ฉบับที่ 176 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนตุลาคม 2558ศาลให้ผู้บริโภคชนะ คดีรถเชฟโรเลตไม่ได้มาตรฐานหลังจากต้องใช้เวลาฟ้องร้องนานกว่า 2 ปี ในที่สุดศาลก็มีคำพิพากษาให้ตัวแทนจำหน่ายและผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเชฟโรเลต คืนเงินดาวน์และเงินค่าเช่าซื้อพร้อมทั้งดอกเบี้ยอีกร้อยละ 7.5 ให้แก่กลุ่มผู้เสียหายจากการซื้อรถยนต์เชฟโรเลตจำนวน 6 ราย หลังจากที่กลุ่มผู้ฟ้องร้องประสบปัญหาจากการใช้รถทั้งๆ ที่รถยนต์ดังกล่าวเป็นรถใหม่ที่เพิ่งซื้อมาใช้งานได้เพียงไม่กี่เดือน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ที่สำคัญเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตของผู้ใช้รถยนต์ โดยหลังจากได้มีการนำเรื่องร้องเรียนต่อ สคบ. โดยมีศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคช่วยดำเนินการ ได้มีการนำรถที่เกิดปัญหาไปทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากตัวรถไม่ได้เกิดจากผู้ใช้ สุดท้ายจึงได้มีการนำเรื่องเข้าฟ้องร้องต่อศาลในรูปแบบคดีผู้บริโภค ศาลแพ่งพิจารณาจากคำฟ้องที่กลุ่มผู้เสียหายได้ยื่นมาเห็นว่า บริษัทตัวแทนจำหน่ายต้องชำระคืน เงินดาวน์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ตั้งแต่วันทำสัญญาจนถึงวันที่ชำระคืนให้ผู้บริโภคจนเสร็จ และให้บริษัทผู้เช่าซื้อรถยนต์คืนเงินค่าเช่าซื้อทั้งหมด ตั้งแต่วันรับฟ้องคดีพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระหมด คดีนี้ถือเป็นตัวอย่างที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของผู้บริโภค เมื่อพบเจอปัญหาจากการใช้สินค้าหรือบริการใดๆ อย่ารอให้ความเสียหายเกิดขึ้นก่อน ต้องออกมาใช้สิทธิของตัวเอง   เตรียมเพิ่ม “วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก” ในบัตรทองสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เตรียมเพิ่ม “วัคซีนเอชพีวี” (HPV : Human Papillomavirus) วัคซีนที่มีผลในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกเข้าไปรวมอยู่ในสิทธิประโยชน์บัตรทองในปี 2560 ตามแผนที่วางไว้ โดยจะฉีดให้กับเด็กชั้น ป.5 – ป.6 ทั่วประเทศ รวมแล้วคนละ 2 เข็ม หลังจากที่ทาง สปสช.ได้ร่วมกับกรมควบคุมโรคทำการศึกษาแล้วพบว่า วัคซีนเอชพีวี เป็นวัคซีนที่มีความจำเป็น และปัจจุบันฉีดแค่คนละ 2 เข็มก็สามารถให้ประสิทธิผลในการป้องกันได้ จากเดิมที่ต้องฉีดถึงคนละ 3 เข็ม ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง ซึ่งมะเร็งปากมดลูกถือเป็นโรคมะเร็งที่เกิดกับผู้หญิงเป็นจำนวนมาก เป็นรองแค่โรงมะเร็งเต้านมเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีวัคซีนตัวอื่นๆ ที่อยู่ในข่ายที่ทาง สปสช. กำลังพิจารณาเพื่อบรรจุลงในสิทธิบัตรทองในปี 2560 เช่น วัคซีนฮิบ (HIB) ป้องกันโรคปอด และ วัคซีนโรตา ป้องกันโรคอุจจาระร่วง ซึ่ง สปสช.กำลังอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม  “น้ำดื่ม-น้ำแข็ง” ตกมาตรฐานเพียบไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่าน้ำดื่มและน้ำแข็งในบ้านเราพบตกมาตรฐานด้านคุณภาพเป็นจำนวนมาก หลังมีข้อมูลจากการตรวจเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทและน้ำแข็งทั่วประเทศ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากตัวอย่างทั่วประเทศจำนวน 4,750 ตัวอย่าง สำรวจช่วงเดือน ธ.ค. 2557 – ก.ค. 2558 จำแนกเป็นน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 4,135 ตัวอย่าง และน้ำแข็ง 615 ตัวอย่าง พบว่า มีคุณภาพได้มาตรฐาน 2,690 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 56.6 และไม่ได้มาตรฐานถึง 2,060 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 43.4 โดยปัญหาเรื่องคุณภาพที่พบสามารถแยกได้ดังนี้ 1.ไม่ได้มาตรฐานด้านกายภาพและเคมี 1,584 รายการ คิดเป็นร้อยละ 63.2 สาเหตุหลักมาจากความเป็นกรด - ด่าง ที่สูงหรือต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด 1,505 รายการ พบปริมาณไนเตรทไม่ได้ค่ามาตรฐาน 47 รายการ และพบปริมาณฟลูออไรด์ไม่ได้ค่ามาตรฐาน จำนวน 32 รายการ 2.