ฉบับที่ 216 ผลทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ และ สารกันบูด ในโดนัทช็อกโกแลต ภาค 2

โดนัท (Doughnut หรือ Donut) ขนมแป้งทอดมีรู ที่ตกแต่งหน้าตาจากน้ำตาลเคลือบหลากรส ด้วยกลิ่นหอมหวาน สีสันสวยงาม และรสสัมผัสนุ่มหนุบหนับ โดนัทจึงเป็นที่นิยมบริโภคของคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งแคลอรี่จากโดนัทหนึ่งชิ้นนั้น นับว่าไม่เบาเลยทีเดียว นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องคำนึงเพิ่มก็คือ ปริมาณไขมันทรานส์ (Trans fat) หรือ กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty acid) ที่อาจแฝงอยู่ในโดนัท ซึ่งหากร่างกายของเราได้รับไขมันทรานส์ในปริมาณมาก ก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้        ไขมันทรานส์ (Trans fat) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid) ที่พบได้ทั้งในธรรมชาติ คือ ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น นม เนย ชีส เนื้อสัตว์ และจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ทำให้น้ำมันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่มีสภาพแข็งขึ้นหรือเป็นของกึ่งเหลว ซึ่งพบในอาหารที่มีเนยเทียม (margarine) หรือเนยขาว (shortening) เป็นส่วนประกอบ เช่น โดนัททอด เค้ก พาย พัฟ เพสตรี้ คุกกี้ ซึ่งจะทำให้อาหารหืนช้า และมีอายุการเก็บรักษานานขึ้น        ก่อนหน้านี้ ฉลาดซื้อเคยทดสอบไขมันทรานส์และพลังงานในโดนัทช็อกโกแลต จากร้านค้าและห้างสรรพสินค้าต่างๆ จำนวน 13 ยี่ห้อ ในฉบับที่ 206 (เมษายน 2561) โดยพบว่ากว่าครึ่ง มีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินกว่า 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำไว้        เมื่อช่วงต้นปีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยเริ่มตื่นตัว เมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oil) และอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการดังกล่าว ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา        เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และนิตยสารฉลาดซื้อจึงเลือกทดสอบโดนัทช็อกโกแลตซ้ำอีกครั้งหนึ่ง โดยได้สุ่มซื้อโดนัทรสช็อกโกแลต จากร้านขายโดนัทและห้างสรรพสินค้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 13 ยี่ห้อ (ยี่ห้อเดิมที่เคยเก็บตัวอย่างก่อนหน้านี้) นำส่งห้องปฏิบัติการมาตรฐานเพื่อตรวจวิเคราะห์หาปริมาณไขมันทรานส์ รวมถึงสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิก (Sorbic acid) และ กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) โดยผลการตรวจวิเคราะห์แสดงดังตารางต่อไปนี้สรุปผลการทดสอบ1. ผลทดสอบสารกันบูด (กรดซอร์บิก และ กรดเบนโซอิก)        จากโดนัทช็อกโกแลตที่นำมาทดสอบ จำนวน 13 ตัวอย่าง พบว่า                   ทุกตัวอย่างตรวจไม่พบกรดซอร์บิก แต่ตรวจพบกรดเบนโซอิกในปริมาณเพียงเล็กน้อย จำนวน 5 ตัวอย่าง ได้แก่              1. โดนัทรวมรส (ช็อกโกแลต) / เทสโก้ โลตัส          พบกรดเบนโซอิก 4.72 มก./กก.           2. ริงจิ๋ว (ช็อกโกแลต) / เอ็น.เค.โดนัท                     พบกรดเบนโซอิก 10.45 มก./กก.          3. เรนโบว์ โดนัท / เบรดทอล์ค                               พบกรดเบนโซอิก 11.48 มก./กก.           4. โดนัท ดาร์กช็อกโกแลต / ซับไลม์โดนัท              พบกรดเบนโซอิก 19.48 มก./กก.    และ 5. โดนัทช็อกโกแลต / ฟู้ดแลนด์                           พบกรดเบนโซอิก 29.93 มก./กก.        