ฉบับที่ 261 กระแสต่างแดน

ห้ามกู้มาจ่ายหน่วยงานด้านกิจการผู้บริโภคของญี่ปุ่นเสนอร่างกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของทายาทหรือคู่ครองของบุคคลที่ “บริจาคเกินตัว” จนครอบครอบครัวต้องลำบากร่างกฎหมายดังกล่าวห้ามการบริจาค “เงินที่ได้จากการกู้ยืม” และเงินจากการขายบ้านที่เป็นทรัพย์สินของครอบครัว หากได้บริจาคไปแล้วก็ให้ถือเป็นโมฆะ ลูกหลานหรือคู่ครองสามารถเรียกร้องเงินคืนได้ การบริจาคดังกล่าว หมายถึงการบริจาคให้กับองค์กรทุกประเภท (ไม่จำกัดเฉพาะองค์กรทางศาสนา) นอกจากนี้รัฐสภาญี่ปุ่นได้โหวตให้แก้ไขกฎหมายเพื่อจัดการกับ “เทคนิคการขายแบบพิสดาร” ขององค์กรศาสนาบางแห่ง เช่น การบอกสมาชิกว่าถ้าไม่บริจาคแล้วโชคร้ายจะติดตัวไป หรือจะไม่ได้รับอนุญาตให้กลับบ้านถ้าไม่จ่าย เป็นต้น เรื่องแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับชายญี่ปุ่นที่ตัดสินใจลอบสังหารอดีตนายกชินโซ อาเบะ ซึ่งเขาเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ “โบสถ์แห่งความสามัคคี” ที่ทำให้แม่ของเขาต้องหมดตัวเท่านั้น ปัจจุบันมีเด็กจำนวนไม่น้อยไม่มีบ้านอยู่ หรือต้องใช้ชีวิตอย่างยากแค้นเพราะพ่อแม่นำเงินไปทุ่มเทให้กับองค์กรเหล่านี้  ให้ความร่วมมือดี         คุณอาจกำลังสงสัยว่าประเทศอย่างสิงคโปร์ตกเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์เหมือนกับประเทศเพื่อนบ้านในโซนนี้หรือไม่ ... คำตอบคือ ไม่น้อย ระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนที่ผ่านมาชาวสิงคโปร์ โดนมิจฉาชีพหลอกโอนเงินทางโทรศัพท์ไปแล้ว 51 ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายรวม 3.3 ล้านเหรียญ (ประมาณ 85 ล้านบาท) รายที่โดนหนักสุด สุญเงินไปถึง 700,000 เหรียญ (18 ล้านบาท) เริ่มจากการที่เหยื่อได้รับโทรศัพท์จาก “เจ้าหน้าที่ธนาคาร” ที่แจ้งว่า “บัญชีของคุณมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน” จากนั้นก็โอนสายให้คุยกับ “เจ้าหน้าที่ตำรวจ” ที่จะยืนยันตัวตนด้วยการส่งรูปบัตรประจำตัวมาให้ดูประกอบความน่าเชื่อถือ จากนั้นก็อธิบายสถานการณ์แล้วขอให้เหยื่อโทรหา “เจ้าหน้าที่สอบสวน” กรณีดังกล่าวโดยตรง ตามด้วยจดหมายจาก “สำนักงานตำรวจแห่งชาติของสิงคโปร์” ที่ขอความร่วมมือให้เหยื่อช่วยสืบสวนหาต้นตอของ “เงินผิดกฎหมาย” ดังกล่าว ระหว่างนั้นก็ขอให้เหยื่อโอนเงินของตัวเองไปเก็บไว้ใน “บัญชีที่ปลอดภัย” ที่เขาจัดไว้ให้ ... งานนี้ไม่อยากเป็นมิตร         รัฐบาลฮ่องกงได้อนุมัติการผลิตและการใช้ “โลงศพชนิดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” มาตั้งแต่ปี 2007 โดยนำร่องใช้กับพิธีเผาศพไม่มีญาติ ตามด้วยการออกระเบียบให้ผู้ให้บริการพิธีเผาศพนำเสนอ “โลงอีโค” ให้เป็นหนึ่งในทางเลือกของลูกค้าเสมอ โลงอีโคทำจากกระดาษและวัสดุรีไซเคิล สามารถติดไฟและเผาไหม้ได้ดีจึงประหยัดพลังงาน และยังปล่อยก๊าซอันตรายน้อยกว่า เมื่อเทียบกับโลงแบบดั้งเดิมที่ทำจากไม้ทั้งต้น ยิ่งไม้มีความแข็งแรง ก็ยิ่งลุกไหม้ยาก ในขณะที่สีย้อมไม้ น้ำมันเคลือบเงา ที่จับโลหะ รวมถึงผ้าบุด้านใน ล้วนก่อให้เกิดสารอันตรายเมื่อติดไฟอีกด้วย  สภาผู้บริโภคฮ่องกงพบว่าในช่วงสิบปีที่ผ่านมามีการใช้โลงอีโคเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น ไม่สอดคล้องกับผลการสำรวจเมื่อปี 2015 ที่พบว่าคนฮ่องกงถึงร้อยละ 67 ยินดีจะเปลี่ยนมาใช้โลงอีโคถ้าพวกเขาต้องวางแผนจัดงานศพ หรืออาจเพราะปัจจัยด้านราคา สภาฯ พบว่าโลงสองประเภทนี้ราคาไม่ต่างกัน (5,000 เหรียญ หรือประมาณ 22,300 บาท) สธ. ต้องรับผิดชอบ         ครอบครัวชาวอินโดนีเซีย 12 ครอบครัว รวมตัวกันยื่นฟ้องคดีแบบกลุ่มต่อกระทรวงสาธารณสุข และองค์การอาหารและยา ที่ล้มเหลวในการสกัดกั้นการจำหน่าย “ยาแก้ไอมรณะ” ที่ทำให้เด็กเสียชีวิตเพราะอาการไตวายไปแล้วเกือบ 200 คน ตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังฟ้องบริษัทที่เป็นผู้จัดหายาดังกล่าว ซึ่งพบว่ามีส่วนประกอบของสารอันตราย ไดเอทธิลีน ไกลคอล และเอทธิลีน ไกลคอล เกินมาตรฐาน (สารดังกล่าวใช้ในอุตสาหกรรมสี หมึก และน้ำมันเบรก เป็นต้น) ก่อนหน้านี้รัฐบาลอินโดนีเซียได้ทำการสอบสวนและสั่งระงับการจำหน่ายยาดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยเยียวยา 2,000 ล้านรูเปียห์ (ประมาณ 4.46 ล้านบาท) สำหรับผู้เสียชีวิต และ 1,000 ล้านรูเปียห์ สำหรับผู้ที่สูญเสียไต เหตุดังกล่าวเคยเกิดขึ้นในแกมเบีย และก่อนหน้านั้นในรัฐจัมมูของอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตยาดังกล่าว เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมารัฐบาลอินเดียได้สั่งปิดโรงงานที่ผลิตแล้ว ใครๆ ก็กินได้ ธุรกิจ “โลว์คอสต์” มักมีการแข่งขันสูง ซูชิโลว์คอสต์ก็เช่นกัน ล่าสุดประธานบริษัท Kappa Create หนึ่งในสี่ผู้ประกอบการร้านสายพานซูชิรายใหญ่ของญี่ปุ่น ถูกจับในข้อหา “ขโมยข้อมูลสำคัญทางธุรกิจ” จาก Hana Sushi ที่เขาเคยเป็นพนักงานมาก่อน ข้อมูลที่ขโมยมาคือรายการต้นทุนของแต่ละเมนู และบริษัทจัดหาวัตถุดิบของคู่แข่งนั่นเอง อุตสาหกรรมนี้เติบโตมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ใครๆ ก็อยากกินซูชิที่ราคาเริ่มต้นแค่จานละ 100 เยน (ประมาณ 25 บาท) และราเมนหรือขนมที่ราคา 300 หรือ 400 เยน ก็โดนใจผู้บริโภคสายประหยัดยิ่งนักส่งผลให้ผู้ประกอบการงัดกลยุทธออกมาแย่งลูกค้ากัน บางทีก็ไม่ใช่วิธีที่ดีนัก นักวิชาการคาดว่าเรื่องแบบนี้จะมีให้เห็นกันอีก ก่อนหน้านี้ Sushiro เจ้าใหญ่ที่มีถึง 600 สาขาทั่วญี่ปุ่น ก็ทำทีโปรโมทเมนู​พิเศษ “ซูชิหอยเม่น” (เจ้าอื่นไม่มีเมนูนี้เพราะไม่สามารถหาวัตถุดิบได้) แต่เมื่อลูกค้าไปถึงร้าน กลับไม่มีเมนูดังกล่าวให้ ทางร้านอ้างว่า “ขายดีเกินคาด” ของจึงหมดสต็อก  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 237 จับพิรุธ ตระเวนซื้อยาแก้แพ้ แก้ไอ

