ฉบับที่ 276 จ่ายล่วงหน้าซื้อกิ๊ฟวอชเชอร์ร้านอาหาร หากร้านเจ๊ง ไปแจ้งความขอเงินคืนได้

        กลยุทธ์การตลาดของร้านอาหารมีหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือเสนอขายกิ๊ฟวอชเชอร์ให้ลูกค้าจ่ายเงินล่วงหน้าซื้อโปรโมชั่นที่เชียร์ว่าคุ้มสุดๆ ทำให้ลูกค้าหลายคนตัดสินใจซื้อเพราะคำนวณแล้วว่าคุ้มจริง โดยลืมนึกถึงความเสี่ยงว่าหากจู่ๆ ร้านเจ๊ง แล้วเงินที่เหลือยังจะได้คืนไหม         คุณแพรวก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้นึกถึงความเสี่ยงในข้อนี้ไว้ก่อนเลย เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2566 เธอไปกินบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่นที่ร้านชื่อดังแห่งหนึ่งสาขาพัทยา ซึ่งทางร้านจะขายแบบโปรฯ ในราคา 899 บาท ซื้อ 1 แถม 1 โดยต้องจ่ายเงินก่อน มากินเท่าไหร่ก็หักไปเท่านั้น แรกๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ต่อมาวอชเชอร์เริ่มใช้ไม่ได้ ต้องจองล่วงหน้าและเมนูอาหารก็ไม่ครบ ลดลงไปประมาณ 30%           มีอยู่วันหนึ่ง คุณแพรวแปลกใจที่เห็นพนักงานเต็มร้านแต่กลับไม่รับลูกค้า บอกว่าวัตถุดิบในการทำอาหารไม่เข้ามาที่ร้าน เธอเริ่มสงสัยจึงลองไปเช็กที่สาขาอื่นๆ ก็พบว่าร้านอื่นมีวัตถุดิบครบ และเปิดบริการให้ลูกค้าได้ตามปกติ จากนั้นเข้าไปติดตามในเพจของร้านนี้ ก็พบลูกค้าที่มีปัญหาซื้อกิ๊ฟวอชเชอร์ของร้านนี้ไว้แต่กลับใช้ไม่ได้เพราะร้านปิดเหมือนกับเธอ เข้ามาคุยในเพจและรวมตัวกันราว 200 กว่าคน          คุณแพรวเองซื้อกิ๊ฟวอชเชอร์ไว้ประมาณ 4,000 กว่าบาท พอเห็นท่าไม่ดีจึงไปแจ้งความพร้อมผู้เสียหายในเพจอีกประมาณ 10 คน ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยา แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าเลย เมื่อติดต่อทางร้านไป ก็แจ้งว่ากำลังปิดปรับปรุงพื้นที่ให้ดีขึ้น แต่ถ้าลูกค้าคนไหนจะขอเงินคืนก็ยินดีจ่ายให้ภายใน 10 วัน แต่แล้วก็เงียบหายไปอีก                    ต่อมาคุณแพรวได้รู้ว่ามีพนักงานของร้านเข้าไปแจ้งความด้วยว่ายังไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งทางร้านติดค้างไว้อยู่ 3 เดือน และเล่าถึงสาเหตุที่ร้านปิด เป็นเพราะว่าเจ้าของสั่งวัตถุดิบมาทำอาหารแล้วไม่จ่าย จนบริษัทที่ส่งอาหารไม่ส่งวัตถุดิบมาให้ คุณแพรวหวั่นใจว่าเจ้าของร้านอาหารนี้จะเบี้ยวหนี้ที่รับปากไว้ จึงโทรศัพท์ติดต่อมาที่มูลนิธิฯ เพื่อขอคำปรึกษา แนวทางการแก้ไขปัญหา         เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ทางเจ้าหน้าที่แนะนำให้คุณแพรวในฐานะผู้เสียหาย แจ้งความเกี่ยวกับการฉ้อโกง เป็นคดีอาญา ให้ตำรวจเรียกคู่กรณีมาคุยกันที่สถานีตำรวจ เพื่อเป็นการกดดันคู่กรณี เนื่องจากถ้าเจ้าของร้านอาหารไม่ต้องการที่จะขึ้นศาลหรือติดคุก ก็อาจจะพยายามหาเงินมาใช้หนี้ให้ได้ในที่สุด         หลังจากที่คุณแพรวได้พาผู้เสียหายประมาณ 10 คน ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยาด้วยกันอีกครั้งตามคำแนะนำแล้ว เพียงไม่นาน ทางเจ้าของร้านอาหารได้ติดต่อมาและตกลงจะคืนเงินทั้งหมดของผู้เสียหายแต่ละคนจนครบทุกคน ล่าสุด คุณแพรวได้รับเงินคืนเรียบร้อยแล้ว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 256 ฉันก็สั่งตามหน้าเพจทำไมได้ราคาไม่ตรงตามแจ้ง

        เวลาเห็นโปรโมชันไม่ว่าจะเป็นอาหาร เสื้อผ้า หรือข้าวของใดก็ตาม แม้บางทีไม่ได้อยากได้ อยากซื้อแต่ก็พบว่า อืม...ราคาดีแฮะ ลองสั่งมาดีไหม เราเชื่อว่าหลายๆ คนเป็นแบบนี้         คุณภูผา ก็เป็นเช่นเดียวกับคนส่วนใหญ่ ปกติไม่ได้ชอบกินขนมหวานอะไรมากนัก แต่ก็ติดตามเพจร้านขนมชื่อดังร้านหนึ่งอยู่ แล้ววันหนึ่งก็พบว่า มีขนมตัวดังตัวหนึ่งของร้าน ลดราคา โอ้วมันช่างน่าสนใจ ปกติขนมชิ้นนี้จะขายในราคาแพ็กละ 65 บาท แต่โปรที่ขึ้นบนหน้าเพจคือ 50 บาท เมื่อราคาดีขนาดนี้ คุณภูผาจึงสั่งทันทีโดยใช้บริการผ่าน ดิลิเวอรี่ที่ระบุในข้อความที่โฆษณา ตอนที่ถามกับทางดิลิเวอรี่ก็ถามแล้วว่า โปรฯ นี้ใช้ได้ใช่ไหม  ทางดิลิเวอรี่ก็ตอบว่า “ได้ค่ะ” แต่พอได้รับสินค้า ตอนจะจ่ายเงิน สองร้อยบาท (ภูผาสั่งมาสี่กล่อง) กลับเป็นราคาปกติคือ 260 บาท (65x4) ไหงเป็นงั้น         คุณภูผาคาใจจึงอินบอกซ์ไปถามทางเพจร้านขนม แอดมิน บอกว่า โปรโมชันนี้หมดไปตั้งแต่สัปดาห์ก่อน คุณลูกค้าสั่งสินค้าวันนี้เป็นราคาปกติค่ะ แต่คุณภูผายืนยันว่า นี่ไงผมสั่งตามที่หน้าเพจลงไว้เมื่อตอนเช้าวันนี้นะ ไม่มีบอกว่าเป็นโปรฯ เมื่อสัปดาห์ก่อน อย่างนี้ทางเพจจะไม่รับผิดชอบหรือ คุยกันไปมาเมื่อไม่ได้รับคำตอบที่แสดงความรับผิดชอบ คุณภูผาจึงโทรมาปรึกษากับทางฝ่ายพิทักษ์สิทธิ มพบ. ว่าเขาจะทำอะไรได้บ้าง แนวทางการแก้ไขปัญหา         ฝ่ายพิทักษ์สิทธิ ตรวจหน้าเพจร้านขนมแล้วพบว่า โฆษณาที่บอกเรื่องโปรโมชันได้ถูกลบไปแล้ว แต่ทางคุณภูผายังบันทึกภาพเก็บไว้ จึงได้นำภาพแสดงหลักฐานกับทางเพจเพื่อขอให้รับผิดชอบตามที่โฆษณาคือ ขายสินค้าในราคาโปรโมชันกับคุณภูผา เพราะเป็นสิทธิของผู้บริโภคที่พึงได้และแม้จะเป็นความผิดพลาดของทางเพจที่ไม่ตั้งใจนำภาพโฆษณาดังกล่าวโพสต์ทางหน้าเพจ แต่ก็ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ทางเพจได้แจ้งแก่ผู้บริโภค ต่อมาคุณภูผาก็แจ้งมาว่า ทางร้านค้าจะคืนเงิน 60 บาทให้กับทางคุณภูผา ก็จบกันไปด้วยดี

อ่านเพิ่มเติม >

ยิ่งแชร์ฉลาดซื้อ ยิ่งรับ Point :: แลกของรางวัล

การแชร์เพื่อใช้ point แลกโปรโมชั่นสะสมแต้มได้ทั้ง สมัครชิกฟรี และ สมาชิก VIP  การแชร์ข้อมูลบนเว็บไซต์ไปยัง Facebook ที่ทางเว็บไซต์ได้กำหนดแต้ม (Point)ไว้  จะต้องเป็นสมาชิกเว็บฉลาดซื้อก่อนเพื่อสะสมแต้มเข้าบัญชี  โดยมีกติกาดังนี้• ท่านจะต้องแชร์จากบทความในเว็บฉลาดซื้อไปยัง Facebook  (ไม่ใช่แบบ Copy Link)•  จำนวน Point ที่ท่านจะได้ต่อการแชร์จะแสดงอยู่ตรง ไอคอน Facebook ด้านล่างบทความทางมือถือ หรือ ด้านข้างทางคอมพิวเตอร์• ท่านจะต้องแชร์บทความที่ไม่ใช่มีลักษณะบทความใดบทความหนึ่งซ้ำๆ ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน• การแชร์ของท่านจะต้องเป็นการเปิด สาธารณะ หรือ เพื่อนของท่านเห็น ไม่ใช่การแชร์ที่เห็นเพียงท่านคนเดียว• การแชร์ของท่านจะต้องกระทำโดยบุคคลโดยไม่ใช่เป็นการใช้โปรแกรมบอททางคอมพิวเตอร์ในการแชร์ข้อมูลดังกล่าง• หากทางนิตยสารฉลาดซื้อ ตรวจสอบการแลกโปรโมชั่นไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ทางเราขอสงวนสิทธิ์การแลกโปรโมชั่นของท่าน• ท่านต้อง Login บนเว็บไซต์ฉลาดซื้อก่อนการแชร์ เพื่อสะสมเข้าบัญชีท่าน• สามารถชมของ  "โปรโมชั่น" คลิกที่นี่สมัครสมาชิกฉลาดซื้อ คลิกที่นี่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 ไม่ได้ถูกกว่าเสมอไป

ร้านอาหารส่วนใหญ่มักมีการจัดเซ็ตหรือชุดอาหารพร้อมโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อแสดงให้ผู้บริโภคเห็นว่าถ้าซื้อเป็นเซ็ต จะได้ความคุ้มค่ากว่าการสั่งอาหารทีละรายการ แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ เราลองไปดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้กัน คุณปราณีไปรับประทานพิซซ่ากับครอบครัวที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ซึ่งหลังจากดูเมนูอาหารแล้วพบว่า มีการจัดโปรโมชั่นเซ็ตอาหารในราคา 399 บาท เธอจึงเลือกสั่งเมนูนี้มารับประทาน อย่างไรก็ตามภายหลังเธอได้ตรวจสอบราคาอาหารแต่ละรายการในเซ็ตดังกล่าว จึงพบว่าราคาเซ็ตกลับมีราคาแพงกว่าการซื้อแยกแต่ละรายการ ทำให้คุณปราณีแสดงความคิดเห็นไปยังหน้าเว็บไซต์ของร้านอาหารดังกล่าว โดยขอให้มีการปรับปรุงราคา เนื่องจากเธอเห็นว่าเป็นการหลอกลวงลูกค้า เพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น แต่ก็ไม่มีการตอบกลับจากร้านค้าดังกล่าวแต่อย่างใด คุณปราณีจึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำปรึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับกรณีนี้ ผู้ร้องได้แนบหลักฐานราคาอาหารจากหน้าเว็บไซต์ของร้านดังกล่าวมาด้วย ซึ่งเมื่อศูนย์พิทักษ์สิทธิเข้าไปตรวจสอบก็พบว่า การจัดชุดโปรโมชั่นดังกล่าวมีราคาสูงกว่าการซื้อแยกรายการจริง จึงช่วยผู้ร้องทำหนังสือถึงบริษัทให้มีการปรับปรุงโฆษณา ซึ่งภายหลังพบว่าทางบริษัทได้นำรายการเช็ตอาหารดังกล่าวออกจากเมนูไปแล้ว ศูนย์ฯ จึงขอฝากเตือนผู้บริโภคให้เปรียบเทียบราคาเซ็ตอาหารกับการสั่งแยกแต่ละรายการก่อนตัดสินใจ เพื่อป้องกันการถูกลวงจากโฆษณาส่งเสริมการขายที่เอาเปรียบผู้บริโภคนั่นเอง 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 191 ตรวจสอบโปรโมชั่นมือถือก่อนใช้งาน

ทุกเครือค่ายโทรศัพท์มือถือ มักจัดโปรโมชั่นมาจูงใจผู้บริโภค ซึ่งหากเราไม่ตรวจสอบรายละเอียดของโปรโมชั่นเหล่านั้นก่อนใช้งานให้ถี่ถ้วน อาจทำให้ต้องเสียเงินเพิ่มโดยไม่รู้ตัว ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณปราณีซื้อโทรศัพท์มือถือพร้อมโปรโมชั่นให้คุณแม่ โดยเลือกเป็นโปรไอทอล์ค (i-talk) จากค่าย True Move ในราคา 199 บาท/เดือน (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งสามารถโทรได้ 250 นาทีและเล่น เฟสบุ๊ก (Facebook) ได้นาน 12 เดือน อย่างไรก็ตามภายหลังได้รับใบแจ้งหนี้ เธอพบว่าต้องชำระค่าบริการทั้งหมดเป็นจำนวน 342.93 บาท ผิดจากที่คิดไว้คือ 212.93 บาท ทำให้เธอรู้สึกว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค จึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ ช่วยประสานงานกับทางเครือค่าย ซึ่งได้ชี้แจงกลับมาว่าค่าบริการส่วนเกินดังกล่าว เกิดจากการที่ผู้ใช้บริการใช้อินเทอร์เน็ตเล่นวีดีโอคอล (VDO Call) ซึ่งตามโปรโมชั่นสามารถใช้บริการได้แค่เล่นเฟสบุ๊ก อย่างไรก็ตามผู้ร้องได้แจ้งว่า ไม่ทราบมาก่อนว่า โปรโมชั่นสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เพียงบริการเดียว นอกจากนี้ยังเป็นเบอร์และโทรศัพท์ของค่ายที่เปิดให้มารดาใช้งาน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่ามีการกดผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ ทั้งนี้ภายหลังการเจรจาทางเครือค่ายยินดีคืนค่าบริการส่วนเกินดังกล่าวให้ และผู้ร้องได้ยุติการร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 188 เรียกเก็บเงินเกินโปรโมชั่น

