ฉบับที่ 236 เมื่อระบบความปลอดภัยของรถยนต์มีปัญหา Accord Generation 9

เมื่อประมาณเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กฤษณะ น้ำดอกไม้ เจ้าของเพจ ‘Accord G9 หนึ่งในตัวแทนกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ฮอนด้า รุ่น Accord Generation 9 เดินทางมาร้องเรียนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เขาเล่าถึงปัญหาปั๊ม ABS’ ว่า มีผู้ใช้รถยนต์ฮอนด้า รุ่น Accord Generation 9 ที่ผลิตในปี 2013 - 2018 จำนวนมากที่พบปัญหาเกี่ยวกับระบบควบคุมความปลอดภัยในการขับขี่รถ จึงได้ร้องเรียนไปที่ศูนย์บริการแต่ละสาขา และร้องเรียนผ่านทางเจ้าหน้าที่ของบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้ผลิตและประกอบรถยนต์รุ่นดังกล่าว แต่มีการแก้ไขปัญหาให้กับเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ยังมีผู้ใช้บริการที่ยังไม่ได้รับการแก้ปัญหาอย่างเป็นธรรมอีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนั้นแนวปฏิบัติที่ไม่ชัดเจนของแต่ละศูนย์บริการและการชี้แจงถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาที่เกิดขึ้นยังไม่มีปรากฎต่อสาธารณะ ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนอะไร  วางแผนจะทำอย่างไร         จริงๆ กลุ่มที่รวมตัวกันปีกว่ามันเกิดจากที่เราไปเจรจากับบริษัทฯ และเราได้เงื่อนไขมา ทีนี้เรามองว่าเราได้การชดเชยตามเงื่อนไข ถ้าเกิดเรารับจบไปตอนนั้นเลยคันอื่นก็จะไม่ได้ เราก็คิดว่ามันก็จะมีคนที่ถูกทิ้งอยู่ คนที่เกิน (ไม่เข้า) เงื่อนไข เราเลยคิดว่าเราควรต้องแยกสองประเด็น ประเด็นแรกอะไหล่มันมีคุณภาพพอหรือเปล่า อีกอันหนึ่งคือความรับผิดชอบของค่ายรถยนต์         Page สร้างมาเพื่อที่จะประชาสัมพันธ์ให้ ผู้ใช้ทุกคัน ทราบสิทธิว่ามีเคลมฟรีและเขาควรใช้สิทธิเคลมฟรี หรืออย่างน้อยได้รับการพิจารณาให้ส่วนลดนะครับ เราจึงมาปรึกษาทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า เราจะทำอย่างไรให้มันเป็นระบบ จะร้องเรียนอย่างไรให้เป็นระบบเพราะว่าผมเคยไปที่ สคบ.เขาบอกว่าผมไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง ซึ่งผมก็พยายามบอกว่าผมก็คือผู้ใช้คันหนึ่งที่มีความกังวลแล้วเราก็รวมตัวกันมา ตอนนั้นประมาณ 70 กว่าคันที่มีเสียหาย แต่ทาง สคบ.