปโอติกเหล่านั้นเข้าไปแล้วก็จะไปรบกวนไม่ให้จุลินทรีย์ก่อโรคทั้งหลายเกาะติดผนังลำไส้ และถูกขับออกไปกับอุจจาระในที่สุดส่วนอินนูลินที่มีการเติมในสินค้าข้างต้นนั้น เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของใยอาหารชนิดที่อุ้มน้ำได้ดี  (soluble fiber)  ใยอาหารนั้นไม่ถูกจัดเป็นสารอาหารเพราะร่างกายไม่สามารถย่อยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์โดยตรงได้ จึงเคลื่อนลงสู่ลำไส้ใหญ่หลังการย่อยอาหารในแต่ละมื้อ โดยใยอาหารชนิดที่จัดว่าเป็นพรีไบโอติก หรือเป็นอาหารของแบคทีเรียในกลุ่มโปรไบโอติกซึ่งอยู่ในลำใส้ใหญ่ (สิ่งที่เกิดขึ้นในกรณีนี้ดีอย่างไรจะกล่าวต่อไป) ส่วนใยอาหารอีกกลุ่มซึ่งอุ้มน้ำไม่ดี (insoluble fiber) นั้น แม้แบคทีเรียไม่สามารถใช้เป็นอาหารได้ ก็มีประโยชน์อย่างน้อย 2 ประการคือ จับสารพิษที่หลงเหลือในกากอาหารแล้วนำออกจากร่างกายพร้อมกับอุจจาระ และการช่วยทำให้อุจจาระไม่แข็งจนก่อให้เกิดริดสีดวงทวารยังมีงานวิจัยที่กล่าวว่า ใยอาหารกลุ่มที่อุ้มน้ำได้ดีนั้น มีผลช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ในเลือดและลดระดับโคเรสเตอรอล เพิ่มปริมาณไขมันดี (HDL) และลดระดับปริมาณไขมันเลว (LDL) จึงมีการนำมาใช้กับอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและเป็นอาหารลดความอ้วนได้ ประเด็นเหล่านี้ขอไม่กล่าวในบทความนี้เพราะเป็นเรื่องยาวเกินไปผู้เขียนใคร่ขยายความในประเด็นหนึ่งที่ผู้อ่านบางท่านอาจยังไม่ตระหนักนักคือ ทุกครั้งที่ท่านกินผักหรือผลไม้นั้น ท่านควรได้ใยอาหารทั้งสองกลุ่ม มากบ้างน้อยบ้างต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของพืช ใยอาหารชนิดที่อุ้มน้ำได้ดี ซึ่งมีสบบัติเป็นพรีไบโอติกนั้นมักมีลักษณะสัมผัสที่นุ่มในปาก ในขณะที่ใยอาหารชนิดที่อุ้มน้ำไม่ดีนั้นผู้บริโภคจะรู้สึกหยาบเมื่ออยู่ในปาก ประโยชน์ข้างเคียงของใยอาหารกลุ่มนี้คือ การทำความสะอาดซอกฟัน โดยผักที่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ คะน้า ซึ่งมีก้านใบเป็นใยอาหารที่อุ้มน้ำไม่ดีแต่เนื้อใบเป็นส่วนที่อุ้มน้ำได้ดีกว่า และถ้าต้องการตัวอย่างของอาหารที่มีใยอาหารอุ้มน้ำดีในปริมาณสูงก็ให้นึกถึง กล้วยชนิดต่างๆ หรือผักตระกูลแตงต่างๆกลับมาที่ประเด็น ซึ่งผู้เขียนกล่าวไว้ในตอนต้นของบทความว่า ท่านผู้อ่านรู้ตัวได้อย่างไรว่า ต้องการกินโปรไบโอติกและ/หรือพรีไบโอติก คำตอบนั้นไม่ยากนักโดยให้พิจารณาว่า หากตื่นนอนแล้วปฏิบัติการถ่ายอุจจาระหลังตื่นนอนไม่ไหลลื่นตามที่ควรเป็น(ก่อให้เกิดการคั่งค้างของกากอาหารในลำไส้ใหญ่) เมื่อนั้นท่านผู้อ่านควรคิดถึงโปรไบโอติกและพรีไบโอติกได้แล้วคำถามที่ควรตามมาคือ จำเป็นต้องซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งให้โปรไบโอติกหรือพรีไบโอติก หรือให้ทั้งสองอย่างซึ่งมักมีการใช้คำว่า ซินไบโอติก (synbiotic) หรือไม่ คำตอบคือ ท่านอยากกินสิ่งนี้ในรูปของอาหารที่มีรสชาติ หรือในรูปเม็ดยาซึ่งไม่มีรสอะไรในอินเทอร์เน็ตนั้น มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของโปรไบโอติกอย่างมากมาย แต่ข้อมูลที่ดูจะเป็นประโยชน์ต่อคนไทยคือ อาหารหมักดองของภาคต่างๆ นั่นเอง  แต่เน้นว่า ควรเป็นผักดอง ซึ่งเราควรกินดิบเพื่อให้ได้จุลินทรีย์ที่มีชีวิต แต่ในกรณีของเนื้อสัตว์หมักดอง เช่น ปลาร้า ปลาเจ่า หอยดอง นั้น ผู้เขียนไม่สนับสนุนให้กินดิบเพราะโอกาสได้รับพยาธิมีสูงมาก อันตราย แต่ถ้าทำให้สุกโปรไบโอติกก็ตายไปหมดสิ่งที่เหลือคือความอร่อยเท่านั้นสำหรับพรีไบโอติกนั้น ในกรณีที่ท่านผู้อ่านไม่นิยมกินในรูปเม็ดยา ท่านสามารถกินผักและผลไม้ดังที่ผู้เขียนกล่าวข้างต้น(คะน้า กล้วย แตง) และหากเป็นอาหารที่อยู่ในรูปที่เรียกว่า ซินไบโอติกของไทย แบบซื้อง่ายและกินได้คล่องนอกช่วงเข้าพรรษาก็คือ ข้าวหมาก ยิ่งถ้าเป็นข้าวหมากจากข้าวเหนียวดำแล้ว นอกจากจะได้โปรไบโอติกและพรีไบโอติก ท่านยังได้สารต้านออกซิเดชั่นและสารต้านการก่อกลายพันธุ์พร้อมกันไปด้วย แต่อาจต้องรู้ไว้ก่อนว่า ท่านไม่ควรกินข้าวหมากมากไป เพราะอาจถูกตรวจพบแอลกอฮอล์ในลมหายใจได้ และอาหารนี้ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งที่เด็กและสตรีมีครรภ์กิน 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 135 ทำโปรไบโอติกแบบง่ายกินกันเถอะ

แม้จะมีข้าวเหนียวกล้องอยู่ แต่แผนทดลองที่เพาะให้งอกเพื่อทำข้าวหมากอารมณ์อีกรอบต้องปิดตัวลง ลูกแป้งข้าวหมากที่เป็นหัวเชื้อในการหมักหาซื้อได้ยากในตลาดแถวบ้าน ที่ง่ายกว่าคือซื้อข้าวหมากจากแม่ค้าในตลาดกิน แต่บ่อยๆ ซ้ำซากก็เบื่อได้  จึงสลับกันไปกับโปรไบโอติกที่ทำกินเองอย่างโยเกิร์ต ไว้ช่วยเสริมสร้างจุลินทรีย์ในลำไส้ในระบบการย่อยอาหาร และเพิ่มภูมิคุ้มกัน เพราะฉันเองเอาแต่นั่งทำงานหน้าจอไม่ค่อยออกกำลัง และที่ชอบมากอีกอย่างคือรสชาติของโยเกิร์ตที่ทำเองยังไม่มีรสหวานจัดอย่างที่มีวางจำหน่าย วิธีทำแบบง่ายๆ คือ ใช้โยเกิร์ตรสธรรมชาติ ที่ซื้อมา 1 แก้ว  เทใส่กล่องพลาสติกเป็นหัวเชื้อแล้วเทด้วยน้ำนมรสธรรมชาติลงไป 400 – 500 มล.