ฉบับที่ 163 12 อาหารสำเร็จรูปที่ต้องระวัง

โดย : รศ.ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ สถาบันโภชนาการ  มหาวิทยาลัยมหิดล  ไม่ว่าท่านผู้อ่านจะเห็นด้วยหรือไม่กับวลีที่นักวิชาการชอบพูดว่า กินแบบไหนก็เป็นแบบนั้น ผู้เขียนคิดว่า สำหรับคนที่มีวิถีชีวิตในสังคมที่วุ่นวาย ซึ่งต้องการประหยัดเวลา เพื่อให้ได้เขี่ยสมาร์ทโฟนติดตามข่าวร้อยแปดพันประการได้ทัน มักไม่ค่อยสนใจวลีนี้ เพราะเขาทั้งหลาย (They) นิยมบริโภคอาหารปรุงสำเร็จ ซึ่งเขาทั้งหลายจะได้ความหวานเป็นพิเศษและก็เสพติดรสชาติของไขมัน โดยไม่รู้ว่ามันเป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว อาหารปรุงสำเร็จ “ถูกสร้างภาพ”  ให้เป็นอาหาร "สำหรับคนรุ่นใหม่" และอาหารเหล่านี้มีช่วงเวลา “ลด แลก แจก แถม” ตามหลักการโฆษณาสมัยใหม่ จนยากที่หลายคนจะต่อต้านและพร้อมที่จะลืมคิดถึงค่าใช้จ่ายแฝงที่ตามมาภายหลังกินอาหารปรุงสำเร็จแล้วคือ สุขภาพของเขาทั้งหลาย ดังนั้นเว็บ http://www.fitnea.com จึงเตือนว่า ผู้ที่พัฒนาพฤติกรรมการบริโภคไปเป็นแบบอเมริกันแล้ว น่าจะทราบข้อมูลต่อไปนี้เพื่อใช้ในการตัดสินชะตากรรมของชีวิตของตนเอง   12 อาหารสำเร็จรูปที่ต้องระวัง 1.ไก่บดทอด (Chicken nuggets) เป็นอาหารที่ถูกคุณชี้เลือกเพื่อสนองความหิวตามร้านอาหารจานด่วน (เช่น ของตาลุงผู้พัน) โดยยอมรับสารเจือปนในอาหารปริมาณสูง เพราะมันเป็นอาหารที่ดูดี กรอบ เหลือง แม้ว่าเค็มด้วยเกลือและไขมันสูง และที่สำคัญถ้าท่านผู้อ่านเข้า YouTube แล้วพิมพ์คำว่า What Are Chicken Nuggets Made Of? แล้ว คุณอาจต้อง อึ้ง ทึ่ง เสียว ในทันใด 2.มันฝรั่งทอด (French Fries) ให้พลังงานสูงพร้อมข้อมูลวิทยาศาสตร์สุขภาพที่กล่าวว่า เมื่อคุณกินมันเข้าไป คุณกำลังเข้าไปทักทายกับโรคเบาหวานและโรคอ้วนโดยรู้ตัว คุณค่าทางโภชนาการของอาหารนี้ต่ำมาก แต่ถ้าคุณถึงภาวะที่รู้สึกว่าต้องการการกินมันฝรั่งทอดเหลือเกิน คุณควรทำเองด้วยการ “อบ” ไม่ใช่ทอดในน้ำมัน  3.ข้าวเกรียบมันฝรั่ง (Potato chips) ญาติสนิทของมันฝรั่งทอด ซึ่งดูคล้ายข้าวเกรียบไทย เช่น ข้าวเกรียบกุ้ง ข้าวเกรียบเห็ด ฯ อาหารชนิดนี้ถูกระบุว่า ทำลายความพยายามของคนที่ลดน้ำหนักให้ย่อยยับลงมานักต่อนักแล้ว มันเพิ่มพลังงานและเกลือแกงพร้อมสารกันบูด เพราะโรงงานอาหารสำเร็จรูปได้เติมสารเจือปนต่างๆ เพื่อให้มันเป็นสินค้าที่มีลักษณะล่อตาผู้บริโภค หลังจากที่ถูกทอดในน้ำมันเดือดจนกลายเป็นอาหารอมน้ำมันสูงที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่ครบและขาดใยอาหาร 4.น้ำอัดลม (Soda pop) เป็นตัวอย่างของอาหารที่เรียกว่า empty calories เพราะมันให้แต่พลังงานอย่างเดียวโดยไม่ให้สารอาหารอะไรเลย สุดจะเลวร้าย(ที่เราชอบดื่มจริงๆ ขณะเมื่อจะตายเพราะกระหายน้ำ) ความหวานของน้ำอัดลมมักได้จาก น้ำเชื่อมฟรักโตส(fructose syrup) ซึ่งดูเหมือนไม่มีอันตรายเพราะไม่ต้องการอินซูลินในการนำเข้าเซลล์ของร่างกาย แต่ด้วยสมมุติฐานของนักวิทยาศาสตร์บางท่านที่กล่าวว่า น้ำเชื่อมฟรักโตสที่เข้าสู่ตับอย่างรวดเร็วจะกระตุ้นกระบวนการสร้างไขมัน(lipogenesis) อย่างฉับพลันจนเกิดอาการที่ตับรับไม่ไหวที่เรียกว่า fatty liver ซึ่งในสัตว์ทดลองนั้นถ้าพบการที่ตับมีไขมันสะสมสูงเมื่อไร ก็หมายความว่าตับสัตว์นั้นพังแล้ว 5.