ฉบับที่ 244 โฆษณาคือส่วนหนึ่งของสัญญา ถ้าไม่ทำตามที่โฆษณาเรามีสิทธิอย่างไร

ฉบับนี้ ผมก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับกฎหมายใกล้ตัวมาเสนออีกเช่นเคย ในช่วงโควิดระบาดเช่นนี้ ธุรกิจหลายอย่างได้รับผลกระทบ ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจซื้อขายห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม หลายคนก็อาศัยช่วงนี้ที่ราคาคอนโดถูกลงเพื่อจับจองเป็นเจ้าของ ซึ่งมีราคาตั้งแต่หลักแสนจนหลักสิบล้าน การที่เราจะตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องสำคัญ ผมจึงอยากนำเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ มาแบ่งปันเพื่อประโยชน์แก่ทุกท่านในการซื้อคอนโดครับ         หลายท่านคงเริ่มจากค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตและไปดูสถานที่จริง อย่างไรก็ดีเราจะพบว่าฝั่งโครงการ ซึ่งเป็นผู้ขายมักมีการทำโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ เพื่อให้เราตัดสินใจเลือกง่ายขึ้น มีทั้งทำโฆษณาในออนไลน์ แจกแผ่นพับ โปสเตอร์ป้ายใหญ่โต แต่เมื่อเราตัดสินใจทำสัญญาซื้อคอนโดไปแล้ว ผู้ขายมักไม่ทำตามคำโฆษณาและทำให้เกิดข้อพาทกัน เช่นในคดีหนึ่ง ผู้ประกอบการได้ทำเปิดขายอาคารชุด มีการแจกแผ่นพับโฆษณาโดยมีรูปแผนผังทำให้ผู้ซื้อเชื่อว่าที่ดินทางเข้าออกและพื้นที่ติดชายหาดเป็นทรัพย์ส่วนกลางที่ผู้ซื้อจะสามารถใช้สอยได้  แต่ต่อมากลับแจ้งผู้ซื้อว่าที่ดินดังกล่าว ไม่ใช่ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด ทำให้ผู้ซื้อมาฟ้องศาลเพื่อให้ทำตามที่โฆษณาไว้         ต่อมาศาลก็ได้ตัดสินให้ผู้ประกอบการต้องทำตามที่โฆษณาโดยให้เหตุผลว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจต้องกระทำให้ปรากฏอย่างชัดเจนในการโฆษณา แม้จำเลยไม่มีเจตนาลวงผู้บริโภค จำเลยก็ต้องผูกพันตามแผนผังในแผ่นพับโฆษณา ซึ่งถือเป็นข้อตกลงอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2562         แผ่นพับโฆษณาเป็นประกาศโฆษณาที่จำเลยแจกจ่ายแก่ผู้ซื้อห้องชุด เพื่อจูงใจให้ผู้พบเห็นเข้าทำสัญญากับจำเลย สิ่งที่จำเลยกำหนดในแผ่นพับที่เป็นสื่อกลางโฆษณาให้ผู้ซื้อทราบว่าจะได้รับสิ่งใดเป็นการตอบแทนการเข้าทำสัญญาซื้อห้องชุดจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างจำเลยกับผู้ซื้อ ดังที่บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 11 จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจจึงมีหน้าที่ตามมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรมที่จะต้องแจ้งข้อที่ผู้บริโภคควรทราบให้กระจ่างชัด ทั้งต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมในการโฆษณาต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับ สภาพ คุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าหรือบริการไม่ว่าในทางใด ซึ่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 22 (2) บัญญัติว่า ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม ถือว่าเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรม         ดังนี้ แม้จำเลยไม่มีเจตนาให้ที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ส่วนของจำเลยเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด แต่ตามแผ่นพับโฆษณา