ซึ่งตามบัญชีแนบท้าย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 389) พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) อนุญาตให้ตรวจพบปริมาณสารกันเสียประเภท กรดเบนโซอิก ในผลิตภัณฑ์กลุ่มขนมอบที่มีการปรุงแต่งรสชาติ และส่วนผสมสำเร็จรูป ได้สูงสุดไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ขนมอบ (ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่) ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม        ซึ่งตามเกณฑ์ดังกล่าว พบว่า ไม่มีตัวอย่างใดที่ตรวจพบวัตถุกันเสียเกินค่ามาตรฐาน        ทั้งนี้ ตั้งข้อสังเกตต่อปริมาณกรดเบนโซอิกที่ตรวจพบ ซึ่งมีเพียงเล็กน้อยว่า อาจไม่ใช่กรดเบนโซอิกที่ใส่เพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นสารกันเสีย แต่อาจเป็นวัตถุเจือปนอาหารประเภท เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ซึ่งใช้เป็นสารฟอกสี, สารปรับปรุงคุณภาพแป้ง เนื่องจากสารตัวนี้มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับสารกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก 2. ผลทดสอบไขมันทรานส์        เมื่อเปรียบเทียบผลทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงของผลิตภัณฑ์ขนมอบ จำพวกเค้กกาแฟ โดนัท และมัฟฟิน ซึ่งเท่ากับ 55 กรัม (ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 182 พ.ศ. 2541)           พบว่า โดนัทช็อกโกแลตทุกตัวอย่างมีปริมาณไขมันทรานส์ ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก        โดยตัวอย่างที่พบปริมาณไขมันทรานส์ต่อหน่วยบริโภค น้อยที่สุด ได้แก่ โดนัทชอคโกแลต / บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ พบปริมาณไขมันทรานส์ 0.03 กรัมต่อน้ำหนักโดนัท 55 กรัมและตัวอย่างที่พบปริมาณไขมันทรานส์ต่อหน่วยบริโภค มากที่สุด ได้แก่ โดนัทรสช็อกโกแลต ไอซ์ เกลซ / คริสปี้ครีม พบปริมาณไขมันทรานส์ 0.14 กรัม ต่อ น้ำหนักโดนัท 55 กรัมข้อสังเกต          จากผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณไขมันทรานส์ ในตัวอย่างโดนัทช็อกโกแลตทั้ง 13 ตัวอย่างในครั้งนี้ ซึ่งเป็นยี่ห้อเดียวกับที่ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเคยสุ่มทดสอบในนิตยสารฉบับที่ 206 (เมษายน 2561) พบว่า ผู้ผลิตโดนัทช็อกโกแลตเกือบทุกยี่ห้อ พัฒนาปรับปรุงสูตรการผลิต ทำให้ปริมาณไขมันทรานส์ลดน้อยลงจากเดิมมาก ซึ่งบางยี่ห้อเคยมีปริมาณไขมันทรานส์เกินเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ แต่ผลตรวจวิเคราะห์ในครั้งนี้ พบว่า โดนัทช็อกโกแลตทุกยี่ห้อ มีปริมาณไขมันทรานส์ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานข้อมูลอ้างอิง- พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 182 พ.ศ. 2541- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561- นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 206 เดือน เมษายน 2561- เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 ไขมันทรานส์และพลังงาน ในโดนัทรสช็อกโกแลต

ไขมันทรานส์และพลังงาน ในโดนัทรสช็อกโกแลตแม้หลายคนจะยกให้โดนัทจะเป็นของว่างแสนอร่อย จนบางครั้งก็กินเพลินจนลืมไปว่าในความอร่อยที่แสนหวานนั้น ให้พลังงานสูงไม่แพ้การรับประทานอาหารจานหลักเลยทีเดียว และที่มากไปกว่านั้นยังทำให้เราเสี่ยงต่อการได้รับไขมันทรานส์อีกด้วย โดยสำหรับเจ้าไขมันทรานส์(Trans fat) หรือกรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty acid) นั้น เป็นกรดไขมันชนิดหนึ่งที่เกิดจากกระบวนการแปรรูป พบมากในการผลิตอาหารทอด ครีมเทียม หรือพวกขนมอบ เบเกอรี่ที่มีมาการีน/เนยขาว เพราะสามารถทำให้อาหารเก็บได้นาน ทนความร้อน ไม่มีกลิ่นหืนและต้นทุนการผลิตต่ำ อย่างไรก็ตามไขมันทรานส์กลับเป็นถูกจัดให้เป็นไขมันตัวร้าย เนื่องจากสามารถเพิ่มระดับระดับโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL: low-density lipoprotein) ที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจและความดัน รวมทั้งสามารถทำให้มีการอักเสบของผนังหลอดเลือด ซึ่งทำให้หลอดเลือดตีบง่ายขึ้น ส่งผลให้องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคไขมันทรานส์ หรือไม่ควรบริโภคเกินกว่า 2.2 กรัม/วัน และควรพบความเข้มข้นในอาหารได้สูงสุดไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภคฉลาดซื้อฉบับนี้จึงกลับมาเอาใจคนชอบกินโดนัทกันอีกครั้ง