ฉบับที่ 202 นโยบายหาเสียงพรรคการเมืองเยอรมัน (ตอนจบ)

อีกนิดนะครับ ตอนนี้จะเริ่มด้วยนโยบายที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ การจัดเก็บภาษี พร้อมบทสรุปนโยบาย home care insurance (สำหรับการดูแลคนป่วย คนไร้สมรรถภาพ)พรรค SPD เสนอนโยบาย ให้เงินช่วยเหลือเป็นเงินชดเชยเงินเดือน 3 เดือนแก่ญาติและครอบครัว ที่ต้องดูแลคนป่วย หรือคนไร้สมรรถภาพ ในระยะเวลา  6 เดือน พรรค The Left ต้องการระบบประกัน Home care insurance ที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด พรรค CDU เสนอนโยบาย ระบบประกัน ที่ คุ้มครองรายได้ของ พ่อ แม่ ในระหว่างที่ต้องดูแล เด็กพิเศษ (Pflegebedurftige Kinder)นโยบายเงินเกษียณ บำนาญชราภาพ• ประกันเงินบำนาญขั้นต่ำพรรค The Left เสนอนโยบาย เงินบำนาญขั้นต่ำ 1050 ยูโรต่อเดือน พรรค SPD เสนอนโยบายเงินเพิ่มจากเงินบำนาญอีก 10% จากเงินบำนาญพื้นฐานสำหรับคนที่ทำงานที่ทำงานมาเป็นเวลานาน (Solidarrente) พรรค The Greens เสนอแนวความคิด ที่คล้ายกับ การประกันเงินเกษียณ (Garantierrente) พรรค AfD เสนอนโยบาย การเลิกผูกประกันเงินเกษียณกับอายุบางส่วน เพื่อเพิ่มวงเงินเกษียณให้สูงขึ้น.• อายุสำหรับการเกษียณสำหรับคนที่เกิดหลังปี 1964 ตามกฎหมายปัจจุบัน จะเกษียณอายุการทำงานที่ 67 ปี พรรค CDU SPD และ The Greens ยังคงเสนอให้คงรูปแบบการเกษียณอายุการทำงานแบบนี้ไว้พรรค The Greens เสนอนโยบายที่ให้คนทำงานหลังอายุ 60 ปี สามารถเลือก รูปแบบการทำงาน แบบยืดหยุ่นเวลาการทำงานได้ พรรค FDP เสนอนโยบายที่ให้คนอายุ 60 ปีสามารถเลือกเวลาที่ตนเองต้องการเกษียณอายุการทำงานได้เอง ภายใต้เงินบำนาญที่จะได้น้อยลงตามสัดส่วน พรรค The Left เสนอนโยบายที่กลับไป เกษียณอายุการทำงานที่ 65 ปี แต่ถ้าใครเริ่มทำงานเป็นเวลานาน 40 ปี ก็สามารถเกษียณอายุการทำงานที่อายุ 60 ปีได้• เงินบำนาญรายเดือนเงินบำนาญรายเดือนสำหรับ คนทำงานมาแล้ว 45 ปี ที่มีรายได้ สูงเท่ากับค่าเฉลี่ยของคนเยอรมัน ได้เงินบำนาญอยู่ที่ 1200 ยูโรต่อเดือน คิดเป็น 48% ของรายได้เฉลี่ยที่เคยได้รับก่อนเกษียณ จากการวางแผนของระบบการประกันบำนาญชราภาพ ต้องการให้ เงินบำนาญต่อเดือนไม่น้อยกว่า 45 % เทียบกับรายได้เฉลี่ยก่อนเกษียณ ซึ่งคนเยอรมันจะต้องจ่าย เงินประกันบำนาญชราภาพเข้ากองทุนเพิ่มจาก เดิม 18.7% ของรายได้ เป็น 21.8 % ของรายได้ ซึ่งเป็นนโยบายที่พรรค CDU ต้องการให้คงไว้พรรค FDP ต้องการเสนอแนวความคิดรูปแบบใหม่ใน การคิดสูตรการจ่ายเงินบำนาญ เนื่องจาก คนรุ่นใหม่มีอายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้น พรรค SPD ต้องการคงระดับเงินบำนาญไว้ที่ 48 % และกำหนดเพดานการจ่ายเงินเข้ากองทุนบำนาญชราภาพไม่ให้เกิน 22 % และสร้างระบบการสร้างแรงจูงใจในการจ่ายเงินเข้ากองทุน ด้วยระบบการคืนภาษี พรรค The Left ต้องการเพิ่มเงินบำนาญหลังเกษียณเป็น 53 % แต่ก็เพิ่มอัตราการจ่ายเงินประกันบำนาญชราภาพให้สูงขึ้นเช่นกันนโยบายการจัดเก็บภาษีมีหลากหลายประเด็นในนโยบายการจัดเก็บภาษี จึงขออนุญาต นำมาเล่าในบางประเด็นที่น่าสนใจ• นโยบายการจัดเก็บภาษี ที่เกิดจาก การถ่ายโอน เงินทุน (Finance Transaction Tax)พรรค FDP ค้านการจัดเก็บภาษีลักษณะนี้ ที่จะเกิดขึ้นในการ ซื้อขายหุ้นในตลาดทุน และตลาดหุ้น พรรค The Left ต้องการให้มีการจัดเก็บภาษีลักษณะนี้ ประมาณ 0.1% ของมูลค่าการถ่ายโอน พรรค CDU และ SPD เห็นด้วยกับการจัดเก็บภาษีลักษณะนี้ แต่ยังไม่มีรายละเอียดและตัวเลขที่ชัดเจนในการหาเสียง• วงเงินในการลดหย่อนภาษีรายได้ส่วนบุคคลพรรค The Left ต้องการเพิ่มวงเงินในการขอลดหย่อนวงเงินการเสียภาษีรายได้ส่วนบุคคลให้เพิ่มขึ้น จากเดิม รายได้ส่วนบุคคลที่สามารถหักภาษีได้ไม่เกิน 8,820 ยูโรต่อปี เพิ่มเป็น 12,600 ยูโรต่อปี เพื่อลดภาระของประชาชนที่มีรายได้ เช่นเดียวพรรค The Greens และ พรรค AfD ที่ต้องการเพิ่มวงเงินการขอลดหย่อนภาษีรายได้ส่วนบุคคลให้เพิ่มขึ้น • ภาษีคนรวย (wealth tax)พรรค The Greens เสนอนโยบายการจัดเก็บภาษีคนรวยที่มีทรัพย์สินมากมายเกินความจำเป็น ให้มีประสิทธิภาพ แนวความคิดนี้ พรรค The Left ก็ใช้เป็นนโยบายหาเสียง ในขณะที่พรรค CDU/CSU AfD และพรรค FDP ไม่เห็นด้วย• ภาษีช่วยเหลือเยอรมันฝั่งตะวันออก (Solidarity tax)เป็นภาษีที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1991 หลังการรวมประเทศเยอรมนีตะวันตก และเยอรมนีตะวันออก และแรกเริ่มจะเก็บภาษีนี้เพียงปีเดียว เพื่อที่จะนำเงินภาษีที่ได้ไปบูรณะและพัฒนารัฐเยอรมนีฝั่งตะวันออกพรรค CDU/CSU ต้องการยกเลิกภาษีนี้แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยจะยกเลิกในปี 2020 พรรค SPD ต้องการคงภาษีนี้ไว้เพื่อนำไปช่วยเหลือคนที่มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง พรรค FDP ต้องการยกเลิกภายในปี 2019นโยบายด้านที่อยู่อาศัยพรรค FDP เสนอนโยบาย ลดหย่อนภาษี ให้กับ บริษัทรับสร้างบ้านและที่อยู่อาศัยขนาดกลาง โดยมูลค่าบ้าน หรือที่อยู่อาศัยไม่เกิน 500,000 ยูโร บริษัทไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าเป็นบริษัทที่เป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ มีนโยบายต้องเสียภาษีไม่จำกัดวงเงินของมูลค่าบ้าน ที่อยู่อาศัยพรรค SPD เสนอนโยบายไม่ต้องจ่ายภาษีสำหรับครอบครัวที่ซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 200,000 ยูโร สำหรับพรรค CDU/CSU มีนโยบายช่วยเหลือด้วยมาตรการทางภาษีให้กับครอบครัวเช่นกัน แต่ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน พรรค AfD มีนโยบายช่วยเหลือเรื่องบ้านและที่อยู่อาศัย โดยยกเลิกการจัดเก็บภาษีการซื้อขายบ้านและที่อยู่อาศัยนโยบายสกัดกั้นค่าเช่าที่อยู่อาศัยที่เพิ่มสูงขึ้น(Mietpreisbremse)เป็นนโยบายที่ใช้ในการต่อสู้หาเสียงอย่างหนักหน่วงใน การหาเสียงครั้งนี้ หลักการของแนวทางสกัดกั้นค่าเช่าที่อยู่อาศัยเพื่อไม่ให้สูงเกินไป