รูปแผนผังที่ปรากฏทางพิพาทที่เป็นทางเข้าออกและพื้นที่ติดชายหาดติดต่อกับพื้นที่อาคารชุด มีลักษณะที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ซึ่งเป็นพื้นที่ใช้สอยอันมีผลต่อสถานะความเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด ทำให้ผู้ซื้อเข้าใจไปว่าที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง เป็นพื้นที่ที่เจ้าของร่วมจะได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งของอาคารชุด การโฆษณาของจำเลยจึงเป็นการโฆษณาด้วยข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ดังบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 22 (2) จำเลยจึงต้องรับผลแห่งการโฆษณานั้น การที่จำเลยไม่แสดงให้ชัดแจ้งเพื่อให้ปรากฏแก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้บริโภคว่าที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ไม่ใช่ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดซึ่งเป็นหน้าที่ของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจต้องกระทำให้ปรากฏอย่างชัดเจนในการโฆษณา ในขอบมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมกับภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม         แม้จำเลยไม่มีเจตนาลวงผู้บริโภค จำเลยก็ต้องผูกพันตามแผนผังในแผ่นพับโฆษณา ซึ่งถือเป็นข้อตกลงอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย ดังที่บัญญัติตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 11 และแม้ลักษณะที่แสดงตามแผ่นพับ จะแสดงว่า ทางและที่ดินติดชายหาดเป็นการใช้ประโยชน์ร่วมกันของโรงแรมและอาคารชุดก็ตาม ที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ก็ยังคงมีสถานะเป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมอยู่ด้วย การที่โรงแรมมีส่วนร่วมใช้ประโยชน์ด้วย หาทำให้ที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมไม่ ทั้งทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดนั้น นอกจากทรัพย์สินอื่นๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติแล้ว ยังหมายความถึงทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นทรัพย์ส่วนกลางด้วยดังบัญญัติความตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 4 และมาตรา 15 ทั้งนี้ ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะขึ้นทะเบียนอาคารชุดระบุว่าเป็นทรัพย์ส่วนกลางหรือไม่หรือ เจ้าของทรัพย์สินนั้นจะแสดงเจตนายกกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นให้เป็นทรัพย์ส่วนกลางหรือไม่ก็ตาม เพราะเป็นกรณีตกเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดโดยผลของกฎหมาย          จากคำพิพากษาข้างต้น ยังมีหลักกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางที่น่าสนใจคือ ทรัพย์ที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางนั้นคือทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันของเจ้าของร่วม ไม่ว่าทรัพย์นั้นทะเบียนอาคารชุดจะระบุไว้เป็นทรัพย์ส่วนกลางหรือไม่ก็ตาม เจ้าของทรัพย์สินนั้นจะแสดงเจตนายกกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นให้เป็นทรัพย์ส่วนกลางหรือไม่ก็ตาม เพราะเป็นกรณีตกเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดโดยผลของกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 4 และมาตรา 15

