ฉบับที่ 256 ระวังพลาดเจอ ครีมกวน

        แม้ผ่านมาหลายปีแล้วจะมีทั้งข่าวจับขบวนการขายครีมที่ผสมสารอันตรายของทาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกมามากมาย รวมถึงการออกมาเตือนแล้วเตือนอีก เรื่องของผลกระทบของการใช้ครีมหน้าขาว หรือเรียกอีกอย่างว่า “ครีมกวน” ที่มีส่วนผสมสารอันตรายต่างๆ ที่สวยได้สักพัก เลิกใช้หน้าพังทันทีก็ตาม แต่ปัจจุบันก็ยังคงมีมาให้เห็นอีกอยู่เป็นพักๆ ไม่หายจากไปง่ายๆ ในหลายแพลตฟอร์มออนไลน์ ล่าสุดก็ยังมีการรีวิวครีมหน้าขาวอันตรายพวกนี้ ที่สำคัญคือยังมีคนหลงเชื่อและสนใจที่จะใช้ผลิตภัณฑ์พวกนี้อยู่             ฉลาดซื้อจึงอยากแนะนำวิธีระวัง “ครีมหน้าขาวที่อันตราย” เพื่อย้ำเตือนกันอีกสักครั้งให้ทุกคนที่กำลังคิดจะลองใช้   สารอันตรายจากครีมหน้าขาว         ครีมหน้าขาวส่วนมากจะเน้นการโฆษณาหรือรีวิวว่าใช้แล้วหน้าใส ขาวไวมาก ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ผลิตจะนำสารที่ห้ามใช้ในเครื่องสำอางเช่น สารปรอท สารสเตียรอยด์  ไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ มาเป็นส่วนผสม เนื่องจากสารเคมีดังกล่าวนี้มีฤกธิ์ช่วยลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน จึงทำให้ผิวขาวเร็ว เรียกว่า 3-7 วันเห็นผล แต่ผลข้างเคียงหรืออันตรายทำให้ผิวพังก็ไวเช่นกัน ผลข้างเคียง         ขาวเร็วแบบไม่ปลอดภัย ลักษณะอาการเป็นอย่างไรบ้าง มาดูกัน สารปรอท ทำให้มีอาการแพ้ ผื่นแดง ผิวบางลงและคล้ำลงอย่างรวดเร็ว ไตอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ สารไฮโดรควิโนน  ผิวหนังระคายเคืองผิวคล้ำมากขึ้น เกิดฝ้าถาวรและอาจมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งผิวหนัง กรดวิตามินเอ ระคายเคืองต่อผิวหนัง เช่น แสบร้อนรุนแรง หน้าแดง แพ้แสงแดด ไวต่อแสง รวมถึงเป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์อีกด้วย สารสเตียรอยด์  มีผื่นแพ้ สิวผด ผิวบางจนเกิดผิวแตกราย เป็นต้น  ทั้งนี้ ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างผลเสียที่ตามมาเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังคงมีอาการอีกหลายรูปแบบซึ่งเกิดขึ้นไปแล้วแต่ละบุคคลเพราะผิวหนังและร่างกายในแต่ละคนไม่เหมือนกัน      เลือกซื้อครีมอย่างปลอดภัย        -       ก่อนซื้อครีมควรสังเกตรายละเอียดว่าในส่วนผสมของครีมมีอะไรบ้าง        -       อย่าเชื่อคำโฆษณาที่มีการอวดอ้างผลลัพธ์ที่ตามมาอย่างแบบไม่น่าเป็นไปได้        -       หากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีฉลาก ไม่มี วัน/เดือน/ปี ที่ผลิต ไม่แสดงรายชื่อผู้ผลิต ไม่ควรเสี่ยงซื้อมาใช้ สำคัญควรดูว่ามีเลขที่ใบรับแจ้งของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) หรือไม่ การตรวจเช็กเลขจดแจ้งของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) สามารถตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ดังนี้ https://www.fda.moph.go.th/        -       ในส่วนของลักษณะครีมหน้าขาวที่พบได้บ่อยจะเป็นรูปแบบตลับหรือกระปุกพลาสติกดูไม่น่าเชื่อถือ  ไม่มีฉลาก หรือขายเป็นถุงกิโลและมีเนื้อครีมที่สีเข้ม เช่น ที่พบบ่อยคือสีเขียว หรือเหลือง อย่าซื้อมาใช้        -       หากซื้อมาแล้วและไม่มั่นใจที่จะใช้ก็สามารถหาซื้อที่ตรวจสารอันตรายต่างๆ มาลองตรวจดูเพื่อเช็กความชัวร์ได้         สุดท้ายแล้วหากพบว่า ตนเองหลงไปใช้ครีมที่มีสารอันตรายเข้าแล้ว สิ่งที่ควรทำคือ หยุดใช้ครีมทันที ไม่ควรใช้ต่อ และถ้าพบอาการผิดปกติที่ใบหน้าควรเข้าไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อรักษาอาการเบื้องต้นทันที ไม่ควรรักษาเองเนื่องจากหากรักษาไม่ถูกวิธีหรือถูกจุดอาการอาจจะหนักมากกว่าเดิมได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 114 แปลกจริงหนอ ... ขอเสี่ยงสักหน่อย