เขาก็บอกว่าไม่ได้ คุณต้องไปเอาผู้ใช้ที่มีปัญหามา ให้ผู้เสียหายมาร้องเรียนใครที่ไม่ใช่ก็ร้องเรียนไม่ได้ และเขาก็บอกว่ารถมันหมดประกันไปแล้วจะไปให้เขาทำอะไร เขาก็พูดในลักษณะของแง่กฎหมาย ตอนนั้นก็เลยมาหามูลนิธิฯ ทางมูลนิธิฯ มองว่ามันมีเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันในการดูแล ตอนนี้ก็คือทางมูลนิธิก็ช่วยจัดการเรื่องแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนให้เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ท่านอื่นๆ อีกประมาณ 40,000 กว่าคันที่เขาเป็นเจ้าของรุ่นนี้ทราบสิทธิ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563         หลังออกสื่อก็มีผู้ใช้จำนวนมากเพิ่งทราบข่าว เขาก็มาติดต่อผม บอกว่าเขาจ่ายไปแล้วสี่หมื่นกว่า บางคนก็ได้ส่วนลดบ้างแต่น้อยมาก ซึ่งตรงนี้เองเราก็ตั้งใจไว้อย่างนี้ว่าคือถ้าเกิดสื่อหลักให้พื้นที่ข่าวมันก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ เพราะว่าผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายหมื่นคันที่ยังไม่รู้เรื่องเลย คนที่มีปัญหาแบบนี้จะเข้ามาร่วมอย่างไร ท่าทีของบริษัทเป็นอย่างไร         จริงๆ อยู่ที่บริษัทฯ นะ เขามีข้อมูลผู้ใช้ทุกอย่าง  ทำอย่างไรจะให้บริษัทแจ้งผู้ใช้ทุกคนที่เขาใช้รถรุ่นนี้ เราไม่มีทางอยู่แล้วที่เราจะแจ้งทุกคนให้ทราบได้นะครับ เราไม่มีรายชื่อผู้ขับขี่ ชื่อเจ้าของรถ บริษัทเขารู้ดีเพราะสามารถโทรไปแจ้งว่าต้องมาเช็คระยะตามกำหนดนะ มีฐานข้อมูลตรงนี้ แต่ความที่เราต้องการช่วยเหลือให้ได้มากที่สุดเราเลยพยายามประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีที่เราพอจะทำได้  ทุกวันนี้ผมบอกเลยนะมีคนติดต่อมาทุกวัน   เดือนล่าสุด (ตุลาคม) นี่ห้าสิบหกสิบคัน มันไม่ใช่น้อยๆ นะ ตัวเลขมันสูงขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็ยังมีอีกหลายคันที่เขาไม่ทราบแล้วเขาก็ไปซ่อมเอง ถ้าเขาทราบว่ามีกลุ่มที่เราทำขึ้นมา เขาได้ฟรี        “บางคนไม่รู้ไปซ่อมเองจ่ายสี่หมื่นกว่า บางคนไปซ่อมข้างนอกไม่จบก็มี และมันเป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยไง หลายๆ คนเอาไปซ่อมเขาก็บอกเลยว่าเขาไม่สบายใจ” ล่าสุดบริษัทฮอนด้าก็ยังไม่มีอะไรเป็นทางการ มีก็แค่การชี้แจงผ่านรายการโทรทัศน์บ้าง แต่ยังไม่มีอะไรเลยที่เขาจะยอมรับ (อย่างเป็นทางการ) เลยว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเขาจะนำไปพิจารณาแล้วจะกำหนดอะไรต่างๆ ให้มันชัดเจน ความยากของเรื่องนี้คืออะไร         คือกลุ่มของผมลักษณะผู้ใช้รถคือ คนวัยทำงานและก็อายุค่อนข้างเยอะ พอหลายคนเห็นว่ามันมีขั้นตอนเยอะ เช่น ต้องรวมตัวต้องออกตัวอะไรอย่างนี้ หลายคนไม่สะดวกอันนี้ยอมรับเลยนะครับว่า ไม่สะดวก เพราะว่าหนึ่ง เขาไม่มั่นใจในเรื่องหน่วยงานของรัฐที่จะช่วยเหลือเขา เพราะว่ามีคนเคยติดต่อไปทางหน่วยงาน หน่วยงานก็เงียบกลายเป็นว่าแนะนำให้ไปรับข้อเสนอฮอนด้าเถอะ บอกว่าไม่มีกฎหมายที่จะไปเอาผิดบริษัทฯ เขา คนที่ได้รับคำแนะนำแบบนี้เขาก็พูดต่อๆ กัน กลายเป็นว่าเขาก็เอาไปซ่อมเองข้างนอก จบๆ กันไป หลายคันก็ขายทิ้งเพราะว่ารถมันอายุเยอะแล้ว         อย่างที่ผมบอกความช่วยเหลือของฮอนด้า (อย่างเป็นทางการ) นั่นคือประเด็นหนึ่ง แต่อีกอย่างหนึ่งก็คือแนวทางของเราเอง ของผู้บริโภคคือทำอย่างไรจึงจะกดดันให้บริษัทเขายอมรับว่า อะไหล่ชิ้นนี้มันมีปัญหาจริง ซึ่งจากเอกสารแม้แต่ตัวผมเองผมก็รู้ว่ามันมีปัญหาต้องจัดการอย่างไร การเสียหายแบบนี้มันเกิดจากไหน  เรารู้ ฮอนด้าก็รู้ ทุกคนก็รู้ แต่บริษัทฯ เขาไม่รับว่าเป็นความผิดพลาด บริษัทฯ จึงควรแสดงความรับผิดชอบ เพราะมันไม่ใช่หน้าที่ของผู้บริโภค มันเป็นหน้าที่ที่บริษัทฯ ต้องดำเนินการ ชี้แจงสิ รับผิดชอบสิ เหนื่อยไหมกับการออกมาใช้สิทธิ         ผมว่าเวลาเราร้องเรียนอะไรเราต้องออกตัว ออกตัวมากหรือมีขั้นตอนมากต้องใช้พลังงานในการขับเคลื่อนในการร้องเรียน ซึ่งบางทีมูลค่าของความเสียหายมันไม่เยอะ พอมันไม่เยอะหรือมันสามารถแลกกับการที่จ่ายๆ ไปเพื่อซื้อเวลา ซื้อการตัดจบปัญหาอย่างนี้ จะเป็นสิ่งที่คนที่เกิดความเสียหายคิด เพราะอย่างนั้น เลยกลายเป็นว่าพลังของผู้บริโภค มันก็จะค่อยๆ แผ่วไป มันก็จะเหลือคนที่ยืนหยัดจริงๆ ว่าสิ่งตรงนี้มันไม่ถูกต้องอยู่แค่หยิบมือหนึ่ง พอเป็นอย่างนี้ผู้ประกอบการมั่นใจว่ามูลค่าเท่านี้ (ไม่มาก) ผู้บริโภคคงไม่มาเรียกร้องอะไรมากมายเจรจาเป็นรายๆ ไปก็จบ  แต่มันไม่ใช่นะผมคิด         คืออย่างผมนี่แม้กระทั่งค่ายมือถือเขาหักเงินผมไป 30 บาท ด้วยเหตุผลว่าอยู่ ๆ ผมไปสมัครอะไรก็ไม่รู้ ผมยอมโทรศัพท์คุยกับเขาเสียเงินห้าสิบหกสิบบาทเพื่อให้เขายอมรับให้ได้ว่าตรงนี้คุณผิด แต่กลับกันในประเทศ เราหลายคนจะรู้สึกว่ารัฐไม่ช่วยหรอก กฎหมายไม่ช่วยหรอก ตัวอย่างก็มีอะไรอย่างนี้ ไปฟ้องศาลเป็นปีสองปีสามปีอะไรอย่างนี้ เหนื่อยก็เหนื่อย เอาเวลาไปทำมาหากินอย่างอื่นดีกว่าตัดจบไป มันก็เลยกลายเป็นว่าเรื่องนี้มันก็ส่งต่อไปรุ่นต่อรุ่นไปเรื่อยๆ ทำให้พลังผู้บริโภคอ่อนแอ         อย่างกรณีกฎหมาย LEMON LOW ถ้าเกิดออกมาผมว่า ต้องไปดูเรื่องของกระบวนการด้วยว่ามันจะเอื้อผู้บริโภคให้เขากล้าออกมาหรือเปล่า มีค่าเสียเวลา มีอะไรที่เขารู้สึกว่าหรือว่าเป็นไปได้ไหมที่เราจะมีหน่วยงานหรืออาจจะเป็น หน่วยงานพิเศษ หน่วยงานเร็ว ที่เข้ามาตรวจสอบอะไรอย่างนี้ คือทุกวันนี้เรามีสมาคม มีหน่วยงานเยอะมาก สมาคมยานยนต์ ซึ่งจุดประสงค์เขาก็มีอยู่แล้วเรื่องคุณภาพการผลิตอะไรอย่างนี้แต่ทุกวันนี้เขาก็เงียบ สมาคมชิ้นส่วนยานยนต์ก็เงียบ กรณีรถยนต์นี้อุปสรรคของผู้บริโภคอย่างหนึ่งคือ ค่ายรถยนต์ใหญ่มันมีผลประโยชน์เรื่องของการโฆษณาอยู่ เชื่อไหมว่า สื่อใหญ่รายการดังผมติดต่อไปหมดแล้วทั้งเมล์ ทั้งแชท ทั้งทุกช่องทางโทรไปก็เงียบ มีนักข่าวจากบางช่องมาติดต่อถามช่วงแรกๆ แล้วจากนั้น เขาก็เงียบ คือทุกอย่างเงียบหมด   ผมเลยมองว่าในเมื่อค่ายรถยนต์มันมีผลประโยชน์หรือผู้ประกอบการมีผลประโยชน์ในสื่อโฆษณากับทางสถานีโทรทัศน์ ที่ควรทำหน้าที่บอกความจริงทางใดทางหนึ่งให้กับประชาชน กลายเป็นว่าเขามีผลประโยชน์เอื้อกันตรงนี้มันก็ยิ่งทำให้ผู้บริโภคยากไปใหญ่         เพราะว่าการรวมตัวกันมันไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ การที่เราจะบอกให้คนมารวมตัวกันมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่การรวมกลุ่มผู้เสียหาย มีประโยชน์มันไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อโจมตีบริษัทฯ เลยนะแต่มันคือการสร้างพลังในการสื่อสาร ทำให้เราแจ้งข้อมูลจำเป็นต่างๆ ได้ อย่างน้อยผู้เสียหายควรรู้สิทธิว่า เขาคือผู้ใช้รถรุ่นนี้ เมื่อเขามีปัญหาเขาควรที่จะไปเข้าศูนย์เพื่อให้ศูนย์ตรวจสอบ   เมื่อคันหนึ่งได้เคลมฟรี คนที่เข้าข่ายเงื่อนไขเดียวกันก็ควรเคลมฟรีด้วย ไม่ใช่ว่าเขาแค่ไม่รู้ข่าวเลยต้องจ่ายเต็มทุกอย่าง อันนี้มันก็เป็นความไม่เท่าเทียมกันแล้วมันก็สะท้อนให้เห็นว่ามาตรฐานในการให้บริการตามที่เขากล่าวอ้างหรือโฆษณาว่ามาตรฐานฮอนด้าทุกศูนย์เท่าเทียมกันหมดไม่จริง ต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้นได้บทเรียนอะไรบ้าง         หนึ่งคือเราไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของรถไงครับ เราไม่รู้ว่าใครประสบปัญหาอย่างเราบ้าง เราได้แต่ปากต่อปากเราคอยมองตามหน้า Page ว่า ณ วันนี้มีคนแจ้งมาไหมว่ามีปัญหา มีคนมาปรึกษาไหมว่าทำอย่างไรดีครับมันเสีย เราต้องตามเก็บพวกนี้ทุกวันๆ เราจึงเกิดพลังขึ้น แค่ว่าผมไม่เข้า Page แล้ววันนั้นนะมีคนบอกพี่ครับรถผมเสีย สิ่งที่คนนั้นเขาจะได้ข้อมูลกลับไปคือเอาไปซ่อมข้างนอกเลยครับ 5,000 บาทจบ อู่จะมาพิมพ์ติดต่อผมได้เลยครับรับซ่อม คราวนี้โพสต์นั้นก็ไหลลงไหลลง เราก็ไม่ได้ไปตามเห็นอีก เราก็เสียผู้บริโภคที่เขากำลังเดือดร้อนไปอีกหนึ่งคน แต่กลับกันถ้าเกิดผมเจอเขาก่อน ลองเข้ามาอ่าน Page ร้องเรียนครับ ถ้าเกิดเห็นด้วยกับแนวทางมาร่วมลงชื่อนะครับ ผมจะยินดีแนะนำแนวทางให้         สิ่งง่ายๆ คือเราไม่รู้ว่าเราจะประชาสัมพันธ์ช่องทางไหนได้ ถ้าเกิดสื่อหลักเขาไม่เล่น อย่าง Thai PBS วันเดียวมีคนแจ้งผมมาสิบกว่า รายบอกว่าพี่ผมเพิ่งเห็นผมไม่รู้ผมจ่ายเงินไปแล้ว ทุกวันนี้ก็มีคนแจ้งมาว่าผมจ่ายเงินไปแล้ว นี่แค่ ThaiPBS นะ แต่สื่ออื่นค่อนข้างเงียบ แต่ถ้าเกิดสื่อหลักอย่างรายการดังๆ ที่เรารู้ ถ้าเกิดเขาเชิญไป เราต้องการไปบอกนะว่า เขามีนโยบายเคลมฟรีแค่นั้นเอง         เรื่องเดือดร้อนขนาดนี้มูลค่าความเสียหายก็เยอะ มันเป็นเรื่องความปลอดภัย ที่ต่างประเทศถึงขั้นมันอยู่ๆ รถก็เบรคเองกลางถนน บ้านเราโชคดียังไม่มีเหตุการณ์นี้ มีแต่เพียงว่าพวงมาลัยมันหนัก หนักขึ้นจากปกติ มีเคสเฉี่ยวชนแล้ว แต่อันนั้นผมคิดว่าบริษัทเขาก็รู้ ผมก็เคยโพสต์แล้วแต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเพราะว่าหนึ่งคือ เหมือนกับเขาคงรอว่าให้มีคนเสียชีวิตก่อนให้เป็นข่าวดังก่อน แล้วถามว่าใครอยากจะเป็นศพแรกถูกไหมครับ คือในต่างประเทศผมบอกเลยนะเขา Recall แม้ยังไม่มีการเฉี่ยวชนเลยนะ มันเป็นคดีความในต่างประเทศ แต่รถนี้ผลิตในประเทศ ขายในประเทศ คุณจะไปรอให้ต่างประเทศมีคดีความทำไม ในเมื่อทั้งหมดทั้งมวลมันคืออยู่ในประเทศไทยแล้ว คุณจะบอกว่าต้องรอให้ต่างประเทศเขามีเรื่องมีคดีความก่อนถึงจะเรียกคือ มันคือไม่ใช่นะ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 105 รถไฟไหม้หลังเข้าศูนย์ซ่อม

คุณรัชตะ (นามสมมติ)ใช้รถยนต์ฮอนด้า แอคคอร์ด (V6) รุ่นปี 2003 มาได้ประมาณ 3 ปี 3 เดือน วิ่งประมาณ 113,XXX กิโลเมตรต่อมาในราว ๆ กลางเดือนกันยายน 2552 บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้มีจดหมายถึงคุณรัชตะรวมทั้งผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ฮอนด้า แอคคอร์ด (V6) รุ่นปี 2003 ถึง 2007 ว่าให้นำรถยนต์ฮอนด้ารุ่นดังกล่าวเข้ารับการเปลี่ยนท่อน้ำมันของระบบบังคับเลี้ยว เนื่องจากพบว่า ท่อน้ำมันระบบบังคับเลี้ยวเกิดเสื่อมสภาพ หลังจากผ่านการใช้งาน ส่งผลให้ระบบบังคับเลี้ยวทำงานผิดปกติและต้องใช้แรงในการหมุนเพิ่มขึ้นขณะหมุนพวงมาลัย โดยบริษัทฯ จะดำเนินการเปลี่ยนอะไหล่ชิ้นใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพ(เพิ่มเติม) โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่ประการใดในวันพุธที่ 23 กันยายน 2552 คุณรัชตะได้นำรถเข้ารับบริการที่ศูนย์บริการฮอนด้าเอกอินทราฮอนด้า ออโตโมบิล เพื่อเปลี่ยนชุดลิ้นปีกผีเสื้อและเปลี่ยนท่อน้ำมันของระบบบังคับเลี้ยวตามที่บริษัทฮอนด้าแจ้ง และได้ไปรับรถออกมาในวันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2552 คุณรัชตะได้เล่าถึงเหตุการณ์ระทึกขวัญในวันที่ไปรับรถที่เกือบเป็นวันมรณะของตนเองว่าผมรับรถออกมาเมื่อเวลาประมาณ 17.30 น. และขับขึ้นทางด่วนโยธินพัฒนา วิ่งแค่พักเดียว (ถึงประมาณแถวพระราม 9) ก็เกิดอาการพวงมาลัยหนัก/แข็ง (อาการแบบพวงมาลัยหมุนแทบไม่ไปจากระบบพาวเวอร์ไม่ทำงาน) จึงได้นำรถลงบริเวณคลองตันเพื่อวกขึ้นทางด่วนกลับไปศูนย์ฯ(เอกอินทราฮอนด้า