ไม่ได้มาตรฐานด้านจุลินทรีย์ 921 รายการ ร้อยละ 36.8 สาเหตุจากพบเชื้อโคลิฟอร์มเกินมาตรฐาน 737 รายการ เชื้ออีโคไล 153 รายการ เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคอาหารเป็นพิษชนิดสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส 22 รายการ และเชื้อซาลโมเนลล่า 9 รายการ ซึ่งสาเหตุที่พบน้ำดื่มและน้ำแข็งตกมาตรฐานจำนวนมากในการตรวจวิเคราะห์ครั้งนี้ น่าจะมาจากการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ขาดการจัดการด้านสุขลักษณะ ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทำการแจ้งผลการตรวจวิเคราะห์และให้คำแนะนำผู้ประกอบการ เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานต่อไป  อย.เตือน “สบู่คลอรีน” อันตรายมาใหม่อีกแล้วสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อความสวยความงาม ที่มาพร้อมกับคำโฆษณาชวนเชื่อ ล่าสุดเป็นผลิตภัณฑ์ที่กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์อย่าง “สบู่คลอรีน” (Chlorine Soap) ที่อวดอ้างสรรพคุณว่าใช้แล้ว ผิวขาวใส ขาวเร็วทันใจ แค่อาบน้ำฟอกสบู่ธรรมดาผิวก็ขาวขึ้นทันตาทำให้กลายเป็นสินค้ายอดนิยมในหมู่คนอยากขาวในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งล่าสุดทาง อย. ก็ได้ออกมาเตือนว่า สารฟอกสีในกลุ่มคลอลีน ถือเป็นสารต้องห้ามใช้กับผิวหนัง เพราะมีฤทธิ์รุนแรงอาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองและถึงขั้นทำให้ผิวอักเสบได้ ซึ่งปกติคลอรีนก็ถือเป็นสารต้องห้ามในเครื่องสำอางอยู่แล้ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กําหนดวัตถุห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสําอาง นอกจากนี้การโฆษณาเครื่องสำอางโดยใช้ภาพหรือข้อความที่สื่อว่าสามารถทําให้สีผิวมีการเปลี่ยนแปลง หรือทําให้สีผิวขาวขึ้นมากกว่าหรือแตกต่างจากสีผิวเดิมตามธรรมชาติหรือใช้ข้อความอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน ก็ถือว่ามีความผิดตามคําสั่งของคณะกรรมการเครื่องสําอาง เรื่อง ข้อความที่ห้ามใช้ในการโฆษณาเครื่องสําอาง ซึ่งแม้ว่าตัวอย่างที่ทาง อย. สุ่มเก็บมาวิเคราะห์จะไม่พบการปนเปื้อนของสารในกลุ่มคลอรีน แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงสบู่ที่อวดอ้างเรื่องความขาวเป็นดีที่สุด เพราะเสี่ยงต่อการผสมสารอันตราย  คน กทม. ขอศูนย์สาธารณสุขชุมชนกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนเขตพื้นที่ กทม. และคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน พร้อมด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครกว่า 400 คน รวมตัวกันยื่นข้อเสนอต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เรียกร้องให้มีการยกระดับศูนย์สาธารณสุขที่มีความพร้อมให้เป็นโรงพยาบาลชุมชนในทุกเขต และให้มีกองทุนส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในพื้นที่ กทม. อย่างแท้จริงและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนกทม. พร้อมดูแลประชาชนที่ไม่มีเลข 13 หลักหรือไม่สามารถยืนยันสิทธิได้โดยเหตุผลของการออกมาเรียกร้องครั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบัน กทม. ถือเป็นจังหวัดเดียวที่ยังไม่มีกองทุนส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคระดับพื้นที่ เรียกว่ายังขาดเรื่องการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐเรื่องการดูแลสุขภาพในระดับชุมชน ทั้งๆ ที่ กทม.เป็นเมืองใหญ่มีประชากรอาศัยเป็นจำนวนมาก เมื่อเจ็บป่วยได้แต่ใช้บริการโรงพยาบาลตามสิทธิ ซึ่งบางครั้งโรงพยาบาลกับที่พักมีระยะห่างกันมาก เป็นภาระกับผู้ป่วย โรงพยาบาลที่ร่วมสิทธิส่วนใหญ่ก็มีข้อจำกัดเรื่องการให้บริการเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่มี ผู้ป่วยหลายรายไม่มีทางเลือกต้องไปใช้โรงพยาบาลเอกชนซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง โดยการมายื่นหนังสือครั้งนี้ต้องการให้ กทม. จัดสรรศูนย์สาธารณสุขชุมชนที่มีความพร้อมให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของ กทม.

