ฉบับที่ 153 โซล่าร์เซลล์.......เหมาะกับสังคมคนไทยจริงหรือ

เราอาจจะไม่ต้องเกริ่นนำให้ยืดยาวว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องประหยัดพลังงานและหาพลังงานทดแทนมาเพื่อสอดรับกับเรื่องวิกฤติพลังงาน  เพราะจากข้อมูลทางสถิติบอกว่า  นับแต่ประมาณปี 2543 เป็นต้นมา อัตราความสำเร็จในการค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ดิ่งลงอย่างสม่ำเสมอ และคาดว่าเมื่อถึงปี 2050 จะไม่มีการค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่อีกต่อไปแล้ว   มาใช้พลังงานทางเลือกกันเถอะ ปัญหาไฟฟ้าดับในภาคใต้หรือปัญหาน้ำมันแพง เป็นเหตุผลเพียงพอสำหรับการหันมาเลือกใช้พลังงานทางเลือก ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยทั้งเราและโลกให้ดำรงอยู่แบบไม่ลำบากในภายภาคหน้านัก พลังงานทางเลือก หรือ พลังงานหมุนเวียน ซึ่งหมายถึงพลังงานที่เกิดขึ้นจากทรัพยากรรอบตัวที่ไม่มีวันหมด เช่น สายลม แสงแดด สาบน้ำ เศษอาหาร มูลสัตว์ ชานอ้อย แกลบ ฯลฯ จึงถูกนำเสนอขึ้นมาเป็นทางเลือกเพื่อทดแทนพลังงานกระแสหลักทุกวันนี้ ถ้าถามว่า ทำไมเราต้องหันมาพึ่งพาพลังงานหมุนเวียน คำตอบก็คือ เพราะต้นทุนของพลังงานหมุนเวียนมีลักษณะยิ่งทำยิ่งถูก   เพราะมีค่าใช้จ่ายหลักคือการลงทุนตอนต้น หลังจากนั้นวัตถุดิบล้วนแต่หาได้รอบตัวในราคาถูก หรือไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่นเมื่อติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าแล้ว นอกเหนือจากค่าตรวจสภาพ ซ่อมบำรุง ที่เหลือก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสายลมจัดการต่อ   ส่วนพลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติที่มีเหลือเฟือและเหมาะกับบ้านเมืองเรามากที่สุดก็คือ พลังงานแสงอาทิตย์   พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาเป็นการใช้พื้นที่หลังคาบ้าน อาคารธุรกิจ หรือโรงงาน ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งส่วนที่อยู่บนหลังคา ได้แก่ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำหน้าที่รับแสงอาทิตย์และเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง ไฟฟ้าที่ได้จะเป็นกระแสตรง (Direct Current) ซึ่งจะถูกส่งมายังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าหรือ Inverter ที่ติดตั้งอยู่ภายในบ้าน เพื่อเปลี่ยนกระแสไฟตรงให้เป็นกระแสสลับ (Alternate Current) ที่สามารถนำมาใช้งาน ได้เหมือนกับกระแสไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ตามปกติ ไฟฟ้าที่ผลิตได้และผ่าน Inverter แล้วจะสามารถขายให้แก่การไฟฟ้าได้ทั้งหมด โดยได้รับราคาตามมาตรการ FiT ที่ภาครัฐกำหนด คือ •          ขนาดเล็กสำหรับที่พักอาศัย ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ ราคารับซื้อ 6.96บาทต่อหน่วย •          ขนาดกลาง มากกว่า 10 กิโลวัตต์ และไม่เกิน 250 กิโลวัตต์ ราคารับซื้อ 6.55 บาทต่อหน่วย •          ขนาดมากกว่า 250 กิโลวัตต์ และไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์ ราคารับซื้อ 6.16 บาทต่อหน่วย ข้อดีของการผลิตไฟฟ้า ณ ที่มีการใช้แบบนี้คือ จะช่วยลดการสูญเสียไฟฟ้าในระบบจำหน่ายได้ และเป็นการทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่มีความสะอาดไม่ก่อให้เกิดมลพิษ   ตัวอย่างการใช้พลังงานทดแทนในประเทศไทย ในปัจจุบันการใช้พลังงานทดแทนของไทยเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เฉพาะที่ภาคอีสาน พบว่า มีศักยภาพสูง  ไม่ว่าจะเป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์ ลม น้ำ รวมทั้งการที่ชาวบ้านสามารถมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนาพลังงาน ตัวอย่าง ที่ยโสธร มีการนำพลังงานลม ที่ได้จากกังหันลมมาช่วยลดต้นทุนการผลิต และสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร จนการทำไร่ทำนาสามารถทำได้ทุกฤดูกาลไม่ต้องรอฟ้ารอฝน รวมทั้งที่สุรินทร์  นำน้ำเสียจากโรงงานขนมจีน หรือมูลสัตว์ มาผลิตแก๊สชีวภาพในชุมชน เป็นต้น     โซล่าร์เซลล์ช่วยเราประหยัดอย่างไร ข้อมูลการเปรียบเทียบให้เห็นการลงทุน+การคุ้มทุน+การประหยัดพลังงาน ฯลฯ ตาราง  GZTH-PV Price Guide for FIT Program 13-09-13 เครดิต คุณสุทัศนา กำเนิดทอง บ.