ไส้กรอกฝรั่ง หมูแฮมและเบคอน (Fermented meat products) ซึ่งมีการเติมสารปรุงรสเช่น ผงชูรส เกลือดินประสิว และอื่น ๆ เนื่องจากอาหารเหล่ามักใช้วัตถุดิบคุณภาพรองจึงต้อง แต่งกลิ่น แต่งสี ให้เก็บแช่แข็งได้นานก่อนนำมาขายแก่ผู้บริโภค กระบวนการดังกล่าวนี้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเรามีกฎหมายที่ทำให้มันถูกต้อง อย่างไรก็ดีอาหารกลุ่มนี้ถูกยกย่องจากนักพิษวิทยาทั่วไปว่า มีสารก่อมะเร็งกลุ่มไนโตรซามีนแน่นอน มากบ้างน้อยบ้าง ดังนั้นเด็กและสตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการบริโภค สำหรับผู้ที่ประสงค์จะบริโภค ควรมีตับแข็งแรงเพื่อทำลายสารพิษนี้และบริโภคพร้อมกับผักผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง 6.แฮมเบอร์เกอร์จานด่วน (Fast food hamburgers) เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารก่อมะเร็งซึ่งเกิดจากการปิ้งย่างรมควันเนื้อสัตว์ ตลอดจนถึงความเสี่ยงต่อเบาหวานซึ่งมีการศึกษาทางระบาดวิทยาว่า ผู้หญิงที่กินแฮมเบอร์เกอร์มากกว่าสองครั้งต่อสัปดาห์มีแนวโน้มที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานกว่าผู้ที่ไม่ได้กิน 7.อาหารเช้าธัญพืช (Cereal) เป็นความสะดวกสบายของผู้ต้องการอาหารเช้าที่อยู่ในกล่องสวยงาม เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้น้ำตาลเพิ่มขึ้นจนเสี่ยงต่อเบาหวาน ดังนั้นถ้าต้องกินอาหารชนิดนี้ควรเพิ่มอาหารที่มีเส้นใยสูงเข้าไป หรือมองหาอาหารธัญพืชที่ให้ใยอาหารประมาณ 5 กรัม ขึ้นไป พร้อมทั้งอย่าเลือกชนิดที่มีรสหวานจัดนัก หรือจะให้ง่ายกว่านั้น กินข้าวเม่าไทยดีกว่า ถูกและปลอดภัยไร้สารพิษ 8.กราโนล่า (Granola bars) คือขนม(โคตร) หวานของฝรั่ง เป็นได้ทั้งอาหารเช้าธัญพืชหรือเมื่อเหงาปาก ส่วนประกอบมักมีข้าวโอ๊ต ถั่ว น้ำผึ้ง บางครั้งเพิ่มผลไม้แห้ง ลูกเกด หรืออินทผลัมลงไปด้วยเพื่อเพิ่มความหวานสุดๆ แล้วอบจนกรอบ ขนมนี้ให้พลังงานสูง น้ำหนักเบา เก็บได้นาน ใช้เป็นเสบียงระหว่างการเดินทางหรือระหว่างเกมกีฬาดีๆ เพราะให้พลังงานและอยู่ท้องพอสมควร ในบ้านเราสินค้านี้มักมีเด็กเล็กเป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องพุ่งเข้าชน ขนมดังกล่าวมักถูกเติมน้ำเชื่อมฟรักโตสเพื่อความหวานจัด ที่ร้ายกว่านั้นในกระบวนการปรุงแต่งมักทำให้มันเป็นขนมที่มีโซเดียมและไขมันค่อนข้างสูง 9.ขนมอบต่าง ๆ (Store-bought cookies, crackers, cakes and muffins) ที่มีมากมายหลายชนิดซึ่งพบได้ในห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อ จัดเป็นอาหารทำลายสุขภาพซึ่งมักให้กันในช่วงวันหยุดเทศกาลเหมือนมีเจตนาร้ายซ่อนไว้ ขนมนี้ให้เกลือและน้ำตาลพร้อมทั้งไขมันทรานส์ซึ่งเป็นผู้ก่อการร้ายต่อสุขภาพของหัวใจอย่างสุดๆ 10.เครื่องดื่ม (ในซอง) พร้อมชง และเครื่องดื่ม (ในขวด) พร้อมดื่ม เป็นเครื่องดื่มที่เตรียมได้ง่ายและราคาถูก เพราะมักทำจากวัตถุดิบราคาต่ำ จากนั้นจึงแต่งกลิ่น สี และรสชาติสังเคราะห์ด้วยสารเคมีเพื่อให้สินค้าดูดี ถ้าองค์ประกอบมีครีมเทียมด้วยก็จะได้ไขมันทรานซ์ ส่วนน้ำตาลนั้นก็อาจเป็นน้ำเชื่อมฟรักโตสซึ่งเมื่อบริโภคมากอาจเกิดปัญหาต่อสุขภาพตับ สินค้านี้ขายได้ด้วยเทคนิกทางการโฆษณาโดยแท้ ไม่เชื่อคุณลองวิเคราะห์ต้นทุนด้วยว่า อะไรคือต้นทุนหลักของสินค้านี้ 11.เนยเทียม (Margarine) เป็นทางเลือกที่ถูกนำมาใช้ในการเตรียมอาหารเช้าของคนไทยจน ๆ เนื่องจากเนยแท้หรือ butter มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ การกินขนมปังทาเนยเทียมจึงดูหรูสุดๆ แล้วสำหรับคนจน เนยเทียมนั้นทำจากน้ำมันพืชที่ถูกนำมาเติมอะตอมของไฮโดรเจนด้วยวิธีการทางเคมีเพื่อให้กลายเป็นไขมันอิ่มตัวที่แข็งพร้อมการแต่งกลิ่น สี และรสด้วยสารเคมีจนละม้ายคล้ายเนยจริง ข้อเสียหลักๆ เกี่ยวกับเนยเทียมคือ ไขมันทรานส์ ซึ่งมีการเชื่อมโยงสู่สุขภาพเลวของผู้บริโภค 12.ข้าวโพคคั่วในถุงไมโครเวฟ (Microwave popcorn) อาหารนี้เป็นที่นิยมของมนุษย์ผู้ไม่ชอบให้ปากว่างระหว่างชมโทรทัศน์ที่บ้าน นอกจากทำลายสุขภาพฟันแล้วยังทำให้คุณเสี่ยงต่อการรับสารไดอะเซ็ตติล ซึ่งเป็นกลิ่นรสเนยสังเคราะห์ที่สามารถทำลายปอดได้ ที่สำคัญสุดๆ คือ ถุงสำหรับใส่ข้าวโพดเพื่อนำไปรับความร้อนในไมโครเวฟนั้นมักถูกเคลือบด้วยสารเทฟลอน(Teflon) ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับที่ใช้เคลือบกระทะ nonstick ซึ่งเมื่อถูกความร้อนสูง ๆ จะสลายตัวให้กรด perfluorooctanoic (เปอร์-ฟลูออ-โร-ออค-ตะ-โนอิค) ซึ่งถูกสงสัยว่าก่อมะเร็ง แต่ที่แน่ ๆ ถ้าสารนี้เกิดจากการตั้งกระทะเคลือบเทฟลอนบนเตาจนร้อนแล้วไม่เติมอาหารลงไป เพราะแม่บ้านมัวแต่คอเอียงโทรศัพท์หรือเขี่ยสมาร์ทโฟนอยู่ นกแก้วที่แม่บ้านฝรั่งชอบเลี้ยงเป็นเพื่อนในครัวมักตายด้วยสารนี้ สนใจข่าวนี้สามารถอ่านได้โดยใช้ google แล้วพิมพ์ว่า Non-Stick Cookware Kills Another Parrot ผู้เขียนให้ข้อมูลแก่ท่านผู้อ่านแล้ว ก็สุดแต่ท่านจะไขว้คว้าเอาอาหารนี้มาทำลายสุขภาพกันตามหลักสำคัญที่บอกว่า ทำอะไรได้ตามใจคือไทยแท้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 อย่าลืมดู “ส่วนประกอบ” ก่อนซื้ออาหารสำเร็จรูป

  เมื่อหมูย่างกลายเป็นไก่ย่าง             ในวิถีชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีแต่ความเร่งรีบ เรื่องของความสะดวกและรวดเร็ว ถือเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้ความต้องการบริโภคอาหารได้เปลี่ยนแปลงไปจากคนรุ่นก่อนหน้านี้อย่างชัดเจน จากวิถีการบริโภคที่เนิ่นช้า ใช้เวลาในการประดิดประดอย ตกแต่งทั้งรสชาติและรูปร่างหน้าตาของอาหารให้มีความสวยงาม เปลี่ยนมาสู่อาหารที่พร้อมบริโภคได้ทันที เพียงแค่เอาออกจากตู้แช่แล้วผ่านความร้อนแค่ไม่กี่นาที จากเตาไมโครเวฟ โดยเราเรียกมันว่า “อาหารแช่เย็น – แช่แข็ง”    ถ้ามองผ่านๆ รูปร่างหน้าตาบนฉลากสินค้าเหล่านี้จะดูน่ารับประทานและมีความหลากหลายของตัวผลิตภัณฑ์สูง เรียกว่า อยากกินเมนูอะไรก็มีให้เลือกมากมาย แต่เดี๋ยวก่อน ...