ฉบับที่ 276 SAANSOOK สานสุขกายสุขใจ

        ยุคสมัยเปลี่ยนไปขนาดไหน โลกจะหมุนวันเวลาไปนานมากเท่าไร ยังคงมีสิ่งหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนใฝ่ฝันที่อยากจะเป็น นั่นคือ การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ หรือประโยคที่ว่า การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ซึ่งไม่มีใครปฏิเสธประโยคนี้ได้จริงๆ      การจะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงได้ ต้องดูแลรักษาสุขภาพตั้งแต่การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ไปจนถึงการรักษาสุขภาพใจให้มีความสุข โดยฉบับนี้มาแนะนำตัวช่วยในการควบคุมดูแลเพื่อวางแผนสุขภาพอย่างใกล้ชิดบนสมาร์ทโฟนที่สามารถพกพาติดตัวได้ตลอดเวลา อย่างแอปพลิเคชัน SAANSOOK ที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งระบบปฏิบัติการ Android และระบบปฏิบัติการ iOS         มารู้จักแอปพลิเคชัน “SAANSOOK” หรือ “สานสุข” กัน โดยพัฒนาขึ้นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และภาคีเครือข่าย แค่ชื่อก็รู้ได้เลยว่าเป็นแอปพลิเคชันที่มาช่วยให้การดำเนินชีวิตที่เคร่งเครียด ให้ผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งแอปฯ นี้จะมาเป็นผู้ช่วยที่จะทำให้มองเห็นสถานการณ์สุขภาพปัจจุบันของผู้ใช้แอปฯ ชัดเจนขึ้น และคอยวางแผน บริหารจัดการ และแนะนำด้านสุขภาพอย่างใกล้ชิด ทั้งการกิน การนอน การออกกำลังกาย และการรักษาสุขภาพใจให้มีความผ่อนคลาย ออกมาในรูปแบบของข้อมูลตัวเลขและเชื่อถือได้         เบื้องต้นแอปพลิเคชันจะให้กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวเพื่อเก็บเป็นประวัติ ได้แก่ วันเกิด เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง สัดส่วนรอบเอว และสอบถามเพิ่มเติมถึงพฤติกรรมการออกกำลังกาย โรคประจำตัว เป้าหมายสุขภาพที่ให้เลือก ได้แก่ เป้าหมายการลดน้ำหนัก เป้าหมายในการรักษาน้ำหนัก หรือเป้าหมายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ โดยแอปพลิเคชันจะให้กรอกตัวเลขเพื่อกำหนดเป้าหมายต่างๆ เมื่อกรอกเสร็จสิ้นจะเข้าสู่หน้าหลักที่มีหมวดสำคัญดังนี้ หมวดภาพรวมสุขภาพ เป็นหมวดรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติของพลังงาน ปริมาณการกินอาหารและน้ำ ชั่วโมงการนอนพักผ่อน และหมวดแนะนำเพื่อคุณ เป็นหมวดที่รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อแนะนำการกิน การนอน การออกกำลังกาย ซึ่งในหมวดนี้เหมาะสำหรับสายควบคุมน้ำหนักอย่างมาก         ในส่วนของการบันทึกการกินจะอยู่ในหมวดภาพรวมสุขภาพ โดยจะให้บันทึกมื้ออาหารในแต่ละมื้อ จากนั้นแอปพลิเคชันจะคำนวณปริมาณแคลอรี่ของอาหารแต่ละประเภทนั้นให้เห็นชัดเจนว่ามีคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันรวม ไขมันอิ่มตัว ไฟเบอร์ น้ำตาล และโซเดียม ในปริมาณเท่าใด การคำนวณแคลอรี่และคำนวณข้อมูลเมนูอาหารเหล่านี้ จะช่วยทำให้ผู้ใช้รู้เท่าทันและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้มีคุณภาพได้         นอกจากนี้ ยังสามารถบันทึกการดื่มน้ำ เพื่อให้สามารถวางแผนการดื่มน้ำในแต่ละวันให้เพียงพอ และบันทึกความผ่อนคลาย เพื่อให้รู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการรักษาดูแลและเยียวยาจิตใจให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีอย่างสม่ำเสมอ         ลองดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SAANSOOK เพื่อสานสุขทั้งกายและใจ กันดูนะคะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 275 ฝึกฝนภาษาบนสมาร์ทโฟนด้วยปลายนิ้ว

        การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใดก็ตาม เมื่อได้เรียนรู้ ทักษะความสามารถย่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเป็นการเรียนรู้ผ่านห้องเรียนเท่านั้น การอ่านหนังสือ การอ่านข้อมูลจากแหล่งต่างๆ การเล่าสู่กันฟัง การอธิบายยกตัวอย่าง ฯลฯ รวมถึงการฝึกฝนทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจก็เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เช่นกัน         ปัจจุบันภาษาเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้นทุกที โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาสากลที่ช่วยในการสื่อสารกันทั่วโลก ดังนั้นการมีความรู้ความเข้าใจในภาษาอังกฤษ ทั้งทางด้านการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน ก็มีความสำคัญอย่างมาก        ฉบับนี้มาแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องใช้ทักษะด้านการอ่าน การเขียน และการฝึกพูด ด้วยแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า Johnny Grammar Word Challenge ของ British Council ซึ่งเป็นองค์กรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ แอปพลิเคชันนี้เป็นการทดสอบคำศัพท์ การสะกดคำ และไวยากรณ์สำหรับภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของผู้เรียนภาษาอังกฤษ โดยทดสอบผ่านการทำแบบฝึกหัดจากการแข่งขันกับเวลาภายในระยะเวลา 60 วินาที การเข้าใช้แอปพลิเคชัน ผู้ใช้สามารถเลือกลงทะเบียนเข้าใช้โดยการกรอกข้อมูลส่วนตัว หรือเข้าใช้ผ่าน facebook หรือเลือกเข้าใช้แบบ guest ซึ่งไม่ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว โดยภายในแอปพลิเคชันจะมีหมวดการทดสอบ 3 หมวด ได้แก่ หมวด Grammar (ไวยากรณ์) หมวด Words (คำศัพท์) และหมวด Spelling (สะกดคำ)         หมวด Grammar เป็นหมวดที่ทดสอบด้านไวยากรณ์ แบ่งตามหัวข้อจากระดับง่ายไปจนถึงระดับยาก ดังนี้ หัวข้อคำบุพบท (preposition) หัวข้อกริยาไม่ปกติ (Irregular verbs) หัวข้อคำคุณศัพท์และคำกริยาวิเศษณ์ (Adjectives & adverbs) หัวข้อคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้ (Countable and uncountable) หัวข้อกริยาที่มี  to และไม่มี  to หรือกริยาที่เติม ing และใช้แบบ noun (Infinitives or gerunds) หัวข้อการใช้คำ More or less หัวข้อเกี่ยวกับสี (Expression with colour) หัวข้อการใช้คำ Few and little หัวข้อคำวิเศษณ์ (Adverbial Clauses) หัวข้อกริยาช่วย (Modals) หัวข้อคำเชื่อม (Linkers) และหัวข้อคำสันธาน (Conjunctions)         หมวด Words (คำศัพท์) เป็นหมวดที่ทดสอบด้านคำศัพท์ แบ่งตามหัวข้อตามกิจกรรม ดังนี้ หัวข้อร้านอาหาร หัวข้อการท่องเที่ยว หัวข้อการสนทนาสั้นๆ หัวข้องานอดิเรก หัวข้อคำ idioms หัวข้อแสดงความเป็นตัวตน หัวข้อความสนใจ หัวข้อการทำงาน หัวข้อการสนทนาง่ายๆ และหัวข้อช้อปปิ้ง ส่วนหมวด Spelling เป็นหมวดที่ทดสอบด้านการสะกดคำ เมื่อกดในหมวดนี้แอปพลิเคชันจะนำไปสู่การทดสอบโดยกำหนดโจทย์ในรูปแบบประโยคและให้ผู้ใช้เลือกคำให้เหมาะสม ซึ่งในหมวดนี้จะเป็นการทบทวนการใช้ประโยคไปในตัว ทั้งนี้เมื่อจบบททดสอบการสะกดคำแล้ว แอปพลิเคชันจะสรุปและเฉลยคำตอบทีละข้อเพื่อให้ตรวจสอบและทำความเข้าใจอีกครั้งมาฝึกฝนเพื่อเพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษกันผ่านแอปพลิเคชันนี้กัน เพราะการเรียนและฝึกฝนทุกวันจะช่วยพัฒนาศักยภาพของเราได้อย่างแน่นอน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 274 Click ชุมชนด้วยแอปพลิเคชัน

        ด้วยโอกาสอันดีในช่วงวันหยุดยาวของเทศกาลปีใหม่นี้ เหล่าพนักงานเงินเดือนหลายคนได้วางแผนเดินทางท่องเที่ยวก่อนที่จะเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัดกัน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะได้หนุดพักเหนื่อยและชาร์จพลังงานกลับคืนมาหลังจากที่นั่งทำงานมาทั้งปี ฉบับนี้ขอมาแนะนำนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบเดินทางท่องเที่ยวในแหล่งชุมชน ชื่นชอบการช้อปปิ้งผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ผู้ที่มองหาของขวัญปีใหม่ควบคู่กับการสนับสนุนรายได้ให้กับคนในพื้นที่ จากแอปพลิเคชัน Click ชุมชน         แอปพลิเคชัน “Click ชุมชน” นี้เกิดขึ้นจากการประชุมขับเคลื่อนการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน ของกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย เป็นแพลตฟอร์มบริการดิจิทัลเพื่อให้ภาคีเครือข่ายการพัฒนาและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายสะดวก รวดเร็วและใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตและพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น สามารถดาวน์โหลดฟรีได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และระบบปฏิบัติการ Android         หลังจากดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน สามารถเลือกลงทะเบียนเข้าใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น ผ่าน Line ผ่าน E-mail เป็นต้น ซึ่งภายในแอปพลิเคชันจะพบกับเมนู 13 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 เมนู CDD พาเที่ยว เพื่อให้ข้อมูลการเข้าถึงชุมชนท่องเที่ยว Virtual Tours เที่ยวเสมือนจริง GIS ชุมชนท่องเที่ยว และ Trip ท่องเที่ยว ในเมนูนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยว โดยสามารถเลือกสถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละจังหวัด และเลือกเชื่อมต่อเส้นทางไปยัง Google Map ได้ หมวดที่ 2 เมนู Shop ชุมชน ที่ช่วยรวบรวมแหล่งรวมสินค้า OTOP ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมาไว้ในแอปพลิเคชัน เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการค้นหา พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมการสร้างรายได้ของคนในชุมชนอีกด้วย         หมวดที่ 3 เมนูสมัครสมาชิก OTOP หมวดนี้มีไว้สำหรับผู้ประกอบการออนไลน์ ที่ผู้ใช้แอปพลิเคชันสามารถตรวจสอบรายชื่อและสมัครสมาชิก OTOP เพื่อรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ผ่านเมนูนี้ได้ หมวดที่ 4 เมนู 108 อาชีพ เพื่อเสริมทักษะอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับพี่น้องประชาชน โดยสามารถเลือกเรียนหลักสูตรในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ หมวดที่ 5 เมนูกองทุนฯ สตรี สมัคร/ตรวจสอบสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี หมวดที่ 6 เมนูปราชญ์ชุมชน รวบรวมองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญของปราชญ์ชุมชน หมวดที่ 7 เมนูโคกหนองนา ข้อมูลแปลง ครัวเรือนต้นแบบ องค์ความรู้และข่าวสารต่างๆ หมวดที่ 8 เมนูความรู้ชุมชน แหล่งรวบรวมองค์ความรู้ ฐานเรียนรู้ในรูปแบบ e – Book         หมวดที่ 9 เมนูมีทุน รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ สื่อการเรียนรู้ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน หมวดที่ 10 เมนู Big Data ฐานข้อมูลขนาดใหญ่การพัฒนาชุมชน มีการวิเคราะห์และเเสดงผลข้อมูลในรูปแบบกราฟ หมวดที่ 11 เมนู Do คนไทย สามารถตรวจสอบคุณภาพชีวิตจากข้อมูล จปฐ. ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก หมวดที่ 12 เมนู Do ชุมชน ข้อมูลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน และความเข้มแข็งของชุมชน หมวดที่ 13 เมนูเขื่อนชุมชน สามารถตรวจสอบฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก         ช่วงวันหยุดยาวปีนี้ มาเลือกเดินทางท่องเที่ยวผ่านแอปพลิเคชัน “Click ชุมชน” กันดู เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ของคนในชุมชน แถมผลักดันเศรษฐกิจในประเทศให้เติบโตได้อีกทาง        หมวดที่ 3 เมนูสมัครสมาชิก OTOP หมวดนี้มีไว้สำหรับผู้ประกอบการออนไลน์ ที่ผู้ใช้แอปพลิเคชันสามารถตรวจสอบรายชื่อและสมัครสมาชิก OTOP เพื่อรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ผ่านเมนูนี้ได้ หมวดที่ 4 เมนู 108 อาชีพ เพื่อเสริมทักษะอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับพี่น้องประชาชน โดยสามารถเลือกเรียนหลักสูตรในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ หมวดที่ 5 เมนูกองทุนฯ สตรี สมัคร/ตรวจสอบสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี หมวดที่ 6 เมนูปราชญ์ชุมชน รวบรวมองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญของปราชญ์ชุมชน หมวดที่ 7 เมนูโคกหนองนา ข้อมูลแปลง ครัวเรือนต้นแบบ องค์ความรู้และข่าวสารต่างๆ หมวดที่ 8 เมนูความรู้ชุมชน แหล่งรวบรวมองค์ความรู้ ฐานเรียนรู้ในรูปแบบ e – Book         หมวดที่ 9 เมนูมีทุน รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ สื่อการเรียนรู้ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน หมวดที่ 10 เมนู Big Data ฐานข้อมูลขนาดใหญ่การพัฒนาชุมชน มีการวิเคราะห์และเเสดงผลข้อมูลในรูปแบบกราฟ หมวดที่ 11 เมนู Do คนไทย สามารถตรวจสอบคุณภาพชีวิตจากข้อมูล จปฐ. ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก หมวดที่ 12 เมนู Do ชุมชน ข้อมูลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน และความเข้มแข็งของชุมชน หมวดที่ 13 เมนูเขื่อนชุมชน สามารถตรวจสอบฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก         ช่วงวันหยุดยาวปีนี้ มาเลือกเดินทางท่องเที่ยวผ่านแอปพลิเคชัน “Click ชุมชน” กันดู เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ของคนในชุมชน แถมผลักดันเศรษฐกิจในประเทศให้เติบโตได้อีกทาง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 273 อ่านหนังสือผ่านแอปพลิเคชันลัดกับ “สรุปให้อ่าน”