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับ 103 มือถืออินเตอร์เน็ต

ได้เวลาอัพเดทผู้อ่านฉลาดซื้อเรื่องของโทรศัพท์มือถือกันอีกครั้ง นาทีนี้อาจจะมีบางท่านต้องการหาซื้อมือถือไว้เพื่อการรับทราบข่าวสารที่มากกว่าแค่รับข้อความ (SMS) ซึ่งอาจรวมถึงการรับ/ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันรูปภาพ ไฟล์เพลง รวมถึงการท่องเว็บต่างๆในอินเตอร์เน็ตด้วย   ฉบับนี้เราภูมิใจนำเสนอผลการทดสอบเปรียบเทียบโทรศัพท์มือถือที่จัดทำโดยองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (หรือ International Consumer Research and Testing ที่มีสมาชิกเป็นองค์กรผู้บริโภคที่ไม่แสวงหากำไรเช่นเดียวกับเราอีก 44 องค์กร ใน 38 ประเทศ) ซึ่งประกอบด้วยมือถือที่ใช้อินเตอร์เน็ตได้ทั้งหมด 20 รุ่น และมือถือที่ที่มีฟังก์ชั่นถ่ายภาพและฟังเพลง (แต่ยังใช้ท่องเน็ตไม่ได้) อีก 14 รุ่น* ภาพรวม โทรศัพท์เหล่านี้ไม่แตกต่างกันในเรื่องของฟังก์ชั่นการใช้เพื่อโทรออก รับสาย (ทุกรุ่นได้ 4 ดาวเท่ากัน) โทรศัพท์ที่ยังครองความเป็นหนึ่งในด้านการใช้งานอินเตอร์เน็ตยังคงเป็น แอปเปิ้ล iPnone ทั้ง4 รุ่นที่ทดสอบ ที่เหลือก็อยู่ในระดับพอใช้ (3 ดาว) ถึงดี (4 ดาว) ยกเว้น โนเกีย N86 8MP โซนี่ อิริคสัน W995 แอลจี KM900 Arena และ แอลจี GC900 Viewty smart ที่ได้ไปเพียง 2 ดาว จากการทดสอบครั้งนี้ ความสะดวกในการรับ/ส่งข้อความของโทรศัพท์เหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไป แต่ถ้าใครชื่นชอบการส่ง SMS เป็นชีวิตจิตใจก็อาจจะอยากลงทุนกับ โนเกีย N 97 ที่ได้คะแนนด้านนี้ถึง 5 ดาว มีเพียงสี่รุ่นที่ได้คะแนนในการถ่ายภาพในระดับ 4 ดาว ได้แก่ โนเกียN 97 โนเกียN86 8MP ซัมซุง GT-S8000 Jet และซัมซุง SGH-i900 Omnia สำหรับฟังก์ชั่นการฟังเพลงนั้นมี โนเกีย N 97 ที่ได้ไป 5 ดาว แต่ที่เหลือส่วนก็อยู่ในระดับพอใช้ถึงดี ยกเว้น ZTE/TMN Bluebelt ZTE/T-Mobile Vairy Touch และ “3” INQ1 โทรศัพท์ส่วนใหญ่ในกลุ่มที่นำมาทดสอบนี้ได้คะแนนเรื่องความทนทานในระดับดีถึงดีมาก ยกเว้น แอปเปิ้ล iPnone 3G 8 GB/ OS 3.0 และ แอปเปิ้ล iPnone 3G 16 GB/ OS 3.0 ที่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ ในขณะที่โนเกีย E 75 ได้ไปเพียง 2 ดาว แบตเตอรี่ก็เช่นกัน โทรศัพท์ส่วนใหญ่ได้คะแนนเรื่องประสิทธิภาพการใช้พลังงานในระดับดีถึงดีมาก ยกเว้น แอลจี KM900 Arena ที่ผ่านด้วยคะแนนพอใช้เท่านั้น *หมายเหตุ มือถือที่ส่งเข้าทดสอบในครั้งนี้เก็บจากตลาดในยุโรป (แม้ว่าส่วนใหญ่จะผลิตมาจากโซนเอเชียบ้านเรา)** ทุกรุ่นสามารถชาร์จผ่านสาย USB ได้ ยกเว้น Nokia 6303 Classic ดาวโหลด ผลการทดสอบที่นี่ค่ะ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 145 ชวนมาลงทะเบียน ICT free Wifi

  ครั้งหนึ่ง ผู้เขียนพยายามเข้าอินเตอร์เน็ตเพื่อติดต่อเรื่องงานผ่านโทรศัพท์มือถือ ปรากฎว่าบริเวณนั้นสัญญาณอินเตอร์เน็ตของเครือข่ายที่ใช้บริการขัดข้อง งานก็เร่ง สัญญาณเน็ตก็ไม่เดิน เปิดไวไฟ (Wifi) ก็เจอแต่เครือข่ายอื่น จะเปลี่ยนสถานที่จากจุดที่อยู่ไปหาร้านอินเตอร์เน็ตในช่วงจราจรติดขัดก็คงเป็นทางเลือกที่ไม่ถูกสักเท่าไร บอกตรงๆ เลยคะ จิตใจร้อนรนจนทำอะไรไม่ถูกเลยทีเดียว   ตอนที่เปิดเช็คสัญญาณไวไฟ (Wifi) ตรวจเจอไวไฟ (Wifi) ชื่อว่า ICT Free Wi-Fi จึงทำให้สนใจสมัครขึ้นมา แม้ว่าจะเคยได้ยินข่าวมาบ้าง ว่าทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สายทั่วประเทศ แต่ไม่เคยคิดจะสนใจ ด้วยเหตุการณ์ที่ต้องทำให้กระวนกระวายใจ จึงเริ่มศึกษาข้อมูลการสมัครอย่างทันถ่วงที   มือถือสมาร์ทโฟนทุกประเภท ให้ใช้ระบบการค้นหาสัญญาณไวไฟ (Wifi) ผ่านมือถือได้เลย เมื่อเจอสัญญาณไวไฟ (Wifi) ชื่อว่า ICT Free Wi-Fi ให้เลือกสัญญาณนั้น หน้าจอจะเปลี่ยนมาให้กรอก Username และ Password  โดยผู้เข้าใช้งานครั้งแรกจะต้องสมัครเพื่อขอรับ Username และ Password เสียก่อน โดยกดที่ลงทะเบียน จากนั้นระบบจะให้กรอกข้อมูลส่วนตัว พร้อมหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ระบบจะแจ้ง Username และ Password ให้อีกครั้ง เพื่อกรอก Username และ Password เพื่อเชื่อมต่อกับสัญญาณ ICT Free Wi-Fi   ส่วน Username และ Password ที่ได้สมัครไว้นั้น เมื่อใกล้หมดอายุก่อน 15 วัน ก็สามารถต่ออายุการใช้งานได้อีกครั้ง  ICT Free Wi-Fi นี้ ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ครั้งละไม่เกิน 30 นาที และใน 1 วันจะใช้ได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมง   การให้บริการของ ICT Free Wi-Fi เพื่อต้องการให้ประชาชนเข้าถึงการให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงฟรี  ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตั้งเป้าไว้ที่จำนวน 50,000 จุดทั่วประเทศ โดยเน้นไปตามสถานที่ราชการ อย่างเช่น  ศาลาว่ากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ ตำบล โรงเรียน โรงพยาบาล อนามัย สถานีตำรวจ และตามสถานีขนส่ง สนามบิน สวนสาธารณะ และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เป็นต้น   สำหรับบนคอมพิวเตอร์สามารถใช้สัญญาณไวไฟ (Wifi) ได้เช่นกัน โดยแบ่งวิธีการสมัครลงทะเบียนตามจังหวัด ดังนี้  http://vip.totwifi.com/ict-ชื่อจังหวัดที่ท่านอยู่  เช่น • กระบี่ http://vip.totwifi.com/ict-krabi • กาญจนบุรี http://vip.totwifi.com/ict-kanchanaburi • ชลบุรี http://vip.totwifi.com/ict-chonburi • เชียงใหม่ http://vip.totwifi.com/ict-chiangmai • นครราชสีมา http://vip.totwifi.com/ict-nakhonratchasima • นครศรีธรรมราช http://vip.totwifi.com/ict-nakhonsithammarat   ผู้ใช้บริการในส่วนของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะสามารถสมัครลงทะเบียนได้ ดังนี้ • กรุงเทพมหานครและปริมณฑล http://vip.totwifi.com/ict-metro1 • กรุงเทพมหานครและปริมณฑล http://vip.totwifi.com/ict-metro2 • กรุงเทพมหานครและปริมณฑล http://vip.totwifi.com/ict-metro3 • กรุงเทพมหานครและปริมณฑล http://vip.totwifi.com/ict-metro4   เพื่อประโยชน์ของประชาชนในฐานะผู้บริโภคคนหนึ่ง ลองสมัครเพื่อใช้สิทธิ์และช่วยตรวจสอบการเข้าถึงบริการอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงฟรีดูกันค่ะ  ว่ามีประสิทธิภาพและน่าพึงพอใจแค่ไหน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 107 “ไฮสปีดกลายเป็นโลว์สปีด”

ปัญหาของอินเตอร์เน็ตที่มีการร้องเรียนจากผู้บริโภคมากที่สุดในขณะนี้คือ เน็ตช้า ความเร็วไม่เป็นไปตามที่โฆษณา อารมณ์สะเทือนใจของชาวเน็ตเป็นอย่างไรบ้างลองอ่านดูกันครับ“ที่บ้านดิฉันใช้บริการอินเตอร์เน็ต แบบ 3Mb ค่ะ ใช้มาสองปีแล้ว แต่เพิ่งเปลี่ยนแพคเกจเป็น 3MB เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาและเมื่อเปลี่ยนแล้ว ความเร็วไม่เต็มสปีดสักเท่าไหร่ ที่สำคัญ หลุดบ่อยมากค่ะ โดยเฉพาะเวลาที่ฝนตก และตอนกลางคืนใช้ได้ 5-10 นาที เน็ตก็ตัดแล้วทำอะไรไม่ได้เลยโทรศัพท์ไปแจ้งกับทางศูนย์บริการก็รับเรื่องแบบแกนๆ เคยโทรไปหลายครั้งแล้วรอสายนานมาก แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไขสักทีตอนนี้ใช้งานที่ราชบุรีค่ะ ศูนย์บริการปิดตอนห้าโมงเย็น แต่ปัญหาเกิดตอนกลางคืนค่ะ เคยโทรไปฝากเรื่องตอนกลางคืน เพราะอินเตอร์เน็ตใช้ไม่ได้ตอนเช้าพนักงานเพิ่งจะโทรมา ปัญหาก็หายไปแล้ว ทำแบบนี้ก็ไม่ได้แก้ไขปัญหาอะไรจริงมั้ยคะ?? จ่ายเต็มราคาทุกครั้งแต่เจอสภาพอินเตอร์เน็ตแบบนี้สมควรเรียกร้องมั้ยล่ะคะ”หรืออีกกรณีหนึ่ง“ผมทำสัญญาใช้บริการอินเตอร์เน็ตรายเดือน ความเร็ว 3 เม็ก แต่ความเร็วจริงต่างกับที่โฆษณาเอาไว้มากครับน่าจะโฆษณาว่าเน็ต 2.5 เม็กมากกว่า ต้องจ่ายเงินให้ทีโอทีทุกเดือน แต่ก็มีความรู้สึกเหมือนโดนเอาเปรียบอยู่ทุกเดือน ต่างกับของ ทีทีแอนด์ที มากครับ 3 เม็กเต็ม บางวันก็จะตกมาอยู่ที่ 2.9 หรือ 2.8 ดาวน์โหลดทุกอย่างเร็วทันใจ ผมใช้เน็ตของทีโอทีดาวน์โหลดไฟล์ให้ลูกค้า บางไฟล์ ต้องรอถึงสามวันกว่าจะโหลดเสร็จ ทั้งๆ ที่ เคยใช้ของทีทีแอนด์ทีใช้เวลาแค่ 8 ชั่วโมง เก็บค่าใช้บริการเท่ากันแท้ๆ แต่ทีโอทีกลับเอาเปรียบผู้บริโภคไม่ดีเลยครับ” “ดูหนัง ฟังเพลงได้ช้ามากๆ กระตุกหยุดโหลดทุกสามวินาที ทั้งที่เป็น 3 เม็ก เช็คความเร็วดูปรากฏว่าไม่ถึง 3 เม็ก โทรไปร้องเรียนที่ 1100 คอนแทคเซ็นเตอร์ก็ไม่มีเจ้าหน้าที่รับสาย โทรไปกี่ครั้งก็ไม่มีเจ้าหน้าที่รับสาย มีแต่เสียงตอบรับอัตโนมัติว่าคู่สายบริการเต็มให้โทรมาใหม่เสียความรู้สึกมากๆ รบกวนช่วยรับเรื่องร้องเรียนของฉันด้วยค่ะ มันไม่ยุติธรรมเลยที่ต้องเสียค่าบริการเต็ม แต่ได้รับบริการห่วยๆแบบนี้” ฯลฯ “มีปัญหาสัญญาณหลุดบ่อย อีกทั้งมีความล่าช้าในการแก้ไข และไม่ได้รับความเร็วตามที่กำหนด 3 เม็กแต่ใช้งานได้เพียงไม่ถึง 1 เม็ก แต่ก็ยังเก็บค่าบริการรายเดือนเต็มจำนวนอีกด้วยทุกเดือน โดยที่ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขให้เสร็จสมบูรณ์”แนวทางแก้ไขปัญหาบรรดาสารพันปัญหาอินเตอร์เน็ตล่าช้า ไม่เป็นไปตามสัญญา สามารถดำเนินการได้ 4 แนวทางนะครับ 1. สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ได้จัดทำโครงการทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตของผู้ให้บริการร่วมกับ สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย บนเว็บไซต์ www.speedtest.or.th ให้ไปเช็คความเร็วอินเตอร์เน็ตและแจ้งไว้เป็นหลักฐานที่นี่ ปกติแล้วถ้าได้ความเร็วสัก 80% ขึ้นไปก็ถือว่าเป็นคุณภาพที่พอรับได้ครับ2. ถ้าโทรแจ้งที่คอลเซนเตอร์แล้วไม่ได้ผล ผู้บริโภคทำหนังสือร้องเรียนโดยตรงที่บริษัทผู้ให้บริการ โดยเรียนถึงกรรมการผู้จัดการ เรื่องขอให้แก้ไขปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานการบริการ และขอให้คืนเงินค่าบริการในช่วงที่ไม่ได้ใช้งานไปหักลบกลบหนี้ของบิลรอบเดือนถัดไป ดังนั้นควรระบุให้ชัดเจนว่าเน็ตช้ามากในช่วงไหนถึงไหนจากหลักฐานที่เราได้เช็คจากwww.speedtest.or.th3. หากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตไม่แก้ไขปัญหา หรือยังไม่ยอมคืนเงินในช่วงที่ไม่ได้ใช้บริการหรือใช้บริการแล้วแต่ได้ความเร็วไม่เป็นไปตามโฆษณาหรือสัญญา ให้ทำหนังสือร้องเรียนพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนส่งถึงผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม หรือ สบท. ส่งไปที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) 404 อาคารพหลโยธินเซนเตอร์ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร.02-2790250 โทรสาร 02-2790251 หรือจะเดินทางไปร้องเรียนด้วยตนเองก็ได้4. การร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สิ่งที่เราจะดำเนินการให้คือ ออกจดหมายเรียกร้องให้บริษัทปรับปรุงคุณภาพบริการ หากยังไม่มีการดำเนินการใดๆ อีก คุณสามารถขอให้มูลนิธิฯ ดำเนินการเขียนคำฟ้องเพื่อฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นคดีผู้บริโภคได้ครับ ความผิดของผู้ให้บริการคือ การให้บริการที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐานไม่เป็นไปตามที่โฆษณาหรือสัญญาไว้ครับ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 103 แม็กซ์เนต ของทีทีแอนด์ทีจ่ายเต็มเดือนแต่ใช้ได้แค่ครึ่งเดือน

สวัสดีค่ะ ดิฉันเปิดใช้บริการอินเทอร์เน็ตของ Maxnet หมายเลข 038-727-000 แต่ในทุกๆ เดือนจะเกิดปัญหาค่ะ“ทุกๆ เดือนจะเกิดปัญหาคืออินเทอร์เน็ตจะใช้ไม่ได้ประมาณ 2 อาทิตย์ จนมาถึงเดือนนี้(กรกฎาคม 2552) ทุกวัน ดิฉันโทรแจ้งทางศูนย์ เขาบอกดิฉันเดี๋ยวทางเราจะแจ้งช่างให้ไปดูแล แต่จนป่านนี้ยังไม่มีใครมาสนใจ แล้วทุกเดือนดิฉันเขียนเรื่องขอลดยอด แต่ใบแจ้งค่าใช้บริการยังคงเรียกเก็บในราคาเต็มคือ 1,166.30 บาท/เดือน การที่อินเทอร์เน็ตใช้ได้ 2 อาทิตย์แล้วปัญหาเกิด 2 อาทิตย์ ดิฉันไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ทำไมเขายังกล้าเก็บเงินกับลูกค้าอยู่อีก...”เป็นเนื้อหาจากจดหมายที่คุณอุไรส่งมาบอกเล่าเรื่องร้องเรียนในปัญหาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ให้บริการโดยบริษัท ทีทีแอนด์ที ซับสไครเบอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด(มหาชน) เราได้รับจดหมายฉบับนี้ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยความอยากรู้ว่าบริการอินเทอร์เน็ตของแม็กซ์เนตเป็นอย่างไร จึงได้ท่องเข้าไป www.maxnet.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเจ้านี้ พบข้อความโฆษณาที่เกี่ยวกับคุณภาพของอินเตอร์เน็ตที่จัดให้บริการกับลูกค้าหลายจุด ตัวอย่าง“ทีทีแอนด์ทีรุกตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เปิดตัวแคมเปญใหม่ "ติด Maxnet ติดสปีดให้ชีวิต" หวังเจาะ 3 กลุ่มเป้าหมายหลักทั้งนักเรียน คนวัยทำงาน และธุรกิจขนาดเล็ก หวังขยายฐานลูกค้าทั่วประเทศ ตั้งเป้าผู้ใช้บริการสิ้นปี 2549 ที่ 300,000 ราย และจะขยายเป็น 500,000 รายภายในปี 2550นายประจวบ ตันตินนท์ กรรมการ บริษัท ทีทีแอนด์ที ซับสไครเบอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด บริษัทในเครือ บมจ. ทีทีแอนด์ทีกล่าวว่า "แนวคิดของการออกแคมเปญใหม่ "ติด Maxnet ติดสปีดให้ชีวิต" คือการทำอย่างไรให้กลุ่มเป้าหมายใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่าที่สุด และสามารถทำงานให้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยอินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพ ซึ่งบริษัทเชื่อมั่นว่าแม็กซ์เน็ตจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทุกกลุ่มได้อย่างลงตัว โดยเราได้นำเสนอผ่านภาพยนตร์โฆษณาชุด Run ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าแม็กซ์เน็ตช่วยขจัดความล่าช้าและข้อจำกัดต่างๆ ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างราบรื่น"ที่มา :ข่าวเด่น TT&T “TT&Tรุกเน็ตไฮสปีด ส่ง Maxnet เจาะกลุ่มผู้ใช้ทั่วประเทศ” วันที่ 10/11/2549แต่ไม่ว่าจะโฆษณาอย่างไร ไฮสปีดยี่ห้อนี้ก็ยังมีเงื่อนไขในการให้บริการไม่ต่างจากไฮสปีดยี่ห้ออื่น1. บริการ Hi Speed Internet เป็นบริการแบบแชร์สปีด ความเร็วที่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้บริการในขณะนั้น (Non Guarantee Speed)2. ความเร็วในการเชื่อมต่อ คือ ความเร็วของคอมพิวเตอร์กับโครงข่ายของ ทีทีแอนด์ที ไม่ใช่ความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล ความเร็วในการดาว์นโหลดที่แท้จริงอาจต่ำกว่าความเร็วสูงสุดในการเชื่อมต่อที่ผู้ใช้บริการเลือกไว้ โดยเฉพาะเว็บไซด์ที่อยู่ต่างประเทศ อาจมีผลมาจากหลายปัจจัย เช่น สภาพของคอมพิวเตอร์ สภาพและระยะทางของสายโทรศัพท์คู่สายภายในของผู้เช่า และการติดขัดของข้อมูลอินเทอร์เน็ต รวมถึงอุปกรณ์ Server และ Router ของเว็บไซด์ที่เข้าชม และปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการ ที่มา : ข้อควรรู้ http://www.maxnet.co.th/knowledge.phpคำถามคือว่าจะนำข้ออ้างดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดชอบกับลูกค้าได้หรือไม่คำตอบคือ ไม่ได้ครับ เพราะว่าประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคม พ.ศ.2544 กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่า ผู้ให้บริการ(โทรคมนาคมทั้งหมด เช่น โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออินเทอร์เน็ต) มีหน้าที่ต้องให้บริการโทรคมนาคมตามมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการตามที่ได้โฆษณาหรือแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบ โดยมาตรฐานและคุณภาพ การให้บริการดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) ประกาศกำหนด ดังนั้นเกณฑ์คุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมจึงมิใช่เกณฑ์ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะมานึกเอาตามใจชอบได้ส่วนกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องขึ้นกับการให้บริการโทรคมนาคมของผู้ให้บริการจนทำให้ผู้ใช้บริการไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ กฎหมายฉบับเดียวกันกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถกลับมาใช้บริการได้โดยเร็ว และผู้ให้บริการไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าบริการในช่วงเวลาที่เกิดเหตุขัดข้องดังกล่าวได้ เว้นแต่ผู้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่าเหตุขัดข้องนั้นเกิดจากผู้ใช้บริการหากผู้ให้บริการยังคงเรียกเก็บค่าบริการอยู่ผู้ใช้บริการสามารถเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนที่เกิดขึ้นได้กับผู้ให้บริการหรือผ่านทางสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม โทร.สายด่วน 1200 หรือจะให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคช่วยฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคเรียกค่าเสียหายและดอกเบี้ยด้วยก็ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 154 สัญญาที่ไม่เป็นธรรมของบริการผ่านอินเตอร์เน็ตโปรแกรม SKYPE

