ฉบับที่ 199 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนกันยายน 2560สคบ.บุกเต็นท์รถมือสองรับผิดชอบคนซื้อรถแล้วเจอปัญหาสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) ร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค(บก.ปคบ.) ลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจรถยนต์มือสอง บริเวณถนนเลียบทางด่วนรามอินทรา หลังได้รับข้อร้องเรียน เรื่องรถยนต์ชำรุดแล้ว โชว์รูมไม่รับผิดชอบ สคบ.ให้ทำบันทึกข้อตกลงให้โชว์รูมรถมือสองต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบพบรถยนต์หรูมือสองในโชว์รูม กระทำผิด พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคจำนวน 22 คัน บก.ปคบ.จึงได้แจ้ง 3 ข้อหา ได้แก่ เป็นผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ใช้แล้วไม่ติดฉลากสินค้า หรือมีฉลากแต่ไม่ถูกต้อง อีกทั้งยังไม่จัดให้มีหลักฐานการรับเงินที่ถูกต้องและทำผิดข้อตกลงชำระหนี้ให้ผู้บริโภคด้วยธุรกิจขายรถยนต์ใช้แล้ว หรือเต็นท์รถมือสอง เป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการ และเป็นสินค้าควบคุมฉลาก คือ ต้องติดฉลากสินค้าให้ชัดเจน มีรายละเอียดยี่ห้อ รุ่นปี ขนาด และมีสมุดคู่มือรถ รุ่นปี ราคา ทะเบียน และข้อมูลการประสบภัยด้วยกรณีที่ไม่ติดฉลากให้ถูกต้อง ผู้ประกอบการมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับรับเจาะลักยิ้ม ต้องมีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข  พร้อมด้วยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค(บก.ปคบ.) ได้เข้าตรวจสอบร้านรับเจาะส่วนต่างๆ ของร่างกาย  ชื่อร้านแจ็ค ดอว์สัน บริเวณตลาดนัดจตุจักร จากการตรวจสอบพบนายธนธัช กาลมหา อายุ 49 ปี เป็นเจ้าของกิจการและผู้ให้บริการ ทำลักยิ้ม เจาะ ขยาย กรีดหู ผ่าเนื้อนูน และขายยาชา โดยผู้รับบริการส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นที่ทราบข้อมูลจากสื่อโซเชียล โดยวิธีการเจาะลักยิ้ม จะทายาชาบริเวณแก้มผู้รับบริการ จากนั้นจะให้อมแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อในปาก ก่อนลงเข็มเจาะแก้มทีละข้างทะลุเข้าไปในช่องปาก หลังจากนั้นจึงใส่จิวหรือเครื่องประดับ ติดไว้ที่แก้มทั้งสองข้าง ประมาณ 1-2 เดือน จึงกลับมาถอดจิวออก ซึ่งการเจาะลักยิ้มด้วยวิธีดังกล่าวเข้าข่ายตามนิยามในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ที่จะต้องกระทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตจากแพทยสภาเท่านั้น เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้แจ้ง 2 ข้อหากับเจ้าของร้าน คือ ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ขึ้นทะเบียน โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และจำหน่ายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้การใช้เข็มเจาะเข้าไปที่บริเวณแก้มเพื่อทำลักยิ้ม โดยบุคคลที่มิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะบนใบหน้าประกอบไปด้วยเส้นประสาท และกล้ามเนื้อจำนวนมาก หากผู้กระทำไม่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญ ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้รับบริการปากเบี้ยว ใบหน้าผิดรูป และอาจเกิดการติดเชื้อที่บาดแผล จนแผลเน่า หรือติดโรคติดต่อจากเข็มที่ใช้เจาะได้หมา-แมวเสี่ยงตายจากยากำจัดเห็บหมัดไม่มีทะเบียน ระวังยากำจัดเห็บหมัดสุนัขและแมวที่ไม่ได้รับการรับรองจาก อย. ใช้แล้วอาจทำให้สัตว์เลี้ยงเกิดอาการแพ้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กำจัด เห็บหมัดชนิดหยดหลังสำหรับสัตว์เลี้ยงสุนัขและแมวที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ทำให้สัตว์เลี้ยงเกิดอาการแพ้และเสียชีวิต โดยมีการจำหน่ายตามร้านจำหน่ายอาหารสัตว์และอุปกรณ์สำหรับสัตว์ ตลอดจนทางเว็บไซต์สำหรับผู้รักสัตว์เลี้ยง ซึ่งจากการตรวจสอบของ อย. พบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน เช่น ผลิตภัณฑ์หยดหลังสำหรับสัตว์เลี้ยงสุนัขและแมว Detick, ผลิตภัณฑ์หยดหลังสำหรับสัตว์เลี้ยงสุนัข และแมว Kill Out, ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดในแมวและสุนัข D-SURE, ผลิตภัณฑ์หยดหลังกำจัดเห็บหมัด Fiprocide ฟิโปรไซด์, ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดในแมวและสุนัข OUT SJDE, ผลิตภัณฑ์กำจัดขี้เรื้อน เห็บ หมัด พยาธิหนอนหัวใจ E-tick+ และผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดในแมวและสุนัข tick FREEโดยผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์พบฟิโพรนิล(fipronil) จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ซึ่ง ผู้ผลิต ผู้นำเข้าต้องขออนุญาตและขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 หากฝ่า ฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ขายจะมีความผิดฐาน จำหน่ายวัตถุอันตรายที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้องและครบถ้วน หากฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยในขณะนี้อย. ได้ดำเนินคดีกับผู้ผลิตจำนวน 1 ราย และผู้จำหน่ายสัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สำหรับสัตว์ในตลาดจตุจักรจำนวน 4 ร้าน คสช.ใช้ ม.44 สั่ง 12 สายการบินห้ามบินนอกประเทศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นชอบใช้อำนาจของหัวหน้าคสช. ตามมาตรา 44 ให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย สั่งห้ามบริษัท องค์กรที่ไม่ได้รับใบอนุญาตการเดินอากาศ ระงับการเดินอากาศระหว่างประเทศตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560-31 มกราคม 2561 เพื่อให้สอดคล้องกับคำแนะนำ และการจะตรวจสอบมาตรฐานการบินของ องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization (ICAO)) ที่จะเดินทางมาตรวจในวันที่ 20-27 กันยายนนี้ โดยมี 12 สายการบินที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ประกอบด้วย1.บริษัท เอ็มเจ็ท จำกัด, 2. บริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จำกัด, 3. บริษัท ไทยเวียตเจ็ท แอร์ จอยท์ สต๊อค จำกัด, 4. บริษัท เค-ไมล์ แอร์ จำกัด, 5. บริษัท เจ็ท เอเชีย แอร์เวย์ จำกัด, 6. บริษัท เอซี เอวิเอชั่น จำกัด, 7. บริษัท สยามแลนด์ ฟลายอิ้ง จำกัด, 8. บริษัท เอเชีย แอทแลนติก แอร์ไลน์ จำกัด, 9. บริษัท วีไอพี เจ็ทส์ จำกัด, 10. บริษัท เอช เอส เอวิเอชั่น จำกัด, 11. บริษัท แอ็ดวานซ์ เอวิเอชั่น จำกัด และ 12. บริษัท สกาย วิว แอร์เวย์ จำกัดที่มาของคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ดําเนินการเดินอากาศระหว่างประเทศจํานวนหนึ่งที่ยังไม่ผ่านการตรวจประเมินและได้รับใบรับรอง ผู้ดําเนินการเดินอากาศใหม่ (Recertification of Air Operator Certificate (RE-AOC)) และการตรวจประเมินความก้าวหน้า เกี่ยวกับการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีนัยสําคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concern (SSC))ค้าน กรมวิชาการเกษตร ยื้อเวลาไม่ยอมเพิกถอน “พาราควอต – คลอร์ไพริฟอส”เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช(Thai-PAN) และเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรงซึ่งประกอบไปด้วยองค์กรและเครือข่ายต่างๆ มากกว่า 40 องค์กร ผิดหวังต่อคำแถลงและผลการพิจารณาของกรมวิชาการเกษตร และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นอย่างยิ่ง ที่ยื้อเวลาการเพิกถอนพาราควอต และคลอร์ไพริฟอสออกไป ทั้งที่มีอำนาจสามารถทำได้ทันที โดยนายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรอ้างว่า ไม่มีความเชี่ยวชาญที่จะพิจารณาข้อมูลด้านสุขภาพอนามัย ทั้งๆ ที่คณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข มีมติให้ยกเลิกพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสเนื่องจากมีผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคอย่างรุนแรง มีงานวิชาการที่ชัดเจนรองรับ ดังนั้นกรมวิชาการเกษตรสามารถใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551ออกคำสั่งระงับการใช้สารพิษทั้งสองชนิดได้เพื่อสนับสนุนมติของกระทรวงสาธารณสุข คือ ให้มีการยกเลิกพาราควอต และ คลอร์ไพริฟอส เครือข่ายฯ จะเคลื่อนไหวใหญ่ทั่วประเทศ ทั้งที่หน้าทำเนียบรัฐบาลและศาลากลางทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยเรียกร้องให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปฏิเสธการต่อทะเบียนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสที่กำลังหมดอายุในต้นเดือนตุลาคมนี้ รวมทั้งเพิกถอนทะเบียนของสารพิษดังกล่าวตาม Road Map เพื่อให้มีการยุติการใช้สารเคมีทั้งสองชนิด ภายในปี 2562 อย่างไม่มีเงื่อนไข

อ่านเพิ่มเติม >