ฉบับที่ 163 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนกันยายน 2557 บังคับใช้ “ค่าแท็กซี่มิเตอร์” 3 จังหวัดใหญ่ ภูเก็ตเรียกในสนามบินเพิ่ม 100 บ. กระทรวงคมนาคมประกาศอัตราแท็กซี่มิเตอร์ 3 จังหวัดใหญ่ เชียงใหม่-ขอนแก่น-ภูเก็ต 2 จังหวัดแรกเริ่มต้นที่ 2 กม.แรก 40 บาท ส่วนภูเก็ตเรียกในสนามบินบวกเพิ่ม 100 บาท เริ่ม 17 ก.ย. 57 จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดภูเก็ต อัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก 40 บาทระยะทางกิโลเมตรที่ 2 ขึ้นไปถึงกิโลเมตรที่ 10 กิโลเมตรละ 6 บาท ระยะทางกิโลเมตรที่ 10 ขึ้นไป กิโลเมตรละ 10 บาท กรณีรถไม่สามารถเคลื่อนที่หรือเดินรถต่อ ไปได้เกินกว่า 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อัตรานาทีละ 1 บาท ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร ให้กำหนด ดังนี้ (1) กรณีการจ้างผ่านศูนย์บริการสื่อสารเรียกรถยนต์รับจ้าง ให้เรียกเก็บค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารเพิ่มขึ้นจากที่แสดงไว้ในมาตรค่าโดยสารอีก 20 บาท (2) กรณีการจ้างจากภายในท่าอากาศยานเชียงใหม่ ณ จุดที่ได้จัดไว้เป็นการเฉพาะให้เรียกเก็บค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารเพิ่มขึ้นจากที่แสดงไว้ในมาตรค่าโดยสารอีก 50 บาท อัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร ระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก 40 บาท ระยะทางกิโลเมตรที่ 2 ขึ้นไปถึงกิโลเมตรที่ 10 กิโลเมตรละ 6 บาท ระยะทางกิโลเมตรที่ 10 ขึ้นไป กิโลเมตรละ 10 บาท กรณีรถไม่สามารถเคลื่อนที่หรือเดินรถต่อ ไปได้เกินกว่า 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อัตรานาทีละ 1 บาทค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างบรรทุกคนโดยสาร ในกรณีการจ้างผ่านศูนย์บริการสื่อสาร เรียกรถยนต์รับจ้าง ให้เรียกเก็บค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารเพิ่มขึ้นจากที่แสดงไว้ในมาตรค่าโดยสารอีก 20 บาท อัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารระยะทาง 2 กิโลเมตรแรก 50 บาท ระยะทางกิโลเมตรที่ 2 ขึ้นไปถึงกิโลเมตรที่ 15 กิโลเมตรละ 12 บาท ระยะทางกิโลเมตรที่ 15 ขึ้นไป กิโลเมตรละ 10 บาท กรณีรถไม่สามารถเคลื่อนที่หรือเดินรถต่อไปได้เกินกว่า 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อัตรานาทีละ 1 บาท ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารให้กำหนด ดังนี้ (1) กรณีการจ้างผ่านศูนย์บริการสื่อสารเรียกรถยนต์รับจ้าง ให้เรียกเก็บค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารเพิ่มขึ้นจากที่แสดงไว้ในมาตรค่าโดยสาร อีก 50 บาท (2) กรณีการจ้างจากภายในท่าอากาศยานภูเก็ต ณ จุดที่ได้จัดไว้เป็นการเฉพาะให้เรียกเก็บค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารเพิ่มขึ้นจาก ที่แสดงไว้ในมาตรค่าโดยสารอีก 100 บาท ที่มา  http://www.ratchakitcha.soc.go.th   "เครดิตบูโร" เตือน! อย่าหลงเชื่อ เรื่องลบข้อมูลแบล็กลิสต์ได้ นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า จากข่าวที่มีการจับกุมผู้โฆษณาชวนเชื่อประกาศทางอินเทอร์เน็ตว่าสามารถรับทำบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล บ้าน รถยนต์ ให้กับผู้ที่ถูกขึ้นบัญชีดำติดแบล็กลิสต์หรือปลดล็อกหนี้จากเครดิตบูโรนั้น เครดิตบูโรอยากจะสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจว่า