ฉบับที่ 247 จี้ธนาคารคืนเงินให้ผู้บริโภคทันที

จี้ธนาคารคืนเงินให้ผู้บริโภคทันทีเพิ่มมาตรการยืนยันตัวตน พร้อมรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมให้ผู้บริโภค หลังผู้บริโภคหลายรายถูกหักเงินจากบัญชีโดยไม่ทราบสาเหตุ- - - - -        จากกรณีที่มีผู้บริโภคจำนวนมากถูกหักเงินหรือถูกเรียกเก็บเงินจากบัญชีธนาคาร เนื่องจากบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตถูกลักลอบใช้โดยไม่ทราบสาเหตุในช่วงที่ผ่านมา หลังจากนั้นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทยได้ออกมาชี้แจงและปฏิเสธ ว่ากรณีดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการรั่วไหลของข้อมูลจากธนาคาร ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบร้านค้าที่มีธุรกรรมที่ผิดปกติและจะเร่งคืนเงินให้กับลูกค้าที่ได้รับความเสียหายตามขั้นตอนของธนาคารนั้น        บริการบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ถือเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาโดยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2542 ที่ระบุว่า ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ออกบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตให้กับผู้บริโภคไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินจากบัญชีธนาคารของผู้บริโภค หรือกรณีที่ผู้บริโภคถูกหักเงินจากบัญชีธนาคาร จะต้องคืนเงินให้กับผู้บริโภคทันที รวมทั้งกรณีที่ผู้บริโภคทักท้วงว่าไม่ได้เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าหรือแจ้งว่าบริการที่ถูกหักเงินไปเกิดจากการลักลอบใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ทั้งในออนไลน์หรือออฟไลน์อีกด้วย         “ธนาคารไม่ควรอ้างเหตุผลการตรวจสอบเพื่อประวิงเวลาในการคืนเงินให้กับผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหักเงินจากบัญชี และต้องรับผิดชอบคืนเงินผู้บริโภคเต็มจำนวนทันที เนื่องจากเป็นหน้าที่ของธนาคารในการดูแลรักษาเงิน นอกจากธนาคารจะพิสูจน์ได้ว่าภาระหนี้ที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำของผู้บริโภคเองและใช้สิทธิเรียกคืนจากผู้บริโภคในภายหลังได้”โดยปกติการทำธุรกรรมทางการเงินจะต้องมีการยืนยันตัวตนก่อนทุกครั้ง แต่ปัจจุบันธุรกรรมที่เกิดจากการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จำนวนมากไม่มีการแจ้งยืนยันตัวตนก่อนการสั่งจ่าย จึงอาจเป็นช่องว่างให้เกิดกรณีดังกล่าวขึ้นได้ จึงต้องการให้ ธปท. และสมาคมธนาคารฯ เพิ่มมาตรการยืนยันตัวตนในการโอนเงินทุกครั้ง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ส่วนกรณีผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากการที่เงินหายไปจากบัญชีจนหมดนั้นอาจจะกระทบกับชีวิตประจำวันของผู้บริโภค จนสร้างความเสียหายให้กับผู้บริโภค ธนาคารผู้รับฝากเงินของผู้เสียหายควรต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการแสดงความรับผิดชอบของธนาคารผู้รับฝากเงินเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 บัตรเครดิต บัตรเดบิต ความเหมือนที่แตกต่าง

ในบรรดาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เราคุ้นเคยกัน เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ทุกวันนี้จะต้องมีบัตรเครดิต(Credit) หรือบัตรเดบิต(Debit) พกติดกระเป๋าสตางค์อยู่อย่างน้อยคนละหนึ่งใบ     ดูเผิน ๆ บัตรทั้ง 2 แบบนี้ก็หน้าตาคล้ายกัน ใช้รูดซื้อของหรือกดเงินสดได้เหมือนกัน แต่จริง ๆ แล้วบัตรเครดิต และบัตรเดบิต เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีพื้นฐานต่างกันอย่างสิ้นเชิง เจ้าหนี้ – ลูกหนี้    เวลาที่คุณใช้บัตรเครดิตรูดซื้อเสื้อผ้าหรือเติมน้ำมันนั้น หมายความว่าคุณได้ทำสัญญาขอกู้ยืมเงินจากธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตให้ช่วยสำรองจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการต่างๆ ให้ร้านค้าที่ใช้บริการไปก่อน แล้วเมื่อถึงกำหนดเวลาคุณจะเอาเงินไปจ่ายคืนในทางกฎหมายคุณจึงมีฐานะเป็น “ลูกหนี้” ดังนั้น แม้ว่าจะไม่มีเงินฝากกับธนาคารเจ้าของบัตร แต่คุณก็สามารถใช้บัตรเครดิตซื้อของได้ในวงเงินที่เจ้าหนี้ประเมินแล้วว่าคุณจะสามารถนำเงินมาจ่ายคืนได้     ส่วนการใช้บัตรเดบิตนั้นจะเป็นไปในทางตรงกันข้าม คือ คุณต้องมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารเจ้าของบัตร เมื่อใช้บัตรเดบิตชำระค่าสินค้านั่นก็คือ คุณกำลังสั่งให้ธนาคารโอนเงินจากบัญชีของคุณไปให้กับร้านค้าที่คุณใช้บริการ ซึ่งถ้าเงินในบัญชีมีน้อยกว่าราคาของที่จะซื้อ คุณก็ไม่สามารถใช้บัตรเดบิตทำรายการนั้นได้ การใช้บัตรเดบิตจึงไม่เป็นการก่อหนี้ เครดิต – ความน่าเชื่อถือ    การสมัครบัตรเดบิตนั้น เพียงคุณมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารคุณก็สามารถใช้บริการได้แล้ว ส่วนการสมัครบัตรเครดิตนั้นจะยุ่งยากกว่า เพราะคุณต้องแสดงหลักฐานว่า คุณมีรายได้เท่าไร หน้าที่การงานมั่นคงหรือไม่ เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าหนี้บัตรเครดิตว่า คุณจะสามารถนำเงินมาชำระคืนได้ดังนั้น ใครที่มีบัตรเครดิตใช้ ก็แสดงว่าคุณมีความน่าเชื่อถือเพียงพอที่เจ้าหนี้เขาจะให้กู้เงิน ซึ่งถ้าบริหารหนี้เป็น ก็จะได้รับประโยชน์เช่น โทรทัศน์ราคา 20,000 บาท ใช้บัตรเครดิตผ่อน 0% แบ่งจ่ายได้ 10 เดือน แต่สำหรับบัตรเดบิตคุณไม่สามารถใช้ผ่อนสินค้าแบ่งจ่ายเป็นงวด ๆ ได้ ต้องถูกหักบัญชีเต็มจำนวนทันที หรือถ้าคุณมีเงินในบัญชีไม่ถึง 20,000 บาท คุณก็ใช้บัตรเดบิตรูดซื้อโทรทัศน์เครื่องนี้ไม่ได้ ความเสี่ยงภัย เมื่อบัตรถูกโจรกรรม    บัตรเดบิตนั้น ผูกติดกับบัญชีเงินฝากของคุณ นั่นหมายความว่า ใครก็ตามที่เอาบัตรเดบิตของคุณไปรูดซื้อสินค้า เงินในบัญชีก็จะถูกตัดไปทันที ซึ่งถ้าอยากได้เงินคืน คุณก็ต้องขวนขวายไปติดต่อธนาคารหาหลักฐานต่าง ๆ มายืนยัน ซึ่งถ้าการเรียกร้องเงินคืนยุ่งยากเท่าไร คุณก็ยิ่งเสียเปรียบเท่านั้น จนบางครั้งอาจจะท้อใจ ไปกับระยะเวลาที่เนิ่นนานและค่าใช้จ่ายในการร้องเรียนที่สูงเกินกว่ามูลค่าเงินที่หายไป     ในขณะที่การใช้บัตรเครดิตนั้น เป็นธุรกรรมที่ธนาคารได้ออกเงินทดรองจ่ายไปก่อนตามที่มีรายการแจ้งมา ดังนั้น เมื่อบัตรถูกขโมยไปใช้ คุณก็มีหน้าที่แค่แจ้งธนาคารว่า ไม่ได้เป็นคนใช้บัตรเครดิตทำรายการนั้น ถ้าธนาคารไม่เชื่อก็ต้องหาทางพิสูจน์เองว่าใครเป็นคนใช้บัตรเครดิต หรือหาทางฟ้องร้องเพื่อเรียกเก็บเงิน ซึ่งเป็นภาระของธนาคาร แม้จะทำให้คุณต้องวุ่นวายอยู่บ้าง แต่ก็ยังดี เพราะว่าคุณยังไม่ต้องเสียเงินจากกระเป๋า     ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม    บัตรเดบิตนั้นเป็นการใช้เงินจากบัญชีของคุณเอง ดังนั้น จึงไม่มีการคิดดอกเบี้ยจากการรูดซื้อสินค้า ส่วนบัตรเครดิตนั้นเป็นการกู้ยืมเงินทดรองจ่าย จึงต้องเสียดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินตามจำนวนที่คุณใช้ แต่บัตรเดบิตส่วนใหญ่ ก็จะคิดค่าธรรมเนียมอื่นๆ จากผู้ถือบัตร เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าธรรมเนียมรายปี ค่าธรรมเนียมเบิกถอนเงินข้ามเขตหรือเบิกถอนเกินจำนวนครั้งที่กำหนด จะหยิบบัตรไหนมาใช้ในครั้งต่อไป ก็เลือกให้ดี คิดให้รอบคอบนะครับ  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 160 โดนขโมยบัตรเดบิตไปรูด ธนาคารพิสูจน์ไม่ได้ ต้องคืนเงิน !!!

