ฉบับที่ 274 การดูแล “ส้นเท้าแตก”

        ปัญหาผิวหนังที่หลายคนอาจมองข้ามไป คือ อาการส้นเท้าแตก ซึ่งแม้มันจะไม่ได้สร้างความเจ็บปวดอะไรมากมาย หรืออันตรายต่อสุขภาพ แต่มักสร้างความรำคาญแถมอาจทำให้เสียความมั่นใจในการโชว์เท้าสวยๆ ของตัวเอง        สาเหตุในการเกิด “ส้นเท้าแตก” อาจจะเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ส่วนใหญ่คือความเสี่ยงด้านพฤติกรรมต่างๆ  เช่น  การไม่สวมรองเท้าและเดินเท้าเปล่าบ่อยจนเกิดการเสียดสีมากๆ  อากาศที่แห้งหรือหนาวเย็นหากบริเวณส้นเท้าไม่ทาครีมก็ทำให้ขาดความชุ่มชื่นจนเท้าแตกได้ การใช้ผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะสม บางคนอาจเกิดจากการอาบน้ำอุ่นเป็นประจำ หรือแพ้สารเคมี ส่วนสาเหตุที่อาจพบไม่บ่อย คือ เกิดจากอาการป่วยหรือโรคที่เป็นนั้นเอง         ทั้งนี้ เรื่องอายุที่มากขึ้นก็เช่นกัน เมื่อเรามีอายุมากขึ้นจะมีผิวแห้งกร้านกว่าวัยหนุ่มสาว บริเวณที่เสียดสีกับปัจจัยต่างๆ ข้างต้น จะยิ่งเร่งให้ส้นเท้าแตกง่ายขึ้น  แล้วเราควรจะดูแลส้นเท้าแตกของเราอย่างไร การดูแลส้นเท้าแตก        ·     เลือกทาครีมบำรุงบริเวณส้นเท้าที่ให้ความชุ่มชื้นเยอะๆ หรืออาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นกลุ่มให้ความชุ่มชื้น เช่น  ยูเรีย กลีเซอลีน สามารถทาและสวมถุงเท้าก่อนนอนได้เลย        ·     เรื่องการรักษาสุขอนามัยก็สำคัญ สามารถทำความสะอาดด้วยการแช่เท้าด้วยน้ำอุ่นแต่ไม่ควรเป็นน้ำที่ร้อนจนเกินไปเพราะจะทำให้เสียความชุ่มชื้นได้ ไม่ควรแช่นานจนเกินไป หลังจากนั้น สามารถนำหินมาขัดส้นเท้าเบาๆ ได้ เพื่อนำเซลล์ผิวที่ตายแล้วออก ทั้งนี้ ไม่ควรขัดแรงๆ อีกด้วย ควรขัดเบาๆ ก็พอ        ·     เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ไม่ทำร้ายผิว ไม่แห้งตึง  หรือเป็นกรดด่างเกินไป เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยนหรือมีมอยเจอร์ไรเซอร์เป็นส่วนผสมยิ่งดี แนะนำให้อ่านฉลากส่วนผสมก่อนซื้อทุกครั้ง        ·     ในส่วนของคนที่ชอบถอดรองเท้า เดินเท้าเปล่า แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใส่รองเท้าทุกครั้ง ก่อนเดินไปที่พื้นเพื่อป้องกันการเสียดสี เปลี่ยนจากรองเท้าแตะเป็นรองเท้าหุ้มส้นได้ยิ่งดี แต่ก็ไม่ควรเป็นรองเท้าที่คับแน่นจนเกินไป        ·     การดื่มน้ำเป็นประจำวันละ 8 แก้ว ก็เป็นตัวช่วยจากภายในสู่ภายนอกได้         นอกจากนี้ อย่าลืมสังเกตตัวเองด้วยว่าปัญหาส้นเท้าแตกของตัวเองที่เกิดนั้น มาจากสาเหตุใด  แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤกรรม         อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่บางคนอาจจะเป็นมากถึงขนาดส้นเท้าแตกลาย หรือมีอาการเจ็บเป็นแผลลึก แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา และหากเป็นผลข้างเคียงมาจากโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ด้วยยิ่งต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาที่ถูกต้อง เพราะแพทย์จะเลือกทำการรักษาให้เหมาะสมกับอาการ อาจจะจ่ายยารับประทาน ยาทาผิวหรือต้องผ่าตัดเอาเนื้อตายออก เป็นต้น ข้อมูลจาก Hello คุณหมอ : วิธีแก้ส้นเท้าแตก และวิธีดูแลส้นเท้าไม่ให้แห้งแตกPobPad :  ส้นเท้าแตก สาเหตุและวิธีการรับมืออย่างเหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 265 ถุงเท้าและการนอนหลับ

        ช่วงเดือนธันวาคม 2565 ติ๊กต๊อกเกอร์คนหนึ่งแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับ การใส่ถุงเท้านอนอาจส่งผลร้ายต่อร่างกาย เสี่ยงต่อโรคไหลตาย โดยอ้างถึงข้อมูลจากบทความของหมอชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง (ไม่ระบุแหล่งที่มา) กล่าวว่า “การใส่ถุงเท้านอนส่งผลเสียต่อร่ายกายในระยะยาวโดยเฉพาะเด็กทารก เนื่องจากเวลาที่มนุษย์นอนนั้นอุณหภูมิของร่างกายต้องลดลง แต่เมื่อใส่ถุงเท้าแล้วกลายเป็นการขวางทางการระบายความร้อนของร่ายกาย จึงอาจทำให้ไหลตายได้”         ข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้เกิดการอภิปรายกันในโลกออนไลน์อย่างกว้างขวาง โดยมีแนวโน้มว่า ไม่น่าจะจริง สุดท้ายติ๊กต๊อกเกอร์คนนี้ได้ออกมาขอโทษที่นำข้อมูลที่ไม่ได้ตรวจสอบมาเผยแพร่ เนื่องจากเขาเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและตรงกับตัวเขาที่โดนแม่คอยบอกด้วยความหวังดีเสมอว่า “ให้ใส่ถุงเท้านอนนะลูก”         ประเด็นการใส่ถุงเท้านอนนั้น จริงแล้วเป็นเรื่องจำเป็นต่อสุขภาพสำหรับคนที่มีเท้าเย็นกว่าส่วนอื่นของร่างกายเป็นประจำ สำหรับผู้เขียนซึ่งสังเกตตนเองมานานกว่า 30 ปีแล้วพบว่า คืนใดที่รู้ว่าเท้าเย็นมากกว่าปรกติ แม้ห่มผ้าที่ทำให้ร่างกายอุ่นแล้วก็ตาม (อุณหภูมิห้องนอนถูกปรับอากาศอยู่ที่ 26-27 องศาเซลเซียส) ตอนรุ่งเช้ามักปวดหัวไมเกรน ซึ่งเมื่อเป็นบ่อยเข้าผู้เขียนจึงตั้งสมมุติฐานว่า ความเครียดของร่างกายเนื่องจากเท้าเย็นน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดไมเกรน ดังนั้นผู้เขียนจึงเริ่มใส่ถุงเท้านอน หลังจากนั้นก็ไม่มีอาการไมเกรนในตอนเช้าอีกเลย ส่งผลให้ปัจจุบันผู้เขียนซึ่งมีอายุย่างเข้า 70 ปีแล้วก็ใส่ถุงเท้าเกือบทั้งวัน ยกเว้นวันที่อากาศร้อนมากช่วงกลางวันหรือเวลาต้องมีกิจกรรมที่เท้าเปียกน้ำ เช่น รดน้ำต้นไม้ สำหรับการปวดหัวไมเกรนเนื่องจากปัจจัยอื่นนั้นยังมีอยู่บ้างจึงต้องคอยหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นเหตุกระตุ้นต่าง ๆ งานวิจัยเกี่ยวกับผลดีของการใส่ถุงเท้านอน         งานวิจัยที่อธิบายเกี่ยวกับการใส่ถุงเท้านอนแล้วส่งผลดีต่อร่างกายนั้นมีมากพอควร จึงขอยกตัวอย่างสัก 3 เรื่องที่น่าสนใจให้ผู้อ่านได้พิจารณา โดยงานวิจัยเรื่องแรกชื่อ Effects of Barefoot Habituation In Winter on Thermal and Hormonal Responses in Young Children - A Preliminary Study ในวารสาร Journal of Human Ergology นั้น เป็นการศึกษาร่วมกันระหว่างนักวิจัยชาวเกาหลี ญี่ปุ่นและฮ่องกง เกี่ยวกับผลของการใส่ถุงเท้าหรือไม่ใส่ถุงเท้าต่อการปรับตัวของร่างกายเมื่ออยู่ในอุณหภูมิต่ำ งานวิจัยนี้ให้ข้อมูลว่า พฤติกรรมการสวมถุงเท้าหรือการเดินเท้าเปล่าเป็นประจำในฤดูหนาวมีผลต่อระดับอุณหภูมิผิวหนังของปลายแขนและปลายขา และมีผลต่อการขับฮอร์โมนบางชนิดในเด็ก โดยในการทดลองที่ 1 นั้น ได้ทำการวัดอุณหภูมิผิวหนังเท้าและขาในเด็กก่อนวัยเรียนนาน 30 นาที ขณะอยู่ในห้องเรียนที่ควบคุมไว้ที่อุณหภูมิ 23±2°C และความชื้น 50±5% ซึ่งพบว่าอุณหภูมิของผิวหนังที่ขาในกลุ่มเท้าเปล่ามีแนวโน้มว่าต่ำกว่าที่ขาของกลุ่มที่ใส่ถุงเท้า         ส่วนการทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาในเด็กประถมซึ่งถูกแบ่งกลุ่มให้สวมและไม่สวมถุงเท้า จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ปริมาณของฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งเมื่อเกิดความเครียดหรือความคับขันในสถานะการณ์ต่าง ๆ ระหว่างการนอนหลับตอนกลางคืนซึ่งพบว่า เด็กประถมในกลุ่มที่เท้าเปล่ามีแนวโน้มการขับนอร์อะดรีนาลีนและคอร์ติซอลออกมาในปัสสาวะ (ซึ่งขับออกมาในตอนเช้า) สูงกว่าเด็กประถมที่ใส่ถุงเท้า ทำให้สรุปได้ประมาณว่า เด็กเล็กที่มีนิสัยชอบเดินเท้าเปล่าต้องพยายามปรับตัวต่อความเย็นของอากาศให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วยการเพิ่มอัตราการเผาผลาญในร่างกาย ซึ่งดูได้จากปริมาณฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างพลังงานเมื่อร่างกายมีความเครียดที่ตรวจพบในปัสสาวะสูงกว่าเด็กที่ใส่ถุงเท้า (ข้อมูลส่วนนี้อาจพอช่วยอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อเท้าเย็นเกินไปเพราะไม่ใส่ถุงเท้าแล้วฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการปรับตัวเมื่อเกิดความเครียดจากสิ่งแวดล้อมต่อร่างกายต้องเพิ่มขึ้นเพื่อเร่งการเผาผลาญให้เกิดความร้อนสูงขึ้น และถ้ากระบวนการดังกล่าวไม่สำเร็จหรือไม่เพียงพอ ผู้เขียนจึงเกิดอาการไมเกรน ดังนั้นการใส่ถุงเท้าเพื่อป้องกันความหนาวเย็นที่เท้าจึงเป็นเรื่องจำเป็น)        บทความที่สองเป็นงานวิจัยของนักวิจัยชาวดัทช์เรื่อง Skin temperature and sleep-onset latency: Changes with age and insomnia ในวารสาร Physiology & Behavior ของปี 2007 ซึ่งศึกษาถึงผลของอุณหภูมิที่เท้าก่อนนอนหลับ บทความนี้ให้ข้อมูลว่า โดยปรกติช่วงเวลาที่เริ่มนอนจนหลับนั้นมีการลดลงอุณหภูมิของเท้าซึ่งทำให้นักวิจัยสนใจว่า ช่วงเวลาที่เริ่มเข้าสู่การนอนหลับนั้นมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิผิวหนังก่อนนอนหรือไม่ โดยผู้เข้าร่วมการศึกษาทุกคนที่เลือกมานั้นไม่มีการใช้ยาที่ส่งผลต่อการนอนหลับหรือระบบนาฬิกาชีวิต ไม่ใช้ยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท มีการแบ่งกลุ่มอาสาสมัครเป็น คนหนุ่มสาวที่มีสุขภาพดี 8 คนที่ไม่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ (อายุ 21-39 ปี เพศละ 4 คน) ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง 8 คนที่ไม่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ (อายุ 56–80 ปี เพศละ 4 คน) และผู้สูงอายุ 8 คนที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับแต่มีสุขภาพดี (อายุ 51–66 ปี เพศละ 4 คน) โดยผลการศึกษาพบว่า ตลอด 24 ชั่วโมงของแต่ละวันที่มีการนอนหลับและการตื่นนั้นมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกาย        การศึกษานี้นักวิจัยสามารถเพิ่มแนวโน้มในการทำให้อาสาสมัครนอนหลับเร็วขึ้นได้ด้วยการทำให้ผิวหนังอุ่นขึ้นจนถึงระดับที่ปกติเกิดขึ้นก่อนหลับและระหว่างการนอนหลับด้วยการทำให้เท้าอุ่นด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ การปรับอุณหภูมิเท้าด้วย 1. แช่เท้าในน้ำอุ่นก่อนเข้านอน 2. สวมถุงเท้าปรับความร้อนได้ (heatable bed socks) ก่อนปิดไฟนอน และ 3. สวมถุงเท้าปรับความร้อนได้หลังปิดไฟนอน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การกระตุ้นให้เท้าอุ่นหรือการใส่ถุงเท้าปรับอุณหภูมิหลังจากปิดไฟนอนสามารถเร่งการนอนหลับในผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหาการนอนหลับได้ ส่วนในผู้สูงอายุที่ปรกตินอนไม่ค่อยหลับนั้นไม่มีวิธีการใดในการศึกษานี้ที่ช่วยเร่งการนอนหลับ         ในการศึกษาถึงผลของการใส่ถุงเท้าต่อคุณภาพของการนอนหลับนั้น พบได้ในบทความเรื่อง Effects of feet warming using bed socks on sleep quality and thermoregulatory responses in a cool environment ในวารสาร Journal of Physiological Anthropology ของปี 2018 ซึ่งเป็นผลการศึกษาของนักวิจัยชาวเกาหลีที่ศึกษาในชายหนุ่ม 6 คน (อายุ 22.7 ± 2.0 ปี) ซึ่งไม่มีปัญหาการนอนหลับยากที่เข้าร่วมการทดลองถึงผลการทำให้เท้าอุ่นขึ้นระหว่างการนอนหลับ 7 ชั่วโมง ในห้องที่มีอุณหภูมิ 23°C ความชื้นสัมพัทธ์ 50% เพื่อวัดช่วงเวลาเข้าสู่การนอนหลับ (sleep-onset latency) คุณภาพของการนอนหลับ ช่วงเวลานอนหลับทั้งหมด จำนวนการตื่นกลางคันหลังจากนอนหลับแล้ว ลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิเฉลี่ยของทวารหนักและผิวหนังระหว่างการนอนหลับ 7 ชั่วโมง และทำแบบสอบถามถึงคุณภาพการนอนหลังตื่นนอนตอนเช้า         ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่สวมถุงเท้าสำหรับใส่นอน (bed socks ทำด้วยเส้นใย polyester 98.6% และ polyurethane 1.4%.) เทียบกับผู้ที่นอนเท้าเปล่านั้น มีช่วงเวลาเข้าสู่การนอนหลับสั้นลงโดยเฉลี่ยคือ 7.5 นาที เวลานอนรวมนานขึ้น 32 นาที (กลุ่มไม่ใส่ถุงเท้าเฉลี่ยการนอนราว 7 ชั่วโมง) การตื่นนอนกลางดึกน้อยลง 7.5 เท่า และคุณภาพการนอนหลับดีขึ้น 7.6% โดยที่มีอุณหภูมิของเท้าสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 1.3 °C ในขณะที่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของอัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวหนังและทวารหนัก หรือการตอบแบบสอบถามถึงคุณภาพการนอน ดังนั้นโดยสรุปแล้วการทำให้เท้าอุ่นโดยใช้ถุงเท้า (bed socks) ระหว่างการนอนหลับในสภาพแวดล้อมที่เย็นมีผลในเชิงบวกต่อคุณภาพการนอนหลับ แต่ไม่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่ออุณหภูมิแกนกลางของร่างกายซึ่งชี้ว่าคุณภาพการนอนหลับสามารถปรับปรุงได้โดยการปรับอุณหภูมิเท้าให้อุ่นไว้ตลอดการนอน         ก่อนจบบทความนี้ผู้เขียนมีความสนใจระหว่างการเขียนว่า bed socks นั้นต่างจากถุงเท้าที่ใส่กันเป็นประจำอย่างไร ก็ได้พบข้อมูลประมาณว่า “Bed sock” นั้นส่วนใหญ่เป็นถุงเท้ายาวซึ่งเมื่อใส่แล้วมักพับลงมาที่ระดับข้อเท้าหรืออาจไม่พับแล้วปล่อยยาวถึงหัวเข่า เป็นถุงเท้าที่หนากว่าปรกติและส่วนที่พับลงมาที่ข้อเท้าบางรุ่นมีความปุกปุยด้วยวัสดุใยสังเคราะห์หรือวัสดุธรรมชาติ เช่น ฝ้ายหรือขนสัตว์         ราคาของถุงเท้าชนิดนี้ในประเทศไทยมีความหลากหลายมาก เช่น ถ้าซื้อบนแพลตฟอร์มที่มีสินค้าขายเกือบทุกอย่างนั้นมีราคาราว 25 บาท (4 คู่ 100) ซึ่งท่านผู้อ่านคงพอเดาคุณภาพและความประทับใจได้ว่าน่าจะเป็นอย่างไร ส่วนที่ขายบนแพลตฟอร์มในต่างประเทศนั้นเท่าที่เห็นคือ $10 สหรัฐขึ้นไป หรือหนักหน่อยที่เป็นแบรนด์เนมสำหรับคนไทยที่พอใจคำอธิบายคุณภาพว่า Adult Bed Socks in Organic Merino Wool, Natural White,...นั้นราคาของร้านที่เป็นสาขาในไทยคือ เกือบห้าพันบาท ซึ่งประหยัดได้เกือบ 40% (แสดงว่าราคาเดิมน่าจะเป็น 8 พันกว่าบาท) ดังนั้นผู้ที่สนใจในการดูแลสุขภาพเท้าเพื่อให้นอนหลับสบายขึ้นสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ตามความเหมาะสมของเท้าและกระเป๋าสตางค์ของแต่ละคน ส่วนผู้เขียนนั้นถุงเท้าอเนกประสงค์ราคา 3 คู่ 100 ซึ่งจะหนาและมีขนาดใหญ่หน่อยก็พอเพียงต่อการป้องกันการเกิดไมเกรนหลังตื่นนอนแล้ว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 252 ถุงเท้า 1 แถม 1 ที่ราคาไม่ตรงกับป้ายที่ติดไว้

        ผู้บริโภคคงเคยเจอเหตุการณ์ร้านค้าขายสินค้าไม่ตรงกับป้ายราคาที่แจ้งไว้ แล้วได้จัดการปัญหานี้อย่างไรหรือว่าปล่อยเหตุการณ์แบบนี้ผ่านไป ถ้าเราอยากจัดการปัญหาลองมาดูกันสิว่าผู้บริโภคที่พบเจอเหตุการณ์แบบนี้เขามีวิธีการจัดการปัญหาอย่างไร         คุณจันจิราพนักงานบริษัทผู้แข็งขันได้รับมอบหมายให้จัดประชุมกรรมการบริหารของบริษัท จึงไปเตรียมการจัดประชุมที่โรงแรมแห่งหนึ่ง เมื่อถึงห้องพักเธอนำเสื้อผ้าออกจากประเป๋า เพื่อเตรียมชุดสำหรับประชุมวันรุ่งขึ้น แต่กลับพบว่า เธอไม่ได้นำถุงเท้ามาด้วย จึงต้องออกไปซื้อถุงเท้าที่ร้านสะดวกซื้อใกล้โรงแรม เบื้องต้นก็ถามพนักงานว่า มีถุงเท้าขายไหม อยู่ตรงไหน พนักงานพาเธอมาตรงชั้นสินค้าที่วางถุงเท้า เธอเห็นป้ายราคาติดไว้ 35 บาท ซื้อ 1 แถม 1 “เออก็ถูกดีนะ” เธอจึงหยิบมา 2 คู่ ตามป้ายที่ระบุไว้ คือ 1 แถม 1 (ถุงเท้า 2 คู่ ราคา 35 บาท)        เมื่อพนักงานชำระเงินสแกนบาร์โค้ดสินค้า ราคาถุงเท้าจาก 2 คู่ 35 บาท เป็น 2 คู่ 49 บาท เธอจึงแย้งพนักงานว่า ที่ชั้นวางสินค้าติดราคาไว้ว่า 2 คู่ 35 บาท ทำไมราคาไม่ตรงกัน พนักงานจึงเดินไปดูที่ชั้นวางสินค้า พบว่าป็นอย่างที่เธอพูดจริงๆ คุณพนักงานรีบกล่าวขอโทษ แต่แจ้งเธอว่า “สินค้าหมดโปรโมชั่นแล้วค่ะ” คุณจันจิราคิดในใจ “ไม่เล่นแบบนี้นะคะน้อง” แล้วจึงหยิบป้ายที่ติดราคาไว้มาดูและชี้ให้พนักงานดูว่า “ยังไม่หมดโปรโมชั่นค่ะ” พนักงานจึงกล่าวขอโทษอีกครั้งและแจ้งว่าน่าจะติดราคาสินค้าผิด        คุณจันจิราเริ่มหงุดหงิด จึงบอกให้พนักงานเอาป้ายราคาที่ติดผิดออก พนักงานแจ้งว่า เดี๋ยวจะดำเนินการนำป้ายราคาที่ผิดออก “แน่ะ ยังจะเดี๋ยวอีก” คุณจันจิราแจ้งว่าให้นำออกทันทีสิคะ เพราะอาจจะมีคนอื่นซื้อเพราะเข้าใจผิดอีกก็ได้ เป็นพนักงานของร้านเมื่อพบว่า ป้ายสินค้ามีปัญหาก็ควรรีบแก้ไข และควรระวังการติดป้ายราคาผิดพลาดด้วย  หลังจากจัดพนักงานไปหนึ่งชุด สุดท้ายเธอก็จำต้องซื้อถุงเท้ามาในราคา 49 บาท เพราะจำเป็นต้องใช้งาน แต่ก็ยังสงสัยอยู่ในใจว่าถ้าเธอหรือคนอื่นเจอเหตุการณ์แบบนี้ต้องทำอย่างไร ที่เธอทำไปถูกหรือไม่ จึงสอบถามมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนวทางการแก้ไขปัญหา         ฝ่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิฯ แนะนำว่า จริงๆ แล้ว ผู้ร้องสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ร้านค้าติดป้ายไว้ เพราะเป็นความผิดของทางร้านค้า การที่ผู้ขายขายสินค้าไม่ตรงกับราคาตามป้ายแสดงราคา มีความผิดต้องโดนปรับไม่เกิน 10,000 บาท ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 และผู้ร้องสามารถแจ้งไปได้ที่กรมการค้าภายใน สายด่วน 1569 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรง         นอกจากร้องเรียนไปยังหน่วยงานเพื่อให้แก้ไขปัญหาของตัวเองแล้ว ยังสามารถแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดของร้านค้า ทั้งนี้หน่วยงานยังมีรางวัลนำจับสำหรับผู้แจ้งเบาะแสถึง 25 เท่าของค่าปรับ เมื่อหน่วยงานดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ประกอบการที่ถูกแจ้งเบาะแสแล้ว เพื่อเป็นการพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค เมื่อเจอเหตุการณ์แบบนี้ควรจะร้องเรียนไปยังหน่วยงาน เพื่อใช้มาตรการทางอ้อมในการให้ร้านค้าคำนึงถึงผู้บริโภคมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 247 รองเท้าเดินป่าแบบหุ้มข้อ

        การมาเยือนของโควิด-19 อาจทำให้หลายคนรู้สึกว่าการเดินห้างมัน “เอ้าท์” และการใช้เวลากับครอบครัวหรือเพื่อนฝูงด้วยการบุกป่าฝ่าลำธารน่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่า ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอเอาใจ “ขาลุย” อีกครั้งด้วยผลทดสอบเปรียบเทียบรองเท้าเดินป่าแบบหุ้มข้อ สำหรับคนที่กังวลเรื่องความเสี่ยงจากอาการเท้าแพลงเพราะสะดุดรากไม้หรือก้อนหิน (ก่อนหน้านี้เราได้นำเสนอผลการทดสอบรองเท้าเดินป่าแบบธรรมดาไว้ในฉบับที่ 222 แถมด้วย “เป้เดินป่า” ในฉบับที่ 216 และ 245)          ครั้งนี้มีรองเท้าถูกส่งเข้าแข่งขันทั้งหมด 16 รุ่น (สนนราคาตั้งแต่ประมาณ 2,300 ไปจนถึง 11,200 บาท)* โดยองค์กรผู้บริโภคจากออสเตรีย สวีเดน สโลเวเนีย และ สาธารณรัฐเช็ค ข้อตกลงเบื้องต้นคือต้องเป็นรองเท้าเดินป่าที่เหมาะกับการสวมใส่ในทุกฤดูกาล  และมีทั้งรุ่นสำหรับผู้หญิงและผู้ชายคะแนนจากการทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ        1. คะแนนจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ (ร้อยละ 70)             - การกันน้ำ (ทดสอบโดยการแช่รองเท้าที่ระดับความลึกของน้ำถึงกึ่งกลางระหว่างรูร้อยเชือกที่หนึ่งและสอง เป็นเวลา 4 ชั่วโมง แล้วนำมาชั่งน้ำหนัก) การรักษาอุณหภูมิ และการระบายอากาศ              - ความทนทานต่อการขีดข่วนหรือสึกหรอ (กาว เชือกผูก พื้นรองเท้าด้านในและด้านนอก)             - ประสิทธิภาพในการกันลื่น บนพื้นผิวเซรามิกและกระเบื้องดินเผา ทั้งขณะเปียกและแห้ง (วัดค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน)            - การดูดซับแรงกระแทก         2. คะแนนจากความเห็นของผู้ทดลองสวมใส่  (ร้อยละ 30)ใส่/ถอดสะดวก ผูกเชือกง่าย สวมใส่สบาย กระชับ ไม่กัดเท้า เดินได้อย่างมั่นใจทั้งบนพื้นผิวที่เปียกและแห้ง ใส่แล้วรู้สึกไม่ร้อน ไม่อับชื้น และทำความสะอาดง่าย เป็นต้น          * อ้างอิงจากราคาที่ซื้อเป็นหน่วยยูโร          * ในการทดสอบครั้งนี้ใช้รองเท้ารุ่นละ 5 คู่ (1 คู่ ส่งเข้าห้องแล็บ  2 คู่สำหรับอาสาสมัครหญิง และอีก 2 คู่ สำหรับอาสาสมัครชาย) อัตราค่าทดสอบอยู่ระหว่าง 312.42 – 356.42 ยูโร (ประมาณ 12,000 – 14,000 บาท) ต่อตัวอย่าง รุ่นที่มีหนังเป็นส่วนประกอบจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point


ฉบับที่ 245 เชียร์ยูโรก็โอเคแต่รองเท้านั้น ก็นะ

        คุณมะปรางเมื่อได้ยินเพลงแอโร่ซอฟท์ เชียร์ยูโรครั้งแรกก็ประทับใจว่า บริษัทได้ทำให้คนไทยที่ชื่นชอบกีฬาฟุตบอลมีความสุขกับการชมกีฬาโปรด ซึ่งเธอคือหนึ่งในนั้น ดังนั้นเพื่อเป็นการขอบคุณบริษัทจึงยินดีจะสนับสนุนบริษัทด้วยการซื้อผลิตภัณฑ์รองเท้าสักคู่หนึ่ง         เมื่อขับรถกลับบ้านที่อยุธยา สายตาก็เห็นร้านรองเท้าในตลาดแห่งหนึ่งที่ขับผ่าน จึงแวะถามหาว่ามีรองเท้ายี่ห้อนี้ไหม เธอตั้งใจซื้อเพราะเห็นว่าเป็นร้านเก่าแก่และน่าจะช่วยหมุนเวียนเศรษฐกิจชุมชนไปด้วยในตัว จึงไม่ได้คิดจะสั่งซื้อจากห้างหรือร้านค้าออนไลน์ เผอิญว่า ร้านดังกล่าวมีรองเท้าแตะยี่ห้อนี้พอดี ความที่ดีใจไม่ได้ทันสังเกตตรวจสอบอะไรมาก สวมพอดีก็โอเคละ จึงจ่ายเงินซื้อมาทันทีแถมซื้อฝากพี่สาวอีกหนึ่งคู่ด้วย         หลายวันถัดมา คุณพี่สาวโทรศัพท์มาบอกว่า “รองเท้าแตะของเธอฉันใส่ได้แค่สามวัน พื้นรองเท้าแตกหมดสภาพแล้ว ฉันต้องทำอย่างไร” คุณมะปรางจึงให้พี่สาวถ่ายรูปมาให้ดูและเธอส่งภาพดังกล่าวไปให้ทางเพจแอโร่ซอฟท์ดูว่า พอจะทำอย่างไรได้บ้าง แต่ใจคุณมะปรางเองก็ไม่ได้คิดจะเคลมหรือขอเปลี่ยนคู่ใหม่ เพราะดูจากสภาพที่พี่สาวส่งมาให้เธอรู้ทันทีว่า น่าจะเป็นสินค้าหมดอายุหรือเก่าเก็บพอสมควร “ดิฉันคิดแค่จะแจ้งให้ทางบริษัททราบว่าควรบริหารสินค้าที่จะส่งมอบให้ผู้บริโภคดีขึ้นอีกสักนิด”         แต่ก็พบว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจ จึงได้โทรศัพท์มาเล่าให้ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคฟัง คือ สินค้าของทางแอโร่ซอฟท์จะมีสองแบบ “แบบที่คุณลูกค้าส่งภาพมาให้ดูนั้น เป็น ‘aerosoft’ ที่ขึ้นต้นด้วยอักษร a ตัวเล็ก ซึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออกต่างประเทศ ส่วนที่ทำการโปรโมตในขณะนี้นั้น จะเป็น ‘Aerosoft’ ที่ตัว a จะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ A (ซึ่งคุณลูกค้าสามารถสั่งซื้อได้ทาง shopee) นะคะ” เมื่อคุณมะปรางถามต่อว่า “อย่างนี้ก็ซื้อที่ร้านแบบที่ดิฉันซื้อไม่ได้เหรอคะ” ทางแอดมินเพจตอบว่า “ได้คะ เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทเช่นกัน แต่วัสดุจะเป็นคนละประเภท...”  แนวทางการแก้ไขปัญหา         คุณมะปรางไม่ได้ต้องการร้องเรียนหรือเปลี่ยนสินค้า เพราะตนเองก็สะเพร่าที่ไม่ได้ตรวจสอบเรื่องวันหมดอายุ แต่เห็นว่าสินค้าของบริษัทนี้มีสองเกรด ซึ่งสร้างความสับสนให้ผู้บริโภคจึงมาเล่าให้ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิฟัง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจของผู้บริโภคต่อไป         สินค้าประเภทรองเท้านั้นผู้บริโภคควรคำนึงถึงเรื่องอายุของผลิตภัณฑ์เป็นสำคัญนอกเหนือจากราคาและการสวมใส่ที่พอดีเท้า อย่ามุ่งเฉพาะเรื่อง ราคาถูกหรือรูปแบบที่ตนเองพอใจ อย่างไรก็ตามหากเป็นการซื้อสินค้าที่ยังไม่หมดอายุแต่ผลิตภัณฑ์เสื่อมสภาพไม่เหมาะต่อการใช้งาน  ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องให้ผู้ประกอบการหรือร้านค้าชำระเงินคืนหรือเปลี่ยนสินค้าให้ได้ เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของผู้บริโภค  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 245 ฤดูฝนและน้ำกัดเท้า

        ช่วงเวลาฤดูฝนปัญหาสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกคน อากาศที่อับชื้น ความเฉอะแฉะของสภาพแวดล้อม และสภาพน้ำท่วมขังหลังฝนตก ซึ่งหากอยู่ในเส้นทางที่ต้องสัญจรเป็นประจำ จนไม่อาจหลีกเลี่ยงการเดินผ่านเส้นทางนั้นได้ การต้องเดินลุยน้ำที่มีขยะ สิ่งปฏิกูลหรือน้ำจากท่อระบายน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมเชื้อโรคมากมาย เท้าของเราก็มีโอกาสหรือความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อโรคต่างๆ และอาจมีบางส่วนที่ซึมเข้าสู่ผิวหนัง (กรณีมีบาดแผล) หรืออาจเกิดการระคายเคืองต่อผิว และอาจเป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง “น้ำกัดเท้า” อีกด้วย         ปกติโรคน้ำกัดเท้า ก็ไม่ได้ร้ายแรงมาก และสามารถรักษาให้หายได้ แต่มันเป็นโรคที่น่ากังวลใจในเรื่องที่เราต้องออกไปไหนมาไหนด้วยการใส่รองเท้า ยิ่งเป็นรองเท้าหุ้มส้นหรือรองเท้าผ้าใบที่คับแน่น อากาศไม่ค่อยระบาย อาการของโรคก็จะหายได้ช้าลง ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากวนใจจากโรคเรามารู้จักและเรียนรู้วิธีป้องกันไว้ก่อนรู้ทันอาการน้ำกัดเท้า         สาเหตุ ภาวะนี้เกิดจากการระคายเคืองของผิวหนัง เนื่องจากความเปียกชื้นหรือเท้าแช่น้ำเป็นเวลานานซ้ำๆ ทำให้เท้าเปียกชื้นจนผิวหนังชั้นนอก เปื่อยและหลุดออกมา และทำให้แบคทีเรียหรือเชื้อราในน้ำเข้าไปอาศัยจนเกิดการระคายเคือง อาจตามมาด้วยผื่นผิวหนังอักเสบและมีผิวหนังลักษณะเปื่อยลอกเป็นขุย โดยเฉพาะที่บริเวณซอกนิ้วเท้า  อาจมีอาการผื่นแดง  แสบคันและอาจมีกลิ่นเหม็นไม่พึงประสงค์ตามมา           โรคน้ำกัดเท้าใน ระยะแรก อาจจะมีอาการเท้าเปื่อย ผิวเท้าลอก และเกิดอาการคันจนนำไปสู่การแกะและเกา ซึ่งอาการในระยะแรกยังไม่ได้รับการติดเชื้อ แต่มีอาการลักษณะเท้าเปื่อย แดง แสบ เกิดอาการคันนั้นเกิดจากการระคายเคือง นอกจากนี้พฤติกรรมการแกะและเกา อาจทำให้เกิดแผลถลอกจนนำไปสู่การติดเชื้อจากแผลเล็กๆ จนนำไปสู่ ระยะที่สอง  เป็นระยะที่เกิดการติดเชื้อแล้ว ซึ่งสาเหตุมาจากแผลถลอกจากอาการคันหรือการลอกของผิวหนังเปื่อยในระยะแรก ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา โดยการติดเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดอาการอักเสบ บวมแดง ร้อน เป็นหนอง ปวดแผล ส่วนอาการติดเชื้อรามีลักษณะแดง คัน มีขุยขาว เปียกและเหม็น ผิวหนังจะเปื่อยเป็นสีขาว หากพบว่าเข้าข่ายอาการในระยะที่สองควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี สู้กับน้ำกัดเท้าอย่างไรดี        1.หลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน หากลุยน้ำมาให้รีบทำความสะอาดเท้าด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง เพื่อลดการอับชื้น โดยเฉพาะบริเวณซอกเท้าหรือสามารถใช้ขี้ผึ้งหรือวาสลีนทาตามง่ามเท้า         2.ไม่ใส่ถุงเท้าที่อับชื้นและเปลี่ยนถุงเท้าทุกวันเพื่อลดการสะสมสิ่งสกปรก ควรใส่ถุงเท้าที่ผลิตมาจากเส้นใยธรรมชาติ และควรสวมรองเท้าที่เบาสบายเพื่อไม่ให้เกิดการอับชื้นบริเวณเท้า         3.บางครั้งการใช้ของร่วมกับผู้อื่นอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้ เพราะสาเหตุหลักโรคนี้อาจเกิดจากเชื้อราและที่สามารถนำไปสู่การติดต่อจากการใช้ของร่วมกันได้ เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัว รองเท้าแตะ ถุงเท้าและอื่นๆ ที่เป็นการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม         4.หากมีอาการติดเชื้อระยะแรกควรงดการแกะและเกาในบริเวณผิวหนังที่มีอาการ เพราะอาจแพร่เชื้อได้         5.หากมีอาการมากหรืออาการในระยะที่สอง ควรปรึกษาและพบแพทย์เพื่อเข้าการรักษามากกว่าการรักษาด้วยตนเองเพื่อป้องกันรักษาผิดวิธีและเกิดการลุกลามที่มากกว่าเดิม         ทั้งนี้ การรักษาในระยะแรกสามารถที่จะซื้อยาทาและรักษาเองได้ตามอาการแต่ต้องปรึกษาเภสัชเพื่อการใช้ยาที่ถูกต้อง 

อ่านเพิ่มเติม >


ฉบับที่ 229 วิธีกำจัดกลิ่นเท้าที่ได้ผล

        กลิ่นเท้า คือกลิ่นที่รบกวนใจทั้งคนที่เป็นต้นตอและคนรอบข้าง ลองนึกถึงเวลาที่อยู่ในสถานที่ค่อนข้างปิดแล้วใครสักคนถอดรองเท้าที่แสนอับชื้นพร้อมปล่อยกลิ่นอันไม่พึงประสงค์แล้ว ช่างชวนกระอักกระอ่วนจริงๆ         หลายคนรู้ดีว่าตนเองมีปัญหาเรื่องกลิ่นเท้า เพราะความที่เป็นคนเหงื่อออกมากโดยเฉพาะบริเวณเท้าแต่ไม่อาจเลี่ยงการสวมใส่รองเท้าแบบปิดมิดชิดได้ ไม่ว่าจะด้วยเรื่องงานหรือวิธีการใช้งาน เช่น ท่องเที่ยว เล่นกีฬา เดินป่าหรือเดินทางติดต่อธุระกิจ บางคนพยายามดูแลเท้าเป็นอย่างดีแต่ก็ยังไม่อาจแก้ไขปัญหาได้ เราลองมาค้นหาสาเหตุและวิธีการแก้ไขที่ถูกต้องกันเถอะ อาจไม่หายขาดแต่ก็น่าจะพอช่วยให้ชีวิตดีขึ้นได้จริง  สาเหตุของกลิ่นเท้า         สาเหตุของเท้าเหม็นเกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดกลิ่นเท้ามักจะมาจากแบคทีเรียและเหงื่อที่ออกบริเวณเท้าของเรา คล้ายกันกับการเกิดกลิ่นตัว ทั้งนี้อาจมีสาเหตุอื่นร่วมด้วยเช่นแผลที่บริเวณเท้าหรือเชื้อราจากโรคน้ำกัดเท้า  การกำจัดกลิ่นเท้า          การกำจัดกลิ่นเท้าก็ต้องกำจัดที่สาเหตุ คือเน้นที่ความสะอาดก่อนอื่นเลย ทั้งในส่วนของเท้า รองเท้าและถุงเท้า จะทำแค่อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ต้องทำไปพร้อมกัน            -  การดูแลเท้าให้สะอาด ถ้าเป็นโรคต้องรักษาให้หายขาด (หากยังรักษาไม่หายคงต้องเลี่ยงการสวมใส่รองเท้าที่ปิดมิดชิด)  การดูแลเท้าให้สะอาดมีการแนะนำไว้หลายวิธี เช่น การแช่เท้าในน้ำอุ่นผสมเบคกิ้งโซดาหรือด่างทับทิม หรือน้ำยาที่ใช้ฆ่าแบคทีเรีย หรือที่นิยมกันมากคือการแช่น้ำผสมสารส้ม หมั่นทำบ่อยๆ สัปดาห์ละสองถึงสามครั้ง ระหว่างแช่เท้าอาจขัดถูทำความสะอาดตามซอกเล็บซอกเท้า สำคัญต้องเช็ดให้แห้งสนิทหลังจากล้างทำความสะอาด            - ทำความสะอาดรองเท้าสม่ำเสมอ ควรให้ความสำคัญอย่าปล่อยไว้เพราะถึงแม้เท้าของคุณสะอาดแต่รองเท้าสกปรก ก็อาจไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา รองเท้าที่สามารถซักล้างได้ควรซักล้างและแช่น้ำยาเช่นเดียวกับการทำความสะอาดเท้า ส่วนรองเท้าที่ซักล้างไม่ได้ควรเช็ดถูและตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อหรือพ่นแอลกอฮอล์ลดปริมาณแบคทีเรียลง            - ทำความสะอาดถุงเท้า อย่าบอกนะว่าคุณก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ชอบม้วนถุงเท้าใส่ไว้ในรองเท้าเพราะไม่อยากซักบ่อย เชื่อเถอะถุงเท้าควรหมั่นซักทำความสะอาดเช่นกัน และเปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน นอกจากนี้ควรเลือกใช้ถุงเท้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติอย่างฝ้าย จะช่วยระบายความอับชื้นได้ดีกว่าถุงเท้าราคาถูกที่ผสมเส้นใยจากพลาสติก วิธีอื่นๆ ที่ช่วยเสริมความมั่นใจ         1.อย่าใส่รองเท้าที่คับเกินไป จะยิ่งเพิ่มความอับชื้นหรือเกิดแผล          2.ในวันที่อากาศร้อนมาก ควรเลือกสวมใส่รองเท้าที่ระบายเหงื่อได้ดี         3.ก่อนสวมรองเท้าอาจใช้สเปรย์ระงับกลิ่นกายหรือโรลออน ทาบริเวณเท้า ซอกนิ้ว เพื่อป้องกันเหงื่อออกมามากเกินไป         4.อาจใช้สเปรย์ระงับกลิ่นสำหรับใช้ฉีดลงไปในรองเท้า ซึ่งมีวางจำหน่ายหลายยี่ห้อ อาจเลือกใช้เพื่อเพิ่มความมั่นใจโดยสเปรย์ทิ้งไว้ให้แห้งก่อนนำมาสวมใส่ หรือการโรยแป้งฝุ่นที่รองเท้าเพื่อช่วยดูดซับเหงื่อ         5.ขจัดกลิ่นในรองเท้าด้วยเบกกิ้งโซดา เบกกิ้งโซดาเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง รวมไปถึงการดูดซับกลิ่นเหม็นในรองเท้า     กลิ่นเท้าเป็นเรื่องธรรมชาติที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการค้นหาสาเหตุและแก้ไขให้ถูกจุด แต่ในบางคนวิธีการข้างต้นอาจยังไม่ตอบโจทย์ แนะนำว่าอาจต้องพบแพทย์ เพราะอาจมาจากภาวะหลั่งเหงื่อมากที่นำสู่ความอับชื้นจนเกิดกลิ่นขึ้น หรือสภาวะบางอย่างที่เป็นสัญญาณของการเกิดโรคได้ เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 222 รองเท้าผจญภัย

    ฉลาดซื้อ ฉบับฤดูฝนขอเอาใจคนรักธรรมชาติและการผจญภัยด้วยผลการทดสอบรองเท้าสำหรับการเดินท่องเที่ยวในพื้นที่ป่าเขา หลายคนต้องคิดหนักก่อนตัดสินใจเพราะรองเท้าเหล่านี้มีคุณสมบัติพิเศษที่มาพร้อมราคาที่ค่อนข้างพิเศษด้วย เรามีรองเท้า 15 รุ่น (สนนราคาระหว่าง 2,900 ถึง 6,800 บาท*) ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศได้ทำการทดสอบเปรียบเทียบคุณสมบัติต่างๆ รวมถึงความพึงพอใจจากผู้ที่ได้ทดลองใส่ออกไปผจญภัยมาให้คุณได้พิจารณา        การทดสอบ (ที่มีค่าใช้จ่าย 360 ยูโร หรือประมาณ 12,300 บาทต่อหนึ่งตัวอย่าง) แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือการทดสอบด้วยเครื่องมือในห้องแล็บเพื่อวัดคุณสมบัติต่างๆ เช่น การระบายอากาศ ความทนทาน ความสามารถในการกันน้ำ การกันลื่นของพื้นรองเท้าทั้งบนพื้นผิวที่แห้งและเปียก เป็นต้น และอีกส่วนหนึ่งคือคะแนนความพึงพอใจจากอาสาสมัครที่ทดลองสวมใส่เดินป่าจริงๆ         โดยรวมแล้วเราพบว่ารองเท้าที่แพงที่สุดไม่ไช่รุ่นที่ได้คะแนนสูงสุด แต่รุ่นที่ราคาถูกมากๆ ก็ไม่มีประสิทธิภาพในระดับที่น่าพอใจเช่นกัน         หมายเหตุ ราคาดังกล่าวเป็นราคาที่แปลงจากหน่วยเงินยูโร ที่เพื่อนสมาชิกองค์กรทดสอบฯ จ่ายในประเทศของตนเอง โปรดตรวจสอบราคาอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 213 รองเท้าสำหรับขาลุย

         ฉลาดซื้อฉบับนี้พาสมาชิกสายรักธรรมชาติบุกป่าฝ่าดงไปดูผลทดสอบรองเท้ารัดส้นแบบออฟโร้ดด้วยฟังก์ชันที่ “พิเศษ” ของมัน สนนราคาจึงค่อนข้างสูง หลายคนจึงยังลังเลว่าจะซื้อดีหรือไม่ ถ้าจะซื้อจะเลือกรุ่นไหน ตัวรองเท้าควรจะเป็นหนังแท้ หนังกลับ หรือหนังเทียม พื้นรองเท้าควรเป็นโฟม ยางพารา หรือเทอร์โทพลาสติก โชคดีที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ICRT) ที่เราเป็นสมาชิก เขาทำการทดสอบเอาไว้ 18 รุ่น เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา หลายยี่ห้อมีขายในเมืองไทยด้วยคะแนนเต็ม 100 คะแนนในการทดสอบแบ่งออกเป็น- ผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการ       70 คะแนนเป็นการวัดประสิทธิภาพทางเทคนิคของรองเท้า เช่น การกันลื่น (ทั้งบนพื้นดินและพื้นกระเบื้อง) ความแข็งแรงของส่วนประกอบ (ห่วง สายรัด และพื้นรองเท้า) และอายุการใช้งาน (ความทนทานต่อการเสียดสี การบิดงอ และความคงทนของสี) - ความพึงพอใจของผู้สวมใส่     30 คะแนนอาสาสมัครจะให้ความเห็นเรื่องความรู้สึกสบายในการสวมใส่ ความยากง่ายในการสวม/ถอด การระบายอากาศ การทรงตัวเมื่อเดินบนพื้นผิวต่างๆ รวมถึงความพึงพอใจต่อรูปลักษณ์ภายนอกของรองเท้า        โดยรวมแล้วรุ่นที่ได้คะแนนดีมีราคาค่อนข้างสูง แต่ก็มีรองเท้าราคาสูงบางรุ่นได้คะแนนอันดับล่างๆ เหมือนกัน พลิกหน้าต่อไปแล้วจะได้รู้กันว่ารองเท้ารุ่นไหนดีงามสมราคา (และคำร่ำลือ) กว่ากัน * ราคาที่แสดงเป็นราคาขณะที่ซื้อสินค้ามาทดสอบ และเป็นการแปลงจากค่าเงินยูโรเป็นเงินบาทโดยปัดเศษ ก่อนตัดสินใจซื้อโปรดตรวจสอบราคาอีกครั้ง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 210 รู้เท่าทันเห็ดหลินจือ

    ในฉบับก่อน ได้กล่าวถึงเห็ดถั่งเช่าว่าเป็น “ไวอากร้าแห่งเทือกเขาหิมาลัย” ฉบับนี้ขอนำเรื่องเห็ดหลินจือมาเล่าให้รู้จัก เพราะคนไทยจะคุ้นเคยกับเห็ดหลินจือมากกว่าเห็ดถั่งเช่า จนกระทั่งมีการเพาะปลูกเห็ดหลินจือในประเทศไทยอย่างกว้างขวางพอสมควร เรามารู้เท่าทันเห็ดหลินจือกันเถอะ  เห็ดหลินจือคืออะไร                เห็ดหลินจือมีประวัติการใช้มายาวนานในประเทศจีน ญี่ปุ่น และเอเชียเพื่อให้มีสุขภาพดีและอายุยืนยาว เห็ดหลินจือเป็นเห็ดขนาดใหญ่ สีเข้ม ผิวนอกเป็นเงางาม ในบ้านเราก็มีเห็ดหลินจือเกิดในธรรมชาติ แต่คนละสายพันธุ์กับจีน        รศ.ดร. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์  คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเห็ดหลินจือว่า เห็ดหลินจือ หรือ เห็ดหมื่นปี  จัดเป็นราชาแห่งสมุนไพรจีน ใช้มานานกว่า 4,000 ปี เป็นยาอายุวัฒนะและรักษาโรคต่างๆ  ในเภสัชตำรับของจีนระบุสรรพคุณเป็น  ยาบำรุงร่างกาย บรรเทาอาการอ่อนเพลีย แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง รักษาโรคหัวใจ และช่วยให้นอนหลับสรรพคุณของเห็ดหลินจือ   เห็ดหลินจือมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย เช่น ฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ต้านเนื้องอกและมะเร็ง ฤทธิ์ป้องกันเส้นประสาทเสื่อม ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ เป็นต้น     สารสำคัญในเห็ดหลินจือ คือ สารกลุ่มโพลีแซคคาไรด์ ไตรเทอร์พีน สเตอรอล กรดไขมัน โปรตีน เป็นต้น สารสำคัญดังกล่าวจะพบในส่วนสปอร์มากกว่าส่วนดอกเห็ด สปอร์ที่กะเทาะผนังหุ้มมีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งได้ดีกว่าสปอร์ที่ไม่กะเทาะผนังหุ้ม และส่วนดอก (จึงมีผลิตภัณฑ์จากสปอร์เห็ดหลินจือ ออกมาจำหน่าย และมีราคาสูงกว่าเนื้อเห็ดหรือสารสกัดจากเนื้อเห็ด ซึ่งต้องเป็นสปอร์ที่ผ่านการกระเทาะเปลือกหุ้มเท่านั้น จึงจะมีประสิทธิผล)  มีการศึกษาเกี่ยวกับพิษวิทยาของเห็ดหลินจือทั้งพิษแบบเฉียบพลันและพิษแบบเรื้อรัง พบว่า มีความเป็นพิษต่ำมาก และมีความปลอดภัยสำหรับการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน การทบทวนงานวิจัยทางการแพทย์        เนื่องจากเห็ดหลินจือได้รับความนิยมและใช้ในการแพทย์ทางเลือกของประเทศต่างๆ มากขึ้น ห้องสมุดคอเครนจึงได้ทำการทบทวนงานวิจัยทางการแพทย์เกี่ยวกับการใช้เห็ดหลินในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีมาจนถึง 14 มิถุนายน ค.ศ. 2014  พบว่า                มีงานวิจัยทางการแพทย์ 5 รายงาน เปรียบเทียบการใช้เห็ดหลินจือกับยาหลอกในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จำนวน 398 ราย ระยะการศึกษา 12-16 สัปดาห์  รายงานการศึกษาไม่ค่อยมีคุณภาพ จึงมีเพียง 3 รายงาน จำนวนผู้ป่วย 157 ราย ที่นำมาวิเคราะห์ผลได้   ผลการศึกษา แสดงว่า เห็ดหลินจือไม่มีประสิทธิผลในการลดน้ำตาลในเลือด ความดันเลือด หรือคอเลสเตอรอล แต่เนื่องจากยังมีรายงานการศึกษาที่น้อย จึงไม่สามารถสนับสนุนประสิทธิผลของเห็ดหลินจือในการรักษาและลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2         นอกจากนี้ ห้องสมุดคอเครนยังทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับเห็ดหลินจือกับการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง พบว่า ยังไม่มีหลักฐานจากการศึกษาที่จะยืนยันประสิทธิผลว่าสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งมีชีวิตยืนยาวขึ้น เพราะงานวิจัยยังมีจำนวนน้อย แต่ก็พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งที่กินเห็ดหลินจือมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่ากลุ่มควบคุม    สรุปว่า ยังไม่มีผลการวิจัยมากพอที่จะยืนยันประสิทธิผลของเห็ดหลินจือในการรักษามะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจในขณะนี้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 209 รู้เท่าทันเห็ดถั่งเช่า

ในทีวีและสื่อออนไลน์มีการโฆษณา “เห็ดถั่งเช่า” กันมากมาย อ้างว่ามีสรรพคุณหลายอย่างตั้งแต่ ลดน้ำตาลในเลือด ชะลอวัย เพิ่มโอกาสการมีบุตร ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง บำรุงตับและไต บำรุงปอดและระบบทางเดินหายใจ ทำให้จิตใจสงบ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ที่สำคัญคือ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ  ถั่งเช่ามีสรรพคุณมากมายขนาดนั้นหรือไม่ เรามารู้เท่าทันกันเถอะถั่งเช่าคืออะไรสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลเรื่องถั่งเช่าอย่างละเอียดว่า  “ถั่งเช่า” หรือที่รู้จักกันว่า “ไวอากร้าแห่งเทือกเขาหิมาลัย” แปลเป็นไทยว่า “ฤดูหนาวเป็นหนอน ฤดูร้อนเป็นหญ้า” หรือที่เรียกกันว่า “หญ้าหนอน”  ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นตัวหนอน คือ ตัวหนอนของผีเสื้อ (Hepialus armoricanus Oberthiir)และบนตัวหนอนมีเห็ดชนิดหนึ่ง (Cordyceps sinensis (Berk.) Saec.)  หนอนชนิดนี้ในฤดูหนาวจะฝังตัวจำศีลอยู่ใต้ดินภูเขาหิมะ เมื่อน้ำแข็งเริ่มละลาย สปอร์เห็ดจะพัดไปกับน้ำแข็งที่ละลาย แล้วไปตกที่พื้นดิน จากนั้นตัวหนอนเหล่านี้ก็จะกินสปอร์ และเมื่อฤดูร้อน สปอร์ก็เริ่มเจริญเติบโตเป็นเส้นใยโดยอาศัยการดูดสารอาหารและแร่ธาตุจากตัวหนอนนั้น เส้นใยงอกออกจากท้องของตัวหนอน และงอกออกจากปากของมัน เห็ดเหล่านี้ต้องการแสงอาทิตย์จึงงอกขึ้นสู่พื้นดิน รูปลักษณะภายนอกคล้ายไม้กระบอก ส่วนตัวหนอนเองก็จะค่อยๆ ตายไป อยู่ในลักษณะของหนอนตายซาก ฉะนั้น “ถั่งเช่า” ก็คือ ตัวหนอนและเห็ดที่แห้ง แล้วนั่นเอง ถั่งเช่ามีสารอะไรบ้างถั่งเช่าอุดมไปด้วยสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ โพลีแซคคาไรด์ นิวคลีโอไทด์, cordycepic acid, กรดอะมิโน และสเตอรอล ยังมีสารอาหารสำคัญอื่นๆ เช่น โปรตีน วิตามินต่างๆ (E, K, B1, B2 และ B12) และแร่ธาตุต่าง ๆ (โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี และซิลิเนียม)การใช้เห็ดถั่งเช่าเพื่อสุขภาพและบำบัดโรคมีการใช้ถั่งเช่าในการดูแลสุขภาพและบำบัดรักษาโรคต่างๆ ตั้งแต่ การไอ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคไต การขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติเวลากลางคืน การเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ซีด หัวใจเต้นผิดปกติ ไขมันในเลือดสูง มึนงง มีเสียงในหู น้ำหนักลด และการติดยาเสพติด  นอกจากนี้ยังใช้ในการเพิ่มระบบภูมิต้านทานของร่างกาย เสริมสร้างพลังของนักกีฬา ชะลอการชรา ช่วยให้อายุยืนยาว เป็นต้น  ถั่งเช่ารักษาโรคต่างๆ ได้จริงหรือไม่เมื่อทบทวนวรรณกรรมการศึกษาเกี่ยวกับถั่งเช่าในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ พบว่ามีรายงานการศึกษาเรื่องถั่งเช่าตีพิมพ์ในวารสารวิชาการจำนวนมาก ทั้งในวารสาร Pubmed และห้องสมุดคอเครน มีการรายงานว่า ถั่งเช่ามีผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีผลต่อสมรรถภาพทางเพศทั้งชายและหญิง ทำให้ครีอะตินีน (ของเสียในเลือดเพื่อวัดค่าการทำงานของไต) ลดน้อยลง  โปรตีนในปัสสาวะน้อยลง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อสรุปในตอนท้ายว่า คุณภาพของหลักฐานนั้นต่ำเกินไป มีผู้ป่วยจำนวนน้อยเกินไป ควรต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมสำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหิดล ก็ยังสรุปว่า ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะการศึกษาทางคลินิกยังมีน้อย ฉะนั้นการใช้ถั่งเช่าจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะถั่งเช่ามีราคาสูงมาก สรุป  แม้ว่าถั่งเช่าจะเป็นภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีนที่เก่าแก่ แต่ข้อมูลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ยังไม่ยืนยันอย่างหนักแน่นว่ามีสรรพคุณต่างๆ จริง 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 208 รู้เท่าทัน ไขมันทรานส์

การบริโภคไขมันทรานส์ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ร้อยละ 21  และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรร้อยละ 28  ไขมันทรานส์ยังนำไปสู่การแข็งตัวและการอุดตันของหลอดเลือด ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดจากไขมันทรานส์กว่า 500,000 รายในแต่ละปีนับเป็นความกล้าหาญขององค์การอนามัยโลกอีกครั้งที่ได้ประกาศเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561 ว่า จะขจัดไขมันทรานส์ให้หมดจากระบบการผลิตอาหารของโลก และได้กำหนดยุทธศาสตร์ทีละขั้นตอนเพื่อให้บรรลุผลในปี พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023)  การขจัดไขมันทรานส์นี้เป็นกุญแจสำคัญในการปกป้องสุขภาพและช่วยชีวิตผู้คน เรามารู้เท่าทันไขมันทรานส์กันเถอะไขมันทรานส์ คืออะไรไขมันได้กลายเป็นผู้ร้ายในสายตาของผู้รักสุขภาพ ความจริงไขมันเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายและช่วยในการดูดซึมวิตามินเอ ดี อี เค และแคโรทีนอยด์  เมื่อกินไขมันเท่าที่จำเป็นจะช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตที่เหมาะสมและช่วยรักษาสุขภาพ  แต่ทุกวันนี้เรากินไขมันมากเกินไป ออกกำลังกายน้อย ทำให้เกิดไขมันส่วนเกินไปสะสมในร่างกาย ไขมันในอาหารมี 3 ชนิดหลัก ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัว และ ไขมันทรานส์ไขมันทรานส์ ถูกใช้ในการผลิตอาหารในต้นคริสศตวรรษที่ 20 เพื่อใช้แทนเนย และเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงคริสต์ศักราช 1950-1970  ไขมันทรานส์เกิดจากกระบวนการผลิตโดยทำให้น้ำมันพืชแข็งตัวด้วยการเติมไฮโดรเจน (Partially Hydrogenated Oils, PHOs) ทำให้อาหารที่ใช้ไขมันทรานส์นั้นยืดอายุ (การขาย) ได้นาน เพิ่มความคงตัวของรสชาติ ที่สำคัญคือ มีราคาถูกกว่าไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว  อาหารหลายชนิดที่ใช้ไขมันทรานส์ ได้แก่ เนยขาว เนยเทียมหรือมาการีน คุกกี้ อาหารว่าง อาหารทอด และขนมอบ เป็นต้นไขมันทรานส์มีโทษต่อร่างกายอย่างไรไขมันทรานส์มีผลเหมือนไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลทำให้ระดับ LDL (โคเลสเตอรอลชนิดอันตราย) ในเลือดสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ  นอกจากนี้ ไขมันทรานส์ยังลดระดับ HDL (โคเลสเตอรอลชนิดดี) ในเลือดอีกด้วย ทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากขึ้นองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า การบริโภคไขมันทรานส์ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ร้อยละ 21  และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรร้อยละ 28  ไขมันทรานส์ยังนำไปสู่การแข็งตัวและการอุดตันของหลอดเลือด ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดจากไขมันทรานส์กว่า 500,000 รายในแต่ละปี การลดการบริโภคไขมันทรานส์จะช่วยลดการเกิดหัวใจวายและการเสียชีวิตได้องค์การอนามัยโลกใช้ปฏิบัติการ REPLACE   องค์การอนามัยโลกเรียกร้องให้รัฐบาลของทุกประเทศใช้ปฏิบัติการ REPLACE เพื่อขจัดไขมันทรานส์ออกจากอุตสาหกรรมอาหาร  Dr Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการคนใหม่ขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า “การใช้ REPLACE จะช่วยในการขจัดไขมันทรานส์ และจะเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของโลกในการต่อสู้เอาชนะกับโรคหลอดเลือดและหัวใจ”REPLACE ได้แก่Review  ทบทวนแหล่งอุตสาหกรรมการผลิตไขมันทรานส์ และฉากทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายPromote  ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการผลิตไขมันทรานส์ใช้ไขมันและน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพแทนไขมันทรานส์Legislate  การออกกฎหมายเพื่อขจัดไขมันทรานส์จากการผลิตแบบอุตสาหกรรมAssess  การประเมินและกำกับดูแลการใช้ไขมันทรานส์ในการผลิตอาหารและการเปลี่ยนแปลงการบริโภคไขมันทรานส์ของประชากรCreate การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบในทางลบของไขมันทรานส์ในผู้กำหนดนโยบาย ผู้ผลิต ผู้ขาย และสังคม Enforce  การบังคับใช้กฎหมายและระเบียบต่างๆขณะนี้หลายประเทศได้ขจัดการใช้ไขมันทรานส์ จากอุตสาหกรรมเกือบสิ้นเชิง เดนมาร์กเป็นประเทศแรกที่จำกัดการใช้ไขมันทรานส์จากอุตสาหกรรม ทำให้ปริมาณของไขมันทรานส์ในอาหารลดลงอย่างชัดเจน และอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศ OECD (สมาชิกประเทศยุโรปตะวันตก 19 ประเทศ)ประเทศไทยต้องมีความตื่นตัวเรื่องนี้ และร่วมกันขจัดการใช้ไขมันทรานส์ในอุตสาหกรรมอาหารโดยเร็ว เพื่อให้ลูกหลานของเราไม่ต้องเสี่ยงกับโรคหัวใจและหลอดเลือด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 รู้เท่าทันแผ่นแปะเท้าดูดสารพิษ

โลกโซเชียลกำลังโฆษณาขายแผ่นแปะเท้าดูดสารพิษกันอย่างครึกโครม ทั้งในอาลีบาบา อเมซอน และอื่นๆ โดยอ้างว่าสามารถดูดสารพิษออกจากร่างกายเมื่อใช้แผ่นแปะเท้าเวลานอน แผ่นแปะเท้าสามารถขจัดสารพิษออกจากร่างกายได้จริงหรือไม่ เรามารู้เท่าทันกันเถอะ แผ่นแปะเท้าดูดสารพิษคืออะไร“เมื่อติดแผ่นแปะเท้า........ที่ฝ่าเท้าเวลานอน จะช่วยขับโลหะหนัก สารพิษ พยาธิ สารเคมี และเซลลูไลต์ออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยรักษา อาการซึมเศร้า อ่อนล้า เบาหวาน ข้ออักเสบ ความดันเลือดสูง และระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ”นี่เป็นตัวอย่างโฆษณาขายผลิตภัณฑ์แผ่นแปะเท้าดูดสารพิษยี่ห้อที่ดังที่สุดยี่ห้อหนึ่งแผ่นแปะเท้าดูดสารพิษนั้นถูกโฆษณาขายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อสุขภาพและขับสารพิษออกจากร่างกาย  ใช้แปะที่ฝ่าเท้าเวลานอน เมื่อตื่นนอนจะเห็นสีดำๆ คล้ำๆ ที่แผ่นแปะเท้า ซึ่งเป็นสารพิษที่ถูกขับออกมาจากร่างกาย แผ่นแปะเท้าดูดสารพิษ มีส่วนผสมสารประกอบต่างๆ ตั้งแต่ น้ำส้มควันไม้จากไม้ไผ่ หินแร่ ยูคาลิปตัส ไคโตซาน (เกล็ดปลา เปลือกกุ้ง) นอกจากนี้ยังมี สมุนไพร วิตามิน แร่ธาตุ เกลือทะเล วิตามินซี ไอออนลบ เส้นใยจากผัก เป็นต้นแผ่นแปะเท้าดูดพิษออกจากร่างกายได้อย่างไรแผ่นแปะเท้าดูดสารพิษเป็นความเชื่อแบบการแพทย์ตะวันออก มีการผลิตแผ่นแปะเท้าหลากหลายชนิดตามความเชื่อ ส่วนผสม และวัสดุต่างๆ  แผ่นแปะเท้าจึงมีคุณสมบัติและผลข้างเคียงแตกต่างกันไป เช่น การนวดกดจุดสะท้อน (reflexology) แผ่นแปะเท้าซึ่งไปกดจุดที่ฝ่าเท้า  อิออนลบซึ่งไปเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่เท้า แผ่นแปะเท้าจากถ่าน แผ่นแปะเท้าจากน้ำส้มควันไม้จากไม้ไผ่ และแผ่นแปะเท้าจากสมุนไพรต่างๆส่วนผสมต่างๆ ในแผ่นแปะเท้าจะดูดและจับกับสารพิษในร่างกาย ขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดมาที่เท้า สารพิษจะถูกเลือดพามาที่เท้า และถูกดูดซึมไปที่แผ่นแปะเท้าแผ่นแปะเท้าดูดพิษได้จริงหรือเรื่องนี้ได้รับการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในหลายๆ ประเทศ ด้วยความไม่เชื่อว่า แผ่นแปะเท้าจะดูดสารพิษได้จริง ความจริงแผ่นแปะเท้ามีหลักการเดียวกับการขับสารพิษด้วยการแช่เท้าในน้ำที่มีแร่ธาตุ และปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ลงไปในน้ำ น้ำที่มีไอออนลบจะดึงสารพิษในร่างกายและขับออกมาทางเท้า ทำให้น้ำที่แช่เท้าเปลี่ยนเป็นสี มีงานวิจัยที่พยายามไขข้อข้องใจเรื่องนี้มากพอควร มีงานวิจัยหนึ่ง พบว่า แร่ธาตุในน้ำ รวมทั้งวัสดุที่เป็นโลหะของเครื่องแช่เท้า เมื่อมีปฏิกิริยาทางเคมีและฟิสิกส์ จะทำให้น้ำเปลี่ยนสี ไม่ว่าจะแช่เท้าหรือไม่ก็ตาม  เมื่อตรวจปัสสาวะเพื่อดูการขับสารพิษต่างๆ ทางไต และการตรวจสารพิษที่สะสมในเส้นผม ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง การวิจัยครั้งนี้ ยืนยันว่า การขับสารพิษในร่างกายด้วยเท้านั้น ไม่เป็นเรื่องจริง ทำไมแผ่นแปะเท้าดูดสารพิษจึงเปลี่ยนเป็นสีดำแผ่นแปะเท้าที่เปลี่ยนเป็นสีดำเกิดจากสารพิษที่ดูดออกมาจริงหรือเพียงแค่เอาน้ำดื่มที่สะอาดเทลงที่แผ่นแปะเท้า ก็จะเปลี่ยนสีได้เช่นเดียวกัน นักวิจัยเอาแผ่นแปะเท้าที่เปลี่ยนสีไปหาสารพิษ สารหนูและโลหะหนักในห้องปฏิบัติการ ก็ไม่พบอะไร  เมื่อตรวจแผ่นแปะก่อนและหลังการใช้ ก็ไม่พบความแตกต่าง   สรุป  แผ่นแปะเท้าดูดสารพิษนั้น ไม่สามารถขับสารพิษในร่างกายได้จริงตามโฆษณา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 รู้เท่าทันกบฏผีบุญทางการแพทย์ (ตอนที่ 1)

ปรากฏการณ์หนึ่งทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ คือ การมีหมอเทวดาปรากฏตัวขึ้นเพื่อรักษาโรคที่การแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีผู้คนแห่ไปรับการรักษาอย่างเนืองแน่น จนทางการต้องเข้ามาควบคุมและห้ามปราม  ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้  เราควรมีท่าทีหรือมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไร  เรามารู้เท่าทันกันเถอะมีหมอเทวดาเกิดขึ้นเสมอ ไม่ห่างหาย เมื่อเร็วๆ นี้ คงได้ยินข่าวมีบุคคลท่านหนึ่งแจกยารักษามะเร็ง มีผู้ป่วยมารับยาครั้งละเป็นหมื่นคน พระที่บอกว่า นั่งทางในและค้นพบวิธีการรักษาด้วยการตอกเส้น  รวมทั้งก่อนหน้านี้ ที่มีหมอเทวดาเกิดขึ้นในที่ต่างๆ ทำไมหมอเทวดาเหล่านี้ทำไมจึงเกิดขึ้นและได้รับความนิยม ทั้งๆ ที่การแพทย์แผนปัจจุบันของไทยมีความก้าวหน้ามาก และมีระบบประกันสุขภาพต่างๆ ที่รักษาโดยไม่ต้องเสียเงิน การเกิดปรากฎการณ์ที่ชาวบ้านธรรมดาๆ ลุกขึ้นมารักษาโรคให้กับประชาชน(ทั้งโดยเจตนาบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์) ซึ่งมีกฎหมายวิชาชีพทั้งการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย และวิชาชีพต่างๆ ดูแลอยู่นั้น นับเป็นการสั่นคลอนความเชื่อมั่น และความไว้วางใจต่อวิชาชีพต่างๆ ที่มีอยู่ ความเชื่อและวัฒนธรรมชุมชนต่อเรื่องการแพทย์ ดั้งเดิมของสังคมไทย ชุมชนจะดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เมื่อเจ็บป่วยมากก็จะไปหาหมอพื้นบ้านและหมอแผนไทยเพื่อรับการรักษา หมอพื้นบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่ผ่านการบวชเรียน เมื่อมีความรู้ก็ช่วยเยียวยาชาวบ้านโดยไม่ผลตอบแทนเป็นเงินทอง   ต่อมาพ.ศ. 2466 มี พระราชบัญญัติการแพทย์ ทำให้การรักษาพยาบาลประชาชนต้องกระทำโดยผู้ประกอบโรคศิลปะเท่านั้น  ทำให้หมอพื้นบ้านและหมอแผนไทยส่วนใหญ่ที่ไม่มีใบประกอบโรคศิลปะยกเลิกการรักษาผู้ป่วยเนื่องจากเกรงกลัวผิดกฎหมายหมอเทวดานั้นผูกพันกับความเชื่อ และวัฒนธรรมท้องถิ่น  หมอเทวดานั้นจะผูกพันและมีฐานความเชื่อของวัฒนธรรมท้องถิ่นและชุมชน โดยเฉพาะ ยาสมุนไพร วิธีการรักษาพื้นบ้าน ที่มาของภูมิปัญญาจากการนั่งทางใน หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และส่วนใหญ่เป็นการรักษาที่ไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงินทอง  ความเชื่อและวิถีปฏิบัติของหมอเทวดาเหล่านี้ สอดคล้องกับความเชื่อของสังคมไทยที่มองการเยียวยานั้นเป็นการเยียวยาแบบเอื้ออาทร และหมอเป็นผู้มีเมตตากรุณาต่อผู้ป่วย  แน่นอนที่ว่า มีมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นหมอเทวดา เพื่อหวังหลอกลวงและค่าตอบแทนจากผู้หลงเชื่อหมอเทวดาเปรียบเสมือนกบฏผีบุญทางการแพทย์หรือไม่เรื่องของกบฏผีบุญ หรือกบฏผู้มีบุญ เกิดขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2249 เป็นกบฏผีบุญลาวบุญกว้าง เข้ายึดเมืองโคราช  หลังกบฏลาวบุญกว้าง ยังมีกบฏผีบุญ 8 ครั้ง กบฏเชียงแก้ว พ.ศ. 2334 กบฏสาเกียดโง้ง กบฏสามโบก กบฏผู้มีบุญอีสาน กบฏหนองหมากแก้ว กบฏหมอลำน้อยชาดา กบฏหมอลำโสภาและกบฏศิลา วงศ์สิน พ.ศ. 2502   การเกิดกบฏผีบุญอีสาน พ.ศ. 2444-2445 เป็นเพราะ ราษฎรไม่พอใจการเก็บภาษีส่วยจากชายฉกรรจ์ มิหนำซ้ำมาเกิดภัยแล้งติดต่อกันสองสามปี ส่วนขุนนางท้องถิ่นไม่พอใจการปฏิรูปการปกครองที่เอาอำนาจไปจากพวกเขาแล้วยังเอาผลประโยชน์ ประกอบกับการคุกคามจากฝรั่งเศส ทำให้กบฏขยายตัวอย่างกว้างขวางถึง 13 จังหวัด แต่ถูกปราบโดยรัฐบาลการเกิดหมอเทวดาจากผู้ที่ไม่ได้เป็นหมอวิชาชีพ อาจเป็นเสมือนการทวงคืนพื้นที่และสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนในการเลือกที่จะรับการเยียวยาจากหมอชาวบ้าน บนฐานการพึ่งตนเองของชุมชน ก็เป็นได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 200 รู้เท่าทันการใช้เท้าเหยียบรักษาโรค(ตอนที่ 2)

การใช้เท้าเหยียบรักษาโรคเป็นการแพทย์แผนไทย หรือการนวดไทยหรือไม่ เรามารู้เท่ากันกันต่อการนวดไทยมีการใช้เท้าเหยียบหรือไม่ การนวดไทยแท้มีการใช้ทุกส่วนของร่างกายของหมอนวดเพื่อกด บีบ คลึง ลูบ ร่างกายและจุดต่างๆ ของผู้ป่วย เพื่อรักษาอาการต่างๆ โดยเฉพาะ ปวดเมื่อย การติดขัดของข้อ และโรคต่างๆ  ดังนั้นการใช้ศอกและเท้าจึงเป็นวิธีการหนึ่งของการนวดไทย การใช้เท้านิยมใช้ในนวดไทยและนวดพื้นบ้านที่เรียกว่า ย่ำขาง หรือเหยียบเหล็กแดง  โดยการใช้ส้นเท้าเหยียบบนเหล็กผานไถที่เผาบนเตาถ่านให้ร้อนจนแดง หมอนวดจะใช้น้ำมันทาที่ส้นเท้าแล้วเหยียบลงบนเหล็กที่ร้อนแดงอย่างรวดเร็ว แล้วนำส้นเท้าที่มีความร้อนไปกดตามแนวเส้นและจุดต่างๆ ของร่างกายผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เพื่อให้เส้นและกล้ามเนื้อของผู้ป่วยที่เกร็ง หดตัว เกิดการคลายตัว และเลือดลมไหลได้สะดวก  การต้องใช้เท้าเหยียบเพราะผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตจะมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมาก ดังนั้นการใช้มืออาจให้แรงกดไม่พอ จึงต้องใช้เท้าในการกด ในอินเดียก็มีการใช้เท้าเหยียบเพื่อรักษาเช่นเดียวกัน โดยมีเชือกสำหรับหมอนวดโหน และสามารถขึ้นไปเหยียบนวดบนตัวผู้ป่วยได้ แต่การนวดไทยไม่มีการใช้เท้าเหยียบบนใบหน้า ศีรษะของผู้ป่วย เพราะคนไทยถือว่าศีรษะเป็นของสูงและศักดิ์สิทธิ จึงไม่สมควรที่จะใช้เท้าหมอนวดไปทำกับศีรษะและใบหน้าผู้ป่วย นอกจากนี้บนใบหน้ายังมีเส้นประสาท 12 คู่ ดังนั้นการใช้เท้าเหยียบอาจทำให้เส้นประสาทได้รับบาดเจ็บศาสตร์พลังบำบัดมีการใช้เท้าหรือไม่   ตามหลักโยคะศาสตร์ เชื่อว่า ร่างกายมนุษย์มีศูนย์รวมพลัง ที่เรียกว่า จักระ อยู่ 7 แห่ง บนศีรษะ ใบหน้า และคอ มีจักระ 3 จักระ ได้แก่  วิสุทธิ  ตั้งอยู่บริเวณคอ ตรงกับร่างแหระบบประสาทที่คอ จักระนี้ควบคุมความบริสุทธิ์ ทำให้มีความสุขุม อัชณา ตั้งอยู่บริเวณหน้าผากระหว่างคิ้วทั้งสอง ที่เรียกว่า ตาที่สาม  จักระนี้ควบคุมความหยั่งรู้ทางจิต พลังทางจิตวิญญาณ สหัสสราร ตั้งอยู่ในสมอง กลางศีรษะ เปิดรับพลังจักรวาล เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้  จักระทั้ง 7 เชื่อมต่อกันแนวทางเดินของพลังที่ชื่อว่า อิทะ ปิงคละ และสุสุมนะ  ซึ่งการนวดไทยก็เชื่อว่ามีพลังตามแนวเส้นประธานสิบเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อดูตามหลักของศาสตร์เรื่องพลังตามแนวโยคะ จะเห็นว่า ศีรษะ ใบหน้า คอ เป็นตำแหน่งของจักระสำคัญ 3 จักระ และไม่มีการใช้เท้าในการกระตุ้นพลังตามจักระต่างๆ  การบำบัดด้วยพลังตามศาสตร์อื่นๆ ก็ไม่พบว่ามีการใช้เท้าเป็นส่วนหนึ่งในการบำบัดด้วยพลังโดยสรุป  การใช้เท้าเหยียบหัว หน้า หรือตามร่างกายเพื่อบำบัดรักษาโรคจากโรคเวรโรคกรรมที่ต้องอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร ด้วยพิธีการสื่อสารพลังจิตจากสมเด็จองค์ปฐมพระพุทธเจ้าองค์แรกนั้น ไม่ได้มาจากพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน และไม่ใช่ศาสตร์การแพทย์แผนไทย การนวดไทยอีกเช่นเดียวกัน  การบำบัดด้วยศาสตร์พลังบำบัดต่างๆ ก็ไม่มีการใช้เท้าในการบำบัดแต่อย่างใด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 200 แจ้งจับคนขับมอเตอร์ไซค์บนทางเท้า

แม้ทางเท้าหรือฟุตบาทจะเป็นทางเดินสัญจรสาธารณะ แต่ที่ผ่านมาฟุตบาทได้กลายเป็นทั้งที่ขายของ ทางวิ่งรถมอเตอร์ไซค์หรือแม้แต่ที่จอดรถยนต์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้สัญจรไปมาอย่างมาก โดยเฉพาะการขับรถมอเตอร์ไซค์บนทางเท้า ทำให้ภาครัฐออกมาตรการ “ชวนประชาชนแจ้งจับผู้ที่ขี่มอเตอร์ไซค์ทางเท้า และได้รางวัลครึ่งหนึ่งของค่าปรับ” เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวจะใช้ได้ผลจริงหรือไม่ เราลองไปดูเหตุการณ์ของผู้ร้องรายนี้กันคุณสมจิตรพบเห็นรถจักรยานยนต์และรถยนต์หลายคันจอดอยู่บนทางเท้า และเห็นหลายคนขับรถจักรยานยนต์บนทางเท้าเป็นประจำ ส่งผลให้เขาและผู้ที่เดินทางสัญจรไปมาบริเวณนั้นได้รับผลกระทบ ต้องเดินหลบกลัวว่าจะถูกรถชน คุณสมจิตรจึงถ่ายรูปเหตุการณ์ดังกล่าวไว้และส่งเรื่องแจ้งไปยังอีเมล citylaw_bma@hotmail.com ตามวิธีการแจ้งเบาะแสของภาครัฐ อย่างไรก็ตามหลังส่งเรื่องไปแล้วหลายอาทิตย์ เขากลับไม่พบการแก้ปัญหาหรือการติดต่อกลับเพื่อให้ไปรับรางวัลนำจับแต่อย่างใด จึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อขอคำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาจากการแถลงข่าวโดยรองโฆษกกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา เกี่ยวประเด็นเรื่องการให้รางวัลนำจับ กรณีพบเห็นผู้ขับขี่บนทางเท้าว่า กทม. ต้องการให้โครงการนี้เป็นมาตรการหนึ่งในการจัดระเบียบสังคมให้เกิดความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย ความปลอดภัย โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามามีส่วนร่วม ซึ่งหากพบเห็นผู้ที่จอดหรือขับขี่รถจักรยานยนตร์และรถยนต์บนทางเท้า สามารถถ่ายรูปหรือวิดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐานและแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ได้ทันที เพราะถือว่าทำผิดตาม พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 ในมาตรา 17 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดจอด หรือ ขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อน บนทางเท้า เว้นแต่เป็นการจอดหรือขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคาร หรือมีประกาศของเจ้าพนักงานจราจรผ่อนผันให้จอดหรือขับขี่ได้ ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาทสำหรับช่องทางการแจ้งเบาะแส สามารถทำได้ 6 ช่องทาง ดังนี้ 1.ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน กทม.1555 2.สายด่วนสำนักเทศกิจ 02-465-6644 3. ไปรษณีย์ ส่งถึงสำนักเทศกิจ เลขที่ 1 ถนนเทศบาลสาย 1 แขวงวัดวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี 10600 4. อีเมล์ citylaw_bma@hotmail.com 5. ทางเฟซบุ๊กสำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร และ 6. สำนักงานเขตในพื้นที่พบเห็นทั้ง 50 เขต ทั้งนี้สำหรับหลักฐานในการเอาผิดต้องให้เห็นชัดเจนคือ มีเลขทะเบียนรถผู้กระทำผิด ซึ่งหากเป็นมอเตอร์ไซค์รับจ้างโดยสารสาธารณะ ต้องให้เห็นหมายเลขเสื้อและวินที่สังกัดด้วย พร้อมระบุวัน เวลา สถานที่กระทำผิด โดยเจ้าหน้าที่จะเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้แจ้งไว้เป็นความลับอย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์รางวัลนำจับที่ผู้แจ้งความจะได้รับรางวัลกึ่งหนึ่งของค่าปรับนั้น จะได้รับภายหลังจากที่ผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับแล้ว และสำนักงานเขตจะทำหนังสือไปยังผู้ที่แจ้งข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้เข้ามาเพื่อรับค่านำจับ ซึ่งจะได้รับภายใน 60 วันนับแต่วันที่เขตได้รับแจ้ง หรือหากผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับในวันเดียวกัน ผู้แจ้งก็จะได้รับรางวัลค่าปรับในนั้นทันที ในขณะเดียวกันส่วนของค่าปรับนั้นต้องเข้าใจว่า ไม่ใช่จับครั้งแรกแล้วปรับ 5,000 บาททันที แต่จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่เทศกิจด้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่จะมีการบันทึกประวัติผู้กระทำผิดไว้ หากทำผิดครั้งแรกอาจจะปรับ 1,000 บาท และครั้งต่อไปถึงค่อยๆ ปรับเพิ่มขึ้น เมื่อศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ได้ช่วยติดตามข้อมูลของผู้ร้อง โดยโทรศัพท์ไปสอบถามยังสำนักงานเขตที่ได้แจ้งไป ซึ่งตอบกลับมาว่าได้รับหลักฐานการแจ้งเบาะแสแล้วเรียบร้อย แต่อยู่ในขั้นตอนรอผู้กระทำความผิดมาชำระค่าปรับ และหากมีการชำระแล้ว จะดำเนินการแจ้งผู้ร้องให้เข้ามารับส่วนแบ่งต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 199 รู้เท่าทันการใช้เท้าเหยียบรักษาโรค (ตอนที่ 1)

ระยะนี้มีข่าวดังทั้งในโลกออนไลน์และโทรทัศน์ มีการแชร์ภาพชายที่อ้างตัวว่ามีพลังจิต ใช้เท้าเหยียบหัว หน้า หรือตามร่างกายเพื่อบำบัดรักษาโรคได้  ชายดังกล่าวอ้างว่า ตนมีพลังจิตที่สามารถบำบัดผู้ป่วยให้หายจากโรคได้ ด้วยพิธีการสื่อสารพลังจิตจาก สมเด็จองค์ปฐมพระพุทธเจ้าองค์แรก โดยการใช้มือ หรือเท้า เป็นสื่อกลางไปที่ผู้ป่วยให้หายจากโรคหรือดีขึ้นในทันที โรคหรือการป่วยไข้ต่างๆ มาจากโรคเวรโรคกรรมที่ต้องอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร ทำให้หายจากโรคได้หลายชนิด เช่น กระดูกหัก เอ็นขาด ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต เมื่อรับบำบัดแล้วก็สามารถลุกขึ้นเดินได้ปกติในทันที เรามารู้เท่าทันการรักษาโรคด้วยการใช้เท้าเหยียบกันเถอะพระพุทธเจ้าโปรดการรักษาโรคด้วยการใช้เท้าเหยียบจริงหรือ  ชายผู้นี้อ้างการรักษานี้ว่าใช้การสื่อสารพลังจิตจากสมเด็จองค์ปฐมพระพุทธเจ้าองค์แรก  เราต้องมาดูหลักฐานกันว่า พระพุทธเจ้าโปรดการใช้เท้าเหยียบเพื่อการรักษาโรคจริงหรือไม่ การแพทย์ดั้งเดิมในอินเดียก่อนกำเนิดพระพุทธศาสนานั้นเป็นการแพทย์ในยุคพระเวทตอนต้น คือ เชื่อว่า โรคเกิดจากภูติผีปีศาจและพิธีกรรมทางไสยศาสตร์  จะมีการท่องคาถาที่มีพลัง รวมทั้งการใช้เครื่องรางของขลังเพื่อขับไล่ภูติผีปีศาจที่ทำให้เจ็บป่วยและป้องกันไม่ให้มารบกวนอีก เมื่อเกิดพระพุทธศาสนาขึ้น ได้มีการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพภายในวัดวาอาราม ทำให้ การแพทย์อายุรเวทของฮินดูที่เป็นการแพทย์แบบไสยศาสตร์-ศาสนา เปลี่ยนมาเป็นการแพทย์แบบประจักษ์นิยมและเหตุผล ซึ่งพัฒนามาจากจากปรัชญาคำสอนของพุทธศาสนา ในพระไตรปิฎก พบหลักฐานสำคัญว่า1) พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้พระภิกษุต้องดูแลพระภิกษุที่อาพาธ โดยตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีมารดา ไม่มีบิดาผู้คอยพยาบาล ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจะคอยพยาบาลพวกเธอ ภิกษุทั้งหลาย ผู้จะพยาบาลเราก็จงพยาบาลภิกษุไข้เถิด  สงฆ์ต้องพยาบาลภิกษุไข้นั้น ถ้าไม่พยาบาล ต้องอาบัติทุกกฎ”2) พระพุทธเจ้าทรงห้ามภิกษุจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา โดยเฉพาะ การแก้บน ร่ายมนต์ขับผี ปรุงยา ทำการผ่าตัด เป็นหมอตา หมอผ่าตัด หมอรักษาเด็ก เป็นต้น  3) พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้การนวดในหมู่ภิกษุณีทั้งหลาย (ใช้ภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี คฤหัสถ์ ให้บีบบ้าง ให้นวดบ้าง ฯลฯ) เป็นอาบัติ ยกเว้นการนวดในภิกษุณีที่อาพาธ  จากหลักฐานต่างๆ แสดงว่า • การแพทย์ในสายพระพุทธศาสนาเป็นการแพทย์ที่มีเหตุมีผล ไม่ใช่การแพทย์แบบไสยศาสตร์ เพราะไม่ใช่หนทางสู่ความจริงแท้และเป็นอิทัปปัจจยตา• พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้พระภิกษุดูแลพระภิกษุที่อาพาธ แต่ไม่ส่งเสริมให้ภิกษุประกอบวิชาชีพที่เป็นแพทย์โดยตรง• พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้การนวดในหมู่ภิกษุณีที่ไม่อาพาธเป็นอาบัติ ดังนั้นการใช้เท้าเหยียบเพื่อความงามจึงเป็นอาบัติพุทธศาสนาได้เปลี่ยนแปลงการแพทย์จากไสยศาสตร์ของฮินดูมาสู่การแพทย์แบบประจักษ์นิยมของพุทธศาสตร์ การอ้างพลังจิตของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะองค์ไหนก็ตาม  จึงเป็นมิจฉาทิฎฐิติดตามฉบับหน้าครับ ว่าการใช้เท้าเหยียบนั้นมาจากการการแพทย์แผนไทยหรือไม่ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 198 รู้เท่าทันอาหารคีโตเจ้น

เมื่อเร็วๆ นี้ มีหมอบางคนออกมาแนะนำให้กินน้ำมันหมู ขาหมูเพื่อเป็นการลดน้ำหนัก และรักษาสุขภาพ เอ๊ะ...อย่างไร  เพราะเราได้รับการปลูกฝังมาตลอดว่า มันหมู หรือน้ำมันจากสัตว์นั้นเป็นไขมันอิ่มตัว เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  แต่ทำไมคุณหมอจึงกลับบอกว่าดี อันที่จริงความเชื่อเหล่านี้มีทฤษฎีความเชื่อมาจากสูตรอาหารแบบคีโตเจ้น สูตรอาหารแบบแอตกิ้นส์  และเรื่องน้ำมันที่มีประโยชน์และที่เป็นโทษต่อร่างกาย  วันนี้เรามารู้เท่าทันอาหารแบบ คีโตเจ้นหรือคีโตเจนิกไดเอ็ท (Ketogenic diet) กันเถอะอาหารคีโตเจ้นหรือคีโตเจนิกไดเอ็ท คืออะไร คนไทยไม่คุ้นเคยกับชื่ออาหารคีโตเจ้น แต่ถ้าบอกว่า อาหารสำหรับนักเพาะกาย นักกีฬา อาจเข้าใจได้ง่าย  เพราะอาหารนักเพาะกายจะกินโปรตีนเป็นหลัก เพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้เป็นมัดๆ  รีดไขมันออก   ดารานักแสดงหนังบู๊ของฮอลลีวู้ดที่เน้นร่างกายที่บึกบึน จะต้องเพาะกายและกินอาหารแบบนี้ อาหารคีโตเจ้นเป็นสูตรอาหารที่คาร์โบไฮเดรตหรือแป้งต่ำ(เหมือนอาหารแอตกิ้นส์)  เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานจากโปรตีนและไขมันแทน  เป็นการลดหรือตัดแป้งออกซึ่งย่อยง่ายกว่า เช่น น้ำตาล น้ำอัดลม ข้าวขาว เป็นต้น เมื่อร่างกายกินแป้งน้อยกว่า 50 กรัมต่อวัน ร่างกายจะขาดพลังงาน (น้ำตาลในเลือด)  ปรากฏการณ์นี้จะกินเวลา 3-4 วัน แล้วร่างกายจะค่อยๆ  ย่อยสลายโปรตีนและไขมันเพื่อสร้างพลังงาน ทำให้น้ำหนักลดลง ภาวะนี้เรียก คีโตซิสมีการใช้อาหารคีโตเจ้นรักษาอะไรบ้าง การแพทย์ทางเลือกใช้เพื่อลดน้ำหนัก แต่มีการใช้รักษาโรคบางชนิด เช่น ลมบ้าหมู โรคหัวใจ โรคทางระบบประสาท สิว เบาหวาน เป็นต้น ซึ่งยังต้องทำการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมก่อนที่จะยอมรับเป็นการรักษาตามมาตรฐานผลเสียจากการกินอาหารคีโตเจ้น อย่างแรกคือ โคเลสเตอรอลสูง เนื่องจากแหล่งโปรตีนมาจากเนื้อสัตว์ นม อาหารมัน  ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ  แต่ผลการศึกษาผู้ที่กินอาหารแบบแอตกินส์มานาน 2 ปี กลับมีไขมันเลวลดลงไตต้องทำงานหนักมากขึ้น อาจเกิดนิ่วในไตอาจทำให้กระดูกพรุน เพราะการกินโปรตีนมาก จะทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากขึ้นท้องผูก น้ำตาลในเลือดต่ำเล็กน้อย อาหารไม่ย่อย อาหารคีโตเจ้นดีจริงหรือไม่ เมื่อทบทวนงานศึกษาวิจัยจากวารสารวิชาการที่เชื่อถือได้ พบว่า อาหารคีโตเจ้นเกิดประโยชน์ดังนี้1. การกินอาหารคีโตเจ้นช่วยควบคุมความหิว สามารถลดน้ำหนัก ระยะเวลาในการกินอาหารคีโตเจ้นอาจเป็นระยะสั้น (2-3 สัปดาห์) จนถึงระยะยาว (6-12 เดือน)  การกินอาหารคีโตเจ้นสามารถรักษาโรคอ้วนได้ ถ้าใช้ในการควบคุมของแพทย์2. การกินอาหารคีโตเจ้นช่วยลดน้ำหนักได้ดีกว่าอาหารไขมันต่ำ และการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็ง โรคหัวใจ โรคระบบประสาท พบว่ามีผลที่น่าสนใจ ซึ่งต้องการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม3. การกินอาหารคีโตเจ้นระยะยาว ช่วยลดน้ำหนักและดัชนีมวลกาย นอกจากนี้ ยังลดไตรกลีเซอไรด์  LDL น้ำตาลในเลือด และช่วยเพิ่ม HDL  การกินอาหารคีโตเจ้นระยะยาวยังไม่พบผลข้างเคียงกับผู้ป่วย  จึงสามารถกินเป็นเวลานานได้สรุป  การกินอาหารที่คาร์โบไฮเดรตต่ำ กินโปรตีนและไขมันสูงแบบอาหารคีโตเจ้นส์ หรือแบบแอตกินส์นั้นมีผลในการลดน้ำหนัก และทำให้ไขมันเลวลดลง  อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงก็มีตามมา เช่น ท้องผูก ไตทำงานหนัก กระดูกพรุน  ที่สำคัญ ต้องมีการศึกษาระยะยาวกว่านี้ ว่าอาหารที่โปรตีนสูงนั้นอาจก่อให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เพิ่มขึ้นหรือไม่

อ่านเพิ่มเติม >