คือ การให้อำนาจแก่รัฐบาลท้องถิ่นในการประกาศ ภาวะฉุกเฉินในท้องที่ที่มีปัญหาเรื่องค่าเช่าที่อยู่อาศัยราคาแพง เมื่อรัฐบาลท้องถิ่นประกาศภาวะฉุกเฉินเรื่องราคาค่าเช่าสูงเกินไป แล้ว ผู้ให้เช่าสามารถเพิ่มค่าเช่าจากผู้ขอเช่ารายใหม่ไม่เกิน 110 % ของราคาประเมินแนวคิดนี้ พรรค SPD และ พรรค The Greens ให้การสนับสนุน โดยพรรค SPD ต้องการให้ผู้ให้เช่าเปิดเผย ค่าเช่าก่อนหน้านี้ พรรค The Left ต้องการขยาย ผล ไปยังทุกพื้นที่ ไม่จำกัดเวลา และไม่มีข้อยกเว้นในการดำเนินนโยบายนี้ พรรค CDU AfD และ FDP ไม่ต้องการนโยบายนี้จากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา (24 กันยายน 2017) ปรากฏว่า ไม่มีพรรคใดได้รับเสียงข้างมากเพียงพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคเดียวได้ จึงต้องมีการเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสมที่ประกอบไปด้วย 3 พรรค คือ พรรค CDU นำโดยนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน แองเจลา แมร์เคิล ที่ได้รับคะแนนเสียง 32.9% (ได้ที่นั่งในสภาบุนเดสท้าก 246 ที่นั่ง) พรรค FDP ได้คะแนนเสียง 10.7 % (80 ที่นั่ง) พรรค The Green ได้รับคะแนนเสียง 8.9% (67 ที่นั่ง) ซึ่งยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมได้ ในขณะนี้ (17 ตุลาคม 2017) (ที่มา เว็บไซต์มูลนิธิการทดสอบสินค้าเพื่อผู้บริโภคhttps://www.test.de/Bundestagswahl-Familie-Rente-Steuern-was-die-Parteien-vorhaben-5217841-0/)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 นโยบายหาเสียงพรรคการเมืองเยอรมัน (ตอนที่ 2)

ขอรายงานต่อเนื่องเกี่ยวกับนโยบายหาเสียงเลือกตั้งของเยอรมัน ที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคหลายประเด็น สิทธิของประชาชนในฐานะผู้บริโภค ทั้งนโยบายด้านการคมนาคม การสนับสนุนสถาบันครอบครัว ด้านที่อยู่อาศัย การทำงาน ระบบประกันสุขภาพ ฯลฯ ต่อจากคราวที่แล้วนะครับนโยบายด้านคมนาคม โดยเฉพาะเรื่องการขนส่งทางบก: รถยนต์ส่วนบุคคลภายในปี 2030 เยอรมนีมีแผนที่จะอนุญาตให้ใช้เฉพาะรถที่ไม่ปล่อยควันจากท่อไอเสียรถยนต์เท่านั้น (emission free auto) ซึ่งเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคเขียว (The Greens party) และพรรคฝ่ายซ้าย (The Left Party) ในขณะที่พรรค CDU เน้นในเรื่องการก่อสร้างสถานีชาร์จไฟฟ้า เพิ่มขึ้น เป็น 50,000 สถานีทั่วประเทศ การจำกัดความเร็วโดยกำหนดความเร็วบนถนน Autobahn ไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดความเร็ว) เป็นนโยบายของพรรค The Greens และพรรค The Left Party เรียกร้องให้กำหนดความเร็วในเขตชุมชน ไม่เกิน 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในขณะที่ พรรค CDU/CSU FDP และ พรรค AfD ต่อต้านนโยบายจำกัดความเร็วบนท้องถนนนโยบายสนับสนุนสถาบันครอบครัว•ที่อยู่อาศัยพรรค CDU