อย. ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล สุ่มตรวจไขมันทรานส์ในอาหารกลุ่มเสี่ยง พบปริมาณลดลง หลังประกาศใช้ กม.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลตรวจสอบการสุ่มตัวอย่างในผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่มเสี่ยง พบว่า มีปริมาณไขมันทรานส์ลดลง หลังบังคับใช้กฎหมายห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เมื่อ 9 มกราคม 2562 ที่ผ่านมานายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา แถลงว่า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย โดยกำหนดให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย เพื่อคุ้มครองสุขภาพของคนไทย และเป็นหนึ่งในมาตรการการลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2562 เป็นต้นมา นั้น คุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล (โดยการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร) ได้ติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ได้แก่ โดนัททอด พาย พัฟ เพสทรี ครัวซองค์ และบัตเตอร์เค้กผลการสุ่มตัวอย่างจำนวน 45 ตัวอย่าง พบว่า ปริมาณไขมันทรานส์เฉลี่ยของทุกผลิตภัณฑ์อยู่ในช่วง 0.09 - 0.31 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งอยู่ในปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคต่อวัน คือ 0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค และมีปริมาณลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจผลิตภัณฑ์ก่อนประกาศฯ มีผลใช้บังคับ ซึ่งอยู่ในช่วง 0.42 - 1.21 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค นอกจากนี้ ปริมาณไขมันทรานส์สูงสุดที่พบในทุกผลิตภัณฑ์มีปริมาณลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจผลิตภัณฑ์ก่อนประกาศฯ มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ มีเพียงบางผลิตภัณฑ์มีปริมาณไขมันทรานส์ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคเกินจากปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ เนื่องจากมีการใช้วัตถุดิบที่มีไขมันทรานส์ตามธรรมชาติเป็นส่วนประกอบในปริมาณสูง เช่น เนย นม ชีส เป็นต้นนายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ (เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา)เลขาธิการฯ อย. แถลงเพิ่มเติมว่า ปริมาณไขมันทรานส์ในเนยเทียม (มาการีน) และเนยขาว (ซอทเทนนิ่ง) ส่วนใหญ่ที่ทำการสำรวจก่อนหน้าที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ พบว่า มีปริมาณน้อยมาก โดยอยู่ในช่วง 0.01-0.37 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค เนื่องจากผู้ผลิตน้ำมันและไขมันมีการปรับกระบวนการผลิตไปใช้วิธีการผลิตอื่นแทนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนแล้ว อย่างไรก็ดี อย. ได้ดำเนินการตรวจสอบ ณ สถานที่ผลิตน้ำมันและไขมัน 3 แห่ง ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่กระจายสินค้าให้แก่ผู้ผลิตอาหารรายย่อยในประเทศ ไม่พบการผลิตน้ำมันและไขมันโดยใช้กระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนแล้วคุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ บรรณาธิการบริหาร นิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า