ด้วยการทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ และพลังงานในโดนัทรสช็อกโกแลต จากยี่ห้อยอดนิยมตามท้องตลาดจำนวน 13 ตัวอย่าง ซึ่งผลการทดสอบจะเป็นอย่างไร เราลองไปดูกันเลยประเทศไทยอยู่ในระหว่างการยกร่างกฎหมาย ที่กำหนดห้ามนำส่วนประกอบอาหารที่มีไขมันทรานส์มาผลิตอาหาร หรือ ห้ามเติมสารไฮโดรเจนลงไปในกระบวนการผลิตน้ำมัน โดยคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ภายในเดือนเมษายน 2561 อ้างอิงบทความข่าวจาก https://www.matichon.co.th/news/781033สรุปผลการทดสอบจากโดนัทที่นำมาทดสอบทั้งหมดจำนวน 13 ตัวอย่าง พบว่า1. พลังงาน- ยี่ห้อที่ให้พลังงาน/ 100 กรัม มากที่สุด คือ แซง-เอ-ตัวล (Saint ETOILE) ให้พลังงาน 471 kcal./ 100 กรัมในขณะที่ยี่ห้อ ดังกิ้น โดนัท ให้พลังงานน้อยที่สุด คือ 381 kcal./ 100 กรัม- ยี่ห้อที่ให้พลังงาน/ ชิ้น มากที่สุด คือ แซง-เอ-ตัวล (Saint ETOILE) ให้พลังงาน 320 kcal./ ชิ้น (68 กรัม)ส่วนยี่ห้อ เอ็น.เค.โดนัท (NK Donut) ให้พลังงานน้อยที่สุด คือ 85 kcal./ชิ้น (19 กรัม)2. ไขมันทรานส์ผลการทดสอบพบว่า ทุกยี่ห้อมีส่วนประกอบของไขมันทรานส์ โดยแบ่งเป็น - ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์/ 100 กรัม มากที่สุด คือ ซับไลม์โดนัท (Sublime Doughnuts) มีปริมาณไขมันทรานส์ 6.65 กรัม./ 100 กรัมในขณะที่ยี่ห้อ เฟลเวอร์ ฟิลด์ (Flavor Field) มีปริมาณไขมันทรานส์น้อยที่สุด คือ 0.12 กรัม./ 100 กรัม- ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์/ ชิ้นมากที่สุด คือ ซับไลม์โดนัท (Sublime Doughnuts) มีปริมาณไขมันทรานส์ 4.5913 กรัม./ ชิ้น (69 กรัม)ส่วนยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์/ ชิ้นน้อยที่สุด คือ แด๊ดดี้ โด (Daddy Dough) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.0729 กรัม./ ชิ้น (51 กรัม)ข้อสังเกต- ไขมันทรานส์ จากโดนัทที่นำมาทดสอบทั้งหมด พบว่า มีปริมาณไขมันทรานส์ เฉลี่ย 1.25 ต่อหน่วยบริโภค ซึ่งสูงเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือไม่ควรเกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค โดยหากเราบริโภคหลายชิ้น อาจได้รับปริมาณไขมันทรานส์มากกว่าเกินกว่า 2.2 กรัม/วันได้ ทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ - โดนัทส่วนใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 60 กรัม/ ชิ้น และให้พลังงานเฉลี่ยที่ประมาณ 256 กิโลแคลอรี่ ซึ่งหากเราอร่อยเพลิน อาจทำให้ได้รับพลังงานสูงเกินกว่าที่ต้องการต้องการได้ เพราะอย่าลืมว่าโดนัท เป็นเพียงของหวานรับประทานเล่นเท่านั้น ยังมีอีก 3 มื้อหลัก/ วันรออยู่ (ปริมาณพลังงานที่เหมาะสมที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วันคือ 2,000 กิโลแคลอรี่)**** อัพเดท***เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ระบุว่า โดยปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (8) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ข้อ 1 ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2561ปิยะสกล สกลสัตยาทรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า1000 Point

ฉบับที่ 159 โดนัทกับสารกันบูด

นอกจากฉลาดซื้อจะชอบทดสอบเรื่องคุณค่าทางโภชนาการในอาหารแล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่เราให้ความสนใจเป็นพิเศษ ก็คือเรื่อง “สารกันบูด” ซึ่งอาหารเดี๋ยวนี้โดยเฉพาะพวกอาหารอุตสาหกรรมทั้งหลาย มักนิยมเติมสารกันบูดกันเสียลงไป เพื่อหวังยืดอายุอาหารให้นานยิ่งขึ้น วางอยู่บนชั้นวางสินค้าได้นานกว่าเดิม เพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้น ผู้บริโภคอย่างเราก็เสี่ยงอันตรายจากสารกันบูดมากขึ้นตามไปด้วย ถ้ายังจำกันได้ฉลาดซื้อเราเคยทดสอบดูสารกันบูดในขนมปังหลากหลายประเภทที่วางขายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในร้านสะดวกซื้อ ทั้ง ขนมปังแซนวิช เค้ก ครัวซอง พบว่าส่วนใหญ่มีการใช้สารกันบูด แถมบางตัวอย่างก็พบปริมาณของสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน ฉบับนี้ ฉลาดซื้อขอนำเสนอผลวิเคราะห์สารกันบูดในขนมปังอีกครั้ง แต่เน้นไปที่กลุ่มขนม “โดนัท” ขนมยอดนิยมที่ทำจากแป้ง ซึ่งผู้ผลิตมักอ้างว่ามันมีการผสมสารกันบูดมาตั้งแต่ตอนเป็นวัตถุดิบแล้ว   โดนัทสารกันบูดน้อย ü สารกันบูดที่ใช้ในโดนัทพบในปริมาณที่น้อยมาก ที่พบสูงสุดคือโดนัทน้ำตาลไม่มียี่ห้อ ซึ่งทอดขายอยู่บริเวณอนุสาวรีย์ชัย พบว่าปริมาณสารกันบูด 2 ชนิด คือ เบนโซอิกพบ 18.72 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และซอร์บิกพบ 3.17 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รวมแล้วเท่ากับ 21.89 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ถ้าคิดเฉลี่ยต่อโดนัท 1 ชิ้นที่น้ำหนัก 30 กรัม เท่ากับพบว่ามีการใช้สารกันบูดเฉลี่ยที่ 6.57 มิลลิกรัมเท่านั้น และการทดสอบครั้งนี้จากตัวอย่างโดนัททั้งหมด 8 พบว่ามี 3 ตัวอย่างที่มีสารกันบูด ส่วนอีก 5 ตัวอย่างไม่พบ ถือว่าเป็นข่าวดี ü มีแนวโน้มที่ดีในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เมื่อเทียบกับผลการทดสอบครั้งก่อนที่ฉลาดซื้อเคยทำ ครั้งนั้นพบมีสารกันบูด 5 จาก 9 ตัวอย่าง โดยมิสเตอร์ โดนัทเป็นตัวอย่างที่พบสารกันบูดในการสำรวจทั้ง 2 ครั้ง คราวก่อนพบกรดเบนโซอิกที่ปริมาณ 36.24 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม(โดนัท 1 ชิ้น 30 กรัม พบสารกันบูด 10.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)  แต่ในทดสอบครั้งนี้ ตัวอย่างโดนัทจากร้านมิสเตอร์ โดนัท พบสารกันบูดที่ปริมาณ 20.66 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม(1 ชิ้น 30 กรัม พบสารกันบูด 6.20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) จัดว่ามีแนวโน้มที่ดี  ส่วนยี่ห้อ ดังกิ้น โดนัท และ โดนัท แดดดี้ โด ที่เคยตรวจพบสารกันบูดในการวิเคราะห์ครั้งก่อน ครั้งนี้ไม่พบการใช้สารกันบูด   สารกันบูดกับโดนัท สารกันบูดที่นิยมใช้ในโดนัทมีอยู่ 3 ชนิด คือ กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) และกรดโปรปิโอนิค (Propionic Acid) ซึ่งตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 พ.ศ. 2547 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร ได้กำหนดปริมาณสูงสุดที่ของวัตถุกันเสียที่อนุญาตให้พบได้ในอาหารอยู่ที่ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ไม่ว่าอาหารชนิดนั้นจะใช้สารกันเสียกี่ชนิดก็ตาม รวมกันแล้วก็ห้ามเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม กฎหมายมีการบังคับไว้ว่า ถ้าหากอาหารประเภทใดที่มีการใช้วัตถุกันเสีย ต้องมีการแจ้งข้อมูลบนฉลากว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” แต่สำหรับโดนัทที่ขายกันอยู่ส่วนใหญ่โดยเฉพาะที่เป็นของร้านแฟรนไชส์ต่างๆ จะเป็นแบบผลิตขายกันวันต่อวัน ไม่มีฉลากบอกเรื่องของส่วนประกอบที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ข้อมูลโภชนาการ รวมถึงเรื่องของการใช้สารกันบูด ผู้บริโภคอย่างเราก็เลยต้องอาศัยวิธีการเดากันเอาเองว่าโดนัทยี่ห้อนี่จะมีสารกันบูดหรือเปล่า*   *กินกันแบบไม่รู้อะไรเลย ในต่างประเทศเขากินโดนัทกันมาก่อนเรา กินมากกินกันจริงจัง บางคนถึงขนาดกินเป็นอาหารหลัก กินกันจนสุขภาพเสีย อย่างในอเมริกาที่คนกินโดนัทกันจนน้ำหนักเพิ่มขึ้นเกินมาตรฐาน คนอ้วนเพิ่มจำนวนมากขึ้น คนป่วยก็มากขึ้น เขาเลยมีการรณรงค์เรื่องการกินโดนัทอย่างถูกต้องปลอดภัยกับสุขภาพ ซึ่งบรรดาร้านโดนัทชื่อดังที่นู้นเขาก็ขานรับ ด้วยการช่วยให้ผู้บริโภคได้รู้ถึงข้อมูลโภชนาการ ว่าโดนัทแต่ละชิ้นที่ขายอยู่ให้ร้าน มีคุณค่าทางโภชนาการเป็นอย่างไรบ้าง กินแล้วได้พลังงานเท่าไร ไขมันเท่าไร น้ำตาลแค่ไหน ที่สำคัญมีการบอกด้วยว่ามีการใช้สารกันบูดด้วยหรือเปล่า ซึ่งอย่างน้อยๆ ผู้บริโภคก็ได้มีข้อมูลไว้ตัดสินใจเองได้ว่า ควรกินไม่ควรกิน