ฉบับที่ 259 เครื่องทำกาแฟอัตโนมัติ 2022

        สำหรับคอกาแฟที่อยากมีเครื่องทำกาแฟไว้ทำกาแฟสดดื่มเองที่บ้าน โดยพร้อมที่จะลงทุนกับอุปกรณ์ต่างๆ และไม่หวั่นว่าจะต้องลงแรงและเวลาในการดูแลรักษาทำความสะอาดเครื่องให้ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ ฉลาดซื้อ ฉบับนี้มีผลทดสอบเปรียบเทียบเครื่องทำกาแฟแบบอัตโนมัติพร้อมเครื่องบดเมล็ดกาแฟมาฝากกันอีกครั้ง คราวนี้คัดมา 18 รุ่น (กำลังไฟระหว่าง 1300 – 1900 วัตต์) ที่สนนราคาตั้งแต่ 9,950 ถึง 51,900 บาท*  ส่วนผู้ที่สนใจเครื่องทำกาแฟแบบแคปซูล ขอให้อดใจรออีกนิด เราจะนำเสนอในฉบับต่อๆ ไป        เช่นเดียวกับครั้งที่ผ่านๆ มา ผลการทดสอบร่วมโดยสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ครั้งนี้ ได้จากทั้งการทดสอบในห้องปฏิบัติการ และการให้ความเห็นเรื่องรสชาติโดยผู้เชียวชาญ* โดยคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้        คุณภาพ/รสชาติของกาแฟ     ร้อยละ 35         ประสิทธิภาพของเครื่อง        ร้อยละ 30         ความสะดวกในการใช้งาน     ร้อยละ 30         การประหยัดพลังงาน            ร้อยละ 5

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 248 เครื่องทำกาแฟดริปอัตโนมัติ

        ฉลาดซื้อขอเอาใจคอกาแฟอีกครั้ง ด้วยผลทดสอบเปรียบเทียบเครื่องทำกาแฟดริปแบบอัตโนมัติ ที่สมาชิกองค์กรทดสอบระหว่างประเทศในเนเธอร์แลนด์ (Consumentenbond) และเบลเยียม (Test-Achats) เป็นผู้เก็บตัวอย่างส่งเข้าทดสอบไว้ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงขอคัดมาแค่ 21 รุ่นที่ได้คะแนนระหว่าง 61 – 81 จากคะแนนเต็ม 100 สนนราคาที่จำหน่ายในเว็บไซต์มีตั้งแต่ 550 ถึง 9,400 บาท*          จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ทีมทดสอบได้สัดส่วนออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้           35 คะแนน      ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง (ทดสอบตามมาตรฐาน EN 60661: 2001) เช่น ประสิทธิภาพและเวลาที่ใช้ในการสกัดกาแฟเมื่อใช้น้ำในปริมาณมาก/น้อยที่สุด อุณหภูมิของกาแฟหลังทำเสร็จทันทีและเมื่อเวลาผ่านไป 15 และ 30 นาที (กรณีที่เหยือกเป็นแบบเก็บอุณหภูมิ จะวัดอุณหภูมิเมื่อเวลาผ่านไป 1, 2, หรือ 4 ชั่วโมงด้วย)         30 คะแนน      รสชาติของกาแฟ เป็นการให้คะแนน (จาก 1 – 10) โดยนักชิมมืออาชีพ 10 คน กาแฟจากเครื่องแต่ละรุ่นจะต้องมีผู้ทดสอบรสชาติอย่างน้อย 8 คน น้ำที่ใช้เป็นน้ำประปาที่อุณหภูมิห้อง (20 องศาเซลเซียส) กระดาษกรอง Melitta Original และเมล็ดกาแฟ Norvid Arqvist โดยใช้กาแฟในสัดส่วน 50 กรัม/น้ำ 1 ลิตร และเลือกระดับ Medium ในฟังก์ชัน Aroma         30 คะแนน      ความสะดวกในการใช้งาน เป็นผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คนที่ทดลองใช้เครื่อง เช่น เติมน้ำ เลือก/ปรับโปรแกรมการใช้งาน  ใส่/ถอดอุปกรณ์  เทกาแฟใส่แก้ว ทำความสะอาด และจัดเก็บเครื่อง เป็นต้น           5 คะแนน        การประหยัดพลังงาน วัดจากพลังงานที่ใช้ขณะทำกาแฟขณะอุ่นร้อน 30 นาที ขณะอยู่ในโหมดสแตนด์บายเป็นเวลา 1 ชั่วโมง รวมถึงระยะเวลาก่อนปิดตัวเองอัตโนมัติเมื่อไม่มีการใช้งาน          ข่าวดีคือเราสามารถมีเครื่องทำกาแฟแบบดริปไว้ใช้ที่บ้านได้โดยไม่ต้องจ่ายแพง ใครชอบรูปลักษณ์ของเครื่องแบบไหน ชอบเหยือกกาแฟแบบแก้วหรือสแตนเลส หรือมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่จัดวางอย่างไร เชิญพลิกดูรายละเอียดประกอบการตัดสินใจในหน้าต่อไปได้เลย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 178 ตู้เติมน้ำมัน (ไม่) อัตโนมัติ

คงไม่มีใครอยากซื้อของมาเพื่อซ่อม ยิ่งเป็นสินค้าที่มีราคาสูงและเสี่ยงต่อความปลอดภัยอย่าง ตู้เติมน้ำมันอัตโนมัติด้วยแล้ว มาตรฐานด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพการใช้งาน ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดกรณีนี้เกิดขึ้นกับผู้ร้องที่อยู่ในสถานะเป็นผู้ให้บริการ เขาซื้อตู้น้ำมันอัตโนมัติเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ราคาเกือบ 60,000 บาท พร้อมการรับประกัน 1 ปี มาให้บริการประชาชนทั่วไป อย่างไรก็ตามตั้งแต่เปิดใช้เครื่องก็มีปัญหาจุกจิกมาตลอด แม้จะแก้ไขปัญหาด้วยการให้ช่างของบริษัทมาเปลี่ยนอะไหล่หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาให้หายขาดได้ในที่สุดความอดทนของผู้ร้องก็หมดลงเมื่อใช้ไปได้ประมาณครึ่งปี เขาต้องการคืนสินค้าและขอเงินคืนเต็มจำนวน โดยให้เหตุผลว่าเครื่องดังกล่าวน่าจะมีปัญหาอยู่แล้วตั้งแต่แรก ทำให้สินค้าเสียบ่อยเกินเยียวยา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องระบบเตือนภัย ลูกค้าเติมเงินแล้วไม่ได้น้ำมัน หรือหัวจ่ายน้ำมันออกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลให้ลูกค้าไม่พอใจและไม่อยากมาใช้บริการอีก นอกจากนี้ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน และที่สำคัญคือไม่ประทับใจบริการหลังการขายมากที่สุดอย่างไรก็ตามเมื่อเขาเสนอข้อเรียกร้องไปยังบริษัท กลับได้รับคำตอบว่าจะคืนเงินให้จำนวน 30,000 บาทเท่านั้น โดยไม่ชี้แจงเหตุผลที่ไม่คืนเงินเต็มจำนวน ซึ่งทำให้ผู้ร้องรู้สึกว่าราคาไม่เป็นธรรม และมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ แนะนำให้ผู้ร้องทำให้หนังสือไปยังบริษัท โดยให้มีข้อมูลเพิ่มเติมเป็นรูปถ่ายของตู้นำมันดังกล่าว และนัดเจรจากับทางบริษัท ซึ่งภายหลังการเจรจาก็สามารถตกลงกันได้ โดยบริษัทชี้แจงว่า ปกติสินค้าซื้อแล้วไม่รับคืน แต่หากสินค้าอุปกรณ์ชำรุด เนื่องจากผิดพลาดจากการผลิต ก็ยินดีเปลี่ยนอุปกณ์หรือซ่อมให้ฟรี อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีนี้หากผู้ร้องต้องการคืนเครื่องก็สามารถทำได้ แต่บริษัทจะคืนเงินให้เพียง 30,000 บาท เพราะอ้างว่าเป็นค่าเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ หรือจะรับข้อเสนออื่นๆ จากบริษัทก็ได้ เช่น เปลี่ยนเครื่องใหม่ ด้านผู้ร้องไม่ต้องการใช้บริการกับบริษัทนี้แล้ว จึงต้องยินยอมรับเงินจำนวนนั้นไป ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อตู้นำมันอัตโนมัติ เมื่อได้เครื่องมาแล้วสามารถติดต่อกรมการค้าภายในที่เบอร์โทรศัพท์ 1569 ฝ่ายชั่งตวงวัด เพื่อให้มาตรวจสอบตู้น้ำมันก่อนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อป้องกันปัญหาการได้รับตู้น้ำมันอัตโนมัติที่ไม่ได้รับมาตรฐานนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 175 สำรวจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ

    ตู้กดน้ำดื่มอัตโนมัติเป็นสิ่งที่เราพบเห็นทั่วไปในย่านชุมชน หลายคนต้องพึ่งพาตู้เหล่านี้เพราะมันเป็นทางเดียวที่จะเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดในราคาย่อมเยา ธุรกิจตู้น้ำดื่มก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะใครๆ ก็ทำได้ แค่มีพื้นที่หน้าบ้านบวกกับเงินลงทุนเริ่มต้นอีกไม่เกิน 3 หมื่นบาทเราก็เป็นเจ้าของตู้พวกนี้ได้แล้ว มีทั้งแบบขายขาดให้เจ้าของพื้นที่ดูแลเองและแบบที่มีบริษัทส่งพนักงานมาซ่อมบำรุงให้ แต่น้ำที่ได้จากตู้พวกนี้สะอาดจริงหรือ?   การเก็บตัวอย่างน้ำ 2,025 ตัวอย่างจากตู้น้ำหยอดเหรียญทั่วประเทศ เพื่อตรวจวิเคราะห์โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึง กันยายน 2555 พบว่าเกือบร้อยละ 40 ไม่ผ่านมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด น้ำดื่มเหล่านี้มีค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าความกระด้างเกินเกณฑ์ และยังพบเชื้อโคลิฟอร์ม และ E.coli  ในน้ำดื่มถึง 319 ตัวอย่างด้วยปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดการดูแลรักษา แล้วการกำกับดูแลธุรกิจหรือการควบคุมมาตรฐานของอุปกรณ์เหล่านี้ดีพอที่จะรับประกันคุณภาพหรือความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคแล้วหรือยัง?เครือข่ายผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ภายใต้การสนับสนุนของอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค  ได้ทำการสำรวจลักษณะทางกายภาพของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติในกรุงเทพมหานคร ว่าเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ การสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจเกี่ยวกับ สถานที่ตั้ง การติดฉลาก คุณลักษณะ แหล่งน้ำที่ใช้ และการบำรุงรักษาตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญทั้งหมด 855 ตู้จาก 18 เขตของกรุงเทพมหานคร ทีมสำรวจพบว่า ...•    มีเพียงร้อยละ 8.24 ของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในการสำรวจ (855 ตู้)  ที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการ  … นั่นหมายความว่ายังมีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอีกมากที่ดำเนินการขายน้ำดื่มโดยยังไม่ได้รับใบอนุญาต (ใบอนุญาตดังกล่าวมีค่าธรรมเนียม 2,000 บาทต่อปี ซึ่งผู้ประกอบการมองว่าแพงเกินไป!!)•    ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข ร้อยละ 76.3      ตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณที่มีฝุ่นมาก เช่น ริมถนน บนทางเท้า ร้อยละ 47.7    ไม่มีการยกระดับตู้ให้สูงจากพื้นอย่างน้อย  10 เซนติเมตรร้อยละ 28.3     ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำขัง/แหล่งระบายน้ำเสีย (บางครั้งพบตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญและเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญในบริเวณใกล้กัน)ร้อยละ 22    ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค เช่น แมลงสาบ หนู แมลงวัน•    ตู้กดน้ำส่วนใหญ่ไม่มีการติดฉลากบอกข้อแนะนำในการใช้ คำเตือน หรือ วัน เดือน ปีที่เปลี่ยนไส้กรอง หรือมีแต่ก็ไม่ครบถ้วน•    ทีมสำรวจพบทั้งตู้เก่าและตู้ใหม่ บางตู้ติดตั้งมานานและไม่ได้รับการดูแลจากผู้ประกอบกิจการ มีสนิม มีรูรั่วซึม มีการผุกร่อน บางตู้ไม่มีฝาปิดช่องจ่ายน้ำ บางตู้มีตะไคร่เกาะที่หัวจ่ายน้ำด้วย•    ร้อยละ 93.8 ของน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่มในตู้เหล่านี้เป็นน้ำประปา ซึ่งถือเป็นเรื่องดีเพราะน้ำประปาเป็นน้ำที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพแล้ว•    มีเพียงร้อยละ 58.7 ของตู้เหล่านี้ที่ได้รับการบำรุงรักษาและทำความสะอาดถังเก็บน้ำ อย่างน้อยเดือนละครั้ง•    มีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญจำนวนไม่น้อยที่ผู้สำรวจไม่สามารถติดตามพบเจ้าของผู้รับผิดชอบได้   -------------------------------------------------------------------------------------------------วิธีการเลือกใช้บริการน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ: ข้อเสนอแนะจากทีมสำรวจสภาพภายนอก >> เลือกตู้ที่สะอาด มีการทำความสะอาด ปัดกวาดเช็ดถูบริเวณรอบๆ จุดที่ใช้สำหรับวางภาชนะบรรจุเพื่อรองน้ำจากหัวบรรจุต้องสะอาด ไม่มีฝุ่นผง มีฝาปิดป้องกันฝุ่นละออง หัวจ่ายน้ำไม่มีคราบสนิมหรือตะไคร่น้ำ ควรเลือกใช้ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ตั้งอยู่ในที่ร่มไม่มีแสงแดดส่องถึง เพราะแสงแดดมักทำให้เกิดตะไคร่ภายในหัวบรรจุการควบคุมคุณภาพน้ำ >>  ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญบางยี่ห้อมีการดูแลและควบคุมคุณภาพของน้ำดื่มเป็นประจำ เมื่อผู้ดูแลตู้ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องและไส้กรองแล้วจะติดสติ๊กเกอร์แจ้งวัน/เวลาที่เข้ามาตรวจสอบ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยทำให้ผู้บริโภครู้ว่าเจ้าของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญตู้นี้มีการดูแล และควบคุมคุณภาพของน้ำหรือไม่การสังเกตกลิ่น สี รส  >>  ผู้บริโภคสามารถตรวจดูสภาพของน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเบื้องต้นได้ด้วยการสังเกตสี ความขุ่น-ใส กลิ่นและรสชาติของน้ำ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ควรเปลี่ยนตู้ใหม่เมื่อน้ำที่ได้มามีกลิ่นหรือรสชาติของน้ำเปลี่ยนไปจากเดิม หรือรอให้ตู้ที่ใช้อยู่เดิมนั้นได้รับการดูแลทำความสะอาดหรือเปลี่ยนไส้กรองเสียก่อนภาชนะที่นำไปบรรจุน้ำดื่มจากตู้ >> ควรเป็นภาชนะที่สะอาดและมีขนาดพอดีกับปริมาณน้ำที่ซื้อไม่สัมผัสหัวจ่ายน้ำด้วยมือหรือวัสดุอื่นใด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคในน้ำดื่ม------------------------------------------------------------------------------------------------กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญถือเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 362 พ.ศ. 2556 เรื่อง น้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ น้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท หากฝ่าฝืนจะเข้าข่ายเป็นอาหารผิดมาตรฐาน ตามมาตรา 28 ฝ่าฝืนมาตรา 25 (3) มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ประกาศดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ------------------------------------------------------------------------------------------------ความนิยมของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2555 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ร้อยละ 40.9 ของน้ำดื่มที่คนไทยบริโภค มาจากน้ำบรรจุขวดและตู้น้ำดื่มยอดเหรียญผลสำรวจของกรมอนามัยในปี 2556 ระบุว่า ร้อยละ 14 ของประชาชนจัดหาน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญ ร้อยละ 17 ดื่มน้ำฝนที่กักเก็บไว้ ร้อยละ 24 ดื่มน้ำประปา และร้อยละ 32 นิยมดื่มน้ำบรรจุขวด ที่เหลือเป็นน้ำดื่มที่ได้จากบ่อบาดาลและบ่อน้ำตื้น------------------------------------------------------------------------------------------------น้ำดื่มคุณภาพ: หน่วยงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง•    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา >> กำกับดูแลคุณภาพของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขภายใต้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522•    สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค >> กำกับดูแลการโฆษณาคุณภาพและควบคุมการติดฉลากของเครื่องผลิตน้ำแบบหยอดเหรียญภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522•    สำนักอนามัย สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร >> ติดตามการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ และบังคับใช้บทลงโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 •    สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม >> กำกับดูแลเครื่องผลิตน้ำแบบหยอดเหรียญให้เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องกรองน้ำประเภทต่างๆที่กำหนดภายใต้พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ------------------------------------------------------------------------------------------------น้ำดื่มที่ดีไม่ได้หมายถึงน้ำดื่มบริสุทธิ์ปราศจากแร่ธาตุใดๆ เพียงแต่ปริมาณแร่ธาตุเหล่านั้นจะต้องไม่เกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกหรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับน้ำบริโภคกำหนดไว้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://plan.dgr.go.th/school/5.pdf------------------------------------------------------------------------------------------------การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดของประชากรอาเซียน    มหาวิทยาลัยเยล ร่วมกับมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและ World Economic Forum จัดทำ Environmental Performance Index (EPI) ขึ้นในปี 2014 จากการสำรวจและประเมินความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมใน 178 ประเทศทั่วโลก หนึ่งในหัวข้อสำรวจคือการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด ซึ่งหมายถึง ประปา แหล่งน้ำบาดาล น้ำฝน เท่านั้น (ไม่นับน้ำดื่มบรรจุขวดหรือสั่งซื้อ) เรามาดูกันว่ากลุ่มประเทศอาเซียนทำได้ดีแค่ไหนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน  เรียงจากมากไปน้อยตามนี้100        สิงคโปร์ 100         บรูไน 91.94        มาเลเซีย60.55        ไทย59.47        เวียดนาม48.38        ฟิลิปปินส์32.45        อินโดนีเซีย 32.27        เมียนมา 17.34        ลาว 15.52        กัมพูชา ข้อมูลจาก http://epi.yale.edu/epi/issue-ranking/water-and-sanitation  

อ่านเพิ่มเติม >