เมื่อเดือนมกราคม 2554 เจฟฟรี จี เอเลน หนุ่มใหญ่ชาวออสเตรเลีย พร้อมภรรยา ได้เข้ามาร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ว่า ถูกขโมยรหัสบัตรเดบิตไปใช้ซื้อสินค้าที่สหรัฐอเมริกา ทั้งที่ตนไม่ได้เป็นผู้ใช้ เมื่อติดต่อไปที่ธนาคาร ธนาคารก็ไม่รับผิดชอบ อยากขอให้มูลนิธิฯ ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ สอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ความว่า เจฟฟรี ได้ย้ายมาอาศัยอยู่กินกับอาจารย์ทิพย์รัตน์ ภรรยาชาวไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยได้เปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารกรุงไทย สาขาแม่สะเรียง ตั้งแต่วันที่ 13  ตุลาคม 2548 เพื่อฝากเงินที่ได้รับจากสวัสดิการผู้สูงอายุประเทศออสเตรีย และสมัครเป็นผู้ถือบัตรเดบิตและทำสัญญาเป็นผู้ใช้บัตรเดบิต เพื่อนำไปใช้ชำระค่าซื้อสินค้าและบริการต่างๆ แทนเงินสด และในการเบิกถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ หรือ เอทีเอ็มต่อมาประมาณวันที่ 27 กันยายน 2554 เจฟฟรีพบความผิดปกติของจำนวนเงินในบัญชีที่ลดลงจำนวนมาก จึงติดต่อไปธนาคารกรุงไทยสาขาแม่สะเรียง เพื่อขอให้ตรวจสอบความผิดปกตินี้ เจ้าหน้าที่ธนาคารตรวจสอบแล้วแจ้งว่า มีรายการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2554  ถึงวันที่ 5 กันยายน 2554 รวมเป็นเงิน 120,599.35 บาท ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว เจฟฟรี และภรรยา ยืนยันว่าทั้งคู่อยู่ในประเทศไทย ไมได้เดินทางออกนอกประเทศไปที่ไหน และไม่เคยให้บัตรหรือรหัสกับผู้ใดไปใช้แน่นอน เจฟฟรีพยายามทักท้วงและให้เหตุผลกับธนาคารเพื่อให้คืนเงินกลับเข้าบัญชี แต่ธนาคารแจ้งว่าไม่พบความผิดปกติ คือธนาคารไม่เชื่อว่าเจฟฟรีไม่ได้ใช้นั่นเอง ธนาคารจึงไม่คืนเงินให้  แนวทางแก้ไขปัญหาทางศูนย์ฯ ได้แนะนำให้ เจฟฟรี เตรียมพยานหลักฐานที่สำคัญเพื่อแก้ข้อกล่าวหาของธนาคารคือ หนังสือเดินทาง ที่ยืนยันว่าในช่วงเวลาดังกล่าว เจฟฟรีอยู่ในประเทศไทย  และให้ทำหนังสือถึงธนาคารเพื่อยืนยันว่าตนไม่ได้เป็นผู้ใช้และไม่ได้มอบบัตรให้บุคคลใดไปใช้ และขอให้ธนาคารแก้ไขคืนเงินในบัญชีโดยทันที เพื่อเป็นหลักฐานการร้องเรียนเสียก่อนต่อมาธนาคารปฏิเสธการคืนเงินให้กับเจฟฟรี โดยให้เหตุผลน่าเชื่อว่า เจฟฟรีเป็นผู้ใช้บัตรเอง จึงไม่คืนเงินเมื่อตกลงกันไม่ได้ เจฟฟรี จึงจำเป็นต้องฟ้องธนาคารกรุงไทย เป็นคดีผู้บริโภค ต่อศาลแขวงพระนครใต้ เรียกค่าเสียหาย 125,357.11 บาทในชั้นพิจารณาคดี เจฟฟรีและภรรยา เป็นพยานเบิกความว่า ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2554 ถึง วันที่ 5 กันยายน 2554 เจฟฟรีอยู่กับภรรยา ที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนและที่จังหวัดเชียงใหม่ เจฟฟรีไม่เคยมอบบัตรเดบิตให้ผู้อื่นนำไปใช้และมิได้เป็นผู้ใช้หรือยินยอมให้ใครนำไปใช้แต่อย่างใดส่วนจำเลยมีนายอรรนพ ชื่นบุญ พนักงานจำเลยเบิกความพบว่า ในช่วงวันที่ 8 สิงหาคม 2554 ถึง วันที่ 5 กันยายน 2554 บัตรเดบิตของโจทก์ถูกนำไปใช้ซื้อสินค้าและบริการต่างๆ แบบซื้อสินค้าทั่วไปตามปกติ เช่น อาหาร หรือ ร้านสะดวกซื้อ ไม่ใช่ลักษณะของพวกมิจฉาชีพ และยืนยันว่ารายการดังกล่าวเป็นการใช้บัตรของโจทก์เองหรือตัวแทน โจทก์จึงต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะถือว่าความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ เนื่องจากโจทก์มีหน้าที่เก็บรักษาบัตรและรหัสไว้เอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้คืนโจทก์ตามที่ฟ้องแต่พยานจำเลยเองก็ได้เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า ในการนำบัตรเดบิตไปซื้อสินค้าและบริการต่างๆ จะต้องมีเซลส์สลิปและลายมือชื่อของลูกค้าทุกครั้ง ซึ่งพยานจำเลยอ้างว่า ได้ทำเรื่องไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อขอหลักฐานแล้วแต่ไม่ได้อ้างศาลและจากประสบการณ์การทำงานของพยานจำเลยที่ทำงานมานาน สันนิษฐานได้ว่าบัตรเดบิตของโจทก์ถูกขโมยไปใช้ที่สหรัฐอเมริกาศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้นำบัตรเดบิตไปใช้ด้วยตนเองหรือยินยอมให้บุคคลอื่นนำไปใช้ แต่กลับไปนำความจากทางนำสืบของจำเลยว่าบัตรเดบิตของโจทก์น่าจะถูกขโมยไปใช้ โดยไม่ปรากฎว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงเชื่อว่าบัตรเดบิตของโจทก์ถูกขโมยไปใช้ที่สหรัฐอเมริกา กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์เป็นผู้ใช้บัตรเองหรือยินยอมให้บุคคลอื่นนำไปใช้ตามที่จำเลยกล่าวอ้าง จำเลยจึงไม่มีสิทธินำรายการการซื้อสินค้าและใช้บริการดังกล่าวมาหักเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ จึงพิพากษาให้ จำเลยต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์“ส่วนตัวตอนแรกไม่คิดว่าจะต้องฟ้องเป็นคดีความต่อศาล เพราะคิดว่าธนาคารจะคืนเงินให้กับตน เพราะตนไม่ได้เป็นผู้ใช้ แต่เมื่อธนาคารไม่สนใจจะแก้ไขปัญหานี้ก็ต้องฟ้องคดี ซึ่งผลคดีที่ออกมา ตนรู้สึกพอใจกับคำพิพากษา ที่ท่านให้ความเป็นธรรมกับผู้บริโภค ตนเชื่อว่านอกจากตนแล้ว น่าจะมีผู้บริโภครายอื่นที่เจอปัญหาแบบนี้ ก็อยากฝากให้คนที่เจอปัญหาแบบตนลุกขึ้นมาใช้สิทธิร้องเรียนให้ถึงที่สุด ตนเชื่อว่าทุกคนจะรับความเป็นธรรมอย่างแน่นอน” คุณเจฟฟรีกล่าวทิ้งท้ายไว้ //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 เปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและเดบิตเป็น “บัตรชิปการ์ด” แต่ละธนาคารมีเงื่อนไขอะไรบ้าง?

ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะมีการเปลี่ยนแปลงบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต จากบัตรแบบเดิมที่เป็นแบบแถบแม่เหล็ก มาเป็นบัตรแบบ “ชิปการ์ด” (chip card) โดยการใช้งานยังคงสามารถใช้ได้ตามปกติเช่นเดียวกับบัตรแบบเดิม ทั้งการกดเงินหรือทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านตู้เอทีเอ็ม รวมทั้งการใช้บัตรเดบิตใช้จ่ายแทนเงินสดผ่านเครื่องรับบัตรโดยผู้ที่ขอทำบัตรใหม่กับทางธนาคารตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม เป็นต้นมา ก็จะได้รับบัตรแบบชิปการ์ดทันที ส่วนผู้ที่มีบัตรเดิมแบบแถบแม่เหล็กต้องไปดำเนินการขอเปลี่ยนบัตรเป็นแบบชิปการ์ดได้ที่ธนาคารผู้ให้บริการบัตรนั้นๆ ทั้งนี้บัตรชนิดแถบแม่เหล็กยังสามารถใช้งานได้ปกติ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 การขอเปลี่ยนบัตรจากแบบแถบแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดนั้น ธนาคารแต่ละแห่งก็มีเงื่อนไขในการเปลี่ยนแตกต่างกัน บางแห่งก็บริการเปลี่ยนฟรีไม่มีค่าบริการ บางแห่งเปลี่ยนฟรีแต่มีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลา บางแห่งก็มีการคิดค่าธรรมเนียมปกติไม่ต่างจากการขอทำบัตรใหม่ “ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้จึงได้สำรวจเงื่อนไขในการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถมแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดของแต่ละธนาคารว่ามีความแตกต่างอย่างไรบ้าง            ทำไมต้องเปลี่ยนเป็น “ชิปการ์ด”นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พูดถึงเหตุผลในการให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในประเทศดำเนินการเปลี่ยนแปลงบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถบแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ด ไว้ 2 เหตุผลสำคัญ คือ ข้อที่ 1.เรื่องของความปลอดภัย เนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้มีข่าวเกี่ยวปัญหาการโจรกรรมปลอมแปลงข้อมูลบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต หรือการ skimming ปรากฏเป็นข่าวบ่อยครั้ง ซึ่งสร้างความเสียหายและมีผลต่อความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยกับผู้ใช้บัตร ซึ่งนางทองอุไรให้ความมั่นใจว่า บัตรแบบชิปการ์ดจะเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้บัตรมากขึ้นกว่าบัตรแบบแถบแม่เหล็ก โดยถือเป็นมาตฐานที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกใช้กัน ทั้งในยุโรป และในประเทศแถบภูมิภาคเอเซียอย่าง มาเลเซีย และ สิงคโปร์ ข้อที่ 2.เป็นการดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ที่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้ประกาศไว้ตั้งแต่เมื่อปลายปี 2558 ซึ่งนโยบายนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศไทยให้เข้าสู่ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร โดยการปรับเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตจากชนิดแถบแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดอยู่ในแผนการดำเนินการโครงการที่ 2 จากทั้งหมด 4 โครงการ เรื่อง “การขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์” ที่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงการใช้บัตรและใช้จ่ายทำธุกรรมการเงินต่างๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยภาครัฐจะรับหน้าที่กระจายอุปกรณ์ชำระเงินเพื่อรองรับการใช้จ่ายผ่านบัตร โดยจะเริ่มที่หน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งนี้การเปลี่ยนเป็นบัตรแบบชิปการ์ดก็เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยในการใช้บัตรเดบิตรูดชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ แผนยุทธศาสตร์ National e-Payment เป็นนโยบายที่ภาครัฐใช้เพื่อส่งเสริมการให้ประชาชนในประเทศหันมาทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ โดยแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ประกอบด้วย 4 โครงการหลัก คือโครงการที่ 1 การรับชำระเงินแบบ Any ID ซึ่งเป็นนโยบายที่จะให้ประชาชนนำเลขที่บัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มาใช้เป็นรหัสสำหรับทำธุรกรรมทางการเงิน แทนการใช้เลขที่บัญชี ซึ่งจะช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ง่ายมากขึ้น สอดรับไปกับระบบการโอนเงินแบบใหม่ที่มีชื่อว่า “พร้อมเพย์-PromptPay” ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างๆ จะเริ่มเปิดให้ลงทะเบียน พร้อมเพย์-PromptPay ด้วย Any ID ตั้งแต่วันที่ 15. ก.ค.59 เป็นต้นไปโครงการที่ 2 การขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ก็คือการสนับสนุนให้มีการเข้าถึงและใช้จ่ายผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เริ่มด้วยการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตเป็นบัตรแบบ “ชิปการ์ด” เพื่อเพิ่มความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บัตรโครงการที่ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการพัฒนาการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เพื่อช่วยให้ภาคเอกชนสะดวกสบายในการนำส่งภาษีผ่านระบบออนไลน์ คาดว่าจะพร้อมใช้ในปี 2560โครงการที่ 4 e-Payment ภาครัฐ เป็นแผนที่หน่วยงานภาครัฐจะเลือกใช้วิธีจ่ายค่าสวัสดิการเงินช่วยเหลือต่างๆ ที่จ่ายให้กับภาคประชาชนโดยตรงผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม 2559 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนบัตรชิปการ์ด-บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถบแม่เหล็กแบบเดิม ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ จนถึง 31 ธันวาคม 2562-จากการสำรวจค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถมแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ด