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 155 กลุ่มคนใช้รถเชฟโรเลต ครูซ รวมพลังสู้

ร้องบริษัทรับผิดชอบ รถเสียซ่อมไม่หาย เป็นอีกครั้งที่การรวมพลังกันของผู้บริโภคไทยสร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งสำคัญต่อมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ เชฟโรเลต รุ่นครูซ และ แคปติวา หลาย 10 คัน ทนไม่ไหวกับปัญหาสภาพรถที่เสี่ยงต่อความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น เกียร์ค้าง เปลี่ยนเกียร์ไม่ได้ ขับๆ ไป เครื่องดับโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งแต่ละปัญหาล้วนแล้วแต่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุรุนแรง เพราะเห็นว่าชีวิตยังมีค่าไม่น่านำไปเสี่ยงกับรถที่ไม่มีคุณภาพ ผู้ใช้รถยนต์ เชฟโรเลต ที่เจอปัญหาตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน จึงนัดรวมตัวเพื่อแสดงพลังปกป้องสิทธิของผู้บริโภค เรียกร้องให้ผู้ผลิตรถยนต์ออกมาแสดงความรับผิดชอบ เริ่มต้นจากการไปร้องเรียนผ่านสื่อ จนผู้ผลิตอยู่เฉยไม่ไหวต้องออกมาดูแลผู้เสียหายแต่ใช่ว่าทุกอย่างจะง่ายเหมือนฝัน เพราะยังมีผู้เสียหายอีกหลายคัน ที่ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างที่ควรจะเป็น แม้ว่าทางบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด จะนำรถกลับไปตรวจสอบแก้ไข แต่พอผู้เสียหายนำรถกลับมาใช้ปัญหาก็ยังคงอยู่ และปัญหาที่เกิดส่วนใหญ่ล้วนเสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิต ทางออกที่ดีที่สุดที่ผู้ผลิตควรทำเพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ปัญหา คือรับซื้อคืนรถที่เสี่ยงต่ออันตรายทั้งหมดคืนไป เพื่อความปลอดภัยและความสบายใจของผู้บริโภคแต่เมื่อข้อเรียกร้องนี้ไม่ได้รับการตอบรับ กลุ่มผู้ใช้รถยนต์ เชฟโรเลต ครูซ ที่พบปัญหา จึงต้องเพิ่งพากฎหมาย เดินหน้าร้องเรียนต่อ สคบ. โดยมีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคช่วยดำเนินการ จนในที่สุดบริษัทผู้ผลิตก็ยินยอมที่จะนำรถยนต์ เชฟโรเลต ครูซ ที่พบปัญหาจำนวน 12 คัน เข้ารับการทดสอบเพื่อตรวจดูคุณภาพรถยนต์ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพดำเนินการทดสอบ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการทดสอบทั้งหมดทางบริษัท เชฟโรเลต ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งถ้าผลออกมาพบว่ารถยนต์ที่ทดสอบมีปัญหา บริษัทควรต้องซื้อคืนรถยนต์และจ่ายชดเชยค่าเสียหายให้กับเจ้าของรถ สถานการณ์ล่าสุด สคบ. แถลงผลการทดสอบรถยนต์เชฟโรเลต พบปัญหาทุกคัน13 ม.ค. 57  นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จัดประชุมเพื่อแจ้งผลการทดสอบรถยนต์เชฟโรเลต ครูซ 12 คัน เมื่อวันที่ 14-18 ต.ค. 56 ณ สนามแก่งกระจานเซอร์กิต จ.เพชรบุรี ซึ่งมีผู้ร้องเรียน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และตัวแทนบริษัท เชฟโรเลตฯ เข้าร่วมรับฟัง โดยมีนายศิริบูรณ์ เนาว์ถิ่นสุข ประธานคณะทำงานสืบค้นข้อเท็จจริง เป็นผู้ชี้แจงผลการทดสอบพบ  ปัญหาในรถทุกคันที่ทดสอบ จากการรายงานของทีมนักขับและผลจากเครื่องมือที่ใช้ติดตั้งเพื่อตรวจสอบ พบปัญหาระบบส่งกำลัง ได้แก่ เกียร์เปลี่ยนขึ้น-ลงกระตุก เกียร์ไม่ Kick-down เกียร์กระตุกในช่วงเครื่องเย็น และในสภาวะรถติดเคลื่อนตัวช้า เบรก RF ค้าง รถยนต์คันที่เกิดปัญหาดังกล่าวมีการรายงานอาการซ้ำๆ มากที่สุดถึง 38 ครั้งภายหลังทราบผล นายอำพล เลขาฯ สคบ. ยืนยันว่า สคบ.ผลการทดสอบของคณะทำงานสืบค้นฯ ถือเป็นที่สุด และขอให้บริษัทฯ เยียวยาความเสียหาย โดยคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของ สคบ. จะนัดทั้งสองฝ่ายมาเจรจาในสัปดาห์หน้า และขอให้บริษัทฯ ส่งผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเป็นผู้มาเจรจา ซึ่งตัวแทนบริษัทฯ ขอนำผลการทดสอบในครั้งนี้ไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบที่เก็บข้อมูลมา และหารือเรื่องการเยียวยาความเสียหายกับผู้บริหารต่อไป ปัญหารถยนต์ใหม่เกิดปัญหาจากสถิติการร้องเรียนของ ผู้บริโภคทั่วประเทศ ที่ส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามายังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) พบว่า ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมานั้น การร้องเรียนด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ ขยับขึ้นมาครองแชมป์อันดับหนึ่ง แซงการร้องเรียนด้านอสังหาริมทรัพย์ เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ผ่านมา ผู้ใช้รถยนต์เชฟโรเลตครูซและแคปติวา จำนวน 26 ราย เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ สคบ. เรียกร้องให้เชิญบริษัทรถยนต์เข้า มาไกล่เกลี่ยภายใน 7 วัน เนื่องจากคันเร่งค้าง เครื่องเร่งเองโดยไม่เหยียบคันเร่ง ระบบเกียร์อัตโนมัติมีอาการกระตุกรุนแรง และระบบเกียร์ล็อคขณะเปลี่ยนเกียร์ โดยขอให้ สคบ.จัดทดสอบเพื่อพิสูจน์ปัญหา ซึ่งหากพิสูจน์ได้ว่ารถยนต์มีความชำรุดบกพร่องตามที่ร้องเรียนจริง ขอให้ทางบริษัทรับซื้อรถยนต์คืนในปี 2555 มีเรื่องร้องเรียนเข้ามาที่ สคบ. กว่า 2,000 กรณี โดยเป็นการร้องเรียนด้านรถยนต์ 877 กรณี ซึ่งปัญหาที่ร้องเรียนมากที่สุดเกิดจากรถยนต์ชำรุด บกพร่อง รองลงมาคือของแถมไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้ และสัญญาเช่าซื้อที่ไม่ชัดเจน ทำให้ผู้ซื้อรถส่วนใหญ่เข้าใจผิดเรื่องการผิดนัดชำระเงิน ขณะที่สถิติร้องเรียนด้านรถยนต์ล่าสุด ตั้งวันที่ 1 ต.ค. 2555 ถึง วันที่ 31 ก.ค. 2556 รวมทั้งหมด 682 กรณี แบ่งเป็น รถยนต์ชำรุด 208 ขอเงินจองคืนกรณีไม่ได้รถ 96 ค้างค่างวด/คืนรถ/ส่วนต่างสูง 23 ไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญา 65 ยกเลิกสัญญาและขอเงินคืน 83 ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย 32 ขอคำปรึกษา 36 ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง 67 ค่าปรับสูง 32 กรณี และขอให้ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ 40นายจิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เปิดเผยว่า ในแต่ละปีผู้บริโภคที่ประสบปัญหาด้านต่างๆ จะร้องเรียนเข้ามา ประมาณ 2,000 ราย ซึ่ง สคบ.จะจำแนกประเภทการร้องเรียนออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการ โดยการร้องเรียนเกี่ยวกับรถยนต์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ 1.ปัญหารถยนต์ป้ายแดง 2.ปัญหารถยนต์มือสอง 3.ปัญหาการเช่าซื้อ และ 4.ปัญหาการซ่อมแซม ซึ่งแม้ว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การร้องเรียนด้านรถยนต์จะ ขยับสูงขึ้นเป็นอันดับ 1 แต่ประมาณ ร้อยละ 80-90 เกี่ยวกับความรู้สึกของผู้ใช้งาน เช่น ไม่พอใจในเสียงดัง ไม่พอใจในกลิ่น ขณะที่เรื่องของคุณภาพและมาตรฐานของรถยนต์นั้น หากช่วงใดเกิดกระแสและมีการรวมตัวกันของผู้ประสบปัญหา ก็จะมีการร้องเรียนเข้ามายัง สคบ.ค่อนข้างมาก รับเรื่องร้องเรียน 2 ลักษณะนายจิรชัย กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการหลังจากได้รับเรื่องร้องเรียน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.บริษัทรถยนต์เป็น ผู้ดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินการปรับเปลี่ยนซ่อนแซมอุปกรณ์ที่มีปัญหา โดยจะต้องยืดระยะเวลาในการประกันออกไปด้วย และ 2.ประสานไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ เข้ามาดำเนินการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นว่าตรงตามข้อร้องเรียนหรือไม่ รวมถึงหาสาเหตุว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านั้นเกิดจากกระบวนการผลิตหรือไม่ ซึ่งการดำเนินการในส่วนที่ 2 นี้ จะเกิดขึ้นหลังจาก การเจรจาระหว่างบริษัทรถยนต์กับผู้บริโภค ไม่สามารถตกลงร่วมกันได้ส่วนขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพรถยนต์นั้น ทาง สคบ.จะประสานไปยังสถาบันยานยนต์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการด้านยานยนต์ของ สคบ.อยู่แล้ว ให้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบปัญหาว่าเกิดจากอะไร เช่น เหยียบคันเร่งให้รถเดินหน้าแต่รถไม่ขยับ เข้าเกียร์ถอยหลังแต่ไม่ถอยหลัง หรือเกิดเสียงดังเวลาเปลี่ยนเกียร์ ตรงนี้ต้องตรวจสอบดูว่าตามสภาพจริงของรถยนต์เป็น แบบนี้หรือไม่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจสอบได้ไม่อยาก และหากว่าปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากความผิดพลาดในการผลิต ทางบริษัทรถยนต์ก็จะต้องดำเนินการแก้ไขตามขั้นตอน เช่น ซ่อมแซม เปลี่ยนอุปกรณ์ที่ชำรุด เปลี่ยนรถคันใหม่ หรือรับซื้อคืน ตามลำดับ เคลียร์เชฟโรเรตในเดือนนี้"ที่ผ่านมาการร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของรถยนต์ มีทั้งแบบผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามารายเดียว และผู้บริโภคที่ประสบปัญหาเดียวกันหรือคล้ายกันรวมกลุ่มเข้ามาร้องเรียน ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ส.ค. ที่ผ่านมา สคบ.ได้ประชุมพิจารณากรณีของผู้ใช้รถยนต์เชฟ โลเรต พบว่าก่อนหน้านี้ได้ร้องเรียนมายัง สคบ.แล้ว 13 ราย ซึ่งทางบริษัทกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการอยู่ ส่วนที่เหลือได้ยืนความจำนงไปยังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคให้เข้ามาช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามข้อสรุปจากการประชุม สคบ.