ฉบับที่ 216 เมา..ไม่ค้าง

คนชอบกินเหล้ามักกังวล(นิดหน่อย) กับอาการ เมาค้าง หรือที่ฝรั่งใช้คำว่า hangover ซึ่งมีการอธิบายอาการของผู้เมาค้างในเว็บไทยต่างๆ ว่า “ปัสสาวะบ่อย น้ำตาลในเลือดต่ำ ปวดหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอมแต่ไม่อาเจียน หมดแรง อ่อนเพลีย ลุกไม่ขึ้น เดินไม่คล่อง มึน งุนงง สับสน นอนไม่หลับ ลืมตาไม่ขึ้น คอแห้ง ใจสั่น มือสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น กล้ามเนื้อเกร็งหรืออาจเป็นตะคริวร่วมด้วย เบื่ออาหาร ลิ้นไม่รับรส ปวดท้อง ท้องเสีย ความดันโลหิตตัวบนสูงขึ้น ชีพจรเต้นเร็วขึ้น เหงื่อออกมาก บ้านหมุน คนเป็นโรคหัวใจอาจตายได้” ซึ่งอาการเหล่านี้คงไม่เป็นที่พึงประสงค์ของนายจ้างของผู้ที่เมาค้างแน่นอน ดังนั้นจึงมีคนที่พยายามหาทางถอนเมาค้างออกเพื่อช่วยให้คนชอบกินเหล้าสามารถทำงานได้เหมือนผู้คนอื่น ๆในเว็บไทยต่างๆ ได้พูดถึงอาหารและเครื่องดื่มแก้เมาค้าง ซึ่งเริ่มตั้งแต่ “น้ำเปล่า เครื่องดื่มร้อนๆ น้ำหวาน น้ำอัดลม นมอุ่นๆ เครื่องดื่มวิตามิน เครื่องดื่มเกลือแร่ กาแฟเอสเพรสโซ่เข้มๆ ชาเขียว น้ำส้มคั้น น้ำผึ้งผสมมะนาว น้ำขิงอุ่น น้ำผึ้งมะนาวผสมขิง ชาโสม ชาสะระแหน่ผสมน้ำผึ้ง น้ำมะพร้าว น้ำอ้อยคั้นสด น้ำแตงกวาดอง นมช็อกโกแลตผสมชีสพาย น้ำสต๊อกปลา น้ำผักผลไม้สีเขียว น้ำผลไม้ผสมเกลือ สมูทตี้ผลไม้ สมูทตี้ขิงกับส้ม สมูทตี้แตงโมผสมแตงกวา สมุนไพร ได้แก่ น้ำเก๊กฮวย น้ำกระเจี๊ยบ ดอกคำฝอย ลูกใต้ใบ เปลือกต้นควินินแห้งต้มกับน้ำ ผงปลาไหลเผือกชงกับน้ำอุ่น ดอกประยงค์ ใบหรือรากรางจืด ถั่วแปบ บ๊วย  มัลเบอร์รี่ หอมแดง อาหารประเภทโปรตีน (เช่น ไข่ต้ม) ขนมปัง โจ๊ก ข้าวต้ม น้ำซุปใส ต้มยำน้ำใส ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ เกาเหลา ซุปมิโซะ แฮจังกุก ผลไม้รสเปรี้ยว ช็อกโกแลตแท่งหรือของหวานจัด ๆ” เป็นต้น เห็นได้ว่าสิ่งที่ถูกสรรหามาใช้แก้อาการเมาค้างนั้น ต่างคนต่างหา ได้ผลบ้างลักษณะที่เรียกว่า placebo effect) หรือไม่ได้เรื่องเลยนอกจากนี้ท่านผู้อ่านที่เข้าใจภาษาอังกฤษ สามารถหาข้อมูลจาก pinterest ซึ่งมีแผนภาพมากมายให้มั่วซั่วตาม โดยคุยว่าแก้เมาค้างได้ ซึ่งคงได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง เพราะผู้ให้ความรู้นั้นต่างมีคำจำกัดความของคำว่า เมาค้าง แบบต่างคนต่างเข้าใจอย่างไรก็ตามมีผู้ตระหนักความจริงในเรื่อง เมาค้าง กล่าวในเว็บภาษาอังกฤษหนึ่ง ที่ผู้เขียนไปพบว่า อาหารหรือเครื่องดื่มแก้เมาค้างอาจไม่มีจริง เพราะยังไม่มีใครพิสูจน์ได้จริงว่า อัลดีไฮด์ (aldehyde) ซึ่งเป็นอนุพันธ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนเอ็ททานอล (แอลกอฮอล) ในเครื่องดื่มมึนเมาไปเป็น อะเซ็ตตัลดีไฮด์ (acetaldehyde ซึ่งเรียกง่ายๆ ว่า อัลดีไฮด์) ด้วยเอ็นซัม อัลกอฮอลดีไฮโดรจีเนส (alcoholdehydrogenase) นั้นคือ สาเหตุที่ทำให้เมาค้าง ที่พูดกันในตำรานั้นเป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น เนื่องจากอัลดีไฮด์นั้นมีความเป็นพิษสูงกว่าเอ็ททานอลหลายเท่า ดังนั้นการแก้อาการเมาค้างนั้นจึงเป็นไปได้ยาก        ผู้รู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพท่านหนึ่งในอินเทอร์เน็ตกล่าวว่า จริงแล้วอาการเมาค้างนั้นมีผลต่อเกือบทุกอวัยวะในร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินอาหาร ไปถึงระบบประสาท และไปถึงระบบที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ดังนั้นจึงไม่มียาวิเศษหรืออาหารอะไรที่จะครอบจักรวาล บำบัดปัญหาที่อาจเกิดกับเกือบทุกอวัยวะในร่างกายเราได้พร้อมกัน        จากข้อมูลที่กล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นข่าวร้ายสำหรับคอเหล้า ก็ยังมีข่าวที่อาจจะดี สำหรับผู้นิยมชมชอบในน้ำเมา เพราะมีข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ในอังกฤษที่เว็บไทยพาดหัวข่าวประมาณว่า เหล้าแห้งกำลังมาแรง        ผู้เขียนติดใจคำว่า เหล้าแห้ง ที่มีการพาดหัวข่าว ซึ่งเคยได้ยินมานานแล้วแต่ไม่ได้สนใจว่ามันคืออะไร ปรากฏว่าเมื่อเข้าไปถามอากู๋(google) ว่า เหล้าแห้งนั้นคืออะไร อากู๋ลุกขึ้นตอบทันใด เหล้าแห้งนั้นไซร้คือ ยาเสพติดชนิดหนึ่งประเภทกดประสาทสมอง เป็นยานอนหลับจําพวกบาร์บิทูเรต ซึ่งผลิตออกมาในรูปของโซเดียมเซโคบาร์บิทัล และเรียกกันสั้นๆ ว่า เซโคนัล และทางแพทย์ใช้เป็นยานอนหลับประเภทออกฤทธิ์ระยะสั้น ซึ่งปรากฏว่าเป็นคนละเรื่องกับสิ่งที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในฉลาดซื้อฉบับนี้        ข่าวจากเมืองผู้ดีกล่าวว่า สิ่งที่จะมาช่วยให้ผู้ชอบใช้ช่วงหลังเลิกภารกิจในชีวิตประจำวันเป็นช่วงที่หลุดไปจากโลกแห่งความเป็นจริง(ภาษาอังกฤษใช้คำว่า high) สมใจนั้นเป็นเครื่องดื่มที่ชื่อว่า Alcosynth ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นมาโดยแพทย์ชาวอังกฤษชื่อ David Nutt         หมอ Nutt ได้อ้างว่าสาระสำคัญในเครื่องดื่มนี้ ไม่ส่งผลต่อตับหรือหลอดเลือดหัวใจในแบบแอลกอฮอล์ธรรมชาติ(ขอให้ฟังหูไว้หู) แต่สามารถทำให้ เมา ขาดสติสัมปชัญญะ ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี โดยไม่เกิดอาการเมาค้างในตอนเช้า หนังสือพิมพ์ในอังกฤษจึงได้ประโคมเป็นข่าวใหญ่ของปี 2018 เนื่องจากการดื่มเพื่อให้เมานั้นเป็นชีวิตจิตใจของคนอังกฤษที่มีข้อมูลว่า การดื่มเหล้าเป็นสาเหตุลำดับที่สาม ที่ทำให้คนอังกฤษตายในแต่ละปี

อ่านเพิ่มเติม >