ฉบับที่ 260 ความเคลื่อนไหวเดือนตุลาคม 2565

ยกเลิกโทษ-ปรับ กรณีไม่สวมหน้ากากอนามัย         หลังจากประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 8/2565 นายอนุทินชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยว่า ประธานประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบร่างระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบความผิด กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 34 (6) เกี่ยวกับให้อำนาจจังหวัดสำหรับการออกคำสั่งการสวมหน้ากากอนามัย เมื่อยกเลิกพระราชกำหนด พ.ร.ก. บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ระเบียบจะคงค้างอยู่ จึงให้ยกเลิกค่าปรับสำหรับคนไม่สวมหน้ากากอนามัย และรัฐมนตรีว่ากระทรวงสาธารณสุขจะลงนามประกาศในราชกิจจาฯ ต่อไป ผ่อนรถคิดดอกเบี้ย "ลดต้น-ลดดอก”         17 ตุลาคม 2565 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศเรื่องให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2565 โดยให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ของปี พ.ศ.2561 และมีผลบังคับใช้หลังลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา หลังพ้นประกาศ 90 วัน โดยให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ จักรยานยนต์ต้องคิดอัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ลักษณะแบบลดต้นลดดอก โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่เหลือของแต่ละงวด         นอกจากนี้กรณีที่ยังไม่มีกฎหมายอัตราดอกเบี้ยสำหรับเช่าซื้อรถยนต์ จักรยานยนต์ไว้เฉพาะ ให้กำหนดดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อตามกลไกตลาด คำนวณดังนี้ กรณีรถยนต์ใหม่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10 ต่อปี , กรณีรถยนต์ใช้แล้วต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี , กรณีรถจักรยานยนต์ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 23 ต่อปี อย่างไรก็ตาม อาจมีการปรับเปลี่ยนให้ลดลง-เพิ่มขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจประเทศทุก 3 ปี ห้ามใช้มือถือตอนขับรถฝ่าฝืนปรับสูงสุด 1,000 บาท         เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2565 อาศัยอำนาจตามมาตรา 43(9)  แห่งราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 เรื่องการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ ผู้ขับสามารถใช้โทรศัพท์ได้ต่อเมื่อทำตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 1.ให้ใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อไร้สายหรืออุปกรณ์เสริมสำหรับสนทนา ระบบกระจายเสียงจากเครื่องโทรศัพท์โดยผู้ขับขี่ไม่ต้องจับโทรศัพท์ 2. ใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับยึดหรือติดโทรศัพท์ไว้กับส่วนหน้าของตัวรถทุกครั้ง โดยต้องไม่บดบังทัศนวิสัยหรือเสียความสามารถขณะขับรถ กรณีผู้ขับขี่มีความจำเป็นต้องถือ จับ สัมผัสเพื่อใช้งานให้ผู้ขับหยุดหรือจอดรถในสถานที่สำหรับจอดรถอย่างปลอดภัยก่อนใช้โทรศัพท์ดังกล่าว หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท อย. พบสารเอทิลีนออกไซด์ในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป         กรณีที่มีข่าวสำนักงานอาหารของสิงคโปร์เรียกคืน “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ตราหมี่ซีดาพ” ที่ผลิตในประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากพบปนเปื้อนสารเอิลีนออกไซด์ จำนวน 4 รายการ  จากกรณีดังกล่าว อย.ไทย ได้มีการตรวจสอบแล้ว “ไม่พบการนำเข้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรุ่นดังกล่าวเข้ามาจำหน่ายในไทย” แต่ได้ทำการตรวจสอบสถานที่นำเข้า พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรา ซีดาพ จำนวน 8 รายการ ที่ผลิตในไทยมาตรวจสอบหาสารเอทิลีนออกไซด์          จากผลตรวจวิเคราะห์ เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ได้เปิดเผยว่า พบ 2 ตัวอย่างที่มีสารเอทิลีนออกไซด์ คือ หมี่ซีดาพ โคเรียน สไปซี่ ชิคเค่น (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสไก่เผ็ดเกาหลี) ซองสีดำ เลขสารบบอาหาร 10-3-12535-5-0548 รุ่นการผลิตได้แก่ รุ่นวันที่ผลิต 25 NOV 21 วันหมดอายุ 25 NOV 22 และ รุ่นวันที่ผลิต 07 DEC 21 วันหมดอายุ 07 DEC 22  ทั้งนี้ อย.ได้อายัดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวและกำลังพิจารณาการดำเนินคดีกับผู้นำเข้าพร้อมเตรียมขอความร่วมมือเรียกคืนสินค้าทุกชิ้นไม่เอาควบรวม ทรู-ดีแทค         17 ตุลาคม 2565 นางสาวกชนุช แสงแถลง ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมประกาศเจตนารมณ์ ปกป้องสิทธิผู้บริโภค ในฐานะที่เป็นพลเมืองไทยเจ้าของคลื่นความถี่และเป็นเจ้าของภาษีที่จ่ายเงินเดือนให้กับ กรรมการ กสทช. เนื่องจากอีกฝ่ายทำตัวไม่น่าไว้วางใจ ปัจจุบันยังไม่พบความชัดเจนต่อการทำหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน แต่กลับใช้เล่ห์ทางกฎหมายปัดความรับผิดชอบ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงขอเรียกร้องต่อ กสทช. ว่าผู้บริโภคเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ซึ่งเป็นสมบัติสาธารณะของประเทศ เงินทุกบาททุกสตางค์จากการทำธุรกิจภายใต้การใช้คลื่นความถี่ มีมูลค่าสามารถนำมาพัฒนาประเทศใช้เป็นสวัสดิการให้ประชาชน และเชื่อว่า กสทช.มีข้อมูลมากมาย เกี่ยวกับการควบรวบ ทรู-ดีแทค แต่ไม่สิ่งที่ไม่เชื่อคือ ใจ วิธีคิดและจิตสำนึกของบอร์ดกสทช.ที่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน         ล่าสุด คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีการลงมติด้วยคะแนนเสียง 3:2:1 ต่อกรณีควบรวมทรู ดีแทค โดยมีการสรุปว่าคณะกรรมการได้ตัดสินว่า กสทช. มีหน้าที่เพียง “รับทราบ” 3 เสียง ซึ่งชนะกรรมการที่ลงมติว่า “ไม่อนุญาต” ให้ควบรวมที่มีคะแนน 2 เสียง โดยมีหนึ่งคะแนนเสียง “งดออกเสียง”  ไปเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565