ข้อมูลในฐานข้อมูลมิใช่ข้อมูลแบล็กลิสต์ หรือเป็นข้อมูลที่แสดงความไม่น่าเชื่อถือของบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่อย่างใด สิ่งที่จัดเก็บตามที่กฎหมายกำหนด คือประวัติการก่อหนี้และประวัติการชำระหนี้ของบัญชีสินเชื่อที่บุคคลนั้นมีอยู่กับสมาชิกของเครดิตบูโร โดยปัจจุบันเครดิตบูโรมีสมาชิกทั้งสิ้น 80 สมาชิก ทั้งนี้ข้อมูลของการก่อหนี้ประเภทต่างๆ รวมทั้งประวัติการชำระเงินที่ไม่มีค้างชำระหรือประวัติการค้างชำระ ถ้ามีตามที่เกิดขึ้นจริงจะมีการจัดเก็บตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เครดิตบูโรไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ลบทิ้งให้ต่างไปจากความเป็นจริงได้ และไม่มีใครไปปลดล็อกอะไรได้ตามที่มีการโฆษณาหลอกลวง อีกทั้งเครดิตบูโรไม่มีการจัดเก็บข้อมูลการชำระ หรือค้างชำระเกี่ยวกับสาธารณูปโภคทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น เบอร์โทรศัพท์ รายการบัญชีเงินฝาก ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า หรือข้อมูลทรัพย์สิน เงินฝากแต่อย่างใด เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ดำเนินการจัดเก็บ หากใครฝ่าฝืนจะมีโทษในทางอาญา “การจะแก้ไขข้อมูลในเครดิตบูโรสามารถทำได้ในกรณีที่ข้อมูลนั้นไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงเท่านั้น โดยต้องมีหลักฐานชัดเจนที่พิสูจน์ได้ว่าข้อมูลไม่ถูกต้องเช่น เจ้าหนี้-ลูกหนี้ยืนยันว่าไม่ถูกต้อง ศาลมีคำพิพากษา ฯลฯ จึงขอให้ประชาชนระมัดระวัง และอย่าหลงเชื่อโดยเด็ดขาด การทำธุรกรรมทางการเงินหรือการขอสินเชื่อนั้น ควรติดต่อสถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตโดยตรงจะปลอดภัยที่สุด” นายสุรพล กล่าว   ห้ามช่อง 3 ออริจินอล ออนเเอร์ผ่านโครงข่ายเคเบิล ดาวเทียม ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์(กสท.) มีมติเมื่อวันที่ 1 ก.ย.ให้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในระบบอนาล็อกของบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด สิ้นสุดสถานะการเป็นฟรีทีวี ตามประกาศหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (Must Carry) โดยไม่ขยายเวลาให้อีก จากที่ก่อนหน้านี้เคยขยายเวลาการเป็นฟรีทีวีให้ช่อง 3 อนาล็อกมาแล้วเป็นเวลา 100 วัน นับแต่วันที่ 26 พ.ค. โดยครบกำหนดเมื่อวันที่ 1 ก.ย. ซึ่งส่งผลให้ช่อง 3 อนาล็อก จะไม่สามารถออกอากาศในโครงข่ายทีวีดาวเทียมและเคเบิลได้อีกต่อไป แต่การรับชมผ่านเสาอากาศหนวดกุ้งและก้างปลายังเป็นไปตามปกติ จากกรณีดังกล่าว ทางช่อง 3 ได้ยื่นฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนมติของ กสท. พร้อมขอให้ศาลทุเลาการบังคับใช้มติของ กสท.ดังกล่าว เพื่อให้ช่อง 3 ยังคงออกอากาศผ่านเคเบิลและทีวีดาวเทียมได้ต่อไป จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา แต่ศาลยกคำร้อง ช่อง 3 จึงได้อ้างประกาศ คสช.ฉบับที่ 27 ว่า คุ้มครองให้โทรทัศน์ทุกช่องออกอากาศได้ทุกช่องทาง ทั้งภาคพื้นดิน ดาวเทียมและเคเบิล แต่ทาง คสช. ยืนยันว่า ไม่มีประกาศฉบับใดของ คสช.ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องระบบอนาล็อกหรือทีวีดิจิตอล ช่อง 3 จึงหันมาอ้างจำนวนคนดูช่อง 3 ผ่านระบบเคเบิลและดาวเทียมว่ามีมากถึง 70% ดังนั้นช่อง 3 จึงไม่ควรจอดำจากเคเบิลและดาวเทียม ซึ่งการอ้างดังกล่าวส่งผลให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ช่อง 3 กำลังจับคนดูเป็นตัวประกัน หลังจากนั้น ได้มีการประชุม กสท.