        วัยรุ่นยุคนี้มักมีพฤติกรรมแปลกๆ เพื่อโชว์ให้คนสนใจ บางครั้งกลับทำให้เกิดอันตรายกับตัวเองดังกรณีล่าสุดที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาต้องออกมาเตือนวัยรุ่นว่า อย่าลอกเลียนแบบการทำ Benadryl challenge เด็ดขาด หลังพบรายงานผู้เสียชีวิตจากการเข้าร่วมทำไวรัลดังกล่าวผ่านแอพพลิเคชั่น TIKTOK เพราะยาเบนาดริล (Benadryl) แม้จะเป็นยาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษา แต่หากรับประทานเกินขนาด อาจเกิดอาการข้างเคียงจนถึงแก่ชีวิตได้         ยาเบนาดริล (Benadryl) มีชื่อสามัญทางยาคือ ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) เป็นยาแก้แพ้ที่ใช้ในการบรรเทาอาการโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจส่วนบนและอาการหวัด เช่น น้ำมูกไหลและจาม ในแง่กฎหมายจัดเป็นยาอันตรายที่ต้องสั่งจ่ายยาโดยแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น หากรับประทานเกินขนาด อาจเกิดความผิดปกติกับหัวใจทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง หัวใจหยุดเต้นและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้         ในประเทศไทยมีการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่มีไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) หลายตำรับ ทั้งยาน้ำ ยาเม็ด และยาแคปซูล มีชื่อการค้าต่างๆ มากมาย  ร้านขายยาที่จ่ายยานี้ให้กับผู้ป่วยจะต้องจัดทำบัญชีการขายยาเพื่อป้องกันการนำยาไปใช้ในทางที่ผิด         จากการลงพื้นที่ตรวจสอบตามร้านขายยาและข้อมูลในชุมชนพบว่า วัยรุ่นมักจะตระเวณมาขอซื้อยานี้ตามร้านต่างๆ ทั้งจากร้านยาหรือร้านขายของชำบางแห่งที่แอบลักลอบนำมาขาย ในอดีตวัยรุ่นที่มาซื้อยาเหล่านี้ เราจะสังเกตได้ง่าย โดยดูจากท่าทีและพฤติกรรมของพวกเขาที่แสดงออกอย่างชัดเจน แต่เมื่อทางการเข้มงวดมากขึ้นก็เลี่ยงหาวิธีต่างๆ มาซื้อ เช่น จ้างผู้ใหญ่มาซื้อโดยอ้างว่าจะนำไปใช้กับบุตรหลาน เคยมีข้อมูลว่าบางครั้งมีการจ้างคนแต่งกายเป็นพระสงฆ์หรือผู้สูงอายุมาขอซื้อ อ้างว่ารับประทานประจำ ล่าสุดมีการจ้างเด็กวัยรุ่นที่ท่าทางสุภาพเรียบร้อยมาขอซื้อยาเหล่านี้         วิธีง่ายๆ ที่จะจับพิรุธคือ เมื่อคนกลุ่มนี้เข้ามาในร้านยามักจะคอยสอดส่ายสายตา กวาดตามองยาตามชั้นวางยาพยายามเพ่งไปบริเวณที่มียาน้ำ และเมื่อจะขอซื้อก็มักจะเอ่ยปากขอซื้อยาโดยระบุชื่อการค้าของยาพวกนี้ที่วัยรุ่นนิยมแทนที่จะบอกอาการเจ็บป่วยไม่สบาย  หรือบางคนโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่กลับจะซื้อแต่ยาน้ำเชื่อมและมักจะวนมาขอซื้อบ่อยๆ จนมีพิรุธว่าทำไมอาการป่วยไม่หายสักที และทำไมรับประทานยาหมดก่อนกำหนดตามปริมาณที่ได้รับไป         หากใครเจอพฤติกรรมเหล่านี้ หรือเจอร้านขายยาที่ไม่เข้มงวดปล่อยปละละเลยในการขายยาอย่างไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ช่วยไปกระซิบเจ้าหน้าที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้ลงไปตรวจสอบด้วยนะครับ เพื่อคุ้มครองให้บุตรหลานเราปลอดภัยต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 109 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนกุมภาพันธ์ 25533 กุมภาพันธ์ 53กินยาแก้ไอเล่นอาจถึงตายจากกรณีที่นักเรียนชั้นมัธยมกว่า 80 คน ถูกหามส่ง ร.