ฉบับที่ 199 มาตรการเพื่อลดความเสี่ยงจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากอุปกรณ์การสื่อสาร

การใช้มือถือ สมาร์ตโฟน และแทบเบล็ต ซึ่งเป็นอุปกรณ์การสื่อสารของผู้คนในยุคนี้ แม้จะทำให้มีความสะดวกสบาย และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมก็ตาม แต่ประเด็นเรื่องความเสี่ยงต่อสุขภาพก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และยังหาข้อสรุปทางวิชาการไม่ได้ ในฐานะผู้บริโภคที่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์การสื่อสาร จึงควรมีมาตรการในการลดอัตราการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Specific Adsorption Rate: SAR) เพื่อป้องกันตัวตัวเองจากความเสี่ยงดังกล่าวตรวจสอบค่า SAR จากอุปกรณ์การสื่อสารของเราตามข้อแนะนำจากอียู ควรเลือกซื้อเลือกใช้อุปกรณ์สื่อสารที่มีค่า SAR ไม่เกิน 2 วัตต์ต่อกิโลกรัม (น้ำหนักตัวมนุษย์) กรณีของหน่วยงานภาครัฐเยอรมนีที่กำกับดูแลเรื่องนี้ คือ Bundesamt fÜr Strahlenschutz (The federal office for radiation protection) ได้เผยแพร่ฐานข้อมูลให้กับประชาชนทั่วไป ได้ทราบถึงค่า SAR ของ อุปกรณ์สื่อสารกว่า 2800 รุ่น ซึ่งเราสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ตามเว็บไซต์ นี้ http://www.bfs.de/SiteGlobals/Forms/Suche/BfS/EN/SARsuche_Formular.htmlนอกจากนี้ มีเพียงมือถือเพียงรุ่นเดียวเท่านั้น ที่ได้รับผลิตภัณฑ์ฉลากฟ้า (Blauer Engel) ที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะมีค่า SAR ต่ำมาก (ยี่ห้อ Fairphone 2)ใช้และพกพาอุปกรณ์สื่อสารเท่าที่จำเป็นหลักการนี้คือ ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์สื่อสารและร่างกายมนุษย์ยิ่งห่างยิ่งมีความเสี่ยงน้อย ถ้าเพิ่มระยะห่างเป็น 2 เท่า อัตราการดูดซับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะลดลงถึง 4 เท่า ดังนั้น ไม่ควรพกพาอุปกรณ์การสื่อสารไว้ในห้องนอน และการใช้งานอุปกรณ์การสื่อสาร ก็ใช้เท่าที่จำเป็น และควรใช้อุปกรณ์สื่อสารบริเวณที่มีสัญญาณดี เพราะจะส่งคลื่นออกมาน้อยกว่าบริเวณที่สัญญาณไม่ดีมาตรการการเฝ้าระวังเป็นเรื่องจำเป็นรูปแสดงผลการวัดค่า SAR ของโทรศัพท์มือถือรุ่นต่างๆ ในปี 2008 ของ องค์กรภาคประชาสังคม เยอรมนี Stiftungwarentestนอกเหนือจากการทำงานด้านเฝ้าระวังของภาครัฐแล้ว ในประเด็นการเฝ้าระวังผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากอุปการณ์สื่อสารของภาคประชาสังคมก็เป็นเรื่องที่จำเป็น กรณีของเยอรมนีที่บทบาทของภาคประชาสังคมที่มีความเข้มแข็งทั้งทางด้านการเมือง ทางวิชาการ และการได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ ได้ตรวจติดตาม การปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของอุปกรณ์การสื่อสารเป็นระยะๆ ตัวอย่างคือ การแสดงผลของค่า SAR ที่ได้จากการทดสอบทั้งการทดสอบที่ออกแบบขึ้นเอง ในปี 2008 ภายใต้การดูแลของนักวิชาการ ได้ทำให้ข้อกังวลของประชาชนในเรื่องนี้ ลดลงไป แต่อย่างไรก็ตามนักวิชาการทางด้านสุขภาพ และภาคประชาสังคม ก็ติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิดและสื่อสารกับสังคมอย่างสม่ำเสมอ(แหล่งข้อมูล: วารสาร Test ฉบับที่ 8/2017)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 141 Viber…สื่อสารทั่วทุกมุมโลก

พื้นที่บนโลกอินเตอร์เน็ตกว้างขวางมากในปัจจุบัน หลายคนได้เปรียบเปรยไว้ว่า อินเตอร์เน็ตช่วยย่อโลกให้แคบขึ้น  ไม่ว่าลูกหลาน ญาติพี่น้อง จะเดินทางไปพำนักอยู่คนละซีกโลก เพียงแค่สื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต อย่าง E-Mail  Facebook  Twitter ก็ช่วยทำให้ระยะทางที่ไกลแสนไกล หายไปในพริบตา แม้ว่า E-Mail  Facebook จะสามารถสื่อสารกันข้ามโลกโดยไม่มีขีดจำกัด แต่ก็มีอุปสรรคในเรื่องการใช้ก็คือ ผู้ส่งและผู้รับสาร จะติดต่อผ่านเพียงตัวอักษรเท่านั้น โดยต้องรอการตอบกลับจากอีกฝ่าย ส่วน Twitter สามารถพูดคุยกับเห็นภาพได้ทันที แต่ต้องผ่านการ log in เสียก่อน ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนขอยกแอพพลิเคชั่นที่สามารถพกติดตัวไปไหนมาไหนได้ทุกสถานที่ อย่างแอพพลิเคชั่น Viber ที่จะช่วยให้การติดต่อข้ามช่องว่างเวลาได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องผ่านการ log in ใดๆ   Viber เป็นแอพพลิเคชั่นในหมวดของผู้ให้บริการ VOIP (Voice Over IP) ที่สามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store และขยายการใช้งานไปยัง Android Market  ซึ่งปัจจุบันสามารถใช้ Viber ใน Blackberry และ Nokia อีกด้วย โดยดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นนี้ได้ที่ http://www.viber.com ความสามารถที่แอพพลิเคชั่น Viber  ให้กับผู้ใช้คือ คุณสามารถโทรผ่านแอพพลิเคชั่น Viber หาเบอร์ปลายทางที่มีแอพพลิเคชั่น Viber เช่นกัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งรูปแบบการโทรจะเหมือนกับโหมดการโทรของโทรศัพท์มือถือที่เรามีอยู่ รวมถึงการส่งข้อความ ที่มีลักษณะคล้ายกับ Line หรือ Whatsapp เพียงแต่สีของแอพพลิเคชั่นนี้จะเป็นสีม่วง ถ้าผู้อ่านอยากทราบว่าเบอร์ปลายทางที่จะโทรหานั้นมีแอพพลิเคชั่น Viber หรือไม่ แค่เข้าแอพฯ และไปที่ contacts เท่านี้ก็จะทราบได้ทันทีว่าใครบ้างที่จะสามารถติดต่อผ่านแอพพลิเคชั่นนี้ได้ โดยด้านหลังของรายชื่อจะคำว่า Viber ต่อท้ายไว้ด้วย ใครที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ หรือเดินทางท่องเที่ยวไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย  Viber ก็ถือเป็นแอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจ ที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารได้บ้าง เพียงแต่อย่าลืมว่าแอพพลิเคชั่นนี้ต้องใช้ผ่านอินเตอร์เน็ตเท่านั้น อิอิ **แนะนำว่า ให้โทรบริการที่มีบริการให้ใช้ไวไฟฟรี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 109 ท่าน ส.ส. เมื่อไหร่จะทำงานคะ?

เราท่านทั้งหลายคงต้องยอมรับว่าวันนี้ “สื่อ” เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสื่อสารให้เราท่านได้ทราบความเคลื่อนไหวของสังคมรอบข้างเราได้ดีมากๆ อย่างเรื่องลูกชิ้นเรืองแสงไง (เท่ชะมัดของกินเรืองแสงได้ด้วย) ซึ่งเป็นเรื่องคุ้นชินของสังคมไทยคือ เรื่องอะไรที่สื่อเล่นด้วยเรื่องนั้นก็จะดังเป็นที่สนใจของสังคม ทีนี้พอเรื่องลูกชิ้นมามันก็เลยช่วยกระตุ้น ให้คนไทยเริ่มรู้สึกว่า จริงๆ แล้วทุกวันนี้สิ่งที่เราบริโภคเข้าไปมีอะไรบ้างที่ปลอดภัยและอะไรบ้างที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งสถานการณ์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน มันก็ไม่ต่างอะไรกับการทดลองใช้เครื่องมือ จีที 200 ที่ผลมันออกมาว่าการใช้งานเท่ากับการเดาสุ่มเอา เพราะวันนี้ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้า ก็ประสบชะตากรรมว่าตาดีได้ตาร้ายเสียเช่นกันว่าไปแล้วไม่อยากจะพูดว่าเราเหมือนไม่มีหน่วยงานดูแล แต่สถานการณ์มันบ่งชี้ว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะวันนี้เราไม่รู้ว่าจะพึ่งใคร มีหน่วยงานไหนบ้างที่จะทำให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ อุ่นใจได้ว่าสินค้าที่เราซื้อมันปลอดภัยจริง เช่นผู้เขียนซึ่งมีชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนรถ(ส่วนตัว)เพราะมีภารกิจที่ต้องทำให้เดินทางอย่างต่อเนื่อง และเพื่อนของคนเดินทางคือวิทยุ ส่วนใหญ่ในต่างจังหวัดก็จะเป็นวิทยุชุมชน(สื่อชาวบ้าน) ซึ่งผู้เขียนก็สนับสนุนเพราะเชื่อว่าการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ และประชาชนควรมีสื่อเป็นของเขาเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและประชาสัมพันธ์เรื่องดีๆ ของชุมชนแต่ที่น่าเศร้าใจคือวิทยุชุมชนของเรามากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ กลายเป็นฐานโฆษณาสินค้าไปเสียหมด ไม่มีใครกำกับดูแลว่า คุณสมบัติของคนที่จะมาเป็นผู้ให้ข้อมูลกับชาวบ้านต้องเป็นอย่างไร ที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ก็คือ ให้ใครก็ได้ที่พูดได้มาเป็นดีเจ เนื้อหาของวิทยุชุมชนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยมีสาระมีแต่โฆษณาเต็มไปหมด อย่างการโฆษณาน้ำผลไม้แสนวิเศษ ราคาแพงลิบ โรคอะไรกินแล้วหายหมด ทั้งโฆษณาเป็นชิ้นเป็นอันและที่ท่านดีเจพร่ำพรรณนาสรรพคุณของสินค้านั้น จนคนฟังเคลิ้มว่ามันน่าจะรักษาโรคได้จริง แหม…ท่ารักษาโรคได้จริงเขาคงขึ้นทะเบียนยาไม่ดีกว่าหรือ(รับรองได้ว่ารวยไม่รู้เรื่อง) ชาวบ้านเราส่วนใหญ่ก็มีความเชื่อ(ผิดๆ) ว่าอะไรที่โฆษณาทางวิทยุเขาคงไม่หลอก(แต่จริงๆ เขาหลอกเราก็ไม่รู้หรอก) ชาวบ้านจึงตกเป็นหยื่อได้โดยง่าย โดยไม่มีหน่วยงานไหนแอ่นอกเข้ามาตรวจสอบ ผู้บริโภคอย่างเราท่านเหมือนขาดที่พึ่งจริงๆ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรจะมีหน่วยงานที่มีภารกิจเฉพาะ อย่างเช่น องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มาช่วยดูแลผู้บริโภคอย่างจริงจัง เรื่องนี้เครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศพยายามผลักดันอย่างเต็มกำลัง และปัจจุบันร่างกฎหมายที่ได้เข้าวาระเร่งด่วนวาระที่ 2 ของสภาผู้แทนราษฏรแล้ว แต่เร่งด่วนยังไง ก็ยังไม่ได้รับการพิจารณาเพราะท่าน ส.ส. มัวทะเลาะกันไม่เลิก จึงอยากขอท่าน ส.ส.ทั้งหลายว่าช่วยทำหน้าที่เพื่อพี่น้องเสียที ไม่ใช่ทะเลาะกันแค่เรื่องไม่เป็นเรื่อง อายคนที่เลือกคุณเข้าไปบ้าง สนใจบ้างว่าพี่น้องที่เลือกคุณมา เขาต้องเผชิญปัญหาอะไรอยู่ย้ำอีกครั้งว่าเรารอผลงานของท่าน ส.ส. ผู้ทรงเกียรติอยู่นะคะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 140 Social TV เมื่อผู้บริโภค มีช่องทางในการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการตอนนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) มีมติเห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตัล และ มีมติเห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตเพิ่มเติมในส่วนการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตัล พร้อมให้นำร่างประกาศทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่าสังคมกำลังเดินหน้าไปสู่การสื่อสารยุคดิจิตัล การให้ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นกับผู้บริโภค เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตัลเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้ผมขอนำสถานการณ์เกี่ยวกับ เรื่อง Social TV ของเยอรมนี ที่อยู่ในยุคทีวีดิจิตัลมานำเสนอครับ การบริโภคสื่อโดยเฉพาะการดูโทรทัศน์ในเยอรมนี ได้เปลี่ยนรูปแบบการรับชมเนื่องมาจาก การเข้ามามีบทบาทของ Social Network ได้แก่ Facebook และ Twitter ตลอดจนการขยายตัวของ smart phone ที่ เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสื่อสารของผู้บริโภค   คำว่า Social TV เกิดขึ้นจากการหลอมรวมของเทคโนโลยีระหว่าง โทรทัศน์ และ Social Media จากผลสำรวจของบริษัท Viacom Media Network ของเยอรมนี ซึ่งได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรม การบริโภคสื่อในรูปของ Social TV ผลการสำรวจกิจกรรมที่ผู้บริโภคนิยมมากที่สุดมีดังต่อไปนี้ รับชมรายการพร้อมกับเพื่อนๆ 85 % สืบค้นเนื้อหาและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายการทีวี 61% ดูวิดิโอบันทึกรายการ ผ่าน Social Media 58 % โดยผู้บริโภคที่รับชมรายการ Social TV ให้ความสำคัญกับ สามเรื่องดังนี้ การติดต่อสื่อสาร (Communication) สำรวจความเห็น (Check Comment) และ เนื่อหาของรายการ (Consume Content ) เรียกว่า เป็นสามเหลี่ยม สามซี ของการเสพสื่อของผู้บริโภคในยุคนี้ที่เดียว การที่ผู้บริโภครับชม รายการผ่าน Social TV ก็เนื่องจากต้องการข้อมูลและเนื้อหาเพิ่มเติม ที่ไม่ใช่เนื้อหาทั่วๆ ไป ยกตัวอย่างเช่น Behind the scene material, Episode หรือ Clip ที่เป็น Highlight  และด้วยความสามารถของ Smart Phone ที่เป็นเครื่องมือสื่อสารของคนในยุคดิจิตัล จึงสามารถใช้เครื่องมือนี้ ผ่านโปรแกรม ที่เรียกว่า Second Screen App ที่สามารถไปควบคุมการทำงานของโทรทัศน์ในบ้าน (First TV) สืบค้นเนื้อหาข้อมูล และแนะนำรายการต่อๆ ไปได้ นอกจากนี้ หัวใจของ Social TV คือ พฤติกรรมลักษณะ Socialize ได้แก่ การแลกเปลี่ยน ถกเถียง อภิปรายและแสดงความรู้สึกนึกคิดในสังคมออนไลน์เป็นวงกว้างได้  และที่สำคัญสำหรับในภาคธุรกิจที่สำคัญก็คือ การสั่งซื้อสินค้าและเล่นเกมส์ได้อีกด้วย ตัวอย่างของ App ที่เป็น Social TV คือ Zeebox, GetGlue Shazam และ Tweek (เป็น App ของเยอรมนี) IntoNow เป็น App ที่ทำหน้าที่ของ Social TV ที่มีอยู่ในตลาดขณะนี้ มีฟังค์ชัน ให้คำแนะนำสำหรับผู้บริโภคในราย (TV Guide) และสามารถจัดเก็บสถิติต่างๆ ไว้ด้วย บทสรุป Social TV เป็นความท้าทายของรายการทีวีที่มีจำนวนผู้เข้าชมรายการเป็นจำนวนมาก เช่น Academy Fantasia, Thailand Got Talent หรือ การแข่งขันกีฬาแมตช์สำคัญๆ ว่าจะใช้ Social TV เป็นเครื่องมือสำคัญในการมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างรายการทีวีและผู้บริโภคสื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและแสดงตัวตนได้อย่างไร  เพราะปัจจุบันช่องทางที่ผู้บริโภคใช้ในการสื่อสารไปยังรายการต่างๆ คือ SMS ซึ่งยังเป็นการสื่อสารแบบทางเดียวอยู่ ยังมีข้อจำกัดมากในเรื่องของการเข้ามาร่วมเล่นในรายการที่เป็น Social Event ในขณะนี้ และที่สำคัญ ส่ง SMS มันครั้งละสามบาทครับ ในโลกออนไลน์และยุคดิจิตัล ถือว่ามันยังแพงเกินไปครับ แหล่งข้อมูล Guido Bülow, Das Fernsehen im Wandel- Second Screen Apps für das Social TV, 21. Symposium Deutsche TV-Plattform, 2012  

อ่านเพิ่มเติม >