        ปฏิเสธไม่ได้ว่าการอ่านหนังสือเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มพูนและพัฒนาความรู้ของทุกคนตั้งแต่เกิด ควบคู่ไปกับการสะสมจากการเรียนรู้และจากการสั่งสอนจากบุคคลรอบข้าง จากข้อมูลสถิติย้อนหลังของงานหนังสืออย่างมหกรรมหนังสือระดับชาติ ในปี 2562 จัดที่ ‘อิมแพ็ค เมืองทองธานี’ มีบูทหนังสือ 888 บูท ผู้เข้าร่วมงาน 937,877 คน ยอดขายอยู่ที่ 250,301,842 บาท ในปี 2563 จัดที่ ‘อิมแพ็ค เมืองทองธานี’ มีบูทหนังสือ 746 บูท ผู้เข้าร่วมงาน 556,053 คน ยอดขายอยู่ที่ 192,005,641 บาท ในปี 2564 จัดในรูปแบบออนไลน์ และในปี 2565 จัดที่ ‘ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์’ มีบูทหนังสือ 819 บูท ผู้เข้าร่วมงาน 1,355,893 คน ยอดขายอยู่ที่ 347,331,734 บาท         จากข้อมูลสถิติจะเห็นได้ว่าคนไทยไม่ได้อ่านหนังสือน้อยลงและยังคงชื่นชอบการอ่านกันอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกันกลุ่มที่ไม่ได้ชื่นชอบการอ่านหนังสือเป็นเล่มๆ หรือกลุ่มคนที่ไม่มีเวลา หรือกลุ่มคนที่ไม่มีทุนทรัพย์มากพอ แต่ใจรักที่จะเรียนรู้ผ่านตัวหนังสือก็มีอยู่จำนวนไม่น้อยเช่นกัน ลองมาดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า “สรุปให้อ่าน” นี้กันดู         แอปพลิเคชัน “สรุปให้อ่าน” มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันความรู้ โดยตั้งใจทำให้การอ่านหนังสือหนึ่งเล่มเป็นเรื่องง่าย นำความรู้ในแต่ละเล่มมาย่อยในรูปแบบง่ายๆ สรุปเรื่องน่ารู้ให้อยู่ในกระดาษหนึ่งใบ เพื่อประหยัดเวลา แต่ยังได้ข้อมูลความรู้ได้อัดแน่น จะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบอ่านสรุป ซึ่งเป็นการสรุปหนังสือด้วยภาพที่เข้าใจง่าย อ่านจบใน 8 นาทีต่อเล่ม และแบบฟังผ่าน Podcast ซึ่งสรุปสาระสำคัญของหนังสือผ่านเสียง ฟังจบใน 8 นาทีต่อเล่ม         เมื่อดาวน์โหลดมาไว้บนสมาร์ทโฟนเรียบร้อยแล้ว ขั้นแรกให้สมัครสมาชิกโดยใช้อีเมล เมื่อเข้าไปภายในแอปพลิเคชันจะเห็นเมนู 5 หมวด ได้แก่ หมวดหน้าหลัก หมวดหมู่ หมวดคอร์ส หมวดชั้นหนังสือ และหมวดบัญชี ซึ่งแต่ละหมวดมีรายละเอียดดังนี้ หมวดหน้าหลัก จะแนะนำหนังสือที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมในแต่ละสัปดาห์ หมวดหมู่ จะแบ่งหมวดหมู่หนังสือเพื่อให้ผู้ใช้แอปพลิเคชันเลือกเฉพาะหัวข้อที่สนใจ ซึ่งมีอยู่ 10 หมวด ได้แก่ หมวดจิตวิทยาพัฒนาตนเอง หมวดการศึกษา หมวดการเงินการลงทุน หมวดวิทยาการและเทคโนโลยี หมวดอัตชีวประวัติและชีวประวัติ หมวดอาหารและสุขภาพ หมวดความรู้ทั่วไป หมวดแม่และเด็ก หมวดบริหารและการตลาด และหมวด HOW TO ส่วนหมวดคอร์ส จะเป็นการเรียนออนไลน์ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างเข้มข้น และหมวดชั้นหนังสือ จะเป็นส่วนที่ผู้ใช้แอปพลิเคชันเลือกหนังสือที่สนใจเข้าชั้นหนังสือส่วนตัว         ในรายละเอียดของหนังสือหนึ่งเล่ม จะบอกถึงชื่อนักเขียน สำนักพิมพ์ จำนวนผู้อ่าน ชื่อผู้สรุป ข้อมูลสรุปที่นำเสนอเป็นอินโฟกราฟฟิก ในกรณีที่หนังสือเล่มนั้นมี Podcast ก็จะปรากฎสัญลักษณ์ Play ให้เป็นตัวเลือกเพิ่มเติม เมื่อผู้อ่านรู้สึกชื่นชอบหนังสือเล่มใด ให้กดสัญลักษณ์รูปหัวใจที่อยู่ด้านขวามือ หลังจากนั้นแอปพลิเคชันจะบันทึกหนังสือเล่มนั้นไปวางไว้บนหมวดชั้นหนังสือในเมนูหนังสือที่ชื่นชอบทันที         เมื่อหลายคน ไม่มีเวลาอ่าน อ่านไม่เคยจบ อ่านไม่เข้าใจ ฯลฯ แต่อยากได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แอปพลิเคชัน “สรุปให้อ่าน” ตอบโจทย์ได้ดีที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 272 ความเคลื่อนไหวเดือนตุลาคม 2566

อย. เรียกคืนยาความดันโลหิต “เออบีซาแทน”        หลังจากกรณีที่ต่างประเทศมีการเรียกคืนยาความดันโลหิตสูง(เออบีซาแทน) เนื่องจาก บริษัทผู้ผลิตพบการปนเปื้อนสารที่อาจก่อมะเร็งในวัตถุดิบที่ใช้ผลิตยานั้น         ด้าน นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา จึงเร่งให้บริษัทผู้ผลิตตรวจสอบพร้อมทั้งเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบที่ไม่ปนเปื้อน พร้อมกับการเฝ้าระวังในท้องตลาด โดยทาง อย.ได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า วัตถุดิบบางรุ่นปนเปื้อนสารที่อาจก่อมะเร็งเกินเกณฑ์สากล จึงได้เรียกเก็บคืนยาสำเร็จรูปที่ใช้วัตถุดิบปนเปื้อน พร้อมเรียกคืนไปยังโรงพยาบาล คลินิก ร้านยาต่างๆ และประสานให้ผู้ผลิตเปลี่ยนยาเป็นรุ่นที่ผลิตอื่นที่ปลอดภัย นอกจากนี้ ยาความดันโลหิตที่ปนเปื้อนสารที่อาจก่อมะเร็งพบเพียงเฉพาะบางรุ่นการผลิตเท่านั้น และยาที่เรียกคืนมีทั้งหมด 42 รุ่นการผลิต จาก 5 บริษัท ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ใช้ยาดังกล่าวไม่ควรหยุดยาทันที เนื่องจากเป็นยาที่ต้องใช้อย่างต่อเนื่อง แนะนำตรวจสอบยาที่ใช้อยู่หากเป็นรุ่นผลิตที่เรียกคืน ให้ปรึกษาแพทย์และเภสัชกร ตำรวจยึดตู้กดน้ำพืชสมุนไพรอัตโนมัติ (น้ำกระท่อม)        21 ตุลาคม 2566 ทางตำรวจ สภ.หาดใหญ่ ได้ยึดตู้กดน้ำดื่มพืชสมุนไพรแบบอัตโนมัติ 2 ตู้ ในพื้นที่บริเวณริมถนนราษฎร์อุทิศ ซอย 16 ถนนเพชรเกษม ซอย38 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา หลังจากมีผู้ร้องเรียนว่าทางตู้กดน้ำดื่มสมุนไพรอัตโนมัติดังกล่าว นอกจากขายน้ำดื่มพืชสมุนไพรแล้วยังมีการแฝงขายน้ำกระท่อมให้กับลูกค้าอีกด้วย        ลักษณะของตู้ดังกล่าว คือ ด้านหน้ามีสติ๊กเกอร์ระบุว่า "ตู้น้ำสมุนไพร" แก้วละ 10 บาท บริการทั้งน้ำ เก็กฮวย กระเจี๊ยบ และ น้ำพืชกระท่อม” และมีการติดตั้งให้บริการ มา 3-4 เดือนแล้ว หลังจากเรียกเจ้าของตู้กดน้ำมารับทราบข้อกล่าวหา ทางเจ้าของตู้ อ้างว่าไม่ทราบมาก่อนว่าขายน้ำต้มพืชกระท่อมผิดกฏหมาย เนื่องจากเห็นร้านค้าทั่วไปใน อ.หาดใหญ่ วางขายได้อย่างเสรี ทั้งนี้ ทางตำรวจ จึงได้แจ้งข้อหากับเจ้าของตู้น้ำพืชกระท่อมดัดแปลง ฐานความผิดขายน้ำกระท่อมโดยเครื่องช่วยขายอัตโนมัติ มีโทษปรับ 50,000 บาท คุมเข้ม แอปฯ ธนาคาร ห้ามล่มไม่เกิน 8 ชม./ปี        นายภิญโญ ตรีเพชราภรณ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับและตรวจสอบความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้เผยว่า ทางธนาคารจะมีการออกแก้ไขประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสารเทศของสถาบันการเงิน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งมีการระบุบทลงโทษ กรณีระบบขัดข้องนานเกินที่กำหนด โดยได้กำหนดว่าระบบโมบายแบงก์กิ้งขัดข้องหรือล่มได้ไม่เกิน 8 ชม./ปี หากเกินทางแบงก์ชาติจะมีบทลงโทษ ตามระดับความรุนแรง พร้อมทั้งตักเตือนให้แก้ไขดำเนินการปรับปรุง บทลงโทษปรับสูงสุด 500,000 บาท/ครั้ง ซึ่งหากไม่ดำเนินการปรับปรุงจะปรับ 5,000 บาท/วันศาลปกครองสูงสุดกลับคำสั่งศาลชั้นตั้นให้รับฟ้องได้ กรณีการควบรวม "ทรู - ดีแทค"        จากกรณีการควบรวม "ทรู - ดีแทค" ที่ภาคประชาชนออกมาต่อต้านเพราะเกรงว่าจะกลายเป็นการผูกขาดและผู้เสียประโยชน์คือประชาชน จึงเป็นที่มาของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคยื่นฟ้องศาลปกครองเมื่อมีนาคม 2566 นั้น ต่อมาศาลปกครองกลาง (ศาลปกครองชั้นต้น) ไม่รับคำฟ้อง ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด กระทั่งเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นให้รับคำฟ้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคคดีควบรวมทรู-ดีแทค แล้ว        ทั้งนี้ศาลปกครองสูงสุด เผยแพร่เอกสารลงวันที่ 4 ตุลาคม ออกคำสั่งให้ศาลปกครองชั้นต้นรับคำฟ้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่ฟ้องเอาผิดคณะกรรมกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เกี่ยวกับการควบรวมกิจการระหว่างผู้ให้บริการคลื่นความถี่โทรศัพท์มือถือ 2 ราย คือ ทรู และ ดีแทค โดยข้อความท้ายเอกสารระบุว่า "การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้น ศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นด้วย จึงมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้รับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณาพิพากษาตามรูปคดีต่อไป"        ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคฟ้องศาลปกครองชั้นต้นให้เพิกถอน มติ กสทช. ที่รับทราบและอนุญาตให้ ทรู และ ดีแทค ควบรวมกิจการกันเมื่อเดือนตุลาคม ปีก่อนหน้า อ้างว่า กสทช. ไม่มีอำนาจในการอนุญาตให้บริษัททั้ง 2 รายนี้กระทำการดังกล่าว แต่ต่อมาศาลปกครองชั้นต้นไม่รับคำฟ้องนี้ไว้ โดยให้เหตุผลหนึ่งว่า มาตรา 49 ของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง กำหนดให้ต้องฟ้องภายใน 90 วันหลังจากทราบว่ามีเหตุให้ฟ้อง แต่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทราบเรื่องนี้ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 แต่กว่าจะมาฟ้องคือวันที่ 8 มีนาคม 2566 ซึ่งพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว         อย่างไรก็ตาม ศาลปกครองสูงสุด เห็นว่ามติของ กสทช. เรื่องการควบรวมกิจการระหว่าง ทรู และ ดีแทค นี้ เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ จึงเข้าข่ายมาตรา 52 ของ พ.ร.บ. ดังกล่าว ที่อนุญาตให้ฟ้องเมื่อใดก็ได้ ไม่มีกำหนด         ทั้งนี้ ศาลปกครองสูงสุดให้เหตุผลว่า เมื่อผู้ฟ้องคดีเป็นมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองตามสิทธิ์อันพึงมีพึงได้ของผู้บริโภคและยังเป็นผู้ใช้บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จึงได้รับผลกระทบจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง         จึงถือเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจเดือดร้อนเสียหายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง การจะแก้ไข บรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับนั้นต้องมีคำบังคับของศาลปกครองตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (1) พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 โดยสั่งให้เพิกถอนมติของ กสทช.ดังกล่าว มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองตามมาตรา 49 วรรค 1 แห่งกฎหมายเดียวกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 272 BKK Rail รวมเส้นทางรถไฟฟ้า