คนที่ดูแลสุขภาพแต่อยากกินโดนัท ก็จะได้วางแผนควบคุมปริมาณสารอาหารของตัวเองได้ โดยข้อมูลโภชนาการของโดนัทแต่ละรสชาติ (รวมทั้งอาหารประเภทอื่นๆ ที่ขายอยู่ในร้าน) จะถูกเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ของร้าน ผู้บริโภคสามารถคลิกเข้าไปดูได้ก่อนตัดสินใจซื้อ ส่วนผู้บริโภคไทยก็ยังต้องใช้วิธีตนเป็นที่พึ่งแห่งตนกันต่อไป เพราะบรรดาร้านโดนัทที่ขายอยู่ในบ้านเรา ยังไม่มีข้อมูลเรื่องโภชนาการอยู่ในเว็บไซต์ คงได้แต่อาศัยข้อมูลจากเว็บไซต์ของร้านในต่างประเทศมาเป็นข้อมูลเทียบเคียงกันไปก่อน (หรือไม่ก็ใช้ข้อมูลที่ฉลาดซื้อเคยสำรวจไว้ก็ได้)   3 เหตุผลที่ควรรู้ก่อนงั่มโดนัท โดนัทมีไขมันทรานส์ โดนัทเป็นของทอด ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับไขมันทรานส์ ที่มักพบในน้ำมัน รวมถึงในเนยเทียม และมาร์การีน ซึ่งถือเป็นไขมันตัวร้ายมีผลต่อการทำงานของหลอดเลือด เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจและความดัน จากผลที่ฉลาดซื้อเคยสำรวจพบว่า ในโดนัท 1 ชิ้น พบปริมาณไขมันทรานส์เฉลี่ยอยู่ที่ 0.045 กรัม ซึ่งองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ว่าในอาหาร 1 หน่วยบริโภค ไม่ควรพบไขมันทรานส์เกิน 0.5 กรัม และเสี่ยงอันตรายจากสารก่อมะเร็งในน้ำมันทอดซ้ำอีกด้วย โดนัทมีน้ำตาลสูง ความหวานอร่อยของโดนัทเกิดจากการปรุงรสชาติด้วยน้ำตาล รวมถึงบรรดาหน้าต่างๆ ของโดนัท ส่วนประกอบหลักก็คือน้ำตาล ฉลาดซื้อเคยสำรวจพบว่า เฉลี่ยในโดนัท 1 ชิ้น จะมีน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 5.5 กรัม สูงสุดที่พบจากตัวอย่างที่ทดสอบคือ 13.9 กรัม ซึ่งใน 1 วันเราควรได้รับน้ำตาลไม่เกิน 24 กรัม อันตรายๆ 3. โดนัทให้พลังงานสูง จากผลทดสอบที่ได้พบว่า โดนัท 1 ชิ้น (น้ำหนักประมาณ 40 กรัม) ให้พลังงานเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 168 กิโลแคลอรี่ ถ้าอิ่มที่ 1 ชิ้นก็ถือว่าโอเค พลังงานยังไม่สูงมาก (ปริมาณพลังงานที่เหมาะสมที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วันคือ  2,000 กิโลแคลอรี่) แต่ถ้าอร่อยต่อเนื่อง มีการเบิ้ลชิ้นที่ 2 ชิ้นที่ 3 แล้วยังต้องกินข้าวอีก 3 มื้อ อันนี้ก็บอกได้เลยว่ามีความเสี่ยงอย่างมากที่ร่างกายของเราจะได้รับพลังงานเกิน อ้วนๆๆ    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 119 โด…นัทกันมาหวาน

  ฉบับนี้ขอเกาะกระแส “คริสปี้ครีม ฟีเวอร์” โดนัทยี่ห้อดังจากอเมริกา ที่มาสร้างปรากฏการณ์ มีคนไปต่อแถวรอซื้อยาวเป็นกิโลฯ ทนร้อน ทนเมื่อยตั้งเกือบ 3 ชั่วโมง เพื่อรอซื้อโดนัท (!?) ยังไงก็อย่ามั่วเพลิดเพลินกับรสชาติจนลืมห่วงใยสุขภาพเพราะโดนัทชิ้นหนึ่ง(40 กรัม) ให้พลังงานสูงถึง 168 กิโลแคลอรี อุดมด้วยไขมันและน้ำตาลแบบนี้ถ้ารับประทานมากไปหวาน มันเข้าเลือดแน่ๆ   ฉลาดซื้อส่งทีมงานไปเข้าแถวรอซื้อ คริสปี้ครีม 3 ชั่วโมงและตระเวนซื้อโดนัท จากร้านแฟรนไชส์อื่นอีกหลายร้าน รวม 5 ยี่ห้อ แล้วก็รีบนำส่งสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล เพื่อเช็คค่าพลังงานและความหวาน รวมทั้งแอบดูเรื่อง สารกันบูดด้วย เผื่อเอาไว้เป็นคู่มือให้กับคนที่ชอบรับประทานโดนัทแต่ก็ยังห่วงใยสุขภาพ   ฉลาดซื้อทดสอบ โดนัทที่นำมาทดสอบทั้งหมด 9 ตัวอย่าง ประกอบด้วย ดังกิ้นโดนัท รสคลาสสิค เกรซ (โดนัทเคลือบน้ำตาล) และรสดับเบิ้ลช็อค (เนื้อแป้งช็อคโกแลตเคลือบช็อคโกแลต), มิสเตอร์โดนัทรสฮันนี่ดิป (โดนัทเคลือบน้ำตาล) และรสดับเบิ้ลช็อค, คริสปี้ ครีมรสดั้งเดิม (เคลือบน้ำตาล), แดดดี้ โด รสคลาสสิค เกรซ และรสดับเบิ้ลช็อค, และบัพเพิล รสแคลิฟอร์เนียอัลมอนด์ (เคลือบช็อคโกแลตขาวโรยหน้าด้วยอัลมอนด์) และรสช็อคโคโฮลิค (เนื้อแป้งโดนัทใส่ใส้ครีมช็อคโกแลต) มาดูผลทอดสอบกัน1.