ออโตโมบิล) หลังจากผ่านด่านเก็บเงินเพื่อขึ้นกลับไปศูนย์ดังกล่าวซักระยะ การจราจรเริ่มชะลอตัว เริ่มได้กลิ่นเหม็นไหม้ กลิ่นเหมือนการไหม้ของน้ำมันเครื่องโดนความร้อน ซึ่งในกรณีนี้น่าจะเป็นน้ำมันพาวเวอร์ที่รั่วฉีดไปทั่วห้องเครื่อง และเริ่มเห็นควันขาวซึ่งน่าจะเป็นควันจากน้ำมันพาวเวอร์โดนความร้อน ผมจึงได้โทรเข้าศูนย์ เพื่อสอบถามว่าจะทำอย่างไรดีศูนย์แนะนำให้จอดและให้รถลากของทางด่วนลากไปส่ง ผมจึงได้ขับตัดเข้าข้างทาง (บริเวณดังกล่าวเป็นทางบรรจบบนทางด่วน ช่วงพระราม 9) และจอดบริเวณตู้โทรศัพท์ ซึ่งระหว่างนั้นยังไม่ได้ลงจากรถเนื่องจากมีฝนพรำๆ ซึ่งตอนนั้นยังคุยอยู่กับศูนย์ฯ เพื่อขอเบอร์ทางด่วน และได้เบอร์ 1543 ของทางด่วนเพื่อโทรขอความช่วยเหลือระหว่างนั้นกลุ่มควันขาวเริ่มมากขึ้น เนื่องจากตอนนี้รถจอดนิ่งสนิทแล้ว ไม่มีลมพาควันออกไป และจึงเริ่มสังเกตเห็นเปลวเพลิงลุกขึ้นมาบริเวณระหว่างฝากระโปรงและกระจกบังลมหน้า (บริเวณช่องที่ปัดน้ำฝน) จึงได้ออกจากรถ โดยหลังจากนั้นเพลิงได้โหมไหม้จนไม่สามารถควบคุมได้ (เจ้าหน้าที่กู้ภัยทางด่วนใช้ถังดับเพลิงมือถือ หมดไป 4 ถัง) ซึ่งต้องรอรถน้ำของหน่วยกู้ภัยเพื่อเข้าระงับเหตุจึงสามารถควบคุมเพลิงได้ หลังเกิดเหตุ ซึ่งรถเสียหายบริเวณห้องเครื่องทั้งหมดและลามบริเวณส่วนหน้าของคนขับจากการถูกเพลิงไหม้ เจ้าหน้าที่การทางได้ให้เข้าลงบันทึกประจำวันที่ สน.ทางด่วน 1 เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเสียหายของการทาง ประกอบด้วยค่าใช้จ่าย เติมสารดับเพลิง 4 ถัง, ค่ารถน้ำ 1 คัน, พื้นทางเสียหาย (เข้าใจว่าประกันเป็นผู้สำรองจ่าย) ภายหลังจากลงบันทึกประจำวันที่ สน. ทางด่วนแล้ว รถถูกลากไปรอที่ศูนย์เอกอินทราเพื่อรอการตรวจพิสูจน์ โดยได้นัดทำการตรวจสอบในวันจันทร์ ที่ 28 กันยายน 2552ทั้งนี้ผมโดยส่วนตัวมั่นใจว่าเป็นความผิดพลาดจากการเปลี่ยนท่อน้ำมันระบบบังคับเลี้ยว (ท่อ Hi Power) โดยเป็นข้อผิดพลาดจากการเปลี่ยน/ประกอบ หรือ ตัวอะไหล่ โดยมีข้อสังเกตจากการที่ศูนย์ขอเลื่อนการรับรถผม 1 วัน โดยแจ้งว่าเปลี่ยนท่อ Hi Power แล้วพวงมาลัยมันหนัก (ผมก็ไม่ได้ถามว่าที่บอกว่าหนักนี่คือหนักขึ้น หรือหนักขนาดไหน) โดยศูนย์แจ้งว่าขอไล่ลมและตรวจสอบทั้งระบบ นอกจากนี้ ก่อนที่จะเกิดเหตุเพลิงไหม้ อาการก็คือพวงมาลัยหนัก/แข็ง จากระบบพาวเวอร์นี้เองโดยในปัจจุบัน (3 ตุลาคม 2552) บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับทราบเรื่องแล้ว รวมทั้งได้ส่งพนักงานเพื่อเข้ามาตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว (ตั้งแต่วันอังคารที่ 29 กันยายน 2552) แต่ไม่พบการสรุปสาเหตุของปัญหา