        ระบบสาธารณูปโภค ด้านการให้บริการการเดินรถสาธารณะอย่างรถไฟฟ้า ได้เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปลายปี 2542 เพื่ออำนวยความสะดวกและอำนวยประโยชน์แก่ประชาชน ซึ่งระบบรถสาธารณะประเภทรถไฟฟ้า ได้เข้ามาเป็นตัวเลือกต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก โดยเฉพาะประชาชนรุ่นใหม่ที่นิยมเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นหลัก จนแทบจะไม่รู้จักการเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางกันแล้ว        เมื่อกล่าวถึงการเดินทางในรูปแบบรถไฟฟ้านั้น ผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะคุ้นเคยต่อการเดินทางในลักษณะเช่นนี้เป็นอย่างดี แต่ก็ใช่ว่าจะคุ้นเคยกับทุกเส้นทาง รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัดที่แทบจะไม่มีความคุ้นเคยกับการเดินทางโดยใช้รถไฟฟ้าเลย ดังนั้นฉบับนี้ขอเอาใจทุกคนที่ยังสับสนกับการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าในทุกรูปแบบ          เพียงกดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า BKK Rail ของกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม และสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านระบบปฏิบัติการ iOS หรือ Android บนสมาร์ทโฟนได้เลย         การใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก มีให้เลือกเส้นทางรถไฟทั้งหมด 9 สี 9 สาย ได้แก่ สายที่ 1 รถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท (สีเขียวอ่อน) เดินทางจากสถานีคูคตไปสถานีเคหะฯ สายที่ 2 รถไฟฟ้า BTS สายสีลม (สีเขียวเข้ม) เดินทางจากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติไปสถานีบางหว้า สายที่ 3 รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน เดินทางจากสถานีหัวลำโพงไปสถานีบางแค และสถานีบางซื่อไปสถานีท่าพระ สายที่ 4 รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง เดินทางจากสถานีเตาปูนไปสถานีคลองบางไผ่ สายที่ 5 รถไฟฟ้า SRTET สายสีแดงเข้ม เดินทางจากสถานีกลางบางซื่อไปสถานีรังสิต สายที่ 6 รถไฟฟ้า SRTET สายสีแดงอ่อน เดินทางจากสถานีบางซื่อไปสถานีตลิ่งชัน สายที่ 7 รถไฟฟ้าสายสีทอง เดินทางจากสถานีกรุงธนบุรีไปสถานีคลองสาน สายที่ 8 รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ หรือ ARL เดินทางจากสถานีพญาไทไปสถานีสุวรรณภูมิ และสายที่ 9 รถไฟฟ้าสายสีเหลือง หรือ YL เดินทางจากสถานีลาดพร้าวไปสถานีสำโรง ทั้งนี้ ในปี 2567 จะเปิดรถไฟฟ้าสายสีชมพู เดินทางจากสถานีแครายไปสถานีมีนบุรี         เมื่อกดเลือกเส้นทางรถไฟจากทั้งหมด 9 สี 9 สายแล้ว แอปพลิเคชันจะปรากฎสถานีทั้งหมดของสายรถไฟนั้นๆ เพื่อให้ผู้ใช้แอปพลิเคชันเลือกสถานีที่ต้องการ โดยจะแสดงช่วงตารางเวลาที่รถไฟฟ้าจะเดินทางมาถึงสถานี พร้อมกับรายละเอียดสิ่งอำนาวยความสะดวก นอกจากนี้ยังสามารถกดเชื่อมต่อไปยัง Google Map เพื่อแสดงแผนที่ในการเดินทางไปยังสถานีนั้นได้อีกด้วย         อีกส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ จะเป็นการค้นหาข้อมูลของเส้นทางเดินทาง โดยเลือกสถานีจุดเริ่มต้น และสถานีจุดหมายปลายทางที่จะไป เพียงเท่านี้แอปฯ ก็จะแนะนำเส้นทางที่สะดวกและรวดเร็วที่สุดให้ผู้ใช้เลือก แถมยังคำนวณเวลาที่ใช้เดินทาง ราคาค่าโดยสาร และจำนวนสถานีเพิ่มเติม         เมื่อเดินทางไปไหนไม่ถูก ลองเปิดใช้แอปพลิเคชัน BKK Rail ที่ได้รวบรวมเส้นทางรถไฟฟ้าทั้งหมด 9 สี 9 สายมาไว้ที่เดียวกันดู แล้วจะรู้ว่าแอปพลิเคชันนี้เป็นตัวช่วยให้กับนักเดินทางที่ไม่ชำนาญเส้นทางได้มากเลยทีเดียว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 271 สตรีมมิ่ง

          ปี 2560 เป็นปีแรกที่ประเทศไทยเริ่มรู้จักกับบริการ สตรีมมิ่ง เมื่อ Netflix ได้เข้ามาเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ         ผ่านไป 6 ปี ในปี 2566 มีแพลตฟอร์มที่ให้บริการสตรีมมิ่งในประเทศไทยแล้วมากกว่า 10 แพลตฟอร์มและสถานการณ์การแข่งขันยังดุเดือด ในปี 2565 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ บริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด ที่ปรึกษาธุรกิจ ทำการศึกษา Business Model ของ Streaming Platform เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจยุค Platform Economy ยังพบว่าในปี 2566 ยอดคนไทยดู Streaming จะเติบโตขึ้นสูงถึง 2.10 ล้านราย คิดเป็น 3.04% ของประชากรไทยทั้งหมด         บริการสตรีมมิ่งเป็นบริการที่แพร่หลายอยู่ในชีวิตประจำวันของคนทุกช่วงวัย นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ซึ่งดำเนินโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ร่วมกับ สสส. จึงจัดทำทดสอบบริการสตรีมมิ่ง จำนวน 9 แพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมอย่างสูงคือ WeTV , VIU, MONOMAX , iQIYI , FLIXER , Netflix , Disney+ Hotstar , Amazon Prime Video และ HBO GO เพื่อสำรวจความแตกต่างในคุณภาพการบริการว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร   วิธีการทดสอบ         -  สำรวจสตรีมมิ่ง 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง คือสตรีมมิ่งผู้ให้บริการระดับภูมิภาค คือ We TV , VIU ,MONOMAX , iQIYI และ FLIXER สำรวจในช่วงวันที่ 17 มิ.ย. - 17 ก.ค. 2566 กลุ่มที่ 2 คือ สตรีมมิ่งที่ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลกคือ  Netflix , Disney+ Hotstar  ,  Amazon Prime Video และ HBO GO  สำรวจวันที่ 17 ก.ค. 2566 – 17 ส.ค. 2566          -  ในแต่ละแพตฟอร์มเลือกสำรวจ แพ็คเกจที่มีราคาสูงสุด เพื่อสำรวจคุณภาพ บริการสูงสุดที่ผู้บริโภคสามารถได้รับจากแต่ละแพลตฟอร์ม         -  สำรวจขั้นตอนการสมัคร ราคา คลังเนื้อหา และความหลากหลาย คุณภาพของภาพและเสียง จุดเด่นของแต่ละแพลตฟอร์ม การสร้างการมีส่วนร่วมต่อผู้รับชม  ความสะดวกในการยกเลิกเป็นสมาชิก         -  สำรวจด้วยการดูด้วยอุปกรณ์ที่หลากหลาย ทั้ง โทรทัศน์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน๊ตบุ๊ค   1. We TV , VIU ,MONOMAX , iQIYI และ FLIXER สำรวจในวันที่ 17 มิถุนายน  -  17 กรกฎาคม 2566 ผลการทดสอบ         1.ทุกแพลตฟอร์ม มีขั้นตอนการสมัคร และการยกเลิกที่สะดวก และไม่ยุ่งยาก โดยสามารถสมัครและจ่ายเงินได้หลากหลายช่องทางเช่น  google play บัครเครดิตและเดบิต และ อินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้งต่างๆ  Rabbit Line pay, พร้อมเพย์, Truemoney Wallet และ ShopeePay การยกเลิกสามารถทำได้ทุกเมื่อ         2.ผลการสำรวจสอบ พบว่าหลายแพลตฟอร์มมีเนื้อหาที่ให้บริการลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น We TV  และ iQIYI มีเนื้อหาในกลุ่มเดียวกันค่อนข้างมาก คือ ซีรีส์จีน         3.ทุกแพลตฟอร์มมีการแจ้งเตือน เพื่อโปรโมทเนื้อหาใหม่ๆ สม่ำเสมอ          4.การสำรวจด้านราคาพบว่า แต่ละแพลตฟอร์มมีแพ็คเกจให้เลือกสมัครหลากหลาย ทั้งรายเดือน   ราย 3 เดือน และ รายปีแพลตฟอร์มที่มีให้เลือกสมัครทั้งแบบรายเดือน ราย 3 เดือน และรายปี มี  5 แพลตฟอร์ม คือ WeTV , VIU, MONOMAX , iQIYI , HBO GO แพลตฟอร์มที่ให้บริการเฉพาะรายเดือนมี 2 แพลตฟอร์ม คือ Netflix , Amazon Prime Video และที่ให้บริการแบบรายเดือนและ รายปี มี 2  แพลตฟอร์มคือ Disney+ Hotstar  และ FLIXER         5.ปัจจุบันแต่ละแพลตฟอร์มให้บริการโดยกำหนดคุณภาพของภาพและเสียงที่ใกล้เคียงกัน คือคุณภาพของภาพที่ 1080p (Full HD) และคุณภาพของเสียงที่ระบบสเตอริโอ 5.1โดยมี 4 แพลตฟอร์มที่มีคุณภาพภาพของภาพและเสียงด้วยเทคโนโลยีสูงสุดในปัจจุบัน คือ iQIYI , Netflix , Disney+ Hotstar  ,  Amazon Prime Video สามารถให้คุณภาพของภาพได้ถึงระดับ 4K และระบบเสียงอยู่ที่ระบบ  Dolby Atmos ซึ่งเป็นระบบเสียงล้อมตัวผู้ชมแบบโรงภาพยนตร์         6.แพลตฟอร์มทั้ง 9 มีการจัดหมวดเนื้อหาที่คล้ายคลึงกัน ไม่มีความต่างที่เด่นชัด เช่น การจัดหมวดหมู่ตามประเภทของเนื้อหา เช่น ซีรีส์ ภาพยนตร์ วาไรตี้  รายการสำหรับเด็ก ฯลฯ  จัดหมวดตามประเภท เช่น ไซไฟ ดราม่า ฯลฯ การจัดหมวดที่ได้รับความนิยมในรอบสัปดาห์  เนื้อหาที่ได้รับความนิยมสูงสุด  การจัดกลุ่มซีรีส์ รายการที่มีพากษ์ไทย          7.มี 2 แพลตฟอร์มที่ยังไม่มีการพัฒนาระบบดาวน์โหลดเพื่อรับชมแบบไร้อินเตอร์เน็ตคือ MONOMAX และ FLIXER         8.แพลตฟอร์มที่การเพิ่มเติมเนื้อหา ค่อนข้างถี่ คือ  VIU  และ iQIYI  โดยสามารถรับชมเนื้อหาหลังประเทศต้นทางออกอากาศแล้ว ได้ตั้งแต่ 8 ชั่วโมงเป็นต้นไป         9.อุปกรณ์มีผลอย่างสำคัญ ต่อการได้รับภาพและเสียงที่มีคุณภาพ โดยแม้บางแพลตฟอร์มจะมีการกำหนดคุณภาพการให้บริการทั้งภาพและเสียงไว้ในระดับสูงแต่จากการทดสอบด้วยอุปกรณ์ที่หลากหลาย ทั้ง โทรทัศน์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน๊ตบุ๊ค ระบบคุณภาพดังกล่าวยังไม่สามารถแสดงผลได้เต็มที่หรือเสมอกัน         10.แพลตฟอร์มที่พัฒนาฟีเจอร์เพื่อ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการได้แสดงความคิดเห็น ได้มีส่วนร่วมอย่างโดดเด่น คือ  WeTV มีช่องแนะนำ ติชม แสดงความเห็นพูดคุยกับผู้ชมคนอื่นๆ ได้ , iQIYI ผู้ชมแสดงความเห็นและให้คะแนนได้, Amazon Prime Video มีฟีเจอร์ Watch Party ผู้ชมสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่ชมภาพยนตร์เดียวกัน  ข้อสังเกต         ·  บริการสตรีมมิ่งในปัจจุบันกระตุ้นให้ผู้บริโภคสมัครสมาชิก ด้วยกลไกราคาที่ถูกลงเมื่อสมัครรายปี หรือการสมัครแบบระบบการจ่ายเงินแบบต่ออายุอัตโนมัติ ที่จะจ่ายราคาถูกลงมากกว่าแบบสมัครใช้ครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม โปรโมชั่นด้านราคานำมาใช้น้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับในช่วง 3 ปีแรกของการแข่งขัน และยังมีแนวโน้มที่ราคาค่าสมัครใช้บริการจะค่อยๆ ขยับสูงขึ้น        ·    คุณภาพของภาพ และเสียงในแต่ละแพลตฟอร์ม ได้รับการพัฒนามากขึ้นต่อเนื่อง จนใกล้เคียงกันทั้งหมด และในอนาคตคาดว่าจุดนี้จะไม่ได้เป็นจุดที่สร้างความแตกต่างได้อีกต่อไป         ·    แพลตฟอร์มที่ให้บริการในระดับภูมิภาค มีความโดดเด่นด้านการพัฒนาภาษาในการรับชม  เช่น VIU มีการพัฒนาภาษาพากษ์แบบภูมิภาคด้วย และล่าสุดยังมีภาษามือ  และ MONOMAX ที่มีพากษ์ไทยทุกเรื่อง แสดงถึงความพยายามสร้างความแตกต่างที่มีผลดีให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น         ·     Original Content  ยังเป็นจุดที่สามารถสร้างความแตกต่างได้ เพราะสะท้อนถึงเอกลักษณ์ ความเป็นตัวตนเฉพาะของแต่แพลตฟอร์มได้ชัดเจน   บทสรุป         ท่ามกลางบริการสตรีมมิ่งที่มีให้เลือกมากมายหลายแพตฟอร์ม  นิตยสารฉลาดซื้อเสนอแนวทางในการสมัครใช้บริการดังนี้         1.เลือกจากคลังเนื้อหาว่ามีความหลากหลาย และ Original Content  มีเอกลักษณ์ที่ตรงกับความสนใจหรือไม่ เพราะเป็นเนื้อหาที่สามารถรับชมได้ในแพลตฟอร์มที่สมัครเท่านั้น           2. ความถี่ในการเพิ่มเติมเนื้อหา เพราะแต่ละแพลตฟอร์มทำได้แตกต่างกัน  เช่นบางแพลตฟอร์มเพิ่มเติมทุกสัปดาห์  และบางแพลตฟอร์มเป็นรายเดือน เป็นต้น        3. หากผู้บริโภคตัดสินใจสมัครใช้บริการโดยคำนึงถึงคุณภาพของภาพและเสียงเป็นปัจจัยแรก กรณีนี้มีข้อที่ต้องคำนึงคือ การแสดงผลภาพคุณภาพสูงสุดคือ 4K และ เสียงแบบ Dolby Atmos ต้องการอุปกรณ์ที่ทันสมัย และสัญญาณอินเตอร์ที่เร็วแรงพร้อมรองรับได้  เพราะแม้บางแพลตฟอร์มจะนำมาเป็นจุดโฆษณาขายแต่เมื่อรับชมจริงระบบจะเลือก Stream ไฟล์ที่คุณภาพสูงสุดที่เครื่องปลายทางจะรองรับได้นั่นเอง ผู้บริโภคจึงควรพิจารณาถึงอุปกรณ์การรับชมที่ท่านรับชมจริงด้วย 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 271 แอปพลิเคชัน FoodiEat กินดีมีสุข