จะเห็นว่าธนาคารพาณิชย์เจ้าใหญ่ๆ ที่มีสาขาบริการเยอะๆ ต่างก็ถือโอกาสช่วงปรับเปลี่ยนบัตร ยกเลิกการให้บริการบัตรเอทีเอ็ม(ธรรมดา) ไปในเวลาเดียวกัน เท่ากับว่าตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นปีที่บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตทุกใบจะต้องเป็นบัตรแบบชิปการ์ดทั้งหมด บัตรเอทีเอ็มก็จะไม่สามารถใช้งานได้อีก บัตรพื้นฐานที่สุดก็จะเป็นบัตรเดบิตแบบชิปการ์ดฉลาดซื้อ ฉบับที่ 169 เคยได้สำรวจราคาค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีเปรียบเทียบระหว่างบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบพื้นฐานเมื่อเดือน มกราคม 2558 พบว่าราคาค่าธรรมเนียมของบัตรทั้ง 2 ชนิด ธนาคารส่วนใหญ่คิดค่าธรรมเนียมในอัตราเดียวกัน คือแรกเข้า 100 บาท รายปี 200 บาท ซึ่งก็ยังเป็นราคาเดียวกับบัตรเดบิตชิปการ์ดแบบพื้นฐานที่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีที่ 100 บาท และ 200 บาท ตามลำดับ-บัตรแบบชิปการ์ด จะเพิ่มรหัสบัตรในการใช้งานกับตู้เอทีเอ็มเป็น 6 ตัว จากเดิมที่มีแค่ 4 ตัว ทั้งนี้อาจจะยังมีบางธนาคารที่ยังใช้ 4 ตัวตามเดิม-ควรนำบัตรเก่าไปยืนยันการขอบัตรใหม่ด้วย เพื่อแสดงให้ธนาคารรู้ว่ามา ขอเปลี่ยนบัตร ไม่ใช่ทำบัตรใหม่-จากการสำรวจพบว่าแม้ธนาคารหลายแห่งจะโฆษณาว่าสามารถเปลี่ยนบัตรแถบแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ดได้ฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม แต่ส่วนใหญ่ก็มีเงื่อนไขของเวลามากำหนด โดยจะให้เวลาถึงแค่ 31 ธ.ค. 59 นี้เท่านั้น ที่แตกต่างก็คือ ธนาคารกรุงไทย ที่ให้เปลี่ยนได้จนถึง 31 ธ.ค. 62 หรือกำหนดวันสุดท้ายที่ยังสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบเดิม-ธนาคารกสิกรไทย แจ้งว่าไม่คิดค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยน แต่เมื่อไปขอเปลี่ยนบัตร ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายปี ซึ่งผู้ใช้บัตรสามารถขอคืนค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรเก่าตามระยะเวลาที่ไม่ได้ใช้ได้แต่ยังไม่ทันไรก็มีปัญหาเกิดขึ้นกับการเปลี่ยนบัตรชิปการ์ดของธนาคารกสิกรไทย เมื่อธนาคารมีการตัดค่าธรรมเนียมของผู้เปลี่ยนบัตรโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบ ในช่วงเวลา 02.00-05.00 น.ของวันที่ 12 มิถุนายน 59 ซึ่งมีผู้ร้องเรียนผ่านทางโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก สุดท้ายธนาคารกสิกรไทยก็ออกมายอมรับว่าเป็นความผิดพลาดของธนาคารเอง โดยทางธนาคารก็ออกมาชี้แจงว่าได้ทำการโอนเงินที่ถูกตัดไปคืนให้กับผู้ใช้บริการที่ได้รับความเสียหายทั้งหมดที่มา: facebook.com/KBankLive-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กรณีขอเปลี่ยนบัตรต่างสาขากับที่ออกบัตรเดิม จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น 30 บาท-บัตรแบบชิปการ์ดสามารถใช้งานได้กับตู้เอทีเอ็มได้ตามปกติ แต่ในระยะแรกอาจมีตู้เอทีเอ็มบางตู้ในบางพื้นที่ของบางธนาคารที่ยังไม่พร้อมใช้งาน โดยเครื่องเอทีเอ็มที่ยังไม่พร้อมรองรับการใช้งานจะมีการแสดงข้อความให้ทราบที่หน้าตู้   คนไทยใช้บัตรเอทีเอ็มน้อยลง?ข้อมูลจากรายงานระบบการชำระเงิน 2557 ของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุเอาไว้ว่าการทำธุรกรรมทางการเงินของคนไทยผ่านตู้เอทีเอ็มพบว่า คนไทยชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มในสัดส่วนที่ลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2548 คนไทยชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มอยู่ 418.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 6.3% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินต่างๆ ของคนไทย แต่ในปี 2557 มูลค่าการชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มลดลงมาอยู่ที่ 373.8 พันล้านบาท หรือแค่ 1.5% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินทั้งหมดโดยวิธีการทำธุรกรรมการชำระเงินที่คนไทยเลือกใช้มากที่สุดก็คือ การใช้จ่ายด้วยเงินสด โดยในปี 2557 คนไทยถอนเงินสดผ่านตู้เอทีเอ็มทั้งหมด 7,508. พันล้านบาท หรือ 30.5% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินทั้งหมด รองลงมาคือ โอนเงินและตัดเงินล่วงหน้าอัตโนมัติ 6,312.4 พันล้านบาท หรือ 25.7% และการชำระเงินและโอนเงินด้วยบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ 4,952.8 พันล้านบาท หรือ 20.2% โดยสถิติปัญหาแต่ละเรื่องจะประกอบไปด้วย การขอคำปรึกษา การร้องเรียน และการแจ้งเบาะแส/ให้คำแนะนำ ที่มา: รายงานผลการดำเนินงานของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ในการให้ข้อมูล/คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน ปี 2558, ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 175 บัตรเดบิตพ่วงประกัน รู้ให้ทันก่อนใช้

เดี๋ยวนี้บัตรเดบิตไม่ได้มีไว้แค่กดเงินสดจากบัญชีของเราผ่านทางตู้ ATM เพียงอย่างเดียว แต่บัตรเดบิตใบเดียวยังทำได้อีกหลายอย่าง แต่ที่หลายๆ คนให้ความสนใจแถมยังเคยเป็นประเด็นร้อนแรงจนเป็นข่าวมาก่อนหน้านี้ก็คือ “บัตรเดบิตที่มาพร้อมสิทธิด้านประกันอุบัติเหตุ”  ที่เคยผู้บริโภคออกมาโวยว่าถูกธนาคารเอาเปรียบบังคับให้ทำบัตรเดบิตพ่วงประกัน ซึ่งค่าธรรมเนียมแพงกว่าบัตรเดบิตทั่วไป ฉลาดซื้อฉบับนี้จะพาผู้อ่านไปดูกันสิว่า “บัตรเดบิตที่มาพร้อมสิทธิด้านประกันอุบัติเหตุ” (เราเลือกเฉพาะคุ้มครองด้านอุบัติเหตุ) มีข้อดี-ข้อเสียยังไง เป็นทางเลือกที่น่าสนใจแค่ไหน สำหรับคนที่อยากมีประกันอุบัติเหตุไว้ให้อุ่นใจเวลาเจอเหตุที่ไม่คาดฝัน แต่เดี๋ยวก่อน ข้อมูลเรื่องการใช้สิทธิเรามีมาฝากแน่ๆ แต่สิ่งที่เราอยากบอกคือ ลักษณะการให้บริการที่ไม่ตรงไปตรงมาของธนาคาร ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรปรับปรุงเพื่อมิให้ก่อปัญหาในอนาคต    โดยฉลาดซื้อได้ทดลองให้อาสาสมัครไปเปิดบัญชีธนาคารพร้อมกับสมัครบัตรเดบิตประเภทที่มีสิทธิประกันอุบัติเหตุกับธนาคาร 5 แห่งได้แก่ กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ และออมสิน  พบว่าทุกธนาคารที่ทดสอบไม่มีกรมธรรม์มอบให้ทั้งในขณะที่ขอเปิดบริการ มีเพียง 3 ธนาคารที่ให้แผ่นพับข้อมูลรายละเอียดการใช้สิทธิ อย่างไรก็ตาม เพื่อดูว่าจะมีการส่งกรมธรรม์มาให้ในภายหลังหรือไม่ ฉลาดซื้อได้ทิ้งระยะเวลาไว้  1 เดือน ซึ่งก็ไม่พบว่า มีการส่งกรมธรรม์มาให้กับอาสาสมัครตามที่อยู่ในการเปิดใช้บริการ และเมื่ออาสาสมัครเดินทางกลับไปยังสาขาที่เปิดใช้บริการบัตรเดบิตพร้อมประกันภัยเพื่อขอกรมธรรม์ด้วยวาจา ก็ได้รับการปฏิเสธว่า ไม่มีกรมธรรม์ให้ ทั้งๆ ที่กรมธรรม์นั้น เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะก่อนที่เราจะใช้สิทธิเราควรรู้สิทธิประโยชน์ของเราก่อนว่ามีอะไรบ้าง รายละเอียด ข้อยกเว้น ฯลฯ ซึ่งควรเป็นรายละเอียดที่เราต้องได้พิจารณาจากกรมธรรม์ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ว่าจะยังคงทำสัญญากับบริษัทประกันภัยต่อไป หรือขอยกเลิกสัญญา เช่นเดียวกับการทำประกันภัยแบบอื่นๆ บัตรเดบิตท่านเลือกได้ว่าต้องการแบบใด เมื่อประมาณปีที่แล้วมีข่าวการร้องเรียนจากผู้ใช้บัตรเดบิตผ่านตามสื่อต่างๆ ว่าไปสมัครของใช้บัตร ATM หรือบัตรเดบิตแบบธรรมดาแล้วถูกทางธนาคารอ้างว่าไม่มีบัตรรุ่นพื้นฐานให้บริการ หรือต้องรอหลายวันถึงจะอนุมัติบัตรได้ พร้อมเสนอให้ทำบัตรที่ราคาสูงกว่า หรือบัตรที่มีสิทธิประกันอุบัติเหตุ โดยอ้างเหตุผลต่างๆ นานา จนลูกค้าบางคนใจอ่อน แต่พอเมื่อรู้ว่าบัตรพ่วงประกันมีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่า ทำให้ลูกค้าหลายคนปฏิเสธที่จะใช้บริการ แต่บางคนก็ต้องตกลงทำบัตรแบบจำยอมเพราะจำเป็นต้องใช้บัตรเดบิตในการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งเมื่อเรื่องดังกล่าวกลายเป็นกระแสหนักเข้า ทางผู้บริหารธนาคารก็ต้องออกมาชี้แจงว่าทางธนาคารไม่ได้มีนโยบายในการบังคับให้ผู้บริโภคต้องสมัครบัตรเดบิตที่มีการพ่วงสิทธิประกันอุบัติเหตุ และบัตรขั้นพื้นฐานก็ยังมีให้บริการตามปกติซึ่งจากที่ฉลาดซื้อได้ลองไปสำรวจล่าสุดเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่าน เรายังพบการให้ผู้บริโภคสมัครบัตรที่มีการพ่วงสิทธิประกันโดยไม่มีการสอบถามหรือชี้แจงก่อนจากพนักงานธนาคาร ซึ่งหากผู้บริโภคที่ไม่รู้เท่าทันหรือไม่มีข้อมูลเรื่องบัตรก่อนก็อาจหลงสมัครใช้บัตรเดบิตพ่วงประกันโดยไม่รู้ตัว ทำให้ต้องเสียเงินเป็นค่าธรรมเนียมบัตรที่สูงกว่าบัตรขั้นพื้นฐาน โดยบัตรเดบิตขั้นพื้นฐานจะมีค่าธรรมเนียมรายปีอยู่ที่ 200 บาทต่อปี ขณะที่บัตรเดบิตที่พ่วงสิทธิประกันอุบัติเหตุจะมีค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 500 – 4,000 บาทต่อปี ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่ควบคุมดูแลการให้บริการธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในประเทศไทย ได้กำหนดข้อบังคับไว้ในประกาศ เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันชีวิต ว่าห้ามธนาคารพาณิชย์บังคับให้ลูกค้าทำประกันทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นประกันวินาศภัย ประกันอุบัติเหตุ ประกันชีวิต รวมทั้งห้ามใช้วิธีบังคับขายประกันคู่กับผลิตภัณฑ์ของธนาคาร หรือตั้งเป็นเงื่อนไขว่าต้องทำประกันก่อนจึงอนุมัติการทำธุรกรรมอื่นๆ ของธนาคาร เช่น ให้ผู้บริโภคต้องซื้อประกันผ่านทางธนาคารก่อนเพื่อเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาการขอสินเชื่อแต่ธนาคารสามารถให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ประกันได้ แต่ต้องให้ข้อมูลที่ครบถ้วนชัดเจน และต้องไม่บังคับผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ส่วนข้อกำหนดเรื่องการให้แยกเคาน์เตอร์ขายผลิตภัณฑ์ด้านประกันออกจากเคาน์เตอร์ที่ให้บริการรับฝากถอนเงิน โดยมีป้ายบ่งบอกหรือสัญลักษณ์ที่ให้ผู้บริโภคเห็นได้อย่างชัดเจนนั้น ในทางปฏิบัติดูแล้วยังเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะดูเป็นเพิ่มภาระให้กับธนาคาร ที่สำคัญในข้อบังคับเองก็ยังเปิดช่องว่างว่าหากเป็นการทำธุรกรรมที่ต่อเนื่องกัน อย่างการทำบัตรเดบิตที่มีสิทธิประกันอุบัติเหตุ ธนาคารก็สามารถให้บริการต่อเนื่องกันได้เลย ถือว่าเป็นไปในลักษณะการบริการแบบ One Stop Serviceฉลาดซื้อแนะนำ-สำรวจตัวเองว่ามีความจำเป็นต้องใช้บัตรเดบิตที่มีสิทธิประกันอุบัติเหตุหรือไม่ สำหรับคนที่มีประกันจากแหล่งอื่นอยู่แล้ว เช่น มีประกันชีวิตอยู่แล้ว หรือมีประกันอุบัติเหตุที่ที่ทำงานทำไว้ให้ หรือใครที่พอใจกับสิทธิการรักษาพยาบาลของประกันสังคม หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก็ไม่มีความจำเป็นต้องสมัครบัตรเดบิตพ่วงประกันเพิ่มอีก ใช้บัตรเดบิตแบบธรรมดาก็พอไม่ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย-แต่ถ้าใครสนใจอยากจะสมัครใช้บัตรเดบิตที่ให้สิทธิเรื่องประกันอุบัติเหตุ ก็ต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบครบถ้วน ดูเรื่องค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย วงเงินในการคุ้มครอง โรงพยาบาลที่อยู่ในสิทธิ์ เงื่อนไขในการคุ้มครอง และเหตุที่จะทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครอง ขั้นตอนการใช้สิทธิ์ โดยเราสามารถศึกษาข้อมูลเหล่านี้ได้กับธนาคารโดยตรง หรือทางหน้าเว็บไซต์ของธนาคาร (บางธนาคารมีเอกสารกรมธรรม์ให้ดาวน์โหลด เพื่อใช้ศึกษาข้อมูลและเป็นหลักฐานอ้างอิงในการขอรับสิทธิ)  หรือจะสอบถามที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทรสายด่วน 1213 www.1213.or.th ซึ่งที่นี่เราสามารถร้องเรียนปัญหาจากการใช้บริการสถาบันการเงินต่างๆ ได้ด้วย-ส่วนใครที่เจอปัญหาธนาคารบังคับให้ทำบัตรเดบิตที่พ่วงประกัน โดยอ้างเหตุผลต่างๆ ว่าไม่สามารถออกบัตรเดบิตแบบธรรมดาหรือบัตร ATM