โปรโมชั่นส่วนใหญ่ มักมีเงื่อนไขยิบย่อยที่อาจทำให้เราลืมสังเกตได้ ซึ่งเรามักจะมารู้ทีหลังก็เมื่อตอนที่จะต้องจ่ายเงินค่าบริการ เหมือนดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณชูชัยแจ้งว่าได้เปิดใช้บริการของ ทรูอินเทอร์เน็ต โดยเลือกใช้โปรโมชั่นซุปเปอร์สปีด ไฟเบอร์ (Super Speed Fiber) เหมาจ่ายราคา 799 บาท/เดือน (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%) ซึ่งสามารถโทรฟรี 50 นาทีและเล่นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 30 เม็กกะไบต์ อย่างไรก็ตามเขาพบว่ามีการเรียกเก็บค่าบริการเพิ่ม เดือนละ 100 – 120 บาททุกเดือน ทั้งที่ไม่ได้ใช้บริการเกินโปรโมชั่นที่กำหนดไว้ จึงส่งเรื่องมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องนำเอกสารสำคัญ เช่น ใบเรียกเก็บเงิน ใบเสร็จรับเงิน ใบโฆษณาต่างๆ มาเป็นหลักฐานประกอบการร้องเรียน จากนั้นจึงแจ้งเรื่องไปยังบริษัทดังกล่าว ซึ่งภายหลังการตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ของบริษัทได้แจ้งกลับว่า กรณีที่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเกินราคาโปรโมชั่น เนื่องจากผู้ร้องได้ใช้เบอร์โทรศัพท์บ้าน โทรออกไปยังหมายเลขพิเศษ เช่น เบอร์โทรที่มี 4 หลัก ซึ่งการโทรไปยังเลขหมายดังกล่าว ไม่อยู่ในเงื่อนไขการโทรฟรี ทำให้ต้องจ่ายครั้งละ 3 บาท รวมทั้งมีการโทรเข้าบ้านด้วยกันเอง ทำให้ผู้ร้องต้องเสียค่าบริการเพิ่ม เพราะตามโปรโมชั่นการโทรฟรี 50 นาที สามารถใช้โทรเข้าเบอร์มือถือ (ทุกเครือข่าย) ได้เท่านั้น ด้านผู้ร้องเมื่อได้รับคำอธิบายดังกล่าวก็เข้าใจและยินดียุติเรื่องร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 131 ฉลาดใช้ สมาร์ทโฟน

  สมาร์ทโฟน ก็คือ โทรศัพท์มือถือที่สามารถทำงานได้ใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ แถมยังได้เปรียบในเรื่องของขนาดที่ทั้งเล็กและเบากว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คทั่วไป พกพาไปไหนมาไหนก็สะดวกสบาย ปัจจุบันมือถือเป็นมากกว่าอุปกรณ์สื่อสารแล้ว เพราะเป็นได้ทั้ง กล้องถ่ายรูป เครื่องเล่นวิทยุ โทรทัศน์ เกม อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ท ฯลฯ ต้องยอมรับว่า “สมาร์ทโฟน” นั้น “ฉลาด” สมชื่อ แต่ก็อย่าลืมว่าเราในฐานะผู้ใช้ก็ต้อง “รู้จักใช้และใช้อย่างฉลาด” ใช้อย่างมีความรู้มีข้อมูล ใช้แล้วตัวเราได้รับประโยชน์ อย่าใช้แล้วทำให้เกิดโทษ โดยเฉพาะค่าบริการในใบแจ้งหนี้ อาจทำให้ช็อกได้ อย่าลืมว่า ไม่ว่าเราจะคุยโทรศัพท์ ส่งข้อความ อ่านอีเมล โหลดเพลง โหลดเกม เล่นเน็ต เข้าเว็บไซต์ หรือไปกด Like ใน Facebook อะไรก็แล้วแต่ที่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านทางมือถือ ทุกอย่างมีค่าบริการหมด ไม่มีอะไรฟรี   การใช้งานสมาร์ทโฟน โปรดอย่าซื้อตามกระแส ควรซื้อมาและใช้ให้คุ้มประโยชน์มากที่สุด บางทีเครื่องเป็นหมื่นแต่คุณก็ใช้ประสิทธิภาพของมันแค่สองสามพัน อันนี้ไม่คุ้ม เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย บางคนชอบไอโฟน แต่ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อนี้ราคาสูง นอกจากนี้โปรแกรมการใช้งานเสริม หรือที่เรียกกันว่า แอพพลิเคชั่น (Application) ต่างๆ ก็มีทั้งที่ให้โหลดฟรีและที่ต้องเสียเงินซื้อเพิ่ม โปรดศึกษาให้ดีก่อน สิ่งที่ควรรู้เมื่อใช้สมาร์ทโฟน 1.ศึกษารูปแบบแพ็คเก็จ เดี๋ยวนี้บรรดาค่ายผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ต่างก็ออกแพ็คเก็จต่างๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก ความแตกต่างของแต่ละแพ็คเก็จขึ้นอยู่กับปริมาณของบริการที่ได้รับ ยิ่งจ่ายแพงก็ยิ่งได้ใช้มาก แต่ต้องเข้าใจว่าแพ็คเก็จสำหรับสมาร์ทโฟนไม่เหมือนกับแพ็คเก็จสำหรับมือถือทั่วไปแบบแต่ก่อน ที่จะเป็นประเภทจ่ายเท่าไหร่ก็ได้ค่าโทรเท่านั้น (หรือมากกว่า) อย่างแพ็คเก็จ voice ของดีแทค ที่จ่ายเดือนละ 499 บาท สามารถโทรได้ 550 นาที แต่ถ้าเป็นแพ็คเก็จสำหรับสมาร์ทโฟนอย่าง iPhone ของดีแทคเหมือนกันที่จ่ายเดือนละ 499 บาทเท่ากัน จะโทรได้แค่ 225 นาที แต่ก็ต้องเข้าใจว่ายังมีบริการอื่นๆ รวมอยู่ด้วย ทั้งค่าบริการอินเตอร์เน็ต SMS MMS โดยเฉพาะค่าบริการอินเตอร์เน็ตจาก EDGE/GPRS, WiFi และ 3G เพื่อลองรับความเป็นสมาร์ทโฟน แต่ก่อนบริการอินเตอร์เน็ตจะอยู่ในรูปแบบแพ็คเก็จเสริม นั่นเป็นเพราะว่าบรรดาผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือมองว่าเมื่อเป็นโทรศัพท์สมาร์ทโฟน การใช้งานอินเตอร์เน็ตก็จะมีมากขึ้น การโทรออกก็จะมีน้อยลง คนใช้สมาร์ทโฟนเลยต้องยอมรับ (แบบไม่ค่อยเต็มใจ) ว่าต้องปรับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ให้สอดรับกับรูปแบบของแพ็คเก็จ จากที่เคยติดต่อสื่อสารผ่านการคุยโทรศัพท์ ก็อาจต้องเปลี่ยนมาใช้การติดต่อที่ใช้อินเตอร์เน็ตแทนบ้างในบางโอกาส ซึ่งก็มีหลายช่องทางหลายวิธี เช่น ผ่านทางอีเมล MSN หรือ โปรแกรมที่คนใช้สมาร์ทโฟนควรมีไว้อย่าง  Whatsapp, Viber และ Line เพราะเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการติดต่อสื่อสารเหมือนการคุยโทรศัพท์ แต่เป็นการคุยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ไม่ต้องเสียค่าบริการในส่วนของค่าโทร ส่วนแพ็คเก็จสำหรับเล่นอินเตอร์เน็ต ก็มีทั้งแบบรวมมากับค่าโทร และแบบที่เป็นแพ็คเก็จอินเตอร์เน็ตอย่างเดียว ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ แพ็คเก็จอินเตอร์เน็ตซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งกับ โทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ต และแอร์การ์ด สำหรับใช้ในคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ค ก็ยังมีรูปแบบการคิดค่าบริการทั้งแบบเหมาจ่าย คือจ่ายราคาเดียวเป็นประจำทุกเดือนใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน EDGE หรือ 3G ได้ไม่จำกัด ซึ่งแพ็คเก็จแบบเหมาจ่ายรายเดือนแม้จะใช้งานได้ไม่จำกัดแต่ก็อาจจะมีราคาแตกต่างกันบ้าง ขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่ใช้ นอกจากนี้ยังมีแพ็คเก็จที่ให้เราจ่ายตามปริมาณที่ใช้ โดยจะมีการคิดค่าบริการเริ่มต้น และกำหนดปริมาณอินเตอร์เน็ตที่สามารถใช้ได้ในแต่ละเดือน ซึ่งจะมีทั้งแบบที่คิดเป็นจำนวนเมกะไบต์ และแบบที่คิดตามระยะเวลา ซึ่งถ้าหากมีการใช้เกินกว่าที่กำหนดก็ต้องจ่ายเพิ่มเป็นค่าบริการส่วนเกิน   2.รู้พฤติกรรมการใช้ของตัวเอง ก่อนจะเลือกแพ็กเก็จหรือโปรโมชั่นจากผู้ให้บริการมือถือค่ายไหนก็แล้วแต่ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องรู้ก่อนว่าพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของตัวเองเป็นแบบไหน ใช้โทรเข้าโทรออกเป็นหลัก หรือหนักไปทางใช้งานอินเตอร์เน็ต ต้องสำรวจตัวเองให้ดี เพราะค่าบริการโทรศัพท์มือถือรายเดือนเดี๋ยวนี้มีราคาสูง แถมถ้าหากไม่มีการวางแผนที่ดีแต่ละเดือนอาจจะต้องสูญเงินไปกับค่าโทรศัพท์ เพราะไม่ใช่แค่จ่ายตามราคาแพ็จเก็จที่สมัครแล้วจบ  ถ้าโทรเกิน เล่นเน็ตเกิน ก็ต้องเจอกับค่าบริการส่วนเกิน บางคนทีเลือกแพ็กเก็จ 399 บาท แต่อาจจะต้องจ่ายจริงๆ เกือบพันบาท เพราะใช้งานเกินข้อตกลงของแพ็กเก็จที่เลือกไว้ เรื่องที่ต้องย้ำกับคนใช้โทรศัพท์มือถือทุกคนไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือรุ่นไหน จะสมาร์ทหรือไม่สมาร์ท ต้องอย่าลืมศึกษาข้อตกลงและเงื่อนไขต่างๆ ให้ดี ต้องรู้ว่า จากราคาแพ็กเก็จรายเดือนที่จ่ายไป เราสามารถโทรออกได้กี่ครั้งหรือกี่นาที แล้วเมื่อโทรเกินจำนวน คิดค่าโทรส่วนเกินอย่างไร นาทีละเท่าไหร่ การใช้บริการอินเตอร์เน็ตต่างๆ ก็เช่นกัน ต้องมั่นตรวจสอบการใช้งานอยู่เรื่อยๆ อย่าลืมว่าโทรศัพท์มือถือของเราเป็นแบบสมาร์ทโฟน ฉลาดแบบที่เราอาจคาดไม่ถึง พอไปเจอสัญญาณ WiFi หรือ 3G ที่ไหนเข้า มือถือของเราก็อาจต่ออินเตอร์เน็ตได้เองโดยเจ้าของอย่างเราไม่ทันรู้ตัว เราสามารถประมาณการดูได้ว่าในแต่ละเดือนเราใช้งานอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือมากน้อยแค่ไหน โดยใช้ “โปรแกรมช่วยคำนวณการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อเลือกแพ็คเก็จให้เหมาะสมกับการใช้งาน” ที่ค่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ออกแบบมาเพื่อให้เราคำนวนการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเว็บไซต์ รับ – ส่งอีเมล ดู Youtube เล่น Facebook ลองเลือกตามพฤติกรรมการใช้ของตัวเอง โปรแกรมจะคำนวณออกมาเป็นจำนวนเมกะไบต์ที่เราใช้ต่อเดือน แล้วค่อยนำไปเปรียบเทียบหาแพ็คเก็จที่เหมาะสมกับการใช้งานของเราที่สุด โดยเราสามารถเข้าไปใช้งานโปรแกรมนี้ได้ที่เว็บไซต์ของแต่ละค่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ หรือตามลิงค์เหล่านี้ AIS http://www.ais.co.th/mobileinternet/3g/package/mobile-internet-calculator/Dtac http://www.dtac.co.th/3g/calculator-time.phpTruemove H http://www.truemove-h.com/calculator.aspx   3.อัตราค่าบริการส่วนเกิน หลายคนมักมีปัญหาเวลาที่ต้องจ่ายค่าบริการรายเดือนโทรศัพท์มือถือ เพราะยอดที่ต้องจ่ายมักแพงกว่าราคาแพ็คเก็จที่สมัครไว้เสมอ นั่นก็เป็นเพราะปริมาณการใช้งานบริการต่างๆ บนมือถือ ทั้ง โทรออก ส่งข้อความ เล่นเน็ต เกินกว่าที่กำหนดไว้ในแพ็คเก็จ ทำให้ต้องเสียค่าบริการส่วนเกิน ซึ่งจำเป็นอย่างมากที่เราต้องรู้ว่าแพ็คเก็จที่เราใช้อยู่นั้น สามารถใช้บริการต่างๆ ได้ที่ปริมาณเท่าไหร่ แล้วการคิดอัตราค่าบริการส่วนเกินอย่างไร เท่าไหร่ เพื่อเราจะได้สามารถควบคุมตัวเองได้ว่าในแต่ละเดือนสามารใช้ได้เท่าไหร่ ถ้าหากใช้เกินจะต้องเสียเงินเพิ่มแค่ไหน เพื่อไม่ให้เราต้องเสียค่าบริการแต่ละเดือนสูงเกินไป จนตัวเราเองไม่สามารถรับภาระนั้นได้ ซึ่งเราสามารถศึกษาอัตราค่าบริการส่วนเกินต่างๆ ได้ในข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้แพ็คเก็จหรือโปรโมชั่นต่างๆ ซึ่งปัจจุบันทั้ง 3 ค่ายผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือจะคิดค่าโทรส่วนเกินสำหรับแพ็คเก็จรายเดือนคือ 1 บาท 25 สตางค์ - 1 บาท 50 สตางค์ต่อนาที ส่วนบริการข้อความ SMS คิดข้อความละ 2 – 3 บาท EDGE/GPRS และ 3G มีค่าบริการส่วนเกินอยู่ที่ 1 บาท 50 สตางค์ - 2 บาท ต่อเมกะไบต์ และ WiFi คิด 1 บาทต่อนาที นอกจากนี้ค่าบริการต่างๆ ที่มีการแจ้งไว้ในแพ็คเก็จยังไม่ได้บวกค่าภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%   4.ข้อจำกัดในการใช้งานอินเตอร์เน็ต ถึงแม้ว่าแต่ละค่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ต่างก็ออกมาบอกกันว่าความเร็วอินเตอร์เน็ตของตัวเองทั้งแรงทั้งเร็ว เทคโนโลยีล้ำหน้ากันสุดๆ แต่ยังมีความจริงเกี่ยวกับข้อจำกัดเรื่องสัญญาณอินเตอร์เน็ตอีกมากที่เขาไม่ได้บอกกับเราในโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดเรื่อง สถานที่ ช่วงเวลา อุปกรณ์เชื่อมต่อ หรือแม้แต่ตัวเครื่องสมาร์ทโฟนที่ใช้อยู่ ล้วนมีผลต่อความเร็วของสัญญาณอินเตอร์เน็ตทั้งสิ้น อย่างเรื่องของ 3G ที่ถือเป็นเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่ว่ากันว่าแรงและเร็วที่สุด ณ เวลานี้ ก็ยังมีข้อจำกัดอีกมาก โดยเฉพาะเรื่องพื้นที่การให้บริการ อย่างที่เห็นในโฆษณาที่บอกว่า “เครือข่าย 3G ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ และอีกหลายจังหวัดทั่วประเทศ” คนต่างจังหวัดฟังแล้วอาจสงสัยว่าจังหวัดที่เราอยู่มี 3G ใช่หรือเปล่า ต่างกับคนกรุงเทพฯ ที่อาจจะหลงดีใจว่าเรามี 3G ให้ใช้แล้ว แต่ในความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะอย่างที่บอกว่าสัญญาณ 3G ยังมีข้อจำกัดอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นระยะห่างของจุดรับ – ส่งสัญญาณ จำนวนผู้ใช้บริการ ณ เวลานั้นๆ และอุปกรณ์ที่ใช้งาน ซึ่งทำให้บางพื้นที่ก็อาจไม่มีสัญญาณ 3G หรือมีสัญญาณต่ำมาก ไม่เร็วอย่างที่โฆษณา จนเรียกว่าแทบจะใช้งานไม่ได้ ยิ่งในต่างจังหวัดยิ่งไม่ต้องพูดถึงเพราะมีแค่บางจังหวัด แถมในจังหวัดที่มีก็มีแค่บางอำเภอเท่านั้น เมื่อเป็นแบบนี้การสมัครแพ็กเก็จที่มีบริการ 3G เสริมเข้ามาด้วยนั้นก็ไม่มีประโยชน์ แต่ถ้าใครที่อยากก้าวตามเทคโนโลยีอยากใช้ 3G ก็ศึกษาข้อมูลพื้นที่สัญญาณที่จะใช้ให้ดี ดูปริมาณที่กำหนดให้ใช้ได้ในแต่ละเดือน รวมถึงอัตราค่าบริการส่วนเกินหากมีการใช้มากเกินกว่าที่กำหนดไว้ในแพ็คเก็จ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------- วิธีปิดการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือป้องกันไม่ให้เสียค่าบริการส่วนเกิน จากเชื่อมต่ออัตโนมัติในโทรศัพท์สมาร์ทโฟน AISปิดการใช้งานอินเทอร์เน็ต *129*1# โทรออกเปิดการใช้งานอินเทอร์เน็ต *129*2# โทรออกตรวจสอบสถานะการใช้งาน ปิด - เปิด EDGE/GPRS : กด *129# โทรออกAIS มีบริการควบคุมการใช้งาน EDGE/GPRS ให้มียอดค่าบริการสูงสุดไม่เกิน 1,500 บาทต่อเดือน (ไม่รวม VAT)   Dtac ปิดการใช้งานอินเตอร์เน็ต *140*71# โทรออกเปิดการใช้งานอินเตอร์เน็ต *140*72# โทรออกนอกจากนี้ Dtac ยังมีบริการ SMS แจ้งเตือนยอดการใช้งานอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะแจ้งเตือนเมื่อใช้ครบ 10 บาท / 200 บาท / 500 บาท และ 1,500 บาท   True Move Hปิดการใช้งานอินเทอร์เน็ต โทร  *9399 กด 5 กด 3 (ค่าบริการครั้งละ 1 บาท)ซึ่งเบอร์ *9399 ยังเป็นเบอร์ที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อีกหลายเรื่องเช่น ตรวจสอบยอดการใช้บริการ ยอดคงเหลือ ยอดส่วนเกิน สมัครบริการเสริม SMS แจ้งเตือนยอดคงเหลือ บริการควบคุมค่าใช้จ่าย------------------------- วิธีปิดการใช้งาน EDGE/GPRS ด้วยตัวเราเองในโทรศัพท์สมาร์ทโฟน 1.ระบบปฏิบัติการ IOS (ในโทรศัพท์ iPhone)เลือก Setting > General > Network > Cellular Data Off 2.ระบบปฏิบัติการ RIM (ใช้กับ Blackberry)วิธีที่ 1 เลือก Options > Mobile Network > Data Services > Offวิธีที่ 2 เลือก Manage Connection > Mobile Network Options > Data Services > Off 3.ระบบปฏิบัตรการ Androidเลือก Setting > Wireless & Networks > Mobile Network > Select the Data Roaming Check Box 4.ระบบปฏิบัติการ Windows Mobileเลือก Start > Comn Manager > Data connection > Off ที่มา : พลังคน พลังคลื่น ปีที่ 2 ฉบับที่ 10 กันยายน – ตุลาคม 2553, สำนักคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สมท.)http://www.it24hrs.com/2011/close-edge-gprs-setting/   เปรียบเทียบแพ็คเก็จรายเดือนสำหรับโทรศัพท์ iPhone ของแต่ละค่ายมือถือ AIS DTAC true ชื่อแพ็คเก็จ mini medium max Max plus S M L S M L ค่าบริการรายเดือน  (บาท) 279 519 839 899 449 580 699 399 579 799 โทรทุกเครือข่าย (นาที) 150 250 500 500 225 250 350 100 250 450 3G / EDGE (เมกะไบต์) 150 500 ไม่จำกัด ไม่จำกัด 100 ไม่จำกัด ไม่จำกัด 400 ไม่จำกัด ไม่จำกัด SMS (ครั้ง) 100 250 300 300 200 300 400 50 300 400 MMS (ครั้ง) 20 30 50 50 30 50 75 20 50 100 Wifi (ชั่วโมง) - - - ไม่จำกัด - - - 10 20 ไม่จำกัด ฟรีค่าบริการรายเดือน 6 เดือน เดือนที่ 19 - 24 4 เดือน เดือนที่ 21 - 24 3 เดือน เดือนที่ 10 - 12 6 เดือน เดือนที่ 19 - 24 6 เดือน หลังใช้มาแล้ว 18 เดือน     เปรียบเทียบแพ็คเก็จรายเดือนสำหรับโทรศัพท์ Blackberry ของแต่ละค่ายมือถือ   AIS DTAC true ชื่อแพ็คเก็จ BBM + Voice Call Chat + E-mail หรือ Facebook Internet 50 MB Internet 300 MB Unlimited BB Mini BB Mix BB Me BB Max BB Talk BB Social BB Net BB Unlimited ค่าบริการรายเดือน  (บาท) 300 300 450 500 799 179 249 299 790 300 300 450 799 โทรทุกเครือข่าย (นาที) 200 - - - - - - -   200 100 นาที ใช้ได้ 3 เดือนแรกที่สมัครแพ็คเก็จ SMS (ครั้ง) 10 - - - - 300 - - - - - - - Blackberry Massage P P P P P P P P P P P P P Chat - P P P P -   P P - - - - E-mail - เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง P P P - - P P - - P P Social Network (facebook, tweeter) - P P P - P P P - P P P 3G / EDGE (เมกะไบต์) - - 50 300 ไม่จำกัด - - - ไม่จำกัด - - 500 ไม่จำกัด Wifi (ชั่วโมง) - - - - ไม่จำกัด - - - - - 3 5 ไม่จำกัด สำรวจในช่วงเดือนมกราคม 2555 โปรโมชั่นอาจมีการเปลี่ยนแปลง อย่าลืมตรวจสอบอีกครั้ง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 122 “ฮัลโหล ฮัลโหล ...ใช้โปรฯ ไหนอยู่ค่ะ”

มาเลือกซิมและโปรโมชั่มมือถือให้เหมาะกับการใช้งานกันดีกว่า   “โทรศัพท์มือถือ” กลายเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะมันมีประโยชน์อย่างมากในการติดต่อสื่อสาร การทำงาน เรียกว่าโทรศัพท์มือถือช่วยทำให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น บางคนถึงขั้นยอมรับว่าถ้าขาดโทรศัพท์มือถือไปก็เหมือนกับขาดใจ ทำอะไรไม่ถูกกันเลยทีเดียว   ยิ่งทุกวันนี้โทรศัพท์มือถือถูกพัฒนาออกมาให้มีระบบการทำงานและลูกเล่นต่างๆ ที่หลากหลายมากขึ้น ทั้ง ถ่ายรูป ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ต (ฉลาดซื้อเราก็นำเสนอผลทดสอบประสิทธิภาพต่างๆ ของโทรศัพท์มือถืออยู่บ่อยๆ) แต่ไม่ว่าโทรศัพท์มือถือจะถูกพัฒนาไปไกลแค่ไหน หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของโทรศัพท์มือถือก็คือ “การเป็นอุปกรณ์สำหรับติดต่อสื่อสาร” ซึ่งแน่นอนว่าเราต้องพึ่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือจากผู้ให้บริการ ซึ่งในบ้านเราก็มีอยู่ไม่กี่เจ้า แต่ว่ามีรูปแบบการใช้งานออกมาให้เลือกมากมายจนทำเอาผู้บริโภคอย่างเรามึนแล้วมึนอีกกว่าจะเลือกได้ ฉลาดซื้อขออาสาคัดเลือกซิมและโปรโมชั่น โดยเราจะขอเลือกมาเฉพาะที่เป็นโปรโมชั่น ”แบบเติมเงิน” เพราะในบ้านเรามีผู้ใช้ระบบนี้ถึง 90%1 ของคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งหมด มาลองดูกันสิว่าซิมแบบไหน โปรโมชั่นอะไร ที่คุ้มค่าคุ้มราคาและเหมาะกับการใช้งานของแต่ละคนมากที่สุด   (1รายงานโครงการวิจัยระบบวิเคราะห์รายการส่งเสริมการขายในกิจการโทรคมนาคม โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง)++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++   มาเลือกซิมและโปรโมชั่นมือถือที่เหมาะสมกับการใช้งานกันดีกว่า   คุยสั้น เมาท์ขำๆ พูดไม่กี่คำก็รู้เรื่อง   ซิมที่อยากแนะนำ เครือข่าย ค่าโทรนาทีแรก นาทีต่อไป ราคา ค่าโทรที่ได้รับเมื่อเปิดใช้ซิม เงื่อนไขที่ควรรู้ ซิมฮักกัน ทรูมูฟ 75 สตางค์ 75 สตางค์ 49 15 บาท -ได้สิทธิ์สมัครโปรโทรไม่อั้น 3 วัน 9 บาท ในเครือข่ายทรูมูฟ ช่วงเวลา 23.00 น.- 16.59 น -ฟรี SMS 10 ครั้ง และ EDGE/GPRS 30 นาที แต่ต้องใช้ภายใน 30 วันหลังจากเปิดใช้บริการ ซิมถูกใจ ทรูมูฟ 99 สตางค์ 99 สตางค์ 49 บาท 75 บาท -ได้รับโบนัสโทรฟรีเท่ากับมูลค่าของเงินที่เติม -ได้รับวันใช้งานเพิ่มเป็น 2 เท่าจากการเติมเงิน -ฟรี (SMS) จำนวน 10 ข้อความ และบริการ EDGE/GPRS 100 นาที แต่ต้องใช้ภายในระยะเวลา 60 วัน นับจากวันที่เปิดใช้บริการ ซิมสะตอ ดีแทค 30 วินาทีแรก 30 สตางค์ ต่อไปคิดนาทีละ 1 บาท 1 บาท 49 บาท 15 บาท   ฉลาดซื้อแนะนำ สำหรับคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือติดสื่อสารพูดคุยเรื่องสั้นๆ ครั้งหนึ่งไม่ถึงนาทีหรือแค่ไม่กี่นาที เวลาเลือกโปรโมชั่นซิมแบบเติมเงิน ควรดูที่ค่าโทรนาทีแรกเป็นหลัก เพราะเราคุยสั้น ถ้าคุยไม่ถึงนาทีจะยิ่งคุ้มค่าและประหยัดมาก แต่การศึกษาข้อมูลค่าโทรนาทีถัดไปเอาไว้ด้วยเป็นสิ่งจำเป็น เพราะแม้จะเป็นคนคุยสั้นแต่บางครั้งก็อาจเผลอคุยยาวโดยไม่รู้ตัว คุยนาน เมาท์กระจาย โทรได้ทั้งวัน(ทุกเครือข่าย) ซิมที่อยากแนะนำ เครือข่าย ค่าโทรนาทีแรก นาทีต่อไป ราคา ค่าโทรที่ได้รับเมื่อเปิดใช้ซิม เงื่อนไขที่ควรรู้ ซิมแฮปปี้ ดีแทค 2 บาท 25 สตางค์ 99 บาท และ 199 บาท -ราคา 99 บาท ได้ 35 บาท -ราคา 199 บาท ได้ 50 บาท + SMS/MMS ในเครือข่ายดีแทค 250 บาท ค่าโทรเฉพาะช่วง 4 ทุ่ม – 6 โมงเย็น นอกช่วงเวลา คิดค่าโทรนาทีแรก 2 บาท ต่อไปคิดนาทีละ 1 บาท   ซิมวัน-ทู-คอล เอไอเอส 2 บาท 50 สตางค์ 99 35 บาท ทันทีเมื่อเปิดใช้บริการ และรับเพิ่มเติมอีกเดือนละ 30 บาท ในเดือนที่ 2 และ 3   ซิมสุดคุ้ม ทรูมูฟ 1 บาท 77 สตางค์ 1 บาท เมื่อซื้อของใน 7-11 ครบ 40 บาท หรือชำระค่าบริการเคาเตอร์เซอร์วิส 1 บิล 30 บาท -ได้รับโบนัสโทรเพิ่มเท่ากับมูลค่าของเงินที่เติม สำหรับใช้โทรไปยังเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเครือข่ายทรูมูฟ ช่วงเวลา 23.00 – 16.59 น. เท่านั้น -ได้รับวันใช้งานพิเศษเพิ่มเป็น 2 เท่าจากการเติมเงินตามปกติ     (เฉพาะเครือข่ายเดียวกัน) ซิมที่อยากแนะนำ เครือข่าย ค่าโทร ราคา ค่าโทรที่ได้รับเมื่อเปิดใช้ซิม เงื่อนไขที่ควรรู้ ซิมไชโย ทรูมูฟ นาทีละ 50 สตางค์ ตลอด 24 ชม. 49 บาท และ 99 บาท -ราคา 49 บาท ได้ 15 บาท -ราคา 99 บาท ได้ 35บาท   ซิมสุดคุ้ม ทรูมูฟ นาทีละ 77 สตางค์ ตลอด 24 ชม. 1 บาท เมื่อซื้อของใน เซเว่น อีเลเว่น ครบ 40 บาท หรือชำระค่าบริการเคาเตอร์เซอร์วิส 1 บิล 30 บาท -ได้รับโบนัสโทรเพิ่มเท่ากับมูลค่าของเงินที่เติม สำหรับใช้โทรไปยังเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเครือข่ายทรูมูฟ ช่วงเวลา 23.00 – 16.59 น. เท่านั้น -ได้รับวันใช้งานพิเศษเพิ่มเป็น 2 เท่าจากการเติมเงินตามปกติ ซิมรีโมท ทรูมูฟ ครั้งละ 1 บาท โดยเลือกช่วงเวลาระหว่าง 05.00 – 16.59 น. หรือ17.00 – 04.59 น.  ช่วงใดช่วงหนึ่ง โดยโทรได้นานสูงสุดครั้งละ 30 นาที และตั้งแต่นาทีที่ 31 เป็นต้นไป คิดค่าใช้บริการนาทีละ 1.25 บาท 49 บาท 15 บาท ผู้ใช้บริการสามารถเลือกเปลี่ยนช่วงเวลาได้ตลอด โดยไม่เสียค่าบริการเฉพาะการเปลี่ยนแพ็กเกจครั้งแรกของแต่ละวัน หลังจากนั้นคิดค่าบริการในการเปลี่ยนแพ็กเกจครั้งละ 5 บาท     ฉลาดซื้อแนะนำ คนที่ชอบคุยโทรศัพท์นานๆ ต้องดูที่ค่าโทรเฉลี่ยแต่ละนาที และต้องดูเรื่องข้อจำกัดต่างๆ ที่ผู้ให้บริการกำหนดเอาไว้ให้ดี เช่น การจำกัดช่วงเวลา การกำหนดค่าโทรที่แตกต่างกันของเบอร์ในเครือข่ายกับนอกเครือข่าย คนที่ชอบคุยนานๆ ถือเป็นกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์มากที่สุดตามปริมาณการโทร ดังนั้นจึงควรศึกษาเรื่องโปรโมชั่นต่างๆ ให้มากที่สุด เพราะนอกจากโปรโมชั่นหลักจากซิมที่ใช้อยู่แล้ว เดี๋ยวยังมีโปรโมชั่นเสริมอื่นๆ สำหรับคนโทรนานให้เลือกใช้ เช่น โทรถูก 1 เบอร์พิเศษ หรือคิดค่าโทรแบบเหมาจ่ายเป็นช่วงเวลา   โทรน้อย ชอบให้คนอื่นโทรหา แบบว่ามีโทรศัพท์ไว้รับอย่างเดียว ชื่อซิม เครือข่าย จำนวนวันที่ได้ ค่าโทรนาทีแรก ราคา ค่าโทรที่ได้รับเมื่อเปิดใช้ซิม เงื่อนไขที่ควรรู้ ซิมเปิ้ล ดีแทค 365 วัน แต่ต้องเติมเงินอย่างน้อย 1 ครั้ง ช่วง 90 วันแรกตั้งแต่เปิดใช้ โทรนาทีละ 1 บาท ทุกเครือข่าย 24 ชม. หลังจาก 90 วันแรก คิดค่าโทรนาทีละ 2 บาท   49 บาท 15 บาท   ซิมสวัสดี น้าน นาน เอไอเอส 365 วัน แต่ต้องเติมเงินอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกเครือข่าย นาทีละ 2.50 บาท 24 ชั่วโมง 50 บาท 15 บาท ระงับการให้บริการ ในกรณีที่ไม่มีการโทรออก รับสาย หรือ เติมเงิน เป็นเวลานาน 90 วัน   ซิมไชโย ทรูมูฟ 365 วัน แต่ต้องเติมเงินอย่างน้อย 1 ครั้ง โทรในเครือข่ายทรูมูฟ คิดค่าใช้บริการนาทีละ 50 สตางค์ ตลอด 24 ชม. โทรนอกเครือข่าย คิดค่าใช้บริการนาทีละ 1 บาท 50 สตางค์ ตลอด 24 ชม 49 บาท 15 บาท ระงับการให้บริการ ในกรณีที่ไม่มีการโทรออก รับสาย หรือ เติมเงิน เป็นเวลานาน 90 วัน และยกเลิกบริการทันทีหากระงับให้บริการติดต่อกันเกิน 18 วัน ฉลาดซื้อแนะนำ สำหรับคนที่ตั้งใจจะมีโทรศัพท์ไว้สำหรับให้คนอื่นโทรหามากว่าโทรหาคนอื่น เรื่องจำนวนวันใช้งานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ไว้ก็คือ ไม่ว่าโปรโมชั่นนั้นจะบอกว่าแจกวันหรือเติมเงินแล้วอยู่นานขนาดไหน เต็มที่ก็ไม่มีทางมากกว่า 1 ปี  โชว์เบอร์แต่ไม่โชว์ใจ...10 เรื่องที่ควรรู้ไว้ก่อนเติมเงิน 1.การเติมเงินสามารถทำได้หลายช่องทาง ตั้งแต่ บัตรเติมเงิน เคาน์เตอร์เซอร์วิส ตู้ ATM ผ่านบัญชีธนาคารออนไลน์  หรือแม้แต่ที่ตู้โทรศัพท์สาธารณะ (เฉพาะของทรูมูฟ)  2.ถ้าเติมเงินมือถือเรียบร้อยแล้วต้องมี sms แจ้งเตือนยอดเงินคงเหลือและวันหมดอายุ  3.ถ้าเผอิญเป็นคนมือหนักขูดรหัสบัตรเติมเงินแล้วตัวเลขหาย ไม่ต้องตกใจ สามารถนำไปเปลี่ยนบัตรใหม่ได้ที่สำนักงานของผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือที่เราใช้บริการ  4.เวลาซื้อบัตรเติมเงินมือถือต้องดูเรื่องวันหมดอายุให้ดี เพราะถ้าซื้อมาแล้วหมดอายุ ไม่สามารถเอาไปเปลี่ยนหรือแลกคืนได้  5.ขั้นต่ำสุดในการเติมเงินคือ 10 บาท   6.ไม่ว่าจะเติมเงินมากแค่ไหน (สูงสุดของเอไอเอส คือ 1,500 บาท, ทรูมูฟอยู่ที่ 1,000 บาท และดีแทคอยู่ที่ 800 บาท) ยังไงเราก็ได้วันใช้งานไม่เกิน 1 ปี   7.คนที่อยากเปลี่ยนโปรโมชั่นต้องจ่าย 30 บาท   8.ทุกอัตราค่าบริการไม่ว่าจะเป็นค่าโทร sms mms อินเตอร์เน็ต อย่าลืมบวกค่าภาษีอีก 7%   9.Call center ของทุกเครือข่ายไม่ได้โทรฟรี   10.ถ้ากดรหัสเติมเงินผิดเกิน 4 ครั้ง ติดต่อกัน หมายเลขโทรศัพท์ของเราถูกระงับการให้บริการ2 (2ที่มา ถาม-ตอบ ทุกปัญหา ทุกบริการ ทุกการใช้งาน ของ วัน-ทู-คอล!)     ---------------------------------------------------------------------- ซิม (sim) คือแผ่นวงจรขนาดเล็กที่เก็บหน่วยความจำข้อมูลเอาไว้เป็นจำนวนมาก เปรียบเสมือนกับสมองของคนที่มีหน้าที่จดจำสิ่งต่างๆ รวมทั้งคอยสั่งการการทำงานของโทรศัพท์มือถือ ---------------------------------------------------------------------- การให้บริการโทรศัพท์มือถือมีอยู่ 2 ระบบ คือ   แบบจดทะเบียน (postpaid) เป็นแบบที่ต้องมีการทำสัญญาระหว่างผู้ใช้กับผู้ให้บริการ จ่ายค่าบริการเป็นรายเดือน   แบบเติมเงิน (prepaid) เป็นระบบที่ผู้ใช้ควบคุมการจ่ายเอง แค่ซื้อบัตรเติมเงินก็ใช้โทรศัพท์ได้เลย ง่ายและสะดวก แต่ผู้ใช้ระบบเติมเงินต้องคอยตรวจสอบค่าบริการเป็นระยะ รวมทั้งตรวจสอบยอดเงินคงเหลือ เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่วางไว้ ----------------------------------------------------------------------   โทรเท่าทัน...ศึกษาการเลือกโปรโมชั่น   @ ต้องศึกษาและทำความเข้าใจเงื่อนไขอย่างละเอียด เพราะโปรโมชั่นเดี๋ยวนี้มีเงื่อนไขให้อ่านกันเล่นๆ 10 – 20 ข้อ ถ้าไม่อ่านและทำความเข้าใจให้ดี อาจมีปัญหาตามมาที่หลัง   @ ต้องดูข้อยกเว้นของแต่ละโปรโมชั่น เช่น โปรโมชั่นนี้มีเงื่อนไขสำหรับใครบ้าง อาจเฉพาะแค่ลูกค้าใหม่เท่านั้น   @ ดูระยะเวลาของโปรโมชั่น เริ่มใช้เมื่อไหร่ หมดอายุวันไหน บางโปรโมชั่นให้ค่าโทรถูกแต่ใช้ได้แค่ 3 เดือน หลังจากนั้นก็ปรับให้แพงขึ้น ซึ่งผู้บริโภคบางคนไม่ทราบก็ยังใช้โปรโมชั่นนั้นต่อไปเพราะคิดว่ายังคิดค่าโทรถูกเหมือนตอนแรก   @ การคิดค่าโทร ว่าเป็นการคิดในอัตรานาทีละเท่าไหร่ และมีการแบ่งช่วงเวลาการใช้ด้วยหรือเปล่า ถ้ามีแล้วแบ่งเป็นช่วงเวลาใดบ้าง เพราะแน่นอนว่าเมื่อมีการแบ่งช่วงเวลาอัตราค่าโทรก็ย่อมแตกต่างกัน ยิ่งบางโปรโมชั่นคิดในอัตราที่แตกต่างกันมากๆ เช่น โทรช่วง 6 โมงเช้า – 6 โมงเย็น คิดนาทีละ 25 สตางค์ ถ้าช่วงเวลาอื่น คิดนาทีละ 2 บาท เป็นต้น   @ การคิดค่าโทรจริง ว่าค่าโทรที่แจ้งในโปรโมชั่น รวมภาษีแล้วหรือยัง หากโทรเกินเป็นเศษของนาที คิดค่าบริการเป็นนาทีหรือวินาที รวมทั้งค่าบริการส่วนเกินอื่นๆ ทั้ง sms mms อินเตอร์เน็ต การขอเปลี่ยนโปรโมชั่น   @ สิทธิของโปรโมชั่น เช่น ให้ค่าโทรฟรีเท่าไหร่ ให้ได้เฉพาะช่วงไหน มีวันหมดอายุหรือเปล่า เป็นค่าโทรเฉพาะในประเทศ ฯลฯ     ---------------------------------------------------------------------- ประเทศไทยมีคนใช้โทรศัพท์มือถืออยู่ที่ประมาณ 34.8 ล้านคน โดยในจำนวนนี้มีถึง 31.5 ล้านคน ที่ใช้โทรศัพท์มือถือระบบเติมเงิน   (ที่มา : สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในครัวเรือน พ.ศ. 2552 สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)   AIS มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 43.61 รองลงมาคือ DTAC มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ร้อยละ 29.80 TrueMove มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ร้อยละ 23.76 (ที่มา: สำนักพัฒนานโยบายและกฎกติกา สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ----------------------------------------------------------------------