อ่านเพิ่มเติม >

ฉลาดซื้อ จับมือนักวิชาการร่วมยกระดับมาตรฐานหน้ากากอนามัยสำหรับเด็กอายุ 5-12 ปี

        วันนี้ ( วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ) นางสาวทัศนีย์ แน่นอุดร รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค และโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส.ทดสอบหน้ากากอนามัยที่ระบุบนฉลากสำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 5-12 ปี เพื่อเป็นข้อมูลผลักดันการออกมาตรฐานหน้ากากอนามัยที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของเด็ก เพื่อให้สอดคล้องกับในปี พ.ศ. 2565 ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำลังผลักดันให้ สินค้าหน้ากากอนามัยเป็นมาตรฐานบังคับ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค         ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า จากการระบาดของไวรัสโควิด 19 ตั้งแต่ปี 2562 ทำให้การสวมหน้ากากอนามัยกลายเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นวิถีชีวิตปกติสำหรับทั้งผู้ใหญ่และเด็กเล็ก ปัจจุบันผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยจึงมีจำหน่ายทั่วไป หาซื้อได้สะดวกทุกที่ซึ่งสำหรับหน้ากากอนามัยสำหรับเด็ก ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการใช้งานได้อย่างปลอดภัย และด้วยสภาพร่างกายของเด็กที่ต่างจากผู้ใหญ่ หน้ากากอนามัยที่ใช้สำหรับเด็กจึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงผลต่างของค่าความดันอากาศ เพื่อให้ระบบการหายใจของเด็กยังคล่องตัว นอกเหนือจากประสิทธิภาพในการกรองฝุ่น คณะทำงานได้สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าทั้งสิ้น 20 ตัวอย่าง เมื่อประมาณกลางเดือน กุมภาพันธ์ 2565 โดยทดสอบคุณสมบัติ 2 รายการที่กำหนดใน มอก.2424-2562 และ มอก. 2480-2562 ได้แก่ 1) ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาดเล็ก 2) ทดสอบผลต่างความดันของอากาศ (ค่าการหายใจได้สะดวก) โดยมีผลการทดสอบ ดังนี้        1. ผลการทดสอบประสิทธิภาพหน้ากากอนามัยประเภทใช้งานด้านการแพทย์ทั่วไป และการแพทย์ศัลยกรรมตามเกณฑ์ มอก. 2424-2562 สุ่มทดสอบจำนวน 3 ยี่ห้อ พบประสิทธิภาพการกรองอนุภาคทุกยี่ห้อ ต่ำกว่าเกณฑ์ แต่ผลต่างความดันอยู่ในเกณฑ์ของ มอก. ทุกยี่ห้อ        2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพหน้ากากอนามัยประเภทใช้งานทั่วไปตามเกณฑ์ มอก. 2424-2562 สุ่มทดสอบในกลุ่มนี้จำนวน 11 ยี่ห้อ พบว่า ยี่ห้อ Unicharm มีประสิทธิภาพการกรองอนุภาค ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ในส่วนยี่ห้อ ที่มีค่า ผลต่างความดันเกินกว่าค่ามาตรฐาน ได้แก่ ยี่ห้อ Glowy Star ยี่ห้อ Lotus’s ยี่ห้อ KSG ยี่ห้อ Iris OYAMA และ ยี่ห้อ Linkcare        3. ผลการทดสอบประสิทธิภาพหน้ากากป้องกันระบบทางเดินหายใจ ประเภท FFP2 KN95 KF94 และ N95 ตาม มอก. 2480-2562 สุ่มทดสอบจำนวน 6 ยี่ห้อ พบว่าทุกยี่ห้อมีประสิทธิภาพการกรองอนุภาค เป็นไปตามเกณฑ์ สำหรับยี่ห้อที่มีค่าผลต่างความดันเกินกว่าค่ามาตรฐาน ได้แก่ ยี่ห้อ SUMMIT PEREON ยี่ห้อ Minicare ยี่ห้อ Kuwin และ ยี่ห้อ Kangju (ดูตารางตามเอกสารแนบ ตารางที่ 3 ผลการทดสอบประสิทธิภาพหน้ากากอนามัยประเภทใช้งานทั่วไป )        4. การตรวจสอบ เครื่องหมาย มอก. บนผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยสำหรับเด็กที่จำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม ยกเว้นยี่ห้อ Welcare         ดร.ไพบูลย์ ยังได้เสนอว่า ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานสำหรับหน้ากากอนามัยเด็กโดยเฉพาะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในเรื่องการอ่านค่าประสิทธิภาพการกรองอนุภาค กับ ค่าผลต่างความดัน เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกใช้หน้ากากอนามัยได้อย่างเหมาะสม         อ.ชัยภวิศร์ ธวัชชัยนันท์ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า เด็กเป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าสูง มาตรฐานที่มีอาจดูแลเด็กได้ไม่เพียงพอ และปัจจุบันยังปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ เด็กมีภาวะภูมิแพ้มากขึ้น หน้ากากอนามัยสำหรับเด็กจะช่วยป้องกันได้หากมาร่วมมือกันจัดทำแนวทางเพื่อยกระดับมาตรฐานหน้ากากอนามัยเด็กให้ชัดเจน         “หน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียว ปัจจุบันคนที่ขาดแคลนอาจจะไม่ได้ใช้ครั้งเดียว ใช้แล้วทิ้ง จึงยิ่งมีความเสี่ยง และเราจะให้ทางเลือกแก่สังคมอย่างไร เราปลูกฝังเด็ก สร้างพฤติกรรมการสวมหน้ากากอนามัยที่เหมาะสม แต่ถ้าใส่แล้วหายใจลำบาก เราใส่แล้วเราก็จะถอดๆ แล้วมันจะไม่เกิดประโยชน์”         รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจุบันการทำหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ประสานความร่วมมือกันเพียงพอ การทำงานหน้าที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม( สมอ.) ยังเป็นการกำกับติดตามผู้ผลิตแค่บางส่วนแต่เมื่อสินค้าวางสู่ตลาด และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยายังกำกับติดตามไม่ทั่วถึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของสินค้าที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐาน การยกระดับคุณภาพหน้ากากอนามัยให้มีมาตรฐานจึงต้องเป็นความร่วมมือกัน         “เรื่องหน้ากากอนามัยเด็ก ค่าความต่างแรงดัน (ระดับการหายใจใด้ง่าย) เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณา เพราะสรีระของเด็กมีความแตกต่าง และมาตรฐานเฉพาะสำหรับเด็กยังไม่มีความชัดเจน ระหว่างที่ยังไม่มีการออกมาตรฐานโดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาควรจะต้องเข้ามากำกับดูแลฉลากให้มีความชัดเจนที่ควรระบุทั้งค่าประสิทธิภาพการกรองอนุภาค และค่าความต่างแรงดัน เพราะปัจจุบัน หน้ากากอนามัยเด็กยังมีการใช้ข้อความที่ส่อให้เข้าใจผิด”         ดร.นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท นักวิชาการด้านสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “การควบคุมมาตรฐานสินค้าชนิดนี้เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญและร่วมกันผลักดัน เพราะนอกจากภัยจากโรคระบาดแล้วยังมีปัญหามลพิษทางอากาศโดยเฉพาะฝุ่นพิษ PM2.5 ที่เด็ก ๆ โดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัวเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการปกป้อง การทำให้เด็กทุกคนในทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงหน้ากากป้องกันที่มีคุณภาพ จึงเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน เป็นทั้งเรื่องความเป็นธรรมและความมั่นคงของชาติที่จะมีคนในอนาคตที่มีสุขภาพดี”        1. สนับสนุนให้สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม(สมอ.) เร่งออกมาตรฐานบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียว ซึ่งครอบคลุมถึงหน้ากากสำหรับเด็กเล็กด้วยและควรมีบทกำหนดโทษ ในกรณีที่ผู้ประกอบการทำการฝ่าฝืนและละเมิดสิทธิผู้บริโภค        2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ควรดำเนินการเชิงรุกในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า ให้ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเปราะบาง คือ กลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุ 5-12 ปี        3. สภาองค์กรของผู้บริโภคควรเป็นหน่วยงานเฝ้าระวังการถูกละเมิดสิทธิของผู้บริโภค โดยให้ตรวจสอบและรายงานประจำปีต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อการถูกละเมิดสิทธิของผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าหน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียวสำหรับเด็ก        4. เจ้าของแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ ควรมีมาตรการสนับสนุนการเสนอขายหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียว เฉพาะสินค้าที่ได้มาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม (มอก.) เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเนื่องจากหน้ากากอนามัยเป็นสินค้าที่มีผลกระทบกับสุขภาพและสวัสดิภาพของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มเด็กเล็ก        5. เสนอให้มีความร่วมมือในการทำงานระหว่าง สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม(สมอ.) กับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ที่ปัจจุบันยังมีช่องว่างในการทำหน้าที่เฝ้าระวังสินค้าของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง โดยให้เรื่องการเฝ้าระวังมาตรฐานหน้ากากอนามัยเด็กเป็น โมเดลการทำงานร่วมกัน เรื่อง post marketing ที่ทั้ง อย. สมอ. สคบ. และ สภาองค์กรของผู้บริโภค มาเป็นคณะทำงานร่วมกัน        6. เสนอ อย.กำกับดูแลเรื่องฉลากให้ระบุไม่เกินความเป็นจริง หากระบุตัวผลิตภัณฑ์ว่าเป็นหน้ากากอนามัยสำหรับเด็ก ต้องมีการระบุคุณสมบัติเฉพาะสำหรับเด็ก (การระบุค่าทดสอบ : ประสิทธิภาพการกรองอนุภาค กับ ค่าผลต่างความดัน Delta P)         สำหรับรายละเอียดผลการทดสอบหน้ากากอนามัยเด็ก อ่านต่อได้ที่ https://www.chaladsue.com/article/4023

