ฉบับที่ 131 อาหารเส้น

ชนชาวโลกนั้นชอบกินเส้น ไม่ว่าจะเส้นก๋วยเตี๋ยว หมี่ซัว พาสต้า ราเม็ง อุด้ง ขนมจีนหรือข้าวซอย ต่างล้วนผลิตจากแป้งที่ทำจากธัญพืชหลากหลายชนิด ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศของแต่ละพื้นถิ่น ปัญหาที่ถกเถียงกันมานานคือ ใครเป็นผู้ให้กำเนิดอาหารเส้น ถ้าคิดถึงแหล่งอารยธรรมในอดีต ก็ต้องเป็นชนชาติทางอียิปต์โบราณ โรมัน หรือจีน ในอียิปต์ไม่ปรากฏหลักฐานเรื่อง อาหารเส้นที่นั้นเน้นขนมปัง ส่วนโรมันมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า ติดต่อกับราชวงศ์ฮั่น เมื่อ 2,300 ปีก่อนโดยการนำโม่หินมาให้คนจีนรู้จัก และจีนเริ่มใช้โม่บดข้าวสาลีจนเป็นแป้ง   จากนั้นนำแป้งสาลีมาผสมน้ำนวดจนเข้ากันดี แล้วจึงนำไปนึ่งหรือต้มสุกเป็นก๋วยเตี๋ยวแต่มีหลักฐานใหม่สุดพบว่า ไหหินอายุราว 4,000 ปีก่อน ขุดพบที่เมือง Lajia ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจีน   มีเส้นก๋วยเตี๋ยวติดอยู่ ลักษณะของเส้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง0.3 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร และมีสีเหลือง ทำด้วยข้าวบาร์เลย์ (Hordeum) ข้าวสาลี(Triticum) และข้าวฟ่าง (Panicum) เป็นอันยุติในตอนนี้ว่า จีนนั่นเองคือชาติแรกที่ผลิตอาหารเส้นบ้านเรานิยมกินอาหารเส้นไม่แพ้ชาติอื่น โดยเฉพาะเส้นก๋วยเตี๋ยว ซึ่งเส้นต่างๆ เหล่านี้ ก็เข้าสู่ระบบการผลิตที่เป็นอุตสาหกรรม ทำให้มีการเติมแต่งสารเคมีมากมาย รวมทั้งสารกันบูดเพื่อให้เก็บรักษาเส้นไว้ได้นานๆดังนั้นบางทีก็เปลี่ยนจากกินเส้นมาเป็นเกาเหลาบ้างก็น่าจะดี

อ่านเพิ่มเติม >