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 130 PROMOTIONTOYOU ถ้ารู้ก็ฉลาดซื้อ

  ผู้อ่านหลายๆ คงเคยมีปัญหาแบบนี้ไหมคะ ว่าบัตรอันนี้ใช้เป็นส่วนลดอะไร ... ช่วงนี้มีอะไรแถม...หรือช่วงนี้ซื้ออะไรได้ส่วนลด...ซึ่งไม่แปลกอะไรหรอกค่ะ  เพราะนั่นคือสิทธิของเราเต็มๆ ที่จะใช้สิทธินั้นได้ ทำให้ต้องนั่งจดจำกันเป็นธรรมดา  ผู้เขียนก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบสรรหาอะไรที่แบบว่า ลดแล้วลดอีก หรือคุ้มค่าสุดๆ ถึงไปเลือกใช้สิทธิตามโปรโมชั่นเสนอมา... แต่หากท่านผู้อ่านเป็นสมาชิกสินค้าต่างๆ หรือเป็นนักช้อปแบบอยากรู้โปรโมชั่นเด็ดๆ ทุกรูปแบบแต่ไม่มีเวลาหรือจำไม่หมดล่ะก็ ขอแนะนำเว็บนี้เลยคะ PROMOTIONTOYOU.COM PROMOTIONTOYOU.COM   เป็นเว็บไซต์โปรโมชั่นหลากหลายสไตล์ที่ถูกรวบรวมมาไว้ที่เดียว โดยได้อัพเดทข้อมูลโปรโมชั่นทางด้านสินค้าและบริการไว้ในเว้บอย่างครบครันรวมถึงเทศกาลต่างๆ จึงไม่แปลกที่เว็บไซต์นี้จะทำให้ใครๆ หลายคน Click Like ให้หลายหมื่นคนนะคะ โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการใช้จ่ายภายใต้โปรโมชั่นต่างๆ ที่ให้ราคาถูกกว่าปกติ   เพียงแค่คลิกก็สามารถรู้ได้ว่ามีโปรโมชั่นอะไรในช่วงนี้ที่น่าสนใจบ้าง...จะกินจะเที่ยว  สิทธิพิเศษต่างๆ เพียบ....เช่น คุณจะเห็นโปรโมชั่นที่น่าสนใจเพื่อตอบรับกับผู้บริโภคได้อย่างหลาหลาย ดังนี้ โปรโมชั่นไอที –  โปรโมชั่นเรื่องบันเทิง - โปรโมชั่นมือถือ โปรโมชั่นเสื้อผ้าลดล้างสต๊อก - โปรโมชั่นอีเว้นท์ (Event) โปรโมชั่นอาหารและเครื่องดื่ม - โปรโมชั่นการเดินทางและท่องเที่ยว แต่อย่าเพิ่งว่าผู้เขียนว่า  ปลุกกระแสช้อปปิ้งให้มุ่งสู่บริโภคนิยมตั้งแต่ต้นปีนะคะ...ที่ผู้เขียนแนะนำให้เข้าไปดูในเว็บนี้ก็เพราะว่า บางทีเราใช้จ่ายกันแบบว่าลืมดูช่วงจังหวะโอกาสในการซื้อหามาใช้ ถ้าเรารู้จักอดใจรอ ตามเทศกาลโปรโมชั่นต่างๆ ก็อาจทำให้การจับจ่ายมีเงินเหลือเพิ่มมากขึ้น และทำให้มีการวางแผนการใช้สินค้าในช่วงโปรโมชั่นต่างๆ ได้ดีขึ้นนะคะ ... เช่น ผู้เขียนจะเข้าไปเว็บนี้มีอยู่ 2 เรื่อง คือ  โปรโมชั่นอาหารและเครื่องดื่ม และโปรโมชั่นการเดินทางและท่องเที่ยว เป็นส่วนใหญ่ เพราะคุ้มค่าและมีการวางแผนในการจับจ่ายได้ดีเหมือนกันคะ ...ฉลาดซื้อ ฉลาดคิด ฉลาดใช้ชีวิตในยุคบริโภคนิยม ... สะสมโปรโมชั่นดีๆ ไว้ค่ะ แล้วพบกันอีกคราวหน้านะคะ ถ้าคุณรู้สึกว่าการเข้าเว็บไซต์ดูจะช้าเกินไป จะติดตาม Promotion2u ในทวิตเตอร์หรือเฟสบุ๊คได้เช่นกัน  รวมถึงมี แอป สำหรับสมาร์ทโฟน  เกือบทุกรุ่น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 173 ระวังหนี้เพิ่มจาก โปรโมชั่น ผ่อน 0%

เศรษฐกิจยามนี้ ฝืดเคืองเหลือเกิน เมื่อคนไม่ซื้อของ ห้างร้านต่าง ๆ ก็ต้องัดกลวิธีทุกวิถีทางเพื่อเรียกลูกค้า หนึ่งในกลยุทธ์ที่เห็นบ่อย ๆ ก็คือ “ผ่อนดอกเบี้ย 0%” ซึ่งเดี๋ยวนี้ เราสามารถใช้บัตรเครดิตผ่อน 0% ได้เกือบ ทุกสรรพสิ่ง ตั้งแต่ โทรศัพท์ , TV , ตู้เย็น , ยางรถยนต์ ไปจนกระทั่งทัวร์ยุโรป เกาหลี ญี่ปุ่น ก็ยังมีโปรผ่อน 0%       “Oh Wow อะไรมันจะดีอย่างนี้ ผ่อน 0% ตั้ง 10 เดือน จ่ายน้อย ผ่อนนาน ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย โอกาสแบบนี้รีบคว้าเลย” หลายคนตาเป็นประกาย เตรียมหยิบบัตรเครดิตออกมารูดแล้วใช่ไหม แต่ช้าก่อน ลองทบทวนดูอีกทีว่า “โปรผ่อน 0%” นี้จะเป็น โอกาสทอง หรือ กับดัก ตัวอย่าง เช่น Smartphone รุ่นใหม่ ตัว Top ราคา 24,000 บาท มีโปรโมชั่นให้ผ่อนได้นาน 12 เดือนดอกเบี้ย 0% เมื่อจ่ายผ่านบัตรเครดิต แว๊บแรกในความคิดแรกของคนทั่วไปเมื่อเห็นโปรโมชั่น 0% แบบนี้คือ โทรศัพท์ราคา 24,000 บาท ผ่อน 12 เดือน ไม่เสียดอกเบี้ย ก็แบ่งจ่ายแค่เดือนละ 2,000 บาท แต่สิ่งที่เรามักมองข้ามไปคือ เราไม่ได้ใช้บัตรเครดิตแค่รายการเดียวน่ะสิ แต่ละเดือนเราอาจจะใช้บัตรเครดิตรูดซื้อเสื้อผ้า จ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ ค่าอาหารร้านอร่อย ค่าไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ฯลฯ รวมกันหลายรายการ สมมุติว่า ผ่อน Smartphone 2,000 บาท + กินใช้อื่น ๆ 5,000 บาท ยอดที่เรียกเก็บมาในเดือนนั้นจะเท่ากับ 7,000 บาท และโดยปกติบัตรเครดิต จะกำหนดยอดขั้นต่ำเท่ากับ ยอดผ่อนสินค้าบวกกับ 10% ของยอดที่ใช้บัตร จากตัวอย่างก็จะเท่ากับ 2,500 บาท (2,000 + 10% ของ 5,000) 1.    ถ้าคุณชำระเต็มตามยอดที่เรียกเก็บมาทั้งหมด แบบนี้คุณก็จะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยใด ๆ ทั้งสิ้น2.    ถ้าคุณชำระเต็มตามจำนวนที่เรียกเก็บไม่ได้ ก็ขอให้จ่ายเกินกว่าหรือเท่ากับยอดขั้นต่ำที่เรียกเก็บมา 2,500 บาท เพราะกรณีนี้ แม้คุณจะยังต้องเสียดอกเบี้ยในส่วนที่คุณรูดบัตรเครดิตเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งยังชำระไม่ครบ แต่ในส่วนยอดผ่อน Smartphone 0% ก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย3.    แต่ถ้าคุณผิดนัดไม่จ่ายหนี้ หรือชำระได้น้อยกว่ายอดขั้นต่ำ เช่น 2,000 บาท แม้จะเท่ากับยอดผ่อน 0% ที่เรียกเก็บมา แต่กรณีนี้คุณจะถูกคิดดอกเบี้ยทั้งในส่วนที่ผ่อน Smartphone แม้จะมีโปรโมชั่น 0% และเสียดอกเบี้ยในส่วนที่ใช้บัตรเครดิตรูดจ่ายค่ากินใช้อื่น ๆ ด้วยสรุป มีเพียงกรณีเดียวที่คุณจะได้รับประโยชน์จากโปรโมชั่น “ผ่อน 0%” อย่างเต็มที่ นั่นคือ ต้องชำระเต็มตามจำนวนที่บัตรเครดิตเรียกเก็บทุกครั้ง และที่นี้รู้ยังว่า บริษัทบัตรเครดิตทำกำไรได้อย่างไรจาก “โปรโมชั่นผ่อน 0%”  เป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส สร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจควักกระเป๋าได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันก็มีโอกาสทำกำไรจากการคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากการใช้บัตรเครดิต

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 176 “ไข่ดาวเป็นเหตุ”

สั่งสินค้าตามโปรโมชั่น แต่กลับได้รับของจริงไม่ครบ เพราะผู้ผลิตอ้างว่าลืมแปะรายละเอียดเล็กๆ เอาไว้ ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราต้องเดือดร้อนกรณีนี้เกิดขึ้นที่ร้าน แมคโดนัลด์ สาขาเทสโก้โลตัส พระราม 3 จากการติดป้ายโฆษณาภาพโปรโมชั่นชุดอาหาร “มอบความสุข 2 ต่อที่แมคโดนัลด์” ที่ประกอบด้วยแมคข้าวกะเพราไข่ดาว 2 จาน ปีกไก่สไปซี่ 2 ชิ้นและโค้ก 2 แก้ว ราคา 149 บาท ดึงดูดใจให้ผู้ร้องเข้าไปรับประทานอาหาร แต่เมื่อสั่งอาหารชุดนี้ไปแล้วกลับพบว่าได้อาหารไม่ครบ เพราะขาดไข่ดาวตามรูปบนป้ายโฆษณา เมื่อทักท้วงไปกับพนักงานจึงได้คำตอบว่า ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 10 บาท ถึงจะได้รับไข่ดาวเหตุการณ์เช่นนี้ได้ทำให้ผู้ร้องมีความรู้สึกว่าตนเองถูกหลอก เพราะไม่มีรายละเอียดดังกล่าวระบุไว้ในป้ายโฆษณาเลย จึงถ่ายรูปหลักฐานต่างๆ เก็บไว้ และมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพราะอยากให้ผู้ผลิตแสดงความรับผิดชอบที่หลอกลวงผู้บริโภคด้วยป้ายโฆษณาแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีนี้นับว่าเป็นตัวอย่างในการเอาผิดป้ายโฆษณาที่เอาเปรียบ หรือสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภค เพราะหากมีข้อยกเว้นหรือรายละเอียดใดๆ ที่ทำให้ต้องจ่ายเงินเพิ่มจากราคาที่ตั้งไว้ ก็ควรแสดงให้ผู้บริโภคสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน  หลังจากแนะนำให้ผู้ร้องส่งหนังสือร้องเรียนไปที่ บริษัท แมคโดนัลด์ สำนักงานใหญ่ ศูนย์พิทักษ์สิทธิจึงนัดเจรจากับตัวแทนของบริษัทฯ ซึ่งได้ขอโทษและมอบของขวัญเป็นชุดอาหารให้ผู้ร้องได้รับประทาน พร้อมชี้แจงว่า ไม่ได้ตรวจสอบป้ายดังกล่าวก่อนนำไปวางโฆษณา และเกิดความผิดพลาดในการสื่อสารการตลาด แต่ได้ดำเนินการแก้ไขโดยเก็บป้ายชุดอาหารดังกล่าวออกจากโฆษณาเรียบร้อยแล้ว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 149 ชอบของจัดโปรโมชั่น ระวังสินค้าหมดอายุ

“ซื้อ 1 แถม 1” ถือเป็นข้อความโดนใจของนักช้อป ถ้าเจอโปรโมชั่นแบบนี้จากของที่ไม่เคยซื้อเคยกินก็ต้องเปลี่ยนใจรีบซื้อทันที เป็นกลยุทธ์การขายที่ใช้ได้ดีมาตลอดสานีต้องหยุดเดินทันทีเมื่อเห็นป้าย “ซื้อ 1 แถม 1” ของเครื่องดื่มนมผสมงาดำ เนเจอร์อัพสูตรบิวตี้ไซน์ ในบิ๊กซีซูเปอร์มาร์เก็ตย่านราชดำริ พอดูรายละเอียดแล้วยิ่งน่าสนใจใหญ่เพราะไม่ใช่แค่ซื้อกล่องแถมกล่อง แต่แถมเป็นแพ็คเลย แพ็คละ 3 กล่องจัดวางกันเป็นคู่ขาย 36 บาท ประหยัดตั้ง 18 บาท แต่วันนั้นสานีดีใจสุดๆ หยิบมา 4 แพ็ค จ่าย 72 บาท ในใจคิดได้ฟรี 2 แพ็คประหยัดไปตั้ง 36 บาทแน่ะพอกลับมาถึงบ้านก็จับกล่องเจาะดื่มเลย ปรากฏว่านมรสชาติออกแนวเสียๆ บ้วนทิ้งแทบไม่ทัน เลยต้องตรวจสอบฉลากขนานใหญ่ พบ 2 แพ็คที่ติดมาเป็นของแถมฉลากแสดงวันที่หมดอายุมันผ่านเลยมาแล้วร่วมเดือน จึงนำเรื่องนี้ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ที่สถานีตำรวจ แต่ยังชั่งใจไม่ได้แจ้งให้ผู้ประกอบการรับทราบ เพราะคิดว่าห้างคงไม่ได้ตั้งใจหลอกขายสินค้าให้ผู้บริโภคต่อมาอีกวัน ไปที่ห้างเดิมไปซื้อไก่สดมาปรุงอาหาร ยี่ห้อ KCF ของบริษัท เกษมชัยฟาร์มกรุ๊ป จำกัด พอนำกลับมาถึงบ้านเพิ่งสังเกตฉลาก อั๊ยย่ะ หมดอายุไปแล้ว 3 วัน ตัดใจต้องทิ้งลงถังขยะไม่กล้าฝืนใจนำไปทำอาหาร “โอ้ย...ทำไมฉันถึงซวยอย่างนี้” แนวทางแก้ไขปัญหาสานีแบกเอาปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องสองวันติดกันและเกิดจากห้างเดียวกันมาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เมื่อเราตรวจสอบข้อเท็จจริงกันแล้วเห็นว่า แม้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารจะมีการแสดงฉลากของอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 194 พ.ศ.2543 ครบถ้วน แต่การนำมาจำหน่ายหลังวันหมดอายุไปแล้วทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารเข้าลักษณะไม่ปลอดภัยในการบริโภค มีสรรพคุณไม่เป็นที่เชื่อถือ หรือมีคุณค่าหรือคุณประโยชน์ต่อร่างกายในระดับที่ไม่เหมาะสม ซึ่งผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายอาจเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 25(4) ของ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ได้ มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองตามสิทธิของผู้บริโภคโดยตรงและผู้ประกอบการได้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงได้เชิญผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาเจรจาเพื่อพิจารณาเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้บริโภค ผลของการเจรจาห้างบิ๊กซีตกลงให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บริโภคเป็นเงิน 10,000 บาทผู้บริโภคยอมรับ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคขอขอบพระคุณห้างบิ๊กซีที่ใส่ใจในการปกป้องสิทธิของผู้บริโภคอย่างจริงใจ และได้นำปัญหาข้อร้องเรียนไปพัฒนาปรับปรุงการบริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 117 แนะวิธีคงสัญญา “เม้าท์ไม่อั้น” WE PCT