เกร็นโซน(ประเทศไทย) จำกัด   SOLAR PV PRICE GUIDE FOR THAI FIT PROGRAM 13th September, 2013 ขนาดของระบบ พื้นที่ติดตั้ง(ตรม.) PERFORMANCE MULTIPLIER FIT Rate ( บาท ) กำลังการผลิตเฉลี่ยต่อปี(kwh) รายได้เฉลี่ยต่อปีจาก FIT (บาท) ค่าติดตั้ง(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จุดคุ้มทุน(ปี) 2 20 3.9 6.96 2,847 19,815 168,000 8.48 3 30 3.9 4,271 29,723 246,000 8.28 5 50 3.9 7,118 49,538 405,000 8.18 10 100 3.9 14,235 99,076 800,000 8.07 20 200 3.9 6.55 28,470 186,479 1,560,000 8.37 50 500 3.9 71,175 466,196 3,850,000 8.26 75 750 3.9 106,763 699,294 5,550,000 7.94 100 1000 3.9 142,350 932,393 7,000,000 7.51 150 1500 3.9 213,525 1,398,589 10,200,000 7.29 200 2000 3.9 284,700 1,864,785 13,200,000 7.08 250 2500 3.9 6.16 355,875 2,192,190 16,000,000 7.30 500 5000 3.9 711,750 4,384,380 30,000,000 6.84 1000 10000 3.9 1,423,500 8,768,760 55,000,000 6.27 สรุปจากตาราง .....จะพบว่า บ้านที่ติดตั้งระบบโซล่าร์ รู๊ฟ ในพื้นที่ขนาด  30 ตร.ม. ขนาด 3 กิโลวัตต์ เงินลงทุน 246,000 บาท ได้ไฟ 4,271 หน่วย/ปี ขายไฟฟ้าได้ประมาณ 29,723 บาท/ปี เพราะฉะนั้นคืนทุนใน 8.28 ปี   โปรแกรมการคำนวณอย่างง่ายสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โปรแกรมการคำนวณอย่างง่ายสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ คือ โปรแกรมที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน  พัฒนาขึ้นสำหรับผู้สนใจเรื่องการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ บ้านพักอาศัย, อาคารธุรกิจขนาดเล็ก และ อาคารธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่ หรือโรงงาน ขนาดตามที่ระบุไว้ข้างต้น ที่ขายไฟฟ้าได้ตามมาตรการ FiT ของภาครัฐ โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกตั้งต้นการคำนวณได้ทั้งจากพื้นที่ในการติดตั้งที่มีอยู่ หรือกำลังการติดตั้งที่ต้องการ และเลือกชนิดของแผงเซลล์และราคาระบบที่สามารถจัดซื้อได้ต่อ 1 กิโลวัตต์ และกดคำว่าคำนวณ ผลจากการคำนวณจะได้ทราบข้อมูลดังนี้ •          เงินลงทุนระบบเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมดที่ต้องจ่าย •          พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อปี •          จำนวนเงินที่ขายไฟฟ้าได้ต่อปี •          จำนวนปีที่คืนทุน เพื่อให้รู้ว่าท่านจะคุ้มทุนในกี่ปี สามารถดาวน์โหลดได้ที่http://www.ces.kmutt.ac.th/pvroof/index.php สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ สำนักพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ โทร 02 223-0021 ต่อ 1246 คุณกุลวรีย์ บูรณสัจจะวราพร.   การรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา กระทรวงพลังงาน ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาหรือโซลาร์รูฟท็อป ในการประชุมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2556 คณะรัฐมนตรี (ครม.)  ได้มีมติรับทราบมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2556 เห็นชอบให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Rooftop PV System) โดยมีปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งของแผงโฟโตโวลเทอิก (Photovoltaic Panel) รวม 200  MWp จำแนกเป็น 100 MWp สำหรับอาคารประเภทบ้านอยู่อาศัย และอีก 100 MWp สำหรับอาคารประเภทธุรกิจและโรงงาน ทั้งนี้ ให้มีการเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าภายในปี 2556 ด้วยอัตราการรับซื้อแบบ Feed-in Tariff ระยะเวลาการสนับสนุน 25 ปี โดยมีช่วงระยะเวลาการยื่นคำขอขายไฟฟ้าตั้งแต่วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 ถึง วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2556 ยกเว้นวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดทำการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (รวม 15 วันทำการ) ระหว่างเวลา 9.00 น. – 15.00 น. อนึ่ง ผู้ที่ประสงค์จะจำหน่ายไฟฟ้าประเภทอาคารบ้านอยู่อาศัยสามารถยื่นคำขอในแต่ละครั้งได้ไม่เกิน 10 คำขอ และประเภทอาคารธุรกิจ/โรงงานสามารถยื่นคำขอในแต่ละครั้งได้เพียง 1 คำขอ โดยการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะพิจารณาแบบคำขอและประกาศผลการตอบรับซื้อไฟฟ้าบน