เมื่อ วันที่ 5 ก.ย. แต่ไม่ครบองค์ประชุม ทำให้การประชุมล่ม และนัดประชุมใหม่ในวันที่ 8 ก.ย. อย่างไรก็ตาม กสท. 3 คน ที่เข้าประชุมในวันที่ 5 ก.ย. ประกอบด้วย น.ส. สุภิญญา กลางณรงค์ ,พล.ท. พีระพงษ์ มานะกิจ และ ผศ. ดร. ธวัชชัย จิตภาษ์นันท์ ได้เปิดแถลงจุดยืนส่วนตัวต่อปัญหาช่อง 3 ว่า กสท.ต้องปฏิบัติตามมติเมื่อ วันที่ 1 ก.ย.ด้วยการออกคำสั่งทางปกครองแจ้งให้โครงข่ายเคเบิลและดาวเทียมห้ามออก อากาศช่อง 3 อนาล็อก เนื่องจากไม่มีสถานะเป็นฟรีทีวีแล้ว และให้เคเบิลและดาวเทียมแจ้งผู้ชมทราบเป็นเวลา 15 วันว่าจะไม่สามารถรับชมช่อง 3 อนาล็อกได้อีก หลังการแถลงดังกล่าว ปรากฏว่า ช่อง 3 ไม่พอใจ จึงได้ส่งทนายไปฟ้องต่อศาลอาญาเมื่อวันที่ 8 ก.ย.กล่าวหาว่า กสท. ทั้งสามคนปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดย น.ส. สุภิญญาถูกกล่าวหามากสุด 3 ข้อหา คือ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หมิ่นประมาท และฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งศาลได้นัดฟังคำสั่งว่าจะรับไว้ไต่สวนมูลฟ้องหรือไม่ ในวันที่ 18 ก.ย. 57 ด้าน น.ส.สุภิญญา กล่าวถึงกรณีที่ถูกช่อง 3 ฟ้องว่า อาจพิจารณา ฟ้องกลับ เนื่องจากเห็นว่าช่อง 3 มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ เพราะส่งทนายไปฟ้องก่อนที่จะมีการประชุมบอร์ด กสท. จึงเห็นว่าการกระทำของช่อง 3 อาจเข้าข่ายขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐได้ ภาคประชาสังคมจี้รัฐบาลบรรจุระบบประกันสุขภาพมาตรฐานเดียวในรัฐธรรมนูญ 7 กันยายน 2557 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ร่วมกับกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ จัดเสวนา ‘ระบบหลักประกันสุขภาพยุค คสช. ปฏิรูปอย่างไรเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ’ ณ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม กรุงเทพฯ น.ส.สุภัทรา นาคะผิว ผู้แทนกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า จากกรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พูดผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติเกี่ยวกับประเด็นหลักประกันสุขภาพอยาก ให้มีการใช้จ่ายเฉพาะคนยากจน นั่นแสดงถึงความไม่เข้าใจในเรื่องดังกล่าวอย่างเพียงพอ ท่านยังมองครอบคลุมเฉพาะกรณีสงเคราะห์ผู้ยากไร้เท่านั้น ทั้งที่ความจริงสิ่งเหล่านี้คือสิทธิของประชาชนทุกคน จึงทำให้เราต้องลุกขึ้นมาเฝ้าจับตา เพราะหวั่นว่าจะมีบุคคลบางกลุ่มพยายามล้มหลักการสำคัญนี้ “เราอยากเห็นระบบหลักประกันสุขภาพมี มาตรฐานเดียว แต่จะรวมกองทุนต่าง ๆ หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ อย่างไรก็ตาม หากรวมเป็นกองทุนเดียวกันได้ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ” ผู้แทนกลุ่มคนรักหลักประกันฯ กล่าว และว่าในฐานะที่ถูกเสนอชื่อเข้าเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จะทำทุกช่องทางให้เกิดขึ้น เพราะเราอยากเห็นทุกคนที่อยู่บนแผ่นดินไทย ไม่เว้นแม้กระทั่งแรงงานข้ามชาติ ได้รับการดูแล น.ส.สุภัทรา กล่าวต่อว่า แนวทางการปฏิรูปจึงควรบรรจุหลักการให้ระบบหลักประกันสุขภาพมีมาตรฐานเดียว ไว้ในรัฐธรรมนูญ สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และจัดการกับนโยบายที่อาจเป็นอุปสรรคในการขับเคลื่อนรอบด้าน ด้าน นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ผู้แทนชมรมแพทย์ชนบท ระบุถึงความเป็นห่วงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) ที่เข้ามาบริหารงานด้วยระยะเวลาเพียง 1 ปี ต้องพบกับข้อจำกัดบางประการ กล่าวคือ ระบบหลักประกันสุขภาพยังมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ทำให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ต้องเตรียมทางออกไว้ โดยการปรับลดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงบประมาณ ส่วนหน่วยบริการต้องปรับเพิ่มประสิทธิภาพการบริการมากขึ้น ขณะที่ความขัดแย้งระหว่าง สธ.กับ สปสช. นั้น เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่ากังวล เนื่องจาก สธ.ยังมีแผนเดินหน้าดำเนินการรวบอำนาจกลับคืน ยกตัวอย่าง การจัดตั้งเขตบริการสุขภาพ แต่ความจริงแล้วอยากให้หันกลับมาทบทวนภารกิจเดิมของตัวเองมีความเหมาะสมหรือ ไม่ เพราะปัจจุบัน สธ.มีงบประมาณอยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ แต่กลับไม่ได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม เช่น กรมสุขภาพจิตไม่นำผู้ป่วยทางจิตมารับการบำบัดอย่างเต็มที่ กรมควบคุมโรคยังไม่มีวิธีควบคุมโรคท้องถิ่นที่ดีพอ อาทิ โรคไข้เลือดออก โรคฉี่หนู โรคอุจจาระร่วง ขณะที่ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงข้อเสนอให้มีการปฏิรูประบบบริการฉุกเฉิน ซึ่งที่ผ่านมามีการดำเนินโยบายที่ดี แต่เกิดปัญหาในเชิงบริการจัดการมาก จึงเรียกร้องให้ สธ.ออกประกาศบังคับให้โรงพยาบาลเอกชนยอมรับอัตราร่วมจ่ายกรณีฉุกเฉิน และต้องมีระบบสำรองเตียงนอนขั้นต่ำ 10% ให้กับผู้ป่วยทุกคนและเพิ่มตามสัดส่วนกำไรของโรงพยาบาล “เราได้รับจดหมายจากสภาผู้แทนราษฎรแจ้งกรณีประชาชนขอเข้าชื่อ 1 หมื่นชื่อ เพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายด้านการบริการสาธารณสุขไม่สามารถดำเนินการได้ แล้ว เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ถูกยกเลิก และยังไม่ได้เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคสช.นำเรื่องนี้ขึ้นมาวินิจฉัยด้วย โดยทำอย่างไรให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วม”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 120 กระแสในประเทศ

  ประมวลเหตุการณ์เดือนมกราคม 2554 19 มกราคม 2554ฉลากอาหารปรับลุคใหม่ หวาน – เค็มเท่าไหร่รู้ได้เลยคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมออกประกาศ ปรับปรุงการแสดงฉลากอาหารสำเร็จรูปทุกประเภท รวมทั้งน้ำดื่มทุกชนิด ที่เป็นการให้ข้อมูลโภชนาการแก่ผู้บริโภคให้อ่านง่ายและเข้าใจมากขึ้น จากเดิมที่มีรายละเอียดซับซ้อนและเข้าใจได้ยาก ผู้บริโภคต้องคิดคำนวณสารอาหารที่ได้หรือเปรียบปริมาณที่ควรกินต่อวันเอง แต่ข้อมูลในฉลากใหม่นี้จะเน้นที่การให้ข้อมูลสารอาหารที่บรรจุภายในผลิตภัณฑ์ เปรียบเทียบเป็นร้อยละความต้องการสารอาหารของร่างกายในแต่ละวัน รวมทั้งปรับปรุงจากเดิมที่เป็นการกำหนดสารอาหารต่อ 1 หน่วยบริโภค เป็นสารอาหารตามจำนวนที่บรรจุแทน เพราะปัจจุบันอาหารมีการบรรจุหลายขนาด บางครั้ง 1 หน่วยบริโภคอาจเป็นน้ำหนักเพียง 1 ใน 4 ของน้ำหนักอาหารจริงใน 1 ซองก็ได้ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคหลายคนเข้าใจผิด  การปรับปรุงฉลากอาหารของ อย. จะทำให้ผู้บริโภคคำนวณสารอาหารที่กินได้ง่ายขึ้น และจะแสดงค่าสารอาหารสำคัญๆ ได้แก่ พลังงาน น้ำตาล ไขมันอิ่มตัว และเกลือ ซึ่งการกำหนดฉลากในรูปแบบใหม่นี้ จะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถควบคุมเรื่องการกิน หวาน มัน เค็ม ไม่ให้มากเกินไป ทำให้สามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ง่ายขึ้น โดย อย. ตั้งเป้าว่าผู้บริโภคจะได้เห็นฉลากรูปแบบใหม่นี้ในปี 2554++++++++++++++++++++++++++++   23 มกราคม 2554ถึงเวลาคุมเข้ม สัญญา “ฟิตเนส”สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เตรียมออกกฎหมายคุมเข้มบริการ “ฟิตเนส” หลังยอดร้องเรียนปี 53 พุ่ง 200 ราย โดยประเด็นที่ร้องเรียนส่วนใหญ่คือเรื่อง การไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาในเรื่องการบริการ ที่ก่อนจะมีการทำสัญญา พนักงานขายจะบอกว่าสามารถใช้บริการด้านใดได้บ้าง แต่เมื่อทำสัญญาแล้วไม่เป็นตามข้อตกลงที่วางไว้ กับอีกเรื่องคือ เรื่องการบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด ที่ผู้ใช้บริการไม่สามารถเรียกร้องเอาเงินคืนจากผู้ประกอบการได้ และจะมีการหักเงินจากบัตรเครดิตเป็นรายเดือน ในการทำสัญญาระหว่างผู้ประกอบการและลูกค้าจะเป็นการทำสัญญากันเองของสองฝ่าย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะถูกเอาเปรียบ และไม่สามารถเอาผิดกับผู้ประกอบการได้ เนื่องจากไม่มีข้อกฎหมายบังคับ  โดยสาระสำคัญของ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาฯ จะเจาะจงแต่สถานที่ให้บริการแบบที่มีอุปกรณ์ออกกำลังกายเท่านั้น ไม่รวมสถานที่ที่มีหลักสูตรเฉพาะอย่าง โยคะ ศิลปะป้องกันตัว หรือกีฬา โดยการทำสัญญาต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน พร้อมระบุรายละเอียดขนาดพื้นที่ จำนวนประเภท จำนวนอุปกรณ์ออกกำลังกาย สิ่งอำนวยความสะดวก  อัตราค่าสมาชิก ค่าใช้บริการออกกำลังกาย ค่าฝึกสอน ลักษณะการเรียกเก็บเงิน ระยะเวลาการเป็นสมาชิก ฯลฯ  สิทธิในการบอกเลิกสัญญา เงื่อนไขการขอเรียกคืนเงิน ซึ่งต่อไปหากพบสัญญาไม่เป็นธรรม ผู้บริโภคสามารถฟ้องร้องได้++++++++++++++   26 มกราคม 2554ผู้บริโภคเสี่ยงน้ำมันทอดซ้ำเพราะน้ำมันปาล์มขึ้นราคาผลพวงจากวิกฤติราคาน้ำมันปาล์มที่แพงขึ้น กระทรวงสาธารณสุขมีความเป็นห่วงว่า บรรดาพ่อค้า-แม่ค้าอาจใช้วิธีประหยัดต้นทุนด้วยการใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำหลายๆ ครั้ง ซึ่งเป็นอันตรายกับผู้บริโภค เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าการนำน้ำมันมาทอดซ้ำ จะเป็นการก่อให้เกิดสารโพลาร์ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง  กระทรวงสาธารณสุขเคยสุ่มตรวจตัวอย่างน้ำมันที่ใช้ทอดอาหาร ในร้านขายอาหารในปี 2553 จำนวนทั้งหมด 4,397 ตัวอย่าง พบมีสารโพลาร์เกิน 294 ตัวอย่าง ในช่วงวันที่ 1-14 มกราคม 2554 ได้ตรวจน้ำมันทอดซ้ำในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 494 ตัวอย่าง พบน้ำมันทอดซ้ำไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 5.06  กระทรวงสาธารณสุขฝากถึงพ่อค้า-แม้ค้าว่า ไม่ควรน้ำมันทอดซ้ำเกิน 2 ครั้ง โดยหลังจากใช้ทอดครั้งแรกแล้ว จะต้องกรองกากทิ้งก่อน จึงจะสามารถนำน้ำมันมาใช้ทอดครั้งที่ 2 ได้ หากสุ่มตรวจแล้วพบมีสารโพลาร์เกินมาตรฐาน คือไม่เกินร้อยละ 25 ต่อน้ำหนักน้ำมันที่ใช้ ถือว่ามีความผิดฐานจำหน่ายอาหารไม่ได้มาตรฐาน มีสิทธิโดนโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++   บรอดแบรนด์ 199 บาท เพื่อการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตทีโอที ได้เปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตราคาถูกใน 6 จังหวัด ด้วยระบบบรอดแบนด์ 2 เมกะบิต เพียง 199 บาทต่อเดือน ภายใต้โครงการ “ถนนไร้สาย” ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ซึ่งเป็นโครงการนำร่องให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเครือข่ายไร้สาย หรือ ไว-ไฟ (Wi-Fi) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ตามนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ โดยเริ่มต้นไปแล้ว 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช, ตรัง, เพชรบูรณ์, เชียงใหม่, เชียงราย และ พิษณุโลก  โดย ทีโอที หวังว่าการให้บริการอินเตอร์เน็ตในราคานี้ จะช่วยให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตภายในประเทศมีความแพร่หลายมากขึ้น เพราะปัจจุบันอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ขั้นต่ำ 6 เมกะบิต อยู่ที่ 599 บาทต่อเดือน ซึ่งยังถือว่าค่อนข้างสูงเกินไปสำหรับลูกค้าที่มีรายได้น้อย การปรับลดราคาโดยใช้เงื่อนไขลดความเร็วของอินเตอร์เน็ตลง จึงน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน – นักศึกษา  แต่บริการนี้ก็ยังติดปัญหาเรื่องการให้บริการยังไม่ครอบคลุมในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งถ้าจะทำให้เข้าถึงได้ทั่วประเทศต้องใช้เงินลงทุนสูง  แบบนี้คงต้องฝากความหวังเอาไว้กับ 3 จี ซึ่งหวังว่าบ้านเราจะมีโอกาสได้ใช้เร็วๆ นี้++++++++++++++++++++++++++++++++++++++   คัดค้านเครดิตบูโร เก็บประวัติการจ่ายค่าน้ำ – ค่าไฟมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคยื่นหนังสือคัดค้านการจัดเก็บประวัติการชำระค่าระบบสาธาณูปโภค ต่อบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด(เครดิตบูโร) เพราะเห็นว่าไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค เรื่องการจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ไม่น่าจะมีผลเกี่ยวข้องกับเรื่องขอสินเชื่อ พร้อมเสนอให้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงสินเชื่อของประชาชนโดยไม่เป็นธรรม  นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค กล่าวว่าการเข้ายื่นหนังสือครั้งนี้ต้องการให้ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ทบทวนการนำประวัติการชำระค่าระบบสาธาณูปโภคมาเป็นเงื่อนไขในการของสินเชื่อ เพราะเรื่องการชำระ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าโทรศัพท์ของผู้บริโภคไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงิน แถมยังเป็นการซ้ำเติมประชาชน เพราะปัญหาเรื่องการขาดชำระค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นเรื่องที่อาจเกิดได้จากหลายเหตุผล ทั้งจากความผิดพลาดด้านเอกสาร ที่อาจตกหล่นไม่ถึงมือผู้ใช้บริการ หรือการที่ชื่อของผู้ขอใช้กับผู้ใช้จริงไม่ได้เป็นคนเดียวกัน อย่างในกรณีของผู้ให้บริการหอพัก บ้านเช่า หรือการที่อาจถูกแอบอ้างชื่อโดยมิจฉาชีพไปจดทะเบียนของใช้บริการโทรศัพท์ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยความไม่ตั้งใจ หากมีการนำไปบันทึกประวัติเสียในเครดิตบูโร ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ถึง 3 ปี แม้เงินที่ค้างชำระจะเป็นเงินจำนวนไม่มากและผู้บริโภคจะได้ชำระเงินเรียบร้อยในภายหลังแล้วก็ตาม ซึ่งเป็นเรื่องที่ดูไม่สมเหตุสมผลหากกลายมาเป็นอุปสรรคในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน++++++++++++++++++++++  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 168 ไม่ได้เป็นหนี้แล้ว ยังส่งข้อมูลไปเครดิตบูโรอีก ต้องทำอย่างไร