ทรูอุบไต๋ ปิดปากเงียบ ไม่ยอมบอกลูกค้าที่ใช้พีซีทีโปรฯ “เม้าท์ไม่อั้น” “เม้ากันให้มันส์” ฟรี 1 ปี ว่าทุกคนยังคงมีสิทธิตามสัญญาเหมือนเดิมฉลาดซื้อฉบับที่แล้วได้นำเสนอเรื่องที่มีผู้ใช้บริการ PCT ของบริษัท เอเซีย ไวร์เรส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด บริษัทในเครือของทรู ร้องเรียนเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นจำนวนมาก  ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้า we PCT ที่ซื้อ PLUS PHONE และ WE PHONE ในราคา 3,990 บาท และ 2,990 บาท โดยจะได้รับสิทธิโทรฟรีไม่จำกัดทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง นาน 12 เดือน นับแต่วันที่เริ่มเปิดใช้บริการ ซึ่งโปรโมชั่นนี้เริ่มในช่วงกลางปีที่ผ่านมา แต่ได้ใช้กันยังไม่ทันพ้นปี กรกฎาคมที่ผ่านมาทรูกลับแจ้งยกเลิกโปรโมชั่นโทรฟรีดังกล่าว โดยขีดเส้นตายวันที่ 1 ตุลาคม 2553 จะยกเลิกโปรโมชั่นโทรฟรีทั้งหมด และให้ลูกค้าเลือกโปรโมชั่นใหม่ 2 ทางเลือก คือ หนึ่ง ให้โทรฟรีได้เฉพาะเครือข่ายของทรูตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ เครือข่ายอื่นคิดนาทีละ 50 สตางค์ ตัวที่สอง Sim ถูก มูลค่า 49 บาท ค่าโทรทุกเครือข่ายนาทีแรก 2 บาท นาทีถัดไปนาทีละ 50สตางค์ โทรครบ 5 บาทโทรครั้งต่อไปนาทีแรก 2 บาท นาทีถัดไปนาทีละ 25 สตางค์นั้นปรากฏว่าตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีลูกค้า PCT ของทรูหลายรายโทรเข้ามาแจ้งกับมูลนิธิฯว่า ถูกระงับสัญญาณการโทรออกนอกเครือข่าย โทรได้เฉพาะแต่ในเครือข่ายของทรูเท่านั้น ทำให้ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก “มีผู้บริโภครายหนึ่งแจ้งว่า ตนเป็นพนักงานฝ่ายบัญชีของบริษัทแห่งหนึ่ง ได้นำเสนอให้บริษัทซื้อ PCT Plus Phone มาให้พนักงานฝ่ายขายใช้ติดต่อลูกค้าจำนวน 10 เครื่อง ตนมารับทราบในวันที่ 4 ตุลาคมว่า PCT ถูกทรูระงับสัญญาณไม่ให้โทรออกนอกเครือข่ายได้โดยแจ้งเป็นข้อความว่าวงเงินไม่พอทำให้บริษัทของตนได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก” แนวทางแก้ไขปัญหาหลังร้องเรียนกับมูลนิธิฯ ผู้บริโภคหลายรายได้พยายามติดต่อไปที่ศูนย์รับร้องเรียนของทรูที่เบอร์โทรศัพท์ 02-900-8088 ปรากฏว่าเพียงแค่แจ้งยืนยันที่จะใช้บริการตามโปรโมชั่นโทรฟรีเดิมต่อไป ทรูจึงได้ยินยอมเปิดสัญญาณให้โทรออกนอกเครือข่ายได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดทั้งนี้เนื่องจาก ตามประกาศเรื่องสัญญามาตรฐานของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) ได้ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญาไว้ว่า ผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะทำการเปลี่ยนแปลงสัญญาใดๆ ที่ทำไว้กับผู้บริโภคไม่ได้หากไม่ได้รับการยินยอมจากผู้บริโภคอย่างชัดแจ้ง และผู้ให้บริการจะต้องปฏิบัติตามสัญญาและโฆษณาอย่างครบถ้วน ดังนั้นหากลูกค้า PCT ยังคงต้องการใช้โปรโมชั่นโทรฟรี 1 ปีอยู่ ผู้ให้บริการไม่มีสิทธิตัดหรือระงับสัญญาณโทรออก เบื้องต้นผู้บริโภคที่ประสบปัญหาขอให้แจ้งยืนยันความประสงค์ที่จะใช้โปรโมชั่นเดิมได้ที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของทรู โทร. 02-900-8088 , 02-643-1071 โทรสาร 02-643-0540 และหากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาขอให้แจ้งมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่โทร.02-248-3737 เพื่อช่วยเหลือดำเนินการฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคต่อไป  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 145 โทรโปรฯไหน? ไม่เกิน 99 สต.

  ข่าวเรื่องการประมูล 3G อาจจะเป็นข่าวใหญ่ในแวดวงการสื่อสารในรอบปี 2555 ที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือทุกคนต้องให้ความสนใจ เพราะเกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ของคนใช้โทรศัพท์มือถือโดยตรง นั่นก็คือการประกาศของคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เรื่อง “อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ พ.ศ. 2555” ที่มีเนื้อหาว่าด้วยการกำหนดค่าโทรสูงสุด โดยตามประกาศฉบับนี้ได้บังคับไว้ว่า ห้ามบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือกำหนดค่าโทรเกินนาทีละ 99 สตางค์ ประกาศฉบับนี้เริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2555 แต่ว่าทาง กสทช. ก็ผ่อนผันให้กับบรรดาค่ายโทรศัพท์มือถือจนถึงสิ้นปี 2555 ซึ่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2556 ที่ผ่าน ถือเป็นวันดีเดย์ที่ทาง กสทช.จะเริ่มบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้อย่างจริงจังและจะมีบทลงโทษกับค่ายมือถือที่ไม่ปฏิบัติตามกฎ   แม้ค่ายโทรศัพท์มือถือดูเหมือนจะตื่นตัวรับประกาศฉบับนี้ ด้วยการออกโปรโมชั่นใหม่ๆ รับค่าโทรนาทีละไม่เกิน 99 สตางค์ แต่ว่าก็ยังมีโปรโมชั่นค่าบริการทั้งแบบเติมเงินและแบบรายเดือนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังคิดค่าโทรเกินนาทีละ 99 สตางค์   ฉลาดซื้อจึงขออาสาสำรวจโปรโมชั่นโทรศัพท์มือถือว่าตอนนี้มีโปรโมชั่นไหนที่ทำตามประกาศและยังมีโปรโมชั่นไหนยังคิดค่าโทรเกินนาทีละ 99 สตางค์ เพื่อเป็นข้อมูลให้สำหรับคนที่กำลังมองหาโปรโมชั่นค่าโทรมือถือที่น่าจะคุ้มค่าและเหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละคนมากที่สุด   โปรโมชั่นค่าโทรแบบเติมเงินที่คิดค่าโทรไม่เกินนาทีละ 99 สตางค์ เครือข่าย  ชื่อโปรโมชั่น ค่าโทรหาเบอร์เครือข่ายเดียวกัน ค่าโทรหาเบอร์ต่างเครือข่าย โปรโมชั่นพิเศษที่เกี่ยวข้องกับค่าโทร         ดีแทค ซิมปาท่องโก๋ นาทีละ 66 สต. นาทีละ 99 สต. โทรหาอีก 1 เบอร์พิเศษ นาทีละ 2 สตางค์ ซิม 2499 แฮปปี้ทั่วเมือง นาทีแรก 99 สต. นาทีต่อไป 24 สต. นาทีละ 99 สต. - ซิม 15 หยกๆ 16 หย่อนๆ นาทีละ 15 สต. ช่วง 4 ทุ่ม - 10 โมงเช้า นอกช่วงเวลา นาทีละ 99 สต. นาทีละ 99 สต. - ซิมสามก๊ก นาทีละ 49 สตางค์ ช่วงตี 5 – 5 โมงเย็น นอกช่วงเวลา นาทีละ 99 สตางค์ - ซิมคงกระพัน นาทีละ 99 สต. - เอไอเอส โปร 30 กำลังดี นาทีละ 99 สต. -         ทรูมูฟ ซิมฮักกัน นาทีละ 75 สต. เพิ่มค่าโทรให้ตามจำนวนเงินที่เติม ซิมถูกใจ นาทีละ 99 สต. เพิ่มค่าโทรให้ตามจำนวนเงินที่เติม ซิมอะเมซิ่ง นาทีละ 24 สต. นาทีละ 99 สต. - โปรเบิ้ลเบิ้ล นาทีละ 99 สต. เพิ่มค่าโทรให้ตามจำนวนเงินที่เติม     โปรโมชั่นค่าโทรแบบเติมเงินที่คิดค่าโทรเกินนาทีละ 99 สตางค์ เครือข่าย   ชื่อโปรโมชั่น ค่าโทรหาเบอร์เครือข่ายเดียวกัน ค่าโทรหาเบอร์ต่างเครือข่าย โปรโมชั่นพิเศษที่เกี่ยวข้องกับค่าโทร           ดีแทค ซิมม่วนซื่นทั้งปี ตี 5 – 5 โมงเย็น นาทีละ 50 สต. เมื่อโทรเบอร์ในเครือข่ายที่เปิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นาทีแรก 2 บ. นาทีต่อไป 1 บ. โทรฟรีช่วงเทศกาล 500 นาที ซิมแฮปปี้นาทีละ 40 สต. นาทีแรก 1.80 บ. นาทีต่อ 40 สต. - ซิมเปิ้ล นาทีละ 2 บ. โทร 1 เบอร์พิเศษในเครือข่าย นาทีละ 50 สตางค์                 เอไอเอส   โปร รักทุกค่าย อัตรานาทีแรก 2 บ.ต่อไปนาทีละ 50 สต. - โปร One-2-Call! Grammy Music SIM ชั่วโมงละ 1 บ. ในเครือข่าย AIS ช่วงเวลา 23.00 น.-17.00 น. (นอกเวลานาทีละ 1 บ.) นาทีละ 1 บ. มีค่าบริการสัปดาห์ละ 29 บ. โปร หวานเย็น ตั้งแต่ 22.00-18.00 น. นาทีแรก 2 บ. นาทีต่อไป 25 สต. นอกช่วงเวลา นาทีแรก 2 บ. นาทีต่อไป 1 บ. - โปร โทรยกแก๊งค์ โทรระหว่างหมายเลขในโปรโมชั่น นาทีแรก 1 บ. นาทีต่อไป 25 สต. โทรหมายเลขอื่น ทุกเครือข่าย นาทีแรก 2 บ. นาทีต่อไป 1 บ. มีค่าบริการเดือนละ 19 บ. โปร รักทุกค่าย นาทีแรก 2 บ. นาทีต่อไป 50 สต. -             ทรูมูฟ ซิมสุดคุ้ม นาทีละ 1 บ. นาทีแรก 3 บ. นาทีต่อไป  1 บ. เพิ่มค่าโทรให้ตามจำนวนการใช้ ซิมว้าวว์ นาทีแรก 1.80 บ. นาทีต่อไป 39 สต.   - โปรโทรฟรียกก๊วน 24 ชั่วโมง นาทีแรก 1 บ. นาทีต่อไป 50 สต. นาทีละ 1.25 สต. โทร 3 เบอร์คนสนิท นาทีแรก 1 บ. นาทีต่อไป 25 สต. ได้สิทธิ์โทรฟรีเมื่อใช้ตามจำนวนที่กำหนด โปรห่วงใย 39 สต. นาทีแรก 1.80 บ. นาทีต่อไป 39 สต.   - โปรเบิ้ลเบิ้ล นาทีละ 99 สตางค์ เพิ่มค่าโทรให้ตามจำนวนเงินที่เติม   -โปรโมชั่นค่าโทรที่นำมาเปรียบเทียบเป็นรูปแบบเติมเงินและเป็นโปรโมชั่นที่เน้นการโทรเป็นหลัก   -สำรวจล่าสุดเดือนมีนาคม 2556   การห้ามกำหนดค่าบริการโทรศัพท์มือด้วยระบบเสียงเกินนาทีละ 99 สตางค์ มีผลบังคับใช้กับ เอไอเอส และ ดีแทค เท่านั้น ไม่มีผลกับ ทรูมูฟ ตามเงื่อนไขในประกาศที่จะควบคุมเฉพาะผู้ให้บริการที่มีลักษณะเป็น “ผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ” ซึ่งวัดจากส่วนแบ่งทางการตลาด ถ้าเจ้าไหนมีส่วนแบ่งมากกว่า 25% จึงจะถือว่ามีแนวโน้มเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ตามประกาศเรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2552” ซึ่ง ทรูมูฟ มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ประมาณ 23% ส่วน เอไอเอส อยู่ที่ประมาณ 43% และ ดีแทค อยู่ที่ 30%   แพ็คเก็จรายเดือนค่าโทรส่วนเกินยังเกิน 99 สตางค์ จากการสำรวจค่าโทรศัพท์มือถือแบบเหมาจ่ายรายเดือนจะมีค่าโทรเฉลี่ยอยู่ที่ 74 สตางค์ – 1 บาทต่อนาที แต่ยังมีการคิดค่าโทรส่วนเกินอยู่ที่ 1บาท – 1.50 บาทต่อนาที ซึ่งเกิน 99 สตางค์ตามประกาศของ กสทช. ซึ่งเมื่อยังมีการละเมิดคำสั่งอยู่แบบนี้ ทาง กสทช. จะมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาค่าปรับทางปกครอง โดยมีการกำหนดอัตราค่าปรับวันละ 100,000 บาท   สำหรับใครที่พบว่าตัวเองยังใช้โปรโมชั่นมือถือที่คิดค่าบริการเกิน 99 สตางค์ สามารถแจ้งเปลี่ยนแพ็คเก็จหรือย้ายค่ายผู้ให้บริการ ซึ่งหากผู้ให้บริการรายใดปฏิเสธการให้บริการ หรือแม้แต่เห็นว่า กสทช. ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศ สามารถร้องเรียนไปได้ที่ สายด่วน กสทช. โทร. 1200, ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคประชาชนในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ   สำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของตัวเองก่อนเลือกโปรโมชั่น 1.ปริมาณการโทร – จำนวนเวลาที่ใช้โทรในแต่ละครั้งมากน้อยแค่ไหน เพราะถึงแม้จะเลือกใช้โปรฯ ที่มีค่าโทรนาทีละ 99 สตางค์ แต่ถ้าหากต้องโทรคุยครั้งละ 10 – 20 นาที ค่าโทรที่ต้องเสียก็จะแพงกว่าโปรฯ ค่าโทรที่เริ่มต้นนาทีแรก 2 บาท แต่นาทีต่อไปคิดนาทีละ 50 สตางค์ เพราะฉะนั้นต้องดูให้แน่ใจว่าเรามีพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์แบบไหน ถ้าเป็นประเภทคุยสั้นคุยไม่นาน ก็ควรเลือกที่คิดค่าโทรถูกตั้งแต่นาทีแรก คือไม่เกิน 99 สตางค์ แต่หากเป็นคนที่คุยนานก็ต้องดูเรื่องค่าโทรเฉลี่ย   นอกจากนี้ยังมีโปรฯ ที่ออกแบบเพื่อการโทรหาเบอร์ที่เราเลือกให้เป็นเบอร์พิเศษ เช่น “ซิมปาท่องโก๋” และ “ซิมเปิ้ล” ของดีแทค หรือ “โปรโทรฟรียกก๊วน 24 ชั่วโมง” ของทรูมูฟ ที่ให้สิทธิโทรหาราคาถูกกับเบอร์พิเศษที่เรากำหนดได้เอง 1 เบอร์สำหรับ“ซิมปาท่องโก๋” และ “ซิมเปิ้ล” หรือถึง 3 เบอร์สำหรับ “โปรโทรฟรียกก๊วน 24 ชั่วโมง” แต่แน่นอนว่าเฉพาะเบอร์โทรที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น ซึ่งโปรฯ แบบนี้ก็ยิ่งทำให้คนที่มีเบอร์ที่ต้องโทรหาประจำใช้งานได้ถูกลงไปอีก   2.ช่วงเวลาที่ใช้งาน – มีหลายโปรฯ ที่มีการใช้เงื่อนของเวลามาเป็นตัวกำหนดการใช้งาน ซึ่งถ้าโทรตามช่วงเวลาที่โปรฯ กำหนดค่าโทรก็จะถูกมาก เช่น “ซิม 15 หยกๆ 16 หย่อนๆ” ของดีแทค คิดค่าโทรนาทีละ 15 สต. ช่วง 4 ทุ่ม - 10 โมงเช้า, “ซิมสามก๊ก” ของดีแทค คิดค่าโทรนาทีละ 49 สตางค์ ช่วงตี 5 – 5 โมงเย็น หรือ โปรฯ  One-2-Call! Grammy Music SIM ของเอไอเอส คิดค่าโทรชั่วโมงละ 1 บ. ช่วงเวลา 23.00 น.-17.00 น. เป็นต้น แต่การใช้โปรฯ เหล่านี้ต้องไม่ลืมดูเรื่องของค่าโทรนอกเวลาโปรฯ และเบอร์ที่โทรหาจำกัดเฉพาะเบอร์ในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้นหรือไม่   3.ลักษณะการใช้งาน - เพราะเดี๋ยวนี้โทรศัพท์มือถือถูกยกระดับกลายเป็น “สมาร์ทโฟน” ไม่ใช่แค่ไว้โทรอย่างเดียว แต่ยังใช้ต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อติดต่อหากันได้ เพราะฉะนั้นถ้าใครใช้มือถือเพื่อเล่นอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ก็ต้องเลือกแพ็คเก็จที่เน้นบริการอินเทอร์เน็ต ส่วนค่าโทรก็ต้องดูตามความเหมาะสม ถ้าให้ดีก็อย่าให้เกินนาทีละ 99 สตางค์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 ประเด็นร้อน “ผู้บริโภคไทย” 2558