สั่งให้ทางบริษัทเร่งดำเนินการเคลียร์ปัญหาที่เกิดขึ้น ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้"นายจิรชัย กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตามเมื่อผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามายัง สคบ. ส่วนใหญ่ปัญหาจะจบอยู่ในขั้นตอนเจรจาไกลเกลี่ย ดังนั้นที่ผ่านมาการร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพมาตรฐาน และปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ จึงไม่ไปถึงขั้นฟ้องร้องในชั้นศาลด้านนายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.) กล่าวว่า การร้องเรียนปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานรถยนต์ ถือเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคที่ประสบปัญหาให้ความสำคัญ เนื่องจากมูลค่าค่อนข้างสูง แต่กว่าที่ผู้บริโภคจะร้องเรียนเข้ามายัง มพบ. ส่วนใหญ่จะมีการติดต่อไปยังบริษัทรถยนต์ เพื่อเจรจาพูดคุย รวมถึงส่งรถยนต์เข้า ไปตรวจเช็คและซ่อมแซมมาแล้วในระดับหนึ่ง ในขณะที่บางรายก็ได้ร้องเรียนไปยัง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) แล้ว แต่สุดท้ายอาจจะทนรอขั้นตอนการดำเนินการ ของทางบริษัทรถยนต์หรือหน่วยงานราชการไม่ไหว จึงตัดสินใจร้องเรียนมายัง มพบ. ให้เป็นหน่วยงานกลางเร่งรัดการดำเนินการ และเป็นไปตามกฎหมายผู้บริโภค ปัญหาเครื่องยนต์กลไก 'ต้องฟ้องร้อง'ส่วนความเสียหายเป็นไปตามมาตรฐานของรถยนต์หรือ ไม่นั้น ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.ปัญหาจุกจิกลำคาญใจ เช่น มีเสียงเข้าไปในห้องโดยสาร เสียงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งไม่สนิท เบรกหรือโชคแข็ง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่วนใหญ่จะสามารถแก้ไขได้ เพราะตามกฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบ และ 2.ปัญหาเรื่องเครื่องยนต์กลไก เช่น ระบบเกียร์ คันเร่ง หรือสมองของรถยนต์ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงเทคนิคต้องมีการพิสูจน์ ส่วนใหญ่จึงนำไปสู่การฟ้องร้อง เนื่องจากบริษัทรถยนต์ไม่มีนโยบายเปลี่ยนรถคันใหม่ เมื่อลูกค้ามีปัญหาเกี่ยวกับรถยนต์ ก็จะให้นำเข้ามาซ่อมแซม ซึ่งแม้ว่าหลังจากซ่อมแล้วยังเกิดอาการเดิม ทางผู้ประกอบการก็จะยืนยันว่าสามารถซ่อมได้ แต่ตามหลักจิตวิทยาของคนซื้อรถใหม่ หากรถที่ซื้อมาใหม่ถูกชำแหละราคาจะตกทันที ส่วนใหญ่ผู้บริโภคจึงต้องการให้ทางบริษัทเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่"หลังจากผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามายัง มพบ. จะมีการตรวจข้อร้องเรียนและปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นจึงติดต่อไปยังบริษัทรถยนต์ เพื่อให้เข้ามาเจรรจาพูดคุย ส่วนใหญ่จะเป็นการชี้แจงและยืนยันว่าสามารถซ่อมได้ ตรงนี้ผมมองว่าเป็นการประวิงเวลา รับผิดชอบตามระยะประกันและอายุกฎหมาย ที่กำหนดไว้ 1 ปี หลังจากรับสินค้า หากผู้บริโภคฟ้องร้องหลังจากหมดอายุความก็จะแพ้ทางเทคนิค แต่หากเรื่องเข้าสู่กระบวนการเจรจาไกลเกลี่ยผู้บริโภค ตามกฎหมายอายุความจะหยุดทันที แต่ประชนส่วนใหญ่จะไม่รู้"จากการดำเนินการฟ้องร้องที่ผ่านมา แม้ว่าศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายชนะ เช่น กรณีประกอบรถไม่ดีแล้วเขม่าควันเข้ามาในห้องผู้โดยสาร แต่ทางบริษัทรถยนต์ก็ ยื่นอุทธรณ์ กระบวนหลังจากฟ้องร้องจึงยาวนานมาก ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าคนไทยมีกลไลศาลเท่านั้นที่คอยช่วยเหลือ แต่ความรู้เรื่องกลไลการทำงานของรถยนต์ จำเป็นต้องอาศัยผู้เชียวชาญโดยตรง เข้ามาเป็นตัวกลางในการตรวจสอบซ้ำ เพราะหากทางบริษัทนำรถไปตรวจสอบ และออกมาแถลงว่าไม่พบปัญหา ตรงนี้ไม่มีใครสามารถเชื่อถือได้ จี้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้านายอิฐบูรณ์ กล่าวต่อว่า การที่ประเทศไทยไม่มีหน่วยงานที่มีอำนาจโดยตรง ในการตรวจสอบหรือเรียกคืนยานยนต์ ที่ถูกตรวจพบปัญหาหรือถูกร้องเรียนเข้ามา ทำให้ผู้บริโภคในบ้านเราเสียเปรียบ เพราะความรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวกับเทคนิคเครื่องยนต์กลไก เป็นข้อมูลที่มาจากผู้ประกอบการทั้งหมด ตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่าในขณะที่ประเทศไทยรถยนต์เป็น สินค้าส่งออก 5 อันดับแรก แต่การกำกับดูและมาตรฐานสินค้ายังไม่เข้มข้นมากพอ แม้ว่าล่าสุดทาง สคบ.ได้แก้ไขข้อกฎหมายให้มีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจไปตรวจสอบสินค้า แต่ก็ยังคงมีการคำถามในเรื่องการดำเนินการอยู่ดีสำหรับสถิติร้องเรียนด้านมาตรฐานรถยนต์ส่วน บุคคล ที่ร้องเรียนเข้ามายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตั้งแต่ปี 2553-2556 รวมทั้งหมด 93 กรณี โดย 10 อันดับ บริษัทที่ถูกร้องเรียนมากที่สุด คือ 1.เชฟโลเรต 38 กรณี 2.โฟตอน 29 กรณี 3.โตโยต้า 18 กรณี 4.มิซูบิชิ 12 กรณี 5.ฮอนด้า 8 กรณี 6.ฟอร์ด ประเทศไทย 7 กรณี 7.นิสสัน 4 กรณี 8.เมอร์เซเดสเบนซ์ ประเทศไทย 2 กรณี 9.มิลเลนเนียม ออโต้ จำกัด 2 กรณี และ 10.คูโบต้า 2 กรณี ซึ่งปัญหาด้านมาตรฐที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ร้องเรียน เช่น เกียร์กระชาก สมองเกียร์พัง เกียร์กระตุกเวลาเร่งเครื่องรอบขึ้นแต่ความเร็วไม่ขึ้น เครื่องยนต์ร้อนและมีเสียงดังผิดปกติ คันเร่งค้าง เครื่องเร่งเอง เครื่องพุ่ง มีกลิ่นและเขม่าควันเข้ามาในห้องโดยสาร และถุงลมนิรภัยไม่ทำงานที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ สถิติร้องเรียนปัญหารถยนต์'ป้ายแดง'7เดือนพุ่ง วันที่ 3 กันยายน 2556   สถิติรับร้องทุกข์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มกราคม – พฤศจิกายน 2556                                                             กลุ่มปัญหา ปี 2556 ร้อยละ มค. กพ. มีค. เมย. พค. มิย. กค. สค. กย ตค. พย. ธค. รวม   ธุรกิจศูนย์ออกกำลังกาย 8 3 2 1 3 1 1 0 1 0 0   20   เครื่องใช้ไฟฟ้า 1 0 0 1 0 0 0 0 0 0 0   2 1.79 ธุรกิจซื้อขายสัตว์เลี้ยง 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0   0 0.00 บริการท่องเที่ยว 0 1 0 0 1 0 0 0 0 0 0   2 1.79 บริการห้างร้าน 2 0 2 4 1 0 2 3 0 2 0   16 14.29 บริการให้เช่า 0 0 0 0 0 0 1 0 1 0 0   2 1.79 วัสดุก่อสร้าง 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0   0 0.00 อุปกรณ์อิเล็คทรอนิค 1 1 1 1 0 0 0 2 0 1 0   7 6.25 ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ 1 0 0 0 0 0 0 0 0 1 0   2 1.79 อุปกรณ์ในครัวเรือน 0 0 0 0 0 0 0 1 0 2 1   4 3.57 ยานพาหนะ 0 1 0 0 3 5 30 7 5 4 1   56 50.00 สินค้าเกษตร 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0   0 0.00 เครื่องแต่งกาย 0 0 0 0 0 0 0

อ่านเพิ่มเติม >