พ. หลังเกิดอาเจียนจนหมดสติ เนื่องจากรับประทานยาแก้ไอที่ซื้อจากร้านเกมเพราะเชื่อกันว่ากินไปแล้วครูตีไม่เจ็บนั้น กระทรวงสาธารณสุข และอย. ได้ออกมาชี้แจงว่า ยาแก้ไอนี้มีชื่อสามัญว่า เดกโทเมโทรแฟน (Dextromethorphan) เป็นยาที่มีผลต่อระบบประสาท ซึ่งมีผลทำให้หัวใจเต้นเร็ว ปกติไม่ควรกินเกินครั้งละ 2 เม็ด ถ้ากินมากเกินไปอาจทำให้คลื่นไส้อาเจียน กดระบบทางเดินหายใจ ความดันลดลงและเกิดอาจถึงขั้นช็อค ยานี้อนุญาตให้ขายในร้านยาที่มีใบอนุญาตให้ขายเท่านั้น หากซื้อจากร้านเกมจริงถือว่าผิดกฎหมาย ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ 22 กุมภาพันธ์ 53ลูกชิ้นปลาเรืองแสง เกิดกระแสข่าว “ปริศนาลูกชิ้นปลาเรืองแสง” ซึ่งเป็นที่ฮือฮามาก หลังมีผู้นำมาร้องเรียนกับ นสพ.เดลินิวส์ ส่งผลให้ทางกระทรวงสาธารณสุขรีบเก็บตัวอย่างลูกชิ้นปลาส่งเข้าทดสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง พบว่า ลูกชิ้นปลามีการปนเปื้อนของแบคทีเรียลูมิเนสเซนท์ แนะนำให้กินแบบทำสุกแล้วเท่านั้น จากการเก็บตัวอย่างลูกชิ้นปลาจำนวน 28 ตัวอย่าง พบมีสารเรืองแสงเฉพาะลูกชิ้นที่ผลิตจากโรงงานแห่งหนึ่งในจ.สมุทรสาครเพียงตัวอย่างเดียวโดยตรวจพบเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม ลูมิเนสเซนท์ (Luminescence) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการเรืองแสงได้ แบคทีเรียนี้พบได้ในน้ำทะเล ส่วนสาเหตุของการปนเปื้อนอาจเกิดได้ในขั้นตอนการผลิต ทั้งจากวัตถุดิบ เครื่องมือและจากคน รวมถึงในช่วงการเก็บรักษาระหว่างขนส่งและรอจำหน่าย โดยเฉพาะถ้าเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม (มากกว่า 4 องศา) ก็มีโอกาสที่แบคทีเรียจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว แนะนำว่าในการรับประทานลูกชิ้นปลา คือควรลวกน้ำร้อนก่อนที่จะนำมารับประทาน หรือทำให้สุกด้วยวิธีการอื่นก่อนรับประทาน เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคไม่ว่าจะชนิดใดก็ตาม ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ 23 ก.พ. 53น้ำประปาเลิกฟรี แต่ไฟฟ้า รถเมล์ รถไฟ ให้อีก 3 เดือน แม้สถานการณ์การเมืองจะเคร่งเครียด แต่ผู้บริโภคยังพอมีเรื่องให้ยิ้มได้ เมื่อรัฐบาลยังใจดีไฟเขียวให้ประชาชนได้ใช้บริการไฟฟ้า รถเมล์ และรถไฟ ฟรีต่อไปอีก 3 เดือน ยกเว้นค่าน้ำประปาที่ต่อจากนี้ไปต้องกลับมาเสียเงินตามปกติ ค่าไฟฟ้าฟรี ค่ารถเมล์ฟรี รถไฟฟรี จากเดิมจะสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม 2553 รัฐบาลขยายไปสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553 ส่วนมาตรการค่าน้ำฟรีนั้นให้สิ้นสุดในวันที่ 31 มี.