ฉบับที่ 273 อ่านหนังสือผ่านแอปพลิเคชันลัดกับ “สรุปให้อ่าน”

        ปฏิเสธไม่ได้ว่าการอ่านหนังสือเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มพูนและพัฒนาความรู้ของทุกคนตั้งแต่เกิด ควบคู่ไปกับการสะสมจากการเรียนรู้และจากการสั่งสอนจากบุคคลรอบข้าง จากข้อมูลสถิติย้อนหลังของงานหนังสืออย่างมหกรรมหนังสือระดับชาติ ในปี 2562 จัดที่ ‘อิมแพ็ค เมืองทองธานี’ มีบูทหนังสือ 888 บูท ผู้เข้าร่วมงาน 937,877 คน ยอดขายอยู่ที่ 250,301,842 บาท ในปี 2563 จัดที่ ‘อิมแพ็ค เมืองทองธานี’ มีบูทหนังสือ 746 บูท ผู้เข้าร่วมงาน 556,053 คน ยอดขายอยู่ที่ 192,005,641 บาท ในปี 2564 จัดในรูปแบบออนไลน์ และในปี 2565 จัดที่ ‘ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์’ มีบูทหนังสือ 819 บูท ผู้เข้าร่วมงาน 1,355,893 คน ยอดขายอยู่ที่ 347,331,734 บาท         จากข้อมูลสถิติจะเห็นได้ว่าคนไทยไม่ได้อ่านหนังสือน้อยลงและยังคงชื่นชอบการอ่านกันอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกันกลุ่มที่ไม่ได้ชื่นชอบการอ่านหนังสือเป็นเล่มๆ หรือกลุ่มคนที่ไม่มีเวลา หรือกลุ่มคนที่ไม่มีทุนทรัพย์มากพอ แต่ใจรักที่จะเรียนรู้ผ่านตัวหนังสือก็มีอยู่จำนวนไม่น้อยเช่นกัน ลองมาดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า “สรุปให้อ่าน” นี้กันดู         แอปพลิเคชัน “สรุปให้อ่าน” มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันความรู้ โดยตั้งใจทำให้การอ่านหนังสือหนึ่งเล่มเป็นเรื่องง่าย นำความรู้ในแต่ละเล่มมาย่อยในรูปแบบง่ายๆ สรุปเรื่องน่ารู้ให้อยู่ในกระดาษหนึ่งใบ เพื่อประหยัดเวลา แต่ยังได้ข้อมูลความรู้ได้อัดแน่น จะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบอ่านสรุป ซึ่งเป็นการสรุปหนังสือด้วยภาพที่เข้าใจง่าย อ่านจบใน 8 นาทีต่อเล่ม และแบบฟังผ่าน Podcast ซึ่งสรุปสาระสำคัญของหนังสือผ่านเสียง ฟังจบใน 8 นาทีต่อเล่ม         เมื่อดาวน์โหลดมาไว้บนสมาร์ทโฟนเรียบร้อยแล้ว ขั้นแรกให้สมัครสมาชิกโดยใช้อีเมล เมื่อเข้าไปภายในแอปพลิเคชันจะเห็นเมนู 5 หมวด ได้แก่ หมวดหน้าหลัก หมวดหมู่ หมวดคอร์ส หมวดชั้นหนังสือ และหมวดบัญชี ซึ่งแต่ละหมวดมีรายละเอียดดังนี้ หมวดหน้าหลัก จะแนะนำหนังสือที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมในแต่ละสัปดาห์ หมวดหมู่ จะแบ่งหมวดหมู่หนังสือเพื่อให้ผู้ใช้แอปพลิเคชันเลือกเฉพาะหัวข้อที่สนใจ ซึ่งมีอยู่ 10 หมวด ได้แก่ หมวดจิตวิทยาพัฒนาตนเอง หมวดการศึกษา หมวดการเงินการลงทุน หมวดวิทยาการและเทคโนโลยี หมวดอัตชีวประวัติและชีวประวัติ หมวดอาหารและสุขภาพ หมวดความรู้ทั่วไป หมวดแม่และเด็ก หมวดบริหารและการตลาด และหมวด HOW TO ส่วนหมวดคอร์ส จะเป็นการเรียนออนไลน์ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างเข้มข้น และหมวดชั้นหนังสือ จะเป็นส่วนที่ผู้ใช้แอปพลิเคชันเลือกหนังสือที่สนใจเข้าชั้นหนังสือส่วนตัว         ในรายละเอียดของหนังสือหนึ่งเล่ม จะบอกถึงชื่อนักเขียน สำนักพิมพ์ จำนวนผู้อ่าน ชื่อผู้สรุป ข้อมูลสรุปที่นำเสนอเป็นอินโฟกราฟฟิก ในกรณีที่หนังสือเล่มนั้นมี Podcast ก็จะปรากฎสัญลักษณ์ Play ให้เป็นตัวเลือกเพิ่มเติม เมื่อผู้อ่านรู้สึกชื่นชอบหนังสือเล่มใด ให้กดสัญลักษณ์รูปหัวใจที่อยู่ด้านขวามือ หลังจากนั้นแอปพลิเคชันจะบันทึกหนังสือเล่มนั้นไปวางไว้บนหมวดชั้นหนังสือในเมนูหนังสือที่ชื่นชอบทันที         เมื่อหลายคน ไม่มีเวลาอ่าน อ่านไม่เคยจบ อ่านไม่เข้าใจ ฯลฯ แต่อยากได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แอปพลิเคชัน “สรุปให้อ่าน” ตอบโจทย์ได้ดีที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 179 TK Library อ่านหนังสือออนไลน์