เคยได้ยินคำว่า ดัชนีมวลกาย กันไหม         ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) คือ มาตรการที่ใช้ประเมินภาวะอ้วนและผอมในผู้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป สามารถทำได้โดยการชั่งน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และวัดส่วนสูงเป็นเซนติเมตร แล้วนำมาหาดัชมีมวลกาย โดยเกณฑ์มาตรฐานอยู่ระหว่าง 23 - 24.90 kg/m2 ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 23.0 ขึ้นไป ถือว่าน้ำหนักเกินมาตรฐาน มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ตามมาได้         การควบคุมอาหารมีส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยให้สามารถลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ดังนั้นเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ สิ่งที่สำคัญคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารของตนเอง โดยเลือกกินอาหารให้หลากกลาย แต่มีประโยชน์ และควรกำหนดปริมาณการกินที่เหมาะสมต่อความต้องการพลังงาน ทั้งนี้ก็ไม่ควรลด งด หรือ อดอาหารมากจนเกินไป โดยเฉพาะการรับประทานอาหารเช้าซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อสะสมไว้ใช้ทำกิจกรรมทั้งวัน ส่วนอาหารเย็นควรรับประทานไม่หนักมาก เนื่องจากจะมีโอกาสเผาผลาญพลังงานได้น้อย ทำให้พลังงานเหล่านั้นถูกสะสมในร่างกายกลายเป็นไขมันได้         ลองมาควบคุมพฤติกรรมการกินอาหารผ่านแอปพลิเคชัน FoodiEat กันดีกว่า แอปพลิเคชันนี้ถูกพัฒนามาโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกและวิเคราะห์พฤติกรรมการกินอาหาร และการออกกำลังกาย         การใช้งานไม่ยาก เพียงดาวน์โหลดและกรอกข้อมูลชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน วันเกิด เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง รอบเอว เพื่อลงทะเบียน ระบบจะเริ่มต้นโดยการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และอัตราความต้องการเผาผลาญพลังงานของร่างกายในแต่ละวัน (BMR) หรือเรียกว่าค่าพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวันโดยไม่รวมการทำกิจกรรมต่างๆ ต่อจากนั้นกรอกข้อมูลประวัติการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อและข้อมูลการออกกำลังกายของทุกวัน แอปพลิเคชันจะคำนวณพลังงานของอาหารหักลบอัตราความต้องการเผาผลาญพลังงานของร่างกายในแต่ละวัน เพื่อให้ผู้ใช้แอปพลิเคชันสามารถควบคุมและวางแผนการการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อได้         นอกจากนี้แอปพลิเคชันจะรวบรวมประวัติในรูปแบบสถิติ เพื่อให้นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบย้อนหลังได้ และยังมีข้อมูลความรู้ คำแนะนำ เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้อง ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นสิ่งที่ดีที่สุด รวมถึงการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ถ้าอยากเปลี่ยนตัวเองให้กลับมามีรูปร่างสมส่วน ห่างไกลโรคร้าย ต้องเริ่มหันมาใส่ใจเรื่องนี้กันมากขึ้น โดยเริ่มต้นจากการใช้แอปพลิเคชัน FoodiEat เพื่อดูแลสุขภาพกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 270 ปิดล็อก “3 ชั้น” ด้วยปลายนิ้ว

        ปัจจุบันสมาร์ทโฟนแทบจะกลายเป็นอวัยวะหนึ่งในร่างกายของเราแล้ว เนื่องจากข้อมูลต่างๆ มากมายที่ต้องการรับรู้นั้นสามารถค้นหาภายในอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียผ่านสมาร์ทโฟนที่ใช้กันอยู่อย่างง่ายดาย ข้อมูลข่าวสารต่างๆ มีทั้งข้อมูลที่มีสาระประโยชน์ ข้อมูลที่ให้ความบันเทิง เป็นต้น นอกจากนี้ประโยชน์ของการเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายจากปลายนิ้วนั้น ทำให้เพิ่มความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก จนทำให้เกิดรูปแบบการช้อปปิ้งออนไลน์ กิจกรรมออนไลน์ต่างๆ ฯลฯ         แค่เพียงหยิบสมาร์ทโฟนเข้าท่องโลกอินเทอร์เน็ต ข้อมูลต่างๆ ก็จะหลั่งไหลมาให้พวกเราได้อ่านและได้ติดตามกันตลอด เมื่อความนิยมของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น จึงไม่แปลกที่จะเห็นเทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเว็บไซต์และแอปพลิเคชันขึ้นมาจำนวนมาก เพื่อตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้นมากนั่นเอง         เมื่อต้องใช้บริการ ผู้ให้บริการทั้งเว็บไซต์และแอปพลิเคชันส่วนใหญ่ มักจะเลือกการเก็บข้อมูลเพื่อยืนยันตัวตนในการเข้าใช้งาน โดยให้กรอกข้อมูลส่วนตัว หนึ่งในนั้นคือหมายเลขโทรศัพท์ โดยหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ในการลงทะเบียนเข้าเว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่างๆ ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งเทียบเท่ากับเป็นข้อมูลส่วนบุคคลหนึ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครอง บางท่านอาจจะเคยได้ยินข่าวที่มีผู้ต้องหาแอบอ้างใช้หมายเลขโทรศัพท์ ที่ถูกเปิดใช้งานภายใต้ชื่อของผู้เสียหาย และนำหมายเลขโทรศัพท์นั้นไปใช้ในทางที่ผิด ส่งผลให้ผู้เสียหายถูกหมายจับดำเนินคดี         ด้วยเหตุนี้ ในฐานะประชาชนจึงควรมีสิทธิที่จะปกป้องตนเองและตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ที่ตนเองครอบครองอยู่ได้ เพื่อไม่เกิดเหตุการณ์จนเกิดคดีความ ทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้ตระหนักถึงความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้น จึงได้พัฒนาแอปพลิเคชันหนึ่ง โดยวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสิทธิของประชาชน ไม่ให้ตกอยู่ในมือของมิจฉาชีพ เฝ้าระวังและรู้ทันท่วงทีเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ทั้งนี้สามารถดำเนินการปิดกั้นการใช้ข้อมูลได้ด้วยตนเองทันที         มารู้จักแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า “3 ชั้น” หรือ “3 steps” มีสโลแกนว่า ตรวจ..แจ้ง..ล็อค เพื่อเป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เสมือนผู้ช่วยมาคอยจัดการข้อมูลผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับการรักษาสิทธิการใช้เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของแต่ละบุคคล ภาพรวมของแอปพลิเคชันจะสามารถช่วยตรวจสอบว่ามีการลงทะเบียนการใช้หมายเลขโทรศัพท์ในชื่อและนามสกุลของผู้ใช้แอปฯ จำนวนกี่หมายเลข         ขั้นตอนแรกให้กดลงทะเบียน โดยเลือกรูปแบบออนไลน์ (หรือเลือกลงทะเบียนที่ศูนย์ให้บริการกรณีไม่สะดวกในรูปแบบออนไลน์) จากนั้นกรอกเลขบัตรประจำตัวประชน หมายเลขโทรศัพท์ และเครือข่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์ ระบบจะส่งเลข OTP มาให้กรอก และเริ่มต้นตรวจสอบเอกสาร ได้แก่ การสแกนบัตรประจำตัวประชาชน ถ่ายภาพใบหน้า โดยขั้นตอนสุดท้าย ระบบจะให้ตั้งรหัสผ่าน         หน้าแรกจะปรากฎเครือข่ายโทรศัพท์ พร้อมทั้งจำนวนหมายเลขที่เปิดใช้งาน ถัดไปจะเป็นหมวด ตรวจ/แจ้ง โดยสามารถกดดูสถานะหรือแจ้งหมายเลขที่ตกหล่นได้ผ่านสองหน้านี้ ต่อมาจะเป็นปุ่มที่โดดเด่นที่สุด คือ ปุ่มปลดล็อกหน้าที่ของปุ่มนี้ จะทำแค่ปิดล็อกและปลดล็อก เมื่อต้องการล็อกการเปิดหมายเลขโทรศัพท์ใหม่ ให้กดปิดล็อก โดยถ้ามีการกดปลดล็อกเมื่อใด ระบบจะทำการปิดล็อกให้ภายใน 5 นาที         เพื่อความแน่ใจและความปลอดภัยของการโดนแอบอ้างชื่อของตนไปเปิดหมายเลขโทรศัพท์ อีกทั้งการปิดกั้นและป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เข้าไปพัวพันสิ่งผิดกฎหมายได้ ดังนั้นการเปิดใช้แอปพลิเคชันนี้ ย่อมเป็นเครื่องมือที่ช่วยตรวจเช็คได้ในระดับหนึ่ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 269 เบอร์เราที่คนอื่นเปิดให้ ทางแก้ปัญหาอยู่ที่ไหน?!?

        การถูกสวมรอยหรือถูกแอบอ้างใช้ชื่อและบัตรประชาชนไปเปิดเบอร์มือถือ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ในระยะหลังนี้เป็นที่พูดถึงมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจสะท้อนว่าปัญหามีการขยายตัวหนักขึ้น ในขณะเดียวกับที่ความตระหนักต่อภยันตรายที่จะติดตามมาก็มากขึ้นด้วย เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความไม่ปลอดภัยด้านข้อมูลส่วนบุคคล ภาระค่าบริการ และที่สำคัญที่สุดคือ การที่เบอร์มือถือที่ถูกแอบเปิดดังกล่าวอาจพาให้เข้าไปพัวพันกับการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือการก่ออาชญากรรม         ปัญหาดังกล่าวนี้สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ โดยคนที่ตกเป็นเหยื่อนั้นมักไม่รู้ตัว         อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็มีเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้บริโภคตรวจสอบได้ว่ามีเบอร์ที่ลงทะเบียนไว้ในชื่อของตนเท่าไรและเป็นเบอร์อะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันของค่ายมือถือ หรือ “แอปพลิเคชัน 3 ชั้น” ของ กสทช. โดยสำหรับแอปฯ ของแต่ละค่ายจะมีข้อจำกัดว่าตรวจสอบได้เฉพาะเบอร์ที่เปิดกับแต่ละค่าย แต่ “แอปฯ 3 ชั้น” นั้นจะตรวจสอบได้ครบทุกค่าย         ยิ่งกว่านั้น นอกจากใช้ตรวจสอบข้อมูลแล้ว “แอปฯ 3 ชั้น” ยังสามารถแจ้งปัญหา ทั้งในแง่ของเบอร์ที่เกินมาและที่ขาดไป ตลอดจนใช้เพื่อล็อกป้องกันการถูกบุคคลอื่นนำบัตรประชาชนของเราไปแอบอ้างเปิดเบอร์ใหม่ได้ด้วย ส่วนเมื่อไรที่ต้องการเปิดเบอร์ใหม่ก็สามารถปลดล็อกเองได้เช่นเดียวกัน         ถึงแม้ว่าเครื่องมือเหล่านี้ไม่อาจช่วยป้องกันมิให้เกิดการลักลอบเปิดเบอร์ตั้งแต่ต้นทาง แต่ก็ช่วยให้ตามทันปัญหา ซึ่งยิ่งไวเท่าไรก็ยิ่งลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็สามารถสะสางให้ปัญหายุติลงได้ ดีกว่าที่จะรอให้เกิดผลกระทบขึ้นแล้วจึงค่อยรู้ตัว ซึ่งที่ผ่านมา บางรายก็รู้ต่อเมื่อถูกเรียกเก็บค่าบริการ หรือบางกรณีอาจเลวร้ายกว่านั้น         แท้ที่จริง เรื่องนี้ยังมีมาตรการอีกส่วนหนึ่งที่ถ้าทำได้ดีจะส่งผลในเชิงป้องกันได้มากกว่า นั่นคือ การยกระดับคุณภาพและความรัดกุมของการรับลงทะเบียน ซึ่งหน้าที่ในเรื่องนี้เป็นของผู้ให้บริการหรือค่ายมือถือต่างๆ นั่นเอง โดยที่ กสทช. มีหน้าที่กำกับดูแลการทำหน้าที่ของเอกชนอีกทอดหนึ่ง         กสทช. ได้ออกประกาศเรื่อง การลงทะเบียนและการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2562 ในประกาศนี้กำหนดอย่างชัดเจนว่า ผู้ให้บริการต้องบริหารจัดการการลงทะเบียนผู้ใช้บริการที่จุดให้บริการ ซึ่งก็คือศูนย์ให้บริการหรือสำนักงานบริการลูกค้าที่จัดตั้งขึ้น โดยในกรณีที่ผู้ลงทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย อย่างน้อยต้องแสดงเอกสารหลักฐานเป็นบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง หรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง โดยที่จุดให้ลงทะเบียนต้องตรวจสอบหลักฐาน รวมทั้งพิสูจน์และยืนยันตัวบุคคลของผู้ใช้บริการ ด้วยความรอบคอบ เคร่งครัด รัดกุม         นอกจากนั้น ประกาศยังกำหนดเรื่องการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ รวมทั้งกำหนดว่า บริษัทผู้ให้บริการจะต้องรับผิดชอบ หากมีเหตุอันมิชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวกับการให้บริการโทรคมนาคมอันเกิดจากการดำเนินการของจุดให้บริการ เสมือนเป็นผู้ดำเนินการเองทุกกรณี เว้นแต่สามารถพิสูจน์ให้สำนักงาน กสทช. เห็นได้ว่า ผู้ให้บริการมีมาตรการและดำเนินการตรวจสอบการกระทำของจุดให้บริการนั้น รวมถึงมีการกำกับดูแลจุดให้บริการโดยรอบคอบ เคร่งครัด และรัดกุมแล้ว        ตามกติกาเช่นนี้ หากในทางปฏิบัติจริงทำตามได้อย่างไม่บิดพลิ้ว เรื่องการสวมรอยหรือแอบอ้างใช้ชื่อและบัตรประชาชนของคนอื่นลงทะเบียนเปิดใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยทั่วไปย่อมไม่ควรจะเกิดขึ้นได้ หากจะเกิดขึ้นก็เพียงในกรณีที่ว่า ผู้แอบอ้างได้บัตรประชาชนฉบับจริงของผู้นั้นไป และมีหน้าตาคล้ายคลึงกับเจ้าของบัตรด้วย         แต่จากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะบ่งชี้ว่า ด่านการลงทะเบียนมีมาตรฐานห่างไกลจากคำว่า “รอบคอบ เคร่งครัด รัดกุม” อย่างมาก สะท้อนต่อเนื่องว่า กติกาไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ และการกำกับกติกาไม่มีประสิทธิผล         ทั้งนี้พบว่า ในกรณีที่มีการร้องเรียนปัญหานี้เข้าสู่สำนักงาน กสทช. ที่ผ่านๆ มา ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผู้ให้บริการจะดูแลปิดเบอร์ให้ กรณีมีค่าบริการก็ยกเว้นการเรียกเก็บ แต่สำหรับการสืบสาวถึงสาเหตุหรือความรับผิดชอบอื่นใด ผู้ให้บริการมักไม่เปิดเผยและไม่แสดงความรับผิดชอบ ขณะที่สำนักงาน กสทช. ก็ไม่ติดใจ         สำหรับมาตรการเรื่องการจำกัดจำนวนการเปิดเบอร์ที่ กสทช. กำลังให้ความสำคัญในขณะนี้ นั่นคือจำกัดให้แต่ละคนถือครองเลขหมายโทรศัพท์มือถือคนละไม่เกิน 5 เบอร์         แม้ว่ามาตรการนี้อาจช่วยปิดช่องมิให้มิจฉาชีพดำเนินการเปิดเบอร์มือถือจำนวนมากและก่อให้เกิดความไม่สะดวกต่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้ แต่อาจช่วยไม่ได้มากนักในเรื่องการแอบอ้างหรือสวมรอยเปิดเบอร์ ช่วยได้ก็เพียงลดปริมาณเบอร์ที่แต่ละคนจะถูกสวมรอยเท่านั้น         ปราการสำคัญแท้จริงของเรื่องนี้จึงยังคงอยู่ที่ขั้นตอนการลงทะเบียน ที่จะต้อง “รอบคอบ เคร่งครัด รัดกุม” ให้ได้จริงๆ ซึ่งถ้าหากผู้ให้บริการยังคงทำหน้าที่ส่วนนี้ให้ดีไม่ได้ กสทช. ก็ควรต้องทำหน้าที่ให้เข้มข้น ส่วนว่า ถ้าหาก กสทช. เองก็ทำหน้าที่ให้ดีไม่ได้เช่นเดียวกัน แน่นอนว่า ประชาชนก็ย่อมมีทางเลือกเพียงเฝ้าระวังและติดตามปัญหาด้วยตนเองเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 269 ใส่ใจสุขภาพ..ใกล้ชิดเภสัชกร