ในส่วนของการสุ่มตรวจของนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคผ่าน โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ภายใต้งบประมาณของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เราเก็บตัวอย่างเค้กเนย จำนวน 12 ตัวอย่างจากผู้ผลิตเจ้าดัง และได้เพื่อนเครือข่ายผู้บริโภคเก็บตัวอย่างเค้กชิฟฟ่อน ที่นิยมซื้อเป็นของฝากจำนวน 4 ตัวอย่าง รวม 16 ตัวอย่าง ส่งทดสอบปริมาณไขมันทรานส์   จากผลการทดสอบพบว่า ปริมาณไขมันทรานส์ในเค้กเนย 12 ตัวอย่าง และเค้กชิฟฟ่อน 4 ตัวอย่าง มีปริมาณน้อยเฉลี่ยต่อ 1 หน่วยบริโภค (55 กรัม) คือ 0.2 กรัม/หน่วยบริโภค  ถือว่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ที่กำหนดไว้ คือ ไม่เกิน 0.5 กรัม/หน่วยบริโภคยกเว้นเค้กเนยของยี่ห้อ PonMaree Bakery (พรมารีย์ เบเกอรี่)  ที่พบปริมาณไขมันทรานส์ที่ 0.61 กรัม ต่อ 1 หน่วยบริโภค (55 กรัม)  ทำให้ทางฉลาดซื้อเกิดคำถามว่า ทำไมผลทดสอบของ พรมารีย์ เบเกอรี่   จึงสูงกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ซึ่งเป็นไปได้สองสาเหตุคือ ยังคงใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์ หรือใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติคือ เนยแท้ จำนวนมาก ดังนั้นจึงตรวจสอบที่ผลการวิเคราะห์ชนิดของกรดไขมันทรานส์มีเพียงชนิดเดียวที่สูงเด่นมาก ได้แก่ Vaccenic acid (C18:1)-11 ที่พบมากตามธรรมชาติในไขมันจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง จึงอนุมานได้ว่า ยี่ห้อนี้ใช้เนยแท้ หรือก็คือ ปริมาณกรดไขมันทรานส์ที่ตรวจพบนี้เป็นกรดไขมันทรานส์ธรรมชาติ  จึงไม่ผิดกฎหมายแต่อาจผิดต่อผู้ที่รักสุขภาพและควบคุมน้ำหนัก หากรับประทานเกิน 1 หน่วยบริโภคสารี อ๋องสมหวัง (เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค)ส่วนการทดสอบโดนัท นิตยสารฉลาดซื้อเลือกทดสอบโดนัทช็อกโกแลตซ้ำอีกครั้งหนึ่ง โดยได้สุ่มซื้อโดนัทรสช็อกโกแลต จากร้านขายโดนัทและห้างสรรพสินค้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 13 ยี่ห้อ (ยี่ห้อเดิมที่เคยเก็บตัวอย่าง เมื่อเดือน ก.พ.61) นำส่งห้องปฏิบัติการมาตรฐานเพื่อตรวจวิเคราะห์หาปริมาณไขมันทรานส์ รวมถึงสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิก (Sorbic acid) และ กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) โดยผลการตรวจวิเคราะห์แสดงดังตารางต่อไปนี้ เมื่อเปรียบเทียบผลทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงของผลิตภัณฑ์ขนมอบ จำพวกเค้กกาแฟ โดนัท และมัฟฟิน ซึ่งเท่ากับ 55 กรัม (ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 182 พ.ศ. 2541) พบว่า โดนัทช็อกโกแลตทุกตัวอย่างมีปริมาณไขมันทรานส์ ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก โดยตัวอย่างที่พบปริมาณไขมันทรานส์ต่อหน่วยบริโภค น้อยที่สุด ได้แก่ โดนัทช็อกโกแลต / บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ พบปริมาณไขมันทรานส์ 0.03 กรัมต่อน้ำหนักโดนัท 55 กรัม และตัวอย่างที่พบปริมาณไขมันทรานส์ต่อหน่วยบริโภค มากที่สุด ได้แก่ โดนัทรสช็อกโกแลต ไอซ์ เกลซ / คริสปี้ครีม พบปริมาณไขมันทรานส์ 0.14 กรัม ต่อ น้ำหนักโดนัท 55 กรัมศาสตราจารย์ ดร.วิสิฐ จะวะสิต (อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล) ศาสตราจารย์ ดร.