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการปัจจุบันการใช้บริการโทรศัพท์ติดต่อผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เพราะสะดวก และประหยัด เช่น การใช้ บริการผ่านโปรแกรมของบริษัทไมโครซอฟท์ ที่มีชื่อว่า SKYPE ซึ่งเป็นบริการที่ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ ผ่านทางอินเตอร์เนต และมีโปรโมชันให้เลือกเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนีก็ได้ทำหนังสือเตือนไปยังผู้ให้บริการของ SKYPE เนื่องจากมีสัญญา 20 ข้อที่เข้าข่าย เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ละเมิดสิทธิและเอาเปรียบผู้บริโภค  ยกตัวอย่างเช่น “การที่ผู้ให้บริการ SKYPE สามารถยกเลิก และเปลี่ยนแปลงสัญญาการให้บริการได้ทุกกรณี และตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องให้ผู้บริโภคยินยอม” “วงเงินเครดิตในการใช้โทรศัพท์ ก็จะมีอายุเพียง 6 เดือน นับจากวันที่ผู้บริโภคได้ชำระเงินซื้อบริการ” “กรณีการฟ้องร้องต่อศาล ก็ต้องไปขึ้นศาลที่ประเทศลักเซมเบิร์ก และใช้กฎหมายของประเทศลักเซมเบิร์กเป็นฐานในการดำเนินคดี” “บริษัทจะไม่รับผิดใด ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากทางบริษัทไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ก็ตาม”   นอกจากนี้ทางผู้ให้บริการก็สามารถเปลี่ยนแปลงอัตราค่าโทรศัพท์ได้ฝ่ายเดียว ซึ่งข้อความดังกล่าวได้ระบุไว้เป็นอักษรที่มีขนาดเล็ก ที่ผู้บริโภคมักมองข้ามไป การทำหนังสือแจ้งเตือนไปยังบริษัทผู้ให้บริการนั้น นับว่าประสบความสำเร็จในเบื้องต้น ทางไมโครซอฟท์ ก็ได้เปลี่ยนแปลงสัญญาการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นในประเด็นเรื่องการบอกยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาที่ต้องแจ้งล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 30 วัน หรือการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการก็ต้องแจ้งล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 30 วันเช่นกัน และยกเลิกการหมดอายุของวงเงินเครดิตในการใช้งาน การเปลี่ยนแปลงสัญญาที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าวนั้น ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคเองก็ได้ชื่นชมผู้ให้บริการที่ ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค เพราะถ้าเป็นคดีความฟ้องร้องกว่าที่จะมีคำตัดสินของศาลเพื่อการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคนั้นก็จะกินเวลาหลายปีทีเดียว สำหรับการให้บริการประเภทนี้ ทางหน่วยงาน กำกับดูแลทางด้านโทรคมนาคม คือ กสทช. คงจะต้องลงไปดู รายละเอียดของสัญญา ผู้ให้บริการรายอื่นๆ ด้วยว่าเข้าข่ายละเมิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคไทยหรือไม่ เพราะปัจจุบันการให้บริการหลายๆ ประเภท จะเป็นการดำเนินธุรกรรมผ่านทางโลกออนไลน์ที่ไร้พรมแดน แต่ถ้าเกิดคดีฟ้องร้องกัน นั้น คงเกิดปัญหาขึ้นแน่นอนว่าจะใช้กฎหมายของประเทศอะไร ในเบื้องต้น ทาง กสทช. ก็คงต้องรีบตรวจสอบสัญญาการให้บริการ เพื่อที่จะป้องกันการละเมิดสิทธิผู้บริโภคคนไทยครับ ที่มา http://www.vzbv.de/12564.htm วันที่ 5.12.2013   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point