ฉบับที่ 183 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนพฤษภาคม 2559ไขข้อข้องใจการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มเป็นแบบชิปการ์ดธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ออกมาชี้แจงทำความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตเป็นแบบชิป(Chip Card) หลังจากมีกระแสข้อสงสัยหลายเรื่องถูกแชร์ต่อๆ กันในโลกออนไลน์ เช่นว่าการเปลี่ยนบัตรต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่ หรือเมื่อเปลี่ยนบัตรพนักงานธนาคารจะเปลี่ยนให้เป็นบัตรที่พ่วงประกันซึ่งมีค่าธรรมเนียมรายปีสูงกว่า ฯลฯโดยข้อเท็จจริงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงออกมามีดังนี้1.ผู้ที่ออกบัตรใหม่ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค. 2559 เป็นต้นไป จะได้รับบัตรเป็นแบบชิป ซึ่งธปท.บอกว่ามีความปลอดภัยในการใช้งานกว่าบัตรแบบเดิม(แถบแม่เหล็ก)2.บัตรแบบเดิมยังใช้งานได้ถึง 31 ธันวาคม 2562 หรือตามกำหนดของธนาคารแต่ละแห่ง3.คนที่อยากเปลี่ยนบัตรเป็นแบบชิปสามารถแจ้งกับธนาคารได้ทันที โดยมีค่าธรรมเนียมตามธนาคารแต่ละแห่งจะกำหนด4.ธนาคารบางแห่งอาจยกเว้นค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนบัตร เพื่อส่งเสริมการขาย ซึ่งก็เป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคารแต่ละแห่ง5.บัตรแบบชิปสามารถใช้ได้กับตู้เอทีเอ็มได้ตามปกติ แต่ในระยะแรกอาจมีตู้บางตู้ในบางพื้นที่ของบางธนาคารที่ยังไม่พร้อมในการใช้งาน โดยตู้ที่ยังไม่รองรับจะมีการแสดงข้อความให้ผู้ใช้บริการทราบปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตให้บริการเป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละบัตรมีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีแตกต่างกัน ก่อนใช้บริการทุกครั้งควรสอบถามข้อมูลกับพนักงานให้ชัดเจน เพื่อให้ได้บัตรที่ตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด และมีสิทธิปฏิเสธการใช้บริการหากไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน   สั่งปิด “โรงพยาบาลเดชา”กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) ได้มีคำสั่งปิดการให้บริการของโรงพยาบาลเดชา พญาไท ตั้งแต่วันที่ 11 พ.ค.2559 ที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับการร้องเรียนว่า รพ.อยู่ในสถานภาพที่ไม่พร้อมให้บริการ ถูกตัดไฟ มีแพทย์เหลือเพียงแค่ 1 คน ซึ่งการสั่งปิดเป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541สบส.เชื่อว่าการสั่งปิดโรงพยาบาลเดชา จะไม่กระทบกับผู้ป่วย เพราะทาง รพ.ทราบอยู่ก่อนแล้ว โดยก่อนที่ รพ.จะถูกสั่งปิดมีผู้ป่วยในที่ยังคงรักษาจำนวน 7 คน เป็นผู้ป่วยในระบบประกันสังคม โดยได้ประสานส่งตัวไปรักษายัง รพ.อื่นต่อไป ส่วนผู้ป่วยนอกนั้นมีน้อยอยู่แล้ว จึงไม่น่าเกิดผลกระทบอะไรกับผู้ป่วย รพ.เดชา พญาไท เปิดดำเนินกิจการมายาวนานกว่า 35 ปี ก่อตั้งโดย นพ.เดชา สุขารมณ์ แต่ที่ผ่านมาได้ให้บริษัท ศรีอยุธยา จำกัด เช่าและบริหารงานโรงพยาบาลเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยคิดค่าเช่าเดือนละ 1 ล้านบาท แต่ผู้เช่ารายดังกล่าวได้ค้างค่าเช่าเป็นเงินกว่า 20 ล้านบาท ทำให้เป็นคดีความกันอยู่ ส่งผลต่อการบริหารงานใน รพ.ก่อนจะมาถูกสั่งให้ปิดการให้บริการลงในที่สุด ภาคประชาชนค้านนโยบายเลิกจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากการที่มีกระแสข่าวว่ากระทรวงการคลังจะมีนโยบายยกเลิกจ่ายเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุที่มีรายได้เกินเดือนละ 9,000 บาท หรือมีสินทรัพย์สูงเกิน 3 ล้านบาท เพื่อลดภาระงบประมาณด้านสวัสดิการภาครัฐ ทำให้เครือข่ายภาคประชาชนต้องออกมารวมตัวกันแถลงไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เพราะเป็นการลดทอนสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ และเป็นการกระทำโดยไม่ยึดหลักเรื่องความเสมอภาคเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ประกอบด้วยเครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายสลัม 4 ภาค เครือข่ายสวัสดิการชุมชน และกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ได้ร่วมกันแถลงข่าวคัดค้านนโยบายดังกล่าว พร้อมทั้งมีข้อเรียกร้องให้กระทรวงการคลัง เลือกใช้วิธีอื่นในการแก้ปัญหาเรื่องงบประมาณไม่ใช่การลดสิทธิเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นงบประมาณที่ได้จากการเก็บภาษีโดยในการเก็บภาษีก็ไม่ได้แบ่งแยกคนรวยคนจน ดังนั้นเรื่องการจัดสรรสวัสดิการพื้นฐานก็ไม่ควรแบ่งแยกคนรวยหรือคนจนเช่นกัน อย. ยัน “Derma Roller” อันตราย!!! ห้ามใช้เด็ดขาดอย.ได้ออกมายืนยันแล้วว่า เครื่องลูกกลิ้งนวดหน้า (Derma Roller) ที่โอ้อวดว่าช่วยรักษารอยสิว รอยแผลเป็นบนใบหน้า ลบรอยเหี่ยวย่น เป็นสินค้าที่ไม่มีการอนุญาตให้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่เพียงพอในการสนับสนุนประสิทธิภาพ หรือข้อบ่งใช้ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว พร้อมฝากเตือนว่าตามที่สินค้าดังกล่าวโฆษณาโอ้อวดไว้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้คนที่มีปัญหารอยแผลจากสิว มีริ้วรอยเหี่ยวย่นกลับมามีผิวที่มีสุขภาพดีขึ้นได้ ทำให้หน้าเรียบใส โดยการทำให้ผิวเกิดรอยแผล แล้วผิวจะซ่อมแซมตัวเองโดยการสร้างคอลลาเจนขึ้นมาใหม่นั้น เป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบที่ผิวหนัง เกิดการระคายเคืองจากสารที่ทาบนผิวหนัง และอาจเป็นอันตรายต่อดวงตาเมื่อนำไปใช้ใกล้บริเวณรอบๆ ดวงตา หากอุปกรณ์ไม่สะอาดก็อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ เพราะฉะนั้นไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยเด็ดขาด เจอสารเคมีปนเปื้อนในผัก-ผลไม้เพียบ แม้แต่ที่มีตรา “Q” ก็เจอเกินมาตรฐานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือ Thai-PAN เปิดเผยผลการสุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมรับประทาน เช่น กะหล่ำปลี แตงกวา ผักบุ้งจีน มะเขือเทศ ผักกาดขาวปลี คะน้า ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ กะเพรา และพริกแดง แตงโม มะม่วงน้ำดอกไม้ มะละกอ แก้วมังกร ฝรั่ง และส้มสายน้ำผึ้ง  รวมทั้งหมด 138 ตัวอย่าง พบว่ามีผักและผลไม้ตกค้างเกินมาตรฐานนั้นสูงถึง 46.4% หรือเกือบครึ่งหนึ่งของตัวอย่างที่ตรวจ จากผลการวิเคราะห์พบประเด็นที่น่าสนใจคือ ผักและผลไม้ซึ่งได้รับตรา Q โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) พบสารเคมีตกค้างมากที่สุด  โดยพบสูงถึง 57.1% นอกเหนือจากนั้นผักและผลไม้อินทรีย์ที่ได้รับการรับรอง Organic Thailand ซึ่งไม่ควรตรวจพบการตกค้างของสารเคมีกลับพบการตกค้างสูงเกินมาตรฐานถึง 25% ของจำนวนตัวอย่างโดยหลังจากที่ได้มีการเผยแพร่ผลการวิเคราะห์ออกไป กลับได้รับคำตำหนิจากหน่วยงานรัฐอย่างกรมวิชาการเกษตรที่ออกมาให้ข่าวว่าจะดำเนินการฟ้องร้อง Thai-PAN ที่สร้างความเสียหายต่อหน่วยงานรัฐ สร้างความเข้าใจผิดต่อผู้บริโภคแต่ทั้งนี้ Thai-Pan ก็เตรียมฟ้องกรมวิชาการเกษตรในฐานที่ละเลยการตรวจสอบคุณภาพผัก-ผลไม้ โดย น.ส.กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการโครงการกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิชีววิถี กล่าวว่าประเด็นการฟ้องร้องจะแบ่งเป็น 2 กรณีคือ 1.กรมวิชาการเกษตรละเลยการควบคุมสินค้าที่มีเครื่องหมาย Q เนื่องจากพบปัญหาสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐานทั้งที่ผ่านการรับรองแล้ว 2.พบการตกค้างของสารอันตรายชนิดที่ 4 ซึ่งเป็นสารเคมีที่ห้ามจำหน่ายในประเทศไทย 

อ่านเพิ่มเติม >