ฉบับนี้ผู้เขียนอยากแนะนำแหล่งความรู้ใหม่เพื่อส่งเสริมการอ่านโดยไม่ต้องเดินทางไปยังห้องสมุด และไม่ต้องเสียเงินซื้อหนังสือ แต่ผู้อ่านสามารถยืมหนังสือที่ตนเองสนใจมาอ่านได้ในรูปแบบออนไลน์บนสมาร์ทโฟน ซึ่งทำให้ไม่ต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย และยังได้รับความรู้จากการอ่าน แอพพลิเคชั่นนี้มีชื่อว่า “TK  Library” เป็นแอพพลิเคชั่นที่ถูกก่อตั้งโดยสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้  (องค์การมหาชน) ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี  มีชื่อเต็มๆ ว่า สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ หรือเรียกว่า TK park  มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองภารกิจหลักด้านการรณรงค์ส่งเสริมให้เยาวชน และประชาชนมีอุปนิสัยรักการอ่าน และการเรียนรู้ เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  ปัจจุบันทาง TK park ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นขึ้นมาเพื่อตอบรับเทคโนโลยีบนโซเชียลมีเดีย   ผู้เข้าใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่น “TK  Library” สามารถเลือกและยืมหนังสือ ,นิตยสาร หรือหนังสือเสียง ได้ผ่านแอพพลิเคชั่น โดยการแบ่งเป็นหมวดหมู่ภายในแอพพลิเคชั่น ได้แก่ หมวดรายการยืม หมวดประวัติการยืม หมวดรายการจอง  หมวดหนังสือ  หมวดนิตยสาร  หมวดหนังสือเสียง ขั้นตอนแรกผู้ใช้บริการต้องลงทะเบียนโดยใช้ชื่อนามสกุลจริง พร้อมเลขบัตรประจำตัวประชาชน หลังจากนั้นผู้ใช้บริการสามารถเข้าไปเลือกหนังสือที่ต้องการจะยืมได้ โดยขั้นตอนการใช้บริการมี 3 รูปแบบ คือ เลือกทดลองอ่านในบางส่วนของเนื้อหาในเล่ม  เลือกอ่านออนไลน์ที่สามารถอ่านเนื้อหาในเล่มได้ทั้งหมดแบบชั่วคราว เมื่อปิดไฟล์แล้วเล่มหนังสือจะไม่ไปปรากฏในหมวดรายการยืม และการเลือกยืม โดยผู้ใช้บริการจะได้ไฟล์หนังสือมาอยู่ในหมวดรายการยืมเป็นเวลา 7 วันและสามารถเข้าไปอ่านเมื่อใดก็ได้ ในกรณีที่หนังสือเล่มที่ต้องการนั้นมีผู้ใช้บริการคนอื่นยืมไปแล้ว แอพพลิเคชั่นจะขึ้นคำว่า “จอง” แทนคำว่า “ยืม” เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถจองคิวในการยืมหนังสือเล่มนั้น โดยแอพพลิเคชั่นจะระบุวันที่จะถึงคิวที่จะยืมหนังสือไว้ด้วย เมื่อถึงคิวของตน แอพพลิเคชั่นจะแจ้งเตือนอีกครั้ง ซึ่งหนังสือที่จองไว้จะถูกเก็บไว้ในหมวดรายการจอง และผู้ใช้บริการสามารถยกเลิกการจองได้ภายในหมวดนี้ ทั้งนี้การยืมหนังสือของแอพพลิเคชั่น “TK  Library” มีการจำกัดจำนวนการยืมหนังสือในแต่ละครั้งด้วย เพื่อเป็นการแบ่งปันหนังสือไปยังผู้ใช้บริการคนอื่นๆ ดังนั้นถ้าผู้ใช้บริการต้องการยืมหนังสือเล่มอื่น ก็ต้องคืนหนังสือที่ถูกยืมมาก่อนหน้านี้ โดยให้เข้าไปยังหมวดรายการยืมและเลือกหนังสือเล่มที่ต้องการคืน หลักจากนั้นให้กดเลือกคืนหนังสือ แอพพลิเคชั่น “TK  Library” นี้นับว่ามีประโยชน์ที่ช่วยส่งเสริมการอ่านให้กับประชาชน โดยไม่ต้องเดินทางไปยังห้องสมุด และเปลี่ยนจากการพกเล่มหนังสือมาเป็นไฟล์หนังสือที่อยู่บนสมาร์ทโฟน แทน ซึ่งถือว่าเป็นการส่งเสริมการอ่านให้กับประชาชนในยุคสมัยเทคโนโลยีโซเชียลมีเดีย ที่ลดความนิยมการอ่านหนังสือในรูปแบบกระดาษได้อีกทางหนึ่ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 152 E-readers

ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำผลทดสอบเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-readers มาฝากสมาชิกนักอ่านกันบ้าง หลายคนอาจไม่เคยให้ความสนใจกับมันเพราะชอบการจับต้องหนังสือเป็นเล่มมากกว่า บางคนมองว่า อยากอ่านอะไรก็ดาวน์โหลดมาอ่านในคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ก็ได้ไม่เห็นต้องลงทุนเพิ่ม ในขณะที่หลายคนกำลังชั่งใจอยู่ว่าจะซื้อเครื่องอ่านฯ (ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็สามารถท่องเว็บได้ แถมยังมีเทคโนโลยีหน้าจอที่ทำให้อ่านได้นานโดยไม่ปวดตา) หรือจะซื้อแทบเลต (ซึ่งก็สามารถใช้ท่องเน็ทพร้อมกับอ่านหนังสือได้ด้วย) มาใช้ดี