คดีนี้โจทก์เป็นผู้บริโภคไปกู้ยืมเงินจากจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัดไม่ใช่สถาบันการเงิน(บริษัทจีอี แคปปิตอล(ประเทศไทย) จำกัด) โจทก์ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยไปได้ 4 เดือน แล้วเห็นว่าการคิดดอกเบี้ยของจำเลยนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงนำต้นเงินที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีไปชำระให้แก่จำเลย แต่จำเลยยังส่งใบแจ้งหนี้ไปให้โจทก์ว่ายังค้างชำระอยู่อีก(ก็ค้างชำระในส่วนดอกเบี้ยที่ผิดกฎหมาย ) และจำเลยแจ้งข้อมูลที่โจทก์ค้างชำระหนี้ดังกล่าวไปยังบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด โจทก์จึงฟ้องและแก้ไขคำฟ้อง ขอให้เพิกถอนสัญญาให้สินเชื่อเงินสดฉบับลงวันที่ 31 มกราคม 2544 และให้บังคับจำเลยมีหนังสือแจ้งบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ว่าโจทก์ไม่มีภาระหนี้สินค้างกับจำเลย หากจำเลยไม่ปฏิบัติ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 1,027,347 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้อง(ฟ้องวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548 ) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยมีหนังสือถึงบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ว่าโจทก์ไม่มีภาระหนี้สินค้างกับจำเลย หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ คำขออื่นให้ยก โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาโดยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14228/2555 วินิจฉัยว่า จำเลยไม่ใช่สถาบันการเงินตามกฎหมาย ขณะทำสัญญายังไม่มีประกาศกระทรวงการคลังและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน จำเลยจึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากโจทก์เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 654 และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ข้อตกลงเกี่ยวกับผลประโยชน์จากการกู้ยืมส่วนที่ถือเป็นดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ.มาตรา 150 เมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้จำเลยครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยแจ้งข้อมูลแก่บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ว่า โจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยอยู่ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์และทำให้สถาบันการเงินที่ให้กู้ดอกเบี้ยต่ำปฏิเสธไม่ให้โจทก์กู้เงิน ทำให้โจทก์ต้องกู้เงินนอกระบบสถาบันการเงิน แต่ค่าเสียหายอันเป็นผลต่างดอกเบี้ยระหว่างการขอสินเชื่อกับการขอกู้เงินจาก พ. ที่โจทก์เรียกมา มิใช่ค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยแจ้งข้อมูลแก่บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด  แต่เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษกรณีที่ไม่ชำระหนี้ ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์ดังกล่าวล่วงหน้าก่อนแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้คาดเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวล่วงหน้าก่อนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ได้ พิพากษายืน (โจทก์กู้เงินไปเพียง 25,000 บาท ได้ค่าเสียหายมา 50,000 บาท)

อ่านเพิ่มเติม >