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 254 ผลทดสอบหน้ากากอนามัยสำหรับเด็ก (อายุระหว่าง 5-12 ปี)

        ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ทำให้การสวมหน้ากากอนามัยกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทั่วไปและเด็กเล็ก เพื่อช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค อีกทั้งยังมีส่วนช่วยป้องกันการติดเชื้อได้บางส่วน อย่างไรก็ตามปัจจุบันหน้ากากอนามัยสำหรับผู้ใหญ่มีมาตรฐานกำกับ  สำหรับหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียว (มอก. 2424-2562) และหน้ากากแบบ N 95 (มอก.2480-2562) แต่สำหรับหน้ากากอนามัยเด็กนั้น มาตรฐานที่กำหนดอาจยังไม่เหมาะสมและเพียงพอต่อการใช้งานได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากเด็กเล็กมีสภาพร่างกายต่างจากผู้ใหญ่ สำหรับคุณสมบัติของหน้ากากอนามัยที่ใช้สำหรับเด็กนั้น อาจจำเป็นต้องพิจารณาถึงผลต่างของค่าความดันอากาศ นอกเหนือจากประสิทธิภาพในการกรองฝุ่น         และในปี พ.ศ. 2565 นี้ทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำลังพิจารณาผลักดันให้ สินค้าหน้ากากอนามัยเป็นมาตรฐานบังคับ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. จึงร่วมกันทดสอบหน้ากากอนามัยที่ระบุบนฉลากว่าสำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 5-12 ปี เพื่อเป็นข้อมูลในการผลักดันเพื่อออกมาตรฐานหน้ากากอนามัยที่หมาะสมกับสภาพร่างกายของเด็กด้วยเช่นกัน         คณะทำงานได้เก็บตัวอย่างสินค้าทั้งสิ้น 20 ตัวอย่าง โดยทดสอบสองรายการ ที่กำหนดใน มอก.2424-2562 และ มอก. 2480-2562 ได้แก่        1) ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาดเล็ก (Filter Efficiency)        2) ทดสอบผลต่างความดันของอากาศ (Pressure Difference: DP) ผลการทดสอบ        1.ผลการทดสอบประสิทธิภาพหน้ากากอนามัยประเภทใช้งานด้านการแพทย์ทั่วไป และการแพทย์ศัลยกรรมตามเกณฑ์ มอก. 2424-2562         ผลิตภัณฑ์ที่สำรวจและสุ่มซื้อในกลุ่มนี้ มีจำนวน 3 ยี่ห้อ ผลการทดสอบพบว่า ประสิทธิภาพการกรองอนุภาค พบว่า ทุกยี่ห้อ ต่ำกว่าเกณฑ์ แต่ผลต่างความดันอยู่ในเกณฑ์ของ มอก. ทุกยี่ห้อ (ดูตารางที่ 1)         2.ผลการทดสอบประสิทธิภาพหน้ากากอนามัยประเภทใช้งานทั่วไปตามเกณฑ์ มอก. 2424-2562         ผลิตภัณฑ์ที่สำรวจและสุ่มซื้อในกลุ่มนี้ มีจำนวน 11 ยี่ห้อ สำหรับประสิทธิภาพการกรองอนุภาค พบว่า ยี่ห้อ Unicharm ต่ำกว่าเกณฑ์         สำหรับยี่ห้อ ที่มีค่า ผลต่างความดันเกินกว่าค่ามาตรฐาน ได้แก่ ยี่ห้อ Glowy Star ยี่ห้อ Lotus’s ยี่ห้อ KSG ยี่ห้อ Iris OYAMA และ ยี่ห้อ Linkcare (ดูตารางที่ 2)         3.ผลการทดสอบประสิทธิภาพหน้ากากป้องกันระบบทางเดินหายใจ ประเภท FFP2 KN95 KF94 และ N95 ตาม มอก. 2480-2562        ผลิตภัณฑ์ที่สำรวจและสุ่มซื้อในกลุ่มนี้ มีจำนวน 6 ยี่ห้อ สำหรับประสิทธิภาพการกรองอนุภาค พบว่า ทุกยี่ห้อ เป็นไปตามเกณฑ์         สำหรับยี่ห้อที่มีค่าผลต่างความดันเกินกว่าค่ามาตรฐาน ได้แก่ ยี่ห้อ SUMMIT PEREON ยี่ห้อ Minicare ยี่ห้อ Kuwin และ ยี่ห้อ Kangju (ดูตารางที่ 3)         4.เครื่องหมาย มอก. จากการตรวจสอบข้อมูลหน้ากากอนามัยสำหรับเด็กที่จำหน่ายอยู่โดยทั่วไปในท้องตลาด พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม ยกเว้นยี่ห้อ Welcare ที่มีการระบุเครื่องหมายมาตรฐานอยู่บนบรรจุภัณฑ์คำแนะนำการเลือกหน้ากากอนามัยสำหรับเด็ก        ข้อมูลจากทางองค์กรทดสอบสินค้าเพื่อผู้บริโภคแห่งเยอรมนี ได้แนะนำว่า หน้ากากอนามัยสำหรับเด็กนั้น ค่าของผลต่างความดัน ไม่ควรเกิน 50% ของมาตรฐานหน้ากากอนามัยที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่ เนื่องจากระบบการหายใจของเด็กต่างจากผู้ใหญ่ หน้ากากอนามัยที่มีผลต่างความดันมาก อย่างหน้ากากอนามัยชนิด N95 อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กเล็ก ดังนั้นคำแนะนำสำหรับการเลือกซื้อหน้ากากอนามัยให้เด็กคือ        1.ควรเลือกชนิดที่มีค่ากรองอนุภาคเป็นไปตามมาตรฐาน         2.เลือกชนิดที่มีค่าผลต่างความดันต่ำกว่า 50% ของค่ามาตรฐาน         3.ในกรณีที่จำเป็นต้องให้เด็กใช้หน้ากากอนามัยชนิด N 95 ไม่ควรใส่เกิน 1 ชม. และเมื่อเข้าในอาคารควรถอดออกเพื่อพักหายใจ         4.ประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัยจะใช้งานได้ดีเมื่อการสวมใส่หน้ากากนั้นกระชับไปกับรูปหน้าของเด็ก ปัจจุบัน (ข้อมูลถึงเดือนมีนาคม 2565) มีผู้ประกอบการสมัครใจยื่นขอรับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. 2424-2562 หน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียว และได้รับใบอนุญาตแล้ว จำนวน 9 ราย ดังนี้1.บริษัท ทีพีซีเอส จำกัด (มหาชน) แบรนด์  Welcare 2.บริษัท เมดิเชน จำกัด แบรนด์ MedCmask 3.บริษัท เคเอส โกลเด้น จำกัด แบรนด์ SureMask / G Lucky / KSG 4.บริษัท วิชัย เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด แบรนด์ WCE Mask5.บริษัท เอ็น.เอ็น.สกายเทรด จำกัด แบรนด์ HYGUARD6.บริษัท เอส.เจ.อีควิปเมนท์ แอนด์ แคร์ จำกัด แบรนด์ GAMSAI7.บริษัท เบฟเทค จำกัด แบรนด์ BevTech 8.บริษัท เอ็มไนน์ เมดิคอล อีควิปเม้นท์ จำกัด แบรนด์ M9 9.บริษัท เฮลท์เวย์ ซัพพลาย จำกัด แบรนด์ LIVE SEF และมีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. 2480-2562 หน้ากาก N 95 แล้ว จำนวน 1 ราย ดังนี้ 1.บริษัท มารีอา โปรดักส์ จำกัด แบบไม่มีลิ้นระบายอากาศ แบรนด์ MARI-R[1] มาตรฐาน มอก. 2424-2562ขอบคุณภาพประกอบจาก ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยอนุบาลสาธิต ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มมหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 253 ความเคลื่อนไหวเดือนมีนาคม 2565

