ฉบับที่ 230 ติดตาม COVID-19 กับ COVID Tracker

        ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นช่วงที่ทุกคนต้องการรับทราบข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์มาใช้ในการเฝ้าระวังตนเองและครอบครัวให้มากที่สุด โดยแต่ละคนอาจใช้วิธีการติดตามข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่น ติดตามจากโทรทัศน์ จากเฟสบุ๊ค จากทวิตเตอร์ จากจังหวัด จากชุมชน ฯลฯ ซึ่งข่าวสารที่ได้รับมาอาจมีข้อมูลที่มีความผิดพลาด บิดเบือน หรือไม่ถูกต้อง จนทำให้เกิดสภาวะตื่นตระหนกกับข้อมูลข่าวสารนั้นๆ แม้ว่าจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม        ฉบับนี้จึงมาแนะนำเว็บไซต์ที่เป็นเหมือนศูนย์เช็คข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการอัพเดทข้อมูลข่าวสารการระบาดของเชื้อในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทยแบบเรียลไทม์ เว็บไซต์นี้มีชื่อว่า COVID Tracker หรือลิ้ง https://covidtracker.5lab.co/ ผู้ที่คิดค้นเป็นกลุ่มทีม 5lab ซึ่งเป็นบริษัทออกแบบเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น ได้เห็นว่ามีข่าวปลอมและข้อมูลที่แพร่สะพัดเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่แน่ใจว่าจะเชื่อถือข้อมูลข่าวสารอันไหนดี ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้มีความคิดที่จะสร้างเว็บไซต์นี้ขึ้นมา เพื่อกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารโดยการดึงข้อมูลจากสื่อหลักและหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือมาประกอบ         ปัจจุบันเว็บไซต์ COVID Tracker มีผู้ติดตามอยู่จำนวนมาก โดยหน้าหลักในเว็บไซต์ COVID Tracker จะแสดงภาพแผนที่ประเทศไทย และสัญลักษณ์เพื่อแสดงพิกัดของผู้ติดเชื้อทั่วประเทศไทย ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้จะเป็นภาพไอคอนต่างๆ และสีที่แตกต่างกันเพื่อแสดงความหมายของสถานะผู้ป่วยและสถานะข่าวทีเกิดขึ้น ทั้งนี้ผู้ติดตามสามารถคลิกดูความหมายของไอคอนได้จากมุมด้านล่างซ้าย         สัญลักษณ์ไอคอนเหล่านี้จะแสดงบนแผนที่ประเทศไทย ตามพิกัดที่เกิดข่าวหรือมีผู้ป่วยเกิดขึ้น เมื่อคลิกบริเวณสัญลักษณ์ไอคอน ระบบจะแสดงข้อความที่มีรายละเอียดของผู้ป่วย รายละเอียดสถานที่ แจ้งวันที่เกิดข่าว รายงานสถานะของผู้ป่วย รวมทั้งแจ้งว่าเป็นข้อมูลที่ได้รับการยืนยันแล้วหรือไม่         ด้านบนสุดของหน้าเว็บไซต์จะเป็นตัวอักษรวิ่ง เพื่อแจ้งตัวเลขล่าสุดของจำนวนยอดสะสม จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่ม จำนวนผู้เสียชีวิต และจำนวนผู้ที่รักษาหาย ในแต่ละวัน และทางด้านบนขวาจะมีเมนูที่เขียนว่า ดูข่าวล่าสุด ซึ่งเป็นเมนูที่แจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเรียงเหตุการณ์ก่อนหลังจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในทุกข้อมูลที่ปรากฎอยู่บนหน้าเว็บไซต์จะลิ้งไปยังแหล่งข้อมูลที่แจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น