การมองเฉพาะชื่ออาหารบนผลิตภัณฑ์อาจไม่ใช่อย่างที่คุณคิด เพราะเป็นไปได้ว่า หมูย่างที่คุณกำลังจะกินอาจมีไก่ผสม หรือ ลูกชิ้นกุ้ง ไม่ได้เป็นกุ้งล้วน แต่เป็นเนื้อปลา   ดังนั้น “ฉลาดซื้อ” จึงได้ร่วมกับโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชนสุ่มสำรวจตัวอย่างอาหารพร้อมบริโภคชนิดแช่เย็นและแช่แข็ง จำนวน 76 ตัวอย่าง 3 กลุ่มอาหาร ประกอบด้วย กลุ่มเบอร์เกอร์-ฮอทดอก-แซนวิช กลุ่มติ่มซำ-อาหารเรียกน้ำย่อย และกลุ่มเนื้อสัตว์แปรรูป จากร้านสะดวกซื้อ และซูเปอร์มาร์เก็ตจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ โฮมเฟรชมาร์ท บิ๊กซี โลตัส และกูร์เม่ มาร์เก็ต สยามพารากอน เซเว่นอีเลฟเว่น ระหว่างวันที่ 18 – 22 มีนาคม 2556 เมื่อมาพิจารณาเปรียบเทียบการแสดงรายละเอียดของชื่ออาหาร และส่วนประกอบ ว่ามีความสอดคล้องหรือไม่ และอาจจะนำมาซึ่งความสับสนแก่ผู้บริโภคหรือไม่   ผลทดสอบ  ร้อยละ 62 ฉลากควรต้องปรับปรุง            “ฉลาดซื้อ” พบว่า จาก 76 ตัวอย่าง มี 29 ตัวอย่าง (ร้อยละ 38) ที่ฉลากแสดงข้อมูลได้ค่อนข้างดี คือ มีการใช้ชื่ออาหารที่ชัดเจนเข้าใจได้ทันทีเมื่ออ่านชื่ออาหาร มีการแสดงชื่ออาหารที่สอดคล้องกับส่วนประกอบ และมีการแสดงรายการส่วนประกอบที่ค่อนข้างละเอียดและชัดเจน ขณะที่อีก 47 ตัวอย่าง (ร้อยละ 62) มีการแสดงข้อมูลบนฉลากที่สร้างความสับสนให้กับผู้บริโภค บางรายการอาจเข้าข่ายทำให้เข้าใจผิดและเข้าข่ายการกระทำความผิดฐานแสดงฉลากไม่ถูกต้องได้ (มาตรา 6(10) ของ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522) โดย แบ่งตามลักษณะการกระทำความผิดได้เป็น 5 ลักษณะ คือ   ชื่ออาหารไม่สอดคล้องกับส่วนประกอบ การแสดงชื่ออาหารไม่สอดคล้องกับส่วนประกอบหลักของอาหาร เช่น ตรา เดลี่ไทย ใช้ชื่ออาหารว่า ข้าวเหนียวหมูย่าง แต่มีส่วนประกอบของหมูและไก่ อีกทั้งปริมาณและสัดส่วนของเนื้อสัตว์ทั้งสองชนิดยังใกล้เคียงกันมากคือ ร้อยละ 10 และ ร้อยละ 9 ตามลำดับ หรือ ไส้กรอกชีสต์หมู ตราเบทเทอร์ฟู้ด ที่ส่วนประกอบไม่มีการระบุว่า มีชีสต์ ทั้งที่ในชื่ออาหารแสดงไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นไส้กรอกชีสต์ กุ้งทอดสอดไส้ชีส ตราสุรพลฟู้ดส์ ที่ชื่อบอกว่ากุ้ง แต่มีส่วนประกอบ ทั้งกุ้งและปลา คือ กุ้ง 23%, เกล็ดขนมปัง 17%, เนื้อปลาบด 15%, ชีส 6% เป็นต้น   การแสดงชื่ออาหารไม่ได้บอกว่าอาหารนั้นทำมาจากอะไร การแสดงชื่ออาหารไม่ได้บ่งชี้ว่าอาหารชนิดนั้นคืออะไร ทำมาจากอะไร เช่น แซนวิชเค้กไส้กรอก ตรา เซเว่น เฟรช ที่ส่วนประกอบระบุว่า ไส้กรอก 41%, ไข่ขาว 13.20%, แป้งสาลี 10.8%... ฯลฯ ซึ่งทั้งชื่ออาหารและส่วนประกอบไม่ได้ให้ข้อมูลกับผู้บริโภคว่า ไส้กรอกนั้น ๆ คืออะไร หรือ WAVE DOG ฮอทดอกซอสพิซซ่า ที่ส่วนประกอบแสดงว่าทำจากไส้กรอกไก่ แต่มิได้แสดงชื่อไส้กรอกไก่ไว้บนฉลาก   การแสดงชื่ออาหารไม่ชัดเจน เมื่อชื่ออาหารไม่ชัดเจน ก็ไม่สามารถระบุได้ว่าอาหารนั้นทำมาจากอะไรเป็นจริงตามชื่ออาหารที่กล่าวอ้างหรือไม่ รวมถึงมิได้มีการแสดงส่วนประกอบเป็นร้อยละ หากแต่แสดงเพียงรายการวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นอาหารเท่านั้น เช่น ลูกชิ้นหมูปิ้ง ตรา เซเว่นเฟรช บายแฮปปี้เชพ ที่ส่วนประกอบระบุแค่ เนื้อสัตว์ เพียงอย่างเดียว หรือ เกี๊ยวปู ตรา เจด ดราก้อน ที่ระบุส่วนประกอบ เนื้อสัตว์ 49.5%, แผ่นแป้ง 29.5% เครื่องปรุงรส 11.9%, มันแกว 11.5% ยอพริก (ไส้กรอกตราซีเค ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์) ที่ชื่อไม่บอกว่าทำจากสัตว์ โดย ส่วนประกอบ แสดงแค่ว่าทำจากเนื้อสัตว์ + เครื่องปรุงรส แต่บนฉลากกลับมีการแสดงรูปไก่ ซึ่งอาจทำให้เข้าใจว่าเป็นยอไก่ได้ เป็นต้น   มีการแสดงฉลากอาหารสองชุด คือมีฉลากที่สลักติดมากับบรรจุภัณฑ์และฉลากแบบที่เป็นสติ๊กเกอร์ที่แปะมาในภายหลังซึ่งฉลากทั้งสองชุดมีการแสดงรายการส่วนประกอบที่ไม่ตรงกัน เช่น ไส้กรอกคอกเทลรมควัน ตรา ซีพี ซึ่งฉลากที่ติดมากับซองแสดงรายละเอียดว่า เนื้อสัตว์ ขณะที่ ฉลากที่เป็นสติ๊กเกอร์ ระบุว่า ทำมาจาก เนื้อหมู และเนื้อไก่ หรือ ไส้กรอกหมูเวียนนา ตรา บางกอกแฮม รูปหมูตัวเดียว ที่มีฉลาก 2 ชุด ชุดแรกเป็นสติ๊กเกอร์แสดงรายละเอียดว่า ทำจากเนื้อหมูและอื่น ๆ กับ ฉลากชุดที่สองเป็นตัวหนังสือสลักบนซองบอกรายละเอียดว่าทำจากเนื้อสัตว์และอื่น ๆ เป็นต้น   มีชื่ออาหารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ความหมายไม่ตรงกัน ชื่อที่อาจสร้างความสับสน เช่น ลูกชิ้นกุ้งมังกรเทียม (เนื้อปลาบดปรุงรส) ขณะที่ ชื่อภาษาอังกฤษ แสดงคำว่า Lobster Ball ซึ่งหมายถึงว่าทำมาจากกุ้งมังกรแท้ กับ Shrimp Shao – mai ขนมจีบ ตรา S&p ที่ชื่อภาษาอังกฤษแสดงว่าเป็นขนมจีบกุ้ง ขณะที่ชื่อภาษาไทยบอกแค่ขนมจีบ เป็นต้น   ข้อควรระวัง สีของซองกับตัวอักษรบนซองกลืนกัน อ่านได้ยาก เช่น กุ้งทิพย์ ตรา พี.เอฟ.พี (เนื้อปลาผสมกุ้งปรุงรส) ที่ทำสีซองและตัวหนังสือเป็นสีเหลืองกลืนกับสีพื้น ชื่ออาหารตัวเล็กอ่านได้ยากเนื่องจากมีชื่ออาหารที่ยาวเกินไป เช่น เนื้อปลาบดปรุงรสผสมกลิ่นไก่และกลิ่นชีส รมควันรูปแองกรี้เบิร์ดส์ ตรา TVI ทวีวงษ์ Angry Birds Fish Cake การแสดงรายละเอียดของส่วนประกอบบางครั้งยังไม่ละเอียดเพียงพอ ไม่สามารถทราบได้ว่าอาหารนั้นทำมาจากอะไร เช่น เกี๊ยวซ่าญี่ปุ่นสำเร็จรูป ไส้กุ้งทรงเครื่อง ตรา โออิชิ เกี๊ยวซ่า ที่ส่วนประกอบหลักระบุเพียงแค่ว่าทำจาก ไส้กุ้งทรงเครื่อง 57% ขณะที่เกี๊ยวหมูซอสญี่ปุ่น ตรา ซีพี ที่มีการแสดงส่วนประกอบคล้าย ๆ กัน กลับแสดงรายละเอียดเป็นวงเล็บไว้ว่าไส้หมูสูตรญี่ปุ่นทำจาก เนื้อหมู ผัก และเครื่องปรุงรส การแสดงรายละเอียดของส่วนประกอบที่อาจมีผลต่อการก่อภูมิแพ้สำหรับผู้แพ้อาหารยังคงเป็นการแสดงโดยสมัครใจ (ผู้ผลิต เป็นผู้อาสาแสดงรายละเอียดเองโดยไม่มีกฎหมายบังคับ) และยังไม่โดดเด่นพอที่จะเป็นจุดสังเกตให้ผู้บริโภคต้องระวังเมื่ออ่านฉลาก ส่วนใหญ่ของอาหารที่ฉลาดซื้อนำมาสำรวจในครั้งนี้ใช้ ผงชูรส (msg-โมโนโซเดียมกลูตาเมต) และวัตถุปรุงแต่งรสอาหารชนิดอื่น ๆ ประกอบอาหารด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่จำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ ทำให้ผู้บริโภคที่มีปัญหาโรคไตหรือมีปัญหากับผงชูรส ไม่มีตัวเลือกเท่าไหร่นัก กว่าหนึ่งในสามของตัวอย่างที่ทดสอบจะมีการใช้เนื้อสัตว์อื่นนอกจากเนื้อสัตว์ที่เป็นชื่ออาหารมาผสมเป็นอาหาร ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาแพ้อาหารหรือไม่สามารถรับประทานเนื้อสัตว์บางประเภทได้ด้วยปัญหาด้านสุขภาพส่วนตัว (เช่น เป็นโรคแพ้กุ้ง หรือเป็นโรคเก๊าท์ ทานเนื้อไก่ไม่ได้ เป็นต้น) จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากอาจจะได้เนื้อสัตว์อื่นที่ไม่ต้องการเป็นของแถมเมื่อบริโภคอาหารในกลุ่มนี้   ฉลาดซื้อแนะนำ 1.อ่านฉลากอาหารโดยละเอียด อย่าดูเพียงแค่วันผลิต – วันหมดอายุ โดยให้อ่านทั้งชื่ออาหาร ส่วนประกอบของอาหาร รวมถึงข้อมูลโภชนาการ ว่าสอดคล้องกับชื่ออาหารที่แสดงไว้หรือไม่ และอย่าลืมดูชื่อผู้ผลิต-ผู้จัดจำหน่ายด้วย เนื่องจากหากต้องการร้องเรียนหรือให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงข้อผิดพลาด จะได้ดำเนินการได้โดยตรง 2.ให้ดำเนินการร้องเรียน เมื่อพบอาหารที่มีปัญหาการแสดงฉลาก หรือสงสัยว่าจะมีปัญหากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยทำหนังสือเป็นทางการพร้อมส่งภาพฉลากอาหารที่สงสัยให้กับ อย. เพื่อให้วินิจฉัย พร้อมดำเนินการทางกฎหมายหากพบว่าเป็นการกระทำความผิดจริงตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 3.ควรซื้อหรือรับประทานอาหารที่ปรุงสดใหม่ และ/หรือปรุงอาหารรับประทานเองบ้าง อาหารแช่แข็งควรเป็นเพียงแค่ตัวเลือกหนึ่งเท่านั้น อย่าจำกัดชีวิตตัวเองมากเกินไป   ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่การแสดงฉลากควรปรับปรุง   ชื่ออาหาร ส่วนประกอบสำคัญ ที่แสดงบนฉลาก สถานที่ผลิต/จัดจำหน่าย เลขสารบบอาหาร (เครื่องหมาย อย.) ข้าวเหนียวหมูย่าง ตรา เดลี่ไทย ข้าวเหนียว 71.4%, เนื้อหมู 10.6%, เนื้อไก่ 9.1% บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด 13-1-19233-2-0347 เบอร์เกอร์ข้าวเหนียวหมูย่าง ตรา เดลี่ไทย ข้าวเหนียว 67.7%, เนื้อหมู 14.0%, เนื้อไก่ 12.0% บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด 13-1-19233-2-0726 เบอร์เกอร์ข้าวเหนียวลาบหมู ตรา 7 เฟรช ข้าวเหนียว 67.7%, เนื้อหมู 12.7%, เนื้อไก่ 7.5% บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด 13-1-19233-2-0611 แซนวิชเค้กไส้กรอก ตรา เซเว่นเฟรช Sausage Cake Sandwitch ไส้กรอก 41%, ไข่ขาว 13.20% แป้งสาลี 10.80%... ฯลฯ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด 12-2-01653-2-0002 เกี๊ยวหมูซอสสุกี้ ตราซีพี แผ่นเกี๊ยว 31%, เนื้อหมู 26%, ผัก 23 %, เนื้อไก่ 14% บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 24-2-02255-2-0029 เกี๊ยวซ่าญี่ปุ่น ไส้หมู ตรา สุรพลฟู้ดส์ Pork Gyoza ผัก 27.1%, แป้งเกี๊ยว 22.8% เนื้อหมู 21.3%, เนื้อไก่ 15.4% บริษัท สุรพลฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ 11-1-21429-2-0353 ขนมจีบกุ้ง ตรา เทสโก้ Shrimp Shumai กุ้ง 39%, มันแกว 27%, ปลาบด 10% บริษัท พัฒนาซีฟู้ดส์ จำกัด (สำนักงานใหญ่) 74-2-00644-2-0068 Shrimp Shao – mai ขนมจีบ ตรา S&p กุ้ง, หมู, แป้งสาลี, เครื่องปรุงรส บริษัท สุรพลฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ต.เทพารักษ์ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 11-1-21429-2-0056 กุ้งบอมบ์ ตรา สามสมุทร Sea Shrimp Bomb ขนมปังหั่นเต๋า 40%, เนื้อปลา 35% กุ้ง 12%, … ฯลฯ บริษัท เค. แอล. ห้องเย็นจำกัด 74-2-03448-2-0075 เกี๊ยวปู ตรา เจด ดราก้อน Crab Dumpling เนื้อสัตว์ 49.5%, แผ่นแป้ง 29.5% เครื่องปรุงรส 11.9%,มันแกว 11.5% บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด 13-1-19233-2-0693 ลูกชิ้นหมูปิ้ง ตราเซเว่นเฟรช บายแฮปปี้เชพ เนื้อสัตว์ บริษัท ที.เอ.ซี คอนซูเมอร์ จำกัด นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค 14-2-01552-2-0001 ลูกชิ้นปลาหมึก (cuttlefish ball) ตราแต้จิ๋ว เนื้อปลา 58% ปลาหมึก 15% บริษัท มหาชัยฟู้ดโปรเซสซิ่ง จำกัด 74-2-00637-2-0001 ลูกชิ้นกุ้งมังกรเทียม (เนื้อปลาบดปรุงแต่งรส) Lobster Ball เนื้อปลา 60% น้ำ 35% แป้ง 6% ผลิตโดย บริษัท ลัคกี้ ยูเนี่ยน ฟู้ดส์ จำกัด 74-1-28034-2-0010 ชิกเก้นแฟรงค์ (ไก่) ตรา ซีพี มีฉลาก 2 ชุดแสดงข้อมูลต่างกันเล็กน้อย ชุดแรกป้ายแปะบนซอง : เนื้อไก่, เกลือเสริมไอโอดีน, น้ำตาล, เครื่องเทศ ชุดที่สองตัวอักษรสลักบนซองอาหาร: เนื้อสัตว์ เกลือเสริมไอโอดีน น้ำตาล เครื่องเทศ ผลิต/บรรจุโดย บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)   10-1-05649-1-0678 ไส้กรอกชีสไก่ Halal ตรา บีเคพี มีฉลาก 2 ชุด แสดงข้อมูลตรงกัน คือ เนื้อไก่, เกลือเสริมไอโอดีน, น้ำตาล, เครื่องเทศ (ไม่มีการแสดงชีสในส่วนประกอบ) ผลิตโดย บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)   19-2-01155-2-0031 ไส้กรอกไก่-หนังกรอบ ตรา SSP (ฉลากบนซองไม่ระบุชนิดของไส้กรอก บอกเพียงแค่ ไส้กรอก SSP) เนื้อสัตว์ 80%, ไขมัน 12% น้ำ 2%, แป้ง 4%, เครื่องปรุง 2% ผลิตโดย บริษัท เจพีเอ็ม ซอสเซส จำกัด 26-2-00250-2-0022 ไส้กรอกจูเนียร์ไก่ ตรา โชคุ-ดี เนื้อสัตว์ 85%, ไขมัน 10%, เกลือ-น้ำตาล 4%, เครื่องเทศ 1% บริษัท ทีดี มีท โปรดักส์ จำกัด 30-2-03153-2-0001 ไส้กรอกชีสหมู ตราเบทเทอร์ฟู้ด เนื้อสัตว์อนามัย ไขมัน น้ำตาล เกลือ เครื่องเทศ บริษัท อาหารเบทเทอร์ จำกัด โรงงาน: อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี 16-2-01746-2-0271 ไส้กรอกหมูเวียนนา ตรา บางกอกแฮม รูปหมูตัวเดียว มีฉลาก 2 ชุดแสดงข้อมูลต่างกันเล็กน้อย ชุดแรกเป็นป้ายแปะบนซอง : เนื้อหมู น้ำตาล เครื่องเทศ เกลือเสริมไอโอดีน ชุดที่สองเป็นตัวอักษรสลักบนซองอาหาร: เนื้อสัตว์ เกลือ น้ำตาล เครื่องเทศ บริษัท บางกอกแฮม โปรดักส์ ซัพพลาย จำกัด 11-2-10747-2-0037 ยอพริก (ไส้กรอกตราซีเค ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์) เนื้อสัตว์อนามัย ไขมัน วิตามิน น้ำตาล เครื่องเทศ บริษัท แอดวานซ์ มีท โปรดักส์ จำกัด 13-2-06647-2-0072 ตับบด (ก้อน) ตรา ทีจีเอ็ม Liver Sausage เนื้อหมู 60%, ตับหมู 15%, มันหมู 15%, น้ำ 5%,… ผลิตโดย บริษัท ไทย-เยอรมัน มีท โปรดักส์ จำกัด 24-2-00936-2-0102       ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่แสดงฉลากชัดเจน ชื่ออาหาร ส่วนประกอบสำคัญ ที่แสดงบนฉลาก สถานที่ผลิต/จัดจำหน่าย เลขสารบบอาหาร (เครื่องหมาย อย.) เบอร์เกอร์ข้าวเหนียวไก่ทอดหาดใหญ่ ตรา เซเว่นเฟรช Hat Yai Fried Chicken Sticky Rice Burger ข้าวเหนียว 61.5%, เนื้อไก่ 22.5%, เครื่องปรุงรส 6.9% บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด 13-1-19233-2-0836 ข้าวเหนียวไก่ทอด ตรา พรานไพร Fried Chicken with Sticky Rice ข้าวเหนียว 70% เนื้อไก่ 24.5%...ฯลฯ บริษัท ยูเนี่ยนโฟรเซนโปรดักส์ จำกัด 74-2-01249-2-0221 หมูปิ้งสูตรนมสด ตราเซเว่นเฟรช บายแฮปปี้เชพ เนื้อหมู 73%, เครื่องปรุง 11.26% (พริกไทย,…ฯลฯ), นมข้นจืด 1.50% บริษัท ที.เอ.