สังเกตเครื่องหมาย +66 แก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์         นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่หลอกลวงประชาชน โดยให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (IDD) ทั้ง 6 ราย เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงโดยมีมาตรการดังนี้  1. ให้ระงับสายโทรเข้ามาจากต่างประเทศที่มีรูปแบบเบอร์โทรศัพท์บ้านหรือเบอร์โทรศัพท์สั้น 3 หลัก เบอร์โทรศัพท์สั้น 4 หลัก ที่โทรมายังเลขหมายปลายทางของประเทศไทย 2. ให้ระงับสายโทรเข้ามาจากต่างประเทศที่มีรูปแบบเป็นรหัสโทรศัพท์ประจำประเทศที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ยังไม่ได้จัดสรรให้กับประเทศใด 3. ให้ดำเนินการตรวจสอบสายที่โทรเข้ามาจากต่างประเทศที่ผิดกฎหมาย ว่าเลขหมายมีการดัดแปลงหรือไม่ ด้วยระบบ Test Call Generator อย่างต่อเนื่อง 4. กรณีสายที่โทรเข้ามาจากต่างประเทศไม่มีกำหนดเลขหมายต้นทาง ให้เพิ่มเครื่องหมาย +66 นำหน้าเบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้ทราบว่าโทรมาจากต่างประเทศ ทั้งนี้ นายไตรรัตน์ กล่าวต่อว่า มาตรการของ กสทช. นี้เพื่อย้ำให้ผู้ให้บริการระหว่างประเทศดำเนินการ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนแยกแยะได้ว่า สายที่โทรเข้ามาเป็นสายมาจากต่างประเทศจะได้ไม่เผลอรับสายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จับเครื่องเครื่องสำอางปลอม 18 ยี่ห้อดัง         กองบังคับการปราบปรามกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมเกี่ยวกับคุ้มครองผู้บริโภค ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แถลงผลการทลายแหล่งจำหน่ายเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ดังปลอมหลายยี่ห้อ ซึ่งภายในบ้านได้ดัดแปลงเป็นโกดังสินค้าย่านสวนหลวง กรุงเทพมหานคร โดยสามารถจับกุมหญิงชาวเวียดนามผู้ดูแลบ้านได้ และจากการตรวจสอบบ้านได้ยึดของกลางเป็นเครื่องสำอางยี่ห้อดัง 18 รายการ จาก 7 บริษัท มูลค่า 70 ล้านบาท ต่อมาทางหญิงชาวเวียดนามได้สารภาพว่า แฟนหนุ่มคนไทยได้ร่วมมือกับนายทุนชาวเวียดนาม รับจ้างดูแลสินค้าและบรรจุสินค้าส่งให้ลูกค้า ส่วนสินค้าคือสินค้าปลอมที่ผลิตมาจากประเทศจีน และมีการปลอมเว็บไซต์เครื่องสำอางต่างๆ อีกด้วย ด้าน นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการ อย. ได้เปิดเผยว่า ต้นเหตุในการจับกุมมาจากผู้บริโภคซื้อสินค้าเหล่านี้ผ่านช่องทางออนไลน์ และมีราคาถูกกว่าปกติ 50-70% มีโปรโมชัน 1 แถม 1 เมื่อได้รับกลับพบว่าเป็นสินค้า ด้อยคุณภาพ เมื่อใช้เกิดอาการผิดปกติไปจากเดิม เช่น อาการแพ้ ผื่นขึ้นและหน้าพัง จึงขอให้ผู้บริโภคตรวจสอบให้รอบคอบก่อนซื้อผลิตภัณฑ์ ใส่หน้ากากอนามัยซ้ำ เสี่ยงอันตรายจากแบคทีเรีย         จากกรณีข้อมูลเผยแพร่เรื่องการใส่หน้ากากอนามัยซ้ำๆ มีโอกาสเสียชีวิต เนื่องจากแบคทีเรียสะสมนั้น เพจ Anti-Fake News Center Thailand ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีนี้ว่า ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวเป็นข้อมูลจริง ซึ่งหน้ากากอนามัยเป็นแบบใช้แล้วทิ้ง ห้ามซักแล้วนำมาใช้ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัยจากผู้ป่วย หน้ากากอนามัยจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องวินิจฉัยโรค ฯลฯ เพราะถือว่าเป็นขยะที่ติดเชื้อ ต้องนำไปกำจัดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.2545  และหน้ากากอนามัยที่ติดเชื้อหากจัดการไม่ถูกต้องจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเพราะเป็นแหล่งเชื้อก่อโรค โดยเฉพาะเชื้อโรคที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อราบางชนิด ปรสิตบางชนิด ที่จะเจริญเติบโตและก่อโรคให้แก่ผู้ที่ไปสัมผัส ดังนั้น ควรเปลี่ยนทุก 6-8 ชั่วโมง หรือเมื่อหน้ากากเปียกชื้น สกปรก เมื่อออกจากสถานที่เสี่ยง/แออัด และควรทิ้งหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้องทุกครั้ง  พาณิชย์ไม่อนุญาตขึ้นค่าส่งสินค้าออนไลน์         หลังกระทรวงพาณิชย์ได้รับเรื่องร้องเรียนว่าแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ ได้ปรับราคาค่าขนส่ง นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้แถลงข่าว ยืนยันว่ายังไม่มีการอนุญาตให้ผู้ประกอบการ หรือผู้ให้บริการปรับขึ้นค่าขนส่งได้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน เนื่องจากแพลตฟอร์มออนไลน์มีส่วนในวิถีชีวิตของประชาชนมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงได้กำชับให้แสดงราคาสินค้าและบริการให้ชัดเจนตามกฎหมาย ซึ่งการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกจากค่าสินค้าหรือบริการต้องแสดงค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน หากไม่มีการแสดงราคาสินค้าและบริการให้ชัดเจน มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท นอกจากนี้ หากพบเห็นการกระทำความผิดหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านราคาหรือปริมาณสินค้า แจ้งได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ  มพบ.และเครือข่ายภาคประชาชน ยื่นหนังสือค้านเร่งต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว         เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายภาคประชาชน ศูนย์สิทธิผู้บริโภค และชมรมคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อคัดค้านจากกรณีที่กระทรวงมหาดไทย พยายามผลักดันประเด็นเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวกับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ บริษัทในเครือ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) เข้าสู่วาระการพิจารณาของการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเร่งด่วน ทั้งที่สัมปทานฉบับดังกล่าวจะหมดอายุในปี 2572 หรืออีก 7 ปี โดยไม่ได้ศึกษาหรือทบทวนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนผู้ใช้บริการ เพราะการต่อสัญญาสัมปทานอาจจะทำให้ประชาชนขาดประโยชน์ไปอีกถึง 37 ปี         การยื่นหนังสือคัดค้านนี้ มีนางอรกัญญา บุณยมหาศาล ผู้อำนวยการส่วนเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มารับหนังสือและแจ้งกับทาง มพบ. และเครือข่ายภาคประชาชนว่า จะเรียนท่านผู้ว่าฯ และรีบดำเนินการตามที่ร้องขอ  ทั้งนี้ ทาง มพบ. เครือข่ายภาคประชาชน ยังขอทราบรายละเอียดสัญญาระหว่าง กทม. กับ BTSC  ตลอดจนขอเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาเพื่อเป็นข้อมูลเผยแพร่ให้ผู้บริโภคได้รับทราบตามสิทธิอันพึงมีตามกฎหมายด้วย