เลือกภาชนะเทส่วนผสมทั้ง 2 อย่างจนให้เหลือช่องว่างเพียงเล็กน้อย แล้วคนให้เนื้อโยเกิร์ตกับนมเข้ากันดี  ปิดฝาให้แน่น วางตั้งในที่ไม่มีแสงแดดส่อง ทิ้งไว้ 1 คืนกับอีก 1 วัน ถ้าอากาศเย็นอาจเพิ่มชั่วโมงในการทำงานของเชื้อจุลินทรีย์  ลองสังเกตดูว่าใช้เวลาหมักนานเกินไปอาจมีน้ำสีเหลืองใสลอยอยู่เหนือเนื้อโยเกิร์ต เป็น byproduct ให้ช้อนทิ้งออก ช่วงเวลาในการปล่อยให้เชื้อจุลินทรีย์ทำงานนั้นขึ้นกับปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์ กับน้ำนม และอุณหภูมิ หากอากาศร้อนจะใช้เวลาน้อยลง แต่ถ้าอากาศเย็นก็อาจจะเพิ่มเวลามากขึ้น  เมื่อเชื้อเดินหน้าทำงาน น้ำนมจะค่อยๆ เปลี่ยนสภาพ โดยมีเนื้อข้นขึ้น รสเปรี้ยว ไม่หวานอย่างที่เราซื้อกิน หากต้องการเพิ่มรสก็นำแยมรสที่ชอบมาใส่เพิ่ม  แต่ผู้เขียนนิยมเอามาราดมะละกอ สับปะรด เม็ดข้าวโพดต้ม ลูกอินทผาลัม ถั่วอบชนิดต่าง เมล็ดธัญพืช ฯลฯ กินตอนเช้า คล้ายๆ ฟรุ้ตสลัด   โยเกิร์ตที่หมักเองนี้ต้องแช่เก็บไว้ในตู้เย็น และยังนำมาใช้ต่อเชื้อทำเพิ่มใหม่ในครั้งต่อๆ ไปได้อีก  และถ้าจะให้ประหยัดอีกลองเลือกซื้อน้ำนมจืดในชั้นวางที่ลดราคาเพราะว่าจะหมดอายุแต่ยังไม่บูดดู  รับรองว่าใช้ได้ดีและคุ้มค่าจริงๆ ถ้าอยากได้เนื้อโยเกิร์ตที่เนียนเพิ่มขึ้นมาอีกหน่อย ให้เอาน้ำใส่หม้อตั้งไฟ  แล้วเทนมใส่ภาชนะทนไฟที่มีขนาดเล็กกว่า เอาภาชนะใส่นมลงไปอุ่นในน้ำ หมั่นคนให้นมไม่เป็นก้อน พออุ่นแล้วตั้งทิ้งไว้พอนมเย็นลงขนาดทดลองเอาหยดลงหลังมือแล้วไม่สะดุ้ง แล้วใช้วิธีการทำโยเกิร์ตแบบข้างต้น   บางคนชอบเนื้อเนียนข้นถึงขนาดลงทุนซื้อเครื่องตุ๋นเพื่อทำโยเกิร์ตเพื่อควบคุมอุณหภูมิและเวลา  แต่ผู้เขียนมักใช้วิธีแรกมากกว่า เพราะถ้าทำบ่อยๆ จะรู้จังหวะการทำงานของเชื้อซึ่งช่วยให้ ประหยัดสตางค์ไปอีกนิด เมื่อคั้นผักกับเกลือเพื่อเอารสขื่นฉุนออกแล้ว ใช้น้ำสะอาดล้างออก 1 เที่ยว บีบต้นหอมให้สะเด็ดน้ำ แล้วจึงใส่ลงในชาม กินโปรไบโอติกแบบฝรั่งไปแล้ว หันมาทำแบบบ้านๆ มั่งดีกว่า ผักดอง ที่ใช้กินกับน้ำพริกเป็นอีกตัวหนึ่งที่ฉันกับแม่ชอบ น้านิตย์ บางครั้งลูกค้าประจำที่รับหนังสือพิมพ์ที่บ้านก็เอามาผักกุ่มดองมาแบ่งให้ กินบ่อยๆ เพราะชอบกินและทำทีละเยอะๆ  และเป็นความสุข ความภูมิใจของแก แม่ก็เคยดองหอมไว้กินเองแต่ไม่บ่อยนัก   วิธีการทำก็คือเอาต้นหอมแบ่ง 2 ขีด  ล้างสะอาดแล้วมาหั่นให้ได้ 3 ท่อนใหญ่ๆ ส่วนหัวหนาอวบหนาใช้มีดบางผ่าแบ่งให้บางลง ใส่ถาด  จากนั้นโรยเกลือ 1 – 2 ช้อนโต๊ะลงไปให้ทั่ว ทิ้งไว้สัก 15 นาที ผักจะสลดแล้วจึงค่อยลงมือขยำเกลือกับต้นหอมให้เข้ากัน  หากลงมือคั้นสดๆ เลยอาจจะน้ำตาไหลพรากด้วยความซาบซึ้งก็เป็นได้ ใบเขื่องที่เป็นแก้ว หรือกระเบื้องเคลือบ หลีกเลี่ยงภาชนะที่เป็นสังกะสีหรืออะลูมิเนียม จากนั้นใส่น้ำพอท่วมผัก ใส่ข้าวสุกที่เป็นข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้าก็ได้ 1 กำมือ และเกลือ 1 หยิบมือ  ทิ้งไว้ 1 วัน 1 คืน  ถ้าทิ้งไว้นานกว่านั้นจะเปรี้ยว หากกินเหลือก็ให้ใส่ภาชนะปิดฝาเก็บไว้ในตู้เย็น(สูตรนี้ที่แม่ทำคล้ายกับของแม่สั้น ทองมวย มีสง่า จากโครงการข้าวปลาอาหารอีสานมั่นยืน จ.