ฉบับที่ 246 เครื่องพิมพ์เลเซอร์

        อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่กลับมาอยู่ในความสนใจของผู้บริโภคอีกครั้งในยุคที่ต้องทำงาน หรือเรียน อยู่ที่บ้านก็คงหนีไม่พ้นเครื่องพิมพ์อัตโนมัติ ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลทดสอบเปรียบเทียบเครื่องพิมพ์เลเซอร์ทั้งแบบธรรมดา (พิมพ์อย่างเดียว) และแบบอเนกประสงค์ (พิมพ์งาน สแกน ถ่ายเอกสาร ส่งแฟกซ์) ทั้งแบบขาวดำและสี ที่องค์กรผู้บริโภคของออสเตรเลียทดสอบไว้ ด้วยเนื้อที่จำกัดเราจึงเลือกมาเฉพาะรุ่นที่ได้คะแนนรวมตั้งแต่ร้อยละ 59 ขึ้นไป และจำกัดที่ราคาไม่เกิน 30,000 บาทโดยรวมแล้วถือว่าเป็นข่าวดีที่เราจะมีพรินเตอร์คุณภาพดีใช้ในราคาไม่เกิน 4,000 บาท หากอยากรู้ว่ารุ่นไหนจะตอบโจทย์แต่ละด้าน (เช่น งานพิมพ์คมชัด การใช้งานได้สะดวก การเชื่อมต่อลื่นไหล หรือการประหยัดพลังงาน) ติดตามได้ในหน้าถัดไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 240 ค่าปริ้นเอกสารแพงจังเลย

ปกติเคยปริ้นเอกสารขนาด A4 กันแผ่นละกี่บาท? 25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 2 บาท 3 บาท หรือมากกว่านั้น แล้วจริงๆ ราคาควรเป็นเท่าไร ทำไมแต่ละร้านราคาถึงไม่เท่ากัน แล้วราคากลางๆ หรือราคาจริงๆ ที่ควรจ่ายต้องเป็นเท่าไรกันแน่ ถึงจะรับได้ว่าไม่แพงไป         คุณภูผามีเอกสารสำคัญที่จะต้องใช้เพื่อส่งรายงาน จึงไปปริ้นเอกสาร ณ ร้านถ่ายเอกสารแห่งหนึ่งแถวบ้าน เขาเข้าไปสอบถามราคาปริ้น A4 ขาวดำ พี่เจ้าของร้านชี้ให้ไปดูราคาที่ติดไว้ข้างกำแพง เขาเห็นว่า ราคาปริ้น A4 ขาวดำร้านนี้ราคาแรงมาก แผ่นละตั้ง 7 บาท ซึ่งที่ผ่านมาเขาเคยใช้บริการร้านแถวมหาวิทยาลัยที่เขาเรียนอยู่ แผ่นละแค่ 25 สตางค์ หรือแพงสุดแผ่นละไม่เกิน 3 บาท แต่ด้วยความจำเป็นที่ต้องใช้เอกสารเขาจึงตกลงปริ้นเอกสารที่ร้านนั้นไป แต่ก็สงสัยว่า ร้านถ่ายเอกสารร้านนี้คิดราคาค่าปริ้นเอกสารแพงเกินจริงหรือไม่ แล้วทำไมร้านปริ้นเอกสารแต่ละร้านถึงคิดราคาไม่เท่ากัน บางร้านถูก บางร้านแพง จึงติดต่อขอข้อมูลจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อให้คลายข้อสงสัย แนวทางการแก้ไขปัญหา         ศูนย์พิทักษ์สิทธิแนะนำว่า เรื่องราคาสินค้าและบริการอยู่ในการดูแลของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โดยมีประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่อง การกำหนดสินค้าควบคุม เป็นประกาศที่ควบคุมสินค้าและบริการไม่ให้ผู้ประกอบการคิดราคาถูกหรือแพงเกินไป ซึ่งค่าปริ้นเอกสารไม่อยู่ในประกาศนี้ จึงถือว่าบริการปริ้นเอกสารไม่ได้ถูกควบคุม ผู้ให้บริการสามารถกำหนดราคาได้เอง แต่ต้องแสดงราคาให้ผู้ใช้บริการเห็นได้ชัดเจน เพื่อการตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกใช้บริการ  และประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่อง การกำหนดสินค้าควบคุม จะมีการทบทวนทุกปี ถ้าปีนี้ไม่ได้เป็นสินค้าหรือบริการควบคุมปีหน้าอาจจะเป็นสินค้าหรือบริการควบคุมก็ได้ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ สายด่วน 1569 กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 174 สแกนแผ่นเอกสารเป็นไฟล์ด้วยมือถือ

ตึกตึก ใจเต้นรัวๆ นั่งมองผ่านกระจกเห็นผู้คนเดินขวักไขว่  “บางพลัดขึ้นเลย” ได้ยินเสียงกระเป๋ารถเมล์ตะโกน จึงหันไปดู พร้อมกับถอนหายใจ  คิดในใจ เมื่อไรจะออกสักทีค้า  ฉันรีบบบบบ ผู้อ่านอย่าเพิ่งตกใจนะคะ ไม่ใช่นิยายที่ไหนค่ะ เป็นแค่เหตุการณ์หนึ่งที่ผู้เขียนประสบมาโดยตรง ในขณะที่รีบร้อนต้องการที่จะให้ถึงที่ทำงานอย่างรวดเร็วที่สุด เพราะงานเข้าค่ะ เรื่องมีอยู่ว่าก่อนหน้านั้นมีโทรศัพท์สายด่วนโทรมาให้ส่งเอกสารสำคัญภายในครึ่งชั่วโมงไปยังเมลหนึ่ง จะให้น้องที่อยู่ที่ทำงานส่งให้ก็ไม่ได้ เนื่องจากเอกสารอยู่ที่มือผู้เขียน ที่สำคัญปลายสายบอกว่าให้สแกนเอกสารเป็น pdf ด้วยนี่สิด้วยความตื่นเต้นที่มีอยู่นั้นก็ยังมีสติค่ะ แทนที่จะปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์ จึงหยิบมือถือมาค้นหากูเกิ้ล เผื่อจะเจอแอพพลิเคชั่นดีๆ  และแล้วก็ได้เจอแอพพลิเคชั่นนี้ “CamScanner” ตอบโจทย์ที่ต้องการในเวลาเร่งด่วนกับการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ pdfสิ่งแรกที่ทำคือรีบควานหาเอกสารที่ต้องการสแกนเป็นไฟล์ pdf ขึ้นมา รวม 5 แผ่น เปิดแอพพลิเคชั่นขึ้นมาจะปรากฏสัญลักษณ์กล้องถ่ายรูป หลังจากนั้นก็กดถ่ายรูปเอกสารแผ่นแรก เมื่อได้ภาพแรกแล้ว แอพพลิเคชั่นจะมีให้เลือกความขาวสว่าง ภาพขาวดำ ภาพสีเทา และเลือกเฉพาะส่วนที่ต้องการของภาพได้ นอกจากนี้ถ้าภาพถ่ายของเรากลับด้านอยู่ ก็สามารถหมุนภาพได้ตามต้องการ เมื่อตกแต่งภาพเรียบร้อย ให้กดเครื่องหมายถูกด้านล่างขวา ก็จะได้ภาพไฟล์ pdf หน้าที่ 1 ต่อจากนั้นให้กดสัญลักษณ์กล้องถ่ายรูปด้านล่างซ้าย เพื่อถ่ายเอกสารแผ่นต่อไป ภาพของแผ่นต่อไปก็จะมาต่อภาพแรกที่ได้ทำไว้ในไฟล์ pdf  จากนั้นทำเหมือนเดิมจนครบทั้ง 5 แผ่น และสามารถย้ายรูปแบบการเรียงแผ่นเอกสารได้ตามที่ต้องการนอกจากนี้ยังสามารถนำภาพที่มีอยู่เดิมภายในเครื่องมาทำเป็นไฟล์ pdf ได้เช่นกัน เพียงแค่กดสัญลักษณ์ที่เขียนว่า import แทนสัญลักษณ์กล้องถ่ายรูป  เมื่อทำเอกสารแต่ละไฟล์เรียบร้อยแล้ว ไฟล์ทั้งหมดจะปรากฏอยู่ในหน้าแรกของแอพพลิเคชั่น โดยสามารถจัดการไฟล์ด้วยตนเองว่าต้องการเรียงไฟล์อย่างไร สำหรับขั้นตอนการนำไฟล์ออกจากเครื่องมี 3 วิธีที่แนะนำ อย่างแรกใช้วิธีการอัพโหลดไฟล์ไปยัง Dropbox , Google Drive เป็นต้น  อย่างที่สอง สามารถเลือกปริ๊นเอกสารได้ทันที แต่ต้องใช้ AirPrint หรือเครื่องปริ๊นที่สามารถเชื่อมต่อด้วยระบบ wifi ได้ อย่างที่สาม ง่ายที่สุด คือ ส่งไฟล์ไปยังเมลที่ต้องการขอเพิ่มเติมอีกอย่างค่ะ แอพพลิเคชั่น “CamScanner” ยังสามารถส่งไฟล์ได้หลายสกุล เช่น ไฟล์สกุล doc , ไฟล์สกุล jpg , ไฟล์สกุล pdf  เป็นต้น โดยให้เลือกชนิดของไฟล์ที่ต้องการก่อนที่จะถึงขั้นตอนการส่งออกค่ะเท่านี้เอกสารในมือทั้ง 5 แผ่น ก็สามารถทำเป็นไฟล์ pdf เพื่อส่งต่อไปยังเมลได้ภายในครึ่งชั่วโมงทันเวลา      

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 174 “โปรดระวังเอกสารสำคัญของตัวเอง”

“นักศึกษาช้ำกลายเป็นผู้ค้ำประกันแบบไม่รู้เรื่อง แถมยังโดนทวงหนี้กว่า 150 ล้าน!!”นี่ไม่ใช่เรื่องระหว่างนักธุรกิจร้อยล้านคุยกัน แต่เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องที่เป็นนักศึกษาอายุ 20 ปีกับบริษัทประกันภัยชื่อดังอย่าง บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อผู้ร้องได้รับจดหมายขอให้ชำระหนี้ ของสำนักงานกฎหมายที่อ้างว่าทวงถามหนี้ให้กับบริษัทประกันภัยดังกล่าว เหตุเพราะต้องรับผิดชอบในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันให้กับตัวแทนขายประกันของบริษัทเนื้อหาในจดหมายอ้างว่าตัวแทนคนหนึ่งของบริษัทฯ ได้ชักชวนให้คนทำประกันภัย โดยเสนอผลตอบแทนสูงกว่าเงื่อนไขในกรมธรรม์ เป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยจำนวนมากหลงเชื่อและตกลงทำประกันชีวิต อย่างไรก็ตามต่อมาผู้เอาประกันภัยเหล่านั้นได้ขอยกเลิกกรมธรรม์ ทำให้บริษัทฯ ต้องคืนเงินเบี้ยประกันให้กับผู้เอาประกันภัย และสูญเสียประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากการนำเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตนั้นไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีการจ่ายเงินค่าบำเหน็จ และผลประโยชน์อื่นๆ ที่ให้ตัวแทนดังกล่าวไปแล้ว รวมมูลค่าความเสียหายทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 159,924,536.12 บาท (หนึ่งร้อยห้าสิบเก้าล้านเก้าแสนสองหมื่นสี่พันห้าร้อยสามสิบหกบาทสิบสองสตางค์) ดังนั้นเพื่อเป็นการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น บริษัทฯ จึงขอให้ผู้ร้องในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันและตัวแทนดังกล่าว ร่วมกันชำระเงินที่บริษัทได้สูญเสียไปทั้งหมดข้างต้น พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 นับตั้งแต่วันที่บริษัทฯ คืนเบี้ย!! แน่นอนว่าเงินจำนวนมากที่บริษัทเสียหายไปเทียบไม่ได้กับความตกใจของผู้ร้อง เพราะเขาไม่เคยรู้จักกับบุคคลตามสัญญาค้ำประกัน และไม่เคยเซ็นเอกสารหรือสัญญาใดๆ กับทางบริษัทฯ มากไปกว่านั้นด้วยวัยเพียง 20 ปีจะเป็นผู้ค้ำประกันให้กับตัวแทนดังกล่าวได้อย่างไร ซ้ำยังต้องมาโดนทวงนี้กว่า 150 ล้านทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้ก่อขึ้นอีก (แค่คิดก็ขนลุกแล้ว)แนวทางการแก้ไขปัญหาหลังจากผู้ร้องได้แจ้งเรื่องมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์จึงได้แนะนำให้ไปแจ้งความบันทึกประจำวันไว้ก่อน จากนั้นก็ให้ทำหนังสือถึงบริษัท อลิอันซ์ อยุธยา เพื่อขอหนังสือสัญญาดังกล่าวมาให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งพบว่า สัญญาการค้ำประกันฉบับนั้นมีการปลอมแปลงเอกสารทุกจุดได้อย่างน่าตกใจ ไม่ว่าจะเป็นลายเซ็นของผู้ร้องหรือแม้กระทั่งลายนิ้วมือ ทางศูนย์ฯ จึงให้ผู้ร้องไปแจ้งความอีกครั้ง แต่เป็นการร้องทุกข์กล่าวโทษเรื่องการปลอมแปลงเอกสาร โดยระหว่างนี้อยู่ในขั้นตอนการพิสูจน์หลักฐานของตำรวจ สิ่งน่ากลัวสำหรับผู้บริโภคอย่างเราทุกคนก็คือ เอกสารสำคัญของเราสามารถถูกปลอมแปลงได้ตั้งแต่ต้นทาง และสามารถทำให้เรากลายเป็นหนี้จำนวนมากมายมหาศาลได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหา สิ่งที่เราควรทำนอกเหนือไปจากการระมัดระวังไม่ให้เอกสารสำคัญเหล่านั้นสูญหายแล้วก็คือ ในทุกครั้งที่มีการทำสัญญาใดๆ ควรเขียนหรือเซ็นกำกับไว้ว่าเอกสารนั้นใช้สำหรับทำอะไร หรือแสดงความประสงค์แบบเฉพาะเจาะจงทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เอกสารของเราถูกนำไปใช้ต่อโดยผู้ไม่ประสงค์ดีนั่นเอง  

อ่านเพิ่มเติม >