1.    คิดค่าโทรตามจริงเป็นวินาที สุดท้ายก็มีแค่ “โปรโมชั่น”หลายคนน่าจะยังจำได้ถึงกรณีที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เรียกร้องให้ กสทช. กำหนดให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือทั้ง 5 ราย ได้แก่ เอไอเอส ดีแทค ทรู TOT และ CAT คิดค่าโทรตามจริงเป็นวินาที เพราะที่ผ่านมาการคิดค่าโทรแบบเดิม หรือการคิดค่าโทรเป็นนาที ถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค เนื่องจากค่าโทรจะถูกปัดเศษขึ้นทุกครั้ง แม้ว่าเราจะโทรไม่ครบหนึ่งนาที โดยหากนับเป็นจำนวนเงิน ผู้บริโภคจะเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ไปกว่า 3,000 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งภายหลัง กสทช. ก็ได้มีมติอนุมัติประกาศดังกล่าว และกำหนดให้ทุกเครือข่ายมีโปรโมชั่นเป็นวินาทีตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเนื่องจากประกาศของ กสทช. ไม่มีความชัดเจนว่า หากไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าฝ่าฝืนกฎหมายใดหรือมีโทษอย่างไร ดังนั้นแม้จะได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการ แต่สิ่งที่ผู้บริโภคได้รับกลับเป็นเพียง “โปรโมชั่นทางเลือก” เท่านั้น ไม่ใช่การยุติหรือเปลี่ยนทั้งระบบตามข้อเรียกร้องของ สปช. โดยผู้ประกอบการได้อ้างว่า หากต้องการเปลี่ยนทั้งระบบ ก็ต้องใช้ระยะเวลานานกว่านี้ ซึ่งไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนได้ ภายหลังการออกโปรโมชั่นใหม่คิดค่าโทรเป็นวินาทีของทุกเครือข่าย ก็ได้สร้างความสับสนให้กับผู้บริโภคส่วนใหญ่ เพราะไม่แน่ใจว่าจะได้จ่ายถูกลงหรือแพงขึ้นกันแน่ ด้านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงออกมาชี้แจงว่า โดยสรุปแล้วการออกโปรโมชั่นคิดค่าโทรเป็นวินาทีของทุกเครือข่าย ไม่มีความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค เพราะ ทำให้ต้องจ่ายในราคาค่าบริการที่แพงขึ้น แต่ได้สิทธิประโยชน์ลดลง จึงขอเรียกร้องให้ กสทช. ปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลอย่างจริงจัง โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภค เหนือกว่าการแสวงหากำไรส่วนเกินของผู้ประกอบการ และควรสั่งผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหลาย เลิกคิดค่าบริการโดยการปัดเศษเป็นนาทีในทุกครั้งของการโทรได้แล้ว จนปัจจุบันก็ยังไม่มีการดำเนินการ ยกร่างประกาศเรื่องปัดเศษค่าโทรตามจริงเป็นวินาทีอย่างชัดเจน ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราก็คงต้องรอความเป็นธรรมกันต่อไป 2.     “โฆษณาเกินจริง ช่องดับแน่นอน”การนำเสนอขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นวิทยุชุน สื่อโทรทัศน์ดาวเทียม หรือเคเบิล นำไปสู่การเฝ้าระวังการโฆษณาเกินจริงที่เข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภค จากผลการสำรวจการเฝ้าระวังโฆษณา ทางสื่อโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลทีวี ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2557 โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 10 จังหวัด พบว่า เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย โดยส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก ลดความอ้วน เน้นความขาว สวย ใส และการรักษา บำบัด ป้องกันสารพัดโรคตั้งแต่หัวจรดเท้า บางครั้งมีการให้ข้อมูลกล่าวอ้างเชิงวิชาการว่าสามารถรักษาโรคได้ ซึ่งโฆษณาต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่เป็นเท็จ เกินจริง บางกลุ่มขาดการรักษาที่เหมาะสม ถึงขั้นถึงเสียเงินเสียทอง จนสุดท้ายเสียชีวิต เครือข่ายผู้บริโภคจึงได้ยื่นหนังสืออย่างเป็นทางการต่อสำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ อย. เพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากการโฆษณาในสื่อโทรทัศน์และวิทยุ ซึ่งภายหลังทั้งสองหน่วยงานได้มีการร่วมมือกันสั่งระงับ และปรับช่องรายการที่กระทำผิดกฎหมาย จนหลายช่องต้องปิดการดำเนินงาน ทั้งนี้ กสทช. และ อย. ยังคงยืนยันจะดำเนินการต่อไปและยกระดับการติดตาม ตรวจสอบและระงับการกระทำความผิดเพิ่มขึ้น โดยตั้งงบประมาณสำหรับการติดตามตรวจสอบ และเฝ้าระวังการกระทำที่มีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค สำหรับการโฆษณาอาหารและยาที่ผิดกฎหมาย ไปยังสำนักงาน กสทช.ทั้ง 4 ภาค เพื่อเฝ้าระวังในระดับพื้นที่ทั้งวิทยุและโทรทัศน์ต่อไป อย่างไรก็ตามแม้จะมีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง แต่สถานการณ์การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพยังคงอยู่ ล่าสุด กสทช. จึงออกมาตรการเด็ดขาดว่า หากพบว่าบางช่องกลับมาออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายอีก นับจากนี้ไปจะเริ่มการพักใช้ใบอนุญาตอย่างจริงจัง นับว่าเป็นข่าวดีของผู้บริโภคที่จะเริ่มได้รับข้อมูลข่าวสาร ด้านสุขภาพหรืออาหารและยาที่เป็นประโยชน์ และไม่หลอกลวงผ่านสื่อต่างๆ เหมือนที่แล้วมา3.    ปมร้อน ควบคุมค่ารักษาแพง โรงพยาบาลเอกชนเดือน พ.ค. เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ จุดประกายเรื่อง ค่ารักษาพยาบาลแพงของโรงพยาบาลเอกชนขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร มีการพูดคุยกันในสังคมไทยมานานแล้ว แต่ในยุคของโลกโซเชียล เมื่อทางเครือข่ายผู้เสียหายฯ เปิดแคมเปญ เสนอให้มีการตั้ง “คณะกรรมการกลางเพื่อควบคุมค่ารักษาพยาบาลในโรง พยาบาลเอกชน” และล่ารายชื่อผ่านทาง www.change.org  ปรากฏว่ามีผู้ร่วมลงชื่อกว่า 33,000 คนในเวลาเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยเห็นตรงกันว่าค่ารักษา ของโรงพยาบาลเอกชนนั้นแพงจริงเมื่อได้รายชื่อครบตามจำนวนที่ต้องการ วันที่ 12 พ.ค. นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธาน เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ได้เข้ายื่นรายชื่อทั้งหมดต่อ นายกรัฐมนตรี ผ่านทางนายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมราคาโรงพยาบาลเอกชน ภายใน 1 เดือน     การเคลื่อนไหวของเครือข่ายฯ ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์ และนำสู่การจัดประชุมเพื่อหาแนวทางในการดูแลปัญหาดังกล่าว แน่นอนว่า มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและเห็นต่าง ฝ่ายที่เห็นด้วย แม้เข้าใจว่า การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนเป็นทางเลือก แต่เมื่อเกิดค่าใช้จ่ายที่มีมูลค่าสูง  ก็ต้องการจะทราบข้อมูลที่ชัดเจนว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร ดังที่นางปรียนันท์ กล่าวว่า “เราไม่ได้ขอให้ รพ.เอกชนลดราคา คิดแพงได้แต่ห้ามโกง ห้ามโก่งราคา ห้ามค้ากำไรเกินควร แค่ขอให้ทำธุรกิจตรงไปตรงมา โปร่งใสตรวจสอบได้ และรับผิดชอบต่อสังคม แต่ที่ผ่านมากลับไม่เคยมีใครพูดว่าจะจัดการกับการโกงอย่างไร มีแต่ท้าทายประชาชนว่าถ้าแพงก็อย่าเข้า มันไม่ใช่การหาทางออกที่จะทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบได้” จึงเสนอให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการควบคุมราคาโรงพยาบาลเอกชน เพื่อเป็นกลไกในการตรวจสอบ ข้างฝ่ายโรงพยาบาลเอกชน ได้พยายามเน้นที่จุดสำคัญของเรื่องการค้าเสรี และมองว่า โรงพยาบาลเอกชนนั้นมีค่าบริหารจัดการที่สูง จะนำราคามาเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลรัฐ ไม่ได้ เพราะโรงพยาบาลรัฐนั้นได้รับการสนับสนุนในด้านงบประมาณ นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน แสดงทัศนะว่า “หากมองความเป็นจริงแล้ว ค่ายาและค่าบริการในโรงพยาบาลเอกชนนั้น “ไม่แพง” แต่เป็นการสะท้อนต้นทุนที่จะสนับสนุนศักยภาพการดูแลสุขภาพของประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันไปสู่ระดับสากล และทั้งหมดคือการลงทุน และการลงทุนนี้เป็นคำตอบว่าทำไมจึงมีความแตกต่างเรื่องราคา การสะท้อนต้นทุนของโรงพยาบาลเอกชนเป็นการตอบโจทย์ระบบเศรษฐกิจเสรี ...” ส่วนเรื่องที่มีการเสนอผลวิจัยที่พบว่า ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐหลายเท่านั้น นพ.เฉลิมมองว่า  “ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงมีการเปรียบเทียบค่ารักษาพยาบาลทั้งๆ ที่รู้ว่าต้นทุนเราต่างกัน” ฝั่งภาคประชาสังคม โดยคณะอนุกรรมการด้านบริการสุขภาพ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.ด้านบริการสุขภาพ) ร่วมกับ เครือข่ายผู้ป่วย และ เครือข่ายผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร แถลง "นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินใช้สิทธิได้ทุกที่ จริงหรือไม่ ถ้าต้องจ่ายแพง" ได้จัดทำข้อเสนอเพื่อเป็นทางออกต่อปัญหาดังกล่าวเช่นกัน โดยแบ่งเป็นมาตรการ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว โดยสรุปดังนี้ แม้โรงพยาบาลเอกชนเป็นทางเลือกในการรักษาพยาบาล แต่ในกรณีฉุกเฉิน ก็ควรเป็นหน่วยที่ดูแลชีวิตของประชาชนด้วยเช่นกัน ดังนั้นไม่ควรมีการเรียกเก็บเงินกับผู้ป่วยและญาติในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ภายในเวลา 72 ชั่วโมง หรือปลอดภัยเพียงพอที่จะนำส่งไปรับการรักษาพยาบาลต่อในโรงพยาบาลต้นสังกัดตามสิทธิของผู้ป่วย จัดระบบบริหารจัดการเรื่องการส่งต่อให้มีประสิทธิภาพ และให้ภาครัฐดำเนินการทำข้อตกลงกับรพ.เอกชน เกี่ยวกับอัตราค่ารักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน และให้มีบทลงโทษสำหรับโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่ทำตามเงื่อนไข ระยะถัดไป ให้กระทรวงสาธารณสุข ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการหนึ่งชุดที่มีองค์ประกอบจากทุกฝ่าย ทำหน้าที่ในการควบคุมหรือการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการ ของสถานพยาบาล ให้รวมถึง การวินิจฉัย การรักษา ที่มากเกินความจำเป็น ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา หรือค่าใช้จ่ายทางการแพทย์อื่นๆ ที่แพงเกินจริง  และกระทรวงสาธารณสุข ควรเร่งรัดการออก พระราชบัญญัติยา ที่มีการเสนอขอปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์โดยภาคประชาชน ทั้งนี้ ต้องยืนยันไม่ให้มีการตัดเรื่องกลไกการควบคุมราคายา ในระยะยาวต้องควบคุมการทำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ไม่ให้มุ่งเน้นผลกำไร แต่มุ่งเน้นการดำเนินการทางมนุษยธรรม ยกเลิกการสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาล และเร่งรัดการออกกฎหมายควบคุมการควบรวมกิจการการแข่งขันทางการค้า เปิดให้มีการสมัครใจของโรงพยาบาลเอกชนที่จะดำเนินการด้านบริการสาธารณะให้ เป็นการดำเนินการแบบองค์กรสาธารณะประโยชน์ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น  แต่จนถึงปัจจุบัน แม้จะยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่อง ค่ารักษาพยาบาลที่แสนแพง และดูเหมือนมีหลายหน่วยงานพยายามยื่นมือเข้าไปดูแล แต่ก็ยังไม่มีบทสรุปที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นจากกระทรวงสาธารณสุขหรือกระทรวงพาณิชย์ ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ผลการศึกษาอัตราค่าบริการของโรงพยาบาลเอกชนในปี 2552 ว่า โรงพยาบาลเอกชนคิดอัตราค่าบริการต่างกันหลายเท่าตัว โดยเอกชน 5 ดาวจะคิดค่าบริการสูงกว่าของรัฐ 2.5-7 เท่า และเอกชนแสวงหากำไร 1.4-4 เท่า จากผลการศึกษาความแตกต่างระหว่างสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน ในปี 2557 เปรียบเทียบเฉพาะโรคต้อกระจกและไส้ติ่ง ค่ารักษาพยาบาลจะมีความห่างกันค่อนข้างมาก คือ มีอัตราค่าบริการสูงในโรคต้อกระจกมากกว่าของรัฐ 11.7 เท่า ส่วนไส้ติ่งสูงกว่าของรัฐ 8.3 เท่าข้อมูล สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++รายงานวิจัยพัฒนารูปแบบและอัตราการจ่ายเงิน ชดเชย การให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตร่วม 3 กองทุน ภายใต้นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน” ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 2555 - 30 ก.