พฤติกรรมการบริโภคผิดๆ ยังคงเป็นสิ่งที่มีมาเรื่อยๆ พวกผมเลยต้องหาทางรณณงค์ชี้แจงเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจให้ถูกต้องและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม เพราะมิฉะนั้นอาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ แต่พฤติกรรมผิดๆ เหล่านี้ บางทีมันก็คาดไม่ถึงหากเราไม่ได้เข้าไปคลุกคลีในกลุ่มพวกเขา “ฉันรู้ว่าครีมหน้าขาวอันตราย แต่ฉันขอใช้” ผมเคยเก็บตัวอย่างครีมทาหน้าจากร้านเสริมสวยแห่งหนึ่งไปตรวจ ผลปรากฏว่าครีมทาหน้าขาวที่ร้านเสริมสวยแห่งนี้มีไว้จำหน่ายกลับไม่พบสารอันตราย แต่กระปุกที่เจ้าของร้านใช้เองกลับพบสารห้ามใช้ หลังจากพูดคุยสอบถามว่าไม่กลัวอันตรายหรือ เจ้าของร้านตอบว่า “แหม ก็ใช้แล้วหน้ามันขาวขึ้นจริงๆ แต่ก็กลัวอันตรายนะ ฉันเลยปรับวิธีการใช้เป็น 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะได้ไม่อันตราย” เป็นไงครับ เจอเหตุผลแบบนี้ เล่นเอาอึ้ง “หน้ายังขาว แล้วที่อื่นจะเหลือรึ” เรื่องนี้ทราบจากคุณครู อย.น้อย ที่พวกเราชวนท่านมาเป็นภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในโรงเรียน หลังจากคุณครูไปสำรวจพฤติกรรมการใช้ครีมทาหน้าขาวปรากฏว่าไม่พบการใช้ แต่คุณครูแอบสังเกตเห็นว่านักเรียนกลุ่มหนึ่งพกครีมดังกล่าว ซักไปซักมาเลยทราบว่า เด็กเขาไม่ได้เอาไปทาหน้า “หนูไม่ทาหน้าหรอก เพราะมันอันตราย แต่ทารักแร้คงไม่เป็นไรนะคะ มันขาวดี” หนูๆ เขาให้เหตุผล เฮ้อ เด็กหนอเด็ก มันก็อันตรายเหมือนกันล่ะจ้ะ “ลูกกลอนดีๆ ต้องมีคาถา” ชะรอยว่ากระทรวงสาธารณสุขจะรณรงค์การปลอมปนยาสเตียรอยด์ในยาลูกกลอนอย่างได้ผล ปรากฎว่าช่วงหนึ่งพวกผมไปตรวจสอบยาลูกกลอนแผนโบราณ เลยไม่พบสารสเตียรอยด์ แต่คล้อยหลังไม่เท่าไหร่ ดันตรวจเจอยาลูกกลอนสายพันธ์ใหม่มาจำหน่ายอีกแล้ว ยาลูกกลอนรุ่นนี้มีแผ่นทองคำเปลวปิดที่เม็ดยา แถมเอกสารกำกับยาที่แนบมา ก็มีคาถาให้บริกรรมก่อนรับประทานซะอีก เล่นกันแบบนี้เอง มิน่า ถึงได้ขายดีตีตลาด “ตรวจเท่าไหร่ก็ไม่เจอสเตียรอยด์” เจ้ายาลูกกลอนเม็ดนี้ เจ้าหน้าที่ใช้ชุดทดสอบตรวจสเตียรอยด์ตรวจเท่าไหร่ก็ไม่เจอ มาถึงบางอ้อตรงที่ไปตามข้อมูลจากผู้บริโภคที่ซื้อมารับประทาน เลยทราบว่าเขาแอบซื้อมารับประทานเพราะมันโฆษณาว่าลดไขมันได้ เจ้าหน้าที่เลยสุ่มตรวจยาแผนปัจจุบัน สุดท้ายพบยาลดไขมันชนิดแพงๆ ผสมอยู่ มิน่าไขมันถึงได้ลดเอาๆ “ประกายตาใสกิ๊งๆ” ยุคที่เลนส์ตาโต(บิ๊กอาย)กำลังฮิต ผมเข้าไปนั่งเก็บข้อมูลที่ร้านทำแว่นที่คุ้นเคย สังเกตเห็นเด็กนักเรียนวัยรุ่นมาซื้อน้ำตาเทียมหยอดตากันเยอะมาก สอบถามข้อมูลทราบว่าเด็กเหล่านี้ไม่ได้ใส่คอนแท็คเลนส์ อ้าว!แล้วหนูๆ ซื้อน้ำยาชนิดนี้ไปทำอะไร น้องๆ เขาซื้อไปหยอดตาครับ เขาบอกว่าสมัยนี้เขาฮิตตาที่เป็นประกายใสกิ๊งแวววาวสะดุดตา แต่ที่เล่นเอาผมงงคือ เด็กเขาไปเอาเกลือป่นผสมลงไปด้วย นัยว่ามันจะยิ่งให้ประกายตา โคตะระใสกิ๊งขึ้นกว่าเดิมอีก ไม่รู้มันใสเพราะแสบจนน้ำตาไหลออกมาหรือเปล่า เป็นไงครับ พฤติกรรมต่างๆ ของผู้บริโภคที่เล่ามานี้ บางทีมันก็ ทั้งแปลก ทั้งเสี่ยงจนเราคาดไม่ถึงเลยนะครับ เอาเป็นว่าใครเจออะไรที่มันแปลกๆ เสี่ยงๆ รีบเตือนกันด้วยนะครับ แล้วอย่าลืมมาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบด้วยนะครับ จะได้รีบหาทางกระจายข่าวเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังอันตรายไงครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 119 กระแสต่างแดน

ตราไม่รับรอง บ่อยครั้งที่ผู้บริโภคอย่างเราๆ ให้ความไว้วางใจ “ตรารับรอง” โดยลืมถามตัวเองว่าตราสัญลักษณ์ดังกล่าวนั้น “รับรอง” อะไรกันแน่ องค์กรต่อต้านการทารุณสัตว์ SAFE (Safe Animals from Exploitation) ที่นิวซีแลนด์ออกมาแฉกันเต็มๆ ว่า ตรารับรอง “PigCare Accredited” ที่ติดอยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมูที่ขายในซูเปอร์มาร์เก็ตนั้น ไม่ได้มีความหมายอะไร นอกจากจะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถขายของได้มากขึ้น  เพราะผู้บริโภคปัจจุบันต้องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสัตว์ ตรารับรองที่ว่าจึงทำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าหมูน้อยเหล่านั้นเคยมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบายตามอัตภาพ ไม่ทุกข์ทรมานเพราะถูกกักขังบริเวณอยู่ในกรงจนขยับไม่ได้  แต่ความจริงแล้วเงื่อนไขที่จะได้ตรารับรอง “PigCare” นั้นไม่ได้ครอบคลุมไปถึงเรื่องการห้ามใช้กรงขัง หรือการห้ามเลี้ยงแบบอุตสาหกรรมด้วยซ้ำ ในขณะที่ฟาร์มที่เลี้ยงแบบเปิด ต่างก็ไม่เข้าร่วมขอฉลากรับรองที่ว่าเพราะไม่เห็นด้วยกับการรับรองดังกล่าว  ฮานส์ ครีก ผู้อำนวยการของ SAFE บอกว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่ผู้บริโภคควรมองหาคือตรารับรอง “Free range” หรือ “Free farmed” (ฟาร์มเปิด) มากกว่า  อืม ... จะบริโภคอย่างรับผิดชอบนี่มันไม่ง่ายเลยจริงๆ ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------     คันต่อไปครับ แค่สาวนางหนึ่งถูกปฏิเสธโดยแท็กซี่ 6 คันซ้อน ก็เป็นข่าวลงหนังสือพิมพ์ที่นิวซีแลนด์ซะแล้ว (ไม่อยากจะคุยว่าที่บ้านเรา แค่นี้จิ๊บๆ) วิคตอเรีย กริฟฟิน ออกจากงานเลี้ยงที่บริษัทในย่านเวียดักท์ เมื่อตอนเที่ยงคืนครึ่งของคืนวันเสาร์ที่ 18 ธันวาคมปีที่แล้ว เพื่อมาเรียกรถแท็กซี่ที่จอดรออยู่มากมาย แต่เธอกลับถูกปฏิเสธถึง 6 ครั้งติดต่อกันเพียงเพราะบ้านเธออยู่ใกล้เกินไป คนขับรายหนึ่งบอกให้เธอเดินกลับบ้านเอง มีรายหนึ่งรีบล็อคประตูไม่ให้เธอเปิดเข้าไปเลยด้วยซ้ำ   ค่าโดยสาร(ถ้าเธอได้ขึ้น) จะประมาณ 15 เหรียญ หรือ 350 บาท แต่ค่าปรับซึ่งคนขับแท็กซี่จะต้องจ่าย เพราะทำผิดกฎหมายฐานปฏิเสธผู้โดยสารนั้นอยู่ที่ 400 เหรียญ หรือประมาณ 9,000 บาท เวียดักท์ เป็นหนึ่งในย่านที่มีสถิติการปฏิเสธผู้โดยสารมากที่สุด ทิม เรดดิช ประธานสหพันธ์แท็กซี่นิวซีแลนด์ประเมินว่าอย่างน้อยๆ ต้องมีการถูกปฏิเสธไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง รวมๆ แล้วก็น่าจะหลายพันครั้งต่อปี (แต่มีคนร้องเรียนเข้ามาจริงๆ เพียงปีละ 20 ครั้งเท่านั้น) ตามกฎหมายนิวซีแลนด์ คนขับแท็กซี่สามารถปฏิเสธผู้โดยสารได้เมื่อรู้สึกว่าจะเกิดความไม่ปลอดภัยต่อตนเอง เมื่อผู้โดยสารอยู่ภายใต้อิทธิพลของสิ่งมึนเมาหรือสิ่งเสพติด เมื่อผู้โดยสารพกพาน้ำหรืออาหารมาด้วย เมื่อผู้โดยสารส่งเสียงดังหรือมีพฤติกรรมรุนแรงหรือนำสัตว์ซึ่งไม่ใช่สัตว์นำทางมาด้วย เมื่อมีผู้โดยสารจำนวนมากเกินไป นอกจากนี้ยังให้ปฏิเสธได้ในกรณีที่ผู้โดยสารมีเงินไม่พอจ่าย (คนขับสามารถถามล่วงหน้าได้)  เอาเป็นว่ายังไงก็ไม่อนุญาตให้ปฏิเสธเพราะระยะทางสั้นเกินไป --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เข็มขัดมาช้า คราวนี้มาดูการขนส่งในฮ่องกงกันบ้าง ซึ่งขณะนี้รถที่มีเป็นประเด็นมากที่สุดเห็นจะเป็นมินิบัส ซึ่งมีผู้ใช้บริการถึง 1.85 ล้านคนต่อวันในบรรดารถทั้งหมดที่วิ่งอยู่บนท้องถนนนั้นมีมินิบัสที่จดทะเบียนอยู่ร้อยละ 0.76 แต่กลับมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุสูงถึงร้อยละ 5 และจากสถิติเมื่อสองปีที่แล้ว ร้อยละ 9 ของจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นผู้โดยสารรถมินิบัสนั่นเอง  หลังจากเกิดอุบัติเหตุสองครั้งที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 รายเมื่อปี 2009 กรมการขนส่งฮ่องกงประกาศบังคับให้มินิบัสทุกคันติดตั้ง “กล่องดำ” และอุปกรณ์จำกัดความเร็ว  นอกจากนี้กรมฯ ยังประกาศให้รถมินิบัสที่ขึ้นทะเบียนหลัง 1 สิงหาคม 2004 ทุกคันติดเข็มขัดนิรภัย และมีการคาดการณ์ไว้ว่า ร้อยละ 60 ของรถมินิบัสจะมีเข็มขัดนิรภัยภายในปี 2008 แต่จนถึงกันยายนปีที่แล้วมีรถมินิบัสที่มีเข็มขัดนิรภัยเพียงร้อยละ 55 เท่านั้น  ผู้ตรวจการประเมินว่าภายในปี 2015 จะยังมีรถที่ไม่ปลอดภัยวิ่งอยู่บนท้องถนนอีกไม่ต่ำกว่า 1,000 คัน และคงต้องใช้เวลา 8 ปี จึงจะทำให้รถทุกคันมีเข็มขัดนิรภัยได้   แอพหน้าขาวเชื่อหรือไม่ อินเดียเป็นตลาด “ครีมหน้าขาว” ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และเช่นเดียวกับบ้านเรา ความอยากขาวนั้นไม่เข้าใครออกใคร ที่นั่นตลาดครีมไวท์เทนนิ่งสำหรับผู้ชายเติบโตถึงร้อยละ 25 (สูงกว่าตลาดครีมสำหรับผู้หญิงร้อยละ10) ถึงขนาดเฟสบุ๊คที่อินเดียเขามีแอพพลิเคชั่นให้หนุ่มๆได้อัพโหลดรูปถ่ายหน้าตัวเองเข้าไป แล้วลองลากเส้นผ่าน เพื่อให้รู้กันไปว่าจะหล่อขึ้นได้สักเท่าไรเมื่อหน้าขาวขึ้น (ด้วยเทคโนโลยีดิจิตัล) แอพพลิเคชั่นดังกล่าวออกมาพร้อมกับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดและไวท์เทนนิ่งสำหรับผู้ชายยี่ห้อวาสลีนนั่นเอง   โดยมีดาราบอลลีวูดชื่อดัง ชาฮิด คาปูร์ เป็นพรีเซ็นเตอร์แสดงให้เห็นครึ่งหน้าที่ผิวคล้ำและผิวขาวขึ้นด้วยแอพฯ ดังกล่าว ทำให้เกิดกระแสมากมายในเฟสบุ๊ค ทางวาสลีน บอกว่าไม่ใช่เรื่องของการกีดกันสีผิว มันก็เหมือนๆ   กับที่ผู้คนในอเมริกาเหนือหรือยุโรปอยากมีผิวสีแทนนั่นแหละ แต่นักธุรกิจชาวอินเดียที่เปิดแฟนเพจในเฟสบุ๊คเพื่อรณรงค์ต่อต้านเทรนด์ “ต้องขาว” ในอินเดีย บอกว่าการที่คนตะวันตกไม่มีผิวสีแทน ไม่ได้เป็นเหตุให้พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติ มันเป็นแค่ทางเลือกหนึ่งเท่านั้น ในขณะที่ในอินเดียนั้นผู้คนเชื่อว่าการมีผิวขาวหมายถึงการประสบความสำเร็จในชีวิต ข่าวแถมข้อมูลมาว่า จากการสำรวจที่ทำกับผู้คนจำนวน 12,000 คน ในปี 2009 โดยเว็บหาคู่ออนไลน์ พบว่าสีผิวเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกคู่ของหนุ่มสาวในสามรัฐทางตอนเหนือของอินเดีย ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------   เศรษฐศาสตร์ต้นคริสต์มาส ราคาต้นคริสต์มาสที่เดนมาร์กซึ่งเป็นผู้ส่งออกต้นคริสต์มาสรายใหญ่ที่สุดในยุโรป นาทีนี้อยู่ที่ 160 โครเนอร์ (ประมาณ 850 บาท) ต่อความยาวหนึ่งเมตร เขาบอกว่าราคานี้ขึ้นมาจากปีก่อนร้อยละ 25  สมาคมผู้ปลูกต้นคริสต์มาสแห่งเดนมาร์กบอกว่าที่แพงก็เพราะเขาไม่สามารถประเมินความต้องการของผู้บริโภคล่วงหน้าได้ เพราะเจ้าต้นไม้ประจำเทศกาลนี้ต้องใช้เวลาในการปลูกถึง 9 ปี   อย่างไรก็ดี ข้ออ้างที่ว่านี้ยังไม่สามารถคลายข้อข้องใจของสมาคมผู้บริโภคที่นั่นได้เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว สมาคมฯ ถูกศาลสั่งปรับ 500,000 โครเนอร์ (ประมาณสองล้านหกแสนกว่าบาท) โทษฐานที่ชักชวนให้สมาชิกร่วมกันตั้งราคาขั้นต่ำสำหรับต้นคริสต์มาสในช่วงระหว่างปี 2002 ถึง 2006   ข่าวบอกว่าระหว่างปี 2005 ถึง 2009 ราคาต้นคริสต์มาสเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80 โดยพันธุ์ยอดฮิตที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าได้แก่พันธุ์นอร์ดมันเฟอร์ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------   คูปองสองมาตรฐาน องค์กรผู้บริโภคของเดนมาร์กไม่เห็นด้วยกับการแจกคูปองลดราคาเป็นโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย เพราะมันหมายถึงการจ่ายเงินจำนวนต่างกันสำหรับสินค้า/บริการเดียวกัน  ความจริงแล้วตั้งแต่ปี 1994 เป็นต้นมา ที่เดนมาร์กมีกฎหมายห้ามการแจกคูปองลดราคา เพื่อการันตี “ความเท่าเทียม” เรียกว่าใครบังอาจแจกเป็นอันต้องถูกจับและปรับกันไป   เรื่องการแจกคูปองกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง เมื่อสหภาพยุโรปได้ทำข้อตกลงเมื่อปี 2009 ที่ระบุว่าให้สามารถทำได้ ทั้งนี้ข้อตกลงดังกล่าวก็เขียนไว้ชัดเจนว่าให้แต่ละประเทศถือปฏิบัติตามกฎหมายของตนเองไปจนถึงปี 2013   แต่บรรดาผู้ประกอบการที่นั่นไม่รอช้า รีบใช้ประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าวของสหภาพยุโรปทันที แถมยังบอกว่าลูกค้าส่วนใหญ่พึงพอใจกับคูปองลดราคาที่ว่าอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 171 ขาวอย่างมีสติ!!!