อ่านเพิ่มเติม >


ฉบับที่ 239 ผดทดสอบหน้ากากอนามัย จากองค์กรผู้บริโภคต่างประเทศ

        ในยุคที่คนทั้งโลกต้อง “สวมหน้ากาก” เข้าหากัน จึงเป็นธรรมดาที่คนจะตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของมัน กรณีของ “หน้ากากอนามัยเกรดการแพทย์” นั้นไม่น่าเป็นห่วง เพราะกว่าจะเรียกตัวเองเช่นนั้นได้ ก็ต้องผ่านมาตรฐานหลายประการ         แต่สภาผู้บริโภคแห่งฮ่องกง (ผู้จัดพิมพ์ CHOICE นิตยสารเพื่อผู้บริโภค) ก็ไม่ยอมปล่อยผ่าน เขาทดสอบหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ จำนวน 30 ยี่ห้อ (ผลิตในฮ่องกง 18 ยี่ห้อ  ผลิตในจีน 8 ยี่ห้อ ที่เหลือผลิตจากไต้หวัน และเวียดนาม) สนนราคาชิ้นละ 2-9 เหรียญฮ่องกง (ประมาณ 8-35 บาท)          เขาพบว่า 29 รุ่นมีประสิทธิภาพการกรองแบคทีเรียและอนุภาคทั่วไปได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 จึงถือว่าวางใจได้พอสมควร ในภาพรวมหลายยี่ห้อทำได้ดี แต่ไม่ดีเท่าที่เคลม ราคาแพงกว่าไม่ได้แปลว่าดีกว่า และหลายยี่ห้อไม่น่าซื้อเพราะสายคล้องคุณภาพไม่ดี        แต่ที่ต้องระวังคือยี่ห้อ Perfetta Disposable High Filtration Face Mask ที่ผลิตในเวียดนาม (ราคาเฉลี่ยชิ้นละ 8 บาท) ที่ฉลากอ้างว่ามีประสิทธิภาพกันอนุภาคทั่วไปได้ 99.99% แต่เขาทดสอบพบว่าทำได้เพียง 86.64% เท่านั้น แถมสายคล้องหูก็ยืดย้วยง่ายด้วย ติดตามตารางแสดงผลการทดสอบแบบเต็มๆ ได้ที่        https://www.consumer.org.hk/ws_en/news/specials/2020/coronavirus-prevention-collection.html          ไปดูการทดสอบ “หน้ากากผ้า” ชนิดใช้ซ้ำ ซึ่งป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ดี โดยไม่เป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อมกันบ้าง         องค์กรผู้บริโภคของอังกฤษหรือนิตยสาร Which? ซึ่งได้ทดสอบหน้ากากผ้าชนิดใช้ซ้ำได้ รูปแบบต่างๆ จำนวน 15 ตัวอย่างที่หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไปในช่วงเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา        Which? ทดสอบและให้คะแนนในด้านต่างๆ ได้แก่ ประสิทธิภาพในการป้องกันแบคทีเรีย การหายใจได้สะดวก ความรู้สึกสบายในการสวมใส่ และความทนทานต่อการซักโดยไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป           หน้ากากผ้าสองยี่ห้อที่ได้คะแนนมากที่สุดคือ NEQI และ Bags of Ethics ที่ขายในราคาชิ้นละ 5 ปอนด์ (ประมาณ 200 บาท) แต่ถ้าใครอยากประหยัดเงินอาจเลือก Step Ahead ที่คะแนนน้อยกว่าเล็กน้อยแต่ราคาถูกกว่ามาก (2 ปอนด์ หรือประมาณ 80 บาท)         ในภาพรวม มีหน้ากากผ้าที่สามารถป้องกันละอองฝอยได้ถึงร้อยละ 99 แต่ก็มีบางรุ่นที่กันได้เพียงร้อยละ 7 เท่านั้น         Which? ให้คำแนะนำ “ไม่ควรซื้อ” กับหน้ากากผ้า 3 ยี่ห้อ ได้แก่ Termin8 / Etiquette / และ White Patterned สองยี่ห้อแรกซึ่งวางขายในร้านขายยา โต้ว่าเขาไม่ได้ทำผิดอะไร กฎหมายไม่ได้กำหนดเกณฑ์แบบที่ Which? ทดสอบ ส่วนยี่ห้อสุดท้ายที่จำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต ASDA นั้น ทางห้างเรียกเก็บออกจากชั้นไปแล้ว ข้อค้นพบจากการทดสอบหน้ากากผ้า-  การป้องกันจะดีขึ้นตามจำนวนชั้นของผ้า ใส่ฟิลเตอร์ได้ยิ่งดี (แต่ฟิลเตอร์ก็เป็นขยะอีก) หน้ากากผ้าที่ไม่ควรซื้อใช้คือหน้ากากผ้าโพลีเอสเตอร์ที่มีชั้นเดียว-  หน้ากากที่ดีต้องมีสมดุลระหว่างประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อกระจายและการระบายอากาศที่ดี ไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดความชื้นทำให้ประสิทธิภาพลดลง และเราอาจเอามือไปขยับบ่อยๆ หรือไม่ก็รำคาญจนไม่อยากใส่ต่อ-  หน้ากากผ้าแบบทำเองก็ใช้ได้ดี การทดสอบพบว่าหน้ากากผ้าที่ตัดเย็บตามแพทเทิร์นที่รัฐบาลอังกฤษแชร์ออนไลน์ สามารถกรองละอองได้ร้อยละ 73 และเมื่อผ่านการซัก 5 ครั้ง กลับสามารถกรองได้ถึงร้อยละ 81 ด้วย! แต่อาจมีปัญหาเรื่องการสวมแล้วอึดอัดไม่สบาย-  การให้คำแนะนำในการใช้บนฉลาก (ทั้งในการใช้งานและการซักทำความสะอาด) ยังทำได้ไม่ดี มีถึง 6 เจ้าที่ไม่ระบุว่า “ไม่ใช่อุปกรณ์ทางการแพทย์” และมี 7 เจ้าไม่แจ้งวิธีการใช้อย่างปลอดภัย            องค์กรผู้บริโภคอื่นๆ ที่ทดสอบหน้ากากผ้า ได้แก่ Forbrugerradet Taenk ของเดนมาร์ก ที่ทดสอบทั้งหน้ากากผ้าและหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ แล้วพบว่ามีประสิทธิภาพในการกรองไม่ต่างกันนัก  ในขณะที่ UFC-Que Choisir ของฝรั่งเศส ทดสอบหน้ากากที่ทำจากผ้าหลากชนิด เขาพบว่าผ้าฝ้ายชนิดที่ใช้ทำเสื้อยืด หรือแม้แต่ทิชชูคลิเน็กซ์ ก็ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการกรองเชื้อโรคเหมือนกัน ทางด้าน Altroconsumo ของอิตาลี ก็ทดสอบหน้ากากผ้า และพบว่ามันสามารถกรองละอองฝอยได้ระหว่างร้อยละ 80-90 แตกต่างกันตรงที่บางรุ่นใส่แล้วหายใจสะดวก บางรุ่นสวมแล้วอึดอัด เช่นเดียวกับ Deco Proteste ของโปรตุเกส

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 234 สิวและผื่นแพ้ที่มาจากการสวมหน้ากากอนามัย

        เมื่อหน้ากากอนามัยกลายเป็นของจำเป็นที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน สิ่งที่กลายมาเป็นเรื่องกวนใจอาจไม่ใช่แค่รู้สึกอึดอัด  แต่มันคือ อาการผื่นแพ้หน้ากากและบางคนเกิดปัญหาสิวขึ้นมาอย่างมิอาจเลี่ยง เรามาหาวิธีรับมือกันเถอะ         การสวมหน้ากากตลอดวันและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดผื่นหรือตุ่มแดง มีอาการคันบริเวณที่สวมหน้ากาก​ หรือบริเวณใบหูได้ แบบนี้คืออาการผื่นแพ้ ถ้ารุนแรงถึงขั้นมีตุ่มน้ำ น้ำเหลืองซึมรีบพบแพทย์ทันที ในรายที่อาการเบาๆ แค่ผื่นแดง คันยิบๆ  อาจต้องเปลี่ยนหน้ากากอนามัย เลือกประเภทและขนาดที่เหมาะสม และสำคัญต้องรักษาความสะอาด อย่าประหยัดเกินไป หน้ากากอนามัยราคาลดลงแล้ว ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง ก็ควรเป็นครั้งเดียวทิ้ง ชนิดผ้าซักได้ ต้องหมั่นทำความสะอาด        การระคายเคืองหรือแพ้ สาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากการเสียดสี​ การสวมใส่ที่แน่นเกินไป เพราะขนาดหน้ากากไม่เหมาะกับใบหน้า หรือสายคล้องตึงเกินไปทำให้บริเวณใบหูถูกเสียดสี ตลอดจนความอับชื้นจากเหงื่อ ครีมและเครื่องสำอางที่ทาบนใบหน้า การแพ้สารที่เป็นส่วนประกอบของหน้ากาก​ เช่น กาวผ้า สีย้อมผ้า พลาสติก​ ยาง ดังนั้นต้องทดลองหาให้พบหน้ากากที่เหมาะกับตนเอง          สิวจากการสวมหน้ากาก        สาเหตุของการเกิดสิวเมื่อใช้หน้ากากอนามัยพบได้บ่อยสองลักษณะ คือ การเสียดสีของหน้ากากกับผิวหน้า ซึ่งอาจรบกวนการผลัดเซลล์ผิว บริเวณที่ถูกเสียดสีจึงปรากฎสิว และอีกสาเหตุที่พบบ่อย คือ ความอบอ้าวที่เกิดจากการใส่หน้ากากทำให้น้ำมันถูกขับจากผิวมากขึ้น เมื่อรวมกับเครื่องสำอางหรือครีมที่เคลือบผิวหน้าอาจก่อให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนจนกลายเป็นสิว          วิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาสิวจากการใส่หน้ากากอนามัย         1.ควรงดแต่งหน้าในช่วงที่สิวเห่อ เพื่อลดปัญหาการอุดตัน ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เจลแต้มสิวที่ช่วยให้สิวยุบไว อาจเลือกมาใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า อ่านฉลากและคู่มือการใช้ให้ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนจากการแพ้สารในเจล         2.หากสิวหายแล้วควรเลือกเครื่องสำอางที่เนื้อเบาๆ (ถ้าเป็นได้ก็งดแต่งหน้าสักพักสำหรับคนที่เป็นสิวง่าย)         3.รักษาความสะอาดของผิว เมื่อกลับถึงบ้านควรรีบล้างหน้า         4.ลดเวลาการสวมใส่หน้ากากลง สวมเฉพาะเมื่อจำเป็นหรืออยู่ในสถานที่สาธารณะ         5.เปลี่ยนหน้ากากให้บ่อย อย่าใช้ซ้ำ กรณีหน้ากากผ้าซักใช้ใหม่ทุกวัน 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 232 กระแสต่างแดน

ดาวหลอกคุณ        การทดลองโดย which? นิตยสารคุ้มครองผู้บริโภคของอังกฤษพบว่า ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเลือกสินค้ารุ่นที่ "ไม่ควรซื้อ" มากขึ้นเมื่อได้เห็นรีวิวสวยหรู ประกอบจำนวน "ดาว" ที่มากเกินจริง และการเป็น "สินค้าโปรโมท" ของเว็บ        ผู้บริโภค 10,000 คนได้รับโจทย์ให้เลือกซื้อ หูฟัง กล้องติดหน้ารถ หรือเครื่องดูดฝุ่นไร้สายอย่างใดอย่างหนึ่ง (สถิติระบุว่าสามอย่างนี้เป็นสินค้าที่มี “เฟครีวิว” มากที่สุด) จากเว็บ “อเมซอน” ที่นิตยสารทำขึ้นมาเอง เว็บดังกล่าวนำเสนอสินค้าประเภทละ 5 รุ่น ซึ่ง which? เลือกมาแล้วให้มีทั้ง น่าซื้อ (1) พอทน (3)  และไม่ควรซื้อ (1)         จากผู้บริโภคที่ถูกแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม แยกตามข้อมูลที่ได้รับ เขาพบว่ากลุ่มที่เห็นดาวและรีวิวเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะกดซื้อสินค้ารุ่นที่ “ไม่ควรซื้อ" มากเป็นอันดับสอง รองจากกลุ่มที่ได้ข้อมูลสินค้าพร้อมเห็นดาวระยิบระยับ รีวิวอวยสุดๆ และการโปรโมทโดยแพลตฟอร์มสวิสวิถีใหม่        นอกจากการเว้นระยะห่าง การสวมหน้ากากอนามัย และค่าธรรมเนียมโควิด-19 ที่ร้านอาหารจะเรียกเก็บจากลูกค้าหัวละ 2 ฟรังก์ (ประมาณ 65 บาท) แล้ว คนสวิตเซอร์แลนด์จะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเรื่องการลงทุนทั้งภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในประเทศด้วย         ความลำบากในการจัดหาสินค้า/ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากประเทศอื่นในช่วงของการระบาดทำให้ทั้งรัฐบาลและประชาชนชาวสวิสตระหนักและเห็นตรงกันว่าต่อไปนี้จะต้องมีนโยบายพึ่งตนเอง         นอกจากราคาสินค้าในสวิตเซอร์แลนด์จะแพงสุดๆ เพราะต้องนำเข้า (คนที่อยู่ตามชายแดนนิยมขับรถข้ามไปซื้อในออสเตรีย อิตาลี เยอรมนี และฝรั่งเศส) คนสวิสยังต้องปวดใจที่มีเงินแต่ไม่สามารถซื้อหาสินค้าจำเป็นมาใช้ได้ เพราะประเทศอื่นๆ ต่างก็ปิดชายแดนหรือเก็บสต็อกใว้ใช้เอง         การสำรวจความเห็นพบว่าร้อยละ 94 ของประชากรอยากให้อุตสาหกรรมยากลับมามีฐานการผลิตในประเทศ ร้อยละ 90 บอกว่าบริษัทเหล่านั้นควรมีสต็อกยา เวชภัณฑ์ ถุงมือ หน้ากากอนามัย หรือแม้แต่เครื่องช่วยหายใจไว้สำหรับคนสวิสด้วยขั้นตอนฝ่าวิกฤติ        โอ้คแลนด์กำลังจะเผชิญกับปัญหาภัยแล้ง ปริมาณน้ำในเขื่อน 9 แห่งที่หล่อเลี้ยงเมืองนี้ลดน้อยลงทุกทีเนื่องจากปริมาณฝนลดลงไปกว่าร้อยละ 50 ตั้งแต่พฤศจิกายนปีที่แล้ว หากฝนยังไม่ตกในฤดูใบไม้ผลิโอ้คแลนด์จะมีน้ำใช้เพียงวันละ 200 ล้านลิตร         พวกเขาจึงเตรียมใช้มาตรการเดียวกับที่นิวซีแลนด์ใช้รับมือกับวิกฤติโควิด-19 นั่นคือการกำหนดแนวปฏิบัติที่แบ่งออกเป็นระยะ แผนประหยัดน้ำแบบ 4 เฟส ได้แก่          เฟสแรก (เริ่มเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม) ให้ทุกครัวเรือนงดการใช้สายยางหรือเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง และสมาชิกในครัวเรือนอาบน้ำฝักบัวได้คนละไม่เกิน 4 นาที โดยรวมจำกัดการใช้น้ำไม่เกินวันละ 410 ลิตร         เฟสที่สอง เพิ่มการประหยัดน้ำให้ได้วันละ 20 ลิตร และธุรกิจ/โรงงานต่างๆ ต้องลดการใช้น้ำลงร้อยละ 10         เฟสสาม ประหยัดน้ำให้ได้วันละ 30 ลิตร/คน ธุรกิจ/โรงงานลดการใช้น้ำลงร้อยละ 15           เฟสสี่ ประหยัดน้ำให้ได้วันละ 40 ลิตร/คน ธุรกิจ/โรงงานลดการใช้น้ำลงร้อยละ 30เบรกเบบี้บูม         หน่วยงานด้านประชากรและการวางแผนครอบครัวของอินโดนีเซีย ซึ่งมีหน้าที่แจกจ่ายยาคุมกำเนิดให้กับคู่สมรส ระบุว่ามีผู้มารับบริการน้อยลงร้อยละ 10 หรือประมาณ 2 – 3 ล้านคนในช่วงการระบาดของไวรัสและเขาคาดการณ์ว่าร้อยละ 15 ของคนกลุ่มนี้จะตั้งครรภ์         นั่นหมายความว่าจะมีจำนวนสตรีตั้งครรภ์เพิ่มจากที่คาดไว้ก่อนหน้านี้อีก 300,000 ถึง 450,000 คนและทารกเหล่านี้จะออกมาดูโลกในช่วงที่ยังไม่มีวัคซีนมารับมือกับการระบาด        รัฐบาลอินโดนีเซียจึงได้แต่ขอร้องให้ครอบครัวงดการตั้งครรภ์ในช่วงล็อกดาวน์ แต่คำขอนี้อาจมาช้าเกินไป เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาสื่อท้องถิ่นรายงานว่าเมืองทาสิกมาลายา บนเกาะชวา มีอัตราการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 105        แต่อีกรายงานหนึ่งบอกว่าปัญหาอาจไม่รุนแรงอย่างที่คิด เพราะผู้หญิงส่วนหนึ่งเลือกไปรับยาคุมจากหน่วยงานเอกชนเนื่องจากไม่มีทะเบียนสมรสเป็นหลักฐานในการรับยาฟรีจากรัฐบาลเธอเปลี่ยนไป         เรื่องปวดหัวของธุรกิจหลังการมาเยือนของโควิด-19 คือพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ... ในทางที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมสักเท่าไร         สมาคมผู้ค้าปลีกของอังกฤษยืนยันว่าผู้บริโภคใช้จ่ายน้อยลงหลังช่วงล็อกดาวน์ เลือกของถูกเป็นหลัก ใช้จ่ายเฉพาะของจำเป็นและออมเงินมากกว่าเดิม         ที่ประเทศจีน แม้คนจะเดินห้างมากขึ้น ช้อปออนไลน์มากขึ้น (ด้วยคูปองที่ได้รับแจกจากรัฐบาล) แต่ยอดขายสินค้าฟุ่มเฟือยที่เป็นความหวังช่วยดึงการเติบโตของการใช้จ่ายในครัวเรือนกลับลดลง         ในอเมริกาบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเฮอร์ชีย์และคอลเกต ก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าผู้บริโภคสนใจแต่ตัวเลือกราคาถูก ร้านสินค้าราคาประหยัดมีลูกค้าเพิ่มขึ้นและคนอเมริกันยังเลือกออมถึงร้อยละ 33 ของรายได้ เช่นเดียวกับคนยุโรปที่เพิ่มอัตราการออมจากร้อยละ 13 เป็นร้อยละ 19         รัฐบาลแต่ละประเทศจึงต้องหาทางผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ลดดอกเบี้ยเงินฝากและอัดยาแรงช่วยกู้เศรษฐกิจนั่นเอง 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 229 ความล้มเหลวของการกระจายหน้ากากอนามัย

        คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ที่มี รมต. พาณิชย์เป็นประธาน ประกาศห้ามส่งออกหน้ากากอนามัยเกินกว่า 500 ชิ้น โดย มีมติเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 แต่ประกาศจริงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563        ตามมาตรา 24 ของ พ.ร.บ.ราคาสินค้าและบริการ 2542 ระบุไว้ว่า ประกาศ กกร. มีผลเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ความล่าช้าที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาที่ถูกตั้งคำถามว่า ล่าช้าหรือขัดข้องจากเหตุใด หรือเป็นความบกพร่อง ความอ่อนหัดในการบริหารราชการ หรือเอื้อประโยชน์ให้กับใครหรือไม่        โฆษกกรมศุลกากร ให้ข่าวว่าเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ มีการส่งออกมากถึง 330 ตัน และมีการนำเข้า 145 ตัน หลังแถลงข่าวมีการแก้ข่าวทันทีในวันนั้นว่า อ้างว่า เป็นหน้ากากอนามัยหลายประเภท พร้อมทั้งวันรุ่งขึ้นอดีตอธิบดีกรมการค้าภายใน ไปดำเนินการฟ้องคดีกับโฆษกกรมศุลกากร         จนบัดนี้ยังไม่ทราบชัดเจนว่า ประเทศไทยมีกำลังการผลิตหน้ากากอนามัยเท่าใด เพราะตัวเลขที่แต่ละท่านให้ข้อมูลไม่ตรงกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พูดถึงตัวเลข 100 ล้านชิ้นต่อเดือน เมื่อ 30 มกราคม 2563 อดีตอธิบดีกรมการค้าภายในจำนวน 1.2 ล้านชิ้นต่อวัน หรือ 36 ล้านชิ้นต่อเดือน  ขณะที่ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า 2.3 ล้านชิ้นต่อวัน หรือประมาณ 70 ล้านชิ้นต่อเดือน เมื่อ 9 มีนาคม และ 30 มีนาคม ตามลำดับ         การกระจายจำนวน 1.2 ล้านชิ้น จัดสรรให้องค์การเภสัชกรรม ส่งต่อให้โรงพยาบาล 7 แสนชิ้นต่อวัน และจัดการโดยร้านธงฟ้า 5 แสนชิ้นต่อวัน เพื่อแจกจ่ายผ่านร้านค้า ร้านขายยา ร้านสะดวกซื้อ และปลัดกระทรวงพาณิชย์ได้แถลงยกเลิกการดำเนินการโดยธงฟ้า วันที่ 20 มีนาคม 2563 จนบัดนี้ประชาชนยังไม่ทราบว่ากระจายหน้ากากอนามัยอย่างไร โรงพยาบาลจำนวนมากยังขอรับบริจาคหน้ากากอนามัย ทั้งที่ถูกสั่งห้ามให้ข่าว หน้ากากอนามัยออนไลน์ยังราคาแพง แถมบางครั้งยังมีโกงซื้อแล้วไม่ได้ของไม่คืนเงิน         สถิติการจับกุมดำเนินคดีผู้กระทำความผิดกรณีหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ และแอลกอฮอล์ ในภาพรวม มีการจับกุมดำเนินคดีไปแล้วทั้งสิ้น 241 ราย แบ่งเป็นการจับกุมในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 120 ราย และในต่างจังหวัด 121 ราย แต่จากการสำรวจของคนซื้อ ยังพบราคาแพง ทุกคนต่างกว้านซื้อเพื่อบริจาค ทำให้กระบวนการกักตุน ราคาแพงไม่หมดไป ทั้งที่บทลงโทษมีไม่น้อยเลย หากพบว่ามีการกักตุนสินค้าและฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรมจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ         ที่สำคัญหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ กลายเป็นสินค้าขาดแคลน จำหน่ายราคาแพงโดยไม่สามารถป้องกันหรือแก้ปัญหาได้จริงหรือ??         สิ่งที่ประชาชนอยากเห็น คือความโปร่งใส ประชาชนตรวจสอบข้อมูลได้ ประเทศมีกำลังการผลิตเท่าใด กระจายให้หน่วยบริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลเป็นลำดับแรก เหลือแจกจ่ายประชาชน โดยสามารถนำบัตรประชาชนรับได้จากร้านขายยา หรือร้านสะดวกซื้อ ตามสิทธิในรัฐธรรมนูญที่รัฐมีหน้าที่ในการป้องกันโรคโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ยุติการจำหน่ายในออนไลน์และทุกช่องทาง ไม่ใช่ปล่อยให้ทุนใหญ่ทุนเล็กทำมาหากินกับสินค้าเหล่านี้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 230 มันมาแล้วกับโควิด 19

        สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดในหลายประเทศ ก่อให้เกิดความตระหนกและตื่นตัว ผู้บริโภคต่างแสวงหาวิธีการ หรืออุปกรณ์ต่างๆ มาป้องกันตนเองและครอบครัว หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ น้ำยาทำความสะอาดเพื่อฆ่าเชื้อโรค ขาดแคลนเป็นระลอกๆ        เมื่อเข้าตาจน ผู้บริโภคหลายรายที่อ่อนไหวต่อสถานการณ์นี้ จึงแสวงหาทางเลือกอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ป้องกันตัว เช่น มีการนำน้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ใช้ล้างแผลมาใช้ล้างมือแทนแอลกอฮอล์ หรือนำสุราขาวมาใช้แทนแอลกอฮอล์ล้างแผล ซึ่งความจริงแล้วแอลกอฮอล์ที่ใช้ฆ่าเชื้อได้ดีที่สุดต้องมีความเข้มข้น 70% หากน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ประสิทธิภาพจะลดลง        นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ผลิตบางรายถือโอกาสนำผลิตภัณฑ์แปลกๆ มาขายผู้บริโภค จนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกมาเตือนผู้บริโภคไม่ให้หลงเชื่อแผ่นป้ายหรืออุปกรณ์ห้อยคอต่างๆ (เช่น ปากกา พัดลม) ที่จำหน่ายในสื่อออนไลน์ โดยอวดอ้างสรรพคุณว่าสามารถปล่อยสารบางอย่างออกมา เพื่อช่วยกรองอากาศ ป้องกันและยับยั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียในอากาศได้ สามารถใช้แทนหน้ากากอนามัยได้ ซึ่งความจริงผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าสามารถฆ่าเชื้อในอากาศได้นั้น จะจัดเป็นวัตถุอันตรายที่ใช้ตามบ้านเรือน ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จะต้องมาขอขึ้นทะเบียนและขออนุญาตนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายในประเทศกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อน และต้องผ่านการประเมินด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยก่อนด้วย จึงจะสามารถจำหน่ายได้ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีผลิตภัณฑ์เหล่านี้ชนิดใด มาขออนุญาตกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเล         หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีการเผยแพร่ทางออนไลน์อีก เป็นการเผยแพร่บทสวดมนต์อ้างว่า ปัดเป่าขับไล่ไวรัสได้ ในจังหวัดสมุทรสงครามเอง ก็มีผู้บริโภคมาเล่าให้ฟังว่า มีคนนำเหรียญหรือยันต์มาชักชวนให้ตนซื้อ เพื่อใช้ป้องกันโรคได้เช่นกัน          ดังนั้นขอย้ำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไวรัสและเชื้อโรคต่างๆ คือ         1. กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ : รับประทานอาหารปรุงร้อนจนสุก ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกัน         2. ใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตนเอง เมื่อต้องไปอยู่ในที่ชุมชน หรือที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก มีผู้คนหนาแน่น         3. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้มีภูมิต้านทานโรค         วัตถุประหลาดใดๆ ไม่อาจช่วยให้รอดจากไวรัสได้ อย่าไปหลงเชื่อโดยเด็ดขาด

อ่านเพิ่มเติม >

หน้ากากป้องกัน (Face shield) แบบของม.นิวยอร์ค ทำได้ภายใน 1 นาที

หน้ากากป้องกัน (Face shield) แบบของม.นิวยอร์ค ทำได้ภายใน 1 นาทีเวอร์ชั่นนี้มีข้อดีคือ1. ใช้วัสดุอย่างเดียวคือ พลาสติกใส2. ไม่ต้องติดแถบกาวหรือใช้ปืนกาว3. ไม่ใส่ฟองน้ำ จึงทำความสะอาดง่าย ล้างน้ำสบู่แล้วนำกลับมาใช้ได้        หน้ากากป้องกันใบหน้าเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญสำหรับผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วย COVID-19 เอกสารนี้บอกวิธีทำหน้ากากพลาสติกใสแบบปกปิดใบหน้าของผู้สวมใส่ โดยใช้ควบคู่กับ N95 และหน้ากากอนามัย สามารถป้องกันบุคลากรจากการสัมผัสกับละอองที่มีไวรัสจากผู้ป่วยเมื่อพวกเขาไอหรือจาม มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (NYU) ได้พัฒนาการออกแบบหน้ากากป้องกันใบหน้า (face shield) เพื่อตอบสนองความต้องการอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) ของบุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลก หน้ากากป้องกันใบหน้าแบบอื่นใช้การพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 30-60 นาทีในการพิมพ์ แต่เวอร์ชั่นนี้ใช้แค่พลาสติกใสยืดหยุ่นสองชิ้นและแถบยางยืด สามารถประกอบได้ภายใน 1 นาที ซึ่งโรงงานที่มีอุปกรณ์สำหรับการผลิตสินค้าแบบแบนๆ เช่นที่เจาะรู เครื่องตัดเลเซอร์ สามารถนำไปผลิตแบบล็อตใหญ่ได้ เวอร์ชั่นนี้ออกแบบออกร่วมกับแพทย์ ทีมของ NYU ได้เผยแพร่วิธีทำแบบโอเพนซอร์ซ เปิดให้ทุกคนนำแบบนี้ไปใช้ได้ มีคำถามเพิ่มเติมติดต่อผ่านทาง covid19.taskforce@nyu.eduดาวน์โหลดแบบตัดและวิธีทำ https://open-face-website.now.sh/instructions#downloadแบบตัดหน้ากาก https://bit.ly/shieldcutfileแบบตัดแถบคาดศีรษะ https://bit.ly/3agdvEPวัสดุ 1. แผ่นพลาสติกใส PET หนา 0.25 มม หรือวัสดุที่มีความยืดหยุ่น (เช่นโพลีคาร์บอเนต, PETA, PETG, ไวนิล)        ·        ส่วนโล่กันใบหน้า ขนาดประมาณ 31.75 x 26 ซม 1 แผ่น        ·        แถบคาดศีรษะ ขนาดประมาณ 27.3 x 2.5 ซม 1 แผ่น2. สายยางยืด กว้าง 1-1.5 ซม ยาว 40 ซม 1 เส้น3. แผ่นโฟม หนา 1 ซม ขนาด 2.5 x 25 ซม (ถ้าจะใช่แผ่นโฟมเสริมก็ได้ แต่จะทำความสะอาดยากกว่า) หน้ากากพลาสติกใสแบบปกปิดใบหน้าของผู้สวมใส่ โดยใช้ควบคู่กับ N95 และหน้ากากอนามัยไม่ใส่ฟองน้ำ จึงทำความสะอาดง่าย ล้างน้ำสบู่แล้วนำกลับมาใช้ได้ อ้างอิง Retrieved and translate by Jittiporn: 30/03/2020 – 7.00NYU makes face shield design for healthcare workers that can be built in under a minute available to allDarrell Etherington @etherington / 12:40 am +07 • March 28, 2020https://techcrunch.com/2020/03/27/nyu-makes-face-shield-design-for-healthcare-workers-that-can-be-built-in-under-a-minute-available-to-all/https://open-face-website.now.sh/instructions#download

อ่านเพิ่มเติม >