ได้ ให้รู้ไว้เลยว่าธนาคารกำลังหลอกลวงเราอยู่ ปัจจุบันธนาคารเกือบทุกธนาคารยังมีบัตรเดบิตแบบธรรมดาให้บริการอยู่ ให้แจ้งยืนยันกับทางธนาคารว่าเราต้องการบัตรแบบธรรมดาเท่านั้น หากธนาคารยังแจ้งว่าไม่มีให้บริการ ให้ปฏิเสธการใช้บริการแล้วเปลี่ยนไปใช้บริการกับสาขาอื่น หรือธนาคารเจ้าอื่นแทน รู้ก่อนทำบัตรเดบิตพร้อมสิทธิประกันอุบัติเหตุจุดเด่นของบัตรเดบิตที่ให้สิทธิเรื่องประกันอุบัติเหตุก็คือ แค่เราเปิดบัญชีทำบัตรเดบิตเหมือนปกติทั่วไป แต่ได้รับการคุ้มครองเวลาที่เราได้รับอุบัติเหตุ ได้รับการดูแลเรื่องค่ารักษาพยาบาล พิการหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุญาติพี่น้องของเราได้รับเงินชดเชยตามวงเงินที่บัตรกำหนดไว้ เพียงแต่ค่าธรรมเนียมรายปีที่เราต้องจ่ายให้กับบัตรเดบิตพ่วงประกันอุบัติเหตุก็จะสูงกว่าบัตรธรรมดาทั่วไป ตั้งแต่ปีละ 500 บาทจนไปถึงหลักหลายพันบาทคุ้มครองอะไรบ้าง?บัตรเดบิตที่เพิ่มสิทธิประโยชน์เรื่องการประกันอุบัติเหตุมาด้วย จะมีการระบุวงเงินชดเชยกรณีที่ผู้ถือบัตรเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ย้ำว่าเฉพาะจากอุบัติเหตุเท่านั้น ถ้าหากสาเหตุมาจากโรคภัยไข้เจ็บ ปวดหัว ตัวร้อน บอกเลยว่าหมดสิทธิ ซึ่งวงเงินที่บัตรเดบิตของแต่ละธนาคารจะจ่ายให้อยู่ที่ตั้งแต่ 100,000 – 500,000 บาท ซึ่งวงเงินชดเชยนี้ครอบคลุมทั้ง การเสียชีวิต การได้รับอุบัติเหตุถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร และการสูญเสียการมองเห็น นอกจากนี้ยังมีการจ่ายชดเชยให้กรณีเข้ารักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลจากอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากอุบัติเหตุ ตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท ต่อการเข้ารักษาพยาบาล 1 ครั้ง ไม่จำกัดจำนวนตลอดอายุการถือครองบัตร ซึ่งหากค่ารักษาพยาบาลสูงกว่าวงเงินที่บัตรระบุไว้ ผู้ใช้สิทธิจะต้องจ่ายเองในส่วนเกิน บางธนาคารมีเงินชดเชยการขาดรายได้ขณะเข้ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลให้ด้วย ถ้าจะใช้สิทธิต้องทำยังไง?สำหรับวิธีการใช้สิทธิเมื่อต้องการเข้ารักษาตัวจากอาการบาดเจ็บทำได้โดย แสดงบัตรเดบิตที่ให้สิทธิเรื่องประกันอุบัติเหตุ พร้อมกับบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายและออกโดยหน่วยงานราชการ ถ้าหากมีการเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนนามสกุล ต้องแสดงหลักฐานการเปลี่ยนการทางสถานพยาบาลด้วย ซึ่งสามารถใช้สิทธิได้ทันทีกับสถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาผูกอยู่กับบัตรเดบิตที่เราถืออยู่ โดยจะรับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลตามวงเงินที่กำหนดไว้ ไม่ต้องสำรองจ่าย แต่ถ้าเกินวงเงินเราต้องจ่ายเองแต่หากเป็นในกรณีที่เราเข้ารักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับทางธนาคาร ผู้ถือบัตรก็ยังมีสิทธิในการเรียกร้องค่าชดเชย แต่ต้องสำรองจ่ายเองไปก่อน แล้วค่อยทำเอกสารขอรับสิทธิไปยังบริษัทประกันที่ดูแล โดยเอกสารที่ต้องใช้ มีตั้งแต่ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาบัตรเดบิตตามสิทธิ แบบคำร้องขอชดเชยค่ารักษาพยาบาล ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่เราเข้ารับบริการ **การขอรับค่าชดเชยจากการรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับธนาคาร ธนาคารมักจะให้สิทธิเฉพาะกับโรงพยาบาลเท่านั้น ส่วนคลินิกกับสถาเวชกรรมจะถูกยกเว้นเรียกร้องขอรับค่าชดเชยไม่ได้ส่วนการเรียกร้องค่าชดเชยเมื่อเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และชดเชยการขาดรายได้ระหว่างที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล มีเงื่อนไขว่าต้องจัดส่งเอกสารสำคัญให้กับบริษัทประกัน ไม่ว่าจะเป็นแบบฟอร์มคำร้องขอค่าชดเชย ใบรับรองแพทย์ สำเนาใบมรณะบัตร สำเนาบัตรประชาชน สำเนาบัตรเดบิตตามสิทธิ ฯลฯ โดยต้องจัดส่งเอกสารทั้งหมดภายใต 30 วัน นับจากวันที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตหรือจากวันที่แพทย์ลงความเห็นว่าทุพพลภาพยกเลิกได้มั้ย?บัตรเดบิตที่มาพร้อมสิทธิเรื่องประกันอุบัติเหตุจะมีการต่ออายุบัตรเป็นรายปี โดยการหักเงินค่าธรรมเนียมอันโนมัติจากยอดเงินคงเหลือที่อยู่ในบัญชี เช่นเดียวกับบัตรเดบิตทั่วไป เพราะฉะนั้นหากต้องการยกเลิกใช้บัตรให้แจ้งยกเลิก หรือทำให้เงินคงเหลือในบัญชีน้อยกว่าค่าธรรมเนียมรายปีของบัตร เมื่อครบกำหนดธนาคารไม่สามารถหักค่าธรรมเนียมรายปีจากบัตรของเราได้ บัตรก็จะถูกยกเลิกโดยอันโนมัติ หากอยากยกเลิกบัตรก่อนครบกำหนดก็สามารถไปแจ้งยกเลิกได้ทันทีที่ธนาคารสาขาที่เราสมัครไว้ โดยเรามีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมบัตรคืนตามสัดส่วนระยะเวลาการใช้บัตรข้อจำกัดที่จะทำให้เรา “ไม่ได้รับการคุ้มครอง”-อุบัติเหตุที่เกิดขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์จะได้รับการชดเชยที่น้อยกว่าอุบัติเหตุจากอุบัติเหตุทั่วไป เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยง บริษัทประกันจึงประเมินจ่ายค่าชดเชยให้น้อยกว่าอุบัติเหตุทั่วไป (ประกันอุบัติเหตุบางเจ้าถึงขั้นกำหนดเงื่อนไขไม่จ่ายกรณีอุบัติเหตุจากการขับขี่และโดยสารจักรยานยนต์)-การเจ็บป่วยใดๆ ที่ไม่ได้สืบเนื่องหรือมีสาเหตุจากอุบัติเหตุ-อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะผู้เอาประกันอยู่ในอาการมึนเมาจากการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ สารเสพติด ยาเสพติดให้โทษตามกฏหมาย-การเจ็บป่วยจากอาการติดเชื้อโรคต่าง หรือติดเชื้อจากบาดแผลที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ-การรักษาทางเวชกรรม หรือศัลยกรรม เว้นแต่แพทย์วินิจฉัยว่าต้องทำเนื่องจากอุบัติเหตุ-การแท้งลูก-การรักษาฟันที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ-อาหารเป็นพิษ-อุบัติเหตุที่เกิดจากสถาการณ์ความไม่สงบทางการเมือง การก่อจลาจล