อุบลราชธานี เคยสาธิตไว้ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ จนหลายคนติดใจเมื่อหลายปีก่อน) ผักดองที่แม่ทำบ่อยกว่าคือผักบุ้งไทย แต่วิธีการดองแบบ “ด่วน” ที่ทำปุ๊บก็ได้กินเชียวและเก็บไว้กินได้อีก 2 – 3 วันจนกว่าจะหมดโดยวิธีการนี้จะไม่ค่อยได้โปรไบโอติกเท่าไหร่เพราะไม่ผ่านกระบวนการหมัก แต่อร่อยได้รสชาติชวนน้ำลายสอไม่แพ้กัน   รสเปรี้ยวที่ใช้ก็แล้วแต่จะมีในช่วงนั้น มะขามเปียกหรือมะดันก็ได้ วิธีการคือล้างยอดผักบุ้งไทย จากนั้นเอาเกลือ มะขามเปียก หรือมะดัน ขยำกับผักบุ้ง  โดยสัดส่วนคือผักบุ้ง 1 กำมือ   เกลือ 1 ช้อน  มะขามเปียก 3 – 4 ฝัก หรือมะดัน 2 – 3 ลูก  ขยำให้เข้ากัน  บางทีแม่ก็ฝานมะเขือเปาะใส่ลงไปในชามดองผักบุ้งด้วย  ผักดองด่วนนี้เอาไปกินกับน้ำพริกกะปิ หรือน้ำพริกตาแดงเข้ากันดีมาก สลับกับผักลวกราดกะทิและผักสด    อ้อ! กะปิ ที่ใช้ตำน้ำพริกนี่ก็โปรไบโอติก มรดกทางอาหารที่รับมาจากภูมิภาคของเราชาวอุษาคเนย์  ที่มีความสำคัญเทียบเท่ากับชีส โปรไบโอติกยอดฮิตติดครัวของฝรั่งตะวันตก ผักกาดดอง ผักดองแบบจีนที่คุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กอีกอย่าง  ทั้งแบบเอาผักกาดเขียวมาดองทั้งหัวโดยหมักเกลือกับข้าวอัดลงในไหดินเคลือบ   ในตลาดสด เวลาขายคนขายก็ควักจากไหใส่ถุงเดินหิ้วเอากลับมาบ้าน และแบบกระป๋อง ที่หลังๆ มามีฝาเปิดกินแบบง่ายๆ   ซึ่งแบบหลังนี้มักจะได้กินแบบเอามายำกับกุ้งแห้งกินกับข้าวต้ม และผัดกับกระเพาะหมูเสียมากกว่า   ส่วนอย่างแรกนั้นเจอกัน บ่อยๆ ในเมนู ผัดไข่  ผัดกระเพาะหมู  ต้มกับกระดูกหมูหรือกระเพาะหมู  ต้มกับมะระ   และซอยเป็นชิ้นเล็กๆ กินแนมกับขนมจีน น้ำพริก-น้ำยา วิธีต้มกระเพาะหมูผักกาดดอง เริ่มโดยเอากระเพาะหมูมาล้างด้วยเกลือ 3 – 4 ครั้ง ให้หมดเมือกก่อนจึงเอาไปต้มทั้งกระเพาะจนเปื่อยได้ที่ ระหว่างต้มหมั่นช้อนฟองออกเพื่อให้น้ำซุปใส   เมื่อกระเพาะเปื่อยนุ่มดีแล้วหั่นเป็นชิ้นพอคำ  ใส่กระเทียมทุบ พริกไทยเม็ดบุบ เก๋ากี๋ และเกลือ  จากนั้นหั่นผักกาดดองที่ล้างสะอาดแล้วให้มีขนาดเขื่องกว่าชิ้นกระเพาะหมูเล็กน้อยลงไป  ถ้าชอบกินผักกาดดองกรอบๆ ก็ไม่ต้องเคี่ยวนาน แค่พอเดือดก็ยกลง เท่านี้ก็ได้ต้มจืดร้อนๆ ซดโฮกๆ ได้อย่างลื่นคอแนมกับผักบุ้งดองและน้ำพริกกะปิ ปลาทูแล้ว

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point