ฉบับที่ 98 เครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 ใครช่วยคุณประหยัดไฟ (ฟ้า) ที่สุด

วฤษสพร วิริยะประสาท   เครื่องปรับอากาศ เบอร์ 5 ใครช่วยคุณประหยัดไฟ(ฟ้า)ที่สุดคงพอทราบวิธีเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศกันมาบ้างแล้ว ซึ่งหนึ่งในคำแนะนำสำคัญก็คือ ควรเป็นเครื่องปรับอากาศที่มีฉลากเบอร์ 5 เพราะจะช่วยให้ประหยัดไฟฟ้าได้มาก แต่ว่าถึงจะเป็นเบอร์ 5 เหมือนกันก็มีความแตกต่างนะคะ เบอร์ 5 มาอย่างไร"โครงการประชาร่วมใจใช้เครื่องปรับอากาศประหยัดไฟเบอร์ 5 " เป็นผลงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ที่ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมใจการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าและใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจุดมุ่งหมายในการลดการใช้พลังงานโดยรวมของประเทศ สำหรับเครื่องปรับอากาศซึ่งเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการเติบโตสูงและใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดทั้งในบ้านพักอาศัยและในภาคธุรกิจ กฟผ.ได้ขอความร่วมมือกับผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศให้เข้าร่วมโครงการเพื่อกำหนดระดับประสิทธิภาพและพัฒนาเครื่องปรับอากาศเพื่อติดฉลาก แสดงระดับประสิทธิภาพเบอร์ 5 ติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพตามมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์ (สฟอ.) เป็นหน่วยงานทดสอบค่าประสิทธิภาพ โดยเกณฑ์ที่ใช้กำหนด ประหยัดไฟเบอร์ 5 หมายถึง ท่านจ่ายค่ากำลังไฟฟ้า 1 หน่วย จะได้ความเย็นไม่น้อยกว่า 10,600 บีทียู (ซึ่งเครื่องปรับอากาศปกติโดยทั่วไปท่านจ่ายค่าไฟฟ้า 1 หน่วย จะได้ความเย็นประมาณ 7,000-8,000 บีทียูเท่านั้น) แสดงว่าถ้าใช้เครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 จะประหยัดไฟฟ้าถึงประมาณ 35% ความต่างของเบอร์ 5 ในปัจจุบันมีเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด เพื่อตอบสนองนโยบายการประหยัดพลังงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 จะมีประสิทธิภาพพลังงาน (EER - Energy Efficiency Ratio) สูงกว่า และช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้ามากกว่าเครื่องปรับอากาศที่ไม่ใช่เบอร์ 5 แต่ข้อเสียคือมีราคาสูงกว่าเครื่องปรับอากาศธรรมดา ดังนั้นผู้ซื้อจึงควรเปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างต้นทุนที่เพิ่มขึ้นกับค่าไฟฟ้าในระยะยาว แต่ก่อนจะเปรียบเทียบเบอร์ 5 ของเครื่องปรับอากาศยี่ห้อต่างๆ เรามาทำความรู้จักกับค่า EER กันก่อนนะคะ เพราะตัวนี้คือจุดตัดสินสำคัญ ค่า EER (Energy Efficiency Ratio) หรืออัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศ คือ ค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศว่าดีหรือไม่ อย่างไร มีหน่วยเป็น (Btu/hr.)/W ดูจากหน่วยของค่า EER นี้แล้วก็คงเข้าใจได้โดยง่ายว่าค่า EER นั้นก็คืออัตราส่วนของความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้จริง (Output) กับกำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศนั้นต้องใช้ในการทำความเย็น (Input) เครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER ยิ่งสูงก็แสดงว่า เครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดียิ่งขึ้น วิธีคำนวณหาอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน (EER) คือ   EER = ขนาดของเครื่องปรับอากาศ(BTU/hr) กำลั งไฟฟ้าที่ใช้(Watt) เช่น ขนาดเครื่องปรับอากาศ 12,000 