ค. 2553 สาเหตุที่คงมาตรการลดภาระค่าครองชีพประชาชนไว้ 3 มาตรการ เพราะเป็นมาตรการที่ช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชนผู้มีรายได้ต่ำได้จริง และมีประชาชนจำนวนมากได้ประโยชน์โดยเฉพาะมาตรการใช้ไฟฟ้าฟรี +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ผู้บริโภควอนรัฐฯ ยืดเวลามาตรการกระตุ้นอสังหาฯจากกรณีที่คณะรัฐมนตรี มีมติไม่ต่ออายุมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 28 มีนาคมนี้ ทำให้ค่าธรรมเนียมการโอนขึ้นจาก 0.01% เป็น 2% ค่าจดจำนองจาก 0.01% เป็น 1%และภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 0.01% เป็น 3.3% ส่งผลให้ผู้ที่กำลังจะซื้อบ้านและคอนโดฯ ต้องรับภาระค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองเป็นจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเงินหลายหมื่นบาท ซึ่งตอนที่ตัดสินใจซื้อเป็นตอนก่อนที่จะมีการประกาศมาตรการดังกล่าว รวมทั้งผู้ประกอบการบ้านและดอนโคฯ บางโครงการไม่ได้แจ้งเรื่องดังกล่าวแก่ผู้บริโภค น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ว่า เรื่องสัญญาการเช่าซื้อและโอนอสังหาริมทรัพย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนความรับผิดชอบของลูกค้า และผู้ประกอบการซึ่งต้องรับผิดชอบกันคนละครึ่ง การจ่ายเงินค่าโอน ค่าจำนอง หรือค่าอื่นๆ นั้น ต้องมีการเขียนในสัญญาที่ชัดเจน ส่วนความเห็นในเรื่องการยกเลิกมาตรการดังกล่าวเห็นว่า เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะมาตรการดังกล่าวใช้ในช่วงที่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งปรับลดนู่นนี่เพื่อจูงใจให้คนมาซื้อบ้านและคอนโดฯ กันเยอะๆ แต่พอจะมาประกาศยกเลิกก็ยกเลิกแบบกะทันหัน ทำให้ผู้ที่ตัดสินใจซื้อในตอนแรกมีปัญหา ซึ่งอยากให้แนะนำให้คนที่ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ออกมาร้องเรียนกับภาครัฐฯ ทางด้านนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวว่า “มติดังกล่าวเป็นการประกาศที่รวดเร็วเกินไป ผู้บริโภคตั้งตัวไม่ทัน อย่างคนที่วางเงินดาวน์แล้ว ก็ถอนคืนไม่ได้ ต้องเสียเงินเพิ่ม กู้แบงก์ก็ไม่ทันแล้ว รัฐบาลต้องเร่งสำรวจปัญหาอย่างถ่องแท้ไม่ว่าจะเป็นของผู้บริโภค ผู้ประกอบการ ซึ่งถ้าพบปัญหาความเดือดร้อน ก็ให้ทบทวนมติ ครม. อาจจะโดยการเลื่อนระยะเวลาออกไปอีก พร้อมกับแจ้งประชาสัมพันธ์ประชาชนให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งน่าจะเลื่อนไปอีกอย่างน้อย 6 เดือน” ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ ร่วมค้านหลักสูตรแพทย์อินเตอร์ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เครือข่ายผู้ป่วย และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสุขภาพ ออกแถลงการณ์เรียกร้องกระทรวงสาธารณสุขแก้กฎหมายให้มีตัวแทนจากบุคคลภายนอกเป็นคณะกรรมการแพทยสภา เพราะการมีเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ทำให้ขาดความเข้าใจสังคม เอื้อประโยชน์ รพ.เอกชน และโดยเฉพาะคณะกรรมการที่เป็นเจ้าของและผู้บริหารของ รพ.