สงคราม การก่อการร้าย-การฆ่าตัวตาย หรือความพยายามใดๆ ที่จงใจให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บ-อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะผู้เอาประกัน ทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น แข่งรถ แข่งเรือ ชกมวย โดดร่ม โดยสารอยู่บนบอลลูน เครื่องร่อน เล่นบันจี้ จัมพ์ ปีนเขา ดำน้ำ ฯลฯ-อุบัติเหตุขณะโดยสารเครื่องบินที่ไม่ใช่เครื่องบินทางการพาณิชย์-    อุบัติเหตุจากการทะเลาะวิวาท-ตำรวจ ทหาร หรือแม้แต่อาสาสมัคร ที่ประสบอุบัติเหตุขณะปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปราม หรืออยู่ในสงคราม***ข้อจำกัดที่จะทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครองอาจแตกต่างกันไปในบัตรของแต่ละธนาคาร 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 108 บัตรเดบิตกับเรื่องที่ต้องรู้

“บัตรเดบิต” (Debit Card) คือบัตรที่ทางธนาคารออกให้กับเราเมื่อเราเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร เพื่อให้เราสามารถนำไปใช้ทำธุรกรรมทางการเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิคส์ผ่านตู้ ATM ไม่ว่าจะเป็นถอนเงิน โอนเงิน และชำระค่าบริการต่างๆ พูดง่ายๆ ก็คือ “บัตรเดบิต” มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ “บัตร ATM” แต่บัตรเดบิตจะเพิ่มความพิเศษตรงที่สามารถนำไปจับจ่ายซื้อสินค้าต่างๆ ได้โดยตรงโดยที่ไม่ต้องใช้เงินสด ซึ่งก็คือการ “รูดปึ๊ด!” ตามสไตล์เงินพลาสติกแบบเดียวกับบัตรเครดิต แต่ว่าการใช้บัตรเดบิตไปรูดซื้อสินค้านั้น เงินจะถูกหักออกจากบัญชีของเราทันที ซึ่งต่างจากบัตรเครดิตที่เหมือนเป็นการนำเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เราไปทำบัตรเครดิตไว้มาใช้ก่อนแล้วค่อยจ่ายทีหลัง ถือเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้นสำหรับคนที่ไม่อยากถือเงินสด ซึ่งบัตร ATM ไม่สามารถทำได้  บัตรเดบิต VS บัตร ATMหลายๆ คนอาจยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า บัตรกดเงินสดที่ธนาคารออกให้เราหลังจากเปิดบัญชีใหม่เป็นบัตร ATM หรือบัตรเดบิต ด้วยความที่หลายคนยังเข้าใจผิดว่า บัตรกดเงินสดที่ธนาคารออกให้คือบัตร ATM เท่านั้น ซึ่งในช่วงหลายปีมานี้ บัตรเดบิตถือเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ทางธนาคารพยายามผลักดันทำตลาดอย่างหนักให้กับลูกค้าที่ใช้บริการ ซึ่งทุกครั้งที่เราไปเปิดบัญชีใหม่ พนักงานของธนาคารจะแนะนำให้เราเลือกทำบัตรเดบิตมากกว่าบัตร ATM ด้วยความที่คุณสมบัติของบัตรเดบิตมีมากกว่า ใช้ได้ครอบคลุมทั้งถอนเงินจากตู้ ATM และใช้จับจ่ายได้แทนเงินสด แถมบัตรเดบิตยังมีเรื่องโปรโมชั่นส่งเสริมการขายจากร้านค้าหรือบริการที่ร่วมรายการเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต เราอาจได้รับส่วนหรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งความพิเศษตรงนี้ก็ถือเป็นเงื่อนไขที่จูงใจให้กลายคนหันมาใช้บริการบัตรเดบิตแทนบัตร ATM กันมากขึ้นเมื่อคุณสมบัตรพิเศษมีมากกว่า เรื่องของค่าบริการที่เราต้องเสียให้กับธนาคารก็ต้องสูงตามไปด้วย บัตรเดบิตจะมีค่าธรรมเนียมทั้งในส่วนของค่าธรรมเนียมในการทำบัตรใหม่และค่าธรรมเนียมรายปีสูงกว่าบัตร ATM นี้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ จึงพยายามจูงใจลูกค้าให้หันมาใช้บัตรเดบิตแทนบัตร ATM สำหรับผู้บริโภคอย่างเราก็ต้องลองพิจารณาดูกันเอาเองว่า เจ้าบัตรเดบิตแม้จะมีคุณสมบัติพิเศษเหนือกว่าบัตร ATM แต่ไอ้ความพิเศษของมันนั้นเราได้ใช้ประโยชน์คุ้มค่ากับค่าธรรมเนียมที่เราต้องเสียเพิ่มขึ้นจากบัตร ATM ธรรมดาหรือไม่บัตรเดบิต VS บัตรเครดิต“บัตรเครดิต” (Credit Card) ช่วยให้เราใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากๆ ไปในครั้งเดียว บัตรเครดิตจะทำหน้าที่จ่ายเงินให้เราก่อน หลังจากนั้นเราจึงค่อยจ่ายเงินคืนไปตามเวลาและเครดิตที่เราตกลงไว้กับธนาคารหรือร้านค้าที่เราซื้อสินค้า พูดให้เห็นภาพ บัตรเครดิตก็คือการที่เรานำ “เงินในอนาคต” ออกมาใช้ก่อน ซึ่งหากเราไม่คุมการใช้จ่ายให้ดีหรือใช้จ่ายเกินตัวเกินวงเงินที่เราสามารถหาได้ในแต่ละเดือน ผลที่จะตามมาก็คือการเป็นหนี้บัตรเครดิต เพราะเราไม่สามารถหาเงินมาใช้คืนให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เราไปทำสัญญาไว้ได้ ส่วนบัตรเดบิต เป็นการใช้จ่ายที่ดึงเอาเงินมาจากบัญชีของเราโดยตรง คือใช้ไปเท่าไรเงินก็จะถูกหักออกไปเท่านั้นเดี๋ยวนั้น ไม่สามารถใช้จ่ายเกินยอดเงินในบัญชีได้ ซึ่งแม้บัตรเดบิตจะไม่สร้างหนี้ให้เรากับธนาคารเหมือนบัตรเครดิต แต่ก็ต้องรู้จักควบคุมการใช้จ่ายและหมั่นเช็คยอดเงินในบัญชีเสมอ เพราะเราอาจเผลอรูดบัตรเดบิตซื้อนู้นซื้อนี้ จนเงินหมดบัญชีโดยไม่รู้ตัวบัตรเดบิต = บัตรอันดับหนึ่งการใช้บัตรเดบิตมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ทั้งการมุ่งทำการตลาดที่ผลักดันให้บัตรเดบิตเข้ามาแทนที่บัตร ATM ซึ่งตอนนี้ก็มีบางธนาคารที่ยกเลิกการใช้บัตร ATM ไปแล้ว สิ่งที่ธนาคารใช้เป็นกลยุทธ์ดึงดูดให้เราหันมาใช้บัตรเดบิตแทนบัตร ATM ที่เห็นชัดเจนก็คือ การปรับค่าธรรมเนียนทั้งแรกเข้าและรายปีของบัตร ATM ให้ขึ้นมาเท่ากับบัตรเดบิต ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อผู้ใช้ส่วนใหญ่ได้รับทราบถึงคุณสมบัติที่เหนือกว่าของบัตรเดบิต ก็ต้องย่อมเลือกบัตรเดบิตมากกว่าบัตร ATM นอกจากนี้บัตรเดบิตยังถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ไม่อยากพกเงินสดจำนวนมากๆ และอยากใช้จ่ายซื้อสินค้าต่างๆ ผ่านบัตร ซึ่งแต่ก่อนคุณสมบัติแบบนี้มีเฉพาะในบัตรเครดิต แต่ด้วยเงื่อนไขในเรื่องของรายได้และฐานเงินเดือน ทำให้มีคนจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ก็คือคนที่มีรายได้ไม่สูงพอที่จะสมัครบัตรเครดิตได้ ทำให้บัตรเดบิตจึงกลายมาเป็นคำตอบสำหรับคนกลุ่มนี้***จากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อปี 2551 