  “เซ็ตราชนิกลูผิวขาวถาวร ขาวจนคนเกลียด”“เซ็ตกลูต้านีออน ขาวลืมกรรมพันธุ์!!!”“ครีมหัวเชื้อตัวขาว ขาวใสขึ้นภายใน 1 สัปดาห์”“ขาวโบ๊ะ ขาวเร่งด่วนใน 1 ชั่วโมง”“โสมโดส ขาวไว ขาวจริง ท้าพิสูจน์ใน 7 วัน ดำแค่ไหนก็ขาวได้”“กลูต้าผีดิบ ขาวไวปรอทแตก”ซื้อครีมหน้าขาวผ่านเฟซบุ๊ค ระวังทุกข์จะตามมาแหม...ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่าข้อความข้างบนคือคำโฆษณาสรรพคุณของเหล่า “ผลิตภัณฑ์เพื่อความขาว” ไม่ว่าจะเป็นครีมทาหน้า กลูต้าพร้อมรับประทาน หรือสบู่ถูปุ๊บขาวปั๊บ ที่ใช้คำได้หวือหวาน่าตกใจ ดูแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ทั้งหมดนี้คำโฆษณาจริงๆ ของผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวที่มีขายอยู่จริง บนโลกออนไลน์ แถมที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียงแค่ส่วนเล็กๆ เท่านั้น ยังมีผลิตภัณฑ์เอาใจคนอยากขาวอีกสารพัดที่ขายเกลื่อนอยู่ตามเว็บไซต์บนโลกออนไลน์ และอีกสารพัดช่องทางผ่านโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ค ไลน์ อินสตาแกรม ยูทูป เพราะพื้นที่เหล่านี้ ไม่ต้องเสียค่าโฆษณา แค่มีสื่อสังคมออนไลน์เป็นหน้าร้านไว้โฆษณาขายสินค้าและติดต่อกับลูกค้าได้โดยตรง แต่ในผลิตภัณฑ์เพื่อความขาวที่วางขายจำนวนมหาศาลหลายร้อยยี่ห้อ โดยเฉพาะที่ยึดพื้นที่สื่อออนไลน์หรือในโซเชียลเน็ตเวิร์ค มีจำนวนไม่น้อยที่เข้าข่าย “สินค้าไม่ปลอดภัย” คนซื้อไปใช้เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ อย่างที่เห็นเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ว่า มีหญิงสาวต้องเสียโฉมจากการใช้ครีมที่ไม่ได้คุณภาพ แม้หน่วยงานของรัฐอย่าง อย. จะพยายามตรวจจับจัดการเชือดพวกผลิตภัณฑ์ผิวขาวอันตรายที่ตั้งใจหลอกลวงผู้บริโภค แต่จับเท่าไหร่ก็ไม่หมดเพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีขายอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่เชื่อลองพิมพ์คำว่า “ครีมหน้าขาว” ในช่องค้นหาของหน้าเฟซบุ๊ค จะเจอกับหน้าเพจขายผลิตภัณฑ์ผิวขาวจำนวนมหาศาล!!!ความคิดเรื่องการดูแลตัวเองนั่นเป็นเรื่องที่ดี แต่หากดูแลผิดวิธีแทนที่ตัวเองจะดูดีหรือมีสุขภาพดีขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้มันอาจกลับกลายเป็นตรงกันข้าม ความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวที่มาพร้อมยี่ห้อที่ไม่คุ้นเคย สารพัดคำโฆษณาสรรพคุณที่ฟังแล้วน่าตกใจมากกว่าน่าเชื่อถือ ข่าวคราวการเฝ้าระวังพร้อมกับคำเตือนจากหน่วยงานรัฐอย่าง อย. ก็มีออกมาเตือนสติคนอยากขาวอยู่เรื่อยๆ แต่ทำไมของที่ดูไม่น่าปลอดภัยแบบนี้จึงยังหาซื้อได้ง่าย ทำไมหลายคนถึงอยากขาวจนมองข้ามความปลอดภัย สังคนไทยเรากำลังละเลยกับปัญหานี้อยู่หรือเปล่า?เหตุผลที่คนกล้าซื้อผลิตภัณฑ์ผิวขาวผ่านโซเชียลมีเดีย-อิทธิพลของโซเชียลมีเดียข้อมูลจากสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) Digital Advertising Association (Thailand) หรือ DAAT  พบว่า ในปี 2014 ประเทศไทยเรามีจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊คสูงถึง 30 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นกลุ่มผู้ใช้งานผ่านมือถือต่อเดือนสูงถึง 28 ล้านคน ขณะที่ YouTube มียอดผู้ใช้งาน 26.25 ล้านคน ส่วนแอพลิเคชั่นแชร์รูปออนไลน์อย่าง Instagram มียอดผู้ใช้งาน 1.7 ล้านคนจากจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊คจำนวนมาก ทำให้เฟซบุ๊คกลายเป็นช่องทางหลักในการขายสินค้าของเราบรรดาแม่ค้า - พ่อค้าขายครีมและผลิตภัณฑ์หน้าขาว เพราะเข้าถึงคนซื้อได้เป็นจำนวนมาก ข้อมูลต่างๆ ส่งต่อกันอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญกลุ่มผู้ใช้เฟซบุ๊คส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่นอายุ 18-24 ปี มากถึง 32% ของผู้ใช้ทั้งหมด ซึ่งสาวๆ ในวัยนี้ถือเป็นกลุ่มเป้าหลายหลักของพ่อค้า - แม่ค้าขายครีมออนไลน์ เพราะสาวๆ ในวัยนี้เป็นวัยที่รักสวยรักงามอย่างที่สุด เมื่อเจอค่านิยมเรื่องว่าต้องขาวถึงจะสวย สาวๆ วัยนี้ก็พร้อมที่จะเกาะกระแสและเชื่อในโฆษณาขายฝัน-เชื่อมั่น + ชื่นชอบ ในตัวดารา นักแสดงชื่อดัง หรือพริตตี้สาวสวยที่มาเป็นพรีเซนเตอร์ขายสินค้ากลยุทธ์หลักอย่างหนึ่งของบรรดาครีมที่ขายอยู่ในโซเชียลมีเดีย คือการนำดาราสาวหรือนางแบบสาวชื่อดังมาเป็นพรีเซนเตอร์ขายครีม เป็นเสมือนการการันตีว่าถ้าใครใช้ครีมนี้รับรองว่าจะขาวสวยใสเหมือนกับดาราสาวที่มาเป็นพรีเซนเตอร์ถ่ายรูปคู่ช่วยขายครีมยี่ห้อนั้นแน่นอน แม้ครีมหรือสินค้าต่างๆ ที่ขายจะไม่ได้มียี่ห้อดังหรือเป็นที่รู้จักมาก่อน แต่พอมีดาราดังมาช่วยขาย ช่วยถือสินค้าถ่ายรูปคู่ สินค้าตัวนั้นก็เหมือนได้รับการรับรองไปในทันที ซึ่งแน่นอนว่าเหล่าดารา - นางแบบถือว่ามีภาษีเรื่องความสวยความขาวอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จูงใจให้ตัดสินใจซื้อครีมยี่ห้อนั้น -เชื่อในรีวิวของลูกค้าคนอื่นๆ ที่เคยใช้สินค้าอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่เป็นอาวุธหลักของการขายครีมผ่านทางโซเชียลมีเดียก็คือ รีวิวจากคนที่เคยใช้สินค้า แม้การใช้ดารา – นางแบบชื่อดังมาช่วยขายสินค้าจะเป็นการใช้คนดังมาช่วยการันตีสินค้าให้ดูน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นแล้ว แต่การมีคนที่อ้างว่าใช้ผลิตภัณฑ์จริง คนธรรมดาๆ ที่ออกตัวว่าเป็นลูกค้าจริงๆ มาช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ มาให้ข้อมูลการันตีว่าครีมที่ซื้อไปใช้แล้วดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ กลายเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้คนที่กำลังคิดอยากจะซื้อครีมยี่ห้อดังกล่าวกล้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ช่วยเป็นเครื่องมือยืนยันว่าสินค้าของพ่อค้า – แม่ค้าเจ้านี้ขายจริง ส่งจริง คนที่เคยใช้ใช้แล้วดีจนต้องบอกต่อ-ราคาถูกกว่าราคาของครีมและสารพัดผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวที่ขายในโซเชียลมีเดียราคาถูกกว่าครีมยี่ห้อดังที่ขายตามเคาน์เตอร์แบรนด์ในห้างสรรพสินค้า ครีมยี่ห้อดังจากต่างประเทศหลายยี่ห้อ ราคาเริ่มที่หลักพัน แต่ครีมหน้าขาวที่ขายในโซเชียลมีราคาตั้งแต่หลักร้อยบาท บางผลิตภัณฑ์อย่างสบู่ผิวขาวราคาแค่หลักสิบเท่านั้น หรือถ้าเป็นกลูต้าแบบแคปซูลราคาอยู่ที่ 2-10 บาทต่อเม็ดเท่านั้น!!! ยิ่งพอขายผ่านเฟซบุ๊ค ซึ่งคนที่ใช้เฟซบุ๊คส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา ซึ่งรายได้ยังไม่สูงนักหรือยังไม่มีรายได้เป็นของตัวเอง เมื่อเจอตัวเลือกที่คิดว่าจะทำให้สวยขาวขึ้นได้ในราคาถูก มีหรือที่หลายคนจะไม่ตกลงปลงใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เมื่อราคามันจูงใจจึงทำให้หลงลืมคิดเรื่องคุณภาพมาตรฐานของสินค้าและเรื่องสำคัญอย่างความปลอดภัยเจอแบบนี้อย่าซื้อ!!!    โฆษณาเกินจริง ตั้งสติแล้วคิดก่อน    ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่า ผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาโดยใช้ถ้อยคำที่สื่อในลักษณะที่ว่า “ขาวเร็ว ขาวไว ขาวใน 3 วัน 7 วัน” มีโอกาสสูงที่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมีส่วนผสมของสารเคมีอันตรายอย่าง ปรอท หรือ สารไฮโดรควิโนน เพราะสารเหล่านี้มีฤทธิ์รุนแรงต่อผิวหน้าและทำลายเม็ดสีในผิวหนัง ซึ่งจริงอยู่ที่ผิวหน้าของคุณอาจจะดูขาวใสขึ้นในการใช้ในช่วงแรก แต่หลังจากใช้ไปสักพักผิวหน้าจะเริ่มเกิดปัญหาเริ่มเกิดรอยฝ้า เกิดจุดด่างดำ เป็นสิว เพราะผิวหน้าถูกสารเคมีกัดกร่อนจนผิวบางลง เม็ดสีในชั้นผิวหนังถูกทำลาย ทำให้ผิวหน้าไวต่อแสงแดด สารเคมี และมลพิษต่างๆดารา - พริตตี้ไม่ได้การันตีว่าผลิตภัณฑ์นั้นปลอดภัย    การมีดาราดังหรือพริตตี้หน้าตาดีมาเป็นพรีเซนเตอร์ถ่ายรูปคู่กับสินค้า อาจช่วยกระตุ้นให้คนอยากใช้ผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมากขึ้น เพราะอยากจะขาวสวยเหมือนกับดาราหรือพริตตี้ที่ถ่ายรูปคู่กับสินค้า แต่นั้นก็ไม่ได้การันตีว่าเราใช้ผลิตภัณฑ์นั้นแล้วเราจะสวยขาวดูดีเหมือนกับดาราหรือพริตตี้ที่มาเป็นพรีเซนเตอร์ แถมที่สำคัญดาราและพริตตี้เหล่านั้นอาจจะแค่ “ถ่ายรูปคู่กับสินค้า” เพราะถูกจ้างมาให้ช่วยโปรโมทเท่านั้น ไม่เคยใช้เองจริงๆ แม้แต่ครั้งเดียว นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ผิวขาวที่ขายโดยดาราหรือพริตตี้ก็เคยมีที่ตรวจพบว่าใช้สารเคมีต้องห้ามคนซื้อใช้หน้าพังจนเป็นข่าวฮือฮามาแล้วรีวิวสินค้าคืออาชีพ        การรีวิวสินค้ากลายเป็นอาชีพใหม่ของเหล่าสาวสวย-หนุ่มหล่อ โดยจะรู้จักกันในชื่อ “พริตตี้รีวิว” ซึ่งมีหน้าที่ คือ รีวิว ทอสอบ ทดลองใช้สินค้า บริการหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้วถ่ายภาพคู่กับสินค้า โดยต้องรู้มุมกล้องที่ถ่ายออกมาแล้วทำให้ภาพตัวเองออกมาดูดี ดูสวย ขาว ส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ดูดี ถ้าภาพออกมาสวยโดนใจเจ้าของสินค้าภาพนั้นก็ถูกโพสลงโซเชียลมีเดีย แค่นี้งานก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ค่าจ้างก็จะอยู่ที่หลักพันสำหรับพริตตี้ที่ยังไม่มีชื่อเสียง แต่ถ้าเป็นดารา นางแบบ พริตตี้ที่เป็นที่รู้จัก หรือ “เน็ตไอดอล” ซึ่งหมายถึงคนดังในโลกโซเชียลมีเพื่อนหรือคนกดติดตามระดับแสนคน ค่าจ้างในการช่วยถ่ายรูปคู่กับสินค้าก็อาจจะสูงระดับหลักหมื่นไม่มีฉลาก ไม่มีชื่อ - ที่อยู่ผู้ผลิต ไม่มีเลข อย.    ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวที่ขายกระหน่ำอยู่ตามเฟซบุ๊ค อินสตาแกรม หลายยี่ห้อบรรยายสรรพคุณสารพัด ใช้ดาราหรือพริตตี้ขาวสวยมาช่วยอวยสินค้า มีการโชว์คอนเม้นจากคนที่อ้างว่าเคยใช้แล้วดีอย่างงั้นดีอย่างงี้ แต่พอไปดูที่ตัวผลิตภัณฑ์กับไม่มีข้อมูลสำคัญอย่าง ชื่อ - ที่อยู่ผู้ผลิต เลขที่ อย. ก็ไม่มี ฉลากก็ถูกต้องครบถ้วน แบบนี้ถือว่าเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยสูง ถ้าหากซื้อไปใช้แล้วเกิดหน้าพังขึ้นมาจะไปเรียกร้องขอความรับผิดชอบจากใครก็ลำบาก เพราะเราไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นใครเป็นผู้ผลิตแค่ซื้อออนไลน์ก็เสี่ยงแล้วการซื้อสินค้าออนไลน์ในปัจจุบัน ถือว่ายังมีความเสี่ยง ด้วยว่าผู้ซื้อไม่ได้เห็นสินค้าของจริง เห็นเพียงแค่รูปเท่านั้น ยิ่งเป็นพวกเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขภาพย่อมมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการต้องสูญเงินเพราะได้ของไม่มีคุณภาพแล้ว ยังเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดกับสุขภาพ หน้าพัง เสียโฉม เมื่อเกิดปัญหาการตรวจสอบย้อนหลังก็เป็นเรื่องยาก ก่อนซื้อสินค้าออนไลน์จึงควรตรวจสอบข้อมูลให้รอบด้านครบถ้วน เลือกซื้อสินค้ากับผู้ขายที่น่าไว้วางใจตรวจสอบได้ไม่ยาก ถ้าอยากจะทำธุรกิจขายครีมหน้าขาว     เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ครีมหน้าขาวขายระเบิดไปทั่วโซเชียลมีเดีย ก็คือการที่ธุรกิจนี้สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยากด้วยเงินทุนเริ่มต้นไม่กี่พันบาท!!! แถมไม่ต้องคิดสูตรครีมเอง ไม่ต้องรู้เรื่องสารเคมี ไม่ต้องจ้างห้องแล็ป ไม่ต้องมีหน้าร้าน“ครีมกิโล” คือคำศัพท์ที่พ่อค้า – แม่ค้าขายครีมคุ้นเคยดี เพราะพ่อค้า – แม่ค้าครีมหลายเจ้าใช้ครีมสำเร็จรูปพร้อมใช้ที่ขายกันเป็นกิโลๆ มาแบ่งขายใส่บรรจุภัณฑ์ใหม่ แล้วก็ทำการติดฉลากคิดยี่ห้อของตัวเอง นำมาขายต่อให้กับคนอยากขาว ครีมกิโลหาซื้อได้ง่าย ลองค้นหาข้อมูลได้ใน google จะเจอทั้งเว็บไซต์และเฟซบุ๊คที่ขายครีมกิโลจำนวนมาก ใน กทม.จะมีแหล่งขายครีมกิโลและอีกสารพัดเครื่องสำอางอยู่ที่ตลาดใหม่ ดอนเมือง ใครที่คิดอยากจะเป็นพ่อค้า – แม่ค้าขายครีมไปที่นี่ที่เดียวก็พร้อมเปิดร้านได้ทันทีครีมกิโลที่ขายกันอยู่ส่วนใหญ่มีราคาตั้งแต่หลักร้อยบาทไปจนถึงหลักหลายพันบาทต่อ 1 กิโลกรัม โดยทางร้านบอกว่าคุณภาพและวัตถุดิบในการผลิตครีมต่างกันราคาจึงมีความแตกต่างกัน ร้านขายครีมกิโลบางเจ้าก็มีแบบที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์มาให้แล้วเรียบร้อย ออกแบบแพ็คเก็จให้สวยงาม บางเจ้าก็มีเลขที่จดแจ้ง อย. ให้ด้วย แต่หลายเจ้าก็ไม่มีเลข อย. ให้ ซึ่งถึงแม้ทางร้านจะมีเลข อย. ให้ แต่ถ้าใครไปซื้อมาแล้วนำมาบรรจุใหม่ตั้งชื่อยี่ห้อใหม่ ก็ถือว่าเป็นสินค้าอีกตัวจะใช้เลข อย. เดียวกันไม่ได้***ตรวจสอบ – สืบค้นข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทั้งเครื่องสำอางและอาหารได้ที่ www.fda.moph.go.th***อันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้ครีมไม่ได้มาตรฐานหากใครที่ได้ติดตามข่าวสารทั้งทางหน้าหนังสือพิมพ์ ทีวี และโดยเฉพาะในสังคมออนไลน์ น่าจะได้เห็นข่าวคราวที่นำเสนอถึงอันตรายที่เกิดจากการใช้ครีมหน้าขาวผ่านหูผ่านตาอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ทั้งเรื่องคำเตือนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง อย. ที่มักจะมีการประกาศชื่อผลิตภัณฑ์ที่ตรวจสอบแล้วว่าเป็นอันตรายห้ามใช้เด็ดขาด อย่างครั้งหนึ่งที่ อย. เคยประกาศรายชื่อออกมามากถึง 390 ผลิตภัณฑ์!!! เนื่องจากพบการใส่สารอันตรายต้องหามอย่าง สารปรอท ไฮโดรควิโนน และกรดเรทิโนอิก นอกจากนี้ยังมีข่าวการตรวจจับครีมที่ถูกลักลอบนำเข้ามาขายและที่ว่างจำหน่ายแล้วแต่ไม่มีการขอเลขที่ อย. หรือจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่น่าสนใจคือข่าวหรืออาจจะเป็นในรูปแบบของการตั้งกระทู้จำพวกที่เป็นการบอกเล่าประสบการณ์ผ่านเว็บสังคมออนไลน์ชื่อดังอย่าง pantip.com ที่เป็นตัวอย่างของคนที่ได้รับความเสียหายจากการใช้ครีมแล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง หรือที่เดี๋ยวนี้เขานิยมใช้คำว่า “แฉ” ว่าได้ไปใช้ครีมยี่ห้ออะไรมา แล้วหน้าไม่ได้สวยไม่ได้ขาวอย่างคำโฆษณา แถมหน้ากลับเสียโฉม หน้าพัง ต้องเสียเงินไปรักษากับโรงพยาบาล ซึ่งคนขายหรือคนผลิตครีมก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบใดๆในเว็บไซต์ pantip.com จะมีห้องที่รวบรวมกระทู้ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องสำอางที่ชื่อว่า “ห้องโต๊ะเครื่องแป้ง” ซึ่งนอกจากจะมีรีวิวว่าครีมยี่ห้อไหนใช้แล้วขาว ใช้แล้วสวย ยังมีกระทู้ที่รีวิวว่าครีมที่เข้าข่ายสินค้าอันตราย มีคนเคยใช้แล้วหน้าพัง หรือมีการสุ่มตรวจแล้วเจอสารอันตราย เป็นการนำข้อมูลและประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังนิตยสารฉลาดซื้อของเราก็เคยนำเสนอผลทดสอบ “สารปรอทในครีมหน้าขาว” พบว่ามีตัวอย่างครีมที่พบสารปรอทปนเปื้อนถึง 10 ผลิตภัณฑ์จาก 47 ผลิตภัณฑ์ (ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 137)สารอันตรายที่มักพบในครีมหน้าขาวกรดทีซีเอกรดทีซีเอ หรือ Trichloroacetic Acid เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรง ปกติจะใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคผิวหนัง เช่น หูด กระ ริ้วรอย จุดด่างดำ ไฝ และติ่งเนื้อเล็กๆ ที่ขึ้นตามลำคอ ซึ่งต้องใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเท่านั้น อันตรายของกรดทีซีเอ คือ มีฤทธิ์กัดทำลายผิวหนังถึงชั้นหนังแท้ ทำให้เกิดรอยแผลเป็นบนใบหน้า ซึ่งหากผิวหน้าได้รับอันตรายจากกรดทีซีเอแล้วจะไม่มีวิธีรักษาให้หายกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีกสารปรอทสารปรอท เป็นสารที่ถูกประกาศให้ห้ามใช้เด็ดขาดในเครื่องสำอาง เพราะปรอทเป็นสารที่ทำปฏิกิริยารุนแรงกับผิว ด้วยฤทธิ์ที่ยับยั้งการสร้างเม็ดสีในผิวหนัง ทำให้สีผิวจางลง ส่งผลให้ผิวจะมีความไวต่อแสงมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นผื่นแดงง่าย แม้จะทำให้ผิวจะดูขาวใสขึ้นในช่วงแรก แต่จากนั้นผิวจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ำ นอกจากนี้ด้วยความที่สารปรอทเป็นโลหะหนักหากได้รับสารปรอทเป็นเวลานาน ร่างกายจะดูดซึมสารปรอทเข้ากระแสเลือด ส่งผลเสียต่อไต ตับ และระบบการไหลเสียนของเลือด ทำลายระบบการทำงานของสมอง นอกจากนี้สารปรอทยังส่งผลร้ายจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ด้วยสารไฮโดรควิโนนไฮโดควิโนนมีฤทธิ์ในการยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง แต่มีผลข้างเคียงคือทำให้เกิดอาการระคายเคือง ไฮโดรควิโนนจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อภายในผิวหนังทำให้เกิดเป็นฝ้าถาวรรักษาไม่หาย กฎหมายบังคับให้ไฮโดรควิโนนเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางกรดเรทิโนอิกเป็นสารที่ช่วยให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังและหลุดลอกได้ จึงช่วยให้สิวเสี้ยนและผิวหนังที่หยาบกร้านหลุดลอกออกง่ายขึ้น ความเป็นพิษของกรดเรนิโนอิก คือ ทำให้หน้าแดง และแสบร้อนรุนแรง เกิดการระคายเคือง อักเสบ แพ้แสงแดดหรือแสงไฟได้ง่ายสารสเตียรอยด์ ฤทธิ์ของสเตียรอยด์ส่งผลร

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point