ฉบับที่ 198 สารกันบูดใน “เฉาก๊วย”

“เฉาก๊วย” 1 ในขนมหวานที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน ด้วยรสสัมผัสอันเป็นเอกลักษณ์ นุ่มเหนียวเคี้ยวอร่อย นำมารับประทานพร้อมน้ำแข็ง น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำเชื่อม ได้รสชาติหวานเย็นชื่นใจ เหมาะกับอากาศร้อนๆ ของเมืองไทยเฉาก๊วย หาทานได้ทั่วไป ที่เห็นบ่อยก็น่าจะเป็นตามร้านขายขนมหวานจำพวกหวานเย็น นอกจากนี้ยังที่ปรับปรุงสูตรให้กลายมาเป็นครื่องดื่ม ใช้เฉาก๊วยเส้นเล็กๆ ใส่ในน้ำเชื่อม เพื่อรับประทานง่ายยิ่งขึ้น เดี๋ยวนี้ เฉาก๊วย ถูกทำให้เพิ่มมูลค่า นำมาใส่ในเครื่องดื่มอย่าง ชา กาแฟ นมสด ก็อร่อยไปอีกแบบ ฉลาดซื้อฉบับนี้ ขอนำเสนอผลทดสอบ “สารกันบูดในเฉาก๊วย” ลองไปดูกันสิว่าขนมหวานในดวงใจของใครหลายๆ คน ปลอดภัยจากการใช้สารกันบูดหรือเปล่า?ผลทดสอบ- จำนวนตัวอย่าง เฉาก๊วย ที่นำมาทดสอบครั้งนี้มีทั้งหมด 30 ตัวอย่าง มีตัวอย่างที่ไม่พบการปนเปื้อนของสารกันบูด ทั้ง เบนโซอิก และ ซอร์บิก ถึง 14 ตัวอย่าง หรือเกือบ 50% ของตัวอย่างทั้งหมดที่นำมาทดสอบ ถือว่าเป็นข่าวดีของผู้บริโภค- นอกจากนี้ยังพบว่ามีอีก 5 ตัวอย่าง ที่พบการปนเปื้อนของ เบนโซอิก น้อยกว่า 1.50 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่น้อยมาก- มีตัวอย่างเฉาก๊วยที่พบปริมาณสารกันบูด เบนโซอิก และ ซอร์บิก เกินมาตรฐาน เพียงแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้น คือ เฉาก๊วยอาโก ศูนย์การค้าบางประกอก ที่พบปริมาณเบนโซอิก 1,387.37 มิลลิกรัมต่อปริมาณเฉาก๊วย 1 กิโลกรัม เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดที่สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อปริมาณเฉาก๊วย 1 กิโลกรัมข้อสังเกตเรื่องการแสดงฉลาก-ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของ เบนโซอิก และ ซอร์บิก จำนวน 16 จาก 30 ตัวอย่าง มีเพียง 4 ตัวอย่างที่แจ้งข้อมูลบนฉลากว่ามีการใช้สารกันบูด ประกอบด้วย1.ยี่ห้อ ปุ้น & เปา แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสีย INS202, 211 หรือ โปแตสเซียม ซอร์เบต และ โซเดียม เบนโซเบต ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสารกันเสีย เบนโซเอต ทั้ง 2 ชนิด โดยผลทดสอบพบ เบนโซอิก 219.56 มก./กก. และพบซอร์บิก 180.17 มก./กก.2.เฉาก๊วย (jelly glass) ของ นิตยาวุ้นมะพร้าว แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสีย โซเดียเบนโซเอท (INS211) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 292.03 มก./กก. และพบซอร์บิก 231.05 มก.กก.3.ยี่ห้อ แม่ปิงเฉาก๊วย แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสียโซเดียเบนโซเอท (INS211) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 321.05 มก./กก. และพบซอร์บิก 260.19 มก.กก.4.เฉาก๊วยอาโก ศูนย์การค้าบางปะกอก แจ้งว่า มีโซเดียมเบนโซเอท 0.02% ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 1,387.37 มก./กก. ข้อสังเกตเกี่ยวกับ ฉลากสินค้าที่แจ้งว่าไม่มีวัตถุกันเสียมีกลุ่มตัวอย่างที่แจ้งว่า “ไม่มีวัตถุกันเสีย” บนฉลากแต่จากผลทดสอบพบว่า มีการปนเปื้อน ได้แก่ 1.ยี่ห้อ นายอุ๋ย เฉาก๊วยโบราณ ผลทดสอบพบ เบนโซอิก น้อยกว่า 1.50 มก./กก.2.ยี่ห้อ เมจิกฟาร์ม ดีเซิ้ดทคัพ ขนมเยลลี่คาราจีแนน ผสมบุกผง ถั่วแดงและน้ำเฉาก๊วย 15% ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 6.53 มก./กก. และพบซอร์บิก 3.74 มก./กก.3.ยี่ห้อ เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถัง) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 68.85 มก./กก. 4.ยี่ห้อ เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถุง) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 79.41 มก./กก.มาตรฐานการใช้สารกันบูดใน เฉาก๊วย เฉาก๊วย จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับผลิตภัณฑ์ เยลลี่ เพราะมีกรรมวิธีในการผลิตในลักษณะเดียวกัน ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 213) พ.ศ. 2543 เรื่อง แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท นิยามความหมายของ เยลลี่ ไว้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำผลไม้ล้วนที่ได้จากการคั้นสดหรือสกัดจากผลไม้ หรือทำจากน้ำผลไม้ล้วนที่ผ่านกรรมวิธี หรือทำให้เข้มข้น หรือแช่แข็ง ซึ่งผ่านการกรองและผสมกับ น้ำตาลทำให้มีความข้นเหนียวพอเหมาะ (ส่วนเฉาก๊วยทำจากพืชที่เรียกว่า หญ้าเฉาก๊วยหรือGrass Jelly )สำหรับข้อกำหนดเรื่องการใช้สารกันบูด กรดเบนโซบิก และ กรดซอร์บิก ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) กำหนดไว้ อาหารกลุ่ม แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด สามารถใช้ กรดเบนโซอิก ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก สามารถใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม เช่นกัน ทั้งนี้หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ปริมาณรวมที่ใช้ต้องไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กฎหมายอนุญาตของสารตัวใดตัวหนึ่ง (อิงตัวที่ปริมาณน้อยที่สุด) ซึ่งในกรณีของ เฉาก๊วย อนุญาตให้ใช้สารกันเสีย กรดเบนโซบิก และ กรดซอร์บิก รวมกันสูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม -------------------------------------------------------------ฉลาดซื้อแนะนำ1.เฉาก๊วย ชนิดที่จำหน่ายในภาชนะบรรจุ นอกจากจะมีมาตรฐานที่ควบคุมโดยกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ยังมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่ออกโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นมาตรฐานแบบสมัครใจที่ช่วยทั้งยกระดับคุณภาพของผู้ผลิตสินค้า และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์2.มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เฉาก๊วย จะดูเรื่องการบรรจุ ภารชนะบรรจุที่สะอาด แห้ง ปิดสนิท สามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้ นอกจากนี้ยังดูเรื่องของการแสดงเครื่องหมายและฉลากบนบรรจุภัณฑ์ ต้องมีข้อมูล คือ -ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์ เช่น เฉาก๊วย วุ้นดำ เฉาก๊วยหวาน-ส่วนประกอบที่สำคัญ-น้ำหนักสุทธิ-วัน เดือน ปีที่ผลิต และวัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือข้อความว่า “ควรบริโภคก่อน (วัน เดือน ปี)”-ข้อแนะนำในการบริโภคและการเก็บรักษา เช่น ควรเก็บไว้ในตู้เย็น-ชื่อสถานที่ผลิต พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น3.คุณลักษณะที่ดีของเฉาก๊วย ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มีดังนี้ สี     ต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้กลิ่นรส     ต้องมีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้ ไม่มีกลิ่นแอลกอฮอล์ ปราศจากกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์เนื้อสัมผัส    ต้องนุ่ม หยุ่นตัว ไม่แข็งกระด้าง ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้4.ข้อนี้ แค่มองด้วยตาเปล่าอาจดูไม่เห็น แต่ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกำหนดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในเฉาก๊วยเอาไว้ด้วย -จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องไม่เกิน 1X104  โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม-เอสเชอริเชีย โคไล โดยวิธีเอ็มพีเอ็ม ต้องน้อยกว่า 3 ตัวอย่าง 1 กรัม-ยีสและรา ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัมอันตรายของ เบนโซอิก และ ซอร์บิกเป็นกลุ่มสารกันเสียที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ในอาหาร ซึ่งนิยมใช้ใน แยม เยลลี่ ผักผลไม้ดอง เครื่องดื่ม น้ำหวาน น้ำอัดลม แต่หากได้รับสารทั้ง 2 ชนิดจากการรับประทานอาหารในปริมาณสูง อาจส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย วิงเวียน และปวดศีรษะผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้นสำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2560

อ่านเพิ่มเติม >