Website ของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายตั้งแต่วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป ข้อสังเกต ระเบียบการยื่นคำร้องมีรายละเอียดปรากฏที่เว็ปไซต์ของกระทรวงพลังงาน มีข้อสังเกตว่า ใบสมัครมีความซับซ้อน เข้าถึงยาก แม้คนที่จบทางด้านวิศวกรรมมายังใช้เวลานานในการกรอกข้อมูล นอกจากนี้หากผู้บริโภคทำเรื่องขออนุญาตด้วยตนเองจะยากและใช้เวลามากกว่าการขอผ่าน บริษัทตัวแทนจำหน่ายโซล่าร์เซลล์  เช่น การขอใบรับรอง รง.4 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น     ความจริง เรื่องขายไฟฟ้าของประชาชนกับการรับซื้อไฟฟ้าของภาครัฐ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด นักเศรษฐศาสตร์ด้านพลังงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   ตัวอย่างในต่างประเทศที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ และได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างเยอรมัน เดนมาร์กก็ทำปกติ คือใช้แผงของตัวเองเลยถ้าเหลือก็ขายได้แต่เน้นเอามาใช้ในครัวเรือนก่อน หรือบางทีเขาเรียกเป็นมิเตอร์ 2 ทาง คือขายไปกับเข้ามาแต่ว่าหักลบกันก่อนแล้วค่อยไปคิดเงินกัน ของบ้านเรานั้นมิเตอร์ 2 ตัวไม่ใช่มิเตอร์ 2 ทางที่เรียกมิเตอร์ 2 ตัวคือตัวหนึ่งขาย ตัวหนึ่งซื้อ ประเทศเพื่อนบ้านเราที่ทำที่ใกล้ที่สุดก็ญี่ปุ่น ส่วนประเทศอื่นไม่ค่อยเยอะนักประเทศเราก็ทำได้ดีแล้วแต่ว่าเสียดายที่มันมาติดเรื่องเวลา คือถ้าเราคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรยังพอว่าแต่นี่คิดออกแล้วดันมาล็อคเรื่องเวลาซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าล็อคทำไม ล็อคแล้วมันกลายเป็นผลประโยชน์ของฝ่ายธุรกิจมากกว่า แต่เป็นผลประโยชน์ระยะสั้นนะ ผลระยะยาวจะขายใครได้อีก ลึกๆ แล้วอยากให้มันแน่นอนนะ เหมือนรถปีที่แล้ววุ่นกันพอสต๊อกไว้แล้วก็ค้างบาน ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้กันว่าสิ่งที่มันดูเหมือนช่วยเอาเข้าจริงมันอาจไม่ได้ช่วย   ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ เยอรมัน เดนมาร์ก เขาเอาไปทำต่อเนื่องมันก็เลยประสบความสำเร็จไปในระยะยาว แผง Solar cell ของเขาก็กลายเป็นธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ กรณีของไทยเหมือนทำอย่างเขา แต่เราไม่รู้รัฐบาลจะเปิดรอบไหน อย่างเราขายแผง Solar cell เองนั้นก็ไม่รู้เราจะไปลงทุนผลิตเองดีไหมในเมื่อมันยังไม่ชัวร์ เพราะฉะนั้นเมื่อมันไม่ชัวร์เราก็รับมาจากต่างประเทศละกันอันไหนถูกกว่าหน่วยงานเราก็หากันเฉพาะหน้าไป เพราะฉะนั้นต่างประเทศที่เขาทำระยะยาวมันจึงประสบความสำเร็จในการสนับสนุน เริ่มตั้งแต่คนติดตั้งเยอะขึ้น คนลงทุนเยอะขึ้นจนกลายเป็นธุรกิจ Solar cell อย่างครบวงจรได้ มันต้องการความชัดเจนในระยะยาว ซึ่งตอนนี้ยังไม่มี อีกโมเดลหนึ่งคือ ผมคิดว่าประเทศไทยเราไม่มีเลย คือการลงทุนสนับสนุนสำหรับชุมชนหรือบ้านเรือนที่ใช้ในแนวของพลังงานอย่างยั่งยืน เรื่องการสร้างความยั่งยืนให้สิ่งแวดล้อมเราไม่มีเลย วิธีการคิดของรัฐบาลคือติดตรงไหนก็เอาไปขายเข้าระบบอย่างเดียวแต่ของต่างประเทศเขามีคนมาร่วมกันเป็นสหกรณ์ เป็นบริษัทก็ได้ ถ้าทำมาเป็นโครงการลักษณะแบบที่จะมีการประหยัดการใช้พลังงาน ซึ่งมันไม่ได้มีแต่ Solar cell อย่างเดียว ยังมีอื่นๆ อีกที่ทำได้ เช่นสิ่งปฏิกูลจากห้องน้ำ สมมติว่าเราสร้างบ้าน 20 หลังแล้วเราทำท่อที่สิ่งปฏิกูลมาทำไบโอแก็สได้ ไบโอแก็สก็จ่ายคืนกลับไปสู่การใช้ LPG อันนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพราะฉะนั้นในต่างประเทศการสนับสนุนเขาจะให้แต่ละที่คิดเองว่าจะทำอะไรได้บ้าง บางที่ก็ Solar cell อย่างเดียว บางที่ก็ Solar cell บวกกังหันลม บางที่ก็ Solar cell บวกไบโอแก็ส บางที่ก็ Solar cell บวกไบโอแมส อย่างเช่นกิ่งไม้ หมู่บ้านจัดสรรกิ่งไม้เยอะมาก เสร็จแล้วก็ไม่รู้ทำอย่างไรจริงแล้วเอามาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เพราะฉะนั้นการให้สนับสนุนในโครงการลักษณะแบบนี้มันจำเป็นที่จะต้องมี เพราะในที่สุดแล้วมันคือการลดการใช้ไฟฟ้าแต่ปัจจุบันการให้ความสนับสนุนของรัฐฯ นั้นให้ก็ต่อเมื่อมีการขายไฟฟ้า ซึ่งบางคนเขาไม่ได้ขายแต่ว่าเราทำเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าลงอันนี้มันก็เป็นการสนับสนุนของรัฐบาลไทย มันเหมือนกับขาเดียวไม่ได้ทำ 2 ขา คือใครขายก็ขาย ใครที่ใช้อยู่ก็ต้องใช้ให้มันน้อยลง   นโยบายของรัฐบาลที่เป็นรูปธรรมนอกจากเรื่องรับซื้อแล้วยังมีอะไรอีกเรื่องการส่งเสริมพลังงานโซล่าร์เซลล์ ไม่มีเลย ที่เหลือก็จะเป็นโครงการ มันไม่ได้เป็นกลไกนะโครงการมันเป็นกลไกที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ การรับซื้อที่มันเป็นกลไกมันก็ไม่ค่อยสมบูรณ์เพราะมันดันมาล็อคเรื่องเวลา เพราะฉะนั้นบ้านเรามันขาดกลไกจริงๆ เหมือนเราอุดหนุน LPG รัฐบาลออก LPG แต่คนทำไบโอแก็สเยอะเลย ชาวบ้านทำไบโอแก็สไม่ช่วยเขาเลย เขาทำไบโอแก็สแก้ปัญหาให้คุณไม่มีการอุดหนุนเลย คนทำไบโอแก็สก็ทำกันไปเรื่อยๆทั้งที่จริงการอุดหนุนไบโอแก็สนั้นง่ายมาก อุดหนุนผ่านวัสดุเลยถ้าคุณซื้ออันนี้เพื่อเอาไปทำไบโอแก็สคุณได้ส่วนลด ก็เหมือนกับรถคันแรกไปซื้อเสร็จคุณก็ไปขอส่วนลดใช่ไหม แต่นี่ไม่ได้ลดเป็นแสน ลดเป็นหลักพันหลักร้อยเองแล้วคุณก็ขึ้นบัญชีคนซื้อ LPGคุณได้ ใครซื้อไฟต่ำกว่าเท่านี้ก็ไปขออัตราลดLPGคุณทำได้เลย ชาวบ้านที่ทำไบโอแก็สจำนวนก็น้อยกว่า ความตั้งใจก็เยอะกว่า ประโยชน์ก็เยอะกว่า คุณก็ไม่ช่วย ผมคิดว่ารัฐบาลมองอะไรที่มันแบบผิวเผิน   สาเหตุที่รัฐบาลไม่ส่งเสริมอย่างจริงจัง เขาเน้นเป้า คือหมายถึงว่าอยากให้ได้ Solar cell กี่เมกะวัต คิดหาวิธีที่มันง่ายที่สุด เขียนนโยบายมาว่าจะต้องได้เท่านี้ สมมติว่าเขาได้ในระยะเวลาที่เขากำหนด เขาก็คิดว่ามันจบเลยต่อจากนี้ไม่ต้องยุ่งอีกต่อไป วิธีคิดเขาเป็นแบบนี้ แต่เขาไม่ได้มองว่าในความเป็นจริงคนค่อยเรียนรู้มันจะเกิดการพัฒนาต่อเนื่อง เขาไม่ได้มองเรื่องอนุรักษ์พลังงาน จริงๆผมว่าเขาไม่เคยมองเรื่องคนเลยมากกว่า คือทุกเรื่องสุดท้ายเราต้องการคนที่เปลี่ยนไป เขามองแค่การลงทุน ผมนี่ไม่ต้องเปลี่ยนอะไรเลยถ้าผมคิดว่าเงิน2แสนมันคุ้มค่า ผมก็โทรสั่งมาติด จบ ผมไม่ได้เปลี่ยนอะไร เขาสนใจแค่ได้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ อันนี้ทำให้เขาได้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ง่ายที่สุดก็จบแล้วสำหรับเขา   ทางออกสำหรับคนที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้พลังงาน ทางออกสำหรับคนที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้พลังงาน แต่ยังไม่ต้องการขายไฟฟ้าให้แก่ภาครัฐ ทำได้ โดยการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์บางจุดของบ้าน  เช่น ทดแทนไฟฟ้าแสงสว่างในครัวเรือน หรือติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์บริเวณเครื่องสูบน้ำ เป็นต้น   เยอรมัน อังกฤษ เดนมาร์ก และจีน เป็นประเทศที่มีนโยบายพลังงานหมุนเวียนที่มีความน่าสนใจ โดยประเทศเยอรมันมีความก้าวหน้าการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนมากที่สุดในโลก ส่วนประเทศอังกฤษที่เดิมมีพื้นฐานอุตสาหกรรมหนักมีการใช้พลังงานกระแสหลัก เช่น ถ่านหิน น้ำมันเป็นหลักเป็นประเทศแรกในยุโรปที่ประกาศใช้นโยบาย RPS  ประเทศเดนมาร์ก ที่มีเป้าหมายการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าเป็นเจ้าของการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบสหกรณ์    และประเทศจีนที่กำลังการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนมากที่สุด ปัจจุบันเดนมาร์กมีโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าและระบบทำความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ประมาณ 30,000 แห่ง โดยมีเครื่องมือประมาณ 35,000 เครื่องสำหรับใช้ในระบบทำความร้อน และที่เกาะ Aeroe   ในเดนมาร์กเป็นที่ตั้งของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมพื้นที่ 19,000 ตรม. โดยพลังงานที่ได้ใช้สำหรับผลิตระบบความร้อนภายในเกาะพลังงานของระบบความร้อน 1 ใน 3 ของที่ใช้ในเดนมาร์กได้มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยสามารถกักเก็บพลังงานที่ผลิตได้สำรองไว้ใช้ในฤดูใบไม้ร่วง และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้   7,500 MWh โดยมีการลงทุนเพื่อผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ไปแล้วจำนวน 49 ล้านโครนเดนมาร์ก ซึ่งเงินจำนวน19 ล้านโครนเดนมาร์กจากจำนวนนี้มาจากการสนับสนุนของสหภาพยุโรปลำดับ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 153 โซล่าร์เซลล์.......เหมาะกับสังคมคนไทยจริงหรือ

เราอาจจะไม่ต้องเกริ่นนำให้ยืดยาวว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องประหยัดพลังงานและหาพลังงานทดแทนมาเพื่อสอดรับกับเรื่องวิกฤติพลังงาน  เพราะจากข้อมูลทางสถิติบอกว่า  นับแต่ประมาณปี 2543 เป็นต้นมา อัตราความสำเร็จในการค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ดิ่งลงอย่างสม่ำเสมอ และคาดว่าเมื่อถึงปี 2050 จะไม่มีการค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่อีกต่อไปแล้ว   มาใช้พลังงานทางเลือกกันเถอะ ปัญหาไฟฟ้าดับในภาคใต้หรือปัญหาน้ำมันแพง เป็นเหตุผลเพียงพอสำหรับการหันมาเลือกใช้พลังงานทางเลือก ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยทั้งเราและโลกให้ดำรงอยู่แบบไม่ลำบากในภายภาคหน้านัก พลังงานทางเลือก หรือ พลังงานหมุนเวียน ซึ่งหมายถึงพลังงานที่เกิดขึ้นจากทรัพยากรรอบตัวที่ไม่มีวันหมด เช่น สายลม แสงแดด สาบน้ำ เศษอาหาร มูลสัตว์ ชานอ้อย แกลบ ฯลฯ จึงถูกนำเสนอขึ้นมาเป็นทางเลือกเพื่อทดแทนพลังงานกระแสหลักทุกวันนี้ ถ้าถามว่า ทำไมเราต้องหันมาพึ่งพาพลังงานหมุนเวียน คำตอบก็คือ เพราะต้นทุนของพลังงานหมุนเวียนมีลักษณะยิ่งทำยิ่งถูก   เพราะมีค่าใช้จ่ายหลักคือการลงทุนตอนต้น หลังจากนั้นวัตถุดิบล้วนแต่หาได้รอบตัวในราคาถูก หรือไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่นเมื่อติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าแล้ว นอกเหนือจากค่าตรวจสภาพ ซ่อมบำรุง ที่เหลือก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสายลมจัดการต่อ   ส่วนพลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติที่มีเหลือเฟือและเหมาะกับบ้านเมืองเรามากที่สุดก็คือ พลังงานแสงอาทิตย์   พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาเป็นการใช้พื้นที่หลังคาบ้าน อาคารธุรกิจ หรือโรงงาน ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งส่วนที่อยู่บนหลังคา ได้แก่ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำหน้าที่รับแสงอาทิตย์และเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง ไฟฟ้าที่ได้จะเป็นกระแสตรง (Direct Current) ซึ่งจะถูกส่งมายังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าหรือ Inverter ที่ติดตั้งอยู่ภายในบ้าน เพื่อเปลี่ยนกระแสไฟตรงให้เป็นกระแสสลับ (Alternate Current) ที่สามารถนำมาใช้งาน ได้เหมือนกับกระแสไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ตามปกติ ไฟฟ้าที่ผลิตได้และผ่าน Inverter แล้วจะสามารถขายให้แก่การไฟฟ้าได้ทั้งหมด โดยได้รับราคาตามมาตรการ FiT ที่ภาครัฐกำหนด คือ •          ขนาดเล็กสำหรับที่พักอาศัย ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ ราคารับซื้อ 6.96บาทต่อหน่วย •          ขนาดกลาง มากกว่า 10 กิโลวัตต์ และไม่เกิน 250 กิโลวัตต์ ราคารับซื้อ 6.55 บาทต่อหน่วย •          ขนาดมากกว่า 250 กิโลวัตต์ และไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์ ราคารับซื้อ 6.16 บาทต่อหน่วย ข้อดีของการผลิตไฟฟ้า ณ ที่มีการใช้แบบนี้คือ จะช่วยลดการสูญเสียไฟฟ้าในระบบจำหน่ายได้ และเป็นการทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่มีความสะอาดไม่ก่อให้เกิดมลพิษ   ตัวอย่างการใช้พลังงานทดแทนในประเทศไทย ในปัจจุบันการใช้พลังงานทดแทนของไทยเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เฉพาะที่ภาคอีสาน พบว่า มีศักยภาพสูง  ไม่ว่าจะเป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์ ลม น้ำ รวมทั้งการที่ชาวบ้านสามารถมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนาพลังงาน ตัวอย่าง ที่ยโสธร มีการนำพลังงานลม ที่ได้จากกังหันลมมาช่วยลดต้นทุนการผลิต และสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร จนการทำไร่ทำนาสามารถทำได้ทุกฤดูกาลไม่ต้องรอฟ้ารอฝน รวมทั้งที่สุรินทร์  นำน้ำเสียจากโรงงานขนมจีน หรือมูลสัตว์ มาผลิตแก๊สชีวภาพในชุมชน เป็นต้น     โซล่าร์เซลล์ช่วยเราประหยัดอย่างไร ข้อมูลการเปรียบเทียบให้เห็นการลงทุน+การคุ้มทุน+การประหยัดพลังงาน ฯลฯ ตาราง  GZTH-PV Price Guide for FIT Program 13-09-13 เครดิต คุณสุทัศนา กำเนิดทอง บ.เกร็นโซน(ประเทศไทย) จำกัด   SOLAR PV PRICE GUIDE FOR THAI FIT PROGRAM 13th September, 2013 ขนาดของระบบ พื้นที่ติดตั้ง(ตรม.) PERFORMANCE MULTIPLIER FIT Rate ( บาท ) กำลังการผลิตเฉลี่ยต่อปี(kwh) รายได้เฉลี่ยต่อปีจาก FIT (บาท) ค่าติดตั้ง(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จุดคุ้มทุน(ปี) 2 20 3.9 6.96 2,847 19,815 168,000 8.48 3 30 3.9 4,271 29,723 246,000 8.28 5 50 3.9 7,118 49,538 405,000 8.18 10 100 3.9 14,235 99,076 800,000 8.07 20 200 3.9 6.55 28,470 186,479 1,560,000 8.37 50 500 3.9 71,175 466,196 3,850,000 8.26 75 750 3.9 106,763 699,294 5,550,000 7.94 100 1000 3.9 142,350 932,393 7,000,000 7.51 150 1500 3.9 213,525 1,398,589 10,200,000 7.29 200 2000 3.9 284,700 1,864,785 13,200,000 7.08 250 2500 3.9 6.16 355,875 2,192,190 16,000,000 7.30 500 5000 3.9 711,750 4,384,380 30,000,000 6.84 1000 10000 3.9 1,423,500 8,768,760 55,000,000 6.27 สรุปจากตาราง .....จะพบว่า บ้านที่ติดตั้งระบบโซล่าร์ รู๊ฟ ในพื้นที่ขนาด  30 ตร.ม. ขนาด 3 กิโลวัตต์ เงินลงทุน 246,000 บาท ได้ไฟ 4,271 หน่วย/ปี ขายไฟฟ้าได้ประมาณ 29,723 บาท/ปี เพราะฉะนั้นคืนทุนใน 8.28 ปี   โปรแกรมการคำนวณอย่างง่ายสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โปรแกรมการคำนวณอย่างง่ายสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ คือ โปรแกรมที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน  พัฒนาขึ้นสำหรับผู้สนใจเรื่องการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ บ้านพักอาศัย, อาคารธุรกิจขนาดเล็ก และ อาคารธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่ หรือโรงงาน ขนาดตามที่ระบุไว้ข้างต้น ที่ขายไฟฟ้าได้ตามมาตรการ FiT ของภาครัฐ โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกตั้งต้นการคำนวณได้ทั้งจากพื้นที่ในการติดตั้งที่มีอยู่ หรือกำลังการติดตั้งที่ต้องการ และเลือกชนิดของแผงเซลล์และราคาระบบที่สามารถจัดซื้อได้ต่อ 1 กิโลวัตต์ และกดคำว่าคำนวณ ผลจากการคำนวณจะได้ทราบข้อมูลดังนี้ •          เงินลงทุนระบบเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมดที่ต้องจ่าย •          พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อปี •          จำนวนเงินที่ขายไฟฟ้าได้ต่อปี •          จำนวนปีที่คืนทุน เพื่อให้รู้ว่าท่านจะคุ้มทุนในกี่ปี สามารถดาวน์โหลดได้ที่http://www.ces.kmutt.ac.th/pvroof/index.php สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ สำนักพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ โทร 02 223-0021 ต่อ 1246 คุณกุลวรีย์ บูรณสัจจะวราพร.   การรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา กระทรวงพลังงาน ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาหรือโซลาร์รูฟท็อป ในการประชุมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2556 คณะรัฐมนตรี (ครม.)  ได้มีมติรับทราบมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2556 เห็นชอบให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Rooftop PV System) โดยมีปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งของแผงโฟโตโวลเทอิก (Photovoltaic Panel) รวม 200  MWp จำแนกเป็น 100 MWp สำหรับอาคารประเภทบ้านอยู่อาศัย และอีก 100 MWp สำหรับอาคารประเภทธุรกิจและโรงงาน ทั้งนี้ ให้มีการเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าภายในปี 2556 ด้วยอัตราการรับซื้อแบบ Feed-in Tariff ระยะเวลาการสนับสนุน 25 ปี โดยมีช่วงระยะเวลาการยื่นคำขอขายไฟฟ้าตั้งแต่วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 ถึง วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2556 ยกเว้นวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดทำการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (รวม 15 วันทำการ) ระหว่างเวลา 9.00 น. – 15.00 น. อนึ่ง ผู้ที่ประสงค์จะจำหน่ายไฟฟ้าประเภทอาคารบ้านอยู่อาศัยสามารถยื่นคำขอในแต่ละครั้งได้ไม่เกิน 10 คำขอ และประเภทอาคารธุรกิจ/โรงงานสามารถยื่นคำขอในแต่ละครั้งได้เพียง 1 คำขอ โดยการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะพิจารณาแบบคำขอและประกาศผลการตอบรับซื้อไฟฟ้าบน Website ของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายตั้งแต่วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป ข้อสังเกต ระเบียบการยื่นคำร้องมีรายละเอียดปรากฏที่เว็ปไซต์ของกระทรวงพลังงาน มีข้อสังเกตว่า ใบสมัครมีความซับซ้อน เข้าถึงยาก แม้คนที่จบทางด้านวิศวกรรมมายังใช้เวลานานในการกรอกข้อมูล นอกจากนี้หากผู้บริโภคทำเรื่องขออนุญาตด้วยตนเองจะยากและใช้เวลามากกว่าการขอผ่าน บริษัทตัวแทนจำหน่ายโซล่าร์เซลล์  เช่น การขอใบรับรอง รง.4 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น     ความจริง เรื่องขายไฟฟ้าของประชาชนกับการรับซื้อไฟฟ้าของภาครัฐ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด นักเศรษฐศาสตร์ด้านพลังงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   ตัวอย่างในต่างประเทศที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ และได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างเยอรมัน เดนมาร์กก็ทำปกติ คือใช้แผงของตัวเองเลยถ้าเหลือก็ขายได้แต่เน้นเอามาใช้ในครัวเรือนก่อน หรือบางทีเขาเรียกเป็นมิเตอร์ 2 ทาง คือขายไปกับเข้ามาแต่ว่าหักลบกันก่อนแล้วค่อยไปคิดเงินกัน ของบ้านเรานั้นมิเตอร์ 2 ตัวไม่ใช่มิเตอร์ 2 ทางที่เรียกมิเตอร์ 2 ตัวคือตัวหนึ่งขาย ตัวหนึ่งซื้อ ประเทศเพื่อนบ้านเราที่ทำที่ใกล้ที่สุดก็ญี่ปุ่น ส่วนประเทศอื่นไม่ค่อยเยอะนักประเทศเราก็ทำได้ดีแล้วแต่ว่าเสียดายที่มันมาติดเรื่องเวลา คือถ้าเราคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรยังพอว่าแต่นี่คิดออกแล้วดันมาล็อคเรื่องเวลาซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าล็อคทำไม ล็อคแล้วมันกลายเป็นผลประโยชน์ของฝ่ายธุรกิจมากกว่า แต่เป็นผลประโยชน์ระยะสั้นนะ ผลระยะยาวจะขายใครได้อีก ลึกๆ แล้วอยากให้มันแน่นอนนะ เหมือนรถปีที่แล้ววุ่นกันพอสต๊อกไว้แล้วก็ค้างบาน ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้กันว่าสิ่งที่มันดูเหมือนช่วยเอาเข้าจริงมันอาจไม่ได้ช่วย   ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ เยอรมัน เดนมาร์ก เขาเอาไปทำต่อเนื่องมันก็เลยประสบความสำเร็จไปในระยะยาว แผง Solar cell ของเขาก็กลายเป็นธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ กรณีของไทยเหมือนทำอย่างเขา แต่เราไม่รู้รัฐบาลจะเปิดรอบไหน อย่างเราขายแผง Solar cell เองนั้นก็ไม่รู้เราจะไปลงทุนผลิตเองดีไหมในเมื่อมันยังไม่ชัวร์ เพราะฉะนั้นเมื่อมันไม่ชัวร์เราก็รับมาจากต่างประเทศละกันอันไหนถูกกว่าหน่วยงานเราก็หากันเฉพาะหน้าไป เพราะฉะนั้นต่างประเทศที่เขาทำระยะยาวมันจึงประสบความสำเร็จในการสนับสนุน เริ่มตั้งแต่คนติดตั้งเยอะขึ้น คนลงทุนเยอะขึ้นจนกลายเป็นธุรกิจ Solar cell อย่างครบวงจรได้ มันต้องการความชัดเจนในระยะยาว ซึ่งตอนนี้ยังไม่มี อีกโมเดลหนึ่งคือ ผมคิดว่าประเทศไทยเราไม่มีเลย คือการลงทุนสนับสนุนสำหรับชุมชนหรือบ้านเรือนที่ใช้ในแนวของพลังงานอย่างยั่งยืน เรื่องการสร้างความยั่งยืนให้สิ่งแวดล้อมเราไม่มีเลย วิธีการคิดของรัฐบาลคือติดตรงไหนก็เอาไปขายเข้าระบบอย่างเดียวแต่ของต่างประเทศเขามีคนมาร่วมกันเป็นสหกรณ์ เป็นบริษัทก็ได้ ถ้าทำมาเป็นโครงการลักษณะแบบที่จะมีการประหยัดการใช้พลังงาน ซึ่งมันไม่ได้มีแต่ Solar cell อย่างเดียว ยังมีอื่นๆ อีกที่ทำได้ เช่นสิ่งปฏิกูลจากห้องน้ำ สมมติว่าเราสร้างบ้าน 20 หลังแล้วเราทำท่อที่สิ่งปฏิกูลมาทำไบโอแก็สได้ ไบโอแก็สก็จ่ายคืนกลับไปสู่การใช้ LPG อันนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพราะฉะนั้นในต่างประเทศการสนับสนุนเขาจะให้แต่ละที่คิดเองว่าจะทำอะไรได้บ้าง บางที่ก็ Solar cell อย่างเดียว บางที่ก็ Solar cell บวกกังหันลม บางที่ก็ Solar cell บวกไบโอแก็ส บางที่ก็ Solar cell บวกไบโอแมส อย่างเช่นกิ่งไม้ หมู่บ้านจัดสรรกิ่งไม้เยอะมาก เสร็จแล้วก็ไม่รู้ทำอย่างไรจริงแล้วเอามาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เพราะฉะนั้นการให้สนับสนุนในโครงการลักษณะแบบนี้มันจำเป็นที่จะต้องมี เพราะในที่สุดแล้วมันคือการลดการใช้ไฟฟ้าแต่ปัจจุบันการให้ความสนับสนุนของรัฐฯ นั้นให้ก็ต่อเมื่อมีการขายไฟฟ้า ซึ่งบางคนเขาไม่ได้ขายแต่ว่าเราทำเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าลงอันนี้มันก็เป็นการสนับสนุนของรัฐบาลไทย มันเหมือนกับขาเดียวไม่ได้ทำ 2 ขา คือใครขายก็ขาย ใครที่ใช้อยู่ก็ต้องใช้ให้มันน้อยลง   นโยบายของรัฐบาลที่เป็นรูปธรรมนอกจากเรื่องรับซื้อแล้วยังมีอะไรอีกเรื่องการส่งเสริมพลังงานโซล่าร์เซลล์ ไม่มีเลย ที่เหลือก็จะเป็นโครงการ มันไม่ได้เป็นกลไกนะโครงการมันเป็นกลไกที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ การรับซื้อที่มันเป็นกลไกมันก็ไม่ค่อยสมบูรณ์เพราะมันดันมาล็อคเรื่องเวลา เพราะฉะนั้นบ้านเรามันขาดกลไกจริงๆ เหมือนเราอุดหนุน LPG รัฐบาลออก LPG แต่คนทำไบโอแก็สเยอะเลย ชาวบ้านทำไบโอแก็สไม่ช่วยเขาเลย เขาทำไบโอแก็สแก้ปัญหาให้คุณไม่มีการอุดหนุนเลย คนทำไบโอแก็สก็ทำกันไปเรื่อยๆทั้งที่จริงการอุดหนุนไบโอแก็สนั้นง่ายมาก อุดหนุนผ่านวัสดุเลยถ้าคุณซื้ออันนี้เพื่อเอาไปทำไบโอแก็สคุณได้ส่วนลด ก็เหมือนกับรถคันแรกไปซื้อเสร็จคุณก็ไปขอส่วนลดใช่ไหม แต่นี่ไม่ได้ลดเป็นแสน ลดเป็นหลักพันหลักร้อยเองแล้วคุณก็ขึ้นบัญชีคนซื้อ LPGคุณได้ ใครซื้อไฟต่ำกว่าเท่านี้ก็ไปขออัตราลดLPGคุณทำได้เลย ชาวบ้านที่ทำไบโอแก็สจำนวนก็น้อยกว่า ความตั้งใจก็เยอะกว่า ประโยชน์ก็เยอะกว่า คุณก็ไม่ช่วย ผมคิดว่ารัฐบาลมองอะไรที่มันแบบผิวเผิน   สาเหตุที่รัฐบาลไม่ส่งเสริมอย่างจริงจัง เขาเน้นเป้า คือหมายถึงว่าอยากให้ได้ Solar cell กี่เมกะวัต คิดหาวิธีที่มันง่ายที่สุด เขียนนโยบายมาว่าจะต้องได้เท่านี้ สมมติว่าเขาได้ในระยะเวลาที่เขากำหนด เขาก็คิดว่ามันจบเลยต่อจากนี้ไม่ต้องยุ่งอีกต่อไป วิธีคิดเขาเป็นแบบนี้ แต่เขาไม่ได้มองว่าในความเป็นจริงคนค่อยเรียนรู้มันจะเกิดการพัฒนาต่อเนื่อง เขาไม่ได้มองเรื่องอนุรักษ์พลังงาน จริงๆผมว่าเขาไม่เคยมองเรื่องคนเลยมากกว่า คือทุกเรื่องสุดท้ายเราต้องการคนที่เปลี่ยนไป เขามองแค่การลงทุน ผมนี่ไม่ต้องเปลี่ยนอะไรเลยถ้าผมคิดว่าเงิน2แสนมันคุ้มค่า ผมก็โทรสั่งมาติด จบ ผมไม่ได้เปลี่ยนอะไร เขาสนใจแค่ได้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ อันนี้ทำให้เขาได้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ง่ายที่สุดก็จบแล้วสำหรับเขา   ทางออกสำหรับคนที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้พลังงาน ทางออกสำหรับคนที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายจากการใช้พลังงาน แต่ยังไม่ต้องการขายไฟฟ้าให้แก่ภาครัฐ ทำได้ โดยการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์บางจุดของบ้าน  เช่น ทดแทนไฟฟ้าแสงสว่างในครัวเรือน หรือติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์บริเวณเครื่องสูบน้ำ เป็นต้น   เยอรมัน อังกฤษ เดนมาร์ก และจีน เป็นประเทศที่มีนโยบายพลังงานหมุนเวียนที่มีความน่าสนใจ โดยประเทศเยอรมันมีความก้าวหน้าการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนมากที่สุดในโลก ส่วนประเทศอังกฤษที่เดิมมีพื้นฐานอุตสาหกรรมหนักมีการใช้พลังงานกระแสหลัก เช่น ถ่านหิน น้ำมันเป็นหลักเป็นประเทศแรกในยุโรปที่ประกาศใช้นโยบาย RPS  ประเทศเดนมาร์ก ที่มีเป้าหมายการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าเป็นเจ้าของการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบสหกรณ์    และประเทศจีนที่กำลังการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนมากที่สุด ปัจจุบันเดนมาร์กมีโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าและระบบทำความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ประมาณ 30,000 แห่ง โดยมีเครื่องมือประมาณ 35,000 เครื่องสำหรับใช้ในระบบทำความร้อน และที่เกาะ Aeroe   ในเดนมาร์กเป็นที่ตั้งของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมพื้นที่ 19,000 ตรม. โดยพลังงานที่ได้ใช้สำหรับผลิตระบบความร้อนภายในเกาะพลังงานของระบบความร้อน 1 ใน 3 ของที่ใช้ในเดนมาร์กได้มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยสามารถกักเก็บพลังงานที่ผลิตได้สำรองไว้ใช้ในฤดูใบไม้ร่วง และสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้   7,500 MWh โดยมีการลงทุนเพื่อผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ไปแล้วจำนวน 49 ล้านโครนเดนมาร์ก ซึ่งเงินจำนวน19 ล้านโครนเดนมาร์กจากจำนวนนี้มาจากการสนับสนุนของสหภาพยุโรปลำดับ   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point