ค่าพลังงาน ปริมาณพลังงานที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปคือวันละ 2,000 กิโลแคลอรี ฉลาดซื้อขอทดสอบเพื่อดูกันว่าโดนัทรสใดของค่ายใดที่ให้พลังงานสูง-ต่ำ แค่ไหนกันบ้าง ผลการทดสอบในภาพรวมพบว่า   ค่าพลังงานเฉลี่ยของโดนัททุกค่ายอยู่ที่ 420.7 กิโลแคลอรี/100 กรัม ซึ่งเท่ากับ ร้อยละ 21 ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน   และหากพิจารณาที่หนึ่งหน่วยบริโภคโดยเฉลี่ย 1 ชิ้น = 40 กรัม ค่าพลังงานที่ได้รับจะเท่ากับ 168.3 กิโลแคลอรี่/40 กรัมคิดเป็นร้อยละ 8 ของค่าพลังงานที่ต้องการต่อวัน ซึ่งตัวอย่างที่มีค่าพลังงานต่อชิ้นมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1. ดังกิ้นโดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 60 กรัม) ให้พลังงานอยู่ที่ 247.8 กิโลแคลอรี 2. มิสเตอร์โดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) ให้พลังงาน 226.5 กิโลแคลอรี 3. บัพเพิล โดนัท รสช็อคโกโฮลิค (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) ให้พลังงาน 208 กิโลแคลอรี รู้ผลโดนัทที่มีพลังงานมากไปแล้ว มาดูโดนัทที่ให้พลังงานน้อยกันบ้าง ตัวอย่างโดนัทที่ให้พลังงานต่อชิ้นน้อยที่สุดในตัวอย่างที่เราสุ่มทดสอบครั้งนี้ คือ 1. มิสเตอร์โดนัท รสฮันนี่ดิป (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) ให้พลังงาน 121.5 กิโลแคลอรี 2. แดดดี้โด รสคลาสสิคเกรซ (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) ให้พลังงาน 135.3 กิโลแคลอรี 3. คริสปี้ครีม รสออริจินอล (1 ชิ้น หนักประมาณ 40 กรัม) ให้พลังงาน 138.8 กิโลแคลอรี   2.ปริมาณไขมัน ไขมันทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เป็นแหล่งกรดไขมันที่จำเป็นและเป็นตัวช่วยการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมันคือ วิตามินเอ ดี อี และเค ส่วนที่ไม่ดีของไขมันคือถ้าร่างกายได้รับไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูงจะเป็นสาเหตุของภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ ข้อมูลทางโภชนาการจากกองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ใน 1 วันไม่ควรได้รับไขมันเกิน 65 กรัม  สำหรับผลการทดสอบไขมันรวม (Total Fat) ในโดนัททั้ง 9 ตัวอย่างพบว่าปริมาณไขมันเฉลี่ยที่หน่วยบริโภค 100 กรัมเท่ากับ 23.4 กรัม คิดเป็นร้อยละ 36 และเมื่อคิดเฉลี่ยต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่ 40 กรัม พบว่ามีปริมาณเท่ากับ 9.8 กรัม/ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 15 สำหรับ ปริมาณไขมันสูงสุดต่อ 1 ชิ้น 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. มิสเตอร์โดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) มีปริมาณไขมัน 13.3 กรัม 2. ดังกิ้นโดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 60 กรัม) มีปริมาณไขมัน 11.88 กรัม 3. บัพเพิล โดนัท รสแคลิฟอร์เนียอัลมอนด์ (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) มีปริมาณไขมัน 11.84 กรัม   ส่วน 3 อันดับ ที่มีปริมาณไขมันรวมต่ำสุด ได้แก่ 1. มิสเตอร์โดนัท รสฮันนี่ดิป (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) มีปริมาณไขมัน 6.2 กรัม2. ดังกิ้นโดนัท รสคลาสสิคเกรซ (1 ชิ้น หนักประมาณ 40 กรัม) มีปริมาณไขมัน 6.7 กรัม3. แดดดี้โด รสคลาสสิคเกรซ (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) มีปริมาณไขมัน 8.0 กรัม 3.ปริมาณไขมันทรานส์ การบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์มากเกินไป อาจก่อให้เกิดสภาวะที่ผิดปกติกับร่างกาย เช่น น้ำหนักและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด รวมทั้งเป็นอันตรายต่อตับด้วย   มีข่าวดีจากการทดสอบไขมันทรานส์ เพราะไม่มีตัวอย่างใดที่มีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินว่า 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค(1 ชิ้น) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ โดยค่าเฉลี่ยของไขมันทรานส์ที่พบต่อชิ้นอยู่ที่ 0.045 กรัม นอกจากนั้นเกินกว่าครึ่งของตัวอย่างทั้งหมดได้แก่ยี่ห้อคริสปี้ครีม แดดดี้โด และบัพเพิล ยังตรวจไม่พบไขมันทรานส์เลยอีกด้วย 4.