มีจำนวนบัตรเดบิตที่ใช้ในประเทศไทย 26.3 ล้านใบ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ถึง 12.8% ขณะที่จำนวนบัตร ATM อยู่ที่ 22.4 ล้านใบ ลดลงจากปี 2550 0.9% ส่วนบัตรเครดิตมี่จำนวน 13 ล้านใบ เพิ่มขึ้น 8.1%บัตรเดบิต VS อุปสรรคแม้ว่าเวลานี้บัตรเดบิตจะถือบัตรอันดับหนึ่งที่มีคนใช้มากที่สุด แต่บัตรเดบิตกลับไม่ได้ทำหน้าที่ของมันอย่างครบถ้วน เพราะจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยบัตรเดบิตยังคงถูกใช้เพื่อเบิกถอนเงินผ่านทางตู้ ATM เช่นเดียวกับบัตร ATM เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่การใช้เพื่อรูดซื้อสินค้าแทนเงินสดยังมีสัดส่วนที่ต่ำมาก ซึ่งมีที่มาจากหลายสาเหตุ ทั้งจากธนาคารเองที่มุ่งหวังเพิ่มปริมาณจำนวนผู้ใช้บัตรเป็นหลัก แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลหรืออธิบายสิทธิการใช้ประโยชน์ของบัตรเดบิตที่มากกว่าการถอนเงินจากตู้ ATM นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากร้านค้าที่รับชำระด้วยบัตรเดบิตยังมีน้อย บางแห่งมีเรื่องเงื่อนไขเงินขั้นต่ำในการใช้บัตร และสาเหตุหลักจากตัวผู้ใช้เองที่ส่วนใหญ่ยังคงไม่ถนัดกับการใช้จ่ายผ่านบัตร ยังคงสะดวกกับการใช้เงินสดมากกว่า***ในปี 2551 มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตรวมทั้งสิ้น 760 ล้านรายการ คิดเป็นการใช้จ่ายเพื่อชำระสินค้าและบริการเพียง ร้อยละ 1.5 เท่านั้น ขณะที่การเบิกถอนเงินจากตู้ ATM มีมากถึง ร้อยละ 83ตารางเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเดบิต ธนาคารชื่อประเภทบัตรเดบิตค่าธรรมเนียมแรกเข้า(บาท)ค่าธรรมเนียมรายปี(บาท)สิทธิพิเศษเพิ่มเติมธ.กรุงเทพบัตรเดบิตบีเฟิสต์100 200-บัตรบีเฟิสต์-บีทีเอส100200ใช้เป็นบัตรโดยสารบีทีเอสประเภทเติมเงิน บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท100200มีไมโครชิพ EMV สามารถเก็บได้ทั้งข้อมูลและซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจได้ว่า บัตรของท่านจะยากต่อการปลอมแปลงATM100200กรณีบัตร ATM บัตรชำรุดหรือสูญหายแล้วต้องการบัตรใหม่ ธนาคารจะออกบัตรเดบิตบีเฟิสต์ทดแทนให้ธ.กรุงไทย บัตรเดบิตมาตรฐาน (Classic)ไม่มีรูปถ่าย 100มีรูปถ่าย 150200-บัตรเดบิต-ทิพยประกันภัย150300มีวงเงินความคุ้มครอง การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพจากอุบัติเหตุจำนวน 200,000.- บาท / บัตร และได้รับการบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน จาก ทิพยประกันภัยATM50 150-ธ.กสิกรไทยK- Debit Card100200-K-My Debit Card  150200ใส่รูปภาพของตัวเองลงบนบัตรได้K-Max Debit Card  (  )100400ให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุสูงสุด 200,000 บาท ทันที 24 ชั่วโมงทั่วโลกพร้อมรับสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลสูงสุดครั้งละ 3,000 บาท เมื่อเข้ารักษาตัวจากอุบัติเหตุ ATM100200-ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB Debit Card100200-SCB Debit Plus Card100599 บัตรเงิน1,499 บัตรทองเบิกค่ารักษาจากอุบัติเหตุได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง คุ้มครอง 24 ชั่วโมงทั่วโลก ไม่ต้องสำรองจ่ายเมื่อรักษากับสถานพยาบาลคู่สัญญากว่า 200 แห่งATM 100200-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บัตรกรุงศรี วีซ่า เดบิต100200-ATM100150-ธนาคารทหารไทย บัตรเดบิต Basic100200-บัตรเดบิต No Limit Next200200ฟรี ค่าธรรมเนียมการถอนเงิน และสอบถามยอดที่เครื่อง ATM ทุกธนาคารบัตรเดบิต No Limit500ฟรีฟรี ค่าธรรมเนียมการถอนเงิน และสอบถามยอดที่เครื่อง ATM ทุกธนาคารATM100200-ธนาคารนครหลวงไทย SCIB D-card100150-ATM50100-ธนาคารออมสิน บัตรออมสินวีซ่า เดบิต50100-ATM50100- *ข้อมูลค่าธรรมเนียมทั้งหมดเป็นการสำรวจภายในวันที่ 1 ม.ค. 53 เท่านั้น-จะเห็นว่าเกือบทุกธนาคารปรับค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีของบัตร ATM ให้เท่ากับบัตรเดบิตพื้นฐาน ยกเว้น ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารนครหลวงไทย ที่ค่าธรรมเนียมบัตร ATM ยังถูกกว่าบัตรเดบิต-ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมการเงินผ่านตู้ ATM ของบัตรเดบิต ทั้งการถอนเงิน โอนเงิน ชำระค่าบริการต่างๆ คิดค่าธรรมเนียมเท่ากับการทำผ่านบัตร ATM (แต่จะแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร)-บัตรเดบิต No Limit Next และ บัตรเดบิต No Limit ของธนาคารทหารไทย ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการธุรกรรมการเงินผ่านตู้ ATM-เรื่องความปลอดภัยในการใช้บัตรเดบิตถือเป็นจุดขายที่หลายๆ ธนาคารนำมาใช้ดึงดูดคนที่จะใช้บริการ ที่ชัดเจนที่สุด บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ของธนาคารกรุงเทพ ที่การฝังมีไมโครชิพ EMV เพื่อเก็บข้อมูลของเจ้าของบัตร ป้องกันการแอบอ้างหรือปลอมแปลง ส่วนการลงรูปของเจ้าของบัตรลงบนหน้าบัตรในบัตรเดบิตของธนาคารกรุงไทยและบัตร K-My Debit Card ของธนาคารกสิกรไทย ก็ถือเป็นการป้องกันการแอบอ้างใช้บัตร เพราะข้อเสียใหญ่ของบัตรเดบิตก็คือ หากเจ้าของบัตรทำบัตรหาย โอกาสที่จะถูกคนอื่นเอาบัตรไปรูดใช้ซื้อของสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายมาก เพราะแม้จะมีการเซ็นลายเซ็นกำกับที่ใบเสร็จเพื่อเปรียบเทียบกับลายเซ็นที่หลังบัตร แต่ก็สามารถปลอมแปลงได้ง่ายมาก การป้องกันที่ดีที่สุดคือเมื่อบัตรหายต้องรีบติดต่อกับธนาคาร เพื่อระงับการใช้บัตรทันที-เรื่องการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพ ก็ถือเป็นจุดขายที่บัตรเดบิตของหลายธนาคารนำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น บัตรเดบิต-ทิพยประกันภัย ของธนาคารกรุงไทย, บัตร K-Max Debit Card ของธนาคารกสิกรไทย และ SCB Debit Plus Card ของธนาคารไทยพาณิชย์ 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point