เป้สะพายหลังสำหรับเด็กเล็ก:การฝึกและวิธีการสะพายที่ถูกต้อง

ช่วงฉลาดช้อปดร.ไพบูลย์ ช่วงทองมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภคถึงวันเปิดเทอมใหม่ เด็กๆ ก็ต้องสะพายเป้ใส่ของไปโรงเรียน เด็กเล็กๆ บางคนสะพายเป้ใบใหญ่กว่าตัวมาก แถมยังแบกสัมภาระมหึมาไปโรงเรียนทุกวัน ซึ่งการแบกน้ำหนักมากๆ มีผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กเหมือนกัน เพราะฉะนั้นผู้ปกครองทุกคนต้องให้ความสนใจในการเลือกเป้สำหรับบรรจุข้าวของต่างๆ ของลูกน้อยเป็นพิเศษ  ในบางกรณีผู้ปกครองจำเป็นต้องเลือกใช้เป้ของโรงเรียน ซึ่งอาจยังไม่ได้คำนึงถึงการยศาสตร์ ในการออกแบบสำหรับเด็กเล็กเท่าไรนัก วิธีการหนึ่งที่ผู้ปกครองสามารถทำได้คือ การฝึกเด็กให้สะพายเป้ให้ถูกต้องนั่นเอง วันนี้ผมขอนำวิธีการฝึกสะพายเป้ให้ถูกต้องตามหลักการทางออร์โธเปดิกส์มาฝาก ซึ่งหากเด็กสามารถสะพายเป้ได้อย่างถูกต้อง จะส่งผลต่อชีวิตของเด็กในอนาคตเองเลยทีเดียว เพราะการสะพายเป้ที่ไม่ถูกต้องนั้นจะทำให้มีผลกระทบต่อกระดูกสันหลังของเด็ก เพราะกระดูกสันหลังของเด็กในวัยนี้ยังไม่แข็งแรง เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย และอาจนำไปสู่การเจริญเติบโตที่ผิดรูปร่างได้หากต้องรับน้ำหนักมากเกินไปน้ำหนักของเป้พ่อแม่ผู้ปกครองควรแนะนำให้เด็กจัดกระเป๋าทุกวัน และควรจัดกระเป๋าโดยใส่ของที่ต้องการใช้วันต่อวัน เพื่อป้องกันมิให้เด็กแบกน้ำหนักมากเกินไป เมื่อใส่ของลงไปแล้วไม่ควรมีน้ำหนักเกิน 10- 12 % ของน้ำหนักตัวเด็ก นอกจากนี้ควรจัดสิ่งของต่างๆ ให้น้ำหนักกระจายอย่างสม่ำเสมอตามสายสะพายทั้งสองข้าง อย่าให้ข้างใดข้างหนึ่งหนักเกินไป ในการจัดของลงในเป้นั้น ถ้าเป็นหนังสือที่มีน้ำหนักมาก ควรใส่ลงให้แนบชิดบริเวณหลังและไหล่ของเด็ก ของที่มีน้ำหนักเบาๆ เช่น สมุดหรือกล่องดินสอควรใส่บริเวณด้านหน้าของเป้ ตามรูปที่ 1การฝึกการยืนการฝึกการยืนจะช่วยให้ร่างกายของเด็กรับน้ำหนักได้ดีขึ้น วิธีการคือ แยกปลายเท้าออกจากกันเล็กน้อย ปล่อยเข่าตามสบายไม่เกร็ง และลำตัวตั้งตรง (รูปที่ 2) พ่อแม่ผู้ปกครอง หรือครูควรฝึกการยืนร่วมกันกับเด็ก เพื่อให้เด็กเข้าใจและสามารถนำไปปฎิบัติได้จริง การสะพายเป้การสะพายเป้ที่ถูกต้อง คือ การสะพายบนไหล่ทั้งสองข้าง ไม่ควรสะพายเป้ด้วยไหล่ข้างใดข้างหนึ่ง เด็กๆ ต้องฝึกให้ชินกับการสะพายด้วยไหล่ทั้งสองข้าง ขนาดของเป้ก็มีความสำคัญเช่นกัน เป้ที่เหมาะสมควรมีขนาดแนบพอดีกับหลังเด็กและความยาวของเป้ไม่ควรเกินเอวด้านล่างของเด็ก ด้านหลังของเป้ต้องแนบกับแผ่นหลังของเด็ก (รูปที่ 2)  เมื่อเด็กจะหิ้วหรือวางเป้ลง ควรใช้โต๊ะ เก้าอี้ ช่วยซึ่งจะป้องกันกระดูกสันหลังของเด็กให้ปลอดภัยได้มากกว่าการต้องก้มหรือโค้งตัวลงไป ซึ่งจะทำให้มีน้ำหนักกดทับที่กระดูกสันหลังสูงมาก เพราะฉะนั้นทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ควรหาโต๊ะที่เหมาะกับความสูงของเด็ก เพื่อให้เด็กสะพายเป้หรือวางเป้ลง (รูป ที่ 3) เมื่อเด็กสะพายเป้ ควรใช้มือทั้งสองช่วยประคองน้ำหนักด้วย และเมื่อเด็กเจอสิ่งกีดขวางหรือ เดินขึ้นบันได ควรโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อให้รักษาสมดุลในการเดินและป้องกันไม่ให้เด็กหกล้มอีกด้วย (รูปที่ 4) การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเด็กการฝึกกล้ามเนื้อที่ใช้ในการสะพายให้แข็งแรง สามารถเพิ่มความปลอดภัยให้เด็กขณะสะพายเป้ได้ วิธีการฝึกที่ดีอย่างหนึ่งคือ การให้เด็กได้เดินเล่นบ้างหลังจากที่ต้องนั่งเรียนเป็นเวลานานๆ การเดินจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อท้อง หลัง และก้นแข็งแรง นอกจากนี้ ก็ยังมีท่าฝึกเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น รูปที่ 5 เป็นท่าที่ฝึกให้เด็กรักษาสมดุล และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อก้นและกล้ามเนื้อขา รูปที่ 6 ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณหลัง   และรูปที่ 7 แสดงการฝึกความแข็งแรงของกล้ามท้อง   TIP! เคล็ดลับที่สำคัญในการฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรง คือ ทั้งพ่อแม่ หรือ คุณครู ควรร่วมฝึกกับเด็กด้วย วิธีนี้จะช่วยให้เด็กจดจำได้เร็วขึ้นและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง (ที่มา วารสาร Test ฉบับเดือนสิงหาคม 2008)

อ่านเพิ่มเติม >