ฉบับที่ 244 เช็คพัสดุออนไลน์ใน eTracking

        ยุคนี้สมัยนี้การช้อปปิ้งออนไลน์เป็นเรื่องใกล้ตัวมาก แม้ว่าก่อนหน้านี้หลายคนอาจจะไม่เคยใช้บริการออนไลน์ก็ตาม แต่เชื่อว่าในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 ที่ผ่านมาต้องมีหลายคนที่ได้ทดลองใช้ไม่มากก็น้อย ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการเดินทาง ลดความเสี่ยงที่จะต้องไปสัมผัส ซึ่งเป็นการป้องกันตนเองและครอบครัวได้วิธีหนึ่ง         ปัญหาที่ตามมาหลังจากมีการสั่งสินค้าผ่านออนไลน์ก็คือ สถานะการสั่งสินค้าไม่อัปเดทเป็นปัจจุบัน จนทำให้คนสั่งรอแล้วรออีก ไม่รู้ว่าจะถึงเมื่อไหร่กันแน่ หรือพ่อค้าแม่ค้าเองก็ไม่รู้ว่าสินค้าของลูกค้าไปอยู่ที่จุดไหนแล้ว ฉบับนี้จึงพามาดูแอปพลิเคชั่นสำหรับตรวจสอบพัสดุ เพื่อเป็นตัวช่วยให้กับลูกค้าและพ่อค้าแม่ค้ากัน         แอปพลิเคชั่นนี้มีชื่อว่า eTrackings ช่วยในการติดตามเลขพัสดุที่อัปเดทสถานะของจุดที่สินค้าอยู่ได้อย่างรวดเร็ว และแจ้งเตือนสถานะพัสดุได้ การเข้าใช้แอปฯ มีหลายวิธี ได้แก่ ลงทะเบียนของแอปฯ โดยตรง ผ่านเฟซบุ๊ก และผ่าน gmail สามารถดาวน์โหลดฟรีทั้งในระบบ Android และ iOS        คุณสมบัติของแอปฯ นี้ที่จะช่วยทุนแรงพ่อค้าแม่ค้าและลูกค้า เพราะมีระบบตรวจจับพัสดุ ทั้งในรูปแบบการกรอกตัวเลข สแกน QR Code และอ่านเลขพัสดุจากรูปภาพ ซึ่งสามารถทำการสแกนหาตัวเล็ก Tracking Number โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องนั่งพิมพ์เอง ทำให้ไม่ต้องเสียเวลา         นอกจากนี้ยังสามารถแจ้งเตือนพัสดุที่กำลังติดตาม สามารถแชร์พัสดุเป็น URL และสร้าง QR Code เพื่อให้คนอื่นมาสแกน ที่สำคัญสามารถเช็คราคาพัสดุตามขนาดและน้ำหนัก ซึ่งมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการคำนวณราคาในการส่งสินค้าอย่างมาก ทั้งนี้ในกรณีพัสดุจัดส่งถึงแล้วระบบจะเก็บประวัติการค้นหาให้ 3 วันเมื่อครบแล้วระบบจะนำออกจากระบบทันที ยังไม่หมดเท่านี้ เพราะภายในแอปพลิเคชั่นยังมีบริการค้นหารหัสไปรษณีย์ เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้อีกด้วย         รายชื่อบริษัทขนส่งที่สามารถติดตามพัสดุภายในแอปพลิเคชั่น eTrackings อาทิ ไปรษณีย์ไทย, เคอรี่ เอ็กซ์เพรส, ช้อปปี้ เอ็กซ์เพรส, แฟลช เอ็กซ์เพรส, ดีเอชแอล เอ็กซ์เพรส, เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส, อัลฟ่า ฟาส, เบสท์ เอ็กซ์เพรส, ซีเจ โลจิสติกส์, สปีด-ดี, นินจาแวน, เอสซีจี เอ็กซ์เพรส, บี เอ็กซ์เพรส, อินเตอร์ เอ็กซ์เพรส, ชิปป๊อป, อาราเม็กซ์, ทีพี โลจิสติกส์, เฟดเอกซ์, ไอที ทรานสปอร์ต, นครชัยแอร์, ยูพีเอส, นิ่ม เอ็กซ์เพรส, บี.เอส เอ็กซ์เพรส, ชิปจัง, Global ไช่เหนียว, เจแปน โพสต์, ไชน่า โพสต์, สกายบอกซ์, บุ๊คมายคาร์โก, บิสซิเนส ไอเดีย ทรานสปอร์ต, ปอลอ เอ็กซ์เพรส, บลู แอนด์ ไวท์ เอ็กซ์เพรส, เซ็นด์อิท, เจดับเบิ้ลยูดี เอ็กซ์เพรส, เอสเอ็มอี ชิปปิ้ง, เอ็นทีซี เอ็กซ์เพรส, Logistics Worldwide Express, ดีพีเอ็กซ์ โลจิสติกส์, ECMS Express, เซ้าท์เทิร์น เดลิเวอรี่ เซอร์วิส, ซีทีที เอ็กซ์เพรส, ยูเซ็น โลจิสติกส์ เป็นต้น         แต่อย่าลืมนะคะ หลังรับสินค้าที่สั่งผ่านออนไลน์มาแล้ว ควรฉีดพ่นน้ำยาแอลกอฮอล์ที่กล่องสินค้าและรีบนำกล่องไปทิ้ง พร้อมล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงค่ะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 192 เช็คปริมาณพลังงานใน “ชีสทาร์ต”

หลายคนคงจะยังจำปรากฏการณ์ “ต่อคิวซื้อ” ของขนม 2 รสชาติที่เคยเขย่าวงการคนชอบทานขนมในเมืองไทยเมื่อหลายปีก่อน ทั้ง “โรตีบอย” ที่เคยฮิตถล่มทลายทั่วบ้านทั่วเมืองเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว แต่ว่าตอนนี้ปิดตัวไปเป็นที่เรียบร้อย หรืออย่าง“โดนัท คริสปี้ ครีม” ที่สร้างกระแสคนรอซื้อต่อแถวยาวเป็นกิโลสมัยที่เพิ่งมาเปิดสาขาในเมืองไทยเมื่อ 6 ปีก่อนมายุคนี้ก็เป็นคิวของ “ชีสทาร์ต” ที่มาสร้างกระแสเป็นขนมหวานยอดฮิตชนิดใหม่ล่าสุด ที่กำลังเป็นที่นิยมของคนชอบรับประทานขนมหวานและคนที่รักชีส ซึ่ง ณ เวลานี้ก็มีชีสทาร์ตหลากหลายแบรนด์ให้ได้ลองเลือกซื้อเลือกชิม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านที่อินพอร์ตมาจากต่างประเทศ เพราะว่ากันว่าชีสทาร์ตมีต้นกำเนิดมาจากญี่ปุ่น แถมบรรดาร้านเบเกอรี่ชื่อดังหลายๆ เจ้า ก็ผลิตเมนูชีสทาร์ตออกมาต้อนรับกระแส ขอแข่งกับแบรนด์ชีสทาร์ตเจ้าดัง ซึ่งถือเป็นเรื่องดีของคนกินเพราะมีตัวเลือกหลากหลายฉลาดซื้อ ไม่ยอมตกเทรนด์อยู่แล้ว ก่อนหน้านี้เราก็เคยทดสอบดูเรื่องของพลังงานในขนมดังๆ อยู่เสมอ ในเมื่อตอนนี้ ชีสทาร์ต กำลังได้รับความนิยม มีหรือที่ ฉลาดซื้อ จะพลาด โดยครั้งนี้เราจะนำชีสทาร์ตมาวิเคราะห์ดูปริมาณพลังงาน ไขมัน และโซเดียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ไปดูกันสิว่าชีสทาร์ตของแต่ละร้านมีปริมาณมากน้อยแค่ไหนกันบ้างชีสทาร์ต ทำมาจากอะไร?ส่วนประกอบหลักๆ ของชีสทาร์ต แบ่งได้เป็น 2 ส่วน 1.ส่วนของแป้งทาร์ต ส่วนประกอบหลักๆ ก็จะมีแป้งอเนกประสงค์ เนยจืด ไข่แดง น้ำตาลไอซ์ซิ่ง ส่วนที่ 2 ก็คือไส้ที่เป็นครีมชีส จะประกอบด้วย ครีมชีส มาสคาโปเน่ชีส น้ำตาลทราย นมสด วิปปิ้งครีม ไข่ตารางแสดงผลการทดสอบเปรียบเทียบสารอาหารต่างๆ ในชีสทาร์ต***ผลทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่ส่งทดสอบเท่านั้น***เก็บตัวอย่างเมื่อเดือน มกราคม 2560ผลทดสอบ-ผลทดสอบปริมาณพลังงานใน ชีสทาร์ต ทั้ง 7 ตัวอย่าง พบค่าเฉลี่ยปริมาณพลังงานต่อชีสทาร์ต 1 ชิ้น อยู่ที่ 239.05 กิโลแคลอรี-โดยตัวอย่างที่พบปริมาณพลังงานเฉลี่ยต่อ 1 ชิ้นสูงที่สุดคือ ตัวอย่างชีสทาร์ตจากร้าน mx cakes & bakery ที่พบปริมาณพลังงานอยู่ที่ 325.55 กิโลแคลอรี หรือประมาณ 16.27% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน คือ 2,000 กิโลแคลอรี ซึ่งเหตุพลที่ทำให้พบปริมาณพลังงานในตัวอย่างชีสทาร์ตจากร้าน mx cakes & bakery สูงกว่าตัวอย่างจากร้านอื่นๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะน้ำหนักของชีสทาร์ตต่อชิ้นมากกว่าตัวอย่างจากร้านอื่น-ซึ่งถ้าเทียบในปริมาณของชีสทาร์ตที่ 100 กรัมเท่ากัน ตัวอย่างที่พบปริมาณพลังงานมากที่สุดคือ ตัวอย่างจากร้าน Flavour Field ที่พบปริมาณพลังงานอยู่ที่ 