วิสิฐ จะวะสิต สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ความสำเร็จในครั้งนี้นับเป็นตัวอย่างที่ดีในความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ กระบวนการดำเนินงาน ที่มีการเร่งรัดภาคอุตสาหกรรมให้มีการพัฒนาส่วนประกอบทดแทน การให้ข้อมูลและความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรม การพัฒนากระบวนการวิเคราะห์ให้ถูกต้องแม่นยำ การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลในการประเมินและแก้ไขสถานการณ์ ตลอดจนบทบาทของภาคประชาสังคมในเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด การร่วมกันระหว่างภาครัฐ วิชาการและประชาสังคมในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชน นับเป็นเบื้องหลังความสำเร็จที่เป็นต้นแบบให้กับประเทศต่างๆได้ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค อย. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จะติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวัง ณ สถานที่ผลิต สถานที่นำเข้า และสถานที่จำหน่ายทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องต่อไปอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่บทความ "ผลทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ และ สารกันบูด ในโดนัทช็อกโกแลต ภาค 2"บทความ "ไขมันทรานส์ในเค้กเนย หลังประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์มีผลบังคับ"

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 207 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนพฤษภาคม 2561กรมอนามัยเล็งชง อย.-สคบ. คุมเข้มชาเขียว-น้ำอัดลม ใช้แคมเปญล่อใจคนดื่มเพิ่มเว็บไซต์ Beevoice.org รายงานว่า นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้สัมภาษณ์กรณีการบังคับใช้มาตรการเก็บภาษีน้ำตาล เพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดื่ม เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งมาตรการดังกล่าว ได้ผ่อนปรนให้ผู้ประกอบการดำเนินการปรับปรุงสูตรเป็นระยะเวลา 2 ปี ส่งผลให้ผู้ประกอบการหันมาทำเครื่องดื่มสูตรหวานน้อยมากขึ้น เพื่อจะไม่ต้องจ่ายภาษีมากขึ้นแต่ปัญหาคือ เครื่องดื่มอย่างน้ำอัดลมหรือชาเขียวที่เดิมมีน้ำตาลสูง แม้จะมีการปรับสูตรให้มีน้ำตาลน้อยลง แต่กลับทำการตลาดโดยเฉพาะการชิงโชค เพื่อให้คนไทยหันมาบริโภคกันมากขึ้น ซึ่งประชาชนต้องรู้ทันเรื่องเหล่านี้ เนื่องจากการกินหวานมากๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพาะโรคอ้วนและโรคเบาหวาน ซึ่งภาครัฐได้พยายามทำให้ประชาชนบริโภคน้ำตาลลดลง นพ.วชิระ กล่าวว่า หากการชิงโชคในเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากอย่าง ชาเขียวหรือน้ำอัดลมเป็นปัญหามาก ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเสนอให้มีการออกกฎหมายควบคุมเหมือนเครื่องดื่มชูกำลังในอดีต โดยกรมอนามัยจะทำข้อมูลเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อพิจารณาออกประกาศห้ามชิงโชคในเครื่องดื่มเหล่านี้ เหมือนกับที่กรมอนามัยเสนอกรมสรรพสามิต ในการคุมภาษีน้ำตาลสำเร็จมาแล้ว*****อย.ปรับใหม่ ต้องจดแจ้งก่อนผลิตเครื่องสำอางนพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา แถลงว่า อย.