เอกชนเป็นกรรมการตัดสินใจ จากการแพทยสภาได้รับรองหลักสูตรแพทยศาสตร์ภาษาอังกฤษ (English program) ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยเห็นว่าเป็นหลักสูตรที่ก่อให้เกิดประโยชน์โดยที่สภามหาวิทยาลัยยังไม่อนุมัติหลักสูตรดังกล่าว เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ เพราะไม่ได้เป็นเรื่องส่งเสริมคุณภาพและปริมาณของแพทย์ในประเทศไทย แต่เมื่อมีผู้เรียนมากขึ้นแถมยังกำหนดให้ได้เรียนกับอาจารย์ตั้งแต่ระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป เท่ากับว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนรวยเท่านั้น เนื่องจากต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 7 ล้านบาทในการเรียนแพทย์หลักสูตรนี้ ดังนั้นกระทบกับหลักสูตรปกติที่ให้โอกาสทุกคนในการเข้าเรียนแน่นอน การอ้างว่า คณะที่จะดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรได้จะต้องได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยของตน ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของแพทยสภา เป็นการปัดความรับผิดชอบ เพราะแพทยสภาควรเสนอให้คณะแพทย์ มศว. ขอความเห็นชอบหลักสูตรจากมหาวิทยาลัยก่อน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการเรียน รวมถึงรายละเอียดเรื่อง ค่าเทอม การจัดการและความพร้อม ตลอดจนกำหนดการเปิดรับนักศึกษาเป็นต้น ไม่ใช่ทำผิดขั้นตอนโดยเห็นชอบข้อเสนอจากคณะแพทย์โดยตรงทั้งที่ยังไม่ผ่านสภามหาวิทยาลัย ตาม พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ตามมาตรา 7 (5) แพทยสภามีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำแก่รัฐในประเด็นสุขภาพและปัญหาทางการแพทย์ ดังนั้นการให้ข่าวของแพทยสภาที่อ้างว่า แพทยสภาไม่ได้มีหน้าที่ในด้านนโยบาย medical hub และแพทย์ต่างชาติ เพราะเป็นเรื่องของนโยบายของรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบนั้น ไม่เป็นจริงเพราะแพทยสภามีหน้าที่โดยตรงในการให้คำแนะนำเรื่องนี้ และสะท้อนให้เห็นว่าการตัดสินใจขาดความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของตนเองและผลประโยชน์สาธารณะขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ม.61 ทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและกระทบต่อการผลิตแพทย์ในหลักสูตรปกติ องค์กรผู้บริโภค และเครือข่ายเอกชนด้านสุขภาพและผู้ป่วย จึงขอเรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งแก้ไขกฎหมายประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ให้คณะกรรมการแพทยสภามีบุคคลภายนอก ดังเช่นกรรมการแพทยสภาในหลายประเทศที่มีบุคคลอื่นที่ไม่ใช่แพทย์เป็นกรรมการมากถึง 50 % เพราะการตัดสินใจของแพทยสภาเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของสังคมกระทบต่อสาธารณะ เกี่ยวข้องกับบริการสาธารณสุขที่เป็นบริการจำเป็นพื้นฐานของทุกคน ดังนั้นจึงต้องโปร่งใส มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้ง และมีผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมพิจารณา ด้วยเหตุว่าสการผลิตแพทย์หลักสูตรภาษาอังกฤษนี้ หากพิจารณาให้ดีก็เหมือนการเตรียมการตอบสนองโรงพยาบาลเอกชนที่ต้องการเป็นศูนย์กลางการแพทย์ของอาเซียน (Medical Hub) นั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >