ฉบับที่ 270 จัดการหัวเข่า-ข้อศอกดำด้านอย่างไรดี?

        ปัญหาผิวกายที่กวนใจสุดๆ ของหลายคน นอกจากเรื่องผิวแห้งคล้ำเสียหรือริ้วรอยจากแผลต่างๆ  อีกเรื่องก็คงเป็น “ข้อศอกกับหัวเข่า ดำและด้าน” ใช่ไหม ปัญหาสุดคลาสสิกของเหล่าคนที่ชอบผิวสวยสว่าง การมีข้อศอกและหัวเข่าดำด้านคงทำให้หงุดหงิดเป็นแน่         เนื่องจากเป็นจุดของข้อต่อ การมีผิวหนังบริเวณดังกล่าวดำด้านสาเหตุมักจะเกิดจากการเสียดสีบ่อยๆ เช่น การเท้าโต๊ะ วางแขนในการนั่ง นอน หรือนั่งคุกเข่าบ่อยๆ และบางคนก็อาจมีสาเหตุจากพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหรือผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิดอีกด้วย         ดังนั้นหากเป็นสาเหตุที่พฤติกรรม เช่น การเท้าโต๊ะหรือคุกเข่าบ่อยๆ ก็อาจจะหลีกเลี่ยงการทำสิ่งนั้น เพื่อไม่ให้เกิดการเสียดสีกับบริเวณข้อศอกและเข่าได้  หรือสามารถดูแลได้ตามวิธีดังนี้         ·     ใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มผลัดเซลล์ผิวช่วย เช่น กลุ่ม AHA BHA ได้แต่ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะอาจจะเกิดการระคายเคืองหรือผิวอักเสบ ทำให้ผิวบริเวณนั้นมีสีที่เข้มกว่าเดิมได้ และอีกตัวเลือก คือ พวกกลุ่ม Whitening ก็ช่วยได้เหมือนกัน        ·     อีกวิธีคือการสครับผิวบริเวณข้อศอกและหัวเข่า เพื่อผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไป แต่ก็ไม่ควรสครับโดยการขัดและถูแรงๆ จนเกินไป 1 อาทิตย์ใช้แค่ 2-3 ครั้งพอ         ·     ส่วนจะซื้อผลิตภัณฑ์พวกนี้ได้ที่ไหนแล้วไม่เป็นอันตราย สามารถเลือกซื้อได้ตามร้านค้าที่น่าเชื่อถือในห้างสรรพสินค้าทั่วไปได้เลย ใครที่จะใช้พวกครีมผลัดเซลล์ผิวที่มีส่วนผสม AHA BHA ก็ควรเลือกเน้นสูตรที่อ่อนโยนต่อผิวเป็นหลักได้ยิ่งดี ใครที่ชอบสครับก็เลือกที่เป็นส่วนผสมที่เป็นธรรมชาติ เช่น มะขาม ขมิ้น เป็นต้น  นอกจากนี้ ไม่ซื้อตามออนไลน์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ยกตัวอย่าง เช่น ร้านที่โฆษณาสินค้าเกินจริง เคลมการเห็นผลไว 3 วัน 7 วัน เห็นผล หรือถ้าจะสั่งออนไลน์จริงๆ ก็ควรสั่งกับ Account official ของร้านค้าเท่านั้น         ·     ที่สำคัญอย่าลืมเช็กรายละเอียดก่อนซื้อ คือ เลขจดแจ้งของ อย. และมีการเขียนส่วนผสมในฉลากให้ชัดเจน มีชื่อผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุให้ครบถ้วน         อย่างไรก็ตาม ฉลาดซื้อแนะนำให้ใช้มอยเจอร์ไรส์เซอร์เป็นตัวช่วยร่วมด้วย เพื่อเติมความชุ่มชื้นให้กับผิวในส่วนของข้อศอกและหัวเข่า เพราะว่าข้อศอกและหัวเข่าด้านนั้นคงมีอาการแห้งร่วมด้วย การบำรุงผิวด้วยการเติมความชุ่มชื้นประกอบกับผลัดเซลล์ผิวไปด้วยจะช่วยให้ผิวบริเวณนั้นดีขึ้นได้           ทั้งนี้ การเลือกมอยเจอร์ไรส์เซอร์ก็ควรเลือกที่เหมาะกับตัวเอง งดใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหอม พาราเบนหรือแอลกอฮอล์ ถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้กลุ่มสารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองไปด้วย เพราะอย่าลืมว่าบางคนก็มีผิวที่บอบบาง ซึ่งอาจทำให้มีอาการแพ้และผิวบริเวณนั้นมีอาการหนักกว่าเดิมได้ แต่หากใครที่ใช้กลุ่มที่มีน้ำหอมแล้วไม่แพ้ก็สามารถใช้ต่อไปได้ปกติค่ะ         กรณีข้อศอก เข่า ดำด้านในผู้ที่มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนหรือผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด ควรปรึกษากับแพทย์ผิวหนังโดยตรง พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลให้ละเอียดว่ารักษาหรือใช้ยาอะไรอยู่บ้าง เพื่อให้แพทย์รู้สาเหตุและรักษาได้อย่างตรงจุด         ทิ้งท้ายสิ่งที่ต้องระวังที่สุด คือ การหาข้อมูลการรักษาโรคในออนไลน์แล้วมีการให้ใช้ส่วนผสม ต่างๆ (ซึ่งไม่มีการพิสูจน์อย่างเป็นวิชาการ) มาทาที่ผิว บางอย่างถ้าไม่ศึกษาให้ดีก็อาจเป็นอันตรายได้ และจะยิ่งมีผลร้ายทำให้ต้องเสียทั้งสุขภาพและเงินทองจึงต้องระมัดระวังอ้างอิง :        https://hellokhunmor.com | ข้อศอกด้าน สาเหตุ การดูแลและการป้องกัน        https://th.theasianparent.com | ศอกด้านแค่ไหนก็เอาอยู่! วิธีแก้ข้อศอกด้าน ศอกดำ กู้ศอกคล้ำให้กลับมาขาวเนียน        https://youtu.be/uAGnNtlmkM0?si=l_NZXKbjeXoZIrdJ | "แก้หัวเข่าดำ ทำได้ไม่ยาก" คุยกับหมออัจจิมา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 244 การใช้ยาเพิ่มน้ำหนักดีจริงหรือ

        อยากเพิ่มน้ำหนัก อยากอ้วน แต่กินเท่าไรก็ไม่อ้วน ในเมื่อกินอาหารไม่อาจช่วยได้ กินยาช่วยเลยละกัน ทำแบบนี้ได้ไหม แล้วจะได้ผลจริงหรือเปล่า มันจะเป็นการแก้ปัญหาหรือสร้างปัญหากันนะ เรามาทำความรู้จักกับยาเพิ่มน้ำหนักกันเถอะ         ความหมาย         ยา  คือ สารทางธรรมชาติหรือสารเคมีที่ผ่านกรรมวิธีแล้วนำมาใช้งานให้ออกฤทธิ์ต่อร่างกาย เพื่อใช้ในการป้องกัน รักษา บำบัด หรือบรรเทาอาการของโรค ซึ่งจะแตกต่างในสรรพคุณและวิธีการใช้ ยาจะมีการทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าและมีการตรวจสอบถึงผลกระทบที่จะตามมากับผู้ใช้อย่างละเอียดก่อนจะอนุญาตให้ใช้ในคน เพราะยาบางประเภทอาจจะรักษาอาการหรือรักษาโรคชนิดหนึ่งหาย แต่กลับไปทำลายระบบร่างกายส่วนอื่น และทำให้ต้องรักษาการป่วยของร่างกายที่เกิดจากการรับประทานยาตัวนั้นด้วย ถึงตรงนี้จะพบว่า ยานั้นผ่านการตรวจสอบค่อนข้างละเอียด หากใช้ถูกวิธีก็เกิดผลดี แต่ก็อันตรายถ้าใช้ไม่เหมาะสม แล้วยาช่วยเพิ่มน้ำหนักนั้นมีอยู่จริงไหม         ยาช่วยเจริญอาหารหรือที่มักเรียกกันว่า “ยาเพิ่มน้ำหนัก” ที่รู้จักกันในวงกว้าง คือ ยาไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อการค้าว่า “เพอริแอคติน” (Periactin) และยาพิโซติเฟน (Pizotifen)         อันที่จริงสรรพคุณต้นฉบับนั้นเป็นยาแก้แพ้  แต่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการง่วงนอนและอื่นๆ โดยออกฤทธิ์กระตุ้นให้ร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินสูงขึ้น ทำให้ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อน้ำตาลต่ำก็จะไปกระตุ้นที่ศูนย์ความหิวในสมอง จึงทำให้เกิดอาการหิวหรืออยากกินอาหารมากขึ้น บ่อยขึ้น จึงช่วยให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในทางอ้อมได้          อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านี้ก็จะมีผลข้างเคียงหลายอย่างในการใช้จึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือขอคำแนะนำก่อนใช้ยาจากเภสัชกร ส่วนขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสมของการใช้ยาต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น หมายความว่า เราไม่ควรไปซื้อรับประทานเอง         ไม่กินยาได้ไหม         ปัญหาสุขภาพนั้น สิ่งแรกเลยที่ต้องจัดการคือ การค้นหาสาเหตุของปัญหา ถ้ามีรูปร่างผอมและดัชนีมวลกายน้อย เรี่ยวแรงไม่มี อาจเกิดได้จากสาเหตุหลายประการ เช่น กินอาหารไม่ถูกต้อง เป็นพันธุกรรม มีนิสัยการกินที่ผิด (เลือกกิน) หรืออาจมีปรสิตแอบอยู่ในตัว ฯลฯ จึงควรแก้ไขให้ถูกที่ โดยเริ่มจากพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยว่าไม่ได้มีสาเหตุทางกายภาพ เช่น มีพยาธิ เป็นกรรมพันธุ์หรือโรคร้าย หากสาเหตุเกิดจากโรคต้องให้แพทย์รักษา แต่หากเป็นเรื่องของพฤติกรรมลองนำวิธีเหล่านี้ไปใช้ดู         ·     ปรับวิธีกินให้เหมือนกับคนอ้วน            1.กินเร็วหรือเคี้ยวอาหารเร็วขึ้น            2.เพิ่มมื้ออาหาร            3.งดดื่มน้ำระหว่างรับประทาน            4.กินอาหารที่ให้พลังงานสูง                  ·     กินให้ถูกหลักโภชนาการ            1.กินอาหารดีมีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่  ไม่เลือกกิน            2.เพิ่มสัดส่วนหรือเน้นอาหารกลุ่มโปรตีนและไขมันเพิ่มเติมในมื้ออาหาร เพื่อช่วยเสริมกล้ามเนื้อ เช่น อกไก่ โปรตีนจากปลา ไข่ ธัญพืช กะทิ ถั่วและเมล็ดพืชต่างๆ         ·     เพิ่มการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี             ลองนำคำแนะนำข้างต้นนี้ไปปรับใช้ น่าจะช่วยเพิ่มน้ำหนักได้ แต่การเพิ่มน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นได้เพียงชั่วข้ามคืนต้องทำไปเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ แล้วผลลัพธ์จะออกมาดี และแน่นอนว่าดีกว่าการกินยาช่วยเพิ่มน้ำหนัก เพราะนั่นเป็นเพียงการใช้เสริมเพื่อให้เกิดความอยากอาหารขึ้นเท่านั้น ผลข้างเคียงก็เยอะ จึงไม่ควรเป็นสิ่งยึดหลัก เอาเป็นแค่ทางเลือกก็พอหากจำเป็นจริงๆ           ยาเพิ่มน้ำหนัก หรือยาช่วยเจริญอาหาร        1. ยาต้านซีโรโทนิน  (serotonin antagonist)             1.1 ไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine) : เป็นยาแก้แพ้ที่รู้จักในชื่อการค้าว่า “เพอริแอคติน” (Periactin)  มีสรรพคุณต้านฤทธิ์ของสารฮิสตามีนที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ ต้านฤทธิ์ซีโรโทนิน และออกฤทธิ์กระตุ้นให้ร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินสูงขึ้น ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อน้ำตาลต่ำก็จะไปกระตุ้นที่ศูนย์ความหิวในไฮโปทาลามัส (ส่วนหนึ่งของสมอง) ทำให้หิวหรืออยากกินอาหารมากขึ้น บ่อยขึ้น จึงช่วยให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในทางอ้อมได้ แต่น้ำหนักตัวจะไม่เพิ่มและยังอาจลดลงด้วยซ้ำเมื่อหยุดยา              ผลข้างเคียง             - ง่วงนอนตอนกลางวัน จึงอาจกระทบต่อผลการเรียนหรือการทำงาน             - ทำให้เกิดอาการอยู่ไม่สุข พลุ่งพล่าน             - ยังยั้งการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต (ถ้าใช้ในเด็กอาจทำให้เด็กตัวเตี้ย)             1.2 พิโซติเฟน (Pizotifen) : มีฤทธิ์และผลข้างเคียงคล้ายคลึงกับไซโปรเฮปทาดีน แต่มีราคาแพงกว่า         โดยทั่วไปแพทย์จะให้ใช้ยา 2 ชนิดนี้ ไม่นานเกิน 2 สัปดาห์ เพื่อเลี่ยงไม่ให้ไปรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ        2. ยากลุ่มคอร์ติโคสตีรอยด์และอะนาบอลิกฮอร์โมน             2.1 ยากลุ่มคอร์ติโคสตีรอยด์ : ผู้ขายยาบางรายมักผสมยานี้ลงใน “ยาชุด” หลายแบบ และโฆษณาว่าเป็นยาบำรุงร่างกายบ้าง ยาชุดเพิ่มความอ้วนบ้าง อันที่จริง ยากลุ่มนี้จัดว่าเป็น “ยาอันตราย” ห้ามซื้อขายโดยไม่มีใบสั่งแพทย์ เพราะมีผลข้างเคียงรุนแรงต่อผู้กินยาอย่างผิดวิธี ตัวยากลุ่มนี้ เช่น เพรดนิโซโลน (Prednisolone) เด็กซาเมทาโซน  ผลข้างเคียง             - กระดูกหยุดเจริญเติบโตในเด็ก และกระดูกผุในผู้ใหญ่             - ร่างกายบวมฉุจากการคั่งของเกลือและน้ำ ผู้ใช้ยาจึงหลงคิดว่าอ้วนขึ้น            - ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง เกิดโรคติดเชื้อได้ง่าย             - อาจเป็นเบาหวานหรือแผลในกระเพาะอาหาร             - ถ้าใช้ต่อเนื่องนานๆ จะกดการทำงานของต่อมหมวกไต และเสพติดได้             - อาจเกิดสิว ซึ่งรักษายาก ผิวหนังบาง ผิวหนังแตกเป็นริ้วตามหน้าท้องและขาอ่อน         2.2 อะนาบอลิกฮอร์โมน : ยากลุ่มนี้ที่มีแพร่หลายในท้องตลาดคือ แอนโดเจน เป็นฮอร์โมนที่มีมากในเพศชาย มีฤทธิ์กระตุ้นการเจริญของกระดูกและกล้ามเนื้อ ทำให้มีลักษณะของเพศชาย เช่น เสียงห้าว มีหนวดขนขึ้นดกดำ อวัยวะเพศชายเจริญรวดเร็ว 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 215 เด็ก...ที่มีพ่อแก่

หลายคนมีสัญชาติญาณต้องการมีลูกด้วยสาเหตุนานับประการ ซึ่งผู้เขียนไม่ขอกล่าวในที่นี้ แต่ขอเล่าเพียงว่า โดยส่วนตัวแล้วเมื่อครั้งมีลูกใหม่ๆ นั้นสิ่งที่ประจักษ์แน่คือ รักแม่มากขึ้นอีกหลายเท่าตัว เพราะการเลี้ยงเด็กอ่อนแต่ละคนจนโตนั้น พ่อแม่ที่มีความรับผิดชอบมักรู้สึกทั้งเหนื่อยกายและเหนื่อยใจ จนทำให้เข้าใจได้ว่า ทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งชื่อพระราชบุตรว่า ราหุล ซึ่งแปลว่า บ่วง ที่ทำให้เราต้องเป็นห่วงประจำ         อย่างไรก็ดียังมีประเด็นที่น่าเป็นห่วงมากขึ้นในปัจจุบันนี้ สำหรับพ่อแม่ที่ไม่คิดมีลูกกวนตัว เพราะสนุกกับงาน สนุกกับรูปแบบชีวิตที่หวือหวา สนุกกับเทคโนโลยีที่อำนวยความสนุก จนวันหนึ่งหลังจากอายุล่วงเลยเข้าสู่วัยแห่งความโรยรา จึงคิดได้ว่า ควรมีลูกเสียที ไม่ว่าจะโดยวิธีธรรมชาติหรือใช้ความสามารถของวิทยาศาสตร์การแพทย์ช่วย ซึ่งถ้าลูกมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง โตขึ้นเรียนหนังสือจบ ทำมาหาเลี้ยงตนเองได้ แล้วสุดท้ายกลับมาดูแลพ่อแม่เมื่อแก่ เรื่องราวก็จบลงอย่างสุขสมบูรณ์ แต่ถ้าเคราะห์ร้ายได้ลูกที่ไม่ปรกติ ทุกอย่างไม่เป็นตามที่หวัง ความทุกข์ย่อมมาเยือนสำหรับผู้หญิงเป็นที่รู้กันว่า ถ้ามีอายุมากเกิน 35 ปี เมื่อตั้งท้องแล้วจำเป็นต้องตรวจเซลล์ในถุงน้ำคร่ำว่า มีโครโมโซมผิดปรกติหรือไม่ เพื่อยืนยันว่าเด็กในท้องนั้นมีความปรกติอย่างที่ควรเป็น เพราะไข่ในรังไข่ของผู้หญิงที่อายุเกิน 35 ปีนั้นถือว่าเป็น ไข่ที่เก่าแล้ว (เนื่องจากไข่ทั้งหมดนั้นถูกสร้างไว้ในรังไข่ของเด็กหญิงตั้งแต่ราว 3 เดือนก่อนออกจากท้องแม่ จากนั้นไข่จึงถูกพัฒนาให้สุกพร้อมผสมกับอสุจิเมื่อโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์มีฮอร์โมนเพศหญิงต่าง ๆ มาจัดการ) อาจมีการกลายพันธุ์ เนื่องจากในช่วงเวลาที่ไข่ถูกเก็บไว้ในรังไข่นั้น ไข่มีโอกาสสัมผัสสารพิษที่เข้าสู่ร่างกายผู้เป็นแม่ หรือแม่รับการแผ่รังสีที่ทะลุทะลวงถึงเซลล์ไข่แล้วทำให้เกิดความผิดปรกติที่โครโมโซมของไข่ ดังนั้นโอกาสที่เด็กซึ่งเกิดจากแม่มีอายุเลยวัยกลางคนแล้วจึงมีโอกาสผิดปรกติเช่น ดาว์นซินโดรม สูงกว่าเด็กที่มีแม่อายุประมาณ 20 ปีสำหรับผู้ชายในตำราสรีรวิทยาที่ผู้เขียนเคยเรียนมาบอกเป็นทำนองว่า อสุจิของพ่อนั้นสร้างใหม่ทุกครั้งที่ต้องใช้(freshly prepare) แบบวันต่อวัน ผู้เขียนจึงสรุปเองว่า อสุจินั้นไม่น่าเป็นสินค้าค้างสต็อกนาน เหล่าชายชาตรีทั้งหลายจึงร่าเริงคิดเข้าข้างตนเองว่า มีลูกเมื่อใดก็ได้ ตราบใดที่ใจยังสู้ชูสองนิ้วอยู่ ดังนั้นผู้ชายหลายคนที่เมื่อภรรยาคนแรกปิดโรงงานไม่ยอมมีลูกเพราะอายุมากแล้วนั้น เขาต่างหาเหตุเปิดโรงงานใหม่เพื่อให้ได้มีลูกเพิ่มขึ้นมาโดยไม่มีความรู้ว่า ในส่วนหนึ่งของอัณฑะที่เรียกว่า หลอดสร้างอสุจิหรือ seminiferous tubule นั้นมีเซลล์ที่เรียกว่า สเปอร์มาโทโกเนียม (spermatogonium) ซึ่งจะมีฮอร์โมนมาช่วยพัฒนาให้กลายเป็นอสุจิตามความต้องการของร่างกาย ดังนั้นเซลล์ดังกล่าวนี้จึงมีอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนวันหนึ่งที่ชายสูงวัยแล้วแต่ยังต้องการสร้างตัวอสุจิก็จำเป็นต้องใช้เซลล์ที่เก่าเก็บมานาน ซึ่งอาจสัมผัสสารพิษที่เข้าสู่ร่างกายตลอดเวลาของการมีชีวิตหรือรับการแผ่รังสีจากแหล่งต่าง ๆ (เช่นเดียวกับไข่ในรังไข่ผู้หญิง) จนกลายพันธุ์ไปส่งผลให้ตัวอสุจิที่ได้ไม่สูมบูรณ์ดังที่ควรเป็น        บทความเรื่อง Association of paternal age with perinatal outcomes between 2007 and 2016 in the United States: population based cohort study (doi: 10.1136/bmj.k4372) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารออนไลน์ BMJ 2018;363:k4372 ในเดือนตุลาคม 2018 ได้ศึกษาและอภิปรายผลเหมือนเป็นการยืนยันว่า สมมุติฐานของความไม่สมบูรณ์เนื่องจากอสุจิของชายสูงวัยแล้วทำให้ได้ลูกที่ไม่สมบูรณ์นั้นเป็นจริง รวมถึงแม่ซึ่งแม้ยังสาวอยู่แต่ได้ตั้งท้องกับชายสูงวัยก็อาจมีลูกที่สุขภาพที่ไม่ปรกติงานวิจัยดังกล่าวศึกษาในเด็กอเมริกันเกิดใหม่ในช่วงปี 2007-2016 กว่า 40 ล้านคน โดยแบ่งกลุ่มพ่อของเด็กเหล่านี้ออกได้เป็น 5 กลุ่มอายุ คือ อายุน้อยกว่า 25 ปี 25-34, 35-44, 45-54 ปีและอายุมากกว่า 55 ปี ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้ชายมีความจำกัดของอายุในการมีลูก โดยเด็กที่มีพ่อสูงวัย (เกิน 45 ปี) มักคลอดก่อนกำหนดพร้อมน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์ และมีสุขภาพไม่ค่อยดีเช่น ระบบหายใจไม่ปรกติจึงทำให้มีค่า APGAR score ที่ต่ำ        APGAR