องค์กรทดสอบระหว่างประเทศได้ทำการทดสอบ E-readers เหล่านี้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราเลือกมา 10 รุ่น (ทั้งเครื่องอ่านฯ และแทบเลต) ที่มีขายในเมืองไทย ข้อสังเกตที่ได้จากผลทดสอบคือยังไม่มีเครื่องอ่านฯรุ่นใด ที่ตอบสนองการเข้าเว็บได้ในระดับที่น่าพอใจ และในทางกลับกันก็ยังไม่มีแทบเลตที่ใช้อ่านหนังสือได้สะดวกหรือใช้งานได้นานต่อการชาร์จหนึ่งครั้งเหมือน E-readers ถ้าคุณเป็นคนที่จริงจังกับการอ่านในทุกขณะจิตและไม่ยึดติดกับประสบการณ์การอ่านแบบเดิม เจ้าเครื่องอ่านเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่คุณตามหาอยู่ก็ได้ ติดตามคะแนนในด้านต่างๆของแต่ละรุ่นได้ในหน้าถัดไป Sony PRS-T2 ราคา 5,990 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน                          5 นอนอ่าน                        5 ยืน (โหนรถ) อ่าน            4.5 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ    5 จดบันทึก                       5 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่       5 ท่องเว็บ                         2 ตัวเครื่องทนทาน 4 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 5   Kobo Mini ราคา 4,190 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน                          5 นอนอ่าน                        5 ยืน (โหนรถ) อ่าน            4.5 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ    3 จดบันทึก                       3 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่       4 ท่องเว็บ                         2 ตัวเครื่องทนทาน 4 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 5   Kobo Glo ราคา 5,690 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน                          5 นอนอ่าน                        5 ยืน (โหนรถ) อ่าน            4.5 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ    3 จดบันทึก                       3 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่       4 ท่องเว็บ                         2 ตัวเครื่องทนทาน 4 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 4.5   Amazon Kindle ราคา 5,490 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน                          5 นอนอ่าน                        5 ยืน (โหนรถ) อ่าน            4 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ    4.5 จดบันทึก                       2 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่       3 ท่องเว็บ                         1.5 ตัวเครื่องทนทาน 4 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 5   Amazon Kindle Paperwhite 3G ราคา 9,990 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน                          5 นอนอ่าน                        4.5 ยืน (โหนรถ) อ่าน            4 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ    4.5 จดบันทึก                       5 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่       5 ท่องเว็บ                         2 ตัวเครื่องทนทาน 4 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 5   Trekstor eBook Reader Pyrus ราคา 3,800 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน                          5 นอนอ่าน                        5 ยืน (โหนรถ) อ่าน            4 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ    4 จดบันทึก                       0.5 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่       3 ท่องเว็บ                         - ตัวเครื่องทนทาน 4 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 3.5   Apple iPad mini ราคา 10,300 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน                          3.5 นอนอ่าน                        3 ยืน (โหนรถ) อ่าน            3 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ    4 จดบันทึก                       5 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่       5 ท่องเว็บ                         5 ตัวเครื่องทนทาน 5 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 2   Kobo Arc ราคา 9,790 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน                          3.5 นอนอ่าน                        3 ยืน (โหนรถ) อ่าน            3 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ    4.5 จดบันทึก                       5 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่       3.5 ท่องเว็บ                         5 ตัวเครื่องทนทาน 5 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 2.5 Kindle Fire HD ราคา 10,900 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน                          3.5 นอนอ่าน                        3 ยืน (โหนรถ) อ่าน            3 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ    5 จดบันทึก                       5 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่       3 ท่องเว็บ                         5 ตัวเครื่องทนทาน 5 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 2   Samsung Galaxy Tab2 7.0 ราคา 6,500 บาท อ่านสะดวก นั่งอ่าน                          3.5 นอนอ่าน                        3 ยืน (โหนรถ) อ่าน            3 ใช้งานง่าย คั่นหน้า/กลับมาอ่านต่อ    0.5 จดบันทึก                       4.5 จัดเก็บ/แยกหมวดหมู่       2 ท่องเว็บ                         5 ตัวเครื่องทนทาน 5 แบตเตอรี่ใช้ได้นาน 2   ------------------------------------------------------------------------------ E-reader ตัวแรกของโลกคือ Data Discman ของ Sony ที่ออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 1998 แต่กระแสเครื่องอ่านอิเล็กทรอนิกส์เพิ่งจะมาได้รับความนิยมอย่างจริงจังในปี 2009 E-reader ถูกออกแบบมาเพื่อการอ่านโดยเฉพาะจึงมีขนาดและน้ำหนักน้อยกว่าแทบเลต เทคโนโลยีที่ทำให้เครื่องอ่านฯ เหล่านี้มีหนอนหนังสือเป็นแฟนคลับเพิ่มขึ้นคือจอแสดงผลแบบ E Ink ที่ทำให้เรามองเห็นเม็ดทรงกลมเล็กๆ ที่บรรจุอยู่ในไมโครแคปซูลจำนวนล้านๆแคปซูล เป็นภาพหรือตัวหนังสือขึ้นมา หน้าจอแบบนี้ไม่มีการกระพริบ จึงทำให้เราสามารถอ่านเป็นเวลานานๆได้ กระแสข่าวเรื่อง E-reader  มีทั้งที่เป็นขาขึ้นและขาลง Kobo ให้ข่าวว่ายอดขายเครื่องอ่านฯของเขาเพิ่มขึ้นร้อยละ 145 ในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ ในขณะที่บางบริษัทอย่าง Barnes and Noble ประกาศหยุดการผลิตเครื่องอ่านฯ Nook ของตัวเองลง ข่าวว่าอาจเป็นเพราะมีแทบเลตหลายรุ่นออกมาแย่งตลาด ทางด้าน Amazon เจ้าของเครื่องอ่าน Kindle รุ่นต่างๆ บอกว่าเขาไม่เดือดร้อนอะไรกับยอดขายเครื่องอ่านฯ เพราะผลิตภัณฑ์หลักของเขาคือ “หนังสือเล่ม” และ “หนังสืออิเล็กทรอนิกส์” ที่แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกอ่านผ่านแบบไหน ผ่านสื่ออะไรเท่านั้นเอง โดยรวมแล้วยอดขายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกมีแนวโน้มจะลดลง หลายคนมองว่าอนาคตของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และ E-reader จะสดใสไฉไลกว่านี้ถ้าราคาหนังสือในรูปแบบดังกล่าวถูกลง ------------------------------------------------------------------------------

อ่านเพิ่มเติม >