ฉบับที่ 269 สำรวจฉลากคลีนซิ่ง รีมูฟเวอร์

        คลีนซิ่ง (Cleansing) หรือ รีมูฟเวอร์ (Remover) เป็นผลิตภัณฑ์เช็ดทำความสะอาดผิวหน้าหน้าได้ล้ำลึก ที่มีคุณสมบัติเบื้องต้นช่วยขจัดคราบเครื่องสำอาง ครีมกันแดด ครีมบำรุงผิว ความมันส่วนเกิน รวมถึงละอองฝุ่นควันจากมลภาวะต่างๆ ให้หลุดออกไปอย่างหมดจด ช่วยลดการอุดตันจากไขมันหรือสิ่งสกปรกที่เป็นสาเหตุให้เกิดสิวและปัญหาผิวต่างๆ ทำให้ผู้ใช้เผยผิวหน้าสุขภาพดีอย่างมั่นใจ         ปัจจุบันมีผู้ผลิตพัฒนาคลีนซิ่งออกมาหลายสูตรมาก ผู้บริโภคควรเลือกให้ตอบโจทย์กับสภาพผิว ความจำเป็น และความคาดหวังผลหลังใช้ รวมทั้งเลี่ยงสารที่อาจทำให้มีอาการแพ้หรือระคายเคืองผิวด้วย         นิตยสารฉลาดซื้อ และโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเลือกคลีนซิ่ง/รีมูฟเวอร์ จำนวน 23 ตัวอย่าง 22 ยี่ห้อ จากร้านค้าทั่วไปและร้านค้าออนไลน์ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 มาสำรวจฉลากว่ามีสารอันตรายต้องห้ามในเครื่องสำอางหรือไม่ มีสารที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือเปล่า และข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ เพื่อให้ผู้บริโภคใช้ตัดสินใจเลือกซื้อต่อไป ผลการสำรวจ         • มี 16 ตัวอย่าง ที่ไม่พบทั้งพาราเบน แอลกอฮอล์ และน้ำหอม คิดเป็น 69.56% ของตัวอย่างทั้งหมด         • พบพาราเบน (Methylparaben : เมทิลพาราเบน) ในยี่ห้อบิโอเร         • พบแอลกอฮอล์ ใน 2 ตัวอย่าง ได้แก่ ยี่ห้อบิเฟสต้า และโอเรียนทอล พริ้นเซส         • พบน้ำหอม ใน 5 ตัวอย่าง ได้แก่ ยี่ห้อบู๊ทส์, โอเรียนทอล พริ้นเซส, อีฟโรเซ, สมูท อี และคลีนแอนด์ เคลียร์         • เมื่อเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณคลีนซิ่ง 1 มิลลิลิตร พบว่า แพงสุดคือ ยี่ห้อไบโอเดอร์มา = 3.56 บาท ส่วนที่ถูกสุดคือ ยี่ห้อเคที่ดอลล์ = 0.39 บาท ข้อสังเกต         • เมื่อเช็กเลขที่จดแจ้ง (11-1-6400007766) บนฉลากยี่ห้อคิวท์เพรสเพียว ออริจิน ไมเซลลาร์ เคล็นซิ่ง วอเทอร์ พบว่าสถานะใบรับจดแจ้งเป็น “ยกเลิก” โดยมีข้อมูลว่าใบอนุญาตหมดอายุเมื่อ 20/6/66 (เช็กได้ที่ https://porta.fda.moph.go.th/fda_search_all/main/search_center_main.aspx)         • มี 12 ตัวอย่าง ระบุว่าผ่านการทดสอบการระคายเคืองผิว โดยในจำนวนนี้มี 5 ตัวอย่างที่ระบุว่าผ่านการทดสอบโดยผู้เชี่ยวด้านจักษุร่วมด้วย ได้แก่ ยี่ห้อบิโอเร, การ์นิเย่, นูโทรจีนา, นีเวีย และสมูท อี         • มี 4 ตัวอย่างที่ระบุว่าผ่านการทดสอบการระคายเคือง แต่พบสารที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในส่วนประกอบ ได้แก่ ยี่ห้อบิเฟสต้า(มีแอลกอฮอล์), บิโอเร(มีเมทิลพาราเบน), สมูท อี และคลีน แอนด์ เคลียร์ (มีน้ำหอม)         • มี 3 ตัวอย่าง ไม่ระบุวันหมดอายุ ได้แก่ ยี่ห้อบู๊ทส์, บิโอเร และลอรีอัล ปารีส ไมเซลล่า วอเตอร์             • มีระบุวันผลิต-หมดอายุไว้นานสุดคือ 4 ปี(ยี่ห้อบิเฟสต้า) รองลงมาคือ 3 ปี (16 ตัวอย่าง) และน้อยสุดคือ 2 ปี (3 ตัวอย่าง)         • ยี่ห้อแพลนท์เนอรี่และเซนกะมีกรดซาลิไซลิกในส่วนประกอบ ซึ่งเป็นสารที่หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เพราะยังไม่ทราบแน่ชัดถึงอันตรายและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทารก ฉลาดซื้อแนะ         • คลีนซิ่งจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องสำอาง ผู้บริโภคควรเช็กเลขที่จดแจ้งบนฉลากว่าได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงสาธารณสุขถูกต้องหรือไม่ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบแอบสวมทะเบียนปลอม         • หากเพิ่งเริ่มใช้คลีนซิ่ง หรืออยากเปลี่ยนยี่ห้อใหม่ ควรซื้อขวดเล็กมาทดลองใช้ก่อน ถ้าใช้ได้ผลดีถูกใจแล้วค่อยซื้อแบบขวดใหญ่มาใช้จะคุ้มค่ากว่า         • ตัวอย่างที่นำมาสำรวจฉลากครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็น คลีนซิ่งสูตรน้ำ (คลีนซิ่งวอเตอร์ หรือ ไมเซล่าวอเตอร์) ที่ต้องใช้คู่กับสำลีเช็ดหน้า เหมาะกับคนที่มีผิวมัน ผิวผสม โดยเฉพาะผิวเป็นสิวง่าย แต่มักขจัดคราบที่เป็นน้ำมันได้ไม่มาก คลีนซิ่งบางยี่ห้ออาจต้องใช้ปริมาณเยอะและเช็ดหน้าซ้ำๆ นานๆ ทำให้มีโอกาสที่ผิวจะระคายเคืองได้ง่าย และควรเลือกใช้สำลีเช็ดหน้าที่มีผิวสัมผัสอ่อนโยน เพื่อลดการเสียดสีกับผิวหน้าอันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดริ้วรอยได้         • ควรทำตามวิธีใช้และคำเตือนที่ระบุไว้อย่างเคร่งครัด เช่น ทดสอบการแพ้ก่อนใช้ ไม่ใช้บริเวณผิวที่เป็นแผล ถอดคอนแทคเลนส์ก่อนเช็ด หากเข้าตาให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที หากใช้แล้วมีความผิดปกติใดๆ ต้องหยุดใช้และปรึกษาแพทย์ เป็นต้น         • แม้หลายยี่ห้อจะระบุว่าเช็ดคลีนซิ่งแล้วไม่ต้องล้างออก แต่ก็อยากแนะนำให้ล้างออกโดยไวถ้าทำได้ เพราะสารต่างๆ ในคลีนซิ่งจะได้ไม่ต้องสัมผัสกับผิวหน้านานเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการระคายเคืองผิวนั่นเอง         • การเลือกคลีนซิ่งที่ผ่านการทดสอบการระคายเคืองอาจการันตีความปลอดภัยได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ยังต้องดูส่วนประกอบด้วย เพราะอาการแพ้เป็นลักษณะเฉพาะบุคคล เพื่อความมั่นใจให้ทดสอบโดยทาคลีนซิ่งไว้บริเวณหลังหู ข้อพับแขน หรือท้องแขน ถ้าหลังจาก 48 ชั่วโมงแล้ว ผิวไม่บวมแดง แสบหรือคัน ก็ใช้ได้ ข้อมูลอ้างอิง https://www.bangkokbiznews.com/pr-news/news/prnews/1027713 https://www.pobpad.com/salicylic-acid

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 232 ความเคลื่อนไหวเดือนมิถุนายน 2563

พาวเวอร์แบงค์เป็นสินค้าบังคับ ผลิต นำเข้า จำหน่าย ต้องมี มอก.         สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ประกาศกฎกระทรวงระบุให้ พาวเวอร์แบงค์ เป็นสินค้าที่มีมาตรฐานบังคับ จะผลิต นำเข้า จำหน่าย จะต้องมี มอก        โดยประกาศกฎกระทรวงนี้ กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าสำหรับการใช้งานแบบพกพา: คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2563 ประกาศให้สินค้าที่เป็น Powerbank จะต้องผ่านมาตรฐานบังคับ มอก.2879-2560 กฎกระทรวงนี้จะมีผลบังคับใช้ภายใน 150 วันนับแต่วันประกาศ ช่วงล็อกดาวน์สินค้ากีฬา-เครื่องครัว-เฟอร์นิเจอร์ ยอดขายพุ่ง 500%.         บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) เผยข้อมูลตัวเลขการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของชาวไทยในช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมาว่า ยอดผู้ซื้อและจำนวนผู้ขายเพิ่มขึ้นกว่า 75%         . โดยนักช็อปใช้เวลาบนแพลตฟอร์มลาซาด้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่า 30% ในช่วงที่มีมาตรการล็อกดาวน์ (ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม) สินค้าเครื่องกีฬา ของเล่น อุปกรณ์สันทนาการกลางแจ้ง เครื่องครัวขนาดเล็ก เฟอร์นิเจอร์ รวมไปถึงอุปกรณ์ออกกำลังกายนั้นมียอดขายพุ่งขึ้น 250% ถึงกว่า 500% โดยลาซาด้าคาดว่าภายในสิ้นปี 2563 ตลาดอี-คอมเมิร์ซไทยจะมีมูลค่ากว่า 2.2 แสนล้านบาท สูงขึ้น 35% จากปี 2562  มะเร็งตับเจอในชายไทยสูงเป็นอันดับ 1 ตายปีละกว่าหมื่น ไร้อาการเตือน         กรมการแพทย์ เผยมะเร็งตับพบมากเป็นอันดับ 1 ของคนไทยแนะปรับพฤติกรรมสุขภาพลดความเสี่ยง แต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิต 15,912 ราย เพศชายพบมากสุด         นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด ปีละ 122,757 ราย มะเร็งตับและท่อน้ำดีถือเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 2 ในเพศหญิง จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทย (ปี 2558) พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งตับรายใหม่ 20,671 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 15,912 ราย ซึ่งมะเร็งตับที่พบมากในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ มะเร็งของเซลล์ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตับ โดยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ สาเหตุของมะเร็งตับเกิดจากการเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบชนิดบี ส่วนสาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดีเกิดจากพยาธิใบไม้ตับร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีดินประสิว (ไนเตรท) และไนไตรท์ เช่น ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม แหนม ฯลฯ นอกจากนี้ การดื่มสุราเป็นประจำ การรับสารพิษอะฟลาทอกซินที่เกิดจากเชื้อราบางชนิดที่พบในอาหารประเภทถั่ว ข้าวโพด พริกแห้ง รวมถึงไวรัสตับอักเสบชนิดซีก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้         นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเกี่ยวกับอาการของมะเร็งตับว่า ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการแสดงแตกต่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่มีอาการในระยะแรก อาการส่วนใหญ่ที่พบ คือ แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ปวดหรือเสียดชายโครงขวา อาจคลำพบก้อนในช่องท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต และมีอาการบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย  โพสต์เหล้าเบียร์ไม่มีเจตนาโฆษณาไม่ผิด         นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (สคอ.) กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณีสื่อสังคมออนไลน์ออกมาให้ข้อมูลเรื่องโพสต์แก้วเหล้าเบียร์มีความผิดเรื่องโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้แต่ประชาชนทั่วไปโพสต์ก็มีความผิด ทำให้เกิดความตื่นตระหนก และเกิดกระแสให้ประชาชนร่วมลงชื่อยกเลิกมาตรา 32 การควบคุมโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่า “การตีความมาตราดังกล่าวเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ประชาชน ซึ่งในมาตรา 32 ระบุใจความสำคัญไว้ 2 ส่วนด้วยกัน คือ 1. ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อประโยชน์ในทางการค้า เช่น การโพสต์ภาพเหล้าเบียร์พร้อมข้อความต่างๆ เพราะต้องการที่จะขายสินค้าเหล้าเบียร์นั้นๆ รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ 2. ห้ามแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมกับการมีข้อความหรือพฤติการณ์ที่เป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้คนอื่นอยากจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดังกล่าว         ดังนั้น การที่ประชาชนโพสต์ภาพขวดเหล้าเบียร์ หรือแก้วเบียร์ที่มีโลโก้เบียร์ จึงยังไม่ใช่ความผิดตามกฎหมายนี้ ...แต่ดาราหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก ทำให้คนหันมาสนใจสินค้า มีผลป็นการโน้มน้าวหรือชักจูงใจไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม จึงไม่สามารถทำได้" นพ.นิพนธ์กล่าว  มหากาพย์ที่นอนยางพารา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคนำกลุ่มผู้เสียหายร้อง ปคบ.เอาผิดเพจขายของ         บก.ปคบ. วันที่ 19 มิ.ย. นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค พาผู้เสียหายที่ถูกหลอกซื้อที่นอนยางพาราจำนวนกว่า 50 คน เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.ปริญญา ปาละ รอง ผกก.(สอบสวน) กก.1 บก.ปคบ.และ ร.ต.อ.ดลพิษิฐ คำผง รอง สว.(สอบสวน)กก.1 บก.ปคบ. เพื่อขอให้ดำเนินการทางกฎหมายกับเพจที่ขายของไม่ได้มาตรฐาน         นฤมล กล่าวว่า มูลนิธิฯ พาผู้เสียหายเข้ายื่นหนังสือกับเจ้าพนักงาน ปปง. เพื่อขอให้ตรวจสอบเส้นทางการเงินของเจ้าของบัญชี และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ถ้าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายก็ขอให้ดำเนินการยึดและอายัดทรัพย์สินของผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ          สำหรับที่มาของปัญหานี้คือ มีผู้เสียหายจากการสั่งซื้อที่นอนยางพาราผ่านเฟชบุ๊กเพจจำนวนกว่า 10 เพจ โดยบางรายได้รับของที่ไม่มีคุณภาพ ขณะที่บางรายก็ยังไม่ได้รับสิ่งของที่สั่งซื้อไป จนกระทั่งเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาผู้เสียหายหลายรายได้ไปแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าของเพจดังกล่าว จนเจ้าของเพจถูกจับและถูกปิดเพจไปแล้ว   แต่หลังจากนั้นกลับปรากฎพบว่าเพจต่างๆ เหล่านั้นมีความเคลื่อนไหว กลับมาเปิดหลอกลวงขายสินค้าออนไลน์อีก โดยเฉพาะที่นอนยางพารา จนมึผู้หลงเชื่อสั่งซื้อจำนวนมาก ทำให้บรรดาผู้เสียหายตั้งไลน์กลุ่มโอเพ่นแชต ชื่อ 'กลุ่มมหากาพย์ที่นอนยางพารา' เพื่อรวบรวมความผู้เสียหายและแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ก่อนจะนำข้อมูลเข้าร้อง ปปง. เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.ที่ผ่านมา ก่อนเดินทางเข้าแจ้งความ บก.ปคบ.เพิ่ม  เพื่อเร่งให้ทางการตรวจสอบดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องเพจดังกล่าว ร่วมทั้งเพจอื่นๆ          ทั้งนี้ มีผู้เสียหายที่รวบรวมได้มีจำนวนกว่า 389 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 1 ล้านบาท ที่สั่งซื้อที่นอนยางพาราแล้วยังไม่ได้รับสินค้าหรือบางรายได้รับสินค้าไม่ครบถ้วนหรือส่งสินค้ามาให้แต่ไม่ใช่ ที่นอนยางพารา สำหรับเพจเฟซบุ๊กที่หลอกลวงผู้บริโภคมีด้วยกันหลายชื่อ  และมีเพจที่ปิดไปแล้วแต่มีจุดสังเกตของพฤติกรรมที่เข้าข่ายหลอกลวงนั้น คือในบางเพจมีการใช้ชื่อบัญชีและเลขบัญชีเดียวกันในหลายเพจ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 229 ความล้มเหลวของการกระจายหน้ากากอนามัย

        คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ที่มี รมต. พาณิชย์เป็นประธาน ประกาศห้ามส่งออกหน้ากากอนามัยเกินกว่า 500 ชิ้น โดย มีมติเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 แต่ประกาศจริงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563        ตามมาตรา 24 ของ พ.ร.บ.ราคาสินค้าและบริการ 2542 ระบุไว้ว่า ประกาศ กกร. มีผลเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ความล่าช้าที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาที่ถูกตั้งคำถามว่า ล่าช้าหรือขัดข้องจากเหตุใด หรือเป็นความบกพร่อง ความอ่อนหัดในการบริหารราชการ หรือเอื้อประโยชน์ให้กับใครหรือไม่        โฆษกกรมศุลกากร ให้ข่าวว่าเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ มีการส่งออกมากถึง 330 ตัน และมีการนำเข้า 145 ตัน หลังแถลงข่าวมีการแก้ข่าวทันทีในวันนั้นว่า อ้างว่า เป็นหน้ากากอนามัยหลายประเภท พร้อมทั้งวันรุ่งขึ้นอดีตอธิบดีกรมการค้าภายใน ไปดำเนินการฟ้องคดีกับโฆษกกรมศุลกากร         จนบัดนี้ยังไม่ทราบชัดเจนว่า ประเทศไทยมีกำลังการผลิตหน้ากากอนามัยเท่าใด เพราะตัวเลขที่แต่ละท่านให้ข้อมูลไม่ตรงกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พูดถึงตัวเลข 100 ล้านชิ้นต่อเดือน เมื่อ 30 มกราคม 2563 อดีตอธิบดีกรมการค้าภายในจำนวน 1.2 ล้านชิ้นต่อวัน หรือ 36 ล้านชิ้นต่อเดือน  ขณะที่ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า 2.3 ล้านชิ้นต่อวัน หรือประมาณ 70 ล้านชิ้นต่อเดือน เมื่อ 9 มีนาคม และ 30 มีนาคม ตามลำดับ         การกระจายจำนวน 1.2 ล้านชิ้น จัดสรรให้องค์การเภสัชกรรม ส่งต่อให้โรงพยาบาล 7 แสนชิ้นต่อวัน และจัดการโดยร้านธงฟ้า 5 แสนชิ้นต่อวัน เพื่อแจกจ่ายผ่านร้านค้า ร้านขายยา ร้านสะดวกซื้อ และปลัดกระทรวงพาณิชย์ได้แถลงยกเลิกการดำเนินการโดยธงฟ้า วันที่ 20 มีนาคม 2563 จนบัดนี้ประชาชนยังไม่ทราบว่ากระจายหน้ากากอนามัยอย่างไร โรงพยาบาลจำนวนมากยังขอรับบริจาคหน้ากากอนามัย ทั้งที่ถูกสั่งห้ามให้ข่าว หน้ากากอนามัยออนไลน์ยังราคาแพง แถมบางครั้งยังมีโกงซื้อแล้วไม่ได้ของไม่คืนเงิน         สถิติการจับกุมดำเนินคดีผู้กระทำความผิดกรณีหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ และแอลกอฮอล์ ในภาพรวม มีการจับกุมดำเนินคดีไปแล้วทั้งสิ้น 241 ราย แบ่งเป็นการจับกุมในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 120 ราย และในต่างจังหวัด 121 ราย แต่จากการสำรวจของคนซื้อ ยังพบราคาแพง ทุกคนต่างกว้านซื้อเพื่อบริจาค ทำให้กระบวนการกักตุน ราคาแพงไม่หมดไป ทั้งที่บทลงโทษมีไม่น้อยเลย หากพบว่ามีการกักตุนสินค้าและฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรมจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ         ที่สำคัญหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ กลายเป็นสินค้าขาดแคลน จำหน่ายราคาแพงโดยไม่สามารถป้องกันหรือแก้ปัญหาได้จริงหรือ??         สิ่งที่ประชาชนอยากเห็น คือความโปร่งใส ประชาชนตรวจสอบข้อมูลได้ ประเทศมีกำลังการผลิตเท่าใด กระจายให้หน่วยบริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลเป็นลำดับแรก เหลือแจกจ่ายประชาชน โดยสามารถนำบัตรประชาชนรับได้จากร้านขายยา หรือร้านสะดวกซื้อ ตามสิทธิในรัฐธรรมนูญที่รัฐมีหน้าที่ในการป้องกันโรคโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ยุติการจำหน่ายในออนไลน์และทุกช่องทาง ไม่ใช่ปล่อยให้ทุนใหญ่ทุนเล็กทำมาหากินกับสินค้าเหล่านี้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 230 ผลทดสอบเจลแอลกอฮอล์

        สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ในขณะนี้ นอกจากหน้ากากอนามัยแล้ว เจลแอลกอฮอล์ ตลอดจนผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ล้างมือแบบอื่นๆ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้ทำความสะอาดมือเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ซึ่งเป็นที่ต้องการของประชาชนเป็นอย่างมากจนทำให้เกิดภาวะขาดแคลนสินค้าและมีสินค้าไม่ได้มาตรฐานออกมาวางจำหน่าย         ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังสินค้าและคุ้มครองผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงดำเนินการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ล้างมือจำนวน 39 ตัวอย่าง แบ่งเป็นสองกลุ่มตัวอย่าง คือผลิตภัณฑ์จากร้านค้าทั่วไป ร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก จำนวน 25 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์จากร้านค้าออนไลน์ จำนวน 14 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 10 มีนาคม – 17 เมษายน ที่ผ่านมา เพื่อตรวจหาปริมาณร้อยละของแอลกอฮอล์ในผลิตภัณฑ์ และตรวจหาการปนเปื้อนของเมธิลแอลกฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดที่มีอันตรายต่อผู้บริโภค สรุปผลทดสอบผลทดสอบ พบว่า-   จำนวน 26 ตัวอย่าง มีปริมาณแอลกอฮอลต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยปริมาตร ไม่ผ่านเกณฑ์ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย พ.ศ. 2563  แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ(1) จำนวน 14  ตัวอย่าง คือมีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยปริมาตร ทั้งนี้ทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ระบุวันผลิตตั้งแต่ประกาศฯ มีผลบังคับ คือ 10 มีนาคม 2563(2) จำนวน 8 ตัวอย่าง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตก่อนวันที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ฯ มีผลบังคับ(3) จำนวน 4 ตัวอย่าง ไม่ระบุวันผลิต ได้แก่ยี่ห้อ เมดเดอร์ลีน, Sweet Summer, BFF บีเอฟเอฟ และ TOUCH        -  จำนวน 13 ตัวอย่าง มีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยปริมาตร ทั้งนี้แบ่งเป็น(1) ผลิตภัณฑ์ที่มีวันผลิตก่อนวันที่ 10 มีนาคม 2563 จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่ Skin Heaven Hand Safe, Anti-A gel (2 ตัวอย่าง) ,ไลฟ์บอย แฮนด์ ซานิไทเซอร       (2) ผลิตหลังวันที่ 10 มีนาคม 2563 จำนวน 5 ตัวอย่าง ได้แก่ Ver.88, WE Cleanser, ก๊กเลี้ยง, โพรเทค และ CAVIER       (3) ไม่ระบุวันผลิต 4 ตัวอย่าง ได้แก่ยี่ห้อ  CCP LAB BLUE, D GEL , ETC อาย-ตา-นิค และพันตรา     -   พบผลิตภัณฑ์ 4 ตัวอย่าง ไม่มีเลขจดแจ้ง แบ่งเป็น 3 ตัวอย่าง (2 ยี่ห้อ) ไม่แสดงเลขจดแจ้ง ได้แก่ Anti-A gel, Top Clean Hand Sanitizer และมี 1 ตัวอย่างแสดงเลข อย.ซ้ำกับผลิตภัณฑ์ตัวอื่น ได้แก่ ยี่ห้อ L Care     -  พบ 1 ตัวอย่าง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ ANANTA Spray(อนันตา สเปรย์) ใช้เมธานอลเป็นส่วนผสมในการผลิต   ฉลาดซื้อแนะการใช้ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ล้างมือที่ถูกต้อง1.ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เข้มข้น 70% ขึ้นไป (ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน) ทำไมต้อง 70% ถ้าใช้สัดส่วนที่ต่ำกว่านั้น ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรค COVID-19 ได้2.ลูบให้ทั่วฝ่ามือและนิ้วมือ ทิ้งไว้ 20-30 วินาที จนแอลกอฮอล์แห้ง หากใช้แล้วไม่รอให้แห้งไปหยิบจับสิ่งต่างๆ ก็จะทำให้ประสิทธิภาพลดน้อยลง3.ควรใช้เจลแอลกอฮอล์เฉพาะมือเท่านั้น ห้ามสัมผัสหรือเช็ดล้างบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น ใบหน้าและดวงตาโดยเด็ดขาด4.ผลิตภัณฑ์ชนิดที่มีส่วนผสมอื่นนอกจากตัวแอลกอฮอล์จะช่วยทำให้ตัวแอลกอฮอล์ระเหยได้ช้าลง สัมผัสกับผิวได้นานขึ้น ช่วยลดการระคายเคืองของแอลกอฮอล์และคงความชุ่มชื้นต่อผิว5.ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ ทำให้ต้องระมัดระวังการเก็บหรือการใช้ อย่าวางเจลใกล้ความร้อนหรือเปลวไฟ เพราะแอลกอฮอล์ติดไฟได้ง่าย อาจเกิดอุบัติเหตุทำให้บาดเจ็บได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉลาดซื้อ เผยผลสุ่มตรวจ ‘ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ล้างมือ’ ร้อยละ 67 ไม่ผ่านมาตรฐานประกาศ สธ. พบ 1 ยี่ห้อ ใช้เมธิลแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม

        ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ เผยผลตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ ร้อยละ 67 ไม่ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พบ 1 ยี่ห้อ มีส่วนประกอบของเมธานอล (Methanol) ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดห้ามใช้ในเครื่องสำอางเพราะมีพิษสูง ย้ำผู้ผลิต นำเข้า เครื่องสำอางไม่ปลอดภัย โทษปรับสูงสุดถึง 500,000 บาทส่วนผู้ขายมีโทษปรับสูงสุดถึง 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ        วันนี้ (5 มิถุนายน 2563) ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ จำนวน 39 ตัวอย่าง สุ่มเก็บตัวอย่างระหว่างวันที่ระหว่างวันที่ 10 มีนาคม ถึง 17 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา แบ่งเป็นสองกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากร้านค้าทั่วไป ร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก จำนวน 25 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์จากร้านค้าออนไลน์ จำนวน 14 ตัวอย่าง          สารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหาร นิตยสารฉลาดซื้อ เปิดเผยว่า ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ล้างมือ และ นำส่งตรวจวิเคราะห์ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ว่าได้มาตรฐาน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ ที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย พ.ศ. 2563 หรือไม่ ซึ่งประกาศฯ ดังกล่าว ได้กำหนดให้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความสะอาดมือโดยไม่ใช้น้ำ ที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยปริมาตร เป็นเครื่องสำอางที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย         “ผลทดสอบ พบว่า มีผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือที่ผ่านมาตรฐาน ซึ่งมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 70 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป จำนวน 13 ตัวอย่าง (ประมาณร้อยละ 33) และไม่ผ่านมาตรฐาน 26 ตัวอย่าง (ประมาณร้อยละ 67) นอกจากนี้ยังพบ 1 ตัวอย่าง มีส่วนผสมของเมธานอล (Methanol) หรือ เมธิลแอลกอฮอล์ (Methyl Alcohol) ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดห้ามใช้ในการผลิตเครื่องสำอางอีกด้วย” บรรณาธิการบริหาร นิตยสารฉลาดซื้อ กล่าว         ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ล้างมือ จำนวน 26 ตัวอย่าง มีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยปริมาตร ไม่ผ่านเกณฑ์ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ ที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย พ.ศ. 2563 แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ        (1) จำนวน 14 ตัวอย่าง มีปริมาณแอลกอฮอล์ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยปริมาตร ทั้งนี้ทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ระบุวันผลิตตั้งแต่ประกาศฯ มีผลบังคับ คือ 10 มีนาคม 2563         (2) จำนวน 8 ตัวอย่าง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตก่อนวันที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ฯ มีผลบังคับ        (3) จำนวน 4 ตัวอย่าง ไม่ระบุวันผลิต ได้แก่ ยี่ห้อ เมดเดอร์ลีน, Sweet Summer, BFF บีเอฟเอฟ และ TOUCH                   ส่วนอีก จำนวน 13 ตัวอย่าง มีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยปริมาตร หรือมีปริมาณแอลกฮอล์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70 ทั้งนี้แบ่งเป็น        (1) ผลิตภัณฑ์ที่มีวันผลิตก่อนวันที่ 10 มีนาคม 2563 จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่ Skin Heaven Hand Safe, Anti-A gel (2 ตัวอย่าง), ไลฟ์บอย แฮนด์ ซานิไทเซอร์        (2) ผลิตหลังวันที่ 10 มีนาคม 2563 จำนวน 5 ตัวอย่าง ได้แก่ Ver.88, WE Cleanser, ก๊กเลี้ยง, โพรเทค และ CAVIER         (3) ไม่ระบุวันผลิต 4 ตัวอย่าง ได้แก่ยี่ห้อ CCP LAB BLUE, D GEL , ETC อาย-ตา-นิค และพันตรา         อย่างไรก็ตาม จากทั้งการสุ่มตรวจทั้ง 39 ตัวอย่าง พบผลิตภัณฑ์ 4 ตัวอย่าง ไม่มีเลขจดแจ้ง แบ่งเป็น 3 ตัวอย่าง (2 ยี่ห้อ) ไม่แสดงเลขจดแจ้ง ได้แก่ Anti-A gel (ยี่ห้อเดียวกัน แต่มี 2 ตัวอย่าง), Top Clean Hand Sanitizer และ ยี่ห้อ L Care (มีการแสดงเลข อย. ซ้ำกับผลิตภัณฑ์ตัวอื่น) นอกจากนี้ ยังพบอีก 1 ตัวอย่าง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ ANANTA Spray (อนันตา สเปรย์) ที่มีการใช้เมธานอลเป็นส่วนผสมในการผลิต           ด้าน รศ.ดร.ภก.วรสิทธิ์ วงศ์สุทธิเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บริการเทคโนโลยีเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในการทดสอบเพื่อหาปริมาณแอลกอฮอล์และชนิดของแอลกอฮอล์ในผลิตภัณฑ์ที่ทางแลปใช้เป็นการนำเทคนิค Gas Chromatography มาวิเคราะห์ตัวอย่าง ซึ่งเป็นเทคนิคหลักในอุตสาหกรรมยาที่ใช้ในการตรวจหาปริมาณแอลกอฮอล์ โดยวิธีวิเคราะห์นี้ถูกพัฒนาและตรวจสอบความถูกต้องให้สามารถตอบโจทย์การทดสอบในผลิตภัณฑ์เพื่อทำความสะอาดมือดังกล่าวได้         “อย่างไรก็ตามในมุมมองผม ผลดังกล่าวคงไม่ใช่การตีตราได้ 100 เปอร์เซนต์ ว่าบริษัทใดดีหรือไม่ดีเนื่องจากมีข้อสังเกตจากการทดสอบหลายประการ เช่น เรื่องคุณภาพการผลิต ซึ่งพบว่า ยังไม่มีการควบคุมให้ได้มาตรฐาน และจากรายละเอียดข้อมูลที่แสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ล้างมือทั้ง 39 ตัวอย่าง พบว่า บางบริษัทรับผลิตสินค้าให้กับผู้ประกอบการหลายยี่ห้อ แต่จากผลการทดสอบบางยี่ห้อผ่านเกณฑ์ บางยี่ห้อไม่ผ่านเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ทั้งที่ผลิตโดยบริษัทเดียวกัน หรือ บางยี่ห้อระบุว่ามีแอลกอฮอลล์ร้อยละ 75 แต่วิเคราะห์ผลได้เพียงร้อยละ 70 ซึ่งถึงแม้จะผ่านตามประกาศกระทรวงฯ แต่ถือว่ามีปัญหาด้านคุณภาพในการผลิต” รศ.ดร.ภก.วรสิทธิ์ กล่าวและว่า ในประเด็นการปลอมแปลงฉลากผู้ผลิตก็เป็นอีกปัจจัยที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน แต่ที่แน่นอน คือ ผลที่ออกมาสะท้อนอย่างชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือที่มีในท้องตลาดมีปัญหาและต้องมีการแก้ไขปัญหาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยด่วน         ส่วน ผศ.ดร.ภญ.ยุพดี ศิริสินสุข คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) และรองผู้จัดการแผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 เจลแอลกอฮอล์หรือผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ เช่น เจล โลชั่น ครีม โฟม สเปรย์ สารละลาย หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ (Alcohol-Bases Hand Sanitizer) ถูกจัดอยู่ในหมวด “เครื่องมือแพทย์” ที่ต้องแจ้งรายละเอียด และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบคุมตามกฎหมายเครื่องมือแพทย์ โดยส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นี้ ได้แก่ เอธิลแอลกอฮอล์/เอธานอล, ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์/ไอโซโพรพานอล หรือเอ็น - โพรพิวแอลกอฮอล์/เอ็น - โพรพานอล และมีการกำหนดไว้ชัดเจนว่า “ส่วนประกอบเหล่านี้ต้องรวมกันตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปโดยปริมาตร” ซึ่งอาจมีสารอื่นๆ ประกอบด้วยได้ เช่น สารแต่งกลิ่น สารกันเสีย         เมื่อเกิดปัญหาโรคโควิด 19 ระบาด คณะกรรมการเครื่องมือแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีมติยกเลิก ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ พ.ศ.2562 เพื่อปรับให้ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ล้างมือเป็นสินค้าในกลุ่ม “เครื่องสำอางหรือหมวดเครื่องสำอาง” ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย พ.ศ. 2563 เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดที่อาจทำให้เกิดสินค้าขาดแคลนได้ โดยมีสาระสำคัญ คือ         เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ ที่มีส่วนประกอบเพียงอย่างเดียวหรือผสมรวมกันน้อยกว่าร้อยละ 70  โดยปริมาตร ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย” และ “หากมีการตรวจพบผู้ผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ผู้ผลิตหรือนำเข้า จะมีโทษ จำคุก 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท ขณะที่ผู้จำหน่าย มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท          มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา “ตาม มาตรา 60 ของ พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ได้กำหนดโทษสำหรับ ผู้ที่ผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศฯ  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ขายนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ         หรือในกรณีเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งมีวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ผู้ที่ผลิต นำเข้า เพื่อขาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ขาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ         “ผู้บริโภคสามารถใช้ข้อมูลผลทดสอบของนิตยสารฉลาดซื้อ ในการตัดสินใจเลือกซื้อเจลแอลกอฮอล์ได้ โดยเจลแอลกอฮอล์ที่ดีนั้น นอกจากต้องมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยปริมาตรแล้ว ยังไม่ควรแห้งเร็วจนเกินไป เพื่อให้แอลกอฮอล์ได้มีเวลาฆ่าเชื้อไวรัสที่อาจเกาะอยู่ตามผิวหนังก่อนที่จะระเหย  นอกจากนี้ อย. ควรต้องเร่งแก้ปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์เจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการยกระดับมาตรฐานโรงงานผลิต เพราะความเสียหาย คือ การมีผลิตภัณฑ์เจลแอลกอฮอล์ที่แพร่หลาย แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่สามารถมีผลในการลดเชื้อได้จริง” ผศ.ภญ.ดร.ยุพดี กล่าว         ขณะที่ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง กล่าวเสริมว่า อยากฝากข้อเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการ ดังนี้        1. ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดำเนินการตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานแอลกอฮอล์ ในผู้ประกอบการที่ผลิต นำเข้า หรือขาย ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือที่ไม่เป็นไปตามประกาศฯ ให้เป็นไปตามประกาศฯ        2.มีการตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ ในสถานประกอบการที่ผลิตและนำเข้า หรือขายเหล่านี้ให้มากขึ้น ก่อนการอนุมัติ เพื่อป้องกันมิให้มีผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพเข้าสู่ท้องตลาดและส่งผลเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขในวงกว้าง        และ 3.ดำเนินการกับบริษัทที่ใช้เมทานอลอย่างจริงจัง และฝากไปถึงบริษัทด้วย ขออย่าใช้เทคนิค การถูกเจ้าอื่นแอบผลิตหรือใช้เลขที่ใบจดแจ้ง หรืออ้างว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ใช่ของตนเอง         รายละเอียดผลทดสอบอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.chaladsue.com/article/3402

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 230 มันมาแล้วกับโควิด 19

        สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดในหลายประเทศ ก่อให้เกิดความตระหนกและตื่นตัว ผู้บริโภคต่างแสวงหาวิธีการ หรืออุปกรณ์ต่างๆ มาป้องกันตนเองและครอบครัว หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ น้ำยาทำความสะอาดเพื่อฆ่าเชื้อโรค ขาดแคลนเป็นระลอกๆ        เมื่อเข้าตาจน ผู้บริโภคหลายรายที่อ่อนไหวต่อสถานการณ์นี้ จึงแสวงหาทางเลือกอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ป้องกันตัว เช่น มีการนำน้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ใช้ล้างแผลมาใช้ล้างมือแทนแอลกอฮอล์ หรือนำสุราขาวมาใช้แทนแอลกอฮอล์ล้างแผล ซึ่งความจริงแล้วแอลกอฮอล์ที่ใช้ฆ่าเชื้อได้ดีที่สุดต้องมีความเข้มข้น 70% หากน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ประสิทธิภาพจะลดลง        นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ผลิตบางรายถือโอกาสนำผลิตภัณฑ์แปลกๆ มาขายผู้บริโภค จนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกมาเตือนผู้บริโภคไม่ให้หลงเชื่อแผ่นป้ายหรืออุปกรณ์ห้อยคอต่างๆ (เช่น ปากกา พัดลม) ที่จำหน่ายในสื่อออนไลน์ โดยอวดอ้างสรรพคุณว่าสามารถปล่อยสารบางอย่างออกมา เพื่อช่วยกรองอากาศ ป้องกันและยับยั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียในอากาศได้ สามารถใช้แทนหน้ากากอนามัยได้ ซึ่งความจริงผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าสามารถฆ่าเชื้อในอากาศได้นั้น จะจัดเป็นวัตถุอันตรายที่ใช้ตามบ้านเรือน ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จะต้องมาขอขึ้นทะเบียนและขออนุญาตนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายในประเทศกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อน และต้องผ่านการประเมินด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยก่อนด้วย จึงจะสามารถจำหน่ายได้ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีผลิตภัณฑ์เหล่านี้ชนิดใด มาขออนุญาตกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเล         หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีการเผยแพร่ทางออนไลน์อีก เป็นการเผยแพร่บทสวดมนต์อ้างว่า ปัดเป่าขับไล่ไวรัสได้ ในจังหวัดสมุทรสงครามเอง ก็มีผู้บริโภคมาเล่าให้ฟังว่า มีคนนำเหรียญหรือยันต์มาชักชวนให้ตนซื้อ เพื่อใช้ป้องกันโรคได้เช่นกัน          ดังนั้นขอย้ำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไวรัสและเชื้อโรคต่างๆ คือ         1. กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ : รับประทานอาหารปรุงร้อนจนสุก ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกัน         2. ใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตนเอง เมื่อต้องไปอยู่ในที่ชุมชน หรือที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก มีผู้คนหนาแน่น         3. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้มีภูมิต้านทานโรค         วัตถุประหลาดใดๆ ไม่อาจช่วยให้รอดจากไวรัสได้ อย่าไปหลงเชื่อโดยเด็ดขาด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 228 ความเคลื่อนไหวเดือนกุมภาพันธ์ 2563

4 เดือนโครงการรับยาใกล้บ้าน ยอดแตะ 91 รพ. 750 ร้านขายยา        สปสช.โดย นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เผย “โครงการผู้ป่วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) รับยาที่ร้านขายยาแผนปัจจุบัน ขย.1 เพื่อช่วยลดแออัดในโรงพยาบาลรัฐ หรือโครงการรับยาใกล้บ้านนั้น ตั้งแต่เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2562 ที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 1 ก.พ. 2563 รวม 4 เดือนพบว่า โรงพยาบาลที่เข้าร่วมดำเนินโครงการจำนวน 91 แห่ง ขณะที่มีร้านขายยาแผนปัจจุบัน ขย.1 เข้าร่วมให้บริการจำนวน 750 แห่ง จาก 55 จังหวัด โดย รพ.ขอนแก่น มีร้านยาร่วมเครือข่ายบริการมากสุด 50 แห่ง รพ.ลำพูน มีผู้ป่วยร่วมโครงการมากสุด 480 คน ขณะที่ภาพรวมผู้ป่วยร่วมโครงการฯ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังใน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด และจิตเวช นอกจากนี้ยังมีโรคเรื้อรังอื่นที่ผู้ป่วยมีภาวะคงที่ โดยให้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งจากข้อมูลเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 มีผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการฯ สะสมแล้ว มีจำนวน 2,453 รายแล้ว อย. เรียกเก็บน้ำเกลือล้างแผลพบการปนเปื้อน        รายงานข่าว นพ. สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีหนังสือที่ สธ 1009.5/ว 1955 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 แจ้งเตือนภัยเร่งด่วน การเรียกเก็บยา KLEAN & KARE NORMAL SALINE เลขทะเบียน 1A 512/56 รุ่นการผลิต 061607 คืนจากท้องตลาดโดยสมัครใจ 29 มี.ค. มอเตอร์ไซค์ใหม่ทุกคันต้องได้ยูโร 4         นายวันชัย  พนมชัย  เลขาธิการ  สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยว่า สมอ. ได้เชิญผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์กว่า 40 ราย ชี้แจงทำความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมในการยื่นขอ มอก. 2915-2561 รถจักรยานยนต์เฉพาะด้านความปลอดภัย – สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับยูโร 4  ซึ่งประกาศบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2563 เพื่อช่วยแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นพิษหรือ PM 2.5  ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวมีข้อกำหนดที่ควบคุมปริมาณสารมลพิษที่ปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอนออกไซด์ของไนโตรเจน ลดลงถึง 50% เมื่อเปรียบเทียบกับ มอก. เดิม คือ ยูโร 3         นอกจากนี้ มาตรฐานฉบับดังกล่าวนี้ยังมีข้อกำหนดเรื่องความทนทานของอุปกรณ์ควบคุมมลพิษ เพื่อให้มั่นใจว่ารถจักรยานยนต์ที่ผ่านการใช้งานแล้วระยะเวลาหนึ่ง  ยังคงสามารถควบคุมปริมาณสารมลพิษเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ เสวนา พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบยอดร้องเรียนสูงแต่เอาผิดได้น้อย        5 กุมภาพันธ์ โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ งานเสวนา “12 ปี  พ.ร.บ  ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551” เผยสถิติ แม้มียอดร้องเรียนนับพันแต่เอาผิดตามกฎหมายได้น้อย        นายคำรณ  ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจสุรา ระบุ 1 ปีที่ผ่านมา มาตรการบังคับใช้พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ ถือว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น สังคมตื่นตัว รับรู้ข้อกฎหมายมากขึ้น จึงมีผู้ร้องเรียนเมื่อพบข้อมูลการทำผิดกฎหมายมากถึง 1,100 กรณี สำหรับความผิดที่พบมากที่สุด (ร้อยละ 60) คือ โฆษณาส่งเสริมการตลาด พบว่า ธุรกิจน้ำเมายังคงมั่งคั่ง ใช้กิจกรรมการตลาด จัดคอนเสิร์ตเปิดลานเบียร์ เป็นกิจกรรมหลัก ที่รุกจากหน้าห้างกิจกรรมรายย่อยยันทุ่งนา และใช้ตราเสมือนคือเครื่องดื่มน้ำ โซดา รวมไปถึงเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ เป็นตราหลักสื่อสารการตลาด การโฆษณาในสื่อต่างๆ “เครือข่ายฯ ยังพบกิจกรรมหรือความสัมพันธ์ ที่น่าเคลือบแคลงสงสัยในแบบอุปถัมภ์เกื้อหนุนกันระหว่างทุนเหล้ากับกลไกราชการ โดยกิจกรรมการตลาดต่างๆ มักอ้างหรือดึงส่วนราชการเข้ามาร่วมด้วย เพื่อทำให้การบังคับใช้กฎหมาย ขาดประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้คือ ภัยคุกคามสำคัญ”         นพ.นิพนธ์  ชิชานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า         “มาตรการควบคุมผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามกฎหมาย มีการออกตรวจตามวันที่ห้ามขาย เช่น วันสำคัญทางศาสนา สุ่มตรวจจากเรื่องร้องเรียนในประเด็นที่เป็นปัญหาตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ในมาตรา 32 ว่าด้วยการห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มฯ และมาตรา 30 ว่าด้วยการห้ามขาย ด้วยวิธีการ เร่ขาย เครื่องขายอัตโนมัติ ลดแลกแจกแถม ในสถานที่ราชการ สถานศึกษาฯ ซึ่งในปี 2562 ที่ผ่านมา มีเรื่องร้องเรียนเข้ามามากกว่า 2,000 เคส แต่พบว่า สำหรับการดำเนินคดีการตามกฎหมายจนสิ้นสุดคดียังมีจำนวนน้อย เพราะการควบคุมหย่อนยานไม่ทั่วถึง ทั้งนี้ต้องกระตุ้นไปยังเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายตามกลไกการใช้กฎหมายในแต่ระดับพื้นที่ จะส่งผลให้ติดตามง่ายลดการกระทำผิดซ้ำ”  สมัชชาผู้เสียหายจากอุบัติเหตุทางถนน ครั้งที่ 1        18 กุมภาพันธ์ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กลุ่มผู้เสียหายจากอุบัติเหตุทางถนน ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และภาคีเครือข่ายความปลอดภัยทางถนน จัด ‘เวทีสมัชชาผู้เสียหายจากอุบัติเหตุทางถนน ครั้งที่ 1’ ขึ้น เพื่อสะท้อนภาพรวมของปัญหาจากอุบัติเหตุทางถนนและเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ประสบอุบัติเหตุให้มีสิทธิและโอกาสการเข้าถึงสังคมที่มีอย่างทั่วถึงเท่าเทียม         ในตอนหนึ่งของการเสวนา การชดเชยเยียวยาผู้เสียหายกรณีรถโดยสาร นักวิจัยระบุ การทำประกันภัยให้รถโดยสารสาธารณะช่วยผู้บริโภคได้ดีกว่าการฟ้องร้อง แต่ปัจจุบันรถโดยสารที่ทำประกันภัยภาคสมัครใจเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ขณะที่ มพบ. ให้ข้อมูลว่า การฟ้องร้องยังจำเป็นเพราะผู้เสียหายอาจเสียเปรียบจากระบบประกันภัย โดยเฉพาะการตีความตามบทบัญญัติที่ไม่สื่อสภาพจริงของสังคม         ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่ง และโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า “การประกันภัย สามารถตอบโจทย์การชดเชยเยียวยาผู้ประสบอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ ได้ดีกว่าการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายโดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเวลาในการได้รับค่าชดเชยเยียวยา ซึ่งวงเงินคุ้มครองที่เพิ่มสูง ประกอบกับนโยบายของกรมการขนส่งทางบกที่บังคับให้รถโดยสารสาธารณะต้องทำประกันภัยภาคสมัครใจเพิ่มเติม ทำให้ผู้ประสบภัยสามารถได้รับการชดชดเชยเยียวยาได้ทันท่วงทีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ระบุว่า ปัจจุบันมีรถโดยสารที่ทำประกันภัยภาคสมัครใจเพียง 1 ใน 3 จากจำนวนรถที่จดทะเบียนทั้งหมด จึงมองว่าควรจะมีการสำรวจและศึกษาผลกระทบของรถที่ไม่ได้ทำประกันภัยด้วย อย่างไรก็ตามการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายยังคงจำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคในระบบรถโดยสารสาธารณะที่เหมาะสมต่อไป”         ด้าน ดร.เอมผกา เตชะอภัยคุณ กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า “ถึงแม้ระบบประกันภัยจะรวดเร็ว แต่สุดท้ายเมื่อผู้เสียหายไม่สามารถที่จะได้รับการชดเชยค่าเสียหายในระบบประกันภัยได้ ก็จะต้องกลับเข้าไปสู่ระบบของกระบวนการยุติธรรมอยู่ดี ทั้งนี้ในรายละเอียดยังมีคำถามจำนวนมากเกี่ยวกับการคำนวณ การกำหนดค่าสินไหมทดแทน เช่น ค่าขาดไร้อุปการะ ค่าเสียหายเชิงลงโทษ ค่าเสียหายทางจิตใจ ทายาท ฯลฯ ตลอดจนการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนว่า กรณีใดบ้างที่บริษัทขนส่งหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบด้วย เพราะมีบางกรณีที่บริษัทขนส่งหลุดจากคดี เนื่องจากอ้างว่ารถที่ผู้เสียหายใช้บริการนั้นเป็นรถเถื่อนทั้งที่ขึ้นในสถานีของทางขนส่งเอง”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 226 กระแสต่างแดน

ต้องได้ใบเสร็จ        ก่อนหน้านี้ ลูกค้าร้านอาหาร ร้านขนมปัง ร้านกาแฟ ร้านตัดผม หรือร้านค้าย่อยอื่นๆ ในเยอรมนี จะไม่ได้รับใบเสร็จหากไม่ร้องขอ         แต่กฎหมายใหม่ว่าด้วย “การป้องกันการแก้ไขบันทึกการขายดิจิทัล” ที่มีผลบังคับใช้เมื่อปี 2559 กำหนดว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ธุรกิจทุกประเภทจะต้องออกใบเสร็จให้ลูกค้าโดยไม่ต้องถาม ไม่ว่าธุรกรรมนั้นจะมีมูลค่าเท่าไร         ร้านที่ใช้เครื่องคิดเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ต้องแสดงเลขที่ใบแจ้งหนี้ หมายเลขเครื่องคิดเงิน ชื่อ/ที่อยู่ของผู้ประกอบการ และวันที่ทำธุรกรรม ส่วนร้านที่ไม่มีเครื่องดังกล่าวก็ให้จดบันทึกการขายไว้เพื่อการตรวจสอบของสรรพากร         หลายคนมองว่ามาตรการปราบปรามการเลี่ยงภาษีรูปแบบนี้อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด เพราะมันเพิ่มขั้นตอนการทำงานและยังสร้างขยะกระดาษเพิ่มขึ้นด้วยมาตรฐานฝุ่นควัน        กลุ่ม Air Clean Taiwan ออกมาเรียกร้องให้รัฐสภาไต้หวันออกกฎหมายเพิ่มมาตรฐานในการ เฝ้าระวังฝุ่นละอองพีเอ็ม 10 ให้เท่ากับที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 20 ไมโครกรัมต่อ 1 ลูกบาศก์เมตรต่อปี          แม้ในภาพรวม ค่าพีเอ็ม 10 ของไต้หวันลดลงจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 17 นายเย่กวงเผิง ผู้ก่อตั้งองค์กรดังกล่าวซึ่งรณรงค์เรื่องนี้มากว่าเจ็ดปีบอกว่า      ปัจจุบันเขตเกาสงและอีกหลายๆ ที่ในไต้หวันมีค่าฝุ่น ละอองเกินมาตรฐานดังกล่าวถึงสามเท่า         ค่ามาตรฐานของไต้หวัน (125 ไมโครกรัมต่อ 1 ลูกบาศก์เมตรต่อวันหรือ ค่าเฉลี่ยต่อปี 65 ไมโครกรัมต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร) ยังไม่เคยถูกปรับตั้งแต่ปี 2542         ล่าสุดองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของไต้หวันเตรียมกำหนดมาตรฐานใหม่เป็น 100 ไมโครกรัมต่อ 1 ลูกบาศก์เมตรต่อวันหรือค่าเฉลี่ยต่อปี 50 ไมโครกรัมต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร ให้เท่ากับที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้กฎเหล็ก        สวิตเซอร์แลนด์มีกฎระเบียบที่เข้มงวดสำหรับผู้พักอาศัยในอพาร์ตเมนท์ ถึงขั้นลือกันไปผิดๆ ว่าเขาห้ามการกดชักโครกในยามวิกาลด้วย           สวิตเซอร์แลนด์มีสิ่งที่เรียกว่า “ช่วงเวลาพักผ่อน” ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละเมือง ช่วงเวลาดังกล่าวในซูริคอยู่ระหว่างสี่ทุ่มถึงเจ็ดโมงเช้า และห้าทุ่มถึงเจ็ดโมงเช้าในวันศุกร์และเสาร์           ในช่วงเวลานี้ผู้อยู่อาศัยพึงงดพฤติกรรมก่อความรำคาญทุกชนิดและไม่ทำ “เสียงที่ไม่จำเป็น” หลังเวลาสองทุ่ม หรือในวันอาทิตย์         นอกจากข้อห้าม (เช่น ห้ามนำสัตว์มาเลี้ยง) กฎระเบียบยืดยาวที่เจ้าของอาคารติดประกาศแจ้งต่อผู้อยู่อาศัยยังกำหนดความรับผิดชอบไว้ชัดเจนด้วย เช่น ในฤดูหนาว ผู้เช่าจะเป็นผู้ทำหน้าที่กวาดหิมะ           ที่ผ่านมายังไม่มีการห้ามผู้เช่ากดชักโครกในยามวิกาล แต่ถึงจะห้ามจริงก็เอาผิดผู้เช่าไม่ได้ ผู้เชี่ยวชาญบอกว่ากฎระเบียบเหล่านี้จะมีผลผูกพันต่อเมื่อมันสมเหตุสมผลเท่านั้น...ค่อยยังชั่ว  ปารีสเมืองปั่น        แอน ฮิลดาโก ผู้ว่าราชการนครปารีสเคยประกาศไว้ตอนหาเสียงเมื่อสี่ปีก่อนว่าจะทำให้ปารีสเป็นเมืองจักรยานให้ได้         แม้การทำให้ชาวปารีส “ทุกคน” ใช้จักรยานอาจดูเกินเอื้อม แต่สถิติล่าสุดก็ช่วยยืนยันว่า “แผนจักรยาน” ของเธอกำลังไปได้สวย ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้จักรยานมีมากกว่าจำนวนผู้ใช้มอเตอร์ไซค์และสกู๊ตเตอร์รวมกัน และยังมากกว่าจำนวนผู้ใช้รถไฟไต้ดินบางสายด้วย         เดือนกันยายนปี 2561 จำนวนผู้ใช้จักรยานในปารีสเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 54 และในแต่ละวันมีผู้ใช้จักรยานบนท้องถนนถึง 1,030 คน จำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 1,630 คนในปี 2562         นอกจากนี้การใช้รถยนต์ระหว่างปี 2553 ถึง 2561 ยังลดลงร้อยละ 5 ในขณะที่การใช้จักรยานเดินทางเพิ่มขึ้นร้อยละ 30         ปารีสขยับขึ้นจากเมืองที่เป็นมิตรกับจักรยานอันดับที่ 17 ในปี 2558 มาเป็นอันดับที่ 8 ในปีนี้  เป้าหมายสูงสุดของผู้ว่าฯ คนนี้คือทำให้ปารีสเป็นเมืองหลวงจักรยานอันดับหนึ่ง ปาดหน้าโคเปนเฮเกน อัมสเตอร์ดัม และออสโล ไปเลยจ้า  โนเคป็อป        ที่ผ่านมาการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งที่ทำได้อย่างไม่มีข้อจำกัดในเกาหลีใต้ ส่งผลให้สถิติการดื่มในผู้หญิงและเยาวชนอายุต่ำกว่า 19 ปีที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ         จำนวนนักดื่มหญิงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41.5 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 50.5 ในปี 2560 (ในขณะที่มีการเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 ในนักดื่มชาย) ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะการใช้ศิลปินเคป็อปในการโฆษณาแอลกอฮอล์นั่นเอง         รายงานระบุว่าผู้ประกอบการทุ่มงบปีละไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านวอน (ประมาณ 507 ล้านบาท) เพื่อการนี้         ก่อนหน้านี้เคยมีความพยายามที่จะออกกฎหมายกำหนดอายุพรีเซ็นเตอร์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไว้ที่ 24 ปี หลังจากศิลปินสาว “ไอยู” ซึ่งขณะนั้นอายุ 21 ปี รับเป็น “หน้าตา” ให้กับโซจูยี่ห้อหนึ่งในปี 2557 แต่กฎหมายดังกล่าวไม่เคยถูกนำเข้าสู่การพิจารณา         ล่าสุดกระทรวงสวัสดิภาพและสาธารณสุขเตรียมออกประกาศห้ามใช้ศิลปินดาราเคป็อปในการโฆษณาหรือเป็นพรีเซ็นเตอร์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปเลย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 192 กระแสต่างแดน

เป็นขยะแล้วไงระหว่างปี 2553 ถึงปี 2558 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้มีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 63 เพราะผู้คนมีรายได้มากขึ้นและมีความ “จำเป็น” ต้องใช้เพิ่มขึ้นด้วยปริมาณขยะใน 12 ประเทศที่สำรวจ รวมกันแล้วมีถึง 12.3 ล้านตัน (หนักกว่ามหาพีระมิดกีซา 2.4 เท่า)การสำรวจของกระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่นพบว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคนี้เพิ่มเร็วกว่าจำนวนประชากร ตัวเลขในปี 2558 ระบุว่าฮ่องกงมีปริมาณขยะต่อประชากร 21.7 กิโลกรัมต่อปีซึ่งสูงที่สุดในกลุ่ม ในขณะที่ฟิลิปปินส์มีปริมาณขยะเฉลี่ยต่อหัวต่ำสุดในกลุ่มที่ 1.35 กิโลกรัมญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน มีความก้าวหน้าในการจัดการและรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด ในขณะที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ก็มีข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเอกชนและรัฐบาล ส่วนจีน มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ก็มีกฎหมายสำหรับขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้วเหลือแต่ กัมพูชา อินโดนีเซีย และไทย ที่ยังไม่มีมาตรการใดๆ เพื่อรับมือกับขยะในยุคดิจิทัลเลยที่นี่ไม่มีวินDego Ride บริการเรียกพี่วินผ่านแอปที่เปิดให้บริการในมาเลเซียมาแล้ว 3 เดือน ต้องหยุดดำเนินการทันทีตามคำสั่งของกระทรวงคมนาคม เพราะกำลังฝ่าฝืน พ.ร.บ.ขนส่งทางบกมาตรา 23 ที่ห้ามใช้มอเตอร์ไซค์รับส่งผู้โดยสาร และบริษัทก็ประกอบกิจการขนส่งโดยไม่มีใบอนุญาตแม้จะทันสมัย รวดเร็ว และสะดวกสบาย แต่กระทรวงฯ ก็ยืนยันว่าจะไม่มีการปรับแก้กฎหมายมารองรับ(เหมือนอย่างในกรณีแท็กซี่ของ UBER หรือ Grab) เพราะบริการพี่วินนั้นเพิ่มความเสี่ยงให้กับตัวผู้โดยสารและผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นแม้ Dego Ride จะอ้างว่ายังไม่มีอุบัติเหตุเลยตั้แต่ให้บริการมา แต่สถิติในภาพรวมยืนยันว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่บนท้องถนนมาเลเซียเกิดขึ้นกับรถจักรยานยนต์ ช่วงตรุษจีนที่ผ่านมาก็มีมากกว่าร้อยละ 60ลมหายใจลูกค้าที่ซื้อเครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดของบรีโธมิเตอร์ (Breathometer) ในระหว่างปี 2556 – 2558 เตรียมไปขอรับเงินคืนได้เลยอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนเพื่อวัดระดับความมึนเมา “ด้วยมาตรฐานเดียวกับที่ตำรวจใช้” และสามารถเรียกแท็กซี่มารับได้ด้วยนี้มีกระแสตอบรับดีมาก สตาร์ทอัปเจ้านี้ทำยอดขายได้ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านเหรียญ (175 ล้านบาท) จากอุปกรณ์รุ่น Original (1,700 บาท) และรุ่น Breeze (3,500 บาท)แต่คณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจได้ตรวจสอบประสิทธิภาพแล้วพบว่า อุปกรณ์นี้วัดค่าออกมาต่ำเกินจริง แถมความชื้นและอุณหภูมิยังมีผลต่อการทำงานของเครื่องด้วยบริษัทจึงถูกสั่งให้เก็บสินค้าและถอนแอปออกจากร้าน เขาบอกว่าจะเลิกเอาดีทางด้านนี้แล้วไปทุ่มให้บริการด้านสุขภาพแทน ... เอ่อ คราวหน้าต้องไม่พลาดนะ คิดผิดคิดใหม่ EE ผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษถูกสั่งปรับเป็นเงิน 2.7 ล้านปอนด์ (117.2 ล้านบาท) เพราะคิดค่าโทรศัพท์แพงเกินจริงลูกค้าของ EE ที่ใช้บริการโรมมิ่งขณะเดินทางในยุโรป ถูกเรียกเก็บค่าบริการนาทีละ 49 บาท (ซึ่งเป็นอัตราสำหรับการโทรจากอเมริกา) แทนที่จะเป็น 8 บาทตามจริง เมื่อพวกเขาโทรเข้าคอลเซ็นเตอร์คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม (Ofcom) มีคำสั่งให้บริษัทคืนเงินส่วนต่างให้กับลูกค้า แต่จนถึงตอนนี้บริษัทสามารถระบุตัวและคืนเงินให้ลูกค้าได้เพียง 6,905 ราย จากผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด 32,145 รายว่าแล้วก็บริจาคเงินส่วนที่หาเจ้าของไม่ได้ 62,000 ล้านปอนด์ (ประมาณ 2.7 ล้านบาท) ให้กับองค์กรการกุศลไป แต่ Ofcom ยังยืนยันว่าบริษัทต้องตามหาลูกค้ากลุ่มนี้มารับเงินคืนต่อไป ยังปิดจ๊อบไม่ได้นะจ๊ะขอทวนคำถามการเดินทางเข้าเมืองซิดนีย์จะต้องรวดเร็ว ราบรื่นและสะดวกสบายกว่าเดิมด้วยรถไฟไต้ดินสายใหม่ช่วงซิดแนมและแบงคส์ทาวน์ นี่คือโปรเจค 20,000 ล้านเหรียญ(ประมาณ 536,000 ล้านบาท) จากรัฐนิวเซาท์เวลส์ซิดนีย์เมโทรจะเพิ่มจำนวนรถไฟเข้าเมืองจาก 120 เป็น 200 ขบวนในชั่วโมงเร่งด่วน มีการดูแลความปลอดภัย 24 ชั่วโมง และมีพื้นที่จอดรถมากขึ้น ระหว่างการก่อสร้างที่ต้องปิดสถานีตามเส้นทางรถไฟสายเก่าเพื่อปรับปรุงให้เป็นสถานีใต้ดิน เขาจะจัดรถรับส่งให้ได้รับความสะดวกโดยทั่วกันผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้อยู่อาศัยตามแนวเส้นทาง 66 กิโลเมตร (กลุ่มตัวอย่าง 2,800 คน) ได้ข้อสรุปว่า “ใครๆ ก็ชอบ” กลุ่มผู้คัดค้านจึงสงสัยว่าผู้สำรวจให้ข้อมูลเพียงด้านเดียวหรือไม่ไม่มีใครบอกพวกเขาเลยว่าจำนวนที่นั่งบนรถแต่ละขบวนจะลดลงจาก 896 เหลือเพียง 378 ทางออกไปยังสถานที่หรือถนนสำคัญในตัวเมืองจะหายไป ยังไม่นับเรื่องการรื้อถอนอาคารบ้านเรือน แต่สำคัญที่สุดคือการทำรถใต้ดิน “ทับ” เส้นทางรถไฟเดิมด้วยเงินมหาศาลจากภาษีของทุกคนมันเหมาะสมแล้วหรือ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 190 เครื่องสำอาง “ปราศจากแอลกอฮอล์” จริงหรือ

คำว่า “ปราศจากแอลกอฮอล์” ถือเป็นหนึ่งในจุดขายของเครื่องสำอางส่วนใหญ่ เพราะแอลกอฮอล์เป็นตัวการหลักที่สามารถทำให้เราเกิดอาการแพ้เครื่องสำอางได้ อย่างไรก็ตามหากใครที่เคยลองพลิกดูส่วนประกอบสำคัญบนฉลากของเครื่องสำอางเหล่านั้น จะเห็นว่ายังคงมีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ดี ดังนั้นเราควรซื้อเครื่องสำอางดังกล่าวมาใช้หรือไม่ ลองมาหาคำตอบกันทำความรู้จักแอลกอฮอล์ในเครื่องสำอางแอลกอฮอล์ในเครื่องสำอาง มีส่วนช่วยในการทำละลายส่วนผสมต่างๆ ให้เข้ากัน และช่วยนำสารเข้าสู่ผิวของเรา ดังนั้นเครื่องสำอางทุกประเภทต้องมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตามแอลกอฮอล์ที่ใช้ในเครื่องสำอางมีหลายประเภท ซึ่งเราสามารถตรวจสอบก่อนใช้งาน เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อผิวได้มารู้จักประเภทของแอลกอฮอล์แอลกอฮอล์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กลุ่มที่ดีต่อผิวและกลุ่มที่สร้างความระคายเคือง ซึ่งเครื่องสำอางที่โฆษณาว่าปราศจากแอลกอฮอล์ ไม่ได้หมายความว่าไม่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ แต่หมายความว่าใช้แอลกอฮอล์ในกลุ่มที่ดีต่อผิวนั่นเอง โดยเราสามารถตรวจสอบก่อนซื้อได้ดังนี้1.แอลกอฮอล์กลุ่มที่ดีต่อผิว หรือกลุ่มที่เป็นตัวทำละลาย (Fatty Alcohol)แอลกอฮอล์กลุ่มนี้ใช้เพื่อทำละลายสารที่ไม่ละลายน้ำ ซึ่งไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผู้ใช้ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติช่วยให้เครื่องสำอางติดผิวได้ดีขึ้น และสามารถทำความสะอาดผิว ชะล้างสิ่งสกปรกและไขมันได้ โดยมักพบในเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของน้ำมัน เช่น ครีมหรือโลชั่น ได้แก่ Arachidyl alcohol, Cetyl alcohol, Batyl alcohol, Behenyl alcohol, Ceteareth-20, Hexyl laurate, Lanolin alcohol, Oleyl alcohol, Lauryl alcohol, Panthenol (aka pantothenic acid), Polyvinyl alcohol, Stearyl alcohol, Di-PPG-3 Myristyl Ether Adipate 2.แอลกอฮอล์กลุ่มที่สร้างความระคายเคือง หรือกลุ่มที่ใช้ฆ่าเชื้อ ใช้แทนสารกันเสียแอลกอฮอล์ประเภทนี้ใช้เป็นส่วนผสมของยาทาผิว มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เป็นสารกันบูด นิยมผสมในเครื่องสำอางประเภทน้ำหรือของเหลว โดยส่วนใหญ่พบใน โทนเนอร์ เซรั่มใส่ผม น้ำหอม สเปรย์ และมักทำให้เกิดผิวระคายเคือง ผิวแห้งเพราะทำให้ผิวสูญเสียน้ำ ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการแพ้เครื่องสำอางได้ โดยแอลกอฮอล์กลุ่มนี้ ได้แก่ Ethyl Alcohol, Isopropyl Alcohol, Chlorphenesin, SD Alcohol, Alcohol Denat, Benzyl Alcohol, Methanolแนะวิธีเลือกแอลกอฮอล์ให้เหมาะกับผิวเนื่องจากเราหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางได้ยาก วิธีการเลือกแอลกอฮอล์ให้เหมาะกับผิวจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งนอกจากเราจะสามารถเลือกโดยการดูประเภทของแอลกอฮอล์ก่อนนำมาใช้งานแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ อีกเล็กน้อย ดังนี้- เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพผิว เช่น หากเราเป็นคนผิวแห้ง ควรหลีกเลี่ยงเครื่องสำอางที่ใช้แอลกอฮอล์กลุ่มฆ่าเชื้อเป็นส่วนผสม เพราะสามารถทำให้ผิวสูญเสียน้ำและยิ่งแห้งขึ้นไปอีก ซึ่งตรงข้ามกับคนผิวมัน ที่สามารถใช้แอลกอฮอล์กลุ่มดังกล่าวได้ เพราะช่วยให้ความมันบนใบหน้าลดลง- ทดสอบการแพ้เบื้องต้นก่อนใช้ทุกครั้ง โดยการทาเครื่องสำอางไว้ตรงบริเวณที่บอบบางอย่างใต้ท้องแขนหรือหลังใบหู ทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อทดสอบว่าเกิดอาการแพ้ แดง คันหรือไม่ ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวก็ไม่ควรซื้อเครื่องสำอางนั้นมาใช้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 160 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนมิถุนายน 2557 ไม่อยากมีปัญหา อย่ากิน “ยาสลายมโน” ปราบยังไงก็ไม่หมดจริงๆ สำหรับบรรดาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอวดอ้างสรรพคุณที่โฆษณาขายกันอย่างโจ๋งครึ่ม ทำผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อแล้วเป็นจำนวนมาก ล่าสุดมีผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ใช้ชื่อว่า “ยาเม็ดสลายมโน” (แค่ชื่อก็ดูไม่น่าเชื่อถือแล้ว) ที่กำลังระบาดหนักทางโซเชียลมีเดีย โดยยาสลายมโนอวดอ้างสรรพคุณด้วยประโยคเด็ดว่า “กินแล้วมโนภาพ จินตนาการ หรือความเพ้อเจ้อ เพ้อฝันว่าจะมีหน้าอกสวยงาม กระชับ เต่งตึงได้รูปจะเป็นจริง” สาวๆ หลายคนอ่านแล้วก็หลงเชื่อ เผลอนโมไปว่ากินยานี้แล้วเราของจะสวยขึ้นแน่นอน ซึ่งราคาขายอยู่ที่กระปุกละ 590 – 700 บาท อย.เห็นแบบนี้เข้าจึงอยู่เฉยไม่ไหว ต้องออกโรงเตือนอย่าหลงเชื่อซื้อยาสลายนโนมากินเด็ดขาด เพราะเข้าข่ายโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง กินแล้วไม่ได้อย่างคำโฆษณาแถมอาจเสี่ยงจากโรคอื่นเป็นของแถม ก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารใดๆ ขอให้พิจารณา อ่านฉลาก และตรวจสอบข้อมูลให้ถ้วนถี่ หรือนำเลขที่สารบบในกรอบเครื่องหมาย อย. ไปตรวจสอบกับทาง อย. หากผู้บริโภคพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดเกินจริง หรือได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอให้ร้องเรียนไปที่ สายด่วน อย. โทร. 1556   “แอลกอฮอล์อุ่นอาหาร” สารพิษสูง ใครที่ทานอาหารตามร้านอาหารบ่อยๆ คงจะคุ้นตากับ “แอลกอฮอล์อุ่นอาหาร” ที่หลายๆ ร้านใช้อุ่นอาหารพวกต้มยำหม้อไฟที่นำมาวางเสิร์ฟบนโต๊ะให้ร้อนอยู่เสมอ ซึ่งจากนี้ไปมื้อไหนที่มีแอลกอฮอล์อุ่นอาหารอยู่บนโต๊ะ ก็อย่ามัวแต่เพลินกับความอร่อย ต้องสังเกตแอลกอฮอล์อุ่นอาหารเพราะมันอาจมาพร้อมกับสารเคมี อย. ได้ตรวจจับแอลกอฮอล์อุ่นอาหาร ยี่ห้อ “กรีนพาวเวอร์” จำนวน 50 ลัง น้ำหนักรวม 2,266 กิโลกรัม และแอลกอฮอล์แข็ง-เจล จำนวน 122 ถัง น้ำหนักรวม 1,586 ลิตร มาเผาทำลาย เนื่องจากมีการตรวจวิเคราะห์พบปริมาณเมทานอลเกินกว่ากำหนด คือ 86.7% ทั้งที่มาตรฐานต้องไม่เกิน 1% เข้าข่ายเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ซึ่งห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง สำหรับผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์อุ่นอาหารเป็นผลิตภัณฑ์ที่พบว่ามีใช้กันอย่างแพร่หลาย ใช้อุ่นอาหารประเภทหม้อไฟ ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้จัดเป็นวัตถุอันตรายถูกกำกับควบคุมโดย อย. สำหรับอันตรายของแอลกอฮอล์อุ่นอาหาร หากสูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ตาพร่า และถ้าสูดดมในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือใครที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นี้ ต้องเลือกที่มีเครื่องหมายมาตรฐาน สมอ. กำกับเพื่อความปลอดภัย   “ซิมดับ” มาแน่ กันยายนนี้ กสทช. เตือนคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือในคลื่นความถี่ 1800 MHz (เมกกะเฮิร์ตช) รีบทำการโอนย้ายเปลี่ยนแปลงระบบ ก่อนจะเจอกับอาการซิมดับของจริงในเดือนกันยายน 2557 นี้ โดยตัวเลขผู้ใช้โทรศัพท์ที่ยังคงค้างอยู่ในคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของ 2 บริษัท ประกอบด้วย ทรูมูฟ ซึ่งมีจำนวนลูกค้าเหลืออยู่ทั้งสิ้นราว 5 ล้านกว่าราย ส่วนดีซีพีเหลือประมาณ 6,000 ราย ผู้ใช้เลขหมายคลื่นความถี่ 1800 ส่วนใหญ่เป็นลักษณะการใช้งานโทรออก-รับสาย และส่ง SMS เป็นหลัก การใช้งานไม่สลับซับซ้อน ไม่ใช่การส่งภาพหรือใช้อินเตอร์เน็ต ปัญหาคือ ผู้ใช้เลขหมายบางคนไม่ได้เป็นคนซื้อโทรศัพท์หรือดำเนินการเอง เช่น ลูกซื้อให้พ่อ-แม่ คนใช้งานอาจไม่ได้ใส่ใจหรือติดตามข่าวสารว่า เลขหมายของตัวเองอยู่ในข่ายที่ต้องโอน ผู้ที่ยังใช้โทรศัพท์ในเครือข่าย 1800 MHz หรือไม่แน่ใจว่าตัวเองอยู่ในระบบใด ให้รีบติดต่อกับผู้ให้บริการเครือข่ายและทำการย้ายโอนเครือข่าย เพื่อป้องกันปัญหาซิมดับที่ส่งผลต่อการใช้งานโทรศัพท์มือถือ   ไขปริศนา สารก่อมะเร็งในขวดน้ำพลาสติก จากกระแสข่าวลือที่สะพัดบนโลกออนไลน์ว่า น้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกที่ถูกทิ้งตากแดดไว้ในกระโปรงท้ายรถยนต์ เป็นตัวการที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เพราะจะมีสารไดออกซิน สร้างความสับสนและกังวลของผู้คนในสังคม ว่าข่าวดังกล่าวจริงเท็จประการใด เพื่อไขข้อข้องใจทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้ออกมาชี้แจงในเรื่องนี้ว่า เรื่องสารก่อมะเร็งในขวดน้ำพลาสติกนั้น เป็นเรื่องไม่จริง โดยสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ได้ซื้อตัวอย่างน้ำดื่มที่บรรจุในขวดพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีน โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต โพลิพรอพิลีน โพลิคาร์บอเนต และโพลิไวนิลคลอไรด์ที่จำหน่ายในตลาดสดและซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 18 ยี่ห้อ และนำไปวางในรถที่จอดกลางแดดเป็นเวลา 1 วัน และ 7 วัน จากนั้นตรวจวิเคราะห์สารประกอบกลุ่มไดออกซิน จำนวน 17 ตัว และพีซีบี จำนวน 18 ตัว พบว่า ตรวจไม่พบสารประกอบกลุ่มไดออกซินและพีซีบีในทุกตัวอย่าง สารไดออกซินเป็นสารที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเคมีภัณฑ์ที่มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมผลิตยาฆ่าแมลง เป็นต้น หรือกระบวนการเผาไหม้อุณหภูมิสูงทุกชนิด เช่น เตาเผาขยะทั่วไป เตาเผาขยะจากโรงพยาบาล เตาเผาศพ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น กรณีที่สารไดออกซินจะละลายออกมาจากขวดบรรจุน้ำที่วางไว้ในที่ร้อนๆ อย่าง หลังรถยนต์ ยังไม่เคยมีรายงานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันการตรวจพบมาก่อน   เด็กไทยยังเสี่ยงสารตะกั่วจากตู้น้ำดื่ม กระทรวงสาธารณสุขเผยผลสำรวจที่น่าตกใจ เด็กไทยทั่วประเทศยังคงเสี่ยงกับสารตะกั่วจากตู้น้ำดื่ม เหตุเพราะตู้น้ำไม่ได้มาตรฐาน แถมยังสกปรกส่งผลให้เด็กป่วยเป็นเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร จากข้อมูลสำรวจการปนเปื้อนตะกั่วในน้ำดื่มจากตู้ทำเย็นของโรงเรียนในจังหวัดต่างๆ พบว่าส่วนหนึ่งยังมีค่าสูงเกินมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคกรมอนามัย พ.ศ. 2553 คือ 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งจากการเก็บตัวอย่างเครื่องทำน้ำเย็นที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวเชื่อมตะเข็บรอยต่อทั้งตู้ใหม่ และตู้เก่าที่ผ่านการซ่อม พบว่า มีการเชื่อมทั้งบริเวณมุมของภายในช่องท่อต่อน้ำเข้าเครื่องบริเวณลูกลอยกับก้าน และช่องท่อส่งน้ำออกบริเวณพื้นตัวถังไปสู่ก๊อกน้ำ ทำให้น้ำที่ไหลผ่านตู้น้ำมีตะกั่วปนเปื้อน นอกจากนี้ยังพบว่าที่เก็บน้ำมีความสกปรก ขาดการดูแลอย่างสม่ำเสมอ หากเด็กนักเรียน ดื่มเข้าไปเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ทั้งอุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์ อหิวาต์ ซึ่งสถานการณ์โรคอุจจาระร่วงในกลุ่มเด็กปี 2557 จากรายงานการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา พบผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 7 - 9 ปี จำนวน 22,798 ราย และในกลุ่มอายุ 10 - 14 ปี จำนวน 24,631 ราย กรมอนามัย จึงได้แนะนำการป้องกันอันตรายสารตะกั่วจากตู้น้ำดื่ม ต้องเริ่มตั้งแต่การเลือกซื้อตู้ทำน้ำเย็นที่ประกอบด้วยเหล็กกล้าไร้สนิมเกรดดี ชนิดหนา ซึ่งสารตะกั่วที่ปนเปื้อนแม้เพียงเล็กน้อยก็ส่งผลกระทบต่อเด็กได้ง่าย เนื่องจากเด็กมีความไวต่อการสัมผัส หากร่างกายได้รับสารตะกั่วในปริมาณสูงก็จะเกิดอาการเป็นพิษได้ นอกจากนี้ถังเก็บน้ำต้องทำด้วยวัสดุเหล็กกล้าไร้สนิมที่ใช้กับอาหาร ไม่มีตะกั่วเป็นส่วนผสม เชื่อมตะเข็บรอยต่อด้วยก๊าซอาร์กอน หรือก๊าซสำหรับเชื่อมอื่นที่ไม่มีสารพิษปนเปื้อน และไม่มีผลตกค้างในถังน้ำ ที่สำคัญโรงเรียนต้องหมั่นดูแลทำความสะอาดตู้น้ำดื่มโดยการล้างที่เก็บน้ำภายในตู้เป็นประจำ ทำความสะอาดก๊อกน้ำและบริเวณผิวภายนอกตู้ให้สะอาดป้องกับเชื้อโรคและสิ่งสกปรก   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 139 เมาแล้วขับแต่ไม่ถูกจับ (มีหรือ)

“ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน” ถ้าถามเด็กปัจจุบันว่ากลอนแปดบทนี้ใครแต่ง อาจพบว่าเด็กบางคนร้อง เอ๋อ ไม่ใช่ อ๋อ เพราะมันคงดูเชยบรมถ้าตอบคำถามแบบนี้ได้ คงมีแต่ผู้ใหญ่ล้าสมัยแบบผู้เขียนที่พอจำได้ว่า สุนทรภู่ แต่งไว้ในนิราศภูเขาทอง สุนทรภู่นั้นเป็นกวีสุดยอดของไทย แต่มีพฤติกรรมสุดแย่คือ ติดสุรายาดองเป็นอาจิณ ตามภาษาคนไทยใจเบิกบาน ดีใจก็เหล้า เสียใจก็เหล้า บวชก็เหล้า แต่งงานก็เหล้า แถมงานเผาคนอื่นก็เหล้า (จนสุดท้ายเหล้าก็ทำให้ตนเองถูกเผา) ทั้งที่อาราธนาศีลห้าเป็นประจำจนชินชาลืมไปว่าศีลข้อ 5 ห้ามดื่มเหล้า สุนทรภู่นั้นโชคดีที่สมัยนั้นยังไม่มีกฏหมายห้ามขี้เมาขี่ม้า ขี่ช้าง หรือพายเรือ จึงไม่ต้องถูกจับตรวจลมหายใจวัดปริมาณแอลกอฮอล์เหมือนขี้เมาสมัยนี้ เราเลยอดอ่านนิราศของสุนทรภู่เกี่ยวกับการถูกตรวจวัดแอลกอฮอล์หรือการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์เมื่อถูกศาลสั่งลงโทษ เหมือนกับข่าวที่ดาราดังหลายคนต้องกระทำโดยไม่ตั้งใจ มีข่าวว่า มีผู้หวังดีแนะนำให้ดื่มนมเปรี้ยวหลังเมาแล้วตั้งใจจะขับรถ ซึ่งกรณีดื่มนมเปรี้ยวแกล้มเหล้านี้ รมช.สาธารณสุขท่านหนึ่งได้ออกมาให้ข่าวว่า ได้สั่งการให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทดลองว่า นมเปรี้ยวสามารถลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดได้จริงหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่าการดื่มนมเปรี้ยวลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดได้เพียงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น แต่ไม่ช่วยลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจนผ่านเครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ของตำรวจที่ด่านได้ ความจริงคนไทยมีภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในคนติดเหล้าคือ รางจืด ช่วยถอนอาการเมาค้างได้ แต่ยังไม่มีใครทดสอบว่าสมุนไพรนี้ ช่วยลดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจสำหรับนักดื่มที่ต้องการขับรถตอนกลางคืนหรือไม่   แล้ววันหนึ่งนักข่าวท่านหนึ่งที่นิยมคุยกับผู้เขียนเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เพื่อประกอบการทำข่าวเกี่ยวกับสินค้าที่อาจมีการหลอกลวงผู้บริโภคก็ได้โทรมาถามว่า มีโอกาสไหมที่จะลดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจของขี้เมาก่อนขับรถผ่านด่านตำรวจ เพราะมีคนนำสินค้าชนิดหนึ่งมาโฆษณาขายใน youtube ว่า เมื่อบริโภคสินค้านี้แล้ว รับรองเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ในลมหายใจ บอดแน่ พร้อมทั้งส่ง URL ของคลิปใน youtube มาให้ด้วย ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่านก่อนว่า เมื่อท่านดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต เร็วช้าขึ้นกับแต่ละคนว่ามีเวรกรรมประมาณใด เพราะระดับความเมาขึ้นกับระดับเอนไซม์ในร่างกายที่ทำงานในการกำจัดแอลกอฮอล์ว่าสูงหรือต่ำ ที่สำคัญด้วยคือ สภาวะร่างกายโดยเฉพาะตับนั้นแข็งแรงหรืออ่อนแอ แอลกอฮอล์นั้นเป็นชื่อสามัญประจำบ้านของสารอินทรีย์ที่มีชื่อทางเคมีว่า เอ็ทธิลแอลกอฮอล์ สารนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำให้มนุษย์และสัตว์เมาได้ ดังนั้นมนุษย์บางคนที่กินเหล้าเมาจึงถูกสังคมประณามว่า เมาเหมือนสัตว์ที่ใช้เฝ้าบ้าน ซึ่งเป็นความไม่ยุติธรรมกับสัตว์ประเภทนี้เลย เพราะเวลาเอาเหล้าเทใส่ชามให้เขาดื่ม เขามักเลี่ยงที่ไม่ดื่ม (ยกเว้นในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ซึ่งต้องจับกรอกปาก เขาก็เมาได้เหมือนคน) ดังนั้นจึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะพูดว่า คนเมาเหมือนเขา การที่มีหน่วยงานหนึ่งยับยั้งการเผยแพร่โปสเตอร์รูปคนกินเหล้าแล้วกลายร่างเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งนั้น ถูกต้องแล้วเพราะเป็นการไปละเมิดสิทธิสัตว์ประเภทนั้น เมื่อแอลกอฮอล์ถูกดูดซึมเข้าเลือดแล้ว ปราการด่านแรกในการกำจัดแอลกอฮอล์ออกจากเลือดคือ ตับ ดังนั้นตับจึงมักเป็นอวัยวะที่ถูกทำลายในผู้ติดเหล้า จนเกิดอาการตับแข็ง ซึ่งเป็นสภาวะรับประกันว่า ผู้ที่ตับแข็งนั้นจะไม่เป็นมะเร็งเพราะเซลล์ตับมันพังจนเป็นมะเร็งไม่ไหวแล้ว ในเซลล์ตับนั้นมีเอนไซม์แอลกอฮอล์ดีไฮดรอจีเนส ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงเอ็ทธิลแอลกอฮอล์ไปเป็นสารอีกชนิดชื่อ อะเซ็ตทัลดีไฮด์ ซึ่งจะถูกเปลี่ยนต่อไปอีกเป็นกรดน้ำส้มหรือ อะเซ็ทติกแอซิด (ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับกรดน้ำส้มสายชูที่เราใช้เติมก๋วยเตี๋ยว) ด้วยเอนไซม์อะเซ็ตทัลดีไฮด์ดีไฮดรอจีเนส จากนั้นน้ำส้มสายชูที่ได้ในตับจะถูกนำไปใช้เป็นพลังงานได้ และเนื่องจากแอลกอฮอล์ให้พลังงานมากกว่าแป้งเกือบสองเท่าตัว จึงทำให้คนติดเหล้านั้นไม่หิวข้าว แต่เป็นความอิ่มแบบขาดแคลนสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอื่น ๆ ส่งผลให้เซลล์ตับอ่อนแอ คนที่กินเหล้าในปริมาณมาก ๆ นั้น แอลกอฮอล์จะไปกดระบบประสาททำให้ซึมได้ในบางคน แต่บางคนก็ทำให้ความอดกลั้นต่อความทุกข์ยากของชีวิตหมดไป จึงระบายออกมาแบบการโวยวาย นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังทำให้มนุษย์หมดยางอายได้ สามารถทำในสิ่งที่ต้องการความยั้งคิด เช่น การเปลือยกายในที่สาธารณะ หลายท่านอาจเคยเห็นคนที่เมาปลิ้นแบบสิ้นสตินั้นมีอาการปวดหัวเมื่อสร่างเมา ซึ่งเรามักใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า แฮ้ง มาจากคำว่า hangover สาเหตุสำคัญของอาการ แฮ้ง นี้เกิดเนื่องจากร่างกายกำจัดอะเซ็ตทัลดีไฮด์ไม่ทัน เลยทำให้ปวดสมองในกระโหลกได้ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงใช้คุณสมบัตินี้ในการผลิตยาเลิกเหล้า โดยหาสารที่ยับยั้งการทำงานของอะเซ็ตทัลดีไฮด์ดีไฮดรอจีเนส ส่งผลให้มีการสะสมของอะเซ็ตทัลดีไฮด์ในสมองของผู้ดื่มจนปวดกระโหลกเป็นประจำ โดยไม่รู้ว่า ผบ.ทบ. (ผู้บัญชาการที่บ้าน) ได้เอายานี้ผสมเหล้าให้กิน และเมื่อมีอาการนี้บ่อยเข้า ถ้าชีวิตยังพอมีบุญอยู่บ้างก็เกิดอาการเบื่อที่จะดื่มเหล้าได้ ที่เล่ามาอย่างยืดเยื้อนี้เพื่อให้เห็นคุณสมบัติทางชีวเคมีของแอลกอฮอล์ว่า ถูกลดปริมาณได้ด้วยเอนไซม์ แอลกอฮอล์ดีไฮดรอจีเนส ดังนั้น ในสินค้าที่อ้างว่าลดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจได้นั้น ถ้าเป็นสินค้าที่มีเอนไซม์นี้อยู่ แล้วแอลกอฮอล์ยังอยู่ในทางเดินอาหาร โอกาสลดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจก็สูง ซึ่งในคลิปของ youtube ที่ผู้เขียนเข้าไปดูนั้น ก็พบว่า เป็นการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจหลังจากบริโภคสินค้าตามเหล้าที่ดื่มทันที ซึ่งไม่ตรงกับพฤติกรรมจริงของนักดื่มที่มัก hang around อยู่ในผับหรือบาร์จนเมา เพราะถ้าไม่ต้องการเมาจะไปดื่มเหล้าหาพระแสงด้ามอะไร สินค้าที่มีขายเพื่อลดแอลกอฮอล์ในลมหายใจนั้นคงไม่ช่วยอะไร ถ้าแอลกอฮอล์ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตแล้ว เพราะถึงมีเอนไซม์อะไรก็ตามที่ทำลายแอลกอฮอล์ได้ ตัวเอนไซม์เองคงไม่พ้นถูกน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กจัดการป่นเป็นกรดอะมิโน หมดสภาพเอนไซม์ไปเลย ในการวัดแอลกอฮอล์ในลมหายใจด้วยเครื่องที่เรามักเห็นตำรวจถือในโทรทัศน์นั้น เป็นการวัดระดับแอลกอฮอล์ที่ซึมเข้าเลือด แล้วบางส่วนผสมกับเลือดไหลผ่านไปสู่ปอดและระเหยออกมา เมื่อผู้ดื่มเป่าเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ ปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจที่พ่นผ่านเครื่อง (ซึ่งมีระบบตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งต่างกับ GT-200) จะเป็นปริภาคโดยตรงกับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ซึ่งเป็นตัวกำหนดความเมาของผู้ดื่ม ดังนั้นผู้ที่บริโภคผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าลดแอลกอฮอล์ในลมหายใจได้ อาจเจอปัญหาว่า มันลดได้เฉพาะในเวลาที่แอลกอฮอล์ยังไม่ซึมเข้าเลือด แต่พอซึมเข้าไปในระบบเลือดแล้ว คราวนี้ขึ้นอยู่กับว่ามันจะออกมาที่ปอดเข้าสู่ลมหายใจออกเท่าไร ตำรวจเท่านั้นที่จะตอบได้ เมื่อท่านถูกขอให้เป่าอุปกรณ์ตรวจวัดแอลกอฮอล์ ประเด็นที่สำคัญก็คือ ใน youtube นั้นมีคลิปหนึ่งที่มีผู้ไปสัมภาษณ์แพทย์ท่านหนึ่งของออสเตรเลียซึ่งได้ฟันเสาธงเลยว่า สินค้านี้เชื่อไม่ได้ และในประเทศออสเตรเลียห้ามจำหน่าย ดังนั้นผู้ที่ดื่มเหล้าจนแอลกอฮอล์ซึมเข้าเลือดไปแล้ว โอกาสที่จะหาอะไรมาทำลายแอลกอฮอล์ได้คงไม่มี ยกเว้นว่ามีใครคิดทำการทำวิจัยว่า มีสารอะไร หรืออาหารอะไร ที่สามารถกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในตับให้เปลี่ยนแอลกอฮอล์ไปเป็นอัลดีไฮด์แล้วต่อเป็นกรดน้ำส้มได้เร็วที่สุด ซึ่งปัจจุบันยังไม่เคยมีใครประกาศว่าค้นพบ และในกรณีที่ทำได้ ก็ต้องเป็นการกระตุ้นก่อนที่จะดื่มสุราเมรัย เสมือนเป็นการเตรียมระบบเผาผลาญให้พร้อมเสมอที่จะเผาแอลกอฮอล์ทิ้ง ซึ่งคอสุราหลายท่านคงไม่ปรารถนานักเนื่องจากเป็นการลดความบันเทิงในอารมณ์เมานั่นเอง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 102 มาทำแอลกอฮอลเจลฆ่าเชื้อไวรัสไว้ใช้เอง

สวยอย่างฉลาดรศ. ดร. พิมลพรรณ พิทยานุกุล คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ช่วงไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กำลังระบาดการตัดวงจรการแพร่เชื้อโรคที่สำคัญมากอยู่ที่ "มือ" ซึ่งเราสามารถป้องกันตนเองจากการติดเชื้อหวัดทุกชนิดได้โดยการล้างมือด้วยน้ำสบู่บ่อยๆ นอกจากนั้นยังพบว่ายังต้องล้างก๊อกน้ำบ่อยๆ อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่สาธารณะ เช่น ห้างสรรพสินค้า เนื่องจากต้องใช้มือสัมผัสก๊อกน้ำ (ถ้าไม่ล้างก๊อก... เชื้อจะติดต่อกันผ่านก๊อกน้ำได้อีกทางหนึ่ง) การล้างมือ ควรทำบ่อยแค่ไหน นักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์แนะนำไว้ดังนี้(1). อย่างน้อย 6 ครั้ง/วันขึ้นไป ก่อนกินอาหาร, ก่อนดื่มน้ำ, หลังออกจากห้องน้ำ (2). หลังออกจากระบบขนส่งมวลชน เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้า รถใต้ดิน ฯลฯ (3). หลังเลิกงาน (4). ก่อนเข้าบ้าน (5). หลังสัมผัสกับมือคนอื่น  นอกจากล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำกับสบู่แล้ว เพื่อให้มั่นใจว่าเชื้อไวรัสที่อาจปนเปื้อนมือจะถูกกำจัดออกได้หมดจด ควรที่จะใช้แอลกอฮอล์เจลเช็ดตามอีกด้วย เหตุผลทางการแพทย์คือ แอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไปสามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์และไวรัสได้ผล ดังนั้นการพกพาแอลกอฮอล์เจลติดไว้ในกระเป๋าเมื่อออกนอกบ้าน จึงเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงเวลาการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ 2009 การใช้แอลกอฮอล์เจล สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ แอลกอฮอลจะดึงดูดเอาความชุ่มชื้นจากฝ่ามือเราไปหมด ยิ่งใช้บ่อยเท่าไหร่ มือก็จะแห้งมากเท่านั้น ดังนั้นเราจึงควรเลือกซื้อแอลกอฮอล์เจลที่ประกอบไปด้วยสารให้ความชุ่มชื้นผิวด้วย เพราะถ้าหากฝ่ามือแห้งกร้านเนื่องจากทาแอลกอฮอล์วันละหลายๆ รอบทุกๆ วัน ผิวหนังจะแห้งแตก ทำให้เชื้อโรคเข้าร่างกายได้ทันที ดังนั้นต้องหมั่นล้างมือแต่อย่าให้ฝ่ามือแห้งและแตกเป็นอันขาดการทำแอลกอฮอล์เจลใช้เอง สูตรง่ายๆที่ทุกคนสามารถทำเองเพื่อใช้เองได้ ดังนี้สูตรที่ 1 แอลกอฮอล์ (เอทิลแอลกออฮอล์) 70 ซีซี กลีเซอร์ลีน  10-15 ซีซี น้ำสะอาด 10-20 ซีซี น้ำหอมเล็กน้อย สารที่ให้ความชุ่มชื้นผิวหนังคือกลีเซอร์ลีน ผู้ที่อยากให้มือชุ่มชื้นมาก ก็สามารถเพิ่มปริมาณเป็น 20% แต่หากใส่มากอาจรู้สึกเหนียวมือได้ แต่ถ้าชอบก็ไม่มีผลเสียต่อสูตรอย่างไร การหาซื้อวัตถุดิบ สามารถหาซื้อได้จากร้านจำหน่ายวัตถุดิบทางเครื่องสำอาง เช่น ที่เยาวราช หรือร้ายขายยาทั่วไป สูตรที่ให้นี้ทำได้ง่ายๆ เพียงตวงแอลกอฮอล์ กลีเซอร์ลีน และน้ำสะอาดผสมให้เข้ากันในภาชนะตวง คนให้เข้ากัน หากต้องการปรุงแต่งด้วยน้ำหอม ก็สามารถเติมได้เลยเมื่อผสมส่วนผสมเสร็จแล้ว ผู้ที่มีขวดน้ำหอมเปล่าอยู่ สามารถนำส่วนผสมแอลกอฮอล์มาเติมใส่ขวด สำหรับพกพาและฉีดพ่นใส่มือเพื่อทำความสะอาด สูตรนี้จะเป็นแอลกอฮอล์เหลว ไม่ข้น   สูตรที่ 2 ในสูตรนี้จะมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับสูตรแรก เพียงแต่เพิ่มผงแป้งชื่อคาร์โบเมอร์ เพื่อช่วยทำให้ส่วนประกอบในสูตรตำรับข้นเหนียวเป็นเจลเท่านั้น วิธีการผสม ต้องชั่งผงคาร์โบเมอร์ลงในภาชนะ เติมกลีเซอร์ลีน และคนให้ผงแป้งแตกกระจายอย่างละเอียด ไม่ให้จับเป็นก้อน ค่อยๆ เติมน้ำสะอาดลงทีละน้อยพร้อมกับคนให้ส่วนผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน เติมน้ำสะอาดจนหมดในขั้นตอนนี้ จากนั้นจึงเทแอลกอฮอล์ที่ตวงไว้แล้วลงไปทีละน้อยพร้อมกับคนให้เข้ากันจนหมด ในขั้นตอนสุดท้าย เราจะปรับส่วนผสมด้วยด่างเพียงเล็กน้อยประมาณ 1-2 กรัม การเติมด่างทีอีเอ ควรเติมทีละน้อยเป็นหยดก็จะดีที่สุด เติมไปคนไปจนถึงจุดหนึ่งที่สังเกตได้ชัดเจนว่า ส่วนผสมจะเปลี่ยนสภาพจากขุ่นเป็นใสแจ๋ว จึงหยุดเติมด่าง เราสามารถเติมน้ำหอมได้เล็กน้อยตามใจชอบ แต่หากเติมน้ำหอมมากเกินไป จะทำให้เจลขุ่นได้ทั้งสูตรที่ 1 และ สูตรที่ 2 สามารถทำเก็บไว้ใช้ได้นาน แต่ต้องเก็บในขวดหรือภาชนะปิด เพราะแอลกอฮอล์ระเหยได้ง่าย นอกจากนี้ควรจะเก็บให้พ้นมือเด็ก และติดฉลากสีแดงได้ก็ดีเพื่อเป็นการบอกไว้ สำหรับใช้ภายนอกร่างกายเท่านั้น ข้อควรระวัง สำหรับผู้ที่สนใจทำ อยากแนะนะสูตรที่ 1 ส่วนสูตรที่ 2 ต้องใช้ด่างทีอีเอ ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะมีฤทธิ์เป็นด่างสูง ถูกผิวหนังจะระคายเคืองและไหม้ได้ จึงไม่แนะนำให้ทำสูตรนี้สำหรับแม่บ้านทั่วไป

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 171 กระแสต่างแดน

ดื่มตามลำดับทิม ฮันท์ บรรณาธิการร่วมของนิตยสาร Ethical Consumer ชักชวนให้คนอังกฤษเปลี่ยนจากการเดินเข้าร้านกาแฟใหญ่ๆ ด้วยความเคยชิน ไปอุดหนุนร้านกาแฟอิสระเจ้าเล็กบ้างการสำรวจโดยนิตยสารดังกล่าวพบว่าร้านอย่างสตาร์บัคส์  คอสตา  หรือคาเฟ่เนโร ได้คะแนนจริยธรรมการประกอบการในอันดับต่ำมากเมื่อเทียบกับร้านกาแฟเจ้าเล็กกว่าในขณะที่ร้านที่ได้คะแนนความเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 3 อันดับต้นคือ ร้านโซโห คอฟฟี่  เอสไควร์ คอฟฟี่ และเอเอ็มที คอฟฟี่  คุณฮันท์เขาบอกว่าร้านพวกนี้ไม่เคยเลี่ยงภาษี แถมยังใช้เมล็ดกาแฟที่จัดซื้อมาด้วยราคาเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านโซโห ที่ใช้ชา กาแฟ และผงโกโก้ที่มีตรารับรอง “Fairtrade” หรือ “การค้าที่เป็นธรรม” ทั้งสิ้น หรือร้านเอเอ็มที ที่ใช้นมออร์กานิกเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มในทางกลับกัน ร้านใหญ่อย่างสตาร์บัคส์ กลับละเมิดข้อตกลงกับสหภาพแรงงาน ยกเลิกการจ่ายค่าจ้างในช่วงพักกลางวัน และไม่แสดงจุดยืนให้ชัดเจนว่าจะจัดหาน้ำมันปาล์มจากแหล่งที่ถูกที่ควร ส่วนคาเฟ่เนโร และคอสตา คอฟฟี่ ก็แทบไม่มีหลักฐานการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเลย    ที่สำคัญ สามเจ้านี้มีสาขารวมกันไม่ต่ำกว่า 3,000 สาขาทั่วอังกฤษจะไม่บอกก็กระไรอยู่ว่าเจ้าที่ได้คะแนนต่ำสุดคือ Harris + Hoole ของเทสโก ที่สร้างภาพว่าเป็นแบรนด์กาแฟอิสระ เจ้านี้ไม่มีข้อมูลด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม จริยธรรม หรือการจัดซื้อที่ชัดเจนเลย     ขอถนนเพื่อคนเดินบ้าง“ร้อยละ 92 ของผู้คนที่ใช้รถใช้ถนนในซิดนีย์ทุกวันนี้เป็นคนเดินเท้า แต่ทำไมพวกเขาถึงถูกปฏิบัติต่อราวกับเป็นพลเมืองชั้นสอง” นี่เป็นคำถามจาก โคลเวอร์ มัวร์ ผู้ว่าการเมืองซิดนีย์  เธอยังสงสัยต่อไปว่า ทำไมเวลาในการยืนรอข้ามถนนถึงนานกว่าระยะเวลาที่รถติด ระยะเวลาที่ให้เดินข้ามก็สั้นกว่าเวลาที่ปล่อยให้รถวิ่ง ... เราจัดลำดับอะไรผิดหรือเปล่า?คงมีหลายคนข้องใจเหมือนๆกัน จึงทำให้ในที่สุดเทศบาลเมืองซิดนีย์วางแผนจะเพิ่มและปรับปรุงทางเท้าและทางข้ามถนน โดยใช้เงินปีละไม่ต่ำกว่า 15 ล้านเหรียญ (ประมาณ 400 ล้านบาท)โครงการที่ใช้งบประมาณทั้งหมด 60 ล้านเหรียญ (1,600 ล้านบาท) นี้ มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มจำนวนผู้เดินทางด้วยเท้า ลดเวลาการเดินทาง ขยายทางเท้า และทำให้การทางเดินไปยังร้านค้าต่างๆ สะดวกสบายขึ้น ที่สำคัญคือต้องลดอุบัติเหตุรถยนต์ที่เกิดกับคนเดินเท้าลงให้ได้ร้อยละ 50 แม้ว่าจำนวนคนถูกรถชนจะลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ตัวเลขในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาก็ยังน่าตกใจ เช่น ในรัศมี 400 เมตรจากสถานีรถไฟเซ็นทรัล มีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 131 คน และในรัศมี 300 เมตรจากศาลาว่ากลางเมืองซิดนีย์มีคนเดินที่ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนถึง 142 คน ดราม่าบะหมี่ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเคยเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตของผู้คนทั้งในจีนและประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เพราะทั้งสะดวก อร่อย และถูกคนจีนบริโภคบะหมี่ดังกล่าวปีละ 40,000 ล้านซอง (ครึ่งหนึ่งของบะหมี่ที่ชาวโลกบริโภค) แต่เสน่ห์ของอาหารเส้นชนิดนี้ลดลงอย่างฮวบฮาบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนรายได้น้อย ข่าวบอกว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2014 ยอดขายลดลงร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เพราะคนจีนเริ่มมองว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารขยะ ที่อาจทำให้เป็นโรคหัวใจได้ถ้าบริโภคบ่อยเกินไป ปัจจุบันจีนมีผู้ผลิตบะหมี่เจ้าใหญ่อยู่เพียง 2 ราย ได้แก่ Uni-President China และ Master Kong (บริษัทบะหมี่ถึงร้อยละ 90 ปิดกิจการไปในช่วงปี 2000 ถึง 2010) นอกจากนี้รายงานจากนีลเซนยังพบว่า ร้อยละ 75 ของผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจ ยินดีจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้ได้อาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาหารที่ไม่มีสารปรุงแต่ง หรือไม่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรมด้วย   นอกจากความกังวลเรื่องสุขภาพแล้ว การสำรวจโดย China Confidential ยังพบว่า แรงงานต่างชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มที่บริโภคบะหมี่สำเร็จรูปมากที่สุด มีการย้ายถิ่นฐานไปทำงานในเมืองเล็กๆ ในขณะที่บริษัทบะหมี่ยังคงทำการตลาดอยู่ในเมืองใหญ่เท่านั้นแต่เดี๋ยวก่อน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไฮเอนด์ที่นำเข้าจากเกาหลียังได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย เพราะกระแสความนิยมละครทีวีของเกาหลีที่ยังแรงไม่หยุดนั่นเอง บิดลดควันเวียดนามมีแผนจะทำให้ร้อยละ 20 ของรถจักรยานยนต์ลดการปล่อยควันเสียลงให้ได้ภายในปี 2013 แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ จึงต้องเริ่มกันใหม่ ด้วยมาตรการตรวจควันเสียดานังจะเป็นเมืองแรกที่มีมาตรการบังคับดังกล่าว นี่คือข้อเสนอต่อกระทรวงขนส่งที่ระบุว่าตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2018 เป็นต้นไป เจ้าของรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งาน 10 ปีขึ้นไป จะต้องนำรถเข้ารับการตรวจควันปีต่อมาจะขยายผลไปยังรถที่อายุ 5 ปีขึ้นไป และภายในปี 2020 แผนนี้จะถูกนำไปใช้ในเมืองฮานอย ไฮฟอง เกิ่นเทอ และโฮจิมิห์นซิตี้ ด้วยเจ้าของรถคันที่ตรวจแล้วไม่ผ่าน จะต้องนำไปปรับปรุงแล้วมารับการตรวจวัดใหม่ ถ้าผ่านก็จะได้ตรารับรองไป ใครไม่ยอมปรับปรุงและยังขับขี่รถที่ไม่มีตรารับรอง ก็จะโดนปรับชาวบ้านโอดว่าค่าธรรมเนียมรถมอเตอร์ไซค์ที่จ่ายอยู่จะไม่ยิ่งสูงไปกว่าเดิมหรือ แต่ทางการยืนยันว่าค่าตรวจสอบรายปีนั้นไม่เกิน 150,000 ดอง (230 บาท) ว่าแล้วเขาก็บอกว่ากำลังจะขอความร่วมมือจาก ฮอนดา ซูซูกิ พิอาจิโอ และยามาฮา ให้ช่วยตั้งสถานีตรวจควันด้วยสาเหตุที่เลือกดานังเป็นเมืองแรกเพราะขนาดประชากรที่พอเหมาะ (1 ล้านคน) และการบริหารจัดการที่ดีของหน่วยงานรัฐ และเมืองนี้มีจักรยานยนต์ 713,000 คัน งดขายงดดื่ม         พรรคอิสลามของอินโดนีเซียเสนอให้มีการห้ามผลิต ขาย หรือบริโภคเครื่องดื่มทุกชนิดที่มีแอลกอฮอลมากกว่าร้อยละ 1 และให้มีโทษจำคุกถึง 2 ปีสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนผู้เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมายฉบับนี้ที่อาจจะประกาศใช้ภายในสิ้นปี 2015 ระบุว่า การห้ามดังกล่าวเป็นไปเพื่อสุขภาพมากกว่าเรื่องของศีลธรรม แต่มียังข้อห่วงใยเรื่องผลกระทบต่อการท่องเที่ยว รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจของเขาบอกว่าอาจจะต้องยกเว้นให้กับโรงแรมห้าดาวและเกาะบาหลี เพราะ “คนตะวันตกนั้น มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต”ด้านสมาคมผู้ผลิตก็บอกว่าการสั่งแบนดังกล่าวอาจทำให้มีคนตกงานกว่า 200,000 คนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมายอดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ทั้งเบียร์สัญชาติอินโดนีเซียอย่าง บินตัง (ซึ่งผู้ถือหุ้นใหญ่คือไฮเนเก้น) ไปจนถึงเครื่องดื่มของผู้ประกอบการจากต่างประเทศอย่างคาร์ลสเบิร์กและดีอาจิโออินโดนีเซียมีประชากร 250 ล้านคน และมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก อัตราการบริโภคแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ ปัจจุบันรั้งอันดับ 10 ของเอเชีย 

อ่านเพิ่มเติม >