        ช่วงนี้ฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ซึ่งมีผลมาจากการเกิดพายุโซนร้อนที่มีชื่อว่า ทกซูรี เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยกันมากขึ้นกว่าปกติ โรคที่มาในฤดูฝนแบบนี้ เช่น โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก เป็นต้น ดังนั้นควรเฝ้าระวังสุขภาพให้ห่างไกลโรคที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ที่ต้องดูแลและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ        เมื่อเจ็บป่วยควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและรักษาให้ถูกต้อง แต่บางครั้งอาการเจ็บป่วยอาจดูเล็กน้อยจนทำให้รู้สึกว่าหาซื้อยารับประทานเองได้ ซึ่งอาจส่งกระทบทำให้การรับประทานยาไม่ตรงตามโรคก็ได้ เนื่องจากไม่ได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ต้องยอมรับว่าประเทศไทยนิยมเลือกหาซื้อยารับประทานด้วยตนเองมากกว่าที่จะไปพบแพทย์ ดังนั้นเพื่อให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป โดยการพบกับครึ่งทาง จึงขอแนะนำแอปพลิเคชันที่ช่วยเป็นตัวกลางในการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่จะช่วยแนะนำการรับประทานยา หรือเมื่อมีอาการที่มีความเสี่ยงมากเกินกว่าจะรับประทานยาเท่านั้น ก็จะแนะนำให้ไปพบแพทย์ทันที         แอปพลิเคชันนี้มีชื่อว่า ร้านยากรุงเทพ เป็นผู้ช่วยที่คอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการของโรคต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่ายาที่ได้รับนั้นตรงกับโรคที่เกิดขึ้น โดยมีเภสัชกรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะคอยรับคำปรึกษาและสอบถามอาการที่เกิดขึ้นก่อนที่จ่ายยาให้กับผู้ใช้แอปพลิเคชัน        เมื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเรียบร้อยแล้ว จะให้ลงทะเบียนเป็นสมาชิกและให้กรอกรายละเอียดส่วนตัว ชื่อนามสกุล เบอร์ติดต่อ วันเกิด เป็นต้น หลังจากนั้นแอปพลิเคชันจะปรากฎหน้าแรก โดยภายในแอปพลิเคชันไม่มีความซับซ้อน ง่ายต่อการใช้งาน ในหน้าแรกจะมีหมวดด้านล่างทั้งหมด 5 หมวด ได้แก่ หมวดหน้าแรก หมวดเข้าชมร้าน หมวดปรึกษาเภสัชกร หมวดค้นหาสาขา และหมวดอื่นๆ         หมวดหน้าแรก จะแสดงข่าวสารต่างๆ หมวดเข้าชมร้าน จะแสดงสินค้าทั้งหมดที่เกี่ยวกับเวชภัณฑ์ วิตามิน อาหารเสริม และ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ หมวดค้นหาสาขา จะช่วยค้นหาสาขาและเภสัชกรร้านยากรุงเทพใกล้บ้าน หมวดอื่นๆ จะแสดงคู่มือการใช้งาน ข้อมูลส่วนบุคคล และรายละเอียดอื่นๆ         สำหรับหมวดปรึกษาเภสัชกร เมื่อกดเข้าหมวดนี้ระบบจะติดต่อประสานงานไปยังเภสัชกรเพื่อให้คำปรึกษา โดยหน้าแอปพลิเคชันจะแจ้งชื่อเภสัชกร รหัสสาขา และชื่อสาขาของร้านให้ทราบก่อนการสนทนาทุกครั้ง ระหว่างการสนทนาเภสัชกรจะแจ้งชนิดยาพร้อมราคาให้ทราบก่อนที่จะส่งเข้าระบบไปปรากฎในตะกร้าที่เลือกสินค้าของผู้ใช้แอปพลิเคชัน ทั้งนี้ ยาบางชนิดไม่สามารถเลือกหมวดเข้าชมร้านได้โดยตรง จะต้องสั่งยาผ่านเภสัชกรเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยต่อการใช้ยา ดังนั้นถ้าต้องการยาชนิดนั้นๆ ผู้ใช้แอปพลิเคชันจำเป็นต้องกดหมวดปรึกษาเภสัชกร เพื่อให้เภสัชกรแนะนำการใช้ยาก่อน         ส่วนรูปแบบการรับสินค้า สามารถเลือกรับสินค้าที่สาขา หรือ บริการจัดส่งถึงบ้านได้ กรณีที่เลือกรับสินค้าที่สาขา ผู้ใช้สามารถค้นหาสาขาและเภสัชกรร้านยากรุงเทพใกล้บ้านได้ สำหรับบริการจัดส่งถึงบ้าน สามารถเลือกวิธีการจัดส่งภายในวันหรือจัดส่งทางไปรษณีย์ได้         แอปพลิเคชันนี้เป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปพบแพทย์ หรือต้องการที่จะหาซื้อยามารักษาอาการที่เจ็บป่วย โดยมีเภสัชกรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเพื่อแนะนำยาที่ควรจะได้รับประทาน นอกจากนี้ยังเป็นตัวช่วยในการอำนวยความสะดวก ทำให้ไม่ต้องเดินทางไปซื้อยาด้วยตนเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 268 ควบคุมดูแลสุขภาพด้วย CalkCal

        ปัจจุบันเครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่นกับร่างกายมีหลากหลายชนิดและเป็นที่ชื่นชอบกันมากโดยเฉพาะกลุ่มวัยเรียนและวัยทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่เลือกที่จะบริโภคเครื่องดื่มที่มีความหวาน อาทิ ชานมไข่มุก ชาเย็น กาแฟเย็น เป็นต้น อีกทั้งการเลือกบริโภคเครื่องดื่มที่มีความหวานเหล่านี้อาจช่วยทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า จึงทำให้บริโภคจำนวนมากในแต่ละวัน         กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยถึงสถิติคนไทยติดหวานกินน้ำตาลเฉลี่ยวันละ 25 ช้อนชา ซึ่งมากกว่าที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ที่ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา ถึง 4 เท่า โดยพฤติกรรมเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดหัวใจ และฟันผุ ตามมาได้         นอกจากความเสี่ยงข้างต้น ยังมีความเสี่ยงที่เกิดจากอาหารประเภทอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายจนเกิดโรคต่างๆ ตามมาได้อีก ดังนั้นการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมในแต่ละวัน และตรงตามความต้องการของร่างกาย เพื่อควบคุมดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและห่างไกลจากโรคภัย ฉบับนี้มาแนะนำให้ลองมาใช้ตัวช่วยในการควบคุมอาหารกับแอปพลิเคชัน “CalkCal” กันดู ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่ไม่ยุ่งยาก ง่ายต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก         แอปพลิเคชันนี้เน้นในเรื่องของการควบคุมอาหารเป็นหลัก ใช้งานในรูปแบบการบันทึกจำนวนแคลอรีโดยเลือกจากเมนูอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ เมื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน จะสอบถามข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ เพศ ส่วนสูง น้ำหนัก รวมไปถึงเป้าหมายของการลดน้ำหนัก เพื่อนำมาคำนวณและหาค่าเฉลี่ยในการควบคุมพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน ภายในแอปพลิเคชันจะแบ่งหมวด 5 หมวด ได้แก่ หมวด Calories หมวด Statistic หมวด Exercise หมวด Setting และหมวด About Us         การใช้งานไม่มีความซับซ้อนใดๆ เมื่อผู้ใช้แอปพลิเคชันต้องการกรอกรายละเอียดมื้ออาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ให้กดที่หมวด Calories จะปรากฎชื่อรายการอาหารพร้อมจำนวนแคลอรี เมื่อค้นหาเมนูอาหารเจอแล้ว จะต้องระบุจำนวนและเลือกมื้ออาหาร โดยจะแบ่งมื้ออาหารเป็น 4 มื้อ ได้แก่ มื้อเช้า มื้อกลางวัน มื้อเย็น และมื้ออาหารว่าง กรณีที่ไม่เจอเมนูอาหารที่ต้องการสามารถเพิ่มรายการได้เอง ซึ่งให้กดเลือกปุ่มเครื่องหมายบวกที่อยู่ด้านบนขวามือ         หมวด Statistic ช่วยคำนวณปริมาณแคลอรี่ในแต่ละวันว่าควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างไร เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนหมวด Exercise จะเป็นรายการการออกกำลังกายพร้อมจำนวนแคลอรีที่จะถูกเผาผลาญออกไป         เป้าหมายของการห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ ย่อมสัมพันธ์กับการเลือกรับประทานอาหาร ดังนั้นการควบคุมอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายอย่างแท้จริง รวมถึงการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสุขภาพดีได้ เลิกติดหวานและหันมาติดการออกกำลังกายและควบคุมอาหารให้เหมาะสมกันดีกว่า

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 267 ใส่ใจสุขภาพ กับ Thaisook

        เมื่อเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตหลักในประจำวัน จนเหมือนเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งไปแล้ว จากที่เคยต้องออกจากบ้านเพื่อไปซื้อจับจ่ายซื้อของในตลาด เปลี่ยนมาเป็นกดเลือกสินค้าผ่านสมาร์ทโฟน เท่านี้สินค้าก็เดินทางมาถึงหน้าบ้าน โดยไม่ต้องเหนื่อย หรือจะสั่งอาหารจากร้านอาหารชื่อดัง ไม่ว่าจะอยู่มุมไหน ไกลแค่ไหน แต่เมื่อเราอยากกินเราต้องได้กิน แค่กดปุ๊ปจ่ายปั๊ป ใช้นิ้วมือในการบริหารจัดการได้ทันที        เทคโนโลยีทำประโยชน์ให้กับการใช้ชีวิตของพวกเราให้ง่ายขึ้นมากถึงมากที่สุด แต่ผลเสียด้านสุขภาพก็ตามมาเช่นกัน เมื่อไม่มีการขยับเขยื้อนร่างกาย ร่างกายก็จะไม่ได้รับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพได้มากทีเดียว         เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงขนาดนี้ เครื่องมือที่จะช่วยดูแลสุขภาพจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างแอปพลิเคชั่น “ไทยสุข” หรือ “thaisook” ได้พัฒนาขึ้นมาจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับทุกคน โดยเฉพาะในช่วงวัยทำงาน ให้หันมาสนใจและดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งใช้แอปพลิเคชั่นเป็นสื่อกลางช่วยกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นผลดีต่อสุขภาพ         ผู้อ่านที่สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android มีขั้นตอนการลงทะเบียนง่ายๆ โดยข้อมูลในการกรอกลงทะเบียนของแอปพลิเคชั่น “ไทยสุข” เริ่มต้นจะใช้หมายเลขโทรศัพท์ เพื่อรอรับ OTP ในขั้นตอนแรก และระบบจะให้กรอกชื่อนามสกุล วันเกิด เพศ ส่วนสูง การสูบบุหรี่ และกดยินยอมนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเข้าสู่แอปพลิเคชั่นนี้        การใช้งานภายในแอปพลิเคชั่นง่ายและไม่ซ้ำซ้อน โดยหน้าแรกจะปรากฎเมนูด้านล่างตามหมวด 4 หมวด ได้แก่ หมวดวันปัจจุบัน หมวดสถิติรายสัปดาห์ หมวดกลุ่ม และหมวดการแข่งขัน ซึ่งมุมขวาบนจะเป็นปุ่มการตั้งค่าที่มีสัญลักษณ์ 3 ขีด        หน้าแรกจะเป็นหมวดวันปัจจุบัน ที่ปรากฎให้เห็นการนับจำนวนก้าว เวลาการวิ่ง เวลาการเดิน โดยกิจกรรมเหล่านี้ ผู้ใช้แอปพลิเคชั่นสามารถเพิ่มข้อมูลได้ด้วยตนเอง ทั้งจำนวนเวลา ระยะทาง อัตราการเต้นของหัวใจ แคลอรี่ที่เผาผลาญ นอกจากการดูแลด้านกายภาพแล้ว ยังมีในส่วนของการดูแลสุขภาพภายใน ทั้งในเรื่องติดตามปริมาณการดื่มน้ำต่อวัน ค่าความดันโลหิต ค่าผลเลือด น้ำหนัก องค์ประกอบร่างกาย ระยะเวลาการนอนหลับ         ทั้งนี้ควรรับประทานอาหารผักผลไม้ให้เป็นไปตามสักส่วนที่เหมาะสม ซึ่งแอปพลิเคชั่นได้มีคู่มือไว้ให้อ่าน และเพื่อให้ข้อมูลครบถ้วนและสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมได้ ผู้ใช้แอปพลิเคชั่นสามารถเพิ่มข้อมูลการรับประทานผักและผลไม้ลงไปด้วย         หมวดสถิติรายสัปดาห์เป็นการเก็บข้อมูลสถิติของการดูแลสุขภาพร่างกายที่เกิดขึ้นมาทั้งหมด เพื่อให้เห็นภาพรวมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม หมวดกลุ่มเป็นหมวดที่มีไว้เป็นทางเลือกให้ผู้ใช้แอปพลิเคชั่นได้สร้างกลุ่มหรือเข้ากลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสุขภาพ ส่วนหมวดการแข่งขันจะเป็น Challenge ให้ตนเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดูแลสุขภาพร่างกายให้ดียิ่งขึ้น         มาดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรง โดยเริ่มจากการบริหารจัดการกับการกินอาหาร การพักผ่อน หรือการออกกำลังกาย เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกันนะคะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 266 แอปพลิเคชั่น Alljit เพื่อนดูแลใจ