มีนโยบายให้เงินสนับสนุนครอบครัวที่จะซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย ในวงเงิน 1200 ยูโรต่อลูก 1 คนต่อปี เป็นเวลานาน 10 ปีพรรค SPD ไม่ได้ระบุวงเงินให้ความช่วยเหลือ แต่หาเสียงว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวที่มีรายได้น้อย และรายได้ปานกลางพรรค AfD มีนโยบาย ปลอดดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมเงินในการซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย และมีเงินช่วยเหลือสำหรับค่าภาษี ค่าธรรมเนียมในการซื้อบ้าน•เวลาทำงาน และเงินสนับสนุนสถาบันครอบครัวพรรค SPD มีนโยบายลดเวลาการทำงานของครอบครัวที่มีลูกเล็กที่อายุยังไม่ถึง 8 ขวบ ให้ทำงานไม่เกิน 26-36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เวลาทำงานของคนเยอรมัน ปัจจุบันคือ 43.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) และมีเงินช่วยเหลือ เดือนละ 300 ยูโรต่อเดือน เป็นระยะเวลานาน 2 ปี พรรค CDU เสนอนโยบาย ลดหย่อนภาษี สำหรับครอบครัวที่มีลูก 7,356 ยูโรต่อปีพรรค FDP เสนอนโยบาย ให้ลดหย่อนภาษีขั้นสูงสุด (ไม่ได้ระบุจำนวน)พรรค The Greens The Left และ พรรค AfD เสนอการยกเลิก การแยกยื่นภาษีรายได้ส่วนบุคคลของสามีภรรยา เหมือนกับพรรค SPDในขณะที่พรรค FDP ยังคงยืนนโยบายการแยกการยื่นภาษีรายได้ของสามี ภรรยาไว้ พรรค The Left party เสนอนโยบายการจ่ายภาษีที่เป็นธรรมสำหรับครอบครัว แต่ไม่มีรายละเอียด พรรค AfD เสนอนโยบาย การแยกการยื่นภาษีของสามีภรรยา และเสนอรูปแบบการคำนวณการหักภาษีตามฐานรายได้ของครอบครัว โดยคำนึงถึงรายได้ของสมาชิกในครอบครัวทุกคน และพรรคเขียว เสนอนโยบายเงินช่วยเหลือครอบครัวพื้นฐาน (Family Budget) ในกรณีที่มีเด็กที่ต้องเลี้ยงดู•เงินสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัว (Kindergeld)เป็นเงินที่รัฐบาลให้กับครอบครัวที่มีลูก 2 คนแรกได้รับคนละ 192 ยูโรต่อเดือน ลูกคนที่สามได้รับเดือนละ 198 ยูโร และลูกคนที่สี่เป็นต้นไป ได้รับคนละ 223 ยูโรต่อเดือนพรรค CDU/ CSU ต้องการเพิ่มให้อีก คนละ 25 ยูโรต่อคนทุกอัตราพรรค The Left เสนอนโยบายให้เงินสนับสนุนเด็ก 328 ยูโรต่อคนต่อเดือนพรรค SPD เสนอนโยบาย ให้เงินสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็ก ตามฐานรายได้พรรค The Greens เสนอนโยบายให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติม แก่ครอบครัวที่มีรายได้น้อย (Kindergeld-Bonus)พรรค FDP เสนอนโยบายเงินช่วยเหลือเด็ก 2.0 (Kindergeld 2.0) โดยที่แนวความคิดดังกล่าวจะรวมเงินที่ให้ความช่วยเหลือเด็กทุกด้าน มารวมเป็นก้อนเดียวกัน และจ่ายโดยองค์กรส่วนกลาง•ค่าเล่าเรียนใน Kindergartenพรรค SPD The Greens และพรรค The Left ต้องการยกเลิกค่าเล่าเรียนใน Kindergartenนโยบายการประกันสุขภาพพรรค SPD เสนอนโยบายระบบประกันสุขภาพสำหรับทุกสาขาอาชีพ ซึ่งรวมข้าราชการ และผู้ประกอบอาชีพอิสระเข้าไว้ด้วย โดยมีการร่วมจ่ายของนายจ้าง และลูกจ้าง โดยที่ในส่วนของลูกจ้างไม่ต้องจ่ายเงินประกันส่วนเพิ่ม (Zusatzbeitrag der Arbeitsnehmer entfällt) ค่ารักษาพยาบาล ใช้อัตราเดียวกันไม่ว่าจะเป็นการประกันตนแบบภาคบังคับ (Gesetzliche Versicherung) หรือแบบภาคสมัครใจ (Private Versicherung) สำหรับผู้ประกันตนในอนาคตจะไม่มีการแบ่งระหว่าง ประกันภาคบังคับ หรือภาคสมัครใจ (แนวคิดระบบประกันสุขภาพมาตรฐานเดียว)พรรค The Left และ พรรค The Greens ต้องการยกเลิกการประกันภาคสมัครใจพรรค CDU และ FDP ยังคงต้องการดำรงไว้ระบบประกันทั้งสองระบบยังมีต่ออีกนิด ขอเป็นตอนสุดท้ายฉบับหน้าครับ(ที่มา เว็บไซต์ มูลนิธิการทดสอบสินค้าเพื่อผู้บริโภค https://www.test.de/Bundestagswahl-Familie-Rente-Steuern-was-die-Parteien-vorhaben-5217841-0/)หมายเหตุ พรรค CDU (Christian Democratic Union Party),พรรค CSU (Christian Social Union Party in Bavaria),พรรค SPD (Social Democratic Party),พรรค FDP (Free Democratic Party),พรรค The Greens (Alliance 90/The Greens Party),พรรค The Left (Party of Democratic Socialism Party),พรรค AfD (Alternative for Germany)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 200 นโยบายหาเสียงพรรคการเมืองเยอรมัน

เดือนกันยายนของปีนี้มีการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศเยอรมนี มีพรรคการเมืองสองพรรคใหญ่ คือ พรรคคริสเตียนเดโมแครท(CDU) ที่มีนางแองเจลา แมร์เคิล ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และผู้ท้าชิงจากพรรคฝ่ายซ้าย พรรคโซเชียลเดโมแครท(SPD) คือนายมาร์ติน ชูลซ์ท ซึ่งขับเคี่ยวกันอย่างหนักในด้านนโยบาย สุดท้ายก็ผ่านพ้นไปด้วยชัยชนะของนางแมร์เคิลสิ่งที่น่าสนใจและควรกล่าวถึงคือ เรื่องการดีเบตนโยบายหาเสียงของผู้สมัครจากพรรคใหญ่ทั้งสองท่านนั้น ซึ่งมีประเด็นคำถามต่อนโยบายหาเสียงตามมาอย่างต่อเนื่องว่า ในรายละเอียดการทำนโยบายให้เกิดเป็นรูปธรรมจะเป็นอย่างไร นโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองในเยอรมันนั้น ต้องแสดงออกมาในรูปของเอกสาร ไม่ว่าจะเป็นพรรคใดก็ตามเพื่อเป็นหลักฐาน และแสดงถึงความโปร่งใส สามารถตรวจสอบจากประชาชนภายหลังได้ โดยมีความหนาถึง 820 หน้าสำหรับบทความครั้งนี้จะขอรายงานเกี่ยวกับนโยบายหาเสียงเลือกตั้งของเยอรมัน ที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนโยบายการเงินการคลัง สิทธิของประชาชนในฐานะผู้บริโภค ระบบสุขภาพ และเรื่องที่อยู่อาศัยนโยบายทางด้าน แรงงาน และการศึกษาในส่วนของสัญญาจ้างการทำงาน หลายๆ พรรคของเยอรมัน โดยเฉพาะพรรคฝ่ายซ้าย (The Left party)พรรคโซเชียลเดโมแครต (SPD: Social Democratic Party) พรรคเขียว (The Green) เสนอว่าให้มีการ ห้ามมีการระบุ การกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างจ้างงาน ถ้าไม่มีเหตุอันจำเป็น ในขณะที่พรรคเสรีนิยม(FDP: the free democratic party) ไม่เห็นด้วยกับการห้ามสัญญาจ้างงานแบบนี้ ปัจจุบันสัญญาจ้างงานที่ระบุเวลาในสัญญาจ้างจะกำหนดที่ระยะเวลา 2 ปีนโยบายเรื่องเวลาการทำงานพรรค CDU ของนางแมร์เคิล เสนอนโยบาย ให้มีสัญญาจ้างแบบ part time working contract  กับบริษัทห้างร้านที่มีขนาดใหญ่ ที่เป็นสัญญาจ้างแบบจำกัดระยะเวลาจ้างงาน เพื่อปูทางนำไปสู่การจ้างงานแบบเต็มเวลา(full time working contract) เป็นการทั่วไป ปัจจุบันการต่อสัญญาว่าจ้างการทำงาน ที่เดิมเป็น part time working contract ขยายมาเป็น full time working contract ใช้ได้กับการต่อสัญญาให้กับพนักงานที่ลางานไปเลี้ยงลูกเท่านั้น(พนักงานเยอรมันมีสิทธิลางานเพื่อไปเลี้ยงลูกได้สามปี)กรณีเรื่องเวลาการทำงานพรรค FDP ต้องการยกเลิก จำนวนชั่วโมงการทำงานรายวันสูงสุดที่กำหนดไว้ว่าไม่เกินวันละ 10 ชั่วโมง เป็นการกำหนดเวลาทำงานเป็นรายสัปดาห์ ซึ่งกำหนดว่าจำนวนชั่วโมงการทำงานรายสัปดาห์ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ในขณะที่พรรคฝ่ายซ้าย(The Left) กำหนดการทำงานรายสัปดาห์อยู่ที่ 30-35 ชั่วโมง และสูงสุดไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สำหรับพรรคเขียวต้องการกำหนดเวลาการทำงานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และจำนวนชั่วโมงการทำงานอยู่ระหว่าง 30-40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์นโยบายการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่นักศึกษาพรรค SPD มีนโยบาย เพิ่มเงินช่วยเหลือแก่นักเรียนนักศึกษา และขยายเวลาอายุของผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังขยายโอกาสให้กับนักเรียนนักศึกษาที่เรียน part time study ตลอดจนขยายสิทธิให้กับ กลุ่มที่เรียนการศึกษาต่อเนื่องทางด้านอาชีวะ พรรค The Left Party เสนอนโยบายเพิ่มเงินช่วยเหลือ ระหว่าง 735 ยูโรถึง 1050 ยูโร และเป็นการช่วยเหลือแบบให้เปล่าสำหรับเรื่องทุนเพื่อการกู้ยืมสำหรับการศึกษา (Bafög: Bundesausbildungsförderungsgesetz) ซึ่งเป็นต้นแบบของหลายๆ ประเทศใน การช่วยเหลือทางการเงินสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาเล่าเรียนนั้น พรรคเขียว ต้องการให้มีการแยกเงินสนับสนุนสำหรับนักเรียนนักศึกษาเพื่อการทั่วไป สำหรับนักเรียนนักศึกษาทุกคน และให้มีเงินพิเศษสำหรับคนที่มีสถานะทางบ้านยากจน และไม่ต้องใช้ทุนคืนในขณะที่พรรค FDP เสนอนโยบายที่ให้ความช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษา โดยไม่ต้องคำนึงถึงสถานะของพ่อแม่ โดยสนับสนุนเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า 500 ยุโรต่อเดือนและหากใครต้องการกู้เงินเพิ่มเติมมากกว่านี้ก็สามารถแสดงความประสงค์ได้ แต่เป็นส่วนที่ต้องใช้ทุนคืนขออนุญาต เล่าต่อในวารสารฉบับหน้าครับ ซึ่งจะมาส่องดูนโยบายเกี่ยวกับด้าน คมนาคม ครอบครัว ประกันสุขภาพ ประกันบำนาญ การจัดเก็บภาษี ที่อยู่อาศัย กันครับ(ที่มา เวบไซต์ มูลนิธิการทดสอบสินค้าเพื่อผู้บริโภค https://www.test.de/Bundestagswahl-Familie-Rente-Steuern-was-die-Parteien-vorhaben-5217841-0/)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 กระแสต่างแดน

โทรทัศน์จีนแฉธุรกิจยอดแย่ทุกๆ ปีในวันสิทธิผู้บริโภคสากล 15 มีนาคม สถานีโทรทัศน์แห่งชาติของจีน Central China Television หรือ CCTV จะถ่ายทอดรายการ “315 Gala” ซึ่งเป็นที่รอคอยของผู้ประกอบการทั้งหลายที่ ลุ้นตัวโก่งว่าจะติดบัญชีดำของรัฐบาลจีนหรือไม่315 Gala นำเสนอผลสำรวจปัญหายอดฮิตจากผู้บริโภค รวมถึงคลิป “ซ่อนกล้อง” เข้าไปแอบถ่ายการทำธุรกิจของผู้ประกอบการหลายๆ เจ้าด้วย ร้อยละ 25 ของปัญหาที่ผู้บริโภคพบในปีที่ผ่านมาได้แก่ การได้รับ “ของปลอม” ทั้งๆ ที่สั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ (แต่ไม่ได้บอกว่าเจ้าไหนบ้าง)ปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเข้ามามากเป็นอันดับสองคือปัญหาการซื้อขายรถ ที่ผู้ขายบังคับให้ผู้ซื้อจ่ายค่าประกันและค่าป้ายทะเบียน หรือนำรถรุ่นที่ถูกประกาศเรียกคืนแล้วมาขาย เป็นต้น  อันดับสามได้แก่ โทรศัพท์มือถือที่ชำรุดบกพร่อง หรือไม่มีบริการหลังการขายที่ดี ที่ผ่านมารายการนี้สร้างความสั่นสะเทือนให้กับบริษัทใหญ่ๆ ของจีนเอง อย่าง ไชน่าโมไบล์ เจเอซีมอเตอร์ส หรือแม้แต่ ไป่ตู้อิงค์ และบริษัทต่างชาติอย่าง แลนด์โรเวอร์ และแอปเปิ้ล มาแล้วเจมส์ เฟลด์แคมป์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์จัดอันดับสินค้าและบริการ www.Mingjian.com ให้ความเห็นว่าผู้ประกอบการในจีนเริ่มตระหนักแล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าตัวเองตกเป็นดาราจำเป็นในรายการนี้ จึงหันมาเพิ่มความโปร่งใสเป็นธรรมในการทำธุรกิจ เพื่อจะได้ไม่ถูกประจานออกทีวีเบน คาเวนเดอร์ นักวิเคราะห์จากบริษัทวิจัยการตลาดในเซี่ยงไฮ้บอกว่ารายการนี้ช่วยยกระดับการรับรู้เรื่องสิทธิผู้บริโภคของผู้บริโภค และเมื่อพวกเขารู้สึกว่าตนเองได้รับการดูแลคุ้มครอง พวกเขาก็จะเกิดความมั่นใจในการเลือกซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น  เคเบิลทีวี ... บริการนี้ต้องเลือกได้กสทช.ไต้หวันเสนอให้บริษัทเคเบิลทีวีเพิ่มทางเลือกให้สมาชิกสามารถจ่ายเงินเฉพาะช่องที่อยากดู ปัจจุบันสมาชิกเคเบิลทีวีจ่ายค่าบริการรายเดือนในอัตราเดียว (ระหว่าง 500 ถึง 600 เหรียญไต้หวัน) แลกกับช่องรายการกว่า 100 ช่อง (รวมช่อง must-carry ที่ผู้ประกอบการต้องจัดให้เป็นพื้นฐานแล้ว)ปีหน้าผู้ประกอบการถึงคิวต้องมีระบบคิดค่าบริการที่หลากหลายขึ้น กสทช. เขาเสนอให้มีแพ็คเกจที่สมาชิกสามารถเลือกเฉพาะช่องที่ต้องการดู แล้วจ่ายเงินตามนั้น เขาไม่ได้กำหนดเพดานของค่าบริการรายเดือน เนื่องจากไต้หวันมีผู้ประกอบการหลายเจ้า แล้วยังมีบริการทีวีอินเตอร์เน็ทโดยผู้ประกอบการจากต่างประเทศเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดอีก กลไกตลาดจะทำงานของมันเอง ที่สำคัญคือผู้บริโภคจะมีเวลา 1 สัปดาห์ในการ “ทดลองดู” ถ้าไม่พอใจก็สามารถยกเลิกได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินทางสิงคโปร์ก็ไม่น้อยหน้า ตามข้อกำหนดใหม่ ถ้าผู้ประกอบการขึ้นค่าบริการหรือยกเลิกรายการหลักๆ ผู้บริโภคสามารถยกเลิกบริการก่อนกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาได้เลยโดยไม่เสียค่าปรับ แต่ต้องไปรับดำเนินการภายใน 30 วันนับจากรับทราบความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  รถไฟเยอรมันเตรียมยกเครื่องปีที่ผ่านมา ดอยทช์บาห์น หรือการรถไฟเยอรมนี มีรายรับมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึง 40,000 ล้านยูโร (1.5 ล้านล้านบาท) แต่ในขณะเดียวกันก็ประสบการขาดทุนสูงที่สุดในรอบ 12 ปี สาเหตุมาจากการลดมูลค่าของสินทรัพย์ในธุรกิจรับส่งสินค้า การรวมตัวนัดหยุดงานของเจ้าหน้าที่ และการที่ผู้โดยสารหันไปใช้บริการรถบัสกันมากขึ้นแผนเพิ่มผลกำไรของดอยทช์บาห์น ซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าของ ณ จุดนี้ได้แก่การวางมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย และขายกิจการบางอย่างให้กับเอกชน ที่ฮือฮามากที่สุดคือแผนเลิกธุรกิจรับส่งสินค้า ที่อาจทำให้พนักงานกว่า 3,500 คนทั่วประเทศถูกเลิกจ้าง  บริษัทประกาศว่าจะปรับปรุงคุณภาพบริการ โครงสร้างพื้นฐาน ตัวรถ ระบบราง ฯลฯ ให้ทันสมัย ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เงินถึง 55 ล้านยูโร (ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาท) งบประมาณที่ใช้บางส่วนจะมาจากบริษัทเอง แต่อีกส่วนที่ใหญ่กว่าจะมาจากงบประมาณกลาง สื่อเยอรมันบอกว่ารัฐบาลเลยไม่ปลื้มกับแผนนี้สักเท่าไร  กิน เที่ยว ต้องเรื่องเดียวกันผู้ว่าฯ เมืองฟลอเรนซ์บอกว่าเมืองเก่าระดับ “มรดกโลก” ของอิตาลีนี้กำลังจะสูญเสียภาพลักษณ์เพราะบรรดาร้านที่ขายแต่อาหารต่างถิ่นและร้านขายของคุณภาพต่ำที่นำเข้ามาจากต่างประเทศสมาชิกสภาเมืองเชื่อว่านักท่องเที่ยวที่มาเยือนควรได้ลองลิ้มชิมรสอาหารที่มีชื่อเสียงประจำเมืองนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ จึงออกข้อบังคับให้ร้านอาหารที่กำลังจะเปิดใหม่ขายเฉพาะอาหารท้องถิ่นดั้งเดิมที่ใช้วัตถุดิบจากแคว้นทัสกานีเท่านั้น ส่วนร้านที่เปิดมาก่อนแล้ว ก็ยังมีเวลา 3 ปีในการปรับเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่นให้ได้ถึงร้อยละ 70 เรื่องนี้ ออสกา ฟาริเน็ตติ เจ้าของ Eataly เครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตระดับโลกเห็นต่าง เขาบอกว่าตัวเลข ร้อยละ 70 นั้นสูงเกินไปและจะสร้างภาระให้กับร้านอาหารมากเกินไปอย่างไรก็ตาม มีข่าวออกมาแล้วว่าเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ ก็อาจนำเอาข้อบังคับนี้ไปใช้เช่นเดียวกัน   เรื่องนี้เข้าทางนักท่องเที่ยว แต่ถ้ามีการควบคุมราคาด้วยจะดียิ่งขึ้นไปอีกนะนี่  

อ่านเพิ่มเติม >