จะเพิ่มมาตรการเพื่อประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยปรับเชิงระบบ เนื่องจาก พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 กำหนดให้ผู้ประสงค์จะผลิตเครื่องสำอางเพื่อขายต้องจดแจ้งก่อน เมื่อ อย.รับแจ้งแล้ว จึงจะผลิตเครื่องสำอาง ณ สถานที่ที่แจ้งไว้ ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในเดือน มิ.ย.61โดย อย. ได้หารือกับผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  ซึ่งเสนอให้มีมาตรการเข้มงวดคุ้มครองผู้บริโภค เพิ่มโทษตามกฎหมาย และทบทวนระบบการอนุญาตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งการยื่นขออนุญาตเครื่องสำอางผ่านระบบ e-Submission ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคขอให้ยกเลิก เพื่อลดปัญหาเครื่องสำอางผิดกฎหมายนั้น ขอชี้แจงว่าการยื่นขออนุญาตมีทั้งยื่นเป็นเอกสาร และยื่นผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่ง อย.เคยพัฒนาระบบ Auto e-Submission เพื่อให้ระบบสามารถประมวลผลและออกใบรับจดแจ้งได้ทันที แต่ได้ยกเลิกใบรับแจ้งเหล่านั้นแล้ว รวมทั้งยกเลิกการรับจดแจ้งโดยอัตโนมัติ ตั้งแต่ 1 ก.ย.60 *********กทม. เตรียมรื้อ ‘ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ’ ไม่มีใบอนุญาต หลังพบตู้เถื่อนเกลื่อนกรุงวันที่ 2 พ.ค.61 นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เผยผลสำรวจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในพื้นที่กรุงเทพฯ ปี 2561 พบตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ไม่ได้รับใบอนุญาตถึง 3,804 ตู้ จากทั้งหมด 3,964 ตู้ โดยพื้นที่ที่มีตู้น้ำดื่มฯ มากที่สุด คือ เขตจตุจักร 310 ตู้, เขตลาดพร้าว 295 ตู้ และเขตยานนาวา 214 ตู้ที่ผ่านมาสำนักงานเขตได้ออกหนังสือเรียกผู้ประกอบการให้มาดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการติดตั้งตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญตามกฎหมาย แต่ผู้ประกอบการไม่ยินยอมมาชำระค่าธรรมเนียม เนื่องจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ 1 ตู้ ต้องเสียค่าธรรมเนียมปีละ 2,000 บาท ซึ่งปัญหานี้ กรุงเทพมหานครกำลังดำเนินการยกร่างข้อบัญญัติฯ ทำให้ค่าธรรมเนียมประกอบการเหลือ 500 บาทต่อปี เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ประกอบการมาขอใบอนุญาตจากนี้ไป กรุงเทพมหานครจะเพิ่มมาตรการที่เข้มข้น โดยให้สำนักงานเขตดำเนินการรื้อถอนตู้น้ำที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนจะมีความผิดตามกฎหมายสาธารณสุขการประกอบการโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท*********ศาลฎีกาสั่งถอนสิทธิบัตรผลิต ‘ยาความดันโลหิตสูง-หัวใจ’ หลังต่อสู้ยาวนานกว่า 7 ปีภก.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี นายกสภาเภสัชกรรม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 พ.