        เมื่อเกิดภาวะความเครียดขึ้นภายในใจ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยที่แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล จนทำให้เกิดความกดดันในการดำเนินชีวิตได้ไม่มากก็น้อย ทั้งนี้เมื่อเกิดความเครียดจนถึงระดับหนึ่ง การปล่อยวางและหาวิธีขจัดความเครียด ความกดดันเหล่านั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง เพื่อลดระดับความเครียด โดยควบคุมให้ความเครียดนั้นอยู่ในระดับที่รับได้จนไม่ก่อนให้เกิดอันตรายกับตนเอง         ความเครียดสะสม ก่อให้เกิดภาวะอันตรายทำลายสุขภาพ เช่น มีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูง ผลต่อเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตามมา โรคเครียดลงกระเพาะ กระทบต่อการนอนหลับ หรือหากนอนหลับก็หลับไม่สนิท ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย เกิดอาการปวดหัวไมเกรน ภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นนานๆ อาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งส่งผลต่อทางด้านร่างกาย และจิตใจ         ฉบับนี้จึงขอมาให้กำลังใจและแนะนำตัวช่วยผ่านแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า Alljit (ออลจิต) ผู้ช่วยที่คอยให้คำปรึกษาปัญหาด้านจิตใจในทุกเรื่อง ทั้งเรื่องส่วนตัว ครอบครัว การเงิน การงาน หรือความรัก โดยสามารถเลือกรูปแบบความต้องการได้ ได้แก่ การประเมินความรู้สึกด้วยตนเอง ความต้องการกำลังใจ การแลกเปลี่ยนเรื่องราว การฟังพอตแคสต์ (Podcast คือ ข้อความเสียงประเภทหนึ่งที่คล้ายกับการจัดรายการวิทยุโดยจะมีผู้ดำเนินรายการเพียงคนเดียวหรือหลายคนมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในด้านต่างๆ) และพูดคุยกับแอดมิน         การประเมินความรู้สึกด้วยตนเอง แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ ความเครียด ความเศร้า และการหมดไฟการทำงาน ที่ลักษณะการประเมินความรู้สึกด้วยคำถาม ส่วนความต้องการกำลังใจ แบ่งเป็นหมวดแชทเล่าความในใจ โดยสามารถเลือกคู่แชทและปิดบังตัวตนได้ เพื่อพูดคุยความในใจที่เกิดขึ้น หมวดกลุ่มพูดคุย ซึ่งเป็นการพูดคุยในรูปแบบกลุ่ม         การแลกเปลี่ยนเรื่องราว จะเป็นการเขียนข้อความตามที่ต้องการและเผยแพร่ทั่วไป โดยทุกคนที่เข้ามา สามารถแสดงความคิดเห็นได้ และการฟังพอตแคสต์ (Podcast) ผ่านหมวดหมู่หนังและซีรีย์ รีวิวหนังสือ อารมณ์และความรู้สึก ชีวิตในวัยรุ่น ดนตรี คุยกับนักจิตวิทยา จิตวิทยาชีวิตคู่ และฟังก่อนนอน ซึ่งแต่ละหมวดจะมีนักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญเฉพาะมาแบ่งปันให้ฟังเพื่อช่วยเยียวจิตใจในช่วงที่อ่อนแอ         ลองสำรวจตนเองสม่ำเสมอ เพื่อให้รู้เท่าทันอารมณ์และควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ให้สังเกตว่าถ้าหากคุณมีอาการอารมณ์แปรปรวน รู้สึกกลัว เครียด กังวล เบื่อ เฉยชา หงุดหงิดง่าย นอนไม่ค่อยหลับ หลับไม่สนิท รู้สึกไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่สดชื่น เฉื่อยชาลง ขาดสมาธิในการทำงาน มีอาการหลงๆ ลืมๆ รู้สึกท้อแท้หมดหวัง รู้สึกไร้ค่า หรืออาการอื่นใดที่ใกล้เคียง ให้รีบลดระดับความเครียดทันที

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 265 กาลครั้งหนึ่ง...ที่ “Me Books”

        ช่วงเทศกาลสัปดาห์หนังสือมาเยือนอีกครั้ง หลายคนเฝ้ารอที่ได้ไปเดินเลือกซื้อหนังสือโปรดและเฝ้ารอพบปะพูดคุยกับเหล่านักเขียนทั้งหลายกันอย่างใจจดใจจ่อทีเดียว ผู้เขียนเป็นหนึ่งในนั้นที่ต้องการเดินชมเหล่าหนังสือด้วยความสุขใจ เพื่อเลือกซื้อตามรายการที่ได้รวบรวมไว้เช่นกัน แต่ครั้งนี้พิเศษหน่อยตรงที่ต้องพาเด็กน้อยติดตามไปด้วย ดังนั้นโซนที่ต้องไปเยือนอย่างแน่นอน หนีไม่พ้นโซนหนังสือนิทาน การ์ตูน แบบเรียนพัฒนาการสำหรับเด็กน้อย         เมื่อเห็นโซนหนังสือนิทานของเด็กน้อย ทำให้นึกถึงแอปพลิเคชันหนึ่งที่ช่วยเป็นสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กน้อยผ่านการเล่านิทานในรูปแบบมีเสียง ซึ่งแอปพลิเคชันนี้มีชื่อว่า “Me Books” อย่างแรกมารู้จักกับที่มาของแอปพลิเคชันนี้กันก่อนดีกว่า         แอปพลิเคชัน “Me Books” เกิดจากศูนย์กิจการสร้างสุข (SOOK Enterprise) ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ บริษัท มีบุ๊คส์ จำกัด ประเทศมาเลเซีย ได้พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ภายใต้แนวคิดปลุกหนังสือให้มีชีวิต เพื่อสนับสนุนให้แอปพลิเคชันนี้เป็นเครื่องมือเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาวะ ผ่านนิทานออนไลน์ 4 ภาษา ให้มีความน่าสนใจและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กอย่างเป็นระบบ         เรียกง่ายๆ คือ การพัฒนาสติปัญญาโดยการเรียนรู้ผ่านนิทานของเด็กๆ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีและพฤติกรรมของครอบครัวที่มักนำสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมาเป็นสื่อการเรียนการสอนอยู่แล้ว แอปพลิเคชันนี้จึงนำทั้งสองอย่างมารวบรวมไว้ในที่เดียวกัน เพื่อสะดวกในการใช้ง่าย ทั้งนี้นิทานที่อยู่ภายในแอปพลิเคชันจะมีทั้งหมด 4 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษามลายู สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android         หลังจากดาวน์โหลดต้องลงทะเบียนด้วยเมลและกำหนดรหัสผ่านในหน้าแรก โดยต้องกำหนดว่าผู้ลงทะเบียนมีสถานะเป็นพ่อหรือแม่ พร้อมทั้งลงทะเบียนชื่อเด็กได้มากกว่าหนึ่งคน เพื่อให้สามารถสลับหน้าแอปพลิเคชันไปยังข้อมูลการอ่านนิทานของแต่ละคนได้ ซึ่งแยกไว้อย่างชัดเจนตามชื่อที่ตั้งไว้ในแอปพลิเคชัน อีกทั้งยังเพิ่มความน่ารักด้วยการให้เลือกรูปภาพเป็นตัวแทนผู้ลงทะเบียน และเป็นตัวแทนเด็กๆ แต่ละคน         ในการค้นหานิทานในแต่ละครั้ง สามารถกำหนดเป้าหมายที่ต้องการตามช่วงอายุ ตามความชื่นชอบ ซึ่งแอปพลิเคชันได้แยกไว้ตามความเหมาะสมเรียบร้อย ทำให้สามารถเลือกนิทานได้ง่ายขึ้น และสามารถเลือกเก็บเรื่องที่ชื่นชอบไว้ในหมวดชื่นชอบได้ด้วย ทำให้เด็กๆ สามารถเข้าไปหาเรื่องที่ชื่นชอบได้ทันที โดยที่ไม่ต้องมาค้นหาใหม่อีกครั้ง         มาดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “Me Books” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการฟังนิทาน ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากกับการพัฒนาการของเด็ก เนื่องจากช่วยฝึกกระบวนการคิดของเด็กผ่านการเล่า เน้นการฟัง ทำให้ช่วยมีสมาธิมากขึ้น และช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ สร้างจินตนาการ เเละสร้างเรียนรู้อย่างมีความสุข แถมช่วยฝึกทักษะของภาษาให้กับเด็กในช่วงวัยที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 263 ระวัง เผลอกดลิงก์แอปฯเงินกู้ มือถือโดนดูดข้อมูล ถูกประจานว่าหนีหนี้

        ภัยออนไลน์เดี๋ยวนี้มีมาสารพัดรูปแบบ หากไม่ระมัดระวัง อาจตกเป็นเหยื่อของพวกมิจฉาชีพได้ โดยเฉพาะพ่อแม่ที่ให้ลูกเล็กใช้มือถือดูการ์ตูนหรือเล่นเกมต่างๆ  เด็กๆ อาจเผลอกดลิงก์อันตรายที่เด้งขึ้นมาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เหมือนอย่างลูกชายของคุณขวัญใจก็ได้         คุณขวัญใจเล่าว่า วันหนึ่งลูกชายวัย 2 ขวบ หยิบโทรศัพท์มือถือของเธอไปเล่น แล้วบังเอิญไปจิ้มกดโหลดแอปฯ เงินกู้เงินด่วนฟ้าผ่า ผ่านลิงก์จากโฆษณาในยูทูป หลังจากนั้นเธอก็โดนแอปฯ นี้ ดูดเอาข้อมูลส่วนตัวทุกอย่างในมือถือไปใช้ โดยพวกมิจฉาชีพได้โทรไปหลอกทุกคนที่มีรายชื่อในคลังเบอร์โทรศัพท์ของเธอว่า เธอได้กู้เงินจากแอปฯไปแล้วไม่ชำระคืน และยังพูดข่มขู่ให้พวกเขาจ่ายเงินคืนแทนเธอด้วย อีกทั้งยังนำรูปของเธอที่อยู่ในโทรศัพท์ไปโพสต์ประจานตามสื่อต่างๆ ทำให้เกิดความเสียหายมาก จนเธอต้องถูกไล่ออกจากงาน คุณขวัญใจจึงได้นำเรื่องนี้มาร้องเรียนกับทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนวทางแก้ไขปัญหา ในกรณีนี้คุณขวัญใจยังไม่สูญเสียเงินให้แก่มิจฉาชีพแต่อย่างใด ทางมูลนิธิฯ จึงแนะนำดังนี้        1. รีบดำเนินการแจ้งความเพื่อดำเนินคดี ให้พนักงานสอบสวน ตำรวจ สืบหาผู้กระทำความผิด หรือมิจฉาชีพ หรือคนร้ายดังกล่าว ในการหลอกดูดข้อมูลคลังเบอร์โทรศัพท์ที่มีอยู่ในมือถือไปใช้        2. รีบติดต่อทางไลน์ หรือทางเฟซบุ๊ก หรือโทรติดต่อกับทุกรายชื่อที่มีเบอร์บันทึกไว้ในมือถือ เพื่อแจ้งให้พวกเขารู้ว่า ตอนนี้มือถือของตัวเองถูกดูดข้อมูลไป ถ้ามีคนร้ายหรือมิจฉาชีพโทรไปขอให้โอนเงินมาใช้หนี้แทนตน อย่าหลงเชื่อเด็ดขาด    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 263 “สุขภาพดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” ประโยคนี้ถูกต้องที่สุด

        ในยุคสมัยที่การดำเนินชีวิตประจำวันต้องขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี หันไปทางใดก็มีแต่การใช้เทคโนโลยีตลอดเวลา อย่างเช่น การสแกนจ่ายสินค้าต่างๆ ผ่าน QR Code ธนาคาร การโอนเงินเพื่อซื้อบัตรโดยสารรถไฟฟ้า การซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ เป็นต้น         อันดับแรกขอพามารู้คำว่า AI กันก่อน AI ย่อมาจากคำว่า Artificial Intelligence แปลเป็นภาษาไทยว่า ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งหมายถึง ระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่มีการวิเคราะห์เชิงลึกคล้ายความฉลาดของมนุษย์ และสามารถก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นการกระทำได้ หรือเครื่องจักรที่มีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ จดจำ ตอบสนองต่อภาษา ตัดสินใจ และแก้ไขปัญหา โดยอาศัยข้อมูลจำนวนมากที่มีลักษณะซ้ำๆ เหมือนกัน         มากล่าวถึงเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบ้าง อย่างแอปพลิเคชัน Agnos Health เป็นแอปพลิเคชันที่ให้บริการวิเคราะห์อาการป่วยเบื้องต้นด้วยระบบ AI ที่มีความละเอียดสูง และแม่นยำ ที่สำคัญคือไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ แอปพลิเคชันนี้สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และระบบปฏิบัติการ Android การทำงานของแอปพลิเคชันจะใช้วิธีการช่วยวิเคราะห์อาการของโรคให้กับผู้ใช้ก่อนจะประมวลผลความเสี่ยงโรคที่มี หรือความเป็นไปได้พร้อมบอกวิธีการรับมือโรคในขั้นต่อไปว่าสามารถรักษาให้หายเองได้หรือควรต้องไปพบแพทย์ต่อ         เมื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Agnos Health ให้ลงทะเบียนเข้าใช้ จากนั้นภายในแอปพลิเคชันจะปรากฎเมนูต่างๆ ได้แก่ เมนูตรวจโรคด้วยตัวเองโดยระบบ AI เมนูตรวจโรคด้านจิตใจด้วย AI เมนูปรึกษาแพทย์ เมนูค้นหาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ เมนูซื้อยา เมนูกระทู้ถามแพทย์ เมนูคลินิกแนะนำ เมนูโรคที่พบบ่อย เมนูบทความแนะนำ         เมนูตรวจโรคด้วยตัวเองโดยระบบ AI และเมนูตรวจโรคด้านจิตใจด้วย AI จะเป็นเมนูคัดกรองอาการเบื้องต้นโดยการตอบคำถามและแอปพลิเคชั่นจะวิเคราะห์ผลลัพธ์ออกมา สำหรับเมนูปรึกษาแพทย์กรณีที่ต้องการสอบถามอาการเจ็บป่วย และสามารถปรึกษาเภสัชกรกรณีต้องการซื้อยารักษาโรค เพื่อให้สามารถรักษาได้ตรงตามโรคที่เป็นในเบื้องต้น ทั้งนี้ถ้าการวิเคราะห์จากแอปพลิเคชันมีความสุ่มเสี่ยง แอปพลิเคชันหรือแพทย์หรือเภสัชกรจะแนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียดต่อไป         สำหรับเมนูค้นหาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ เมนูซื้อยา แอปพลิเคชั่นจะค้นหาบริเวณที่ผู้ใช้อยู่ รวมถึงสามารถเข้าดูรายละเอียดตารางเวลาออกตรวจของแพทย์เฉพาะด้านแต่ละโรงพยาบาลได้ เช่น สูตินรีแพทย์ กุมารแพทย์ หูตาจมูก ตา กระดูก ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท จิตเวช  ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเลือกพบแพทย์ได้ล่วงหน้า