455 กิโลแคลอรีต่อทาร์ตชีส 100 กรัม -ไขมัน ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มาพร้อมกับขนมปังหรือขนมอบ โดยปริมาณไขมันที่เหมาะสบกับร่างกายใน 1 วัน คือไม่เกิน 65 กรัม ซึ่งจากผลวิเคราะห์พบว่าชีสทาร์ตทั้ง 7 ตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยปริมาณไขมันต่อ 100 กรัม อยู่ที่ 25.21 กรัม หรือประมาณ 38% ของปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายใน 1 วัน ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง-สำหรับปริมาณโซเดียมในชีสทาร์ต พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 211 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม หรือคิดเป็น 8.7% ของปริมาณที่เหมาะใน 1 วัน คือไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมฉลาดซื้อแนะนำ-ปริมาณพลังงานเฉลี่ยของชีสทาร์ต 1 ชิ้นที่ 239.05 กิโลแคลอรี ถือว่าใกล้เคียงกับปริมาณของอาหารจานเดียว 1 จานที่ปริมาณ 300 – 600 กิโลแคลอรี เพราะฉะนั้นถึงคุณจะชอบขนมหวาน ชอบชีส หรือชอบชีสทาร์ตมากสักแค่ไหน ก็ต้องหักห้ามใจ รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะถ้ารวมกับอาหารจานหลักที่เราต้องรับประทานอีก 3 มื้อ เราก็มีโอกาสได้รับพลังงานสูงเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ-เช่นเดียวกับปริมาณไขมันในที่พบในชีสทาร์ต มีพบว่ามี ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 25.21 กรัม ต่อทาร์ตชีส 100 กรัม หรือประมาณ 38% ของปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายใน 1 วัน ถ้ามองในมุมว่าชีสทาร์ตเป็นเพียงแค่ขนมหวานทานเล่น เพราะต้องไม่ลืมว่าใน 1 วันเราต้องรับประทานอาหารมื้อหลักอีก 3 มื้อ ซึ้งก็มีความเป็นไปได้ว่าเราจะได้ไขมันมากกว่าปริมาณที่เหมาะสมใน 1 วันปริมาณสารอาหารที่เหมาะกับร่างกายใน 1 วัน-พลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี-โปรตีน ตามน้ำหนักตัว กรัม (เช่น น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีนต่อวันคือ 50 กรัม)-ไขมันทั้งหมด น้อยกว่า 65 กรัม-กรดไขมันอิ่มตัว น้อยกว่า 20 กรัม-โคเลสเตอรอล น้อยกว่า 300 มิลลิกรัม-คาร์โบไฮเดรต ทั้งหมด 300 กรัม-ใยอาหาร 25 กรัม-โซเดียม น้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม-น้ำตาล น้อยกว่า 24 กรัม (ประมาณ 6 ช้อนชา)ที่มา : ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน สำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI (Thai Recommended Daily Intakes))

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 170 เช็คเดินทางหาย แต่ผู้เสียหายมีส่วนผิดด้วย ผลจะเป็นอย่างไร

คดีนี้เป็นเรื่องผู้บริโภคซื้อเช็คเดินทางของโจทก์ 50 ฉบับ สั่งจ่ายเงินรวม 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากตัวแทนของโจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องลงลายมือชื่อในเช็คทุกฉบับที่ช่องด้านล่างทันทีที่ได้รับเช็ค หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวโจทก์จะไม่คืนเงินให้ ต่อมาจำเลยแจ้งโจทก์ว่าเช็คเดินทางทั้งหมดหายไปโดยจำเลยลงลายมือชื่อในเช็คทุกฉบับที่ช่องด้านล่างไว้แล้ว โจทก์คืนเงินให้แก่จำเลยไป ต่อมามีผู้นำเช็คเดินทางดังกล่าวทั้งหมดไปขึ้นเงินกับธนาคารและสถาบันการเงินหลายแห่งโดยปรากฏว่าจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในเช็คเดินทางดังกล่าวไว้ตามที่แจ้งความเท็จแก่โจทก์ โจทก์จึงมาฟ้องศาลให้บังคับจำเลยให้คืนเงิน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 1,287,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย และเรียกค่าเสียหายอีก 100,000 บาท ศาลฎีกาโดยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2555 ได้วินิจฉัยว่า “...การที่มีการซื้อเช็คเดินทางซึ่งต้องยอมเสียเงินซื้อในอัตราร้อยละหนึ่ง ก็เพราะมีความปลอดภัยกว่าการนำเงินสดติดตัวไป และถ้าเช็คหายไปก็สามารถแจ้งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คได้ แต่เหตุที่มีผู้นำเช็คเดินทางของโจทก์ที่จำเลยซื้อ ไปเบิกเงินต่อธนาคารตามเช็คและธนาคารตามเช็คได้จ่ายเงินไป ทั้งๆ ที่จำเลยแจ้งโจทก์แล้วว่าเช็คเดินทางหายไปและโจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนตามเช็คคืนให้จำเลยแล้วนั้น เป็นเพราะโจทก์ไม่ได้แจ้งธนาคารตามเช็คจึงเป็นความบกพร่องของโจทก์นั่นเอง  ส่วนเงื่อนไขการซื้อเช็คเดินทางที่กำหนดให้ผู้ซื้อเช็คลงลายมือชื่อผู้ถือที่ข้างล่างด้านซ้ายของเช็คแต่ละฉบับทันทีที่ได้รับเช็คนั้น เป็นเพียงเงื่อนไขที่จะทำให้ผู้ที่ได้รับเช็คดังกล่าวโดยไม่ชอบไม่สามารถเบิกเงินไปได้โดยง่าย เพราะจะมีการตรวจสอบเปรียบเทียบลายมือชื่อด้วย ดังนั้น แม้จำเลยจะไม่ได้ลงลายมือชื่อตามเงื่อนไขดังกล่าว โจทก์ก็ไม่อาจยกเป็นเหตุมาปฏิเสธไม่จ่ายเงินคืนจำเลยตามเงื่อนไขการซื้อเช็คไม่ได้ อย่างไรก็ตามการที่จำเลยไม่ได้ลงรายมือชื่อผู้ถือที่ข้างล่างด้านซ้าย แต่กลับแจ้งโจทก์ว่าลงลายมือชื่อแล้วย่อมเป็นเหตุให้โจทก์คาดว่าจะไม่มีใครนำเช็คดังกล่าวไปเบิกเงิน จึงไม่ได้แจ้งธนาคารให้ระงับการจ่ายเงินตามเช็ค และจำเลยทิ้งเช็คไว้ในกระเป๋าใส่กล้องถ่ายรูปซึ่งวางไว้ในรถเข็นกระเป๋าเดินทางหน้าห้องน้ำที่สนามบินสุวรรณภูมิโดยไม่นำติดตัวไปด้วยจึงทำให้หายไปถือได้ว่าจำเลยมิได้ระมัดระวังมิให้เช็คสูญหายหรือถูกลักขโมยเช่นเดียวกับที่จักต้องกระทำต่อเงินสดของตน ตามเงื่อนไขการซื้อในกรณีขอคืนเงิน จำเลยจึงมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายด้วย โดยเห็นสมควรให้ร่วมรับผิดกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 442  ประกอบมาตรา 223” คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ 947,000 บาท  พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์แสดงว่าพอใจในความเสียหายดังกล่าว จำเลยจึงต้องใช้เงินให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งของค่าเสียหายดังกล่าวคิดเป็นเงิน 473,500 บาท พิพากษากลับว่า ให้จำเลยชำระเงิน 473,500 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 23 มิถุนายน 2540)เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ

อ่านเพิ่มเติม >