ปริมาณน้ำตาล น้ำตาล 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ข้อแนะนำในการรับประทานน้ำตาล คือ จำกัดไว้ที่ 5-10% ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมดในหนึ่งวัน ซึ่งตามหลักโภชนาการแนะนำให้กินน้ำตาลในปริมาณน้อยเช่นเดียวกับไขมันและเกลือ สำหรับคนไทยกองโภชนาการแนะนำว่าไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน (ราว ๆ 24 กรัม)  ผลการทดสอบน้ำตาลในโดนัทพบว่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยจากทั้ง 9 ตัวอย่างเท่ากับ 12.6 กรัม/ 100 กรัม คิดเป็นร้อยละ  52.5 และเท่ากับ 5.5 กรัม/หนึ่งชิ้น (40 กรัม) คิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภคต่อวัน โดยมีปริมาณน้ำตาลในโดนัทต่อชิ้นสูงสุด 3 อันดับแรกดังนี้   1. ดังกิ้นโดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 60 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 13.9 กรัม2. มิสเตอร์โดนัท รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 50 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 6.5 กรัม3. แดดดี้โด รสดับเบิ้ลช็อค (1 ชิ้น หนักประมาณ 40 กรัม) มีปริมารน้ำตาล 5.5 กรัม สำหรับปริมาณน้ำตาลต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่1. แดดดี้โด รสคลาสสิคเกรซ (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 3.0 กรัม2. บัพเพิล โดนัท รสแคลิฟอร์เนียอัลมอนด์ (1 ชิ้น หนักประมาณ 40 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 3.4 กรัม3. มิสเตอร์โดนัท รสฮันนี่ดิป (1 ชิ้น หนักประมาณ 30 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 3.5 กรัม   5.สารกันบูดสารกันบูดหรือวัตถุกันเสียทั้ง กรดเบนโซอิค และกรดซอร์บิค ถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายสามารถขับออกเอง แต่หากได้รับในปริมารมากเกินไปก็จะเป็นอันตราย ตั้งแต่ท้องเสีย โรคกระเพาะ ทำร้ายตับและไต และอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพาต  จากการทดสอบถึงแม้จะพบสารกันบูดชนิดกรดเบนโซอิคในโดนัทกว่า 5 ตัวอย่างจาก 9 ตัวอย่างที่ทดสอบแต่ปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยมากจนไม่ก่อให้เกิดอันตราย ส่วนสารกันบูดชนิดกรดซอร์บิคนั้นพบเพียงแค่ตัวอย่างเดียวและตัวอย่างที่พบก็มีปริมาณที่ตรวจพบน้อยมากจนถึงน้อยที่สุด ดังนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งข่าวดีของคอโดนัทที่อย่างน้อยก็ไม่ต้องกังวลเรื่องสารกันบูด   สรุปจากผลการทดสอบ โดนัทหนึ่งชิ้นที่น้ำหนักประมาณ 40 กรัม จะให้พลังงาน 168.3 กิโลแคลอรี่ คิดเป็นร้อยละ 8 ของความต้องการพลังงานต่อวัน ไขมัน 9.8 กรัม คิดเป็นร้อยละ 15 ของความต้องการไขมันต่อวัน และน้ำตาล 5.5 กรัม คิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณน้ำตาลที่แนะนำให้บริโภคได้สูงสุดต่อวัน   ฉลาดซื้อแนะนำนักโภชนาการจัดให้โดนัทอยู่ในกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูง หากรับประทานมากเกินไป จะทำให้อ้วนและเสี่ยงต่อการมีไขมันในเส้นเลือดสูง รวมถึงโรคอื่นๆ ที่จะตามมาเช่น โรคหัวใจ เบาหวาน เพราะส่วนประกอบหลักในโดนัทคือ คาร์โบไฮเดรตและไขมันจาก แป้ง นม เนย และน้ำตาล นอกจากนี้ยังมีไขมันจากน้ำมันที่ใช้ทอดโดนัทอีกต่างหาก ดังนั้นจึงควรอร่อยกันในปริมาณน้อย และนานๆ ครั้ง อย่ารับประทานทุกวัน -----------------------------------------------------------------------------------------------------   กาลครั้งหนึ่ง...โดนัท ว่ากันว่า โดนัท เป็นสูตรขนมหวานดั้งเดิมของชาวดัตช์ ซึ่งมีลักษณะเป็นขนมปังที่ทอดในน้ำมันมีชื่อเรียกว่า Olykoek  (เป็นภาษาดัตช์ที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า oil cake หรือ เค้กที่ทอดในน้ำมันหรือไขมัน) ช่วงปี ค.