หรือแนวทางการชดเชยค่าเสียหายแต่อย่างใด และมีข้อสังเกตว่า ศูนย์บริการ เอกอินทราฮอนด้า ออโตโมบิล จำกัด / บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อเหตุการณ์เท่าที่ควร และไม่ได้ดำเนินการเพื่อเร่งการสรุปสาเหตุ หรือพิจารณาการชดเชยแต่อย่างใด เนื่องจากตั้งแต่เกิดเรื่อง ผมจะต้องเป็นคนติดตามเกือบทั้งหมด ตั้งแต่นัดประกันเข้าตรวจสอบ, การแจ้งเรื่องให้ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะเจ้าของผลิตภัณฑ์เข้ามาร่วมตรวจสอบ, การเรียกร้องให้ได้มาซึ่งการชดเชยเบื้องต้น (ได้ขอรถชั่วคราวเพื่อสำรองใช้ 1 คัน) , และจากการติดตามจากเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ซึ่งเป็นผู้ดูแลปัญหานี้ (ติดตามวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2552 และ ศุกร์ 2 กันยายน 2552) ก็ได้ความว่ายังไม่มีความคืบหน้าทั้งที่เป็นกรณีที่มีความรุนแรง รวมทั้งมีผู้ใช้รถรุ่นเดียวกันที่ถูกเรียกให้เข้าไปดำเนินการเปลี่ยนท่อดังกล่าวจำนวนมากสิ่งที่คุณรัชตะต้องการขอความช่วยเหลือคือต้องการให้เร่งการสรุป การชดเชยค่าเสียหาย รวมทั้งเป็นแกนหลักในการแนะนำถึงความสมเหตุสมผลของการชดเชยที่พึงจะได้รับ ทั้งการชดเชยต่อทรัพย์สิน การชดเชยต่อความไม่ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการชดเชยอื่นๆ ที่พึงจะประเมินได้ตามสมควรแนวทางแก้ไขปัญหาคุณรัชตะร้องเรียนเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในวันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2552 หลังจากที่รถไฟไหม้ได้ 1 อาทิตย์และพยายามตามเรื่องด้วยตนเอง จนในที่สุดได้มีหนังสือแจ้งจากคุณรัชตะว่าศูนย์บริการฮอนด้า (เอกอินทราฮอนด้า) ได้แสดงความรับผิดชอบในเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว คือ หนึ่ง ได้มีการจัดหารถยนต์สำรองใช้ระหว่างดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2552 สอง ศูนย์บริการฮอนด้าฯ แห่งนี้ได้ทำการชดเชยค่าเสียหายทั้งในส่วนของทรัพย์สินและค่าเสียหายอื่น ๆ ตามที่คุณรัชตะได้รียกร้อง โดยที่คุณรัชตะพึงพอใจต่อการดำเนินการดังกล่าวของศูนย์ฯ และไม่ติดใจเอาความหรือเรียกร้องอื่น ๆ เพิ่มเติมแต่อย่างใดสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ฮอนด้า แอคคอร์ด (V6) รุ่นปี 2003 ถึง 2007 และได้รับแจ้งให้ไปเปลี่ยนท่อน้ำมันของระบบบังคับเลี้ยว(เพิ่มเติม) หากสงสัยว่าอาจมีปัญหาเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนอะไหล่ ไม่ควรปล่อยให้ชักช้าเนิ่นนานไป รีบติดต่อศูนย์บริการโดยทันทีเป็นดีที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >