ฉบับที่ 232 อู่ซ่อมรถด้วยอะไหล่มือสองไม่มีคุณภาพ ทำอย่างไรได้บ้าง

        รถยนต์เกิดความเสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุ เมื่อนำเข้าอู่ซ่อมตามที่บริษัทประกันรถแนะนำ ก็ยังไม่วายโดนดี มีการซ่อมแซมด้วยอะไหล่มือสองของไม่มีคุณภาพ แถมยังกักรถไว้ต่อรองเรียกเงินอีก นี่คือสิ่งที่คุณชนิกาและสามีร้องเรียนมาเพื่อขอคำปรึกษา เรามาดูกันว่าเรื่องเป็นมาอย่างไรและควรจัดการอย่างไร         เดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา คุณชนิกาขับรถอยู่ดีๆ ในช่องทางที่ถูกต้อง ก็มีรถยนต์อีกคันพุ่งมาชน โชคดีที่ไม่ได้รับบาดเจ็บ แต่โชคร้ายที่รถยนต์ได้รับความเสียหายจนใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ตามรถยนต์คันนี้มีประกันภัย ชั้นสอง บวกทุนค่าซ่อมรถยนต์ 1,000,000 บาท กับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งไว้ ขอเรียกว่า บริษัท A จึงพอให้อุ่นใจว่าไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องการซ่อม        เจ้ากรรมรถยนต์ที่อุตส่าห์ลากไปยังอู่ที่รู้จักปฏิเสธให้บริการด้วยเหตุผลว่า ไม่ใช่อู่ที่อยู่ในเครือของบริษัทประกัน A จึงปรึกษากับตัวแทนบริษัทประกันว่า ควรเข้าซ่อมที่อู่ไหน ซึ่งบริษัทแนะนำ อู่ ช. ว่าเป็นอู่ในเครือของประกัน เธอจึงนำรถยนต์คันดังกล่าวเข้าซ่อมแซมกับอู่ดังกล่าว อู่กับบ.ประกันทำสัญญาซ่อมแซมกัน แบบเต็มวงเงินคือ 1 ล้านบาท โดยบ.ประกันโอนเงินดังกล่าวให้กับสามีของคุณชนิกาซึ่งเป็นเจ้าของรถ เมื่อโอนเงินแล้วก็ยกเลิกกรมธรรม์ไป และระบุว่า ไม่รับผิดชอบใดๆ หลังโอนเงินเต็มทุนประกันแล้ว         ดังนั้นเธอและสามีจึงต้องเป็นคนติดตามการซ่อมแซมดังกล่าว ซึ่งพบปัญหาหลายประการ เช่น การจัดหาอะไหล่ที่ไม่ตรงกับรุ่น มีการนำอะไหล่มือสองไม่มีคุณภาพมาเปลี่ยนและมีการแปลงสภาพรถ เธอกับสามีพยายามติดต่อเพื่อขอให้ใช้อะไหล่ที่ได้มาตรฐาน แต่ทางอู่ไม่ยอมรับฟังข้อเสนอ เธอและสามีจึงขอยุติการซ่อมกับ อู่ ช. และตั้งใจจะนำรถไปซ่อมที่อู่อื่นแทน ทางบ.ประกันก็ทำหนังสือยุติการซ่อมมาให้ในเดือนธันวาคม 2562 เมื่อเธอกับสามีจะไปนำรถออกจากอู่ ต้องพบกับท่าทีคุกคามของเจ้าของอู่และพนักงานของอู่ ช. เพื่อเลี่ยงการทะเลาะวิวาทเธอและสามีจึงไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ และไปร้องเรียนต่อ คปภ.และแจ้งให้บริษัทประกันภัยช่วยเข้ามาเคลียร์ให้ จึงมีการนัดเจรจากันขึ้น ผลการเจรจาคือ อู่ขอเก็บเงินค่าซ่อมแบบเหมา 850,000 บาท โดยไม่มีการชี้แจงค่าใช้จ่ายในส่วนของอะไหล่ต่างๆ หากไม่ยินยอมจ่ายอู่จะใช้สิทธิกักรถไว้ คุณชนิการู้สึกว่าไม่เป็นธรรม เพราะอู่ชี้แจงไม่ได้ว่า จำนวนเงิน 850,000 มีที่มาอย่างไร อู่จึงยึดรถไว้ ทำให้คุณชนิกาขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ ไปถึง 93 วัน เธอจึงปรึกษามาว่าควรทำอย่างไร แนวทางการแก้ไขปัญหา         หลังจากโทรมาปรึกษา คุณชนิกาตัดสินใจฟ้องร้องอู่ ช. โดยทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ได้ให้คำแนะนำว่า แม้จะเป็นการซ่อมรถตามที่ซื้อประกันไว้ แต่การซ่อมก็ยังคงต้องทำตามหลักเรื่องสัญญา หากซ่อมแล้วมีการปกปิดและแอบนำเอาอะไหล่มือสองมาอ้างเป็นอะไหล่แท้ อาจเข้าข่ายเป็นการฉ้อโกง หรือการคิดการซ่อมแซมแบบเหมาจ่ายโดยที่ไม่ได้รับความยินยอมก่อน ผู้บริโภคมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากค่าขาดประโยชน์ได้  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 110 ชอบทีวีซัมซุง ถึงเสียก็ไม่อยากเปลี่ยนใจ

เรียน ผู้จัดการ บริษัท ซัมซุงประเทศไทย จำกัดดิฉันนางสาวดวงพร ได้ซื้อทีวี LCD 32 นิ้ว Model code LA32 ………Serial No…….Version…….(อยู่ในช่วงประกัน) เมื่อต้นปี (มกราคม 2552) และจอภาพได้เสียเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2552 ดิฉันจึงได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทซัมซุงทราบ และจากนั้น 3 วัน เจ้าหน้าที่ได้ให้ช่างมาตรวจที่บ้าน และได้บอกว่าจอภาพเสียต้องเปลี่ยนและต้องรออะไหล่ ดิฉันถามว่านานเท่าไร ช่างตอบว่านานเพราะต้องรอบริษัทแม่ส่งมาดิฉันรอจนสิ้นเดือนมกราคม 2553 และได้ติดต่อกลับไปสอบถามได้ความว่าอะไหล่ไม่มี ได้ส่งเรื่องให้สำนักงานใหญ่ (เจ้าหน้าที่เรียกว่า VOC) และรออีก 1 อาทิตย์ เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้ติดต่อกลับมา ดิฉันจึงติดต่อกลับไป แต่ทุกครั้งที่ติดต่อเจ้าหน้าที่จะบอกแบบถ่วงเวลาว่าจะติดต่อกลับไปแต่ไม่เคยเห็นจะติดต่อกลับมาสักครั้งเลย และครั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้พูดจาไม่สุภาพเลย ใช้คำพูดว่า “อ๋อเรื่องของคุณ....... คุณพัช(นามสมมติ)รับเรื่องไว้เดี๋ยวจะติดต่อกลับมาดิฉันก็กลัวว่าจะไม่มีการติดต่อกลับเหมือนทุกครั้ง ดิฉันจึงขอทราบนามสกุลของคุณพัช แต่เจ้าหน้าที่ไม่บอกได้แต่รับปากว่าจะโทรติดต่อกลับแน่นอน และตอนบ่ายของวันนั้นคุณพัชก็โทรกลับมา (ดิฉันดีใจมาก) และคุณพัชได้บอกว่า