ค.61 ศาลฎีกาได้ตัดสินชี้ขาดให้ถอนรายการยาวาลซาร์แทน (Valsartan) ซึ่งเป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูงและป้องกันหัวใจล้มเหลว ออกจากการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรยาของประเทศไทย หลังจากที่ต่อสู้ยาวนานกว่า 7 ปี“ศาลฎีกาได้ใช้กระบวนการพิจารณาทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องนี้ตามมาตรฐานสากล โดยใช้ข้อเท็จจริงว่า กระบวนการผลิตยาเม็ดที่ถูกนำไปจดสิทธิบัตรคุ้มครองนั้น เป็นกระบวนการผลิตที่มีสอนเป็นปกติให้กับนักศึกษาของคณะเภสัชศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ทุกคนที่มีความรู้ทางเภสัชกรรมก็สามารถทำได้ ไม่ควรได้สิทธิบัตรคุ้มครอง จึงขอให้ศาลฎีกาพิจารณายกเลิกการจดสิทธิบัตรฉบับนี้” นายกเภสัชกรรมกล่าวทั้งนี้ ในอดีตเมื่อบริษัทยาได้คิดค้นยาดังกล่าวแล้ว ได้ทำการจดสิทธิบัตรตัวยา และจดสิทธิบัตรกรรมวิธีการผลิตเป็นยาเม็ดเพิ่มเติมอีก 1 ฉบับ ที่สหรัฐอเมริกา และได้รับการคุ้มครองทั่วโลกยาวนานถึง 20 ปี โดยภายหลังที่สิทธิบัตรตัวยาดังกล่าวหมดอายุลง บริษัทยาในประเทศไทยได้ผลิตยาดังกล่าวออกมาแข่งขัน แต่ถูกบริษัทยาข้ามชาติฟ้องร้องว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรกรรมวิธีการผลิตยา ทำให้มีการต่อสู้คดีกัน*********บทเรียนการใช้สิทธิกับการจัดการปัญหาอาคารสูงผิดกฎหมายในชุมชนเมื่อวันที่ 30 เม.ย.61 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับ เครือข่ายผู้เสียหายจากอาคารสูงและตัวแทนผู้ได้รับความเสียหายจากชุมชนต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จัดเวทีสภาผู้บริโภคเรื่อง “บทเรียนการใช้สิทธิของผู้บริโภค กับการจัดการปัญหาอาคารสูงผิดกฎหมาย” เพื่อสะท้อนปัญหาอาคารสูงในซอยแคบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและความเป็นอยู่ของชุมชนนายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า “ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดว่า ซอยที่มีความกว้างไม่เกิน 10 เมตรตลอดแนวไปจนถึงถนนสาธารณะ จะไม่สามารถก่อสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 8 ชั้น หรือเกินกว่า 23 เมตรได้ เพื่อให้รถดับเพลิงหรือกู้ภัยสามารถเข้าไปช่วยเหลือในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวยังมีความไม่ชัดเจนเรื่องวิธีการวัดความกว้างของถนน บางครั้งจึงมีการวัดความกว้างถนนโดยรวมพื้นที่ฟุตบาทเข้าไปด้วย ทำให้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ รถดับเพลิงจึงไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ ดังนั้นจึงอยากเสนอให้มีการแก้ไขตัวบทกฎหมายให้ชัดเจน โดยระบะให้วัดความกว้างของถนนเฉพาะบริเวณผิวถนนที่รถสามารถวิ่งได้เท่านั้น”นายนรฤทธิ์ โกมลารชุน ตัวแทนผู้บริโภคกลุ่มชมรมอนุรักษ์พญาไท เสนอว่า หนึ่งในวิธีที่จะปกป้องสิทธิของชุมชน คือ อย่ารอให้โครงการเริ่มก่อสร้างแล้วค่อยจัดการ แต่ต้องป้องกันไว้ก่อน ด้วยการพิจารณาสภาพแวดล้อมในชุมชน ทั้งเรื่องความกว้างของถนน ฝุ่น เสียง ฯลฯ เช่น หากถนนในซอยกว้างไม่ถึง 10 เมตร แต่กำลังจะมีโครงการก่อสร้างคอนโดสูงเกิน 8 ชั้น ก็สามารถคาดการณ์ได้ว่าผิดกฎหมายแน่นอน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 154 กระแสต่างแดน

เครื่องดื่มบำรุงคลัง สภาล่างของฝรั่งเศสผ่านกฎหมายรับรองการเก็บภาษี “เครื่องดื่มบำรุงกำลัง” ด้วยเหตุผลว่าผลิตภัณฑ์ที่มีคาเฟอีนสูงอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพเด็กและเยาวชน เพราะมันส่งต่อการเต้นของหัวใจและความดันเลือด ถ้ากฎหมายนี้ผ่านการรับรองของวุฒิสภา รัฐบาลฝรั่งเศสจะมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 60 ล้านยูโร(ประมาณ 2,647 ล้านบาท) จากการเก็บภาษีในอัตรา 1 ยูโร(44 บาท) ต่อเครื่องดื่มบำรุงกำลัง 1 ลิตร ฝรั่งเศสซึ่งเก็บภาษีจากเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงมาได้สองปีแล้ว เพิ่งจะมีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบำรุงกำลังเข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังได้เพียง 5 ปีเท่านั้น แต่ด้วยการเป็นสปอนเซอร์ให้กับกิจกรรมกีฬาต่างๆ และการทำตลาดทางโซเชียลมีเดีย เครื่องดื่มดังกล่าวก็เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่น ทั้งในผับ คอนเสิร์ต และสถานที่ออกกำลังกายต่างๆ   ข่าวบอกว่ามีชาวฝรั่งเศสที่เป็นลูกค้าเครื่องดื่มชนิดนี้อยู่ประมาณ 9 ล้านคน และ 1 ใน 4 ของคนกลุ่มนี้อายุระหว่าง 14 – 25 ปี ก่อนหน้านี้องค์การอาหารและยาฝรั่งเศสได้ออกคำแนะนำให้เด็กและวัยรุ่นหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเรดบูล มอนสเตอร์ เบิร์น และ ร็อคสตาร์ และเตือนว่าไม่ควรดื่มพร้อมกับแอลกอฮอล์ หรือดื่มหลังการออกกำลังกาย ถ่ายมากลืมหมด งานวิจัยเขาพบว่าการถ่ายภาพเก็บทุกรายละเอียดในช่วงเวลาดีๆ อย่างวันเกิด วันรับปริญญา วันแต่งงาน ฯลฯ มันจะทำให้เราจดจำเรื่องราวในวันนั้นได้น้อยลง ดร. ลินดา เฮนเคล จากมหาวิทยาลัยแฟร์ฟิลด์ ที่ทำการวิจัยครั้งนี้บอกว่า การที่เราวุ่นวายกดชัตเตอร์อยู่นั้น เราจะประสบการณ์ร่วมกับเหตุการณ์ตรงหน้าน้อยลง และนั่นทำให้เราจำรายละเอียดของช่วงเวลาพิเศษนั้นไม่ได้ดีเท่าที่ควร ข้อสรุปนี้เขาได้จากการทดลองพานักศึกษากลุ่มหนึ่งเดินชมภาพที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งหนึ่งพร้อมฟังการบรรยาย เขาบอกให้นักศึกษาจดจำรายละเอียดของภาพต่างๆ ให้ได้ ใครอยากจะถ่ายรูปเก็บไว้ด้วยก็ไม่ว่ากัน เช้าวันต่อมามีการทดสอบความจำ ปรากฏว่านักศึกษาที่ดูภาพอย่างเดียว กลับจำรายละเอียดของภาพได้ดีกว่าคนที่ใช้กล้องบันทึกภาพไว้ แล้วสิ่งที่อยู่ในภาพถ่าย มีผลต่อความจำของเราหรือไม่? ดร. เฮนเคลบอกว่า มันขึ้นอยู่กับว่าตอนถ่ายรูปนั้นคุณตั้งใจสำรวจวัตถุและพื้นหลังในขณะนั้นจริงๆ หรือไม่ เพราะงานสำรวจอีกชิ้นของเธอพบว่า การ “ถ่ายเจาะ” ไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นจะทำให้เราจดจำมันได้ดีขึ้น ไม่ใช่เฉพาะสิ่งที่เราถ่ายเจาะมาเท่านั้น แต่เราจะจำได้ว่าเรากันอะไรออกไปนอกเฟรมด้วย   ภาระผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุชาวจีนคงจะไม่สามารถเปิดกรุเงินเก็บมาใช้เที่ยวต่างประเทศ หรือทำกิจกรรมใดๆ ที่ใช้เงินมากได้ เพราะยังคงมีภาระต้อง “เลี้ยง” ลูก ลี ชวน ในวัย 57 ยังต้องช่วยลูกชายจ่ายค่าผ่อนบ้าน ทั้งๆ ที่ลูกชายของเขาก็มีรายได้ประมาณ 30,000 – 45,000 บาทต่อเดือนแล้วเชียว(ลืมบอกไปว่าลูกชายเขาเพิ่งจะแต่งงาน และต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงค่าน้ำค่าไฟ และอื่นๆ เพราะอยู่ในเมืองที่ ค่าบ้านแพงกว่ารายได้เฉลี่ยต่อปีของครัวเรือนถึง 28 เท่า) ผู้สูงวัยเหล่านี้อยากให้ลูกหลานมีชีวิตที่ดี จึงยินดีให้เงินช่วยเหลือ ถ้าไม่มีเงินก็จะใช้วิธีเปิดบ้านให้ลูกและครอบครัวย้ายเข้ามาอยู่เป็นการประหยัดรายจ่าย การสำรวจโดยบริษัทประกัน HSBC Life Insurance ระบุว่าร้อยละ 76 ของชาวจีน จะยังต้องให้เงินสนับสนุนลูกหลานเมื่อตัวเองเข้าสู่วัยเกษียน งานสำรวจครั้งในทำกับกลุ่มตัวอย่างขนาด 16,000 คน ใน 15 ประเทศ มีคนจีนเข้าร่วมการสำรวจ 1,000 