โดยสามารถเข้าไปคลิกเพื่ออ่านข้อมูลจากแหล่งข้อมูลได้โดยตรง         เว็บไซต์ COVID Tracker ยังมีการรวบรวมข้อมูลพิกัด รายละเอียดและเบอร์โทรศัพท์ของโรงพยาบาลต่างๆ ไว้บนหน้าเว็บไซต์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ติดตามและผู้ป่วยที่ต้องการเข้ารับการตรวจในโรงพยาบาล นอกจากนี้เว็บไซต์นี้ยังมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน เพื่อรองรับชาวต่างชาติอีกด้วย         สำหรับผู้ติดตามเว็บไซต์ COVID Tracker ยังสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านทางทวิตเตอร์ (Twitter) ได้ที่ @covidtrackerth ได้อีกช่องทางหนึ่ง         เว็บไซต์ COVID Tracker จึงเป็นเว็บไซต์ที่ตอบโจทย์ความต้องการในการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ดีจริงๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 155 เมื่อรำคาญกับโฆษณา ในเฟซบุ๊ก ทำอย่างไร

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการปัจจุบันนี้โปรแกรมโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อผู้คนในสังคมไทยเป็นอย่างมาก หลายๆ คนนิยมติดต่อ สื่อสาร แสดงสถานะของตนเอง ตลอดจนเปิดเผยข้อมูลที่ ทางผู้ประกอบการนิยมนำมาใช้ในการโฆษณาสินค้า และบริการ สินค้าบางชนิด ก็เป็นสินค้าที่นอกจากจะสร้างความรำคาญให้กับเราแล้ว สินค้าและบริการบางประเภท ก็อาจทำให้เกิดความรู้สึกตะขิดตะขวงใจ และบางครั้งก็อาจสร้างความอับอาย หากเพื่อนๆ ที่อยู่ในรายชื่อของเฟซบุ๊ก เราสามารถแวะเวียนเข้ามาดูได้ ไม่ว่าจะเป็นชุดชั้นใน บริการบางชนิดที่สุ่มเสี่ยงต่อการค้าประเวณี ยาเพิ่มและลดสมรรถภาพทางเพศ ยาที่โฆษณาชวนเชื่อว่าสามารถทำให้อกฟู รูฟิต ซึ่งก็เป็นที่น่าสงสัยว่า โฆษณาเหล่านี้ แวะเวียนผ่านเข้ามาในเฟซบุ๊กของเราได้อย่างไร วันนี้ผมขอแนะนำวิธีการ บล็อคโฆษณาที่แวะเวียนเข้ามารบกวนเรา ที่น่าจะมีประโยชน์กับผู้บริโภค ที่ปัจจุบันเฟซบุ๊กเข้ามายุ่งเกี่ยวกับชีวิตของเรามากทีเดียว   ขั้นตอนที่ 1 หลังจากที่เรา log in เข้าเฟซบุ๊กของเราเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าไปคลิกที่รูปเฟืองเกียร์ รูปที่ 1ด้านขวามือบน หลังจากนั้นก็ เลือก “account setting” หลังจากนั้น graphic จะปรากฎขึ้นมา ให้เลือก “ads” ทางด้านซ้ายมือ (รูปที่ 2) หลังจากนั้น จะปรากฎ graphic ให้เลือก คลิก “edit” ของ Ads and Friends (รูปที่ 3) เมื่อ graphic ของ “Pair my social action with ads for No one” ในช่องสี่เหลี่ยม ตามรูปที่ 4 และอย่าลืม คลิก Save change เพื่อยืนยัน ขั้นตอนที่ 2 หลังจากนั้นใช้เม้าส์ เลื่อนขึ้นไปที่ “Third Party Sites” คลิกที่  “edit” ตามรูปที่ 5 และทำตามเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 1 เลือก ในช่อง “If we allow this in the future, show my information to No one” และ คลิก Save change เพื่อยืนยันอีกครั้ง ขั้นตอนที่ 3 ให้ คลิกไปที่ “opt out” ในช่อง “Website and Mobile App Custom Audiences” ตามรูปที่ 6 เมื่อ กราฟิกตามรูปที่ 7 ปรากฎขึ้น ให้คลิกไปที่ “opt out” อีกครั้ง ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ 1- 3 ในทุกเว็บ browser และในทุกอุปกรณ์สื่อสารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ส่วนตัว สมาร์ตโฟน และแทบเล็ต จะเห็นว่าการป้องกันโฆษณาในเฟสบุค ยุ่งยากกว่า การ unfriend เพื่อนของเราที่หลายๆ ท่านคงจะได้ทำการ unfriend ออกไปจากรายชื่อของเฟซบุ๊กไปแล้ว ทุนนิยมสามานย์ สร้างความยุ่งยากให้กับชีวิตของเราได้มากกว่า ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลมากกว่าที่เราเคยคิด สำหรับคนไทยก็คงต้องทนอยู่กันต่อไป เพราะเราคงไม่คิดจะเนรเทศตัวเองไปอยู่ต่างประเทศ เหมือนนักการเมืองที่ได้สร้างปัญหาไว้ และทิ้งให้เราเองต้องกลับมาแก้ปัญหาในระยะยาว สวัสดีปีม้า 2557 นะครับ   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 134 เฟสบุค กับมาตรการการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ   ปัจจุบันนี้โปรแกรมโซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุค ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อผู้คนในสังคมไทยเป็นอย่างมาก หลายๆ คนนิยมติดต่อ สื่อสาร แสดงสถานะของตนเอง ตลอดจนเปิดเผยข้อมูลที่ อาจจะเป็นภัยคุกคามต่อความเป็นส่วนตัว และการเปิดเผยข้อมูลบางประการ ซึ่งอาจทำให้เป็นช่องทางที่พวกมิจฉาชีพทั้งหลายเข้ามาทำร้ายเราได้ และโดยในเฉพาะปัจจุบันนี้ ภัยจากสงครามปรองดอง บางส่วนก็ยังคงใช้โซเชียลมีเดียเป็นสนามรบแทนที่จะใช้เป็นสนามรัก เรื่องนี้ เป็นโจทย์ที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องตั้งสติและเตรียมตัว ให้ดีว่า เราจะช่วยกันป้องกันภัยคุกคามที่มาพร้อมกับการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดนนี้ได้อย่างไร บทความตอนนี้ขออนุญาตเล่าสถานการณ์ เรื่องเฟสบุค ในประเทศเยอรมนี ต่อกรณีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่น่าจะมีประโยชน์กับผู้บริโภค และหน่วยงานราชการ องค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องได้บ้าง ตลอดจนได้แนะนำวิธีปฏิบัติเบื้องต้นไปพลางๆ สำหรับผู้บริโภคก่อน ที่ภาครัฐและฝ่ายนิติบัญญัติจะสามารถกลับมาทำหน้าที่ เป็นที่พึ่งของประชาชนในฐานะผู้บริโภคได้ครับ   เพื่อนที่ไม่ได้เชิญหรือไม่ได้รู้จักมีอีเมล์จากเฟสบุคมาชวนเรา ใครก็ตามที่ได้เล่นเฟสบุค แล้วก็มักจะติดอกติดใจ และใช้เฟสบุคเพิ่มมากขึ้น โดยปรกติแล้วการเข้ามาในระบบ ฐานข้อมูลของเฟสบุคนั้น ไม่จำเป็นว่าคนนั้นต้องมีบัญชี (account) ในเฟสบุค เพราะเฟสบุคเองมีเครื่องมือที่เรียกว่า friend finder ที่เป็นโปรแกรมอัตโนมัติ คอยเสาะหาบุคคลที่จะเข้ามาเป็นเพื่อน หรือ เป็นเพื่อนของเราอยู่แล้วก็ได้ เพราะโปรแกรมเฟสบุคเองนั้นจะทำหน้าที่เสาะหาสมาชิกให้เข้ามาในเฟสบุค โดยเฟสบุคสามารถตรวจสอบข้อมูลจากเบอร์อีเมล์ของเพื่อนเราหรือคนรู้จักได้ เรียกเป็นภาษาเทคนิคว่า addressbook import ในกรณีที่พบเพื่อนหรือคนอื่นๆ ที่เราเคยรู้จัก เฟสบุคจะบอกเรา (user) ว่าใครบ้างที่ทำการลงทะเบียนใช้งานในเฟสบุคแล้วบ้าง หลังจากนั้นเฟสบุคก็จะทำการส่งคำเชิญชวนคนที่ยังไม่อยู่ในบัญชีเฟสบุคให้เข้ามาลงทะเบียนใช้เฟสบุค สำหรับคนที่ได้รับคำเชิญนั้นก็แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่สนใจใช้งานเฟสบุค กับกลุ่มที่ไม่สนใจใช้งานเฟสบุค แต่คนทั้งสองกลุ่มที่ได้รับคำเชิญนั้น ข้อมูลของคนทั้งสองกลุ่มได้ถูกเก็บบันทึกไว้ในฐานข้อมูลของเฟสบุคแล้ว   กรณีที่เราอยากจะลบข้อมูลของเราในฐานข้อมูลของเฟสบุคต้องทำอย่างไร สำหรับประเทศไทยที่มาตรการการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยังย่อหย่อน และรัฐไม่ได้เห็นเป็นเรื่องสำคัญอะไรมากนัก ก็อาจจะเป็นเรื่องยากอยู่แต่ในประเทศเยอรมนีที่มีกฎหมายดูแลเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว และคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้น จะมีคณะกรรมการอิสระคอยสอดส่องดูแลอยู่ นอกจากนี้ประชาชนและองค์กรภาคเอกชนก็เป็นกำลังสำคัญในการให้ข้อมูล ให้ความช่วยเหลือในด้านนี้กันเป็นอย่างดี และล่าสุดสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนีฟ้องศาล* กรณีการทำงานหาสมาชิกแบบอัตโนมัติของ friend finder ถึงแม้ว่าศาลจะมีคำสั่งห้ามระบบการทำงานของ friend finder ก็ตามแต่ในความเป็นจริง friend finder ก็ยังคงทำงานอยู่นั่นเอง เพราะคดียังอยู่ในระหว่างชั้นอุทธรณ์ นั่นเป็นสถานการณ์ของเฟสบุคในเยอรมนี สำหรับคำแนะนำที่ผมได้อ่านมาจากองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคของเยอรมันสำหรับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล ในทางเทคนิคเท่าที่ผู้บริโภคสามารถดำเนินการเองได้มีดังนี้ครับ กรณีที่เราได้รับอีเมล์เชิญให้สมัครเฟสบุคนั้น ในตอนท้ายของอีเมล์จะมีลิงค์ ให้เราเลือกว่าเราปฏิเสธการรับอีเมล์จากเฟสบุคอีกต่อไป อย่างไรก็ตามเฟสบุคก็ยังคงเก็บข้อมูลของเราไว้อยู่ดี ปิดบัญชีเฟสบุค สามารถทำได้ตลอดเวลา โดยคลิกไปที่ http://www.facebook.com/help/contact_us.php?id=220219108064043 หลังจากนั้นเราสามารถที่จะเลือกได้ว่าจะยกเลิกการใช้เฟสบุค หรือจะสั่งให้ลบข้อมูลของเราทั้งหมดออกจากเฟสบุคก็ได้ * องค์กรผู้บริโภคของเยอรมัน (VZBV) ได้ฟ้องเฟสบุคต่อศาล เมือง เบอร์ลิน (Landgericht Berlin) ให้สั่งห้ามระบบการทำงานของ friend finder เนื่องจากในหนังสือข้อตกลงของเฟสบุค (Term and Condition) นั้นละเมิดสิทธิ และผิดกฎหมายหลายอย่างตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (Civil Law Code) และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Bundesdatenschutzgesetz)  

อ่านเพิ่มเติม >