ซี คอนซูเมอร์ จำกัด นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค 14-2-01552-2-0014 แซนวิชกุ้งชีส ตรา I-Bake Sandwich Shrimp & Cheese ขนมปังแซนวิชนมสด 40% เบอร์เกอร์กุ้ง 32%, แซนวิช สเปรด 22%, ชีสสไลด์ 6% บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด   12-2-01653-2-0043 เบรก แอนด์ ฟาสต์ แซนวิช ไส้หมูอบซอสญี่ปุ่นและชีส ตรา โออิชิ ขนมปังแซนวิช 54%, มายองเนสซอสญี่ปุ่น 24%, หมูอบ 18%, เชดด้าชีส 4% บริษํท โออิชิเทรดดิ้ง จำกัด 13-2-02746-2-0416 เกี๊ยวซ่าญี่ปุ่นสำเร็จรูป ไส้หมู ตรา โออิชิ เกี๊ยวซ่า เนื้อหมู 45%, แป้ง 35% กะหล่ำปลีและหอมใหญ่ 20% เครื่องปรุงรส 3% บริษํท โออิชิเทรดดิ้ง จำกัด 13-2-02746-2-0055 เกี๊ยวหมูลุยสวน ตรา ซีพี ไส้หมูลุยสวน (เนื้อหมู, ผัก และเครื่องปรุงรส) 48%, แผ่นเกี๊ยวผัก 30%, น้ำจิ้มลุยสวน 22% ผลิตโดย บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)   24-2-02255-2-0017 กุ้งทิพย์ ตรา พี.เอฟ.พี (เนื้อปลาผสมกุ้งปรุงรส) เนื้อปลาบด 64.08% น้ำแข็ง 17.68% เนื้อกุ้งบด 8.59% เกล็ดขนมปัง 6.71% ผู้ผลิต บริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด   90-1-22129-2-0004 กุ้งระเบิด Shrimp Bomb เนื้อปลาบดปรุงรส ผสมกุ้งชุบเกล็ดขนมปัง เนื้อปลาบด 30%, น้ำ 23%, เกล็ดขนมปัง 15%, เนื้อกุ้ง 12%, … ฯลฯ บริษัท อุตสาหกรรมทวีวงษ์ จำกัด   74-1-01029-2-0007 นักเก็ตกุ้ง ตรา ซีพี CP Appetizer แป้งทอด 50% กุ้ง 48% เครื่องปรุงรส 2% ผลิต/บรรจุโดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) 74-2-00348-2-0029 หมูพันสาหร่าย ตรา เจด ดราก้อน Seaweed Pork Roll   เนื้อหมู 60%, เครื่องปรุงรส 16%, โปรตีนถั่วเหลือง 12%, น้ำกรอง 6%, สาหร่ายทะเลอบแห้ง 4%, น้ำมันงา 2% บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด   13-1-19233-20004 ขนมจีบไก่สับ ตรา เปาสตาร์ Chicken Shu Mai เนื้อไก่ 58.4%, มันแกว 13.3%, เครื่องปรุง 12.9%, แป้งสาลี 10%, …ฯลฯ ผลิตโดย บริษัท บีดีซี สเปเชียลตี้ฟู้ดส์ จำกัด 13-2-00549-2-0022 ไส้กรอกพ๊อคจูเนียร์ ตรา ทีจีเอ็ม Junior Pork Sausage เนื้อหมู 80%, น้ำ 15%, เครื่องปรุงรส 5% ผลิตโดย บริษัท ไทย-เยอรมัน มีท โปรดักส์ จำกัด 24-2-00936-2-0267 ไส้กรอกเวียนนาหมู ตรา บิ๊กซี Pork Vienna Sausage เนื้อหมู 85%, น้ำ 10%, เครื่องปรุงรส 5% บริษัท พลายฟู้ดส์ จำกัด 74-2-02551-2-0010 ไส้กรอกหมูกระเทียมพริกไทย ตรา S&p Premo Pepper and Garlic Pork Sausage เนื้อหมู, เครื่องเทศ, น้ำตาล, เกลือ บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)   10-1-07036-1-0250 ลูกชิ้นหมู ปิ้ง – ทอด ตรา โฮเด้ง เนื้อหมู 70%, แป้งมัน 20%, พริกไทยและอื่น ๆ 6%... บริษัท บิ๊กบอล ฟู้ดส์ จำกัด 73-2-06146-2-0012 เนื้อปลาบดปรุงรสผสมกลิ่นไก่และกลิ่นชีส รมควันรูปแองกรี้เบิร์ดส์ ตรา TVI ทวีวงษ์ Angry Birds Fish Cake เนื้อปลาบด 50% น้ำ 34.8% แป้งมันฝรั่ง 10% บริษัท อุตสาหกรรมทวีวงษ์ จำกัด   74-1-01029-2-0181 มูส เดอ ฟัว (ตับหมูบดนึ่ง) ตราคาสิโน ตับหมู 30%, ไขมัน 30%, หนังหมู 10%, …. ฯลฯ ผลิตโดย Madrange La Valoine ประเทศฝรั่งเศส นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) 10-3-07554-1-0112  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point