คน งานสำรวจนี้พบว่า ร้อยละ 40 ของคนจีนวัยเกษียนยังคงต้องอุปการะลูก ร้อยละ 28 ยังต้องเลี้ยงพ่อแม่ และร้อยละ 9 ยังต้องรับผิดชอบเลี้ยงหลาน เฮ้อ! รวมๆ แล้วเงินเก็บเพื่อความสุขส่วนตัวของผู้สูงอายุเหลือน้อยลง แถมยังต้องทำงานหาเงินหลังวัยเกษียนอีกด้วย   แผนปรองดอง หลังจากพยายามหาทางออกกันมากว่า 20 ปี ในที่สุดอิสราเอล จอร์แดน ปาเลสไตน์ ก็ตกลงกันได้ ... เรากำลังพูดถึงข้อตกลงเรื่องโครงการนำน้ำจากทะเลแดงมาใช้ ข่าวบอกว่าโครงการที่ไปเซ็นสัญญาที่ธนาคารโลก สาขาใหญ่ในกรุงวอชิงตันนี้มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 240 ล้านเหรียญ(7,700 ล้านบาท) ตามแผนแล้วเขาจะสร้างโรงบำบัดน้ำที่เมืองอคาบา ในจอร์แดน เพื่อเปลี่ยนน้ำเค็มจากทะเลแดงให้เป็นน้ำจืดเพื่อรองรับชุมชนทางตอนใต้ของอิสราเอลและจอร์แดน สองประเทศนี้จะได้น้ำไปใช้กันคนละ 8,000 – 13,000 ล้านลูกบาศก์แกลลอนต่อปี ส่วนน้ำเกลือที่เป็น “น้ำเสีย” จากการผลิตจะถูกส่งผ่านท่อในจอร์แดนขึ้นเหนือไปประมาณ 100 ไมล์ เพื่อปล่อยลงในทะเลสาบเดดซี นั่นหมายความว่าต้องมีการจับตาดูการบริหารจัดการน้ำเค็มนี้ให้ดี ไม่อย่างนั้นทะเลสาบเดดซีจะกลายเป็นทะเลสาบมรณะไปจริงๆ นอกจากนี้อิสราเอลจะต้องส่งน้ำจืด 13,000 พันล้านแกลลอน จากทะเลกาลิลีทางตอนเหนือของประเทศ ให้กับอัมมานเมืองหลวงของจอร์แดน และปาเลสไตน์ก็คาดหวังว่าจะสามารถซื้อน้ำได้อีก 8,000 ล้านลูกบาศก์แกลลอนจากอิสราเอลในราคาพิเศษด้วย ที่มาของข้อตกลงนี้คือการพยายามแก้ปัญหาหลักๆ สองประการคือ 1) การขาดแคลนน้ำจืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจอร์แดน และ 2) การลดลงของระดับน้ำในทะเลสาบเดดซีปีละกว่า 3 ฟุต เพราะน้ำส่วนใหญ่ในแม่น้ำจอร์แดน ถูกเบี่ยงเส้นทางออกไปยังชุมชนและไร่นาในอิสราเอล จอร์แดน และซีเรีย จึงทำให้แทบไม่มีน้ำไหลเขามาในทะเลสาบ แถมยังมีอุตสาหกรรมโปแตช สองฝั่งทะเลสาบอีกด้วย   ศึกคุ้มครองผู้บริโภค ที่เมียนมาร์ไม่ได้มีแค่ศึกซีเกมส์ เขายังมีแมทช์องค์การอาหารและยา ปะทะ สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้ลุ้นกัน ด้าน อย. นั้นเตรียมจะฟ้องสมาคมฯ โทษฐานแอบอ้างอำนาจของกระทรวงสาธารณสุขในการออกตรวจแผงขายอาหาร ส่วนสมาคมฯ ก็ขู่จะฟ้อง อย. ที่พยายามลดความน่าเชื่อถือของสมาคมฯ ซึ่งเพิ่งจะได้รับการก่อตั้งเมื่อปีที่แล้วให้มาช่วย อย.ทำงานด้านอาหารปลอดภัยและอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่สองหน่วยงานนี้ไฝ่ว์กัน ล่าสุดเมื่อมีสายมารายงานว่ามีการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตกะปิจากปลา เพื่อช่วยย่นระยะเวลาการหมัก(ซึ่งปกติจะนานถึง 12 เดือน) จึงมีการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาทดสอบ ผลปรากฏว่าห้องแล็บของอย. พบยูเรียในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจำนวน 3 ตัวอย่าง แต่อย. ไม่ยอมเปิดเผยปริมาณที่พบ เพียงแต่แถลงข่าวว่าพบในปริมาณปกติทั่วไป ส่วนสมาคมฯ นั้นตีพิมพ์ผลทดสอบทั้งหมด ให้รู้กันไป จึงสร้างความหงุดหงิดใจให้กับ อย.และบรรดาผู้ประกอบการ ที่อ้างว่ายอดขายกะปิปลาของเขาลดลงทั้งๆ ที่เขาได้รับการรับรองความปลอดภัยจาก อย.แล้ว หมัดเด็ดอยู่ตรงที่ สมาคมฯ ประกาศว่าจะเปิดห้องปฏิบัติการของตัวเองเพื่อทดสอบอาหาร เพราะรู้สึกไม่เชื่อในผลการทดสอบจากอย. แล้ว   //

อ่านเพิ่มเติม >