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 262 สำรวจ ฟู้ดเดลิเวอรี ใครมีตัวเลือกรักษ์โลก (ครั้งที่ 2)

        ปัจจุบันการกดสั่งอาหารออนไลน์ ทำได้ง่ายสะดวก รวดเร็ว เพราะมีผู้ให้บริการให้เลือกมากมาย ตลอดช่วงการระบาดของโรคโควิด -19 ประชาชนหันมาใช้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่กันมากขึ้น   และทั้งด้วยการจัดโปรโมชัน คูปอง การสะสมแต้มต่างๆ ยิ่งทำให้ผู้บริโภคนิยมสั่งอาหารเดลิเวอร์รีมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง          อีกด้านหนึ่ง ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอร์รี่กำลังสร้างปัญหาสำคัญคือ ขยะพลาสติกจำนวนมาก ที่สำคัญคือขยะจากฟู้ดเดลิเวอรีเหล่านี้ปะปนกับเศษอาหาร จึงไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้             ในฉลาดซื้อ ฉบับที่ 242  นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงได้สุ่มสำรวจตัวอย่างแอปพลิเคชันสั่งอาหารทางออนไลน์(ฟู้ดเดลิเวอรี) จำนวน 36 แอปพลิเคชัน ในเดือนมีนาคม 2564 เพื่อสำรวจว่าแอปฯ ฟู้ดเดลิเวอรีนั้นมีตัวเลือก ‘ลดการใช้ขยะพลาสติก’ ให้กับลูกค้าหรือไม่         ดังนั้นเพื่อการเฝ้าระวังต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันฟู้ดดิลิเวอรีมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาอีกหลายราย และเพื่อให้ผู้บริโภคที่มีใจของนักอนุรักษ์ได้มีข้อมูลว่า มีผู้ประกอบการรายใดที่ตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกนี้บ้าง ฉลาดซื้อ โครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และ สสส. จึงทำการสำรวจบริการสั่งอาหารออนไลน์อีกครั้ง  โดยครั้งนี้สำรวจ ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ ทั้งที่ให้บริการทั้งในพื้นที่กรุงเทพ และต่างจังหวัดดังเดิมและเพิ่มเติมรายใหม่รวมจำนวนทั้งหมด 41 ราย   สำรวจผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรีรายใหม่ จำนวน 9 ราย คือ  Shopee Food TH , 1376 Delivery,  AirAsia Food ,True Food, Foodhunt , Texas Chicken Thailand, Aolaimai ,Frabbit ,Fast Delivery Ubon ระยะเวลาสำรวจ เดือนธันวาคม 2565สรุปผลการสำรวจ        - ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แบบแอปพลิเคชัน  ที่มีตัวเลือก “ลดการใช้พลาสติก”  มีจำนวน 5 ราย คือ  Burger King, Food Panda, Grab Food , Line Man , AirAsia Food  (หรือ Gojek เดิม)      - ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชัน แต่ไม่มีตัวเลือก “ลดการใช้พลาสติก” มีจำนวน 22   ราย  คือ  Shopee Food TH , Foodhunt ,Truefood , 1112 Delivery ,  7- Eleven ,  KFC  Thailand ,  Mc Donald’s  , Robinhood , S&P Delivery,The Pizza company, Aolaimai, Ant Delivery, Foodman Delivery Service , Fastfood  Delivery ,Weserve ,Win Food Delivery ,Big Food Delivery,Captain Food Delivery,   Finvery,FooDee Delivery ,Coffee  World  Station , Starbucks  Thailand       - ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่ออนไลน์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น ผ่านช่องทาง เว็บไซต์ ไลน์ และ call center   และไม่มีตัวเลือกเพื่อลดการใช้พลาสติกที่ชัดเจน  มีจำนวน  8  ราย  คือ 1376 Delivery ,Domino’s  Pizza ,Fast Delivery Ubon ,Frabbit  ,Texas Chicken Thailand , Fuji Japanese Restaurant ,MK  delivery,Neo  Suki        และ แอปพลิเคชันยอดนิยมที่สำรวจแล้วพบว่า ไม่ใช่บริการ ฟู้ดเดลิเวอร์รี่ มีจำนวน  6   แอป คือ  CP Fresh Mart , Happy Fresh, Lalamove ,Skootar ,Wongnai ,ครัวคุณต๋อย    ข้อสังเกต      -   ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่ทั้งผ่านแอปพลิเคชัน และสั่งซื้อผ่าน เว็บไซต์ ไลน์ และ call center  ที่ไม่มีตัวเลือกกดไม่รับพลาสติกแต่จะมีช่อง ‘คำขอพิเศษ’  ‘โน้ตไปยังร้านอาหาร’ ‘หมายเหตุ’  ‘ใส่รายละเอียดเพิ่มเติม (ถ้ามี)’ ซึ่งผู้บริโภคสามารถใช้ช่องทางนี้ ปฏิเสธไม่รับพลาสติก  รวมไปถึงสื่อสารถึงร้านอาหารได้โดยตรงว่า ไม่ต้องการรับพลาสติกที่ไม่จำเป็น           -   ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่ มีโปรโมชั่นเพื่อจูงใจให้กดสั่งซื้อมากมาย ทั้ง มีการจัดส่งฟรี การสะสมแต้ม การลดราคาเมื่อซื้อจำนวนมากหรือ ลดราคาในวันพิเศษต่างๆ เหล่านี้เพื่อกระตุ้นยอดขายแต่ยังไม่พบว่า มีการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายพร้อมๆ กับการสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้บริโภคลดปริมาณขยะจากอาหารเดลิเวอร์รี่ เช่น  การสะสมแต้มจากการไม่รับช้อน ซ่อม พลาสติก ,  คูปองส่วนลดสำหรับลูกค้าที่เลือกไม่รับช้อนส้อมเป็นประจำ เป็นต้น        -   ร้านอาหารจำนวนมากมีแอปพลิเคชัน และช่องทางรับคำสั่งซื้อออนไลน์ในช่องทางอื่นๆ เช่น เว็บไซต์  ไลน์ Call center ของตนเองแต่ยังมักประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคสั่งซื้อผ่าน ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่รายใหญ่ เช่น Grab Food , Line Man เนื่องจากจะได้รับความนิยมได้มากกว่า        -   ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่ที่มีทางเลือกให้ผู้บริโภคกดไม่รับพลาสติกทั้งหมดเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่    อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่รายใหญ่ หลายรายที่ยังไม่มีการพัฒนาระบบตั้งค่าลดการใช้พลาสติดดังกล่าว การที่ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่รายใหญ่เห็นความสำคัญมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ช่วยให้สังคมตระหนักถึงปัญหาขยะจากอาหารเดลิเวอร์รี่ เพราะผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่รายใหญ่ รายหนึ่งเป็นหน้าร้านของร้านอาหารอีกเป็นจำนวนมาก เช่น  Foodhunt ที่ให้บริการจัดส่งอาหารให้แก่ Mister Donut , Auntie anne’s , โอโตยะ, ไทยเทอเรส ฯลฯ  และ  1112 Delivery  ที่ให้บริการจัดส่งอาหาร  The Pizza , Bonchon และอีกนับสิบร้านชื่อดัง       -   ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รีในต่างจังหวัดรายหนึ่งสะท้อนว่า “เคยให้บริการผ่านแอปพลิเคชันที่สามารถกดไม่รับพลาสติกได้ เมื่อได้ปรับเป็นการรับคำสั่งซื้อผ่านช่องทางไลน์เพื่อลดต้นทุน ผู้บริโภคมักไม่ระบุวัสดุการจัดส่ง  จึงมองว่าระบบการกดไม่รับพลาสติกในแอปพลิเคชันมีส่วนสำคัญที่กระตุ้นผู้บริโภคให้ลดขยะและตระหนักในปัญหาขยะจากอาหารเดลิเวอร์รีได้”  ข้อแนะนำ     -   ผู้บริโภค ควรใช้ตัวเลือกลดขยะพลาสติกในแอปฯ (ถ้ามี) เพื่อเป็นการช่วยในเรื่องการลดปัญหาขยะ    -   ปัญหาสำคัญของขยะจากฟู้ดเดลิเวอรี คือเป็นขยะพลาสติกที่ปะปนกับเศษอาหารทำให้ไม่สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ ผู้บริโภคจึงควรคัดแยกขยะก่อนทิ้งและรวบรวมนำไปให้ในจุดที่บริการรับขยะพลาสติกเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์  หรืออย่างน้อยควรชำระให้ปนเปื้อนน้อยที่สุดก่อนทิ้ง       -   ปัจจุบัน ร้านอาหารหลายร้าน หากไม่ให้ถุงพลาสติกก็อาจพัฒนาถุงพลาสติกเพื่อให้ผู้บริโภคไปใช้ซ้ำได้นานมากขึ้นที่สุด เมื่อได้รับวัสดุ /ถุงพลาสติกจึงควรนำกลับมาใช้ซ้ำหรือหาทางใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด    -   เลือกใช้บริการ ร้านอาหาร / ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี ที่มีความรับผิดชอบต่อปัญหาขยะอาหารเดลิเวอร์รีหรือปรับเปลี่ยนมาเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม    การใช้บริการจัดส่งสั่งอาหารออนไลน์ อาจได้เป็นวิถีใหม่ของคนไทยไปแล้ว อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการและผู้บริโภคควรได้ตระหนักร่วมกันถึงปริมาณขยะจากอาหารเดลิเวอร์รี่กำลังเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาล  การลดขยะหรือการทำให้ขยะกลับมาใช้ได้จริง จึงต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 262 ปี 2565 เศรษฐกิจแย่ แอปกู้เงินออนไลน์หลอกลวงระบาดหนัก พบร้องเรียนมากสุด

        ปี 2565 เศรษฐกิจแย่ แอปกู้เงินออนไลน์หลอกลวงระบาดหนัก พบร้องเรียนมากสุด        2565 เป็นปีที่ผู้บริโภคไทยยังต้องรับมือกับยุคข้าวยากหมากแพง จากผลสำรวจของ EIC (Economic Intelligence Center) ธนาคารไทยพาณิชย์เผยคนรายได้น้อยกระทบหนัก เหตุรายได้ไม่เพิ่ม แต่ค่าใช้จ่ายพุ่ง ทำให้อัตราการออมลดและเกือบครึ่งผิดนัดชำระหนี้ สอดรับกับปัญหาสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ประจำปี 2565 พบว่า ปัญหาการเงินการธนาคาร “ถูกแอปพลิเคชันกู้เงินออนไลน์หลอกลวงผู้บริโภค” พุ่งอันดับ 1 และเรื่องที่ปรึกษามากทุกวันคือ “ทำอย่างไรเมื่อไม่มีเงินจ่ายหนี้”         มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เปิดเผยสถานการณ์ผู้บริโภคของปี 2565  (1 มกราคม - 30 พฤศจิกายน 65) จากจำนวนผู้ร้องเรียน 2,090 ราย พบ อันดับที่หนึ่ง ปัญหาการเงินการธนาคาร/ประกัน 487 เรื่อง (ร้อยละ 23.3)  อันดับที่สอง ปัญหาด้านสินค้าและบริการทั่วไป 415   เรื่อง (ร้อยละ  19.9) และอันดับที่สาม ปัญหาด้านสื่อและโทรคมนาคม รวม  378  เรื่อง (ร้อยละ  18.1)           อันดับ 1 “ถูกแอปพลิเคชันกู้เงินออนไลน์หลอกลวง”         ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ถูกแอพกู้เงินออนไลน์หลอก มีทั้งกรณีหลอกให้กู้แล้วได้เงินจริงแต่เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด และกรณีกู้เงินแต่ไม่ได้เงินแต่กลับต้องเสียเงิน ตามมาด้วยปัญหาหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และเช่าซื้อรถยนต์ เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคหลายรายไม่มีรายได้ ตกงาน ทำให้ไม่มีเงินชำระหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อต่างๆ ในปี 2565 ปัญหาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นปัญหายอดฮิตที่ผู้บริโภคเข้ามาปรึกษาที่มูลนิธิฯผ่านช่องทางต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะสอบถามประเด็นเป็นหนี้แล้วไม่มีเงินชำระต้องทำอย่างไร ได้รับหมายศาลผิดนัดชำระหนี้         สำหรับปัญหาประกัน กรณีการเคลมประกันโควิด ทั้งการเคลมประกันล่าช้า โดยลักษณะปัญหาคือ บริษัทประกันหลายที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ที่กำหนดให้บริษัทประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยภายใน 15 วัน กรณียื่นเอกสารครบถ้วน หากผู้เอาประกันยื่นเอกสารไม่ครบถ้วนให้แจ้งภายในวันเดียวกับที่ตรวจพบและให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ยื่นเอกสารครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องบางรายส่งเอกสารครบถ้วนตามที่บริษัทแจ้ง ผ่านมา 3 เดือนยังไม่ได้รับค่ากรมธรรม์ และการที่บริษัทบอกเลิกสัญญา ยกเลิกประกันภัย การติดเชื้อไวรัสโคโร่นา แบบ เจอ จ่าย จบ หรือ โควิด 2 in 1 ระบุจ่ายเงินเบี้ยประกันคืน 15 วัน ทั้งนี้บริษัทจะแจ้งผู้ทำประกันภัยการติดเชื้อไวรัสโคโร่นา แบบข้างต้นว่า ทางบริษัทมีความจำเป็นที่จะต้องบอกเลิกสัญญากรมธรรม์ แบบเจอ จ่าย จบ และ 2 In 1 สืบเนื่องจากภาวะการระบาดของโรคติดเชื้อโควิดที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องและมีผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงจนคาดเดาสถานการณ์ไม่ได้ อันดับ 2 “สินค้าชำรุด ไม่ตรงปก โปรโมชันหลอก”         ในขณะที่ผู้บริโภคเผชิญกับปัญหาสินค้าแพง ยังถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาสินค้าชำรุดบกพร่อง สินค้าไม่ตรงปก และโฆษณาเกินจริงอีกด้วย โดยเฉพาะสินค้าที่สั่งทางออนไลน์ เช่น เสื้อผ้า ซึ่งจะได้รับสินค้าไม่ตรงตามที่โฆษณาหรือแสดงไว้บนหน้าแพลตฟอร์ม ส่วนกรณีซื้อสินค้าจากร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ห้างค้าปลีก พบปัญหาการแสดงราคาผิดและการแสดงโปรโมชันไม่ถูกต้องหรือการจัดวางสินค้าไม่ตรงกับป้ายแสดงราคา ทำให้เกิดปัญหาการเข้าใจผิด เช่น ที่ป้ายแจ้งว่าสินค้าซื้อ 1 แถม 1 แต่เมื่อนำสินค้าไปชำระเงินพนักงานกลับคิดราคาเต็มไม่มีการแถม เป็นต้น         ในส่วนของงานบริการ ผู้บริโภคพบปัญหาหลายด้าน อาทิ การถูกชักชวนให้ซื้อคอร์สบริการความงามต่างๆ หรือการเปิดบูธลวงขายเครื่องสำอางแพงเกินจริง การพบแอพขายสินค้าออนไลน์ที่ขายผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมาย และการหลอกซื้อบริการโปรแกรมทัวร์ท่องเที่ยวต่างประเทศล่วงหน้าแต่ถูกยกเลิกเที่ยวบินภายหลัง อันดับ 3 “คอลเซนเตอร์และ SMS หลอกลวง” ยังไม่หายไป         เมื่อปี 2564 ปัญหาเอสเอ็มเอสหลอกลวงจากบรรดามิจฉาชีพต่างๆ ครองอันดับหนึ่ง แต่เพราะการกระจายข่าวสารต่อสาธารณะมากขึ้น ทำให้ปัญหาลดความแรงลงมาแต่ไม่ใช่จะไม่มี ปีนี้ก็ยังเข้ามาเป็นอันดับที่ 3 ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทั้งประเด็น SMS สินเชื่อ , บริการกู้เงินออนไลน์ , SMS พนันออนไลน์ , SMS รบกวนหลอกให้กดลิงก์เพื่อล้วงข้อมูล/หลอกหลวงให้โอนเงินเข้าบัญชี                   สถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคที่น่าสนใจอื่นๆ         บริการสุขภาพ  เรื่องสิทธิบัตรทอง เรื่องการคิดค่าบริการสูงไม่สมเหตุผลของสถานพยาบาลยังเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน ตลอดจนเรื่องการฉีด/ไม่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ยังมีผู้บริโภคบางส่วนสับสน         อาหาร ยา เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผู้บริโภคยังเสี่ยงกับผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาเกินจริง อาหารเสริมโฆษณาสรรพคุณรักษาโรค อาหารหมดอายุก่อนวันที่แสดงบนฉลาก อาหารที่พบเจอสิ่งแปลกปลอมซึ่งแสดงถึงความไม่สะอาดถูกสุขลักษณะหรือแม้แต่อาหารที่สั่งทางออนไลน์ได้ไม่ตรงกับภาพโฆษณา         บริการขนส่งและยานพาหนะ เมื่อแท็กซี่เริ่มกลับมาให้บริการปกติ สถานการณ์แท็กซี่บอกปฏิเสธผู้โดยสารก็กลับมาเพิ่มในเรื่องร้องเรียนมากขึ้น รวมถึงวินมอเตอร์ไซต์ที่เรียกเก็บค่าบริการเกินราคาที่แสดง ขณะเดียวกันปีนี้กรมทางหลวงเปิดบริการ M-flow ก็พบว่ามีผู้บริโภคจำนวนมากร้องเรียนกับทางมูลนิธิฯ ว่า         “หลังจากได้เริ่มประกาศใช้ระบบดังกล่าวมีกระแสจากผู้ใช้เส้นทางสับสนในการใช้ช่องทางให้ถูกต้อง เกิดการเบียดแทรกเปลี่ยนเลนช่วงก่อนเข้าด่านเก็บเงิน ส่งผลให้การจราจรหน้าด่านติดขัดในช่วงเวลาเร่งด่วนมากขึ้นกว่าเดิม อีกหนึ่งปัญหาที่พบคือ ผู้ใช้ถนนขาจรที่ไม่ค่อยได้สัญจรผ่านเส้นทางมอเตอร์เวย์สาย 9 หลายคนเลือกใช้ช่องผ่านด่านของ M-Flow ทั้งที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน แต่ต้องชำระค่าธรรมเนียมผ่านช่องทางต่างๆ ภายใน 2 วัน สำหรับรถที่ใช้บริการผ่าน M-Flow และไม่เสียค่าธรรมเนียมภายใน 2 วัน จะถูกปรับ 10 เท่า หรือคิดเป็นขั้นต่ำ 330 บาทต่อการผ่านทาง 1 ครั้ง ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกว่าค่าปรับดังกล่าวนั้นแพงไป เนื่องจากยังมีผู้ใช้รถใช้ถนนอีกไม่น้อยที่ยังไม่รู้จักกับระบบ M-Flow อีกทั้งวิธีการประชาสัมพันธ์ของกรมทางหลวงที่ไม่สามารถกระจายข่าวสารได้มากพอ จึงสร้างความสับสนและปัญหาในมิติอื่นๆ ที่ตามมาอีกจำนวนมาก”         อีกกรณีที่น่าสนใจคือ ร้องเรียนกรณีสายการบินยกเลิกเที่ยวบินเนื่องจากสถานการณ์โควิดจนถึงปัจจุบันสายการบินยังไม่ได้ดำเนินการคืนแก่ผู้ร้อง ไม่ว่าจะเป็นสายการบินในประเทศและต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือสายการบินไม่ยอมคืนเงินแก่ผู้โดยสารแจ้งข้อเสนอให้ผู้บริโภคเลือกเครดิตเดินทางภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งทางเลือกดังกล่าวไม่ตอบโจทย์และเป็นธรรมเก็บผู้บริโภค เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19เป็นสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะดีขึ้นเมื่อไหร่ ผู้บริโภคบางรายไม่ต้องการรับเครดิตตามที่สายการบินเสนอแล้ว สายการบินที่ได้มีการแจ้งร้องเรียนมายังมูลนิธิฯอาทิ สายการบิน Thai VietJet สายการบิน Thai Lion Air เป็นต้น โดยสายการบินที่ถูกร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมากได้แก่ สายการบินแอร์เอเชียและแอร์เอเชียเอ็กซ์          อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย เรื่องร้องเรียนมากสุด ได้แก่ ร้องเรียนกรณีบริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) สร้างคอนโดไม่เสร็จตามสัญญาเมื่อยกเลิกสัญญาบริษัทฯกลับไม่ยอมคืนเงิน จากกรณีดังกล่าวมีผู้ร้องเดินทางมาร้องเรียนที่มูลนิธิฯด้วยตัวเองจำนวน 40 กว่ารายทั้งหมด 4 โครงการได้แก่ โครงการ ไรส์ พหล - อินทามระ โครงการ ดิ เอ็ก ไฮด์อะเวย์ โครงการ The excella salle 17 โครงการ ดิ เอ็กเซลลาซาล 17 โดยทางมูลนิธิฯได้มีการเปิดรับเรื่องให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายร้องเรียนและได้มีการเข้าพบกับตัวแทนบริษัทฯเพื่อสอบทางแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยตัวแทนบริษัทฯชี้แจงว่า ทางบริษัทฯอยู่ระหว่างการคืนเงินแก่ผู้ร้องโดยขอแบ่งชำระเป็นงวดและทำบันทึกสัญญา ทั้งนี้ปรากฎว่าบริษัทฯไม่ได้มีการชำระเงินงวดแรกตามที่ตกลงไว้ มูลนิธิฯจึงจะดำเนินการฟ้องคดีเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ร้อง        พลังงานและสิ่งแวดล้อม สืบเนื่องจากราคาพลังงานปีนี้ค่อนข้างพุ่งสูง ทำให้เกิดการร้องเรียนเรื่องค่าไฟฟ้าสูงเกินจริง ร้องเรียนกรณีต้องการเรียกค่าเสียหายจากการที่การไฟฟ้านครหลวงถอดมิเตอร์แล้วมิเตอร์ได้รับความเสียหาย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 262 ความเคลื่อนไหวเดือนธันวาคม ปี 2565

เชียงใหม่อันดับ 1 เสี่ยงสารเคมีการเกษตรตกค้างในร่างกาย        สสส.ระบุ เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่พบว่ามีสารเคมีตกค้างในเลือดสูงเป็นอันดับ 1         นางประภาศรี บุญวิเศษ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่าเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่พบว่ามีสารเคมีตกค้างในเลือดสูงเป็นอันดับ 1 จำเป็นต้องเร่งสร้างความรู้ด้านอาหารให้แก่เกษตรกรร่วมมือกับร้านอาหาร ตลาด โรงแรม ช่วยกันพัฒนาแหล่งอาหารที่ปลอดภัยในชุมชน เลือกซื้ออาหารที่มีโภชนาการที่เหมาะสมจากการปลูกผักที่ปลอดภัยด้วยตนเอง         จากข้อมูลของ รศ.ดร.วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุภาคเหนือ คือภาคที่มีสารเคมีตกค้างในร่างกายของประชาชนในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยมากกว่า 10 ปีแล้ว โดยปี 2565 มีสารเคมีตกค้างกว่า 70.3% ภาคใต้ 58.65%  ภาคกลางและภาคตะวันออก 41.19% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 37.14% และข้อมูลจาก ศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. อีกเช่นกันระบุว่า พืชผักที่มีสารเคมีตกค้างมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ คะน้า ผักกาดขาว มะเขือเทศ กะเพรา พริกขี้หนู และส่งผลให้สารเคมีในเลือดอาสาสมัคร 189 คน อยู่ระดับเสี่ยงถึง 56.25% ระดับไม่ปลอดภัย 28.08% แต่ระดับปลอดภัยและปกติ อยู่เพียง 9.18 และ 6.49 เท่านั้น พบเนื้อสัตว์แช่ฟอร์มาลิน ส่งขายร้านหมูกระทะ         นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 จากด่านกักกันสัตว์ชลบุรีว่า เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบสถานประกอบกิจการผลิตภัณฑ์แปรรูปวัตถุดิบเนื้อและเครื่องในสัตว์ จ.ชลบุรี เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่า มีการลักลอบผลิตเนื้อสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากการเข้าตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ พบว่าไม่มีการขออนุญาตผลิตอาหารและใบอนุญาตอื่นๆ ซึ่งมีความผิดตามพระราชบัญญัติโรคระบาด พ.ศ.2558 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559 นอกจากนี้  วัตถุดิบชิ้นส่วนเครื่องในโค เครื่องในสุกร มีการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ซึ่งประกอบไปด้วย ฟอร์มาลิน โซดาไฟ ไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกไซด์ ทางเจ้าหน้าที่จึงได้ยึดของกลางดังกล่าวไว้ เช่น ชิ้นส่วนเนื้อและเครื่องในสุกรและโค จำนวน 25,000 กิโลกรัม พร้อมด้วยแกลลอนบรรจุสารเคมีฟอร์มาลิน 50 แกลลอน และใบเสร็จที่มีการขายให้กับร้านหมูกระทะและร้านอาหารอีสานกว่า 66 ราย    6 แอปพลิเคชันเรียกรถถูกกฎหมาย         นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยว่า ทางรัฐบาลได้ส่งเสริมการผลักดันให้บริการทางเลือกรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยกระทรวงคมนาคมได้ออกกฎกระทรวงรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2564 ให้ภาครัฐสามารถควบคุมและกำกับการดูแลการให้บริการที่ปลอดภัย รวมทั้งเกิดการแข่งขันในการพัฒนาใต้กติกาเดียวกัน          ทั้งนี้ บริการทางเลือกรถยนต์รับจ้างผ่านแอปพลิเคชันคือการให้บริการผ่านแอปฯ ที่กระทรวงคมนาคมให้การรับรอง มีความปลอดภัย ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ แสดงค่าโดยสารล่างหน้าชัดเจน ตรวจสอบได้ มีประกันครอบคลุมตามกฎหมายคุ้มครองประสบภัยกำหนด ซึ่งปัจจุบันได้ให้การรับรองแอปพลิเคชันแล้ว จำนวน 6 ราย ได้แก่ แกร็บ,โรบินฮู้ด,ฮัลโหลภูเก็ต เซอร์วิส,บอนกุ,เอเชีย แค็บ,และ “Airasia Super App” นอกจากนี้ ผู้ขับรถต้องมีใบอนุญาตขับรถสาธารณะ สามารถอบรมทางออนไลน์ได้ที่ www.dlt-elearning.com ชาวไอทีแนะอย่าโหลดแอปพลิเคชันแปลกนอก Store ดีสุด         จากโพสต์ของผู้ใช้ทวิตเตอร์  Chanon Ngernthongdee  ซึ่งทดลองเป็นเหยื่อของแกงค์คอลเซนเตอร์เพื่อทดสอบว่าอะไรคือสิ่งที่แกงค์ดังกล่าวใช้เล่นงานผู้บริโภค โดยเขาออกมาเตือนว่า วิธีป้องกันอย่างง่ายที่สุดคือ ไม่โหลด app นอก Store หรือ Block installation of unmanaged mobile apps          ทั้งนี้ผู้ใช้ทวิตเตอร์ท่านนี้บอกว่า ตนเองพยายามตกเป็นเหยื่อ call center อยู่นานมากเพื่อจะได้รู้ว่าเขาหลอกยังไง ให้ลง app (แอปพลิเคชัน) อะไร สุดท้ายในที่สุดก็ได้ app นั้นมา ทำให้ตนเข้าใจแล้วว่าทำไม app นั้นถึงสามารถไปดึงข้อมูลและสั่งให้ app ธนาคารทำธุรกรรมทางการเงินของเหยื่อได้ คนเขียน app นั้นใช้ AccessibilityService เพื่อควบคุมนั่นเอง มพบ.จัดอบรมให้เยาวชนเท่าทันทางการเงินจากโลกออนไลน์                   วันที่ 1-2 ธันวาคม 2565 ณ โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์ กรุงเทพมหานคร มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้จัดกิจกรรมฝึกอบรมหลักสูตร “เยาวชนเท่าทันการเงิน” เพื่อเสริมทักษะให้การเยาวชนไทยเรื่องการเงิน โดยได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ซึ่งจากข้อมูลที่ทางมูลนิธิฯ ได้รับเรื่องร้องเรียน เช่น บัตรเครดิต การชำระหนี้ การจัดการหนี้ การทวงหนี้ไม่เป็นธรรม มากเป็นลำดับต้นๆ ส่วนใหญ่สาเหตุหลักคือ ประชาชนไทยยังขาดทักษะ ความเข้าใจการใช้บัตรเครดิต การวางแผนทางการเงิน การเท่าทันภัยการเงินทางออนไลน์         ทั้งนี้ นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์ กล่าวว่า โครงการเยาวชนรู้เท่าทันทางการเงิน เริ่มดำเนินการอบรมมาตั้งแต่ ปี2563  เข้าร่วมกว่า 30 โรงเรียน ทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคอีสาน มูลนิธิฯ ยังคงดำเนินการด้วยความเชื่อมั่นว่า ถ้าเด็กและเยาวชนไทยมีความรู้เท่าทันทางการเงิน วางแผนการจัดการรายได้และรายจ่าย ย่อมเป็นทักษะสำคัญที่สร้างชีวิตที่มีคุณภาพได้

อ่านเพิ่มเติม >