ทางบริษัทจะรับซื้อคืน เพราะทางบริษัทไม่มีอะไหล่แต่ดิฉันคิดว่าถึงเงินมาก็ต้องไปซื้อทีวีอยู่ดี และชอบทีวีของซัมซุง จึงขอให้เขาเปลี่ยนเครื่องแทนไม่รับเงินแต่คุณพัชได้บอกว่าเปลี่ยนให้ไม่ได้ เพราะเครื่องไม่เสถียรจะขอเป็นซื้อคืนและขอใบเสร็จรับเงิน และถ่ายสำเนาบัตรประชาชนเขียนชื่อภาษาอังกฤษ เดี๋ยวจะส่งเงินมาโดยจะติดต่อกลับมาอีกครั้งว่าจะโอนเงินทางใด ดิฉันไม่ได้เก็บใบเสร็จไว้ คุณพัชก็ไม่ได้ว่าอะไรก็ใช้วิธีเขียนจำนวนเงินแทนว่าซื้อมาเท่าใด ดิฉันเขียนราคา 19,000 บาท และส่งแฟกซ์ไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553 และขอเบอร์ติดต่อกับคุณพัชโดยตรง และรอตามที่คุณพัชบอกจะติดต่อกลับจนวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 ดิฉันโทรกลับไปที่เบอร์ที่ได้รับไว้ แต่ไม่มีใครรับสายทั้งวันพออีกวันดิฉันจึงโทรเข้าศูนย์ซัมซุงและเล่าเรื่องทั้งหมดให้เจ้าหน้าที่ฟังและขอสายคุณพัช จากนั้นคุณพัชโทรกลับมาและบอกว่าเรื่องต้องรอผู้ใหญ่อนุมัติต้องรออีกประมาณต้นเดือนมีนาคม 2553 จึงจะได้คำตอบ ดิฉันจึงอยากทราบว่าทางบริษัทจะดำเนินการอย่างไร เพราะดิฉันรอมาหลายเดือนแล้ว โปรดติดต่อกลับทางดิฉันด้วยแนวทางการแก้ไขปัญหาเอาจดหมายฉบับนี้มาให้อ่าน เป็นแนวทางกัน สำหรับคนที่มีปัญหาซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามาแล้วเสียใช้ไม่ได้ในระยะเวลารับประกัน เรียกช่างมาซ่อมแล้วโยกโย้ ติ๊ดชึ่งดึงเวลา ให้ขาดระยะประกันหรือขาดอายุความในการฟ้องร้อง(อายุความ 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย)คุณดวงพรได้ร้องเรียนเข้ามาที่มูลนิธิฯ ว่า หลังจากที่โทรทัศน์ซัมซุง จอแอลซีดี 32 นิ้ว มูลค่า 19,000 บาทเสียดูไม่ได้มาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 ติดตามเรื่องผ่านทางโทรศัพท์ให้บริษัทแก้ไขปัญหาจนถึงเดือนมีนาคม 2553 รวมเวลากว่า 3 เดือนแล้วก็ยังไม่มีทีวีให้ดูรายการโปรดซักที โทรตามเรื่องจนขี้เกียจโทรแล้ว อยากให้มูลนิธิฯช่วยเหลือหน่อยมูลนิธิฯ จึงได้แนะนำว่าเรื่องนี้ไม่ยาก ให้ผู้บริโภคใช้คาถา “จดหมายดีกว่าโทรศัพท์” จดหมายร้องเรียนที่เราได้อ่านข้างบนจึงเป็นฝีมือของคุณดวงพรล้วนๆ ซึ่งผู้บริโภคท่านอื่นที่ประสบปัญหาในทำนองเดียวกันเอาไปปรับใช้ได้ครับผลที่ได้รับ เพียง 5 วันหลังจากที่ออกจดหมายไปถึงผู้บริหารของบริษัทซัมซุง คุณดวงพรก็ได้รับเช็คจำนวน 19,000 บาท และส่งคืนทีวีจอดับไปให้บริษัทซัมซุงทำลายเป็นที่เรียบร้อย

อ่านเพิ่มเติม >