บีทียู/ชั่วโมง มีกำลังไฟฟ้า 1,200 วัตต์ 12,000 ค่า EER = 10 1,200 การติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพ ที่เราเห็นๆ อยู่ตามเครื่องปรับอากาศนั้น ฉลากแสดงประสิทธิภาพจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 จะเป็นแถบโค้งครึ่งวงกลมสีเขียว แสดงตัวเลขบอกระดับประสิทธิภาพตั้งแต่ระดับ 1 ถึงระดับ 5 ซึ่งถ้าฉลากแสดงระดับไหน ตัวเลขและช่องบรรจุตัวเลขในระดับนั้น จะเป็นสีแดงโดยตรงจุดศูนย์กลางของแถบโค้งครึ่งวงกลมนี้ จะมีตัวเลขบอกระดับประสิทธิภาพอยู่ในช่องวงกลมเพื่อเป็นการย้ำบอกระดับประสิทธิภาพอย่าง ชัดเจนส่วนที่ 2 จะเป็นส่วนตัวเลขการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อปีและค่าไฟฟ้าต่อปี รวมถึงค่าประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศส่วนที่ 3 จะแสดง ยี่ห้อ รุ่น และขนาดของเครื่องปรับอากาศที่ฉลากนี้ระบุระดับประสิทธิภาพอยู่ เปรียบเทียบเบอร์ 5 ใครมีค่า EER สูงกว่ากัน เรามาลองดูกันว่าเครื่องปรับอากาศประหยัดไฟเบอร์ 5 ยี่ห้อใดมีค่า EER สูงกว่ากัน เพราะนั่นหมายความว่ายิ่งมีค่า EER สูงก็ยิ่งประหยัดไฟขึ้นนั่นเองค่ะ ดาวโหลด ตารางเปรียบเทียบ ค่ะ EER ของแอร์แต่ละยี่ห้อ   ผลการจัดอันดับตามค่า EER ของเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดบีทียูในช่วงเดียวกันเป็นไปตามตารางที่นำเสนอไปข้างต้น ฉลาดซื้อขอสรุปว่าเครื่องปรับอากาศยี่ห้อที่มีค่า EER สูงกว่าจะมีแนวโน้มที่จะประหยัดไฟฟ้าได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้เราต้องพิจารณาค่าขนาดบีทียูประกอบด้วยค่ะเช่น ในตารางที่แสดงค่า EER อันดับหนึ่งมีค่าสูงกว่าอันดับสองไม่มากนัก แต่ค่าบีทียูของอันดับสองมีค่าต่ำกว่าของอันดับหนึ่งอยู่มาก แสดงว่า เครื่องปรับอากาศที่มี ค่า EER อันดับสองมีแนวโน้มประหยัดไฟฟ้ามากกว่า ฉลาดซื้อฝากเอาข้อมูลที่เรานำเสนอครั้งนี้เป็นคู่มือประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศด้วยนะคะ สำหรับท่านที่มีความจำเป็นในการซื้อ แต่สำหรับบางท่านที่สามารถใช้วิธีทางธรรมชาติเพื่อให้คลายร้อนได้ฉลาดซื้อขอปรบมือให้ค่ะ ตารางคำนวณอัตราการใช้ไฟฟ้าเปรียบเทียบคำนวณแอร์เบอร์ 5 (ที่ EER 10.6 คำนวณที่ 1 เดือนมี 30 วัน) เปรียบเทียบกับเบอร์ 4 จำนวน ชั่วโมงที่ใช้ 8 12 16 20 24 ขนาดเครื่อง No.4 No.5 No.4 No.5 No.4 No.5 No.4 No.5 No.4 No.5 9000 569 516 854 773 1139 1031 1423 1289 1708 1547 10000 633 573 949 859 1265 1146 1581 1432 1898 1718 12000 759 687 1139 1031 1518 1375 1898 1718 2277 2062 16000 1012 917 1518 1375 2024 1833 2530 2291 3036 2750 18000 1139 1031 1708 1547 2277 2062 2846 2578 3416 3093 20000 1265 1146 1898 1718 2530 2291 3163 2864 3795 3437 22000 1392 1260 2087 1890 2783 2520 3479 3151 4175 3781 25000 1581 1432 2372 2148 3163 2864 3953 3580 4744 4296 28000 1771 1604 2657 2406 3542 3208 4428 4010 5313 4812 30000 1898 1718 2846 2578 3795 3437 4744 4296 5693 5155 33000 2087 1890 3131 2836 4175 3781 5218 4726 6262 5671 35000 2214 2005 3321 3007 4428 4010 5534 5012 6641 6015 38000 2404 2177 3605 3265 4807 4354 6009 5442 7211 6530 44000 2783 2520 4175 3781 5566 5041 6958 6301 8349 7561 56000 3542 3208 5313 4812 7084 6416 8855 8020 10626 9624 60000 3795 3437 5693 5155 7590 6874 9488 8592 11385 10311 63000 3985 3609 5977 5413 7970 7218 9962 9022 11954 10826

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point