ศ. 1800 ชาวอเมริกันก็ได้รู้จักโดนัทจากชาวดัตช์ที่อพยพเข้ามา แม้ในช่วงแรกจะมีรูปร่างเป็นแค่ขนมปังก้อนธรรมดา   บ้างก็ว่าเป็นแป้งที่มีลักษณะเป็นเกลียวๆ เพราะเกิดจากการบิดฉีกแป้งโดลงไปทอด ซึ่งก็เป็นที่มาของคำว่าโดนัท ที่เพี้ยนมาจากคำว่า ว่า“โดน็อต” (dough knots) จากลักษณะแป้งที่เป็นเกลียวๆ คล้ายน็อตนี่แหละ บางแหล่งข้อมูลก็บอกว่าคำว่าโดนัทมาจากคำง่ายๆ อย่าง “dough nuts” ซึ่งหมายถึงแป้งโดที่มีการเติมถั่วลงไปนั่นเอง จนในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ร้านโดนัทแบบแฟรนไชส์ก็เกิดขึ้น โดยมีการใช้เครื่องจักรมาช่วยในการผลิตโดนัท เพื่อรองรับความต้องการที่มีมากขึ้น   ทำไมโดนัทต้องมีรู แฮนสัน เกรกอรี (Hansen Gregory) ได้รับการบันทึกว่าเป็นคนแรกของโลกที่ทำให้โดนัทมีรูตรงกลาง เรื่องเกิดขึ้นในปี1847 เมื่อเขาใช้กระปุกพริกไทยมากดแป้งโดนัทให้เป็นรูตรงกลางก่อนจะนำไปทอด เพื่อจะแก้ปัญหาแป้งตรงกลางไม่สุก และขยายพื้นที่แป้งเพื่อเวลาทอดจะได้ไม่อมน้ำมัน ซึ่งใครที่ได้กินโดนัทมีรูของ แฮนสัน เกรกอรี ต่างก็ชื่นชอบชื่นชมเป็นเสียงเดียวกัน จนในที่สุดโดนัทมีรูก็เป็นที่นิยมและยอมรับไปทั่วอเมริกา  คริสปี้ครีม ไม่ได้ฮิต ทุกที่กระแสการต่อแถวยาวเป็นกิโลฯ เพื่อรอซื้อโดนัท “คริสปี้ครีม” ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในบ้านเราเท่านั้น แต่หลายๆ ประเทศที่เจ้าโดนัทสัญชาติอเมริกันที่มีอายุร่วม 70 ปีร้านนี้ไปเปิด ก็เกิดกระแสเข้าแถวรอเหมือนบ้านเรา เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี แต่ก็มีอีกหลายประเทศที่คริสปี้ครีมไม่ได้รับความนิยม ทั้งใน ฮ่องกง ออสเตรเลีย หรือแม้แต่ในอเมริกาบ้านเกิด สาเหตุมาจากการขยายสาขาที่เร็วและมากเกินไป รวมทั้งการที่คนเริ่มหันมาห่วงใยเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น โดนัทจึงถูกเมินจากคนรักสุขภาพทำให้ร้านคริสปี้ครีมจึงต้องปิดตัวลงไปหลายสาขาในเวลาไม่กี่ปี     ตารางแสดงผลทดสอบคุณค่าทางโภชนาการในโดนัท ชื่อตัวอย่าง ราคา / ชิ้น (บาท) น้ำหนัก / 1 ชิ้น (โดยประมาณ) ผลทดสอบ / 100 กรัม ผลทดสอบเทียบ / 1 ชิ้น พลังงาน (กิโลแคลอรี) ไขมัน (กรัม) ไขมันทรานส์ (กรัม) น้ำตาล(กรัม) เบนโซอิค(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ซอร์บิค(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) พลังงาน (กิโลแคลอรี) ไขมัน (กรัม) ไขมันทรานส์ (กรัม) น้ำตาล(กรัม) เบนโซอิค(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ซอร์บิค(มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ดังกิ้น โดนัท คลาสสิค เกรซ 22 40 ก. 369 16.8 0.07 11.9 ไม่พบ ไม่พบ 147.6 6.7 0.03 4.7 ไม่พบ ไม่พบ ดังกิ้น โดนัท ดับเบิลช็อค 22 60 ก. 413 19.8 0.11 23.6 4.12 5.88 247.8 11.88 0.06 13.9 2.4 3.4 มิสเตอร์ โดนัท ฮันนี่ ดิป 10 30 ก. 405 20.7 0.09 11.6 36.24 ไม่พบ 121.5 6.2 0.03 3.5 10.9 ไม่พบ มิสเตอร์ โดนัท ดับเบิลช็อค 12 50 ก. 453 26.6 0.12 13.0 ไม่พบ ไม่พบ 226.5 13.3 0.06 6.5 ไม่พบ ไม่พบ ครีสปี้ ครีม ออริจินัล 27 40 ก. 347 21.0 0 12.4 ไม่พบ ไม่พบ 138.8 8.4 0 4.9 ไม่พบ ไม่พบ แดดดี้ โด คลาสสิค เกรซ 22 30 ก. 451 26.4 0 9.8 6.54 ไม่พบ 135.3 8.0 0 3.0 2.0 ไม่พบ แดดดี้ โด ดับเบิลช็อค 22 40 ก. 460 26.1 0 13.7 ไม่พบ ไม่พบ 184 10.44 0 5.5 ไม่พบ ไม่พบ บัพเพิล โดนัท แคลิฟอร์เนีย อัลม่อน 26 40 ก. 473 29.6 0 8.4 5.02 ไม่พบ 189.2 11.84 0 3.4 2.0 ไม่พบ บัพเพิล โดนัท ช็อคโคโฮลิค 26 50 ก. 416 23.5 0 9.0 13.70 ไม่พบ 208 11.75 0 4.5 6.8 ไม่พบ รายงานผลเฉพาะที่ส่งตรวจเท่านั้นทดสอบโดย : สถาบันโภชนาการ มหาลัยมหิดล   เปรียบเทียบพลังงานของโดนัทที่ทดสอบกับอาหารชนิดต่าง ๆ ขนิดของอาหาร พลังงาน (กิโลแคลอรี/ 100 กรัม) ไขมัน (กรัม) กลุ่มของหวาน เค้กปอนด์ โดนัท ฟรุ้ตเค้ก คุกกี้เนย บราวนี่ ไอศกรีมวานิลา 2 ก้อน ฝอยทอง ทองหยอด ขนมชั้น ลูกชุบ วุ้นกะทิ   473 420 380 458 485 280 423 337 273 268 133   29.5 23.4 15.3 17.0 31.5 ไม่มีข้อมูล 25.8 16.4 8.2 8.2 5.4

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point