ย. 2556 โดยเก็บข้อมูลจาก รพ.เอกชน 353 แห่ง คนไข้ กว่า 22,000 ราย พบว่า รายการยาแพงกว่าโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) ตั้งแต่ 60-400 เท่า อาทิ ไวตามินบีคอมเพล็กใน รพศ.หลอดละ 1.50 บาท ใน รพ.เอกชนกลายเป็น 600 บาท ยาฉีดแก้ปวดขนาด 50 มก.ใน รพศ.ราคา 6.50 บาท ใน รพ.เอกชนแพงถึง 450 บาท หรือรายการเวชภัณฑ์ก็มีราคาต่างกัน 16-44 เท่า เช่น ราคาท่อดูดเสมหะใน รพศ.ชิ้นละ 10 บาท เป็น 440 บาทใน รพ.เอกชน หรือ ไหมเย็บแผลสีดำใน รพศ.ชุดละ 28.5 บาท เป็น 460 บาทใน รพ.เอกชน นอกจากราคาแพงกว่าแล้ว ยังมีข้อบ่งชี้การให้บริการเกินจำเป็น โดยในตัวอย่างคนไข้ 80 ราย พบว่า มีการให้เลือดในคนไข้ที่ไม่จำเป็นต้องได้รับเลือด มีการตรวจวินิจฉัยเกินจำเป็น เช่น คนไข้มีอาการนิ่วเฉียบพลันแต่ส่งตรวจการทำหน้าที่ของต่อมไทรอยด์และตรวจองค์ ประกอบดีเอ็นเอ คนไข้เป็นปอดบวมจำเป็นต้องได้รับการรักษาด่วน แต่ส่งตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก คนไข้เป็นถุงลมพองกำเริบฉุกเฉินแต่มีการเรียกเก็บค่าสายสวนปัสสาวะ เป็นต้น    ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน รพ.รามาธิบดี ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++    4.  แฉเล่ห์ประกันผู้สูงอายุ “ไม่ต้องตรวจสุขภาพ”    และแล้วก็ถึงวันที่ผู้บริโภคได้ตระหนักในความจริงที่ว่า โฆษณาของบริษัทประกันชีวิต ซึ่งเจาะกลุ่มผู้สูงวัยนั้น เข้าข่ายไม่เป็นธรรม กับประโยคที่ย้ำชัดว่า ไม่ถามเรื่องสุขภาพสัก...คำ หรือ ไม่ต้องตรวจสุขภาพอะไรเลย     เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เปิดเผยว่า ในแต่ละปีจะมีประชาชนร้องเรียนเข้ามาเกี่ยวกับปัญหาบริษัทประกันชีวิต ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหม โดยอ้างว่าผู้ทำประกันชีวิตเป็นโรคร้ายแรงมาก่อนที่จะทำประกัน รวมถึงที่เป็นปัญหาล่าสุดคือ กรณีการทำประกันชีวิตของผู้สูงอายุที่มีการโฆษณาว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำ แต่เมื่อผู้สูงอายุเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  แล้วไม่สามารถเคลมประกันได้ ขณะเดียวกันก็ถูกบอกเลิกสัญญาด้วย โดยทางบริษัทอ้างว่า ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวมาก่อนที่จะทำประกันชีวิต ไม่สามารถเคลมได้ตามโฆษณา     ทั้งนี้การทำประกันชีวิตที่มีการโฆษณาว่า "ไม่ต้องตรวจสุขภาพนั้น" จริงๆ แล้วคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ระบุว่าการโฆษณาเงื่อนใขใดๆ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจในการทำประกันชีวิตของประชาชน จะต้องมีการระบุเงื่อนไขนั้นเอาไว้ในกรมธรรม์ด้วย ซึ่งในกรมธรรม์จริงจะไม่ปรากฏเงื่อนไขดังกล่าว ซึ่งเข้าข่ายผิดกฎหมาย     ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า การที่บริษัทประกันชีวิตใช้ข้อความโฆษณาว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพ ถือว่าผิดกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย มาตรา 31 (15) ซึ่งห้ามไม่ให้บริษัทกระทำการโฆษณาจูงใจด้วยข้อความอันเป็นเท็จ และในกรณีที่ไม่มีการคุ้มครองตามที่โฆษณาไว้ ยังอาจเข้าข่ายมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 22 (1) ซึ่งระบุว่าการโฆษณาต้องไม่เป็นข้อความเท็จ เกินจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของกรมธรรม์ประกันภัย รวมทั้งต้องเขียนข้อความที่โฆษณาไว้ในกรมธรรม์ด้วย แต่ไม่พบบริษัทใดดำเนินการดังกล่าว     เมื่อเกิดเป็นกระแสดัง ทางหน่วยงานกำกับดูแล อย่าง คปภ. จึงได้ประชุมร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทย ได้ข้อสรุปว่า ทุกบริษัทต้องดูแลการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ คปภ. กำหนด โดยเฉพาะการระบุเงื่อนไขที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน...  นอกจากนี้ในการโฆษณาที่ระบุว่า "ไม่ต้องตรวจสุขภาพ" จะต้องมีการระบุให้ชัดเจนด้วยว่าต้องแถลงเกี่ยวกับสุขภาพในใบคำขอเอาประกัน ภัยด้วยหรือไม่       ด้านสมาคมประกันชีวิตไทย รับปากดำเนินการถอนโฆษณา ณ ปัจจุบัน(1 กันยายน) เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข โดยมีแนวทาง ดังนี้ 1) ปรับเปลี่ยนข้อความโฆษณาให้เกิดความชัดเจน โดยเฉพาะเงื่อนไขการจ่ายผลประโยชน์ กรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยใน 2 ปีแรก บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยพร้อมเงินเพิ่ม 2-5 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ได้รับทุนประกัน จากนั้นในปีที่ 3 เป็นต้นไปจึงได้รับเงินคืนทั้งหมดตามทุนประกัน 2) ในการเสนอขาย พนักงานขายจะต้องแจ้งรายละเอียดตามข้อ 1 รวมทั้งข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นของกรมธรรม์ ให้ลูกค้าทราบและเข้าใจ 3) กรณีการเสนอขายประกันชีวิตผ่านทางโทรศัพท์ ภายใน 7 วันนับแต่วันที่บริษัทส่งกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัย บริษัทจะต้องโทรศัพท์ไปขอคำยืนยันจากผู้เอาประกันภัยอีกครั้งหนึ่ง โดยจะต้องมีรายละเอียดตามข้อ 2 พร้อมทั้งแจ้งสิทธิว่าผู้เอาประกันภัยสามารถขอยกเลิกกรมธรรม์ได้ภายใน 30 วัน หากรายละเอียดในกรมธรรม์ที่ได้รับไม่ตรงกับความต้องการ 4) นำสรุปเงื่อนไขที่สำคัญมาไว้หน้าเล่มกรมธรรม์ พร้อมระบุข้อความ เมื่อได้รับเล่มกรมธรรม์มาแล้ว ให้ศึกษาและทำความเข้าใจ ในรายละเอียดและเงื่อนไขความคุ้มครอง หากพบไม่ตรงกับความต้องการ สามารถขอยกเลิกได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้เล่มกรมธรรม์ในกรณีซื้อทางโทรศัพท์ หรือขอยกเลิกภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้รับเล่มกรมธรรม์ กรณีซื้อผ่านตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้า     ปัจจุบัน เราก็ได้เห็นโฆษณาที่มีการเพิ่มเงื่อนไข ตามข้อปฏิบัติที่ 1) แล้ว สำหรับในส่วนของแนวทางปฏิบัติที่เหลือ ต้องจับตากันต่อไป ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++นางจิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกัน ภัย (คปภ.) ขอให้ออกมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องการทำสัญญาประกันชีวิต เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าผู้บริโภคไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังที่บริษัทประกัน ชีวิตเคยโฆษณาไว้ผ่านสื่อ  จึงขอเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา 3 ข้อ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้บริโภค คือ              1. ยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคในการทำสัญญาประกันชีวิตของผู้สูงวัย โดยหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหลังจาก 30 วัน นับแต่ทำสัญญาประกันชีวิต ก็มีสิทธิได้รับเงินคืนทั้งหมดตามทุนประกันที่ทำไว้กับบริษัทประกันชีวิต  ทั้งนี้บริษัทประกันภัยไม่ควรกำหนดเงื่อนไขในสัญญาในทำนองว่า กรณีผู้เอาประกันเสียชีวิตในช่วง 2 ปีแรก ให้คืนเบี้ยประกันภัยพร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 2-5 ให้กับผู้รับผลประโยชน์ตามสัญญา แต่ถ้าเสียชีวิตในปีที่ 3 เป็นต้นไปจะได้รับเงินคืนทั้งหมด ตามทุนประกัน เพราะเงื่อนไขดังกล่าวถือว่าเอาเปรียบผู้บริโภค              2. ขอให้ คปภ. สั่งปรับในอัตราสูงสุด 500,000 บาท กับบริษัทประกันที่โฆษณาทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในสาระสำคัญเกี่ยวกับกรมธรรม์ และขอให้บริษัทประกันชีวิตบรรจุข้อความที่โฆษณาเอาไว้อย่างชัดเจนในกรมธรรม์ ที่ทำกับผู้บริโภคด้วย โดยเฉพาะกรณีที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพต่าง ๆ มักมีเนื้อหาเกินจริง ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อทำสัญญา แต่สุดท้ายกลับไม่ได้รับเงินจริง              3. ขอให้ คปภ. ออกมาตรการบังคับให้บริษัทประกันภัยทุกแห่ง มีระบบบริการให้ผู้บริโภคติดต่อยกเลิกสัญญา หรือสอบถามปัญหาต่างๆ ได้อย่างสะดวกและเข้าถึงง่าย ชัดเจนและประหยัดค่าใช้จ่าย++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++สิ่งที่ต้องรู้สำหรับประกันชีวิต ผู้สูงอายุ แบบประกันสำหรับผู้สูงวัยเป็นแบบประกันชีวิตที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้ 1.       ผู้เอาประกันจะต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป ซึ่งอาจมีการกำหนดอายุสูงสุดของผู้เอาประกันไว้ไม่เกิน 70-75ปี2.       ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตเป็นหลัก 3.       บางแบบประกันชีวิตสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ ยกตัวอย่างเช่น3.1    สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุ ที่ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ3.2    สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ที่ให้ความคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยด้วยปัญหาสุขภาพ หรือโรคร้ายแรง หรืออาจเป็นในลักษณะการจ่ายค่าชดเชยรายวันกรณีพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แล้วแต่กรณีตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต               4         สามารถซื้อได้ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณารับประกันชีวิตของบริษัทแล้วแต่กรณี ได้แก่ ต้องตรวจสุขภาพ หรือ ไม่ต้องตรวจสุขภาพแต่ต้องตอบคำถามสุขภาพ หรือ ทั้งไม่ต้องตรวจสุขภาพและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ               5         แบบประกันชีวิตที่ไม่ตรวจสุขภาพ จะมีเงื่อนไขว่าหากเสียชีวิตใน 2 ปีแรกของการทำประกันชีวิต บริษัทจะจ่ายเงินเท่ากับเบี้ยประกันภัยที่รับมาแล้ว บวกผลตอบแทนให้ในอัตรา 2-5% แล้วแต่บริษัท เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นโรคใดๆ มาก่อนทำประกันชีวิต และหากผู้เอาประกันภัย เสียชีวิตในปีที่ 3 เป็นต้นไป ก็จะได้รับเงินเต็มตามจำนวนเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในสัญญา ข้อมูล สมาคมประกันชีวิตไทย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point