score คือ ตัวเลขที่ได้จากการประเมินสภาวะเด็กทารกแรกเกิดใน 1 นาทีแรก ต่อด้วย 5 นาที และ 10 นาที หลังคลอด เป็นการประเมินภาวะการหายใจในทารกประกอบด้วย ลักษณะสีผิว อัตราการเต้นของหัวใจ สีหน้าจากการกระตุ้น การเคลื่อนไหวของทารก และความพยายามในการหายใจ ซึ่งมีค่าคะแนนเต็ม 10 คะแนน ทารกปกติต้องมีคะแนน 7 คะแนนขึ้นไป (ข้อมูลนี้อากู๋บอก)         นอกจากนี้ยังมีอาการผีซ้ำกรรมซัดให้สตรีที่ท้องกับสามีที่มีอายุเกิน 45 ปี ต้องเสี่ยงต่อโอกาสเป็นเบาหวานขณะตั้งท้อง (gestational diabetes ซึ่งส่งผลให้มีความดันโลหิตสูง วิตกกังวล และมักจำต้องทำการผ่าท้องคลอด) เนื่องจากรกที่เชื่อมระหว่างลูกและแม่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน human placental lactogen แล้วปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดของแม่จนอาจก่อให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน เพื่อเพิ่มการใช้พลังงานจากไขมันแล้วสงวนน้ำตาลในเลือดส่งไปให้ทารกในครรภ์ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีอาการเบาหวานขณะตั้งท้องแล้วไม่ได้รับการแก้ปัญหาให้เหมาะสมนั้น มักมีน้ำหนักมากผิดปรกติ มีน้ำตาลในเลือดต่ำและเป็นดีซ่าน        ประเด็นสำคัญที่ทำให้จำเป็นต้องมีงานวิจัยเกี่ยวกับผลจากการมีลูกเมื่ออายุมากของพ่อแม่นั้น เป็นเพราะประชาชนทั้งหญิงและชายของสหรัฐอเมริกาขณะนี้ จำเป็นต้องมีลูกเมื่ออายุสูงกว่าเดิมแล้วทั้งนั้น ในกรณีของผู้หญิงดังที่กล่าวในตอนต้นแล้วว่า รู้กันมานานว่าอายุที่จะมีลูกนั้นไม่ใช่แค่ตัวเลขที่ไม่สนใจไม่ได้ ผู้เขียนเคยอ่านพบคำแนะนำในวารสารวิชาการเรื่องหนึ่งกล่าวว่า อายุเหมาะที่สุดในการมีลูกสำหรับผู้หญิงคือ ช่วง 20 ปีต้นๆ ซึ่งในความเป็นจริงมักทำไม่ได้เพราะยังเรียนไม่จบปริญญาตรี ยังไม่มีงานที่มั่นคงถาวรจึงมีการเสนอว่า อายุประมาณ 27 ปี ดูเหมาะสมที่สุด ส่วนผู้ชายนั้นแต่เดิมไม่เคยกังวลเรื่องอายุ จึงมักทำหยิ่งไม่รีบมีลูก แต่เมื่องานวิจัยออกมาดังกล่าวข้าง งานก็เข้าซิครับท่านผู้อ่านข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตของชาย-หญิงอเมริกันจำนวนหนึ่งระบุว่า เขาเหล่านี้มักมีหนี้ที่กว่าจะชำระหมดก็เป็นช่วงวัยกลางคนตอนปลายๆ หนี้เหล่านี้ ได้แก่ เงินยืมเพื่อการศึกษา(ทำนองเดียวกับ กยศ.) เงินกู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ เงินกู้เพื่อซื้อรถยนต์ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น มือถือ ตลอดจนถึงสร้อยคอ เท่าที่แหล่งเงินกู้ยอมให้ยืม เนื่องจากคนอเมริกันไม่เคยเรียนรู้คำว่า พอเพียง จึงทำให้เป็นหนี้ยาวจนต้องรอถึงช่วงสูงวัยปลอดหนี้จึงคิดถึงการมีลูกเสียที ประเด็นนี้ดูจะคล้ายคนบางอาชีพในประเทศ กูมี ที่มักนิยมเป็นหนี้สหกรณ์เพื่อซื้อของที่อยากได้ให้มีเหมือนคนอื่นเขา ในลักษณะรสนิยมสูงเกินรายได้ จนมีการตั้งกลุ่มประกาศขอชักดาบเงินกู้ต่างๆ ทำให้สังคมที่ได้ยินข่าวนี้พากันสรรเสริญในความเลวที่ตั้งท่าจะกระทำบทเรียนที่อาจถอดออกมาได้จากงานวิจัยเกี่ยวกับการที่เด็กมีพ่อสูงวัยในสหรัฐอเมริกาอาจมีปัญหาด้านสุขภาพนั้น สามารถนำมาประยุกต์กับคนไทยเพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะปรากฏว่า อัตราการเกิดของคนในพื้นที่อาณาเขตประเทศไทยนั้นต่ำลงมาก โดยเฉพาะในคนที่มีการศึกษาดีที่มองอนาคตของลูกที่จะเกิดมาไม่ออก จนเมื่อใกล้หมดวัยเจริญพันธุ์แล้ว (แค่) บางคน (ซึ่งเป็นส่วนน้อย) ที่มองเห็นทางออกว่า ลูกที่อาจมีจะทำมาหากินอะไร จึงกระตืนรือล้นอยากมีลูก ส่วนที่เหลือไม่หวังมีลูกก็ได้แต่ก้มหน้ารอรับกรรมเมื่อแก่ต่อไปเพราะคงไม่มีลูกมาดูแล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 สารรบกวนฮอร์โมนในเครื่องสำอาง

สมาชิกฉลาดซื้ออาจเคยได้ยินเรื่องของการเกิดมะเร็งเต้านมที่คาดว่าอาจมีสาเหตุมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายซึ่งมีสารพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบกันมาบ้าง แม้จะยังไม่มีผลวิจัยที่ชี้ชัดลงไปได้ว่าพาราเบนส์ ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้เป็นสารกันหืนในเครื่องสำอางมากที่สุดนั้นก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์หรือไม่ หลายๆ ประเทศก็เริ่มให้ความสนใจและเฝ้าระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ เช่น สหรัฐกำลังให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์เพื่ออนามัยส่วนบุคคล เช่น แชมพู สบู่ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ครีมกันแดด เครื่องสำอาง รวมถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก  ในขณะที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเน้นที่ยาสีฟัน แชมพู สบู่ และครีมบำรุงผิว  อังกฤษนั้นให้ความสำคัญกับเครื่องสำอาง ในขณะที่เกาหลีเน้นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและเครื่องสำอางสำหรับดวงตาเป็นพิเศษ Consumers Korea หรือ สคบ. ของประเทศเกาหลีจึงถือโอกาสนี้เป็นเจ้าภาพในการสำรวจว่ามีการใช้สารพาราเบนส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสารรบกวนฮอร์โมน (Endocrine Disruptors หรือ EDCs) เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางที่เราใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายเพียงใด ว่าแล้วก็ชักชวนองค์กรผู้บริโภคในอีก 12 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา  อินเดีย บังคลาเทศ มองโกเลีย จีน อาร์เมเนีย ฟิจิ และออสเตรเลีย รวมเป็น 13 ประเทศร่วมการสำรวจครั้งนี้ แต่ละประเทศจะทำการเก็บตัวอย่างและบันทึกข้อมูลจากฉลากผลิตภัณฑ์ ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ปี 2552 พร้อมไปกับการทำสำรวจพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง รวมถึงความเห็นของของสาวๆ ในแต่ละประเทศด้วย ในการสำรวจครั้งนี้แต่ละประเทศจะเก็บตัวอย่างเครื่องสำอางยี่ห้อหลักๆ ไม่ต่ำกว่า 5 ยี่ห้อ รวมๆ แล้วจึงมีเครื่องสำอางในการสำรวจครั้งนี้ทั้งหมด 314 ชิ้น  แต่ทั้งนี้มีเพียง 259 ชิ้นเท่านั้นที่มีการระบุส่วนผสมบนฉลาก การสำรวจส่วนผสมที่เป็นพาราเบนส์ จึงเป็นการทำกับ 259 ชิ้นนี้เท่านั้น   ผลสำรวจจาก 13 ประเทศ • ร้อยละ 73 ของตัวอย่างเครื่องสำอางจาก 13 ประเทศนั้นมีพาราเบนส์เป็นส่วนผสม • จากฉลากของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 259 ชนิด นั้นเราพบว่ามีส่วนผสมทั้งหมด 626 ชนิด โดยส่วนผสมยอดฮิตที่พบบ่อยที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. Talc2. Mica3. Propylparaben4. Ethylparaben5. Dimethicone • บลัชออนคือผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์มากที่สุด  ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์น้อยที่สุดได้แก่ลิปกลอส • เกาหลีเป็นประเทศที่มีเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของพาราเบนส์มากที่สุด (ร้อยละ 95 ของตัวอย่าง) รองลงมาได้แก่ ฟิจิ (ร้อยละ 84.5 ของตัวอย่าง) และไทย (ร้อยละ 70.5 ของตัวอย่าง) • ทั้งเครื่องสำอางราคาถูกและราคาแพง ต่างก็มีพาราเบนส์เป็นส่วนผสมเช่นเดียวกัน • เครื่องสำอางส่วนใหญ่ไม่มีการระบุอายุที่เหมาะสมแก่การเริ่มใช้ ยกเว้นศรีลังกา ที่ร้อยละ 40 ของเครื่องสำอางมีการระบุอายุของผู้ใช้ไว้ด้วย • การแจ้งผลข้างเคียงบนฉลาก พบมากที่สุดในเครื่องสำอางจากเกาหลี (ร้อยละ 75) รองลงมาได้แก่ศรีลังกา (ร้อยละ 70) ตามด้วยออสเตรเลียและจีน (ร้อยละ 40) • คำเตือนเรื่องอาการแพ้ พบมากที่สุดในเครื่องสำอางของศรีลังกา (ร้อยละ 80) รองลงมาคือออสเตรเลีย (ร้อยละ 60)   พฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง จากการสำรวจความเห็นของผู้บริโภค จำนวนทั้งหมด 1,645 คน ใน 13 ประเทศ เราพบว่า • คนส่วนใหญ่เริ่มใช้เครื่องสำอางเมื่ออายุ 20 ขึ้นไป ยกเว้น บังคลาเทศ อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย และมองโกเลีย ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงอายุ 17 – 19 โดยเฉพาะกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆมองโกเลียเริ่มใช้ในช่วงอายุดังกล่าว • ลิปสติกคือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการใช้สูงสุด รองลงมาคือแป้ง • สำหรับประเทศไทย ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้กันมากที่สุดคือ แป้งทาหน้า ตามด้วยลิปกลอส และลิปสติก • ร้อยละ 40 ของผู้บริโภคใช้แป้งฝุ่น/แป้งแข็งเกือบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทยก็ตอบว่าใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแทบทุกวัน รองจากไทยได้แก่อินโดนีเซียและมาเลเซีย • ประมาณร้อยละ 40 ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้ลิปสติกแทบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆ ฟิจิ • ผู้บริโภคที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอางมากที่สุดได้แก่ ผู้บริโภคในมองโกเลีย (ร้อยละ 93.5) สาวไทยก็ใช่ย่อย มีมากกว่าร้อยละ 50 ที่ตอบว่าเคยได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอาง • สิ่งที่ผู้บริโภคเกินครึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุของการเกิดอาการแพ้ คือสารเคมีในเครื่องสำอาง เหตุผลรองลงมาได้แก่ผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะกับสภาพผิว • สาวอินเดียทุกคนที่ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า สาเหตุของอาการแพ้มาจากสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สาวไทย ร้อยละ 71 เชื่อเช่นนั้น ส่วนที่เหลือเชื่อว่าเป็นเพราะไม่เหมาะกับสภาพผิวของตนเอง • ร้อยละ 45 ของคนไทยที่ตอบ บอกว่าหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงด้วยการล้างหน้าให้สะอาด และสาวไทยเป็นกลุ่มที่ตอบว่าใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติสูงที่สุดเป็นอันดับสอง (ร้อยละ 30.3) รองจากอินเดีย (ร้อยละ 31.2)   ความรู้เรื่องพาราเบนส์• ร้อยละ 28 ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามทราบว่าในเครื่องสำอางมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ • ผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มที่รู้จักพาราเบนส์น้อยที่สุด ได้แก่ผู้บริโภคจากมองโกเลีย ไทย และอินเดีย (มีผู้รู้ว่ามีพาราเบนส์ในเครื่องสำอางเพียงร้อยละ 4.3  ร้อยละ 16 และร้อยละ 14.7 ตามลำดับ) • ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85) ไม่ทราบว่าพาราเบนส์เป็นหนึ่งในสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน • สามประเทศที่มีการรับรู้ว่าพาราเบนส์เป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมนน้อยที่สุดได้แก่  เกาหลี มองโกเลีย และไทย (ร้อยละ 4.8 ร้อยละ 7.5 และร้อยละ 9 ตามลำดับ) • โดยรวมแล้ว ร้อยละ 57.3 ตอบว่าจะหยุดใช้ถ้าเครื่องสำอางดังกล่าวมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้บริโภคในมองโกเลีย อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย ตอบว่าจะหยุดใช้ แต่สำหรับประเทศไทยนั้นมีเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น • โดยรวมแล้วร้อยละ 40 ของผู้บริโภคที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้มองว่า ทางออกของเรื่องนี้คือการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทย  ส่วนสาวอินเดียนั้น กว่าร้อยละ 80 เชื่อว่าทางออกคือการปรับปรุงฉลาก • บทบาทของภาคอุตสาหกรรม ที่ผู้บริโภคไทยมองคือ การผลิตเครื่องสำอางให้มีมาตรฐานสูงขึ้น   ฉลาก• ร้อยละ 58 อ่านฉลากเครื่องสำอาง และจากการสำรวจครั้งนี้พบว่าประเทศไทยมีคนที่อ่านฉลากมากที่สุด (ร้อยละ 94) ตามด้วยบังคลาเทศ และจีน ส่วนผู้บริโภคที่อ่านฉลากน้อยที่สุดคือ เกาหลี และมองโกเลีย (ร้อยละ 31 และร้อยละ 44 ตามลำดับ) • ข้อมูลที่ผู้บริโภคอ่านมากที่สุดได้แก่ วิธีใช้ ตามด้วยวันผลิต และส่วนผสม • เหตุผลที่ผู้บริโภคไม่อ่านฉลากได้แก่ “ตัวอักษรเล็กเกินไป”  “ได้ข้อมูลเพียงพอแล้วจากผู้ขาย” และ “รู้จักสินค้านั้นดีอยู่แล้ว”  กรณีของสาวไทยนั้น เหตุผลหลักๆ ที่ไม่อ่านคือ เรื่องของขนาดตัวอักษรที่เล็กเกินไป • สิ่งที่สาวไทยต้องการให้ปรับปรุงมากที่สุด คือการให้ข้อมูลส่วนผสมที่ถูกต้องชัดเจนมากขึ้น  ผลสำรวจการใช้พาราเบนส์ในเครื่องสำอาง ฉลาดซื้อ เก็บตัวอย่างฉลากจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 13 ยี่ห้อ ราคาตั้งแต่ 55 บาท (ดินสอเขียนคิ้ว มิสทีน บิวตี้พลัส) จนถึง 1,225 บาท (แป้งผสมรองพื้น อาทิสตรี้ ไอเดียล ดูอัล พาวเวอร์ ฟาวน์เดชั่น  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจากห้าง ซูเปอร์มาร์เก็ต และจากตัวแทนขายตรง 1. มิสทีน2. ชีเน่3. สกินฟู้ด4. เคมา (KMA)5. บีเอสซี6. อาทิสตรี้7. เทลมี8. โอเรียนทอล พริ้นเซส9. คัฟเวอร์มาร์ค10. อินทูอิท11. กิฟฟารีน12. อิทูดี้13. คิวท์เพรส     รู้จักกับพาราเบนส์  (Parabens)พาราเบนส์ เป็นสารกันเสียที่ใช้ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี มีการใช้มาตั้งแต่อดีต ได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยที่จะผสมในผลิตภัณฑ์ทั้งอาหาร ยา และเครื่องสำอางทุกชนิด ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทั่วโลก ว่ามีประสิทธิภาพสูงในการเป็นสารกันเสียและมีความปลอดภัยข้อถกเถียงเรื่องความปลอดภัย 1. เนื่องจากมีการใช้พาราเบนส์อย่างมากมายในเกือบทุกสินค้า ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องอุปโภคบริโภค ทำให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์บางส่วนเป็นห่วงถึงความปลอดภัยในผู้บริโภคที่ใช้เป็นประจำ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจนที่ระบุว่ามีการสะสมในร่างกาย เนื่องจากสารชนิดนี้ถูกดูดซึมได้และจะถูกย่อยสลายและกำจัดออกจากร่างกายได้ 2. ปริมาณที่ผสมในเครื่องสำอาง อาหาร หรือยา จะเป็นเปอร์เซ็นต์ต่ำมาก จึงไม่มีนัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดปัญหาความเป็นพิษได้ 3. นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้ทำการวิจัยและพบว่าอาจจะมีความเกี่ยวพันกับการเป็นต้นเหตุของสารก่อมะเร็งเต้านม เนื่องจากมีการผสมพาราเบนส์ในผลิตภัณฑ์ใต้วงแขน ขณะนี้มีการขยายวงการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มอื่นๆยังมีข้อโต้แย้งว่าโอกาสเป็นสารก่อมะเร็งนั้นน้อยมาก 4. เช่นเดียวกับข้อ 3 มีการวิจัยถึงผลของสารพาราเบนส์ที่มีคุณสมบัติคล้ายโฮโมนเอสโตรเจนของ ผู้หญิง แต่ทดลองแล้วมีความแรงน้อยกว่าโฮโมนธรรมชาติถึง 100,000 เท่า จึงไม่น่ากังวล ข้อถกเถียงถึงความปลอดภัยในการใช้สารพาราเบนส์เป็นสารกันเสีย ทำให้หลายบริษัทฯยักษ์ใหญ่เริ่มหันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เช่น จากเมล็ดองุ่น ซึ่งจะได้สารเทียบเคียงกับ methylparabens อย่างไรก็ตามสำนักงาน อย.ทั่วโลกก็ยังคุ้มครองและอนุญาตให้ใช้สารชนิดนี้ได้อยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่อย.อนุญาตให้ใช้เฉพาะสารกันเสียที่เป็นพาราเบนส์เท่านั้น  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 สารรบกวนฮอร์โมนในเครื่องสำอาง

สมาชิกฉลาดซื้ออาจเคยได้ยินเรื่องของการเกิดมะเร็งเต้านมที่คาดว่าอาจมีสาเหตุมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายซึ่งมีสารพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบกันมาบ้าง   แม้จะยังไม่มีผลวิจัยที่ชี้ชัดลงไปได้ว่าพาราเบนส์ ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้เป็นสารกันหืนในเครื่องสำอางมากที่สุดนั้นก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์หรือไม่ หลายๆ ประเทศก็เริ่มให้ความสนใจและเฝ้าระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ เช่น สหรัฐกำลังให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์เพื่ออนามัยส่วนบุคคล เช่น แชมพู สบู่ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ครีมกันแดด เครื่องสำอาง รวมถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก  ในขณะที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเน้นที่ยาสีฟัน แชมพู สบู่ และครีมบำรุงผิว  อังกฤษนั้นให้ความสำคัญกับเครื่องสำอาง ในขณะที่เกาหลีเน้นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและเครื่องสำอางสำหรับดวงตาเป็นพิเศษ  Consumers Korea หรือ สคบ. ของประเทศเกาหลีจึงถือโอกาสนี้เป็นเจ้าภาพในการสำรวจว่ามีการใช้สารพาราเบนส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสารรบกวนฮอร์โมน (Endocrine Disruptors หรือ EDCs) เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางที่เราใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายเพียงใด ว่าแล้วก็ชักชวนองค์กรผู้บริโภคในอีก 12 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา  อินเดีย บังคลาเทศ มองโกเลีย จีน อาร์เมเนีย ฟิจิ และออสเตรเลีย รวมเป็น 13 ประเทศร่วมการสำรวจครั้งนี้  แต่ละประเทศจะทำการเก็บตัวอย่างและบันทึกข้อมูลจากฉลากผลิตภัณฑ์ ในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ปี 2552 พร้อมไปกับการทำสำรวจพฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง รวมถึงความเห็นของของสาวๆ ในแต่ละประเทศด้วย  ในการสำรวจครั้งนี้แต่ละประเทศจะเก็บตัวอย่างเครื่องสำอางยี่ห้อหลักๆ ไม่ต่ำกว่า 5 ยี่ห้อ รวมๆ แล้วจึงมีเครื่องสำอางในการสำรวจครั้งนี้ทั้งหมด 314 ชิ้น  แต่ทั้งนี้มีเพียง 259 ชิ้นเท่านั้นที่มีการระบุส่วนผสมบนฉลาก การสำรวจส่วนผสมที่เป็นพาราเบนส์ จึงเป็นการทำกับ 259 ชิ้นนี้เท่านั้น   ผลสำรวจจาก 13 ประเทศ • ร้อยละ 73 ของตัวอย่างเครื่องสำอางจาก 13 ประเทศนั้นมีพาราเบนส์เป็นส่วนผสม • จากฉลากของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 259 ชนิด นั้นเราพบว่ามีส่วนผสมทั้งหมด 626 ชนิด โดยส่วนผสมยอดฮิตที่พบบ่อยที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. Talc2. Mica3. Propylparaben4. Ethylparaben5. Dimethicone • บลัชออนคือผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์มากที่สุด  ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พาราเบนส์น้อยที่สุดได้แก่ลิปกลอส   • เกาหลีเป็นประเทศที่มีเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของพาราเบนส์มากที่สุด (ร้อยละ 95 ของตัวอย่าง) รองลงมาได้แก่ ฟิจิ (ร้อยละ 84.5 ของตัวอย่าง) และไทย (ร้อยละ 70.5 ของตัวอย่าง)   • ทั้งเครื่องสำอางราคาถูกและราคาแพง ต่างก็มีพาราเบนส์เป็นส่วนผสมเช่นเดียวกัน   • เครื่องสำอางส่วนใหญ่ไม่มีการระบุอายุที่เหมาะสมแก่การเริ่มใช้ ยกเว้นศรีลังกา ที่ร้อยละ 40 ของเครื่องสำอางมีการระบุอายุของผู้ใช้ไว้ด้วย   • การแจ้งผลข้างเคียงบนฉลาก พบมากที่สุดในเครื่องสำอางจากเกาหลี (ร้อยละ 75) รองลงมาได้แก่ศรีลังกา (ร้อยละ 70) ตามด้วยออสเตรเลียและจีน (ร้อยละ 40)   • คำเตือนเรื่องอาการแพ้ พบมากที่สุดในเครื่องสำอางของศรีลังกา (ร้อยละ 80) รองลงมาคือออสเตรเลีย (ร้อยละ 60)  พฤติกรรมการใช้เครื่องสำอาง จากการสำรวจความเห็นของผู้บริโภค จำนวนทั้งหมด 1,645 คน ใน 13 ประเทศ เราพบว่า   • คนส่วนใหญ่เริ่มใช้เครื่องสำอางเมื่ออายุ 20 ขึ้นไป ยกเว้น บังคลาเทศ อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย และมองโกเลีย ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงอายุ 17 – 19 โดยเฉพาะกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆมองโกเลียเริ่มใช้ในช่วงอายุดังกล่าว   • ลิปสติกคือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการใช้สูงสุด รองลงมาคือแป้ง   • สำหรับประเทศไทย ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้กันมากที่สุดคือ แป้งทาหน้า ตามด้วยลิปกลอส และลิปสติก   • ร้อยละ 40 ของผู้บริโภคใช้แป้งฝุ่น/แป้งแข็งเกือบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทยก็ตอบว่าใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแทบทุกวัน รองจากไทยได้แก่อินโดนีเซียและมาเลเซีย   • ประมาณร้อยละ 40 ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้ลิปสติกแทบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกว่าร้อยละ 70 ของสาวๆ ฟิจิ   • ผู้บริโภคที่ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอางมากที่สุดได้แก่ ผู้บริโภคในมองโกเลีย (ร้อยละ 93.5) สาวไทยก็ใช่ย่อย มีมากกว่าร้อยละ 50 ที่ตอบว่าเคยได้รับผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอาง   • สิ่งที่ผู้บริโภคเกินครึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุของการเกิดอาการแพ้ คือสารเคมีในเครื่องสำอาง เหตุผลรองลงมาได้แก่ผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะกับสภาพผิว   • สาวอินเดียทุกคนที่ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า สาเหตุของอาการแพ้มาจากสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สาวไทย ร้อยละ 71 เชื่อเช่นนั้น ส่วนที่เหลือเชื่อว่าเป็นเพราะไม่เหมาะกับสภาพผิวของตนเอง   • ร้อยละ 45 ของคนไทยที่ตอบ บอกว่าหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงด้วยการล้างหน้าให้สะอาด และสาวไทยเป็นกลุ่มที่ตอบว่าใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติสูงที่สุดเป็นอันดับสอง (ร้อยละ 30.3) รองจากอินเดีย (ร้อยละ 31.2)   ความรู้เรื่องพาราเบนส์• ร้อยละ 28 ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามทราบว่าในเครื่องสำอางมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ   • ผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มที่รู้จักพาราเบนส์น้อยที่สุด ได้แก่ผู้บริโภคจากมองโกเลีย ไทย และอินเดีย (มีผู้รู้ว่ามีพาราเบนส์ในเครื่องสำอางเพียงร้อยละ 4.3  ร้อยละ 16 และร้อยละ 14.7 ตามลำดับ)   • ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 85) ไม่ทราบว่าพาราเบนส์เป็นหนึ่งในสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน   • สามประเทศที่มีการรับรู้ว่าพาราเบนส์เป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมนน้อยที่สุดได้แก่  เกาหลี มองโกเลีย และไทย (ร้อยละ 4.8 ร้อยละ 7.5 และร้อยละ 9 ตามลำดับ)   • โดยรวมแล้ว ร้อยละ 57.3 ตอบว่าจะหยุดใช้ถ้าเครื่องสำอางดังกล่าวมีพาราเบนส์เป็นส่วนประกอบ มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้บริโภคในมองโกเลีย อาร์เมเนีย อินโดนีเซีย ตอบว่าจะหยุดใช้ แต่สำหรับประเทศไทยนั้นมีเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น   • โดยรวมแล้วร้อยละ 40 ของผู้บริโภคที่เข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้มองว่า ทางออกของเรื่องนี้คือการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกือบร้อยละ 80 ของสาวไทย  ส่วนสาวอินเดียนั้น กว่าร้อยละ 80 เชื่อว่าทางออกคือการปรับปรุงฉลาก • บทบาทของภาคอุตสาหกรรม ที่ผู้บริโภคไทยมองคือ การผลิตเครื่องสำอางให้มีมาตรฐานสูงขึ้น   ฉลาก• ร้อยละ 58 อ่านฉลากเครื่องสำอาง และจากการสำรวจครั้งนี้พบว่าประเทศไทยมีคนที่อ่านฉลากมากที่สุด (ร้อยละ 94) ตามด้วยบังคลาเทศ และจีน ส่วนผู้บริโภคที่อ่านฉลากน้อยที่สุดคือ เกาหลี และมองโกเลีย (ร้อยละ 31 และร้อยละ 44 ตามลำดับ)   • ข้อมูลที่ผู้บริโภคอ่านมากที่สุดได้แก่ วิธีใช้ ตามด้วยวันผลิต และส่วนผสม   • เหตุผลที่ผู้บริโภคไม่อ่านฉลากได้แก่ “ตัวอักษรเล็กเกินไป”  “ได้ข้อมูลเพียงพอแล้วจากผู้ขาย” และ “รู้จักสินค้านั้นดีอยู่แล้ว”  กรณีของสาวไทยนั้น เหตุผลหลักๆ ที่ไม่อ่านคือ เรื่องของขนาดตัวอักษรที่เล็กเกินไป   • สิ่งที่สาวไทยต้องการให้ปรับปรุงมากที่สุด คือการให้ข้อมูลส่วนผสมที่ถูกต้องชัดเจนมากขึ้น  ผลสำรวจการใช้พาราเบนส์ในเครื่องสำอาง ฉลาดซื้อ เก็บตัวอย่างฉลากจากผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 13 ยี่ห้อ ราคาตั้งแต่ 55 บาท (ดินสอเขียนคิ้ว มิสทีน บิวตี้พลัส) จนถึง 1,225 บาท (แป้งผสมรองพื้น อาทิสตรี้ ไอเดียล ดูอัล พาวเวอร์ ฟาวน์เดชั่น  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจากห้าง ซูเปอร์มาร์เก็ต และจากตัวแทนขายตรง 1. มิสทีน2. ชีเน่3. สกินฟู้ด4. เคมา (KMA)5. บีเอสซี6. อาทิสตรี้7. เทลมี8. โอเรียนทอล พริ้นเซส9. คัฟเวอร์มาร์ค10. อินทูอิท11. กิฟฟารีน12. อิทูดี้13. คิวท์เพรส     รู้จักกับพาราเบนส์  (Parabens)พาราเบนส์ เป็นสารกันเสียที่ใช้ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี มีการใช้มาตั้งแต่อดีต ได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยที่จะผสมในผลิตภัณฑ์ทั้งอาหาร ยา และเครื่องสำอางทุกชนิด ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทั่วโลก ว่ามีประสิทธิภาพสูงในการเป็นสารกันเสียและมีความปลอดภัยข้อถกเถียงเรื่องความปลอดภัย 1. เนื่องจากมีการใช้พาราเบนส์อย่างมากมายในเกือบทุกสินค้า ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องอุปโภคบริโภค ทำให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์บางส่วนเป็นห่วงถึงความปลอดภัยในผู้บริโภคที่ใช้เป็นประจำ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจนที่ระบุว่ามีการสะสมในร่างกาย เนื่องจากสารชนิดนี้ถูกดูดซึมได้และจะถูกย่อยสลายและกำจัดออกจากร่างกายได้ 2. ปริมาณที่ผสมในเครื่องสำอาง อาหาร หรือยา จะเป็นเปอร์เซ็นต์ต่ำมาก จึงไม่มีนัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดปัญหาความเป็นพิษได้ 3. นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้ทำการวิจัยและพบว่าอาจจะมีความเกี่ยวพันกับการเป็นต้นเหตุของสารก่อมะเร็งเต้านม เนื่องจากมีการผสมพาราเบนส์ในผลิตภัณฑ์ใต้วงแขน ขณะนี้มีการขยายวงการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ กลุ่มอื่นๆยังมีข้อโต้แย้งว่าโอกาสเป็นสารก่อมะเร็งนั้นน้อยมาก 4. เช่นเดียวกับข้อ 3 มีการวิจัยถึงผลของสารพาราเบนส์ที่มีคุณสมบัติคล้ายโฮโมนเอสโตรเจนของ ผู้หญิง แต่ทดลองแล้วมีความแรงน้อยกว่าโฮโมนธรรมชาติถึง 100,000 เท่า จึงไม่น่ากังวล ข้อถกเถียงถึงความปลอดภัยในการใช้สารพาราเบนส์เป็นสารกันเสีย ทำให้หลายบริษัทฯยักษ์ใหญ่เริ่มหันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติ เช่น จากเมล็ดองุ่น ซึ่งจะได้สารเทียบเคียงกับ methylparabens อย่างไรก็ตามสำนักงาน อย.ทั่วโลกก็ยังคุ้มครองและอนุญาตให้ใช้สารชนิดนี้ได้อยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น ที่อย.อนุญาตให้ใช้เฉพาะสารกันเสียที่เป็นพาราเบนส์เท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >